srisuk
นางสาว ศรีสุข มงกุฎวิสุทธิ์

งานวิจัยเกี่ยวกับกระบวนการสร้างสำนึกอาสาสมัคร


การเปลี่ยนแปลงทัศนะของนักศึกษาต่อปัญหาสังคมไทย
หลังศึกษาวิชา พท.240 งานอาสาสมัครกับการพัฒนาสังคม

Change of
Students’ Views on Social Problems in Thailand after Study PE. 240,  Volunteerism 
and  Social  Development.

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทัศนะของนักศึกษาต่อปัญหาสังคมไทย หลังศึกษาวิชา พท.240 งานอาสาสมัครกับการพัฒนาสังคม  โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ที่มีข้อมูลเชิงตัวเลขมาอธิบายประกอบ 
เก็บข้อมูลจากนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชานี้ในภาคการศึกษาที่ 2/2552  จำนวน 32 คน 
อาจารย์นิเทศ 7 คน
และเจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงในองค์กรที่นักศึกษาไปปฏิบัติงานอาสาสมัคร 7 คน จาก 7
องค์กร

ผลการวิจัยพบว่าการเปลี่ยนแปลงทัศนะของนักศึกษาต่อปัญหาสังคมไทยนั้น
นักศึกษาส่วนใหญ่ได้ประเมินว่าตนเองมีการเปลี่ยนแปลงทัศนะ  โดยให้คะแนนเฉลี่ยความคิดเห็นต่อประเด็นความรู้
ความเข้าใจ ต่อปัญหาสังคม ในข้อย่อยแต่ละข้อ มากกว่า 2.50 (เต็ม 3.00) โดยเหตุผลที่มีส่วนทำให้เปลี่ยนทัศนะต่อปัญหาสังคมเพราะได้ไปรับรู้การทำงานขององค์กรเข้าใจวิธีการและแนวคิด
การลงมือปฏิบัติงานอาสาสมัคร่วมกับองค์กรทำให้เกิดการรับรู้ เข้าใจ เห็นอกเห็นใจ
อยากช่วยเหลือ และได้นำประสบการณ์ที่ได้รับไปบอกเล่าให้คนรอบข้างฟัง เช่น พ่อแม่
พี่น้อง และเพื่อน และมีนักศึกษาบางส่วนได้ชวนเพื่อนไปร่วมทำงานอาสาสมัครด้วย 
ในส่วนเจ้าหน้าที่องค์กรก็เห็นว่านักศึกษาได้มีการปรับเปลี่ยนทัศนะให้เข้าใจปัญหาสังคม
และในขณะเดียวกันนักศึกษาก็ได้พัฒนาตนเองด้วย
ด้านอาจารย์นิเทศส่วนใหญ่ได้ติดตามดูแล และเห็นความเปลี่ยนแปลงความคิดเกี่ยวกับปัญหาสังคมของนักศึกษาที่เกิดจากประสบการณ์ตรงที่นักศึกษาได้ลงไปทำงานอาสาสมัคร
แต่ยังคงมีอาจารย์นิเทศบางส่วนเห็นว่านักศึกษาอาจยังเปลี่ยนทัศนะไม่มากนัก  จากการศึกษาผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะเพื่อให้กระบวนการจัดการสอนสามารถทำให้นักศึกษาเรียนรู้ปัญหาสังคม
การสัมมนาสรุปบทเรียนควรจัดเป็นกระบวนการและให้นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกัน  การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร เน้นทำงานอาสาสมัครเพื่อสะสมชั่วโมงการทำงาน
แบบไม่มีหน่วยกิต เป็นสิ่งสำคัญที่ควรทำควบคู่กับการศึกษาในวิชาปกติ  เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้เรียนรู้ปัญหาสังคมที่เป็นจริง
อันจะส่งผลถึงอนาคตที่จะจบการศึกษาและนำวิชาความรู้ไปใช้ในสังคมอย่างเข้าใจสังคม 

หมายเลขบันทึก: 532210เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2013 11:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2013 11:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท