"ประเทศที่นักเรียนไม่กล้าถามครูผู้สอนมากที่สุด" กับ "อันดับ ๖ ของนักเรียนไทย"


เหตุเกิดในห้องเรียน

ระหว่างนั่งเรียนคุณเคยเป็นแบบนี้หรือไม่

คุณครู : ใครสงสัยอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้บ้างมั้ย

ด.ช. A : ผมสงสัยว่าทำไมเรื่องนี้ถึงกลายมาเป็นอย่างนี้ได้ครับ

ทั้งห้อง : ...

ด.ช. B : (กระซิบ) มันจะถามอะไรวะ คนยิ่งหิว ๆ ข้าวอยู่

ด.ช. C : นั่นสิ! ถ้าไม่มีใครถาม พวกเราก็ได้พักกันแล้วเนี่ย

หากคุณเป็นดั่ง ด.ช. B กับ C เราขอแสดงความยินดีด้วย คุณเป็นหนึ่งในตัวแทนทีมชาติที่ติดอยู่ในลิสต์ต่อไปนี้

 

 

ประเทศที่นักเรียนไม่กล้าถามครูผู้สอนมากที่สุด

หน่วย : เปอร์เซ็นต์ของจำนวนนักเรียน

 

ญี่ปุ่น ... 93%

คาซัคสถาน ... 91%

จีน ... 90%

ฮ่องกง ... 89%

โรมาเนีย ... 89%

 

ส่วนอันดับของ "นักเรียนไทย" ตามมาติด ๆ เป็น "อันดับ 6 ของโลก" โดย 86% ของนักเรียนทั้งหมด ไม่กล้าซักถามครูผู้สอน

 

 

เรื่องเล่าในห้องเรียนเป็นเรื่องฮา แต่เป็นจริงจนถึงปัจจุุบันสำหรับเด็กไทยที่ถามน้อย คุย (กันเอง) เยอะ เราอาจจะวิเคราะห์ได้ว่า "ความไม่กล้าถามครูผู้สอน" อาจจะเกิดจากวัฒนธรรมของของเด็กไทย คือ ความอ่อนน้อมถ่อมตนของเด็กที่มีต่อผู้ใหญ่ การเคารพอาวุโส ความเป็นสังคมวัฒนธรรมตะวันออกอีกเช่นเดียวกับ ญี่ปุ่น จีน และฮ่องกง ทำให้เมื่อเข้าห้องเรียนไปแล้วก็จะเลือกที่จะ "ฟัง" ไว้ก่อน หาคำตอบกันภายหลัง อีกทั้งเกรงใจครู เผื่อครูจะหิวข้าว (น้านน ดูมีเหตุผลทีเดียว 555)

 

นี่หากมองอีกแง่มุมหนึ่ง "ระบบการศึกษาไทยเรามีปัญหาหรือไม่?"

 

ขนาดที่ว่า เด็กขาดความมั่นใจในสิ่งที่กำลังจะถามออกไป ถามไปก็กลัวครูไม่พอใจ อาจจะหาว่าคำถามนั้นเป็นคำถามดูไม่ฉลาด และโง่ในสายตาเพื่อน คิดเช่นนั้นแล้วก็ไม่ถามจะดีกว่า

 

หรือ วิธีการสอนของครูไม่ได้เอื้อให้เด็กสามารถตั้งคำถามได้ เช่น บรรยายล้วน ๆ, การศึกษาด้วยตนเอง, แจกเอกสารแล้วกลับห้องทำงานอื่น ๆ ต่อ ฯลฯ สารพัดวิธีที่ปิดกั้นไม่ให้เด็กถาม

 

หรือ พื้นฐานความรู้ของเด็กไม่แน่นพอที่จะสามารถตั้งคำถามได้ อันเนื่องมาจากระดับการศึกษามีความรู้กระท่อนกระท่อนมาแต่เริ่ม เช่น เรียนอยู่ชั้นมัธยมปีที่ ๔ สายวิทย์ แต่ตอนเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เรียนตกแล้วอีก เรียนไม่ค่อยรู้เรื่อง ไม่ค่อยเข้าใจอย่างลึกซึ้งจริง ๆ พอจะนำมาใช้ก็เป็นอันว่า ถามอะไรดีหว่า 555

 

ไม่กล้าถาม แต่ดันกล้าหลับ ป๊าดดดด

 

หากจะให้เล่าตามประสบการณ์จริง ก็เช่นนั้น เมื่อครูสอนจบ แล้วตั้งคำถามว่า "อ้าว ไหนใครไม่เข้าใจ ยกมือถามได้" หากห้องนั้นเป็นห้องที่คนเรียนไม่เก่ง หรือ ไม่ตั้งใจเยอะ คำถามนั้นจะไม่มี ห้องเงียบราวกับป่าช้า เด็ก ๆ พาก้มหน้ากันหาเหรียญตกพื้นกันใหญ่ 555

 

ผมก็จะตั้งข้อสันนิษฐานบอกเด็กว่า

๑. ครูสอนดีมาก ๆ เด็ก ๆ เข้าใจกันทุกคน

๒. ที่ครูสอนมาทั้งหมด ไม่มีใครรู้เรื่องสักคน

ซึ่งครูขอสันนิษฐานว่า ข้อ ๒ แน่นอน

พูดแบบนี้ทีไร เป็นฮาลั่นห้องทุกที

 

วัฒนธรรมการศึกษาของเด็กไทย ???

 

 

จำบันทึก "คำตอบช่วยให้เราหายข้องใจ แต่คำถามทำให้เรามีชีวิตอยู่ต่อไป" ... (No More No Less : วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์) ได้ไหมครับ

คำตอบไม่สำคัญเท่ากับคำถามหรอก

 

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ยังกล่าวไว้อีกประโยคที่แสนเรียบง่าย และผมเห็นว่ามันเป็นจริงเหลือเกินว่า

"Learn from yesterday; Live for today; Hope to tomorrow; and don't STOP questioning."

คำตอบทำให้เราหายข้องใจ แต่สิ่งที่เป็นเหตุผลทำให้เรามีชีวิตอยู่ต่อไปอย่างมีความหมาย คือ การไม่หยุดตั้งคำถามต่อชีวิต

 

 

"คำถาม" สำคัญขนาดที่ว่าต้องมีหนังสือและวิธีการเรียน เรื่อง "เทคนิคการตั้งคำม" ขึ้นมาทันที หากครูตั้งคำถามได้ดี มักจะเป็นวัดประเมินผลคำตอบให้เด็กได้ว่า เด็กมีความเข้าใจมากน้อยเพียงใด อาจจะดีกว่าที่ครูรอให้เด็กถามก่อนก็เป็นได้นะครับ

 

ทุกอย่างเริ่มต้นมาจาก "ครู" วิ่งเข้าสู่ "ตัวผู้เรียน" แล้ว "ตัวผู้เรียน" จะแตกตัวออกไปหาความรู้กันเพื่อต่อยอดต่อไป

 

การศึกษาไทยในปี ๒๐๒๐ อาจจะฝันเพียงเท่านี้ก็ได้นะครับ ใครจะไปรู้ ;)...

 

แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันสนุก ๆ ครับ

 

บุญรักษา การศึกษาไทยครับ

 

หมายเลขบันทึก: 493702เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2012 07:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กรกฎาคม 2012 22:38 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (28)

"ครูครับไม่ใช่ไม่กล้าถาม แต่ผมรีบ 555"

  • มองว่าสิ่งสำคัญประเด็นหนึ่ง คือ"ครู"..จะเป็นจัดการในห้องเรียนอย่างไร
  • บรรยากาศในการเรียน...หรือการฝึกให้ผู้เรียนตั้งคำถามอย่างไร ...ไม่ละเลยว่าการที่เด็กไม่ถามนั้นเป็นเรื่องปกติทั่วๆไปไม่สำคัญ ปล่อยผ่านๆ ไปค่ะ

อรุณสวัสดิ์ครับ น้องอาจารย์ พิชชา ;)...

การฝึกตั้งคำถามเป็นความจำเป็นครับ หากเด็กเขาได้รับการศึกษา พัฒนาการการเรียนรู้ของเขาจะสูงขึ้น

ขอบคุณมากครับ ;)...

เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งกับที่อาจารย์ว่า นักเรียนจะถามครูน้อยที่สุด คุยกันเองเสียเป็นส่วนใหญ หรือไม่กล้าพูดกล้าแสดง ่ สาเหตุหนึ่งมาจากตัวนักเรียนเอง อีกอย่างอยู่ที่ตัวผู้สอน ไม่ค่อยเปิดโอกาสก็มี ถามแล้วถูกดุกลับ ถูกย้อนถามคืนก็มี..การสงสัย นี่เป็นสิ่งที่ดี เป็นเหตุให้เกิดคำถาม เกิดการค้นคว้า อันจะนำไปสู่ปัญญา ขอบคุณสำหรับเรื่องราวๆ ที่ให้ข้อคิด ขอให้มีความสุข

อาจารย์วัสค่ะ ดิฉันมีเทคนิคทำให้เด็กกล้าแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันมากขึ้นในห้องเรียนค่ะ :) เดี๋ยวจะนำมาเล่าให้ฟังค่ะ

สวัสดีคะอาจารย์

รู้สึกคุ้นๆ บอกได้เลยไม่ใช่แค่เด็กนักเรียนไทยค่ะ และนิสัยนี้เก็บต่อมาใช้ในที่ทำงานด้วยค่ะ เวลามี townhall ที่มีผู้บริหารระดับสูงมาพูดส่วนใหญ่ก็ไม่มีคำถามทั้งๆ ที่ไม่ได้อยากกรีบกลับไปทำงานหรอกค่ะ ในบางครั้งเลยต้องดึงเอาคำถามที่เตรียมไว้ออกมาถามโดยหน้าม้าที่เตรียมไว้ หุ หุ หุ มันเป็นคล้ายวัฒนธรรมของชาวเอเชียไปแล้วค่ะ

แต่เท่าที่สังเกต เด็กๆ รุ่นหลังๆมานี่รู้สึกกล้ามากขึ้นกว่ารุ่นเรานะคะอาจารย์ และโดยเฉพาะการซักถามพูดคุยแบบออนไลน์

นมัสการพระคุณเจ้า Blank พระมหาวินัย ภูริปญฺโญ ทิวาพัฒน์  ครับ

ขอบพระคุณมากครับท่าน

ผมรอฟังเทคนิคจากอาจารย์ Blank ดร. จันทวรรณ ปิยะวัฒน์  นะครับ

ขอบคุณมากครับ ;)...

การพูดคุยแบบออนไลน์ คือ ตัวต่อตัว หน้าก็ไม่เห็นกัน สังคมก็ไม่มีผลกระทบมาก ความกล้าจึงน่าจะเกิดขึ้นได้ครับ อาจารย์ ...ปริม pirimarj... ;)...

ว่านิสัยการตั้งคำถาม มันติดตัวไปจนถึงตอนทำงานเลยนะครับ

ขอบคุณครับอาจารย์ ;)...

สวัสดีครับอาจารย์ ไม่เฉพาะเด็กครับที่มีวัฒนธรรมไม่กล้าถาม วัยทำงานก็เป็นเยอะ เวลาประชุมสัมมนา คนที่เข้าห้องก่อนจะนั่งหลัง วิทยากรจะเป็นคนถามเอง(ชวนถาม ชวนตอบเอง)

สถิติน่าสนใจค่ะ ขออนุญาตมองอีกมุม เด็กที่ไม่ถามในห้อง อาจพยายามหาคำตอบด้วยตนเอง แปลว่าไม่ถามแต่ไม่ใช่ไม่มีคำถาม เห็นด้วยค่ะ ว่าคำถาม เป็นความหวังของอนาคต แต่เพื่อให้ได้คำถามที่ดี บางทีก็ต้องมีเวลาใคร่ครวญเสียก่อน

... รออ่านเทคนิคอาจารย์จันด้วยคนค่ะ

เมื่อก่อนหนูก็ไม่ชอบถามค่ะ ชอบถามนอกห้องเรียนมากกว่า ถ้าถามในห้องหากเพื่อนรู้แล้วก็กลัวเสียเวลาเพื่อนจริง ๆ ด้วยแหละค่ะอาจารย์ แต่เดี๋ยวนี้นะชอบถามจังเลย โดยเฉพาะในที่ทำงานค่ะ ที่สำคัญนะค่ะอยากรู้เทคนิคของการให้คนอื่นตอบคำถามของอาจารย์ ดร. จันทวรรณ ปิยะวัฒน์ ด้วยค่ะ เพื่อเอาไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ได้ค่ะ ขอบคุณค่ะอาจารย์ ข้อมูลแน่นจริง ๆ

บ่กล้าบอกครู....แต่หนูกล้าบอกอ้าย.. และจะกล้าโชว์ทางเฟส ฮา

เขาเรียกว่า All-in-one ใช่ไหมครับนั่น ท่าน Blank พ.แจ่มจำรัส ;)...

ขอบคุณมากครับ

"พยายามหาคำตอบด้วยตนเองก่อน" สันนิษฐานว่าเป็นเด็กที่ตั้งใจเรียนแน่นอนครับ คุณหมอบางเวลา ป. ;)...

แวะมารอกันครับ ;)...

ภาษานักวิจัยชุมชน เค้าเีรียกว่า "โผล่บ" อิ อิ เคยได้ยินม่ะ Blank ดอกหญ้าน้ำ ;)...

ใครโผล่บเก่ง ก็จะได้ข้อมูลเชิงลึกมาก ;)...

ยินดีกับการย้ายโรงเรียนครับ คุณครู RINDA มาเป็นคุณ krutoom ;)...

(krutoom อ่านว่า ครูตุ่ม ใช่ไหมครับ แสดงถึงสรีระรอบเอวของคุณครูแน่นอน 555)

นึกถึงคำๆ หนึ่งคือ "บรรยากาศในชั้นเรียน" ค่ะ ครูดุมาก เด็กจะไม่กล้าถาม

นึกถึงตัวเองเวลาเรียน ครูคนไหนดุ ถามอะไรก็ตอกกลับ (มีจริง) เราก็ไม่ถาม (ดีกว่า) ครูบางคนเป็นกันเองกับผู้เรียน  เราก็กล้าถาม

ตอนนี้นึกหน้าครูดุๆ ได้ครบทุกคนแหละค่ะ

สงสัยตัวเลขนี้  ญี่ปุ่น ... 93% เป็นไปได้ไงคะ

ลองดูเด็ก english program รุ่นใหม่ๆครับ แย่งกันตอบในห้องเรียน คนไหนไม่ถูกครูเรียกตอบจะมีงอน บางคนถามจนครูเหนื่อยก็มี ลูกสาวผมเคยงอนครูฝรั่งก็หลายครั้ง (ตอนนี้อยู่ ป.1) ส่วนบางโรงเรียนครูก็ให้รางวัลกับเด็กที่ตั้งคำถามกับครู เป็นบางครั้ง

ส่วนผมอยากให้คุณครูทุกท่าน เข้าห้องเรียนแล้วลองยิ้มให้นักเรียนก่อนทำอย่างอื่นเลย รับรองบรรยากาศสดชื่นขึ้นแน่

"ครูดุ" ก็เป็นไปได้ครับ พี่ Blank nui  ;)...

ผมเลย 555

ขอบคุณครับพี่ ;)...

 

ลุงเสือสันทราย ถือเป็นวิธีการหนึ่งที่น่าสนใจครับ หากต้องการให้เด็กกล้าถาม

ขอบคุณมากครับ ;)...

แวะเยี่ยมชมบันทึก

และส่งต่อกำลังใจคะอาจารย์

จากประสบการณ์ตอนเรียน

มีความคิดเห็นว่าหากอาจารย์เปิดโอกาศให้เรา

มีส่วนร่วมในการเรียน การสอนในเรื่องนั้นๆ

เราจะมีความกระตือรือร้นและสนใจ ตั้งใจเป็นพิเศษคะ

สนุกไปกับบทเรียนและการนำเสนอของเพื่อนๆ

แลกเปลี่ยนความคิด สนุกสนานเฮฮา แต่ได้สาระเต็มๆคะ

เพราะมีการเสริมในเนื้อหา หรือรายละเอียดที่ถูกต้องจากอาจารย์

ในขณะที่เราหรือเพื่อนนำเสนอ ทำให้การเรียน ไม่น่าเบื่อเลยคะ

สวัสดีครับ นอกจากไม่ถามแล้ว ยังมาแย่งกันนั่งหลังอีก กลัวครูถาม

วัฒนธรรม เด็ก กับผู้ใหญ่ กับ ระบบการเรียนแบบรับจากครู และ เด็กท่องจำ มีส่วน ครับ

ของผม พอเปิดช่องทางให้ถามทาง เมล์ และสังคมออนไลท์ ถามกันใหญ่ ตอบแทบไม่ทันครับ คงเป็นทางของเขา เด็ก generation นี้

Generation x นะครับ อาจารย์ art7yod2 555

ขอบคุณครับ ;)...

สวัสดีครับ

เรื่องเด็กไทยคงไม่ต้องสงสัย

แต่การเปลี่ยนวิธีสอนก็น่าจะช่วยได้พอสมควร

ส่วนเรื่องเด็กญี่ปุ่น ก็ได้ยินมาแนวๆ นั้นเหมือนกันครับ

 

มาอ่านเจอหน้านี้แล้วก็ลองไปค้นข้อมูลจาก PISA 2009 มาดูนะครับ เอาตัว official report ของเค้าเลย


ปรากฎว่าที่บรรยายไว้ด้านบนนั้นตีความผิดมโหฬาร ตัวเลขน่ะไม่ผิด แต่ความหมายของตัวเลขนั้นผิดไปคนละเรื่องเลยครับ หัวข้อที่เค้าเขียนไว้คือ "The teacher has to wait a long time for the students to quieten down." ซึ่งแปลกันง่ายๆได้ว่า "ครูต้องรอนานกว่านักเรียนจะเงียบ" แล้วตัวเลขนั้นบอกว่ามีผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับประโยคนี้มากน้อยแค่ไหน


ดังนั้นตัวเลขที่มากแปลว่าครูไม่ต้องรอนาน ซึ่งก็คือนักเรียนเงียบกันเร็ว ดังนั้นไม่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องไม่กล้าถามอาจารย์ซักนิดเลยครับ 


ดูตัวจริงได้ที่นี่ครับ http://www.oecd.org/pisa/pisaproducts/48852721.pdf ตัวเลขที่ว่าอยู่หน้า 91

มาอ่านเจอหน้านี้แล้วก็ลองไปค้นข้อมูลจาก PISA 2009 มาดูนะครับ เอาตัว official report ของเค้าเลย

ปรากฎว่าที่บรรยายไว้ด้านบนนั้นตีความผิดมโหฬาร ตัวเลขน่ะไม่ผิด แต่ความหมายของตัวเลขนั้นผิดไปคนละเรื่องเลยครับ หัวข้อที่เค้าเขียนไว้คือ "The teacher has to wait a long time for the students to quieten down." ซึ่งแปลกันง่ายๆได้ว่า "ครูต้องรอนานกว่านักเรียนจะเงียบ" แล้วตัวเลขนั้นบอกว่ามีผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับประโยคนี้มากน้อยแค่ไหน

ดังนั้นตัวเลขที่มากแปลว่าครูไม่ต้องรอนาน ซึ่งก็คือนักเรียนเงียบกันเร็ว ดังนั้นไม่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องไม่กล้าถามอาจารย์ซักนิดเลยครับ 

ดูตัวจริงได้ที่นี่ครับ http://www.oecd.org/pisa/pisaproducts/48852721.pdf ตัวเลขที่ว่าอยู่หน้า 91


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท