ทำให้คนไทยรักการอ่าน ทำอย่างไร


สืบเนื่องจากเกิดความกังวลกับปัญหาความด้อยคุณภาพของคนไทย อาทิ จากสถิติคนไทยอ่านหนังสือต่อปีน้อย ระดับความเก่งเมื่อเปรียบเทียบกับหลายประเทศเรานั้นมีอันดับต่ำลงเป็นลำดับ คนที่ประสบความสำเร็จของคนไทยโดยรวมนั้นต่ำลงเป็นลำดับ เป็นต้น

จากเรื่องตรงนี้หลายคนบอกว่าปัญหาอยู่ที่การศึกษาของไทย กระบวนการต่างๆ นั้นใช้ไม่ได้ ...คำถามของผมก็คือจริงหรือ

เมื่อวานได้อ่านบทความเรื่องราวของความอดทนและแนวทางของการสร้างความเจริญของฝรั่งมา โดยรวมก็คือฝรั่งเขาอยู่เมืองที่เจริญก้าวหน้ากว่าที่อื่นอยู่แล้ว นอกจากเขาสร้างคนพัฒนาประเทศซึ่งก็จะมีคนวิจัยและพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ

 แล้วยังมีคนบางส่วน ที่เขามองหาประเทศที่ยังว่างเปล่า ยังไม่ได้พัฒนาอะไร มีแต่ป่ายังขาดความเจริญ เขาคนนั้นก็มายังประเทศนั้น ยกตัวอย่างเช่น เขาอยู่อังกฤษ เขาก็เดินทางมาพม่าและก็นำสิ่งต่างๆ ที่อังกฤษมีมาสอนมาเพิ่มมาสร้างที่พม่า ทำให้พม่ามีรถไฟฟ้า มีเทคโนโลยี่ด้านการค้นหาทรัพยากรธรรมชาติ มีเครื่องบินรบที่ทันสมัย เป็นต้น

ทุกอย่างที่เขานำเข้ามาก็มาในรูปของการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ที่คุ้มค่าสามารถสร้างความร่ำรวยให้กับคนอังกฤษผู้ลงทุนผู้นั้นได้อย่างมหาศาล นี่คือตัวอย่างการพัฒนาแบบฝรั่ง เขาขายสิ่งที่มีอยู่แล้วให้กับคนที่ไม่มีแล้วเก็บกำไรไป เขาทำแบบนี้เลียนแบบกัน นายเอไปทำที่พม่า นายบีไปอิหร่าน นายซีไปไทย แยกย้ายกันทำทั่วโลก เม็ดเงินที่เป็นกำไรก็ใส่กระเป๋าของตนซึ่งเป็นคนอังกฤษ คนรวยก็ไปกองรวมอยู่ที่เดียวกัน กลายเป็นประเทศร่ำรวยมหาศาล ก็จากแนวคิดที่ต่างออกไปอย่างนี้

ประเทศไทยเราหลายคนได้ไปร่ำไปเรียนมาก็รู้ครับ ก็นำเอาทฤษฎีต่างๆ ที่ฝรั่งสอนแล้วนำมาทำในบ้านเรา ส่วนใหญ่ก็ทำรูปของการสอนให้คนมีความรู้ ผลิตคนที่รู้มากๆ มุ่งหวังจะได้เริ่มการพัฒนาฯ หลายคนก็ทำธุรกิจเป็นผู้ประกอบการ ก็ร่ำรวยประสบความสำเร็จ หากแต่เป็นส่วนน้อยมากคนนับคนได้ ด้วยว่าใครๆก็ชอบทำเรื่องง่ายๆ การเลือกทำการพัฒนาเราก็เอาง่ายๆ ส่วนใหญ่ก็พัฒนาในเขตเมืองหลวงกัน เมื่อเป็นแบบนี้ก็มีลักษณะที่ผูกขาดอยู่กับคนท้องที่อยู่แล้ว คนรวยก็จะเป็นคนที่เป็นกลุ่มคนฐานะดีเท่านั้น

เศรษฐีใหม่นั้นมีน้อยเนื่องด้วยเรามุ่งกันไปสร้างเนื้อสร้างตัวกันที่กรุงเทพฯ ที่ที่ไม่สามารถใช้แนวทางการสร้างตัวแบบฝรั่งที่กล่าวข้างต้นได้ หากเปลี่ยนแนวทาง เปลี่ยนความเชื่อ โอกาสของการประสบความสำเร็จอาจจะดีขึ้นก็ได้

เมื่อเราทำความสำเร็จแบบดังกล่าวได้ คนที่นำความก้าวหน้าและมุ่งพัฒนาให้แก่ชนบทหรือต่างจังหวัด เขาผู้นั้นจะต้องค้นคว้าหาความรู้ อยู่นิ่งไม่ได้อย่างแน่นอน เมื่อความสำเร็จนั้นมาจากฐานของความรู้ ทุกคนก็จะมุ่งศึกษาหาความรู้ อ่านหนังสือกัน อย่างที่ไม่ต้องบังคับ เขาจะต้องแย่งกันซื้อหนังสือดีๆ ที่วางแผงกันอีกด้วย

 ด้วยหลักการพัฒนาสู่ความสำเร็จที่ถูกต้องแบบนี้หากคนไทยเราเข้าใจ เลิกเป็นสังคมพึ่งพาแบบไม่มีเหตุผลอย่างปัจจุบัน ทุกอย่างก็จะวิ่งไปอย่างเป็นธรรมชาติ การอ่านหนังสือของคนไทยอาจจะไม่แพ้ประเทศชั้นนำของโลกด้วยประการฉะนี้แล

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 507148เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2012 07:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2012 11:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

อ่านแล้ว หลายท่านอาจจะคิดว่าแล้วมันเป็นห้องเรียนในฝันตรงไหน ผมเรียนอย่างนี้ครับ หากเราใฝ่รู้ทุกขณะแม้ยามหลับ เราขบคิด ค้นคว้าตลอด มุ่งหาแนวทางแก้ไขปัญหา หรือสร้างสิ่งใหม่ๆ เรามีอาการอย่างนี้กันทุกคนที่เป็นชาวไทย นี่คือ ห้องเรียนในฝันที่ผมอยากมอบให้กับลูกหลานชาวไทยครับ

  • ขำอาจารย์โสภณแซวว่ามีลูกสาวสามคน
  • 555
  • การที่จะให้เด็กรักการอ่าน
  • พ่อแม่ต้องรักด้วย
  • เด็กๆก็จะอ่านตามครับ
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับอาจารย์โสภณ คุณแม่ปอยคงดีใจแย่เลยน่ะเนี่ย ขอบคุณครับ

สวัสดีครับอาจารย์ขจิต สงสัยจะจริงนะครับ ทำตามผู้ใหญ่กันล่ะมั๊งเด็กๆ เนี่ย สุขสันต์วันอังคารครับ

ลูกสาวคนโต ดูจะรักน้องทั้งสองมาก นะครับ

  • คนไทยมีสถิติการอ่านน้อยจริงๆ ค่ะ เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน และยังเป็นการอ่านเพื่อความบันเทิง มากกว่าอ่านเพื่อมุ่งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจอย่างที่คุณเพชรพูดถึง
  • การปลูกฝังความรักในการอ่านตอนโตนี่ทำให้ได้ผลยากมากค่ะ อ.วิทำกับนักศึกษาไม่ค่อยได้ผลเลย วิธีที่ได้ผลมากกว่าก็คือต้องปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก โดยพ่อแม่/ผู้ปกครองพาลูกดูหนังสือนิทานภาพพร้อมกับเล่าเรื่องให้ฟัง อ.วิเคยทำวิจัยปฏิบัติการกับครอบครัวในชนบทด้วยวธีดังกล่าว ค่อนข้างได้ผล เพราะทำให้เด็กอยากอ่านได้เอง เพราะอยากรู้เรื่อง เมื่ออ่านจนติดเป็นนิสัยแล้วก็จะนำปสู่การอยากอ่านหนังสือประเภทอื่นๆ ตามมาค่ะ หลานๆ เขาก็ปลูกฝังลูกๆ ด้วยวิธีดังกล่าวและก็ได้ผลดีค่ะ

 

สวัสดีครับอาจารย์วิไล การรักการอ่านนี่ทำยากครับ ผู้ใหญ่นี่หรือเด็กโตผมคิดว่าต้องใช้ความฝันของเขาบังคับพฤติกรรมครับ ความอึดความอดทนนี่คือตัวสำคัญของความสำเร็จ ซึ่งเดี๋ยวนี้หลายท่านรับรองไว้นะครับ คำแนะนำของอาจารย์เป็นประโยชน์มากครับ ผมก็จะนำไปแนะนำเจ้าลูกคนเล็กน่ะครับ เรียนปอหนึ่งอยู่เลย มั่นใจว่าได้ผลครับ ขอบคุณนะครับ สุขสันต์วันทำงานครับอาจารย์วิไล

สวัสดีครับอาจารย์ชยันต์ ลูกสาวคนโตนี่ โตมากกว่าน้องเยอะไปนิดนึงครับ และรักน้องมากๆ ด้วย ขอบคุณที่แวะมาให้กำลังใจกันเสมอครับ สุขสันต์วันทำงานครับ

ได้ติดตามความเห็นหลาย ๆ ท่าน

สมัยเด็ก ๆ มีผู้ใหญ่ท่านหนึ่งบอกว่า สังคมไทย เป็นสังคม โสเหล่ (สังคมพูดคุย)
มีเรื่องเล่ามากมาย หลากมุม เหนํบแนม เสียดสี เอาขำ เอาแบบอย่าง เยอะแยะ จนจำได้ไม่หมด แต่มักไม่ชอบบันทึก และไม่ชอบการอ่าน สังคมไทยจึงเป็นสังคมเล่าเรื่อง ชอบซุบซิบ Talkative

..แต่สมัยนี้ คงไม่เหมือนสมัยก่อนแล้ว...

สวัสดีครับ คุณเติมฝัน ให้ฝน ผมก็คิดว่าเปลี่ยนไปแบบมีความเชื่อมโยงกับอุปนิสัย รากเหง้าของเราชาวไทยน่ะ ซึ่งหากเรามีความฝันที่ถูกต้องมีเหตุมีผล ตรงนี้ก็จะนำมาซึ่งการแข่งขันในแบบแฟร์ๆ แบบนักกีฬาที่มีการคุมเกมส์แบบยุติธรรม หากไม่ใช่ พวกเรายังใช้เส้นใช้เครือข่าย เครือญาติช่วยเหลือกัน แบบนี้การแข่งขันของคนใหม่ก็ต้องอาศัยการมอง การสร้างสิ่งใหม่ การฉีกแนวออกไปจากเดิมอย่างที่คนคิดไอโฟนทำ จึงจะมีที่ยืนในสังคมบ้านเรา หากไม่เปลี่ยนแนวทางหรือวิธีคิด เราก็ต้องตกสภาพรอคอยฟ้าประธานจากคนคุมกติกาบ้านเรา ตลอดไป..นี่เป็นเรื่องธรรมดาๆ ที่เรารู้กันดีอยู่แล้ว ชีวิตมีสุขถ้าเราคิดบวก ... สุขสันต์วันพฤหัสครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท