การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา พลศึกษาสุขศึกษา สู่ประชาคมอาเซียน


ในปี พ.ศ.2558 ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า เสาหลักสามต้นของประชาคมอาเซียนมีอยู่สามต้น แต่ในเรื่องการศึกษาและวัฒนธรรม นั้นเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องมีการปรับตัวเป็นอย่างมากเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ปัญหาสำคัญคงจะหนีไม่พ้นเรื่องของภาษา หากวันนั้นมาถึง ประเทศที่ได้เปรียบในด้านภาษาอังกฤษคงจะหลั่งไหลเข้ามาสู่ประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น นี่ยังไม่นับถึงครูต่างชาติ ที่เข้ามาสอนในโรงเรียนที่เป็น English program.

หากเราลองมองไปถึงกลุ่มสาระการเรียนรู้พลศึกษา หรือ สุขศึกษา

หลายคนคงจะคิดไปว่ายังมีกลุ่มสาระการเรียนรู้นี้อยู่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานอีกหรือ คำตอบคือ ยังมีอยู่ครับ แต่กำลังจะถูกลดบทบาทลงเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ตรงกันข้าม ปัญหาเด็กอ้วนก็เพิ่มขึ้นสวนทางกันนั่นเอง การที่เด็กอ้วนก็เกิดจากการขาดกิจกรรมทางกาย หรือการเคลื่อนไหว ท่านผู้อ่านลองคิดกันดูเล่นๆนะครับ ในหนึ่งอาทิตย์ 5 วันต่อสัปดาห์ หากนักเรียนเรียนกันวันละ 8 ชั่วโมง นั่นคือ ในหนึ่งสัปดาห์จะมีเวลาในการเรียนการสอนทั้งสิ้น 40 ชั่วโมง แต่ท่านเชื่อไหมครับว่ากลุ่มสาระการเรียนรู้พลศึกษาและสุขศึกษามีเรียนเพียง 1 - 2 ชัวโมงต่อสัปดาห์ เพียงพอหรือไม่นั้นผมไม่สามารถตอบได้ แต่หากลองมองดูประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงอย่าง มาเลเซียและสิงคโปร์ ปริมาณของชั่วโมงพลศึกษา ล้วนมากกว่าเมืองไทยเราเสียทั้งสิ้น นอกจากชั่วโมงการเรียนการสอนจะมากกว่าเมืองไทยแล้ว รูปแบบการเรียนการสอนยังปรับเปลี่ยนตามพัฒนาการของเด็ก เช่น ช่วงประถมต้น จะเน้นการเคลื่อนไหวพื้นฐาน (Fundamental Movent) การเรียนการสอนจะต้องสนุกสนานเพราะเป้าหมายของการเรียนการสอนพลศึกษานอกจากจะเป็นการพัฒนาการเคลื่อนไหวแล้วยังจะมีส่วนช่วยอย่างยิ่งในการทำให้เด็กๆ นั้นรักการออกกำลังกาย การเล่นกีฬา ซึ่งทั้งชีวิตมนุษย์ก็จะต้องมีการออกกำลังกายเพื่อรักษาสุขภาพไปจนแก่เฒ่า หรือที่เราเรียกว่าการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning)

ผมได้มีโอกาสไปเป็นวิทยาการในการอบรมครูพลศึกษา สุขศึกษา ที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งในปีนี้จัดโดย คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒก็สิ่งที่ผมเห็นแล้วสะท้อนใจเป็นอย่างยิ่งก็คือ วงการพลศึกษาและสุขศึกษานั้น ยังขาดสะพานที่จะเชื่อมโยงองค์ความรู้และวิธีการจัดการเรียนการสอนพลศึกษาแนวใหม่ให้ไปสู่นักเรียน คุณครูส่วนใหญ่ยังยึดติดกับว่า พลศึกษาจะต้องสอนกีฬา มากกว่าที่จะสอนการเคลื่อนไหวตามพัฒนาการและการเรียนรู้ และที่สำคัญคือเรื่องภาษาและการปรับตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองไม่ควรมองข้ามเป็นอย่างยิ่ง ทั้งในมิติของ การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนของกลุ่มสาระการเรียนรู้พลศึกษา และสุขศึกษา ที่จะต้องปรับให้มีความสอดคล้องกับพัฒนาการและทักษะทางกลไกของเด็กนักเรียนในแต่ละช่วงชั้นต่างๆ การสอดแทรกทักษะชีวิต การเป็นผู้นำ ความสามัคคี และทักษะทางอารมณ์ ฯลฯ รวมทั้งรูปแบบการจัดการเรียนการสอนให้มีความสนุกสนาน และการถ่ายโยงองค์ความรู้การวิจัย ในทางการเรียนการสอน การจัดการองค์ความรู้ ไปสู่คุณครูตามต่างจังหวัด เพื่อให้เข้าถึงแหล่งความรู้ วารสาร งานวิจัย และฐานข้อมูลต่างๆ

ผมคิดว่าการจัดการเรียนการสอนพลศึกษาของประเทศไทย คงจะทัดเทียมกับหลายประเทศในอาเซียนแน่นอน พักเรื่อง คส3 4 5 ไว้ชั่วคราวจะดีกว่า เพราะปัญหาข้างหน้ากำลังรอเราอยู่ครับ การเปลี่ยนแปลงและปรับตัวถ้าเกิดเราจะทำให้การศึกษาไทยเรายืนระยะอยู่ได้ครับ

แต่ปัญหามันอยู่ที่ว่า ใครจะเริ่ม แต่ตอนนี้ผมได้รู้ว่า คณะพลศึกษา มศว ได้่่ริเริ่มทำ และจะทำต่อไป ครับ

สวัสดี


หมายเลขบันทึก: 532211เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2013 12:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2013 12:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท