Consistency: always good?


ความยืนหยัด consistency-ไม่ทำให้ทุกคนชอบ แต่ทำให้บางคนเชื่อถือพอที่จะทำตาม และหลายคนเคารพในความคงเส้นคงวาของบุคคลนั้น

หากใครเคยดูภาพยนต์เรื่อง "Forest gump" 
ฉากหนึ่งที่น่าจดจำ คือ ฉากที่ Gump แสดงนำโดย ทอม แฮงค์
วิ่ง วิ่ง วิ่ง และวิ่ง ไม่ยอมหยุด 
แล้วปรากฎว่า ค่อยๆ มีคนวิ่งตามเขา
ทีละคนสองคน จนเกิดเป็นขบวน
โดยไม่มีใครถามเหตุผล..

อาจารย์อาวุโสท่านหนึ่ง
เล่าเรื่องนี้ให้ข้าพเจ้าฟัง
ถึง พลังของ "consistency"
การทำสิ่งใดแล้ว ยืนหยัด ต่อเนื่อง
คนที่ consistency ไม่อาจทำให้ทุกคนชอบในสิ่งที่เขาทำ
แต่ทำให้คนที่ชอบ ยอมทำตาม
ขณะคนที่ไม่ชอบ ก็ยังเคารพในความคงเส้นคงวา
..แม้ไม่มีเหตุผลเลย..อย่างในหนัง 

###

.

ใน ค.ศ. 1935  ณ Alki beach (ชายหาดอัลไค)  
สถานที่พักผ่อนเก่าแก่ของชาวเมืองซีแอตเติล สหรัฐอเมริกา
สองพี่น้องชาวอังกฤษ
ได้ตั้งร้านขนาดเท่าเพิงสุนัขแหงน ชื่อ "Spud fish and chips" 
เป็นร้านขายของทอด ปลา กุ้ง ไก่ ที่กินกับมันฝรั่งทอด
ซึ่งเป็นอาหารยอดนิยมของคนอังกฤษ
...แต่ไม่ใช่ของคนอเมริกัน
กระนั้น เจ้าของร้านก็ยังคงยืนหยัด
โดยเปลี่ยนรูปแบบร้านจากซื้อไปกินข้างนอก หรือยืนกิน
ขยายร้านให้มีที่นั่งในร้าน ให้ชมวิวไป คุยไป กินไปได้ด้วย

เมื่อสถานการณ์ร้านดูจะดีขึ้น
ก็เข้าสู่ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
ร้านประสบวิกฤติหนักอีกครั้ง
เมื่อ น้ำมัน (grease) ที่ใช้ในการทอดขาดแคลน
ครั้งนี้เจ้าของร้านเกือบถอดใจปิดกิจการร้านที่กัดฟันมาเกือบ 20 ปี


.
...ปรากฎว่า..ชาวชุมชน Alki กลับช่วยกันประคับประคองร้าน
ด้วยการบริจาค "คูปอง" สำหรับซื้อน้ำมันพืช ในครัวเรือนของตน
ทำให้ร้านมีน้ำมันทอดเปิดขาย มาจนถึงทุกวันนี้
...77 ปีแล้ว แม้ร้านจะเปลี่ยนมือเจ้าของ
แต่อาหารในร้าน และชื่อร้านไม่เคยเปลี่ยน
หากถามถึงรสชาดอาหาร 
หากดูในรีวิวอย่าง yelp หรือในทัศนะข้าพเจ้าเอง
ก็ให้คะแนน 3 ส่วน 5 -- พอใช้ ไม่แย่ ไม่วิเศษ
แต่ป้าย "The oldest fastfood resturant in Seattle"
ก็เพียงพอที่จะดึงดูดใครต่อใครเข้ามาสัมผัส 


.
ความยืนหยัดทำให้ร้านธรรมดาๆ กลายเป็นร้านไม่ธรรมดาในย่านนี้

###

ทำให้คิดถึง ครั้งหนึ่งเมื่อนักเรียนที่สอบได้ทุน ODOD
มาตรวจร่างกาย ก่อนไปเรียนต่อ
นักเรียนคนหนึ่งไปศึกษาต่อด้านการท่องเที่ยว ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ข้าพเจ้าอดสัมภาษณ์เล็กๆ ไม่ได้ว่า
คิดว่าอะไรที่จะได้กลับมาพัฒนาบ้านเรามากที่สุด
น้องนักเรียน นั่งคิดครู่หนึ่ง ก่อนตอบ

"บ้านเรา มีสถานที่ท่องเที่ยวสวยงามและหลากหลาย ไม่แพ้สวิต
แต่..สิ่งที่ไม่เหมือนเขาคือ..

คนที่ทำอะไรจริงจังและต่อเนื่อง"

....



 

หมายเลขบันทึก: 490393เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 08:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 10:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

เห็นด้วยครับ เด็กรุ่นใหม่ก็ขาดต้นแบบ เพราะมองไปทางไหนก็หา role models ยากครับ

อืมม.... ที่จริงก็มีปัจจัยหลายอย่างเหมือนกันที่งานบางอย่างไม่สามารถทำต่อเนื่องได้ในบ้านเรา แต่งานหลายอย่างก็มีปัจจัยพร้อมเหลือเกินที่จะทำได้อย่างต่อเนื่อง แต่ผู้ทำก็เลือกที่จะไม่ทำเสียนี่

เดาว่าเป็นเพราะคนประมาณ 70% และอยู่ที่สภาพแวดล้อมอีก 30% ครับ

คุณหมอป. คะ ..ขอบคุณค่ะ เห็นด้วยมากๆกับบันทึกนี้ เพราะหนังเรื่อง ..Forest gump.. เห็นหนึ่งในหนัง ที่เป็นโปรด ( all time favourite ) สำหรับตัวพี่เอง ซึ่งดูแล้วดูอีกได้หลายรอบ..ได้ข้อคิดมากมาย ยังแนะนำให้นักศึกษาไปหาดูด้วยค่ะแล้วนำมาคุยกันว่าเห็นอะไรในสาระที่แฝงภายใต้..หนังเรื่องนี้บ้าง :-))

.. เคยได้ยินมาว่า สูตรแห่งความสำเร็จในชีวิตคนเราอย่างน้อย ต้องมี 3 องค์ประกอบ :

* Determination

* Training

* Consistency

 

.. ในทางพุทธวิถี คือนัยเดียวกันด้วย อิทธิบาทสี่ :

* ฉันทะ

* วิริยะ

* จิตตะ

* วิมังสา

 

 

..คน(บ้านเรา...เรา.)..ใกล้เกลือ..กิน ด่าง....ไม่เหมือนเขาๆ..ก็คง..ตรงนี้..อ้ะ..(ยายธี)

ขอบคุณความเห็นชวนคิดต่อค่ะ อาจารย์

แบบอย่างดีๆ เรื่อง consistency ที่มีให้เห็นเรื่องนี้ ไม่ไกล ก็คือ gotoknow นี่เอง
ที่ยังคง core value วัฒนธรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เข้มแข็ง
แม้จะปรับโฉม ปรับเทคนิคตามยุคสมัย 
ผู้ใช้ก็ยังเชื่อมั่นในความคงเส้นคงวา ของ gotoknow ว่าปรับเปลี่ยนใดๆ ทำไปเพื่อ
ประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
มิใช่เพื่อผลประโยชน์แอบแฝงอื่น
( พุดไปพูดมา ก็เกิดแนวคิดว่า consistency ไม่ได้อยู่ที่รูปแบบภายนอกแต่เป็น คุณค่าภายใน มากกว่าค่ะ ) 
.
เมื่อ 10 ปีก่อนมีร้านอาหารบุฟเฟ่หนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ เหมาหัว 30 บาท 
เป็นที่นิยมมาก เพราะอาหารคุณภาพดี สถานที่เป็นเรือนไทยบรรยากาศดี
ทำไปทำมา คนเยอะขึ้น
จะเพราะทำไม่ทันหรือเริ่มได้ใจ ก็มีการลดคุณภาพอาหารลง
ไม่นานร้านนี้ก็ต้องเลิกกิจการไปค่ะ
.

เหตุที่บ้านเราไม่ค่อยมี consistency (เลยไม่ค่อยมี Brand ที่อยู่ทนนาน)
เพราะคนประมาณ 70% และอยู่ที่สภาพแวดล้อมอีก 30% 
น่าคิดต่อยอดมากทีเดียว
ว่าจะทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเยาวชนได่อย่างไร
แล้วสภาพแวดล้อม (การเมือง?) เช่นไรจึงจะเอื้อ 


 

ขอบคุณที่มาเยี่ยมเยือนค่ะ อาจารย์วรรณชไม
Forest gump.. เป็นหนังที่ย้อนกลับไปดูกี่ทีก็ไม่เชย
นอกจากตัวเองที่ดูน่ารักน่าสงสารแล้ว
ยังมีการสื่อเชิงสัญลักษณ์ให้ตีความหลายแง่มุมด้วย 

ขอบคุณค่ะที่ช่วยเสริม สามองค์ประกอบ กับ อิทธิบาทสี่ แห่งความสำเร็จ

ขอบคุณยายธี ที่ช่วยสรุปให้ได้ใจความอีกแบบหนึ่งค่ะ

"ใกล้เกลือกินด่าง :)"

  • สวัสดีครับ คุณหมอ ป.
  • ความต่อเนื่อง สม่ำเสมอนี่ก็สำคัญมากเหมือนกันนะครับ
  • ขอบพระคุณสำหรับบันทึกที่อ่านแล้วสามารถเตือนสติได้ครับ

คนที่ทำอะไรจริงจังและต่อเนื่อง...สรุปได้ลงตัว....ผมบอกลูกเสมอว่า...ค้นหา..และยืดหยัด...ในสิ่งที่เรารักเสมอครับ

ได้แง่คิดที่ดี ๆ ครับ แต่ไม่เคยดูภาพยนตร์ ครับ

ท่าน ป ครับ ....ความเอาจริง เอาจัง อย่างมันคงต่อเนื่อง เป็นเรื่องสำคัญ ผมได้เขียนเรื่อง เชิงรุกเมื่อไรก็ประสบความสำเร็จได้ และบุคคลตัวอย่างที่กล่าวถึง ก็นับวันก็ยิ่งเป็นที่ยอมรับ ของผู้คนจำนวนมาก เอ่ยปากขอเงินไปทำอะไร คนก็เทให้นับล้าน กลายเป็นผู้ทรงอิทธิพล ของไทยไปแล้ว เขาเป็นใคร ผมได้บอกไว้ที่นี่แล้วครับ

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/472207

ขอบคุณค่ะ เจตนาของบันทึกนี้ ก็เพื่อเตือนสติตนเอง
ไม่ให้ล้มเลิกอะไรง่ายๆ และคิดมากขึ้น ไม่ใช่เพียงเริ่มได้ แต่ทำอย่างไรให้ยืนยาวด้วยค่ะ
 

พออ่านความเห็นของคุณหมออดิเรก ก็นึกถึงงานอดิเรกสมัยเด็ก
ที่ดูจะกลายเป็นอดีตไปแล้ว..แต่ช่วยฝึกความอดทนและต่อเนื่องได้ดีทีเดียว

สะสมแสตมป์ค่ะ :)

 

ขอบคุณค่ะคุณครูเชษฐ์ ภาพยนต์เรื่อง Forest gump นี้เคยดูตอนยังอ่อนต่อโลก ก็ไม่คิดอะไร ตอนนี้คิดถึง เลยกลับไปดูใน youtube ค่ะ

ปล. ชอบคีย์เวิร์ดของคุณครูมาก ..ยืนตายบนฝ่าเท้าของตนดีกว่าก้มหัวและกราบกรานไปตลอดชาติ

ขอบคุณค่ะอาจารย์ชัด บุคคลในบันทึกอาจารย์เป็นตัวอย่างคนไทยที่ทำอะไรแล้วทำจริงจัง ชอบบันทึกลักษณะชื่นชมอย่างนี้มากค่ะ สังคมไทยเรา มีคนดีอยู่ไม่น้อย แต่มักไม่ค่อยได้รับกำลังใจ

ช่วงนี้บันทึกอาจารย์ทำให้ gotoknow คึกคักดีจังเลยค่ะ

คนที่มี Consistency ไม่อาจทำให้ทุกคนชอบในสิ่งที่เขาทำ....แต่ทำให้คนที่ชอบ ยอมทำตาม....ขณะคนที่ไม่ชอบ  ก็ยังเคารพในความคงเส้นคงวา

 ขอบคุณ  Consistency....สิ่งดีๆ ที่ต้องทำค่ะ 

ขอบคุณค่ะ พี่หมอเปิ้น

ความมุ่งมั่นเรียนจนสำเร็จปริญญาเอก และการเขียนบันทึกต่อเนื่องสม่ำเสมอ

แสดงถึง consistency ที่มีเต็มเปี่ยมในตัวพี่เปิ้นแล้วค่ะ :)

Forest Gump เป็นหนังโปรดอันดับหนึ่งและตลอดกาลของผมเลยนะครับ

ดูทีไร ก็ได้แง่คิดดีๆ เพิ่มขึ้นมาทุกทีเลย

ขอบคุณครับ นึกแล้วตอนนี้ GotoKnow ก็เข้าสู่ปีที่แปดแล้ว นึกย้อนไปนี่ก็ฝ่าฝันปัญหาต่างๆ มาหลายแบบทีเดียวครับ ดีใจที่ได้มีวันนี้ครับ แต่คุณค่าของ GotoKnow ไม่ได้อยู่ที่ระบบแต่อยู่ที่สมาชิกครับ สิ่งที่พวกผมทำถ้าเปรียบกับหนังสือแล้วก็เหมือนกับทำ "กระดาษกับหมึก" แต่คุณค่าของหนังสืออยู่ที่ "ตัวอักษร" นั่นคือสิ่งที่สมาชิกเขียนนั่นเองครับ

จริงๆ แล้วถ้าผมไม่ได้ทำ GotoKnow ผมก็จะมองหาเว็บไซต์อย่างนี้ใช้งานนะครับ พูดตรงๆ ว่าจะเรียกว่าผมทำ GotoKnow ก็ไม่ค่อยถูกนัก ผมเป็นส่วนหนึ่งของ ecosystem ของ GotoKnow มากกว่า แต่ผม "คุมห้องเครื่อง" เพราะผมมีความรู้ด้านนี้มากกว่าใครเพื่อน ซึ่งสาเหตุที่ผมมีความรู้ด้านนี้ก็เพราะรัฐบาลไทยส่งผมไปเรียน แล้วทุนตั้งต้นในการทำ GotoKnow ก็เริ่มมาจาก สกว. และ สคส. แล้วตามด้วย สสส. ก็คืออยู่ใน ecosystem เดียวกันทั้งหมด มองไปในภาพสมาชิกทั้งหมดก็จะเห็น ecosystem ของประเทศไทย จะบอกว่าใคร "ทำ" GotoKnow ทั้ง 100% นี่ไม่ได้แน่ๆ แต่มันเป็น flow ของ systems ในภาพรวมทั้งหมดจนผุดมาเป็น identity หนึ่ง (ซึ่งเราเรียกว่า GotoKnow) ก็เท่านั้นเองครับ

identities อื่นๆ ในประเทศไทย (หรือในโลกนี้) ก็เช่นเดียวกันครับ มีเหตุให้เกิดทั้งสิ้น แค่ในบางจังหวะของคนบางคนบังเอิญไปอยู่ในจุดหนึ่งของวงจรของ identity นั้นจึงกลายเป็นบุคคลที่ถูก associate เข้ากับ identity นั้นเท่านั้นเอง

จริงๆ แล้วก็เป็น concept เดียวที่เป็น plot ของ Forest Gump หนังเรื่องโปรดเรื่องหนึ่งของผมเลยครับ

เห็นด้วยค่ะคุณอักขณิช

ยิ่งเมื่อผ่านประสบการณ์ชีวิตมากขึ้น ก็ยิ่งเห็นแง่มุมมากขึ้นนะค่ะ

ประทับใจและได้แรงบันดาลใจจากความเห็นอาจารย์มากค่ะ

คุณค่าของ GotoKnow ไม่ได้อยู่ที่ระบบแต่อยู่ที่สมาชิก

identities  ของแต่ละบุคคล ที่เกิดภายใน ecosystem

...

gotoknow จะเป็นกรณีศึกษา ของวงการ KM เมืองไทยตลอดไปค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท