ฝนดาวตก


ฝนดาวตก คืออะไร และเกิดขึ้นได้อย่างไร
       สวัสดีครับผมสมาชิกชาว www.gotoknow.org ทุกๆท่านเลยครับ วันนี้ครับ ตัวผมเองได้ศึกษาเกี่ยวกับฝนดาวตกครับ เพราะผมเองสงสัยมานานแล้วเหมือนกันครับว่า ฝนดาวตกที่เราเห็นนั้นมันเกิดมาจากอะไรกันแน่ บางคนก็ว่าต่างๆนาๆกันไป บางข้อมูลก็อาจจะจริงบ้าง บางข้อมูลก็อาจจะผิดบ้าง วันนี้ครับผมจึงได้มีโอกาสค้นคว้าข้อมูลเพื่อตอบข้อสงสัยของตัวเอง และ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อคนอื่นด้วยผมจึงในได้นำมาเผยแพร่ในบันทึกของผมครับ งั้นไม่รีรอเราไปดูกันเลยดีกว่าครับ...

 ฝนดาวตก (Meteor shower)  
     มีใครเคยสงสัยไหมครับว่า
ฝนดาวตก คืออะไร และเกิดขึ้นได้อย่างไรเพราะว่า ปกติบนท้องฟ้าเรามักจะเห็นดาวตกเป็นประจำอยู่แล้ว  มากบ้างน้อยบ้างไม่แน่นอนใช่ไหมครับ แล้วทุกๆคนทราบกันหรือเปล่าว่าดาวตกเหล่านั้นคือเศษฝุ่นหรือสะเก็ดดาวชิ้นเล็กๆขนาดเท่าเม็ดทราย เมื่อเคลื่อนที่หรือล่องลอยเข้ามาแรงดึงดูดของโลก ก็จะถูกดูดเข้ามาในชั้นบรรยากาศด้วยความเร็วสูง เสียดสีและลุกไหม้หมดไป เป็นแสงเพียงวาบเดียว ที่ระดับความสูงหลายร้อยกิโลเมตรจากพื้นโลก ที่เราเรียกว่า ดาวตก หรือ ผีพุ่งใต้  
     แต่ถ้าหากเศษฝุ่นเหล่านั้นมีขนาดใหญ่มากๆ และเผาไหม้ไม่หมดในชั้นบรรยากาศ ก็จะตกลงมาถึงพื้นโลกได้ ซึ่งเราจะเรียกไอ้ก้อนที่ตกลงมาว่า  อุกกาบาต นั่นเองครับ                                                                          


                                ตัวอย่างฝนดาวตก

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าอันไหนคือดาวตก และอันไหนคือฝนดาวตก ถ้างั้นเราไปเรียนรู้กันพร้อมๆกันเลยครับ

ฝนดาวตก   จะแตกต่างจากดาวตกทั่วไป คือ เป็นดาวตกที่มีปริมาณการตกมากกว่าหรือถี่กว่าดาวตกปกติ โดยมีทิศทางเหมือนมาจากจุดๆหนึ่งบนท้องฟ้าเหมือนกัน เรียกว่าจุดกำเนิด(Radiant) เมื่อจุดกำเนิดนั้นตรงหรือใกล้เคียงกับกลุ่มดาวอะไร ก็จะเรียกชื่อฝนดาวตกตามกลุ่มดาวนั้นๆ หรือ ดาวที่อยู่ใกล้กลุ่มดาวนั้น เช่น ฝนดาวตกเปอร์เซอิด(กลุ่มดาวเปอร์เซอุส) หรือ ฝนดาวตกเอต้าอะควอลิด (ดาวเอต้าคนแบกหม้อน้ำ) แบบนี้เป็นต้น  ซึ่งช่วงเวลาการตกนั้นสามารถกำหนดได้ เช่น ตรงกับวันที่เท่าไหร่ เวลาเท่าไหร่ เป็นต้น  
     ซึ่งมีฝนดาวตกบางชนิดที่มีปริมาณการตกน้อย คล้ายกับดาวตกทั่วไป แต่ก็มีบางชนิดที่มีปริมาณมาก และทิศทางที่แน่นอน มีลักษณะคล้ายกับฝนตก จึงเรียกกันว่า ฝนดาวตก

    
ดังนั้นหากเราจะพิจารณาว่า ที่เห็นเป็นฝนดาวตก หรือ ดาวตกปกติกันแน่  ให้พิจารณา ทิศทางการตก  วัน และ เวลา  หากตรงกับข้อมูลที่กำหนดไว้ก็ถือว่า ดาวตกที่เห็นเป็นฝนดาวตกในช่วงนั้น ซึ่งบางทีอาจจะมีปริมาณน้อยมากก็ตามนะครับ

ตัวอย่างฝนดาวตกครับ

 แล้วฝนดาวตกจะเกิดขึ้นได้อย่างไรกัน
      ฝนดาวตกนั้นจะเกิดขึ้นจากการที่วงโคจรของโลกได้เคลื่อนที่ผ่านเข้าไปในแนวเส้นทางที่ดาวหางเคยผ่านมาก่อนซึ่งจะทิ้งเศษซากก้อนหินและฝุ่นไว้มากมายในอวกาศ แล้วโลกก็ดูดฝุ่นผงเหล่านั้นตกลงมาในชั้นบรรยากาศของโลกอีก ซึ่งจะทำให้เกิดดาวตกมากเป็นพิเศษ


                 

       ดังนั้นฝนดาวตกแต่ละแบบจะมีแหล่งกำเนิดมาจากดาวหางที่ต่างดวงกันจึงประกอบด้วยสสารที่ต่างกันไป ตัวอย่างเช่นฝนดาวตกเปอร์เซอิดที่เกิดจากฝุ่นของดาวหาง Swift-Tuttle นั้นส่วนใหญ่จะเห็นเป็นลูกไฟสว่างมากๆ เราเรียกว่า ไฟบอล  มากกว่าฝนดาวตกประเภทอื่นๆ 

      นอกจากนี้ช่วงเวลาการเกิดฝนดาวตกเองก็มีส่วนสำคัญในการกำหนดลักษณะของฝนดาวตกด้วยเช่นกันโดยปกติแล้วดาวตกที่ผ่านเข้ามาในชั้นบรรยากาศของโลกนั้นจะมีความเร็วราว 71 กิโลเมตรต่อวินาที  
      ดังนั้นฝนดาวตกที่มีช่วงเวลาเกิดก่อนเที่ยงคืนหรือช่วงหัวค่ำ จะเป็นช่วงที่ดาวตกนั้นวิ่งสวนทางการหมุนรอบตัวเองของโลก เราจะเห็นดาวตกมีความเร็วสูง  แต่ถ้าฝนดาวตกเกิดหลังเที่ยงคืนไปแล้วหรือใกล้รุ่ง จะเป็นช่วงที่ดาวตกวิ่งตามทิศทางการหมุนของโลก ความเร็วสัมผัสที่เกิดขึ้นจะต่ำ  เราจึงเห็นดาวตกช่วงใกล้รุ่งนั้นวิ่งค่อนข้างช้า  ดังรูป นี้นั่นเองครับ

                          


                               

แสงวูบวาบของดาวตกที่สังเกตว่า  สว่างมากหรือน้อยไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาดของอุกกาบาตแต่ขึ้นอยู่กับความเร็วของอุกกาบาตที่พุ่งมาเสียดสีกับบรรยากาศของโลกที่อยู่ระหว่าง  11  กิโลเมตรต่อวินาทีจนถึงเร็วมาก ๆ 72  กิโลเมตรต่อวินาทีเลยนะครับ

เรามาดูขนาดและความเร็วของดาวตกกันดีกว่าครับ
             อุกกาบาตที่สังเกตเห็นเป็นดาวตกมักเกิดจากชิ้นส่วนเล็ก ๆ ขนาดประมาณเม็ดทรายเท่านั้นมีมวลน้อยกว่า  1  กรัม (ยกเว้นอุกกาบาตขนาดใหญ่กว่านี้ซึ่งมีจำนวนน้อย)  หากอุกกาบาตมีขนาดเล็กมาก  เส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า  1  มิลลิเมตร  แม้ว่าจะร้อนจัดลุกไหม้แล้ว  จะไม่ปรากฏแสงวูบวาบเป็นดาวตกที่สังเกตได้แต่สามารถรับรู้ได้โดยตรวจสอบด้วยเรดาร์  ชิ้นส่วนเล็ก ๆ ของอุกกาบาตเหล่านี้อาจอยู่กันเป็นกระจุกของชิ้นส่วน  คือมีหลายชิ้นเกาะกันอยู่อย่างหลวม ๆ เรียกว่า ก้อนฝุ่น  (dustball)  เมื่อตกสู่โลกก็จะแตกกระจายกันออกไปครับ
             แสงวูบวาบของดาวตกที่สังเกตว่า  สว่างมากหรือน้อยนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาดของอุกกาบาตแต่ขึ้นอยู่กับความเร็วของอุกกาบาตที่พุ่งมาเสียดสีกับบรรยากาศของโลกที่อยู่ระหว่าง  11  กิโลเมตรต่อวินาทีจนถึงเร็วมาก ๆ 72  กิโลเมตรต่อวินาที  เมื่ออุกกาบาตสัมผัสกับโมเลกุลของอากาศพลังงานจลน์จากการเคลื่อนที่ของอุกกาบาตจะแตกต่างกันตามความเร็ว  จะทำให้อากาศบริเวณนั้นแตกตัวในแนวเส้นทางการเคลื่อนที่  เกิดความร้อนเปล่งแสงสว่างออกมา  จนทำให้อุกกาบาตร้อนลุกไหม้เกิดแสงสว่างสว่างออกมาด้วย  เห็นเป็นแสงวูบวาบเมื่อมองจากโลก  แนวเส้นทางสว่างของอุกกาบาต  (Meteor  trail)  มีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า  1  เมตร  แต่มีความยาวอาจมากกว่า  10  กิโลเมตรทีเดียว
            ความเร็วของอุกกาบาตยังขึ้นกับการเคลื่อนที่ของโลกด้วย  โลกเคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ  30  กิโลเมตรต่อวินาทีขณะโคจรรอบดวงอาทิตย์และหมุนรอบตัวเองด้วย  ถ้าโลกสวนทางกับทิศทาง การเคลื่อนที่ของอุกกาบาตที่ตกเข้าสู่โลกความเร็วของดาวตกจะมากขึ้น  ดังนั้นการสังเกตดาวตกจึงมักแนะนำให้สังเกตหลังเที่ยงคืนถึงใกล้สว่างจะดีกว่าช่วงหัวค่ำถึงเที่ยงคืนเพราะช่วยงหัวค่ำถึงเที่ยงคืนอุกกาบาตที่ตกเข้าสู่โลก  จะมีทิศทางเดียวกับการหมุนของโลก ดาวตกจะเคลื่อนที่เร็วนั่นเองครับ

           

                    

        ตอนนี้ผมก็ได้ทราบข้อมูลเบื้องต้นของฝนดาวตก การเกิด ช่วงเวลาที่เกิด ขนาดและความเร็วไปแล้ว สำหรับท่านใดที่ได้อ่านบทความหรือสนใจเรื่องนี้ อย่าลืมค้นคว้าข้อมูลเพื่อมาแบ่งปันแล้วก็เติมเต็มข้อมูลที่ยังไม่นำเสนอในบทความนี้ด้วยนะครับ

สามารถค้นค้าเพิ่มเติมได้ที่

     : ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ : ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา

          http://www.darasart.com

          http://www.science.nasa.gov

เรียบเรียงโดย นายชนะ  บุญเฉลียว 54010510050

                  นายจาตุรนต์  ดอนเหนือ  54010510050

    นิสิตชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ (Tags): #meteor shower#ฝนดาวตก
หมายเลขบันทึก: 504640เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2012 18:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 ตุลาคม 2012 18:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ฝนดาวตก .... ดีจริงๆค่ะ ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณครับ ถ้ามีเวลาว่างก็ช่วยเพิ่มเติมข้อมูลที่บกพร่องด้วยนะครับ ^ ^

จาตุรนต์ กับ ชนะ รหัสนิสิตเดียวกันหรือเปล่าครับ...ฮา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท