เชิญร่วมเขียนเรื่อง แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา หมดเขต 30 พย. 55 ลุ้นรับเงินสด 2,500 บาท 2 รางวัล


วิถีชีวิตตั้งแต่เริ่มตื่นเช้าจนหัวถึงหมอนอีกครั้งเปลี่ยนแปลงไปจากแต่เดิมก่อนที่ยังไม่มี iPad หรือ Galaxy Tab หรือ Tablets ต่างๆ บ้างหรือไม่ค่ะ เชื่อว่าหลายๆ ท่านรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงค่ะ 

แต่ก่อนหากจะหาความรู้สักอย่างก็คงต้องเข้าห้องสมุด แต่วันนี้ความรู้หาอ่านและแลกเปลี่ยนได้ไม่ยากอีกต่อไปแล้วด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดพกพาไปไหนมาไหนได้สะดวกที่เรียกกันว่าแท็บเล็ต (Tablets) และราคาแท็บเล็ตก็ถูกลงมาเรื่อยๆ ไม่กี่พันบาทก็ซื้อได้แล้ว

สรอ. ขอความรู้ในครั้งนี้ชวนมาเขียนเล่าเกี่ยวกับแท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ในแง่ว่า

  • ท่านได้ใช้ประโยชน์จาก Tablets ในการศึกษาหาความรู้อย่างไรกันบ้างค่ะ 
  • หรือมีแหล่งข้อมูลดีๆ โปรแกรม (Apps) ดีๆ สำหรับการใช้ Tablets เพื่อการศึกษาที่อยากจะแบ่งปันอะไรบ้าง 
  • หรือมีแนวคิดข้อกังวลประเด็นใดบ้างไหมต่อการนำแท็บเล็ตเพื่อการศึกษาไม่ว่าจะสำหรับตัวท่าน บุตรหลาน หรือศิษย์

ร่วมบันทึกและใส่คำสำคัญ Tablet  ตั้งแต่วันนี้หมดเขต 30 พย. 55 ลุ้นรับเงินสด 2,500 บาทจำนวน 2 รางวัลจากการสุ่มจับหมายเลขบันทึกที่ร่วมกิจกรรมค่ะ


Photo courtesy from http://mashable.com/ 


สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (สรอ.) ในฐานะองค์กรมหาชนได้รวบรวมความคิดเห็นจากบันทึกของสมาชิกในโครงการ "สรอ. ขอความรู้" ผ่าน GotoKnow เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของข้อเสนอแนะจากประชาชน (e-participation) เพื่อสร้างสรรค์และนำเสนอเป็นนโยบายของภาครัฐ (e-policy) ต่อไปค่ะ ดังนั้นความคิดของทุกท่านมีความหมายต่อพัฒนาการของประเทศไทยค่ะ มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาประเทศไทยด้วยการนำเสนอความคิดของท่านผ่านโครงการ "สรอ. ขอความรู้" กันนะคะ

หมายเลขบันทึก: 509214เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2012 10:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ตุลาคม 2015 12:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

ด้วยความที่เป็นอาจารย์ม.ราชภัฎ นศ.ส่วนใหญ่เป็นเยาวชนที่ตกหล่นจากการพลาดโอกาสเรียนมหาวิทยาลัยของรัฐและไม่ใช่เด็กของพ่อแม่ที่มีฐานะมากนะ จึงมีทางเลือกสุดท้ายคือม.ราชภัฎ นศ.ส่วนใหญ่มีผลการเรียนปานกลางลงมาถึงในระดับที่ต่ำกว่าระดับพอใช้ ผู้เป็นผู้สอนจึงต้องหาเทคนิค กุศโลบายการสอน เพื่อหวังสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนมากที่สุด วิธีการหนึ่งคือการหาสื่อดีๆ เช่นคลิป รูปภาพ กร๊าฟ ที่จะช่วยอธิบายรายละเอียด ยกตัวอย่างประกอบ ให้เป็นรูปธรรมที่สุด จึงได้ตัดสินใจซื้อเท็ปแล็ตของจีนราคาถูกแต่มีประกันหนึ่งปี คุณสมบัติพอใช้ได้ เทียบเท่าของราคาเป็นหมื่น แต่ซื้อได้ไม่ถึงสามพัน เกาะไวไฟได้ดี โหลดได้เร็วพอประมาณ ช่วยในการเตรียมการสอนได้ดี

แต่ตอนนี้หลานอายุแปดขวบยืมไปเล่นซะแล้ว เพราะเห็นน้องอยู่ประถมหนึ่งได้รับแจก เลยให้หลานรักยืมไปเล่นสักอาทิตย์สองอาทิตย์ แล้วคงนำกลับมาให้เป็นประโยชน์ในการหาข้อมูลดีๆในการเตรียมสอนต่อไปครับ

               โรงเรียนศรีสงครามวิทยาที่ป้าสอน  เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษที่ไม่ใช่โรงเรียนประจำจังหวัดเลยแต่เป็นโรงเรียนประจำอำเภอวังสะพุง  นักเรียนส่วนหนึ่ง  ประมาณ 20 % มีเครื่องมือสื่อสารเทคโนโลยีที่ทันสมัยใช้  เพราะผู้ปกครองมีอาชีพขายลอตเตอร์รี่ มีสวนยางที่กรีดน้ำยางขายได้แล้ว มีไร่ข้าวโพด มีไร่อ้อยป้อนโรงงานที่ผุดขึ้นสองโรงพร้อมกัน  เวลาครูสั่งงานให้ศึกษาค้นคว้าในห้องเรียนก็มีพร้อมที่จะศึกษาห้องละ 3-4 เครื่อง  ครูก็จะจัดกลุ่มให้คนที่มีรู้จักแบ่งปัน  โดยให้เขาเป็นหลักของแต่ละกลุ่ม  เด็ก ๆ ก็สนุกสนานที่ได้สืบค้น  ครูก็ได้เรียนรู้ไปพร้อมกับเด็ก  แต่จินตนาการและทักษะการเขียนลูกศิษย์ยังต้วมเตี้ยมอ่อนแรง  ครูภาษาไทยอย่างป้าต้องออกแรงเคี่ยวเข็ญจนเหนื่อยหน่ายทั้งครูและลูกศิษย์  แม้จะอ่อนล้าโรยแรงก็มีกำลังใจจากลูกศิษย์บางคนที่อดทนเพียรพยายามฝึกเขียนจนเขียนเป็น  ครูชื่นชมนักเรียนก็ภูมิใจ  ครูบอกให้อัพผลงานสู่โลกออนไลน์เพื่อแบ่งปันองค์ความรู้ด้วย  ไม่รู้ว่าอัพแล้วหรือยัง  เพราะช่วงนี้เป็นเทศกาลกีฬาสี  ศิษย์ตัวดีของครูก็อยากเป็นนักกีฬาดี นักกีฬาเด่น เน้นกีฬา  ไม่มีเวลามาเปิดให้ครูอ่านสารต่าง ๆ ในสื่อที่ทันสมัยให้ครูที่อยากทันสมัยได้อ่านสักที
  • เป็นประเด็นที่น่าสนใจมาก
  • จะรีบมาเขียนนะครับ
  • เห็นด้วยกับ "ยากจัง"
  • ที่เป็นอยู่คือ ชีวิตผสานเข้าักับคอมพิวเตอร์ไปแล้ว แต่แปลกตรงที่ เมื่อกลับไปบ้านนอก ไม่ได้ใช้คอมพิวเตอร์ นอนแล้วได้ยินเสียงความเงียบ
  • คอมฯขนาดเล็กเข้ามาใหม่ ชีวิตก็ต้องเปลี่ยนไป ยังไม่แน่ใจว่าจะเกิดอะไรขึ้นข้างหน้า

เพิ่งกลับจากไปติดตามการใช้แท็บเล็ตตามนโยบาย สพฐ.ที่เขตพื้นที่และโรงเรียนในภาคเหนือมาหลายจังหวัด ถ่ายรูปมาหลายรูปแต่นำขึ้นไฟล์ไม่ได้ เพราะยังเป็นระบบเก่าอยู่ พยายามติดตั้ง GotoKnow Express ส่วนเสริมบนเบราเซอร์ Chrome เท่าไรก็ยังทำไม่ได้ ขอตัวช่วยอธิบายให้เข้าใจง่ายๆหน่อยครับ

             tablet คือเม็ดเงินจากภาษีที่จะชี้ให้เห็นว่า การลงทุนในการศึกษา ครั้งนี้ คุ้มค่าหรือไม่  ถ้ามีการติดตามตรวจสอบทุกขั้นตอน  เริ่มตั้งแต่การคิดนโยบายแล้วว่าผู้คิดนโยบายมีอะไรแอบแฝงหรือเปล่า  กระบวนการได้มาของ แท็บเล็ต  โปร่งใสตรวจสอบได้หรือไม่  กระบวนการแจกจ่ายเป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสมหรือเปล่า  และที่สำคัญที่สุดผู้รับและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการรับมีความพร้อมมากน้อยเพียงใด  และสุดท้ายปลายทางคือผู้ใช้ใช้อย่างคุ้มค่าหรือไม่  คงไม่ได้รับคำตอบในทันที  คงต้องใช้ระยะเวลาในการประเมิน  อย่างเร็วที่สุดประมาณ 1 ปี จึงจะทราบผลการประเมินหลังการใช้ของลูกหลาน  เป็นผลที่เราจะทราบว่าองค์ความรู้หรือทักษะที่เกิดขึ้นในตัวตนของผู้จะสืบทอดการพัฒนาชาติ  การธำรงชาติให้อยู่ยั้งยืนยงในสังคมโลกได้อย่างสง่างามตามเป้าหมายการพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ
              tablet คือ การลงทุน ที่คุ้มค่า
              หากบุคคลา ที่ข้องเกี่ยว เคี่ยวตรวจสอบ
              ให้บรรลุ ทั้งความดี และความชอบ
              ตามนโยบาย ที่ส่งมอบ ขอบคุณเอย

ลองเขียนดูนะคะ คิดเห็นอย่างไรหรือมีประสบการณ์ความรู้ใดๆ เกี่ยวกับ Tablets ไม่ว่าจะเป็น iPad หรือค่ายใดๆ แนะนำ apps ดีๆ ด้านการศึกษา หรือมีปัญหาข้อสงสัยข้อกังวลใจในการใช้ Tablets กับคนรอบข้าง อาทิ บุตรหลาน นักเรียน ตัวเอง ก็ได้คะ ลองแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันดูนะคะ

จะใช้หรือไม่ใช้เครื่องมือตัวนี้ แต่ข้อควรระวังคือทำอย่างไรอย่าให้เด็ก ๆ ได้เข้าใจว่านี่เป็นเครื่องมือในการแสวงหาคามรู้ไม่ใช้เครื่องมือหาคำตอบของทุกคำถาม อีกอย่างคงต้องระหว่างระหว่างคำว่า ทำอะไร หรือ ทำได้อย่างไร การฝังสมองเด็กให้คิดเป็นให้มากกว่าคิดหาคำตอบได้โดยใช้เครื่องมือตัวนี้นั้นต้องระวังครับ

ชอบ "เครื่องมือแสวงหาความรู้ ไม่ใช่เครื่องมือหาคำตอบของทุกคำถาม" "ฝังสมอง" เห็นภาพเลยค่ะ

เมื่อพูดถึงแท็บเล็ตที่เด็ก ๆ นักเรียนจะได้และได้ไปแล้วนั้น เป้นสิ่งที่จำเป้็นสำหรับนักเรียนส่วนหนึ่งแต่อีกส่วนหนึ่งก็ไม่จำเป็น และไม่ต้องใช้ เพราะความเจริญยังไม่เข้าถึงที่ อย่างบนดอยจะใช้อะไรในการชาร์ดแบต เคลื่อนส่งก้ไม่มีทำอะไรก็ไม่ได้ ได้แต่ดูว่านั่นคือแท็บเล็ต ที่เขาพูดถึงกัน ต้องเป็นภาระให้กับครูต้องดูแลให้เด็ก จะใช้ก็ไม่ได้ ของเสียครูก็ต้องรับผิดชอบ สร้างภาระ สร้างกติกา เงือนไขให้กับครู นักเรียน ต้องคำนึงสภาพแวดล้อมของแต่ละท้องที่ด้วย ไม่ใช่ว่าจะเหมารวมว่า บริบทของประเทศไทยจะเหมือนกันทั้งประเทศ อย่างน้อยขอคิดถึงเรื่องของครูดอย นักเรียนที่อยู่บนที่ราบสูงด้วยนะครับ เพราะนั้นก็คือ คน (ไทย) เหมือนกัน ที่มีสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกันทั้งประเทศ แต่ทุกวันนี้ก็ไม่เคยเห็นว่าจะได้เปรียบตรงไหน มีแต่เสียเปรียบ คนเราเลือกตายได้ แต่เลือกที่จะเกิดไม่ได้

Tablet: Changing, improving, or destroying?

แท็บเลท.... ถ้าคุณลองสมมติว่าตัวเองเป็นเด็กนักเรียนชั้นประถม คุณมีความรู้สึกอย่างไรเมื่อได้เห็นแท็บเลท อยากได้ใช่หรือไม่ และขอถามต่อว่าอยากได้เพราะอะไร เพราะมันมีเกมให้เล่นใช่ไหม เพราะมันดูแล้วน่าจะมีอะไรสนุกๆให้เล่นใช่ไหม และนี่คือสิ่งที่ผมได้ลองไปถามเด็กนักเรียนชั้นประถมดูแล้วว่าส่วนใหญ่เค้าจะมองในเรื่องของความสนุกเมื่อได้ใช้มันมากกว่าสิ่งอื่นใด โจทย์ที่ตามมาก็อยู๋ที่ว่า เราจะทำอย่างไรให้เด็กได้สนุกไปพร้อมๆกับการเรียนรู้ แต่เมื่อสิ่งนี้เพิ่มขึ้นมา แน่นอนหล่ะ สิ่งที่ต้องเกิดขึ้นมาถ้าเด็กได้ใช้มัน ก็คือ ภาระ ของผู้ที่ต้องการให้ความรู็กับเด็ก การควบคุมไม่ให้เด็กเอาไปใช้นอกลู่นอกทาง สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้เด็กสามารถใช้มันได้ เพราะแต่ละสถานที่ ก็มีข้อจำกัดที่ไม่เหมือนกัน คือง่ายๆ แต่ละที่ บริบทก็ต่างกัน เทียบกันง่ายๆคือ เด็กบนดอย กับเด็กในเมือง เป็นต้น เพราะฉะนั้นก็ต้องดูว่า อย่างน้อยๆก็ต้องดูว่า แท็บเลท จะให้ประโยชน์อะไรที่เหมือนๆกันได้บ้างกับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันทั้งสองที่ ก็อย่างเช่นว่าใส่ E-book ที่ให้เด็กสามารถเปิดอ่านได้ไม่ว่าอยู่ที่ไหน อะไรประมาณนี้ แล้วก็ต้องให้ชัดเจนว่า ควรจะให้เด็กใช้ตอนไหนบ้าง ทีไม่ให้เกิดผลเสียกับการใช้ชีวิตประจำวันของเด็ก ซึ่งผมมองว่า ถ้าเด็กติดมันจริงๆแล้ว จะใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับมัน และไม่ยอมทำอย่างอื่นเลย ตรงนี้ก็ขึ้นอยู่กับวิธีการของครูบาอาจารย์และผู้ปกครองแล้วหล่ะครับว่าจะควบคุมยังไง เพราะฉะนั้น ถ้าเลือกที่จะให้เด็กใช้แท๊บเลทในการศึกษาแล้ว ก็เหมือนว่า ทั้งเด็กและครูบาอารย์รวมทั้งผู้ปกครอง ก็ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการที่เหมือนกับว่าต้อง ยกเครื่องใหม่หมด ในการปฏิบัติต่อกัน เช่นจากเดิม เด็กพลิกหนังสืออ่านก็ต้องเปลี่ยนเป็นกดปุ่มเปิดปิด ปุ่มพลิกหน้าเป็นต้น ยิ่งมีให้ทำไฮไลท์ประโยคสำคัญได้ด้วยยิ่งดี เพื่อช่วยให้เด็กจำ เป็นต้น ส่วนอาจารย์ก็ต้องเปลี่ยนแผนการสอนจากวิธีเดิมๆให้เข้ากับแท็บเลท และยังต้องศึกษาการใช้แท็บเลทเพิ่มขึ้นมาอีก ส่วนพ่อแม่ก็ต้องเปลี่ยนวิธีการควบคุมการแบ่งเวลาการใช้ชีวิตของลูกที่บ้าน อย่างเช่น ลูกมัวเล่นแท๊บเลทก่อนนอน ทำให้นอนดึก ไรแบบนี้เป็นต้น และอื่นๆอีกที่ต้องมานั่งคิดกันยกใหญ่เลยทีเดียว ซึ่งสุดท้ายแล้ว ต้องมาดูที่ผลลัพธ์ว่า ลูกเรียนดีขึ้นหรือป่าว แล้วก็ควรจะมาวัดกันอีกทีว่า แท็บเลทเหมาะกับเอาไปใช้ในห้องเรียนหรือป่าว หรือเอาไว้ใช้เฉพาะตอนยามว่างของเด็กเท่านั้นพอ ในส่วนนี้ ผมขอพูดเพียงเท่านี้ มาในเรื่องของข้อดีข้อเสียเท่าที่ผมพอจะคิดได้กันต่อนะครับ

ถ้ามองในแง่ของเด็กนักเรียนชั้นประถม เราต้องแยกออกมาเป็นสองด้าน ด้านแรกคือ เด็กจะได้ประโยชน์อะไรจากมันจริงๆ ด้านที่สองคือ ถ้าเด็กใช้มันไปแล้ว มีข้อเสียอะไรบ้างที่น่าจะเกิดขึ้นตามมา ซึ่งถ้ามาวิเคราะห์กันตรงนี้ออกมาแล้ว ผู้ผลิตและผู้ป้อนข้อมูลลงใน แท็บเลท ควรให้ความสนใจและคำนึงถึงให้มาก ว่าควรจะใส่ฟังก์ชั่น สื่่อการสอน และตั้งข้อจำกัดอะไรลงไปบ้าง เพื่อที่จะให้เด็กใช้แล้วเกิดแต่ข้อดีและพัฒนาการเรียนรู้ได้ดีกว่าวิถีการเรียนแบบเดิมๆได้จริงๆ ในข้อดีที่เห็นๆกันอยู่ ก็จะเป็น... - เด็กในสัมผัสกับเทคโนโลยีที่ช่วยในการศึกษา - แท็บเลทเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้เด็กมีความรู้สึกอยากใช้ - ช่วยทำให้การเรียนสนุกขึ้น - อาจมีเกมของวิชาต่างๆใส่ลงไปให้เด็กเล่นเพื่อฝึกฝนการเรียนรู้และการตอบสนองของเด็ก - ถ้าเป็นหนังสืออีบุ๊ก ก็อาจจะสะดวกมากขึ้นในการพกพาไปอ่าน แทนที่จะหิ้วหนังสือหนักๆหลายๆเล่มหลายๆวิชา - สามารถนำความรู้ด้านการศึกษาเข้าไปแทรกซึมกับสิ่งที่เด็กกำลังให้ความสนใจได้ง่าย นอกจากนี้แล้ว ผมก็เชื่อว่ายังมีข้อดีอื่นๆอีกมากมายถ้าใช้อย่างมีขอบเขตและถูกวิธี ที่คนนอกเหนือจากผมยังคิดได้ แต่ผมขอแค่เพียงเท่านี้ก็พอ

ทีนี้มาในส่วนของข้อที่อาจบอกได้ว่าทำให้เกิดข้อเสียต่อเด็กนักเรียน ก็จะเป็น... - ทักษะการ เขียน จดบันทึก ของเด็กอาจลดลง เนื่องจากเด็กจะเริ่มคุ้นเคยกับการพิมพ์บนแท๊บเลทมากขึ้น - เด็กอาจจะมั่วแต่เล่นแบบไม่รู้จักเวล่ำเวลา - เด็กอาจจะลดความสนใจในสิ่งที่อาจารย์กำลังสอน คือ ช่วงที่อาจารย์สอนเรื่องนี้ในแท๊บเลท เด็กอาจจะแอบเล่นอย่างอื่นนอกเหนือที่อาจารย์สอนก็ได้ โดยเฉพาะแอบเล่นเกมในเครื่องในขณะเวลาเรียน เป็นต้น - ช่วงทำการบ้านของเด็กที่บ้าน อาจไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ เนื่องจากว่า แท๊บเลทไปกวนสมาธิ ในกรณีที่เด็กติดมันแล้วจริงๆ - ถ้ามอง แท๊บเลท ให้คล้ายกับเฟสบุ๊ก ก็คือ เฟสบุ๊ก คนจะมัวแต่แชท ดูรูป ไปเม้นท์ แทนที่จะนั่งหาความรู้อื่นๆในอินเตอร์เนต เป็นต้น ถ้าแท็บเลท เด็กก็จะหาแต่เกมไว้เล่น แทนทีจะเปิดอีบุ๊กมาอ่าน หาความรู้ เป็นต้น

ก็ขอเพียงเท่านี้สำหรับข้อที่อาจทำให้เกิดข้อเสีย แต่อย่างไรก็ตาม ในทั้งหมดนี้ ถ้ามองให้เด็กคือ ผลิตภัณฑ์ ว่าจะได้คุณภาพหรือไม่ ก็ต้อง อยู๋ที่ การตั้งเป้าหมายของผลลัพธ์ที่อยากได้ การวางแผนและออกแบบ การดำเนินการ การควบคุม การประเมิน และการปรับปรุงพัฒนาต่อไปเรี่อยๆ ของครูบาอาจารย์ ผู้ปกครองเด็ก และผู้พัฒนาซอฟแวร์ของของแท๊บเลทซึ่งถือว่าเป็นผู้ผลิตที่สำคัญ เพื่อให้เด็กได้เติบโตอย่างมีคุณภาพ และสุดท้ายเด็กได้ทำประโยชน์ให้ทั้งตัวเองและสังคมได้ เท่านี้ก็เพียงพอแล้ว ในความคิดของผมแล้ว ก่อนที่จะให้เด็กได้ใช้แท๊บเลทกันจริงๆจังๆ ทางผู้ผลิตจะต้องพร้อม ไม่ว่าจะเป็นส่วนของอาจารย์ ผู้ปกครอง และผู้พัฒนาซอฟแวร์ และส่วนอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจารย์ที่ต้องทำแผนการสอนรวมถึงสื่อการเรียนรู้ให้เด็กนักเรียนและวิธีการควบคุมให้เด็กอยู๋ในขอบเขตการเรียนรู้ ซึ่งไม่รู้ว่า จะเป็นภาระมากน้อยเพียงใดให้กับอาจารย์ผู้สอน และผู้ปกครองเองที่ต้องดูและการใช้ชีวิตของลูกหลังเลิกเรียน ให้ถูกต้องไม่ให้ลูกเอาแท๊บเลทไปเล่นจนทำตัวเหลวไหล และสุดท้ายผู้พัฒนาแท๊บเลท ที่ต้องเลือกผลิตและพัฒนาสิ่งที่จะเป็นประโยชน์ให้กับเด็กจริงๆ เพื่อให้ไช่วยการเรียนรู็ของเด็กเป็นไปอย่างเต็มที่และสะดวกมากขึ้นในการหาความรู้ ซึ่งทั้งหมดนี้ จะกลายเป็นการสร้างกฏเกณฑ์และกติกาขึ้นมาใหม่ให้กับทุกฝ่าย ซึ่งแต่ละฝ่ายก็จะต้องมาดูกันอีกว่า รับได้หรือไม่ได้ในกฏเกณฑ์และกติกาที่ถูกสร้างขึ้นมานี้

นอกจากที่กล่าวมานั้น ยังมีอีกเยอะแยะที่ต้องมาคิดกันเกี่ยวกับประเด็นเรื่อง Tablet ว่าสุดท้ายแล้วจะคุ้มค่าต่อการลงทุนหรือไม่ แต่ที่กล่าวมานั้น อย่างน้อยๆขอให้ได้สร้างประโยชน์หรือกระตุ้นความคิดแด่ผู้อ่านไม่มากก็น้อยที่จะเอาไปคิดต่อยอดต่อไป ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมเรานะครับ

สุดท้ายแล้ว ผมอยากจะบอกว่า การใช้แท็บเลทมันจะคุ้มค่าหรือไม่ ไม่ได้อยู่ที่ราคาเครื่อง แต่อยู่ที่คุณภาพของเด็กที่เติบโตมาพร้อมกับ Tablet ...

                                                                                                             ...รอน 

ที่แรกจะไม่เขียนถึง เพราะได้วางบทบาทและหน้าที่ครูผู้สอนลงแล้ว แต่มีเหตุผลที่จะเขียนถึงมันได้เพราะเหตุ 2 ประการคือ เมื่อวานเพื่อนครู ส่งข่าวเรื่องผอ.หลายโรงเรียนได้รับ tablet มาเก็บไว้ในห้องพักผอ.นานเป็นเดือนแล้ว เด็กไม่ได้ใช้ เหตุที่สองคือน้องชายซื้อ tablet ให้ลูกใช้จึง เห็นทั้งประโยชน์และโทษ ก็คิดว่าจะเขียนนะคะ ขอเวลาเฝ้าสังเกตและติดตาม ทั้ง 2 ประเด็นอีกสักพักค่ะ ขอบคุณค่ะ

เขียน 4 คนได้ 3 บันทึก คาดว่าจะเขียน อีก 1 เรื่อง app store application สำหรับเภสัชกร

ไม่ทราบว่าต้องส่งบทความอย่างไรคะ

ของหลานก็เพิ่งได้ Tablet ป1ค่ะ แต่ครูอนุญาตให้ใช้ที่โรงเรียนเท่านั้น ไม่ให้เอากลับบ้าน นัยว่ากลัวเด็กทำเสีย แต่หลานเองมี Tablet ใช้ 2 เครื่อง แกเรียนรู้และใช้ได้คล่องแคล่วกว่ายาย(ผู้เขียน)ซะอีก อย่างไรก็ตามผู้เขียนเห็นว่า ผู้ปกครองควรอย่างยิ่งที่จะต้องดูแลการใช้งานของเด็กๆ  แม้เราจะใช้งานไม่คล่องเหมือนเด็กๆ  แต่เราต้องทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง แนะนำด้านเนื้อหา ว่าส่วนเนื้อหาที่เขากำลังเข้าถึงมีความเหมาะสมกับเขาหรือไม่  เช่น เกมการ์ตูนบางเกมส์ หมิ่นเหม่ไม่เหมาะสมกับวัยเขา  ก็ต้องอธิบาย  ความไม่เหมาะสม แล้วให้เขาหาไหม่  ( แบบเดียวกับดูทีวีกับเด็กนั่นแหละ )    ย้ำว่างานนี้ต้องทำตัวเป็นพี่เลี้ยงเท่านั้น  เด็กๆ ที่สามารถใช้เทคโนโลยีนี้ได้ด้วยตนเอง  แม้แค่เบื้องต้น  เขาก็คิดว่าเขามีโลกในกำมือซะแล้ว   เด็ก(แก่ ) รุ่นจูราสสิก อย่างเรา พูดกับเขาไม่รู้เรื่องแน่  

เมื่อยกเรื่องเทคโนโลยีออกไป  เราก็ใช้ความเก๋าอ่านทาง ดัก(คัดกรอง) และ ดัด (ปรับเปลี่ยน) แนวเนียนๆได้เหมือนกัน

สวัสดีค่ะคุณ zomngng

สร้างบล็อก เขียนบันทึก และใส่คำสำคัญว่า tablet เท่านั้นเองค่ะ

ขอบคุณค่ะ

อ่านของ "สามะ" สองรอบ ชอบจังเลย วิเคราะห์เจาะลึกได้อย่างชัดเจน คนที่เกี่ยวข้องน่าจะได้เข้ามาอ่าน

...."แท็บเล็ต"เฉกสรรพสิ่งให้.............โทษคุณ

สติ"ตระหนักใช้"เป็นบุญ....................แก่หล้า

แหล่งรู้ เทียบต้นทุน..............................แสนถูก

จงมั่น มุค้นคว้า......................................ใส่พร้อม"ธรรม"สอน

เจอคอเดียวกันแล้ว ความคิดเห็นที่ 2738568 ขอขอบคุณเจ้าของผลงานโคลง ที่เคี่ยวคำเป็นโคลงได้ถูกใจจริง

แท็บเล็ต สำหรับครอบครัวเราข้าพเจ้า

               ครับ  แน่นอนครับ ครอบครัวผมได้รับแท็บเล็ตมาอยู่ หนึ่งเครื่อง เป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจมาก เราใช้ถ่ายรูปครอบครัวเพื่ออัพขึ้นเวป ในเฟรชบุ๊ค ไว้ให้เพื่อนๆดู  แน่นอนเพราะเราไม่มีกล้องถ่ายรูปเราก็ใช้แท็บเล็ตโดยไปโหลดแอพถ่ายรูปมาติดตั้งในเครื่องและ ให้ลูกๆ  เล่นเกม และก็เรียนศัพท์ภาษาอังกฤษ ซึ่งพ่อแม่ไม่ได้เรียนวิชาเอกภาษาอังกฤษจะอ่านออกเสียงให้ลูกฟังก็อ่านออกเสียงไม่ถูก จะไปอบรมภาษาสองภาษากับเขาก็ไม่มีเงินพอ ก็พอดีได้แท็บเล็ตเครื่องนี้มาใช้งานกันคุ้มมากๆ ทั้งครอบครัวเลย  และเวลาจะเดินทางไปต่างจังหวัดหรือที่เราไม่เคยไปเราก็ไม่รู้จักเส้นทาง เราก็ไปโหลดเอาแผนที่และเส้นทางจาก GPS เพื่อเป็นแผนที่ในการเดินทาง  ช่วงปิดเทอมเราพาครอบครัวไปเที่ยวไนท์ซาฟารี ที่เชียงใหม่ เราก็ได้แผนที่จากแท็บเล็ต และสามารถหาข้อมูลการเดินทาง และบริการต่างๆไว้ล่วงหน้าได้ เมื่อไปถึงเชียงใหม่เราไปหาที่พักที่เขามีบริการ  Wifi  ก็สามารถหาข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวที่ต้องการ แม้แต่ปั๊มน้ำมันอยู่ตรงไหน หรือตู้เอทีเอ็มอยู่ไหน พอเราเจอทิวทัศน์ที่สวยงามเราก็ถ่ายรูปเก็บเอามาดูภายหลังได้  หรือส่งขึ้นเฟสบุ๊คให้เพื่อนๆได้เห็น  และเราก็สามารถหาข้อมูลที่พักหาเบอร์โทรศัพท์ และคุยกับเพื่อนผ่านทางอินเตอร์เน็ต โดยไม่ต้องเสียค่าโทรศัพท์  ดูทีวี ดูฟุตบอลผ่านอินเตอร์เน็ตโดยไม่ต้องง้อจานดาวเทียมซันบล็อกซ์
ส่วนเด็กๆ ก็เห็นมีความสุขอยู่กับแท็บเล็ต เช่นเรียนภาษา เล่นเกม  จากสื่อที่อยู่ในเครื่อง เช่นฝึกร้องเพลงซึ่งมีทั้งเพลงในบทเรียนและเพลงภาษาอังกฤษ 
          อีกส่วนหนึ่งคือ สามารถหาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จากอินเตอร์เน็ตมาอ่านได้หลากหลาย มีทั้งหนังสือธรรมะ หนังสือวิชาการ หนังสือบันเทิง  หนังสือสารานุกรม และหนังสือพจนานุกรมซึ่งเป็นพจนานุกรมที่สามารถฟังเสียงอ่านได้อีกด้วย  และที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งเป็นสมุดบันทึกประจำวัน เป็นปฏิทินที่สามารถกำหนดเวลาโครงการได้  เป็นนาฬิกาปลุกอีกก็ได้  เอาไว้ดูพยากรณ์อากาศก็ได้
          สรุปแล้วก็คือ เราใช้ประโยชน์อยู่ 4 ลักษณะคือ
1.  ใช้ในการเก็บข้อมูลต่างๆ เป็นรูปภาพ  เป็นบันทึกทั้งตัวหนังสือ และบันทึกเสียงก็ได้อีกด้วย บันทึกนัดหมาย      
    เตือนเวลานัดหมาย
2.  ใช้ในการศึกษาหาความรู้ ทั้งผู้ใหญ่และเด็กๆ
3.  ใช้ในการบันเทิง มีทั้ง ฟังเพลง ดูทีวี ดูวีดีโอ 
4.  ใช้ในการติดต่อสื่อสารผ่านทางอินเตอร์เน็ต  ส่งข่าว ข้อความ
5.  ใช้เป็นเครื่องคิดคำนวณ  เป็นเครื่องคิดเลข เพราะเราไม่ต้องพกเครื่องคิดเลขไปด้วย

ธนนท์  มณีชัย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท