การกำทอน เริ่มต้นที่ "why"


การเริ่มต้นด้วย Why คือการหาความถี่ธรรมชาติ ได้แก่ศรัทธา ความเชื่อภายในแต่ละบุคคล แล้วกำทอนด้วยการส่งเสริม ชื่นชม ขยายผล

เมื่อสามปีก่อน
ข้าพเจ้าเคยพยายามทำระบบรับปรึกษาผู้ป่วยดูแลแบบประคับประคอง
จากผู้ป่วยในของแต่ละแผนก
โดยใช้วิธี ทำแบบฟอร์มสำหรับรับปรึกษา
ใช้แบบประเมินตามวิชาการ ได้สองหน้ากระดาษ
พร้อมกับตั้งเกณฑ์ ว่าผู้ป่วยโรคใด ระยะใดบ้าง
ควรมี PPS (Palliative performance scale) 40-50%
พร้อมกับเพิ่มอีกข้อหนึ่งคือ "มีบ้านอยู่ในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่"
เหตุผลเพื่อให้สามารถไปเยี่ยมบ้านได้สะดวก
หลังจากนั้นก็ทำหนังสือแจ้งเวียนให้ทราบทั่วกัน
..เวลาผ่านไป ผ่านไป และผ่านไป
เกือบปี ก็ไม่มีแพทย์ท่านแผนกอื่นส่งปรึกษามา..แม้แต่ฉบับเดียว
.
ขณะเดียวกัน ข้าพเจ้าสอนหลักการ Palliative care ให้นักศึกษาแพทย์
ก็พบกับความผิดหวัง เมื่อเช้าวันถัดมาลองถาม
"เมื่อวานเรียนอะไรไป"
คำตอบคือ ???
..
ข้าพเจ้าพกความรู้สึกล้มเหลว ไปศึกษาต่อ
.
แล้วข้าพเจ้าก็ค้นพบว่า
เหตุที่ ล้มเหลว
ก็เพราะไปเริ่มด้วย "What-oriented pallaitive care" 
คือไปยึดกับนิยาม รูปแบบ การประเมิน จนเกินไป
จึงเริ่มต้นใหม่ด้วย "Why-oriented palliative care" 
ตั้งบนพื้นฐานความเชื่อในศักยภาพความสร้างสรรค์ในแต่ละบุคคล
จะทำรูปแบบไหนไม่สำคัญเท่าว่า
มีเจตนามุ่งหมายให้เป็นอย่างไร
ดั่งที่ เติ้ง เสี่ยวผิงกล่าว "แมวจะสีอะไรไม่สำคัญ ขอให้จับหนูได้ก็พอ"

.
 

.
พยาบาลบ้านเรานั้น มีการดูแลด้านจิตสังคม ที่ละเอียดอ่อนอยู่เป็นทุนเดิม
ข้าพเจ้ายังไม่เคยพยาบาลประเทศใด
กล่าวอโหสิกรรม ข้างเตียงหลังผู้ป่วยเสียชีวิตแบบบ้านเราเลย
เรียกว่า พยาบาลของเราทำทำมาตลอด 
ตั้งแต่ก่อนบัญญัติศัพท์ Palliative care เสียอีก


ภาพ: อนุเคราะห์โดยทีม suandok palliative care
.
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ถนัด Disease management
แม้ท่านจะ "บอก" ไม่ค่อยรู้เรื่อง Palliative care
แต่สิ่งที่ท่าน "ทำ" นั้น เป็นการส่งเสริม Pallaitive care อย่างเป็นรูปธรรม
..ข้าพเจ้าขอยกตัวอย่างแพทย์เฉพาะทางในดวงใจ
คือ ดร.อ.นพ.ดำเนินสันต์  พฤกษากร
ที่จัดการประชุมสหวิชาชีพเรียกว่า "MSK tumor"
ประกอบด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมกระดูก
ด้านรังสีวินิจฉัย ด้านพยาธิวิทยา ด้านอายุรกรรมมะเร็ง
จุดประสงค์เพื่อให้ได้ข้อตกลงแนวทางวินิจฉัย รักษา ผู้ป่วยมะเร็งกระดูก
ตอนแรก..ที่ข้าพเจ้าได้รับเกียรติเชิญเข้าประชุมด้วยนั้น
ก็ยังไม่แน่ใจว่าเราจะช่วยได้เพียงไร
เมื่ออาจารย์ถามข้าพเจ้าว่า จะจัดระบบส่งปรึกษาผู้ป่วยมะเร็งกระดูกอย่างไร
" ส่งเป็นใบ consult ตามปกติเลยค่ะ
เคสใดก็ได้ที่อาจารย์เห็นพิจารณาว่าสมควรได้รับ Palliative care"



ขั้นตอนการรับปรึกษาเคสในโรงเรียนแพทย์
เนื่องจากแพทย์ประจำบ้านจะเป็นผู้ดูแลอันดับแรก
ก็ได้เห็นสิ่งเกินความคาดหมาย
คือความสามารถพิเศษเชิงบริหารจัดการของเขา
ที่สามารถเรียกประชุม stakeholder ตลอดจนร่วมวางแผน protocol
นับแต่นั้น ทัศนะของข้าพเจ้าต่อ แพทย์ประจำบ้าน
จึงไม่ใช่ "ผู้ตาม" แต่เป็น "หุ้นส่วน" โครงการนี้
รวมทั้งแบบฟอร์มการตอบ consult ก็ยังไม่ตายตัว
ให้เขาทดลอง ไปทำถ้าเจอปัญหามาคุย ปรับ แก้ 
แต่ขออย่างเดียว ให้ลงท้ายข้อความนี้ในใบ consult ทุกครั้งคือ
"ขอบคุณที่่ท่านสนใจ Palliative care ค่ะ/ครับ"
.
ครั้งแรกที่ข้าพเจ้าขึ้นไปดูผู้ป่วยบนวอร์ด เต็มไปด้วยความตื่นเต้น
แต่เห็นความตั้งใจของแพทย์ประจำบ้าน
และความน่ารักของเจ้าหน้าที่พยาบาลบนวอร์ดศัลยกรรมกระดูก 3
เราทึ่งในความช่างคิด ผลิตนวัตกรรมการดูแลของพี่ๆ 

.

ในที่สุด ฝันเล็กๆ ก็เป็นจริง
เมื่อ "เรา" ได้มีส่วนร่วมดูแลผู้ป่วย
อันเป็นผลจากการกำทอน
และ "why"


###

บทความนี้ขออภัยที่ย้าวยาว..ทั้งนี้เพราะเตรียมสำหรับการบรรยายหัวข้อ "Why oriented palliative care concept and end of life care" ที่อิมแพค เมืองทอง พรุ่งนี้ค่ะ  

 

หมายเลขบันทึก: 496392เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2012 16:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 สิงหาคม 2012 17:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ได้มุมมองดีๆของการสร้างความมีล่วนร่วมในการเข้าถึงการดูแลผู้ป่วยที่สมเหตุผลเช่นนี้ค่ะ..

ืที่ มข. พึ่งตั้งเป็นหน่วย เมื่อไม่นานมานี้ แต่ก็มองเห็นความตั้งใจของทีมคะ

ตอนนี้มี อ. ศรีเวียงเป็นหลัก  เมื่อแพทย์ประจำบ้านเขียนใบ consult แล้ว ไม่ต้องส่ง (แตกต่างจากการ consult อื่นๆ)พยาบาลที่ตึกจะโทรบอกพยาบาลประจำหน่วยเพื่อมารับ case แล้วเชิญอาจารย์มาร่วมดูแล

เป็นการตัดทอน เพื่อเอื้อต่อการดูแล

ชื่นชมทุกถ้อยคำ
และคนต้นแบบที่ปรากฏในเรื่องราวครับ...
การเรียนรู้ และการแบ่งปันที่สร้างสรรค์
มักปรากฏเป็นคลังความรู้ของผู้คน-องค์กร-สังคม เสมอมา

และการเรียนรู้...ที่ไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่
คือสิ่งที่ยืนยันได้ว่า
มนุษย์ คือ สิ่งมีชีวิตที่พร้อมจะวิวัฒน์ไปสู่ความดีงามเสมอเช่นกัน

...
ขอบคุณเรื่องเล่าอันง่ายงามนี้อีกรอบ นะครับ

เรียนท่าน ดร.ปัทมา ขออนุญาตเรียนถามท่านว่า...สมมุติว่าพวกเราชาว GTW ท่านใดท่านหนึ่งเจ็บไข้ได้ป่วยจะเรียนปรึกษาท่านหรือเพื่อนๆชาว GTW ที่เป็นคุณหมอทางแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ไหม...หรือจะเป็นการผิดจรรยาบรรณทางแพทย์ครับ.... ขอบคุณ จากครูเด

ชุดอาจารย์หมอ...สวมใส่ในบันทึกนี้...มีนัยยะอะไรไหมครับ...ผมคิดไปไกลจัง...แต่ภาวนาให้อาจารย์มีความสุขเสมอครับ...ผมยังยุ่งเช่นเดิม...ผมยังอ่านบันทึกที่กระตุกต่อมทุกต่อมของอาจารย์เสมอ...กลับไปอ่านอีกรอบได้แรงบันดาลใจมากมายอีกรอบครับ...สู้ๆ นะครับ

ขอบคุณกองเชียร์กิตติมศักดิ์ค่ะ :)

ผมยังยุ่งเหมือนเดิม หวังว่าเสื้อคงดูไม่ยับมากนะค่ะ

ณ ช่วงนี้เริ่มสนุก จึงเข้าใจว่าทำงานอย่างสนุกก็เมื่อ ทุกคนมีส่วนร่วมค่ะ  

ขอบคุณค่ะพี่ใหญ่ เมื่อเข้ามา gotoknow แล้วเห็นกิจกรรมร่วมสร้างความดีของชาว SCB สิ่งนี้ ทำให้มั่นใจ มีแรงใจทำงาน ไปด้วยค่ะ

  • สวัสดีค่ะพี่กระติก  หมายถึง หน่วยชีวันตารักษ์ของศรีนครินทร์ใช่ไหมค่ะ
  • เร็วๆนี้ได้พบท่าน อ.ศรีเวียง เล่าถึงสมรรถภาพสหวิชาชีพในทีม โดยเฉพาะการใช้ยา opioid แล้วทึ่งค่ะ ยังรอว่าถ้ามีอบรมอีกเมื่อไหร่จะขอไปเรียนด้วยคนค่ะ

  • ขอบคุณค่ะอาจารย์แผ่นดิน
  • คำว่า เรียนแล้ว "สนุก" จากน้องแพทย์ประจำบ้าน ทำให้ชีวิต fullfill แล้ว ขอเพียงผู้เรียนเริ่มมีความสุข มีความรู้สึกดีๆ กับการดูแลคนไข้กลุ่มนี้ ก็ถือว่าได้ปลุก "ความวิวัฒน์" ในตัวเขาดังที่อาจารย์ให้กำลังใจค่ะ
  • เมื่อทำหน้าที่เสร็จแล้ว ก็เป็นอิสระ..อยู่ หรือ จะไปก็ไม่สำคัญ

 

เรียนคุณครูเดที่เคารพ ด้วยความยินดีหากพอเป็นประโยชน์ค่ะ
คุยกันหน้าไมค์หรือหลังไมค์ก็ได้ค่ะ :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท