พระเนื้อดินดิบ เนื้อพระแห่งความทนทานมากที่สุด พอๆกับเนื้อ “ทองคำ”


แม้ศิลปะ และความเก่าจะสามารถย้อนไปถึง ทวาราวดี ลพบุรี อู่ทอง สุโขทัย กำแพง แม้กระทั่งอยุธยา ก็ยังแทบไม่มีการกร่อนมากนัก มีเพียงความเก่าเล็กๆน้อยพอดูสบายตา สบายใจ

เมื่อผมเริ่มศึกษาพระเนื้อดิน ผมเคยได้ยินคำว่า “พระดินดิบ” มาบ้าง

แต่ด้วย

  • ความมีทิฐิ
  • เชื่อมั่นในความรู้เรื่องดินมากเกินไป และ
  • ความที่ไม่เคยรู้
  • ไม่เคยเห็นพระดินดิบมาก่อน

กลับเชื่อไปเองว่า พระดินดิบต้องพังง่าย ไม่ทนทาน ผุกร่อนง่าย น่าจะหายาก และไม่มีในตลาดพระ

เพราะไม่น่าจะสวยงามอะไร กับแค่พระดินดิบธรรมดา

จนกระทั่งผมมาศึกษาพระผงสุพรรณ ดินดิบ ผสมว่าน ผมก็ยังมีทิฐิ ว่า น่าจะมีการบ่มความร้อนบ้างพอสมควร ตามที่เขาบอกไว้ในหนังสือโบราณคดีว่า เป็นการเผาแบบ “ไม่สุก”

และต่อเนื่องจากพระผงสุพรรณ ผมก็เริ่มเข้าใจว่า

พระดินดิบ ไม่ใช่พระดินเปล่าๆ แต่ประการใด

  • บางองค์มีน้ำปูน ผงปูนคลุม
  • บางองค์มีน้ำว่านคลุม

แม้ศิลปะ และความเก่าจะสามารถย้อนไปถึง ทวาราวดี ลพบุรี อู่ทอง สุโขทัย กำแพง แม้กระทั่งอยุธยา ก็ยังแทบไม่มีการกร่อนมากนัก มีเพียงความเก่าเล็กๆน้อยพอดูสบายตา สบายใจ

แต่บางองค์ที่เป็นพระดินเผา กลับเปราะบาง หรือ กร่อนได้ง่าย

  • แม้กระทั่งพระรอดเนื้อเขียวหินครก ก็ยังกร่อนให้เห็น
  • พระกำแพง พระนางพญาเนื้อดำ ที่เรียกว่าแข็งที่สุดในกลุ่มเนื้อ ก็ยังมีร่องรอยการกร่อนพอสมควร

ยิ่งไปกว่านั้น พระเนื้อชินทุกเนื้อ ยกเว้นเนื้อทองคำ ก็ยังกร่อนและผุให้เห็น

จึงอาจสรุปประเด็นได้ว่า

นอกจากเนื้อทองคำแล้ว ก็ไม่มีเนื้อใดทนทานเท่าเนื้อดินดิบแก่ว่าน

ทั้งนี้เนื่องมาจาก

โดยหลักการทางเคมีแล้ว

ดินและดินเหนียวเป็นแร่ธรรมชาติที่มีความเสถียร (Stable) มากและเปลี่ยนแปลงช้าที่สุด

โดยเฉพาะเมื่อไม่โดนน้ำ โดยการหุ้มห่อด้วยสารป้องกัน (Hydrophobic) เช่นน้ำมัน ไขมัน และไขต่างๆ แบบเดียวกับน้ำว่าน

เมื่อไม่โดนน้ำ ก็จะไม่มีปฏิกิริยาทางเคมีปกติ ที่มีน้ำเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา (Aqueous solution) ดินเหนียวก็จะทนทานไปอีกหลายร้อยหลายพันเท่า

จึงไม่ผุพัง แม้กาลเวลาจะผ่านไปเป็นพันๆปี

ต่างจากดินเผา

  • ที่เป็นการทำลายโครงสร้างทางเคมีที่เสถียรของแร่ดินเหนียว กลายเป็นสนิมเหล็กรุ่นและแบบต่างๆ ที่มีความพร้อมในการทำปฏิกิริยาได้เร็วขึ้นกว่าเดิม
  • ประกอบกับ การมีน้ำเข้าออกเป็นประจำ ความผุพังจากปฏิกิริยาเคมีก็ยิ่งเร็วขึ้นเป็นเงาตามตัว
  • แม้จะเผาได้ระดับสูง แกร่งขนาดไหน เช่น พระรอดเขียว ก็ยังจะผุพังได้ ออกเป็นสนิมแดงได้ในเวลาต่อมา

ที่ยังไม่ต้องกล่าวถึงโลหะ ที่จะทำปฏิกิริยาได้ค่อนข้างรวดเร็ว

แม้ตะกั่วที่ว่าทำปฏิกิริยาช้าที่สุด ก็ยังเกิดสนิมแดงได้หลังจากผ่านไปร้อยปีขึ้นไป และเกิดมากขึ้น เมื่อเป็นหลายร้อยปี ที่กำหนดคร่าวๆได้ว่า อย่างน้อยจะมีสนิมเกิดขึ้น 1 ชั้น ทุกๆ 100 ปี

ที่ในที่สุดก็คงจะผุพังไปเรื่อยๆ

แต่เนื้อดินดิบที่ผสมว่าน ผสมน้ำปูน นั้น พบว่ายังคงรูปได้เป็นพันๆปี โดยแทบไม่มีการกร่อนให้เห็น

จึงนับได้ว่า นอกจากทองคำแล้ว ก็ยังหาสิ่งอื่นใดมาเทียบเท่าความทนทานได้ครับ

โปรดพิจารณาตามรูปที่แนบมาครับ

 

 

หมายเลขบันทึก: 498267เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2012 14:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 สิงหาคม 2012 14:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท