ชวนคิด ชวนดู ชวนรู้ เรื่องงาน : KM Inside (1)


เมื่อมีปัจจัยที่เกื้อหนุน การทำงานย่อมประสบความสำเร็จ

เมื่อ KM ยังต้องดำเนินการต่อไป จึงได้มีการประชุมเพื่อวางแผนร่วมกันระหว่างคณะกรรมการฯ ซึ่งได้มีการทบทวนแผนฯ กิจกรรม บทเรียน และสิ่งที่สะท้อนของปีที่ผ่านมา และมากำหนดว่าเราจะเดินไปในทางใด  โดยอยู่ในกรอบนโยบาย กลยุทธ์ ตัวชี้วัด  และสิ่งสำคัญคือ การมีส่วนร่วมในการร่วมเรียนรู้  โดยไม่เป็นการเพิ่มภาระ  เป็นโจทย์ที่หน่วยบริหารงานบุคคลต้องคิดและวางแผนเพื่อให้กระบวนการบริหารจัดการเรื่อง KM  ให้บรรลุทั้งวัตถุประสงค์องค์กร และวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้อย่างยั่งยืน  ประกอบกับในปีนี้ได้เน้นในเรื่องการเรียนการสอน การวิจัย ซึ่งเป็นโจทย์ที่ยาก เพราะสำหรับการแลกเปลี่ยนของครูบาอาจารย์นั้น  การเปิดเวที การมีโอกาส เป็นช่วงเวลาที่หายากยิ่ง แต่ถ้าทุกคนมีจุดยืน มีความพร้อม และเราสามารถจัดให้เหมาะกับบริบทของแต่ละหน่วยงานได้  ก็จะสามารถดำเนินงานได้ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้


แผน KM ที่ได้ดำเนินการจัดทำปีนี้ ทางหน่วยบริหารงานบุคคล ได้วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการทำงาน วิเคราะห์บริบทของอาจารย์แต่ละภาควิชา  และยังต้องแยกในแต่ละกลุ่มของภาควิชาด้วยว่า  แต่ละท่านมีสไตล์การทำงานอย่างไร  ซึ่งเราต้องมีการบริหารจัดการที่แตกต่างกัน  ประกอบกับในปีนี้ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนาบุคลากรได้เข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยคิด ช่วยวางแผน  เมื่อมีระดับบริหาร  ระดับปฏิบัติงาน  และมีกลุ่มเป้าหมาย  การทำงานจึงดำเนินไปได้ด้วยดี


การจัดการความรู้ด้านการเรียนการสอน การวิจัย จึงได้จัดให้มีเวที ลปรร. เพื่อให้มีการ share ความรู้ที่เป็นประสบการณ์ของอาจารย์ เป็น Tacit Knowledge ที่มีอยู่ในตัวอาจารย์  สิ่งสำคัญของกระบวนการนี้ จะต้องอาศัยทักษะการสะกัดความรู้เพื่อถอดบทเรียนออกมาเป็น Explicit Knowledge ที่จะสามารถสื่อสารและถ่ายทอดเพื่อการเรียนรู้ต่อไปได้ 


(ประเด็นการถอดบทเรียนเป็นปัีญหาหลัก ในการทำงานที่จะต้องสะกัดองค์ความรู้เพื่อเผยแพร่  ด้วยขาดคนบันทึก  จึงเป็น 1 ประเด็นปัญหาที่ต้องมีการพัฒนาบุคลากรด้านนี้ต่อไป)


คณะได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการเรียนการสอน การวิจัย จำนวน 7 กิจกรรม ดังนี้


  • เรียนรู้บ้านเรา ผ่านกระบวนการบูรณาการบริบาลเภสัชกรรม  (17 พฤศจิกายน 2554)

  • Research Center Open House : เปิดบ้านวิจัย ครั้งที่ 1 โดย รศ.ดร.ภญ.ศิริพร  โอโกโนกิ (24 พฤศจิกายน 2554)

  • Research Center Open House : เปิดบ้านวิจัย ครั้งที่ 2 โดย ศ.ดร.ภก.จีรเดช   มโนสร้อย และศ.ดร.ภญ.อรัญญา  มโนสร้อย (1 ธันวาคม 2554)

  • Research Center Open House : เปิดบ้านวิจัย ครั้งที่ 3 โดย ผศ.ดร.ภก.ไชยวัฒน์   ไชยสุต (22 ธันวาคม 2554) 

  • Research Center Open House : เปิดบ้านวิจัย ครั้งที่ 4 โดย อ.ดร.ภญ.พักตร์วิภา   สุวรรณพรหม(26 มกราคม 2555) 

  • ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างคณาจารย์ในภาควิชาบริบาลเภสัชกรรม (29 กุมภาพันธ์ 2555)

  • เปิดใจ เรียนรู้ สู่การพัฒนา (30 มีนาคม 2555)


กระบวนการทำงาน

  1. ทีมงานจะดำเนินการทาบทามอาจารย์ผู้ที่มีโครงการวิจัย เพื่อมาเล่ากระบวนการทำงานวิจัยของตนเอง

  2. กำหนดวัน และสนับสนุนเรื่องทำ Poster หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูลที่ต้องการ

  3. ทำหนังสือเชิญอย่างเป็นทางการ

  4. ประชาสัมพันธ์ผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม

  5. ดำเนินการจัดเวที

  6. สรุปองค์ความรู้  รายงานผลกิจกรรม

 

 

กระบวนการบริหารจัดการ ถ้าไม่ได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย งานก็จะไม่เกิดหรือเกิดช้า และไม่พัฒนา

 

บทเรียนที่ผ่านมาทำให้เรียนรู้ว่า

  • การที่ผู้บริหารมีส่วนร่วม ส่งเสริม สนัีบสนุน การดำเนินงานก็ราบรื่น
  • การมีทีมงานที่ดี ที่เข้มแข็ง รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง การดำเนินงานก็ราบรื่น
  • ผู้นำเสนอประสบการณ์ให้่ความร่วมมือ ทำตามหน้าที่ บทบาทของตัวเอง การดำเนินงานก็ราบรื่น

 

เมื่อมีปัจจัยที่เกื้อหนุน การทำงานย่อมประสบความสำเร็จ

 

แล้วจะมาเล่าเรื่องและถอดองค์ความรุ้/บทเรียน ของแต่ละกิจกรรม เืพื่อ เล่าสู่กันฟังนะคะ



หมายเลขบันทึก: 490944เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 11:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 11:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท