Facilitator vs Coach


เป็น Facilitator ดีหรือเป็น Coach กันแน่

จากห้องเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การพัฒนาครู Facilitator มีพี่ท่านหนึ่งได้เล่าประสบการณ์กึ่งตั้งคำถามกึ่งบอกเล่า ว่าบางทีตนก็เป็นโค้ช บางทีก็เป็นฟา แต่ดูเหมือนจะเป็นโค้ชซะมากกว่า ปุ้ยก็เลยคิดว่าน่าจะเขียนเรื่องนี้ขึ้นมาเล่าสู่กันฟังแบบคร่าวๆ นะคะ

Facilitator หรือตามความหมายภาษาไทย คือ ผู้อำนวยความสะดวก, วิทยากรกระบวนกร ผู้ซึ่งอำนวยความสะดวกให้กับกลุ่มที่ได้มาร่วมประชุม หรือมาร่วมเรียนรู้ให้บรรลุตามจุดหมายที่กำหนดไว้

ส่วน Coach คือ ครูฝึก ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในวงการกีฬา กระทั่งมาถึงปัจจุบันที่โค้ชได้มีอิทธิพลเข้ามาในวงการธุรกิจ ซึ่งหน้าที่หลักของโค้ชคือช่วยผู้เล่นในทีมดึงศักยภาพสูงสุดของตนเองออกมา ด้วยกระบวนการหลักสามประเภท คือการบอกให้เห็นมุมมอง เล่าเรื่องสะท้อนความคิด และตั้งคำถามกระตุ้นให้เกิดการคิด อันนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลง

บทบาทหน้าที่ของกระบวนกรและโค้ชที่แตกต่างกัน คือ

Facilitator

Coach

  • มุ่งไปที่กระบวนกรและผลของการเรียนรู้

  • พัฒนาในระดับการเรียนรู้

  • บทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกของกลุ่ม

  • หน้าที่ดึงข้อมูลจากกลุ่มมาสร้างเป็นกระบวนการเรียนรู้

  • Action Learning

ด้วยการนำกลุ่มให้เกิดการตัดสินใจ หรือการลงมือทำ

  • มุ่งที่ขีดความสามารถและการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น

  • พัฒนาในระดับประสิทธิผล

  • บทบาทเป็นกระจกสะท้อนมุมมองของกลุ่ม

  • ดึงศักยภาพของกลุ่มมาเป็นผลิตผลและผลิตภาพที่ดีขึ้น

  • Self-Learning by Reflection

การให้ผู้เรียนได้ตระหนักรู้จากข้อมูลที่มีอยู่ในตนเอง

อ่านเพิ่มเติมที่ http://www.amauta-international.com/iaf99/Thread3/Wild.html

ด้วยลักษณะของบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกัน จึงมีการใช้คำที่ต่างกัน อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ หรือจะเป็นโค้ชต่างก็มีจุดหมายเดียวกัน คือ มุ่งให้ผู้เข้าร่วมมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น หรือเรียกสั้นๆ ว่าการพัฒนานั่นเอง

ถ้าเปรียบเทียบให้เห็นภาพก็จะเป็นเรื่องของ โทรศัพท์ กับ มือถือ ซึ่งต่างก็มีหน้าที่หลักคือ ใช้เพื่อการสื่อสาร แต่ใครจะมีลักษณะเด่นและลูกเล่นแบบไหนก็ขึ้นอยู่กับคุณลักษณะ โดย

  • โทรศัพท์ มีประโยชน์สำหรับคุยกับโทรศัพท์ด้วยกันในอัตราเดียว 3 บาทต่อครั้ง ที่สำคัญโทรศัพท์ยังเป็นจุดเชื่อมต่อกับสัญญาณอินเตอร์เน็ทเข้าไปที่คอมพิวเตอร์ของเรา
  • มือถือ ก็มีความสะดวกสบาย สามารถติดต่อสื่อสารนอกสถานที่ ติดตามตัวได้ทุกที่ทุกเวลา
  • สมาร์โฟน อย่างเช่นพวกไอโฟน กาแล็กซี่โน้ต HTC นี่ยิ่งเป็นมากกว่าโทรศัพท์มือถือที่รับสาย โทรออก ส่งข้อความ เพราะยังยังสามารถเป็นได้มากกว่าทั้งโหลดเพลง เล่นเกมส์ ลงแอพลิเคชั่น เข้าเฟซบุ๊ค ถ่ายรูป ทำงาน วาดรูป และอื่นๆ อีกสารพัด

คนที่ใช้มือถือรุ่นปกติก็คงจะคิดว่าสมาร์ทโฟนไม่แตกต่างกันหรือก็ไม่จำเป็น ด้วยก็เป็นโทรศัพท์เหมือนกัน

ผู้ที่ยังไม่เคยใช้ก็เพียงได้แค่”มองเห็น” มีก็เพียงผู้เคยใช้งานแล้วเท่านั้นจึงจะรู้จักและ”ใช้เป็น” แต่ไม่ว่าจะแตกต่างกันในส่วนไหนก็ตาม คงไว้ด้วยหลักการของ การสื่อสาร

และเราในที่นี้ผู้ซึ่งรักการเรียนรู้และชอบแบ่งปัน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องเผยแพร่แก่สาธารณชน มิเช่นนั้นเราอาจติดกับดักระบบอัตโนมัติของสมอง นั่นคือ สมองชอบเหมารวม ...

สุดท้ายการเรียนรู้เพื่อการพัฒนา ก็จะกลายเป็นการเรียนรู้เพื่อรักษาอัตตาไปโน้น :D

ทีนี้คุณคงมีคำตอบแล้วนะคะ ว่าจะเป็นกระบวนกร (ฟา) ตอนไหน และเป็นโค้ชเมื่อไหร่ดี และไม่ว่าคุณจะเป็นฟา หรือจะเป็นโค้ช เราต่างก็มุ่งไปที่เป้าหมายเดียวกันคือ การพัฒนาตนและพัฒนาคน....จริงไหมคะ :D

หมายเลขบันทึก: 490948เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 11:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 17:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)

ค่ะ...โค๊ช...ขอบคุณค่ะ :-))

น่าสนใจมากครับ

ผมไม่เคยคิดใคร่ครวญในความแตกต่างของคำทั้งสอง และเมื่อคิดตาม ก็เห็นว่าทำให้เกิดพฤติกรรมที่แตกต่างกันได้พอประมาณทีเดียว เป็นการมองที่ทำให้แตกฉานยิ่งขึ้น

สาเหตุ (หนึ่ง) ที่ไม่เคย breakdown ความต่าง เพราะผม approach facilitator จาก "วิธีการ facilitate" ไม่ได้คิดว่าวิทยากรกระบวนการ (หรือ "กระบวนกร"?) เป็น special, specific term คือใครก็ได้ ที่กำลังทำ facilitation ก็เป็น facilitator เท่านั้นเอง ในที่นี้ เราอาจจะ facilitate น้อง ลูก ภรรยา สามี หรือเพื่อน ก็ได้ เป็นเพียงเครื่องมือชนิดหนึ่ง รวมทั้งเป็นเครื่องมือของโค้ชด้วย (อาจจะเพราะคำ "โค้ช" มีมาก่อน และ establish เป็นหน้าที่ เป็นตำแหน่ง เป็นอาชีพเรียบร้อยมานานแล้ว)

เลยได้มานั่งใคร่ครวญว่า ถ้าหากจะมองให้เห็นละเอียดแล้วมีอะไรบ้าง ขอ share ตรงนี้ก็แล้วกันนะครับ

Goals

การเป็น fa นั้น ผมคิดว่า fa ไม่จำเป็นต้อง "มี" เป้าหมายว่าจะให้ participants achieve อะไร แต่ "ดัน ล่อ เชิญ กระตุ้น ฯลฯ" ไปเรื่อยๆว่าจะไปได้ถึงไหนก็แล้วแต่ fa จะไม่กำหนดการเลี้ยวลดคดเคี้ยวของ journey แต่นั่งไปด้วย

ส่วน coach นั้น สิ่งสำคัญอาจจะเป็นการ tune เป้าหมายกับ participants ให้ตรงกันเสียก่อนว่า เรามาอยู่กันตรงนี้เพื่ออะไรกันแน่ ถ้าหากมีการ "ออกนอก focus" ถึงจุดๆหนึ่ง อาจจะต้องช่วยขยับให้กลับมาอย่ใน course ไปสู่เป้าหมายที่ set เอาไว้

Participation

เนื่องจากความต่างของ goals ทำให้ action หรือการ "คลุกวงใน" ของ fa และ coach อาจจะต่างกันได้บ้าง

ผมชอบคำ "ดึงข้อมูลจากกลุ่มมาใช้" ครับ fa จะต้องอยู่กับ here and now และมี observation skill สูง และสามารถ detect ความสนใจในการเรียนรู้ของกลุ่มได้อย่างรวดเร็วและมีปฏิกิริยาตามไป (หรือนำ ในบางกรณี) ยิ่งการสนทนา (dialogue) ในระดับลึก (ที่ Otto Scharmer เรียกว่า generative dialogue) เกิดขึ้น ไม่มีใครในวงทราบว่าเรากำลังจะไปได้ไกลแค่ไหน รู้แต่อย่างเดียวว่า สิ่งมหัศจรรย์กำลังจะผุดปรากฏขึ้นเบื้องหน้า

ในขณะที่ coach สะท้อนให้คนมาเข้าร่วมเห็นศักยภาพของปัจเจกและการใช้แบบสมุหะ พบว่า coach มี input ได้ค่อนข้างเยอะ เพราะจะว่าไปจะเป็น coach ของ goals ด้านไหน การมี background knowledge ของเรื่องนั้นค่อนข้างสำคัญ (ต่างจาก facilitator ที่อาจจะไม่เป็นผู้เชียวชาญในสาขานั้นด้วยซ้ำไป) และด้วยเหตุนี้ coach อาจจะใช้มาตรการที่ fa ไม่เห็นด้วย (Alex Ferguson เคย "inspire" Beckham ด้วยรองเท้าบินมาแล้ว) แต่ด้วย compassion ความอิน ในตัว "mission" (จะเห็นว่า coach กีฬาฯในภาพยนต์หลายเรื่อง มี speech ใหญ่ๆ หลากหลาย technigues) เพื่อจะบรรลุเป้าหมายที่ set เอาไว้

ขอบคุณโค้ชปุ้ยที่ริเริ่มความคิดนี้ขึ้นมาครับ

WoW คุณปุ้ยคะ บันทึกนี้ทำให้ได้เรียนรู้ตัวเองว่า บางครั้งที่เราคิดว่าเป็น fa ในวงสนทนา แต่บางครั้งเราก็แอบเอานิสัยความเป็น Coach เข้ามาใช้ บางครั้งเราดำเนินไปโดยเราไม่รู้ตัว ดังนั้นการเป็น fa อย่าคุณหมอสกลบอก มันต้องอยุ่ที่ here and now จริง ๆ ปัจจุบันวงแลกเปลี่ยนในคณะ บรรยากาศมันไม่เอื้อที่จะเกิดวงสนทนา ดังนั้น ในกระบวนการแลกเปลี่ยนที่จำกัดด้วย เวลา ด้วยศักยภาพของผุ้เข้าร่วม และผู้เป็น fa มันจึงเกิดการ Coach เพื่อให้ได้ประสิทธิผล มากกว่าการพัฒนาอย่างแท้จริง ขอบคุณโค้ชปุ้ยค่ะ (จะได้พัฒนาตัวเองต่อไป)

ขอบคุณทั้งCoachปุ้ยและ Coach Phoenix ที่ได้เปิดช่องทางและแนวทางสำหรับการปฏิบัติทั้งในวงสนทนาและในห้องเรียน ผมว่าถ้านำแนวคิดที่เราได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เหล่านี้มาใช้เพื่อการ "พัฒนาตนเอง"องค์กรก็น่าจะได้รับการพัฒนาขึ้น ขอบคุณครับ

วีระพงศ์ ทวีศักดิ์

คม ชัด เป๊ะ.....ขอบพระคุณมากครับ โค้ชปุ้ย

ถือว่าเป็น AAR ฉบับที่ 2 เลยนะครับโค้ชปุ้ย

เป็นคำถามที่ผมถูกถามบ่อย. จริงๆงานแบบผม สลับในสองบทบาท บางครั้งก็โค้ช บางทีก็ ฟา

 

 

ชัดครับ แต่ บางครั้ง ใช้ ผสมผสาน พอได้ใหมครับ

ขอรบกวนโค้ชปุ้ย เรื่อง ติด tag. คำว่า "facilitator" แบบเดี่ยวๆอีกสักคำนะครับ

 

อยากตอบทุกคนเลยคะ และขอบคุณที่สนใจนะคะ ที่ปุ้ยเขียนบทความนี้ คืออยากให้ผู้ที่เรียนรู้มีความรู้จริงแท้ แม้ว่าทักษะใหม่ของศตวรรษ จะเน้นไปที่การรับรู้และความเข้าใจมากกว่าเน้นเรื่องตรรกะ เราต้องการให้คนคิดเป็น แต่ขณะเดียวกันก็ถ่ายทอด information ที่ถูกต้องด้วยคะ :D

มาเรียนเพิ่มเติม ครูฟา กับโค้ชปุ้ย

บางทีก็เป็นฟา บางทีก็เป็นโค้ช หลายๆที รวมกันก็เป็นนัก"ยอน"

ขอแลกเปลี่ยนกับคุณหมอสกลนะะคะ

FA ไม่ต้องมี goal ก็ได้คะ แต่ถ้าเป็นครูฟาต้องมี strategy เพื่อใช้วางแผนการสอนเป็นกลุ่ม

Coach จำเป็นต้องมีเป้าหมายซึ่งเป็นเป้าหมายของโค้ชชี่ที่ต้องการปลดล็อคศักยภาพในเรื่องนั้น และเครื่องมือนึงของการโค้ชคือการ facilitate (กรณี group coaching)

ส่วนทักษะ here & now ก็จำเป็นสำหรับการโค้ชอย่างมาก โดยเฉพาะในการโค้ชผู้บริหารแบบตัวต่อตัวหรือแม้จะอยู่ใน group coaching ก็ตาม ทักษะนี้ก็ยังคงความสำคัญเพราะโค้ชมีหน้าที่มองความคิด ความรู้สึกของโค้ชชี่แล้วพาดึงกลับมาที่เป้าหมายที่ตั้งไว้คะ

สุดท้ายดูเหมือนจะจริงที่บางกระบวนการของโค้ชอาจไม่ถูกใจฟา เพราะเรามีบทบาทและการโฟกัสที่ผลลัพธ์แตกต่างกันคะ 

ขอบคุณที่สนใจประเด็นนี้นะคะ ปุ้ยเคยสอดส่องดูรูปในเวทีของกระบวนกรที่คุณหมอจัด ก็ได้แต่เกาหัวพร้อมกับตั้งคำถามว่า dialogue แล้วยังไงต่อไป สามารถมองเห็นการเปลี่ยนแปลงหลังจากนั้นได้หรือไม่ ? ขอประทานโทษนะคะหากข้อความปุ้ยทำให้คุณหมอเห็นต่าง :D

นี่คือสิ่งหนึ่งที่โค้ชแตกต่างจากฟา คือ "ต้องการเห็นผลการเปลี่ยนแปลง". ถึงแม้จะเปลี่ยนพฤติกรรมก็ต้องจับต้องได้ มองเห็นและสังเกตได้คะ 

ขอบคุณครับ ที่ได้ความกระจ่าง

อืม.. ไม่ใช่เป็นเพราะข้อความของโค้ชปุ้ยที่ทำให้ผมเห็นต่างหรอกครับ เพียงแต่เราเห็นต่างกันก่อนหน้านั้น และพึ่งทราบตอนหลังเท่านั้นเอง และผมเชื่อว่าการเห็นต่างกันคงจะไม่ต้องมีการขออภัยกัน (กระมัง?)

อืม.. โค้ชปุ้ยคาดหวังว่าจะเห็นอะไรจากรูปที่แสดงการเปลี่ยนแปลงหรือครับ บางทีอาจจะยกตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงที่ observe ได้จากโค้ชชิ่งให้ฟังหน่อย ผมจะพยายามเปรียบเทียบว่าเป็นอย่างไร ดีไหมครับ เราอาจจะต่อยอดไปได้อีก

ดีคะที่เราสามารถเห็นต่างกันได้ เพราะนี่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ระหว่างกันขึ้น และที่ขออภัยเนื่องจากปุ้ยไม่ค่อยหรือพูดได้ว่าไม่เคยพูดคุยกับคุณหมอสกลมาก่อน ปุ้ยก็เกรงว่า umbrella ของปุ้ยอาจไปกระทบกับของคุณหมอคะ :D

ที่นี้..มายกตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงที่พบจากการฝึกอบรมเล่าสู่กันฟังนะคะ เอาเป็นหลักสูตร "พัฒนาครูฟา" 8 สัปดาห์ แล้วกันคะ ในสัปดาห์ที่สองก่อนหมดเวลา ปุ้ยให้คำสร้างสรรค์สำหรับครูฟาไป 10 คำ และขออาสาสมัคร 10 คน (จากผู้เข้าอบรม 100คน)ที่จะเลือกเอาคำหนึ่งคำใดไปใช้ในระหว่างสัปดาห์ แล้วสัปดาห์หน้าให้ออกมาเล่าให้เพื่อนครูด้วยกันฟัง

พอกลับมาอีกสัปดาห์ ปรากฏว่ามีครูที่อาสาหนึ่งใน 10 นั้นออกมาเล่าเรื่องราวที่ได้นำคำสร้างสรรค์นั้นไปใช้ พร้อมกับปิดท้ายว่า

"ปกติเป็นคนกลัวไมค์ ไม่เคยคิดจะมาพูดหน้าห้องและไม่กล้าแสดงความคิดเห็น แต่ถ้าไม่ทำก็จะกลัวอย่างนี้ไปเรื่อยๆ"

นี่คือสิ่งที่ปุ้ยเรียกว่าการเปลี่ยนแปลงที่มองเห็นได้คะ หรือที่ในหนังสือชอบจั่วหัวไว้ว่า "เอาชนะความกลัว ด้วยการวิ่งเข้าใส่มัน"

เรื่องของครูท่านนี้มีต่ออีก แต่ครั้งนี้เป็นน้ำจิ้มไปก่อนนะคะ พอดีว่าปุ้ยก็กำลังอยากเขียนเล่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับครูที่ปุ้ยไปฝึกอบรมให้เป็นครูฟาไว้ใน gotoknnow เหมือนกันคะ ... แต่ทักษะการเขียนยังไม่คล่องคะ ถนัดแต่เรื่องออกแบบกระบวนการให้คนเปลี่ยนแปลงคะ :D

หวังว่าคำบอกเล่านี้จะมีประโยชน์ให้คุณหมอสกลสามารรถต่อยอดขึ้นไปได้อีกนะคะ

ขอบพระคุณครับ พอได้ idea ครับ

ดูเหมือน ws ที่ผมเคยทำจะมีขนาดและเวลาน้อยกว่าที่โค้ชปุ้ยทำอยู่เยอะทีเดียว และของที่โค้ชปุ้ยเล่ามาเป็นระดับ training for trainer ซึ่งเป็นอีกระดับหนึ่งทีเดียวในความเห็นของผม

ในการ facilitate กลุ่มที่ผมเคยทำ ส่วนใหญ่ (90%) จะเป็นบุคลากรบริการสุขภาพครับ ครั้งหนึ่งประมาณ 40-50 คนเท่านั้น ทำแค่ 3-4 วัน เน้นการนำ emotion และ body มาเชื่อมโยงเป็นต้นทุนให้กับฐานความคิด dialogue นั้นเป็นวิธีย่อยๆหนึ่งในหลายๆกิจกรรมเท่านั้น (ผมว่าประมาณ 20-30% at most) และเรามองหา "การเปลี่ยนแปลงภายใน" หรือการ "หว่านเมล็ดลงไปในตัวตน" และรอมันสุกขึ้นมาในบริบทชีวิตประจำวัน แบบสุกคาต้น ไม่ได้สุกอบแก๊ส

พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปใน controlled environment ไม่ได้เป็นสิ่งที่เป็น goals ของเรา แต่อยาก (และหวัง) ว่าเป็นพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปในชีวิตประจำวันของเขาเหล่านั้นเอง (แปลว่าตรงนี้เป็นการแสดงเครื่องมือ และ concept ของเครื่องมือ) ที่เหลือเป็นการบูรณาการปฏิบัติเข้ากับปฏิยัติ รอคอยว่าเกิดปฏิเวธมาในภายหลัง

ขอบคุณครับ ได้ต่อยอดเยอะจริงครับ

แต่ก่อนปุ้ยเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์

แต่ล่าสุดสถิติใหม่คือใช้เวลาเพียง 2 วัน

หรือบางกรณึของการโค้ชผู้บริหารแบบตัวต่อตัว ใช้เวลา 6 ชั่วโมง (แบบไม่ต่อเนื่อง) คะ :D

การเปลี่ยนแปลงที่ปุ้ยเน้นให้เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการเรียนรู้ คือ การเปลี่ยน perception ที่มีผลโดยตรงกับสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ ความรู้สึก แรงจูงใจ เพื่อให้เปลี่ยนแนวคิดไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตนเอง

ดังนั้นแล้ว ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์ภายนอกจะเป็นอย่างไร หากมี perception ที่เหมาะสมแล้ว บุคคลนั้นก็สามารถไปต่อได้คะ :D

brain study นี่ทำให้เชื่อว่ามนุษย์ (หรือสัตว์โลก) นี่มหัศจรรย์จริงๆนะครับ

ตอนที่โฮวาร์ด การ์ดเนอร์เขียน Frame of Mind ที่เป็นที่มาของ Multiple Intelligences นั้น จากความที่เขาเป็น neuroanatomist ทำให้ค้นพบ "พื้นที่จำเพาะ" ที่เป็น main terminal ของ "ปัญญา" จำเพาะมิติ และทำให้สามารถแยกแยะ intelligences ได้มากกว่าแต่เดิมของ IQ test อีกหลายประเภท

ผมชอบตอนที่เขาพยายามจะ classify The Intelligence of Existential หรือปัญญาด้านปรัชญาจิตวิญญาณและค้นพบว่าเรื่องนี้มนุษย์ใช้สมองหลายส่วนประกอบกัน

ทั้งความทรงจำ (หลายสิบปี) การให้ความหมาย ความเชื่อ ศรัทธา ประสบการณ์ตรงที่มีน่ำหนักเบาแผ่วแตกต่างกัน กับจุดเชื่อมโยงกับอารมณ์ที่ตื้นลึกไม่เท่ากัน แม้ว่า neurone cells จะมีจำกัดจำนวน แต่ทว่าสายเชื่อมเข้าและออก (dendrite versus axon) นั้นมีการปรับเปลี่ยนได้อย่างเหลือเชื่อ และเมื่อผนวกกับจำนวนเซลล์ประสาทของเราประมาณแสนล้านเซลล์ ต้องน่าทึ่งว่าสมองเรา "จัดการ" กับการรับรู้ได้ระดับ "มหัศจรรย์" มากๆจริงๆ

Behavioral sciences ที่ภายหลังเชื่อมโยงเข้ากับ Neuro-physio-anatomical system มี rules ที่ตัวแปรเยอะมาก (จนนักเรียน Ph.D. บางคนบอกว่านี่คือ "หลักฐานว่าพระเจ้ามีจริง" เพราะมันเกินกว่าที่จะเกิดแบบ random แต่ซับซ้อนจนน่าจะเป็น superstition)

ถ้าเราเปิด secret pathway นี้ได้ เราจะสามารถเยียวยารักษา psychopath คนไข้จิตเภท พวกอาชญากรต่อต้านสังคมได้เลยทีเดียว

น่าตื่นเต้นมากครับสำหรับการค้นพบนี้

จากที่ปุ้ยสังเกตพบว่ามีอยู่หลายกลุ่มกำลังทำเรื่อง "การฟังและความรู้สึกตัว" ซึ่งแต่ละกลุ่มก็จะมีการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่แตกต่างกันในแบบฉบับของตนเอง โดยคงหลักการเรื่องฟัง+รู้สึกตัว ไว้

แล้วปุ้ยก็สังเกตต่อไปว่า มีน้อยกลุ่มเหลือเกินที่กำลังสนใจเรื่อง "perception" ซึ่งมันเป็นเรื่องที่มีงานวิจัยอ้างอิงจากต่างประเทศ และมีผลลัพธ์แสดงให้เห็นมากมาย อีกทั้งยังมี impact รูปแบบของพฤติกรรมได้อย่างน่าอัศจรรย์..เหตุใดจึงมีคนสนใจเรื่องนี้น้อยเหลือเกิน?

เรื่องของสมองและความคิดเป็นเรื่องที่พิสูจน์ได้ด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัย ดังนั้นงานเขียนและงานวิจัยจึงมีออกมามากมายจากค่ายการศึกษาต่างๆ แม้ปุ้ยจะอ่านงานของ Howard Gardner หรือจะอ่านงานของหนูดีที่เป็นลูกศิษย์การ์ดเนอร์ หรือจะอ่านงานจาก HBR แต่สุดท้ายปุ้ยชอบงานของ Edward De Bono ที่เน้นเรื่องการคิดโดยใช้พื้นฐานด้านสมองเป็นข้อมูล โบโนจะให้ความสำคัญกับการคิดเพื่อนำสิ่งต่างๆ ไปลงมือปฏิบัติ (ไม่ใช่คิดเพื่ออธิบายสิ่งต่างๆ เท่านั้น)โดยอาศัยการเปลี่ยน perception

การได้พูดคุยกับคุณหมอสกลก็ช่วยขยาย perception ของปุ้ยให้กว้างออกไปอีกด้วยคะ ... ขอบคุณนะคะ :D

ครับ มีความต่างกันระหว่างจุดสนใจของตะวันตกและตะวันออกพอสมควร

ฝรั่งเน้นอะไรที่วัดได้ จับต้องได้ ก็จะไปทาง perception แต่ทางตะวันออกเรา ทั้งจีน ญี่ปุ่น อินเดีย ไทย ไปทาง awareness (ไม่ใช่ consciousness) ซึ่งคงจะออกแบบงานวิจัยยาก หาเครื่องมือเครื่องไม้มาทำมาตรฐานไม่ใครได้

น่าสนใจทั้งคู่ครับ

เรียนโค้ชปุ้ย และอาจารย์หมอสกล....

อ่านข้อเขียนของโค้ช แล้วเวียนมาอ่านทุกความเห็น ได้เรียนรู้ข้อแตกต่าง ข้อที่คิดเหมือน.....

เหมือนที่ที่โค้ช ยกข้อความว่า"ความแตกต่าง" วันนี้ เห็นความแตกต่างที่สวยงาม ความต่างในความเหมือน ที่แตกต่าง

555+ คุณหมอคะ ถ้างานที่ปุ้ยทำสังเกตความเปลี่ยนแปลงไม่ได้ หรือวัดผลไม่ได้ รับรองว่าองค์กรเอกชนไม่จ้างแน่นอนคะ แล้วทุกวันนี้ HRD ขององค์กรเอกชนเก่งมาก ละเอียดมาก และต้องการผลลัพธ์สูงกว่าอดีตมาก

ปุ้ยเชื่อว่าวันหน้าเราจะได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเพิ่มเติมให้หัวข้อที่ว่า

จะเกิดอะไรขึ้นหากบุคคลหนึ่งมี perception ที่ถูกต้องแต่ยังต้องการพัฒนา awareness

และจะเกิดอะไรขึ้นหากบุคคลเปี่ยมด้วย awareness แต่ไม่มี perception เหมาะสมกับตนเอง

หากเราปลดล็อคคำตอบของคำถามนี้ได้ ความก้าวหน้าด้านการพัฒนาส่วนบุคคลจะขยายมิติที่กว้างขึ้นและลึกขึ้นคะ :D

 

ส่วนความแตกต่างที่ บังวอญ่าพูดถึงนั้นดูจะจริง ถึงแม้จะต่างแต่เราก็สบายใจในความต่าง เพราะปลายทางของเราที่เหมือนกันนั่นคือ "การพัฒนาบุุคคลให้เป็นทรัพยากรที่สร้่างคุณค่าให้กับแผ่นดิน"

คำถามของโค้ชปุ้ยอันนี้ดีจริงๆ สมควร meditate over it นานๆ เรื่องของ perception and awareness (หรือ mindfulness)

อาจจะเขียนเรื่องนี้สักตอนนึง ขอบคุณมากครับ สำหรับ inspiration :)

ขอบคุณคุณหมอสกลเช่นเดียวกันค่ะ :D

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท