วิชาชีวิตที่ควรเรียนรู้..?


...

เราทุกคนล้วนผ่านกระบวนการเรียนรู้มาแล้วทั้งนั้น  ส่วนจะเข้าใจมากน้อยก็ขึ้นอยู่แต่ละคน  ความสนใจของคนเรามีขีดจำกัดอยู่เฉพาะในสิ่งที่ตนรักตนชอบ  การเรียนรู้วิชาไหนเป็นอย่างไรเราสัมผัสมาแล้วตั้งแต่ระดับประถมบ้าง  มัธยมบ้าง  และเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา  เมื่อจบออกมาเรียกว่าบัณฑิต  มหาบัณฑิต  และดุษฎีบัณฑิต 

 

 แต่ทำไมท่านนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาเช่นท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุกล่าวดัง ๆ ว่า...การศึกษาคือหมาหางด้วน...หรือเป็นเพราะการศึกษาในยุคนี้เน้นไปที่การเกรงกำไร  การแสวงหาผล  การช่วงชิง  การเพิ่มความโลภ  ความโกรธ  และความหลง ให้ผู้เรียนจนโงหัวไม่ขึ้น

 

          ถ้าเป็นไปอย่างว่า  เราควรเรียนวิชาชีวิตบ้างในอนาคต  คือเรียนอย่างนี้ครับ

1 . เปิดหลักสูตรวิชาชีวิต  เน้นความสุขทางจิตใจ  ในห้องเรียนธรรมชาติ เวลาเรียนขึ้นอยู่กับความพร้อมของผู้เรียน การจบก็ขึ้นอยู่กับผู้เรียนโดยมีคุณครูยืนยันว่าผู้นี้เรียนจบหลักสูตรนี้แล้ว  ผู้เรียนบางคนอาจจบภายในชั่วกระพริบตาก็ได้  แล้วได้รับความเป็นเลิศในทางที่ตนถนัดนั้น

 

2 . สิ่งที่เรียนเน้น  ค้นหาตนเอง ด้านพิจารณากาย  ในกายตนเอง, พิจารณาความรู้สึกในความรู้สึกของตนเอง , พิจารณาจิต  ในจิตของตนเอง , พิจารณาธรรม  ในธรรมชาติ  จนเรียนรู้  เข้าใจ  และเข้าถึงธรรม  ส่งผลก่อให้เกิดความสุขในการดำเนินชีวิต

 

3 . รูปแบบการเรียนตัวอย่างในยุคนี้   อย่างที่เราควรเรียนรู้ในวิชาชีวิต ก็ขอเชิญเข้าไปศึกษาเรียนรู้แนวทางที่ผมว่านี้ได้ที่ คณะ      5 วัดมหาธาตุ ฯ  ท่าพระจันทร์  กรุงเทพ ฯ  วัดนี้อยู่ข้างท้องสนามหลวงและอยู่ใกล้วัดพระแก้วนั้นแล

คำสำคัญ (Tags): #umi#การศึกษาไทย 2020
หมายเลขบันทึก: 493371เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2012 08:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กรกฎาคม 2012 14:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ผมอยากเรียกว่า "วิชาคน" ขอบคุณครับอาจารย์

สวัสดีครับ คุณ แว่นธรรมทอง

ทำนองนั้นก็ได้ครับผม ถ้ามีเป้าหมายอย่างที่ว่ามา...อิ อิ อิ

ขอบคุณครับ

  • การเรียนรู้ย่อมควบคู่ไปกับการได้นำไปปฏิบัติจริงด้วยค่ะ จึงได้ผล...
  • เป็นกำลังใจให้ค่ะ

แวะส่งต่อกำลังใจ

ชื่นชมบันทึกของดร.อุทัย มากคะ

ถ้ามีหลักสูตรชีวิตคงดีไม่น้อย เริ่มที่จิตใจ

รู้จักตัวเอง รู้จักคิดพิจารณา ใกล้ชิดธรรมชาติ(ปลูกจิตสำนึกรักในธรรมชาติ)

คนเราจะประสบความสำเร็จได้นั้น บางครั้งความสูงต่ำของระดับ

การศึกษาก็ใช่ว่าจะจำเป็นเสมอไป อยู่ที่ใจเป็นสำคัญคะ

 

สวัสดีค่ะท่านอ.UMI แวะมาทักทายตอนบ่ายค่ะ มื้อกลางวันอะไรคะ นำบล็อกท่านเข้าแพลนเน็ตแล้วค่ะ ย้อนกลับไปอ่านได้ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลาค่ะ ทุกบทความทรงคุณค่าน่าติดตามและนำไปใช้ได้จริง

สวัสดีครับ คุณ บุษยมาศ

วิชาทางศาสนานี้ ถ้าได้เล่าเรียนแล้วเย็นใจครับ

เป็นการเรียนที่ใกล้เข้ามาหาตนเอง ค้นหาจิตใจตนเองครับ เพื่อปรับให้เกิดความสมดุลของชีวิต

ส่วนวิชานอกศาสนานั้น ยิ่งเรียนยิ่งห่างไกลตัว บางทีไปถึงการเก็บหินบนดวงจันทร์โนน้แล

และเป็นวิชาเร่าร้อน ช่วงชิง แสวงหาผลประโยชน์ เกรงกำไร ขาดทุน สารพัดนะครับ...อิ อิ อิ

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ คุณ EGA

วาว ๆ ภาพสวยงามน่าชวนชมครับผม

เรื่องจิตใจสำคัญนะครับผม

หากมหาวิทยาลัยทบทวนหลักสูตรที่เปิดสอนเพื่อนำหลักศีลธรรมกลับมา โลกาคงไม่พินาศนะครับผม อิ อิ อิ

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ คุณหมูจ๋า

ตอนนี้ทางภาคใต้ที่ผมอยู่กำลังเจอสายฝนครับ ช่วงสายออกไปนิเทศก์ครูพันธ์ใหม่ และมีสายเข้ามาให้ไปประชุมหารือที่คณะมนุษยศาสตร์เกี่ยวกับการต้อนรับคณาจารย์และนักศึกษา มหาวิทยาลัยหะสะนุดิน เมืองสุลาเวสี เกาะบอร์เนียว ประเทศอินโดนีเซีย เขาจะมาวันพรุ่งนี้ ผลเลยทานข้าวกลางวันในห้องประชุมประเภท คุยไปด้วยทานไปด้วยครับ อิ่ม ๆ

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท