การประกวดใดๆ ควรเข้าใจวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของสิ่งที่จัดประกวด


สิ่งที่จะชนะการประกวดนั้น ควรพิจารณาให้ตรงตามลักษณะของวัตถุประสงค์ และ มีคุณสมบัติครบตามวัตถุประสงค์มากที่สุด แล้วจึงสมควรให้รางวัล ที่ 1 2 3 หรือรางวัลชมเชย

ในแทบทุกการประกวด มักจะมีคนสงสัยว่าการชนะ หรือแพ้ มีเหตุมาจากปัจจัยอื่นๆ มากกว่าสิ่งที่แจ้งไว้ในวัตถุประสงค์เดิม

ไม่ว่าจะเป็น การประกวดบุคคล ส้ตว์ สิ่งของต่างๆ

ดังนั้น เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้นั้น

การประกวดใดๆ ควรเข้าใจวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของสิ่งที่จัดประกวด ไม่ใช่ "ประเมิน" เพียงแต่สิ่งที่เห็นจากภายนอก ตามความรู้สึกของคนที่เพียง "เห็น" แต่อาจไม่เข้าใจ

เช่น

การประกวด "ครูดีเด่น" ก็ต้องดูที่ "ความเป็นครู" ของคนๆนั้น

ไม่ใช่ดูที่รูปร่างหน้าตา

 

การประกวด "วัวดีเด่น" ก็ต้องดู "ลักษณะของวัวที่ดี และการใช้งาน"

ไม่ใช่ดูแค่รูปร่างภายนอก

หรือแม้กระทั่ง

การประกวด "แม่ดีเด่น" ก็ต้องดู "ความเป็นแม่" ของผู้หญิงคนนั้น

ไม่ใช่ แค่สวยและมีลูก

หรือ

การประกวด "นางสาวไทย" ก็ควรต้องดู ความเป็น "นางสาว" และ ความเป็น "ไทย" ของผู้หญิงคนนั้น เป็นพื้นฐาน

มิใช่ดูเพียงรูปลักษณะภายนอกตามความรู้สึกเป็นหลัก อย่างที่ชอบปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบัน

และที่เป็นประเด็นสงสัยกันมาก ก็คือ

การประกวดพระเครื่อง ก็ควรต้องมีความเข้าใจ ว่า พระเครื่องที่จะชนะการประกวดนั้น

  • ตรงตามลักษณะของวัตถุประสงค์ในการสร้าง และ
  • มีคุณสมบัติครบตามวัตถุประสงค์มากที่สุด
  • แล้วจึงสมควรให้รางวัล ที่ 1 2 3 หรือรางวัลชมเชย
  • โดยมีเกณฑ์ที่ชัดเจน ตรวจสอบได้ ไม่งั้นก็จะมีข้อสงสัยไม่จบสิ้น ว่า ชนะมาได้อย่างไร

หรือในเรื่องอื่นๆ ก็ควรมีหลัการที่ถูกต้องและชัดเจน

จึงขอเสนอเพื่อความสร้างสรร ในทางที่ดีกว่า ครับ

หมายเลขบันทึก: 493365เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2012 06:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กรกฎาคม 2012 06:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท