ผลงานวิจัยเรื่อง รายงานการวิจัยการศึกษาศักยภาพในการส่งเสริมและสนับสนุน
การตรวจราชการของสำนักผู้ตรวจราชการ ประจำเขตตรวจ
ราชการที่ 2
ชื่อผู้วิจัย นายอนุชา เทวราชสมบูรณ์
หน่วยงานที่วิจัย สำนักผู้ตรวจราชการ ประจำเขตตรวจราชการที่ 2
ปีที่วิจัย พ.ศ.2547
------------------------------------------------------
รายงานการวิจัยการศึกษาศักยภาพในการส่งเสริมและสนับสนุนการตรวจราชการของสำนัก ผู้ตรวจราชการประจำเขตตรวจราชการที่ 2 วัตถุประสงค์ในการวิจัย ได้แก่ เพื่อศึกษาศักยภาพของข้าราชการในการส่งเสริมและสนับสนุนการตรวจราชการของสำนักผู้ตรวจราชการ ประจำเขตตรวจราชการที่ 2 และเพื่อศึกษาสภาพปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ในการส่งเสริมและสนับสนุนการตรวจราชการของสำนักผู้ตรวจราชการ ประจำเขตตรวจราชการที่ 2
ขอบเขตในการวิจัย เป็นการวิจัยในสำนักงาน (OfficeResearch) มีพื้นที่การวิจัย ได้แก่ สำนักผู้ตรวจราชการ ประจำเขตตรวจราชการที่ 9 ประชากร ที่ศึกษา ได้แก่ บุคลากรที่เป็นข้าราชการของสำนักผู้ตรวจราชการ ประจำเขตตรวจราชการที่ 2 จำนวน 23 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Random Sampling) จากประชากรทั้งหมด ได้แก่ บุคลากรที่เป็นข้าราชการของสำนักผู้ตรวจราชการ ประจำเขตตรวจราชการที่ 2 จำนวน 23 คน ตัวแปรต้น ได้แก่ ความคิดเห็นของบุคลากรของสำนักผู้ตรวจราชการ ประจำเขตตรวจราชการที่ 2 จำนวน 23 คน ตัวแปรตาม ได้แก่ ศักยภาพในการสนับสนุนการตรวจราชการ ได้แก่ ด้านความรู้ความเข้าใจ (Knowledge) ด้านการยอมรับในสาระสำคัญ (Acceptation)และด้านความสามารถในการปฏิบัติงาน(Practicality) เกี่ยวกับการตรวจราชการ และ สภาพปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ระยะเวลาในการวิจัย กุมภาพันธ์ 2547 – มีนาคม 2547 และรายงาน เมษายน 2547
วิธีดำเนินการวิจัย ได้แก่ การศึกษาเอกสารและรายงานที่เกี่ยวข้องจาก เอกสารแนวคิด ทฤษฎี กฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง ที่เกี่ยวข้อง รายงานทั่วไปและรายงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกำหนดกรอบการวิจัย เป็นการวิจัยบูรณาการ ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการวิจัยเฉพาะภายในสำนักผู้ตรวจราชการ ประจำเขตตรวจราชการที่ 2 เครื่องมือรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบเก็บข้อมูลจากเอกสารและรายงานที่เกี่ยวข้อง และแบบสอบถามบุคลากรที่ปฏิบัติงาน เกี่ยวข้อง วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การศึกษาเอกสารและรายงานที่เกี่ยวข้อง และการสอบถามบุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ วิเคราะห์ศักยภาพในการสนับสนุนการตรวจราชการ และสภาพปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า
ตอนที่ 1 สถานภาพของของข้าราชการสำนักผู้ตรวจราชการ ประจำเขตตรวจราชการที่ 2สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการการ
1. การวิเคราะห์สภาพตำแหน่งในปัจจุบันของบุคลากรของสำนักผู้ตรวจราชการ ประจำเขตตรวจราชการที่ 2 พบว่า ตำแหน่งมากที่สุด ได้แก่ ข้าราชการประจำ จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 76.67 และตำแหน่งน้อยที่สุด ได้แก่ ลูกจ้างประจำ จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 23.33
2. การวิเคราะห์สภาพลักษณะตำแหน่งในปัจจุบันของข้าราชการของสำนักผู้ตรวจราชการ ประจำเขตตรวจราชการที่ 2 พบว่า ตำแหน่งมากที่สุด ได้แก่ นักวิชาการศึกษา/เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 73.91 และตำแหน่งน้อยที่สุด ได้แก่ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 26.09
3. การวิเคราะห์สภาพระดับตำแหน่งในปัจจุบันของข้าราชการของสำนักผู้ตรวจราชการ ประจำเขตตรวจราชการที่ 2 ระดับมากที่สุด ได้แก่ ระดับ 7-8 จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 65.22 และระดับน้อยที่สุด ได้แก่ ระดับ 5-6จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 34.78
4. การวิเคราะห์สภาพกลุ่มงานในปัจจุบันของข้าราชการของสำนักผู้ตรวจราชการ ประจำเขตตรวจราชการที่ 2 พบว่า กลุ่มมากที่สุด ได้แก่ ฝ่ายบริหารงานทั่วไป และกลุ่มเครือข่ายปฏิบัติการทางการศึกษา กลุ่มละ 6 คน คิดเป็นร้อยละ 27.27 และกลุ่มน้อยที่สุด ได้แก่ กลุ่มแผนงานและการตรวจราชการ กลุ่มละ 5 คน คิดเป็นร้อยละ 22.73
5. การวิเคราะห์สภาพระดับการศึกษาในปัจจุบันของข้าราชการของสำนักผู้ตรวจราชการ ประจำเขตตรวจราชการที่ 2 วุฒิมากที่สุด ได้แก่ ปริญญาโท คิดเป็นร้อยละ 73.91 รองลงไป วุฒิปริญญาตรี จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 17.39 และวุฒิน้อยที่สุด ต่ำกว่าปริญญาตรี จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 8.70
6. การวิเคราะห์สภาพเพศของข้าราชการของสำนักผู้ตรวจราชการ ประจำเขตตรวจราชการที่ 2 พบว่า เพศมากที่สุด ได้แก่ เพศชาย จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 60.87 และเพศน้อยที่สุด ได้แก่ เพศหญิง จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 39.13
7. การวิเคราะห์จำนวนข้าราชการที่ตอบแบบสอบถามและไม่ตอบแบบสอบถาม ของสำนักผู้ตรวจราชการ ประจำเขตตรวจราชการที่ 2 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมากที่สุด จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 82.61 และผู้ไม่ตอบแบบสอบถาม จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 17.39
โดยภาพรวม สถานภาพข้าราชการมีความพร้อมส่งเสริม และสนับสนุนการตรวจราชการ
ตอนที่ 2 ศักยภาพเกี่ยวกับการตรวจราชการของข้าราชการของสำนักผู้ตรวจราชการ ประจำเขตตรวจราชการที่ 2 สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ
ผลการวิเคราะห์ศักยภาพในการส่งเสริมและสนับสนุนการตรวจราชการของข้าราชการ สำนักผู้ตรวจราชการ ประจำเขตตรวจราชการที่ 2 พบว่า ศักยภาพของข้าราชการระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจราชการ คิดเป็นร้อยละ 25.73 รองลงไป ได้แก่ ด้านการยอมรับ ในสาระเกี่ยวกับการตรวจราชการ คิดเป็น ร้อยละ 22.81 และศักยภาพของข้าราชการระดับน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านความสามารถในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการตรวจราชการ คิดเป็นร้อยละ 17.54
เมื่อรวมเฉลี่ยการวิเคราะห์ศักยภาพในการส่งเสริมและสนับสนุนการตรวจราชการทุกระดับ พบว่า ระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 22.22 ระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 60.23 และระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 17.54
ตอนที่ 3 สภาพปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการตรวจราชการของข้าราชการ สำนักผู้ตรวจราชการ ประจำเขตตรวจราชการที่ 2
ปัญหา/อุปสรรค
1.ความรู้ความสามารถและการอุทิศตนของบุคลากรเพื่อการตรวจราชการยังมีน้อย2.ขาดแนวทางประสานการตรวจราชการ และการสร้างเครือข่ายการตรวจราชการ
3.งบประมาณในการสนับสนุนการตรวจราชการไม่เพียงพอ
4.เขตตรวจราชการไม่แน่นอนมีการเปลี่ยนแปลงและไม่สอดคล้องกัน
5.เพิ่มอำนาจการตรวจราชการให้ผู้อำนวยการ สำนักผู้ตรวจราชการ ประจำเขตตรวจราชการ
6.การตรวจราชการมักไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนดเนื่องจากผู้ทำหน้าที่ตรวจมีภาระกิจอื่น
7.คุณลักษณะผู้อำนวยการสำนักส่วนมากยังเป็นแบบเก่า และมักอยู่ไม่นาน
ข้อเสนอแนะ
1. ควรให้ความรู้เกี่ยวกับการตรวจราชการ และสร้างจิตสำนึกให้รู้จักความรับผิดชอบ
2. ต้องประสานงานเพื่อสร้างเครือข่ายให้มากยิ่งขึ้น ทั้งการตรวจราชการและข้อมูลอื่น ๆ
3. ควรจัดสรรสนับสนุนการตรวจราชการให้เพียงพอในการปฏิบัติงาน
4. ควรปรับเขตตรวจราชการให้สอดคล้องกับเขตตรวจราชการของสำนักนายกรัฐมนตรี
5. การแต่งตั้งให้ผู้อำนวยการสำนักผู้ตรวจราชการเป็นผู้ตรวจราชการ ประจำเขตตรวจราชการ
6. ควรกำหนดระยะเวลาการตรวจราชการและประสานแผนการตรวจราชการให้ชัดเจน
7. ผู้อำนวยการสำนักควรมีวิสัยทัศน์กว้างไกลและอยู่ในตำแหน่งอย่างน้อย 2 ปี
ตอนที่ 4 แนวความคิดในการส่งเสริมและสนับสนุนการตรวจราชการของข้าราชการสำนักผู้ตรวจราชการ ประจำเขตรวจราชการที่ 9
1. การศึกษา วิเคราะห์ ข้อมูลสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการตรวจราชการ
1.1 จัดเก็บข้อมูลสารสนเทศระดับเขตพื้นที่การศึกษา เขตตรวจราชการ และระดับประเทศ
1.2 ควรสร้างเครือข่ายในเขตพื้นที่การศึกษาให้มีส่วนร่วมในการตรวจราชการ
1.3 ควรพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ ที่มีมาตรฐานตัวชี้ตามนโยบายในรูปแบบเดียวกัน
1.4 มีการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข้อมูลสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการตรวจราชการ
1.5 นำเสนอข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับการตรวจราชการทาง ระบบ Internet
2. การดำเนินงานเกี่ยวกับการสนับสนุนตรวจราชการ นิเทศ ติดตาม ประเมินผลและรายงานผลการปฏิบัติราชการตามนโยบายและแผนการติดตามและประเมินผลของกระทรวง
2.1 การประชุมตามนโยบาย และแผนการติดตามประเมินผลของกระทรวงศึกษาธิการ
2.2 การประชุมคณะกรรมการตรวจราชการ เขตตรวจราชการทุกไตรมาศ และกรณีเร่งด่วน
2.3 มีการสร้างเครื่องมือการตรวจ ติดตามให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน สะดวกการปฏิบัติงาน
2.4 การตรวจราชการแบบบูรณาการให้ทุกหน่วยมีส่วนร่วมในการวางแผนการตรวจราชการ
2.5 การประสานแผนงาน โครงการการตรวจราชการอย่างมีระบบ มีระยะเวลาที่แน่นนอน
3. การวิจัยและพัฒนาระบบและประสานเครือข่ายการตรวจราชการ การติดตามตรวจสอบและประเมินผลของกระทรวงศึกษาธิการ
3.1 การวิจัยการดำเนินงานตามนโยบาย และการศึกษาผลกระทบต่อการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ
3.2 การวิจัย สังเคราะห์ เพื่อสนับสนุนการตรวจราชการ การติดตามและประเมินผลตาม
นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ
3.3 การพัฒนาข้าราชการในสำนักงาน ให้มีความรู้ ความสามารถในวิเคราะห์ และวิจัย
เกี่ยวกับการตรวจราชการ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
4. การปฏิบัติการร่วม หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
4.1 จัดสรรงบประมาณของโครงการที่เกี่ยวข้องการตรวจราชการให้พอเพียง
4.2 สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องการตรวจราชการ
4.3 ทุกคนมีส่วนร่วมอย่างจริงจังและโปร่งใส กำหนดบทบาทหน้าที่ชัดเจน ไม่ซ้ำซ้อน
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย อนุชา ใน ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ (Knowledge Development Center)
คำสำคัญ (Tags)#2#การตรวจราชการ#รายงานการวิจัย#สำนักผู้ตรวจราชการประจำเขตตรวจราชการที่#การศึกษาศักยภาพ#การส่งเสริมและสนับสนุน
หมายเลขบันทึก: 50327, เขียน: 16 Sep 2006 @ 10:34 (), แก้ไข: 31 May 2012 @ 21:37 (), สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ, อ่าน: คลิก
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก