เศรษฐศาสตร์ มช.กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์


ทรัพยากรมนุษย์ต้องเชื่อมโยงการเปลี่ยนแปลงของโลก

วันที่ 26 กันยายน 2549

                ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้รับเชิญให้ไปบรรยายให้นักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งได้ไปเป็นประจำทุกปี ในเรื่อง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีนักศึกษาร่วมรับฟังกว่า 50 คน

อาจารย์รู้สึกประทับใจในห้องเรียนของคณะเศรษฐศาสตร์ที่นักศึกษาทุกคนจะมี computer ใช้คนละเครื่องในห้องเรียน ตามทฤษฎี 4 L’s Learning environment ของอาจารย์ และประทับใจในนักศึกษาคนหนึ่งได้ search หาชื่ออาจารย์ใน google ทันที พบ Blog ของอาจารย์  ทำให้เห็นถึงความสำคัญของ HR ทรัพยากรมนุษย์กับการแข่งขันของประเทศ

อาจารย์ได้มีโจทย์  4 ข้อ ให้นักศึกษาได้คิดและแสดงความเห็นร่วมกันคือ

1.     โลกาภิวัตน์คืออะไร

2.     โลกาภิวัตน์มีประโยชน์อย่างไร

3.     การคุกคามของโลกาภิวัตน์คืออะไร

4.     การใช้ HR ช่วยให้เกิดประโยชน์เพิ่มขึ้นและลดการคุกคามอย่างไร

ซึ่งนักศึกษามีเวลาได้คิด และมีการโต้ตอบกัน ตามทฤษฎี 4 L’s Learning opportunities การเรียนเศรษฐศาสตร์ยุคใหม่ในเรื่องทรัพยากรมนุษย์ต้องเชื่อมโยงการเปลี่ยนแปลงของโลก

ลูกศิษย์กว่า 50 คน พร้อมเป็นสังคมการเรียนรู้ และติดตาม Blog ต่อไป

หมายเลขบันทึก: 52066เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2006 08:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 17:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

ได้มีโอกาสรับความรู้เพิ่มเติมในประเด็น การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเด็นที่น่าสนใจ คือ เราจะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างไรที่จะสามารถแข่งขันกับประเทศอื่น ผลก็คือเราต้องรู้ว่าเรามีความสามารถเด่นทางด้านใด อย่างเช่น จังหวัดเชียงใหม่นั้นเป็นจังหวัดล้านนา ภูมิปัญญาล้านนาเป็นจุดแข็งของจังหวัดเชียงใหม่ ประเด็นนี้มีการถกเถียงกันกลายเวทีแล้ว เมื่อประมาณเดือนกรกฎาคม 2549 คณะสังคมศาสตร์และคณะบริหารธุรกิจ จัดเวทีแสดงความเห็นเกี่ยวกับกลยุทธ์การจัดการเพื่อมเชื่อมโยงการท่องเที่ยวในกลุ่ม GMS สิ่งหนึ่งที่ทางกลุ่มผู้เข้าร่วมต้องการ คือ จะทำอย่างไรให้จังหวัดเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดล้านนา บทสรุปคือ กลุ่มผู้ประกอบการนั้นไม่ควรลอกความคิดจากกลุ่มที่ประสบความสำเร็จแล้วนั้น เพราะนอกจากที่จะไม่ทำให้เกิดความโดดเด่น กลับไม่สร้างความประทับใจให้กับการท่องเที่ยวด้วย นอกจากนี้วัฒนธรรมล้านนายังเลือนหายไปในสังคมปัจจุบัน ประจวบกับโจทย์ที่อาจารย์ตั้งขึ้นในห้องเรียน "ไทยกับโลกาภิวัฒน์" เราจะมองเห็นเพียงแค่ประโยชน์ที่ได้นั้น คือ สารสนเทศใหม่ๆ เท่านั้นแต่จริงๆ แล้วมีผลหลายด้านทั้งด้านการศึกษา การค้าเสรี อิทธิพลประชาธิปไตย ภัยธรรมชาติ การก่อการร้ายและพลังงานทดแทน สิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้เราต้องพัฒนาตัวเองเพื่อที่จะสามารถแข่งขันกับต่างชาติได้

สิ่งสำคัญที่เราต้องมีทุกคน คือ การเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว อาจารย์บอกเราว่าควรจะเรียนรู้ตลอดเวลา

ขอขอบคุณอาจารย์นะค่ะที่ได้มาให้ความรู้

สิ่งที่อาจารย์ได้สอนนั้นแตกต่างจากที่ได้รับจากอาจารย์ท่านอื่นตรงที่การเรียนรู้ไม่ควรหยุดเพียงแค่ในตำราเท่านั้น ควรจะเรียนรู้สิ่งต่างๆภายนอกด้วย และนอกจากนี้ควรจะเรียนสิ่งใหม่ใหม่อยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ได้แง่คิดในการพัฒนาตนเอง

สิ่งที่ไ้ด้รับจากอาจารย์เป็นแรงกระตุ้นในการศึกษาในระดับปริญญาโทเป็นอย่างมากซึ่งจากแนวคิดที่อาจารย์ให้มาทำให้เริ่มสนใจกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นมากขึ้น เพื่อที่จะพัฒนาตนเองให้สามารถที่จะแข่งขันกับผู้อื่นได้และ เป็นการพัฒนาตนไปสู่ความยั่งยืน และสามารถนำแนวคิดที่ได้รับไปพัฒนาชุมชนได้อีกด้วย

นอกจากนี้ สิ่งที่ได้รับจากการบรรยายก็คือ หลักในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ว่าจะทำอย่างไรให้คนในชุมชน คนในองค์กรมีความสามารถพอที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในด้านต่างๆ เช่นการค้าเสรีที่ประเทศที่มีการจ้างงานที่ถูก และสามารถผลิตสินค้าได้เยอะนำสินค้ามาขายในประเทศไทยทำให้คนในชุมชนที่ผลิตสินค้าเดียวกันแต่ราคาสูงกว่าไม่สามารถสู้ได้ ซึ่งก็ควรมีการพัฒนาคนในชุมชนเหล่านี้ให้สามารถที่จะแข่งขันกับประเทศอื่นๆได้และอยู่ได้อย่างยั่งยืน ซึ่งตามความคิดก็คืออาจจะต้องสอนให้คนในชุมชนนั้นรู้จักการพึ่งตนเอง

 

อาจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ สอนต่างจากอาจารย์ท่านอื่น คือ อาจารย์มีวิธีการสอนที่กระตุ้นให้นักศึกษามีวิธีการคิดในเรื่องที่กำลังศึกษา ไม่ใช่ให้เรียนเฉพาะสิ่งที่อาจารย์บรรยายเพียงอย่างเดียว ซึ่งการกระตุ้นให้เกิดการคิดดังกล่าว ก่อให้เกิดการต่อยอดในสิ่งที่ได้รับรู้มา ต้องยอมรับว่าเริ่มต้นของการบรรยาย ลักษณะการสอนของอาจารย์อาจจะทำให้นักศึกษาบางคน เกิดความกลัวอาจารย์ เนื่องจากแนวทางการกระตุ้นให้เกิดการคิดของอาจารย์มาจากการว่านักศึกษาว่ายังขาดทักษะทางด้านการคิด และด้วยถ้อยคำบางครั้งต้องยอมรับว่ารุนแรงและแตกต่างจากอาจารย์คนอื่น แต่เมื่อได้ฟังจนจบการบรรยาย ความกลัวที่มีต่ออาจารย์ก็หายไป และทำให้ได้รับรู้ว่าสิ่งที่อาจารย์ทำนั้นมีค่าต่อนักศึกษาทุกคนเป็นอย่างมาก สิ่งที่ได้รับมีประโยชน์อย่างไรในการเรียนเศรษฐศาสตร์เพื่อนำไปใช้สร้างความรู้เพิ่มอย่างไร ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าก่อให้เกิดการต่อยอดทางความคิด เช่นทำให้ผมเริ่มมองว่า การที่เราเรียนมา ไม่ใช่เพื่อที่ตอบความต้องการของตนเองเพียงอย่างเดียวอีกต่อไปแล้ว หลังจากนี้สิ่งที่ได้เรียนมาต้องนำกลับมาพัฒนาประเทศ ถึงแม้ด้วยศักยภาพของผมในปัจจุบันคงไม่อาจไปมีบทบาทในระดับประเทศได้เต็มที่ แต่ผมคิดว่าการเริ่มจากจุดเล็กๆ คือชุมชนที่อาศัยอยู่ก็คงจะก่อให้เกิดประโยชน์ได้ไม่มากก็น้อย ผมไม่รู้ว่าจะได้มีโอกาสศึกษาในระดับที่สูงกว่านี้หรือไม่ แต่ผมมั่นใจเลยว่า ต่อไปผมจะเริ่มที่จะเรียนรู้จากคนใกล้ตัว และชุมชน โดยจะเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากเขาเหล่านั้น และนำไปพัฒนาสร้างจุดแข็งในกับชุมชน และพัฒนาให้คุณภาพชีวิตของคนเหล่านั้นดีขึ้น อาจารย์ทำให้ได้รู้ว่าการเรียนไม่จำเป็นต้องเรียนกับผู้ทรงความรู้เสมอไป การรับฟังข้อคิดเห็นจากคนที่เราเคยคิดว่าเรียนมาน้อยกว่าเรานั้นก็มีประโยชน์และสูงค่า ซึ่งต่อไปผมจะพยายามเป็นคนที่เรียนรู้ตลอดชีวิตและเรียนรู้ให้รอบด้าน ต้องขอขอบคุณท่าน อาจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่ได้สละเวลา มาให้ความรู้อันเป็นประโยชน์สูงสุดและขอขอบคุณท่านอาจารย์ ดร.ทรงศักดิ์ ศรีบุญจิตต์ ที่แสวงหาสิ่งที่ดีที่สุดมาเพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้เสมอมา ซึ่งผมขอขอบพระคุณอาจารย์ทั้งสองท่านเป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้

ถึงแม้ว่าจะเคยได้เรียนวิชาทรัพยากรมนุษย์มาบ้างแล้วตอนระดับปริญญาตรี  แต่สิ่งที่แตกต่างและทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกประทับใจมากก็คือวิธีการสอนของอาจารย์ที่ไม่เหมือนอาจารย์ท่านอื่นๆ  ซึ่งอาจจะกลัวบ้างเล็กน้อยในตอนแรก แต่ท้ายที่สุดแล้วก็ทราบว่าอาจารย์หวังดี อยากให้เรากล้าคิด กล้าพูด กล้าที่จะแสดงความคิดเห็น และการสอนที่ดุดันของอาจารย์นั้นข้าพเจ้าคิดว่าเป็นแรงผลักดันและแรงกระตุ้นที่ดีเยี่ยมในการศึกษาหาความรู้ ที่ไม่ใช่เพื่อตัวเราเองแต่เพื่อส่วนรวมเพื่อประเทศชาติ  ...เราต้องหิวกระหายความรู้อยู่ตลอดเวลา....

 ขอขอบคุณอาจารย์มากๆนะคะ

การที่เราได้เรียนรู้จากอาจารย์ทำให้ได้เห็นความแตกต่างจากการเรียนกับอาจารย์ท่านอื่นๆ ก็คือ อาจารย์จะมีวิธีการสอนที่กระตุ้นให้คิดเสมอๆ แม้กระทั่งในห้องเรียนอาจารย์ก็จะมีโจทย์มาให้นักศึกษาถงเถียงและร่วมแสดงความคิดเห็นกันโดยมีเวลาจำกัด มันทำให้เวลาเรียนเราจะรู้สึกกระตือรือล้นที่จะคิดหาคำตอบหรือแสดงความคิดเห็นของตัวเองออกมา ถึงตอนแรกๆ จะรู้สึกกดดันกับการกำหนดเวลา แต่ดิฉันก็ได้ข้อคิดว่าหากเรามีการพัฒนาสมองด้วยการคิดสมำเสมอ เราก็จะป็นคนคิดเร็ว สมองของเราก็จะสร้างผังความคิดเอง  ทำให้เรากล้าคิดและกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นของตัวเองกับผู้อื่น  อีกทั้งเรายังจะได้ทราบความคิดเห็นของคู่สนทนาว่าแตกต่างจากเราอย่างไรบ้าง

 สิ่งที่ได้รับจากอาจารย์นั่นคือ  อาจารย์จะพูดอยู่บ่อยๆ ว่าอย่าหยุดเรียนรู้และอย่าเรียนรู้เฉพาะวิชาทางด้านเศรษฐศาสตร์ เราควรจะรู้เรื่องต่างๆ รอบตัวเราด้วยซึ่งดิฉันก็เห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะหากนักเศรษฐศาสตร์มุ่งแต่คำนึงถึงหลักการ ทฤษฎี และตัวเลขเท่านั้น โดยไม่คิดถึงความเป็นจริงนั้น โดยหลักการแล้วอาจจะเป็นไปได้  แต่ในโลกของความเป็นจริงอาจจะไม่สามารถเกิดขึ้นจริงได้ อย่างเช่นในทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์จะมีตลาดแข่งขันสมบูรณ์ แต่ในความเป็นจริงแล้วตลาดแข่งขันสมบูรณ์ไม่ได้มีอยู่จริง สุดท้ายนี้ต้องขอขอบพระคุณอาจารย์ ดร.จีระหงส์ลดารมภ์ อย่างสูงที่สละเวลามาให้แง่คิดดีๆ กับพวกเรา ซึ่งมันทำให้ดิฉันได้แง่คิดหลายๆ อย่างที่จะนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และจะได้พัฒนาตัวเองให้มีความกระตือรือล้นที่จะใฝ่รู้ใฝ่เรียนอยู่ตลอดเวลา  ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ

ชิดชล ตั้งสุขขีย์ศิริ

กราบเรียนอาจารย์ที่เคารพ

                ตอนเราทราบว่าท่านเป็นอาจารย์ของอาจารย์ของพวกเราอีกที่ทำให้พวกเรารู้สึกเกร็ง กลัวและคาดเดาว่าท่านต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถมากๆและก็เป็นไปตามที่คาดไว้ทุกอย่าง ท่านสอนด้วยคำพูดที่ดุ พูดด้วยคำพูดที่รุนแรง และจะตื่นเต้นเวลาท่านเดินมาใกล้ๆเพราะกลัวท่านถามและเราก็เป็นอย่างนี้กันทุกวิชา แต่เมื่อท่านสอนแล้วเปลี่ยนความคิดเราทั้งสิ้น วิธีการเรียนแตกต่างจากทั่วไปโดนสิ้นเชิง

ท่านจะพูดด้วยคำพูดที่รุนแรงตรงๆทำให้เราเข้าใจในประเด็นว่าเราอ่อนตรงไหน มีข้อบกพร่องตรงไหนซึ่งอาจารย์บ้างท่านอาจไม่เคยตำหนิว่าเธอโง่ตรงนี้มากๆนะ ทำให้เรารู้ว่าฉันโง่จริงๆในสิ่งที่เราควรจะรู้เพราะล้วนเกี่ยวกับสาขาวิชาที่ศึกษาและเป็นพื้นฐานที่เราควรจะรู้ เราควรต้องนำไปปรับปรุงตัวเองอย่างเร่งด่วน

ท่านสอนความคิดให้เราใหม่ว่า คนเราจะเก่งแต่ทฤษฎีไม่ได้ ถึงแม้ว่าท่องจำทฤษฎีได้หมดในห้องเรียนที่เรียนมา แต่ถามว่าเมื่อไปอยู่นอกห้องเราสามารถรู้จักคิดไปปรับปรุงในชีวิตได้ไหม ต้องมีน้อยคนที่สามารถรู้จักคิดหาหนทางให้ประสบความสำเร็จในจุดมุ่งหมาย และต้องยอมรับว่าความรู้นอกห้องของพวกเรามีน้อยมากๆหรือแทบไม่มีเลย ทั้งๆที่เมื่อเราจบไปเราจะเป็นแรงงานรุ่นใหม่ที่ต้องทดแทนแรงงานที่กำลังจะปลดระวางตัวเองลง และต้องนำประเทศไทยเพื่อแข่งขันกับประเทศอื่นๆเพื่อความอยู่รอดของชาติให้ได้ ในเมื่อตอนนี้เราเองยังไม่รู้จักคิดริเริ่มเองได้แต่เลียนแบบของคนอื่น เรียนรู้ในสิ่งที่เขาคิดไว้ให้แล้วแล้วจบอยู่แค่นั้นเมื่อเทียบกับผู้ริเริ่มคิดเขาจะรู้จักคิดในสิ่งใหม่ๆที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติของเขา เราเองต้องเริ่มรู้จักคิดต่อยอดความคิดนั้นแต่ต้องอย่าลืมอ้างถึงผู้คิดริเริ่มด้วยเป็นการเคารพความคิดและให้เกียรติ ซึ่งท่านยกตัวอย่างเปรียบเทียบประเทศไทยกับประเทศไทยสิงคโปร์ว่า เรามีหลายอย่างที่ได้เปรียบแต่มีสิ่งเดียวที่เราอ่อนกว่าและเป็นจุดด้อยที่ทำให้เราตามหลัง คือคุณภาพของคนในชาติ ถ้าประชากรในชาติมีความรู้ความสามารถและต้องสามารถคิดหาหนทางนำประเทศเราให้มีศักยภาพที่โดดเด่นให้ได้

ท่านแฝงการเรียนการสอนที่เราสามารถรับรู้ได้ว่า คนเราต้องรู้จักฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วย อย่าเก่งคนเดียว ต้องกล้าที่จะเสนอความคิดเห็นแม้ว่าจะผิดหรือถูก หากผิดก็จะมีผู้ที่มีความรู้ความสามารถกว่าเราแก้ไขให้ในสิ่งที่ถูกต้องว่าสิ่งที่ถูกคืออะไร เมื่อคนเราโง่แล้วยอมรับว่าโง่และรับรู้ในสิ่งที่ฉลาดถึงจะมีการพัฒนาตน

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนครั้งนี้และนำมาสร้างมูลค่าเพิ่มในอนาคตที่เราสามารถรับรู้หลักๆคือ คนเราต้องรู้จักพัฒนาศักยภาพให้ตนเองรู้จักสร้างมูลค่าให้ตัวเอง เพื่ออาจได้รับโอกาสมากมาย เช่น ต้องรู้จักเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆเพื่อจะได้รองรับและสร้างความได้เปรียบกว่าบุคคลอื่นๆ ความสำคัญของภาษาที่ต้องมีความชำนาญและรู้จักเรียนรู้ภาษาอื่นๆที่กำลังมีความสำคัญในโลก ณ เวลาปัจจุบันนี้ และสุดท้ายคือคนเราไม่มีวันหยุดเรียนได้ ต้องมั่นแสวงหาความรู้ใหม่ๆเสมอ ซึ่งความรู้ในยุคนี้ไม่มีวันหมดต้องรู้จักค้นคว้าสม่ำเสมอ

           ขอกราบขอบพระคุณอาจารย์ มากๆค่ะ

วิธีการเรียนของ อ.จิระ แตกต่างจาก อาจารย์ท่านอื่นอย่างไร?

วิธีการเรียนของ อ.จิระ เป็นการสอนโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วนในชั้นเรียน โดยให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น การแก้โจทย์ปัญหาของกลุ่ม โดยใช้ประสบการณ์ของแต่ละคน ร่วมแสดงความคิดเห็นเป็นการแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน จะทำให้กลุ่มนักศึกษามีความรู้มากขึ้น และเป็นการกระตุ้นให้ทันกับยุคโลกาภิวัฒน์  ซึ่งแตกต่างจากการเรียนทั่วไป ที่มุ่งเน้นให้นักศึกษามีความรู้ ซึ่งมีข้อเสีย ที่เมื่อนักศึกษาขาดการทบทวนก็การจะลืม และไม่กระตุ้นให้มีความคิดใหม่ๆ

สิ่งที่ได้เป็นประโยชน์ในทางเศรษฐศาสตร์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างไร?

จากการเรียนกับ อ.จิระ นักศึกษาจะถูกกระตุ้นที่จะต้องคิดแสดงความคิดเห็น  ซึ่งเป็นผลดีในการพํฒนาความสามารถ เป็นการทำให้ทรัพยากรมนุษย์มีคุณภาพ ส่งผลต่อการพํฒนาประเทศในอนาคต และยังเป็นการกระตุ้นให้สถาบันการศึกษาต้องตระหนัก ที่จะสอน นร. นักศึกษาโดยวิธีที่มีประสิทธิภาพ เป็นการประหยัดตุ้นทุน แต่ได้นักศึกษาที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้น

ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง คณะปฏิรูป: นโยบายเพื่อความยั่งยืน"
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน 

         เช้าวันเสาร์ที่ 30 ก.ย. นี้ ผมรีบเดินทางมาวัดไร่ขิง ด้วยวัตถุประสงค์สองประการ ประการแรก มาทำบุญที่วัดไร่ขิง ประการที่สองเนื่องจากมีการจัดงานของสมาคมผู้เลี้ยงสุนัขพันธุ์เยอรมันเช็พเพอดแห่งประเทศไทย จัดงานประกวดสุนัขประจำปีที่วัดไร่ขิง ผมเป็นคนชอบสุนัขตั้งแต่สมัยเป็นเด็กวัด ได้มีโอกาสเลี้ยงหมาวัด ได้รับมอบหมายให้เอาเศษอาหารที่เหลือจากพระและเด็กวัดแล้ว มาแจกสุนัขในวัด อยู่ระยะหนึ่ง ต่อมาเริ่มศึกษาเรื่องเกี่ยวกับสุนัข พบว่า สุนัขที่ดีที่สุดในโลก มีไม่กี่สายพันธุ์ สายพันธุ์เยอรมันเช็พเพอด เป็นสายพันธุ์หนึ่งที่จัดว่าเป็นสายพันธ์ที่ได้รับการพัฒนาจากภูมิปัญญาชาวบ้านในเยอรมัน การมาชมการประกวดครั้งนี้ก็เพื่อสะสมทุนทางความรู้ ทุนทางสังคมคนรักสุนัข และได้มีโอกาสมาทำบุญที่วัดไร่ขิงตอนเช้าด้วย  ระหว่างรอเวลาการประกวดสุนัข ผมได้นำ Note book มาเขียนบทความนี้ที่บริเวณสนามประกวดสุนัขด้วย  ในโลกยุคใหม่การใช้ internet การหาความรู้ไม่มีขีดจำกัด ไม่กำหนดสถานที่ สามารถเคลื่อนย้ายได้ตลอดเวลา ได้บรรยากาศที่ร่มรื่นและแปลกดี คิดถึงเมื่อสมัยเป็นเด็กวัด ตอนนั้นไม่มีอะไรเลย ขณะนี้มานั่งทึ่วัด มีคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก หาความรู้ และติดต่อได้ทั่วโลก ในเวลาชั่วไม่กี่นาที

  บทความจากหนังสือพิมพ์แนวหน้า บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ สัปดาห์นี้ อาจารย์เขียนเรื่อง คณะปฏิรูป : นโยบายเพื่อความยั่งยืน ผมเสนอความเห็นเช่นเคย ข้อความที่มีสีน้ำเงิน คือส่วนที่ผมคัดมาจากบทความของอาจารย์ ส่วนสีดำ เป็นส่วนที่ผมแสดงความคิดเห็น เชิญท่านผู้สนใจติดตามอ่านได้จากข้อความข้างล่างนี้  
สิ่งใดที่รัฐบาลเดิมทำไว้ดี ก็คงไว้ สิ่งใดที่เป็นประโยชน์จะทำเพิ่มเติมอย่างรอบคอบ หลายฝ่ายวิจารณ์การสนับสนุนอดีตรองนายกรัฐมนตรี ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ในฐานะผู้สมัครเป็นเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ หากแพ้ก็ไม่เป็นไร เพราะได้สู้อย่างเต็มที่ น่าชื่นชมคณะปฏิรูปการปกครองฯ ที่หลายฝ่าย โดยเฉพาะสื่อโจมตีคณะปฏิรูปการปกครองฯว่า ไม่สมควรจะสนับสนุน  

 

สิ่งที่ คณะปฏิรูปการปกครองฯ ทำอยู่ขณะนี้ เรียกได้ว่าเป็นการบริการการเปลี่ยนแปลง Change management กับระบบการปกครองของไทย คณะปฏิรูปการปกครองฉลาดทำ การบริหารการเปลี่ยนแปลง เพื่อนำไปสู่สิ่งที่ดีกว่า ถือว่าเป็นการพัฒนาที่ถูกต้อง เมื่อมีสิ่งที่ดีเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมก็ควรคงไว้ ส่วนที่เป็นจุดอ่อน เป็นปัญหาแก่ส่วนรวม ก็ขจัดออกไป นี่เป็นพื้นฐานของการบริหารการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเปลี่ยนแปลงทั้งระบบและคน ผมหวังว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ คณะปฏิรูปการปกครองฯ จะทำให้เกิดประโยชน์แก่ชาติ ทำเพื่อชาติ จริง ๆ ถ้าเป็นเช่นนั้น ผมขอให้คณะปฏิรูปการปกครองฯ ประสบความสำเร็จ เพื่อให้เกิดความผาสุกแก่ประชาชนโดยเร็ว  

 

คนไทยต้องศึกษาสถานการณ์ต่อไปอย่างใกล้ชิด อย่างรอบคอบ ใฝ่เรียนรู้ ทำใจเป็นกลาง สมัครสมานสามัคคีกันให้มากที่สุด

ผมเห็นด้วยกับ ศ.ดร.จีระ ที่ว่า คนไทยต้อง*   
  • ศึกษาสถานการณ์ต่อไปอย่างใกล้ชิด
  • รอบคอบ
  • ใฝ่เรียนรู้ *   
  • เป็นกลาง *  
  • สมานสามัคคี

คุณสมบัติของคนไทยที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวมาข้างต้น ถือได้ว่า เป็น Competency หรือสมรรถนะ ของคนทรัพยากรมนุษย์ของไทย ในปัจจุบันและอนาคต จึงอาจกล่าวได้ว่า จะบริหารทรัพยากรมนุษย์ในอนาคตได้อย่างไร คำตอบคือบริหารให้ทรัพยากรมนุษย์เกิดสิ่งเหล่านั้น และมีการวัดผล นำไปสู่การพัฒนาจุดอ่อน หรือสิ่งที่เขายังด้อยอยู่ให้เป็นจุดแข็งในอนาคต แบบมีตัวชี้วัดความสำเร็จว่าต้องให้จุดอ่อนกลายเป็นจุดแข็งในแต่ละประเด็นภายในกี่ปี  แล้วนำมาสู่ยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อสร้างองค์กร เพื่อสร้างชาติต่อไป

 นโยบายประชานิยมของอดีตนายกรัฐมนตรียังคงอยู่ ผมเชื่อว่า อนาคตข้างหน้าคงจะมีการปรับปรุงให้ดีขึ้น เพื่อให้นโยบายไปสู่ความยั่งยืน การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ทำทุกอย่าง อย่างค่อยเป็นค่อยไป เป็นการปฏิรูปที่เน้นสันติวิธีและการประนีประนอม

 

นโยบายประชานิยม ในความเห็นส่วนตัวของผม คิดว่าเป็นสิ่งที่ดี ถ้าจะกำหนดยุทธ์ศาสตร์แบบให้เกิดทุนทางปัญญา ทุนทางความสุข ทุนทางจริยธรรมและทุนแห่งความยั่งยืน  คนกำหนดนโยบายนี้ หนึ่งต้องคำนึงถึงลูกค้า(ประชาชน)เป็นหลัก สองต้องคำนึงถึงอนาคตของชาติเป็นหลักที่สอง และสามต้องคำนึงถึงผลเสียที่อาจจะตามมา และเตรียมมาตรการรองรับไว้  การปฏิรูปการปกครองฯครั้งนี้  ขอให้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการกำหนดนโยบายสาธารณะและปฏิรูปการปกครองฯ คือ ค่อยเป็นค่อยไป ในสิ่งที่เราถนัดมีทรัพยากรเพียงพอ กำหนดเป้าหมาย แผนงาน การวัดผล และเตรียมการรองรับไว้ กรณีที่เกิดปัญหา ต้องมีแผนอื่นรองรับไว้เสมอ  และขอให้คิดคำนึงถึงพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานให้ไว้หลายเรื่อง คณะปฏิรูปการปกครองฯ น่าจะตั้งคณะกรรมการในการศึกษาพระบรมราโชวาทของท่าน กำหนดขึ้นมาเป็นแบบตรวจสอบ Check list ในการบริหารการปฏิรูปการปกครองฯครั้งนี้ด้วย

ผมชื่นชมคำสัมภาษณ์ของโฆษกที่เน้นงบประมาณที่พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของไทยอย่างจริงจัง เป็นแนวคิดที่น่าสนใจ เพราะปัจจุบันเป็นโลกของความรู้ หรือสังคมฐานความรู้ เป็นนโยบายที่ทุกประเทศทำ และจะเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งในยุคคุณทักษิณ เรื่องนโยบายระยะยาวอ่อนมาก เช่น เรื่องการศึกษา เรื่องการพัฒนาฝีมือแรงงาน เรื่องพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชน พัฒนาสังคมฐานความรู้ เรื่องการปฏิรูประบบราชการ ปฏิรูประบบการศึกษา ขาดการปฏิรูปพฤติกรรมในการทำงาน ยังทำงานแบบเดิม ไม่มี Innovation ไม่มี Paradigm shift หรือการเปลี่ยนกระบวนทัศน์

 

เรื่องที่ โฆษกคณะปฏิรูปการปกครองฯ ได้กล่าวถึงงบประมาณเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างจริงจัง ถือว่าเป็นสัญญานของความโชคดีของประเทศไทย  ที่คณะปฏิรูปการปกครองฯ กล่าวถึงเรื่องนี้ น่าจะเป็นคณะปฏิรูปการปกครองฯคณะแรก ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้  ผมขอให้การให้สัมภาษณ์ดังกล่าว เกิดผลขึ้นจริงจัง ให้งบประมาณด้านการทรัพยากรมนุษย์ มีจำนวนมากพอ ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อชาติจริง ๆ ไม่ใช่ทำกันให้ผ่านไปแค่ปีต่อปี ได้ชื่อว่าทำ  เท่านั้น   

 

คณะปฏิรูปการปกครองฯ น่าจะตั้งคณะกรรมการพิเศษเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อพัฒนาชาติขึ้นมา เป็นกรณีพิเศษ ให้เป็นองค์กรอิสระที่ได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากคณะปฏิรูป จัดทำระบบพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของชาติ ในแต่ละระดับ ให้ชัดเจน ตั้งแต่ทรัพยากรมนุษย์ในครรภ์มารดา จนกระทั่งถึงเชิงตะกอน และมียุทธ์ศาสตร์การพัฒนาคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ทั้งระยะสั้นและระยะยาว และน่าจะให้ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เป็นผู้นำในด้านนี้  

 

เรื่องแรก สมควรหรือไม่ที่จะมีการปฏิรูประบบการศึกษาอีกรอบ ที่ทำโดยผู้เชี่ยวชาญ และมองจากความจริง ไม่ใช่มองจากกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายลูก
 

ในความเห็นผม เห็นว่าสมควร  สมควรจะมีคณะปฏิรูประบบการศึกษาของไทย เรามีคณะปฏิรูปการปกครองฯ ไหน ๆ แล้วก็ควรมีการปฏิรูประบบการศึกษาด้วย  เพราะการศึกษามีความสัมพันธ์กับระบอบประชาธิปไตย  การศึกษามีความสัมพันธ์กับความมั่นคงของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 

 

นอกจากนี้ ยังเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า ระบบการศึกษาของเรา ยังไม่สามารถสร้างทรัพยากรมนุษย์ของชาติ ที่มีคุณภาพได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ สถานบันการศึกษาของเรา ยังไม่ติดอันดับดีในโลก ในภูมิภาค ทำให้มีผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศ  จึงสมควรมีการปฏิวัติทางการศึกษาด้วยโดยเร็ว  

 

ดูประเทศที่เขาไม่มีทรัพยากรธรรมชาติ แต่เห็นคุณค่าและเอาจริงเรื่องทรัพยากรมนุษย์มากกว่าเรา เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง หรือเกาหลีใต้

 

ดูรายชื่อประเทศที่เอาจริงเรื่องทรัพยากรมนุษย์มากกว่าเรา เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง หรือเกาหลีใต้ พวกนี้ล้วนเคยเป็นเมืองขึ้นของต่างชาติมาก่อน เป็นประเทศที่เคยถูกต่างชาติเข้ามายึดอำนาจและทำการปฏิรูปหลายเรื่อง การจัดระเบียบสังคมวัฒนธรรม กฎหมาย การเมือง และแน่นอนคือเรื่องการศึกษาที่ได้รับอิทธิพลจากการปกครองของต่างชาติ  เราน่าจะศึกษาประวัติศาสตร์ของชาติเหล่านี้ นำเอาทั้งปัญหา อุปสรรคและความสำเร็จของประเทศเหล่านี้มาบูรณาการกำหนดเป็นนโยบายสาธารณะพัฒนาชาติของเราให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น โดยเฉพาะนโยบายด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ควบคู่ไปกับนโยบายด้านเศรษฐกิจ สังคมของประเทศ   

 

ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  เชิญท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ     

 

ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน 

 

ยม  

 

นักศึกษา ปริญญาเอก  

รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต

ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง คณะปฏิรูป: นโยบายเพื่อความยั่งยืน"
คณะปฏิรูป : นโยบายเพื่อความยั่งยืน[1]

ประเทศไทยไม่มีระบอบทักษิณมา 7-8 วันแล้ว วันที่เขียนบทความนี้เป็นวันพุธ ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เห็นได้ว่าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ดำเนินการแบบสันติ สิ่งใดที่รัฐบาลเดิมทำไว้ดี ก็คงไว้ สิ่งใดที่เป็นประโยชน์จะทำเพิ่มเติมอย่างรอบคอบ หลายฝ่ายวิจารณ์การสนับสนุนอดีตรองนายกรัฐมนตรี ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ในฐานะผู้สมัครเป็นเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ หากแพ้ก็ไม่เป็นไร เพราะได้สู้อย่างเต็มที่ น่าชื่นชมคณะปฏิรูปการปกครองฯ ที่หลายฝ่าย โดยเฉพาะสื่อโจมตีคณะปฏิรูปการปกครองฯว่า ไม่สมควรจะสนับสนุน
คนไทยต้องศึกษาสถานการณ์ต่อไปอย่างใกล้ชิด อย่างรอบคอบ ใฝ่เรียนรู้ ทำใจเป็นกลาง สมัครสมานสามัคคีกันให้มากที่สุด
นโยบายประชานิยมของอดีตนายกรัฐมนตรียังคงอยู่ ผมเชื่อว่า อนาคตข้างหน้าคงจะมีการปรับปรุงให้ดีขึ้น เพื่อให้นโยบายไปสู่ความยั่งยืน การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ทำทุกอย่าง อย่างค่อยเป็นค่อยไป เป็นการปฏิรูปที่เน้นสันติวิธีและการประนีประนอม
การที่โฆษกคณะปฏิรูปการปกครองฯ พลโทพลางกูร กล้าหาญ พูดถึงการทำงบประมาณปี พ.ศ 2550 แบบขาดดุล และเร่งนำไปเบิกจ่ายได้ในเดือนมกราคม พ.ศ.2550 เป็นประเด็นที่น่าสนใจ เพราะคณะที่ทำงบประมาณ ไม่ใช่นักการเมือง แต่เป็นข้าราชการประจำ ฝ่ายคณะปฏิรูปการปกครองฯ คงจะใช้งบประมาณเพื่อประโยชน์ระยะยาวได้ดี ผมชื่นชมคำสัมภาษณ์ของโฆษกที่เน้นงบประมาณที่พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของไทยอย่างจริงจัง เป็นแนวคิดที่น่าสนใจ เพราะปัจจุบันเป็นโลกของความรู้ หรือสังคมฐานความรู้ เป็นนโยบายที่ทุกประเทศทำ และจะเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งในยุคคุณทักษิณ เรื่องนโยบายระยะยาวอ่อนมาก เช่น เรื่องการศึกษา เรื่องการพัฒนาฝีมือแรงงาน เรื่องพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชน พัฒนาสังคมฐานความรู้ เรื่องการปฏิรูประบบราชการ ปฏิรูประบบการศึกษา ขาดการปฏิรูปพฤติกรรมในการทำงาน ยังทำงานแบบเดิม ไม่มี Innovation ไม่มี Paradigm shift หรือการเปลี่ยนกระบวนทัศน์
เรื่องเหล่านี้ ผมขอเสนอไว้ 2 ประเด็นคือ
เรื่องแรก สมควรหรือไม่ที่จะมีการปฏิรูประบบการศึกษาอีกรอบ ที่ทำโดยผู้เชี่ยวชาญ และมองจากความจริง ไม่ใช่มองจากกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายลูก
หลายฝ่ายอยากเห็นระบบการอุดมศึกษา เป็นอิสระจากอิทธิพลของกระทรวงศึกษาฯ โดยจะเป็นองค์กรใหม่หรือกระทรวงใหม่ และจะรวมคำว่าวิจัยเข้าไปด้วย น่าจะดี
หรือการมองประถมศึกษาและมัธยมศึกษา อยู่ในแท่งเดียวกันต่อไปหรือไม่ และวัฒนธรรมของประถม เข้ามามีบทบาท มีอิทธิพลมากกว่ามัธยม จะสร้างปัญหาระยะยาวหรือไม่
การปฏิรูปการศึกษา คือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของครู ผู้ปกครอง นักเรียน แบบที่ปฏิรูปโครงสร้าง ไม่ได้ผลอย่างแท้จริง
ดูประเทศที่เขาไม่มีทรัพยากรธรรมชาติ แต่เห็นคุณค่าและเอาจริงเรื่องทรัพยากรมนุษย์มากกว่าเรา เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง หรือเกาหลีใต้
ในกลุ่ม HRD ของ APEC ที่ผมเป็นประธานคณะทำงาน HRD อยู่ เห็นได้ชัดว่า ประเทศเหล่านั้น เขาเอาจริงกับเรื่องการสร้างทรัพยากรมนุษย์พันธุ์ใหม่ ให้จัดการกับโลกในอนาคตได้
ผู้บริหารโรงเรียน มหาวิทยาลัยของประเทศเหล่านี้ จะเป็นคนที่มีโลกทัศน์กว้าง มีภาวะผู้นำ ใฝ่รู้ มองอนาคตของเศรษฐกิจคู่ไปกับการศึกษา ในขณะที่การปฏิรูปการศึกษาของไทยเน้นการปฏิรูปโครงสร้างเป็นส่วนใหญ่ โดยไม่มีการลงทุนในการพัฒนาทัศนคติ ความรู้ใหม่อย่างจริงจัง เป็นสังคมการเรียนรู้ที่ไม่ต่อเนื่องและไม่ได้ผล
ผลงานของคณะปฏิรูปการปกครองฯ ในการแต่งตั้งทหารและข้าราชการที่เป็นคนดี คนเก่ง และไม่รับใช้นักการเมืองอย่างเห็นได้ชัด ยกย่องให้ท่านเหล่านี้ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ผมดีใจที่ข้าราชการประจำกลับมามีบทบาทที่เหมาะสมต่อไป
ยิ่งไปกว่านั้น การมีอิทธิพลของนักการเมืองในรัฐวิสาหกิจจะน้อยลง จึงเป็นจุดหักเหที่น่าสนใจ
งานของผมเป็นเช่นเดิม สังคมยังให้ความสนใจและหิวกระหายในเรื่องการเรียนรู้ของผมอย่างไม่หยุดยั้ง ทั้งที่มีปัญหาการเมืองที่เป็นอยู่
ผมได้ไปร่วมสร้างภาวะผู้นำ และสร้าง Teamwork ให้แก่กลุ่มบริษัท Softsquare เป็นบริษัทที่ให้การบริการด้าน Software ของคนไทย ซึ่งมีพนักงานเขียน Software อยู่กว่า 400 คน ผู้บริหารเห็นความสำคัญของการสร้างภาวะผู้นำ สร้างสังคมการเรียนรู้ และการสร้างความสุขในการทำงาน โดยเฉพาะให้ชีวิตกับงานไปด้วยกัน ปัจจุบันเรียกว่า work/life Balance
ผมได้ขึ้นเหนือไปเป็นแขกของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย ดร.ทรงศักดิ์ ศรีบุญจิตต์ บรรยายให้นักศึกษาปริญญาโทกว่า 50 คนฟัง ในเรื่องโลกาภิวัตน์กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
การเรียนของเด็กในยุคนี้ ต้องให้เขาทำการบ้าน โดยทำ workshop มีส่วนร่วมมาก ๆ อย่าไปสอนแบบบรรยายข้างเดียว โดยให้นักศึกษาทำ workshop ว่า
- โลกาภิวัตน์คืออะไร
- มีประโยชน์ต่อประเทศอย่างไร
- มีโทษหรือการคุกคามอย่างไร
- จะแก้ปัญหาโดยใช้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างไร
กลุ่มสุดท้ายคือ กลุ่มสมาคมรองผู้อำนวยการสถานการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งประเทศไทย ได้เชิญผมไปบรรยายแบบมีส่วนร่วมให้รองผู้อำนวยการในเขตกรุงเทพฯ และภาคตะวันออก ซึ่งผมได้ให้กำลังใจในการทำงาน และได้เน้นถึงการเป็นสังคมการเรียนรู้ ซึ่งเป็นทิศทางของการบริหารทรัพยากรบุคคลในทศวรรษหน้า ที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา จึงจะสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืนในยุคโลกาภิวัตน์ที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรง จะต้องสร้างศักยภาพตามทฤษฎี 8 K's และ 5 K's ให้เกิดขึ้นในเด็ก และผู้ร่วมงาน และต้องมีการทำงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผมได้รับเชิญให้ไปทำงานต่อเนื่องแก่รองผู้อำนวยการโรงเรียนในภาคตะวันตกที่กาญจนบุรีในเดือนตุลาคมนี้ด้วย
ในวันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน 2549 ผมและมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศและสถานกงสุลไทยประจำโฮจิมินห์จะไปสร้างสังคมการเรียนรู้และการทูตภาคประชาชน (People to People Diplomacy : PPD) ที่เมืองโฮจิมินห์ เวียดนาม แลกเปลี่ยนความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและโลกาภิวัตน์กับภาคเกษตร ให้แก่ข้าราชการและเกษตรกรในเวียดนามประมาณ 40 คน
เป็นการทำงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผมเคยจัดที่กัมพูชา พม่า และจีนตอนใต้มาแล้ว สร้างให้เกิดสังคมการเรียนรู้ ซึ่งทางเวียดนามจะเล่าให้ผมฟังว่า เขามองเรื่องโลกาภิวัตน์ เรื่องภาคเกษตรอย่างไร เพราะเวียดนามจะเป็นสมาชิกของ WTO จึงต้องบริหารความเสี่ยงจากโลกาภิวัตน์มากขึ้น

 

จีระ หงส์ลดารมภ์


[email protected]


โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3


     โทรสาร 0-2273-0181  
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง คณะปฏิรูป: นโยบายเพื่อความยั่งยืน" (ปรับปรุง จัดข้อความใหม่)
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน 

         เช้าวันเสาร์ที่ 30 ก.ย. นี้ ผมรีบเดินทางมาวัดไร่ขิง ด้วยวัตถุประสงค์สองประการ ประการแรก มาทำบุญที่วัดไร่ขิง ประการที่สองเพื่อชมงานประกวดสุนัข ซึ่งจัดโดยสมาคมผู้เลี้ยงสุนัขพันธุ์เยอรมันเช็พเพอดแห่งประเทศไทย

 

การทำบุญที่วัดไร่ขิง มีการพัฒนาเป็นระบบมากขึ้น โดยเฉพาะการถวายสังฆทาน ข้างโบสถ์วัดไร่ขิง มีประชาชนจำนวนมากหมุนเวียนเข้ามาถวายสังฆทาน โดยทางวัดจัดให้มีจตุปัจจัยสำหรับถวายสังฆทานเตรียมไว้ และมีตู้รับบริจาค เปิดโอกาสให้คนที่ยากจนได้มีโอกาสทำบุญถวายสังฆทานได้ โดยไม่จำเป็นต้องซื้อของอะไรไป เพราะทางวัดจัดไว้ให้ เพียงบริจาคเงินใส่ตู้รับบริจาคเท่าใดก็ได้   อีกมุมหนึ่งคือมีการรับบริจาคเงินเพื่อซื้อโรงศพให้สำหรับศพไม่มีญาติ หรือศพผู้ยากไร้ ก็มีประโยชน์สำหรับคนยากจน หรือศพไร้ญาติ ทางวัดก็มีเงินที่ได้รับบริจาคมาซื้อโรงศพให้ได้   ที่เห็นแล้วน่าเป็นห่วงคือสุนัขในวัดมีจำนวนมาก หลายตัวมีอาการขี้เลื้อน ทางราชการควรเข้ามาช่วยเหลือวัดในการจัดการกับสุนัขจรจัด ให้เป็นระบบ และไม่สร้างภาระให้พระ ทำบุญเสร็จผมแวะไปดูงานประกวดสุนัข

 

งานประกวดสุนัขประจำปีของสมาคมผู้เลี้ยงสุนัขเยอรมันเช็พเพอด แห่งประเทศไทย ผมมักติดตามงานนี้ทุกปีถ้ามีโอกาส ปีนี้จัดที่วัดไร่ขิง บริเวณโรงเรียนวัดไร่ขิง

 

ผมเป็นคนชอบสุนัขตั้งแต่สมัยเป็นเด็กวัด พระท่านมอบหมายให้ผมดูแลสัตว์ในวัดทั้งหมด ไก่วัด หมาวัด ปลาหน้าวัด ผมได้รับมอบหมายให้เอาเศษอาหารที่เหลือจากพระและเด็กวัดแล้ว มาแจกสุนัขในวัด อยู่ระยะหนึ่ง เห็นว่าสุนัขแม้เป็นสัตว์แต่มีความรักและกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ได้บทเรียนจากสุนัขในวัดหลายเรื่อง

 

เมื่อครั้งผมบวชเป็นพระ ผมเคยใช้สุนัขเป็นครูสอนเด็กวัด ลูกศิษย์ก้นกุฏิ ที่เกเร และชอบหนีออกจากบ้านเพราะโกรธแม่ที่ชอบดุด่าประจำ ผู้เป็นแม่มาหาผมและขอร้องให้ผมช่วยสอนเด็กเกเรนี้  ผมเรียกเด็กมาสอน โดยใช้สุนัขเป็นครู ผมเรียกสุนัขที่เคยดูแลเป็นประจำมาหา และใช้หนังสือพิมพ์ม้วนและตีสุนัขตัวนั้นอย่างแรง สุนัขตกใจหนี เด็กเกเร อยู่ข้าง ๆ เห็นสุนัขถูกตีอย่างแรง แล้วสุนัขวิ่งหนีตกใจ วิ่งไปยืนอยู่ไกล แล้วมองมาด้วยความงง  จากนั้นผมเรียกสุนัขเข้ามาหาอีกครั้ง สุนัขก็วิ่งเข้ามาหา พร้อมกระดิกหาง สุนัขเข้ามาโดยไม่โกรธ  ผมได้สอนให้เด็กเกเร เห็นว่า แม้สุนัขยังไม่โกรธผู้มีพระคุณ แล้วเราเป็นมนุษย์ ทำไมจึงโกรธผู้เป็นแม่เพราะถูกว่าเท่านั้น  เด็กถึงกับน้ำตาไหลด้วยความประทับใจ และบอกว่าต่อไปนี้จะไม่โกรธแม่จะขอกลับไปดูแลแม่  นี่เรียกว่า สุนัขเป็นครู  เด็กคนนั้นขณะนี้บวชเป็นพระอยู่ที่วัดในจังหวัดเพรชบุรี กลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ ส่วนผู้เป็นแม่เมื่อลูกบวชได้ไม่นานได้เสียชีวิตไป ทั้งแม่ลูกครอบครัวนี้ เป็นครอบครัวคนที่มาจากอีสาน ซึ่งผมได้เคยช่วยอุปถัมภ์เด็กเกเร คนนั้นไว้ เด็กดังกล่าวได้ดีส่วนหนึ่งเพราะใช้สุนัขเป็นครู

 

ด้วยคุณสมบัติที่น่าสนใจของสุนัข ผมจึงเริ่มศึกษาเรื่องเกี่ยวกับสุนัขมากขึ้น พบว่า สุนัขที่ดีที่สุดในโลก มีไม่กี่สายพันธุ์ สายพันธุ์เยอรมันเช็พเพอด เป็นสายพันธุ์หนึ่งที่จัดว่าเป็นสายพันธ์ที่ได้รับการพัฒนาจากภูมิปัญญาชาวบ้านในเยอรมัน และนำมาใช้ในการทหาร ตำรวจ ในบ้านเรานิยมเลี้ยงสุนัขพันธุ์นี้มานาน จนมีสมาคมฯ และมีการนัดพบปะกันระหว่างผู้สนใจเป็นระยะ ๆ

 

การมาชมการประกวดครั้งนี้ก็เพื่อทำชีวิตให้ Balance วิชาการ การทำงาน ครอบครัว ต้นไม้ สัตว์เลี้ยง บริหารให้เกิดความสุขกับชีวิตบ้างตามสมควรสะสมทุนทางความรู้ ทุนทางสังคมของคนรักสุนัข ระหว่างรอเวลาการประกวดสุนัข ผมได้นำ Note book มาเขียนบทความนี้ที่บริเวณสนามประกวดสุนัขด้วย  ในโลกยุคใหม่การใช้ internet การหาความรู้ไม่มีขีดจำกัด ไม่กำหนดสถานที่ สามารถเคลื่อนย้ายได้ตลอดเวลา ได้บรรยากาศที่ร่มรื่นและแปลกใหม่ คิดถึงเมื่อสมัยเป็นเด็กวัด ตอนนั้นไม่มีอะไรเลย ขณะนี้มานั่งทึ่วัด มีคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก หาความรู้ และติดต่อได้ทั่วโลก ในเวลาชั่วไม่กี่นาที

 

วกกลับมาถึงเรื่องบทความจากหนังสือพิมพ์แนวหน้า บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ สัปดาห์นี้ อาจารย์เขียนเรื่อง คณะปฏิรูป : นโยบายเพื่อความยั่งยืน ผมเสนอความเห็นเช่นเคย ข้อความที่มีสีน้ำเงิน คือส่วนที่ผมคัดมาจากบทความของอาจารย์ ส่วนสีดำ เป็นส่วนที่ผมแสดงความคิดเห็น เชิญท่านผู้สนใจติดตามอ่านได้จากข้อความข้างล่างนี้ 
"สิ่งใดที่รัฐบาลเดิมทำไว้ดี ก็คงไว้ สิ่งใดที่เป็นประโยชน์จะทำเพิ่มเติมอย่างรอบคอบ หลายฝ่ายวิจารณ์การสนับสนุนอดีตรองนายกรัฐมนตรี ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ในฐานะผู้สมัครเป็นเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ หากแพ้ก็ไม่เป็นไร เพราะได้สู้อย่างเต็มที่ น่าชื่นชมคณะปฏิรูปการปกครองฯ ที่หลายฝ่าย โดยเฉพาะสื่อโจมตีคณะปฏิรูปการปกครองฯว่า ไม่สมควรจะสนับสนุน"

สิ่งที่ คณะปฏิรูปการปกครองฯ ทำอยู่ขณะนี้ เรียกได้ว่าเป็นการบริการการเปลี่ยนแปลง Change management กับระบบการปกครองของไทย คณะปฏิรูปการปกครองฉลาดทำ การบริหารการเปลี่ยนแปลง เพื่อนำไปสู่สิ่งที่ดีกว่า ถือว่าเป็นการพัฒนาที่ถูกต้อง เมื่อมีสิ่งที่ดีเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมก็ควรคงไว้ ส่วนที่เป็นจุดอ่อน เป็นปัญหาแก่ส่วนรวม ก็ขจัดออกไป นี่เป็นพื้นฐานของการบริหารการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเปลี่ยนแปลงทั้งระบบและคน ผมหวังว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ คณะปฏิรูปการปกครองฯ จะทำให้เกิดประโยชน์แก่ชาติ ทำเพื่อชาติ จริง ๆ ถ้าเป็นเช่นนั้น ผมขอให้คณะปฏิรูปการปกครองฯ ประสบความสำเร็จ เพื่อให้เกิดความผาสุกแก่ประชาชนโดยเร็ว  

 

"คนไทยต้องศึกษาสถานการณ์ต่อไปอย่างใกล้ชิด อย่างรอบคอบ ใฝ่เรียนรู้ ทำใจเป็นกลาง สมัครสมานสามัคคีกันให้มากที่สุด"

ผมเห็นด้วยกับ ศ.ดร.จีระ ที่ว่า คนไทยต้อง*   
  • ศึกษาสถานการณ์ต่อไปอย่างใกล้ชิด
  • รอบคอบ
  • ใฝ่เรียนรู้ *   
  • เป็นกลาง *  
  • สมานสามัคคี

คุณสมบัติของคนไทยที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวมาข้างต้น ถือได้ว่า เป็น Competency หรือสมรรถนะ ของคนทรัพยากรมนุษย์ของไทย ในปัจจุบันและอนาคต จึงอาจกล่าวได้ว่า จะบริหารทรัพยากรมนุษย์ในอนาคตได้อย่างไร คำตอบคือบริหารให้ทรัพยากรมนุษย์เกิดสิ่งเหล่านั้น และมีการวัดผล นำไปสู่การพัฒนาจุดอ่อน หรือสิ่งที่เขายังด้อยอยู่ให้เป็นจุดแข็งในอนาคต แบบมีตัวชี้วัดความสำเร็จว่าต้องให้จุดอ่อนกลายเป็นจุดแข็งในแต่ละประเด็นภายในกี่ปี  แล้วนำมาสู่ยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อสร้างองค์กร เพื่อสร้างชาติต่อไป

"นโยบายประชานิยมของอดีตนายกรัฐมนตรียังคงอยู่ ผมเชื่อว่า อนาคตข้างหน้าคงจะมีการปรับปรุงให้ดีขึ้น เพื่อให้นโยบายไปสู่ความยั่งยืน การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ทำทุกอย่าง อย่างค่อยเป็นค่อยไป เป็นการปฏิรูปที่เน้นสันติวิธีและการประนีประนอม"นโยบายประชานิยม ในความเห็นส่วนตัวของผม คิดว่าเป็นสิ่งที่ดี ถ้าจะกำหนดยุทธ์ศาสตร์แบบให้เกิดทุนทางปัญญา ทุนทางความสุข ทุนทางจริยธรรมและทุนแห่งความยั่งยืน  คนกำหนดนโยบายนี้ หนึ่งต้องคำนึงถึงลูกค้า(ประชาชน)เป็นหลัก สองต้องคำนึงถึงอนาคตของชาติเป็นหลักที่สอง และสามต้องคำนึงถึงผลเสียที่อาจจะตามมา และเตรียมมาตรการรองรับไว้  การปฏิรูปการปกครองฯครั้งนี้  ขอให้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการกำหนดนโยบายสาธารณะและปฏิรูปการปกครองฯ คือ ค่อยเป็นค่อยไป ในสิ่งที่เราถนัดมีทรัพยากรเพียงพอ กำหนดเป้าหมาย แผนงาน การวัดผล และเตรียมการรองรับไว้ กรณีที่เกิดปัญหา ต้องมีแผนอื่นรองรับไว้เสมอ  และขอให้คิดคำนึงถึงพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานให้ไว้หลายเรื่อง คณะปฏิรูปการปกครองฯ น่าจะตั้งคณะกรรมการในการศึกษาพระบรมราโชวาทของท่าน กำหนดขึ้นมาเป็นแบบตรวจสอบ Check list ในการบริหารการปฏิรูปการปกครองฯครั้งนี้ด้วย

"ผมชื่นชมคำสัมภาษณ์ของโฆษกที่เน้นงบประมาณที่พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของไทยอย่างจริงจัง เป็นแนวคิดที่น่าสนใจ เพราะปัจจุบันเป็นโลกของความรู้ หรือสังคมฐานความรู้ เป็นนโยบายที่ทุกประเทศทำ และจะเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งในยุคคุณทักษิณ เรื่องนโยบายระยะยาวอ่อนมาก เช่น เรื่องการศึกษา เรื่องการพัฒนาฝีมือแรงงาน เรื่องพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชน พัฒนาสังคมฐานความรู้ เรื่องการปฏิรูประบบราชการ ปฏิรูประบบการศึกษา ขาดการปฏิรูปพฤติกรรมในการทำงาน ยังทำงานแบบเดิม ไม่มี Innovation ไม่มี Paradigm shift หรือการเปลี่ยนกระบวนทัศน์"

เรื่องที่ โฆษกคณะปฏิรูปการปกครองฯ ได้กล่าวถึงงบประมาณเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างจริงจัง ถือว่าเป็นสัญญานของความโชคดีของประเทศไทย  ที่คณะปฏิรูปการปกครองฯ กล่าวถึงเรื่องนี้ น่าจะเป็นคณะปฏิรูปการปกครองฯคณะแรก ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้  ผมขอให้การให้สัมภาษณ์ดังกล่าว เกิดผลขึ้นจริงจัง ให้งบประมาณด้านการทรัพยากรมนุษย์ มีจำนวนมากพอ ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อชาติจริง ๆ ไม่ใช่ทำกันให้ผ่านไปแค่ปีต่อปี ได้ชื่อว่าทำ  เท่านั้น   

 

คณะปฏิรูปการปกครองฯ น่าจะตั้งคณะกรรมการพิเศษเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อพัฒนาชาติขึ้นมา เป็นกรณีพิเศษ ให้เป็นองค์กรอิสระที่ได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากคณะปฏิรูป จัดทำระบบพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของชาติ ในแต่ละระดับ ให้ชัดเจน ตั้งแต่ทรัพยากรมนุษย์ในครรภ์มารดา จนกระทั่งถึงเชิงตะกอน และมียุทธ์ศาสตร์การพัฒนาคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ทั้งระยะสั้นและระยะยาว และน่าจะให้ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เป็นผู้นำในด้านนี้  
"เรื่องแรก สมควรหรือไม่ที่จะมีการปฏิรูประบบการศึกษาอีกรอบ ที่ทำโดยผู้เชี่ยวชาญ และมองจากความจริง ไม่ใช่มองจากกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายลูก"
 
ในความเห็นส่วนตัวของผม เห็นว่าสมควรจะมีคณะปฏิรูประบบการศึกษาของไทย
เรามีคณะปฏิรูปการปกครองฯ แล้วถ้าจะให้ครอบคลุมระบบการบริหาร ก็ควรมีการปฏิรูประบบการศึกษาด้วย  เพราะการศึกษามีความสัมพันธ์กับระบอบประชาธิปไตย  การศึกษามีความสัมพันธ์กับความมั่นคงของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 

 

นอกจากนี้ ยังเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า ระบบการศึกษาของเรา ยังไม่สามารถสร้างทรัพยากรมนุษย์ของชาติ ที่มีคุณภาพได้ร้อยเปอร์เซ็นต์
สถานบันการศึกษาของเรา ยังไม่ติดอันดับสถาบันการศึกษาที่ดีในโลก หรือในภูมิภาค ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศได้อย่างมีประสิทธิ จึงสมควรให้มีการปฏิวัติทางการศึกษาด้วยโดยเร็ว  

 

"ดูประเทศที่เขาไม่มีทรัพยากรธรรมชาติ แต่เห็นคุณค่าและเอาจริงเรื่องทรัพยากรมนุษย์มากกว่าเรา เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง หรือเกาหลีใต้"
ดูรายชื่อประเทศที่เอาจริงเรื่องทรัพยากรมนุษย์มากกว่าเรา เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง หรือเกาหลีใต้ พวกนี้ล้วนเคยเป็นเมืองขึ้นของต่างชาติมาก่อน เป็นประเทศที่เคยถูกต่างชาติเข้ามายึดอำนาจและทำการปฏิรูปหลายเรื่อง การจัดระเบียบสังคมวัฒนธรรม กฎหมาย การเมือง และแน่นอนคือเรื่องการศึกษาที่ได้รับอิทธิพลจากการปกครองของต่างชาติ  เราน่าจะศึกษาประวัติศาสตร์ของชาติเหล่านี้ นำเอาทั้งปัญหา อุปสรรคและความสำเร็จของประเทศเหล่านี้มาบูรณาการกำหนดเป็นนโยบายสาธารณะพัฒนาชาติของเราให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น โดยเฉพาะนโยบายด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ควบคู่ไปกับนโยบายด้านเศรษฐกิจ สังคมของประเทศ   

 

ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  เชิญท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ     

 

ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน 

 

ยม  
นักศึกษา ปริญญาเอก  
รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต
วันที่ 3 ตุลาคม 2549 

ถึงนักศึกษาปริญญาโท เศรษฐศาสตร์เชียงใหม่ทุกท่าน

            ก่อนอื่น อาจารย์ต้องขอแสดงความยินดี สำหรับนักศึกษาปริญญาโทที่สนใจการมอง Hypothesis เรื่อง ถ้ามีโลกาภิวัตน์จะจัดการอย่างไร ได้รับความคิดเห็นใน Blog กลับมาเกือบ 10 คน เป็นการแสดงออกถึงพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเป็นระบบความคิดที่ดี ขณะเดียวกันก็สนใจการเรียนแบบ 4 L's ทำให้เชื่อมโยงกับต่อยอดกันได้            ผมรู้สึกประทับใจนักศึกษาที่อายุไม่มาก ได้รับการจุดประกายในการนำเรื่องทรัพยากรมนุษย์ เป็นนโยบายในการจัดการโลกาภิวัตน์ในบริบทของภาคเหนือ ซึ่งเน้นไปทุกส่วน ในการทำให้ทรัพยากรมนุษย์ในชนบทมีคุณค่ามากขึ้นอย่างเหมาะสม   มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้มากขึ้น ให้เกิดภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้มีความคิดเรื่องการวิจัยที่ทำให้ทรัพย์สินทางปัญญา มีความเป็นไปได้อย่างไร            ยังมีอีกหลายท่านที่ยังไม่ได้เขียน จึงขอให้แต่ละท่านได้ใช้เวลาคนละ 1/2 ชั่วโมง จะเป็นประโยชน์ต่อนักเศรษฐศาสตร์อีกหลายมหาวิทยาลัย ที่ใช้ประโยชน์จากเรื่องทรัพยากรมนุษย์          อนึ่ง ผมได้เชิญนักเศรษฐศาสตร์จากธนาคารแห่งประเทศไทย 2 ท่าน ซึ่งท่านหนึ่งจบจาก MIT อีกท่านหนึ่งจบจาก Minnesota   ซึ่งเห็นความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ มาร่วมรายการโทรทัศน์กับ ซึ่งออกอากาศวันอาทิตย์นี้ ทาง UBC 7 เวลา 13.00-13.55 .             ระยะนี้นักเศรษฐศาสตร์ ต้องมีบทบาทในการกระตุ้นให้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งรัฐบาลใหม่ดี ไม่มองระยะสั้น แต่มองระยะยาว เป็นจุดหักเหที่มีการพัฒนาคนอย่างเป็นรูปธรรม และทางมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศจะเป็นตัวกลาง กระตุ้นต่อไป

จีระ หงส์ลดารมภ์

ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง ขอต้อนรับ : พลเอกสุรยุทธ์"

ขอต้อนรับ : พลเอกสุรยุทธ์[1]

 

 

ท่านที่ติดตามบทความของผมมาตลอด 7-8 ปี คงจะเห็นแล้วว่าแต่ละสัปดาห์ มีอะไรเกิดขึ้น และตัวเราวิเคราะห์ให้เป็น เราจะเป็นสังคมการเรียนรู้อย่างแท้จริง กระหายความรู้ นำเอาความรู้ไปใช้ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม
สิ่งแรกที่เกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 24
หลายฝ่ายอาจจะไม่เข้าใจประวัติความเป็นมาของท่าน ผมขอเรียนว่า ท่านเป็นทหารมืออาชีพ และเป็นทหารประชาธิปไตย ซี่งดีกว่านักประชาธิปไตยแต่ในรูปแบบ วันนี้ประเทศไทยทำงานแบบ Back to basics ที่เกิดขึ้นทั้งหมดคือ ความถูกต้องและความพอดี หรือหากจะเรียกว่าเป็นความพอเพียงทางการเมือง สังคมและวิถีชีวิตคนไทยคือเดินสายกลาง ไม่หลุดโลกไปทางใดทางหนึ่ง
มี 2 ประเด็นที่น่าจะเขียนถึงท่านนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 คือ
ท่านเป็นคนสมถะ ประหยัดและดำรงชีวิตแบบพอเพียงมาตลอด อุปนิสัยจะช่วยให้บทบาทของท่านนายกรัฐมนตรีคนใหม่เป็นตัวอย่างที่ดี " Role Model " ของคนไทยคือ หลังจากรับตำแหน่ง ท่านได้ไปกราบสมเด็จพระสังฆราช และไปพบผู้ใหญ่ที่ท่านเคารพนับถือ คือ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
หนังสือพิมพ์ The Nation เขียนว่า ช่วงที่นายกฯทักษิณชนะการเลือกตั้ง ท่านไป ช็อปปิ้งที่ เอ็มโพเรียม และดื่มกาแฟที่ Starbucks เป็นการเปรียบเทียบวิถีชีวิตของท่านทั้งสองได้ดี
อีกเรื่องหนึ่ง ภาพของนายกฯ สุรยุทธ์ จะนำไปสู่ภาพของความพอเพียง และเป็นภาพที่สร้างความจริงของสังคมไทย คือจะเจริญทางด้านวัตถุไม่พอ ต้องมี
Heritage
รากเหง้า
Head
คิดเป็น
Heart
มีคุณธรรม
Happiness
มีความสุข ความสมดุลในชีวิต
ในช่วง 1 ปีนี้ที่สำคัญคือ รูปแบบผู้นำของท่าน จะทำให้นิสัยของคนไทย ที่ฟุ้งเฟ้อ ลดน้อยลง สิ่งไม่ดีต่างๆ เช่น ความอยากได้ทุกอย่างเร็วๆ นิยมตะวันตก นิยมวัตถุ การไม่เคารพรากเหง้าหรือประวัติศาสตร์ของตัวเอง มองมนุษย์โดยไม่เน้นการเคารพ ( Respect ) และความมีศักดิ์ศรี ( Dignity ) อาจจะดีขึ้นบ้าง โดยเฉพาะหากท่านนายกฯ คนใหม่เน้นเรื่องสังคมเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นวิถีชีวิตของคนไทยอย่างเป็นรูปธรรมและมองสังคมแบบยั่งยืนเป็นหลัก
ประเด็นนี้น่าสนใจ เพราะยุคคุณทักษิณ ไม่ใช่แค่ระบอบทักษิณ แต่เป็นวัฒนธรรมการคิดแบบคุณทักษิณที่เน้นเงินและอำนาจ แบบทุนนิยมที่ไร้ขอบเขต ไร้จิตวิญญาณเป็นหลัก ซึ่งในที่สุดแล้ว ไม่เหมาะกับสังคมไทยในระยะยาว จึงต้อง back to basics หลังจากเหตุการณ์รัฐประหารผ่านไป 2 สัปดาห์กว่า สิ่งหนึ่งที่ผมได้เขียนไปแล้วช่วงแรกคือ การสร้างความเข้าใจกับประชาคมโลก เพราะโลกาภิวัตน์ มีหลายเรื่องที่กระทบเรา เช่น
- Information Technology
เทคโนโลยีสารสนเทศ และอื่นๆ เช่น Nanotechnology , Biotechnology
-
เรื่องการค้าเสรี , WTO , FTA
-
เรื่องการเงินเสรี อัตราแลกเปลี่ยน
-
บทบาทของจีน อินเดีย และลาตินอเมริกา
-
เรื่องอิทธิพลของประชาธิปไตย และ human right
-
เรื่อง Global warming , ภัยธรรมชาติ
-
เรื่องสงคราม และการก่อการร้าย
-
เรื่องน้ำมันหมดโลก และพลังงานทดแทน
-
เรื่อง Bird Flu หรือไข้หวัดนก
เรื่องใหญ่คือ เรื่องมาตรฐานประชาธิปไตยกับสิทธิมนุษยชนของตะวันตก
จริงอยู่ การศึกษากำหนดมาตรฐานต่างๆ ต้องเน้นทฤษฎี 2 R's ของผมซี่งเน้นว่า จะวิเคราะห์อะไรต้องประกอบด้วย :
Reality
ความจริง
Relevance
ตรงประเด็น
ประชาธิปไตยภายใต้ระบอบทักษิณเป็นเรื่องไม่ปกติ หากปกติคงจะไม่มีการขัดแย้ง ไม่มีคดียุบพรรค ไม่มีคดีฉ้อราษฎร์บังหลวง ความแตกแยกในสังคมไทย ขาดคุณธรรม จริยธรรม
ดังนั้น คนไทยจะต้องอธิบายว่า ปฏิวัติเกิดขึ้นเพราะอะไร ความจริงคืออะไร และแสดงให้เห็นว่า มาแก้ไขเพื่อไปประชาธิปไตยที่ดีในอนาคต ไม่ใช่เห็นรถถังก็กลัว คล้ายว่าถอยหลัง 1 ก้าว เพื่อไปข้างหน้า 2 ก้าวอย่างมั่นคงและยั่งยืน
การอธิบายต่อสังคมโลกเป็นสิ่งสำคัญ อย่าให้มาตรฐานของตะวันตกเป็นมาตรฐานโลกมากำหนดตัวเราเท่านั้น สหรัฐอเมริกายังไม่เห็นพูดถึงประชาธิปไตยในปากีสถาน บางครั้งอเมริกาก็มี Double Standard ด้วย จึงขอเรียนว่า อย่าตกใจไปกับข่าวทางลบของต่างประเทศมากเกินไป ผมคิดว่าอธิบายได้ ผมเป็นคนหนึ่งที่อธิบายให้เพื่อนต่างประเทศทุกวัน
หวังว่าข่าวรัฐประหารจะค่อยๆ จางไป แต่จะขอฝากท่านนายกฯ คนใหม่คือ เรื่องปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปให้คนไทยคิดเป็น เป็นสังคมการเรียนรู้ อยากรู้ อยากมีทุนทางปัญญา ไม่ใช่เห็นแก่ใบปริญญาเท่านั้น โดยเฉพาะในภาคอีสานและภาคเหนือ ประชากรส่วนมาก รอให้รัฐบาลช่วยเหลือ จะทำอย่างไรให้เขาพึ่งตัวเองได้มากขึ้น เพราะงานของรัฐบาลชั่วคราวที่สำคัญ ต้องปรับอุปนิสัยแบมือขอ ที่รัฐบาลไทยรักไทยทำอย่างต่อเนื่องมา 6 ปีเต็ม อบต.หรือองค์กรปกครองท้องถิ่นต่างๆ จะมองการสร้างภูมิคุ้มกันให้ชาวชนบทอย่างไร การจะให้อะไรแบบประชานิยม ก็ต้องแน่ใจว่าระยะยาวอยู่รอดและเข้มแข็งขึ้น
หนังสือพิมพ์ Herald Tribune เขียนว่าการทำให้ชาวบ้านพอใจนั้น พรรคไทยรักไทยเก่งมาก เขาเน้นการตลาด การคิดนอกกรอบ การมีนวัตกรรมทางนโยบาย การใช้พลังทุกอย่าง ซึ่งรัฐบาลชุดใหม่จะต้องมีความเข้าใจ และปรับนโยบายระยะยาว ต้องพิจารณาประเด็นเหล่านี้ด้วย
ขอจบด้วยการเล่าถึงโครงการต่อเนื่องที่ผมทำอยู่ 2 โครงการคือ
โครงการ Learning Forum ที่ Ho Chi Minh ที่ได้จัดไปเมื่อวันศุกร์ที่ 29 กันยายน ซึ่งได้เห็นว่า เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีคุณค่าต่อผู้นำทางภาคเกษตรของเวียดนามมาก เขาศึกษาอย่างละเอียด และมีบรรยากาศในการแลกเปลี่ยนความคิดที่น่าสนใจ ยิ่งกว่านั้น เวียดนามจะขอมาดูงานที่ประเทศไทยด้วย ต้องถือโอกาสขอบคุณท่านกงสุลใหญ่ คุณสมปอง สงวนบรรพ์ และเจ้าหน้าที่ของสถานกงสุล คุณปาริฉัตร ลื้อไพบูลย์พันธ์ คุณพิมพ์พิรี ไพรามาน การทูตภาคประชาชนต้องมีรัฐบาลมาเป็นแนวร่วมด้วย
กงสุลใหญ่ ท่านเป็นคนใฝ่รู้ ให้ความสำคัญกับกิจกรรมของมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศมาก เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสถานกงสุลมานั่งฟังตลอด ได้เห็นวิธีการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรม
ผมได้กลับไปที่โรงเรียนบ้านแพง จังหวัดมหาสารคาม เป็นครั้งที่ 3 ในช่วง 3 ปี กลับไปสร้างสังคมการเรียนรู้กับเด็กนักเรียนกว่า 400 คน ผอ.วาสนา เลื่อมเงิน เป็นลูกศิษย์ผม และเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนที่ทำงานนอกกรอบ สนใจการสร้างแนวร่วม Network ลูกศิษย์ก็กระตือรือร้น เช่น กลุ่มมัธยมศึกษา บอกว่า จะให้ผมและมูลนิธิฯ ช่วยสนับสนุนให้มาดูอุทยานวิทยาศาสตร์ในจังหวัดปทุมธานี การศึกษาในอนาคตไม่สามารถจะใช้แบบการบริหารในกล่อง รอให้รัฐบาลมาช่วย ต้องกระโดดออกนอกกล่อง พึ่งตัวเอง และให้นักเรียนเป็นผู้ได้ประโยชน์ ไม่ใช่ผู้อำนวยการโรงเรียนวิ่งหาตำแหน่ง เพื่อจะได้ C8 ตลอดเวลา

 จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง ขอต้อนรับ : พลเอกสุรยุทธ์"(ต่อ)

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

เช้านี้ วันเสาร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ผมหาความรู้ ทาง internet และค้นหาอ่านบทความ บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ ซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่องว่า ขอต้อนรับ : พลเอกสุรยุทธ์[1]ในบทความนี้          ศ.ดร. จีระ เขียน ถึงนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันได้อย่างน่าสนใจ และท่านได้เล่าเรื่องสำคัญที่ท่านได้ทำประโยชน์แก่สังคมไว้อย่างน่าสนใจเช่นกัน ผมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม โดยใช้ข้อความข้างล่างนี้ แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ  


สิ่งแรกที่เกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 ประเด็นนี้ แสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยะภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ในการตัดสินพระทัยโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี  งานนี้ ถ้าไม่ใช่คนดี มีคุณธรรม และเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย จนเป็นที่ประจักษ์ แก่ราษฎรอย่างท่านองคมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ ก็อาจจะทำให้มีประท้วงครั้งใหญ่และอาจนำไปสู่การปฏิวัติซ้อนได้  เป็นแบบอย่างที่ดีในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา  เหมือนให้ยาที่ถูกกับโรคที่เกิดขึ้น  ในองค์กรถ้ามีปัญหาแล้วคิดให้รอบคอบ มองการณ์ไกล รองรับปัญหาที่คาดว่าน่าจะเกิด แล้วตัดสินใจบนหลักการและเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์ เป็นใหญ่ การตัดสินใจแก้ไขปัญหานั้นก็จะบรรลุวัตถุประสงค์   ผมชื่นชม และขอสรรเสริญคณะองคมนตรีด้วยความเคารพและนับถืออย่างสูง ที่พวกท่านคอยถวายการดูแล ช่วยเหลือภารกิจ ต่าง ๆ ของพระองค์ท่าน เป็นอย่างดี  เป็นตัวอย่างที่ดีของการทำงานเป็นทีม ความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์    
มี 2 ประเด็นที่น่าจะเขียนถึงท่านนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 คือ
ท่านเป็นคนสมถะ ประหยัดและดำรงชีวิตแบบพอเพียงมาตลอด อุปนิสัยจะช่วยให้บทบาทของท่านนายกรัฐมนตรีคนใหม่เป็นตัวอย่างที่ดี " Role Model " ของคนไทยคือ หลังจากรับตำแหน่ง ท่านได้ไปกราบสมเด็จพระสังฆราช และไปพบผู้ใหญ่ที่ท่านเคารพนับถือ คือ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
ผมสนใจและประทับใจ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ มากขึ้น เมื่อครั้งทราบข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์หลายฉบับว่า เมื่อท่านพ้นจากตำแหน่งทางราชการแล้ว ท่านหันไปบวช เพื่อต้องสละกิเลสทั้งหลาย ใช้ชีวิตเรียบง่ายสันโดษ มีคุณค่า อันที่จริง คนระดับนี้ พร้อมที่จะเลือกหาความสุขได้หลายรูปแบบ แต่กลับเลือกมาทางพุทธศาสนาเป็นเครื่องชี้นำ เป็นสิ่งที่น่าสนใจ และน่าสรรเสริญ อย่างยิ่ง  เป็นแบบอย่างที่ดีของการดำเนินชีวิตที่มีศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย  ภาพที่ท่านใช้ชีวิตเรียบง่าย ชอบเดินป่า และภาพการออกบวช เดินบิณฑบาต ยังอยู่ในความทรงจำของคนไทยได้ดี 

อีกเรื่องหนึ่ง ภาพของนายกฯ สุรยุทธ์ จะนำไปสู่ภาพของความพอเพียง และเป็นภาพที่สร้างความจริงของสังคมไทย คือจะเจริญทางด้านวัตถุไม่พอ ต้องมี
Heritage
รากเหง้า
Head
คิดเป็น
Heart
มีคุณธรรม
Happiness
มีความสุข ความสมดุลในชีวิต สิ่งที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวในประเด็นนี้ ผมคิดว่า เป็นรูปแบบของการดำเนินชีวิตที่ยั่งยืน  การดำเนินชีวิต จะเจริญแต่วัตถุนิยมอย่างเดียวนั้นไม่ยั่งยืน  ต้องเจริญด้วย ศีล สมาธิ สติปัญญา เจริญด้วยทุนที่เกี่ยวกับมนุษย์ ตามทฤษฎี 8K’s ของ ศ.ดร.จีระ  เป็นสิ่งที่ผู้นำประเทศ ควรต้องมียุทธ์ศาสตร์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ให้เจริญตามแนวคิดที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวถึงไว้อยู่เสมอ ผมยังอยากให้ ศ.ดร.จีระ เข้าไปช่วยรัฐบาลชุดนี้ ในตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงานฯ หรือเป็นที่ปรึกษาขอรัฐบาลชุดนี้ เพื่อกู้วิกฤตทางด้านทรัพยากรมนุษย์ ของชาติซึ่งยากที่จะหาคนที่มีสายตาแหลมคม มองเห็นปัญหาเรื่องทรัพยากมนุษย์ได้ลึก กว้างและไกลได้เช่นนี้

 

 

ในช่วง 1 ปีนี้ที่สำคัญคือ รูปแบบผู้นำของท่าน จะทำให้นิสัยของคนไทย ที่ฟุ้งเฟ้อ ลดน้อยลง สิ่งไม่ดีต่างๆ เช่น ความอยากได้ทุกอย่างเร็วๆ นิยมตะวันตก นิยมวัตถุ การไม่เคารพรากเหง้าหรือประวัติศาสตร์ของตัวเอง มองมนุษย์โดยไม่เน้นการเคารพ ( Respect ) และความมีศักดิ์ศรี ( Dignity ) อาจจะดีขึ้นบ้าง โดยเฉพาะหากท่านนายกฯ คนใหม่เน้นเรื่องสังคมเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นวิถีชีวิตของคนไทยอย่างเป็นรูปธรรมและมองสังคมแบบยั่งยืนเป็นหลัก ผมมีความเชื่อเช่นเดียวกับ ศ.ดร.จีระ ว่า ถ้าผู้นำประเทศ  กระตุ้นให้ทรัพยากรมนุษย์ของชาติ มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง และส่งเสริมให้เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตของชาวไทย อย่างเห็นผลชัดเจน มีตัวชี้วัดได้ จะเป็นการพัฒนาชาติที่ยั่งยืน ถึงแม้เวลาบริหารประเทศจะกำหนดไว้เพียงไม่เกิน 1 ปี สำหรับรัฐบาลชุดนี้ แต่ถ้ามีทีมคณะรัฐมนตรีที่มีคุณภาพ รู้จริง และอาสา อยากมาช่วยพัฒนา แก้ไขปัญหาบ้านเมืองเพื่อชาติ ก็จะสามารถทำได้ แม้กระทั่งการกำหนดรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ก็ควรให้มีและใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วย พื่อกู้วิกฤตทางด้านทรัพยากรมนุษย์

 

สิ่งหนึ่งที่ผมได้เขียนไปแล้วช่วงแรกคือ การสร้างความเข้าใจกับประชาคมโลก เพราะโลกาภิวัตน์ มีหลายเรื่องที่กระทบเรา เช่น
- Information Technology
เทคโนโลยีสารสนเทศ และอื่นๆ เช่น Nanotechnology , Biotechnology
-
เรื่องการค้าเสรี , WTO , FTA
-
เรื่องการเงินเสรี อัตราแลกเปลี่ยน
-
บทบาทของจีน อินเดีย และลาตินอเมริกา
-
เรื่องอิทธิพลของประชาธิปไตย และ human right
-
เรื่อง Global warming , ภัยธรรมชาติ
-
เรื่องสงคราม และการก่อการร้าย
-
เรื่องน้ำมันหมดโลก และพลังงานทดแทน
-
เรื่อง Bird Flu หรือไข้หวัดนก
เรื่องใหญ่คือ เรื่องมาตรฐานประชาธิปไตยกับสิทธิมนุษยชนของตะวันตก

สิ่งที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวมาในประเด็นนี้ ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อประเทศ ต่อประชาชนคนไทยทั้งปัจจุบันและอนาคต และเป็นเรื่องใหญ่ เรื่องสำคัญ ที่ควรต้องมีคณะรัฐบาลที่ดี มีฝีมือ มีคุณธรรม มีอุดมการณ์เพื่อชาติ เข้ามาช่วยบริหารจัดการ  และที่น่าเป็นห่วงคือ ท่านจะได้คนดี มีฝีมือเหล่านี้มาอย่างไร เพราะเขาเหล่านั้นมักไม่แสดงตน และใช้ชีวิตเรียบง่ายแบบท่านนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์  
ถอยหลัง 1 ก้าว เพื่อไปข้างหน้า 2 ก้าวอย่างมั่นคงและยั่งยืน
ผมชอบประโยคนี้ ของ ศ.ดร.จีระ คือเข้าใจง่ายและใช้อธิบายเหตุผลของการปฏิวัติครั้งนี้ให้นักเรียน นักศึกษาเข้าใจได้ดี  เรียกว่า จังหวะของชีวิต บางครั้งในการเดินไปข้างหน้า เมื่อพบปัญหาอุปสรรคบนเส้นทางเดิน ก็จำเป็นต้อง หยุดและถอยหลัง เพื่อก้าวกระโดดไปข้างหน้าให้ได้ไกลกว่าที่ผ่านมา การบริหารจัดการเรียกว่า เป็นศิลปะในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ก็ว่าได้ อย่างไรก็ตาม การถอยหลังก็ต้องถอยอย่างรอบคอบ สง่างาม มีการสื่อสารที่ดี มิฉะนั้นประชาคมโลกจะเข้าใจผิด อีกประเด็นหนึ่งก็คือ เมื่อถอยแล้ว การจะก้าวกระโดดไปข้างหน้า ต้องพร้อม มั่นคง ยั่งยืน สง่างามกว่าที่ผ่านมา และช่วงจังหวะหยุดและถอย กับการจะกว้ากระโดด อย่าให้นานจนเกินไป เพื่อรักษาประโยชน์ของชาติ เป็นหลัก


 

หวังว่าข่าวรัฐประหารจะค่อยๆ จางไป แต่จะขอฝากท่านนายกฯ คนใหม่คือ เรื่องปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปให้คนไทยคิดเป็น เป็นสังคมการเรียนรู้ อยากรู้ อยากมีทุนทางปัญญา ไม่ใช่เห็นแก่ใบปริญญาเท่านั้น
ประเด็นนี้ เห็นได้ชัดว่า การระบบการศึกษาสมควรมีการปฏิวัติ และจัดการใหม่  ผมเห็นรัฐบาลหลายคณะ มาบริหารประเทศไม่ค่อยได้เน้นเรื่องนี้อย่างจริงจัง มัวแต่ไปเน้นการก่อสร้าง วัตถุนิยม  ที่อินเดีย เน้นเรื่องการศึกษามากกว่าการสร้างวัตถุนิยม  ผมเชื่อว่าในที่สุดอินเดียจะเป็นประเทศที่พัฒนาแบบยั่งยืนกว่าประเทศจีน ที่ขณะนี้มุ่งเน้นการวางผังเมือง การสร้างอาคารต่าง ๆ อย่างมาก  
หนังสือพิมพ์ Herald Tribune เขียนว่าการทำให้ชาวบ้านพอใจนั้น พรรคไทยรักไทยเก่งมาก เขาเน้นการตลาด การคิดนอกกรอบ การมีนวัตกรรมทางนโยบาย การใช้พลังทุกอย่าง ซึ่งรัฐบาลชุดใหม่จะต้องมีความเข้าใจ และปรับนโยบายระยะยาว ต้องพิจารณาประเด็นเหล่านี้ด้วย

จุดเด่นของพรรคไทยรักไทย คือทำให้ชาวบ้านพอใจโดยใช้ระบอบประชานิยม ในการบริหารนโยบายสาธารณะ มีทั้งส่วนดีและส่วนไม่ดี  ดีคือสามารถสนองความต้องการของลูกค้า(ประชาชนได้) รัฐฯควรมองประชาชนเป็นลูกค้า และสนองความต้องการของลูกค้าได้  One stop service ในหน่วยงานราชการหลายแห่ง เกิดขึ้นในยุครัฐบาลของท่านทักษิณ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี รัฐบาลอิเล็คโทรนิค ก็เช่นกัน

 

อย่างไรก็ตามจุดอ่อนคือขาดการวิเคราะห์ผลกระทบระยะยาวในนโยบายสาธารณะ โดยเฉพาะนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมือง ยังขาดหลักการแห่งความยั่งยืน  รัฐบาลยุคท่านทักษิณ เป็นครูที่ดี แก่ผู้นำและสัจจะธรรมชีวิต ทุกอย่างในโลกล้วนมีการเปลี่ยนแปลง และไม่มีอะไรแน่นอนในโลกนี้  เมื่อมีมา ย่อม มีไป เมื่อมีเกิด ย่อมมีแก่ มีเจ็บและตาย

 

อดีตนายกฯทักษิณ ให้บทเรียนที่ดีแก่ผู้นำทั้งหลาย ทุกองค์กร พังสังวร ขอให้มองการณ์ไกลอย่างที่ ศ.ดร.จีระ เคยสอนนักศึกษาปริญญาเอกว่า อีก 20 ปีจะเกิดอะไรขึ้นในประเทศไทย  และจะแก้ไข ป้องกันอย่างไร  ทำให้คิดต่อไปว่า อีก 20 ปี จะเกิดอะไรขึ้นกับตัวเรา กับเครือข่าย กับทุนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต และจะบริหารจัดการอย่างไร เป็นสิ่งที่น่าคิดต่อไปว่า หลังจาก 1 ปี ของรัฐบาลชุดนี้จะเกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทย  เศรษฐกิจ ส้งคม การเมือง การศึกษาของไทย จะเป็นอย่างไร จะเป็นประเด็นที่น่าสนใจ และเป็นสิ่งกำหนดอนาคตประเทศไทย 

ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  เชิญท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ    

ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน   

ยม  

นักศึกษา ปริญญาเอก  

รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต 

ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ แค่ปรับ Mindset ก็พอ"
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน  
เช้านี้ วันเสาร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ผมหาความรู้ ทาง internet และค้นหาอ่านบทความบทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่องว่า ในบทความนี้ ศ.ดร. จีระ เขียนเรื่อง แค่ปรับ Mindset ก็พอ ได้เล่าเรื่องที่ท่านได้ทำและน่าสนใจ ผมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม โดยใช้ข้อความข้างล่างนี้ แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ    

 


สิ่งที่สำคัญมากในระดับประเทศที่อยากขอฝากรัฐบาลชุดใหม่คือ การปฏิรูปการศึกษา ในหลายเรื่องที่ต้องทำคือ การปรับ Mindset ทัศนคติของผู้บริหารให้มองการศึกษาเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเศรษฐกิจแบบยั่งยืน และอยู่ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างเร็วได้ คือ เน้น ทุนทางปัญญา ทุนทางสังคม (Networking) และเน้นทุนแห่งความยั่งยืน

 พูดถึงระบบการศึกษา ของประเทศเรา ยังไม่สามารถสร้างคนให้ทันโลกทันเหตุการณ์ มีทุนทางปัญญา เพียงพอกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทั้งในประเทศและต่างประเทศ  ถ้าเปรียบเสมือนรถ  ก็เปรียบเทียบได้ว่า ระบบส่งกำลังที่จะขับเคลื่อน ไปข้างหน้า มีปัญหา ถึงขั้นทำให้ไม่สามารถรักษาอันดับต้น ๆ ไว้ได้ แนวทางแก้ไขคือต้องฟิตเครื่องใหม่ หาเครื่องยนต์ใหม่ มาใส่  ในการบริหารเชิงกลยุทธ์  ปัญหาในองค์กรใหญ่เล็ก มักจะมีอยู่สองเรื่อง ใหญ่ ๆ  คือ 1 ปัญหาเรื่องระบบ  2 ปัญหาเรื่องคน  ซึ่งควรต้องแก้ไขพร้อมกันไป ทรัพยากรมนุษย์ เป็นตัวสร้าง บริหารระบบ ถึงแม้ว่าควรแก้ทั้งสองปัญหาไปพร้อม ๆ กัน แต่การแก้ปัญหาเรื่องคน ต้องให้ถูกจุด ตรงประเด็น ก็คือปรับทัศนคติ ความคิด เพิ่มองค์ความรู้ใหม่ ๆ เข้าไป เพื่อคนจะได้นำความรู้ ทัศนคติใหม่ ๆ ไปบริหารจัดการระบบ ได้ดี  การศึกษาในไทย จึงต้อง ปฏิรูป ปฏิวัติกันบ่อย  ๆ ทำทั้งแบบค่อยเป็นค่อยไป และบางเรื่อง ต้องทำทันที ต้องมีการบริหารการเปลี่ยนแปลงให้ดี


ผมเห็นว่า ตราบใดก็ตาม หากคนไทยใฝ่รู้ มี Lifelong Learning มากขึ้น อยากรู้อยากเห็นมากขึ้น ( Curiosity ) ตั้งคำถามที่น่าสนใจ และคิดนอกกรอบ แทนที่จะขยันในการหาคำตอบที่ตายตัวแบบที่เป็นอยู่ ประเทศคงอยู่รอดแน่นอน

 ในโรงเรียนประถม ส่วนใหญ่ สอนให้นักเรียนท่องจำ ขยันหาคำตอบให้ตรงกับที่ครู ตั้งไว้ล่วงหน้าแล้ว  เด็กไทยจึงเบื่อการเรียน และหันไปเสพสิ่งบันเทิงอื่น ๆ เป็นปัญหาสังคมอยู่ทุกวันนี้  ตราบใดถ้า Mind Set ของผู้บริหารการศึกษาในโรงเรียนบางแห่ง ครูรุ่นเก่า ๆ ไม่เปลี่ยน อนาคตทรัพยากรมนุษย์ของไทย คงสู้ต่างชาติไม่ได้    ที่จริงการระบบการศึกษาในญี่ปุ่น น่าสนใจ ทั้งครูและนักเรียนญี่ปุ่นมี Mind Set ที่ดีกว่าเรา ผมเคยไปอยู่ที่ญี่ปุ่น เห็นการสอนเด็กอนุบาล เด็กประถม ที่ญี่ปุ่น มองออกได้ว่า เขามีระบบการจัดการที่ดี ผสมผสาน บูรณาการ การเรียนการสอน ของชาติที่เจริญแล้ว มาเป็นแบบ ญี่ปุ่น ญี่ปุ่นจึงสามารถกู้สถานการณ์ของประเทศได้เร็ว ก็ด้วยทรัพยากรที่มีคุณภาพ จากวัยเด็กมาสู่ผู้ใหญ่ มาช่วยพัฒนาชาติ และยังสามารถช่วยเหลือประเทศที่ด้อยกว่าได้อีกด้วย 

 


ผมคิดว่าเศรษฐกิจพอเพียง มีจุดแข็งที่ว่า จะทำอะไร รู้ให้จริง มีความคิดสร้างสรรค์ มีเหตุมีผล และนำไปสร้างนวัตกรรม ( Innovation ) แต่ที่สำคัญคือ ต้องมีคุณธรรม จริยธรรม และอยู่อย่างยั่งยืน เรื่องแรกที่จะเล่าให้ฟังคือ ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม เป็นต้นไป ผม ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุธ จะนำเสนอสารคดีสั้น 5 นาทีเฉลิมพระเกียรติ เรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียงและโลกาภิวัตน์" ทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ติดต่อกัน ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 เวลา 22.40-22.45 น. เพื่อให้ผู้ชมได้รู้ว่า
- เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร
- โลกาภิวัตน์คืออะไร
- เศรษฐกิจพอเพียงจะช่วยคนไทยให้อยู่ในโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร
- และให้รู้ว่าเศรษฐกิจพอเพียงช่วยทุกส่วนของสังคมไทย ไม่ใช่แค่ภาคเกษตร และทำให้เราอยู่ในโลกาภิวัตน์ได้อย่างยั่งยืน

  รายการ เศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ที่ ศ.ดร.จีระ ออกอากาศทุกวันจันทร์ ถึง ศุกร์ เวลา 22.40-22.45 เป็นรายการที่ดี มีประโยชน์ สอดโครงกับนโยบายสาธารณะในรัฐบาลชุดนี้ และเป็นการนำแนวคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาต่อยอด ขยายผลอย่างเป็นรูปธรรม ในบทบาทของครูของชาติ  เมื่อทางรัฐบาล จะนำเอาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ไปทำเป็นหลักสูตรการเรียน การสอน ผมขอกราบเรียนทางภาครัฐ ผ่าน Blog นี้ว่า ขอให้ทำเรื่องง่ายให้เป็นเรืองง่ายยิ่งขึ้น ให้เป็นเรื่องที่น่าชวนติดตาม น่าโน้มนำไปปฏิบัติ รายการนี้ ที่จริงแล้ว เนื้อหาสาระ ที่ ศ.ดร.จีระ และทีมงานกำกับ นั้น ดี มีประโยชน์ สามารถนำไปเป็นสื่อการเรียนการสอนเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ได้ทั่วประเทศ 

 


แต่สิ่งสำคัญคือ เศรษฐกิจพอเพียงต้องเป็นสังคมการเรียนรู้ ใฝ่รู้ตลอดเวลา นอกจากมีคุณธรรมแล้ว ยังต้องคิดเป็น ทำเป็น มี Head Heart และ Hand อย่างที่คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์แนะนำไว้

 เศรษฐกิจพอเพียง ต้องเป็นสังคมการเรียนรู้ ใฝ่รู้ตลอดเวลา ตรงนี้สำคัญมาก การจัดให้ประชาชนได้มีการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง รัฐและเอกชน ควรร่วมมือกัน ทำไปอย่างมีทิศทางเดียวกัน  ขณะนี้ การโฆษณาทีวี เกี่ยวกับ เรื่อง  เศรษฐกิจพอเพียง มักจะเน้นที่การออมเงิน  การทำกินบนพื้นฐาน ประหยัด พอเพียง ผมว่า ยังไม่ไร้ทิศทาง ที่จริงควรโฆษณา ออกมาในแนวกระตุ้นให้คนไทยอยากรู้ อยากเห็น อยากทำ ร่วมกันในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง  โฆษณา ให้คนไทยตื่นตัวเรื่องการเรียนรู้ ใฝ่รู้ ทุกระดับ ส่งเสริมให้คิด ให้ทำ อย่างสร้างสรรค์ ไม่ใช่แค่อดออมอย่างที่เป็นอยู่ มิฉะนั้นจะเกิดปัญหา ถ้าทุกคนทั้งประเทศหันมาเก็บออม ระบบเศรษฐกิจ อาจจะมีปัญหาได้ เพราะการใช้จ่ายภาคครัวเรือน ชะลอตัวลง ภาคธุรกิจก็จะไม่คล่องตัว ภาครัฐจะเก็บภาษีได้น้อยลง 

 

  

สำคัญที่สุดและยังจำเป็นที่จะต้องมีความคิดที่นอกกรอบ เช่น Creativity ความคิดสร้างสรรค์ และนำ Creativity ไปสู่ Innovation นวัตกรรม แต่ต้องมีคุณธรรมและมีความรู้ที่แน่น ไม่ใช่พอเพียงแค่อยู่รอด หากรอดแล้ว ต้องไม่ประมาท หาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา การขยายตัวอย่างมั่นคงจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะมนุษย์ต้องการความก้าวหน้า ( Progress ) ที่ยั่งยืน

 ประโยคนี้ สามารถอธิบายแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้เข้าใจง่าย และประโยคนี้ สามารถที่จะนำไปทำรายการ ทำสื่อการเรียนการสอน เกี่ยวกับแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์  เพื่อสื่อให้ประชาชนคนไทย ได้มีความเข้าใจเรื่องยิ่งขึ้นได้

มีหนังสือเล่มล่าสุดของ John Naisbitt ซึ่งเคยเขียนเรื่อง Megatrends ที่ดังมากมาแล้ว บอกว่า การที่คนยุคใหม่จะประสบความสำเร็จได้ ต้องมีวิธีการคิด และวิธีการทำงานที่ใหม่เสมอ อย่ามีวิธีคิดแบบเดิม พร้อมจะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ถ้ามีข้อมูลใหม่ ผมคิดว่า การที่จะเปลี่ยน mindset ได้ จะต้องหาความรู้ให้ทันโลกและสดใหม่อยู่เสมอ ข้ามศาสตร์ และวิเคราะห์แบบโป๊ะเชะ วิธีการหาความรู้ต้องเป็นวิธีที่ตัวเรามีส่วนร่วม ไม่ใช่ฟังข้างเดียว เราต้องวิเคราะห์เป็น และวิเคราะห์แบบทฤษฎี 2 R's คือ
- Reality มองความจริง
- และ Relevance ตรงประเด็น
  การที่คนยุคใหม่จะประสบความสำเร็จได้ ต้องมีวิธีการคิด และวิธีการทำงานที่ใหม่เสมอ อย่ามีวิธีคิดแบบเดิม พร้อมจะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ถ้ามีข้อมูลใหม่  ประโยคนี้ เป็นจริงครับ  ในยุคที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ การทำงานแบบเดิม ๆ คิดแบบเดิม ๆ วิธีการเก่า ที่เคยทำสำเร็จในอดีต จะไม่สามารถรับรองความสำเร็จในปัจจุบันและอนาคตได้   มหาวิทยาลัยในประเทศเรา นับจากปี ค.ศ. 2000 วิชาการองค์ความรู้ต่าง ๆ ต้องปรับใหม่หมด ให้ทันโลกทันเหตุการณ์ วิธีการเรียนการสอน ต้องปรับใหม่  เรียกว่า ทุกมหาวิทยาลัย ต้องเริ่มใหม่ ใครคิดก่อน เปลี่ยนก่อน ได้เปรียบ    การทำงานยุคใหม่ นอกจากต้องคิดใหม่ ๆ เสมอ พร้อมเปลี่ยนแปลงแล้ว ต้องเร็ว มีประสิทธิภาพ เรียกว่า เร็วกว่า ดีกว่า ถูกว่า มีประสิทธิภาพกว่า


เมื่อเร็ว ๆ นี้ PMAT สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย กล้าไปจัดสัมมนาเรื่อง HRM ในภาคอิสาน ซึ่งผมได้รับเชิญด้วย เดิม PMAT อาจคิดว่ามีแต่คนในกรุงเทพฯ เท่านั้นที่สนใจ ปรากฏว่าคนในภาคอิสานตื่นตัวมาก เพราะได้แนวคิดใหม่ ๆ

คนอีสาน เป็นคนที่มีเอกลักษณ์ เป็นของตนเอง ทั้งโครงสร้างร่างกายและจิตใจ ประเพณีวัฒนธรรมอีสาน เป็นจุดเด่น แม้กระทั่งคนต่างชาติเริ่มเห็นจุดเด่นตรงนี้ และหันมาปักหลัก สร้างครอบครัวที่อีสานมากขึ้น  ในอีก 20 ปีข้างหน้า คนอีสานจะมีบุคลิกภาพใหม่ จมูกโด่ง สูง ยาว สมอง ปัญญาดี กว่าเก่า คนอีสานจะพัฒนาเร็วขึ้นและเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาสังคมมากยิ่งขึ้น 

 

 คนดี มีน้ำใจ ที่อีสานมีมากมาย เป็นสิ่งที่ผมศึกษามานาน เมื่อครั้งผมไปอยู่ที่อีสาน เพื่อทำวิจัย ในโครงการบัณฑิตอาสาสมัครมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ไปใช้ชีวิตกับคนอีสานเกือบสองปี  คนอีสานเป็นคนรวย   คนจะรวย รวยศีลทาน ใช่บ้านโต คนอีสานรักษ์ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม ที่ ม.ขอนแก่น ทำตรงนี้ได้ดี ขอชื่น ที่ ม.ขอนแก่น ก็เป็นตัวอย่างที่ดีของคนอีสาน  
คณะนี้ขอให้ผมในฐานะ Lead Shepherd ของ HRD Working Group ใน APEC ติดต่อไปดูงานระบบสารสนเทศกับการสอน ที่กรุงโซล ซึ่งผมรู้จักเกาหลีใต้ดี ได้เจรจาให้จนประสบความสำเร็จ และได้เซ็นสัญญากับโรงเรียนในเกาหลี ว่าจะแลกเปลี่ยนเรื่อง ICT กับการเรียนการสอน เพราะเกาหลีเขาเอาจริงเรื่อง ICT กับการสอน และการแลกเปลี่ยนนักเรียนและครูในอนาคตด้วย

สิ่งที่ ศ.ดร.จีระ ทำอยู่ ถือว่าเป็นประโยชน์กับสังคม ประเทศชาติอย่างมาก การเชื่อมโยง จุดแข็งของประเทศต่าง ๆ ที่เป็นพันธมิตร และมองประเทศไทยเป็นเพื่อนบ้านที่ดี  มาเสริมจุดอ่อนของชาติเรา ถือว่าเป็นยุทธศาสตร์การต่างประเทศ ยุทธศาสตร์การทูต ยุทธศาสตร์การปฏิรูประบบการศึกษาที่น่าสนใจ  นำไปเป็นแม่แบบ ในการกำหนดนโยบายสาธารณะ สำหรับรัฐบาลชุดนี้ และชุดต่อ ๆ ไป

 


ทัศนคติของผู้บริหารชุดนี้คือ ทำ ทำ และทำให้สำเร็จ พึ่งตัวเอง ทำจริง คิดนอกกรอบ นึกถึงลูกค้าคือนักเรียน

ระบบราชการของเรา อยู่ในระหว่างปฏิรูป  ขั้นตอนยังคงมีมาก รอไม่ได้ ต้องคิดถึงลูกค้าคือนักเรียน ตรงนี้ เป็นตัวอย่างที่ดี น่ายกย่อง น่าศึกษา หน่วยงานราชการอื่น ๆ ทีติดขัดปัญหา ก็น่าจะลองศึกษาวิทยายุทธ์ของครูอาจารย์ ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สมุทรปราการ ถ้าทั้งประเทศทำเช่นนี้ได้ ผมคิดว่าจะเกิดประโยชน์กับประเทศชาติ เป็นอย่างมาก

 

 

  ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์ช่อง 11 ชื่อรายการสู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และ รายการ เศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ทุกวันเวลา 22.40 น. 22.45 น.นอกจากนี้ ยังออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  เชิญท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ       
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน               

ยม

นักศึกษาปริญญาเอก 

รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎบัณฑิต 

 

 [email protected]01-9370144
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ แค่ปรับ Mindset ก็พอ"
แค่ปรับ mindset ก็พอ[1]

ในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมเขียนแต่เรื่องการเมือง เนื่องจากการเมืองในประเทศไทยไม่ปกติ แต่เมื่อเริ่มเข้ารูปเข้าร่างแล้ว ก็จะเล่าถึงงานของผมต่อไป บทความของผมจะเน้นการเรียนรู้จากความจริง จากกิจกรรมต่าง ๆ ที่ผมได้ทำไป นำมาแบ่งปันกัน และสร้างมูลค่าเพิ่ม แต่ละเรื่องจะทำให้คนไทยมีวัฒนธรรมการเรียนรู้มากขึ้น คิดเป็น วิเคราะห์เป็น นำไปใช้เป็นประโยชน์
สิ่งที่สำคัญมากในระดับประเทศที่อยากขอฝากรัฐบาลชุดใหม่คือ การปฏิรูปการศึกษา ในหลายเรื่องที่ต้องทำคือ การปรับ mindset ทัศนคติของผู้บริหารให้มองการศึกษาเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเศรษฐกิจแบบยั่งยืน และอยู่ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างเร็วได้ คือ เน้น ทุนทางปัญญา ทุนทางสังคม ( Networking ) และเน้นทุนแห่งความยั่งยืน
ผมเห็นว่า ตราบใดก็ตาม หากคนไทยใฝ่รู้ มี Lifelong Learning มากขึ้น อยากรู้อยากเห็นมากขึ้น ( Curiosity ) ตั้งคำถามที่น่าสนใจ และคิดนอกกรอบ แทนที่จะขยันในการหาคำตอบที่ตายตัวแบบที่เป็นอยู่ ประเทศคงอยู่รอดแน่นอน
ผมคิดว่าเศรษฐกิจพอเพียง มีจุดแข็งที่ว่า จะทำอะไร รู้ให้จริง มีความคิดสร้างสรรค์ มีเหตุมีผล และนำไปสร้างนวัตกรรม ( Innovation ) แต่ที่สำคัญคือ ต้องมีคุณธรรม จริยธรรม และอยู่อย่างยั่งยืน เรื่องแรกที่จะเล่าให้ฟังคือ ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม เป็นต้นไป ผม ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุธ จะนำเสนอสารคดีสั้น 5 นาทีเฉลิมพระเกียรติ เรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียงและโลกาภิวัตน์" ทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ติดต่อกัน ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 เวลา 22.40-22.45 น. เพื่อให้ผู้ชมได้รู้ว่า
- เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร
- โลกาภิวัตน์คืออะไร
- เศรษฐกิจพอเพียงจะช่วยคนไทยให้อยู่ในโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร
- และให้รู้ว่าเศรษฐกิจพอเพียงช่วยทุกส่วนของสังคมไทย ไม่ใช่แค่ภาคเกษตร และทำให้เราอยู่ในโลกาภิวัตน์ได้อย่างยั่งยืน
เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์นี้ หากไม่มีรัฐบาลซึ่งมีพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี เรื่องนี้อาจจะถูกมองข้ามไปว่าไม่เกี่ยวกัน เพราะรัฐบาลชุดที่แล้ว มองโลกาภิวัตน์เพื่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การส่งออก และดึงเงินทุนจากต่างประเทศ ซึ่งไม่ผิด แต่ต้องพอดี และไม่เสี่ยงจนเกินไป แต่จะยั่งยืนหรือไม่นั้น หากการขยายตัวที่ไม่มีพื้นฐานที่ดี เหมือนการสร้างตึก โดยไม่ลงเสาเข็มนั้น คงทำได้ยากและไม่ยั่งยืน ผมคิดว่า อาจจะเป็นโชคของประเทศไทย ที่มีผู้นำแบบอดีตนายกฯ ทักษิณ มาแสดงความสามารถในนโยบายเชิงรุก ให้คนไทยได้เห็นถึงจุดอ่อน จุดแข็ง เพื่อจะได้มีโอกาสเปรียบเทียบกัน แต่สิ่งสำคัญคือ เศรษฐกิจพอเพียงต้องเป็นสังคมการเรียนรู้ ใฝ่รู้ตลอดเวลา นอกจากมีคุณธรรมแล้ว ยังต้องคิดเป็น ทำเป็น มี Head Heart และ Hand อย่างที่คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์แนะนำไว้ สำคัญที่สุดและยังจำเป็นที่จะต้องมีความคิดที่นอกกรอบ เช่น Creativity ความคิดสร้างสรรค์ และนำ Creativity ไปสู่ Innovation นวัตกรรม แต่ต้องมีคุณธรรมและมีความรู้ที่แน่น ไม่ใช่พอเพียงแค่อยู่รอด หากรอดแล้ว ต้องไม่ประมาท หาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา การขยายตัวอย่างมั่นคงจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะมนุษย์ต้องการความก้าวหน้า ( Progress ) ที่ยั่งยืน
ในเวลา 1 ปีกว่าจากนี้ รัฐบาลจะต้องวางรากฐานให้สังคมไทย คิดเป็น รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ จะต้องไม่ปฏิรูปเฉพาะโครงสร้างเท่านั้น แต่ต้องปฏิรูปพฤติกรรม ปฏิรูป mindset หรือวิธีการมองโลกของคนไทยให้ได้ เรื่อง mindset นี้มีหนังสือเล่มล่าสุดของ John Naisbitt ซึ่งเคยเขียนเรื่อง Megatrends ที่ดังมากมาแล้ว บอกว่า การที่คนยุคใหม่จะประสบความสำเร็จได้ ต้องมีวิธีการคิด และวิธีการทำงานที่ใหม่เสมอ อย่ามีวิธีคิดแบบเดิม พร้อมจะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ถ้ามีข้อมูลใหม่ ผมคิดว่า การที่จะเปลี่ยน mindset ได้ จะต้องหาความรู้ให้ทันโลกและสดใหม่อยู่เสมอ ข้ามศาสตร์ และวิเคราะห์แบบโป๊ะเชะ วิธีการหาความรู้ต้องเป็นวิธีที่ตัวเรามีส่วนร่วม ไม่ใช่ฟังข้างเดียว เราต้องวิเคราะห์เป็น และวิเคราะห์แบบทฤษฎี 2 R's คือ
- Reality มองความจริง
- และ Relevance ตรงประเด็น
เช่น ยุคนายกฯสุรยุทธ์ หากจะแก้ปัญหาภาคใต้ คงต้องเปลี่ยนวิธีการคิด จากการที่จะฆ่ากันทุกครั้ง มาเป็นการคุยกันแบบเจรจาบนโต๊ะ มองมาเลเซียเป็นมิตร ไม่ใช่แบบฆ่าทิ้งเป็นว่าเล่นอย่างในอดีต
เมื่อเร็ว ๆ นี้ PMAT สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย กล้าไปจัดสัมมนาเรื่อง HRM ในภาคอิสาน ซึ่งผมได้รับเชิญด้วย เดิม PMAT อาจคิดว่ามีแต่คนในกรุงเทพฯ เท่านั้นที่สนใจ ปรากฏว่าคนในภาคอิสานตื่นตัวมาก เพราะได้แนวคิดใหม่ ๆ
ผมบอกได้ว่า อิสานเป็นสังคมการเรียนรู้ได้สบาย ถ้าท่านมองอิสานแบบใหม่ คือไม่ใช่จน โง่ รับจ้างแรงงานถูก ๆ ควรต้องยกย่อง มองการเกษตรเชื่อมโยงวัฒนธรรม สร้างองค์ความรู้ มองคุณค่าของคนอิสาน โดยเปิดโอกาสให้อิสานได้มีอิสรภาพทางความคิด ผมว่าคนอิสานก็คิดเป็น แต่บรรยากาศไม่เอื้ออำนวย ถ้าผมรู้จักคนอิสานมากขึ้น ผมจะเขียนหนังสือพาดหัวสวย ๆ เป็นภาษาอังกฤษว่า :
Isarn can also learn and think
ผมมีเรื่องกิจกรรมอีกเรื่องที่จะเล่าให้ฟัง
เมื่อวันที่ 16 - 18 ตุลาคม 2549 คณะครูจากจังหวัดสมุทรปราการ นำโดยโรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล ซึ่งเปลี่ยนชื่อมาเป็นโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สมุทรปราการ เดินทางไปดูงานด้านการศึกษาที่ประเทศเกาหลีใต้
การไปดูงานครั้งนี้ ได้ไปเยี่ยมเยียนเอกอัครราชทูตไทยประจำเกาหลี คุณวศิน ธีระเวชฌาน แลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน ผมได้เล่าถึงความเป็นมาของโครงการการศึกษาระหว่างไทย/เกาหลี และท่านทูตได้ให้ความรู้เกี่ยวกับเกาหลีใต้ในหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องการศึกษาที่รัฐบาลเกาหลีให้ความสำคัญมาก เพราะมองคนเป็นทรัพย์สิน asset ไม่ใช่ต้นทุน จึงทำให้ประชากรเกาหลีมีคุณภาพ และให้ความรู้เรื่องการเมืองระหว่างประเทศในกรณีเกาหลีเหนือทดลองอาวุธนิวเคลียร์ นับเป็นการเรียนรู้ข้ามศาสตร์ที่น่าสนใจสำหรับคณะครู ซึ่งทำงานต่อเนื่องในด้านการศึกษาร่วมกับผมมา 3 ปี และได้เดินทางไปดูงานต่างประเทศ 3 ครั้งแล้ว
สิ่งแรกที่คณะนี้ทำได้คือ ปรับ mindset ว่า ฉันทำได้ ฉันพึ่งตัวเอง ไม่รอให้กระทรวงส่งฉันไปดูงานต่างประเทศ
เรื่องที่สองคือ กลุ่มนี้สนใจ Networking มาก อะไรที่ดี ๆ จะแสวงหาและฉกฉวยให้ได้ ในอดีตเคยได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ปัจจุบันมีการสร้างแนวร่วมกับนายกเทศมนตรีสำโรงใต้ คุณสรรเกียรติ กุลเจริญ และธุรกิจต่าง ๆ รอบโรงเรียน ประการที่ 3 คือ ได้ทำต่อเนื่อง ไม่ใช่ทำครั้งเดียวแล้วสำเร็จ
คณะนี้ขอให้ผมในฐานะ Lead Shepherd ของ HRD Working Group ใน APEC ติดต่อไปดูงานระบบสารสนเทศกับการสอน ที่กรุงโซล ซึ่งผมรู้จักเกาหลีใต้ดี ได้เจรจาให้จนประสบความสำเร็จ และได้เซ็นสัญญากับโรงเรียนในเกาหลี ว่าจะแลกเปลี่ยนเรื่อง ICT กับการเรียนการสอน เพราะเกาหลีเขาเอาจริงเรื่อง ICT กับการสอน และการแลกเปลี่ยนนักเรียนและครูในอนาคตด้วย
ทัศนคติของผู้บริหารชุดนี้คือ ทำ ทำ และทำให้สำเร็จ พึ่งตัวเอง ทำจริง คิดนอกกรอบ นึกถึงลูกค้าคือนักเรียน ผมภูมิใจมากที่มีโอกาสได้นำอาจารย์ 32 คน ซึ่งออกเงินเอง ไม่แบมือขอใคร และสามารถใช้การทูตภาคประชาชน ทำประโยชน์ให้แก่นักเรียนและครู ผู้ปกครองของจังหวัดสมุทรปราการได้สำเร็จ เพราะปรับ mindset ที่ถูกต้องครับ

 

 จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181
 
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ ควรรับฟังข้อคิดเห็นอดีตนายกฯชวน"(ปรับปรุงใหม่)

 สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ ท่านผู้บริหาร โรงแรม โอเรียนเต็ล และท่านผู้อ่านทุกท่าน

หลังจากการสัมมนาที่โรงแรมโอเรียนเต็ล เวลาผ่านไปหลายวัน ผมหวังว่าทุกท่านคงสบายดี ผมส่งความระลึกถึงมา และเช่นเคย ผมส่งบทความมาแชร์ไอเดียกันในสังคมการเรียนรู้นี้ ครับ

วันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2549  ผมมีกิจกรรม สัมมนา ภาวะผู้นำโลก(Seminar on Global Leadership) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน ในหลักสูตร ป.เอก ผมออกเดินทางแต่เช้า เพื่อจะไปร่วม สภากาแฟก่อนมีการสัมมนา จึงส่งข้อควานี้มาช้ากว่าปกติที่เคยทำ หลังจากเขียนเสร็จแล้ว รู้สึกว่า บรรยากาศรอบตัวมีผลต่อการเขียนมาก ไม่ค่อยมีสมาธิเหมือนเขียนเงียบ ๆ ในมุมธรรมชาติ

 

อย่างไรก็ตาม ผมอ่านบทความบทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ” จาก Interent ซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่องว่า ควรรับฟังข้อคิดเห็นอดีตนายกฯชวน ผมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม โดยใช้ข้อความข้างล่างนี้ แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ 

 

  เวลาผ่านไปแล้ว 5 สัปดาห์ เหตุการณ์ต่าง ๆ ได้เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วและคาดไม่ถึง หลายอย่างดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็มีปัจจัยหรือมีข้อมูลใหม่ๆเพิ่มเติมเสมอ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี ต้องใช้นโยบาย
Listen and Learn
อย่างมาก และต้องมีความอดกลั้น ที่จะต้องรับฟัง หากมีประโยชน์จึงนำไปปฏิบัติ  
ในความเห็นส่วนตัว ผมคิดว่าเรื่องการ Listen and Learn ที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวไว้ สำคัญต่อการเป็นผู้นำยุคใหม่อย่างมาก
ผมคิดว่า Competency หรือ สมรรถนะของผู้นำยุคใหม่จะเกี่ยวข้องกับสมรรถนะในการ  
  • Link หมายถึง ขีดความสามารถในการสร้างเครือข่าย ความสัมพันธ์ต่อทรัพยากรมนุษย์ โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อเนื่อง เชิงสร้างสรรค์
  • Listen หมายถึง ขีดความสามารถในการฟังผู้อื่น ไม่เอาแต่สังการ ควบคุม แต่ฝ่ายเดียว การฟัง ด้วยเหตุ ด้วยผล ด้วยสติปัญญา จะทำให้เกิดแนวคิดใหม่ ๆ ได้
  • Learn   หมายถึงขีดความสามารถในการเรียนรู้สรรพสิ่งทั้งหลาย เรียนรู้จากเหตุการณ์ สถานการณ์ที่เกิดขึ้น เรียนรู้ถึงความสำเร็จ ความล้มเหลว ในอดีต ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต เป็นต้น 

ในอดีต การสรรหา คัดเลือกผู้นำ CEO ในองค์กร มักจะแสวงหาผู้นำที่มีความสามารถในการทำงาน ถือว่าเก่ง ครับ แต่ในยุคปัจจุบันและอนาคตแนวคิดนั้นได้เปลี่ยนมาแสวงหาผู้นำที่มีความสามารถในการ Link, Listen and Learn เพื่อต้องการหาผู้นำที่สามารถบริหารการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผมคิดว่า ความคิดและข้อเสนอแนะของอดีตนายกฯ ชวน หลีกภัยที่ติงการทำงานของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ น่าสนใจ คือจะต้องอธิบายจุดอันตรายของ "ระบบทักษิณ" ให้ประชาชนได้รับทราบและเข้าใจอย่างแท้จริง เพราะใน 5 ปีที่ผ่านมา ประชาชนที่ยากจนอาจจะคิดไม่ครบถ้วน และไม่เข้าใจ ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นจะต้องทำ ควรอธิบายด้วยข้อมูลและข้อเท็จจริง อาจจะต้องดึงเอาภาคประชาสังคมที่เป็นกลาง มาช่วยอธิบายเพื่อเสริมรัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเพื่อให้ทั่วถึง ระยะนี้ ยังมีข่าวความไม่สงบหรือคลื่นใต้น้ำอยู่ ซึ่งคงจะไม่ใช่ของแปลกอะไร เพราะมีผู้เสียผลประโยชน์มาก คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติจะต้องบริหารและจัดการสิ่งเหล่านี้อย่างรอบคอบ เหมาะสมและสมานฉันท์  
ดูเหมือนว่า นายกฯสุรยุทธ์ จุลานนท์ ทำหน้าที่เหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ได้เชิญหัวหน้าพรรคการเมืองมามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นจุดที่สำคัญ การยกย่องให้เกียรติทุกกลุ่มในสังคมเป็นเรื่องที่ดีและเหมาะสม
ส่วนกลุ่มพันธมิตรก็เช่นกัน คงจะต้องอดทนและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเหมือนเดิม ขออย่าท้อใจ ถึงกับจะลาออกจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งไม่เป็นผลดี คงจะต้องช่วยกันตรวจสอบต่อไป   

ในความเห็นส่วนตัวของผมคิดว่า  ในสายตาของประชาชนคงเข้าใจว่า คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี เป็นบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิ โดยเฉพาะท่านนายกรัฐมนตรี เป็นที่รักและเคารพ อย่างสูง เป็นองคมนตรีของชาติ การที่ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี จะพูด จะทำอะไร จึงเป็นสิ่งที่อาจจะมีผลกระทบถึงตัวท่านนายกรัฐมนตรีได้
การฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น การ Link, Listen and Learn เป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายควรทำ ทุกฝ่ายควร Know our situation! และร่วมกันประกอบภารกิจด้วยความรอบคอบ ระมัดระวังกันทุกฝ่าย เหตุการณ์ภาคใต้ รุนแรงมากขึ้น เราจะสามารถกู้สถานการณ์ได้หรือไม่

Can we fix! Broken Government?

Can we fix! The national disunity?

เป็นสิ่งที่คนไทยจะต้องสมานฉันท์ ร่วมมือกัน ผมเชื่อว่า ปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นในบ้านของเรา ย่อมแก้ไขได้ด้วยคนในบ้านของเราเช่นกัน  

 

ประเทศไทยจะต้อง Compete international เพื่อที่จะลดความยกจนลง Economic growth ควรจะต้อง ได้ 6% GDP 

 

ขณะนี้ เราเผชิญปัญหาหลายอย่าง ผมในฐานะคนไทยด้วยกัน ขอแสดงความเห็นใจรัฐบาล และผู้รับอาสาเข้ามาบริหารบ้านเมือง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีคนจน 60% อีสานเป็นภาคที่จนที่สุดในประเทศ ทรัพยากรมนุษย์ส่วนใหญ่ขาดคุณภาพ ด้อยโอกาสทางการศึกษาและอาชีพ ทั้งที่เป็นคนดีมีน้ำใจ 
อีสานเป็นดินแดนไม่สมบูรณ์เหมือนภาคกลาง ไม่มีทางออกทะเล ดินฟ้าอากาศมีผลต่อการประกอบอาชีพ ผลผลิตเกษตรต่อไร่ตกต่ำ การติดต่อค้าขายกับชายแดนต่ำ การใช้เงินภาคสาธารณะต่ำ Low Public spending  อาชีวอนามัยแม่และเด็กยังคงมีปัญหา ส่งผลต่อสมองและความฉลาดของเด็กไทยในอีสาน

 

ที่สำคัญที่สุดเราหนีไม่พ้นที่จะต้องแข่งขันกับโลก  การศึกษาสำคัญที่สุดควรจะต้องรีบเร่งแก้ไขปรับปรุง

 

การลงทุนภาคเอกชน ชะลอการลงทุนเกือบถึงขั้นหยุดชะงักมาหลายปี(Reluctance) แนวโน้มจะมีมากขึ้นหรือน้อยลง ผมไม่แน่ใจ 

 

แรงงานมีทักษะ ความรู้ต่ำ แรงงานต่างด้าวคุณภาพต่ำเข้ามาผสมผสานมากขึ้นมีทั้งถูกต้องไม่ถูกต้อง
การปฏิรูปสถาบันการเงินยังมีขีดจำกัดในภาพรวมทางเศรษฐกิจ  การขาดแคลนแรงงานทีมีความสามารถเป็นข้อจำกัดในการลงทุน Skill Labor
นอกจากนี้ จุดอ่อนของประเทศไทยประการหนึ่งคือ Staff นักบริหารอ่อน องค์ความรู้เพื่ออนาคต อ่อน IT ควรต้องมีแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

 

จุดแข็งในการใช้แรงงานราคาถูกของไทย เช่น โรงงานทอผ้า ธุรกิจ Garment รองเท้าฯ ได้สูญเสีย Competitive edge ให้แก่ประเทศจีนและเวียดนามไปแล้ว และ 2 ประเทศนี้ได้พัฒนาการศึกษา เทคโนโลยีอย่างรวดเร็วนำหน้าประเทศไทยไป  
สิ่งเหล่านี้ เป็นเรื่องท้าทายรัฐบาลทุกยุคสมัย เป็นเรื่องท้าทายวิสัยทัศน์ ความคิด การกระทำของกลุ่มสมัชชา และความร่วมมือของคนไทยทั้งชาติ  

 

ประชาชนทุกส่วน ควรเพิ่มและส่งเสริมความสมานทฉันท์ ช่วยเหลือกันและกัน เพื่อชาติจริง ๆ ร่วมมือกันช่วยรัฐบาลในการพัฒนาประเทศให้สำเร็จ   ยุติความขัดแย้ง หันมาแก้ปัญหาประชาธิปไตยด้วยความสงบสุข เคารพในศักดิ์ศรี ในศักยภาพของคนทุกคน ต้องเชื่อว่าคนทุกคนมีคุณค่าทั้งสิ้น ไม่มองใครต่ำ ใครสูง 

 

 

คณะรัฐมนตรี ต้องเร่งบริหารประเทศให้พ้นภัย ให้บรรลุเป้าหมายสูงสุด ด้วยการทำงาน Fast, smart to meet highest Standard
วิสัยทัศน์ของชาติต้องชัดเจน และยั่งยืน เน้นความสงบสุขของบ้านเมือง และประโยชน์ของประชาชน ไม่ทำลาย ไม่กล่าวร้ายใคร อะไรก็ตามที่เป็นอุปสรรคสร้างและพัฒนาชาติควรขจัดออกไป ควรต้องสนองแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง และแนวคิดขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของเรา   ผสมผสานบูรณาการแนวคิดทางการบริหาร ทฤษฎีอื่น ๆ ทั้งแนวพุทธศาสตร์ อิสราม คริสต์ฯ มาพัฒนาชาติของเราให้เข้มแข็งโดยเร็ว

 

รัฐบาลใด ชาติใดก็ตามถ้าเริ่มต้นบริหารชาติด้วยดี พลีอุดมการณ์ให้ชาติ เพื่อคนรุ่นหลัง  เพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่ชาติแล้วนั้น นั่นคืออนุสาวรีย์ที่ปักแน่นในจิตวิญญาณของคนทั้งประเทศ 

สำหรับผม ถึงแม้ว่าจะไม่เกี่ยวกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็จะทำหน้าที่ต่อไปในฐานะประชาชนคนหนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของการให้ความรู้ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง

 

ผมคิดว่า สิ่งที่ ศ.ดร.จีระ ทำอยู่เป็นแบบอย่างที่ดีที่ผมประทับใจ อาจารย์เป็นกลาง มีคุณธรรม มีอุดมการณ์ มีเสียสละ เพื่อส่วนรวม อาจารย์ทำงานที่มีประโยชน์กับสังคม โดยหวังให้ผู้อื่นเป็นสุข หวังให้ชาติเจริญ เป็นงานพัฒนาทรัยพากรมนุษย์ที่แท้จริงในทุกระดับ ทั้งในและต่างประเทศ   สมกับเป็น HR สายพันธ์แท้  รัฐบาลและองค์กรพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทุกระดับ ควรให้การสนับสนุน ทั้งทางตรงและทางอ้อม  
นักศึกษา ลูกศิษย์ ของอาจารย์ หากมีโอกาส ก็ควรเข้ามาช่วยสนับสนุนอาจารย์ ทุกรูปแบบ ด้วยความมีอุดมการณ์ ความมีชาตินิยม และเรียนรู้วิถี แนวทางของ ศ.ดร.จีระ เพื่อต่อยอด เป็นแนวร่วมอุดมการณ์ ครับ

สัปดาห์ที่ผ่านมาผมมีงาน 3 เรื่องที่จะเล่าให้ฟัง
เรื่องแรก ซึ่งทำเป็นประจำทุกปี คือ ค่ายผู้นำเยาวชน Knowledge camping ให้แก่นักเรียนเทพศิรินทร์และโรงเรียนในเครือทั้ง 7 โรงเรียน จำนวน 120 คน ครั้งนี้เป็นปีที่ 8 แล้ว ในปีนี้เน้นในพระอัจฉริยภาพด้านต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น ภาวะผู้นำ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น มีวิทยากรรับเชิญซึ่งเป็นนักเรียนเก่าที่มีชื่อเสียงหลายท่านมาร่วมแบ่งปันความรู้ เช่น
-
หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง เป็นองค์ประธานในพิธีและปาฐกถาพิเศษเรื่อง "โครงการหลวง"
-
ฯพณฯ พล.อ.ต.กำธน สินธวานนท์ บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านพลังงาน"
-
ดร.ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรีและกีฬา"
-
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ"
ค่าย Knowledge camping นี้เป็นค่ายที่สร้างและพัฒนาภาวะผู้นำให้กับนักเรียน ให้เด็กมีความคิดกว้างไกล คิดเป็น กล้าแสดงออก เด็กจะได้รับการพัฒนาความคิดจากโจทย์ "ประเทศไทยในอีก 20 ปีข้างหน้า" ซึ่งเป็นการเตรียมพร้อมที่จะเติบโตเป็นผู้นำของชาติในอนาคต

 

 

ที่ ศ.ดร.จีระ ทำ Knowledge camping นี้ ผมเห็นว่า เป็น Good Model ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อย่างมาก เป็นประโยชน์ในการสร่างเยาวชน ให้เป็นผู้นำในอนาคต
การปฏิรูปการศึกษาบ้านเรา ควรมีวิธีการเรียนรู้แบบนี้ สอดใส่เข้าไปในการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ระดับประถมฯ ถึง มหาวิทยาลัย และถ้าทุกสถานบันการศึกษาทำได้ ผมเชื่อว่าเราจะมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพในอนาคตมากพอ เป็นการสร้างคนเพื่อสร้างชาติไทยให้เข้มแข็ง ยั่งยืนยิ่งขึ้น

อีกงานหนึ่งเป็นงาน India-Thai Business Forum ซึ่งเป็นชมรมนักธุรกิจชั้นนำของอินเดียในประเทศไทย ผมภูมิใจที่เขาสนใจงาน HRD ของ APEC ของผม แต่แทนที่จะมองเฉพาะ APEC เขามองถึงความร่วมมือระหว่างอินเดียกับ APEC ในอนาคต
ผมคิดว่าเรื่อง HRD กับอินเดียน่าจะมี 3 เรื่อง
1.
การแลกเปลี่ยนครูทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และ IT โดยให้อินเดียส่งครูมาช่วย
2.
การส่งครูไทยไปสอนเรื่อง การบริการ Service sector และการท่องเที่ยว
3.
จัดให้เกิดธุรกิจร่วมกัน เช่น E-learning

ผมคิดว่ารัฐบาลของนายกฯสุรยุทธ์ ยังคงสนับสนุนแนวคิดการจัดตั้ง ACD HRD Center ขึ้น เพื่อให้เอเชีย ซึ่งมีอินเดีย จีน ญึ่ปุ่น ไทย และประเทศในตะวันออกกลางรวย ๆ เช่น โอมาน คูเวต มาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของคนเอเชียด้วยกัน แทนที่จะไปเรียนจากตะวันตก ซึ่งผมได้รับมอบหมายจากรัฐบาลชุดที่แล้วให้ดำเนินการ และได้รับการเห็นชอบในหลักการแล้ว 

 

ประเด็นนี้ ผมขอเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติมครับ สิ่งที่ ศ.ดร.จีระ ทำเรื่อง การร่วมมือระหว่างอินเดียกับไทยและ APEC เป็นสิ่งที่น่าสนใจ ไม่ธรรมดาเลย  ทำให้คนอินเดียประทับใจและทึ่งคนไทยไปอีกนานด้วยความสามารถของ ศ.ดร.จีระ
ผมเสนอเพิ่มเติมว่า การร่วมมือระหว่างอินเดียกับไทยและ APEC น่าจะมีอีกหลายเรื่องที่ทำได้และจะเป็นประโยชน์กับไทยมาก เช่น ในเรื่องการให้ความร่วมมือเรื่องการพัฒนาความรู้ด้านภาษาอังกฤษ ให้แก่ครูและนักเรียนในชนบทยากจน ทำอย่างไรให้เด็กไทยพูดภาษาอังกฤษได้เหมือนเด็กอินเดีย  
IT CITY ในรัฐบังกาลอร์ ของอินเดีย เป็นตัวอย่างที่ดี ในเรื่องการบริหาร Talent people การแลกเปลี่ยน นักศึกษา ป.โท ป.เอก ในด้านพลังงานเพื่ออนาคต การวิจัยปัญหาของโลก ปัญหาของ APEC เช่น ด้านการป้องกันภัยวิบัติของโลก Global warming การป้องกันการก่อการร้ายข้ามชาติ การอนุรักษ์วัฒนธรรม ไทย อินเดีย การส่งเสริมและปฏิบัติตามหลักศาสนา เป็นต้น ครับ

นอกจากนี้ ผมได้รับเชิญจากมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ไปบรรยายเรื่อง คิดแบบ CEO ในยุคสมัยใหม่ ผมชอบหัวข้อที่เขาตั้ง เพราะ CEO ต้องคิดเป็นถึงจะสำเร็จ จึงแนะนำวิธีการคิดไป 3 วิธีคือ
-
ทฤษฎี 4 L's ของผม
- 5 Disciplines
ของ Peter Senge
-
และ 6 Thinking hats ของ Edward de Bono
เน้นว่าแต่ละแบบสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้โดยมองจากสถานการณ์ความจริงของแต่ละองค์กร มีจุดที่น่าสนใจคือ ยุคใหม่ CEO ต้องไม่เก่งคิดคนเดียว ต้องให้ผู้ร่วมงานคิดเป็นด้วย

 

ผมขอเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติมที่อาจจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านว่า การคิดแบบ CEO ที่เป็นเลิศ ควรต้องคิดโดยใช้สมองทั้งสองด้าน ทั้งซีกซ้ายและขวาด้วย คือต้องมองอะไรได้ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ เช่น ไม่คิดว่าแนวคิดตะวันตกดีเลิศ มองแนวคิดตะวันออกแบบติดลบ ต้องคิดบูรณาการทั้งตะวันออก และตะวันตกเข้าด้วยกัน จะได้จุดแข็งทั้งสองซีกโลกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม เป็นต้น

 

คำถามคือ จะทำอย่างไร ในประเทศไทย เราเสียเปรียบตั้งแต่ระบบการศึกษา เพราะเราไม่มีการกระตุ้นให้นักเรียนสนใจที่จะแลกเปลี่ยนความรู้ เราให้นักเรียนลอกความคิดของอาจารย์

 

ผมคิดว่า การปฏิรูปการเรียนการสอน การศึกษาของบ้านเรา  น่าจะนำแนวคิด แนวปฏิบัติ ของ ศ.ดร.จีระ มาเป็นส่วนหนึ่งใน

ในการพัฒนาระบบการศึกษา

 

ผมสังเกตเห็นว่า อาจารย์ทำแล้วได้ผล อาจารย์สามารถขุดความสามารถของนักเรียน นักศึกษาได้ อาจารย์ทำให้นักเรียน นักศึกษาจำนวนมาก (ในเวลาที่จำกัด) ที่ไม่ค่อยพูดซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนเก่ง ได้มีโอกาสได้แสดงความเก่งขึ้นมาอย่างน่าทึ่ง ให้นักเรียน นักศึกษาได้แชร์ความรู้ ได้ปะทะกันทางปัญญา เหมือนพระสนทนาธรรม เหมือนจอมยุทธ์ได้ปะลองฝีมือ ปัญญาย่อมเกิด ฝีมือย่อมพัฒนาขึ้นได้แน่นอน

 

และที่สำคัญคือท่านที่สนใจวิธีการมองคนที่เป็นเลิศ ของ ศ.ดร.จีระ ว่าท่านทำอย่างไรจึงมีสายตาที่เฉียบคม มองเห็นในสิ่งที่ CEO ผู้นำ หรือคนอื่น มองไม่เห็น อาจารย์มีเทคนิคในการมองลูกศิษย์ทุกระดับ ได้เหมือนมีแว่นวิเศษ ครับ สุดท้ายก่อนจบการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นวันนี้ ผมฝากไว้เกี่ยวกับ  Brain Power 
 “We live in the world where almost anything is a new possibility. The nature of work is changing. It is becoming increasingly brain intensive, value oriented, and unpredictable.   Skilled brain power is replacing disciplined muscle power. 

 

We want everyone to be seen as an achiever, an innovator, a seeker of the unknown to build a better world together.  The effective development of brain power within a nation will decide the prosperity of the country in the future.”   
ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์ช่อง 11 ชื่อรายการสู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และ รายการเศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ทุกวันเวลา 22.40 น. – 22.45 น.นอกจากนี้ ยังออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  เชิญท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ        
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน     
            
ยม  
นักศึกษาปริญญาเอก 
รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฏีบัณฑิต
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง ควรรับฟังข้อคิดเห็นอดีตนายกฯชวน"

ควรรับฟังข้อคิดเห็นอดีตนายกฯชวน[1]

 

เวลาผ่านไปแล้ว 5 สัปดาห์ เหตุการณ์ต่าง ๆ ได้เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วและคาดไม่ถึง หลายอย่างดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็มีปัจจัยหรือมีข้อมูลใหม่ๆเพิ่มเติมเสมอ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี ต้องใช้นโยบาย
Listen and Learn
อย่างมาก และต้องมีความอดกลั้น ที่จะต้องรับฟัง หากมีประโยชน์จึงนำไปปฏิบัติ
ผมคิดว่า ความคิดและข้อเสนอแนะของอดีตนายกฯ ชวน หลีกภัยที่ติงการทำงานของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ น่าสนใจ คือจะต้องอธิบายจุดอันตรายของ "ระบบทักษิณ" ให้ประชาชนได้รับทราบและเข้าใจอย่างแท้จริง เพราะใน 5 ปีที่ผ่านมา ประชาชนที่ยากจนอาจจะคิดไม่ครบถ้วน และไม่เข้าใจ ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นจะต้องทำ ควรอธิบายด้วยข้อมูลและข้อเท็จจริง อาจจะต้องดึงเอาภาคประชาสังคมที่เป็นกลาง มาช่วยอธิบายเพื่อเสริมรัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเพื่อให้ทั่วถึง
ผมหวังว่า งานดังกล่าวจะก้าวไปด้วยดี และสร้างความเข้าใจได้ถูกต้อง
ระยะนี้ ยังมีข่าวความไม่สงบหรือคลื่นใต้น้ำอยู่ ซึ่งคงจะไม่ใช่ของแปลกอะไร เพราะมีผู้เสียผลประโยชน์มาก คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติจะต้องบริหารและจัดการสิ่งเหล่านี้อย่างรอบคอบ เหมาะสมและสมานฉันท์
ดูเหมือนว่า นายกฯสุรยุทธ์ จุลานนท์ ทำหน้าที่เหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ได้เชิญหัวหน้าพรรคการเมืองมามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นจุดที่สำคัญ การยกย่องให้เกียรติทุกกลุ่มในสังคมเป็นเรื่องที่ดีและเหมาะสม
ส่วนกลุ่มพันธมิตรก็เช่นกัน คงจะต้องอดทนและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเหมือนเดิม ขออย่าท้อใจ ถึงกับจะลาออกจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งไม่เป็นผลดี คงจะต้องช่วยกันตรวจสอบต่อไป
สำหรับผม ถึงแม้ว่าจะไม่เกี่ยวกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็จะทำหน้าที่ต่อไปในฐานะประชาชนคนหนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของการให้ความรู้ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในระยะนี้ ท่านผู้อ่านอาจจะใช้สื่อทางวิทยุมากขึ้น เพราะสื่อทางโทรทัศน์ยังไม่เปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก
ในขณะที่สื่อวิทยุ เช่น FM 96.5 MHz. ทั้ง 24 ชั่วโมง มีความคิดดี ๆ ออกมาจากผู้เชี่ยวชาญหลายด้าน ทันเหตุการณ์ ผมยังต้องติดตามใกล้ชิด
สัปดาห์ที่ผ่านมาผมมีงาน 3 เรื่องที่จะเล่าให้ฟัง
เรื่องแรก ซึ่งทำเป็นประจำทุกปี คือ ค่ายผู้นำเยาวชน Knowledge camping ให้แก่นักเรียนเทพศิรินทร์และโรงเรียนในเครือทั้ง 7 โรงเรียน จำนวน 120 คน ครั้งนี้เป็นปีที่ 8 แล้ว ในปีนี้เน้นในพระอัจฉริยภาพด้านต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น ภาวะผู้นำ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น มีวิทยากรรับเชิญซึ่งเป็นนักเรียนเก่าที่มีชื่อเสียงหลายท่านมาร่วมแบ่งปันความรู้ เช่น
-
หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง เป็นองค์ประธานในพิธีและปาฐกถาพิเศษเรื่อง "โครงการหลวง"
-
ฯพณฯ พล.อ.ต.กำธน สินธวานนท์ บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านพลังงาน"
-
ดร.ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรีและกีฬา"
-
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ"
ค่าย Knowledge camping นี้เป็นค่ายที่สร้างและพัฒนาภาวะผู้นำให้กับนักเรียน ให้เด็กมีความคิดกว้างไกล คิดเป็น กล้าแสดงออก เด็กจะได้รับการพัฒนาความคิดจากโจทย์ "ประเทศไทยในอีก 20 ปีข้างหน้า" ซึ่งเป็นการเตรียมพร้อมที่จะเติบโตเป็นผู้นำของชาติในอนาคต
อีกงานหนึ่งเป็นงาน India-Thai Business Forum ซึ่งเป็นชมรมนักธุรกิจชั้นนำของอินเดียในประเทศไทย ผมภูมิใจที่เขาสนใจงาน HRD ของ APEC ของผม แต่แทนที่จะมองเฉพาะ APEC เขามองถึงความร่วมมือระหว่างอินเดียกับ APEC ในอนาคต
ผมคิดว่าเรื่อง HRD กับอินเดียน่าจะมี 3 เรื่อง
1.
การแลกเปลี่ยนครูทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และ IT โดยให้อินเดียส่งครูมาช่วย
2.
การส่งครูไทยไปสอนเรื่อง การบริการ Service sector และการท่องเที่ยว
3.
จัดให้เกิดธุรกิจร่วมกัน เช่น E-learning
ผมคิดว่ารัฐบาลของนายกฯสุรยุทธ์ ยังคงสนับสนุนแนวคิดการจัดตั้ง ACD HRD Center ขึ้น เพื่อให้เอเชีย ซึ่งมีอินเดีย จีน ญึ่ปุ่น ไทย และประเทศในตะวันออกกลางรวย ๆ เช่น โอมาน คูเวต มาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของคนเอเชียด้วยกัน แทนที่จะไปเรียนจากตะวันตก ซึ่งผมได้รับมอบหมายจากรัฐบาลชุดที่แล้วให้ดำเนินการ และได้รับการเห็นชอบในหลักการแล้ว
เอเชียต้องมีฐานความรู้ของตัวเอง ร่วมมือกับตะวันตกได้ โดยไม่ลอกความคิดของตะวันตกอย่างเดียว
นอกจากนี้ ผมได้รับเชิญจากมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ไปบรรยายเรื่อง คิดแบบ CEO ในยุคสมัยใหม่ ผมชอบหัวข้อที่เขาตั้ง เพราะ CEO ต้องคิดเป็นถึงจะสำเร็จ จึงแนะนำวิธีการคิดไป 3 วิธีคือ
-
ทฤษฎี 4 L's ของผม
- 5 Disciplines
ของ Peter Senge
-
และ 6 Thinking hats ของ Edward de Bono
เน้นว่าแต่ละแบบสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้โดยมองจากสถานการณ์ความจริงของแต่ละองค์กร มีจุดที่น่าสนใจคือ ยุคใหม่ CEO ต้องไม่เก่งคิดคนเดียว ต้องให้ผู้ร่วมงานคิดเป็นด้วย
คำถามคือ จะทำอย่างไร ในประเทศไทย เราเสียเปรียบตั้งแต่ระบบการศึกษา เพราะเราไม่มีการกระตุ้นให้นักเรียนสนใจที่จะแลกเปลี่ยนความรู้ เราให้นักเรียนลอกความคิดของอาจารย์
ผมโชคดีได้เปลี่ยนแนวการสอนมากว่า 10 ปีแล้ว ไม่ว่าจะสอนที่ไหน จะให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และสรุปร่วมกัน ทุกวันนี้มีคนสนใจเรื่องนี้มากขึ้น ล่าสุดองค์กรบริหารส่วนตำบล ซึ่งจะนำเศรษฐกิจพอเพียงไปให้เขาคิด เช่นเดียวกับข้าราชการระดับ C7 , C8 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของรองปลัดสุทธิพร จีระพันธุ ซึ่งเป็นผู้สนใจวิธีการเรียนแบบใหม่

 

 จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181  
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท