ทุนนิยมมาเยือนถึงแม่กลอง ความเห็น ของผู้ร่วมงานจังหวัดจัดการตนเอง..๑๘ มกราคม ๒๕๕๖ ที่อุทยาน ร.๒ แม่กลอง


เล่าความเดิม "เมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๕ ที่ห้องประชุมชั้นสอง สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน ตอนบ่าย มีศุกร์เสวนา โดยจะจัดให้มีเดือนละครั้ง เป็นธรรมเนียมของ สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน(ม.ชีวิต)...

ศูกร์นี้ เป็นคิว ของ อ.เนาวรัตน์  พงษ์ไพบูลย์ หรือพี่เนาว์ ของหลายคน...มาเสวนาในเรื่อง "บทบาทศิลปินกับสังคมสมัยใหม่"  ดูเรื่องน่าสนใจมาก ข้าพเจ้าก็ตื่นเต้นที่ ศิลปินแห่งชาติ ปี ๒๕๓๖ กวีซีไรต์ กวีรัตนโกสินทร์ ท่านมีโอกาสมาเสวนาให้กับ พี่น้องที่ สถาบันการเรียนรู้เพือปวงชน ต.บางคนที อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม ได้รับฟัง ...ยินดียิ่งครับ

พี่เนาว์ก็เล่าเรื่อง แต่ละเรื่อง โดยมีบทกลอน ผสมเป็นระยะ ๆ ให้อารมณ์ศิลปินของหลายคนบรรเจิดตามไปด้วย..เพราะบทกลอนแค่เพียงบทหรือสองบท ก็แทนความรู้สึก ,อารมณ์อีกมากมาย ที่ผู้ประพันธ์ ต้องการสื่อนั่นเอง

เริ่มจากบ้านเกิดท่านที่เมืองกาญจน์ ต้นน้ำแม่กลอง มาราชบุรี บ้านนายผี "อัศนี พลจันทร์" พร้อมดาบฟ้าฟื้น มรดกชิ้นเดียว ที่มีคุณค่าของ "นายผี" มาถึง แม่กลอง..เมืองปลายน้ำ ของแม่น้ำ "แม่กลอง"

ไม่ได้คาดหวัง เรื่องสมัชชาปฏิรูป แต่ต้องช่วยเหลือกัน เพราะ ศ.นพ.ประเวศ ขอร้องให้ทำ เรื่อง "ศิลปะ ศิลปิน" เล่าถึง การเสื่อมของศิลปินด้งของแต่ละแห่ง แต่มีงานน้อยจะด้อยค่าในสายตาของคนแต่ละจังหวัด ท่านนำเสนอว่า ควรสานต่อศิลปะวัฒนธรรมตรงนี้  โดย ศิลปินแวะเวียนกันไปแสดงตามจังหวัดต่าง ๆ อย่างน้อย ได้แสดงมากกว่าที่เป็นอยู่ แค่เพียง ศูนย์วัฒนธรรมในแต่ละปี รัฐก็จัดการเป็น "วัฒนธรรมคอนเสริต์"  เอาศิลปินที่ยังมีไฟ ไล่ไปแสดงตามจังหวัดต่าง ๆ ถือเป็นการสานต่อ และอนุรักษ์ไปในตัว

จะไม่พูดถึง สถานการณ์บ้านเมืองก็ไม่ควร "ศิลปินก็ต้องกินข้าว รับรู้ร้อนหนาว" จากสถานการณ์ปัจจุบันเหมือนกัน ต้องทำมาหากิน เหมือนกัน กระทบเหมือนกัน กับระบบเศรษฐกิจที่เป็นอยู่

ทุนนิยม เข้ามาแทรกไปทุกหัวระแหง...ท่านกล่าวว่า ที่ใด "สังคมถูกกระทำให้รับใช้ทุน" เรียกว่า "ทุนนิยมสามานย์"  เช่นชาติตะวันตก และบ้านเรา แต่ที่ใด "ทุนไปรับใช้สังคม"  ท่านเรียกว่า "ทุนนิยมสัมมา" ค่าที่เห็นเป็นการให้สังคมได้รับความสุขกันถ้วนหน้า "  ปิดท้ายได้น่าสนใจยิ่ง...ครับ 

สรุปว่าทุนนิยมในสายตาของ กวีรัตน์โกสินทร์  มีสองแบบ คือ "ทุนนิยมสามานย์"  และ "ทุนนิยมสัมมา" ผ่านไปเกือบ ปี ผมก็ย้อนนึกว่า ทุนนิยมกับชาวแม่กลองจะเข้ามาแทรกแซงอย่างไร??

วันนี้ "ทุนนิยมได้รับใช้สังคม" หรือ "ส้งคมที่ถูกกระทำให้รับใช้ทุน"...ถึงแม่กลอง แล้ว วานนี้ แม่กลองเงียบสงบด้วยมีแต่มอเตอร์ไซค์ และคนเดินกันส่วนใหญ่ ...วันนี้ รถราขวักไขว่  ปริมาณรถที่เพิ่มสูงขึ้น จนอัตราการเกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด..ทุกบ้านต้องมีรถส่วนตัวกัน จากปลายปี ๕๔ 

การขยายตัวอย่างไม่หยุด ของตลาดน้ำอัมพวา จนไม่มีที่จอดรถ หรือจำนวนร้านค้าที่แออัด เพิ่มขึ้น แต่เจ้าของมิใช่คนแม่กลอง ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจ เรื่องใหม่ ที่เกิดขึ้นคือปัจจุบัน มีการกว้านซื้อที่ดิน ได้ขยายวงกว้างออกไป จากเขตฝั่งถนนเส้นอัมพวา - บางคนที ด้านติดแม่น้ำแม่กลอง ไปจนถึง สี่แยกวัดเกาะแก้ว ลามไปถึงฝั่งถนนอีกด้านของอัมพวา..ขยายไปยังวัดปากง่าม ที่ตั้งของมูลนิธิชัยพัฒนานุรักษ์..ไปจนข้ามถนนสาย แม่กลอง-ดำเนินสะดวก ด้านฝั่งของวัดจุฬามณี...ทุนนิยมกำลังคืบคลานเข้ามายัง อัมพวา อย่างไม่ให้ตั้งตัว

ห้างใหญ่ มาปักหลักซื้อที่ดิน บิรเวณบางคนที เพื่อสร้างห้างขนาดใหญ่ บริเวณถนนเส้นบางคนที - อัมพวา มีความพยายามที่จะซื้อที่ดิน จากประชาชน แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะเจ้าที่ดินไม่ยินยอมขายให้ และ คิดว่าจะเก็บไว้ให้รุ่นลูกหลานได้สร้างประโยชน์ต่อไป

การรุกคืบเข้ามาของทุนนิยม จะมารับใช้สังคมหรือไม่ ดูเหมือนจะทำ แต่จากประสบการณ์ที่เห็น ห้างนี้ อีก ๒ แห่งที่อยู่ ในอำเภอติดกัน และปากทางของทางเข้า อัมพวา ก็พิสูจณ์แล้วว่า ไม่ได้รับใช้สังคม แต่มาอำนวยความสะดวกให้ชุมชนละแวกนั้นเท่านั้น แต่อาหารที่มีในห้างนั้น เป็นอาหารจากที่อื่น ๆ ซึ่งไม่ได้มากจากแม่กลองเอง ..การสูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง  จะทำให้ประชาชน ขาดพลังในการร่วมมือกัน สามัคคีกัน ไปเรื่อย ๆ จนพึ่งตนเองไม่ได้

วันนั้น เราได้เห็นภาพหลายภาพ แต่ไม่ได้ข้อสรุปว่า ประชาชน หรือองค์กรภาคประชาชนเอง จะคิดอย่างไรต่อ หรือยังจะปล่อยให้เหตุการณ์เหล่าดำเนินต่อไป  จนกระทั่งวันหนึ่งเรา กลายเป็น "สังคมที่ถูกกระทำจากทุนนิยม...ในที่สุด

หมายเลขบันทึก: 517656เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2013 12:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มกราคม 2013 12:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท