เชิญร่วมบันทึก "ปัญหาทางเทคโนโลยีการศึกษาและแนวทางการแก้ไขปัญหา" หมดเขต 31 กค. 55


เมื่อครั้งที่ดิฉันไปอบรมการใช้ระบบชั้นเรียนออนไลน์ ClassStart ให้กับครูสอนดีของ สสค.  ดิฉันพบว่าปัญหาสำคัญของครูเหล่านี้คือ ปัญหาเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานที่ทำให้เขาขาดโอกาสในการนำเครื่องมือเทคโนโลยีต่างๆ ที่ครูอีกมากมายเข้าถึงได้มาใช้ในการเรียนการสอน

และครูอีกหลายท่านก็แจ้งให้ทราบถึงปัญหาทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ปัญหาของการไม่กล้าที่จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยีเพิ่มขึ้น และอีกหลายปัญหาที่ดูเหมือนโรงเรียนต่างจังหวัดหลายแห่งจะประสบปัญหาเช่นกัน

อย่างไรก็ตามในวันนั้นเราก็พบความใจดีของครูอีกมากมายที่พร้อมในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานและยินดีในการให้ความร่วมมือช่วยเหลือโรงเรียนที่ประสบปัญหาค่ะ 

นี่เป็นแค่เพียงข้อมูลจากครูส่วนหนึ่งเท่านั้นค่ะ ทาง GotoKnow และ สรอ. ขอเปิดโอกาสให้ทุกท่านช่วยร่วมกันถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเรียนรู้

 

ปัญหาทางเทคโนโลยีการศึกษาและแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

 

โดยให้ทุกท่านเขียนบันทึกลงไปในบล็อกของท่านเองใน GotoKnow นะคะ และใส่คำสำคัญ (Keyword) ของบันทึกว่า "ปัญหาเทคโนโลยีการศึกษาแล้วร่วมลุ้นรับรางวัลเงินสด 2,500 บาทจำนวน 2 รางวัล หมดเขต 31 กค. นี้ ค่ะ


สนับสนุนรางวัล "สรอ. ขอความรู้" ครั้งที่ 5 นี้ โดย

สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรือ สรอ. ซึ่งเป็นองค์การมหาชนในกำกับของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีระบบการบริหารงานจัดการที่เป็นอิสระจากระบบราชการ ทำหน้าที่ในการพัฒนาระบบบริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) ของประเทศไทย สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ สรอ. ได้ที่ www.ega.or.th

 
 

 

 

หมายเลขบันทึก: 495087เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2012 13:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ตุลาคม 2015 12:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

v_V อ่ะ ... วิชาชีพของข้าพเจ้าเอง

มารอฟังดีกว่า ;)...

อ่านอย่างเดียวไม่ได้นะคะอาจารย์ ขอสักบันทึกนะคะ :)

v_V ผิดเป็นครู

ครับ อาจารยจัน ;)...

  • ใช่ค่ะ เรื่องนี้ เป็นวิชาชีพของ "Blank" อาจารย์ "Wasawat Deemarn" โดยตรง ไม่เขียนไม่ได้แล้ว
  • ภาคเรียนนี้ อ.วิพบนักศึกษาพิการทางหู (นักศึกษาสาขาการศึกษาพิเศษ) ที่ไม่ได้ยินเสียง และพูดไม่ได้จำนวน 6 คน มาลงทะเบียนเรียนด้วยในรายวิชา "จิตวิทยาสำหรับครู" ค่ะ และทางสาขาได้ให้ล่ามภาษามือมาช่วยอธิบาย 1 คน แต่ดูจากงานงานที่ออกมาแล้ว แค่กรอกแบบสำรวจข้อมูลผู้เรียนเป็นรายบุคคล ก็กรอกได้ไม่ตรงแล้ว อ.วิทำอะไรไม่ได้เลย ดีหน่อยว่าใช้ DVD ประกอบการสอนแทบทุกเนื้อหา (พวกเธอรับรู้ทางตาได้) และให้แต่ละคนกระจายไปอยู่ในแต่ละกลุ่มที่สมาชิกอื่นๆ เป็นนักศึกษาปกติ และมีคะแนนกลุ่ม 40 %
  • อ.วิคงไม่เขียนบันทึกเรื่องนี้เอง แต่จะประชาสัมพันธ์ต่อให้กับนักศึกษา ในกิจกรรม "การใช้ IT เพื่อพัฒนาสมรรถภาพในการเรียนรู้ตลอดชีวิต" ค่ะ เรื่องนี้นักศึกษาอาจไม่ถนัดที่จะเขียนเองทั้งหมด คงแนะให้ใช้วิธีสืบค้นอ้างอิงแนวคิดใหม่ๆที่น่าสนใจ แล้วเขียนเองในส่วนของความนำ และบทสรุป ค่ะ 
  • ขอบคุณ "ดร.จันทวรรณ ปิยะวัฒน์Blank" และ "" มากค่ะ ที่มีโครงการดีๆ มาฝากสมาชิก เช่นเคย
  • อาจารย์ครับ
  • จะรีบมาเขียนทันใด
  • ดีนะที่ผิดเป็นครูไม่ได้เป็นอาจารย์ 555

หมายถึงปัญหาการใช้เทคโนโลยีการศึกษาในกลุ่มนักเรียนผู้พิการ กลุ่มนักเรียนยากจน และ กลุ่มบุตรของแรงงานต่างด้าว..อย่างนั้นหรือเปล่าค่ะ

คุณหมอบางเวลา ป. ;)...

แอบตอบแทนว่า ... ทุกประเด็น ไม่จำกัดกลุ่มเป้าหมาย ขอรับ ;)...

คุณหมอ ป. มีเรื่องเขียน SURE !

ปรับแก้ข้อความที่อาจทำให้เข้าใจผิดประเด็นไปได้ตามที่ อ.หมอ ป. แจ้งแล้วนะคะ

ประเด็นที่อยากให้ทุกๆ ท่านร่วมช่วยกันแจ้งคือ ปัญหาในการนำเอาเทคโนโลยีไปใช้ในการเรียนการสอนค่ะที่ท่านเคยเห็นหรือประสบมาเอง และอยากให้ช่วยเขียนแนวทางแก้ไขปัญหาด้วยค่ะ

ดิฉันมั่นใจว่าอย่างน้อยการเขียนลงเป็นบันทึกใน GotoKnow และมีการสกัดประเด็นออกมาแล้วนำเสนอผ่านไปยัง สรอ. เพื่อพลักดันเป็นนโยบายให้แก่ทางรัฐบาลก็ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประชาชนแล้วค่ะ

ซึ่ง สรอ. ก็แสดงให้เราเห็นไปแล้วค่ะ สิ่งที่เราได้ร่วมกันบอกกล่าวในเรื่องของบัตรประชาชนในครั้งที่ผ่านมานั้น สรอ. ได้นำเข้าใช้เป็นข้อมูลในความร่วมมือกับกรมการปกครองค่ะ http://www.gotoknow.org/comments/2667297 

ขอบคุณมากค่ะ

วิ๊ด ... วิ้ววว ครับอาจารย์ ;)...

เยี่ยม ๆ

เคยเขียนไว้แล้ว ถ้าแอบกลับไปใส่ tag จะถือว่าเข้ากติกาไหมอ่ะครับ?

"ปัญหาเทคโนโลยีการศึกษา" ดิฉันได้ติดตามอ่านข้อความดีๆจากเว็ปแห่งนี้ตลอดมา แต่ไม่เคยเขียนความเห็นใดๆ เพราะส่วนใหญ่จะเห็นด้วยกับที่ท่านอาจารย์เขียนให้ข้อมูลความรู้ที่เป็นประโยชน์ สำหรับเรื่องของเทคโนโลยีการศึกษานั้น โดยส่วนตัวดิฉันเองแล้ว ดิฉันคิดว่า ครูผู้สอนพยายามที่จะเข้าประเด็นเนื้อหาความรู้ที่เกิดประโยชน์ต่อนักเรียน แต่ตัวนักเรียนเองก็จะนำไปใช้ในทางที่ผิด ทำให้ปัญหาไม่สามารถแก้ไขได้สักที และนับวันจะขยายกว้างมากขึ้นทุกที ขอติดตามผู้รู้ที่จะช่วยลดปัญหาเหล่านั้นด้วยคนนะคะ

อาจราย์ให้โจทย์ ปัญหาทางเทคโนโลยีการศึกษา และแนวทางแก้ปัญหาดังกล่าว

ผมว่าบอกมันแคบไป น่าจะเป็นปัญหาทางเทคโนโลยีการสื่อสารการศึกษา และแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผมไม่แสดงความคิดเห็นประเด็นนี้ ผมขาดองค์ความรู้ด้านนี้ และขอให้ทุกๆท่านโชคดีในแง่คิดเห็นดังกล่าว

            เทคโนโลยี ทำให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้  สามารถลื่นไหลได้สะดวก รวดเร็ว  อิทธิพลของเทคโนโลยี ได้เกิดขึ้นในทุกกิจกรรมและวงการ ในรูปแบบต่างๆ ทั้งที่เป็นข้อมูล (Data) ข่าวสาร (Information) 
           ดังนั้นเทคโนโลยี   จึงเป็นเครื่องมือที่สามารถนำประโยชน์มาสู่วงการศึกษา ได้อย่างเหมาะสม  หากรู้จักใช้ให้เป็นประโยชน์และคุ้มค่าต่อการลงทุน 
           เมื่อกล่าวถึงเทคโนโลยี   อุปกรณ์ที่นับว่ามีบทบาทอย่างยิ่ง ได้แก่ "คอมพิวเตอร์"(Computer) ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในทุกวงการ โดยเฉพาะวงการศึกษา ได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นในด้านการบริหาร การบริการ และการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน
           แต่ปํญหา มันอยู่ที่ผู้ใช้ ว่าจะใช้เป็นกันมากแค่ไหน  ครูผู้สอนที่อายุมากๆ พื้นฐานจึงแทบจะไม่ค่อยมีเทคโนโลยีด้านนี้จึงเป็นปัญหาสำหรับเขา  แต่ถ้าเป็นครูรุ่นใหม่ ๆ ที่ผ่านการอบรม มีความรู้อย่างเชี่ยวชาญ คงใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี.......
น.ส.ศิริลักษณ์ เหลืองวัฒนพาณิช

ปัญหาเทคโนโลยีทางการศึกษา

สวัสดีค่ะทุกท่านที่เข้าใช้บริการและติดตามข่าวสารต่างๆ

  ดิฉันเป็นครูสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา  ร่างกายและการเคลื่อนไหวรวมทั้งเด็กออทิสติกมีจำนวนเด็กที่อยู่ในความดูแลกว่า90 คน  เนื่องจากปัญหาทางการเรียนรู้ของเด็กที่มีข้อจำกัดในการเรียนการสอนนั้นซึ่งยังมีปัญหาทางเทคโนโลยีการศึกษาที่เด็กกลุ่มไม่มีโอกาสเข้าถึงได้ง่ายและเข้าใจถึงการใช้งานทางสื่อที่มากับการออนไลด์หรือวิธึการเข้าใช้สื่อดังกล่าวซึ่งจากประสบการณ์ที่ผ่านมาเด็กพิเศษกลุ่มนี้ได้ให้ความสนใจกับเครื่องมือที่มีเทคโนโลยีเพราะป็นสื่อที่เด็กเห็นภาพจริงพร้อมมีเสียงเป็นสิ่งที่เด็กพิเศษไม่ต้องจินตนาการไปไกลและบางครั้งอาจไม่เห็นภาพรวมทั้งเด็กที่ไม่สามารถเขียนได้ให้สามารถเรียนรู้โดยการสัมผัสตัวอักษรที่ทำให้เด็กทางด้านร่างกายที่กล้ามเนื้ออ่อนแรงได้เรียนรู้ที่ง่ายขึ้นเข้าใจได้และทดสอบความรู้ความสามารถได้ประกอบกับเด็กที่ไม่อยู่นิ่งให้มาสนใจในสื่อนี้จำกัดความอยู่นิ่งให้เด็กได้ระยะเวลาที่นานทำให้เด็กมีสมาธิและมีทักษะรับรู้ที่ดีขึ้นแม้กระทั่งการฝึกพูดในเด็กที่มีปัญหาการพูดทำให้เด็กออกเสียงได้ดีขึ้นที่กล่าวมานั้นเป็นประโยชน์กับเด็กพิเศษอย่างยิ่ง  ดิฉันเคยสอนให้เด็กพิเศษคนหนึ่งจากที่เขาไม่เคยรู้จักคอมพิวเตอร์เลยได้ทดลองใช้พร้อมทั้งสอนการเข้าใช้อินเตอร์เน็ตเพียงไม่กีครั้งเขาสามารถใช้อินเตอร์เน็ตเรียนรู้สิ่งที่เขาอยากรู้ได้และเมื่อถามความรู้รอบตัวเขาก็สามารถตอบได้และที่ดียิ่งกว่านั้นเขาติดตามข่าวสารต่างได้จนบางครั้งสิ่งที่เราไม่รู้เด็กพิเศษคนนี้ได้บอกเราซึ่งเขาไม่ได้ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อเล่นเกมส์ซึ่งบุคคลอื่นอาจมองว่าเด็กที่ไปใช้บริการนั้นมุ่งแต่เล่นเกมส์นั้นท่านคิดผิดค่ะ  แต่ในทางกลับกันก็มีปัญหาที่ว่าเด็กจะหมกมุ่นมากเกินไปและยิ่งจะถูกจำกัดทางสังคมเพิ่มขึ้นสิ่งที่กล่าวมาเป็นปัญหาที่เกิดจากเด็กและปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้สอนก็มีอย่างมากมายที่เนื่องจากผู้สอนไม่มีความชำนาญในการใช้เทคโนโลยีที่สามารถมาถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้รับรู้ครบและเครื่องมือที่ใช้ถ่ายทอดไม่เพียงพอต่อความต้องการก็เป็นอุปสรรคที่ขวางกั้นและปิดกั้นเด็กที่จะได้รับการเรียนรู้โลกกว้างที่ทันสมัยประกอบกับปัญหาที่เด็กพิเศษไม่ระวังรักษาอุปกรณ์จึงทำให้อุปกรณ์ที่มีอยู่ได้ชำรุดทรุดโทรมและเสียหายจนไม่สามารถใช้งานได้

แนวทางการแก้ไขปัญหา

จัดทำโครงการสนับสนุนเครื่องมือสื่อเทคโนโลยีทางการศึกษาและจัดการฝึกอบรมการใช้พร้อมทั้งให้นำผู้เรียนไปทดลองใช้เพื่อจะได้นำกลับใช้ในการเรียนการสอนจริงและเป็นการได้เปิดโอกาสให้เด็กเปิดโลกกว้างพร้อมจัดส่งวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถมาช่วยในช่วงเริ่มต้น

 

"ปัญหาทางเทคโนโลยีการศึกษา"

       เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การนำความรู้ แนวคิด กระบวนการและผลผลิตทางวิทยาศาสตร์มาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้าไปอย่างมีประสิทธิภาพ
       ในยุคเทคโนโลยีโทรคมนาคมและสารสนเทศเช่นในปัจจุบัน ข้อมูลนั้นมีประโยชน์มหาศาล ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ในทางธุรกิจหรือในการพัฒนาประเทศ  ข้อมูล เป็นเครื่องมือสำคัญต่อการสร้างความรู้และเสริมสร้างบุคลิกภาพของบุคคล ซึ่งทั้งหมดนี้จะนำไปสู่การพัฒนาสังคมในที่สุด เพราะสังคมที่พัฒนาแล้วนั้น คือ สังคมที่ผู้คนมีปฏิสัมพันธ์ด้วยการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันอย่างมีเหตุมีผล ไม่ใช่โดยใช้อำนาจ หรือด้วยอารมณ์ความรู้สึก
        ความรู้สาขาต่างๆ ก้าวหน้าไปมากในทุกวันนี้ และเครื่องมือสำหรับการถ่ายทอดความรู้ก็ได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้าขึ้นเช่นกัน จากเดิมที่เคยใช้แต่ตำราและหนังสือ ปัจจุบันการถ่ายทอดความรู้สามารถกระทำได้อย่างสะดวกง่ายดาย ไม่ว่าจะโดยผ่านสื่อวิทยุ โทรทัศน์ มัลติมีเดีย หรืออินเทอร์เน็ต
        ***แต่การนำสิ่งเหล่านี้มาใช้เพื่อการศึกษา ปัญหาใหญ่ที่สุดของสังคมไทย คือ การสร้างข้อมูลความรู้ ความรู้ที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมและวัฒนธรรมของประเทศ เพื่อเป็นกำแพงป้องกันการไหลบ่าเข้ามาของวัฒนธรรมต่างชาติ และเพื่อให้เกิดความเป็นไทยทั้งทางร่างกายและสติปัญญา แต่การเข้าถึงข้อมูลความรู้ต่างชาติก็ยังเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อช่วยยกระดับภูมิปัญญาของคนในชาติให้ก้าวทันความรู้สากล
        นอกจากนี้ ยังมีปัญหามากในการสร้างความรู้ของตนเอง การศึกษาวิจัยในศาสตร์ต่างๆ ยังมีอยู่น้อย หนังสือที่แต่งและพิมพ์ขึ้นในแต่ละปีของไทยยังมีจำนวนไม่มากนักเมื่อเทียบกับจำนวนหนังสือของประเทศอื่น(ข้อมูลจาก: จับตาโลกาภิวัฒน์ : จักรกฤษณ์ ควรพจน์  กรุงเทพธุรกิจ)
        สำหรับการผลิตโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เป็นเทคโนโลยีจำเป็นต่อการศึกษา มีความหลากหลายและน่าสนใจอย่างมาก มีเกลื่อนทั้วไป แต่ในด้านการนำมาใช้ กลับพบว่า ไม่คุ้มค่ากับการลงทุนในการผลิตสื่อเหล่านั้นขึ้นมา เพียงเพราะคนที่สนับสนุนส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา อยู่ในระดับการวางนโยบายเท่านั้น โรงเรียนซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับผู้เรียนก็เป็นที่สำหรับจัดเก็บสื่อเหล่านั้น โดยไม่ได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับผู้เรียนเท่าที่ควร
        แนวทางแก้ไข
  1. สร้างความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ด้วยความตระหนักถึงคุณภาพผู้เรียน ในการร่วมกันวางนโยบาย กำหนดแผนการดำเนินการ และนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลงานในเชิงประจักษ์
  2. ทุกคนควรเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เยาวชนในการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์และเหมาะสม
  3. เปิดโอกาสให้เยาวชนใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เรียนรู้ ให้รู้เท่าทันเหตุการณ์ เรื่องราวรอบโลก ที่กำลังเปลี่ยนแปลง แต่ต้องได้รับคำแนะนำจากผู้ปกครอง ครู และบุคคลที่อยู่ใกลชิด
  4. ยกย่อง ชมเชย บุคคลที่ใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาแล้วประสบผลสำเร็จในด้านการเรียน เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เยาวชน
  5. เปิดโอกาสให้ทุกคนสะท้อนมุมมอง ความคิดเห็นในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอย่างทั่วถึงและสมำเสมอ เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาการศึกษาไทยให้มีคุณภาพต่อไป
  • สวัสดีจ้ะ  คุณมะเดื่อเองก็ผ่านการคัดเลือกเป็นครูสอนดีเช่นกันจ้ะ 
  • ครั้งหนึ่งน้อง ๆ จากโทรทัศน์ครูไปขอบันทึกการสอนของคุณมะเดื่อ และบอกว่า ครูที่สอนดี สอนเก่ง ที่มีอายุราชการหลาย ๆ ปีมักมีเทคนิควิธีการสอนที่ดี แต่ก็ ไม่มีทักษะการใช้สื่อเทคโนโลยียุคใหม่  บางท่านไม่ใช้เลย 
  • ก็สอดคล้องกับข้อมูลที่อาจารย์ได้จากครูสอนดีมานั่นแหละจ้ะ
  • สวัสดีค่ะอาจารย์จัน
  • ดิฉันเป็นคนนอกวงการการศึกษา แต่สนในเรื่องการศึกษา พยายามตีความโจทย์ของอาจารย์ว่า  หมายถึง ปัญหาของครูในการหยิบเอาเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการศึกษา  ใช่หรือไม่ พอกลับไปอ่านทีละความเห็นช้าๆ ก็พอจะเข้าใจ
  • แต่ก็ยังไม่รู้คำจำกัดความของ "ปัญหาทางเทคโนโลยีการศึกษา" อยู่ดี  และขอขอบคุณ คุณน้ำใส ที่อธิบายจนกระจ่าง
  • รู้สึกเหมือนเป็นนักเรียนอ่านโจทย์ไม่เข้าใจ ก็เหงือตก ไม่รู้ว่าจะตอบโจทย์ยังไง
  • ถ้าคำจำกัดความของคุณน้ำใสถูกต้อง ครอบคลุม ดิฉันก็พอจะทำข้อสอบข้อนี้ได้อยู่ค่ะ (แม้จะยาก) เพราะโจทย์นี้น่าสนใจ และท้าทาย

นี่ก็ปัญหาเรื่องเทคโนโลยีฯครับ ผมพยายามนำไฟล์ขึ้นบล็อกในเครื่อง ซัมซุงแกแลคซี่แท็ป 8.9 ทำเท่าไรก็ไม่สำเร็จ ยังเป็นปัญหาค้างคามานาน มีตัวช่วยไหมครับ

อนันต์ อนันทชัยวรกุล

ความหมายเทคโนโลยีการศึกษา ศจ.ดร.วิจิตร ศรีสะอ้าน (2517) ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีการศึกษานั้นเป็นการประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการ แนวความคิด อุปกรณ์และเครื่องมือใหม่ๆ มาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษา ทั้งในด้านการขยายงานและด้านการปรับปรุงคุณภาพของการเรียนการสอนตามนัยนี้เทคโนโลยีการศึกษาจึงครอบคลุมเรื่องต่างๆ 3 ด้าน คือ ๑. การนำเอาเครื่องมือใหม่ๆ มาใช้ในการเรียนการสอน ๒. การผลิตวัสดุการสอนแนวใหม่ ๓. การใช้เทคนิคและวิธีการใหม่ๆ ปัญหา ๑. ขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ และการส่งเสริม หรือให้ความสำคัญจากผู้บริหาร (เน้นสร้างอาคาร ถาวรวัตถุ ปรับปรุงภูมิทัศน์) ๒. ขาดการเสริมแรง สร้างขวัญกำลังใจ อาทิ พูดให้กำลังให้ผู้บุกเบิกนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน และการพิจารณาความดีความชอบที่ไม่เป็นธรรม ๓. ขาดการนิเทศ ติดตาม กำกับ แนวทางแก้ไข ๑. สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ ให้ความสำคัญต่อเทคโนโลยีการศึกษา ๒. สร้างขวัญกำลังใจต่อผู้ปฏิบัติงานการสอน ๓. ติดตามดูแลให้คำแนะนำ ช่วยเหลืออย่างกัลยาณมิตร ข้างต้น นำมาจากประสบการณ์จริงที่ผู้ปฏิบัติได้พบเห็น สัมผัสอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันครับ

ความหมายเทคโนโลยีการศึกษา ศจ.ดร.วิจิตร ศรีสะอ้าน (2517) ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีการศึกษานั้นเป็นการประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการ แนวความคิด อุปกรณ์และเครื่องมือใหม่ๆ มาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษา ทั้งในด้านการขยายงานและด้านการปรับปรุงคุณภาพของการเรียนการสอนตามนัยนี้เทคโนโลยีการศึกษาจึงครอบคลุมเรื่องต่างๆ 3 ด้าน คือ ๑. การนำเอาเครื่องมือใหม่ๆ มาใช้ในการเรียนการสอน ๒. การผลิตวัสดุการสอนแนวใหม่ ๓. การใช้เทคนิคและวิธีการใหม่ๆ ปัญหา ๑. ขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ และการส่งเสริม หรือให้ความสำคัญจากผู้บริหาร (เน้นสร้างอาคาร ถาวรวัตถุ ปรับปรุงภูมิทัศน์) ๒. ขาดการเสริมแรง สร้างขวัญกำลังใจ อาทิ พูดให้กำลังให้ผู้บุกเบิกนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน และการพิจารณาความดีความชอบที่ไม่เป็นธรรม ๓. ขาดการนิเทศ ติดตาม กำกับ แนวทางแก้ไข ๑. สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ ให้ความสำคัญต่อเทคโนโลยีการศึกษา ๒. สร้างขวัญกำลังใจต่อผู้ปฏิบัติงานการสอน ๓. ติดตามดูแลให้คำแนะนำ ช่วยเหลืออย่างกัลยาณมิตร หมายเหตุ ข้างต้น นำมาจากประสบการณ์จริงที่ผู้ปฏิบัติได้พบเห็น สัมผัสอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท