มหาธี
อาจารย์ ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

โลกสวรรค์


 

โลกสวรรค์

ธีรวัส  บำเพ็ญบุญบารมี

ผู้อำนวยการโครงการอนุรักษ์คัมภีร์

มหาบัณฑิตสาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ธรรมศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาค้นคว้าเพื่อเป็นหลักฐานทางวิชาการทางพระพุทธศาสนา

ตามหลักสูตรวิจัยคัมภีร์พระพุทธศาสนา มูลนิธิเบญจนิกาย พุทธศักราช  ๒๕๕๐พิมพ์ครั้งที่ ๑  ๕๐๐ เล่ม

เพื่อเป็นธรรมทานไม่สงวนลิขสิทธิ์

สารบัญ

บทที่ ๑    สุคติภูมิ

บทที่ ๒    เรื่องวิมาน

บทที่ ๓  มูลเหตุสำคัญที่นำให้บังเกิดในสวรรค์

บทที่ ๔    ภูมิของเทวดา

บทที่ ๑

สุคติภูมิ


 โลกสวรรค์คือที่อยู่ของผู้ประกอบกรรมดีไว้น้อยหรือมากตามลำดับชั้นของจิตซึ่งจัดไว้ ๓ ชั้น คือชั้นต่ำ ได้แก่ ชั้นกามาวจร ชั้นกลาง ได้แก่ รูปพรหม ชั้นสูง ได้แก่ อรูปพรหมซึ่งจะได้กล่าวย่อดังต่อไปนี้
 กามาวจร แบ่งออกเป็น ๖ ภูมิได้แก่
 ๑.จาตุมมหาราชิกาภูมิ คือที่อยู่ของเทวดาอันมีท้าวมหาราช ๔ พระองค์ คือ ธตรฐมหาราช วีรุฬหกมหาราชวิรูปักษ์มหาราช และเวสสวรรณมหาราช
 ๒. ตาวติงสาภูมิที่อยู่ของเทวดาที่เป็นใหญ่ ๓๓ องค์ มีท้าวสักกเทวราชเป็นประธานอันมีนามว่าสมเด็จพระอมรินทราธิราช
 ๓. ยามาภูมิ เป็นที่อยู่ของเทวดาจำนวนซึ่งปราศจากความลำบากถึงซึ่งความสุขอันเป็นทิพย์มีพระสยามเทวาธิราชเป็นใหญ่
 ๔. ดุสิตาภูมิเป็นที่อยู่ของเทวดาที่มีความยินดีและความชุ่มชื่นอยู่เป็นนิจมีท้าวสันดุสิตเทวราชเป็นใหญ่และเป็นประธานของเทวดาในชั้นนี้
 ๕.นิมมานรดีภูมิเป็นที่อยู่ของเทวดาที่มีความยินดีเพลิดเพลินในกามคุณอารมณ์ที่เนรมิตขึ้นตามความพอใจของตนในชั้นนี้มีท้าวนิมมิตาเทวราชเป็นใหญ่
 ๖. ปรินิมมิตวสวัตตีภูมิเป็นที่อยู่ของเทวดาจำพวกหนึ่งที่มีทิพย์สมบัติเกิดจากการเนรมิตขึ้นมาด้วยใจในชั้นนี้มีทั้งเทวดาและมาร ฝ่ายเทวดานั้นมีท้าวปรินิมมิตเทวราชเป็นผู้ปกครองและเป็นใหญ่ ฝ่ายมาร ได้แก่ ท้าวปรินิมมิตวัตตีมารเป็นผู้ปกครองหมู่มารทั้งหลาย
 รูปาวจรภูมิเป็นโลกสวรรค์ที่มีกามารมณ์ทางรูปเกี่ยวข้องอยู่ แบ่งออกเป็น ๑๖ภูมิ
 ๑. พรหมปริสัชชาภูมิเป็นที่อยู่ของพระพรหมที่มีความสวยงามประณีตประเสริฐมากกว่าเทวดาในภูมิทั้ง ๖ที่ได้กล่าวมา พรหมชั้นนี้มาจากบุคคลผู้ปฏิบัติได้ฌานชั้นต่ำ ปฐมฌานครั้นดับจิตขณะฌานยังไม่เสื่อมก็ย่อมไปบังเกิดในพรหมโลกชั้นนี้
 ๒.พรหมปุโรหิตาภูมิ เป็นที่อยู่ของพระพรหมเหนือกว่าพรหมชั้นที่ ๑ในด้านความเป็นอยู่และที่อาศัยผู้ได้ปฐมฌานชั้นกลางจะบังเกิดในพรหมชั้นนี้
 ๓.มหาพรหมาภูมิ เป็นที่อยู่พระพรหมที่เหนือกว่าพรหมชั้นสองผู้ได้ปฐมฌานชั้นประณีตจะบังเกิดในพรหมโลกชั้นนี้ได้
 ๔. ปริตตาภูมิเป็นที่อยู่ของพระพรหมผู้มีรัศมีผู้ได้ทุติยฌานประเภทปริตตะจะไปบังเกิดในพรหมโลกชั้นนี้
 ๕.อัปปมาณาภาภูมิ เป็นที่อยู่ของพระพรหมผู้มีรัศมีหาประมาณมิได้ผู้ได้ทุติยฌานปานกลางจึงจะบังเกิดในภูมินี้
 ๖. อาภัสสราภูมิเป็นที่อยู่ของพระพรหมที่มีประกายรุ่งโรจน์ดุจดังแสงฟ้าแลบตลอดเวลาผู้ได้ทุติยฌานชั้นประณีตย่อมบังเกิดในภูมิชั้นนี้ได้
 ๗. ปริตตสุภาภูมิเป็นที่อยู่ของพระพรหมผู้มีความสง่าสวยงามของรัศมีโดยไม่มีประมาณเป็นส่วนมากผู้ที่ได้ตติยฌานชั้นต่ำย่อมมาบังเกิดในภูมินี้
 ๘. อัปปมาณาสุภาภูมิเป็นที่อยู่ของพระพรหมผู้มีความสว่างสวยงามของรัศมีโดยไม่มีประมาณเป็นส่วนมากผู้ที่ได้ตติยฌานชั้นปานกลางจึงบังเกิดในภูมินี้
 ๙. สุภกิณณาภูมิเป็นที่อยู่ของพระพรหมที่มีความสง่าสวยงามของรัศมีที่ออกสลับกันเสมอตลอดทั่วทั้งร่างกายผู้ได้ตติยฌานประเภทประณีตจึงบังเกิดในภูมินี้
 ๑๐. เวหัปผลาภูมิเป็นที่อยู่ของพระพรหมที่มีผลอย่างไพบูลย์ คือ มีผลแห่งกุศลกรรมที่ตนทำเต็มที่ได้แก่ผู้สำเร็จจตุตถฌานจึงบังเกิดในภูมินี้ได้
 ๑๑. อสัญญาสัตตาภูมิเป็นที่อยู่ของพระพรหมที่มีแต่รูป ไม่มีนามคือจิตและเจตสิกได้แก่ผู้ที่สำเร็จจตุตถฌานแล้ว มาคำนึงว่า จิตใจเป็นทุกข์ จึงละจิตใจนั้นเสียครั้นตายไปในลักษณะนั่งหรือยืนตาย ก็จะไปบังเกิดในพรหมโลกชั้นนี้
 ๑๒.อวิหาสุทธาวาสภูมิ เป็นที่อยู่ของพระพรหมชั้นอนาคามีผู้ที่จะอุบัติในพรหมชั้นนี้ต้องเป็นสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและได้วิปัสสนาจนได้มรรคผล เป็นพระอนาคามีบุคคลด้วยมีศรัทธาแก่กล้ามากกว่าอย่างอื่น
 ๑๓. อตัปปาสุทธาวาสภูมิเป็นที่อยู่ของพระพรหมที่สำเร็จอนาคามีที่ไม่มีความเดือดร้อนทั้งทางกายและใจในขณะเจริญวิปัสสนาอยู่นั่น ปรากฏว่ามีวิริยินทรีย์คือมีความเพียรแก่กล้ามากกว่าอย่างอื่น
 ๑๔. สุทัสสาสุทธาวาสภูมิเป็นที่อยู่ของพระพรหมที่สำเร็จอนาคามีที่สามารถเห็นสภาวะธรรมบริบูรณ์ด้วยประสาทสัมผัสทิพยจักษุ ธรรมจักษุ และปัญญาจักษุในขณะเจริญวิปัสสนาอยู่นั้นปรากฏว่ามีสตินทรีย์คือมีสติแก่กล้ามากกว่าอย่างอื่น
 ๑๕.สุทัสสีสุทธาวาสภูมิ เป็นที่อยู่ของพระพรหมที่สำเร็จอนาคามีที่ทรงไว้ซึ่งความเห็นแจ่มแจ้งกว่าพรหมชั้นที่ ๑๔พระพรหมชั้นนี้ปรากฏว่ามีสมาธินทรีย์แก่กล้ากว่าอินทรีย์อย่างอื่น
 ๑๖.อกนิฏฐาสุทธาวาสภูมิ เป็นที่อยู่ของพระพรหมที่สำเร็จอนาคามีซึ่งต่อไปก็จะได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในพรหมโลกชั้นนี้อย่างแน่นอนบุคคลที่สำเร็จอนาคามีในขณะเจริญวิปัสสนาปรากฏว่ามี ปัญญินทรีย์คือมีปัญญาแก่กล้ามากกว่าอินทรีย์อื่น ๆ
 อรูปาวจรภูมิคือ โลกของพรหมที่ไม่มีรูป มีอยู่ ๔ ภูมิ ได้แก่
 ๑. อากาสานัญจายตนภูมิเป็นที่อยู่ของพรหมจำพวกหนึ่ง ซึ่งมีแต่นามคือ จิตและเจตสิกเท่านั้นรูปพรรณสัณฐานไม่มีเกิดจากการบำเพ็ญฌานที่มีอากาศบัญญัติไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์
 ๒.วิญญาณัญจายตนภูมิ เป็นที่อยู่ของพรหมไม่มีรูปซึ่งเกิดจากฌานที่อาศัยวิญญาณบัญญัติอันไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์
 ๓.อากิญจัญญายตนเป็นอย่างยิ่ง คือมีปัญญาอย่างละเอียดประณีตบรรดาโลกทั้งสามที่กล่าวมา เป็นที่อยู่ของพรหมที่ไม่มีรูปซึ่งเกิดจากฌานที่อาศัยอารมณ์ "นัตถิ กิญจิ"คือไม่มีวิญญาณเหลืออยู่แม้แต่น้อย
 ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิเป็นพรหมโลกสูงสุดและเป็นที่อยู่ของอรูปพรหมผู้วิเศษซึ่งเกิดจากฌานที่อาศัยความประณีตมานี้เป็นที่เกิดที่ตายและอาศัยของสัตว์ทั้งหลายสัตว์ทุกประเภทต้องเวียนว่ายตายเกิดภายใน ๓๑ ภูมิ หรือในโลกทั้งสาม (ได้แก่โลกมนุษย์ ๑ ภูมิ โลกสวรรค์ ๒๖ ภูมิ และโลกนรก ๔ ภูมิ) ซึ่งเรียกว่าวัฏสงสาร
 เพื่อจำง่ายจึงจัดวัฏสงสารไว้ ๓ ประเภทได้แก่
 ๑. เหฏฐิมสงสาร การท่องเที่ยวไปในโลกเบื้องต่ำ ได้แก่โลกนรก
 ๒. มัชฌิมสงสาร การท่องเที่ยวอยู่ในโลกเบื้องกลางได้แก่ โลกมนุษย์ และโลกสวรรค์
 ๓. อุปริสงสารการท่องเที่ยวอยู่ในโลกเบื้องสูง ได้แก่ รูปพรหมและอรูปพรหม
 บรรดาสัตว์ทั้งหลายที่อุบัติขึ้นในภูมิใด ๆ ก็ไม่แน่นอนเพราะต้องจุติและอุบัติเป็นธรรมดาในเมื่อถึงคราวสิ้นอายุแล้วหากทำบาปไว้มากก็ไปเกิดในภูมิที่ต่ำถ้าทำบุญไว้มากก็จะไปอยู่ในภูมิที่สูงก็มี

 ๑.เหฏฐิมสงสาร
 การท่องเที่ยวของสัตว์ทั้งหลายในภูมิเบื้องต่ำคือ อบายภูมิทั้ง ๔ มี โลกนรก โลกเปรต โลกอสุรกาย และโลกเดรัจฉาน อาศัยกรรมกรรมนิมิต และคตินิมิต ดังนี้ เมื่อบุคคลเช่นมนุษย์เมื่อใกล้จะตาย ปัญจทวาร คือ ตาหู จมูก ลิ้น กาย จะดับก่อน คือ มองไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่รู้กลิ่น ไม่รู้รสไม่รู้สึกตัว มีความนึกคิดอยู่ทางมโนทวารคือทางใจอย่างเดียวสิ่งทั้งหลายไม่มีอะไรเป็นแก่นสาร เป็นสรณะที่พึ่งอาศัยได้เลยมีแต่กรรมที่ได้เคยกระทำมาเท่านั้นเป็นอารมณ์ให้ผู้ที่จะไปเกิดในภูมิเปรตและอสุรกาย กรรมชั่วอันเป็นอกุศลกรรมในอดีตเช่น การลักขโมย ประพฤติในกาม มีโลภะ ตัณหา ราคะเป็นเหตุให้กรรมที่กระทำชั่วเช่นนี้มาปรากฏทางใจให้เห็นว่าตนได้กระทำในขณะนั้นเรียกว่า กรรมนิมิต เมื่อกรรมนิมิตเกิดขึ้นแล้วหายไปเป็นปัจจัยให้เกิดคตินิมิต คือ ภูมิของเปรตอสุรกาย มีนิมิตเป็นโคลนตามสิ่งสกปรกโสมมหรือ แม่น้ำ ป่าเป็นวิถีให้ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้นเมื่อจิตจุติดับลงแล้วก็จะไปปฏิสนธิในภูมิแห่งเปรตหรืออสุรกายถ้าปัจจุบันเคยทำกรรมชั่วมีการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต มีวาจาหยาบคายจิตพยาบาทปองร้ายริษยา อันเกิดจากโทสะจริตเป็นเหตุให้เกิดกรรมนิมิตเสมือนหนึ่งว่าตนได้กระทำอยู่ในขณะนั้นเป็นปัจจัยให้เกิดคตินิมิต มีไฟรุมล้อมหรือมีศัตราวุธคอยทิ่มแทงให้ได้รับทุกขเวทนาเมื่อจุติจิตดับลงจะเป็นเหตุให้เกิดปฏิสนธิจิตในภูมิแห่งนรกได้รับทุกขเวทนาแสนสาหัสตลอดเวลาจนกว่าจะหมดวิบากผลกรรมถ้าหากปัจจุบันชาตินี้กระทำความชั่วไว้ด้วยอำนาจแห่งโมหะ คือความหลง ความเผลอความไม่รู้จักบาปบุญคุณโทษ เหล่านี้เป็นกรรมนิมิต เป็นปัจจัยให้เกิดคตินิมิตเห็นป่า เห็นสัตว์เดรัจฉาน หรือท้องของสัตว์เมื่อจุติจิตดับลงปฏิสนธิจิตก็กำเนิดขึ้นในภูมิแห่งสัตว์เดรัจฉานทนทุกข์ทรมานด้วยการเป็นสัตว์เช่นนั้น จะกว่าจะหมดวิบากกรรม
 เป็นอันว่าสัตว์ทั้งหลายผู้กระทำชั่ว พูดชั่ว คิดชั่ว ด้วยอำนาจโลภะ โทสะ โมหะย่อมเที่ยวไปในอบายภูมิ คือ ที่อยู่ของผู้ปราศจากความสบาย มีแต่ความทุกข์ทรมานทุรนทุราย เร่าร้อน มืดมน เรียกว่า เหฏฐิมสงสาร

 ๒.มัชฌิมสงสาร
 การท่องเที่ยวอยู่ในภูมิชั้นกลาง ได้แก่สุคติภูมิ ๗ คือ มนุษย์ภูมิ ๑ และเทวภูมิ ๖ สัตว์ผู้ใกล้จะตายถ้าปรากฏกรรมที่เคยกระทำไว้อันเป็นอกุศลธรรมหรือที่เรียกว่า มนุษยธรรมประกอบด้วยศีล๕ หรือกุศลกรรมบถ ๑๐ แล้วจะเกิดกรรมนิมิตคล้ายกับคล้ายกับว่าตนได้กระทำหรือปฏิบัติในขณะนั้นเป็นเหตุให้เกิดคตินิมิต มีอาคารบ้านเรือน ครรภ์มารดา ชิ้นเนื้อเมื่อจิตดับลงก็จะเป็นปัจจัยให้เกิดปฏิสนจิตในภูมิแห่งมนุษย์
 หากในปัจจุบันชาตินี้เป็นผู้มีจิตประกอบด้วยหิริความละอายต่อบาป โอตตัปปะความเกรงกลัวต่อบาปตั้งตนอยู่ในธรรมอันบริสุทธิ์ปราศจาก โลภะ โทสะ โมหะ มีการบำเพ็ญทาน ศีล ภาวนาสร้างสาธารณประโยชน์แก่เพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหล่านี้ก็จะให้ปรากฏเป็นกรรมนิมิตเสมือนว่าตนกำลังทำอยู่ในขณะนั้นเมื่อใกล้จะตายจะเป็นปัจจัยให้เกิดคตินิมิตเห็นเป็นเทวดา เครื่องทรงเทวดาหรือปราสาท วิมานสวรรค์ เมื่อจุติจิตดับลงปฏิสนธิจิตก็เกิดในภูมิเทวดาทั้ง ๖ในชั้นใดชั้นหนึ่งตามวิบากของกุศลกรรมนั้น ๆ

 ๓.อุปริสงสาร
 การท่องเที่ยวในภูมิเบื้องสูง คือ รูปาวจรภูมิ ๑๖อรูปาวจรภูมิ ๔ ซึ่งรวมเรียกว่า พรหม ๒๐ผู้ใกล้จะตายจะปรากฏกรรมอันเป็นกุศลกรรมใหญ่หรือมหากุศล ได้แก่การเจริญศีลภาวนาทางสมถกรรมฐาน ซึ่งเมื่อมีชีวิตอยู่ผู้ปฏิบัติได้บรรลุถึงขั้นใด ๆเช่น รูปฌานก็ได้บังเกิดในรูปภูมิ ได้อรูปฌานก็บังเกิดในอรูปภูมิ ดังนี้เป็นต้น

บทที่ ๒

เรื่องวิมาน


 คำว่าวิมานหมายถึง ที่อยู่ของเทพบุตรเทพธิดา หรือสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยอานุภาพแห่งกุศลสุจริตเรื่องวิมานวัตถุจึงเป็นเรื่องที่แสดงถึงกุศลกรรมที่ทำให้เกิดสมบัติ มีรูปสมบัติโภคสมบัติ บริวารสมบัติ อันเป็นทิพย์ของเทพยดาทั้งหลาย ปัญหาเรื่องวิมานที่ว่าใครแสดงไว้ที่ไหน ? เมื่อไร?เพราะเหตุอะไร? ตามปกติเรื่องวิมานเกิดจากคำถามคำตอบคำถามส่วนมากเป็นพระพุทธดำรัสตรัสถามคำถามของท้าวสักกเทวราชเทวดาด้วยกันและพระอรหันต์ส่วนมากเป็นพระโมคคัลลานเถระ
 ไม่ว่าจะเป็นคำถามของใครก็ตามล้วนแล้วแต่เป็นความรู้ที่เกิดจากประจักษ์ด้วยตนเอง คือเทวดาเหล่านั้นมาเฝ้าพระพุทธเจ้า แล้วพระองค์ตรัสถามถึงบุพพกรรมของเทวดาเหล่านั้นท้าวสักกเทวราชทรงพบเห็นสมบัติของเทวดาเหล่านั้นแล้วตรัสถามเมื่อทรงทราบแล้วจะนำมาเล่าถวายให้พระโมคคัลลานเถระฟัง พระโมคคัลลานเถระเองนั้นท่านไปด้วยอำนาจฌานของท่าน สอบถามบุพพกรรมของเทวดาเหล่านั้น แล้วนำเรื่องนั้น ๆมากราบทูลพระพุทธเจ้าบ้าง นำไปประกอบในการแสดงธรรมแก่ประชาชนบ้างซึ่งการแสดงธรรมในระดับของทาน ศีล สุจริต โดยเล่าถึงบุคคลที่ได้ประสบผลแห่งความดีเหล่านั้นเป็นตัวอย่างย่อมก่อให้เกิดความศรัทธาเลื่อมใสได้ง่าย
 วิมานวัตถุเป็นกลุ่มธรรมลำดับที่๖ ในขุททกนิกาย ท่านแบ่งออกเป็นวรรค ๗ วรรค นับเป็นวิมานได้ ๘๕ วิมานนับเป็นเรื่องที่รวมในวิมานเดียวกันได้ ๑๒๓ เรื่อง ประกอบด้วยคาถา ๑,๕๐๐ คาถาและยังมีเรื่องวิมานในที่อื่นอีก ๑๐ เรื่อง รวมแล้วเรื่องที่ว่าด้วยวิมานมี ๑๓๓เรื่อง
 ในพระไตรปิฎกนั้นไม่ได้บอกที่ตั้งของสวรรค์ในทางภูมิศาสตร์เอาไว้ว่า ตั้งอยู่ที่ไหนแต่พระอรรถกถาจารย์ได้แสดงเอาไว้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความคิดของพระอรรถกถาจารย์เรื่องสวรรค์เป็นอิทธิพลของพราหมณ์ทั้งหมด คือสวรรค์ล่องลอยสูงขึ้นไปตามลำดับโดยมีระยะห่างไกลกันมากบ้าง น้อยบ้าง จุดเริ่มต้นของสวรรค์อยู่ที่ยอดเขายุคันธรเรียกว่าชั้นจาตุมหาราช สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ อยู่บนยอดเขาพระสุเมรุ สวรรค์ชั้นอื่น ๆอยู่สูงซ้อน ๆ กันขึ้นไปจนถึงพรหมโลก พระธรรมปาลเถระพระอรรถกถาจารย์ผู้เรียบเรียงเรื่องนี้ ท่านเป็นชาวลังกา อาศัยแนวอรรถกถาเล่มเก่า ๆเป็นแนวในการเรียบเรียงความคิดเห็นของท่านจึงอาศัยแนวของพราหมณ์แม้แต่รูปร่างของโลก ตามความเข้าใจของท่านคล้าย ๆ กับจะอยู่กับที่หรืออาจจะแบนไปเลยเพราะถือว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล
 สำหรับผู้ที่สามารถไปพบเห็นสวรรค์ได้นั้นท่านบอกว่าต้องเป็นผู้ที่ได้ฌานสมาบัติเป็นต้นไป คือ ต้องอาศัยยานคืออภิญญา ๕สมาบัติ ๘ เป็นเครื่องอาศัยไปสู่สวรรค์ด้วยกายผู้ที่อาจไปสู่สวรรค์ด้วยกายจึงมีตั้งแต่ พวกฤษีดาบส ภิกษุผู้ได้อภิญญาสมาบัติพระอริยสาวกจนถึงพระพุทธเจ้า แต่ตามคัมภีร์อื่นแสดงว่าคนที่มีบุญบางคนอาจไปสู่สวรรค์ได้ด้วยอานุภาพ แห่งบุญ และเทวานุภาพเช่นพระเจ้าเนมิราชในเนมิราชชาดกหรือคุตติลบัณฑิตในคุตติลลชาดกเป็นต้น
 อย่างไรก็ตามน่าจะได้ทำความรู้จักกับสวรรค์ในรูปที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ตามมติพระอรรถกถาจารย์เพราะเมื่ออ่านไปแล้ว ทำให้เข้าใจว่าสวรรค์ที่ท่านบอกนั้น น่าจะเป็นโอกาสโลกคือดาวดวงใดดวงหนึ่ง โดยดวงหนึ่งเป็นสวรรค์ชั้นหนึ่ง ๆเมื่อมองดูความห่างไกลตามประมาณของท่านโดยท่านเรียงเป็นลำดับไว้ดังนี้
 ๑.จาตุมหาราชิกาสูงจากโลกมนุษย์ขึ้นไป ๔๒,๐๐๐ โยชน์
 ๒.จากจาตุมหาราชิกาถึงดาวดึงส์ไกล ๔๒,๐๐๐ โยชน์
 ๓.จากดาวดึงส์ถึงชั้นยามา ๔๓๔,๐๐๐ โยชน์
 ๔.จากสวรรค์ชั้นยามาถึงสวรรค์ชั้นดุสิต ๗๘๔,๘๐๐ โยชน์
 ๕.จากสวรรค์ชั้นดุสิตถึงนิมมานรดี ๑,๑๓๕,๒๐๐ โยชน์
 ๖.จากสวรรค์ชั้นนิมมานรดีถึงปรนิมมิตวสวัตดี ๑,๔๘๕,๖๐๐ โยชน์
 ๗.จากปรนิมมิตวสวัตดีถึงพรหมโลกชั้นแรก ๑,๘๓๖,๐๐๐โยชน์
 จากระยะทางที่ห่างไกลกันตามที่ท่านกล่าวมานี้หากจะไม่คิดว่าเรียงแบบซ้อนกันแล้วก็จะเห็นได้ว่าระยะทางที่ห่างไกลกันนั้นถึงแม้จะไม่ตรงกันกับที่ค้นพบในยุคหลังทีเดียวแต่ทำให้ได้หลักว่า ความคิดเรื่องที่ตั้งสวรรค์ตามภูมิศาสตร์ที่พระอรรถกถาจารย์แสดงไว้ มีความก้าวหน้ามากทีเดียวและความเป็นไปได้ของที่ตั้งสวรรค์จึงน่าจะเป็นดาว ที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้ซึ่งไม่จำเป็นว่าจะต้องมีบรรยากาศแบบโลกเสมอไปเพราะเป็นเรื่องของกำเนิดที่แตกต่างกันเหมือนปลาเกิดในน้ำเติบโตในน้ำได้แต่คนเกิดบนบกจะไปเจริญเติบโตในน้ำไม่ได้ฉะนั้น
 แปลกที่ว่าในชั้นพระพุทธภาษิตไม่ทรงแสดงที่ตั้งสวรรค์ไว้ตรง ๆ ว่าอยู่ที่ไหน? แต่ทรงแสดงระบบสุริยจักรวาลไว้ตรงตามหลักจักรวาลวิทยาในปัจจุบันปัญหาที่น่าพิจารณาคือทำไมไม่ทรงแสดงที่ตั้งของสวรรค์นรกในรูปที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ไว้เล่า?
 คำตอบคือเมื่อทรงแสดงถึงเหตุการณ์ เทพบุตร เทพธิดาในสวรรค์ชั้นนั้น ๆจะทรงแสดงแก่ท่านที่ได้สมาบัติอภิญญาซึ่งรู้เห็นที่ตั้งของนรกสวรรค์ด้วยตนเองอยู่แล้วจึงไม่มีความจำเป็นอะไรที่จะพูดถึงที่ตั้งของนรกสวรรค์ในด้านภูมิศาสตร์เหมือนคนไทยที่เคยรู้หรือเคยเข้ากรุงเทพมหานคร เมื่อพูดถึงเรื่องราวต่าง ๆซึ่งเกิดขึ้นที่กรุงเทพมหานครก็ไม่มีใครกล่าวถึงที่ตั้งของกรุงเทพมหานครเช่นเดียวกันฉะนั้น
 สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาลงมาท่านบอกว่าบางพวกมีการร่วมประเวณี มีสามีภรรยาก็มี บุตรธิดาที่เกิดจากครรภ์ก็มีช่วยแก้ข้อข้องใจเกี่ยวกับเทวดาเด็ก ๆ ประเภทภูมิเทวดา รุกขเทวดา อากาสเทวดาเป็นต้นลงไปได้เพราะแสดงว่าเทวดาเด็กเหล่านั้นเพิ่งเกิดไม่นานนัก
 ในเรื่องอายุท่านบอกว่าเมื่อเทียบกับมนุษย์แล้วแตกต่างกันมากเช่นเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกามีอายุขัย ๕๐๐ ปีทิพย์ เมื่อเทียบกับอายุมนุษย์แล้ว ๙ ล้านปีเพราะวันหนึ่งที่สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกานั้น เท่ากับ ๕๐ ปีของโลกมนุษย์ คือในขณะที่คนเกิดบนโลกมีอายุได้ ๕๐ ปีเทวดาบนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชเพิ่งมีอายุได้วันเดียวเท่านั้นเอง
 ด้วยเหตุนี้เองหากสวรรค์คือดาวพระเคราะห์จริง ๆ แล้ว ทำให้ได้หลักที่ตรงกันกับวิทยาการปัจจุบันคือวันหนึ่งของดาวแต่ละดวงนั้น นับจากการหมุนรอบตัวเองรอบหนึ่งเรื่องขนาดของดวงดาวใหญ่มาก กว่าจะหมุนรอบตัวได้คราวหนึ่งต้องกินเวลานานอย่างดาวต่าง ๆ ที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบในปัจจุบันปรากฏว่าบางดวงกว่าจะหมุนรอบตัวรอบหนึ่ง โลกหมุนไปตั้ง ๑๑ ปีบ้าง ๑๒ ปีบ้าง จนถึง๒๐๐ กว่าปี ก็มีเป็นต้น เรื่องความมีอยู่ของสวรรค์วิมานต่าง ๆ นั้นพระพุทธศาสนาแสดงว่ามีอยู่เป็นสถานที่เสวยผลบุญของคนสัตว์ที่ตายไปแล้วไปอุบัติในสถานที่นั้นเหมือนคนที่พยายามทำงานด้วยความหมั่นขยันเก็บสะสมทรัพย์สมบัติไว้มากแล้วเมื่อแก่ตัวลง ก็สามารถเลี้ยงตนเอง และครอบครัวให้มีความสุขได้โดยไม่ต้องทำการงานอะไรฉะนั้น
 ในการเรียบเรียงเรื่องวิมานวัตถุนี้จุดเด่นที่จะเน้นมากคือ ผลบุญที่เป็นเหตุให้เกิดในวิมานนั้น ๆ ส่วนรูปร่างของเทวดาความงามของวิมาน จะพูดเพียงย่อ ๆ เท่าที่จำเป็นเพราะส่วนมากแล้วเป็นการบรรยายความสวยงามของเทวดาแต่ละองค์ซึ่งส่วนมากจะคล้ายคลึงกัน เช่น รูปงาม รัศมีรุ่งเรือง ส่องสว่างไสวไปทั่วทิศเหมือนดาวประกายพรึก ลักษณะวิมานมักจะกล่าวถึงความกว้างใหญ่ สวยงามเครื่องประดับตกแต่งที่วิจิตรพิสดาร ทำนองเดียวกับการนำเที่ยวสถานที่ต่าง ๆเครื่องประกอบวิมานนั้นมีทั้งเทพธิดา ต้นไม้ แม่น้ำ ภูเขา สัตว์นานาชนิดซึ่งเป็นเทพธิดานิรมิตขึ้น เพราะสวรรค์ไม่มีสัตว์ดิรัจฉานเนื่องจากกำเนิดดิรัจฉานเป็นอบายภูมิ
 ในวิมานวัตถุ ไม่ได้เรียกว่า "สูตร" แต่เรียกว่า "วิมาน" ชื่อของวิมานนั้นเรียกตามรูปร่างของวิมานบ้างตามอำนาจแห่งบุญที่คนเหล่านั้นได้กระทำมาบ้าง เช่น นาวาวิมาน วิมานเรือแต่ไม่ได้หมายว่ามีวิมานเป็นเรือ วิมานคงเป็นรูปปราสาทแต่เทวดาตนนั้นไปไหนมาไหนด้วยวิมานเรือ ที่ไปได้รวดเร็วตามใจปรารถนาเป็นต้นในการเรียบเรียงจึงจะจัดเป็นข้อ ๆตามประเภทของวิมานและบุญที่เป็นเหตุให้ได้วิมานเหล่านั้นเพื่อให้ได้ประเด็นสำคัญของวิมานวัตถุคือ "บุญที่เทวดาเหล่านั้นได้กระทำในชาติก่อนอันเป็นเหตุให้เกิดเป็นเทวดาในชาตินั้น"

คำสำคัญ (Tags): #สวรรค์
หมายเลขบันทึก: 512453เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2012 22:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 ธันวาคม 2012 22:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

 

วิมานตั่งทองคำ


 ในวรรคนี้มีรวมกัน ๑๗ วิมานคือ
 - เทพธิดามีวิมานตั่งทองคำเลื่อนลอยไปในอากาศได้เร็วตามปรารถนาพระโมคคัลลานเถระได้ถามถึงบุพพกรรมในอดีต ๒ องค์แรกบอกว่าเพราะว่าได้ถวายตั่งแก่ภิกษุผู้มาใหม่ ได้กระทำการอภิวาทอัญชลีและให้ทานตามสติกำลัง๒ องค์หลังบอกว่า เพราะได้พบเห็นภิกษุผู้ปราศจากธุลีคือกิเลสมีอินทรีย์ผ่องใสไม่ขุ่นมัว จึงได้ถวายตั่งเป็นที่นั่งแก่ท่านด้วยจิตใจที่ผ่องใส
 - เทพธิดาเป็นนาวาเป็นวิมานนาวา ๓ องค์บอกว่าเป็นผลบุญจากการที่ได้ถวายน้ำอันเย็นสนิทแก่ภิกษุผู้เดินทางไกลกำลังกระหายน้ำและเทพธิดาที่มีกุญชรเป็นวิมานบอกว่าในชาติก่อนท่านได้เห็นพระเถระผู้สมบูรณ์ด้วยศีล มีปกติเพ่งและยินดีในฌาน เป็นผู้สงบจึงได้ถวายเครื่องลาดที่ทำด้วยผ้าแก่ท่าน ด้วยจิตใจอันผ่องใส
 - เทพธิดาองค์หนึ่งมีประทีปวิมานเพราะผลแห่งการตามประทีปให้แสงสว่างแก่คนทั้งหลายและถวายประทีปเป็นทางอีกองค์หนึ่งบอกว่าได้ถวายเมล็ดงาเป็นทางแก่พระพุทธเจ้า อีก ๒องค์วิมานของท่านมีสัตว์นิรมิตนานาชนิด พร้อมด้วยเทพธิดาเป็นบริวารอีกมากเพราะผลของ "มีความสัตย์มั่นคงต่อสามี ไม่ประพฤตินอกใจ รักสามี เหมือนมารดารักบุตรแม้ยามจะโกรธก็ไม่กล่าวคำหยาบ ไม่พูดเท็จพูดแต่คำสัตย์จริงยินดีในการให้ทานและสงเคราะห์คนอื่น ให้ทานด้วยวัตถุอย่างดีและมีความเคารพในทานและผู้รับทาน"
 - เทพธิดา ๒ องค์เป็นหญิงสะใภ้อยู่ในตระกูลของสามี เมื่อเห็นภิกษุผู้ปราศจากธุลี มีอินทรีย์ผ่องใสไม่ขุ่นมัวจึงเกิดความเลื่อมใสองค์แรกได้ถวายขนมกึ่งหนึ่ง องค์ที่ ๒ได้ถวายข้าวบาร์เล่ และขนมที่ทำด้วยถั่วเหลืองด้วยมือของตน
 - เทพธิดา ๓องค์ เป็นพระอริยบุคคลชั้นสกทาคามีและโสดาบันตามลำดับเป็นอุบาสิกาที่มีชื่อเสียงมาในสมัยพุทธกาล คือ
 ๑.อุตตราเทพธิดาในชาติอดีตเป็นธิดาของปุณณเศรษฐีเป็นพระอริยสาวกชั้นสกทาคามี ความดีของท่านเฉพาะที่ท่านบอกพระโมคคัลลานเถระ คือ "เมื่ออยู่ครองเรือนไม่ริษยา ไม่เย่อหยิ่ง ไม่ตระหนี่ ไม่ถือตัว ไม่ตีเสมอ ไม่โลภไม่โกรธ ไม่ประพฤตินอกใจสามี รักษาอุโบสถศีลประจำ ยินดีในศีล ๕ให้ทาน
 ๒. สิริมาเทพธิดาในชาติอดีตคือนางสิริมาธิดาของนางสาวดีน้องสาวหมอชีวกโกมารภัจเป็นหญิงนครโสเภณีประจำเมืองราชคฤห์นางอุตตราเคยจ้างให้ไปช่วยปฏิบัติสามีนางเพื่อนางจะได้มีโอกาสบำเพ็ญบุญ แต่นางสิริมาเกิดริษยานางอุตตราขึ้นจนถึงกับตักน้ำมันร้อน ๆ รดศีรษะนางอุตตราแต่ด้วยอำนาจแห่งเมตตาจิตจึงไม่เป็นอันตรายนางอุตตราจึงชักชวนให้ฟังธรรมในสำนักของพระพุทธเจ้า จนบรรลุโสดาปัตติผลต่อมาได้ตั้งนิตยภัตรประจำถวายแก่ภิกษุวันละ ๔ รูป และตายไปในวัยสาว พระวังศีสเถระได้เห็นสมบัติของนางผู้อุบัติในสวรรค์ชั้นนิมานรดี นางได้เล่าประวัติตอนต้นให้ฟังแล้วสรุปลงเป็นผลบุญว่านางได้ฟังธรรมคือ อริยสัจ ๔ ในพุทธสำนัก จนได้บรรลุสมาธิอันเกิดจากความสงบจิตใจในอัตภาพนั้น หมดความสงสัยในคุณของพระรัตนตรัยและสิ่งทั้งปวง มีความรู้พิเศษในอริยสัจ ๔และได้กล่าวสรรเสริญพระพุทธคุณเป็นอันมาก
 ๓.เปสการีเทพธิดาเมื่อท่านอุบัติ ณ ดาวดึงส์กำลังชื่นชมสมบัติของท่านอยู่ท้าวสักกเทวราชได้ตรัสถามถึงผลกรรมในอดีต นางได้กราบทูลถวายความว่า
 "หม่อมฉันเป็นธิดาช่างหูกในเมืองพาราณสีมีความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย ซึ่งหม่อมฉันได้ถึงแล้วโดยใกล้ชิด ไม่มีความสงสัยรักษาศีลไม่ให้ด่างพร้อยได้สำเร็จอริยผล"
 เทพธิดาองค์นี้มีประวัติออกจะแปลกอยู่ท่านเล่าว่าเมื่อนางยังเป็นสาวอยู่ ได้เห็นภิกษุหนุ่ม ๆ เที่ยวบิณฑบาตจึงถามมารดาของนางว่า
 "บรรพชิตเหล่านี้ยังหนุ่มทั้งนั้นทั้งมีรูปร่างสง่างามทั้งนั้น แต่คงยากจนเข็ญใจอย่างใดอย่างหนึ่งจึงได้ออกบวชเสียเช่นนี้"
 มารดาได้ชี้ให้ฟังโดยเล่าถึงพระประวัติของพระพุทธเจ้าแล้วบอกว่าท่านนั้นได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าจึงเกิดความเลื่อมใสแล้วออกบวชหาได้บวชด้วยขัดสนยากจนแต่ประการใดไม่พอดีอุบาสกคนหนึ่งเดินผ่านได้ยินเข้าจึงแวะเข้าไป มารดาของนางจึงได้สอบถามเพิ่มเติมอุบาสกบอกว่ากุลบุตรเหล่านั้นเห็นโทษของกามคุณและอานิสงส์แห่งการออกจากกามคุณจึงได้ออกบรรพชา และได้แสดงคุณของพระรัตนตรัยพร้อมด้วยศีลอานิสงส์ของศีล ๕ ประการ สองแม่ลูกจึงขอให้อุบาสกให้ศีลนั้นแก่ตนด้วยหลังจากได้สามทานศีลจากอุบาสกแล้วกุลธิดาขอเรียนหลักปฏิบัติต่อไปอุบาสกจึงบอกให้เรียนและสาธยายอาการ ๓๒ มี ผม ขน เป็นต้นนางบำเพ็ญเพียรทางจิตไปตามลำดับจนได้บรรลุโสดาปัตติผลตายไปอุบัติเป็นเทพธิดาผู้เป็นมเหสีของท้าวสักกเทวราช ณ ดาวดึงส์เทวโลกเรื่องของนางแปลกออกไปกว่าเรื่องอื่น คือ
 ๑.นางได้ฟังธรรมรักษาศีลจากอุบาสก อันเป็นการแสดงว่าสมาทานวิรัติ คือการงดเว้นด้วยการสมาทานศีลนั้น แม้จะรับศีลจากอุบาสกด้วยกันก็ได้
 ๒.นางเรียนกรรมฐานในสำนักของอุบาสกจนเข้าใจต่อจากนั้นลงมือปฏิบัติด้วยตนเองจนบรรลุผลได้ การฟังธรรมการปฏิบัติธรรมและผลแห่งการปฏิบัติธรรม ไม่ได้ถูกจำกัดว่าจะฟังจากใคร เมื่อไรหากตั้งใจปฏิบัติจริง ๆ แล้วผลย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ
 วิมานทั้ง ๑๗ วิมาน๑๔ วิมานแรกมีข้อที่น่าสังเกตว่า บุญกุศลที่ท่านเหล่านั้นทำไม่มากนักแต่มีความสมบูรณ์ด้วยทักขิเณยยบุคคลคือ ผู้รับ เจตนาของผู้ให้และวัตถุที่ให้ทานนั้นได้มาโดยธรรม อันรวมเป็นสัมปทาคุณ ๓ ประการผลอานิสงส์จึงอำนวยให้เกิดวิมานแก่ท่านเหล่านั้นอีก ๓วิมานหลังท่านเป็นพระอริยบุคคลอยู่แล้วการเกิดในสวรรค์ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร
 ในสุรีสาวิมานที่นางเทพธิดาบอกว่า รักสามีเหมือนมารดารักบุตรนั้นเพราะพระพุทธเจ้าทรงแสดงประเภทของภรรยาไว้ ๗ ประเภท แก่นางสุชาดาสะใภ้ของท่านนอนาถปิณฑิกเศรษฐี ในสัตตกนิบาตอังคุตตรนิกายความว่า
 "ดูกรสุชาดา ในโลกนี้มีภรรยาอยู่ ๗ จำพวก คือวธสมาภริยา ภรรยาเสมอด้วยเพชฌฆาต โจรสมาภริยา ภรรยาเสมอด้วยโจร อัยฺยสมาภริยาภรรยาเสมอด้วยนาย มาตุสมาภริยา ภรรยาเสมอด้วยแม่ ภคินีสมาภริยาภรรยาเสมอด้วยพี่สาวน้องสาว สขีสมาภริยา ภรรยาเสมอด้วยเพื่อน ทาสีสมาภริยาภรรยาเสมอด้วยทาสี เธอเป็นภรรยาจำพวกไหนใน ๗จำพวกนี้"
 นางสุชาดากราบทูลว่าเมื่อก่อนนั้นนางไม่ทราบเรื่องนี้จึงประพฤติ ไม่เหมาะสมไปมาก ต่อแต่นี้ไปจะเป็นทาสีสมาภริยาคือภรรยาที่เสมอด้วยทาสี
 หญิงสะใภ้ในสุริสาวิมานแสดงว่าเป็นภรรยาประเภทที่๔ ซึ่งทรงแสดงว่า ภรรยา ๔ ประเภทหลัง เมื่อตายไปแล้วย่อมบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์ฝ่าย ๓ ประเภทแรกเป็นภรรยาไม่ดี และต้องเกิดในทุคติหลังจากตายไปแล้ว

วิมานที่สวนจิตตลดา
 ในวรรคนี้มีรวมกัน ๑๐ วิมานคือ
 - ทาสีวิมาน เจ้าของวิมานเคยเป็นคนรับใช้เขาในชาติก่อนเป็น

อุบาสิกาในพระพุทธศาสนา ได้รักษาศีลและมนสิการถึงกรรมฐานอยู่ ๑๖ ปีโดยตั้งใจว่า แม้ตนจะตายไปก็จะไม่ย่อมเลิกบำเพ็ญกรรมฐาน มีความเพียรมุ่งไปข้างหน้าโดยหวังสภาวะที่ปราศจากกิเลส สิ้นสังโยชน์ความซื่อตรง และองค์อริยมรรคจะเกิดขึ้นได้ โดยอาศัยพื้นฐาน คือการรักษาศีล ๕ จนได้บรรลุอริยผลและนางยังได้กล่าวแก่พระโมคคัลลานเถระว่า
 "ฐานที่ดิฉันได้รับนี้คนที่ไม่ได้ทำบุญไว้ไม่อาจได้รับย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้ที่ได้ทำบุญไว้เท่านั้นผู้มิได้ทำบุญไว้ย่อมไม่ได้ความสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้าผู้ต้องการจะสถิตร่วมกับเทพชาวไตรทศ ควรบำเพ็ญกุศลไว้ให้มากเพราะว่าผู้มีบุญอันได้ก่อไว้แล้ว ย่อมเพียบพร้อมด้วยโภคสมบัติร่าเริงบันเทิงอยู่ในสวรรค์"
 - หญิงขัดสนกำพร้าคนหนึ่งได้ถวายข้าวตังแก่พระมหากัสสปเถระขณะที่ท่านเที่ยวบิณฑบาตด้วยมือตนเมื่อนางตายไปแล้ว ท้าวสักกเทวราชได้เรียกถามท่านว่าหญิงคนนั้นไปเกิดในสวรรค์ชั้นไหนพระมหากัสสปะเถระบอกว่า
 "นางจุติจากโลกมนุษย์แล้วบังเกิดเป็นเทพธิดาผู้มีฤทธิ์มาก ณ สวรรค์ชั้นนิมานรดีเสวยความสุขอันเป็นทิพย์อยู่ที่สวรรค์ชั้นนั้น เพราะผลของทาน"
 - เทพธิดาตนหนึ่งมาหาพระโมคคัลลานเถระ เรียนให้ท่านทราบว่าชาติก่อนนางเป็นหญิงจัณฑาลชรา ได้รับการแนะนำจากพระเถระว่า "ยายจัณฑาลท่านจงถวายบังคมพระพุทธเจ้า ผู้อุดมด้วยพระเกียรติยศ ประเสริฐกว่าผู้วิเศษทั้งหลายประทับยืนเพื่ออนุเคราะห์ท่านอยู่ ท่านจงทำจิตให้เลื่อมใสยิ่งในพระองค์แล้วจงประคองหัตถ์อภิวาทโดยเร็วเถิดชีวิตของท่านยังเหลือน้อยเต็มทีแล้ว "เมื่อนางได้ทำตามคำแนะนำของพระเถระเสร็จ ก็ถูกโคขวิดตายในขณะที่กำลังประคองมืออยู่ตายแล้วไปบังเกิดในอุทยานนันทวัน มาหาท่านเพื่อกราบด้วยความรู้สึกคุณแล้วอันตรธานไปจากที่นั้น
 - พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามบุพพกรรมของนางเทพธิดาองค์หนึ่งซึ่งมาเฝ้า นางเทพธิดาองค์หนึ่งซึ่งมาเฝ้านางได้กราบทูลให้ทรงทราบว่า
 "ชาติก่อนนางเป็นอุบาสิกาอยู่ที่เมืองกิมพิลนครชื่อ ภัททิตถิกาเป็นโยมอุปฐากพระอัครสาวกทั้งสอง สมบูรณ์ด้วยศรัทธา ศีลยินดีในการจำแนกทาน บำรุงพระสงฆ์ด้วยปัจจัย ๔ รักษาอุโบสถศีล ถือศีล ๕ยินดีในอริยสัจ ๔ ตายไปแล้วบังเกิดเป็นเทพธิดา ณ นันทวันชั้นดาวดึงส์"
 อดีตอุบาสิกาชาวเมืองนาลันทา ชื่อว่า โสณทินนาได้ปฏิบัติตนเช่นเดียวกับองค์ เกิดในที่เดียวกันคือชั้นดาวดึงส์แม้อดีตอุบาสิกาชื่อ สุนัททา ชาวกรุงราชคฤห์ ก็ได้เรียนถวายบุพพกรรมของนางเช่นเดียวกับสององค์แรก อีกองค์หนึ่งซึ่งสถิต ณ สุทินนาวิมานก็เกิดบนสวรรค์ด้วยกรรมเช่นเดียวกัน
 - เทพธิดาองค์หนึ่ง ณ อุโบสถวิมานได้เรียนถวายให้พระโมคคัลลานเถระทราบว่า ในอดีตนางเป็นอุบาสิกา ชาวเมืองสาเกตมีศรัทธารักษาอุโบสถ แต่ไม่ได้ฟังพระพุทธวจนะ จึงต้องบังเกิดในภพที่ต่ำกว่าที่ควรเมื่อพระเถระถามถึงอายุขัยบนสวรรค์ นางบอกว่า ประมาณ ๖ หมื่นปีทิพย์จุติจากนั้นแล้วจะได้มาบังเกิดเป็นมนุษย์อีกพระเถระจึงบอกว่าอย่าได้มีความสะทกสะท้านเลยเพราะพระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไว้ว่านางจะได้บรรลุโสดาปัตติผล
 - เทพธิดาสององค์ในสองวิมาน บอกผลบุญของนางที่ได้กระทำในชาติก่อนเหมือนกันคือเมื่อได้เห็นพระพุทธเจ้า เกิดความเลื่อมใส ได้ถวายภักษาด้วยมือตนเป็นผลให้เกิดทิพย์สมบัตินี้

ต้นปาริฉัตตกะ
 วรรคนี้มีวิมาน ๑๐ วิมานแต่เทพธิดาที่กล่าวถึงและผลบุญของ

เทพธิดาเหล่านี้มีเป็นอันมากผิดกันเฉพาะสิ่งที่บริจาค แต่เป็นเทพธิดาผู้มีอานุภาพมากเหมือนกัน
 - เทพธิดาในสองวิมานแรก เป็นสะใภ้ ในตระกูลมิจฉาทิฏฐิมาก่อนเมื่อเห็นพระภิกษุเที่ยวบิณฑบาตเกิดความเลื่อมใสองค์แรกได้ถวายขนมองค์ที่สองได้ถวายอ้อยท่อนหนึ่ง แม่สามีทราบเข้าโกรธมากจึงทุบตีเอาจนตายทั้งคู่ ด้วยอำนาจผลบุญนั้น อันตนทำด้วยจิตเลื่อมใสจึงได้บังเกิดในสวรรค์
 - เทพธิดาที่บัลลังก์วิมานได้เรียนถวายถึงผลแห่งความดีที่นางได้กระทำในชาติก่อนแก่พระโมคคัลลานเถระ ความว่า "ในมนุษย์โลกนางเป็นหญิงสะใภ้ในตระกูลมั่งคั่ง ได้ทำตนเป็นภรรยาที่ดีของสามีไม่โกรธ ไม่ประมาณในวันอุโบสถ ไม่ประพฤตินอกใจสามีทำตนให้เป็นที่ชื่นชอบของสามีทั้งกลางคืนและกลางวัน มีใจผ่องใส รักษาศีล ๕ ประจำและรักษาอุโบสถศีลในวันอุโบสถ
 - ลตาวิมาน เทพธิดา ๔องค์เป็นธิดาของท้าวเวสวัณมหาราช สอบถามผลแห่งความดีของกันและกัน พี่สาวคนโตชื่อลดาเทพธิดาได้บอกว่านางได้บอกผลแห่งความดีของนางเช่นเดียวกับเทพธิดาในบัลลังก์วิมานแต่เพิ่มการทำตนให้เป็นที่โปรดปรานของพ่อผัวแม่ผัวญาติพี่น้องเป็นที่รักของบริวารขนแต่ไม่ได้รักษาอุโบสถศีล เทพธิดาอีก ๓ นางจึงแสดงความชื่นชมยินดีจะปฏิบัติตามและได้ให้หลักในการดำรงชีวิตของสตรีไว้ว่า "สตรีผู้มีศรัทธาเป็นอริยสาวิกาในศาสนานี้ เมื่อยังอาศัยภัสดาอยู่ควรประพฤติยำเกรงต่อสามี ฆ่าความโกรธเสีย กำจัดความตระหนี่ออกไปเมื่อประพฤติธรรมโดยชอบย่อมบันเทิงในสวรรค์"
 - คุตติลวิมานท่านได้เล่าถึงเรื่องคุตติลบัณฑิตผู้สามารถดีดพิณได้ดีที่สุดในชมพูทวีปท้าวสักกเทวราชให้มาตลีเทพบุตรนำไปสู่เทวโลกเพื่อดีดพิณให้ฟังท่านบัณฑิตขอสอบถามบุพพกรรมของเทพธิดาก่อนได้อนุญาตแล้วจึงได้สอบถามเทพธิดาเป็นอันมากถึง ๓๐ องค์ ในจำนวนนั้น ๒๘องค์เป็นผลของการถวายทานที่เรียกว่า ทานวัตถุต่าง ๆ กัน อีก ๒องค์เป็นผลจากการปฏิบัติธรรม คือ
 องค์แรกเป็นสะใภ้ในตระกูลที่พ่อแม่สามีดุร้ายหยาบคายมาก แต่นางตั้งใจปฏิบัติดีไม่คิดมุ่งร้ายตอบ มีความไม่ประมาทและรักษาศีลเป็นประจำ
 องค์ที่ ๒เคยเป็นคนใช้เขา แต่ตั้งใจทำงานดี ไม่เกียจคร้าน ไม่โกรธง่าย ไม่ถือตัวยินดีในการแบ่งปันสิ่งของที่ตนมีอยู่แก่คนอื่น
 ท่านคุตติบัณฑิตเมื่อได้สอบถามนางเทพธิดาทั้งหลายแล้วได้ทราบชัดว่าบุญกุศลทั้งหลายที่บุคคลได้กระทำแล้วนั้นย่อมอำนวยผลเป็นความสุขทั้งในชาติปัจจุบันและการบังเกิดในสวรรค์ในชาติหน้าด้วยจึงกล่าวว่าการมาสู่เมืองสวรรค์ของข้าพเจ้าในวันนี้เป็นการดี เพราะได้เห็นนางเทพธิดาซึ่งเป็นนางฟ้ามีรูปร่างผิวพรรณน่ารักใคร่ทั้งยังได้ฟังธรรมและแนะนำเรื่องบุญกุศลจากเธอเหล่านั้นด้วยนับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
 "ข้าพเจ้าจักกระทำบุญกุศลให้มากด้วยการให้ทาน การประพฤติธรรมสม่ำเสมอ ด้วยการมีศีลสังวร และด้วยการฝึกอินทรีย์ข้าพเจ้าจักได้ไปสู่สถานที่ซึ่งไปแล้วเศร้าโศก"
 - ทัททัลลวิมานกล่าวถึง เทพธิดาสององค์ซึ่งเคยเป็นพี่น้องกันองค์พี่ชื่อ ภัททา เกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ องค์น้องชื่อสุภัททาเกิดบนสวรรค์ชั้นนิมานรดี สุภัททาเทพธิดาได้มาเยี่ยมภัททาเทพธิดาผู้เคยเป็นพี่สาวและเคยร่วมสามีกันมาในชาติปางก่อน จึงได้ถามถึงผลบุญของกันและกันได้ความว่า
 นางภัททาได้ถวายทานแก่พระผู้เป็นทักขิไณยบุคคล ๘รูปด้วยมือของตน ฝ่ายนางสุภัททานั้นได้นิมนต์พระสงฆ์ ๘ รูป มีพระเรวตเถระเป็นประธานพระเถระได้แนะนำให้ถวายเป็นสังฆทาน ผลบุญจึงแตกต่างกันมากเมื่อนางสุภัททาเทพธิดากลับไปแล้ว ท้าวสักกเทวราชได้สอบถามนางภัททาเมื่อนางได้เล่าให้ฟังถึงชีวิตในอดีตและผลบุญที่ทั้งสองฝ่ายได้กระทำแล้วท้าวสักกเทวราชได้ตรัสแก่นางเป็นใจความว่า
 ฉันเคยทูลถามพระพุทธเจ้าเมื่อพระองค์ประทับณ ภูเขาคิชฌกูฏว่า มนุษย์ทั้งหลายผู้กระทำบุญอยู่ชื่อว่ากระทำเพราะปรารภการเวียนเกิดเวียนตาย จะถวายทานแก่บุคคลประเภทใดจึงจะมีผลมากพระองค์ทรงแสดงว่าให้ถวายเป็นสังฆทานแก่ท่านผู้ปฏิบัติเพื่ออริยมรรคอริยผลผลบุญที่เกิดจากถวายสังฆทานไม่อาจจะประมาณได้เหมือนคนไม่อาจหยั่งรู้ความลึกของมหาสมุทรฉะนั้น
 "ชนเหล่าใดที่ยังท่องเที่ยวอยู่ในโลกมาหวนระลึกถึงบุญเช่นนี้ได้เกิดปีติโสมนัสแล้ว จะขจัดมลทินคือความตระหนี่ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ความลังเลในใจและความตีเสมอท่าน อันเป็นมูลฐานเสียได้ทั้งที่ไม่ถูกผู้รู้ติเตียนแต่นั้นจะเข้าถึงสถานที่ซึ่งเป็นแดนสวรรค์"
 - เสสวดีวิมานพระวังคีสเถระได้ถามบุพพกรรมของนางเทพธิดาในเสสวดีวิมาน นางเรียนให้ท่านทราบว่านางเคยเป็นธิดาของตระกูลชื่อว่าเสสวดี เป็นหญิงสะใภ้ของตระกูลภายในเมืองราชคฤห์นางได้บูชาเจดีย์บรรจุธาตุของพระสารีบุตรเถระ ด้วยเครื่องสักการะหลายอย่างซึ่งทำด้วยรัตนะและดอกคำ เพราะการบูชานี้เองทำให้นางได้อุบัติในสุคติโลกสวรรค์
 - มัลลิกาวิมานพระนารทเถระได้สอบถามบุพพกรรมของนางมัลลิกาเทพธิดา นางเรียนถวายให้ทราบว่าวิมานของนางเกิดจากผลแห่งการบูชาต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งได้ปรินิพพานไปแล้วเพราะนางได้ทำกรรมอันพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงสรรเสริญจึงสร่างโศกหมดโรคภัยได้รับแต่ความสุขกายสุขใจรื่นเริงบันเทิงใจเป็นนิตย์
 จากวิมานทั้งสองนี้ แสดงว่า พระวังคีสเถระซึ่งเป็นพระเถระ ระดับเอตทัคคะ และพระนารทเถระมีชีวิตอยู่ถึงสมัยหลังพุทธปรินิพพานพระวังคีสเถระท่านเลิศทางปฏิภาณ มักกล่าวเรื่องอะไรเป็นคำฉันท์หมดแต่ไม่มีชื่อในคราวปฐมสังคายนา อาจได้รับเลือกในกลุ่มพระสังคีติกาจารย์แต่ไม่ได้ทำงานสำคัญจึงไม่มีชื่อ
 - วิสาลักขิวิมานท้าวสักกเทวราชได้ตรัสถามบุพพกรรมของนางสุนันทาเทพธิดาผู้มีรัศมีข่มเทพธิดาองค์อื่นในจิตตลดาวันว่า เคยทำบุญอะไรมานางได้กราบทูลให้ทรงทราบว่า นางเป็นอุบาสิกาชื่อ สุนันทาในกรุงราชคฤห์เป็นคนสมบูรณ์ด้วยศรัทธาและศีล มีจิตเลื่อมใส ได้ถวายประทีปและปัจจัย ๔แก่พระผู้ปฏิบัติตรง รักษาอุโบสถในวันธรรมสวนะ และในปาฏิหิริกปักษ์คือปักษ์ที่ควรแก่การรักษาอุโบสถยินดีในศีล ๕ ฉลาดในอริยสัจและเป็นพระสกทาคามี
 - ปาริฉัตตกวิมานพระโมคคัลลานะเถระได้ถามเทพธิดาผู้เก็บดอกปาริฉัตตกะว่า นางได้ทำกรรมอะไรมาจึงได้เสวยสุขในเทวโลก นางเรียนถวายว่าเมื่อเป็นมนุษย์ได้นำดอกอโศกซึ่งมีเกสรงาม เลื่อมประภัสสรมีกลิ่นหอมฟุ้งไปบูชาพระพุทธเจ้า จึงได้เสวยสุขในเทวโลก

วิมานแก้วผลึก
 ในวรรคนี้มีทั้งหมด ๑๒ วิมานคือ
 - วิมานแก้วผลึกนางเทพธิดาได้เรียนให้พระโมคคัลลานเถระ

ทราบว่า ในชาติเป็นมนุษย์นางได้เป็นทาสีในราชตระกูล เห็นพระพุทธเจ้าประทับนั่งอยู่ มีจิตเลื่อมใสได้โปรยดอกรังถวายเป็นอาสนะ และได้ถวายพวงดอกรังที่ร้อยดีแล้วถวายแก่พระพุทธองค์ด้วยมือตน จึงได้ผลเป็นทิพยสุขเหล่านี้
 - ปภัสสรวิมานเทพธิดาองค์นี้ได้เรียนให้พระโมคคัลลานเถระบอกว่าทิพยสุขของนางเกิดจากถวายพวงมาลัยและน้ำอ้อยแก่พระโมคคัลลานเถระและมีความรู้สึกเสียดายที่ไม่ได้ฟังธรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นธรรมราชาทรงแสดงไว้ดีแล้วจึงมาขอให้พระเถระช่วยอนุเคราะห์ให้ได้ฟังธรรมเพราะเทวดาพวกอื่นที่เชื่อในคุณพระรัตนตรัย ได้ฟังธรรม มีอายุ ยศ วรรณะ อำนาจฤทธิ์มากกว่านางมากนัก
 - นาควิมานนางเทพธิดาที่วิมานนี้ได้เรียนให้พระวังคีสเถระทราบว่าในชาติที่เป็นมนุษย์นางเป็นกุลธิดาในเมืองพาราณสี ได้ถวายผ้าคู่หนึ่งแด่พระพุทธเจ้าได้กระทำการอัญชลีด้วยจิตเลื่อมใส และได้ฟังธรรมที่พระองค์ทรงแสดงว่าทุกข์และสมุทัยเป็นของไม่เที่ยง นิโรธและมรรค อันปัจจัยอะไรปรุงแต่งไม่ได้จึงได้เห็นแจ้งในอริยสัจ ๔ แต่ตนมีอายุน้อยจึงตายตั้งแต่ยังเยาว์ได้มาเกิดในชั้นไตรทศนามว่า ยสุตตรา
 - เทพธิดาในอโลมวิมานและกัญชิกทายิกาวิมานได้บอกบุพพกรรมของตนแก่พระโมคคัลลานะเถระตามลำดับว่าตนได้ถวายขนมแห้งอันไม่มีรสเค็มแด่พระพุทธเจ้าด้วยจิตเลื่อมใสและได้ถวายข้าวอันปรุงด้วยพริกและใส่น้ำมันอันเจียวแล้ว ปรุงด้วยดีปลี กระเทียม ขิงข่า กระชาย แด่พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์
 - วิหารวิมานเทพธิดาเจ้าของวิมานได้บอกแก่พระอนุรุทธเถระว่าวิมานของนางเกิดจากผลแห่งการอนุโมทนาในการสร้างวิหารของนางวิสาขามหาอุบาสิกาผู้เป็นสหายของตนในชาติก่อน พระเถระจึงได้ถามที่เกิดของนางวิสาขามหาอุบาสิกานางเทพธิดาได้เรียนให้ทราบว่านางวิสาขามหาอุบาสิกาเกิดเป็นปชาบดีของท้าวสุนิมมิตวดีผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นนิมมานรดี นางได้กราบเรียนว่าบุญของนางวิสาขามหาอุบาสิกานั้นไม่อาจประมาณได้และได้ขอให้พระอนุรุทธเถระแจ้งแก่ประชาชนทั้งหลายให้ถวายสังฆทานแก่ท่านผู้เป็นทักขิไณยบุคคล โดยแบ่งออกเป็น ๔พวกคือ
 พระอริยสงฆ์ผู้ไม่บรรลุมรรค ๔ ผล ๔และสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ปฏิบัติเพื่อมรรค ๔ ผล ๔ ที่เรียกว่า สมมติสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติตรงดำรงมั่นอยู่ในศีลและปัญญา ทานที่บุคคลถวายแก่สงฆ์เหล่านี้หรือทำบุญที่ยังปรารภการเวียนเกิดเวียนตาย ย่อมมีผลมีอานิสงส์มาก
 - จตุคิตถีวิมานคือ วิมานของอดีตหญิง ๔ คนซึ่งนางได้เรียนให้พระโมคคัลลานะเถระทราบว่า พวกนางเมื่อก่อนเป็นชาวปัณณกตนครได้ถวายดอกผักตบกำมือหนึ่ง ดอกนิลอุบลกำมือหนึ่ง ดอกบัวหลวงโคนขาวกลีบขาวกำมือหนึ่งและพวงมาลัยอันร้อยด้วยดอกมะลิตูม แก่ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตได้เสวยทิพยสุขด้วยผลแห่งทานเหล่านั้นตามลำดับ
 - อัมพวิมานเทพธิดาเจ้าของวิมานได้เล่าบุพพกรรมของตนถวายพระโมคคัลลานะเถระ ความว่าในชาติก่อนนางได้สร้างวิหารถวายสงฆ์ แวดล้อมด้วยป่ามะม่วงเมื่อสร้างเสร็จก็จัดการฉลองโดยแวดล้อมต้นมะม่วงด้วยผ้า ประดับด้วยมะม่วงต่าง ๆแล้วนิมนต์พระสงฆ์ผู้เป็นหมู่สาวกอันอุดมของพระพุทธเจ้ามาฉันและมอบถวายวิหารพร้อมด้วยสวนมะม่วงนั้นแก่สงฆ์ด้วยตนเองจึงได้ทิพยสมบัตินี้
 - ปีติวิมานท้าวสักกเทวราชได้ถามบุพพกรรมของเทพธิดาเจ้าของวิมาน นางเรียนถวายว่านางได้เก็บดอกบวบขม ๔ ดอก เพื่อไปบูชาพระธาตุของพระพุทธเจ้า ด้วยจิตเลื่อมใสในขณะที่เดินไป จิตได้มุ่งอยู่ที่พระพุทธเจ้าถูกแม่โคขวิดตายขณะที่ยังเดินไม่ไปถึงสถูป ท้าวมัฆวานได้ทรงสดับแล้วจึงชักชวนเทพยดาทั้งหลายให้ดูผลงานของนางเทพธิดาแล้วตรัสแก่มาตลีเทพบุตรว่า
 - วันทนวิมานเทพธิดาเจ้าของวิมานได้เรียนถวายพระโมคคัลลานเถระว่าในชาติก่อนนางได้เห็นสมณะผู้ทรงศีล จึงนมัสการท้าทั้งคู่ด้วยจิตอันเลื่อมใสมีความร่าเริงบันเทิงใจ นมัสการอยู่ด้วยความเคารพ จึงได้ประสบสุขในวิมานฝ่ายเทพธิดาในอัจฉุวิมานอีกองค์หนึ่งได้เสวยทิพย์สุขในวิมานเพราะถวายอ้อยเป็นทานแก่พระโมคคัลลานเถระ แล้วถูกแม่ผัวตีตายเพราะความโกรธเช่นเดียวกับองค์ที่กล่าวมาแล้ว
 - รัชชุมาลาวิมานชีวิตในชาติอดีตของเจ้าของวิมานนั้น นางได้เล่าให้พระโมคคัลลานเถระฟัง ความว่านางเป็นคนใช้ในตระกูลพราหมณ์ที่หมู่บ้านคยา นามว่า รัชชุมาลา ถูกนายทุบตีดุด่าต่างๆ นานา เกิดความน้อยใจจึงเข้าไปในป่าเพื่อผูกคอตายในขณะที่แสวงหาที่ผูกคอตายอยู่นั้นเอง ได้พบพระพุทธเจ้าประทับนั่งอยู่จึงเกิดความปีติเอิบอิ่มใจ ใจคิดถึงพระองค์อยู่ด้วยความเลื่อมใสพระองค์ได้ตรัสเรียกชื่อของนางแล้วตรัสว่า
 "รัชชุมาลาเธอจงมาถึงตถาคตเป็นที่พึงเถิด"
 เมื่อนางได้สดับพระสุรเสียงอันเป็นปราศจากโทษกอปรด้วยประโยชน์บริสุทธิ์สะอาด มีพระวาจาละเอียดอ่อนไพเราะจับใจสามารถบรรเทาความโศกให้หายลงไปได้ จึงได้เข้าไปเฝ้า พระพุทธเจ้าได้แสดงอริยสัจ ๔ประการให้ฟัง เมื่อทรงทราบว่าดิฉันมีจิตเลื่อมใส มีใจบริสุทธิ์แล้วหลังจากฟังธรรมแล้วก็ได้บรรลุถึงทางนิพพานอันเป็นทางไม่ตาย สงบระงับและได้เรียนถวายเรื่องอุทยานนันทวันว่า
 "นันทวันเป็นอุทยานอันยิ่งใหญ่ของเทพชั้นดาวดึงส์คนไม่ได้ทำบุญไว้อยู่ไม่ได้ เพราะเป็นที่อยู่ของผู้บำเพ็ญความผาสุกไม่มีแก่ผู้ไม่ได้ทำบุญไว้ทั้งในโลกนี้และโลกหน้าแต่จะมีแก่ผู้ที่ได้ทำบุญไว้เท่านั้น นรชนผู้ปรารถนาจะอยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายควรทำบุญกุศลไว้ให้มากเพราะผู้ที่ทำบุญไว้แล้วย่อมบันเทิงในสวรรค์พระตถาคตเจ้าเหล่านั้นเป็นประโยชน์แก่สัตว์เป็นอันมาก"

รถใหญ่เป็นที่สุด
 ในวรรคนี้มี ๑๔ วิมานจบลงด้วยมหารถวิมาน มีปนกันทั้งวิมาน

เทพบุตรและเทพธิดาดังนี้
 - มัณฑุกเทวปุตตวิมานมัณฑุกเทวปุตตวิมานเทพบุตรได้กราบทูลบุพพกรรมของตนเมื่อมาเฝ้าพระพุทธเจ้าและพระองค์ตรัสถามว่าชาติก่อนตนเป็นกบกำลังฟังธรรมที่พระองค์ทรงแสดงอยู่ ด้วยจิตเลื่อมใสชั่วขณะหนึ่งคนเลี้ยงโคได้ตนตาย ได้เกิดเป็นเทพบุตรด้วยอำนาจแห่งจิต อันเลื่อมใสชั่วขณะหนึ่งและได้กราบทูลต่อไปว่า ผู้ใดได้ฟังธรรมของพระองค์สิ้นกาลนานเขาพึงได้บรรลุนิพพานอันเป็นฐานที่ไม่หวั่นไหวเป็นสถานที่ซึ่งไปแล้วไม่เศร้าโศกเป็นแน่
 - เรวดีวิมานวิมานนี้แปลกหน่อย ที่ท่านเรียกว่า เรวดีวิมานซึ่งตามความจริงแล้วนางเรวดีเพียงแต่ได้เห็นวิมานเท่านั้นมีเรื่องโดยย่อมว่านางเรวดีภรรยาของนันทิยอุบาสก ชาวเมืองพาราณสีแต่ไม่สนับสนุนกิจกรรมที่เป็นกุศลของสามี และด่าว่าคุกคามสามีพยายามขัดขวางการทำความดีของสามี เป็นคนตระหนี่ มักโกรธง่าย มีธรรมเลวเมื่อนันทิยสร้างสาลาจตุรมุขถวายแก่พระสงฆ์ผู้มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขวิมานเกิดขึ้นแก่ท่านในขณะฉลองวิหารยมทูตซึ่งมานำนางเรวดีเพื่อไปเกิดในนรก ได้นำนางไปดูวิมานของสามีก่อนนางจะใช้สิทธิ์ในฐานะภรรยาเข้าอยู่ในวิมาน แต่ได้รับการปฏิเสธจากยมทูตโดยให้เหตุผลว่า นางเป็นคนชั่วเหมาะสมสำหรับนรกเท่านั้นเพราะเมื่อเป็นมนุษย์นางไม่เคยทำบุญไว้ บุคคลผู้มีความตระหนี่ขึ้งโกรธมีธรรมเลวทราม ไม่อาจเป็นสหายแห่งเทวดาบนสวรรค์ได้ แม้นางจะอ้อนวอนเพื่อขอกลับไปทำบุญแก้ตัว แต่ยมทูตก็ไม่ยอม กลับนำนางทิ้งลงในนรกคูถชื่อสังสวกะ
 พระโมคคัลลานเถระได้เยี่ยมวิมานของนันทิยอุบาสกมาจึงนำมากราบทูลพระพุทธเจ้าว่า วิมานเกิดขึ้นเพื่อรอนันทิยอุบาสก ทั้ง ๆที่เขายังไม่ตายพระพุทธเจ้าตรัสแก่พระโมคคัลลานเถระว่า
 "ญาติมิตรและสหายทั้งหลายย่อมพากันชื่นชมยิ่งดีต่อบุรุษผู้จากไปนาน กลับมาสู่บ้านโดยสวัสดีไกลว่าเขาเป็นผู้มาแล้วฉันใดบุญทั้งหลายย่อมต้อนรับบุคคลผู้ทำบุญไว้แล้วจากโลกนี้ไปสู่ปรโลก ดุจญาติต้อนรับญาติที่รักผู้กลับมาแล้ว ฉันนั้น"
 - ฉัตตมานเวกวิมานวิมานของฉัตตมาณเวกมาณพฉัตตกเทพพบุตรได้มากราบทูลพระพุทธเจ้าเล่าถึงกุศลกรรมของท่านความว่าครั้งหนึ่งเมื่อพระพุทเจ้าแนะนำให้ท่านถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ และสมาทานศีลในชั้นแรกท่านไม่เชื่อฟัง แต่มาได้ทำตามนั้น เมื่อลาพระพุทธเจ้ากลับไปท่านถูกคนปล้นเพื่อแย่งทรัพย์ทุบตีท่านจนตายก่อนตายท่านได้นึกถึงพระรัตนตรัยและศีลที่ได้รักษาชั่วระยะเวลาเพียงเล็กน้อยนั้นทำให้ท่านตายไปแล้วไปบังเกิดในสุคติ และได้มาขอให้พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแก่ท่านอีกเพราะคนเหล่าใดในพระศาสนานี้ละอนุสัย ได้แล้วย่อมได้บรรลุนิพพานไม่ต้องมีการเกิดอีก
 - สูจิวิมานคือวิมานที่เกิดขึ้นจากการถวายเข็ม เทพบุตรสองวิมานนี้ได้เรียนแก่พระโมคคัลลานเถระและพระวังศีลเถระให้ทราบว่าทิพยสุขที่ท่านได้ในปัจจุบันนั้นเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการถวายเข็มแก่ภิกษุผู้ปราศจากธุลี มีอินทรีย์ผ่องใสไม่ขุ่นมั่ว ด้วยจิตอันเลื่อมใส
 - นาควิมานวิมานที่เทพบุตรทรงช้างเผือกสวยงาม ๓ วิมาน เทพบุตรเหล่านั้นได้บอกบุพพกรรมของตนแก่พระโมคคัลลานเถระ พระวังคีสเถระและบัณฑิตซึ่งได้พบกับเทพบุตรเหล่านั้นตามลำดับดังนี้
 องค์แรกวิมานเกิดจากได้นำดอกไม้ ๘กำไปบูชาพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะด้วยจิตอันเลื่อมใส
 องค์ที่ ๒ วิมานเกิดจากการรักษาศีล ๕ถึงพระรัตนตรัย ถวายและให้วัตถุอันประณีต ด้วยความเลื่อมใสและความเคารพ
 องค์ที่ ๓ วิมานเกิดจากเรือนอันมุงด้วยใบอ้อยใบหญ้า และมุงบังด้วยผ้าให้เป็นทาน
 - มหารถวิมานวิมานของเทพบุตรผู้ทรงรถใหญ่ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เช่นกันพระโมคคัลลานเถระได้ถามบุพพกรรมของท่าน ท่านได้กราบเรียนว่าท่านได้เห็นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะ เกิดความเลื่อมใสในพระรูปธรรมและการงานของพระองค์ จึงเกิดความเลื่อมใส จึงได้ถวายข้าวน้ำอันประณีต มีรสอร่อยพร้อมจีวรในที่ของตน เมื่อตนเกิดเป็นนายโคบาลในชาติอดีตและได้เรียนถวายให้พระโมคคัลลานเถระแนะนำชนทั้งหลาย ผู้ปรารถนาจตุพิธพรและรูปร่างอันประณีตว่า อย่าได้มีจิตข้องในสิ่งอื่น ๆจงถวายทานที่ตบแต่งดีแล้วแด่พระพุทธเจ้า เพราะในโลกนี้ไม่มีใครประเสริฐกว่าพระองค์และไม่มีใครที่ควรแก่การบูชาของผู้ต้องการบุญแสวงหาผลบุญอันไพบูลย์ยิ่งกว่าพระพุทธเจ้า

วิมานของคนรับใช้พระเจ้าปายาสิ


 ในวรรคนี้มีวิมานทั้งหมด๑๐ วิมาน คือ
 - อาคาริยวิมานมี ๒ วิมานเทพบุตรเจ้าของวิมานบอกบุญในอดีตของท่านเหมือนกันคือ ตนเองและภรรยาอยู่ครองเรือนเป็นเหมือนอู่ข้าวอู่น้ำของนักบวช ได้ให้ข้าวและน้ำเป็นทานด้วยจิตเลื่อมใสและมีความเคารพ จึงได้ทิพยสุขด้วยผลแห่งกรรมนั้น
 - ผลทายกวิทานภิกขาทายกวิมาน ยวปาลกวิมาน และ กุณฑลีวิมาน ๒ วิมานเทพบุตรเจ้าของวิมานได้เรียนถวายให้พระโมคคัลลานเถระทราบถึงอดีตกรรมที่นำให้ตนได้อุบัติในวิมานทำนองเดียวกันคือ เมื่อได้เห็นสมณะผู้มีศีลสมบูรณ์ด้วยวิชชาจรณะ มียศเป็นพหูสูต บรรลุความสิ้นตัณหา จึงเกิดความเลื่อมใสได้ถวายผลไม้ อาหารและกับ ขนมกุมมาสข้าวและน้ำเป็นอันมากเป็นทานตามลำดับชื่อวิมาน
 - อุตตรวิมานวิมานของอุตตรมาณพในอดีตท่านผู้นี้เล่าให้พระโมคคัลลานเถระทราบว่าในอดีตชาติท่านเป็นคนรับใช้ของพระเจ้าปายาสิมีหน้าที่ในการจัดการบริจาคทานตามคำสั่ง แต่ตนเองทำไปด้วยจิตศรัทธาเลื่อมใสจริงมีอะไรที่เป็นของ ๆ ตนก็จำแนกแจกทานไป และตนมีความรักความนับถือต่อท่านผู้มีศีลมีความเลื่อมใสต่อท่านได้ให้ข้าวและน้ำอันประณีตโดยความเคารพ
 วิมานชุดนี้ส่วนมากเป็นเรื่องของผลทานแต่ผลทานบางอย่างแสดงถึงความเสียสละอย่างสูงมาก เช่น เทพบุตรในผลทายกวิมานในอดีตกาลเป็นนายอุทยานบาลของพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าพิมพิสารมีพระประสงค์จะเสวยผลมะม่วงนอกฤดูเขารับอาสาผสมพันธุ์มะม่วงจนออกผลชนิดพิเศษนอกฤดูมา ๔ ผลในขณะที่นำไปเพื่อถวายพระราชา พบพระโมคคัลลานเถระในระหว่างทาง กลับได้ความคิดว่าควรถวายพระดีกว่าเพราะอำนวยผลถาวรกว่า แต่เมื่อถวายพระราชาจะได้รับพระราชทานรางวัลการถวายพระอาจจะถูกพระราชาประหารชีวิตก็ได้ ในที่สุดตกลงใจถวายชีวิตโดยการเอามะม่วงทั้ง ๔ ผลถวายพระโมคคัลลานเถระ พระเถระได้นำไปถวายพระพุทธเจ้าพระองค์ได้แบ่งให้พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะรูปละผล
 พระเจ้าพิมพิสารท่านเป็นพระอริยสาวกโสดาบันเมื่อทราบการกระทำของนายอุทยานบาลก็เกิดความชื่นชมที่เห็นคนกล้าสละชีวิตเพื่อบำเพ็ญทาน จึงพระราชทานบ้านส่วยให้ ๑ ตำบลและขออนุโมทนาผลแห่งทานนั้นด้วย

วิมานแก้วมณีอันวิจิตรงดงาม


 ในวรรคนี้มีทั้งหมด ๑๑วิมาน จะขอนำมากล่าว ๔ วิมาน คือ
 - จิตตลดาวิมานและนันทนวิมาน เทพบุตรเจ้าของวิมานในอดีตเป็นคนขัดสน ไม่มีที่พึ่ง กำพร้ามีอาชีพเป็นกรรมกร ได้เลี้ยงดูมารดาบิดาผู้ชรามีใจรักและศรัทธาเลื่อมใสในท่านผู้มีศีล ได้ถวายข้าวและน้ำด้วยเจตนาที่ประณีตจึงได้เสวยสุขในวิมาน
 - มณิถูณวิมานวิมานแก้วมณีเทพบุตรเจ้าของวิมานบอกการกระทำของตนเช่นเดียวกับสององค์ก่อนแต่เพิ่มการสร้างที่จงกรมไว้ใกล้ทางในป่ากับปลูกต้นไม้ให้เป็นที่พักผ่อนแก่คนทั้งหลายจึงได้เสวยสุขในวิมานแก้วมณีอันวิจิตรงดงาม
 - กัณฐกวิมานวิมานของอดีตม้ากัณฐกะท่านได้เล่าประวัติของท่านให้พระโมคคัลลานเถระฟังเช่นเดียวกับที่ปรากฏในพระพุทธประวัติตอนบรรพชา ที่แปลกออกไปคือพระโพธิสัตว์ทรงม้ากัณฐกะ เสด็จออกจากแคว้นสักกะเข้าไปในดินแดนอันเป็นแคว้นของกษัตริย์อื่น ในเวลาพระอาทิตย์ขึ้นเมื่อหยุดพักเพื่อทรงตัดพระเมาลีนั้นท่านได้เลียพระบาทของพระโพธิสัตว์ซึ่งมีเล็บแดง และร้องไห้เมื่อพระโพธิสัตว์จากไปและตายลงในเวลานั้นได้อุบัติในดาวดึงส์เทวโลกเมื่อทราบข่าวว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วท่านดีใจมากและฝากให้พระโมคคัลลานเถระกราบทูลว่าท่านจะมาเฝ้าเพื่อแสดงความกตัญญูกตเวที และเพื่อฟังธรรมต่อมาในกาลภายหลังท่านได้เข้าเฝ้าฟังธรรมในพุทธสำนักได้บรรลุโสดาปัตติผล
 - เสริสสกวิมานวิมานของเสริสสกเทพบุตร เทพบุตรองค์นี้คือ พระเจ้าปายาสิในอดีตชาติพระควัมปติไปพบวิมานของท่าน และได้เล่าถึงเรื่องที่ท่านคุยกับพ่อค้าพิสดารมากประเด็นสำคัญใน เรื่องนี้ คือ
 พระเจ้าปายาสิมีความเห็นว่าคนเราตายแล้วสูญ โดยพระองค์ได้เคยทดลองด้วยวิธีต่าง ๆ มามากแล้วยังไม่มีหลักฐานว่าคนเราตายแล้วเกิดอีกหลังจากที่ท่านได้สนทนาโต้ตอบกับพระกุมารกัสสปเถระแล้วเกิดศรัทธาเลื่อมใสในคำแนะนำของพระเถระจึงได้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ และรักษาศีล ๕ แต่ยังคงตระหนี่ในการให้ทานอยู่ คือบริจาคเฉพาะสิ่งเลว ๆ โดยให้อุตตรมาณพในอุตตรวิมานตอนต้นเป็นคนจัดการเรื่องการถวายทาน เมื่อทั้งสองฝ่ายตายไปปรากฏว่าอุตตรมาณพมีวิมานดีกว่าเพราะเจตนาประณีตและทำไปด้วยความศรัทธาเลื่อมใส พระเจ้าปายาสิเองได้วิมานที่ว่างคือไม่มีเทพธิดาและสมบัติอื่นประดับมากอย่างเทพบุตรเทพธิดาองค์อื่นชั้นแห่งสวรรค์ก็ต่ำกว่าอุตตรมาณพ คือ พระเจ้าปายาสิเกิดในชั้นจาตุมหาราชิกในขณะที่อุตตรมาณพเกิดที่ดาวดึงส์
 งานของเสริสสกเทพบุตรเป็นงานของภูมิเทวดา คือมีหน้าที่คอยช่วยเหลือคนที่ประสบอันตรายในทะเลทรายตามคำสั่งของท้าวเวสวัณ จุดเด่นที่น่าสนใจและถือเป็นแบบอย่างของเสริสสกเทพบุตรคือ "ท่านทำงานเพื่อประโยชน์แก่คนอื่น ด้วยความเมตตากรุณาจริง ๆไม่ต้องการผลตอบแทนแต่ประการใด" อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าท่านได้ผลแห่งความดีที่คนทำด้วยจิตประณีต โดยความสำนึกว่าสิ่งนั้นเป็นความดีแล้วกระทำมีผลอานิสงส์มากกว่าการกระทำในลักษณะเดียวกันของคนที่มีจิตไม่ประณีตคือ
 เมื่อพ่อค้าที่ท่านช่วยเหลือต้องการจะบูชาท่านและต้นสิริสสะแทนที่ท่านจะให้บูชาต้นไม้ท่านกลับแนะนำให้พ่อค้า "เว้นจากบาปและดำรงมั่นอยู่ในสุจริตธรรม"และยังได้ยกย่องอุบาสกคนหนึ่งในกลุ่มพ่อค้าว่า อุบาสกคนนี้เป็นพหูสูตสมบูรณ์ด้วยศีลและข้อวัตรปฏิบัติ ประกอบด้วยศรัทธา หิริ จาคะ อัธยาศัยดีงามฉลาดในสิ่งนั้น ๆ มีความสันโดษ ยินดีในธรรม และได้แนะนำคนอื่นว่าสำหรับคนผู้มีธรรมเช่นนี้ คนอื่นไม่ควรแกล้งกล่าวเท็จ ไม่คิดเบียดเบียนใครเว้นวาจาส่อเสียด พูดแต่วาจาไพเราะอ่อนหวาน ควรมีความเคารพยำเกรงยินดีในคำแนะนำสั่งสอน ไม่ควรเป็นคนเลวควรมีศีลบริสุทธิ์ในอธิศีล
 นอกจากนี้ท่านยังได้บอกคุณสมบัติและอนาคตของคนนั้นเพิ่มเติมว่าอุบาสกคนนี้เลี้ยงมารดาบิดาโดยธรรม มีความประพฤติดีเขาแสวงหาทรัพย์ไปเพื่อเลี้ยงมารดาบิดา ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ตนเพราะเมื่อมารดาบิดาสิ้นชีวิตแล้ว อุบาสกคนนี้จะออกบรรพชา ประพฤติพรหมจรรย์มีใจซื่อตรง ไม่คด ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ไม่หลอกลวงใครและบอกว่าการที่ท่านแสดงตนออกมาช่วยเหลือพวกพ่อค้าทั้งหมดนี้เพราะอาศัยความดีของอุบาสกเพียงคนเดียวหากไม่มีอุบาสกผู้ปฏิบัติธรรมคนนี้ในกลุ่มพ่อค้าพวกเขาทั้งหมดจะต้องตายอยู่ในทะเลทราย พ่อค้าเหล่านั้นถามชื่ออุบาสกท่านบอกว่า ชื่อ "สัมภวะ มีอาชีพเป็นช่างตัดผม"ทุกคนในที่นั้นจึงบอกว่าจะให้เกียรติยกย่องแก่อุบาสกตามความประสงค์ของเทวดาพวกเขาได้สมาทานศีล ๕ ทั้งหมดแล้ว ด้วยเทวานุภาพ อานุภาพแห่งอุบาสกและศีลที่คนเหล่านั้นสมาทานแล้ว ทำให้เสริสสกเทพบุตรนำคนเหล่านั้นขึ้นสู่วิมานของตนนำไปสู่บ้านของคนเหล่านั้นโดยสวัสดี
 ต่อมาพวกพ่อค้าเหล่านั้นได้ร่วมทุนกันสร้างอารามขึ้นในจุดที่ตนได้รับการช่วยเหลือจากเทวดาและได้ตั้งชื่ออารามว่า เสริสสการามเพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อเสริสสกเทพบุตร
 พระควัมปติในเรื่องนี้ท่านเป็นบุตรเศรษฐีในเมืองพาราณสี เป็นสหายของพระยสเถระออกบวชในปีที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ที่อิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสีพร้อมด้วยสหายอีก ๓ คน คือ สุพาหุ ปุณณชิ วิมละท่านเป็นพระธรรมทูตชุดแรกที่พระพุทธเจ้าส่งไปประกาศพระศาสนาประวัติเกี่ยวกับท่านไม่ค่อยปรากฏนัก เพราะสาวกชุดแรก ๖๐ รูปพระพุทธเจ้ารับสั่งให้ไปคนละทาง คงจะแยกย้ายกระจายกันไปทำงานในที่ห่างไกลมากพระควัมปติท่านชอบมาพักที่ป่าไม้สิริสสะ หรือต้นซึกเพราะเป็นป่าที่ท่านเคยปลูกไว้เองในอดีตชาติจึงมีความพอใจในป่านั้นมาแต่ชาติปางก่อนแล้ว ท่านได้พบและสนทนากับเสริสสกเทพบุตรเมื่อทราบว่าเป็นพระเจ้าปายาสิในอดีต ท่านจึงถามว่า ท่านเป็นมิจฉาทิฏฐิไม่ใช่หรือ ? ทำไมจึงได้เกิดในวิมานเล่า เทพบุตรเล่าเรื่องการเปลี่ยนแปลงความคิดของตนหลังจากได้ฟังธรรมจากพระกุมารกัสสปเถระเป็นการแสดงให้เห็นว่ามิจฉาทิฏฐิชนิดแรงห้ามสวรรค์ นิพพาน แต่คนที่เป็นมิจฉาทิฏฐิอาจเป็นสัมมาทิฏฐิได้ หากได้กัลยาณมิตรช่วยเหลือ

 

 

วิมานปริทรรศน์


 วิมานวัตถุคือ เรื่องวิมานทั้งหมดนี้มีรวมกันถึง ๑๓๓ วิมานมีประเด็นที่ควรทำความเข้าใจเพิ่มเติมจากที่ได้กล่าวไว้ในตอนต้นหลายประการเช่น

 ๑. ลักษณะของวิมาน ส่วนมากจะพูดถึงวัสดุที่นำมาใช้เป็นวิมานเป็นของประเภทอัญมณี เช่น แก้วมณี ทอง เงิน แก้วผลึก เป็นต้นฟังดูแล้วไม่น่าจะเป็นไปได้ ที่สิ่งเหล่านั้นจะมามากถึงขนาดมาสร้างเป็นวิมานได้เรื่องนี้อาจจำแนกออกเป็น ๒ ประเด็น คือ
 ๑.๑ วิมานเหล่านั้นเป็นผลที่เกิดขึ้นจากอำนาจแห่งบุญถ้าประเด็นนี้ต้องยอมรับในฐานะที่เป็นกัมมวิปากวิสัย คือวิสัยแห่งกรรมเป็นอจินไตยคือไม่อาจคิดเดาได้ เช่นเดียวกับไม่อาจหาคำตอบได้ว่า ทำไมปลาจึงอยู่ในน้ำได้นกบินในอากาศได้ นอกจากจะพูดว่าเป็นเรื่องของกัมมโยนิคือกำเนิดเกิดจากกรรม
 ๑.๒ ในแง่ของแร่ธาตุเราจะพบว่าพวกอัญมณีทั้งหลายที่มีค่ามากนั้น เพราะเป็นของมีน้อยและคนไปกำหนดค่าให้มัน แต่ถ้าในโลกธาตุอื่น ๆ แร่ธาตุเหล่านี้มีมากเหมือนโลกมนุษย์เรามีทรายมาก การจะสร้างบ้านเรือนด้วยสิ่งเหล่านั้นจึงกลายเป็นของธรรมดาสำหรับสิ่งมีชีวิตในโลกธาตุนั้นแต่กลายเป็นสิ่งไม่น่าเชื่อสำหรับโลกธาตุที่มีสิ่งเหล่านั้นน้อยเหมือนคนร่ำรวยเลี้ยงสุนัขด้วยอาหารอย่างดีกลายเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้สำหรับคนจน ที่จะนำอาหารเช่นนั้นไปเลี้ยงสุนัขเพราะแม้แต่ตนเองยังหากินก็ไม่ได้เลยฉะนั้น

 ๒. วิมานต่าง ๆที่ท่านบอกไว้ว่าใหญ่โตมาก ที่แปลกคือ คล้าย ๆ กับใช้เป็นยานพาหนะได้ด้วยคือเมื่อต้องการ ให้เลื่อนลอยไปในที่ใด ก็สามารถไปได้ ๒ วิธี คือ เลื่อนลอยไปแบบยานและอันตรธานไปจากที่นั้น ไปปรากฏในที่ซึ่งตนต้องการไปได้ทันทีความกว้างใหญ่ของวิมานเกิดขึ้นจากปริมาณของบุญเหมือนความใหญ่โตของบ้านคนเกิดขึ้นจากปริมาณของเงินที่ใช้ก่อสร้างและการสามารถไปในที่ต่าง ๆ ได้ตามความต้องการนั้น เราพอจะเห็นได้ว่าคนเราถ้ามีอำนาจวาสนาบารมีเงินทองมากจะทำอะไรก็ได้ตามใจปรารถนาเป็นเครื่องเปรียบเทียบได้ เช่นจะไปไหนมาไหนก็ไม่ลำบากเรื่องการเดินทาง เป็นต้น

 ๓. ความสวยงามของวิมานและเครื่องประดับวิมาน จะเป็นการสะท้อนออกซึ่งผลทาน เป็นต้นที่คนเหล่านั้นได้กระทำไว้ในอดีตชาติ เช่น ถวายตั่งก็มีวิมานตั่งเลื่อนลอยไปได้ถวายมะม่วงมีสวนมะม่วง ถวายแกงปู มีรูปปูทองคำเป็นสัญลักษณฺ์แห่งผลบุญ เป็นต้นผลที่เกิดขึ้นจากการให้จึงออกมาในรูปของปฏิกิริยาซึ่งออกมาสัมพันธ์กับกิริยาที่แสดงออกไปอย่างที่ทรงแสดงไว้ว่า
 การให้ข้าวชื่อว่าให้กำลังการให้ยานชื่อว่าให้ความสุข การให้ผ้าชื่อว่าให้ผิวพรรณการให้ประทีปชื่อว่าให้แสงสว่าง แต่บุคคลใดให้ที่อยู่อาศัยผู้นั้นชื่อว่าให้ทุกอย่าง เป็นต้น

 ๔.การพบเห็นวิมานเป็นเรื่องประจักษ์ ของท่านผู้เห็นเหล่านั้นและไม่ว่าใครจะเป็นคนเห็นวิมานเหล่านั้นก็ตามจะนำเรื่องที่ได้พบเห็นมากราบทูลถามพระพุทธเจ้าเพื่อทรงยืนยันถึงผลแห่งการทำความดีนั้น ๆ ว่า เป็นเหตุให้เกิดวิมานจริงหรือ ? พระพุทธองค์จะทรงยืนยันทั้งส่วนที่เป็นเหตุให้บังเกิดในวิมานและความมีอยู่ของวิมานเหล่านั้นเรื่องวิมานจึงเป็นเรื่องที่เกิดด้วยอำนาจกัมมวิปากวิสัย รู้เห็นได้ด้วยท่านไปพบเห็นวิมานเหล่านั้นด้วยอิทธิวิสัยพระพุทธเจ้าทรงรู้รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องวิมานเหล่านั้นด้วยพุทธญาณ คือความรู้ของคนระดับพระพุทธเจ้าจึงเป็นเรื่องที่เป็นพุทธวิสัย
 แต่ที่ควรสังเกตไว้คือท่านที่ไปเกิดในวิมานนั้นเป็นการเสวยผลบุญอดีตเหมือนคนที่ในวัยหนุ่มสาวได้สร้างฐานะต่าง ๆ จนเป็นหลักฐานมีทรัพย์สมบัติเก็บสะสมไว้มาก ย่อมได้รับความนอนใจ สบายใจ ไม่เดือดร้อนสามารถไปท่องเที่ยวหาความสำราญได้ เพราะไม่มีปัญหาที่จะต้องวิตกกังวลในเรื่องค่าใช้จ่ายเงินทองที่จะนำมาสนองความต้องการของตนได้โดยไม่มีความเดือดร้อนฉะนั้น

บทที่ ๓
 
มูลเหตุสำคัญที่นำให้บังเกิดในวิมานบนสรวงสวรรค์

อาจกล่าวโดยสรุปได้ดังนี้
 การบริจาคทานด้วยจิตใจเลื่อมใสมีความเคารพในทานและผู้รับภายใต้เงื่อนไขต่อไปนี้ คือ
 - วัตถุสัมปทา สมบูรณ์ด้วยวัตถุ คือท่านผู้รับที่เรียกว่าเป็นทักขิไณยบุคคล มีพระพุทธเจ้า พระอริยสงฆ์ภิกษุผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรคผล ทั้งส่วนที่เป็นปาฏิปุคคลิกทานคือทานที่เจาะจงบุคคล แต่ที่มีผลมากคือ การขอพระจากสงฆ์โดยไม่เจาะจงใครแล้วถวายเป็นสังฆทาน
 - ปัจจสัมปทาสิ่งที่นำมาบริจาคนั้นต้องได้มาโดยธรรมถูกต้องตามธรรม อาจจะเป็นของมีค่าน้อยหรือมากประณีตหรือไม่ประณีตก็ตาม แต่ในประเด็นนี้มีข้อที่ควรตระหนักไว้คือของนั้นจะต้องไม่เลวกว่าสิ่งที่ตนบริโภค เพราะท่านจัดประเภทของทานออกเป็น สามีทานคือให้ของที่ประณีตกว่าที่ตนบริโภค สหายทาน ให้ของประเภทเดียวกับที่ตนบริโภค ทาสทานให้ของเลวกว่าที่ตนบริโภค ผลนั้นมีแต่เป็นผลแบบที่ เสริสสกเทพบุตรได้เพราะการให้วัตถุที่เลวในชาติที่เป็นพระเจ้าปายาสิ
 - เจตนาคือความสมบูรณ์ด้วยเจตนาที่เกิดสืบเนื่องมาจากศรัทธา และบุคคลสามารถรักษาเจตนาทั้ง๓ กาลของตนไว้ได้ไม่ให้เกิดความเสียดายหรือความเศร้าหมองบังเกิดขึ้นภายในใจคือ
 ๑. บุพพเจตนาก่อนที่จะให้ก็มีความศรัทธาเลื่อมใสจิตใจสะอาดปราศจากตระหนี่หวงแหน
 ๒. มุญจเจตนากำลังให้ทานอยู่ก็มีความปลาบปลื้มยินดีในกุศลกรรมของตน
 การรักษาศีลด้วยความสำนึกถึงคุณค่าของศีลและเห็นว่าการรักษาศีลเป็นความดี ไม่ยอมละเมิดศีลแม้ว่าตนจะประสบทุกข์ทรมานหรืออาจจะถึงตายก็ตาม อย่างโจร ๕๐๐คนที่รักษาศีลได้เพียงครู่เดียวชาวบ้านก็มาฆ่าตาย พวกท่านเหล่านั้นไม่ยอมละเมิดศีลทำให้เกิดในสวรรค์ได้
 ๓ การประพฤติธรรมเช่นมีศรัทธา หิริ ความซื่อตรง ประพฤติสุจริตทางกาย วาจา มีเมตตา สัมมาอาชีวะสทารสันโดษ ปติวัตร พูดคำสัตย์ คำไพเราะอ่อนหวาน คำสมานสามัคคี และคำที่มีประโยชน์ไม่มักโกรธ ไม่ริษยา ไม่มีความสะดุ้งกลัวต่อบาป
 อปจายนมัยคือการประพฤติอ่อนน้อมต่อวัตถุ เช่นเจดีย์ สถานต่าง ๆ บุคคลเช่น วุฑฒบุคคลคือท่านผู้เจริญด้วยวัย เจริญด้วยชาติและเจริญด้วยคุณความดีบางคราวรุนแรงมาก็ไม่โกรธตอบ เช่น ลูกสะใภ้ไม่โกรธตอบต่อแม่สามีที่กระทำรุนแรงต่อตน คนใช้ไม่ประทุษร้ายตอบต่อนาย เป็นต้น
 เวยยาวัจมัยการช่วยเหลือขวนขวายในกิจการงานที่ชอบธรรม เช่นช่วยสรงน้ำให้พระสารีบุตรของเทพบุตรตนหนึ่งการช่วยจัดดอกไม้ที่เขาจัดไว้ไม่เรียบร้อย การช่วยบอกกล่าวเรื่องบุญกุศลชักชวนชาวบ้านให้ทำบุญให้ทาน ช่วยบอกทางเดินให้คนเดินทางช่วยทำงานที่เป็นกิจกรรมสาธารณะต่าง ๆ เป็นต้น
 ๖ ปัตติทานมัยการให้ส่วนบุญที่ตนกระทำแล้วแก่คนอื่น อาจทำด้วยการบอกให้หรือการกรวดน้ำให้ อย่างที่เราเรียกว่า ทำบุญอุทิศส่วนกุศลการทำบุญประเภทนี้จัดเป็นประเภทธรรมทาน คือการให้ความดีที่ตนกระทำบุญที่ตนกระทำมิได้สิ้นเปลืองไปอย่างให้วัตถุ แต่เป็นการเพิ่มบุญของตนให้สูงขึ้นเพราะได้กระทำบุญมากขึ้นจากบุญที่เป็นเหตุให้ตนอุทิศส่วนกุศลให้เขา
 ปัตตานุโมทนามัยการพลอยแสดงความชื่นชมยินดีในการทำความดีของคนอื่นอันเกิดขึ้นจากการขจัดริษยาให้ออกไปเช่นการอนุโมทนากุศลที่นายอุทยานบาลกระทำของพระเจ้าพิมพิสารเป็นต้น
 ธัมมเทสนามัยการแสดงธรรม หมายถึงการแนะนำชักชวนให้คนรู้จักผิดชอบชั่วดีเพื่อให้ละความชั่วประพฤติความดี เป็นการกระทำที่ต้องประกอบด้วยกุศลเจตนาหวังประโยชน์เกื้อกูลแก่เขาเป็นที่ตั้ง ไม่มุ่งหวังผลประโยชน์เพื่อตนอย่างที่ทรงแสดงว่า "สงเคราะห์เขาด้วยน้ำใจอันงาม" อานิสงส์จากการกระทำเช่นนี้มีมากเพราะทรงแสดงไว้ว่า สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ การให้ธรรมย่อมชนะการให้ทั้งปวงแต่ในทำนองเดียวกัน หากมีการบิดเบือนธรรม แสดงสิ่งที่เป็นธรรมว่าไม่ใช่เป็นต้นผลแห่งบาปกรรมก็แรงมาก เช่น เรื่องปลากปิละ
 ธัมมสวนมัยการฟังธรรมด้วยความเคารพซึ่งในการฟังธรรมนี้บางคราวคนฟังไม่รู้เรื่องอะไรเลย แต่ใจกำหนดว่า "นี่เป็นเสียงแห่งธรรม แล้วฟังด้วยความเคารพเท่านั้น"สามารถส่งผลให้เกิดในสวรรค์ได้ เช่น มัณฑุกวิมานที่เล่าเรื่องการฟังธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง และเทพบุตร ๕๐๐องค์ที่ฟังพระสาธยายอภิธรรม ในสมัยที่ตนเกิดเป็นค้างคาวอยู่ในถ้ำด้วยความสำคัญว่านี่เป็นเสียงธรรมเท่านั้น ตายไปในขณะฟังธรรม แล้วไปบังเกิดในสวรรค์ ตามหลักที่ทรงแสดงว่า เมื่อจิตไม่เศร้าหมองย่อมหวังสุคติได้การฟังธรรมอำนวยผลช่วงหนึ่งแต่การปฏิบัติธรรมกลับเพิ่มอานิสงส์สูงขึ้นไปอีก
 ๑๐สัมมาทิฏฐิมีปัญญาเห็นชอบ ในชั้นของกัมมสกตาสัมมาทิฏฐิคือปัญญาอันเห็นชอบในการที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีกรรมเป็นของ ๆ ตน คือการยอมรับว่าเจตนาที่บุคคลทำไปทางกายวาจาและใจนั้นเป็นกรรมผลที่เกิดขึ้นทุกรูปแบบล้วนมาจากการกระทำของตน และยอมรับความมีอยู่แห่งผลของทาน ศีลยัญ การบวงสรวง การทำดีทำชั่ว โลกนี้โลกหน้า มารดา บิดา โอปปาติกะและบุคคลผู้ประพฤติปฏิบัติชอบ จนได้สัมผัสผลในชั้นต่าง ๆจนถึงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าเป็นต้น
 ให้สังเกตว่าท่านบอกอานิสงส์เหล่านี้ว่าเป็นการกระทำเพื่อสร้างภพชาติให้ประณีตขึ้น สำหรับผู้ยังเวียนว่ายในสังสารวัฏคือยังต้องทำบุญทำบาปอยู่การกระทำที่นำคนไปสู่สวรรค์จึงเป็นเรื่องของบุญกิริยาวัตถุ เป็นหลักเมื่อดูองค์ธรรมที่นำไปสู่สุคติอย่างที่นำมาเรียงไว้ อาจจะมีความรู้สึกว่ามากไปยากที่จะปฏิบัติให้สมบูรณ์ได้ แต่เมื่อว่าโดยหลักของการปฏิบัติแล้วมูลฐานสำคัญที่จะนำไปสู่สุคติอยู่ที่ "สัมมาทิฏฐิ คือปัญญาอันเห็นชอบในชั้นกัมมสกตาสัมมาทิฏิ เป็นต้นไป เมื่อใจของคนประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิแล้ว ข้อปฏิบัติอีก๑๑ ข้อข้างต้นจะเป็นไปเอง เพราะการกระทำเหล่านั้นเป็นผลสะท้อนออกไปจากจิตที่ประกอบด้วยความเห็นชอบทั้งนั้น"
 เหมือนคนที่ไม่ต้องการติดคุกต้องการอยู่เป็นสุขในชีวิตไม่จำเป็นจะต้องรู้กฎหมายอะไรมากนัก ขอเพียงแต่ยึดหลักว่า "เราจะเป็นพลเมืองดี"ไว้เท่านั้น พฤติกรรมที่แสดงออกจะเป็นสุจริตเองโดยอัตโนมัติตราบเท่าที่เขายังสำนึกว่าตนจะเป็นพลเมืองดีอยู่ฉันใดสัมมาทิฏฐิภายในใจคนจะควบคุมความประพฤติของคนให้ดำเนินไปในครรลองแห่งสุจริตธรรมเช่นเดียวกันฉันนั้น

 ๖.อายุของความเป็นเทวดา เฉพาะที่ปรากฏในวิมานวัตถุนี้ มีอยู่ ๒วิมานที่แสดงว่าอายุยืนมากเหลือเกินคือคุตลวิมาน
 เทพธิดาในวิมานเหล่านี้มีรวมกัน ๓๘ วิมานพระโมคคัลลานเถระไปพบ สอบถามถึงบุพพกรรมของเทพธิดาแต่ละองค์ปรากฏว่าล้วนแต่เป็นผลของการให้ทานไม่มากนัก แต่ให้ด้วยจิตเลื่อมใสมีความเคารพสมบูรณ์ด้วยปัจจัยและเจตนาที่กล่าวแล้วเมื่อพระโมคคัลลานเถระนำมากราบทูลถามพระพุทธเจ้า พระองค์รับสั่งเทพธิดาเหล่านั้นบอกแก่เธออย่างไร ได้บอกแก่เราในชาติที่เราเป็นคุตติลบัณฑิตฉะนั้นเรื่องคุตติลบัณฑิตอยู่ในชาดก ไม่ได้บอกว่าเป็นชาติที่เท่าไรเมื่อนับย้อนขึ้นไปจากพระชาติที่เป็นพระพุทธเจ้า แต่ที่แน่นอนคือต้องเป็นพระชาติก่อนจากทศชาติแสดงว่าท่านอยู่ในวิมานนานเหลือเกิน
 เทพบุตรในอเนกวัณณวิมานที่เป็นผลเกิดจากการบวชมา ๗ พรรษา บูชารัตนเจดีย์และช่วยชักชวนแนะนำคนให้บูชาพระเจดีย์ ความดีเหล่านี้ทำมาแต่สมัยที่เป็นพระภิกษุและฆราวาสในศาสนาของพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า "สุเมธ"ซึ่งนับจากพระพุทธเจ้าของเราย้อนขึ้นไปเป็นองค์ที่ ๑๖ นานกว่า ๓๘ วิมานก่อนเสียอีกอะไรเป็นตัวกำหนดความยืนยาวแห่งอายุเช่นนี้ ?
 เมื่อดูจากพระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในที่ต่าง ๆทำให้ได้หลักว่า "การให้ทาน ไม่เบียดเบียนทำร้ายสัตว์ และฆ่าสัตว์พร้อมกับมีเมตตากรุณาต่อสัตว์" เป็นตัวกำหนดความยืนยาวแห่งอายุทิพย์และอายุของมนุษย์ทั้งหลาย

 ๗. การจุติคือ เคลื่อนจากวิมานของเทพบุตรเทพธิดานั้น ท่านแสดงว่ามีเหตุ ๔ คือ
 ๗.๑ อายุกฺขเยนเพราะสิ้นอายุ
 ๗.๒ ปุญฺญกฺขเยนเพราะสิ้นบุญสนับสนุน
 ๗.๓ อาหารกฺขเยนเพราะสิ้นอาหาร
 ๗.๔ โกเปนเพราะความโกรธ
 ก่อนเทพบุตรเทพธิดาจะจุติท่านบอกว่าปรากฏบุพพนิมิตให้เห็นก่อนว่า กำลังจุติคือ
 "ทิพยบุปผาที่ประดับกายเหี่ยวแห้งทิพยพัตราภรณ์ที่ทรงมีสีเศร้าหมอง เกิดมีพระเสโทไหลออกจากรักแร้พระสรีระกายปรากฏอาการชราให้เห็น มีพระทัยกระสันเป็นทุกข์ เหนื่อยหน่ายในเทวโลกไม่ได้มีความยินดีในทิพยสมบัติเหมือนเดิม"

 ๘. เทวดาที่จะจุตินั้นหากสร้างบุญกุศลเพิ่มขึ้น ก็อาจรักษาสถานะเดิมไว้ได้ เช่นท้าวสักกเทวราชจุติและอุบัติเป็นท้าวสักกเทวราชอีก หลังจากฟังพระธรรมเทศนาสักกปัญหสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ณ อินทศาลคูหา กรุงราชคฤห์บางองค์จุติจากสวรรค์แล้วตกนรกเลยก็มี หรือเกิดเป็นมนุษย์ เทพในระดับที่ต่ำหรือสูงขึ้นก็ได้ ทั้งนี้ย่อมเป็นไปตามอำนาจแห่งกรรมคติของเทวดาจึงไม่น่ายินดีอะไรมากนักเพราะเป็นเพียงการเสวยผลในช่วงหนึ่งจากเหตุที่ตนประกอบไว้เท่านั้น

 ๙.น่าสังเกตว่า พระอริยบุคคลระดับเดียวกัน คือเป็นพระโสดาบันด้วยกัน เช่นพระเจ้าพิมพิสารเกิดเป็นชนวสภยักษ์ชั้นจาตุมหาราชิกาแต่นางวิสาขามหาอุบาเกิดในสวรรค์ชั้นนิมมานรดีท่านบอกว่าเป็นไปตามความพอใจที่เกิดขึ้นแก่ท่านนั้น ๆ ก่อนตายเหตุให้เกิดวิมานเหล่านี้จะพบว่า คนเราอาจสร้างวิมานขึ้นภายในบ้านด้วยการปฏิบัติธรรมดังกล่าว และอาจจะเป็นเทพบุตรเทพธิดาในร่างมนุษย์ได้ด้วยการที่มีหิริโอตตัปปะ โดยไม่ต้องรอคอยเป็นเทพบุตรเทพธิดาในชาติหน้า.

บทที่ ๔

ภูมิของเทวดา


 เทวภูมิปฏิปทาคือหนทางดำเนินไปสู่เทวภูมิหรือเทวโลก ซึ่งมีปรากฏในมหาสีหนาทสูตรดังต่อไปนี้

มหาสีหนาทสูตร


 ดูกรพระสารีบุตร!เราย่อมรู้ชัดซึ่งเทวดาทั้งหลายทางอันยังสัตว์ให้ไปถึงเทวโลกและปฏิปทาที่จะยังสัตว์ให้ไปถึงเทวโลก อนึ่งสัตว์ผู้ปฏิบัติประการใดเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย
 ดูกรพระสารีบุตร ! เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจ อย่างว่าบุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้นและขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุคคลนั้นเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตกเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียวด้วยทิพย์จักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์สามัญ
 ดูกรพระสารีบุตร! เปรียบเหมือนปราสาทในปราสาทมีเรือนยอด ซึ่งฉาบทาดีแล้ว มีวงกรอบอันสนิท หาช่องลมมิได้มีบานประตูและหน้าต่างปิดสนิทดีในเรือนยอดนั้น มีบัลลังก์อันนาด้วยผ้าโกเชาว์ขนยาวลาดด้วยขนแกะสีขาว ลาดด้วยขนเจียมเป็นแผ่นทึบ มีเครื่องลาดอย่างดี ทำด้วยหนังชะมดมีเพดานกั้นในเบื้องบน มีหมอนแดงวาง ณ ข้างทั้งสอง ลำดับนั้น มีชายคนหนึ่งซึ่งมีเนื้อตัวถูกความร้อนแผดเผา ถูกความร้อนครอบงำ มีความเหน็ดเหนื่อยสะทกสะท้านหิวกระหาย เดินทางมุ่งหน้ามาสู่ปราสาทนั่นแหละ โดยมรรคาสายเดียวบุรุษผู้มีตาดี เห็นเขาเข้าแล้ว ย่อมมีใจกรุณากล่าวแนะนำอย่างนี้ว่า
 " บุคคลปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้นจักมาถึงปราสาทนั้นอย่างแน่นอนทีเดียวหนา"
 โดยสมัยต่อมาบุรุษผู้มีตาดีนั้น ย่อมเห็นชายคนนั้น นั่งหรือนอนบนบัลลังก์ ในเรือนยอดปราสาทนั้นเสวยสุขเวทนา โดยส่วนเดียว อุปมานี้ฉันใด
 ดูกรพระสารีบุตร!เราตถาคตก็เป็นเช่นเดียวกัน คือย่อมกำหนดรู้ใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจว่า
 "บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้นดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้นแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตกจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์"
 โดยสมัยต่อมา เราตถาคตได้เห็นบุคคลนั้นเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงแล้วซึ่งสุคติโลกสวรรค์ เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียวด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ดังนี้
 พระพุทธฎีกา ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงเล่าให้พระสารีบุตรมหาขีณาสพเจ้าองค์อัครสาวกผู้ทรงไว้ซึ่งปัญญาอย่างยอดเยี่ยมฟัง ตามที่ได้อัญเชิญมานี้ย่อมจักเป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่า มนุษย์เราซึ่งมีมรณธรรมคือมีความตายเป็นธรรมดาและได้ล้มหายตายจากมนุษย์โลกไปทุก ๆ วัน ดังที่เราท่านเห็นกันอยู่นี้เมื่อตายไปแล้ว ใช่ว่าจะไปอยู่เมืองผีปิศาจ หรือขาดสูญหายไปเฉย ๆดังที่หมู่ชนโดยมากเข้าใจกันอยู่ ก็หามิได้ โดยที่แท้ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ในมนุษย์โลกนี้ มนุษย์คนใด ประพฤติตนนำชีวิตตนให้ดำเนินไปตามปฏิปทาทางไปสู่เทวโลกหรือโลกสวรรค์แล้ว มนุษย์ผู้นั้นก็ย่อมไม่แคล้วที่จักได้ไปอุบัติเกิดเป็นเทพบุตรเทพธิดาเสวยสุขสมบัติอยู่ในสรวงสวรรค์ฉะนั้นความสงสัยซึ่งมักจะปรากฏขึ้นในใจของคนทั้งหลายอยู่เสมอว่า "มนุษย์เราตายไปแล้วจักได้ไปเกิดเป็นเทพยดานั้นหรือ และสวรรค์วิมานที่คนโบราณมักชอบพรรณนาให้วิจิตรพิสดารต่าง ๆ นั้น หลับหูหลับตาว่าเอาเองกระมัง"ความสงสัยดังกล่าวมานี้ หากมีศรัทธาได้สดับพระพุทธฎีกานั้นแล้วก็คงจะหลุดล่วงออกไปจากดวงใจได้บ้างไม่มากก็น้อย

ประเภทแห่งเทพยดา


 เทวภูมิหรือโลกของทวยเทพนี้เป็นโลกที่อาศัยแห่งสัตว์ซึ่งเป็นทิพย์มีแสงรุ่งเรือง เพราะคำว่าทิพย์นี้หมายถึงว่า มีแววรุ่งเรือง พูดให้ฟังกันง่าย ๆ ก็ว่าเป็นที่อยู่ของเทวดาทั้งหลายซึ่งได้แก่สวรรค์ชั้นฟ้าแดนแห่งความสุขนั่นเอง
 ก่อนที่จักกล่าวถึงประเภทแห่งทวยเทพเราควรจะพูดถึงกันถึงการอุบัติขึ้นแห่งทวยเทพเสียก่อนดังนี้คือมนุษย์ทั้งหลายซึ่งรวมสัตว์เหล่าอื่น บรรดาที่ได้ก่อสร้างบุญกุศลเอาไว้บุญกุศลนั้นก็จะนำส่งให้มาอุบัติเกิดในเทวโลกสรวงสวรรค์และเมื่อจะเกิดนั้น ก็เป็น "อุปปัติเทพ" คือเป็นเทพยดาผู้อุบัติขึ้น ไม่ต้องนอนในครรภ์มารดาเหมือนดังมนุษย์หรืออยู่ในฟองไข่เหมือนดังสัตว์เดียรัจฉานบางจำพวกอุบัติเกิดขึ้นมีรูปร่างเป็นทิพย์ ตั้งอยู่ในวัยหนุ่มสาวเป็นเทพบุตรเทพธิดาเลยทีเดียวเมื่อเขาอุบัติเกิดขึ้น ณ สรวงสวรรค์นั้นแล้ว จะตั้งอยู่ในฐานะอะไรเป็นเทพประเภทไหนนั้นก็สุดแต่สถานที่ที่ตนอุบัติขึ้น คือ
 หากตนได้สร้างบุญกุศลไว้น้อยไม่สามารถจะมีวิมานของตนเองได้ไปอุบัติเกิด ณ ที่ตักของเทพองค์ใดก็ตั้งอยู่ในฐานะเป็นบุตรเป็นธิดาแห่งเทพองค์นั้น
 หากเป็นสตรีสร้างบุญกุศลไว้ตายแล้วไปอุบัติเกิดขึ้นเหนือแท่นที่บรรทมของเทพตนใดก็ต้องเป็นบริจาริกาแห่งเทพตนนั้น
 หากตนสร้างบุญกุศลไว้น้อยมีวาสนาจะได้เป็นเพียงพนักงานตกแต่งประดับประดาอาภรณ์วิภูษิตเครื่องต้นเครื่องทรงของเทพตนใด ก็ย่อมไปอุบัติเกิด ณ ที่ใกล้ ๆแท่นที่บรรทมแห่งเทพตนนั้นผู้จะเป็นนาย
 หากว่าไม่ไปอุบัติเหตุเกิดในบริวารวิมานของเทพองค์ใดทั้งสิ้นแต่อุบัติเกิดในที่ว่างระหว่างแดนต่อแดนไม่ทราบว่าจะเป็นบริวารของเทพผู้เป็นเจ้าของวิมานไหน ในกรณีนี้องค์จอมเทพมเหศักดิ์ผู้ทรงเป็นอธิบดี ยิ่งใหญ่กว่าทวยเทพทั้งปวงในเมืองฟ้านั้นย่อมจะเสด็จมาแล้วทรงทำหน้าที่เป็นพิพากษาตัดสินวิธีวินิจฉัยคดีของพระองค์ท่านก็คือ หากเทวดาที่อุบัติเหตุเกิดใหม่นั้นเกิดใกล้วิมานของเทพตนใด ก็ทรงตัดสินให้เป็นบริวารของเทพตนนั้นหากว่าทรงอนุมานดูแล้ว ทรงเห็นว่าสถานที่ที่เทวดาอุบัติเกิดใหม่นั้นตั้งอยู่กึ่งกลางพอดี ก็ทรงดูที่พักตร์ของเทวดาผู้อุบัติใหม่ ผิว่าหันหน้าเล็งแลไปทางวิมานของเทพตนใดพระองค์ก็ทรงตัดสินให้เป็นบริวารแห่งเทพตนนั้นทีนี้หากว่าเทวดาผู้เป็นตัวปัญหา คือผู้ที่อุบัติเกิดมาใหม่นั้นไม่ดูแลวิมานของเทพองค์ใดเลย เฉยอยู่อย่างนั้นท่านอธิบดีเทพผู้พิพากษาใหญ่กว่าเทวดาทั้งปวง ก็ทรงตัดสินเอาเทวดาตัวปริศนานั้นให้เป็นบริวารแห่งพระองค์เองทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการตัดปัญหาเสีย
 หากว่าตนได้เคยสร้างบุญกุศลไว้มากพอเพียงก็ได้ไปอุบัติเกิด ณ วิมานของตนเอง เพราะมีปราสาทหินพิมานพร้อมทั้งเทพบริวารคอยต้อนรับอยู่แล้ว ไม่ต้องเป็นบุตรธิดา หรือเป็นเทวดารับใช้แห่งเทพผู้ใดเป็นอยู่อย่างสบายอิสระเสรีมีความสุขเสวยทิพยสมบัติอยู่ ณเมืองแมนแดนสวรรค์นั้น
 เมื่อจะกล่าวถึงชีวะความเป็นอยู่ทวยเทพทั้งปวงในสรวงสวรรค์ ย่อมมีรูปโฉมโนมพรรณเป็นทิพย์สวยงามนักหนาสรีระกายกายาเนื้อตัวบริสุทธิ์ สะอาดปราศจากมลทินโทษโดยประการทั้งปวงจะได้มีกลิ่นอันเหม็นและกลิ่นอันร้ายกาจในกายของเขาดังมนุษย์เรานี้แม้แต่สักนิดหนึ่งเป็นไม่มีเลยและเขาจะเนรมิตกายให้ใหญ่และเล็กเท่าใดก็ได้ดังจิตปรารถนาเพราะกายาแห่งเขานั้นเป็นทิพย์ เทวดาจำนวน ๑๐-๘๐ องค์ อาจจะเนรมิตตนลงให้อยู่ในสถานที่อันเล็กน้อยประมาณเท่าปลายเส้นผม ดังนี้ก็ย่อมทำได้ในกรณีนี้พึงเห็นตัวอย่างเช่น ครั้งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแห่งเราท่านทั้งหลายยังทรงมีพระชนมชีพอยู่ บางกาลฝูงเทวดาทั้งหลายได้พากันมาเฝ้าพระองค์ผู้ทรงเป็นพระบรมโลกนาถเจ้า เพื่อสดับตรับฟังพระสัทธรรมเทศนาบางคราวมีประมาณมากมายนับจำนวนได้ถึง ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ ถ้าว่าเมื่อไม่เนรมิตกายลงให้เล็กลงแล้ว ไหนเลยสถานที่จักมีพอฉะนั้นเขาจึงพากันเนรมิตกายลงให้เล็กนักหนาแล้วตั้งใจสดับพระธรรมเทศนาที่องค์สมเด็จพระมหากรุณาเจ้าทรงแสดงได้โดยสะดวก
 อนึ่งเหล่าเทพยดาทั้งหลาย ย่อมบริโภคสุธาโภชนาหารอันเป็นทิพย์ทุกวารวันสุธาโภชนาหารที่เขาบริโภคเข้าไปแล้วนั้น ย่อมแห้งเหือดหายไปในกายของเขาจนหมดสิ้นจะได้ปรากฏเหลือเป็นมูตรคูถ ซึ่งมีกลิ่นเหม็นอย่างร้ายกาจดั่งมุนษยชาติก็หาไม่ตราบใดที่ยังมีชีวิตเป็นเทพอยู่ในสรวงสวรรค์ ตราบนั้น อุปัทวันตรายใด ๆอันเกิดแต่โรคภัยไข้เจ็บก็ดี หรือศัสตราอาวุธต่าง ๆ ก็ดีที่จะมีมาเบียดเบียนบีฑาแม้แต่นิดหนึ่ง เป็นไม่มีเลยพวกเขาย่อมมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างสุขสำราญชื่นบานนักหนา และเหล่าเทวดาทั้งปวงนั้นย่อมทรงผ้าผ่อนสรรพเครื่องประดับ
 อลังกรร้อนเป็นทิพย์มีรัศมีรุ่งเรืองส่องสว่างเป็นยิ่งนัก ก็แลผ้าทิพย์ภูษาอันเทวดาทั้งหลายนุ่งห่มนั้นอย่างพลันเข้าใจว่าเป็นผ้าเช่นเดียวกับเมืองมนุษย์ เพราะความจริงไม่ใช่โดยที่แท้นั้น ผ้าของเทพยดาย่อมเป็นผ้าทิพย์ผืนเล็กนิดเดียวมีประมาณเท่าดอกปีบเท่านั้น ครั้นเขาคลี่ออกปรารถนาจะนุ่งห่มนั้นก็จะพลันเป็นผ้าอัศจรรย์มีประมาณใหญ่ยาวและกว้างพอแก่ร่างของเทพยดาผู้เป็นเจ้าของ
 อนึ่ง รัศมีทั้งผองคือรัศมีแห่งอาภรณ์วิภูษิตต่าง ๆ ก็ดี รัศมีแห่งปราสาทพิมานที่ทวยเทพสถิตอยู่ก็ดีรัศมีแห่งภายตัวแห่งเทพยดาทั้งหลายเองก็ดี ย่อมส่องแสงสว่างรุ่งเรืองนักเมื่อเทวโลกเต็มไปด้วยรัศมีรุ่งเรืองส่องสว่างเช่นนี้ราตรีค่ำคืนอันมืดมัวในสวรรค์เทวโลกจึงไม่มีเหมือนอย่างมนุษย์เรานี้มีแต่ทิวาวารปรากฏเป็นดุจกลางวันอยู่เป็นนิจกาลไม่มีกิจด้วยการตามประทีปแสงไปใหญ่น้อยให้เหนื่อยยาก ในเทวโลกก็ส่องสว่างไปเองด้วยอำนาจแห่งรัศมีต่าง ๆ ดังกล่าวมาและรัศมีแห่งเงินทองแก้วเก้าเนาวรัตน์อันเป็นทิพยสมบัติซึ่งเกิดจากบุญญานุภาพอันเหล่าเทพยดาต่างทั้งหลายได้พากันสร้างสมอบรมมาแต่ปางบรรพ์
 เพื่อจะชี้ให้ได้ทราบถึงความอุบัติขึ้นพร้อมกับความเป็นอยู่แห่งเหล่าเทพยดาทั้งหลายก็ในกรณีแห่งการอุบัติขึ้นแห่งเทพยดาที่กล่าวไว้แต่ตอนต้นว่าผู้ที่สร้างบุญกุศลเอาไว้ เมื่อตายแล้ว บุคคลนั้นก็จะนำส่งให้มาเกิดในสรวงสวรรค์บังเกิดเป็นอุปปัตติเทพเป็นเทวดาผู้อุบัติขึ้นไม่ต้องนอนในครรภ์มารดาเหมือนดังมนุษย์อุบัติผุดขึ้นมีรูปร่างเป็นทิพย์ ตั้งอยู่ในวัยหนุ่มสาวเป็นเทพบุตร เทพธิดาเลยทีเดียวนั้น ขอให้ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลายพึงเห็นตัวอย่างจากเรื่องดังต่อไปนี้

 

จัณฑาลีผู้รู้คุณ


 กาลเมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแห่งเราทั้งหลายประทับอยู่ ณ พระเวฬุวนาราม ใกล้เมืองราชคฤห์มหานคร วันหนึ่ง เพลาปัจจุสมัยใกล้รุ่งพระองค์ทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วยพระมหากรุณา ตามธรรมดาวิสัยแห่งองค์พระโลกนาถศาสดาเมื่อทรงพิจารณาเล็กแลดู ก็ได้ทรงทราบว่าหญิงแก่จัณฑาลใกล้เมืองราชคฤห์คนหนึ่งซึ่งมีวัยเข้าปูนชราแล้วและจักสิ้นอายุสังขารในวันนั้นด้วยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้ามีพระหฤทัยอันกำลังแห่งพระมหากรุณาตักเตือนจึงทรงพระดำริว่าจักทรงอนุเคราะห์หญิงแก่วรรณะจัณฑาล จึงเสด็จเข้าไปบิณฑบาตในเมืองราชคฤห์นั้นพร้อมกับพระภิกษุสงฆ์เป็นอันมากยายจัณฑาลตั้งใจว่าจะไปธุระในที่แห่งหนึ่งในเช้าวันนั้นจึงถือไม้เท้าประจำตนลงมาจากบ้าน แล้วเดินออกมาจากพระนครแลเห็นสมเด็จพระจอมมุนีพร้อมกับพระภิกษุสงฆ์เป็นจำนวนมากกำลังเดินสวนทางมายายแก่ก็บ่ายหน้าเฉพาะต่อพระบรมครูแล้วก็ยืนอยู่ริมทางแล้วก็ทำกิริยาว่าจะเดินต่อไปโดยไม่สนใจเท่าใดนัก สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงกิริยาประดุจดังว่าจะห้ามยายจัณฑาลที่จะเดินต่อไปนั้นโดยพระองค์ทรงยืนขวางหน้ายายแก่ไว้
 พระมหาโมคคัลลานเถระเจ้าองค์อรหันต์พิเศษผู้ทรงฤทธิ์ รู้ซึ่งพระพุทธอัธยาศัยและรู้ต่อไปว่าอายุยายแก่จัณฑาลนั้นจักสิ้นเพื่อจะแนะนำยายแก่ผู้ชราให้นมัสการแด่องค์สมเด็จพระบรมศาสดาจึงกล่าวแนะนำขึ้นว่า
 "ดูกรยายจัณฑาล !ขอยายจงนมัสการซึ่งพระบรมยุคลของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ชื่อว่าพระโคดมพระองค์ผู้มียศและกิตติศัพท์ประเสริฐกว่าพระปัจเจกโพธิ และพระอรหันต์ขีณาสพทั้งหลายพระองค์ทรงยืนอยู่เพื่อจะโปรดยายขอยายจงยังน้ำจิตให้เลื่อมใสถวายนมัสการในองค์พระอรหันต์เห็นปานดังนี้เร็วๆ เถิด อายุของยายน้อยอยู่แล้ว"
 จัณฑาลีหญิงแก่เมื่อได้ฟังถ้อยคำแห่งองค์อรหันต์มหาสาวกดังนั้น ก็บังเกิดความสังเวชสลดใจยังจิตอันเลื่อมใสให้บังเกิดในองค์สมเด็จพระชินสีห์แล้วจึงประณมกรอัญชลีถวายบังคมนมัสการบังเกิดปิติเป็นเอกัคตา จิตตั้งอยู่ในพระพุทธคุณมิได้ขาดสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้าทรงดำริว่า "กิริยามนัสการแห่งหญิงจัณฑาลนี้ก็สมควรอยู่แล้ว" จึงทรงพาภิกษุสงฆ์เสด็จเข้าไปสู่พระนคร เพื่อทรงบิณฑบาตต่อไปแต่พอหมู่พระภิกษุสงฆ์หลีกไปได้ไม่นานในกาลนั้น มีแม่โคนมลูกอ่อนตัวหนึ่งนอนอยู่ได้ยินเสียงไม้เท้าดังกึกกัก จึงตื่นขึ้นด้วยอารามตกใจจึงวิ่งเข้าชนยายแก่ซึ่งกำลังเดินถือไม้เท้างุ่มง่าม แต่มีใจเอิบอิ่มไปด้วยความเลื่อมใสในพระพุทธคุณขวิดด้วยเขาทั้ง ๒ เข้าให้เต็มที่ จนยายแก่นั้นล้มลงหงายหลังตึงศีรษะฟาดกับพื้นปฐพีถึงแก่ชีพิตักษัยในบัดใจ
 ด้วยเดชะแห่งน้ำจิตอันเต็มไปด้วยความยินดีเลื่อมใสในการที่ตนได้กราบไหว้สมเด็จพระบรมโลกุตมาจารย์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐยายแก่จัณฑาลีผู้ขาดใจตายไปด้วยขณะจิตอันมีพระพุทธคุณเป็นอารามณ์นั้นก็พลันไปเป็นอุบัติเทพ เกิดเป็นเทพนารี ณ สรวงสวรรค์ชั้นไตรตรึงษ์แวดล้อมไปด้วยนางเทพอัปสรกัญญาถึง ๑,๐๐๐ เป็นบริวารทันที และในเพลาต่อมาเมื่อเทพนารีผู้อุบัติใหม่ ได้พิจารณาดูซึ่งกุศลอันตนบำเพ็ญมาก็ทราบว่าการที่ตนได้ทิพยสมบัติเป็นเทพนารี มีรูปทรงพิมานอันประเสริฐก็เพราะอานิสงส์แห่งการถวายนมัสการสมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ด้วยการเตือนสติแห่งองค์อรหันต์ท่านพระมหาโมคคัลลาน์เมื่อทราบดังนี้จึงมีกตัญญูรู้คุณแห่งพระเถระผู้เตือนสติให้ตนนมัสการองค์พระบรมโลกนาถเจ้าเป็นอันมากให้มีจิตอยากจะนมัสการขอบพระคุณเป็นกำลัง เมื่อเล็งแลด้วยทิพยจักษุก็ทราบว่าบัดนี้พระมหาเถระผู้มีคุณแก่ตนกำลังนั่งอยู่ในรโหฐานป่าใหญ่จึงพาบริวารของตนลงจากปราสาทพิมาน เข้าไปสู่สำนักแห่งพระโมคคัลลานะเพื่อจักถวายนมัสการ แล้วสำแดงอาการอันจะนมัสการนั้นด้วยความเคารพเลื่อมใสเป็นนักหนาแล้วกล่าวขึ้นว่า
 "ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า !พระคุณเจ้าเป็นผู้มีอานุภาพมากและเป็นผู้กล้าหาญข้าพเจ้ามาขอนมัสการพระผู้เป็นเจ้า"
 พระเถรเจ้าจึงมีเถรวาที่ไต่ถามว่า
 "ดูกรนางเทพธิดา ! ตัวท่านนี้รุ่งเรืองด้วยรัศมีกาย และรัศมีเครื่องประดับวัตถาลังกาอาภรณ์งามดังรัศมีแห่งทองชมพูนุท มีบริวารยศเป็นอันมากมาจากทิพยวิมานแวดล้อมไปด้วยนารีอันมีเครื่องประดับวิจิตรต่างๆ ท่านพร้อมกับด้วยนางฟ้าถึง ๑,๐๐๐ มานมัสการเราด้วยเหตุเป็นประการใด"
 "ข้าแต่พระคุณเจ้า ! ข้าพเจ้านี้คือ หญิงจัณฑาลผู้ซึ่งพระผู้เป็นเจ้าแนะนำให้ถวายนมัสการสมเด็จพระจอมมุนีผู้ประเสริฐทรงพระนามว่าพระโคดม ทรงมียศและกิตติศัพท์อันเลื่องลือข้าพเจ้าถวายนมัสการพระยุคลบาทแห่งพระองค์เมื่อเช้าวันนี้แล้วตายจากกำเนิดแห่งยายแก่จัณฑาลนั้นแล้วได้ไปเกิดในวิมานอันจำเริญด้วยสมบัติอันเป็นทิพย์ มีหมู่นางฟ้าทั้งหลาย ๑,๐๐๐เป็นบริวารแวดล้อม ข้าพเจ้านมัสการพระคุณเจ้าแล้วจักไปเที่ยวชมสวนนันทวันอันรื่นรมย์ ณ ไตรตรึงษ์สวรรค์ข้าพเจ้านั้นประเสริฐกว่านางฟ้าทั้งหลายด้วยรัศมีและยศศักดิ์ข้าพเจ้ารู้โดยรอบคอบแล้วว่า การกระทำกุศลนั้น ถึงแม้ว่าจักกระทำน้อย แต่ก็ได้ผลมากหากได้เนื้อนาบุญอันบริสุทธิ์และประเสริฐ ข้าพเจ้าระลึกถึงคุณแห่งพระผู้เป็นเจ้าจึงมาสู่สำนักเพื่อจักน้อมนมัสการ และจักขอลาพระผู้เป็นเจ้าไป ณกาลบัดนี้"
 เทพนารียายแก่จัณฑาลกล่าวดังนี้แล้วก็อันตรธานหายไปปรากฏยังดาวดึงส์สวรรค์เพื่อพาบริวารเที่ยวชมสวนนันทวันต่อไป
 ได้พรรณนาถึงการอุบัติเกิดและชีวะความเป็นอยู่แห่งทวยเทพทั้งปวงต่อจากนี้ไปจักได้กล่าวถึงสวรรค์ชั้นฟ้า อันเป็นที่สถิตอยู่แห่งทวยเทพต่างๆตั้งแต่ชั้นแรกจนถึงชั้นสูงสุดเพื่อให้เราชาวพุทธผู้มีปัญญาทั้งหลายได้รับทราบไว้ด้วยดี ก็สวรรค์ชั้นฟ้านั้นมีอยู่ด้วยกัน ๖ ชั้น
 สิริรวมเป็นสวรรค์ ๖ ชั้นเทวภูมิด้วยกัน

สวรรค์ ๖ ชั้น

สวรรค์ชั้นที่จาตุมหาราชิกาเทวภูมิ


 เทวภูมิอันดับที่ ๑ นี้เป็นแดนแห่งความสุข ที่สถิตอยู่แห่งปวงเทพยดาชาวฟ้าผู้อุบัติเทพมีเทวราชผู้ยิ่งใหญ่ ๔ พระองค์ ทรงเป็นอธิบดีผู้มีมเหศักดิ์ปกครองดูแล เพราะฉะนั้นสรวงสวรรค์ชั้นนี้ จึงมีนามว่า จาตุมหาราชิกาเทวภูมิภูมิเป็นที่อยู่แห่งทวยเทพอันมีท้าวจาตุมหาราชทรงเป็นอธิบดี
 เมืองสวรรค์ชั้นฟ้าอันมีนามว่า จาตุมหาราชิกานี้ มีเมืองใหญ่ซึ่งเป็นเทพนครอยู่ถึง ๔ พระนครแต่ละพระนครมีปราการกำแพงทองทิพย์เหลืองอร่ามแลดูงามนักหนาซ้ำประดับประดาไปด้วยสัตตรัตนะแก้ว ๗ ประการ บานประตูแห่งกำแพงทองทิพย์นั้นแล้วไปด้วยแก้ววิเศษแสนประเสริฐ และมีปราสาทอันรุ่งเรืองสวยงามอยู่เหนือประตูทุก ๆประตู ภายในเทพนครอันกว้างใหญ่ไพศาลนั้นมีปราสาทแก้วอันเป็นวิมานที่อยู่แห่งเทพยดาชาวฟ้าทั้งหลายปรากฏตั้งอยู่เรียงรายมากมาย ฝ่ายพื้นภูมิภาคนั้นเล่าก็หาใช่เป็นพื้นแผ่นปฐพีดังมนุษย์โลกเรานี้ไม่ โดยที่แท้ เป็นพื้นแผ่นสุวรรณทองคำมีสีเหลืองอร่ามรุ่งเรืองเลื่อมพรรณรายราบเรียบเสมอมีครุวนาดุจหน้ากล้องและมีความวิเศษอ่อนนิ่มดังฟูกผ้าเมื่อฝูงเทพยดาทั้งหลายเหยียบลงไปก็มีลักษณะการอ่อนยุบลง แล้วก็เต็มขึ้นมาดังเดิมมิได้เห็นรอยเท้าของเทพยดาทั้งหลายเหล่านั้นเลย
 สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาเทวภูมินี้นอกจากจะมีสมบัติทิพย์อันอำนวยความสุขให้แก่ปวงเทพยดานานาประการแล้วยังมีสระโบกขรณีอันมีน้ำใสยิ่งกว่าแก้ว เต็มไปด้วยปทุมชาตินานาชนิดส่งกลิ่นทิพย์หอมตลบอบอวลไปทั่วบริเวณเป็นดั่งเช่นมีใครแสร้งเอาน้ำอบน้ำหอมไปประพรหมไว้ตลอดกาลฉะนั้นมีดอกไม้นานาพรรณสีสันวิจิตรตระการตา และมีรุกขาติต้นไม้สวรรค์อันแสนประเสริฐนักหนาด้วยว่ามีผลปรากฏประกอบไปด้วยโอชารสอันยิ่ง แลอันว่ามิ่งไม้ในสรวงสวรรค์นั้นย่อมมีดอกมีผลอันเป็นทิพย์ปรากฏให้เหล่าชาวสวรรค์ได้ชื่นชมอยู่ตลอดกาลไม่มีวันร่วงโรยและหมดไปเลย
 ก็เทพนครทั้ง๑ ในสรวงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกานี้ มีเทวาธิราชผู้มเหศักดิ์มีหธิอำนาจปกครองดังต่อไปนี้คือ
 

๑.ธตรฐมหาราช


 เทพนครปราการสุวรรณอันสวยสวยสดงดงามซึ่งตั้งอยู่ในทิศบูรพา คือทิศตะวันออกแห่งแดนสุขาวดีสรวงสวรรค์ชั้นจาตุมาหราชิกานี้มีเทวาผู้ยิ่งใหญ่ทรงพระนามว่า "ท้าวธตรฐมหาราช"
 ทรงเป็นจอมเทพผู้ปกครองก็อันว่าท่านท้าวธตรฐมหาราชนี้ พระองค์ทรงเป็นเทวาธิราช มีบุญญานุภาพมาก มีรัศมีมากเทวาที่อุบัติเกิดเป็นบุตรของพระองค์มีมากมายแต่ละพระองค์ล้วนแต่ทรงไว้ซึ่งกำลังมาก มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ เป็นอันมากพระองค์ทรงเป็นอธิบดีผู้มีอำนาจใหญ่ ทรงปกครองทวยเทพในเทพนครด้านทิศบูรพา ณสรวงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกานี้โดยธรรม ยังความสุขสำราญชื่นบานหรรษาให้บังเกิดแก่มวลเทพยดาผู้เป็นบริวารตลอดทุกทิพาราตรีกาล
 นอกจากจะทรงเป็นเทวาธิราชผู้มียศศักดิ์และอำนาจเหนือเทพบริษัทในเทพนครด้านทิศบูรพาดังกล่าวแล้วท่านท้าวธตรฐมหาราช ยังทรงดำรงตำแหน่งเป็นอธิบดีปกครอง "หมู่คนธรรพ์"
 อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย ก็หมู่คนธรรพ์นี้ เป็นเทวดาพวกหนึ่งซึ่งนับเนื่องอยู่ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกานี้มีความถนัดในการดนตรีศิลปะระบำรำฟ้อน และชำนาญในเพลงขับเป็นยิ่งนักมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอยู่ในหมู่เทวดาทั้งหลาย เช่น คนธรรพ์ผู้หนึ่งซึ่งมีนามว่าสุมธรรมาชำนาญตีกลองประจำตัว กับคนธรรพ์อีกผู้หนึ่งซึ่งมีนามว่าพิมพสุรกะ ชำนาญในการตีกลองหน้าเดียว เมื่อเขาทั้ง ๒ตีกลองด้วยเพลงคนธรรพ์อันเลื่องลือย่อมปรากฏว่ามีความไพเราะเป็นที่เสนาะโสตชื่นชอบแห่งเหล่าเทพยดานักหนาไม่ว่าจะมีเทวสันนิบาตการชื่นชุมนุมเพื่อความสนุกสนานของเหล่าเทวดาทั้งหลายณ ที่ใด ย่อมมีฝูงคนธรรพ์ทั้งหลายไปร่วมด้วยโดยทำหน้าที่เป็นผู้ขับกล่อมและจับระบำรำฟ้อนให้ปวงเทพได้รับความชื่นบานเริงสราญในเทวสันนิบาตสถานนั้นๆ อยู่เป็นนิตย์เสมอมา มิได้ขาดสักคราเลย ก็หมู่คนธรรพ์ มีความภักดีและความเคารพต่อท่านท้าวธตรฐมหาราชผู้เป็นอธิบดีแห่งพวกตนเป็นยิ่งนัก

๒.วิรุฬหกมหาราช


 เทพนครปราการสุวรรณอันสวยสดงดงามซึ่งตั้งอยู่ด้านทิศทักษิณคือ ทิศใต้แห่งแดนสุขาวดีสรวงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกานี้มีเทวดาผู้ยิ่งใหญ่ทรงพระนามว่า "ท้าววิรุฬหกมหาราช" ทรงเป็นจอมเทพผู้ปกครองก็อันว่าท่านท้าววิรุฬหกมหาราชนี้ พระองค์เป็นเทวาธิราช มีบุญญานุภาพมาก มีรัศมีมียศเป็นอันมากเทวาที่เป็นอุบัติเทพบังเกิดเป็นเทพบุตรของพระองค์นั้นมากมายแต่ละองค์ทรงไว้ซึ่งกำลังมาก มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มียศเป็นอันมากพระองค์ทรงเป็นอธิบดีมีอำนาจใหญ่ ทรงปกครองทวยเทพในเทพนครด้านทิศทักษิณ ณสรวงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกานี้โดยธรรมยังความสุขสำราญชื่นบานหรรษาให้บังเกิดแก่มวลเทพยดาผู้เป็นบริวารตลอดทุกทิพาราตรีกาล
 นอกจากจะทรงเป็นเทวาธิราชผู้มียศศักดิ์และมีอำนาจเหนือเทพบริษัทในเทพนครด้านทิศทักษิณดังกล่าวแล้วท่านท้าววิรุฬหกมหาราช ยังทรงดำรงตำแหน่งเป็นอธิบดีปกครอง "หมู่กุมภัณฑ์"อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย ก็หมู่กุมภัณฑ์นี้เป็นพวกกายทิพย์พวกหนึ่งซึ่งมีรูปร่างแปลกประหลาดพิกล คือ ส่วนอุทรท้องนั้นมีสัณฐานใหญ่ผิดธรรมดาและมีสัญลักษณ์พิเศษที่สังเกตได้ง่ายอีกอย่างหนึ่งก็คือ เหล่ากายทิพย์พวกนี้มีอัณฑะซึ่งมีลักษณะเหมือนหม้อ ฉะนั้น จึงได้นามว่า กุมภัณฑ์ซึ่งแปลว่าเหล่าสัตว์ที่มีอัณฑะเหมือนหม้อ พวกเขาเหล่ากายทิพย์กุมภัณฑ์เหล่านี้มีความสุขโดยสมควรแด่อัตภาพและมีความภักดีเคารพต่อท่านท้าววิรุฬหกมหาราชผู้ทรงเป็นอธิบดีผู้ประเสริฐ แห่งพวกตนเป็นยิ่งนัก

๓.วิรูปักษ์มหาราช


 เทพนครปราการสุวรรณอันสวยงามซึ่งตั้งอยู่ในทิศปัจฉิม คือด้านตะวันตกแห่งแดนสุขาวดีสรวงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกานี้มีเทวาธิราชผู้ยิ่งใหญ่ทรงพระนามว่า "ท้าววิรูปักษ์มหาราช" ทรงเป็นจอมเทพผู้ปกครองก็อันว่าท่านท้าววิรูปักษ์มหาราชนี้นั้นพระองค์ทรงเป็นเทวาธิราช มีบุญญานุภาพมากมีรัศมีมาก เทวาที่อุบัติเกิดเป็นบุตรของพระองค์ก็มีมากแต่ละองค์ล้วนแต่ทรงไว้ซึ่งพละกำลังมาก มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มียศ เป็นอันมากพระองค์ทรงเป็นอธิบดีผู้มีอำนาจใหญ่ ทรงปกครองทวยเทพในเทพนครด้านทิศตะวันตก ณสรวงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกานี้โดยธรรมยังความผาสุกชื่นบานหรรษาให้บังเกิดแก่มวลเทพผู้เป็นบริวารตลอดทุกทิพาราตรีกาล
 นอกจากจะทรงเป็นเทวาธิราช ผู้มียศศักดิ์และมีอำนาจเหนือเทพบริษัทแห่งตน ในเทพนครด้านทิศตะวันตกดังกล่าวแล้วท่านท้าววิรูปักษ์มหาราชยังทรงดำรงตำแหน่งเป็นอธิบดี
 ปกครอง "หมู่นาค"อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย ก็หมู่นาคนี้ เป็นสัตว์วิเศษเหล่ากายทิพย์พวกหนึ่งซึ่งปรากฏว่ามีฤทธิ์เดชมาก เพราะพิษแห่งนาคทั้งหลายนั้นมีฤทธิ์กล้าแข็งแต่เพียงถูกต้องบุคคลใดบุคคลหนึ่ง พิษแห่งนาคย่อมมีฤทธิ์สามารถตัดเอาผิวหนังแห่งบุคคลนั้นให้ถึงแก่ความตายได้ในพริบตาเหมือนกับคบดาบ และเหล่านาคทั้งหลายย่อมรู้จักนิรมิตตนเมื่อมีความประสงค์จะเที่ยวไปในที่ต่าง ๆ ณ แดนมนุษยโลกเรานี้บางคราวเหล่านาคีผู้มีฤทธิ์ย่อมนิรมิตตนเป็นงู บางคราวก็ทรงเพศเป็นเทพยดาแต่บางคราวก็นิรมิตตนเป็นกระแตบ้าง เป็นต้นเที่ยวไปในราวไพรตามอัธยาศัยแห่งตนอย่างสุขสำราญ
 ในกรณีนี้หากจะมีปัญหาว่า "สัตว์ทั้งหลายในวัฏสงสาร" ทำกรรมอะไรไว้จึงได้มีโอกาสมาเกิดเป็นนาคได้เล่า"
 คำวิสัชนาก็มีว่า
 มีพระภิกษุพุทธสาวกรูปหนึ่งได้เข้าไปเฝ้าแล้วทูลถามสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ผู้ทรงไว้ซึ่งพระสัพพัญญุตญาณว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระเจริญ ! อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้คนบางคนในโลกนี้ ตายแล้วไปเกิดเป็นนาค"สมเด็จพระผู้มีพระภาพเจ้าได้ทรงมีพระมหากรุณาตรัสว่า
 "บุคคลบางคนในโลกนี้ เขาได้ยินได้ฟังมาว่าพวกนาคมีอายุยืน มีวรรณะงาม มีความสุขมาก เขาจึงชอบใจแล้วทำความดีด้วยไตรทวารแล้วมีความปรารถนาว่า
 "โอหนอเมื่อเราตายไปจากโลกนี้แล้วขอให้เราได้ไปบังเกิดเป็นนาค"
 ครั้งเขาตายไปแล้วย่อมเข้าถึงความเป็นสหาย คือได้ไปเกิดเป็นนาคข้อนี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้คนบางคนในโลกนี้ เมื่อตายไปแล้วไปเกิดเป็นนาค"
 พระพุทธฎีกานี้ย่อมเป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่า ผู้ที่ประกอบกัลยาณกรรมความดีด้วย กาย วาจา ใจยินดีในการบำเพ็ญกุศลเมื่อต้องการไปเกิดเป็นนาคย่อมมีโอกาสได้เป็นนาคในชาติต่อไปสมความปรารถนาพวกนาคเหล่านี้ มีชีวิตความเป็นอยู่โดยผาสุกสมควรแก่อัตภาพและพวกเขามีความภักดีและความเคารพต่อท่านท้าววิรูปักษ์มหาราชผู้ทรงเป็นอธิบดีทรงพระคุณอันประเสริฐแห่งตนเป็นยิ่งนัก

๔.เวสสุวัณมหาราช


 เทพนครปราการสุวรรณอันสวยสดงดงามซึ่งปรากฏตั้งตระหง่านอยู่ด้านทิศอุดร คือทิศเหนือแห่งแดนสุขาวดีสรวงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกานี้ มีเทวาผู้ยิ่งใหญ่ทรงพระนามว่า "ท้าวเวสสุวัณมหาราช"ทรงเป็นจอมเทพผู้ปกครองก็อันว่าท่านท้าวเวสสุวัณมหาราชนี้ยังมีพระนามปรากฏเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปอีกอย่างหนึ่งว่า "ท้าวกุเวรมหาราช" พระองค์ทรงเป็นเทวาธิราชผู้มเหศักดิ์ มีบุญยานุภาพมาก มีรัศมีมียศเป็นอันมาก เทวาที่อุบัติเกิดเป็นบุตรของพระองค์นั้นมีมากมายแต่ละองค์ล้วนทรงไว้ซึ่งพละกำลังมาก มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มียศเป็นอันมากพระองค์ทรงเป็นอธิบดีมีอำนาจใหญ่ ทรงปกครองทวยเทพในเทพนครด้านทิศอุดร ณสรวงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกานี้โดยธรรม ยังความผาสุกชื่นบานหรรษาให้บังเกิดแก่มวลเทพยดาผู้เป็นบริวารตลอดทุกทิพาราตรีกาล
 นอกจากจะทรงเป็นเทวาธิราชผู้มียศศักดิ์และอำนาจเหนือเทพบริษัทในเทพนครด้านอุดรดังกล่าวแล้วท่านท้าวเวสสุวัณมหาราชนี้ ยังทรงดำรงตำแหน่งเป็นอธิบดีปกครอง "หมู่ยักษ์"อีกตำแหน่งหนึ่งอีกด้วย ก็หมู่ยักษ์นี้เป็นสัตว์ประเภทกายทิพย์พวกหนึ่งซึ่งปรากฏว่าสันดานแตกต่างกัน คือ บางตนก็มีสันดานดีประกอบด้วยศีลธรรมบางตนมีสันดานร้ายมีจิตใจมากไปด้วยโทสะ โมหะ เป็นอันธพาลใจแกล้วกล้าหาญดุดันมิใคร่จะเลื่อมใสเชื่อฟังคำแห่งพระสัพพัญญูเจ้าเอาง่าย ๆ ในกรณีนี้พึงทราบดังเรื่องที่ปรากฏในอาฏานาฏิยสูตร โดยใจความว่า
 คราวหนึ่งสมเด็จพระมหามุนีนาถบรมศาสดาจารย์เจ้าแห่งเราทั้งหลายพระองค์ประทับอยู่ ณภูเขาคิชฌกูฏ เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านท้าวมหาราชทั้ง ๔ผู้ทรงเป็นจอมเทพอธิบดีแห่งสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ได้พากันมาเฝ้าตั้งอารักขาไว้ทั้ง ๔ ทิศ ตั้งพลขันธ์ ตั้งผู้ตรวจตราไว้ทั้ง ๔ ทิศด้วยเสนายักษ์กองใหญ่ ๑ เสนาคนธรรพ์กองใหญ่กอง ๑ เสนากุมภัณฑ์กองใหญ่กอง ๑เสนานาคกองใหญ่กอง ๑ ในขณะเมื่อปฐมยามแห่งราตรีล่วงไปแล้วเปล่งรัศมีรุ่งเรืองพรรณรายงามยิ่งทำให้ภูเขาคิชฌกูฏทั้งสิ้นสว่างไสวแล้วเข้าไปเฝ้าสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าถวายบังคมแล้วพากันประทับนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง
 ฝ่ายยักษ์ทั้งหลายผู้เป็นบริวารของท่านท้าวเวสสุวัณมหาราชนั้นสำแดงกิริยาอาการต่าง ๆกันคือ
 บางพวก ถวายบังคมสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้าแล้วก็นั่งเงียบอยู่
 บางพวก ปราศรัยกับสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้าด้วยเรื่องพอให้ระลึกถึงกันแล้ว ก็นั่งเป็นปรกติ
 บางพวกเป็นแต่เพียงประณมอัญชลีไปทางที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้าประทับแล้วนั่งเงียบ
 บางพวก ประกาศชื่อและโคตรของตนแล้วนั่งเงียบอยู่
 บางพวก มิได้สำแดงกิริยาอาการอันใดทั้งสิ้น นั่งนิ่งอยู่ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
 ท่านท้าวเวสสุวัณมหาราชจอมเทพผู้ทรงเป็นอธิบดีแห่งพวกยักษ์เหล่านั้นได้กราบทูลสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบรมไตรโลกนาถขึ้นในคราวนั้นว่า
 ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ในบรรดายักษ์ทั้งหลายเหล่านี้
 ยักษ์ชั้นสูงบางพวกมิได้เลื่อมใสในสมเด็จพระพุทธองค์ผู้ทรงพระภาคเจ้าก็มี
 ยักษ์ชั้นสูงบางพวกมีความเลื่อมใสในสมเด็จพระพุทธองค์ผู้ทรงพระภาคเจ้าก็มี
 ยักษ์ชั้นกลางบางพวกมิได้เลื่อมใสในสมเด็จพระพุทธองค์ผู้ทรงพระภาคเจ้าก็มี
 ยักษ์ชั้นกลางบางพวกมีความเลื่อมใสในสมเด็จพระพุทธองค์ผู้ทรงพระภาคเจ้าก็มี
 ยักษ์ชั้นต่ำบางพวกมิได้มีความเลื่อมใสในสมเด็จพระพุทธองค์ผู้ทรงพระภาคเจ้าก็มี
 ยักษ์ชั้นต่ำบางพวกมีความเลื่อมใสในสมเด็จพระพุทธองค์ผู้ทรงพระภาคเจ้าก็มี
 ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! โดยมากการที่ยักษ์ทั้งหลายมิได้มีความเลื่อมใสในองค์สมเด็จพระพุทธองค์ผู้ทรงพระภาคนั้นเป็นเพราะเหตุไร
 เพราะเหตุว่า สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้นจากปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาทการดื่มสุราเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท แต่โดยมาก พวกยักษ์ทั้งหลายมิได้งดเว้นจากปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท การดื่มสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เพราะเหตุนี้แหละพระเจ้าข้าสมเด็จพระพุทธองค์จึงไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของยักษ์เหล่านั้น
 ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !ก็พระสาวกของสมเด็จพระพุทธองค์นั้น บางพวกย่อมพอใจอยู่ราวไพรในป่าเสพเสนาสนะอันสงัด มีเสียงรบกวนน้อย มีเสียงกึกก้องน้อย ปราศจากหมู่ชนผู้เดินไปมาเป็นสถานที่ควรแก่การกระทำกรรมอันเร้นลับของมนุษย์ ควรแก่การหลีกเร้นยักษ์ชั้นสูงบางพวก มักสิงสถิตอยู่ในป่าเช่นนั้นยักษ์พวกใดมิได้เลื่อมใสในปาพจน์ของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงถือเอาการรักษาอันชื่อว่า อาฎานาฏิยะ เพื่อให้ยักษ์พวกนั้นเลื่อมใสเพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุ ภิกษุณีอุบาสก อุบาสิกาทั้งหลายเถิด พระเจ้าข้า
 องค์อธิบดีแห่งมวลยักษ์คือท่านท้าวเวสสุวัณมหาราช กราบบังคบทูลอย่างยืดยาวฉะนี้เมื่อทรงเห็นสมเด็จพระจอมมุนีทรงรับอาราธนาโดยพระอาการดุษณีแล้ว จึงกล่าว "อาฎานาฏิยะรักษา" ในเวลานั้น เป็นใจความว่า
 "ขอนอบน้อมแด่สมเด็จพระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงมีพระจักษุผู้ทรงไว้ซึ่งพระพุทธสิริขอนอบน้อม แด่สมเด็จพระสิขีสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงอนุเคราะห์แก่มวลสัตว์ทุกถ้วนหน้าเป็นต้น"
 ครั้นตรัสอาฏานาฏิยะรักษาถวายสมเด็จพระบรมศาสดาจารย์เจ้าจบลงแล้ว องค์จอมเทพผู้พุทธสาวกได้กราบทูลขึ้นว่า
 "ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ! การรักษาอันชื่อว่าอาฏานาฏิยะ นี้แหละพระเจ้าข้า ย่อมเป็นไปเพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษาเพื่อไม่เบียดเบียน เพื่อความอยู่สำราญแห่งภิกษุ ภิกษุณี อุบาสิกาทั้งหลายข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ และบัดนี้ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้มีกิจมาก มีกรณียะมากจักขอทูลลาไปแล้ว พระเจ้าข้า"
 สมเด็จพระบรมศาสดาจึงตรัสตอบว่า
 "ดูกรมหาบพิตร ! ขอมหาบพิตรจงทรงทราบกาลอันควร ณบัดนี้เถิด"
 ลำดับนั้น ท่านท้าวมหาราชจอมเทพผู้มีมเหศักดิ์ทั้ง ๔เสด็จลุกขึ้นจากอาสนะถวายอภิวาททำประทักษิณสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้าแล้วอันตรธานไปในขณะนั้นเองฝ่ายยักษ์ทั้งหลาย เมื่อเห็นองค์อธิบดีแห่งตน เสด็จกลับแล้วก็จะกลับบ้างและในขณะที่พวกเขาจักกลับนี้ ก็แสดงกิริยาอาการต่างกันอีกคือ
 บางพวกลุกขึ้นแล้ว ถวายอภิวาททำประทักษิณสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้าแล้วอันตรธานหายไป
 บางพวก ลุกขึ้นแล้วปราศรัยกถาพอให้ระลึกถึงกันกะสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้าแล้วอันตรธานหายไป
 บางพวก ลุกขึ้นแล้วประณมอัญชลีไปทางที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้าแล้วอันตรธานหายไป
 บางพวก ลุกขึ้นแล้วประกาศนามและโคตรของตนแก่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้าแล้วอันตรธานหายไปในขณะนั้นเอง
 เรื่องที่เล่ามานี้ ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลายก็คงจะเห็นแล้วว่าเหล่ายักษ์ทั้งหลายซึ่งมีกายเป็นทิพย์นับเนื่องเจ้าในเทพชั้นต่ำแห่งสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกานี้มีปรากฏอยู่มากมายบางตนเป็นพวกยักษ์ร้าย บางตนเป็นยักษ์ผู้ดี เพราะมีสันดานแตกต่างกันแต่จะอย่างไรก็ตาม บรรดายักษ์ทั้งหลายย่อมมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างสุขสบายตามสมควรแก่อัตภาพ และพวกเขาเหล่านั้นย่อมมีความจงรักภักดีและมีความเคารพยำเกรง ต่อท่านท้าวเวสสุวัณมหาราชผู้ทรงเป็นอธิบดีแห่งพวกตนเป็นยิ่งนัก

 

ทางไปสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา


 เมื่อได้ทราบถึงสภาพความเป็นอยู่แห่งเหล่าชาวสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาดังพรรณนามาแล้ว บัดนี้ถึงปัญหาสำคัญที่เราท่านควรจะสนใจ ปัญหาที่ว่านั้นก็คือว่า "การที่จะได้มีโอกาสไปเกิดเป็นเทพยดาณ แดนสุขาวดีจาตุมหาราชิกาสวรรค์นั้นจักต้องทำประการใดบ้าง"
 การที่เหล่าสัตว์ในวัฏสงสารซึ่งรวมทั้งเราท่านผู้เป็นมนุษย์อยู่ในมนุษย์โลกขณะนี้จักมีโอกาสไปเกิดเป็นเทพยดาได้นั้น เมื่อจะกล่าวอย่างสั้น ๆก็คือต้องประกอบกรรมอันเป็นบุญเป็นกุศล เช่น ให้ทานรักษาศีล เป็นต้นจึงจะมีโอกาสไปเกิด ณ สรวงสวรรค์ได้ นี่เป็นกฎตายตัว เป็นหลักใหญ่อย่างกว้าง ๆที่ควรจักจดจำไว้ แต่เมื่อจะแยกให้ละเอียดลงไปเป็นส่วนเฉพาะว่า "การที่จักได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกานี้จะต้องประกอบกุศลกรรมความดีชนิดใด" ในเรื่องนี้ ถ้าจักให้ดีพึงทราบตามพระพุทธฎีกาที่องค์สมเด็จพระมหากรุณาสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ในสูตรต่างๆ ซึ่งจักขอประมวลมาตั้งไว้ในที่นี้ ดังต่อไปนี้

ทานสูตร


 สมัยหนึ่งสมเด็จพระมหากรุณาสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ ฝั่งสระโบกขรณี ชื่อว่าคัคคราใกล้จัมปานคร พร้อมกับด้วยพระสงฆ์องค์อรหันตสาวกเป็นอันมากอุบาสกชาวเมืองจัมปามากคนด้วยกัน เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรองค์อัครสาวกเมื่ออภิวาทนมัสการแล้วได้กราบเรียนพระผู้เป็นเจ้าขึ้นว่า
 "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ !ธรรมีกถาเฉพาะพระพักตร์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า พวกข้าพเจ้าไม่ได้ฟังกันมานานแล้วได้โปรดเถิดขอพระผู้เป็นเจ้าได้โปรดพาพวกข้าพเจ้าไปฟังธรรมมีกถาแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยเถิดเจ้าข้า"
 องค์ธรรมเสนาบดีสารีบุตรจึงบอกแก่อุบาสกเหล่านั้นว่า
 ดูกรอุบาสกทั้งหลาย ! ถ้าเช่นนั้นขอให้ท่านทั้งหลาย จงพากันมาในวันอุโบสถเถิด เมื่อถึงวันนั้นแล้วพวกท่านจักได้สดับธรรมีกถาแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแน่นนอน"
 อุบาสกชาวเมืองจัมปารับคำขอท่านสารีบุตรมหาขีณาสพแล้วก็ลุกจากที่นั่งพากันอภิวาทกระทำประทักษิณแล้วหลีกไป ต่อมา เมื่อถึงวันอุโบสถได้เวลานัดหมายแล้ว พระเถรเจ้าก็พาเอาอุบาสกทั้งหลายเหล่านั้นเข้าไปเฝ้าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วทูลถามสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
 "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ทานที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมากแต่ไม่มีอานิสงส์มาก พึงมีหรือไม่พระเจ้าข้า และทานที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มากถึงมีหรือไม่หนอ พระเจ้าข้า"
 สมเด็จพระมหากรุราสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสตอบว่า
 "ดูกรสารีบุตร ! ทานที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้วเป็นทานมีผลมาก แต่ไม่มีอานิสงส์มากก็มี และทานที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้วเป็นทานมีผลมาก มีอานิสงส์มากก็มี"
 ครั้นตรัสฉะนี้แล้วองค์สมเด็จพระประทีปแก้ว ได้ทรงมีพระพุทธฎีกาต่อไปอีกว่า
 "ดูกรสารีบุตร ! ในการให้ทานนั้น บุคคลสมความหวังให้ทาน มีจิตผูกพันในผลแห่งทานแล้วให้ทานมุ่งการสั่งสมให้ทาน ให้ทานด้วยคิดว่า เราตายไปแล้ว จักได้เสวยผลแห่งทานนี้เขาผู้นั้นให้ทานแล้ว เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมหาราช"

ปุญญกิริยาวัตถุสูตร


 สมเด็จพระมหากรุณาสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงมีพระพุทธฎีกาตรัสถึงบุคคลที่จักได้มีโอกาสไปเกิดเป็นเทพยดา ณแดนสุขาวดีจาตุมหาราชิกาสวรรค์และเหตุที่จักได้มีโอกาสดำรงตำแหน่งเป็นท้าวจุตมหาราชจอมเทพในสวรรค์ชั้นนี้ไว้ในปุญญกิริยาวัตถุสูตรว่าดังนี้
  "ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย ! บุญกิริยาวัตถุ ๓ประการคือ บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยทาน ๑ บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยศีล ๑บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยภาวนา ๑
 ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่งทำบุญกิริยาที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่งไม่เจริญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย
 ภาวนาเลย เมื่อตายไปแล้วเขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมหาราช
 ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย ! ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ในชั้นนั้นได้ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรกทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรกย่อมก้าวล่วงเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาโดยฐานะ ๑๐ ประการคือ
 ๑.อายุทิพย์
 ๒.วรรณทิพย์
 ๓.สุขทิพย์
 ๔.ยศทิพย์
 ๕.อธิปไตยทิพย์
 ๖.รูปทิพย์
 ๗.เสียงทิพย์
 ๘.กลิ่นทิพย์
 ๙.รสทิพย์
 ๑๐.โผฏฐัพพทิพย์

สังคีติสูตร


 เหตุที่ยกนำให้ไปอุบัติเกิดณ จาตุมหาราชิกาสวรรค์ นอกจากที่พรรณนามาแล้วยังมีข้อความอีกประการหนึ่งอันมีปรากฏในสังคีติสูตรซึ่งเป็นข้อความที่พวกเราชาวพุทธบริษัทผู้มีโอกาสดีได้เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนาในชาตินี้ควรจักรับทราบไว้โดยตระหนักดังต่อไปนี้
 บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมถวายข้าว น้ำ ผ้าผ่อน ยวดยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พักและสิ่งที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีป เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตนถวายไปและเขาได้ยินมาว่า "พวกเทพเจ้าเหล่าจาตุมหาราชิกามีอายุยืน มีวรรณะงาม มากไปด้วยความสุข" ดังนี้แล้วเขาจึงรำพึงอย่างนี้ว่า
 

โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตกเราพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทพเจ้าเหล่าจาตุมหาราชิกา

 
 เขาตั้งจิตนั้นไว้อธิษฐานจิตนั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขาน้อมไปในสิ่งที่เลวมิได้อบรมเพื่อคุณเบื้องสูง ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในจาตุมหาราชิกานั้นก็ข้อนี้แลเรากล่าวสำหรับบุคคลผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับบุคคลผู้ทุศีลผู้มีอายุทั้งหลายความตั้งใจของบุคคลผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์ดังนี้

อังคุตรนิกาย สัตตกนิบาต ข้อ ๕๐ หน้า ๖๐บาลีฉบับสยามรัฐอังคุตรนิกาย อัฎฐกนิกาย ข้อ ๑๒๖ หน้า ๒๔๕บาลีฉบับสยามรัฐฑีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ข้อ ๓๔๖ หน้า ๒๗๖บาลีฉบับสยามรัฐ

สวรรค์ชั้นที่ตาวติงสเทวภูมิ


 เทวภูมิอันดับที่ ๒ นี้เป็นแดนแห่งความสุข ซึ่งเป็นที่สถิตอยู่แห่งปวงเทพยดาชาวฟ้าผู้อุปบัติเทพมีเทพผู้เป็นอธิบดีมเหศักดิ์รวม ๓๓ องค์ อันมีท่านท้าวสักเทวาธิราชเป็นประธานาธิบดี เพราะฉะนั้นสรวงสวรรค์ชั้นนี้จึงมีนามว่าตาวติงสเทวภูมิภูมิเป็นที่อยู่แห่งทวยเทพอันมีเทพสามสิบองค์ทรงเป็นอธิบดี
 แดนสุขาวดีเมืองสวรรค์ชั้นฟ้าอันมีนามว่าตาวติงสเทวภูมิ หรือที่เรียกให้ฟังกันง่าย ๆในหมู่ชาวเราว่าสวรรค์ชั้นดาวดึงส์สวรรค์ชั้นนี้ ตั้งอยู่เหนือจอมเขาสิเนรุราชบรรพตปรากฏเป็นเทพนครใหญ่กว้างขวางนักหนาปรางค์ปราสาทล้วนแล้วไปด้วยแก้วอันเป็นทิพย์แวดล้อมรอบพระนครด้วยปราการกำแพงแก้วทิพย์อีกเช่นกันเพราะความมโหฬารกว้างใหญ่ของเทพนครแห่งนี้ จึงปรากฏว่ามีประตูกำแพงแก้วถึง ๑,๐๐๐ประตู และมีปราสาทยอดอันทรงรัศมีเลื่อมพรรณราย สวยสดงดงามอยู่เหนือประตูทุก ๆ ประตูเมื่อประตูเหล่านั้นเปิดออกแต่ละครั้ง ย่อมปรากฏมีเสียงดังไพเราะเป็นยิ่งนักก็ในท่ามกลางพระนครไตรตรึงษ์นั้นมีปราสาทพิมานอันมีชื่อเสียงปรากฏเลื่องลืออยู่วิมานหนึ่ง นั่นคือ "ไพชยนตปราสาทพิมาน" ก็ไพชยนตปราสาทพิมานนี้ มีรูปทรงสูงเยี่ยมเอี่ยมอ่องไปด้วยรัศมีสัตตรัตน์ เพราะประดับไปด้วยแก้ว ๗ ประการอันมีความงามสุดจะพรรณนา ด้วยว่าเป็นปราสาทพิมานอันเป็นที่ประทับอยู่แห่งองค์เทพผู้เป็นเทวาธิราช ซึ่งมีนามปรากฏเป็นที่ทราบกันอยู่โดยมากว่าสมเด็จพระอมรินทราธิราช พระองค์ผู้ทรงเป็นอธิบดีมีมเหศักดิ์สูงสุด ณสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นี้ได้เคยมีพระพุทธสาวกผู้ทรงฤทธิ์เข้าไปยังไพชยนตปราสาทพิมานนี้เหมือนกันดังเรื่องที่ปรากฏในจูฬตัณหาสังขยสูตรมีว่า
 คราวหนึ่ง สมเด็จพระอมรินทราธิราชได้เสด็จลงมาสดับพระธรรมเทศนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ มนุษย์โลกเรานี้พอสดับพระธรรมเทศนาจบลงแล้วก็ทรงสำแดงพระอาการชื่นชมยินดีในภาษิตขององค์พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วก็ทรงถวายอภิวาททำประทักษิณ รับอันตรธานเสด็จกลับไป ฝ่ายพระมหาโมคคัลลานเถรเจ้าองค์อัครสาวกเบื้องซ้ายผู้ทรงฤทธิ์ของสมเด็จพระพิชิตมารซึ่งนั่งอยู่ไม่ไกลและเห็นพระอาการของท่านท้าวสักกะจอมเทพที่รีบเสด็จกลับเช่นนั้นท่านจึงมีความดำริว่า
 "ท้าวสักกะจอมเทพนั้นทรงเข้าพระทัยเนื้อความพระธรรมเทศนาของสมเด็จพระบรมครู เจ้าแล้วจึงทรงสำแดงอาการชื่นชมยินดีหรือว่าทรงสำแดงอาการยินดีแต่สักว่าโดยไม่ทรงเข้าพระทัยความหมายในพระธรรมเทศนานั้นเลย"
 ครั้นดำริดังนี้แล้วสาวกขององค์พระประทีปแก้ว ก็เหาะขึ้นไปด้วยอริยฤทธิ์ เพื่อจักพิสูจน์ความจริงไปปรากฏในหมู่เทวดาชั้นดาวดึงส์ ปานประหนึ่งว่าบุรุษที่มีกำลังเหยียดแขนที่คู้ออกไปหรือคู้แขนที่เหยียดเข้ามา ชั่วเวลาเพียงนี้เท่านั้น ครั้งท่านไปถึงแล้วก็เข้าไปหาท่านท้าวสักกะจอมเทพ ในขณะนั้นท่านท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กำลังทรงอิ่มเอิบพรั่งพร้อมมีพระทัยเบิกบานอยู่ด้วยความสุขเพราะเสียงทิพยดนตรีอันเหล่าเทพนารีรับบรรเลงบำเรออยู่หลายร้อย ในสวนดอกปุณฑริกล้วนเมื่อท้าวเธอได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระมหาโมคคัลลานะผู้ซึ่งพระองค์ทรงเคารพเลื่อมใสมาแต่ไกลจึงทรงให้หยุดการบรรเลงทิพยดนตรีนั้นเสียแล้วเสด็จออกต้อนรับพระเถรเจ้าตรัสปราศรัยขึ้นว่า
 "ข้าแต่พระโมคคัลลานะผู้นฤทุกข์ ! นิมนต์มาเถิด พระผู้เป็นเจ้ามาก็ดีแล้ว นานแล้วที่พระผู้เป็นเจ้าปริยาย เพื่อจะมาณ ที่นี่ นิมนต์นั่งเถิดอาสนะนี้แต่งตั้งไว้เพื่อพระผู้เป็นเจ้า"
 ท่านพระมหาโมคคัลลานเถรเจ้านั่งบนอาสนะตามพระดำรัสแห่งท่านท้าวสักเทวราชแล้วจึงมีเถรวาทีไต่ถามว่า
 "ขอถวายพระบรมพิตรพระราชสมภารสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสถึงความน้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหาแก่มหาบพิตร เมื่อสักครู่นี้ความว่าอย่างไร ขอโอกาสเถิดตัวอาตมภาพใคร่จักขอมีส่วนเพื่อจะรู้ธรรมีกถาที่มหาบพิตรได้สดับมานั้นบ้างท่านยังจะพอกล่าวให้อาตมภาพทราบได้บ้างหรือไม่"
 ท่านท่าวสหัสนัยน์ผู้จำธรรมีกถามิใคร่จะได้ จึงทรงสารภาพตามตรงว่า
 "ข้าแต่ท่านโมคคัลลาน์ ! โยมนี้มีกิจมาก มีภารธุระที่จะต้องทำเป็นอันมากไหนจะธุระส่วนตัวของโยมไหนจะธุระของพวกเทพยดาในดาวดึงส์นี้ ธรรมีกถาที่ได้ฟังแล้วก็มักจะหลงลืมเสียเร็วพลัน ก็ภาษิตธรรมีกถานั้น พระผู้เป็นเจ้าก็ฟังดีแล้วเรียนดีแล้ว ทำไว้ในใจดีแล้ว ทรงไว้ดีแล้วจะกลับมาถามโยมผู้มีสติปัญญาน้อยไปทำไมกัน ข้าแต่ท่านโมคคัลลาน์เรามาปราศรัยสนทนาถึงเรื่องอื่นกันดีกว่าคือว่า
 เมื่อสงครามระหว่างเทวดากับอสูรได้ประชิดกันแล้วในสงครามคราวนั้นปรากฏว่า พวกเทวดาชนะ พวกอสูรแพ้ครั้งเทวดาสุรสงครามเสร็จสิ้นลงแล้วโยมนี้กลับจากสงครามแล้วได้จัดการสร้างไพชยนตปราสาท ก็ไพชยนตปราสาทนั้นมี ๑๐๐ ชั้น ในชั้นหนึ่ง ๆมีกูฎาคารคือเรือนยอด ๗๐๐ ในเรือนยอดแห่งหนึ่ง ๆ มีนางอัปสร ๗๐๐ นาง อัปสรผู้หนึ่งๆ มีเทพธิดาผู้บำเรอ ๗๐๐ ข้าแต่ท่านโมคคัลลาน์ท่านปรารถนาเพื่อจะชมสถานที่น่ารื่นรมย์ แห่งไพชยนตปราสาทของโยมหรือไม่เล่าโยมจักพาไป"
 ท่านพระมหาโมคคัลลานะองค์อรหันต์ก็รับด้วยดุษณีภาพลำดับนั้นท่านท้าวสักเทวาธิราชพร้อมกับท่านท้าวเสสุวัณมหาราชผู้เป็นอาคันตุะมาแต่สรวงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาซึ่งนั่งอยู่ในที่นั่นด้วย ได้นิมนต์พระมหาโมคคัลลานะออกหน้าแล้วพากันเข้ายังไพชยนตปราสาทพิมาน เหล่าเทพธิดาผู้บำเรอแห่งท่านท้าวสักกะเมื่อแลเห็นพระมหาโมคคัลลานะมาแต่ไกล ก็มีความเกรงกลัวระคนความละอายจึงพากันเข้าไปแอบอยู่ในห้องเล็กของตน ๆ ประดุจหญิงสะใภ้เห็นพ่อผัวเข้าก็เกรงกลัวละอายอยู่ฉะนั้น ขณะที่พาเที่ยวเดินชมไพชยนตปราสาทอยู่นั้นท่านท้าวสักเทวราช ก็ตรัสบอกอยู่ด้วยความกระหยิ่มในพระทัยมิขาดระยะว่า "ข้าแต่ท่านโมคคัลลาน์ผู้เป็นเจ้าขอท่านจงดูสถานที่รื่นรมย์แห่งไพชยนตปราสาทแม้นี้"ท่านพระมหาโมคคัลานะก็มีเถรวาทีรับสมอ้างว่า "ท่านท้าวโกสีย์ไพชยนตปราสาทของท่านเป็นสถานที่น่ารื่นรมย์ ย่อมงดงามเหมือนสถานที่ของผู้ที่ได้ทำบุญไว้แต่ปางก่อนแม้แต่ผู้ได้ชมทั้งหลาย เห็นสถานที่น่ารื่นรมย์ไหน ๆ เข้าแล้ว ก็กล่าวกันว่างามจริงดุจสถานที่ของพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์" เมื่อเที่ยวเดินชมไพชนตปราสาทจนทั่วโดยมีองค์สมเด็จพระอมรินทราธิราชเป็นผู้ชี้เชิญชมอธิบายความวิเศษแห่งปราสาทอยู่มิขาดปากด้วยความภาคภูมิใจเป็นนักหนา คราทีนั้น องค์อรหันต์ท่านพระมหาโมคคัลลานเถรเจ้าจึงมีความดำริว่า
 "ท่านท้าวสักกะผู้นี้ เป็นผู้มีความประมาทอยู่มากนักด้วยความรักใคร่พอใจในไพชยนตปราสาทอันเป็นสมบัติแห่งตน ถ้ากระไร ในบัดนี้เราควรจะให้ท่านท้าวสักกะบังเกิดความสังเวชบ้างเถิด"
 ครั้นดำริฉะนี้สาวกสมเด็จพระชินสีห์สัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงฤทธิ์ก็บันดาลอิทธาภิสังขาร
 เอาหัวแม่เท้ากดไพชยนตปราสาทเขย่าให้สะท้านหวั่นไหวในทันใดนั้นเป็นอัศจรรย์ ท่านท้าวสักกะจอมเทพเจ้าของปราสาทพิมานและท่านท้าวเวสสุวัณมหาราช พร้อมกับมวลเทพยดาชาวดาวดึงส์เมื่อเห็นไพชยนตปราสาทอันมั่นคงใหญ่โตบังเกิดความหวั่นไหวด้วยอำนาจฤทธิ์ของพระผู้เป็นเจ้าเช่นนั้นก็พลันเกิดความประหลาดมหัศจรรย์จิตกล่าวแก่กันว่า
 "นี่เป็นความประหลาดมหัศจรรย์ท่านพระมหาโมคคัลลานะผู้เป็นเจ้ามีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เพียงเอาหัวเท้ากดเท่านั้นปราสาททิพยพิมาน ก็สั่นสะท้านหวั่นไหวได้ โอ ไพชยนตปราสาท ตกอยู่ในความแปรปรวนไม่วิเศษเที่ยงแท้ยั่งยืนหนอ"
 ครั้นเห็นสมเด็จท้าวโกสีย์มีความสลดจิตขนลุก เกิดความสังเวชสมเจตนาแล้วองค์อรหันต์ผู้วิเศษก็เริ่มกล่าวธรรมีกถากับพระองค์อยู่ชั่วครู่แล้วก็ถวายพระพรอำลากลับมายังมนุษย์โลกเรานี้ตามเดิมเมื่อท่านพระมหาโมคคัลลานะกลับมาแล้วเหล่าเทพธิดาผู้เป็นบริวารของท่านท้าวสักกะในไพชยนตปราสาทนั้นได้ทูลถามพระองค์ขึ้นว่า
 "ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ! พระสมณะนั้น เป็นองค์พระโลกุตมาจารย์ผู้เป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระองค์ทรงเคารพบูชาใช่หรือไม่"
 "มิใช่"ท้าวสหัสนัยน์ตรัสตอบ "พระสมณะรูปนั้นมิใช่สมเด็จพระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระบรมศาสดาของเราแต่ท่านมีนามว่าพระมหาโมคัลลานะองค์อรหันต์สาวกของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นซึ่งเป็นที่เคารพเลื่อมใสเป็นอย่างมากแห่งเราเหมือนกัน"
 เทพธิดาเหล่านั้นจึงพากันกล่าวสรรเสริญว่า
 "ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ !เป็นลาภของพระองค์นักที่ได้เคารพบูชาพระสมณะผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างนี้และสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นจอมมุนี คงจักทรงมีฤทธิ์มากมีอานุภาพมากเป็นอัศจรรย์กว่านี้เป็นแน่"
 กล่าวสรรเสริญดังนี้แล้วก็มีใจผ่องแผ้วระลึกถึงคุณแห่งพระรัตนตรัยแล้วก็พากันไปเที่ยวเล่นสนุกในสวนสวรรค์พอควรแก่การแล้วก็กลับมาเสวยสุขอยู่ ณ ไพชยนตปราสาทนั้นอย่างแสนจะสำราญเป็นนักหนา

 

สวนสวรรค์


 เมื่อจะกล่าวถึงทิพยสมบัติอันปรากฏมี ณ แดนสวรรค์ชั้นไตรตรึงษ์นี้นอกจากไพชยนตปราสาทพิมานดังพรรณนามาแล้วก็ยังมีทิพยสมบัติอันประเสริฐอีกมากมายหลากหลายนักทั้งนี้ก็เพราะว่าสรวงสวรรค์ชั้นนี้เป็นที่สถิตอยู่แห่งเทพบุตรเทพธิดาผู้มีบุญญาธิการเป็นจำนวนมากทั้งท่านท้าวสักกะจอมเทพผู้เป็นประธานาธิบดีแห่งเหล่าเทพยดาทั้งหลายพระองค์ก็ทรงไว้ซึ่งบุญสิริมีบุญญานุภาพมากมายทรงมีกมลหฤทัยฝักใฝ่ในการอันเป็นบุญกุศลอยู่เนืองนิตย์ทรงขวนขวายในกิจอันเป็นอัตหิตประโยชน์และปรหิตประโยชน์อยู่เสมอในเมื่อเทพยเจ้าทั้งปวง ต่างก็มีบุญญาธิการเป็นอันมากเช่นนี้แดนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์จึงเจริญรุ่งเรืองมีชื่อเสียงเลื่องลือเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายทั้งในหมู่เทวดาและมนุษย์รู้กันว่าเป็นแดนที่อยู่อันแสนจะสนุกเป็นสุขสำราญเป็นสถานที่อันรื่นรมย์น่าชมน่าเที่ยวน่าทอดทัศนา ฉะนั้น จึงปรากฏว่าโยคีฤาษีสิทธิทั้งหลายผู้ได้ฌานอภิญญาก็ดีหรือแม้แต่พระอริยเจ้าในพระบวรพุทธศาสนาผู้ได้บรรลุอภิญญาประกอบด้วยอริยฤทธิ์ก็ดีย่อมถือโอกาสมาเที่ยวชมแดนสรวงสวรรค์ชั้นไตรตรึงษ์นี้อยู่เสมอ ๆบรรดาทิพยสมบัติอันมีปรากฏอยู่ในสรวงสวรรค์ชั้นนี้ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอยู่ทั่วไปก็คือ สวนสวรรค์อุทยานทิพย์ ในสวรรค์ชั้นนี้มีอุทยานทิพย์อยู่มากมาย เมื่อจะนับแต่อุทยานใหญ่ ๆ มีชื่อเสียง ก็มีอยู่ ๔อุทยานคือ
 ๑. นันทวันอุทยานทิพย์ ตั้งอยู่ในด้านทิศตะวันออกแห่งดาวดึงส์แดนสวรรค์
 ๒. จิตรลดาวันอุทยานทิพย์ตั้งอยู่ในด้านทิศตะวันตก แห่งดาวดึงส์แดนสวรรค์
 ๓. สักวันอุทยานทิพย์ตั้งอยู่ในด้านทิศเหนือ แห่งดาวดึงส์แดนสวรรค์
 ๓. ปารุสกวันอุทยานทิพย์ตั้งอยู่ในด้านทิศใต้แห่งดาวดึงส์แดนสวรรค์
 สวนขวัญอุทยานทิพย์เหล่านี้เป็นสถานที่น่ารื่นรมย์ สวยสดงดงามน่าสนุกสนานจะหาที่เปรียบปานในมนุษย์โลกเรานี้มิได้เลย เพราะเป็นอุทยานทิพย์ในสรวงสวรรค์เต็มไปด้วย สรรพรุกขชาตินานาพรรณ นอกจากนั้นก็มีสระโบกขรณีอันเป็นทิพย์มีน้ำใสดังแผ่นแก้วและดูรุ่งเรืองน่ารื่นรมย์และมีปาสาณศิลาคือก้อนหินศิลาล้วนแต่เป็นทิพย์มีรัศมีสวยรุ่งเรืองเลื่อมประภัสสรมีแท่นที่นั่งเล่นอันอ่อนนุ่มมีสีขาวสะอาดดุจดังใครมาแสร้งวาดไว้ให้พิจิตรสวยงามฝูงเทพบุตรเทพธิดาผู้มีความสุขทั้งหลาย ย่อมพากันมาเล่นสนุกเป็นที่สุขใจเริงสราญในสวนสวรรค์อุทยานทิพย์เหล่านี้เป็นเนืองนิตย์มิได้ขาดเลย

พระเกศจุฬามณีเจดีย์


 ณเบื้องสวรรค์เมืองฟ้าชั้นดาวดึงส์นี้ มีสถานที่สำคัญที่สุดอยู่แห่งหนึ่งสถานที่ที่ว่านี้ก็คือ "พระจุฬามณีเจดีย์" ก็อันว่าพระจุฬามณีเจดีย์เจ้านี้เป็นเจดีย์ที่ทรงสัณฐานใหญ่ทรงไว้ซึ่งความประเสริฐวิเศษเป็นมโหราฬิกและศักดิ์สิทธิ์ตั้งอยู่ในทิศอาคเนย์คือทิศตะวันออกเฉียงใต้ แห่งไตรตรึงษ์เทพนครองค์พระเจดีย์เจ้านั้นแลดูสวยสดงดงามมีรัศมีรุ่งเรืองนักหนาเพราะว่าสร้างด้วยแก้วอินทนิลอันเป็นทิพย์ตั้งแต่กลางถึงยอดพระเจดีย์เจ้านั้นทำด้วยสุวรรณทองคำเนื้อแท้บริสุทธิ์ผุดผ่องและประดับไปด้วยสัตตพิธรัตนะคือแก้ว ๗ ประการ ส่วนสูงทั้งหมดเมื่อกำหนดนับได้๘๐,๐๐๐ วา มีปราการกำแพงทองคำเนื้อแท้ล้อมรอบทุกด้านเป็นจตุรทิศ กำแพงแต่ละทิศนั้นมีความยาวนับได้ ๑๖๐,๐๐๐ วา มีธงประดับนานาชนิดมีสีสันแตกต่างกัน บ้างเหลืองบ้างแดง บ้างขาว บ้างเขียว แลดูงดงามสลับสลอนพรรณรายนักหนา ฝูงเทพยดาทั้งหลายบางพวกบางหมู่ถึงเครื่องดีดสีตีเป่าสังคีตสรรพดุริยางค์ต่าง ๆมาบรรเลงถวายบูชาพระเจดีย์เจ้านั้นทุกวันมิได้ขาด
 ด้วยว่าพระเกศจุฬามณีเจดีย์ อันสถิตประดิษฐานอยู่ ณเบื้องสรวงสวรรค์ชั้นไตรตรึงษ์ที่เรากำลังกล่าวถึงกันอยู่นี้เป็นที่บรรจุสิ่งสำคัญอันหาค่ามิได้ไว้ถึง ๒ อย่างด้วยกันคือ
 ๑.พระเกศโมลี แห่งองค์สมเด็จพระชินสีห์สัมมาสัมพุทธเจ้า โดยมีประวัติความเป็นมาว่ากาลเมื่อพระพุทธองค์เจ้า เสด็จออกสู่มหาภิเนษกรมณ์ คือออกบรรพชา ครั้งนั้นพระองค์ทรงตัดมวยพระโมลีแล้ว ทรงอธิษฐานว่า "ถ้าจะได้ตรัสรู้แก่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณแล้วขอให้มวยพระเกศโมลีจงลอยขึ้นไปบนนภากาศเถิด อย่าได้ตกลงมาสู่พื้นปฐพีเลย" คราทีนั้นสมเด็จพระอมรินทราราช จึงทรงนำผอบทองคำมารองรับพระเกศโมลีนั้นแล้วทรงนำขึ้นมาบนดาวดึงส์สวรรค์สร้างพระเจดีย์นี้สำหรับบรรจุพระโมลีนั้น
 ๒.พระบรมธาตุเขี้ยวแก้วเบื้องขวาแห่งองค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยมีประวัติความเป็นมาว่าเมื่อครั้งถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแห่งองค์สมเด็จพระสุคตเจ้าเสร็จเรียบร้อยแล้วขณะที่ท่านโทณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้แบ่งพระธาตุเปิดรางทองคำออกนั้นเหล่ากษัตริย์ทั้งหลาย บรรดาที่จะได้รับส่วนแบ่ง ได้พร้อมกันมาประทับยืนอยู่ใกล้
 ครั้นได้ทอดพระเนตรเห็นพระบรมธาตุอันมีสีเหมือนทองคำต่างองค์ต่างก็ร่ำไห้รำพันอาลัยรักในสมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าว่า
 "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคสัพพัญญูเจ้า ! เมื่อกาลก่อน ข้าพระบาททั้งหลายได้เคยยลพระสรีระแห่งพระองค์อันทรงไว้ซึ่งพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการมีพระฉัพพรรณรังสีรุ่งเรืองด้วยอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ แต่มากาลบัดนี้ควรฤามามีเพียงพระธาตุต่างพระพักตร์ไม่สมควรแก่พระองค์เลย"
 ฝ่ายโทณพราหณ์ผู้ทำหน้าที่ใหญ่ครั้นเห็นกษัตริย์เหล่านั้น พิลาพร่ำถึงพระบรมครูอยู่ดังนั้น ก็พลันฉุกคิดจึงแยกพระเขี้ยวไว้เสียต่างหากจากพระบรมสารีริกธาตุส่วนอื่นแล้วเก็บไว้ในผ้าโพกศรีษะแห่งตนแล้วสาละวนในการจัดแบ่งพระบรมธาตุออกเป็น ๘ ส่วน เพื่อถวายกษัตริย์เหล่านั้นต่อไปกล่าวฝ่ายสมเด็จพระอมรินทราธิราชจอมเทพผู้มีความเลื่อมใสในพระสัพพัญญูเจ้าอย่างลึกซึ้งได้เสด็จมาสังเกตการณ์อยู่ด้วยพระทัยประสงค์จะได้พระบรมธาตุเหมือนกันครั้นทรงเห็นพระเขี้ยวแก้วเบื้องขวาอันประเสริฐเช่นนั้น เจ้าสวรรค์ชั้นไตรตรึงษ์ก็อัญเชิญพระบรมธาตุจากผ้าโพกศีรษะของพราหมณ์เฒ่านั้นลงสู่ผอบทองคำทิพย์อีกทอดหนึ่ง ด้วยกิริยาอันเลื่อมใสยิ่งแล้วรีบเสด็จเอามาประดิษฐานบรรจุไว้ ณพระเกศจุฬามณีเจดีย์นี้
 เมื่อพระเกศจุฬามณีเจดีย์บรรจุซึ่งสิ่งสำคัญอันหาค่ามิได้ไว้ถึง ๒ อย่างดังนี้ ฉะนั้นจึงปรากฏว่าเหล่าเทพยดาทั้งหลายต่างก็มีความเลื่อมใสเคารพบูชาในองค์พระมหาเจดีย์เจ้านี้เป็นยิ่งนักสำหรับองค์ท้าวสักกะจอมเทพนั้นแทบจะมิต้องกล่าวถึงก็ได้ว่าพระองค์ทรงมีประปสาทเลื่อมใสเพียงใด ทุกวารวันพระองค์พร้อมด้วยเทพบริวารทั้งหลายมีพระหัตถ์ถือดอกไม้ธูปเทียนของทิพย์สุคนธชาติไปถวายบูชาพระเจดีย์เจ้าแล้วทรงกระทำประทักษิณเวียนรอบเสมอเป็นนิตยกาลนอกจากนั้นแล้วเทพเจ้าทั้งหลายผู้สถิตอยู่ในสรวงสวรรค์ชั้นอื่น ๆเช่นท่านท้าวจาตุมหาราชแห่งสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาภูมิและเหล่าเทพยดาในสวรรค์ชั้นสูงคือชั้นยามาชั้นดุสิตสวรรค์ เช่นพระศรีอารยเมตไตรยบรมโพธิสัตว์เป็นต้นต่างก็พากันมานมัสการบูชาพระเจดีย์เจ้านี้เสมอมิได้ขาด

ปาริชาติ


 นอกเหนือไตรตรึงษ์เทพนครออกไปทางทิศอีสานคือ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีอุทยานทิพย์อยู่แห่งหนึ่งซึ่งมีนามปรากฏว่า "ชื่อว่า "ปาริชากัลปพฤกษ์" และใต้ต้นไม้ทิพย์นั้นมีแท่นศิลาแก้วอันหนึ่ง ซึ่งปรากฏปุณฑริกวัน"เป็นสวนขวัญอุทยานทิพย์มีบริเวณกว้างใหญ่ยิ่งนัก มีกำแพงล้อมรอบทั้ง ๔ ด้านกลางสวนนั้นมีไม้ทองหลางใหญ่อันเป็นทิพย์อยู่ต้นหนึ่งซึ่งเป็นต้นไม้ทิพย์อันปรากฏมีชื่อเสียงเลื่องลือโดยนามว่า "บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์"เป็นแท่นทิพย์มีสีแดงดังดอกชบาและมีลักษณะอ่อนนุ่มดังผ้าฟูกหรือหงอนแห่งพญาราชหงส์ทองเมื่อสมเด็จพระอมรินทราธิราชประทับนั่งพักผ่อนพระอิริยาบถอยู่เหนือแท่นศิลานี้แล้วแท่นศิลาอันเป็นทิพย์ประเสริฐนี้ ก็จะมีลักษณะการอ่อนยุบลงไปและเมื่อพระองค์เสด็จลุกขั้น แท่นศิลานี้ก็จะฟูขึ้นเต็มตามเดิมเป็นแท่นศิลาที่แปลกประหลาดมหัศจรรย์เพราะยุบลงได้และฟูขึ้นได้เองโดยธรรมชาติอย่างนี้ตลอดกาล
 ส่วนไม้ปาริชาตินั้นต่อกาลนับได้ ๑๐๐ ปี จึงมีดอกบานครั้งหนึ่ง และเมื่อถึงคราวดอกไม้สวรรค์นี้จะบานฝูงเทพบุตรเทพธิดาทั้งหลาย ต่างก็พากันรื่นเริงยินดีเป็นนักหนาย่อมผลัดเปลี่ยนเวรเวียนกันอยู่เฝ้า จนกว่าดอกไม้นั้นจะบานครั้งดอกไม้สวรรค์นั้นบานแล้วย่อมปรากฏมีแสงอันรุ่งเรืองงดงามนักหนารัศมีแห่งดอกปาริชาตนั้น ย่อมเรือง ๆไปไกลได้หลายหมื่น เมื่อลมรำเพยพัดพาไปทางทิศใด ย่อมส่งกลิ่นหอมฟุ้งไปทางทิศนั้นเป็นระยะไกลสุดไกล เพราะมิใช่ดอกไม้ดอกเดียว โดยที่แท้เป็นดอกไม้หลายหลากนักหนาบานสะพรั่งตลอดหมดทั้งต้นทุกกิ่งทุกก้าน ฝูงเทพยดาทั้งหลายเมื่อต้องการดอกไม้นั้นก็มิพักต้องขึ้นไปสอยไปเก็บให้เหนื่อยยาก หากแต่เพียงแต่เข้าไปใต้ต้นดอกปาริชาตนั้น ก็จะหล่นตกลงมาถึงมือเอง ประดุจดังจะรู้จิตใจของเขาถ้าเขายังทันได้รับก่อนแล้วไซร้ดอกไม้สวรรค์ก็หาพลันตกลงถึงพื้นไม่เพราะมีลมชนิดหนึ่ง พัดชูดอกไม้นั้นเข้าไว้บนอากาศมิให้ตกถึงพื้นจนกว่าเทพยดาผู้ต้องประสงค์นั้น จะรับเอา เพื่อความเข้าใจดีในเรื่องนี้พึงทราบจากพระพุทธฎีกา อันมีปรากฏในปาริฉัตตกสูตรดังต่อไปนี้ว่า
 ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย ! สมัยใดปาริชาตกัลปพฤกษ์แห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์มีใบเหลือง สมัยนั้นเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ต่างพากันดีใจว่า "เวลานี้ต้นปาริชาตกัลปพฤกษ์มีใบเหลืองแล้วอีกไม่นานเท่าไร ก็จักผลัดใบใหม่"
 สมัยใดปาริชาตกัลปพฤกษ์แห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์ผลัดใบใหม่สมัยนั้นเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ต่างก็พากันดีใจว่า "เวลานี้ต้นปาริชาตกัลปพฤกษ์กำลังผลัดใบใหม่แล้ว อีกไม่นานเท่าไรก็จักผลิดอกออกใบ"
 สมัยใดปาริชาตกัลปพฤกษ์ของเทวดาชั้นดาวดึงส์ผลิดอกออกใบแล้ว สมัยนั้นเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ต่างก็พากันดีใจว่า "เวลานี้ ต้นปาริชาตผลิดอกออกใบแล้วอีกไม่นานเท่าไรก็จักเป็นดอกเป็นใบ"
 สมัยใดปาริชาตกัลปพฤกษ์ของพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์เป็นดอกเป็นใบแล้วสมัยนั้น เหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ก็พากันดีใจว่า "เวลานี้ปาริชาตกัลปพฤกษ์เป็นดอกเป็นใบแล้ว อีกไม่นานเท่าไรก็จักเป็นดอกตูม"
 สมัยใดปาริชาตกัลปพฤกษ์ของเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์เป็นดอกตูมแล้ว สมัยนั้นเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ ต่างก็พากันดีใจว่า "เวลานี้ปาริชาตกัลปพฤกษ์ออกดอกตูมแล้วอีกไม่นานเท่าไร ก็จักเริ่มแย้ม"
 สมัยใดปาริชาตกัลปพฤกษ์ของเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์เริ่มแย้มแล้ว สมัยนั้นเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ ต่างก็พากันดีใจว่า "ปาริชาตกัลปพฤกษ์เริ่มแย้มแล้วอีกไม่นานเท่าไร ก็จักบานเต็มที่"
 สมัยใดปาริชาตกัลปพฤกษ์ของเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์บานเต็มที่แล้ว สมัยนั้นเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ ต่างพากันดีใจเป็นนักหนาเอิบอิ่มพรั่งพร้อมไปด้วยกามคุณทั้ง ๕ บำรุงบำเรออยู่ตลอดระยะเวลา ๔ เดือนทิพย์ ณควงไม้ปาริชาตกัลปพฤกษ์ ก็เมื่อดอกปาริชาตกัลปพฤกษ์บานที่นั้น จะแผ่รัศมีไปได้ ๕๐โยชน์ในบริเวณรอบ ๆ จะส่งกลิ่นไปตามลมได้ ๑๐๐ โยชน์ อานุภาพแห่งปาริชาตกัลปพฤกษ์มีดังนี้

สุธรรมาเทวสภา


 ณที่ไม่ไกลจากปาริชาตต้นไม้สวรรค์เท่าใดนัก มีศาลาใหญ่หลังหนึ่ง ซึ่งปรากฏนามว่า "สุธรรมาเทวสภา" เป็นศาลาทิพย์อันงามตระหว่านประเสริฐนักมีปริมณฑลกว้างขวางใหญ่โตพื้นศาลานั้นแล้วไปด้วยแก้วผลึก ประดับไปด้วยสัตตพิธรัตนะแก้ว ๗ ประการคือสุวรรณปราการกำแพงทองล้อมรอบ และ ณ ที่ใกล้กำแพงนั้นมีดอกไม้สวรรค์วิเศษอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งปรากฏนามว่า "อสาพติ" ดอกไม้ชนิดนี้กว่าจะบานก็เป็นเวลานานนัก ครบถ้วนเวลา ๑,๐๐๐ ปี จึงจะบานสักครั้งหนึ่งเมื่อถึงเวลาดอกไม้นี้บานแล้วย่อมจะส่งกลิ่นอบอวล หอมหวนนักหนา ฝูงเทพยดาทั้งหลายเขาย่อมเปลี่ยนเวรกันอยู่เฝ้า ด้วยว่าเทวดาทั้งปวงนั้นเขามีจิตผูกพันรักดอกไม้เป็นยิ่งนัก
 ภายในศาลาสุธรรมาซึ่งเป็นที่ประชุมฟังธรรมของเหล่าเทพยดาผู้สัมมาทิฐิทั้งหลายนั้นมีธรรมาสน์แก้วสวยงามวิจิตรงดงามตระการตานัก มีความกว้างใหญ่หลายวาเป็นธรรมาสน์ประจำตั้งอยู่ที่ศาลานั้น นอกจากนี้ ก็มีเทวราชอาสน์อันเป็นทิพย์ซึ่งเป็นที่ประทับนั่งสดับธรรมของสมเด็จพระอมรินทร์จอมเทพต่อจากนั้นก็มีเทวอาสน์ที่นั่งของเทพเจ้าผู้เป็นพระสหายของพระองค์ต่อจากนั้นก็เป็นอาสนะที่นั่งแห่งปวงเทพเจ้าทั้งหลาย ลดหลั่นกันลงไปตามฐานานุศักดิ์เมื่อจักพรรณนาถึงความรื่นรมย์แล้ว ภายในสุธรรมาเทวสภานี้ย่อมมีความรื่นรมย์หาที่ใดจักเปรียบปานมิได้อบอวลหอมหวนไปด้วยกลิ่นดอกไม้สวรรค์นานาชนิดอยู่ตลอดกาล ได้ทราบว่า สถานที่นี่เป็นที่น่ารื่นรมย์ชวนชมกว่าแห่งอื่นในสรวงสวรรค์ชั้นไตรตรึงษ์ผู้ที่มีฤทธิ์วิเศษมีโอกาสไปถึงและได้เห็นมาแล้วเมื่อมาพบเห็นที่ใดที่หนึ่งอันน่ารื่นรมย์ในมนุษย์โลกเรานี้มักจะอุทานวาทีเปรียบเปรยว่า "รื่นรมย์เหมือนสุธรรมาเทวสภา"ด้วยประการฉะนี้

ทางไปดาวดึงส์สวรรค์


 เมื่อได้ทราบถึงสภาพความเป็นอยู่แห่งทวยเทพเหล่าชาวสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ดังกล่าวมาแล้ว ต่อไปนี้เราก็ควรจะทราบถึงกรณีสำคัญ คือปัญหาที่ว่า "การที่จะได้มีโอกาสไปอุบัติเกิดเป็นเทพยดา เสวยทิพย์สมบัติเป็นสุขอยู่ ณแดนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น จักต้องทำประการใดบ้าง"
 "สร้างเสบียง"นี่คือคำตอบสั้น ๆ ง่าย ๆ โดยมีอรรถาธิบายว่า "ต้องสร้างเสบียง กล่าวคือบุญกุศลต้องพยายามทำตนให้เป็นคนดีมีศีลธรรม ห้ามตนไม่ให้ทำกรรมหยาบช้าลามกความสกปรกแห่งกายวาจาใจอย่าให้บังเกิดมีจงอุตสาหะก้มหน้ากระทำแต่กัลยาณกรรมความดี

 

ทานสูตร


 ดูกรสารีบุตร !ในการให้ทานนั้น บุคคลไม่มีความหวังให้ทานไม่มีจิตผูกพันในผลแห่ง
 ทานแล้วให้ทาน ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทานไม่ได้ให้ทานด้วยความคิดว่า
 "ตายไปแล้วเราจักได้เสวยผลทานนี้"
 แต่ให้ทานด้วยความคิดว่า
 "การให้ทานเป็นการกระทำที่ดี"
 เขาผู้นั้น ให้ทานด้วยอาการอย่างนี้แล้วเมื่อทำกาลกิริยาตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเหล่าเทวดาทั้งหลายในชั้นดาวดึงส์สวรรค์

ปุญญกิริยาวัตถุสูตร


 ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในโลกนี้ กระทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่งกระทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่งไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนา เมื่อถึงแก่กาลกิริยาตายไปแล้วเขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์
 ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย ! ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ในชั้นนั้นได้ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรกทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรกย่อมก้าวล่วงเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาโดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ
 ๑.อายุทิพย์
 ๒. วรรณทิพย์
 ๓. สุขทิพย์
 ๔.ยศทิพย์
 ๕. อธิปไตยทิพย์
 ๖. รูปทิพย์
 ๗.เสียงทิพย์
 ๘. กลิ่นทิพย์
 ๙. รสทิพย์
 ๑๐.โผฏฐัพพทิพย์

สังคีติสูตร


 เหตุที่ยกนำให้ไปอุบัติเกิดณ จาตุมหาราชิกาสวรรค์ นอกจากที่พรรณนามาแล้วยังมีข้อความอีกประการหนึ่งอันมีปรากฏในสังคีติสูตรซึ่งเป็นข้อความที่พวกเราชาวพุทธบริษัทผู้มีโอกาสดีได้เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนาในชาตินี้ควรจักรับทราบไว้โดยตระหนักดังต่อไปนี้
 บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมถวายข้าว น้ำ ผ้าผ่อน ยวดยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พักและสิ่งที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีป เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตนถวายไปและเขาได้ยินมาว่า "พวกเทพเจ้าเหล่าจาตุมหาราชิกามีอายุยืน มีวรรณะงาม มากไปด้วยความสุข" ดังนี้แล้วเขาจึงรำพึงอย่างนี้ว่า

โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตกเราพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทพเจ้าเหล่าจาตุมหาราชิกา


 เขาตั้งจิตนั้นไว้อธิษฐานจิตนั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่ต่ำมิได้รับอบรมเพื่อคุณเบื้องสูงย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ก็ข้อนี้แล เรากล่าวสำหรับบุคคลผู้มีศีลไม่ใช่สำหรับบุคคลผู้มีทุศีลผู้มีอายุทั้งหลายความตั้งใจของบุคคลผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์
 แลเห็นและเป็นที่เข้าใจกันดีแล้วการที่จักได้มีโอกาสไปอุบัติเกิดเป็นเทพยดา ณ แดนสุขาวดีดาวดึงส์สวรรค์นี้จักต้องมีปฏิปทาเดินไปตามวิถีทางใด ในโอกาสนี้ ใคร่จักเสนอชีวประวัติแห่งมนุษย์ผู้ตายไปผุดเกิดในดาวดึงส์สวรรค์ให้ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลายได้ฟังไว้เพื่อเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้

จูฬรถเทพบุตร


 ดังได้สดับมา
 ครั้งศาสนาแห่งองค์สมเด็จพระมิ่งมงกุฎกัสสปะสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นมีพระภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง เป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในคลองแห่งศีล เห็นภัยในวัฏสงสารสู้อุตสาหะก้มหน้าบำเพ็ญสมณธรรมตามกำลังศรัทธา แต่เป็นที่น่าสงสารเพราะท่านยังมิได้มีโอกาสได้บรรลุพระอริยมรรคอริยผล ยังเป็นปุถุชนอยู่ได้ถึงแก่มรณะตายไปตามธรรมดาแห่งสังขาร ด้วยอำนาจแห่งการรักษาศีลบริสุทธิ์จึงไปผุดเกิดเป็นเทพบุตรสุดโสภา ณ แดนสุขาวดีดาวดึงส์สวรรค์ได้รับความสุขหรรษาตามเทพวิสัยเป็นอันมากเสวยทิพย์สมบัติเป็นสุขอยู่จนตราบเท่าสิ้นอายุจึงจุติขึ้นไปอุบัติเกิดในเทวโลกชั้นสูงอื่น ๆ อีก แต่เทพบุตรนั้น ท่องเที่ยวไป ๆมา ๆ ในสุคติภูมิเทวโลกสวรรค์เป็นเวลาช้านานครั้งถึงกาลที่สมเด็จพระมิ่งมงกุฎสมณโคดมบรมครูเจ้าแห่งเราทั้งหลายได้ตรัสแก่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณประกาศพระบวรพุทธศาสนายังประชาสัตว์ให้ได้ดื่มอมตธรรมเป็นอัน มากแล้วเทพบุตรผู้นี้จึงจุติมาปฏิสนธิในพระครรภ์แห่งพระอัครมเหสีของสมเด็จพระอัสสกะราชาธิบดี ในกโปตกะนคร ครั้นประสูติจากพระครรภ์แห่งพระมารดาแล้วพระญาติทั้งหลายได้ถวายพระนามว่าเจ้าชายสุชาตราชกุมาร
 เมื่อเจ้าชายสุชาตราชกุมาร จำเริญวัยวัฒนาการแล้วปรากฏว่าเป็นผู้มีบริวารมาก เป็นที่รักแห่งพระชนกพระชนนี แล้วต่อมาก็เกิดมีอันเป็นด้วยเหตุว่าสมเด็จพระชนนีถึงแก่ทิวงคตลง สมเด็จพระราชบิดาจึงทรงตั้งนางราชกัญญาผู้หนึ่ง ซึ่งมีรูปทรงโสภาไว้ในตำแหน่งพระอัครมเหสีต่อกาลไม่นานนัก พระอัครมเหสีใหม่นั้นก็ประสูติพระราชกุมารองค์หนึ่งสมเด็จพระบรมกษัตริย์ แต่พอได้ทอดพระเนตรเห็นพระราชกุมารซึ่งประสูติใหม่ก็ทรงมีพระราชหฤทัยชื่นชมยินดีเป็นยิ่งนักจึงพระราชทานพระพรแก่พระอัครมเหสีว่า
 "ดูกรเจ้าผู้จำเริญ ! เจ้าจะปรารถนาสิ่งใด ก็จงขอสิ่งนั้นแก่เราเถิดเรายินดีจักให้เจ้าทุกสิ่งทุกประการ"
 พระอัครมเหสีสาวรับเอาซึ่งพระพรแล้วก็กราบบังคมทูลพระกรุณาว่า
 "ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ !พรที่พระองค์ทรงพระกรุณาพระราชทานแก่ข้าพระบาทนั้น ข้าพระบาทปรารถนาเมื่อใดจักขอรับพระราชทานเอาเมื่อนั้น"
 จำเนียรกาลนานมาเมื่อเจ้าชายสุชาตราชกุมาร มีพระชันษาได้ ๑๖ ปี กำลังรุ่นดรุณวัย พระอัครมเหสีใหม่จึงกราบทูลสมเด็จพระราชาธิบดีว่า
 "ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นนฤบดี !บัดนี้ข้าพระบาทจักขอรับเอาพระพรที่พระองค์ทรงกรุณาพระราชทานให้ในวันนั้น"
 "เจ้าต้องการอะไรบอกมาเถิด เราจักให้"สมเด็จพระนฤบดีตรัสถามขึ้น
 "ขอพระองค์จงทรงยกราชสมบัติให้แก่โอรสของข้าพระบาทเถิด"นางกราบทูล
 "เอาอะไรมาพูด นางคนร้าย" พระราชาตรัสด้วยพระสุรเสียงอันดังด้วยความไม่พอพระทัย "ในเมื่อเจ้าชายสุชาตกุมารอันเป็นโอรสองค์ใหญ่ของเราซึ่งทรงคุณวิเศษประดุจเทพกุมาร ยังปรากฏอยู่ เหตุไฉนเจ้าจึงมาว่าดังนี้"ตรัสด้วยพระอารมณ์ไม่ดีเช่นนี้แล้ว ก็เสด็จหลีกไป
 กาลต่อมาพระมเหสีสาวนั้น ก็กราบทูลขออยู่อย่างนั้นเนือง ๆโดยมารู้แจ้งชัดว่าพระมหากษัตริย์แก่ชราทรงมีความรักใคร่หลงใหลในตนเป็นนักหนาจึงวอนว่าโดยที่มิใคร่จะเกรงพระทัยนักถึงกระนั้น ก็ยังไม่ได้ง่าย ๆ สมดังเจตนา อยู่มาวันหนึ่ง พระอัครมเหสีสาวโสภานั้นจึงกราบทูลขึ้นอีกว่า
 "ข้าแต่พระองค์ !ถึงแม้ว่าพระสุชาตกุมารยังดำรงอยู่ก็จะเป็นไรไป ขอพระองค์จงทรงพระกรุณายกราชสมบัติให้แก่โอรสของข้าพระบาทเถิด พระเจ้าข้าเพราะพระองค์ได้พระราชทานพรให้แก่ข้าพระบาทแล้ว"
 สมเด็จพระนฤบดีอัสสกราชได้ทรงสดับเช่นนั้นก็ให้ทรงอัดอั้นเดือดร้อน กินแหนงในพระทัยว่า
 "อาตมานี้เป็นคนใจเร็วมิทันได้พิจารณาให้ดี มาพลั้งปากให้พรแก่นางคนนี้ครั้งจะคืนคำก็ให้ละอายแก่ใจนัก"
 ทรงอึกอักอัดอั้นตันพระทัยอยู่ในที่สุดก็ทรงมีพระราชดำรัสสั่งให้พระสุชาตกุมารโอรสรักเข้ามาเฝ้าในที่รโหฐานแต่ลำพังแล้วตรัสเล่าเหตุทั้งปวงนั้นให้ฟังทั้งหมดแล้ว พระองค์ก็ทรงพระกันแสงน้ำพระเนตรไหลออกจากพระนัยนาซ้ายขวา ฝ่ายว่าสมเด็จพระราชุมารเมื่อเห็นองค์ปิตุเรศทรงโศกสลดโทมนัส ก็มิอาจที่จะกลั้นน้ำพระเนตรไว้ได้ก็ทรงพระกันแสงพลางทูลว่า
 "ขอพระบิดา จงทรงอนุญาตให้ลูกนี้ไปในที่อื่นเถิด"
 "บิดานี้จะสร้างเมืองใหม่ให้แก่เจ้า"สมเด็จพระราชาธิบดีตรัสพร้อมกับทรงจ้องมองพระโอรสรักด้วยน้ำพระเนตรคลอหน่วย
 "ลูกมิปรารถนาจะรบกวนพระบิดาถึงเพียงนั้นขอแต่ทรงอนุญาตให้ลูกไปตามยถากรรมก็แล้วกัน พระเจ้าข้า"ราชบุตรทูลปฏิเสธ
 "ถ้าเช่นนั้นบิดาจะให้เจ้าไปอยู่ในสำนักท้าวพระยาทั้งหลาย อันเป็นสหายแห่งบิดาก็ได้ จะเอาไหมลูกรัก"
 "อันที่อื่นทั้งปวงนั้น ลูกมิพึงปรารถนา ลูกนี้จักขอเจ้าไปอยู่ในอรัญราวป่าและจะขออำลาพระบิดาไปแต่บัดนี้"
 สมเด็จพระนฤบดีได้ทรงสดับถ้วยคำปฏิเสธอย่างเด็ดเดี่ยวเช่นนั้น ก็ยิ่งทรงมีกมลสงสารทรงสวมกอดเอาพระราชโอรสจุมพิตกระหม่อมแล้วจึงมีพระราชดำรัสสั่งด้วยพระสุรเสียงอันสะอื้นว่า "ถ้าบิดาหาชีวิตไม่แล้วเจ้าจงกลับมาเอาสมบัติของบิดาในพระนครนี้เถิด"ทรงสั่งเสียพระราชโอรสรักดังนี้แล้วก็ส่งไป
 ฝ่ายเจ้าชายสุชาตราชกุมารพอเสด็จออกจากพระบรมมหาราชวัง อันเคยอยู่เป็นสุขทุกทุกคืนวันก็บายพระพักตร์เข้าไปสู่อรัญป่าใหญ่อาศัยอยู่กับพรานไพรผู้หนึ่งเที่ยวฝึกหัดยิงเนื้อในกลางป่าตั้งพระทัยว่าจักยึดอาชีวะเป็นพรานพอเลี้ยงอาตมาพยายามลืมเสียซึ่งความหลงอันแสนจะชอกช้ำระกำทรวง
 กาลล่วงมาวันหนึ่งพระราชกุมารผู้ตกยาก ตื่นขึ้นมาแต่เช้าตรู่ก็ถือเอาซึ่งธนูคู่มือออกมาจากทับที่อาศัย เพื่อแสวงหามฤคชาติทั้งหลาย ครั้งนั้นยังมีเทพเจ้าองค์หนึ่ง ซึ่งแต่ก่อนเคยเป็นสหายกันกับพระราชกุมารได้เฝ้าติดตามอภิบาลรักษาพระราชกุมารด้วยความรักเสมอมาเมื่อเห็นเธอจะประพฤติมิจฉาอาชีวะกระทำบาปกรรมด้วยประสงค์จะเลี้ยงชีพด้วยปาณาติบาตอันมีโทษถึงตกนรกเช่นนั้นก็ให้หวั่นเกรงกลัวภัยในอบายแทนสหายรักเป็นยิ่งนักใคร่จักให้ได้สติรู้จักผิดชอบชั่วดี จึงเนรมิตตนเป็นมฤคีแล้วก็แล่นมาล่อลวงให้พระราชกุมารนั้นเห็น พรานหน้าใหม่ราชกุมารครั้นเห็นมิคชาติก็แล่นไล่ติดตามไป ฝ่ายมิคชาติเนื้อเนรมิตนั้นก็แกล้งแล่นหนีไปในประเทศราวป่า จนถึงกุฎีที่อยู่แห่งพระมหาเถระองค์หนึ่งซึ่งมีนามว่า "พระมหากัจจายนเถรเจ้า"แล้วก็อันตรธานหายไป
 กล่าวฝ่ายพระราชกุมารตั้งแต่ติดตามมิคชาติมาแสนจะเหน็ดเหนื่อยนักหนาแต่คิดมานะว่าจะจับเอาเนื้อนั้นให้จงได้จึงอุตสาหะแล่นไล่มาจนถึงที่อยู่แห่งพระมหาเถรเจ้า ไม่เห็นเนื้อจึงเที่ยวพิจารณาดูและแล้วก็เหลือบไปเห็นพระมหาเถรเจ้านั่งอยู่นอกกุฎีป่าบรรณศาลาคิดดีใจจะเข้าไปถามว่าเห็นเนื้อวิ่งผ่านมาหรือไม่จึงเอาลูกธนูสอดไว้ในแล่งแล้วเข้าไปหาพระเถระใกล้ ๆฝ่ายพระเถรเจ้าของกุฎีป่าบรรณศาลาคิดดีใจจะเข้าไปถามว่าเห็นเนื้อวิ่งผ่านมาหรือไม่จึงเอาลูกธนูสอดไว้ในแล่งแล้วเข้าไปหาพระเถระใกล้ๆ ฝ่ายพระเถรเจ้าของกุฎีป่าเมื่อพิจารณาดูก็รู้ว่าชายผู้มาหานี้มีอาชีวะเป็นพรานไพรเพราะเครื่องแต่งกายบ่งบอกว่า เป็นผู้เที่ยวแสวงหามฤดี แต่ก็ทำเป็นมิรู้ไม่ชี้ทักถามขึ้นด้วยอัธยาศัยดีว่า
 "ตัวท่านนี้เป็นคนหนุ่มรุ่นดรุณวัยคงจะเป็นบุตรแห่งพรานไพร หรือว่าเป็นลูกท้าวลูกพระยาหรือว่าเป็นพระราชามหากษัตริย์มาประพาสป่า เพราะมีกิริยาเป็นพรานไพรมีมือถือธนูหน้าไม้ ท่องเที่ยวสันโดษเดี่ยวมา ณที่นี้"
 เจ้าชายสุชาตราชกุมารผู้ตกยากเมื่อจะบอกให้แจ้งซึ่งนามและวงศ์แห่งตนจึงกล่าวขึ้นว่า "ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า !ข้าพเจ้านี้เป็นพระโอรสแห่งพระราชอัสสกะแห่งกโปตกะนครข้าพเจ้าเที่ยวสัญจรมาในอรัญป่าไม้ เพื่อจะแสวงหามิคชาติและสุกรทั้งหลายข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าผู้ชื่อว่าสุชาตกุมาร แล่นไล่เนื้อมาในอรัญในบัดนี้และ ณ ที่นี่ แล้วไม่เห็นเนื้อที่อุตสาหะติดตามมานานนั้นกลับเห็นแต่พระผู้เป็นเจ้านั่งอยู่"
 สาวกแห่งองค์สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าจึงกล่าวมธุรสวาจาปราศรัยว่า
 "ดูกรพระราชกุมารผู้มีบุญเป็นอันมาก !สภาวะที่พระองค์มาแต่ไกลก็เหมือนว่ามาแต่ที่ใกล้ เชิญบพิตรเสด็จมาข้างนี้ขอเชิญบพิตรเสด็จมาข้างนี้ จงล้างพระบาททั้ง ๒ ให้สิ้นละอองธุลีน้ำนี้เย็นใสสะอาดจืดสนิท ตักมาแต่ลำธารซอกเขาข้างโน้น ขอบพิตรจงเสวยให้สำราญแล้วอย่านั่งที่แผ่นดินไม่ดีจงทรงมานั่งเหนือภูมิภาคอันงามเรียบสะอาดที่อาตมภาพจัดไว้นั้นเถิด"
 พระราชกุมารเมื่อได้รักการปราศรัยต้อนรับด้วยอัธยาศัยอันดีงามเช่นนั้นจึงยอกรขึ้นนมัสการแล้วกล่าวว่า
 "ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ !วาจาแห่งพระผู้เป็นเจ้านี้ไพเราะนัก เป็นวาจาควรที่จะยินดีฟังเป็นวาจาที่ปราศจากโทษ เป็นวาจาประกอบไปด้วยประโยชน์ เป็นวาจานักปราชญ์อันประเสริฐจักให้บังเกิดความสุขในทิฐธรรม จักนำมาซึ่งประโยชน์เกื้อกูลเป็นแน่แท้ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้านี้คิดว่า ถ้าหากได้อาศัยพระผู้เป็นเจ้าแล้วข้าพเจ้าก็อาจจักได้รู้ซึ่งส่วนแห่งพระธรรม อันจะนำมาซึ่งประโยชน์แก่ตนเองทั้งในโลกนี้และปรโลกภายภาคหน้าเป็นแน่แท้"
 พระมหากัจจายนเถรเจ้าเมื่อจักสำแดงวัตรปฏิบัติอันสมควรแก่พระราชกุมาร เพื่อให้รู้จักชั่วรู้จักดีจึงมีเถรวาทีว่า
 "ขอถวายพระพรพระราชกุมาร !อัธยาศัยแห่งอาตมาภาพนั้นมีอยู่ว่าบุคคลใดทำปาณาติบาตเบียดเบียนสัตว์บุคคลผู้นั้นย่อมไม่เป็นที่ชอบใจแห่งอาตมภาพเพราะว่าบุคคลใดเป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ตั้งอยู่ในศีลมีอัธยาอันเป็นฝ่ายตรงข้ามกับผู้ทำปาณาติบาตนั้น เป็นผู้ที่อาตมภาพชอบใจและนักปราชญ์ทั้งหลายมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นต้นย่อมสรรเสริญบุคคลเช่นนั้น ขอถวายพระพร ความตายแห่งท่านใกล้เข้ามาแล้ว ยังอีกไม่ถึง๕ เดือน ตัวท่านก็จะถึงแก่ความตายแล้วขอท่านจงเร่งแก้ไขเอาตัวรอดให้พ้นจากทุกข์ในอบายภูมิเถิด"
 "อะไร ! พระผู้เป็นเจ้ากล่าวว่าอะไรข้าพเจ้าไม่เข้าใจเลย ที่ว่าตาย ๆ นั้นใครกันที่จะตาย"
 "ท่านนั่นแหละจะตาย" องค์อรหันต์ผู้อยู่ป่าสาวกแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวขึ้นแล้วพระผู้เป็นเจ้าผู้บรรลุอภิญญารู้เหตุการณ์ข้างหน้าได้ก็บอกแก่พระราชกุมารด้วยความกรุณาอีกต่อไปว่า "ขอถวายพระพร ! อาตมภาพพิจารณาดูด้วยญาณในอนาคต ก็เห็นว่า อายุแห่งท่านนั้นยังอีกประมาณ ๕ เดือน ก็จะสิ้นแล้ว จึงบังเกิดความกรุณาและบอกแก่ท่านตรง ๆดังนี้"
 เสียววาบเข้าไปในดวงฤดีเมื่อรู้ว่าชีวิตตนจะหมดสิ้นลงไปในไม่ช้า พระราชกุมารผู้น่าสงสารไหนจะต้องจากเวียงวังมาอยู่ไพรกันดาร ไหนจะต้องถึงแก่กาลกิริยาตายลงเป็นซ้ำสองก็ให้รู้สึกหม่นหมองโศกศัลย์ในความผันผวนวิปริตแห่งชีวิตเป็นนักหนา ในที่สุดก็กล่าวถามอย่างไร้เดียงสาว่า
 "ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ! ที่ว่าอีก ๕เดือนข้าพเจ้าจักตายนั้น บัดนี้ข้าพเจ้าให้หวาดหวั่นพรั่นพรึงมิปรารถนาที่จักตายจะมีอุบายอะไรบ้างหรือไม่ จะเป็นว่าหนีไปสู่ชนบทใด หรือจะทำกิจแห่งบุรุษอย่างไรหรือจะร่ำเรียนวิทยามนต์อันใดซึ่งจะเป็นเครื่องห้ามความตายได้ ขอให้พระผู้เป็นเจ้าจงมีความกรุณาแก่ข้าพเจ้าแล้วบอกมาเถิดข้าพเจ้าจักกระทำทั้งสิ้นทุกสิ่งทุกประการ"
 เมื่อเห็นพระราชกุมารผู้มีสันดานเป็นปุถุชนหวาดหวั่นพรั่นพรึงและถามถึงอุบายเป็นเครื่องป้องกันความตายอย่างโง่เขลาเช่นนั้นองค์อรหันต์พระมหากัจจายนะผู้มีญาณวิเศษ จึงเริ่มสำแดงพระธรรมนามมฤตยูกถาโดยใจความว่า
 ขอถวายพระพรพระราชกุมาร !บุรุษมีวิชาการอันประกอบไปด้วยความวิเศษ และจะไปอยู่ประเทศถิ่นใด ๆการที่เขาจะไม่แก่ไม่ตายในประเทศนั้น ๆ ย่อมจักเป็นไปมิได้ อีกประการหนึ่งชนทั้งหลายเหล่าใด แม้จะมีทรัพย์สมบัติและเครื่องใช้สอยเป็นอันมากก็ดีแต่การที่เขาเหล่านั้น จักรอดพ้นจากความตายย่อมจักเป็นไปมิได้ อนึ่งผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่เช่นเป็นบรมกษัตริย์ครอบครองราชสมบัติอันแสนประเสริฐเป็นเลิศเป็นใหญ่อยู่ในบ้านเมืองมีฤทธิ์เฟื่องฟุ้งลือขจร หมู่ดัสกรต่างเกรงกลัวยอมสยบมีพระราชอาญาแผ่ไปร้อยโยชน์พันโยชน์ก็ดี แต่การที่เขาเป็นยอดชนจักรอดพ้นไปจากความตายนั้น ย่อมจักเป็นไปมิได้ อนึ่ง ชนผู้โลภมากทั้งหลายอุตสาหะสะสมทรัพย์สมบัติข้าวปลาอาหารไว้พอจะเลี้ยงผู้คนบ่าวไพร่อันมากมายได้สักเจ็ดสิบปีแปดสิบปีก็ดีแต่การที่เขาจะรอดพ้นจากความตายนั้นย่อมจักเป็นไปมิได้เลย
 ขอถวายพระพรพระราชกุมาร !เมื่อมฤตยูคือความตายนั้น มาประจัญหน้าเข้ากับบุคคลใดแล้ว มฤตยูนั้นย่อมมีสภาวะเหี้ยมหาญเด็ดเดี่ยวนัก ไม่มีใครสามารถจักยังมฤตยูให้รู้แพ้แลกลับไปได้ไม่จะด้วยทรัพย์สินเงินตราหรือวิทยาการกำลังกาย แม้ทแกล้วทหารทั้งหลายผู้คร่ำศึกเป็นขุนพลประกอบไปด้วยวิริยะความเพียรมีกำลังอาจสามารถที่จักเข้าผลาญผจญกับข้าศึกในสงครามครั้งสำคัญเชื้อชาติทหารนั้นก็ย่อมจะสิ้นอายุ ชนทั้งหลายอื่นดื่นดาษ ไม่ว่าจะเป็นชาติกษัตริย์พราหมณ์ พ่อค้าและชาวนา ตลอดจนจัณฑาลและกระยาจกก็ดี การที่จะมิรู้ตายนั้นหามิได้หรือชนทั้งหลายจะร่ายมนต์คาถา จะว่าไปในคัมภีร์ไสยไตรเพทางคศาสตร์อาจรู้น้ำใจอันบุคคลผู้อื่นคิดด้วยฤทธิ์วิเศษเกินคนธรรมดา แม้จะมีวิชาประเสริฐอย่างนี้การที่จะมิรู้ตายหามิได้ พระฤาษีดาบสทั้งหลายผู้ระงับเสียซึ่งบาปภายนอกมีจิตอันสูงสงบด้วยการบำเพ็ญพรตพรหมจรรย์ตั้งมั่นอยู่ในตบะความเพียรเป็นนักหนา ถึงกระนั้นก็ต้องดับขันธ์สิ้นชีวาเมื่อถึงคราวที่มัจจุภัยเข้ามาประจัญ การที่คนเหล่านั้นจะมิรู้ตายนั้นหามิได้ประการสุดท้าย พระอรหันต์ขีณาสพเจ้าทั้งหลายเป็นผู้สิ้นกิเลสเป็นสมุจเฉทประหานมีสันดานปราศจากมลทินโทษโดยประการทั้งปวง หลุดล่วงจากโลกิยธรรมแล้วก็หาได้มีสังขารอันแคล้วจากมฤตยูไปไม่เลย ความจริงเป็นดังนี้นะพระกุมารขอถวายพระพร
 ได้สดับเทศนามฤตยูกถากัณฑ์ใหญ่ดังนี้แล้วพระสุชาตราชกุมาร ผู้ต้องทำนายว่าชะตาจักขาด ก็ย่อมมีจิตผ่องแผ้วจึงค่อยเอื้อนโอฐเอ่ยขึ้นว่า
 "ข้าแต่พระคุณเจ้า !พระคุณเจ้าเป็นนักปราชญ์ประเสริฐ กถาทั้งหลายที่สำแดงมา เป็นวาทีสุภาษิตแท้อาจเป็นประโยชน์แก่ข้าพเจ้าผู้จักสิ้นอายุอีกไม่นานบัดนี้ข้าพเจ้าถึงความมัธยัสถ์จักปฏิบัติตามคำของพระคุณเจ้าขอพระคุณเจ้าจงเป็นที่พึ่งแก่ข้าพเจ้าผู้เป็นสัตว์ผู้ยากด้วยเถิดเจ้าข้า"
 "ดูกรราชกุมาร !ท่านอย่าเข้าใจผิดคือว่าท่านอย่าได้ใส่ใจว่าจะเอาอาตมะเป็นที่พึ่งอาตมะนี้เป็นสาวกขององค์สมเด็จพระชินสีห์สัมมาสัมพุทธจ้าอาตมะนี้ถึงซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ผู้ทรงเป็นพระบรมไตรโลกนาถเป็นที่พึ่ง เมื่อพระราชกุมารมีความเลื่อมใสก็จงยังใจของตนให้ถือเอาพระองค์เป็นที่พึ่งเถิดจะเกิดประโยชน์แก่ท่านเป็นหนักหนา"
 "ข้าแต่พระคุณเจ้า !สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ผู้เป็นพระบรมศาสดาจารย์ ทรงพระคุณอันประเสริฐ ณบัดนี้ พระองค์ประทับอยู่ที่ใด ข้าพเจ้าจะขอไปให้ได้เห็นสักครั้งหนึ่งให้ได้แม้จักดับขันธ์ถึงแก่ชีพิตักษัยต่อภายหลังก็หาเสียใจไม่"
 "ขอถวายพระพร ! สมเด็จพระพุทธองค์ผู้ทรงเป็นอาชาไนยบรมไตรโลกนาถนั้น บัดนี้เสด็จเข้าปรินิพานไปแล้วการที่ท่านปรารถนาจักเห็นพระองค์จึงเป็นอันจนใจสุดวิสัยนัก"
 พระมหากัจจายนเถรเจ้าชี้แจงให้พระราชกุมารได้สดับดังนี้ก็กล่าวกถาให้เธอมีจิตยินดีเลื่อมใสในบวรพุทธศาสนายิ่งขึ้นแล้วจึงแนะนำให้พระราชกุมารนั้นตั้งอยู่ในไตรสรณาคมน์และศีลแล้วสอนว่า
 "ขอถวายพระพรพระราชบุตร! แม้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจักเสด็จดับขันธปรินิพานไปแล้วก็ตามขอท่านจงถือเอาพระองค์ผู้เสด็จปรินิพานไปแล้วนั้นเป็นที่พึ่งแก่ท่านเถิด อนึ่งพระธรรมเจ้าอันล้ำเลิศและพระอริยสงฆ์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐยังปรากฏมีอยู่ในโลกในกาลบัดนี้ ท่านจงถือเอาเป็นที่พึ่งอย่างสูงสุดของท่านเถิดอีกประการหนึ่ง ขอท่านจงเป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในศีลที่ตนตั้งจิตสมาทานรักษาจงงดเว้นจากปาณาติบาตและอทินนาทาน เป็นต้น ขอท่านจงอย่าประมาท อย่าให้ศีลขาดได้จงตั้งใจถือเอาไตรสรณคมน์และศีลนี้ไว้ให้ดีนะพระราชกุมาร"
 "สาธุเป็นพระเดชพระคุณแก่ข้าพเจ้าหาที่สุดมิได้แล้วในครั้งนี้"พระราชกุมารผู้มีกรรมรู้ตัวว่าจักต้องตาย ประณมหัตถ์ชูขึ้นเหนือเกล้ากล่าวขึ้นด้วยความตื้นตันใจ
 "ราชกุมารเอ๋ย ! เรามีความกรุณาแก่ท่านองค์อรหันต์มองดูพักตร์แล้วกล่าวขึ้นอีกว่า "จะประโยชน์อันใดที่จะอยู่ในอรัญราวป่าอายุแห่งท่านจะยังอยู่ภายใน ๕ เดือนออก จึงจะถึงแก่ความตาย เราจะขอแนะนะให้แก่ท่านเออ ! ท่านจงกลับเข้าสู่สำนักสมเด็จพระบิดาแล้วจงอุตสาหะบำเพ็ญทานจำเริญซึ่งการกุศล เอาตนไปสู่สวรรค์เถิดจะดีกว่า" ว่าเท่านี้แล้วพระมหาเถระผู้มากไปด้วยความกรุณา ก็ลุกเข้าไปในกุฎี หยิบเอาพระบรมธาตุแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามายื่นให้แก่พระราชกุมารผู้จะถึงฆาฏพลางให้โอวาทว่า "ท่านจงเอาพระบรมธาตุนี้ไปบูชาให้จงดีเถิด" ดังนี้แล้ว ก็กล่าวปลอดจิตและเดินติดตามไปส่งเมื่อจะพ้นบริเวณนั้นและก่อนที่พระราชกุมารผู้น่าสงสารจะนมัสการอำลาไปเป็นครั้งสุดท้ายได้กล่าวอาราธนาพระมหาเถรเจ้าขึ้นว่า
 "ข้าแต่พระคุณเจ้า !ข้าพเจ้านี้จักกระทำตามถ้อยคำที่พระคุณสั่งไม่ลืมเลยแต่ขอให้พระคุณเจ้าจงอนุเคราะห์แก่ข้าพเจ้าด้วยคือว่าเมื่อข้าพเจ้าไปบ้านเมืองแล้วหากมีโอกาสดีในระยะ ๓-๔ เดือนนี้ขอพระผู้เป็นเจ้าจงกรุณาอนุเคราะห์แก่ข้าพเจ้าผู้จะต้องเข้าสู่ความตายด้วยเถิด"
 กล่าวด้วยความเศร้าดังนี้แล้วก็ถวายนมัสการลา กระทำประทักษิณพระมหาเถระแล้ว ก็มุ่งหน้าเดินทางตรงไปยังบ้านเมืองพอมาถึงเขตพระนคร ก็เข้าไปอยู่ในสวนอุทยานส่งข่าวสาสน์ไปกราบบังคมทูลสมเด็จพระราชบิดาว่าตนกลับมาอีกแล้วสมเด็จพระบรมกษัตริย์ผู้ทรงมีพระมนัสเศร้าสร้อยละห้อยหาตั้งแต่วันที่พระสุชาตราชโอรสจากไปแล้ว เมื่อได้ทรงทราบข่าวสาสน์นั้นก็พลันบังเกิดปิติโสมนัส จึงรีบเสด็จมาสู่สวนอุทยานพร้อมกับราชบริพารเป็นอันมากแล้วก็ทรงสวมกอดเอาพระราชโอรสให้สมกับที่ดวงพระหฤทัยระลึกถึงแล้วพาเสด็จเข้าสู่พระนครปรารถนาจะทรงกระทำพิธีราชาภิเษก ให้ครอบครองราชสมบัติโดยมิได้ทรงกริ่งเกรงพระอัครมเหสีใหม่ผู้ต้นเรื่องหรือผู้หนึ่งผู้ใดทั้งสิ้น
 เจ้าชายสุชาตกุมารจึงกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า
 "ข้าแต่สมเด็จพระบิดา !อายุของลูกนี้ยังน้อยแล้ว ยังอีก ๕ เดือนก็จักถึงซึ่งความตายก็อันคนที่รู้ตัวว่าจักต้องตายเช่นลูกนี้ จะประโยชน์ไยเล่าด้วยราชสมบัติลูกนี้จะขออาศัยอยู่ด้วยสมเด็จพระราชบิดาอาศัยสมเด็จพระราชบิดาเพียงเพื่อว่าจะก่อสร้างกองกุศลอันเป็นเสบียงสำหรับตนไปในวันข้างหน้าลูกปรารถนาเพียงเท่านี้แหละ ขอเดชะ"
 กราบทูลเนื้อความว่าดังนี้แล้วก็ทรงพระกันแสงสะอื้นไห้ และทูลเหตุการณ์ทั้งหลายตั้งแต่ตนจากไปอยู่อรัญพร้อมกับกราบทูลพรรณนาซึ่งคุณแห่งพระมหาเถระและคุณพระรัตนตรัยให้สมเด็จพระราชบิดาทรงทราบทุกประการ
 สมเด็จพระนฤบดีได้ทรงฟังก็มีพระราชหฤทัยบังเกิดความสังเวชสงสารพระราชกุมารโอรสรักเป็นที่ยิ่งและเมื่อทรงคำนึงไป ก็มีพระหฤทัยเลื่อมใสศรัทธาในพระมหาเถรเจ้าและพระไตรสรณาคมน์พระองค์จึงทรงมีพระบรมราชโองการให้สร้างพระมหาวิหารอันใหญ่แล้วส่งทูตทั้งหลายให้ไปอาราธนาพระมหาเถระมา
 พระมหากัจจายนเถรเจ้าเมื่อได้รับข่าวสาสน์จากทูตทั้งหลายก็มีใจใคร่จะอนุเคราะห์แก่สมเด็จบรมกษัตริย์และปวงมหาชน จึงรับอาราธนาเดินทางมาสู่กโปตกะมหานครพร้อมกับทูตทั้งหลาย เมื่อมาถึงแล้วก็ได้รับการต้อนรับจากสมเด็จพระราชาธิบดี พร้อมกับไพร่ฟ้าคฤหบดีอย่างมโหฬารหลังจากที่พระเถรเจ้าเข้าไปยังมหาวิหารแล้วสมเด็จพระบรมกษัตริย์ก็ทรงอุปัฏฐากด้วยปัจจัย ๔ ตามสมควรแก่สมณวิสัยครั้นได้สดับพระธรรมเทศนาอันพระมหาเถระแสดงแล้วก็ทรงตั้งอยู่ในไตรสรณาคมน์และศีล
 ฝ่ายพระราชกุมารผู้อันอัจจุภัยคุกคามอยู่และใกล้เข้ามาทุกเวลานาทีก็มียินดีสมาทานเอาศีลทุกวันตั้งมั่นอยู่ในศีลอุตสาหะบำเพ็ญทานและทำการอุปัฎฐากพระมหาเถระผู้มีคุณด้วยความคารวะเป็นอย่างยิ่งพอถึงวันที่จะมีชีวิตอยู่ดูโลกเป็นวันสุดท้าย โดยกาลอันล่วงไป ๔ เดือนแล้ว วันนั้นพระราชกุมารมีจิตผ่องแผ้วเป็นพิเศษเพลาเช้าเข้าไปถวายทานแก่พระมหาเถระยังมหาวิหารสมาทานศีลแล้วก็สดับพระธรรมเทศนาอันพระมหาเถระผู้มีจิตกรุณาเป็นองค์แสดงแล้วกลับพระบรมมหาราชวังเสด็จเข้าไปยังพระแท่นที่เพื่อจะพักผ่อนพระอริยาบถอย่างสำราญทรงมีดวงจิตคิดถึงศีลที่ตนสมาทานอยู่ ชั่วครู่ก็ให้บังเกิดเป็นโรคลมปัจจุบันถึงแก่ชีพิตักษัยในขณะนั้น
 แล้วขึ้นมาอุบัติเกิดเป็นเทพบุตรสุดโสภา ณแดนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ที่เรากำลังกล่าวถึงกันอยู่นี้มีราชรถประดับไปด้วยสัตตพิธรัตนะแก้ว ๗ ประการ อันเป็นทิพย์เป็นยานพาหนะคู่บุญบารมีสถิตอยู่ ณ ปราสาทพิมานเสวยสดุดี มีเทพนารีเป็นบริวารแวดล้อมมากกว่าร้อยกว่าพันเพราะเหตุที่เทพบุตรนั้น มีรถทิพย์เป็นยาน ฉะนั้น จึงได้รับการขนานนามว่า "จูฬรถเทพบุตร" ก็จูฬรถเทพบุตรนั้น เมื่อเสวยสุขอยู่ ณ สรวงสวรรค์ได้หน่วยหนึ่งแล้วพิจารณาถึงเหตุที่พาให้ตนได้รับความสุข ก็รู้แจ้งเห็นอานิสงส์แห่งกัลยาณกรรมแห่งตนพร้อมกับเห็นคุณแห่งพระมหากัจจายนเถรเจ้า ด้วยจิตคิดกตัญญูรู้คุณจึงขึ้นสู่รถทิพย์แวดล้อมไปด้วยบริวารเป็นอันมาก เสด็จเลื่อนลอยจากดาวดึงส์พิภพมายังมนุษย์โลกเรานี้ ณ ที่กโปตกะนคร ขณะนั้น เป็นเพลาที่สมเด็จพระราชาธิบดีพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระราชโอรสสุดที่รักด้วยเศร้าสลดพระทัยเป็นยิ่งนักพอดีจึงมีประชาชนชาวเมืองมาประชุมในที่นั่นกันอย่างคับคั่งและพระมหากัจจายนเถรเจ้าก็อยู่ ณ สมาคมนั้นด้วย เมื่อจูฬรถเทพบุตรมาถึงแล้วก็ลงจากทิพยรถ เข้าไปกราบลงแทบบาททั้งสองแล้วประคองหัตถ์ขึ้นประณมแก่พระมหาเถรเจ้านั้น
 องค์อรหันตสาวกสำคัญแห่งองค์สมเด็จพระพิชิตมาร ผู้ได้บรรลุญาณพิเศษเมื่อแลเห็นเทพบุตรมาประณมกรต่อพักตร์ด้วยทิพย์จักษุจึงมีเถรวาทีไต่ถามว่า
 "พระอาทิตย์มีรัศมีเป็นอันมากสมด้วยคุณานุรูปแห่งตนมีรัศมีแผ่ไปในทวีปใหญ่ทั้งหลายและแผ่ไปบนอากาศได้ฉันใด ทิพยรถแห่งท่านนี้มีรัศมีมากมายใหญ่ได้หลายโยชน์ฉันนั้น ทิพยรถนั้น มีธงอันแล้วไปด้วยแผ่นทองมีงอนรถอันวิจิตรไปด้วยแก้วมณีแลแก้วมุกดาสลักเป็นดอกไม้ลดาวัลย์เกี่ยวพันไปด้วยแก้วไพฑูรย์ และตกแต่งงดงามแล้วไปด้วยสุวรรณรัชต์มากมายเทียมด้วยอาชาไนยสินธพชาติ เมื่อตัวท่านสถิตอยู่บนอาสนะ ณ ทิพยรถนั้นย่อมองอาจงดงามดุจท่านท้าวโกสีย์ อาตมะขอถามท่าน อันว่ายศบริวารและสมบัติพัสถานทั้งนี้ ท่านได้ด้วยเหตุอันใด"
 "ข้าแต่พระผู้เจ้า !ข้าพเจ้านี้แต่ก่อนเป็นราชบุตรนามว่า สุชาตะคือเจ้าของร่างสรีระที่คนทั้งหลายกำลังฌาปนกิจกันอยู่ขณะนี้พระผู้เป็นเจ้าผู้มีคุณรู้ว่าข้าพเจ้านี้จักสิ้นอายุแล้วเอ็นดูกรุณาแนะนำแก่ข้าพเจ้าให้ตั้งอยู่ในไตรสรณาคมน์และศีลแล้วให้พระบรมธาตุแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปบูชาข้าพเจ้าก็อุตส่าห์สักการบูชาด้วยดอกไม้และของหอมครั้งสิ้นชีพจากมนุษย์แล้วได้ไปบังเกิด ณ ปราสาทพิมานชั้นดาวดึงส์สวรรค์ ใกล้ ๆกับสวนนันทวันทิพยอุทยาน อันแสนประเสริฐสนุกสนานน่ายินดี ข้าพเจ้ามาในที่นี้เพื่อจักแสดงกตัญญูแต่พระผู้เป็นเจ้า"
 จูฬรถเทพบุตรนั้นครั้นสำแดงซึ่งบุรพกรรมของตนแก่มหาเถรเจ้าดังนี้แล้ว ก็ถวายนมัสการอำลากระทำประทักษิณมหาเถระแล้วก็เข้าไปกระทำประทักษิรด้วยความเคารพแด่สมเด็จพระนฤบดีจอมคนแห่งกโปตกะนครผู้บิดาแห่งตนทั้ง ๆ ที่องค์อภิชนนั้นไม่มีโอกาสได้เห็นตนผู้เป็นเทพแต่ประการใดแล้วก็ขึ้นสู่ทิพยรถคู่บารมี เสด็จจรลีไปยังปราสาทพิมานแห่งตน ณดาวดึงส์สวรรค์เทวโลก
 สรุปความว่า สรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นี้เป็นแดนสุขาวดีที่มีเทพผู้ปกครอง ๓๓ องค์ซึ่งมีสมเด็จพระอมรินทราธิราชทรงเป็นประธานาธิบดีทวยเทพทั้งมวลล้วนมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างสุขสำราญด้วยการเสวยทิพย์สมบัติทุกทิพาราตรีกาลเพราะความบันดาลแห่งบุญกุศลที่ตนได้สร้างเอาไว้แต่ปางก่อนย้อนมาให้ผลจึงทำให้ตนได้รับความสุขอันเป็นทิพย์เห็นปานฉะนี้ ดังนั้นท่านที่มีปัญญาประกอบไปด้วยศรัทธาเชื่อมั่นในพระบรมพุทโธวาทมีปสาทเลื่อมใสในพระพุทธฎีกาเมื่อปรารถนาใคร่จักได้ไปอุบัติเกิดเป็นเทพยดาเสวยสุขอยู่ในสรวงสวรรค์ชั้นนี้ภายหลังจากที่ตนดับขันธ์สิ้นชีวีไปแล้วไซร้ ในบัดนี้ ควรจักรีบเร่งกระทำความดียังจิตแห่งตนให้ยินดีในการบริจาคทานชำระสันดานแห่งตนให้งดงามด้วยการรักษาศีลไว้ให้จงมั่นเถิดเมื่อกองการกุศลที่ตนอุตสาหะก่อสร้างไว้นั้นมีพลังเพียงพอแล้วก็จักเป็นแรงผลักดันให้ได้ไปอุบัติเกิดเป็นเทพยดา ณดาวดึงส์สวรรค์แดนสุขาวดีอย่างแน่นอน

มัชณิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ข้อ ๔๓๓ หน้า ๔๖๕บาลีฉบับสยามรัฐอังคุตรนิกาย สัตตกนิกาย ข้อ ๗๑ หน้า ๑๓๘บาลีฉับบสยามรัฐอังคุตรนิกาย สัตตกนิกาย ข้อ ๔๙ บาลีฉบับสยามรัฐ ฑีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ข้อ ๓๔๖ หน้า ๒๗๑บาลีฉบับสยามรัฐฑีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ข้อ ๓๔๖ หน้า ๒๗๑บาลีฉบับสยามรัฐ

 

สวรรค์ชั้นที่ยามาเทวภูมิ


 เทวภูมิอันดับที่ ๓ นี้เป็นแดนสวรรค์ ซึ่งเป็นที่สถิตอยู่แห่งปวงเทพยดาผู้ไม่มีความลำบากและถึงซึ่งความสุขอันเป็นทิพย์ มีเทพผู้มเหศักดิ์ทรงนามว่าสมเด็จท้าวสุยามเทวาธิราชทรงเป็นอธิบดีผู้ปกครอง เพราะฉะนั้น สรวงสวรรค์เช่นนี้ จึงมีนามว่ายามาเทวภูมิภูมิเป็นที่อยู่แห่งทวยเทพอันมีท้าวสุยามเทวาธิราชทรงเป็นอธิบดี
 แดนแห่งความสุขคือเมืองสวรรค์อันมีนามว่ายามาเทวภูมิเป็นเทพนรกที่ตั้งอยู่เหนือสวรรค์ชั้นไตรตรึงษ์ขึ้นไปเบื้องบนไกลแสนไกลภายในเทพนรกที่ว่านี้ ปรากฏว่ามีปราสาททอง เป็นปราสาทพิมานที่สถิตอยู่ของเทพเจ้าเหล่าชาวสวรรค์ ชั้นยามาทั้งหลาย ก็แลปราสาทวิมานเหล่านั้นย่อมมีสภาวะสวยงามวิจิตรตระการยิ่งกว่าปราสาทวิมานในสวรรค์ชั้นไตรตรึงษ์มีรัตนปราการกำแพงแก้วอันรุ่งเรืองเลือมพรรณรายล้อมรอบทุกๆ วิมาน มีสวนอุทยานและสระโบกขรณีอันเป็นทิพย์อยู่หลากหลาย ที่ควรจะจำไว้ง่าย ๆก็คือในสวรรค์ชั้นยามานี้ ไม่ปรากฏมีพระอาทิตย์และพระจันทร์เลยเพราะอยู่สูงกว่าพระอาทิตย์และพระจันทร์มากมายนัก เทพยดาทั้งหลายย่อมแลเห็นแสงสว่างด้วยรัศมีแห่งแก้วและรัศมีที่ออกมาจากกายตัวแห่งเทพเจ้าเหล่านั้นเองการที่จักรู้วันและคืนได้นั้นย่อมรู้ได้จากบุปผชาติดอกไม้ทิตย์ซึ่งมีอยู่ในสรวงสวรรค์ชั้นยามานั่นเองเป็นสัญลักษณ์ ถ้าหากว่า เห็นดอกไม้นั้นหุบลงก็เป็นนิมิตแสดงว่า เป็นเพลาราตรี
 เหล่าเทพผู้มีบุญทั้งหลายผู้ได้เคยก่อสร้างกองการกุศลเอาไว้และเดชะแห่งกุศลนั้นส่งให้มาอุบัติเกิดในสวรรค์ชั้นนี้ย่อมมีองคาพยและหน้าตางดงามรุ่งเรืองหนักหนา มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างผาสุกและจะชื่นบานสุขสำราญเทพหฤทัย เสวยสมบัติอันเป็นทิตย์ตามสมควรแก่อัตภาพส่วนสมเด็จท่านท้าวสุยามเทวาธิราช ผู้ทรงเป็นจอมเทพเจ้าปกครองสวรรค์ชั้นนี้เล่าพระองค์ก็ทรงมีน้ำพระทัยประกอบไปด้วยกุศลยุติธรรมปกครองเหล่าเทพเจ้าให้ได้รับความชุ่มฉ่ำเย็นได้เสวยสุขสุดที่จะพรรณนา

ทางไปสวรรค์ชั้นยามา


 หากจะมีปัญหาว่า
 การที่จักได้มีโอกาสไปอุบัติเกิดเป็นเทพเจ้า เสวยทิพย์สมบัติเป็นสุขอยู่ ณ แดนสวรรค์ชั้นยามานี้จักต้องคำประการใดบ้าง
 คำวิสัชนาก็มีว่า
 ต้องอุตส่าห์พยายามสร้างเสบียงกล่าวคือบุคคล ต้องเป็นผู้มีกมลสันดานหนาแน่นไปด้วยกุศลสมภารไม่หวั่นไหวง่อนแง่นในการบำเพ็ญ เช่น ให้ทานและรักษาศีลเป็นอาทิ ทั้งนี้ก็โดยมีพระบาลีชี้ทางไปสู่แดนสวรรค์ชั้นยามาไว้ในสูตรต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

ทานสูตร


 ดูกรสารีบุตร !ในการให้ทานนั้น บุคคลไม่มีความหวังให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลแห่งแล้วให้ทานไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน ไม่ได้ให้ทานด้วยความคิดว่า

"การให้ทานเป็นการกระทำที่ดี"


 (แต่ให้ทานด้วยความคิดว่า)

"บิดามารดา ปู่ ตา ยาย เคยให้เคยทำมาเราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี"

 
 เขาผู้นั้นให้ทานด้วยอาการอย่างนี้แล้ว เมื่อทำกาลกิริยาตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายเทวดาทั้งหลายในสวรรค์ชั้นยามา

ปุญญกิริยาวัตถุสูตร


 ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในโลกนี้ กระทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่งแต่ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวะเลย เมื่อถึงเก่ากาลกิริยาตายไปแล้วเขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นยามา
 ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย ! ท้าวสุยามเทพบุตรจอมเทพในชั้นยามานั้นทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรกทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรกท้าวเธอจึงทรงเจริญเรืองก้าวหน้าล่วงเหล่าเทวดาชั้นยามาสวรรค์โดนฐานะ ๑๐ ประการคือ
 ๑. อายุทิพย์
 ๒. วรรณทิพย์
 ๓.สุขทิพย์
 ๔. ยศทิพย์
 ๕. อธิปไตรทิพย์
 ๖.รูปทิพย์
 ๗. เสียงทิพย์
 ๘. กลิ่นทิพย์
 ๙.รสทิพย์
 ๑๐. โผฏฐัพะทิพย์

สังคีติสูตร


 บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมถวายข้าวน้ำ ผ้าผ่อน ยวดยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่นั่ง ที่พักที่อาศัย และสิ่งที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีป ให้เป็นทานแก่สมณะหรือพราหมณ์เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตนให้ไปโดยเขาได้ฟังมาว่า "พวกเทพเจ้าเหล่ายามาสวรรค์เป็นเทพที่มีอายุยืน มีวรรณะผ่องใสงดงาม มากไปด้วยความสุข" ดังนี้แล้วเขาจึงรำพึงอย่างนี้ว่า
 โอหนอ ! เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตกเราพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งพวกเทพเจ้าเหล่ายามาสวรรค์เถิด
 เขาตั้งจิตนั้นไว้อธิษฐานจิตนั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้นอมไปในสิ่งที่ต่ำมิได้อบรมเพื่อคุณเบื้องสูง อย่างนี้ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในสวรรค์ชั้นยามานั้นก็ข้อนี้แล เรากล่าวสำหรับบุคคลผู้มีศีลไม่ใช่สำหรับบุคคลผู้ทุศีลผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจของบุคคลผู้มีศีลย่อมสำเร็จลงได้ เพราะเป็นของบริสุทธิ์
 จากพระสูตรต่าง ๆซึ่งยกมาอ้างไว้แต่โดยสังเขปนี้ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลายก็คงจะเข้าใจได้เป็นอย่างดีแล้วว่าการที่จักได้มีโอกาสไปอุบัติเกิดเป็นเทพยดา ณ แดนสวรรค์ชั้นยามานี้จักต้องมีปฏิปทาเดินไปตามวิถีทางใด ต่อไปนี้ จักนำเอาชีวประวัติแห่งมนุษย์ผู้ตายไปผุดเกิดเป็นเทพยดาในสวรรค์ชั้นยามาเทวโลกมาเล่าให้ท่านผู้ยินดีในสุตะได้รับฟังไว้ดังนี้

ยามาเทพบุตร


 ได้สดับมาว่า
 กาลเมื่อองค์สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์เจ้าแห่งเราทั้งหลายประทับอยู่ ณ พระเวฬุวนาราม ใกล้เมืองราชคฤห์มหานคร ครั้งนั้นยังมีบุตรผู้ค่อนข้างจะมีทรัพย์ผู้หนึ่ง มีจิตเลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนาเป็นอันมากตั้งอยู่ในภูมิอุบาสก
 ผู้เชื่อมั่นได้อุทิศถวายอาหารกระทำเป็นสังฆทานแก่พระภิกษุสงฆ์วันละ ๔ รูปทุก ๆ วันครั้นอยู่มาวันหนึ่ง ประตูบ่นแห่งอุบาสกนั้นได้ถูกปิดไว้โดยเกรงคนร้ายหัวขโมยจะเข้าไปในเพลากลางคืนพออรุณรุ่งคนในบ้านยังมิทันจะตื่นมาเปิดประตูพระภิกษุทั้งหลายผู้ได้รับนิมนต์ให้มารับสังฆทานเมื่อถึงเห็นประตูบ้านนั้นปิดอยู่จะเข้าไปมิได้แล้วจึงถามภรรยาตนด้วยใจเป็นห่วงว่า
 "ดูกรเจ้า !เจ้าถวายสังฆทานแก่พระเจ้าทั้งหลายแล้วหรือ
 "วันนี้มิได้ถวายเพราะพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมิได้เข้ามา" ภรรยาตอบ
 "อ้าวเป็นอะไรไปเล่า เหตุใดพระผู้เป็นเจ้าจึงมิได้เข้ามา"เขาถวายขึ้นด้วยความสงสัย
 ฝ่ายภรรยาจึงตอบว่า
 "ข้าพเจ้าก็ไม่ทราบเหมือนกันเป็นแต่สันนิษฐานได้ว่าเมื่อคืนนี้เราปิดประตูใหญ่หน้าบ้านด้วยเกรงว่าโจรร้ายจะเข้ามาในเพลาค่ำคืนและวันนี้ก็ต้องตื่นสายกันทุกคน พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย คงจะพากันมาแต่เช้าตามวันนี้ตนขาดบุญไปมิได้ถวายสังฆทาน อีกประการหนึ่ง พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายก็คงมิได้ฉันภัตตาหารเคยเมื่อเห็นประตูหับอยู่ เข้ามิได้ก็น่าที่จะกลับไปเป็นแน่แท้"
 อุบาสกได้ฟังภรรยาว่าดังนั้นก็บังเกิดความสังเวชสลดใจนัก เพราะตนมีสักดานสะอาดมากไปด้วยศรัทธาครุ่นคิดกังวลใจอยู่แต่ว่า อันเป็นการขาดประโยชน์ตนประโยชน์ท่านเพราะเหตุการณ์จัญไรเพียงนิดเดียวคิดดังนี้แล้วจึงเที่ยวไปว่าจ้างบุรุษคนหนึ่งให้ทำหน้าที่เป็นยามผู้รักษาประตูแล้วสั่งว่า
 "ท่านจงนั่งรักษาทวารอยู่ที่นี่ถ้าเห็นพระผู้เป็นเจ้าที่เราอาราธนาไว้ท่านมาเมื่อใด จงนิมนต์ท่านให้เข้าไปในบ้านและช่วยจัดแจงปูลาดอาสนะ กระทำวัตรปฏิบัติพระภิกษุทั้งหลายด้วยความเอาใจใส่เถิดจะเกิดเป็นบุญแก่ตัวท่านเองด้วยเป็นนักหนา"สาธุ"บุรุษผู้รับหน้าที่เป็นทวารบาลคนเฝ้าประตูนั้น ประณมมือขึ้นรับคำสั่งด้วยดีเพราะตนเป็นคนมีสันดานดีไม่หัวดื้อตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมาก็อยู่รักษาประตูบ้านอุบาสกผู้ใจบุญเมื่อเห็นพระภิกษุสงฆ์มา ก็ทำการต้อนรับด้วยคารวะดีอกดีใจเป็นอย่างยิ่งนิมนต์ให้เข้าไปในบ้านแล้วช่วยจักแจงกิจต่าง ๆ ในพิธีการถวายสังฆทานจนเสร็จสิ้นกระทำวัตรปฏิบัติอยู่เนื่อง นานมาได้มีโอกาสร่วมฟังพระธรรมเทศนาในสำนักแห่งพระภิกษุทั้งหลายผู้มารับสังฆทานในบ้านอุบาสกนั้นก็บังเกิดศรัทธาเชื่อมั่นในกรรมและผลแห่งกรรม ตั้งอยู่ในไตรสรณาคมน์และศีลห้าเฝ้าอุตส่าห์ปฏิบัติแก่พระสงฆ์ทั้งหลายในบ้านนายจ้างอุบาสกนั้น
 ครั้นกาลต่อมาเมื่ออุบาสกผู้ใจบุญนั้นดับขันธ์ถึงแต่ความชีพิตักษัยแล้วเพราะเหตุที่เขามีใจผ่องแผ้ว อบรมบ่มด้วยกุศลธรรมมากมายมีความเลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนา พยายามสั่งสมแต่คุณธรรมความดีตลอดชีวิตกรรมดีอันสูงส่งนั้นจึงผลิตผลเป็นแรงส่งผลักดันให้เขาได้มาเกิดเป็นเทพเจ้าชั้น ณเบื้องสวรรค์ชั้นยามานี้มีรัศมีรุ่งเรืองโสภาพรรณ แวดล้อมไปด้วยเทพบริวาร สถิตอยู่ณ ปราสาทพิมานอันวิจิตรตระการตาได้รับความผาสุกด้วยการเสวยทิพย์สมบัติอันประเสริฐนักหนาตลอดเวลาได้รับแต่อารมณ์อันเลิศทุกคืนวัน
 ต่อมาอีกไม่ช้าไม่นานทวารบาลนายประตูนั้น ก็กระทำกาลกิริยาตายไปตามนายจ้างแต่เพราะที่ตนมีบุญบารมีน้อยกว่าจึงไม่สามารถที่จะไปอุบัติเกิดในแดนสวรรค์ชั้นสูงเช่นเดียวกับนายได้ จะอย่างไรก็ดีด้วยเหตุที่ได้อนุโมทนาและกระทำไวยาวัจกรรมการขวนขวายให้ความสะดวกแก่พระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงศีลทั้งมีจิตศรัทธาเชื่อมั่นในไตรสรณาคมน์และศีลที่ตนรักษาตั้งแต่เขาได้มาทำงานในบ้านอุบาสกนั้น ก็มีทานนิสงส์นักหนาพอเขาดับขันธ์ถึงแก่มรณกรรม เดชะกุศล นั้นก็ทำหน้าที่เป็นแรงผลักดันให้เขามาอุบัติเกิดเป็นเทพบุตรสุดประเสริฐ สถิตอยู่ ณ ปราสาทพิมานในดาวดึงส์สวรรค์เทวโลก
 คราวหนึ่ง พระมหาโมคคัลลานเถรเจ้าเที่ยวสัญจรไปในดาวดึงส์สวรรค์เทวโลก ด้วยอำนาจแห่งพระอริยฤทธิ์แลไปเห็นวิมานอันงามตระการแห่งเทพบุตรอดีตบุรุษเฝ้ายามประตูบ้านอุบาสกผู้เพิ่งตายนั้นเข้า พระผู้เป็นเจ้าองค์อรหันต์จึงเข้าไปถามว่า
 "วิมานนี้มีความสูงยิ่งนักประกอบไปด้วยเสาล้วนแล้วไปด้วยแก้วมณีมีพื้นเรียบไปด้วยแผ่นกระดาษทองอันรุ่งเรืองงดงามปรากฏตัวท่านผู้เป็นเจ้าของวิมานปรารถนาจักได้ซึ่งทิพย์อาหารอันใดสิ่งของทั้งหลายอันเป็นทิพย์ ก็บังเกิดมีดังความปรารถนาของท่าน อีกประการหนึ่งวิมานนี้กึกก้องไปด้วยเสียงดุริยางค์ดนตรีทั้งหลาย รสกามคุณ ๕ ประการก็มีอยู่มากมายนางฟ้าทั้งหลายมีเครื่องประดับแล้วไปด้วยทอง บางนางก็ขับร้องบางนางก็ฟ้อนรำ ยังน้ำจิตของท่านให้ยินดี สมบัติแลรัศมีอันรุ่งเรืองอยู่ทั้งเกิดขึ้นเพราะบุญอะไร ดูกรเทพบุตรผู้มีอานุภาพมาก เราจักขอถามท่านเมื่อท่านเป็นมนุษย์ ท่านได้ก่อสร้างกองการกุศลอย่างไรจะเป็นเพราะให้ท่านเป็นการใหญ่หรือว่าตั้งใจรักษาเบญจศีลหรือตั้งใจสมาทานอุโบสถศีลอย่างไรสมบัติอันเป็นทิพย์ทั้งหลายจึงได้บังเกิดมีทั้งนี้ทำให้ท่านรุ่งเรืองไปด้วยยศและรัศมีอันมากมายเห็นปานนี้"
 "อโห !พระเดชพระคุณพระมหาโมคคัลลานะผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ"
 เทพบุตรออกนามพระเถรเจ้าพร้อมกับถวายนมัสการด้วยความเคราพเป็นล้นพ้นดุจครั้งที่ตนยังเป็นมนุษย์แล้วกราบเรียนต่อไปว่า "ข้าพเจ้านี้หรือคือบุรุษชราผู้เฝ้าประตูบ้านแห่งอุบาสกในเมืองราชคฤห์ผู้เป็นนายตายแล้วได้มาเกิดในดาวดึงส์สวรรค์นี้ ซึ่งมีอายุประมาณ ๑,๐๐๐ ปีทิพย์ถ้าจะนับปีในมนุษย์แล้ว ๑๐๐ ปีจึงเป็นวันหนึ่งกับคืนในดาวดึงส์สวรรค์นี้ข้าพเจ้าจักดำรงอยู่ในที่นี้ตลอด ๑,๐๐๐ ปีทิพย์การที่ข้าพเจ้ามีอายุทิพย์เป็นเวลานาน และมีวิมานสมบัติอันรุ่งเรืองดังที่พระผู้เป็นเจ้าเห็นอยู่นี้มิใช่ว่าข้าพเจ้าจักได้บริจาคทานแก่พระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงศีลเป็นการใหญ่นั้นหามิได้โดยที่แท้ ข้าพเจ้าผู้ซึ่งเป็นคนแก่แลยากจนได้ทำบุญกุศลด้วยปากและน้ำใจของข้าพเจ้าเอง คือว่าเมื่อข้าพเจ้าเป็นคนเฝ้าทวารบ้านอุบาสกผู้เป็นนายอยู่นั้นครั้นเห็นพระผู้เป็นเจ้ามาถึงข้าพเจ้าก็กล่าวปราศรัยด้วยน้ำใจรักในพระสงฆ์เป็นอย่างยิ่งว่า
 พระผู้เป็นเจ้ามาแล้วหรือ
 พระผู้เป็นเจ้าจงนั่งเหนืออาสนะนี้เถิด
 พระผู้เป็นเจ้าค่อยสบายดีอยู่หรือ
 พระผู้เป็นเจ้าหาโรคมิได้แล้วหรือ
 กล่าวปราศรัยไปดังนี้ด้วยน้ำจิตยินดีเลื่อมใสเต็มไปด้วยคารวะทุกขณะที่ได้พบพระภิกษุสงฆ์แล้วช่วยจัดแจงขวนขวายในการถวายสังฆทานแห่งท่านอุบาสกในที่สุดได้ร่วมฟังพระธรรมเทศนาถือเอาไตรสรณาคมน์และศีลแลที่พึ่งเมื่อถึงแก่กาลกิริยาแล้วจึงได้มาอุบัติเกิดในที่นี้ นะพระคุณเจ้าผู้เจริญ"
 พระมหาโมคคัลลานเถรเจ้าได้สดับดังนั้นแล้ว ก็กล่าวคำอำลา เพื่อท่องเที่ยวไปสถานที่อื่นต่อไปจนพอสมควรแก่กาลแล้ว จึงได้กลับมาสู่มนุษย์โลกเรานี้
 สรุปความว่าสรวงสวรรค์ชั้นยามานี้ เป็นแดนแห่งความสุขที่สถิตอยู่แห่งทวยเทพทั้งหลายอันมีสมเด็จท้าวสุยามเทวาธิราชเป็นผู้ปกครองชาวฟ้าชั้นนี้ล้วนมีแต่ความสุขไม่มีความลำบากมีชีวิตอยู่อย่างสำราญชื่นบานด้วยการเสวยทิพย์สมบัติทุกทิพาราตรีกาลเพราะความบันดาลแห่งบุญกุศล ที่ตนได้ก่อสร้างเอาไว้แต่ปางก่อนย้อนมาให้ผลจึงเป็นเหตุให้ตนได้รับความสุขอันเป็นทิพย์เห็นปานฉะนี้
 ดังนั้นท่านผู้มีปัญญาประกอบไปด้วยศรัทธาเชื่อมั่นในพระบวรพุทธศาสนาเมื่อมีความปรารถนาใคร่จะได้ไปอุบัติเกิดเป็นเทพยดาเสวยทิพยสมบัติอันเป็นสุขอยู่ในสรวงสวรรค์ชั้นนี้ก่อนที่จักตายไปจากโลกควรที่จักรีบเร่งกระทำความดี พยายามบำเพ็ญทานรักษาศีลเป็นนิตย์มีจิตขวนขวายประพฤติตามธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงมิใช่แกล้งกระทำความดีแต่ทำด้วยดวงฤดี อันบริสุทธิ์ผ่องใสเมื่อกองการกุศลที่ตนก่อสร้างไว้มีพลังเพียงพอแล้วก็จักเป็นแรงส่งผลักดันให้ได้ไปอุบัติเกิดเทพยดา ณ ยามาสวรรค์แดนแห่งความสุขนี้อย่างแน่นอน

อังคุตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๒๖ หน้า ๒๔๕บลีฉบับสยามรัฐฑีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ข้อ ๓๔๖ หน้า ๒๗๑บาลีฉบับสยามรัฐ

สวรรค์ชั้นที่ดุสิตาเทวภูมิ


 เทวภูมิอันดับที่ ๔ นี้เป็นแดนแห่งความสุข ซึ่งเป็นที่สถิตอยู่แห่งปวงเทพเจ้าชาวฟ้าทั้งหลายผู้มีความยินดีและความแช่มชื่นอยู่เป็นนิตย์โดยมีเทพเจ้ามเหศักดิ์ทรงนามว่าสมเด็จท้าวสันดุสิตเทวาธิราช ทรงเป็นอธิบดีเพราะฉะนั้นสรวงสวรรค์ชั้นนี้ จึงมีนามว่าดุสิตาเทวภูมิ ภูมิเป็นที่อยู่แห่งทวยเทพอันมีท่านท้าวสันดุสิตเทวาธิราชทรงเป็นอธิบดี
 แดนแห่งความสุขเมืองสวรรค์ชั้นฟ้าอันมีนามว่า ดุสิตาเทวภูมินี้ เป็นเทพนครที่ตั้งอยู่เหนือสวรรค์ชั้นยามาขึ้นไปในเบื้องบน ไกลแสนไกลภายในเทพนครนี้ปรากฏว่ามีปราสาทวิมานอยู่ ๓ ชนิด คือ
 ๑. รัตนวิมานวิมานแก้ว
 ๒. กนกวิมาน วิมานทอง
 ๓. รชตวิมานวิมานเงิน
 ปราสาทวิมานเหล่านี้ ตั้งอยู่เรียงรายมากมายแต่ละวิมานเป็นปราสาทสวยสดงดงาม มีความวิจิตรตระการตาเหลือที่จะพรรณนาและมีรัตนปราการกำแพงแก้วล้อมรอบทุก ๆ วิมาน มีรัศมีรุ่งเรืองเลื่อมพรรณรายสวยงามยิ่งกว่าปราสาทพิมานแห่งเทพยดาในสรวงสวรรค์ชั้นยามาภูมิ นอกจากนั้น ณสถานที่ต่าง ๆ ในเทวสถานชั้นนี้ ยังมีสระโบกขรณีและอุทยานอันเป็นทิพย์สำหรับเป็นที่เที่ยวเล่นให้ได้ความชื่นบานเริงสราญแห่งเทพเจ้าชาวสวรรค์ชั้นนี้มากมายนัก
 สำหรับปวงเทพเจ้าผู้สถิตอยู่ในดุสิตสวรรค์นี้นั้นแต่ละองค์ย่อมปรากฏมีรูปทรงสวยงาม มีความสง่ากว่าเหล่าเทพยดาชั้นต่ำ ๆทั้งมีน้ำใจรู้บุญธรรมเป็นอย่างดีมีจิตยินดีต่อการสดับรับฟังพระธรรมเทศนาเป็นยิ่งนัก ทุกวันธรรมสวนะเทพเจ้าเหล่านั้นย่อมจะมีเทวสันนิบาตประชุมฟังธรรมกันเสมอมิได้ขาดเลยทั้งนี้ก็เพราะเหตุที่องค์สมเด็จท่านท้าวสันดุสิตเทวาธิราชจอมเทพผู้มีอิสริยยศยิ่งใหญ่ในสวรรค์ชั้นดุสิตนี้ ทรงเป็นเทพเจ้าผู้พหูสูตรเป็นผู้รู้ธรรมะแห่งองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอันมากซึ่งมีพระเทวอัธยาศัยยินดีในอันที่จะสดับธรรมเทศนา และอีกประการหนึ่งตามปรกติดุสิตสวรรค์นี้ เป็นที่สถิตอยู่แห่งเทพบุตรผู้เป็นโพธิสัตว์ซึ่งมีโอกาสจักได้ตรัสแก่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณสำเร็จเป็นองค์สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์สัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคต เพราะฉะนั้นจอมเทพท่านท้าวสันดุสิตเทวาธิบดี จึงมักมีเทวโองการตรัสอัญเชิญให้เทพบุตรพระโพธิสัตว์ผู้ทรงปัญญานั้นเป็นองค์แสดงธรรมดังเช่นในปัจุบันนี้สมเด็จพระศรีอริยเมตไตรยโพธิสัตว์ผู้มีชื่อเสียงเลื่องลือปรากฏเป็นที่รู้กันอยู่ที่ไปในหมู่ชาวพุทธบริษัทว่าจักได้ตรัสเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคตอันตรกัปที่๑๓ แห่งภัทรกัปนี้ พระองค์ก็สถิตอยู่ ณ สรวงสวรรค์ชั้นนี้และมักจะได้รับอาราธนาให้เป็นองค์แสดงธรรมโปรดเหล่าเทพบริษัทในดุสิตสรรค์แดนสุขาวดีนี้อยู่เสมอนอกจากจะเป็นสรวงสวรรค์ขึ้นสำคัญ เพราะเป็นที่สถิตอยู่แห่งปวงเทพเจ้าผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ มีจิตใจอันสูงส่งด้วยคุณธรรมและเป็นที่สถิตอยู่แห่งองค์พระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายดังกล่าวมาแล้ว ในขณะนี้แดนสวรรค์ชั้นดุสิตยังเป็นที่สถิตอยู่แห่งเทพเจ้าองค์สำคัญซึ่งเราท่านทั้งหลายรู้จักกันดีเทพเจ้าองค์นี้ก็คือ

สิริมหามายาเทพบุตรเล่ากันสืบมาว่า


 สมเด็จพระนางยาสิริมหามายาพุทธมารดาแห่งกรุงกบิลพัสดุ์ผู้เป็นเอกอัครมเหสีในสมเด็จพระนฤบดีสุทโธทนะนั้นครั้นประสูติพระอังคีรสโพธิสัตว์อันเป็นพระบรมราชโอรสได้เพียง ๗ วันเท่านั้นก็ดับขันธ์ถึงแก่ชีพิตักษัยจากมนุษย์ขึ้นมาอุบัติเกิดเป็นเทพบุตรสุดโสภา ณแดนดุสิตสวรรค์นี้ เสวยทิพยสมบัติมีนางเทพอัปสรมากมายเป็นบริวารแต่จะได้ยินดีในการเสพเบญจกามคุณกับด้วยนางฟ้าเหล่านั้นก็มิได้ในกรณีนี้หากจะมีปัญหาว่า เหตุไฉน สมเด็จพระสิริมหามายา จึงไม่อุบัติเป็นเทพธิดาเพราะพระนางทรงไว้ซึ่งสตรีเพศ เหตุใดจึงได้ไปบังเกิดเป็นเทพบุตรดูน่าสงสัยเป็นนักหนา คำวิสัชนาก็มีว่าเป็นวิสัยธรรมดาแห่งพระพุทธชนนีผู้มีบุญญาธิการถ้าหากว่าจะอุบัติเกิดเป็นเทพนารีทรงมีพระสิริลักษณ์อันงดงามหาที่เปรียบมิได้แล้วไซร้เทพบุตรองค์ใดมีปฏิพัทธ์จิตคิดรักใคร่ในพระรูปพระโฉม กำเริบด้วยราคะดำฤษณาก็จักบังเกิดเป็นโทษแก่เทพบุตรองค์นั้นเป็นนักหนา ด้วยเหตุนี้สมเด็จพระพุทธมารดาในปัจฉิมภวิกชาติจึงอุบัติเกิดเป็นเทพบุตร สถิตเสวยสุขอยู่ ณสรวงสวรรค์ชั้นดุสิต
 ในกาลที่สมเด็จพระขนสีห์บรมไตรโลกนาถได้ทรงกระทำปาฏิหาริย์ทรมานเดียรถีย์ศาสนาต่างๆ ณ มิ่งไม้คัณฑามพฤกษ์สำเร็จอย่างน่าสรรเสริญแล้วในขณะนั้นพระองค์ทรงมีพระดำริว่า
 "พระสิริมหามายาผู้เป็นพระชนนีเจ้าแห่งตถาคตนี้ มีคุณูปการะและรักใคร่ในตถาคตปานดวงฤทัยได้ตั้งความปรารถนาเป็นมารดาแห่งตถาคตมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้าจนตราบถึงบัดนี้ ก็นับเป็นเวลานานถึงแสนกัลป์ ฉะนั้นจึงควรแล้วที่ตถาคตจักไปแสดงธรรมโปรดสนองพระคุณในกาลครั้งนี้"
 เมื่อมีพระพุทธดำริฉะนี้แล้วสมเด็จองค์พระประทีปแก้วจอมมุนีเจ้าจึงเสด็จขึ้นไปยังไตรตรึงษ์เทวโลกประทับเหนือปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ณภายใต้ไม้ปาริฉัตกพฤกษ์
 สมเด็จพระอมรินทรเทวาธิราชผู้ทรงเป็นใหญ่ในแดนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ได้ทรงทราบข่าวจึงรีบเสด็จออกมาจากไพชยนตปราสาททิพยวิมานแล้วมีเทวราชโองการประกาศก้องป่าวร้องแก่เหล่าเทพยดาทั้งหลายว่า
 "ดูกรท่านทั้งหลายผู้นฤทุกข์ ! ท่านทั้งหลายจงอย่าได้ช้า จงออกมาเถิดบัดนี้สมเด็จพระพุทธเจ้าผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐได้ทรงพระอุตสาหะเสด็จมาโปรดถึงพิภพของพวกเราแล้วเป็นบุญลาภอันประเสริฐล้ำเลิศของพวกเราหาที่เปรียบมิได้ จงออกมาเถิดเราจะพากันไปเฝ้าและสดับตรับฟังพระสัทธรรมเทศนาของสมเด็จพระพุทธองค์อย่าได้ช้า"
 เทพบุตรเทพธิดาทั้งหลายได้ฟังพระสุรเสียงแห่งเทพผู้เป็นนายคือ องค์อินทร์ทรงประกาศเองเช่นนั้นก็รีบพากันออกจากวิมานทิพย์ด้วยความดีใจมีหัตถ์ถือดอกไม้และเครื่องสักการะของหอมมาเฝ้าแวดล้อมบูชาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่เนืองแน่นสมเด็จพระบรมครูเจ้า มีพระหฤทัยปรารถนาจักให้พระพุทธมารดาเสด็จมาสู่ที่นั่นทรงทอดพระเนตรไปในระหว่างแห่งเทพนิกรบริษัท มิได้ทัศนาเห็นพระพุทธชนนีจึงมีพระพุทธฎีกาตรัสถามองค์อมรินทราธิราชว่า
 "พระสิริมหามายาผู้เป็นชนนีของตถาคตมิได้เสด็จมาที่นี้หรือประการใด"
 องค์ท้าวสหัสนัยน์ได้สดับพระพุทธฏีกาที่ตรัสถามเช่นนั้น ก็ทรงทราบพระพุทธประสงค์โดยพลันว่าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาครั้งนี้คงมีพระกมลประสงค์จะแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพระพุทธมารดาให้ได้บรรลุพระอริยมรรคอริยผลเป็นแม่นมั่นครั้นทรงดำริฉะนี้แล้ว องค์ท้าวโกสีย์จึงรับเร่งเหาะไปโดยเทวฤทธิ์ถึงภิภพดุสิตแดนสุขาวดีอันเป็นที่สถิตอยู่ แห่งพระสิริมหามายาเทพบุตรแล้วก็ถวายอภิวันทน์โดยเคารพและทูลว่า
 "ข้าแต่พระสิริมหามายาเจ้าผู้เจริญด้วยสิริสวัสดิ์ ! บัดนี้ สมเด็จพระพุทธองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐเสด็จมาสู่พิภพไตรตรึงษ์แห่งข้าพระบาท ประทับอยู่ ณ ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ภายใต้ปาริฉัตกพฤกษชาติ ประทับคอยท่าเพื่อจะตรัสพระธรรมเทศนาขอเชิญพระองค์เสด็จไปเฝ้าโดยเร็วเถิด พระเจ้าข้า"
 สิริมหามายาเทพเจ้าผู้เป็นพระพุทธชนนี ได้ทรงสดับท้าวโกสีย์ผู้เป็นจอมเทพในแดนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มากราบทูลดังนั้น ก็พลันบังเกิดความปีติตื้นตันตรัสถามว่า
 "ดูกรท่านท้าววชิรปาณีผู้เป็นใหญ่ !พระบรมโอรสาธิราชของเรานั้นไซร้ ทรงพระสิริรูปโฉมเป็นประการใดท่านได้เห็นเป็นประการใดจงรีบบอกแก่เราไปให้แจ้งในบัดนี้"
 ท้าวสักกะวชิรปาณีจึงทูลว่า
 "ข้าแต่ท่านผู้เป็นพระพุทธมารดา ! พระบรมโอรสของพระองค์นั้นจะหาผู้ใดผู้หนึ่งเปรียบปานนั้นมิได้ในไตรภพพระสรีราพยพประดับด้วยพระมหาปุริสลักษณะ และพระอนุพยัญชนะสมบูรณ์ทุกประการมีพระรัศมีซ่านออกจากพระบวรกายหกประการ มีพระสุรเสียงกอปรด้วยองค์แปดประการไพเราะจะหาผู้จะเสมอมิได้"
 ได้ทรงสดับดังนั้นพลันพระสิริมหามายาเทพบุตรก็ทรงพระโสมนัสว่า
 "อาตมะนี้ไปเกิดในโลกครั้งหนึ่ง ถึงบุญลาภนักหนาชื่อว่าไม่มีใครเทียมเปรียบได้ด้วยว่าได้เป็นพระพุทธมารดา"
 แล้วก็รีบด่วนทรงทิพยภูษาชวนเทพอัปสรกัญญา ลงมาจากดุสิตปราสาทพิมานมีท่านท้าวมัฆวานนำเสด็จมาในเบื้องหน้า
 ครั้นเสด็จมาถึงได้ทอดพระเนตรเห็นองค์สมเด็จพระพิชิตมาร ก็ยิ่งตะลึงลาน ทรงพระปรีดาภิรมย์เพลินชมพระรูปพระโฉมจนทรงลืมอาลัยในดุสิตวิมานชมพลางก็เศร้าโศกเสียพระหฤทัยว่า
 "อาตมะนี้เป็นคนบุญน้อยประสูติสมเด็จพระพุทธองค์อันเป็นพระบวรดนัยได้ ๗ วันเท่านั้นก็ด่วนดับขันธ์ทำกาลกิริยา มิได้เห็นพระลูกรักอันทรงบุญญาภิหารเป็นเวลาช้านานถึงเพียงนี้ นี่ดีแต่ท้าวโกสีย์เสด็จไปบอกจึงได้มีโอกาสมาพบพระบวรโอรส"
 พระสิริมหามายาเทพบุตร ทรงพระกันแสงกำสรดแล้วก็กลับทรงพระสรวลว่า
 "อาตมะนี้ไม่ควรจะปริเทวนาการด้วยว่าอันผู้เกิดมาในวัฏสงสารจะได้มีบุญญาธิการเป็นพระพุทธมารดาดังอาตมะนี้ยากนักหนานับเป็นเวลาช้านานกว่าสมเด็จพระพุทธเจ้าจักมาตรัสแต่ละพระองค์ก็แลว่าพระพุทธมารดานั้น จะมีได้ก็แต่ผู้เดียวเท่านั้นไม่มีสอง อาตมะนี้แลก็ได้เป็นพระพุทธมารดา ฉะนั้นควรจะถือว่า เป็นกุศลแห่งอาตมะโดยยิ่งได้ซึ่งมิ่งมหามงคลลาภอดูลย์ มิได้สูญเสียทีที่อาตมะอุ้มพระครรภ์มาได้ซึ่งพระบรมโอรสอันประเสริฐกอปรด้วยผลประโยชน์ล้ำเลิศเห็นปานดังนี้"
 ส่วนสมเด็จพระชินสีห์สัมมาสัมพุทธเจ้ามีพระพุทธประสงค์ทรงปรารถนาจะกระทำปัจจุปการสนองคุณพระชนนีของพระองค์จึงทรงพระพุทธจินตนาการว่า
 "พระคุณแห่งพระมารดาอันได้ทำไว้แก่ตถาคตนี้ยิ่งใหญ่สูงสุดซึ่งจะคณนาหนากว้างแลคัมภีรภาพพ้นที่จะกำหนดและธรรมอันใดสมควรที่จะทดแทนสนองคุณพระชนนี พระวินัยปิฎกแลพระสุตตันตปิฎกอันมีพระธรรมขันธ์ปิฎกละ ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ก็ยังน้อยเบามิเท่าทันกับพระคุณแห่งพระพุทธชนนี เห็นมีอยู่ก็แต่พระอภิธรรมปิฎกอันมีประมาณ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์เท่านั้นที่จะเทียมทันยกขึ้นขึ้นเปรียบปูนเท่ากันกับคุณพระมารดาก็คุณแห่งพระชนนีนั้นสูงกว้างใหญ่หนามีประมาณเท่าใด ก็แลคุณพระอภิธรรมปิฎกก็ยกชั่งขึ้นมีความสูงกว้างใหญ่หนาและคัมภีรภาพมีประมาณเท่านั้นสมควรที่ตถาคตจะทำปัจจุปการสนองคุณพระมารดาด้วยอภิธรรมเทศนาในกาลบัดนี้"
 ขณะนั้น สมเด็จพระจอมมุนีพุทธองค์ทรงมีพระทัยปรารถนาจะชำระขีรมูล คือจะใช้ค่าน้ำนมของพระพุทธมารดาในอดีตปุเรชาติทั้งหลายอันนับด้วยกัลปเป็นอันมาก มีครุวนาดุจจะและเปลี่ยนปณีตวัตถุอันมีค่ามาก กับด้วยวัตถุที่มีค่ามากดุจกันหรือมิฉะนั้นก็มีครุวนาดุจ จะแลกเปลี่ยนซึ่งสิ่งของอันหาค่ามิได้กับด้วยสิ่งของอันหาค่าบ่มิได้เหมือนกันดังนั้น จึงทรงเหยียดออกซึ่งทักษิณหัตถ์อันวิจิตรไปด้วยตาข่ายลายจักรลักษณะ จากระหว่างผ้าสังฆาฏิตรัสเรียกพระพุทธมารดาว่า
 "ข้าแต่พระชนนี ! พระชนนีจงมานี่พระชนนีจงมานี่ จะทอดพระเนตรดูไปไยซึ่งสรีระรูปโฉมอันเป็นอนิจจังพระพุทธมารดาจงมาใกล้ ๆ นี่เถิด ตถาคตจะให้ซึ่งขีรมูลแลโปสาวนิกมูลใช้ค่าน้ำนมและข้าวป้อนของพระมารดา อันเลี้ยงดูตถาคตมาด้วยความเหนื่อยยากแต่อเนกอนันตชาติในอดีตภพนานนักหนา"
 พระสิริมหามายาเทพบุตรได้ทรงสดับก็ได้พระสติเสด็จเข้ามาใกล้ประทับนั่งข้างหน้า เป็นประธานแห่งหมู่เทพยดาทั้งหลายตั้งพระทัยที่จักสดับพระธรรมเทศนา สมเด็จพระบรมโลกุตมาจารย์ก็โปรดประทานพระสัทธรรมเทศนาพระสัตตปกรณาภิธรรมทั้ง ๗ พระคัมภีร์ครั้นได้สดับพระธรรมเทศนาแห่งองค์สมเด็จพระชินสีห์จบลงองค์พระสิริมหามายาเทพบุตรผู้พระพุทธชนนี ก็ได้สำเร็จพระโสดาปัตติผลเป็นพระอริยบุคคลในพระบวรพุทธศาสนา แล้วเสด็จกลับไปเสวยทิพยสมบัติอันเป็นสุข ณปราสาทพิมานแห่งตน ในแดนสวรรค์ชั้นดุสิตแม้ทุกวันนี้ก็ยังเสวยสุขอยู่อย่างชื่นบานเริงสราญ ด้วยอำนาจแห่งบุญญาธิการที่ได้สร้างสมอบรมไว้แต่ปางบรรพ์
 จึงเป็นอันว่าเหล่าเทพเจ้าผู้มเหศักดิ์ทั้งหลาย ผู้ได้ก่อสร้างกองการกุศลเอาไว้และด้วยเดชะแห่งกุศลนั้นเป็นแรงผลักดันส่งให้มาเกิดในสรวงสวรรค์ชั้นนี้ย่อมมีรูปทรงวงพักตร์และสัณฐานงดงามรุ่งเรืองมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างสดชื่นรื่นเริง ยิ่งกว่าเทพยดาชาวฟ้ายามาสวรรค์ทั้งหลายได้เสวยทิพยสมบัติอันเป็นสุขตามสมควรแก่อัตภาพและสมเด็จท่านท้าวสันดุสิตเทวาธิราชเจ้าผู้ทรงเป็นเทวาธิบดีปกครองสรวงสวรรค์ชั้นนี้เล่า พระองค์ก็ทรงเป็นสัตบุรุษมีน้ำพระทัยประกอบไปด้วยกุศลยุติธรรมทรงปกครองเหล่าเทพเจ้าให้ได้รับความชุ่มฉ่ำเย็นใจได้รับความผาสุกทุกทิพาราตรีกาล

ทางไปสวรรค์ชั้นดุสิต


 หากจะมีปัญหาว่า
 การที่จักได้มีโอกาสไปอุบัติเกิดเป็นเทพเจ้า เสวยทิพยสมบัติเป็นสุขอยู่ ณ แดนสวรรค์ชั้นดุสิตนี้จักต้องทำประการใดบ้าง
 คำวิสัชนาก็มีว่า
 ต้องอุตส่าห์พยายามสร้างเสบียงกล่าวคือบุญกุศล ต้องมีกมลสันดานชอบสดับตรับฟังพระธรรมเทศนาเพื่ออบรมปัญญาให้เจริญผ่องใส ไม่หวั่นไหวโยกคลอนในการประกอบกุศลจริตไม่เป็นผู้มัวเมาประมาทในวัยและชีวิตของตน เร่งสร้างบุญกุศลเช่นบำเพ็ญทานและรักษาศีลเป็นเนืองนิตย์ ทั้งนี้ก็โดยมีพระบาลีชี้ทางไปสู่แดนสวรรค์ชั้นดุสิต ไว้ในสูตรต่าง ๆที่ควรจักทราบดังต่อไปนี้

ทานสูตร


 ดูกรสารีบุตร !ในการให้ทานนั้น บุคคลไม่มีความหวังให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลแห่งทานแล้วให้ทานไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน ไม่ได้ให้ทานด้วยความคิดว่า
 "บิดา มารดา ปู่ย่า ตา ยาย เคยให้เคยทำมาเราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี
 แต่ให้ทานด้วยคิดว่า
 "เราหุงหากินแต่สมณะหรือพราหมณ์ไม่ได้หุงหากิน เราหุงหากินได้จะไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ผู้ไม่หุงหากินย่อมเป็นการไม่สมควร"
 เขาผู้นั้น ให้ทานด้วยอาการอย่างนี้แล้วเมื่อทำกาลกิริยาตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาทั้งหลายในสวรรค์ชั้นดุสิต

ปุญญกิริยาวัตถุสูตร


 ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฎสงสารทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในโลกนี้ กระทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่งกระทำบุญกิริยาวัตถุด้วยศีลมีประมาณยิ่งไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อถึงแก่กาลกิริยาตายไปแล้วเขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดุสิต
 ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย ! ท้าวสันดุสิตเทพบุตร จอมเทพในชั้นดุสิตนั้นทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรกทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรก ท้าวเธอจึงทรงเจริญรุ่งเรืองก้าวล่วงเหล่าเทวดาชั้นดุสิตสวรรค์ โดยฐานะ ๑๐ ประการคือ
 ๑. อายุทิพย์
 ๒. วรรณทิพย์
 ๓.สุขทิพย์
 ๔. สุขทิพย์
 ๕. อธิปไตยทิพย์
 ๖.รูปทิพย์
 ๗. เสียงทิพย์
 ๘. กลิ่นทิพย์
 ๙.รสทิพย์
 ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

สังคีติสูตร


 ดูกรสารีบุตรบุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมถวายข้าวน้ำ ผ้าผ่อน ยวดยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ที่นอน ที่นั่ง ที่พัก ที่อาศัยและสิ่งที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีปให้เป็นทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตนให้ไป โดยเขาได้ฟังมาว่า "พวกเทพเจ้าเหล่าดุสิตสวรรค์เป็นเทพที่มีอายุยืน มีวรรณะงาม มากไปด้วยความสุข"ดังนี้แล้ว เขาจึงจินตนาอย่างนี้ว่า
 โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตกเราพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งพวกเทพเจ้าเหล่าดุสิตสวรรค์เถิด
 เขาตั้งจิตนั้นไว้อธิษฐานจิตนั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่ทำมิได้อบรมเพื่อคุณเบื้องสูง อย่างนี้ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิตนั้นก็ข้อนี้แล เรากล่าวสำหรับบุคคลผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับบุคคลผู้ทุศีลผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจของบุคคลผู้มีศีลย่อมสำเร็จลงได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์
 ข้อความที่ยกขึ้นมาอ้างไว้นี้ย่อมจักเป็นเครื่องชี้ให้เห็นอย่างแจ้งชัดว่าการที่จักได้มีโอกาสไปอุบัติเกิดเป็นเทพยดา ณ แดนสุขาวดีดุสิตสวรรค์นี้จักต้องมีปฏิปทาเป็นประการใด ในลำดับต่อไปนี้ จักขอเอาชีวประวัติแห่งมนุษย์ผู้ตายไปผุดเกิดเป็นเทพยดาในสวรรค์ชั้นดุสิตเทวโลกมาเล่าให้ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลายได้รับฟังไว้ดังนี้

 

 

อนาถปิณฑิกเทพบุตร


 ได้สดับมาว่าครั้งอดีตกาลนานมาแล้ว ในสมัยที่พระมิ่งมงกุฎปทุมุตตระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาอุบัติตรัสในโลกนี้ มีมาณพหนุ่มผู้หนึ่งได้เห็นองค์สมเด็จพระจอมมุนีพระองค์นั้น ซึ่งทรงตั้งอุบาสกคฤหบดีผู้หนึ่งไว้ในตำแหน่งเลิศกว่าบรรดาทายกทั้งหลายแล้ว มีความพอใจยินดีจึงกระทำอธิการกุศลแล้วปรารถนาตำแหน่งนั้น ครั้นเขาทำกาลกิริยาตายแล้วได้ท่องเที่ยวเวียนตายเวียนเกิดอยู่ในกำเนิดแห่งเทวดาและมนุษย์ด้วยอำนาจแห่งวัฏสงสารเป็นเวลาช้านานตกมาถึงสมัยที่สมเด็จพระมิ่งมงกุฎสมณโคดมบรมครูเจ้าแห่งเราได้เสด็จมาอุบัติตรัสในโลกในพุทธาปาทกาลนี้ มาณพหนุ่มนั้นได้มาเกิดเป็นบุตรของท่านสุมนเศรษฐี ในพระนครสาวัตถี มีนามว่า "สุทัตกุมาร"ครั้นเจริญวัยวัฒนาการแล้ว ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเศรษฐีสืบตระกูลแทนบิดาเพราะเหตุที่ท่านสุทัตตะเศรษฐี มีทรัพย์มากและยินดีในการบริจาคทานให้แก่คนอนาถาทั้งหลายเป็นประจำ ชนทั้งหลายจึงขนานนามท่านเศรษฐีนั้นให้เป็นที่รู้กันทั่วไปว่า ท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐีเศรษฐีผู้มีก้อนข้าวเพื่อคนอนาถา
 อยู่มาคราวหนึ่ง ท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐีได้บรรทุกสินค้าเต็ม ๕๐๐ เล่มเกวียนออกจากกรุงสาวัตถีมุ่งหน้าเดินทางไปยังกรุงราชคฤห์เมื่อถึงแล้วก็นำขบวนเกวียนเข้าไปพักที่บริเวณบ้านท่านราชคหกเศรษฐีซึ่งเป็นพี่ชายแห่งภริยาของตน ขณะนั้นราชคหกเศรษฐีได้นิมนต์พระสงฆ์ซี่งมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธานไว้ เพื่อจักถวายอาหารบิณฑบาตจึงเร่งสั่งกำชับพวกทาสกรรมกรทั้งหลายอยู่อย่างวุ่นวายด้วยความเป็นห่วงเกรงว่าเจ้าพวกนั้นเขาจะแจงอาหารเพื่อถวายพระสงฆ์บกพร่องไม่เรียบร้อย อนาถบิณฑิกคฤหบดี เห็นพี่ภรรยามีท่าทางวุ่นวายเตรียมงานใหญ่ ก็ให้มีความสงสัยว่า "เมื่อก่อนนี้พอเรามาถึงท่านเจ้าของบ้านผู้พี่ชาย ต้องพักกิจการทั้งปวงไว้แล้วมาต้อนรับแสดงความชื่นชมยินดีในการมาของเราทุกคราวไป แต่ครั้งนี้เขากังวลแต่สั่งทาสกรรมกรให้จัดทำอาหาร จักมีการแต่งงานหรือการบูชายัญใหญ่หรือเขาได้กราบบังคมทูลอัญเชิญสมเด็จพระราชาธิบดีให้มาเสวยในวันพรุ่งนี้หรืออย่างไร"พอราชคหกเศรษฐีสั่งพวกทาสกรรมกรเสร็จแล้ว ก็ออกไปต้อนรับด้วยความยินดี เช่นเคยอนาถปิณฑิกะผู้น้องเขย จึงถามว่า
 "ข้าแต่พี่ !พี่ได้เตรียมพิธีการใหญ่ให้วุ่นวายอยู่ดังนี้ จะมีการแต่งงานหรือบูชายัญใหญ่หรือจะมีการเลี้ยงสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินท่าน"
 "ดูกรน้องรัก !ที่นี่ไม่มีการแต่งงานไม่มีการอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเสวยพระกระยาหารเลี้ยงเป็นแต่ได้เตรียมการบูชาไว้ อย่างใหญ่หลวงที่สุดคือพี่ได้ทูลอาราธนาสมเด็จพระพุทธเจ้าให้พาพระอริยสงฆ์ทั้งหลายมาเสวยภัตตาหารในวันพรุ่งนี้"
 แต่พอราชคหกเศรษฐีกล่าวดังนี้ดวงฤดีของอาคันตุกะอนาถปิณฑิกคฤหบดีนั้น ก็พลันหวั่นไหวมึนงงมิอาจจะดำรงจิตให้เป็นการปรกติได้ และโสตประสาทนั้นไซร้ก็ให้บังเกิดมีอาการอื้ออึงอลวนจนครู่หนึ่งแล้วจึงค่อยเอ่ยปากถามขึ้นได้ว่า
 "ข้าแต่พี่ !เมื่อตะกี้นี้พี่ว่ากระไรนะ ดูเหมือนพี่ว่า "สมเด็จพระพุทธเจ้า"มิใช่หรือๆว่ากระไร"
 "ถูกแล้ว" เศรษฐีพี่ภริยากล่าวซ้ำ
 "จริงฤาที่พี่ออกนามสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรากฏขึ้นในโลกแล้วจริงฤา"อนาถปิณฑิกผู้มีวาสนากล่าวคล้ายกับไม่เชื่อหูของตนเอง
 จนกระทั่งราชคหกเศรษฐีออกพระนามสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึง ๓ ครั้งและกล่าวยืนยันอย่างมั่นคงว่าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ปรากฏขึ้นในโลกแล้วจริง ๆนั่นแหละ อนาถปิณฑิกจึงได้เชื่อ และกล่าวขึ้น ทั้ง ๆยังไม่ได้พักผ่อนจากความเหน็ดเหนื่อยที่ต้องเดินทางรอนแรมมาแต่ไกลในขณะนั้นเองว่า
 "ข้าแต่พี่ ! เสียงว่า "สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" นี้ เป็นเสียงที่ปรากฏมีขึ้นได้ยากในโลกข้าพเจ้าอาจจะได้เฝ้าสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐสุดในขณะนี้ได้หรือไม่เล่า"
 "ไม่ได้"ราชคหกเศรษฐีบอก เพราะไม่ใช่เวลาเสียแล้ว รอเอาไว้พรุ่งนี้เถิดน้องเป็นต้องได้เฝ้าสมเด็จพระพุทธองค์เป็นแน่ขณะนี้พักผ่อนหลับนอนให้เป็นที่สบายเสียก่อนดีกว่าเพราะนี่ก็ย่ำสนธยาแล้ว"
 ราตรีนั้น อาคันตุกะผู้มาจากแดนไกลนอนมิค่อยจะหลับลงได้ เพราะในดวงฤทัยนั้นให้พะวงอยู่แต่ว่า "พรุ่งนี้แต่เพลาเช้าเราก็จักมีโอกาสได้เฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบรมโลกกุตมาจารย์"คืนนั้นเขาได้ตื่นขึ้นมาเป็นครั้งที่ ๓ ในเพลาเที่ยงคืนไปแล้วแต่เมื่อเห็นว่ายังไม่สว่างจึงกลับลงนอนอีก หลับไปได้หน่อยเดียวก็ต้องตื่นขึ้นอีกด้วยอำนาจแห่งความใคร่ที่จักได้เห็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นกำลังครั้งนี้อดใจมิได้แล้วก็ตัดสินใจฉับพลันลงมาจากตึกชั้นแต่เพียงผู้เดียวในเพลาราตรีนั้นออกจากบริเวณบ้านอันกว้าวใหญ่ของท่านราชคหกเศรษฐีซึ่งอยู่ในตัวเมืองจักไปยังป่าสีตวัน อันเป็นที่ประทับอยู่แห่งองค์สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าที่ตนได้ข่าวเมื่อเย็นนี้
 ก็ในสมัยนั้นพระนครราชคฤห์เป็นนครหลวงใหญ่มีประชาชนพลเมืองอาศัยอยู่มากมายเฉพาะภายในเมืองมีคนอยู่ ๙ โกฏิ และคนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่นอกตัวเมืองก็มีประมาณถึง๙ โกฏิพอๆกัน เมื่อมีคนอยู่มากเช่นนั้น ก็ย่อมจะต้องมาการตายบ้างเป็นธรรมดาคนที่ถึงแก่มรณะในราตรีนั้น พวกญาติพี่น้องไม่สามารถที่จำนำเอาไปเผาได้ทันเพราะเป็นเวลากลางคืน จึงนำเอาศพนั้นออกจากบ้านมาวางไว้ข้าง ๆ ทางด้วยตั้งใจว่าจักเผาในเวลากลางวันและคืนนั้นก็มีคนเอาศพมาวางไว้ใกล้ทางอยู่หลายศพ
 ท่านมหาเศรษฐีต่างเมืองพอออกมาพ้นประตูเมืองเพื่อเดินทางไปยังป่าสีตวัน ในค่ำคืนอันมืดสนิทและดึกสงัดเงียบเมื่อเขาเดินมะงุมมะงาหราออกมาด้วยความไม่ชำนาญทางเช่นนั้นพลันเท้าหนึ่งก็เหยียบเอาศพสด ๆ เข้าและอีกเท้าหนึ่งก็สะดุดศพอีกศพหนึ่งซึ่งมีฝูงแมลงวันแตกฮือมีกลิ่นเหม็นอย่างร้ายกาจกระทบจมูก
 "นี่มันอะไรกัน"มหาเศรษฐีอุทานออกมาด้วยสงสัย พลางก้มหน้าลงไปเพื่อพิจารณาดู พอรู้ว่าเป็นผีตายท่านมหาเศรษฐีก็ใจคอหายด้วยความตกใจ จึงยืนชะงักงันอยู่ความเลื่อมใสอุตสาหะที่จะไปเฝ้าพระสัพพัญญูเจ้าในขณะนั้นก็ลดลงไปหน่อยหนึ่ง
 "ช้างร้อยม้าร้อย รถร้อย สาวน้อยที่ประดับประดาด้วยกุณฑลแก้วมณีอีกตั้งแสนก็ไม่ประเสริฐดีเท่าเสี้ยวที่ ๑๖แห่งการก้าวเท้าไปเพื่อเฝ้าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพียงก้าวเดียวไปเถิดอนาถปิณฑิกคฤหบดี ท่านจงเดินทางต่อไปอีกเถิดอย่าท้อถอย"
 เสียงประหลาดเสียงหนึ่งว่าดังนี้แหวกม่านดำแห่งราตรีลงมาจากเบื้องบนอากาศซึ่งทำให้ท่านเศรษฐีแปลกประหลาดและยิ่งตกใจนัก แลเสียงนั้นดังขึ้นตั้ง ๒-๓ ครั้งดังนั้น ท่านอนาถปิณฑิกะผู้จะได้เฝ้าสมเด็จพระพุทธเจ้า จึงแหงนหน้าขึ้นฟ้าแล้วถามไปอย่างนั้นเองว่า
 "ท่านเป็นใครไฉนจึงได้รู้จักเราเล่า"
 "เราคือยักษ์ผู้เป็นสัมมาทิฐิ มีนามว่าสีวกยักษ์ มีความรักใคร่เห็นใจท่านนัก จึงคอยพิทักษ์รักษา และได้ส่งเสียงร้องมาก็เพื่อที่จะให้กำลังใจแก่ท่านคฤหบดี การไปข้างหน้าของท่านประเสริฐท่านจงเดินทางต่อไปเถิดการกลับด้วยความท้อถอยศรัทธานั้นไม่ประเสริฐเลย"
 เสียงกล่าวตอบลงมาจากเบื้องบนว่าดังนี้ ซึ่งก็ทำให้ท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐีมีกำลังใจเดินทางต่อไปจนกระทั่งลุถึงป่าสีตวันอันเป็นที่ประทับอยู่แห่งองค์สมเด็จพระบรมครูเจ้าพร้อมเหล่าพระสงฆ์สาวกทั้งหลาย ในขณะนั้นเป็นเวลาจวนรุ่งสางสว่างแล้วสมเด็จองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า กำลังทรงเดินจงกรมอยู่ในที่แจ้งได้ทรงเห็นท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดีมาแต่ไกลจึงตรัสเรียกด้วยพระพุทธอัชฌาสัยว่า
 "มาทางนี้ สุทัตตะ !"
 "อนาถปิณฑิกะผู้มิค่อยจะได้หลับได้นอนเท่าใดนักในคืนนั้นก็พลันสะดุ้งแต่เมื่อได้เหลือบไปเห็นพระรัศมีอันพวยพุ่งและพระวรกายอันรุ่งเรืองแห่งองค์พระสัพพัญญูเจ้าก็เจ้าใจได้ในทันทีว่า พระองค์ผู้ทรงรัศมีประมาณวาหนึ่งนี้คือองค์สมเด็จพระโลกเชษฐเพราะเหตุที่ทรงเรียกว่า "สุทัตตะ" อันเป็นนามเดิมของตนได้อย่างถูกต้องจึงน้อมกายประคองอัญชลีเข้าไปหมอบลงที่เบื้องบงกชพุทธบาทอยู่ครู่หนึ่งด้วยความเลื่อมใสอย่างสุดซึ่งในดวงฤดีแล้วจึงมีวาจาค่อยทูลถามทั้งน้ำตาคลอด้วยปีติว่า
 "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! ราตรีนี้พระองค์ทรงเข้าที่บรรทมค่อยเป็นสุขดีดอกหรือพระเจ้าข้า"
 สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทอดพระเนตรดูท่านคฤหบดีด้วยพระพุทธนัยนาอันประกอบไปด้วยพระมหากรุณาใหญ่แล้วตรัสตอบไปด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะดังเสียงแห่งพระพรหมว่า
 "ดูกรอนาถปิณฑิกะผู้ที่ดับความร้อนหมดแล้ว ผู้ที่ไม่ติดในกามทั้งหลาย ผู้เย็นแล้วผู้ไม่มีอุปธิคือที่ขังทุกข์ย่อมนอนเป็นสุขทุกเมื่อ"
 ครั้นทรงมีพระพุทธฎีกาตรัสฉะนี้แล้วก็ทรงแสดงอนุปุพพีกถา และพระจตุราริยสัจให้ท่านคฤหบดีผู้มีอุปนิสัยได้สดับแต่พอสดับธรรมีกถาอันเหมาะแก่อุปนิสัยวาสนาบารมีจากพระโอฐแห่งองค์สมเด็จพระชินสีห์บรมไตรโลกนาถเจ้าจบลงแล้วท่านอนาถปิณฑิกก็ได้สมบัติแก้วกล่าวคือได้ธรรมจักษุมีดวงตาปัญญาแจ่มจ้าปราศจากธุลีมลทินสามารถเห็นนิโรธอริยสัจคือพระนิพพานสำเร็จเป็นพระโสดาบันอริยบุคคลในพระบวรพุทธศาสนาเพราะว่าได้บรรลุพระโสดาปัตติผลในเพลาอรุณรุ่งวันนั้นเอง
 วันหลังต่อมาโสดาบันอนาถปิณฑิกคฤหบดีได้เตรียมพิธีการใหญ่จะถวายอาหารบิณฑบาตแก่พระสงฆ์มีองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าเป็นประธานขึ้นที่บ้านท่านราชคหกเศรษฐีแม้ท่านผู้ราชคหกเศรษฐีผู้เป็นเจ้าของบ้าน และสมเด็จพระเจ้าพิมพิสารราชาธิบดีจะรับอาสาจัดอาหารเลี้ยงพระภิกษุสงฆ์แทนเพราะเห็นว่าท่านอนาถปิณฑกะเป็นแขกต่างบ้านต่างเมืองไม่ควรจะสิ้นเปลืองทรัพย์ค่าอาหารมากมายเช่นนั้นแต่ท่านเศรษฐีต่างเมืองผู้มีน้ำใจเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระรัตนตรัยก็หายินยอมไม่จัดพิธีการใหญ่เพื่อเลี้ยงพระภิกษุสงฆ์มากมายพอได้เวลาก็ใช้ให้คนไปกราบทูลเวลาอาราธนาสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ามาครั้นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพาพระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จเข้าไปเสวยและเมื่อเสด็จจากเสวยแล้ว ท่านอนาถปิณฑิกะผู้เป็นเจ้าภาพได้เข้าไปหมอบแทบพระยุคลบาท แล้วกราบทูลว่า
 "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !ข้าพระบาทขอทูลอาราธนา ขอพระผู้มีพระภาคเจ้ากับพระภิกษุสงฆ์จงทรงอนุเคราะห์เพื่อการพักอยู่ตลอดไตรมาส ณ ที่กรุงสาวัตถีของข้าพระบาทเถิดพระเจ้าข้า"
 เมื่อทรงรับอาราธนาจึงมีพระพุทธฏีกาตรัสว่า
 "ดูกรคฤหบดี ! ธรรมดาว่าพระตถาคตทั้งหลายย่อมยินดียิ่งในสถานที่อันสงัด"
 "ข้าพระบาท ทราบเกล้าแล้วพระเจ้าข้า"
 เขารับพระพุทธดำรัสฉะนี้แล้วก็ส่งเสด็จพระผู้พระภาคเจ้าไปยังสีตวันอันเป็นที่ประทับ ต่อจากนั้นก็รีบจัดแจงกรณียกิจเกี่ยวกับสินค้าที่บรรทุกมาในเมืองราชคฤห์จนเสด็จสิ้นแล้วจึงเตรียมเดินทางกลับกรุงสาวัตถี ในเวลาที่เดินทางกลับนั้นเมื่อถึงระยะที่พักในระหว่างทางได้ให้เงินแห่งละ ๑๐๐,๐๐๐กษาปณ์แก่คนทั้งหลายแล้วสั่งว่า
 "พวกท่านทั้งหลายจงสร้างอารามจงสร้างวิหาร จงให้ทาน สมเด็จพระบรมโลกุตมาจารย์สัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก เราได้ทูลอาราธนาไว้แล้ว พระองค์จักเสด็จมาตามทางนี้ในไม่ช้านี้แหละ"
 บริจาคทรัพย์และสั่งไว้ดังนี้ทุกแห่งตลอดระยะทางก็ตามธรรมดา ท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดีนี้ เป็นผู้มีชื่อเสียง เป็นผู้มีมิตรสหายมากมีผู้เชื่อถือถ้อยคำเพราะเป็นคนมีศีลธรรมประจำใจอยู่แล้ว ฉะนั้นพวกคนที่รับคำสั่งตลอดระยะทางก็พากันสร้างอาราม สร้างวิหารและตระเตรียมจัดของให้ทานไว้ ตามคำของเศรษฐีผู้ใจดีอย่างเรียบร้อยทุกแห่งไปฝ่ายท่านคฤหบดี เมื่อเดินทางกลับมาถึงกรุงสาวัตถีแล้วก็เที่ยวตรวจดูรอบเมืองสาวัตถี ไม่พบสถานที่ที่เหมาะใจสักแห่งหนึ่งซึ่งเป็นที่สมควรจะสร้างวิหาร จนกระทั่งวันหนึ่ง ได้เดินเที่ยวหามาจนถึงสวนของ "เจ้าเชตกุมาร" เห็นว่าเป็นสถานที่สมควรแก่การประทับอยู่ขององค์สมเด็จพระบรมครูเจ้าเพราะเป็นสถานที่ไม่ไกลนัก สมบูรณ์ด้วยทางไปทางมาเหมาะสมกับการที่คนทั้งหลายจะไปมาได้สะดวก กลางวันไม่มีผู้คนพลุกพล่านกลางคืนเงียบงัด เหมาะแก่การที่จะบำเพ็ญสมณธรรม เมื่อพบสถานที่อันเหมาะใจเช่นนั้นจึงตรงเข้าไปหาเจ้าเชตกุมารแล้วขอซื้อทันที
 "ขายไม่ได้นอกจากจะเอาเงินมาเรียงเป็นโกฏิ ๆ "ท่านเจ้าของที่กล่าวโดยไม่ประสงค์จะขาย
 "ตกลง" ท่านเศรษฐีกลับตอบสั้น ๆโดยเชตกุมารนั้นไม่คาดฝัน แล้วกลับไปบ้านตน สั่งคนให้บรรทุกเงินเหรียญเป็นเกวียน ๆนับเป็นเงินถึง ๑๘ โกฏิไปเทลาดจนเต็มสวน ยังเหลืออยู่เพียงที่ใกล้ซุ้มประตูเท่านั้นก็พอดีเงินที่ขนไปเที่ยวแรกหมดลง จึงสั่งให้คนไปขนเอาเงินที่บ้านมาอีก ในขณะนั้นเจ้าเชตกุมารผู้ขายที่ จึงคิดว่า "เรื่องนี้คงจักไม่ใช่เรื่องเล็กเสียแล้วจึงดูท่านคฤหบดีเอาจริงเอาจัง ถึงกับสละเงินมากมายเพียงนี้สมเด็จพระชินสีห์สัมมาสัมพุทธเจ้า คงจักต้องทรงเป็นผู้มีพระคุณอันประเสริฐอย่างแน่ๆ"ดำริฉะนี้แล้วเจ้าเชตกุมารผู้ยังไม่รู้จักสมเด็จพระพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า
 "อย่าเลยท่านคฤหบดี เท่านี้ก็พอแล้วอย่าเอาเงินมาเรียงที่ตรงนี้เลยจงเหลือที่นี่ไว้ให้เราบ้างเถิดเราจักขอร่วมบุญกุศลกับท่านในการนี้ด้วย"
 คฤหบดีผู้มีศรัทธาใหญ่เมื่อได้ฟังเจ้าของที่ราคาแพงว่าดังนั้น ก็พิจารณาอยู่หนึ่งเห็นว่าเจ้าเชตกุมารผู้นี้ เป็นผู้มีชื่อเสียง มีคนรู้จัก มีคนนับหน้าถือตามากจักทำให้คนทั้งหลายเกิดความเลื่อมใสในพระบรมพุทธศาสนาได้มากซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์ในการที่จะะให้คนทั้งหลายได้มีโอกาสดื่มรสอมตธรรมในวันหน้าได้อย่างหนึ่งจึงตอบตกลงด้วยดี เจ้าเชตกุมาร ก็สั่งให้คนของตนสร้างซุ้มประตูลง ณ ที่ตรงนั้นเมื่อการชำระเงินค่าที่ด้วยวิธีแปลกประหลาดผ่านพ้นไปแล้วอนาถปิณฑิกเศรษฐีผู้ใจผ่องแผ้ว ก็เริ่มให้นายช่างจัดการสร้างวิหาร ศาลา โรงไฟกัปปิยกุฎี วัจจกุฎี ที่จงกลม โรงจงกรม บ่อน้ำ ศาลาบ่อน้ำ สระโบกขรณี และปะรำจนสำเร็จเป็นวิหารใหญ่ในสถานที่นั้น ซึ่งปรากฏนามเป็นที่รู้กันทั่วไปในภายหลังว่า "วัดพระเชตวันมหาวิหาร"
 เมื่อได้จัดการตกแต่งประดับประดาพระเชตวันมหาวิหารสำเร็จเรียบร้อยลงทุนทุกประการแล้วท่านอนาถปิณฑิกะมหาเศรษฐีก็ส่งทูลไปทูลอาราธนาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังกรุงราชคฤห์ทันทีเมื่อสมเด็จพระชินสีห์ทรงสดับคำทูลอาราธนาของทูลแล้ว ก็ทรงพาพระภิกษุสงฆ์เป็นอันมากเสด็จมายังกรุงสาวัตถีตามเส้นทางที่ท่านเศรษฐีกำหนดไว้จนกระทั่งมาถึงได้เสด็จเข้าสู่พระเชตวันมหาวิหารด้วยพระพุทธลีลาอันงามเลิศหาที่เปรียบมิได้ โดยที่พระสรีราพยพแห่งพระองค์นั้นไซร้เปล่งปลั่งไปด้วยพระรัศมีหกประการแผ่ซ่านไปทั่วทิศานุทิศเป็นที่อัศจรรย์จิตแห่งเทพยดาแลมนุษย์ทั้งหลายครั้นเสด็จเข้าไปประทับนั่ง ณ พุทธอาสน์เรียบร้อยแล้วอนาถปิณฑิกะจึงหมอบลงแทบพระยุคลบาทแล้วทูลถามข้อปฏิบัติขึ้นว่า
 "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !ข้าพระบาทจักปฏิบัติต่อวิหารนี้อย่างไรพระเจ้าข้า"
 จึงมีพระพุทธฎีกาว่า
 "ดูกรคฤหบดี !ท่านจงถวายวิหารนี้แก่พระภิกษุสงฆ์ซึ่งมาจากจตุรทิศ"
 คฤหบดีผู้จิตตกกระแสพระนิพพานเป็นพระโสดาบันจึงทูลรับว่า "พระเจ้าข้า"แล้วยื่นเมื่อจับเอาเต้าทองคำหลั่งน้ำลงไปที่พระหัตถ์แห่งองค์สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์แล้วกราบทูลว่า
 "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !ข้าพระบาทขอตั้งจิตถวายพระเชตวันมหาวิหารนี้อุทิศแก่พระสงฆ์ซึ่งมาจากทิศทั้ง ๔มีองค์สมเด็จพระชินค์พระชินสีห์เจ้าเป็นประธานในกาลบัดนี้พระเจ้าข้า"
 สมเด็จพระบรมศาสดา ทรงรับพระวิหารแล้วก็ทรงอนุโมทนาด้วยวิหารทานคาถา ตั้งแต่วันนั้นมาท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐีก็จัดให้มีพิธีการงานฉลองพระมหาวิหารอยู่นานถึง ๙ เดือนนับเป็นการบริจาคทานอย่างมโหฬาร รวมเบ็ดเสร็จทั้งสิ้นทั้งค่าซื้อที่ ค่าก่อสร้างและค่าฉลองเป็นจำนวนเงิน ๕๔ โกฏิ ต่อจากนั้นก็ปรากฏกว่าท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดีมีจิตศรัทธาทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาอีกเป็นอันมากและสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงมีพระพุทธฏีกาตรัสว่า อนาถปิณฑิกะมหาเศรษฐีนี้เป็นผู้เลิศกว่าทายกทั้งหลาย ในพระศาสนานี้
 วันเดือนปีล่วงไปอายุแลยังก็ย่อมล่วงไปตามเป็นธรรมดา ท่านคนาถปิณฑิกเศรษฐีนั้น บัดนี้เป็นคนชราและเจ็บไข้มานาน ใกล้มรณกาลเต็มที่ นอนอยู่บนมรณมัญจาอาสน์เตียงเป็นที่ตายแต่ยังมีกำลังพอที่จะเรียกคนใช้คนหนึ่งมาแล้วสั่งว่า
 "พ่อมหาจำเริญ !พ่อจงเข้าไปเฝ้าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระคุณอันประเสริฐ ยังที่ประทับแล้วจงถวายบังคมด้วยเศียรเกล้าและกราบทูลพระองค์ว่า
 ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญบัดนี้ อนาถปิณฑิกคฤหบดีป่วยเป็นไข้หนัก ทนทุกขเวทนาขอถวายบังคมมายังพระยุคลบาทแห่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า
 กราบทูลดังนี้แล้วพ่ออย่าเพิ่งกลับจงแวะไปหาท่านพระสารีบุตรองค์ธรรมเสนาบดีที่ที่ท่านอยู่แล้วกราบเท้าท่านและกราบเรียนถวายอย่างนี้ว่า
 ข้าแต่ท่านผู้เจริญบัดนี้ อนาถปิณฑิกคฤหบดีป่วยหนัก ทนทุกขเวทนาเป็นไข้หนักขอกราบเท้าท่านพระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้า ข้าแต่ท่านผู้เจริญหากมีโอกาสเหมาะแล้วขอท่านพระสารีบุตรจงอาศัยความอนุเคราะห์นิมนต์เข้าไปยังนิเวศน์ของท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดีเถิดเจ้าข้า
 จำได้ไหมเล่า ที่เราบอกนี่น่ะ ถ้าจำได้แล้วก็จงรีบไปแต่เดี๋ยวนี้เถิดพ่อ"
 บุรุษคนใช้นั้นรับคำท่านอนาถปิณฑกคฤหบดีแล้วก็ค่อยคลานออกมาและรีบเดินทางมุ่งหน้าไปยังพระเชตวันมหาวิหารหลังจากที่เข้าไปกราบทูลสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ธรรมราชาแล้วก็เข้าไปกราบเรียนท่านพระสารีบุตรผู้ธรรมเสนาบดี และกรุณาเรียนนิมนต์โดยดุษณีภาพพอบุรุษนั้นกราบลาไปแล้ว องค์ท่านธรรมเสนาบดี ก็นุ่งสบงทรงจีวรมีท่านพระอานนท์พุทธอนุชาเป็นปัจฉาสมณะพากันเข้าไปยังนิเวศน์ของท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดีแล้วนั่งยังอาสนะที่เขาแต่งตั้งเตรียมไว้เรียบร้อยแล้วจึงกล่าวถามขึ้นว่า
 "ดูกรท่านคฤหบดี ! ท่านพอทนได้ พอเป็นไปได้อยู่หรือทุกขเวทนาทุเลาไม่กำเริบ ปรากฏความทุเลาลง ไม่ปรากฏความกำเริบละหรือ ๆอย่างไร"
 "กระผมเหลือทนแล้ว ข้าแต่พระคุณเจ้าสารีบุตร "ท่านอนาถปิณฑิกะกล่าวค่อย ๆ ด้วยความเจ็บปวดพร้อมกับยกมือขึ้นมานมัสการด้วยความตื้นตันใจแล้วก็กล่าวต่อไปว่า
 "ลมเหลือประมาณกระทบกระหม่อมของกระผมอยู่เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง เอาของแหลมคมทิ่มที่กระหม่อมของกระผมอยู่ฉะนั้นและอีกประการหนึ่ง
 ลมเหลือประมาณ เวียนศีรษะกระผมอยู่เปรียบเหมือบุรุษมีกำลังให้คนขันศีรษะของกระผมด้วยชะเนาะแน่นหนาฉะนั้นและอีกประการหนึ่ง
 ลมเหลือประมาณ ปั่นป่วนท้องของกระผมเปรียบเหมือนเพชฌฆาตฆ่าโคหรือลูกมือของเพชฌฆาตฆ่าโคผู้ฉลาดเอามีดแล่เนื้อโคอันคมขาวมาคว้านท้องของกระผมฉะนั้นและอีกประการหนึ่ง
 ความร้อนในกายของกระผม มีมากมายเหลือประมาณเปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง ๒ คน จับบุรุษมีกำลังน้อยกว่าที่อวัยวะ ป้องกันตัวต่าง ๆแล้วจึงทำการนาบ ย่าง ในหลุมถ่านเพลิงฉะนั้น
 เพราะเหตุดังนี้แหละกระผมจึงจะทนไม่ไหวแล้ว ทุกขเวทนาของกระผมหนักมากนักพระคุณเจ้าสารีบุตรผู้เจริญ"
 องค์ธรรมเสนาบดีสารีบุตรผู้ชาญฉลาดในการแสดงพระธรรมเทศนาเห็นว่าท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดีเป็นพระโสดาบันอริยบุคคลแล้วและในขณะวิกฤติการณ์อันเลวร้ายเช่นนี้ พระธรรมเทศนาที่เหมาะสมก็คือการตั้งสติกำหนดอารมณ์มาประจวบเข้า ฉะนั้น พระผู้เป็นเจ้าจึงแสดงธรรมโดยเริ่มต้นว่า "ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นจักษุและวิญญาณที่อาศัยจักษุ จักไม่มีแก่เรา"ดังนี้เป็นต้น
 ขอท่านสาธุชนทั้งหลายพึงทราบว่าพระธรรมเทศนาที่พระสารีบุตรแสดงแก่ท่านคฤหบดีในครั้งนี้มีใจความพิสดารมากมาย แต่ไม่สามารถจะนำมากล่าวไว้ในที่นี่ทั้งหมดได้ถ้าท่านผู้ใดสนใจ พึงค้นดูในอนาถปิณฑิโกวาทสูตรนั้นเถิดบัดนี้จะขอรวบรัดตัดความให้สั้นเข้าว่าเมื่อองค์พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรแสดงพระธรรมเทศนาจบลงแล้วท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดีก็ร้องไห้ น้ำตาไหลอยู่ขณะนั้นสาวกสมเด็จพระบรมครูที่มาด้วยอีกผู้หนึ่งคือพระอานนท์เถระให้แปลกใจสงสัยจึงถามขึ้นว่า
 "ดูกรคฤหบดี ! ท่านยังมีอาลัยใจจดใจจ่ออยู่หรือ"
 อนาถปิณฑิกคฤหบดีผู้ป่วยหนักจึงค่อยกราบเรียนว่า
 "ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ ! กระผมมิได้อาลัยมิได้มีใจจดใจจ่อ แต่ว่าตัวกระผมได้นั่งใกล้สมเด็จพระบรมศาสดาของเราและได้นั่งใกล้หมู่พระภิกษุสงฆ์ที่น่าเจริญใจมานานแล้วไม่เคยได้สดับธรรมีกถาเช่นนี้เลย"
 พระอานนท์จึงชี้แจงว่า
 "ธรรมีกถาเห็นปานนี้ มิได้แจ่มแจ้งแก่คฤหัสถ์แต่แจ่มแจ้งแก่บรรพชิตนะคฤหบดี"
 ครั้นพอสมควรแก่กาลเวลาแล้วพระพุทธชิโนรสทั้งสอง ก็กล่าวคำอำลาท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดี กลับไปยังที่อยู่ของตน ณเชตวันมหาวิหาร แต่พอท่านทั้งสอง ลากลับไปไม่นานท่านอนาถปิณฑิกมหาเศรษฐีผู้ป่วยหนักก็ดับขันธ์ถึงแก่ชีพิตักษัยเป็นอันจบชีวิตแห่งท่านทานบดียิ่งใหญ่ในศาสนาแห่งพระสมณโคดมบรมครูเจ้าแห่งเราท่านทั้งหลายเพียงเท่านี้
 เมื่อดับขันธ์แล้วมาเกิดเป็นเทพบุตรสุดประเสริฐณ ปราสาทพิมานในแดนสวรรค์ชั้นดุสิต คือสรวงสวรรค์ชั้นที่เรากำลังพูดถึงกันอยู่นี้มีนามปรากฏว่า "อนาถปิณฑิกเทพบุตร"แต่พอสิ้นใจตายจากมนุษยโลกและมาบังเกิดเป็นเทพดาได้ไม่นานด้วยดวงมานที่ผูกพันเคารพเลื่อมใสในองค์พระสัพพัญญูเจ้าอย่างลึกซึ้งจึงในปฐมยามราตรีนั้นเองอนาถปิณฑิกเทพบุตรก็ออกจากปราสาทพิมานบนสรวงสวรรค์ชั้นดุสิตมุ่งหน้ามายังมนุษยโลกเรานี้ แล้วเข้าเฝ้าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถวายอภิวาทแล้วกราบทูลว่า

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !พระเชตวันนี้มีประโยชน์อันสงฆ์ผู้แสวงบุญอยู่อาศัยแล้วอันพระองค์ผู้เป็นธรรมราชาประทับอยู่เป็นที่บังเกิดปีติแก่ข้าพระองค์สัตว์ทั้งหลาย ย่อมบริสุทธ์ด้วยธรรม ๕ประการนี้คือ กรรม ๑ วิชชา ๑ ธรรม ๑ ศีล ๑ ชีวิตอันอุดม๑ไม่ใช่บริสุทธิ์ด้วยโคตรหรือด้วยทรัพย์เพราะฉะนั้นแล บุคคลผู้เป็นบัณฑิตเมื่อเล็งเห็นประโยชน์ของตน พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคายจะบริสุทธิ์ในธรรมนั้นด้วยอาการนี้พระสารีบุตรนั้นแลย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ด้วยปัญญาด้วยศีล และด้วยความสงบความจริงผู้ถึงฝั่งแล้วจะอย่างยิ่งก็เท่าพระสารีบุตรนี้เท่านั้น"

อนาถปิณฑิกเทพบุตรกราบทูลดังนี้กะองค์สมเด็จพระชินสีห์สัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วจึงได้ถวายอภิวาทกระทำประทักษิณแล้วก็กลับไปสถิตเสวยสุขอยู่ ณปราสาทพิมานแห่งตนบนแดนสุขาวดีดุสิตสวรรค์
 อีกวันหนึ่งต่อมาสมเด็จพระบรมศาสดาได้ตรัสแก่พระภิกษุสงฆ์ทั้งปวงว่า
 "ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย ! เมื่อคืนนี้ ล่วงปฐมยามไปแล้ว มีเทพบุตรตนหนึ่งมีรัศมีงามรุ่งเรืองส่องพระเชตวันวิหาร ให้สว่างทั่วเข้ามาหาเราตถาคตถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวเนื้อความอย่างหนึ่งกะเรา"
 ครั้นแล้วสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงเล่าถึงเนื้อความที่อนาถปิณฑิกเทพบุตรนั้นกราบทูลพระองค์เมื่อยามราตรีให้ภิกษุเหล่านั้นฟังกันจนทั่ว เมื่อพระองค์ทรงเล่าจบแล้ว พระอานนท์เถระได้กราบทูลขึ้นว่า
 "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็เทพบุตรนั้นคงจักเป็นอนาถปิณฑิกเทพบุตรแน่ เพราะอนาถปิณฑิกคฤหบดีได้เป็นผู้มีความเลื่อมใสในพระสารีบุตรเป็นยิ่งนักพระเจ้าข้า"
 "ถูกแล้วอานนท์ เทพบุตรที่เรากล่าวถึงนี้ คืออนาถปิณฑิกเทพบุตรนั้นเองมิใช่อื่น"สมเด็จพระบรมศาสดาทรงรับรองในที่สุด จึงเป็นอันว่า บัดนี้ อนาถปิณฑิกเทพบุตรก็ยังคงเสวยสุขอันเป็นทิพย์อยู่ ณ สรวงสวรรค์ชั้นดุสิตแดนสุขาวดีด้วยประการฉะนี้
 สรุปความว่า สรวงสวรรค์ชั้นดุสิตนี้ เป็นแดนสุขาวดีซึ่งเป็นที่สถิตอยู่แห่งทวยเทพทั้งหลายอันมีสมเด็จท่านท้าวสันดุสิตเทวาธิราชเป็นผู้ปกครองทวยเทพทุกผู้ล้วนมีชีวิตความเป็น อยู่อย่างสำราญชื่นบานด้วยการเสวยทิพยสมบัติเป็นสุขอยู่ทุกทิพาราตรีกาลเพราะความบันดาลแห่งบุญกุศลที่ตนได้เคยก่อสร้างไว้แต่ปางบรรพ์ ฉะนั้นท่านผู้มีปัญญาประกอบด้วยศรัทธาเชื่อมั่นในพระบวรพุทธศาสนาเมื่อมีความปรารถนาใคร่จักได้ไปอุบัติเกิดเป็นเทพยดาเสวยทิพยสมบัติอยู่ในสรวงสวรรค์ชั้นนี้ ก่อนที่จักขาดใจตายก็ควรขวนขวายรีบเร่งบำเพ็ญกองการกุศล ทำตนให้เป็นผู้ใคร่ในธรรมด้วยการอุตส่าห์พยายามสดับตรับฟังพระธรรมเทศนา และตั้งหน้าบำเพ็ญบุญกิริยาวัตถุมีให้ทานและรักษาศีลเป็นอาจิณ เมื่อถึงคราวสิ้นอายุถึงแก่ชีพิตักษัยหากกองการกุศลที่ตนก่อสร้างเอาไว้มีพลังเพียงพอ ก็จักเป็นแรงส่งผลักดันให้ได้มีโอกาสไปอุบัติเกิดเป็นเทพยดา ณ ดุสิตสวรรค์แดนแห่งความสุขอย่างแน่นอน

 

สวรรค์ชั้นที่นิมมานรดีเทวภูมิ


 เทวภูมิอันดับที่ ๕ นี้เป็นแดนสวรรค์ซึ่งเป็นที่สถิตอยู่แห่งปวงเทพเจ้าชาวฟ้าทั้งหลายผู้มีความยินดีเพลิดเพลินในกามคุณารมณ์ ที่เนรมิตขึ้นตามความพอใจแห่งตนเองโดยมีเทพเจ้ามเหศักดิ์ทรงนามว่า สมเด็จท่านท้าวสุนิมมิตเทวาธิราชทรงเป็นอธิบดีผู้ปกครอง เพราะฉะนั้น สรวงสวรรค์ชั้นนี้ จึงมีนามว่านิมมานรดีภูมิภูมิเป็นที่อยู่แห่งทวยเทพอันมีท่านท้าวนิมมิตเทวาธิราชทรงเป็นอธิบดี
 แดนสวรรค์เมืองฟ้าอันมีนามว่านิมมานรดีภูมินี้เป็นเทพนครที่ตั้งอยู่เหนือสวรรค์ชั้นดุสิตขึ้นไปในเบื้องบนไกลแสนไกลภายในเทพนครแห่งนี้ ปรากฏว่ามีปราสาทเงินปราสาททอง และปราสาทแก้วและมีกำแพงแก้วกำแพงทองอันเป็นทิพย์ เป็นวิมานที่อยู่ของเหล่าเทวดาทั้งหลายนอกจากนั้นไซร้ พื้นภูมิภาคยังมีสภาวะเป็นทองราบเรียบเสมอกันมีสระโบกขรณีและสวนอุทยานอันเป็นทิพย์ สำหรับเป็นที่เที่ยวเล่นสำราญแห่งเหล่าชาวสวรรค์นิมมานรดีทั้งหลายเช่นเดียวกับสมบัติทิพย์ในสรวงสวรรค์ชั้นดุสิตทุกประการ จะต่างกันก็เพียงว่าทุกสิ่งทุกอย่างในนิมมานรดีเทวพิภพนี้ มีสภาวะสวยสดงดงามและประณีตกว่าทิพยสมบัติในดุสิตเทวพิภพเท่านั้น
 เทพยดาทั้งหลายผู้สถิตเสวยทิพยสมบัติอยู่ ณ นิมมานรดีแดนสุขาวดีนี้ ย่อมมีรูปทรงสวยงาม น่าดูน่าชมยิ่งกว่าชาวสวรรค์ชั้นที่ต่ำกว่าทั้งหลายและมีกายทิพย์ซึ่งมีรัศมีรุ่งเรืองเป็นยิ่งนัก หากเขามีความปรารถนาจะเสวยสุขด้วยกามคุณารมณ์สิ่งใดเข่าย่อมเนรมิตเอาได้ตามความพอใจชอบใจแห่งตนทุกสิ่งทุกประการไม่มีความขัดข้องและเดือดเนื้อร้อนใจในกรณีใด ๆ เลยพวกเขาพากันเสวยทิพยสมบัติในสรวงสวรรค์ชั้นนิมมานรดีนี้โดยมี่สมเด็จท่านท้าวสุนิมมิตเทวาธิราชเจ้าปกครองให้มีความปรองดองรักใคร่กันและได้รับความสุขสำราญ ชื่นบานทุกถ้วนหน้าเหล่าชาวฟ้านิมมานรดี มีชีวิตความเป็นอยู่สุดดีสุดประเสริฐนักหนา

ทางไปสวรรค์ชั้นนิมมานรดี


 หากจะมีปัญหาว่า
 การที่จักได้มีโอกาสไปอุบัติเกิดเป็นเทพเจ้า เสวยทิพยสมบัติเป็นสุขอยู่ ณแดนสวรรค์ชั้นนิมมานรดีนี้นั้นจักต้องทำประการใดบ้าง
 คำวิสัชนาก็มีว่า
 ต้องอุตส่าห์ก่อสร้างกองบุญกุศลให้ยิ่งใหญ่อบรมจิตใจของตนให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่ให้สกปรกลามกมีมลทินโดยพยายามรักษาศีลไม่ให้ขาดได้ มีใจสมบูรณ์ด้วยศีลและมีวิริยะอุตสาหะในการบริจาคทานเป็นอันมากเพราะผลวิบากแห่งทานและศีลอันสูงเท่านั้นจึงจะบันดาลให้ไปอุบัติเกิดในสวรรค์ชั้นนี้ได้ ในกรณีนี้พึงทราบพระบาลีชี้ทางไปสู่แดนสวรรค์ชั้นนิมมานรดี ซึ่งปรากฏมีไว้ในพระสูตรต่าง ๆดังต่อไปนี้

ทานสูตร


 ดูกรสารีบุตร !ในการให้ทานนั้น บุคคลไม่มีความหวังให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลแห่งทานแล้วให้ทานไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน ไม่ได้ให้ทานด้วยความคิดว่า
 "เราหุงหากินได้แต่สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหลายไม่ได้หุงหากินเราหุงหากินได้จะไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ผู้ไม่หุงหากินย่อมเป็นการไม่สมควร"
 แต่ให้ทานด้วยคิดว่า
 "เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทานเช่นเดียวกับฤๅษีทั้งหลายคือ
 ฤๅษีอัฏฐก
 ฤๅษีวามก
 ฤๅษีวามเทว
 ฤๅษีเวสสามิตร
 ฤๅษียมทัคค
 ฤๅษีอังคีรส
 ฤๅษีภารทวาช
 ฤๅษีวาเสฎฐ
 ฤๅษีกัสสป
 ฤๅษีภคุ
 แต่กาลก่อนซึ่งได้พากันบูชามหายัญฉะนั้น"
 เขาผู้นั้น ให้ทานด้วยอาการอย่างนี้แล้วเมื่อทำกาลกิริยาตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาทั้งหลายในสวรรค์ชั้นนิมมานรดี

ปุญญกิริยาวัตถุสูตร


 ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในโลกนี้ กระทำบุญริริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่งกระทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่งไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อถึงแก่กาลกิริยาตายไปแล้วเขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นนิมมานรดี
 ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย ! ท้าวสุนิมมิตเทพบุตร จอมเทพในชั้นนิมมานรดีนั้นทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรกทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรกท้าวเธอจึงทรงเจริญรุ่งเรืองก้าวล่วงเหล่าเทวดาชั้นนิมมานรดีสวรรค์ โดยฐานะ ๑๐ประการ คือ
 ๑. อายุทิพย์
 ๒.วรรณทิพย์
 ๓. สุขทิพย์
 ๔.ยศทิพย์
 ๕. อธิปไตยทิพย์
 ๖.รูปทิพย์
 ๗. เสียงทิพย์
 ๘.กลิ่นทิพย์
 ๙. รสทิพย์
 ๑๐.โผฏฐัพพะทิพย์

สังคีติสูตร


 บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมถวายข้าวน้ำ ผ้าผ่อน ยวดยาน ดอกไม้ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่นั่ง ที่พักที่อาศัย และสิ่งที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีป ให้เป็นทานแก่สมณะหรือพราหมณ์เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตนให้ไปโดยเขาได้ศึกษามาว่า "พวกเทพเจ้าเหล่านิมมานรดีสวรรค์เป็นเทพที่มีอายุยืน มีวรรณะงาม มากไปด้วยความสุข"ดังนี้แล้ว เขาจึงจินตนาอย่างนี้ว่า
 โอหนอ !เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตกเราพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งพวกเทพเจ้าเหล่านิมมานรดีสวรรค์เถิด
 เขาตั้งจิตนั้นไว้อธิษฐานจิตนั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่ต่ำมิได้อบรมเพื่อคุณเบื้องสูง อย่างนี้แล้วย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในสวรรค์ชั้นนิมมานรดีนี้ ก็ข้อนี้แลเรากล่าวสำหรับบุคคลผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับบุคคลผู้ทุศีล ผู้มีอายุทั้งหลายความตั้งใจของบุคคลผู้มีศีลย่อมสำเร็จลงได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์
 ใจความที่นำเอามาตั้งไว้นี้ย่อมจักเป็นเครื่องชี้ให้เห็นอย่างแจ้งชัดว่าการที่จักได้มีโอกาสไปอุบัติเกิดเป็นเทพยดาณ แดนสวรรค์ชั้นนิมมานรดีนี้จักต้องมีปฏิปทาเป็นประการใด ลำดับต่อไปนี้จักขอนำเอาชีวประวัติของมนุษย์ผู้ซึ่งตายแล้วไปผุดเกิดเป็นเทพยดาในสวรรค์ชั้นนิมมานรดีเทวโลกมาเล่าให้ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลายได้สดับตรับฟังดังนี้

เทพนารีชั้นนิมมานรดี


 ได้สดับมาว่า
 สมัยที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวนารามใกล้กรุงราชคฤห์มหานครนั้น กาลครั้งหนึ่งเกิดข้าวยากหมากแพงประชาชนพลเมืองทั้งหลายได้รับความลำบากในการครองชีพอย่างแสนสาหัส มิหนำซ้ำอหิวาตกโรค ก็บังเกิดคุกคามขึ้นมาอีก ทำให้คนทั้งหลายได้รับความอดอยากและเสียชีวิตลงด้วยโรคห่าลงเมืองเป็นอันมาก สตรีภาพผู้ยากจนคนหนึ่งซึ่งได้ประสบกับภาวะการณ์อันแสนลำเค็ญในครั้งนี้เมื่อสามีและบุตรพร้อมกับญาติพี่น้องสิ้นใจตายไปหมดแล้วก็เสียประสาทไม่อาจที่จะอยู่ในบ้านแต่เพียงลำพังตนคนเดียวได้จึงตัดสินใจทิ้งเหย้าเรือนข้าวของทรัพย์สมบัติเพราะความกลัวตายจึงทำลายแหกฝาเรือน แล้วหนีเตลิดเปิดเปิงไปด้วยความเสียขวัญสิ้นเนื้อประดาตัวกลายเป็นคนอนาถาหาที่พึ่งมิได้แต่ท่องเที่ยวเรื่อยไปด้วยความหิวโดยทนทุกข์ทรมาน จนลุถึงบ้านแห่งหนึ่งจึงเข้าไปขออาศัยอยู่ ผู้คนในหมู่บ้านนั้นแม้จะค่อนข้างขัดสนเพราะถูกความเดือดร้อนเข้าครอบงำในครั้งนี้เหมือนกันแต่ถึงกระนั้น ก็มีใจเมตตากรุณา จึงพากันแบ่งปันข้าวสวยข้าวยาคูและน้ำผักดองอันเหลืออยู่ในหม้อให้แก่นางผู้อนาถานั้นตามประสายาก
 ก็ในกาลนั้นองค์อรหันต์พระมหากัสสปเถรเจ้า เข้าสู่นิโรธสมาบัติถึง ๗ วันแล้ว จึงออกจากสมาบัติพลางพิจารณาดูตามวิสัยแห่งพระอรหันต์ผู้ทรงญาณว่า
 "อาตมะจะสงเคราะห์รับอาหารของบุคคลใดจะเปลื้องทุกข์เปลื้องยากของบุคคลใดในวันนี้"
 เมื่อสาวกแห่งองค์พระชินสีห์พิจารณาไปก็ได้เห็นซึ่งหญิงอนาถานั้นเข้าไปข้องอยู่ในข่ายแห่งญาณ โดยทราบว่านางใกล้จะถึงแก่กาลมรณะแล้ว เป็นผู้สมควรจักได้รับการสงเคราะห์ได้ให้รับซึ่งเทวสมบัติในสรวงสวรรค์แดนสุขาวดี เมื่อดำริจิตคิดตกลงดังนี้พระมหากัสสปะขีณสพเจ้าจึงจัดแจงนุ่งสบงทรงจีวรมีกรถือบาตรแล้วเดินทางบ่ายหน้าไปสู่ที่อยู่แห่งสตรีภาพผู้อนาถานั้น
 ก็อันว่าพระมหาขีณาสพผู้ออกจากนิโรธสมาบัติใหม่ ๆ ย่อมทรงไว้ซึ่งคุณพิเศษเป็นนัก หนาผู้ใดได้ถวายทานก่อนเป็นครั้งแรกแล้วย่อมจักได้รับอานิสงส์เห็นผลทันตาเป็นอเนกประการฉะนั้นในกาลที่ยังมีท่านผู้สามารถเช้านิโรธสมาบัติได้ย่อมมีผู้ต้องการถวายทานเป็นครั้งแรกแก่ท่านก่อนเป็นอันมาก ในกรณีนี้ก็เช่นกันคือเมื่อองค์ท้าวมัฆวานจอมเทพแห่งสวรรค์ชั้นไตรตรึงษ์ผู้มากไปด้วยศรัทธาได้ทรงทราบว่าท่านพระมหากัสสปะเถรเจ้า ออกจากนิโรธสมาบัติในเช้าวันนี้แล้วพระองค์ประสงค์จะได้รับส่วนกุศลอันผ่องแผ้วมโหฬารจึงนำเอาข้าวทิพย์โภชนาหารมาจากไพชยนตปราสาททิพยวิมาน ครั้นมาถึงมนุษยโลกเรานี้แล้วก็แปลงกายเป็นแก่ผู้ยากจนมีมือถือขันข้าวยืนอยู่กลางทางคอยดักที่จักตักบาตรแก่พระมหาเถรเจ้า ณ สถานที่ชายป่าแห่งหนึ่งซึ่งไม่มีคนพลุกพล่าน
 กาลครั้งนั้นองค์อรหันต์ผู้ดุ่มเดินมามุ่งหน้าจะไปโปรดหญิงอนาถาด้วยสมณกิริยาอันสำรวมเมื่อเงยพักตร์ขึ้นเห็นท่านผู้เฒ่ามีกิริยาว่ายากจน เนื้อตัวสกปรกท่าทางงกเงิ่นออกมาจากชายป่าแสดงอาการว่าจะตักบาตร ด้วยอำนาจแห่งอรหันตญาณวิเศษสาวกแห่งองค์พระโลกเชษฐ์ก็ทราบได้ทันทีว่าตาแก่จวนจะตายนั้นคือองค์สหัสนัยย์สมเด็จพระอมรินทรเทวธิราชเจ้าสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ปลอมแปลงมา จึงมีเถรวาทีทักขึ้นว่า
 ขอถวายพระพร ! มหาบพิตรทรงฉลาดในการทำกุศล เหตุไฉนจึงมาทำการดังนี้ท่านจะมาทำการปล้นชิงเอาซึ่งสมบัติแห่งคนจนหรือ"
 ตาเฒ่าเมื่อฟังพระผู้เป็นเจ้าซึ่งรู้ทันอุบายตนว่าดังนี้ก็กลับร่างเป็นท้าวโกสีย์ กราบบาทพระมหากัสสปะเถรเจ้าแล้วก็เหาะกลับไปยังทิพยสถานไพชยนปราสาทพิมานแห่งตนด้วยความผิดหวัง ฝ่ายพระผู้เป็นเจ้าก็เดินทางเรื่อยไปจนกระทั่งบรรลุถึง บ้านที่นางอนาถาอยู่ แล้วก็ยืนอยู่จำเพาะหน้าสตรีอนาถาแลเห็นพระมหาเถระ ซึ่งปรากฏมีชื่อเสียงลือชามายืนเพื่อรับบิณฑบาตทานอยู่จำเพาะหน้าแห่งตนเช่นนั้นจึงพลันให้นึกละอายเป็นยิ่งนัก
 "พระมหากัสสปเถรเจ้าผู้นี้มีอานุภาพเป็นอันมาก มีชื่อเสียงเป็นพระเถระผู้ใหญ่แม้ท้าวไทยพระเจ้าอยู่หัวและเสนาบดีมหาอำมาตย์ก็ให้ความเคารพบูชาแต่ว่าตัวเรานี้เป็นคนหาสิริมิได้ วัตถุไทยทานอันเป็นของตนที่จะพึงถวายแก่พระผู้เป็นเจ้าก็ไม่มีเลยมีแต่น้ำผักดองแลน้ำส้มพะอูมที่เขาให้ด้วยกรุณา ก็แปดเปื้อนไปด้วยธุลีหามีรสชาติไม่ โสโครกนักมิบังควรจักพึงถวายแก่พระผู้เป็นเจ้าผู้มีอานุภาพมากอย่างนี้"
 สตรีตกยากผู้น่าสงสารครั้นคิดดังนี้แล้ว จึงอัญชลีกรกล่าวอาราธนาว่า
 "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงกรุณาไปโปรดสัตว์ข้างหน้าเถิด เจ้าข้า"
 พระมหากัสสปผู้มากไปด้วยกรุณาได้ฟังสตรีผู้อนาถาร้องออกมาดังนั้นก็กระทำกิริยามิรู้มิชี้ยืนนิ่งเฉยอยู่มหาชนซึ่งยืนอยู่ใกล้ ๆได้เห็นพระผู้เป็นเจ้าผู้มีอานุภาพมาบิณฑบาตถึงหมู่บ้านตนดังนั้นก็พากันนำเอาโภชนาหารมา เพื่อจักใส่ลงในบาตรมากมายแต่พระเถรเจ้าก็มิได้รับเอาของใครเลยคงยืนนิ่งเฉยอยู่ หญิงเข็ญใจผู้มีอาหารโสโครกจึงรู้ว่าพระผู้เป็นเจ้ามาที่นี่เพื่อจะสงเคราะห์แก่ตนจำเพาะจะรับบิณฑบาตทานแห่งตนเท่านั้นก็พลันบังเกิดปีติยินดีแก้กล้ายิ่งนัก จึงรีบยกน้ำผักดองนั้นประคองตักลงในบาตรพระเถรเจ้า ด้วยมืออันสั่นเทาแล้วน้ำตาแห่งปีติก็ไหลลงอาบพักตร์อยู่พราก ๆ
 พระมหาเถรเจ้าจึงแสดงกิริยาว่าจะฉันภัตตาหารในที่นั่นเองเพื่อจักยังน้ำจิตแห่งนางคนจนให้ยินดีเป็นที่ยิ่งมหาชนจึงช่วยกันตกแต่งอาสนะถวายพร้อมกับตั้งน้ำใช้น้ำฉันพระมหากัสสปเถรเจ้าจึงนั่งเหนืออาสนะแล้วดื่มน้ำฉันซึ่งน้ำผักดองนั้นเสร็จแล้วจึงให้อนุโมทนาและกล่าวคำลากลับไป ฝ่ายสตรีผู้เคราะห์ดีเคราะห์ร้ายนั้นยังความภักดีและเลื่อมใสให้บังเกิดในพระมหาเถระแล้วก็มีใจผ่องแผ้วปีติโสมนัสเป็นนักหนา ครั้นเพลาราตรีเป็นปฐมยาม ล้มตัวลงนอนหลับไปด้วยดวงใจที่ระลึกถึงบุญกุศลอันตนได้ถวายทานแก่พระมหาเถรในยามยากขณะนั้นก็บังเกิดโรคลมร้ายขึ้นภายในกายเข้าตัดดวงฤทัยซึ่งทำให้นางถึงแก่กาลกิริยาขาดใจตายลงในฉับพลันทันทีเป็นอันปิดฉากชีวิตอันแสนจะลำเค็ญของสตรีอนาถานั้นไว้ในมนุษย์โลกเพียงเท่านี้
 ด้วยเดชะแห่งกุศลที่ตนได้สร้างไว้เมื่อเช้านั้นเข้าขั้นอรหันตทาน คือท่านที่ถวายแก่พระอรัหันต์ผู้ทรงคุณอันประเสริฐและที่ล้ำเลิศยิ่งขึ้นไปกว่านั้นก็คือว่า ทานนั้น เป็นอรหันตทานอันพิเศษเพราะเป็นทานที่ถวายแก่พระอรหันต์ผู้เพิ่งออกจากนโรธสมาบัติใหม่ ๆซึ่งให้คุณานิสงส์สุดประมาณ เพราะฉะนั้นเมื่อนางอนาถาสิ้นใจตายในราตรีนั้นแล้วก็ได้มาอุบัติเป็นเทพนารี ผู้มีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก ณ แดนสวรรค์ชั้นนิมมานรดีนี้มีนางอัปสรกัญญาเป็นบริวารมากมาย เสวยทิพยสมบัติอยู่ในปราสาทพิมานแสนจะเป็นสุขนักหนา
 กล่าวฝ่ายสมเด็จพระอมรินทราธิราชเจ้าจอมสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ผู้ซึ่งผิดหวังไม่ได้ถวายทานแก่พระมหากัสสปเถรเจ้าเมื่อเช้านี้ ครั้นทรงทราบว่าสตรีมนุษย์อนาถาผู้โชคดีกว่าตน กระทำกาลกิริยาตายแล้วจึงทรงตรวจตราดูว่าหญิงอนาถานั้นจะเกิดในสถานที่ใด เมื่อทรงตรวจตราดูจนถี่ถ้วนแล้วก็มิได้เห็นในดาวดึงส์สวรรค์ ให้มีความสงสัยในพระหฤทัยครั้นเพลาล่วงเข้ามัชฌิมยามราตรีนั้น องค์ท้ายมัฆวานจอมเทพจึงเข้าไปสู่สำนักแห่งท่านพระมหากัสสปสังฆวุฒาจารย์ค่อยกราบกรานแล้วทรงมีเทพยวาทีไต่ถามว่า
 "ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า !หญิงเข็ญใจไร้ญาติมีชีวิตอยู่อย่างน่าอนาถนักผู้ซึ่งถวายน้ำผักดองแก่พระผู้เป็นเจ้าเมื่อเช้านี้นั้นบัดนี้ สตรีนั้น ตายจากอัตภาพมนุษย์แล้ว ไปเกิด ณ ที่ใดโยมนี้เที่ยวตรวยดูจนทั่วดางดึงส์สวรรค์แล้วก็ไม่เห็นเลย"
 องค์อรหันต์ท่านมหากัสสปขีณาสพเจ้าจึงมีเถรวาทีกล่าวตอบว่า
 "ขอถวายพระพร อาตมะเที่ยวไปบิณฑบาตและยืนนิ่งอยู่ที่จำเพาะหน้าหญิงกำพร้าเข็ญใจอาศัยอยู่ที่แทบหลังเรือนผู้อื่นนางมีจิตเลื่อมใส ได้ถวายซึ่งน้ำผักดองด้วยมือของตน หญิงทุคตะผู้นั้นตายจากมนุษย์แล้ว ไปบังเกิดเป็นเทวดามีฤทธิ์มาก อยู่ในสวรรค์ชั้นนิมมานรดีและบัดนี้กำลังยินดีเสวยสุขอยู่ในนิมมานรดีสวรรค์นั้น ด้วยเหตุนี้มหาบพิตรผู้เป็นใหญ่ จึงมิได้เห็นนางในสวรรค์ชั้นไตรตรึงษ์ของมหาบพิตรเรื่องเป็นอย่างนี้แล"
 สมเด็จพระอมรินทราธิราชเจ้าได้ทรงสดับคำบอกเล่าจากพระผู้เป็นเจ้าดังนั้นก็ทรงยินดีในผลอานิสงส์แห่งบุคคลผู้ถวายน้ำผักดองเป็นนักหนาจึงมีเทพยวาทีกล่าวสรรเสริญว่า
 "อโห ! ควรจะอัศจรรย์ทานแห่งคนกำพร้าอนาถาอันได้มาด้วยยาก และได้มาจากสำนักแห่งผู้อื่นเป็นแต่เพียงน้ำผักดองอันโสโครกหารสชาติมิได้ กลับเป็นทานอันประเสริฐให้สัมฤทธิ์สมบัติทิพย์ในสวรรค์ชั้นสูงแดนนิมมานรดีการให้ทานแก่พระทักขิไณยบุคคลเช่นพระผู้เป็นเจ้านี้ย่อมมีอานิสงส์ดีกว่าการกระทำอย่างอื่นอีกมากมายจริง ๆหนอ"
 ครั้นตรัสสรรเสริญอานิสงส์แห่งทานที่เทพนารีอดีตหญิงอนาถาประดิษฐานไว้ด้วยดีในพระมหากัสสปเถรเจ้าฉะนี้แล้วสมเด็จพระอมรินทราธิราชเจ้าก็ทรงกล่าวคำอำลากลับไปยังทิพยสถาน ณแดนสุขาวดีไตรตรึงษ์สวรรค์แห่งตน
 รวมความว่า สวรรค์ชั้นนิมมานรดีนี้เป็นแดนสวรรค์ซึ่งเป็นที่สถิตอยู่แห่งทวยเทพทั้งหลายอันมีสมเด็จท่านท้าวสินิมมิตเทวาธิราชทรงเป็นผู้ปกครองทวยเทพทุกผู้ล้วนมีความเป็นอยู่มีชีวิตอย่างเป็นสุขเริงสราญจิต ประกอบไปด้วยฤทธิ์และอานุภาพด้วยการเสวยทิพยสมบัติสำราญอยู่ทุกทิพาราตรีกาลเพราะความบันดาลแห่งบุญกุศลที่ตนได้ก่อสร้างไว้แต่ปางบรรพ์ เพราะฉะนั้นท่านผู้มีปัญญาประกอบไปด้วยศรัทธา มีความเชื่อมั่นในพระบวรพุทธศาสนาเมื่อมีความปรารถนาใคร่จักได้ไปอุบัติเกิดเป็นเทพยดาเสวยทิยพสมบัติเป็นสุขอยู่ในสวรรค์ชั้นนิมมานรดีนี้ ก่อนจะขาดใจตายไปจากโลกนี้ก็ควรที่จักรีบเร่งขวนขวายบำเพ็ญกองการกุศล ทำตนให้มีศีลบริสุทธิ์พยายามรักษาศีลไม่ให้ขาดได้ และต้องมีวิริยะอุตสาหะในการบริจาคทานเป็นอย่างมากประพฤติธรรมสม่ำเสมอเป็นนิตย์ เมื่อถึงคราวแตกกายทำลายขันธ์สิ้นชีวิตตายลงไปหากกองการกุศลที่ตนก่อสร้างเอาไว้มีพลังเพียงพอแล้ว ก็จักเป็นแรงส่งผลักดันให้ได้มีโอกาสไปอุบัติเกิดเป็นเทพยดา ณชั้นฟ้านิมมานรดีสวรรค์แดนสุขาวดีนี้อย่างแน่นอน

ฑีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ข้อ ๓๔๖ หน้า ๒๗๑ บาลีฉบับสยามรัฐ

สวรรค์ชั้นที่ปรนิมมิตวสวัตตีเทวภูมิ


 เทวภูมิอันดับที่ ๖นี้ เป็นแดนแห่งความสุขเป็นสวรรค์เทวโลกชั้นสูงสุดฝ่ายกามพจรอันเป็นที่สถิตอยู่แห่งปวงเทพเจ้าชาวฟ้าทั้งหลายผู้เสวยกามคุณารมร์ที่เทวดาอื่นรู้ความต้องการของตนแล้วเนรมิตให้เป็นที่อยู่อันประเสริฐด้วยสุขสมบัติยิ่งกว่าสวรรค์ชั้นฟ้าทั้งหลายโดยมีเทพเจ้าผู้ใหญ่มเหศักดิ์ทรงนามว่าสมเด็จท่านท้าวปรินิมมิตเทวธิราชทรงเป็นอธิบดี เพราะฉะนั้น สรวงสวรรค์ชั้นนี้ จึงมีนามว่าปรนิมมิตวสวัตตีภูมิภูมิเป็นที่อยู่แห่งทวยเทพอันมีท่านท้าวปรนิมมิตเทวาธิราชทรงเป็นอธิบดี
 ยอมสวรรค์เมืองฟ้าแดนสุขาวดีอันมีนาว่าปรินิมมิตวสวัตตีภูมินี้เป็นเทพนครที่ตั้งอยู่เหนือสวรรค์ชั้นนิมมานรดีขึ้นไปในเบื้องบนไกลแสนไกล ณสวรรค์ชั้นนี้ นอกจากจะมีทิพยสมบัติอันวิเศษเช่นปราสาทพิมานและสวนขวัญอุทยานทิพย์อันสวยงามวิจิตรบรรจงยิ่งกว่าสวรรค์ชั้นอื่น ๆ แล้วการเป็นอยู่ของทวยเทพผู้อุบัติเกิดในแดนสวรรค์แห่งนี้ ก็ยังแบ่งออกเป็น ๒คือ
 ๑. แดนเทพยดา ก็ในแดนเทพยดานี้ มีเทวธิราชผู้ยิ่งใหญ่ทรงพระนามว่า "สมเด็จท่านท้าวปรนิมมิตเทวธิราชทรงเป็นพระยาเจ้าฟ้าปกครองเทพยดาทั้งหลายในปรนิมมิตสวรรค์นี้ให้ได้รับความสุขสำราญชื่นบานบันเทิงจิต
 ๒. แดนมาร ก็ในแดนมารนี้มีพระยามาราธิราชผู้ยิ่งใหญ่ทรงพระนามว่า "สมเด็จท่านท้าวปรนิมมิตวสวัตตีมาราธิราช"ทรงเป็นพระยาเจ้าฟ้าปกครองเทพยดาผู้เป็นมารทั้งหลายในปรนิมมิตวสวัตตีภูมินี้ให้ได้รับความสำราญด้วยการเสวยสมบัติทิพย์เป็นสุขตามสมควรแก่อัตภาพ
 จึงเป็นอันว่าณ เบื้องสวรรค์ชั้นฟ้า อันมีนามว่าปรนิมมิตวสวัตตีภูมินี้มีการปกครองและเหล่าทวยเทพแบ่งออกเป็น ๒ ภาค คือ ภาคเทพยดาฝ่าย ๑ ภาคหมู่มารฝ่าย ๑ซึ่งอยู่กันคนละแดน มีเขตแดนกั้นในระหว่างกลาง ทั้งเทพยดาและหมู่มารหาได้ไปมาหาสู่แก่กันและกันไม่ทุกผู้ล้วนแต่ได้รับความสุขอันประณีตประเสริฐเสวยทิพยสมบัติ ณ ทิพยสถานพิมานแห่งตนๆ มีความสำราญอย่างยิ่งกัน มากกว่าสวรรค์ชั้นฟ้าอื่น ๆเพราะเป็นเทพผู้อุบัติเกิดในสรวงสวรรค์ชั้นสูงสุด

ทางไปสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี


 หากจะมีปัญหาว่า
 การที่จะได้ไปอุบัติเกิดเป็นเทพยเจ้าเหล่าเทพยดาเสวยทิพยสมบัติเป็นสุขอยู่ ณ แดนสุขาวดีปรนิมมิตวสวัตตีสวรรค์ซึ่งมีสมเด็จท่านท้าวปรนิมมิตเทวาธิราชทรงเป็นเทวาธิบดีผู้ปกครองนี้จักต้องทำบุญกุศลประการใดบ้างเล่า
 คำวิสัชชนาก็มีว่า
 ต้องอุตส่าห์ก่อสร้างกองการกุศลให้ยิ่งกว่าเป็นการอุกฤษฎ์อบรมจิตให้สูงส่งด้วยคุณธรรม เมื่อจะให้ทานรักษาศีล ก็ต้องบำเพ็ญกันอย่างจริง ๆมากไปด้วยศรัทธาปสาทะอย่างยิ่งยวดและถูกต้อง ทั้งนี้ก็เพราะว่าผลวิบากแห่งทานและศีลอันสูงยิ่งเท่านั้นจึงจะบันดาลให้ไปอุบัติในสวรรค์ชั้นนี้ได้ ในกรณีนี้พึงทราบพระบาลีชี้ทางไปสู่ปรนิมมิตวสวัตตีสวรรค์แดนสุขาวดีซึ่งปรากฏมีในพระสูตรต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

ทานสูตร


 ดูกรสารีบุตร !ในการให้ทานนั้น บุคคลไม่มีความหวังในทาน ไม่มีจิตผูกพันธ์ในผลแห่งทานแล้วให้ทานไม่มุ่งการสั่งสมให้ทานไม่ได้ให้ทานด้วยความคิดว่า
 เราจักเป็นผู้จำแนกทานเช่นเดียวกับฤๅษีทั้งหลายแต่กาลก่อนคือ
 ฤๅษีอัฏฐก
 ฤๅษีวามก
 ฤๅษีวามเทว
 ฤๅษีเวสสามิตร
 ฤๅษียมทัคค
 ฤๅษีอังคีรส
 ฤๅษีภารทวาช
 ฤๅษีวาเสฏฐ
 ฤๅษีกัสสป
 ฤๅษีภคุดังนี้
 แต่เขาให้ทานด้วยคิดว่า
 "เมื่อเราให้ทานอย่างนี้จิตของเราจะเลื่อมใส จะเกิดความปลื้มใจโสมนัส"
 เขาผู้นั้นให้ทานด้วยอาการอย่างนี้แล้ว เมื่อทำกาลกิริยาตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาทั้งหลาย ในสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี

ปุญญกิริยาวัตถุสูตร


 ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในโลกนี้ กระทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่งกระทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่งไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อถึงแก่กาลกิริยาตายไปแล้วเขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี
 ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย ! ท้าวปรนิมมิตวสวัตตี จอมเทพในสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตตีนั้นทรงทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรกทรงทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรกท้าวเธอจึงทรงเจริญรุ่งเรืองก้าวล่วงเหล่าเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตีสวรรค์ โดยฐานะ๑๐ ประการ คือ
  ๑. อายุทิพย์
  ๒.วรรณทิพย์
  ๓. สุขทิพย์
  ๔.ยศทิพย์
  ๕. อธิปไตยทิพย์
  ๖.รูปทิพย์
  ๗. เสียงทิพย์
  ๘.กลิ่นทิพย์
  ๙. รสทิพย์
  ๑๐.โผฏฐัพพะทิพย์

สังคีติสูตร


 ดูกรสารีบุตรบุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมถวายข้าวน้ำ ผ้าผ่อน ยวดยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ที่นอน ที่นั่ง ที่พัก ที่อาศัย และสิ่งที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีปให้เป็นทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตนให้ไปโดยเขาได้ศึกษามาว่า "พวกเทพเจ้าเหล่าปรนิมมิตวสวัตตีสวรรค์ เป็นเทพที่มีอายุยืน มีวรรณะงามมากไปด้วยความสุข" ดังนี้แล้ว เขาจึงจินตนาปรารถนาอย่างนี้
 โอหนอ !เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตกเราพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งพวกเทพเจ้าเหล่าปรนิมมิตวสวัตตีสวรรค์เถิด
 เขาตั้งจิตนั้นไว้อธิษฐานจิตนั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขาน้อมไปในสิ่งที่ต่ำมิได้อบรมเพื่อคุณเบื้องสูง เช่นนี้แล้วย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตตีนั้น ก็ข้อนี้แลเรากล่าวสำหรับบุคคลผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับบุคคลผู้ทุศีล ผู้มีอายุทั้งหลายความตั้งใจของบุคคลผู้มีศีลย่อมสำเร็จลงได้เพราะเป็นของที่บริสุทธิ์

อังคุตรนิกาย สัตตกนิบาต ข้อ ๔๙ หน้า ๖๐บาลีฉบับสยามรัฐอังคุตรนิกาย สัตตกนิบาต ข้อ ๔๙ หน้า ๖๐บาลีฉบับสยามรัฐอังคุตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๒๖ หน้า ๒๔๕บาลีฉบับสยามรัฐ

  ประวัติผู้รวบรวมเรียบเรียงเขียน

ชื่อสกุล  นายธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท