โครงการพัฒนาผู้บริหารระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายและเทียบเท่าของ กฟผ. รุ่นที่ 8 (EADP 2012) ระยะที่ 4 และ 5


โครงการพัฒนาผู้บริหารระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายและเทียบเท่าของ กฟผ. รุ่นที่ 8 (EADP 2012) ระยะที่ 4 และ 5

สวัสดีครับลูกศิษย์ EADP 8 ที่รักทุกท่าน

กลับมาพบกันอีกครั้งสำหรับการเรียนรู้ช่วงที่ 5 ที่เริ่มต้นด้วยกิจกรรมรักษ์กาย รักษ์ใจที่เสถียรธรรมสถาน ซึ่งหวังว่าลูกศิษย์ทุกคนของผมคงจะมีความสุขกับการเรียนรู้ และได้หลักคิดหลักปฏิบัติดี ๆ มาปรับใช้กับการดำเนินชีวิตของเราให้ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรม คุณธรรมจริยธรรม และการมีจิตสาธารณะ

สำหรับวันนี้หัวข้อ People Management ที่เราได้เรียนกับอาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด ซึ่งโค้ชให้พวกเรารู้จักธรรมชาติและความต้องการของคน ซึ่งจะช่วยให้เราบริหารจัดการได้ดีมากขึ้น

นอกจากนั้นช่วงบ่ายก็จะเป็นการเรียนรู้ให้รู้จริงเกี่ยวกับเศรษฐกิจ โดยมีปรมาจารย์อย่างท่าน ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล มาบรรยายพิเศษ เรื่องทิศทางเศรษฐกิจไทยกับการปรับตัวของ กฟผ. และต่อด้วยการอภิปราย เรื่อง เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC 2015 และเศรษฐกิจไทย.. ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ. โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์  และอาจารย์มนูญ ศิริวรรณ ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ต้องขอถือโอกาสนี้ขอบคุณทุก ๆ ท่านครับที่ให้เกียรติและเวลามาบรรยายให้กบพวกเราเสมอ ๆ

หวังว่าการเรียนรู้ในช่วง 2 วันนี้ จะเป็นการเรียนรู้ที่มีประโยชน์และมีความสุขสำหรับลูกศิษย์ทุกคนครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

.........................................................

ภาพบรรยากาศการเรียนรู้ ช่วงที่ 5 (29 - 30 พฤษภาคม 2555)

29 พฤษภาคม 2555 กิจกรรมรักษ์กาย รักษ์ใจที่เสถียรธรรมสถาน

ชมภาพบรรยากาศเพิ่มเติมที่

 
 
30พฤษภาคม 2555
 
People Management โดย อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด
 
 
 
 
ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล มาบรรยายพิเศษ เรื่องทิศทางเศรษฐกิจไทยกับการปรับตัวของ กฟผ.
 
 
 
 
การอภิปราย เรื่อง เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC 2015 และเศรษฐกิจไทย.. ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ. โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์  และอาจารย์มนูญ ศิริวรรณ ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล
 
 
 
 
.........................................................

สวัสดีครับลูกศิษย์ EADP รุ่น 8 ที่รักทุกท่าน

วันนี้พบกันอีกครั้งสำหรับกิจกรรมการเรียนรู้ระยะที่ 4   ระยะเวลาทั้งหมด 4 วัน

ผมเปิด Blog นี้ขึ้นมาใหม่เพื่อให้ EADP 8 ทุกท่านได้ใช้เป็นช่องทางการเเลกเปลี่ยนมุมมองจากการเรียนในระยะนี้ครับ

                                                           จีระ หงส์ลดารมภ์

หมายเลขบันทึก: 488095เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 13:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 10:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (106)

สรุปการบรรยายโดยทีมงาน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ 

ผู้นำ – วัฒนธรรมองค์กร - การบริหารการเปลี่ยนแปลง

(Leadership in Changing World)

โดย      อาจารย์ประกาย ชลหาญ

คนมีความสำคัญกับองค์กร เพราะทำงานและมีผลงานให้กับองค์กร (กฟผ.)

Performance (ผลงาน):   เรามีผลงานได้ก็ต่อเมื่อเรามีความสามารถ มีความรับผิดชอบ มีแรงจูงใจในการทำงาน มีสิ่งอำนวยความสะดวก มีสิ่งที่มาสนับสนุนเรา มีแรงผลักดัน มีความคิดสร้างสรรค์ มีความรู้ มีความกระตือรือร้น

สิ่งที่สำคัญในการสร้างผลงาน 2 ข้อ คือ

  1. ความสามารถเชิงสมรรถนะ (Competency) คือ การมีความรู้ ความสามารถ ทักษะ ประสบการณ์ ในแต่ละหน่วยงานเราจะต้องมีการกำหนด Competency ในแต่ละตำแหน่งงานแตกต่างกันไป

      คนแต่ละคนที่มีความพร้อม จะมีความสามารถทำผลงานให้กับองค์กรที่ไม่เหมือนกัน แม้แต่คนๆเดียวกันก็มีควาสามารถในการทำงานสร้างผลงานในแต่ละวันก็ไม่เท่ากัน

      2. แรงจูงใจ (Motivation) เป็นแรงผลักดันให้คนอยากทำงาน เช่น ความก้าวหน้าในอาชีพ รายได้ ครอบครัว ความสำเร็จ

                        ทฤษฎีของ Maslow เป็นทฤษฎีของแรงจูงใจ ที่พูดถึงความต้องการของมนุษย์ที่ไม่ต้องการที่สิ้นสุด

 

  

ผู้นำ จะต้องสร้างแรงจูงใจให้กับลูกน้อง และต้องดูว่าแรงจูงใจอะไรที่เหมาะกับลูกน้องของคุณที่สุด และต้องดูว่าคนๆนั้นพร้อมที่จะรับการ Promote เป็นหัวหน้าหรือไม่ เพราะบางทีคนๆนั้นไม่อยากเป็นใหญ่เป็นโต และไม่พร้อมที่จะแบกภาระความรับผิดชอบที่มากขึ้นเพราะฉะนั้นก่อนที่เราจะทำอะไรให้ Motivate ลูกน้อง ต้องรู้จักลูกน้องให้ดี  อย่าไปบังคับให้เขาทำในสิ่งที่ไม่ชอบ แต่ควรตอบสนองให้ในสิ่งที่เขาอยากเป็น และเป็นสิ่งที่ถูกต้อง “Put the right man on the right job”  ซึ่งจะทำให้เขามีผลการปฏิบัติงานที่ดี  เพราะแต่ละคนมีความถนัดไม่เหมือนกัน ต้องหาจุดที่เขาถนัด และใส่แรงจูงใจให้เขา

ทำอย่างไรเมื่อเจอลูกน้องที่ยุแยงตะแคงรั่ว : อ.ประกายตอบว่า ต้องพูดดีๆกับเขา เพื่อหาทางคุยเปิดใจกับเขา ต้องไปเปลี่ยนทัศนคติบางอย่างของเขา เนื่องจากคนพวกนี้ มีปมบางอย่างอยู่ในใจ หรือความผิดหวังกับองค์กร

การแก้ปัญหาของลูกน้อง คือ การคำถามให้ตรงประเด็น เพี่อให้ได้คำตอบที่ตรงประเด็นเช่นกัน

หนังสือแนะนำ คือ เรื่อง THE SECRET พูดถึงลักษณะของความเป็นหัวหน้าที่ดี คือ ต้องมีเวลาให้กับลูกน้อง

บทบาทของผู้นำที่สำคัญ มีดังนี้

  1. วาง mission vision ให้กับองค์กร
  2. Alignment สร้างทิศทางให้กับคนในองค์กร
  3. Empowerment ต้องมีการมอบอำนาจ กระจายอำนาจให้กับลูกน้อง
  4. Role model เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูกน้อง

วัฒนธรรมขององค์กรมีความสำคัญมาก หากองค์กรมีวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแรง ก็จะทำให้องค์กรก้าวไปอย่างมั่นคง

วัฒนธรรมขององค์กร เป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติ และบางองค์กรก็ประเมินผู้บริหารด้วยวัฒนธรรมมากกว่าผลการปฏิบัติงาน  วัฒนธรรมองค์กรของกฟผ. คือ รักองค์กร งานเลิศ เชิดคุณธรรม  เพราะฉะนั้นต้องแปลงเป็นพฤติกรรมและปฏิบัติตามด้วย

 

การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management)

ในฐานะที่เป็นผู้นำต้องรู้จักการบริหารการเปลี่ยนแปลง  ตัวอย่างที่ดี คือ โมเดลของบริษัท GE เปลี่ยนตัวเองก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน : Jack WelchEx. President & CEO General Electric

แรงผลักดันที่ทำให้กฟผ.มีการเปลี่ยนแปลง มีดังนี้

  1. สิ่งจากภายนอกองค์กร  การเมือง เศรษฐกิจ
  2. สิ่งจากภายในองค์กร  ระบบระเบียบ การจัดระเบียบภายในองค์กร

การเปลี่ยนแปลงมี  2 แบบ (2 Strategies for Changes)

  1. Top Down  ปัจจัยภายนอกเยอะมาก บริหารยากมาก
  2. Bottom-Up

อะไรสำคัญที่สุดในการเปลี่ยนmindsetให้เป็นผู้ที่พร้อมรับการบริหารการเปลี่นแปลง(What Matter Most in Change Management)

  1. ต้องยอมรับว่าองค์กร complex และเป็นองค์กรที่มีคนเยอะมาก คนซับซ้อนกว่าเครื่องจักรมาก ผู้นำต้องเก่งเรื่องคนด้วย
  2. ให้เข้าใจว่าองค์กรสมัยนี้ถูกผลักดันด้วย process มากกว่า structure เพราะprocess ช่วยเรื่องคุณภาพ อย่างเช่น เรื่อง six-sigma
  3. ให้เข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงจะมีการเปลี่ยนแปลงอื่นๆตามมาอีกเยอะ
  4. ต้องเข้าใจนโยบายและคิดที่จะทำอะไรให้เข้ากับกลยุทธ์ขององค์กร
  5. ต้องยอมรับสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
    และใช้ให้เกิดประโยชน์
  6. ชอบหรือไม่ชอบผู้นำ ก็ต้องยอมรับว่าเขาเป็นผู้นำ และเป็นมืออาชีพ

 

โมเดลของบริษัท GE : CAP เป็นโมเดลที่ทำให้การบริหารการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น และมีประสิทธิภาพ

 การเปลี่ยนแปลง มี 3 ระยะ         

Current State  สถานภาพก่อนการเปลี่ยนแปลง

Transition State  สถานภาพระหว่างการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ระยะเวลาที่จะเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับเรื่องที่เราจะเปลี่ยน ถือว่าเป็นเรื่องที่เราจัดการได้

Improved State สถานภาพที่เปลี่ยนแล้ว

ที่สำคัญที่สุด คือ จะต้องมีผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Leading Change) ต้องมีการสร้างความรู้สึกร่วม (Creating a shared Need) และต้องสร้างให้คนในองค์กรมี Commitment ให้คนในองค์กรเกิดความรู้สึกร่วมกับองค์กรด้วย เวลาจะเปลี่ยนอะไรต้องมีการ( Monitoring process)ตลอดเวลา  เมื่อจะเปลี่ยนอะไรแล้วต้องทำให้การเปลี่ยนแปลงมีความยั่งยืน (Making Change Last)ซึ่งต้องไปเปลี่ยนที่ระบบการบริหารการจัดการและโครงสร้าง (Changing System & Structures)

 

 

 

สรุปการบรรยายโดยทีมงาน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

พลังงานกับเศรษฐกิจไทย

ศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์

     เค้าโครงการบรรยาย

  • ปัญหาพลังงานของโลก
  • พลังงานกับเศรษฐกิจไทย
  • ปัญหาพลังงานของไทย
  • แนวทางการแก้ปัญหาของไทย

ปัญหาพลังงานของโลก

-          โลกใช้น้ำมันมากขึ้น และจะมีราคาแพงขึ้น และหาได้ยากขึ้น

-          พลังงานที่สะอาดก็มี แต่ก็ยังแพงและมีข้อจำกัดมาก

-          เป้าประสงค์สูงสุด คือ ใช้พลังงานสะอาด

พลังงานกับเศรษฐกิจไทย

-          น้ำมันเป็นพลังงานทีสำคัญที่สุด

-          ก๊าซธรรมชาติเป็นพลังงานสำคัญรองจากน้ำมัน

-          ไทยต้องพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ โดย30% นำเข้าแก๊สธรรมชาติจากพม่า

-          ไทยต้องพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ

-          เศรษฐกิจไทยพึ่งพลังงานในอัตราเพิ่มขึ้น

ปัญหาพลังงานของไทย

-          ไทยมีก๊าซธรรมชาติเอง แต่ไม่พอใช้จึงต้องนำเข้า แต่ราคาแพงขึ้นตามราคาน้ำมัน

-          ไม่มีใครต้องการมีบ้านใกล้โรงไฟฟ้า (แต่ทุกคนต้องการไฟฟ้า)

-          ความต้องกาการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นทุกปี

-          รัฐบาลยังอุดหนุนราคาน้ำมันบางประเภท ทำให้มีการใช้พลังงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ

ปัญหาเกี่ยวกับนโยบายราคาน้ำมันของไทย

-          ผลของการตรึงราคาปลีกไว้ต่ำ

-          การตรึงราคาขายปลีกไว้ต่ำก่อให้เกิดผลกระทบต่อเนื่อง

-          ผลิตภัณฑ์น้ำมันมีราค่าขายปลีกแตกต่างกันมากเกินไป

-          พึ่งพาเชื้อเพลิงในประเทศให้มากขึ้น

-          พึ่งพาไฟฟ้าจากเขื่อนในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว ซึ่งมีต้นทุนค่อนข้างต่ำ

แนวทางการแก้ปัญหาของไทย

-          ใช้ถ่านหินนำเข้ามากขึ้น

-          ใช้พลังงานนิวเคลียร์  แต่ค่าใช้จ่ายสูง และยังไม่แน่นอนเรื่องความปลอดภัย แต่ข้อดี คือ เป็นพลังงานที่สะอาด ซี่งรัฐบาลไทยเลื่อนแผนออกไปอีก 3 ปี เป็นพ.ศ. 2566 จากเดิมพ.ศ. 2563

-          ใช้พลังงานชีวมวล

-          ใช้พลังงานหมุนเวียน  ข้อจำกัดยังมีคือ ต้นทุนสูง และวัตถุดิบมีจำนวนจำกัด อย่างไรก็ตาม ต้นทุนมีแนวโน้มว่าจะลดลง แต่อาจจะต้องใช้เวลา

มาตรการส่งเสริมพลังงานทดแทน

-          ใช้กองทุนอนุรักษ์พลังงานเข้ามาช่วยเรื่องอุปกรณ์ และเรื่องการประหยัดไฟฟ้า

มาตรการราคาพลังงาน

-          ควรสะท้อนทุนที่แท้จริงเพื่อที่จะส่งเสริมประสิทธิภาพกาใช้พลังงาน

-          ควรมีการแทรกแซงของรัฐน้อยที่สุด

-          เสนอโครงสร้างราคาน้ำมันที่เหมาะสม  ซึ่งต้องพิจารณาไปตามองค์ประกอบ ได้แก่ ราคา ณ โรงกลั่น  ภาษีต่างๆ ค่าการตลาด  กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง

โครงสร้างราคาน้ำมันที่เหมาะสม

-          ให้เก็บภาษีโดยคำนึงถึงต้นทุนมลพิษจากคาร์บอนไดออกไซด์  ต้นทุนจากการสร้างถนน ต้นทุนจากการจราจรแออัด   ต้นทุนจากอุบัติเหตุ

-          กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง

ส่วนที่หนึ่ง  เพื่อการอุดหนุนไขว้ระหว่างผลิตภัณฑ์น้ำมันต่างๆ

ส่วนที่สอง   เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคาขายปลีก ในช่วงที่น้ำมันโลกผันผวนมากๆ

-          ช่วงห่างของราคาขายปลีก พิจารณาจาก การใช้ทดแทนกันได้ระหว่างผลิตภัณฑ์น้ำมันต่างๆ

-          ควรมีช่วงห่างระหว่างราคาของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ดังนี้

ราคาเบนซิน 91 ควรสูงกว่าราคาแก๊สโซฮอล์ 91 ไม่น้อยกว่าลิตรละ 5-6 บาท

ราคาเบนซิน 91 ควรสูงกว่าราคาแก๊สโซฮอล์ 95 ไม่น้อยกว่าลิตรละ 3 บาท

ราคาแก๊สโซฮอล์ 95 ควรสูงกว่าราคาแก๊สโซฮอล์ 91 ประมาณลิตรละ 2-3 บาท

ข้อเสนอชดเชยเกี่ยวกับราคาก๊าซหุงต้ม

-          ทำอย่างไรจึงจะชดเชยให้เฉพาะครัวเรือนยากจน โดยไม่มีการลักลอบถ่ายเท และคนจนจะได้รับประโยชน์จริงๆ

-          เสนอให้ใช้ระบบคูปอง: แจกคูปองให้ครัวเรือนยากจนเพิ่อใช้แลกซื้อ LPG บรรจุถังในราคราที่ถูกกว่า

คำถาม

  1. ก๊าซLPG ที่ปตท.นำเข้ามาเพียงเจ้าเดียว จะมีโอกาสเป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีกโรงไฟฟ้าเอกชนที่นำก๊าซ LPG เข้ามาและถูกว่า และป้อนให้โรงไฟฟ้า และทำให้โรงไฟฟ้ามีราคาถูกลงด้วย

ศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ ตอบว่า แน่นอนว่าแก๊ส LPG จะแพง เนื่องจากว่า ปตท. ผูกขาดรายเดียว แต่หากในอนาคต มีเอกชนทำโรงไฟฟ้า LPG เช่นกัน ก็มีโอกาสเป็นไปได้ที่จะทำให้มีราคาถูกลง และมีประสิทธิภาพในการผลิต และการใช้ดีขึ้น เนื่องจากต้องเปิดให้มีการแข่งขันด้วย ทำให้มีทางเลือกสำหรับการใช้เชื้อเพลิงดีขึ้น และขายใครก็ได้ ไม่ใช่ขายให้กฟผ.เท่านั้น

   2. ระบบขายน้ำมันของ ปตท. ที่ปิดตัวลงหลากที่ เงินรายได้ของปตท.ที่มาจุนเจือ มาจากแก๊สใช่หรือไม่

ศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ ตอบว่า   ส่วนหนึ่งมาจากการผลิตแก๊ส แล้วนำกำไรไปจุนเจือปั๊ม

   3. ต้องการเอารถไปติดแก๊สดีหรือไม่

ศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ ตอบว่า  คุ้มมาก1-2 ปีก็คุ้มแล้ว แม้จะไปติดเป็น LPG ก็ตาม แต่หากเปลี่ยนเครื่อง แล้ววิ่ง 1 ปี ไม่เกิน 20,000 กม จะไม่คุ้ม

  4. ราคาน้ำมัน มักจะไปเกาะกับราคาอาหารด้วยควรจะทำอย่างไร

ศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ ตอบว่า   ราคาอาหารมักจะแพงขึ้นด้วยในระดับหนึ่ง ซึ่งก็ต้องยอมรับบ้าง

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยายโดยทีมงาน ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

การบรรยายเรื่อง High Performance Organization ที่ กฟผ..

โดย      ดร.สมโภชน์ นพคุณ

           คุณสมชาย ไตรรัตนภิรมย์

           รองกรรมการผู้จัดการบริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด

ดำเนินรายการโดย ดร.วีรชัย  กู้ประเสริฐ

 

อาจารย์สมชาย  ไตรรัตนภิรมย์

HPO (High Performance Organization)

  • HPO  เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยปฏิวัติอุตสาหกรรม  ดังที่ Taylor พูดว่าทำอย่างไรถึงจะเพิ่ม productivity หลังจากนั้นเกิดมหาวิทยาลัยชั้นนำในอเมริกา เกิดเป็นคณะ Business Management  เพื่อสอนให้คนรู้จักประโยชน์และเห็นคุณค่าของการบริหารจัดการ
  • คน ถือได้ว่าเป็นผู้สร้างทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ สินค้า และบริการ
  • ในบริบทของการพัฒนาองค์กรที่เป็น HPO ต้องทำหลายอย่างพร้อมกัน แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือการบริหาร People Side คือการบริหารคน
  • การเป็น HPO  ได้ต้องมีในเรื่องของ Leadership  และ Leadership  ต้องเป็น People Approach เนื่องจาก Leadership ต้องไป Deal กับคน ต้องมี Vision เป็นต้น
  • ตัวพนักงานจะมีมุมของ People Side ในการพูดถึง HPO
  • HPO ไม่ได้ทำโดยคน ๆ เดียว แต่ Leadership  จะเป็นผู้นำทางที่ทำให้รู้ว่างานที่ตัวเองทำจะไปอยู่จุดไหน
  • HPO ต้องเป็น Multi Dimension มีเรื่อง Strategy ,Leadership ฯลฯ แต่ที่สำคัญคือการมีเรื่อง Customer Approach  ที่มุ่งเน้นการบริการ และผลลัพธ์ที่ต่อเนื่อง

 

ดร.วีรชัย  กู้ประเสริฐ

  • คุณลักษณะสำคัญขององค์กรที่เป็นเลิศเป็นเรื่องใดบ้าง
  • สิ่งที่น่าสนใจคือ เรื่อง Vision ขององค์กร ตัวอย่างคือ Shared Vision ของ Peter Sange ถ้าองค์กรใดเป็นผู้ถ่ายทอดคุณลักษณะของผู้นำ ได้นับว่าเป็นตัวอย่างที่น่ายกย่อง

 

ดร.สมโภชน์ นพคุณ

  • สิ่งสำคัญคือเรื่องวิธีคิดและวิธีมอง
  • ประเด็นที่สำคัญมากคือ การอ่านหนังสือ ต้องส่งเสริมคนให้อ่านมาก ๆ

สะท้อนประสบการณ์จาก HPO ในราชการว่าเป็นอย่างไร ?

  • เมื่อ 30 – 40 ปีมาแล้ว คิดว่าราชการเจ๋งมาก ๆ ความคิดตอนแรกที่เข้ารับราชการ คิดว่าได้คนเก่ง และคนดี หัวหน้าเป็นคนที่มีความรู้ความสามารถมาก แต่หลังจากที่ได้เข้ามาทำงานด้านพัฒนาบุคลากร รู้สึกว่าใน 30 ปีที่ผ่านมา ไม่เป็น HPO เหมือนแต่ก่อน ทุกสิ่งดูลดลง คิดว่าองค์กรอีกสักพักหนึ่งถึงสามารถเติบโตได้ดี 

HPOs ในราชการไม่ค่อยพัฒนา  เนื่องจาก

  1. โครงสร้าง (Structure) ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ซึ่งต่อมามีการ Restructuring
  2. Working Process ระบบราชการกับเอกชนเทียบกันไม่ได้ จึงมีการนำ Process Reengineering เข้ามา  มีการยุบกระทรวงกับกรมต่าง ๆ เข้ามารวมกัน ข้อดีคือตำแหน่งดีขึ้น แต่ Performance กับไม่ดีขึ้น
  3. คน เป็นลักษณะ Individual  Person เมื่อรวมกลุ่มทีไรจะไปไม่รอด
  4. Rule & Regulation กฎ ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ของข้าราชการยังไม่ทันสมัย ตัวบทกฎหมายยังเป็นเหมือนเดิมอยู่ไม่มีการปรับปรุงใหม่  ต่อมาจึงมีการจัดตั้งสำนักงานปฏิรูปกฎหมาย ก็ทำให้ดีขึ้น   วัฒนธรรมขององค์กรอ่อนมาก ราชการไม่รู้ว่าเป็นราชการเพื่ออะไร
  • ดังนั้นเวลาพูดถึงเรื่อง HPO แล้ว ตกม้าตายที่คน ดังนั้นเราจะทำอย่างไร
  • Man Money Material ความจริงไม่ใช่เรื่องเดียวกัน  แต่ถูกทำให้เหมือนเรื่องเดียวกัน

ตัวอย่างการพัฒนาคนในยุคใหม่

  • 7 Habits ต้นฉบับของ Steven Covey  คือ ท่าน ป. ปยุตโต  บอกว่า “คนเราถ้าจะพัฒนาให้ได้อย่างยั่งยืนต้องทำให้คนเต็มคน”
  • ในหนังสือ Steven บอกว่า การพัฒนาคนต้องมองเป็น The Whole Person ซึ่งความหมายเหมือนกับท่าน ท่าน ป.ปยุตโต ที่บอกว่าการพัฒนาคนนั้นต้องมี 4 องค์ประกอบคือ

1.พัฒนาสติปัญญา

2.พัฒนาวุฒิภาวะทางอารมณ์เพื่อทำงานร่วมกับคนอื่นได้

3.พัฒนา Physical สุขภาพร่างกายให้แข็งแรง

4.พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม

  • สรุปคือ Man Money Material ต้องแยกกัน ในการบริหารจะเหมือนกันไม่ได้ ดังนั้นการทำ HPOs ได้ มีทางเดียวคือทำที่คน พัฒนาคน
  • ต้องแก้ไขวัฒนธรรมคนไทยให้ทำงานร่วมกันให้ได้ ไม่เช่นนั้น HPOs ไม่เกิด และต้องสร้างด้วยทีมที่เข้มแข็ง เป็นลักษณะ Team Spirit

 

ดร.วีรชัย กู้ประเสริฐ

  • HPOs บอกว่าผลจะเกิดขึ้นต่อเมื่อคนทำงานร่วมกันแล้วเกิดพลัง
  • สิ่งที่เรารู้ทำอย่างไรให้สิ่งที่เรารู้มีมูลค่าเกิดขึ้น เป็น Value Creation ต้อง Transform ในสิ่งที่มองไม่เห็นให้เป็น Tangible ให้มากที่สุด
  • ศาสนาพุทธ บอกว่าตราบใดที่เราตระหนักรู้นั้นเป็นสิ่งที่ดีแล้ว เมื่อรู้ว่าดี สมควรทำ ลงมือเลย
  • องค์กรใดก็ตามไม่สามารถประสบความเป็นเลิศได้ถ้าทำงานเป็นทีมไม่เป็น

 

ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

  • Concept นี้เป็น Concept ที่แข็งตัว เนื่องจาก HPOs คล้าย Re-engineering Process แต่ความจริงแล้วความสำเร็จของ HPOs เป็นอะไรที่อ่อนตัว คือเรื่องคน เป็นลักษณะ Intangible  ซึ่งไม่ใช่แค่ตามหลักศาสนาพุทธ แล้ว กษัตริย์ไทยทุกพระองค์ก็คิดในเรื่องนี้
  • สิ่งแรกที่สำคัญที่สุดคือเรื่อง Intangible  และการเปลี่ยน Invisible มาเป็น Visible
  • เราจะสามารถนำเอาความรู้ ทรัพย์สินทางปัญญาไปให้คนอื่นเรียนรู้ได้หรือไม่
  • Invisible คือการเห็นแต่ละเลยปัจจัยบางอย่าง
  • Intangible คือ Passion ,Intrigrity ,Standard ,Love เป็นอะไรที่อยู่ในตัวเอง ตัวอย่าง Google บอกว่าการทำงานที่สำเร็จคือการค้นหาตัวเองให้เจอ เพราะเป็นสิ่งที่อยู่ในตัวเราจะเป็นแรงผลักดันให้เกิดความสำเร็จได้ดี
  • อย่าไปยึดติด HPOs เพราะเป็นทฤษฎีฝรั่ง
  • สิ่งที่ KPI วัดไม่ได้คือ สิ่งที่เป็น Invisible กับ Intangible ตัวอย่างเช่น ความสามารถในการใฝ่รู้จะวัดอย่างไร
  • KM กับ LO คนละตัว เพราะว่า KM คืออดีต  ถ้าไม่มี LO การใฝ่รู้ แสวงหาความรู้ การแลกเปลี่ยนกัน อนาคตไปไม่รอด เพราะอนาคตเต็มไปด้วย Unknown
  • Spiritual  เป็นจิตวิญญาณ เป็นอะไรที่ Beyond Emotion

 

อาจารย์สมชาย  ไตรรัตนภิรมย์

  • HPO ในแง่การวัด
  • องค์กรที่เป็น HPO ต้อง Shift จากวัฒนธรรมแบบเดิม ๆ องค์กรแบบเดิม ๆ สู่อะไรใหม่ ๆ ทำให้เกิดการสร้าง Trust ในทุกระดับ  การสร้างวัฒนธรรม บรรยากาศ  การสร้างองค์ความรู้ เช่น KM และ LO มีความจำเป็นอย่างยิ่ง 
  • คนอายุสั้น แต่ประสบการณ์เยอะ ทำงานเป็นทีม เป็นลักษณะ Team Base Reward
  • การให้แรงจูงใจบุคคลโดยไปโยงกับ KPI  การนำระบบแรงจูงใจไปเชื่อมกับบุคคล ส่งผลให้องค์กรนั้นแตกแยกและล้มเหลว  เพราะความจริงนั้นเป็นเรื่องของ Heart มากกว่า Science
  • ดังนั้นการวัดต้องมี Assumption ได้ชัดเจน หัวหน้าต้องสื่อกับลูกน้องได้อย่างชัดเจน
  • ความผิดพลาดเกิดจากระบบไม่ใช่บุคคล ถ้า Blame ให้ Blame ที่ระบบไม่ใช่ที่ตัวคน
  • ตัวอย่างการประเมินผล ใช้  Balanced Scorecard

คำถาม ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมารู้สึกหรือไม่ว่าระบบราชการดีขึ้น

  1. ที่ดีขึ้นค่อนข้างมากคือ การให้บริการประชาชน  กพร. มีตัวชี้วัดในการลดขั้นตอน หรือขั้นตอนการบริการลง ในปี 47,48,49,50 ทำครบ
  2. มีตัวชี้วัด Customer Satisfaction  
  3. พลังของตัว KPI วัด Great Pressure get done
  4. ตัวชี้วัดข้อมูลเยอะ ถามว่าเอาข้อมูลมาใช้ในแง่การตัดสินใจ แง่การบริหารจัดการหรือไม่ ถ้าไม่ใช่คือไม่ใช่
  5. คนที่รู้จักท่านดีที่สุดคือ

คำถาม      KPI เวลามี ทริส มา สพร.มาแยกกันอย่างไร

ตอบ          สพร.Outsource จ้าง ทริส ในการมาดูแทน ทริส เลยสวมหมวกเล่นแทน สพร. ความจริงแล้ว ทำหน้าที่ในเชิงวิชาการ

EGAT ตัวชี้วัดเป็นอะไร เป้าหมายเป็นอะไร

ตัว PAT ดูเป้าหมาย ใหญ่ ๆ เรื่อง KPI

 

คำถาม     ประเด็นเรื่องการเบิกจ่ายนโยบาย วัดในวงเงินของ กฟผ. มีผลในตัวชี้วัด คือ EGAT I เป็นการเอาข้อมูลเชิงอธิบายให้ แต่สรุปประเมินตกเนื่องจากมองว่า กฟผ.ไม่มีการติดตาม จึงอยากเรียนถามว่ามีการอุทธรณ์หลังจากการประเมินเนื่องจากความเข้าใจผิดไม่ได้ถามหรือไม่  มีคนบอกว่าถ้าค้นหาการอุทธรณ์ในเรื่องนี้ได้ก็มีสิทธิ์อุทธรณ์ได้

ตอบ        กระบวนการอุทธรณ์มีอยู่ แต่อุทธรณ์ได้หรือไม่ คือปัจจัยที่นอกเหนือการครอบคลุมของ EGAT แค่ไหน การบริหารจัดการของ EGAT ภายใต้การกำกับของบอร์ดหรือไม่

                  มุมมองสามารถต่างกันได้ และจบตรงนั้น 

 

บรรยายต่อ

  • เรื่อง Benchmark  มีการถูกต่อว่ามากเรื่องการสร้างภาระขึ้นมา แต่ไม่ทราบว่าระบบแรงจูงใจของข้าราชการ เทียบกับเอกชนได้มากน้อยเพียงใด
  • Benchmark เน้นการประเมินลักษณะองค์รวม ความเป็นมาตรฐาน และสากล
  • องค์กรต่อไปต้อง Big ,Strong, Long
  • กระบวนการในการทำงานต้องมีมาตรฐาน  ต้องสามารถเห็นทิศทางได้

คำถาม            นโยบายเรื่อง EVM ใช้ได้ผลหรือไม่

ตอบ                EVM ต้องมี Assumption เยอะ ถ้าเปลี่ยน Assumption ทุกอย่างก็เปลี่ยน แต่หลักการใช่เนื่องจากเป็นนโยบาย EVM บางครั้งทำไปแล้ว กลัวเสียของเนื่องจากลงทุนไปเยอะ รัฐวิสาหกิจต้องมี feedback กลับไปว่าเกิดประโยชน์จริงหรือไม่ หรือไปสร้างภาระ  ดังนั้นประเด็นอยู่ที่การปรับใช้  

                        สรุปคือ ควรไปทุ่มเทในส่วนของทรัพยากรในส่วนที่แข็ง  ระบบอะไรก็แล้วแต่ สร้างภาระให้ผู้ประเมิน องค์กร ผู้กำหนดนโยบาย แสดงว่าไม่ถูกทาง สิ่งที่ทำได้คือต้องช่วยกันใช้หลัก 80 : 20

คำถาม         มีการเปลี่ยนวิธีวัดค่าใช้จ่าย จากเดิมที่เคยช่วยกันประหยัดงบประมาณ แต่ปรากฎว่าเอาฐานการวัดจากการดูค่าเฉลี่ย ทำให้คนที่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยได้เปรียบทันที

ตอบ                เรื่องการวัด CPI-X น่าจะเลิกได้แล้วสำหรับการวัดในปัจจุบัน เพราะสถานการณ์และสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง ดังนั้นควรมีการทำการศึกษา  การตั้งเกณฑ์ไม่มี แต่อยู่ที่การเจรจา ต้องคุยกันว่ากำหนดอย่างไร เช่นการกำหนดลดต้นทุนจะลดจากปีที่แล้ว เฉลี่ย 3 ปี หรือ 5 ปี ไหวหรือไม่ ต้องมาเจรจาต่อรอง การวัดสัดส่วนของค่าใช้จ่ายต่อรายได้ ต้องเพิ่ม หรือไม่ ควรมีการนั่งเจรจากัน

 

ดร.สมโภชน์ นพคุณ

  1. ต้องแยกให้ออกระหว่างระบบการบริหารกับความเป็นผู้นำ  ดัง Chart บอกว่า KPI Drive Performance
  2. ในหน่วยงานไหนก็แล้วแต่ต้องแยกประเภทของคนให้ได้ ปกติจะแยกเป็น 3 ประเภท

1.Cream

2.Average  โดยเฉลี่ยแล้วเก่ง 50-55%

3.Bottom ไม่เอาไหนอยู่ที่ 20-25%

 

การออกกฎมาเพื่อต้องออกแบบให้คนข้างล่าง Drive to form ทำงาน แต่คนข้างบนไม่ต้องบังคับเนื่องจากเขาอยากทำงานอยู่แล้ว

ข้อสังเกต

1. เวลาทำงาน ต้องถามว่าทำไม ผู้นำเรียนเพื่อทศวรรษหน้าหรือทศวรรษนี้ สรุปคือผู้นำต้องเรียนเพื่อวันนี้ ทศวรรษนี้ สรุปคือคนเป็นผู้นำต้องทำอย่างไรให้คน 70 % อยากทำงาน ทำงานให้เต็มที่

2. คนที่ทำงานให้ประสบความสำเร็จก็คือคน งานต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน ถ้าไม่มีเป้าหมายชัดเจน ความอยากทำงานจะน้อยลง

3. ทำอย่างไรให้คนผูกกับงานที่รับมอบหมายมา ไม่อยากปล่อยปละละเลยเรียกว่า Commitment

4. สร้างคนให้ทำงานร่วมกันได้อย่างไร คือต้องสร้างทีมให้ได้

5. ทำอย่างไรให้ทำงานให้หนัก

6.คนเราอยากทำงาน แต่ถ้าอยากถูกบังคับเคี่ยวเข็ญ ทำให้ไม่อยากทำ นี่คือประเด็นที่สำคัญ  ดังนั้นคนที่เป็นหัวหน้าต้องมอบหมายงาน แต่ไม่ต้องยุ่งกับเขา เน้นการทำอย่างไรให้มี Commitment ให้แต่ละคนเป็นตัวของเขาเองให้ได้  ให้เขามีอิสระ ให้เขารู้ว่าอยากทำอะไร  โดยธรรมชาติคนรักความอิสระ แต่ทำอย่างไรให้สามารถ Interdependent คือการอยู่ด้วยกัน และพึ่งพากันได้

7.การสร้าง High Performance Team อยู่ที่ผู้นำที่สามารถนำทีมได้ เน้นการมีส่วนร่วมให้เขาทำงานได้ เอาผลลัพธ์สุดท้ายเป็นตัวตั้ง (แต่อย่า Empowerment กับคนที่อยู่ Bottom เพราะเขาจะไม่ทำงานเลย)

ดร.วีรชัย  กู้ประเสริฐ

  • Share Value  ทำให้มองหลายมิติได้อย่างครบถ้วน
  • การให้อิสระแก่บุคคลเพื่อมีส่วนร่วมในการสร้าง HPO ขององค์กร เนื่องจาก Driver ที่สำคัญคือตัวคน และ HR จะสร้างผลงานออกมาได้ต้องรู้จักตนเอง ดังนั้นองค์กรต้องมีกลไกในการค้นหาตัวตนเองให้เจอ ว่ามีทั้งข้อเด่น และข้อด้อยอะไร แล้วสามารถดึงศักยภาพที่ซ่อนเร้นอยู่ใช้ได้เต็มที่ ส่วนใหญ่ Under Utilize แล้วเมื่อไรก็ตามที่เรารู้ศักยภาพตนเองแล้ว เราต้องสามารถไปเสริมจุดที่เราขาดได้
  • เรียนจากการลงมือปฏิบัติ คือ Lesson Learn ที่แท้จริง และนับวันยิ่งอายุมากขึ้น ต้องเรียนรู้มากขึ้น เพราะตำแหน่งสูงขึ้น ทำให้เหมือนเพชรที่เจียรไน
  • องค์กรที่สามารถขับเคลื่อนได้ต้องสร้าง Corporate Culture ให้องค์กรแลกเปลี่ยนความรู้ และ Shared ความรู้ได้

 

คำถาม            เราจะมีวิธีการประเมินองค์กรได้อย่างไรว่าเป็น HPO แล้ว เราสามารถดู ซีป้าอย่างเดียวได้หรือไม่

ตอบโดยดร.สมโภชน์           ของ Peter Drucker บอกว่าการบริหารคือการทำงานให้สำเร็จ โดยใช้ความรู้ ความสามารถของผู้อื่น

                        มิสเตอร์วอล์ซ์ดิสนีย์ บอกว่า ถ้าจะให้คำจัดกัดความผู้นำว่า Getting Done Through other  while happy

คำถาม            เวลาประเมิน ซีป้า มี EVM เกี่ยวข้อง ความจริงต้องทำเข้มข้นอย่างนั้นหรือไม่ อย่างเรื่ององค์กรปี 2545 มีแต่กฟผ.ที่เข้าองค์กรเดียว

ตอบ               EVM เป็นนโยบายของ สพร.ที่ดำเนินการต่อเนื่องจากที่มี EVM  Roadmap มีการดำเนินต่ออย่างเข้มข้น หลายเรื่อง Conceptually ดีมาก แต่ Practical เจ๊ง

                        การทำเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลต้อง Voice กัน และมีหลายเรื่องวัดในสิ่งที่ Control ไม่ได้ ดังนั้นต้องมาช่วยกันว่าทำอย่างไรถึงจะเหมาะสม องค์กรจะเป็นสิ่งที่รู้ดีที่สุด

คำถาม            เวลา Voice มีใครที่ทำสำเร็จแล้วหรือไม่ เหมือนมีการเจรจาแล้วไม่สำเร็จหลายโครงการ ไม่มีการ Evaluate  แล้วจะดีหรือไม่ที่จะต้องไปผูก

ตอบ                ในเกณฑ์ระดับ 5 มีให้ผูก ซึ่งถ้าทำไปถึงระดับนั้นได้แล้วโยงได้จะเป็นประโยชน์ สิ่งสำคัญคือ การทำแล้วเป็นประโยชน์จริงหรือไม่ ไม่ใช่ทำไปเพื่อเอาคะแนนอย่างเดียว จากประสบการณ์ EVM ดิ้นได้ บางครั้งไม่ควรนำมาวัด Performance ส่วนในแง่การลงทุนต้องมองว่าการลงทุนนั้นคุ้มค่าหรือไม่  ชำเลืองดูในแง่ EVA , EVM ให้ดูว่าสิ่งไหนใช้ก็ทำ ไม่ใช้ก็ไม่ต้องทำ ดูถึงประโยชน์เป็นสำคัญ

คำถาม            บรรยากาศของการ Voice ที่ Deal กับ สพร. เป็นอย่างไร

ตอบ                สพร. น่าจะทำวิจัยเรื่องนี้ดูว่าการทำเรื่องนี้มา 4-5 ปีเกิดประโยชน์หรือไม่ ก่อนที่จะเดินต่อไป ซึ่งขณะนี้ สพร.อยู่ในบรรยากาศที่อยากปรับปรุง

 

แลกเปลี่ยน   1. HPO ไม่ใช่สิ่งที่เรากำหนดเอง ต้องเป็นสิ่งที่วัดได้ และเทียบได้ ต้องเป็นแหล่งเทียบในอุตสาหกรรมว่าเราอยู่ขั้นไหน และ Organization มีในมุมของผลิตภัณฑ์และบริการ มีความพึงพอใจขนาดไหน การเงินผลตอบแทนเป็นอย่างไร การตลาดเป็นอย่างไร ดังนั้นการเป็น HPO ต้องมองทุกมุมและมีตัววัดที่กำหนดมาตรฐานได้ ถึงสามารถเทียบได้  ดังนั้นตัวชี้วัดจึงสำคัญ ว่าในอุตสาหกรรมใช้อะไรวัด เราถึงรู้ตัวเอง  อย่างที่สอง วิธีการที่จะหาในแน่ละเรื่องต้องให้องค์กรเลือกเองในการ Drive Performance อย่าบังคับให้องค์กรทำเนื่องจากบางครั้งไม่ถูกบริบทของเขา อยากให้องค์กรหา Tool เองในการบอกบริบท

2.ดร.สมโภชน์ บอกว่างบประมาณของกระทรวงศึกษาฯ มากสุด มากเรื่อย ๆ แต่เด็กไทยแย่ลงเรื่อย ๆ อยากถามว่าปัญหาและอุปสรรคอยู่ตรงไหน และทิศทางแก้ เห็นแสงสว่างบ้างหรือไม่

ตอบ        ที่พูดในวันนี้ ปัญหาสำคัญคือปัญหา แต่ขณะเดียวกันประเทศโตขึ้น เมื่อเราไปเทียบกับคนอื่นแล้วสู้กับคนอื่นไม่ได้  สิ่งหนึ่งที่เทียบคือผลผลิตของกระทรวงการศึกษาฯ เราดีขึ้นแต่คนอื่นเขาดีกว่า  ผู้นำไม่สามารถวางรากฐานในการนำประเทศสร้าง High Performance ในอนาคตได้

              ขณะนี้เรามองคนของเรา ทรัพยากรไทยเป็นทรัพยากรที่สำคัญมากในระดับประเทศ และจะถูกใช้ไปเรื่อย ๆ  ถ้าเปลี่ยน Concept Human Resource เป็น Human Being ได้หรือไม่ สอนให้คนเป็น Good Human Being ดังนั้นคนที่สำคัญคือผู้นำจะเป็นตัวขับเคลื่อน

 

แลกเปลี่ยน   วันนี้ครบมาทั้งจากอาจารย์สมชายพูดเรื่อง เกณฑ์การวัด และดร.สมโภชน์เรื่อง การทำให้มาสู่ผลการวัด   ดูจากผลซีป้า จุดอ่อนคือหมวด 5 จุดแข็งคือหมวด 6 แสดงว่ากระบวนการทำงานแข็งมาก แต่ในมุมเฉลี่ย กฟผ.ได้ต่ำกว่า ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจ เพราะยังมีมุมอื่นที่ต้องพิจารณาด้วย จึงต้องปรับปรุงในเรื่อง Performance พอสมควร หลายอย่างเป็นคำถามที่น่าท้าทายอยู่

คำถาม     การจัดทำประเมินผลมีข้อเสนอแนะอะไรเด่น ๆ หรือไม่

ตอบ        ซีป้าเสมือนเป็นการ เอ็กซเรย์องค์กร เพราะทำหลายประเด็น มีการนำไปใช้หลายประเทศแต่ติดที่ Dimension คือดูในหลาย ๆ ด้าน Feedback Report จะเป็นเกณฑ์ที่เราควรนำไปปรับปรุง   มาตรฐานก็ยังต้องปรับปรุงต่อไป  แต่ตัว Feedback Report จะเป็นตัวชี้ Independent Review มี Consensus Review มี 4-5 คน คุยกันแล้วให้คะแนน Consensus มาปรับในส่วนที่เป็น Common  องค์กรจะเป็นตัวเอกซเรย์ตัวท่าน แล้วนำไปปรับปรุง ใช้หลัก 20:80 ท่านจะรู้เท่านั้นว่าท่านอยู่ตรงไหน

              เวลาทำ ซีป้า ผู้นำต้องรู้ซีป้าด้วย

                  ผู้บริหารปตท. และ เจ้าสัว ซี.พี. ได้ TQA

                  ซีป้าจะเป็นตัวเอกซเรย์จุดอ่อนในองค์กรท่านว่ามีตรงไหนแล้วมาปรับปรุง

ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

  • มีประเด็นคล้าย ๆ กัน มีการถกเถียงกันใน Detail แต่เข้าใจว่าเครื่องวัดนี้ถึงแม้มีจุดอ่อน ถึงแม้ทริสมีปัญหาบ้าง แต่ กฟผ.ต้อง Communicate กับเขา ต้องเอาจุดอ่อนเหล่านั้นมาดู
  • HR เริ่มเปลี่ยนมุมมองไป  วิธีการเรียน หรือการกระตุ้น เน้นทฤษฎี 2R’s พูดความจริงแล้ว Relevance เพราะที่กฟผ.ไม่ได้ขาดเงิน ขาดสมองแต่ขาดที่วิธีการเรียน
  • การเรียนรุ่นใหม่มีแต่ปริญญาไม่มีปัญญา ได้แต่สอบเข้าสอบออก ต้องให้เขาคิดว่าเมื่อเด็กอายุ 35 ปี เขาจะอยู่รอดหรือไม่
  • ทริส น่าจะเรียนรู้ Constrain ของ EGAT ด้วย อย่างเรื่อง EVA ไม่ให้ทำ Income เพราะไม่ให้สร้างโรงไฟฟ้า ดังนั้นอย่าไปเปรียบเทียบกับที่อื่น เพราะเป้าหมายของที่อื่นไม่เหมือนกัน  อยากให้ ทริส Holistic EGAT  ต้องรู้จัก Communicate กับ Stakeholder ให้ดี
  • Benefit  คือข้อเสนอแนะ ไม่ใช่ตัวเลขอย่างเดียว
  • ประเด็นแตกต่างตรงตัววัด แต่อย่าลืมว่าตัววัดเป็นเพียง Indicator ไม่ใช่ Real ขององค์กร

สรุปการบรรยายโดยทีมงาน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การอภิปราย “นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน (Social Innovation)กับการทำงานของ กฟผ.”

โดย ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์

ดร.เสรี พงศ์พิศ

คุณธวัช  วัจนะพรสิทธิ์ รองผู้ว่าการกิจการสังคมและสิ่งแวดล้อม

 

            ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ : ทำเรื่องเครือข่าย เรื่อง website  และเห็นความสำคัญเรื่องไฟฟ้ามาก พื้นที่อีสานมีความแห้งแล้งมาก แต่สามารถปลูกป่าได้สำเร็จ ด้วยความพยายามในการปลูกต้นไม้ทุกวัน เรื่อง IT เป็นสิ่งที่สำคัญมากเช่นกัน ด้วยการส่งข้อมูลด้วยความรวดเร็ว เปรียบเหมือนกฟผ. ที่ต้องมีการร่วมหัวจมท้าย ร่วมทุกข์ร่วมสุข ซึ่งเป็นทั้งกลยุทธ์ และหลักการที่สำคัญ บุคลากรที่กระจายตามภูมิภาคได้ใช้พวกอินเตอร์เนตมากน้อยเพียงใด

คนเราต้องมี 2 หน้าที่ คือ หน้าที่การงาน และหน้าที่ดูแลสังคม ต้องไม่บกพร่องในหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่ง

อยากเชิญชวนให้บุคลากรกฟผ. ไปทีสวนป่า เพื่อไปเปลี่ยนบรรยากาศ ผ่อนคลายความเครียด และไปกินอาหารเพื่อสุขภาพ อย่างเช่น

มะตูม เอามาย่างไฟใส่น้ำตาล ใส่เกลือ ตอกไข่ ลงไปเป็นมะตูมไข่หวาน

น้ำเต้า เอามาทำแกงจืด เมล็ดสามารถเอาไปอบเป็นเมล็ดฟักทองได้

ไก่อบโอ่ง เป็นอาหารขึ้นชื่อมากในขณะนี้

มีคนเดินทางเข้ามาเรียนรู้ในสวนป่าจำนวนมาก เช่น นักศึกษาแพทย์ มาเรียนหลักสูตรแพทย์ชนบท   วิทยากรพิเศษก็มาสอนในสวนป่า นอนกลางป่า และนักศึกษาแพทย์ก็มาเรียนทำขนมกุ๊ยช่าย และให้หลับตาเดินแล้วเดินต่อแถวกันเพื่อให้เรียนรู้ว่า ถ้าตาบอดจะนำทางกันอย่างไร 

คนส่วนใหญ่ 90% ไม่อยากมาที่สวนป่า เพราะคิดว่ามาแล้วจะลำบาก แต่พอมาถึงแล้วครูบาสามารถทำให้เขากลับไปด้วยความตระหนักที่จะทำประโยชน์แก่สังคม ทุกคนจึงกลับไปด้วยความสุขมาก

ในสวนป่าทุกอย่างทำเป็นวัฏจักร คือ เลี้ยงวัว ก็นำมูลวัว ไปใส่ต้นไม้ ต้นไม้ก็ออกผลอย่างงดงาม

การที่จะชวนชาวบ้านทำอะไร ต้องคุยว่าทำแล้วชาวบ้านได้อะไรก่อน แล้วจึงให้ชาวบ้านร่วมลงมือด้วย

ปัญหาของสังคมไทยเป็นปัญหาของคนไทยทุกคน ต้องคิดไว้ว่า อยู่ที่ไหนก็ทำดีได้ อยู่ที่ไหนก็เรียนรู้ได้  การเรียนรู้นอกห้องทำให้ได้ประสบการณ์ชีวิต

ภูมิปัญญาของครูบา เปลี่ยนใบไม้ 4-50 ชนิดมาเป็นโปรตีน เอาไวเลี้ยงโคได้

อยากให้ชาวกฟผ.คิดว่าทุกอย่างเริ่มต้นได้ ทุกอย่างเรียนรู้ได้ ....

ดร.เสรี พงศ์พิศ:  ในสังคมมีความสัมพันธ์อยู่ 2 แบบ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคนความสัมพันธ์ระหว่างคนกับธรรมชาติ และอาหารกับพลังงานมีความสำคัญที่สุด

วิวัฒนาการของสังคม คือ

-          ยุคสังคมเกษตร

-          ยุคสังคมอุตสาหกรรม เราต้องใช้เงิน ไม่ต้องทำอาหารเอง ตัดไม้ทำงายป่า เพื่อเอามาจากธรรมชาติ ซึ่งเป็นที่มาของความเสื่อมสลายของธรรมชาติ

-          ยุคความรู้ คนที่ไม่มีความรู้จะอยู่ไม่ได้ จะเหลือแต่ตัว มีเงินแต่ไม่มีความรู้ก็จะเหลือแต่หนี้  คนที่มีความรู้ สามารถเปลี่ยนทะเลทรายให้เป็นป่า ต่างจากคนที่ไม่มีความรู้ ที่จะเปลี่ยนป่าให้เป็นทะเลทราย

ทำงาน 35 ปีกับชุมชน  พบว่า ชุมชนที่เก่งที่อยู่รอดได้ คือ ชุมชนที่เข้มแข็ง ชุมชนที่เรียนรู้ และเป็นชุมชนที่พึ่งพาตัวเองได้ ต้องเน้นว่าเรียนรู้แบบไหน ถึงจะพึ่งพาตัวเองได้ เห็นคุณค่าของสิ่งที่มีอยู่

เศรษฐกิจวัฒนธรรม เป็นเศรษฐกิจที่กำหนดได้ว่าจะปลูกอะไร จะเลี้ยงอะไร มีอำนาจที่จะกำหนดได้ อย่างเช่น แนวคิดผู้ใหญ่วิบูลย์ ครูบาสุทธินันท์ 

ผ้าย้อมคราม จาก จ.สกลนคร เป็นที่รู้จักของชาวต่างประเทศมาก เนื่องจากภาพยนตร์เรื่อง Troy เอาผ้าย้อมครามไปตัดชุด

เมื่อประเทศไทยมีทุนทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางทรัพยากรดีๆแล้ว สิ่งสำคัญคือเราต้องมีการเรียนรู้ ที่จะนำทุนดีๆเหล่านี้มาทำให้เกิดประโยชน์

กินปลาเป็นหลัก กินผักเป็นยา กินข้าวกล้อง ออกกำลังกาย หลักการเหล่านี้ ถ้าทำแล้วสุขภาพจะดี ห่างไกลจากโรค

หากเป็นโรคเบาหวานต้องกินผักเยอะ ลดแป้งลง และกินผักเชียงดาจะช่วยได้มาก

บทบาทของกฟผ.ในสังคม ควรส่งเสริมเรื่องการศึกษา

ชาวบ้านดอยหล่อ แม่วาง จ.เชียงใหม่ เรียนจบหลักสูตรสถาบันที่ ดร.เสรี จัดตั้งขึ้น โดยเป็นหลักสูตร 3 ปี เรียกว่าหลักสูตร วิสาหกิจชุมชม ทำให้รู้ว่าเราขาดอะไร เรามีอะไร จะจัดการชีวิตคนในชุมชนอย่างไร 

อีกทั้งสอนหลักสูตรระยะสั้นแก้ปัญหาหนี้สิน สอนทำแผนการเงิน เรียนรู้เรื่องรายรับรายจ่าย สอนว่าต้องเก็บเงินออมอย่างไร  มีแผนอาชีพ และแผนสุขภาพ  สนับสนุนการเรียน การสอนคนในชุมชนอย่างไรให้เลี้ยงตนเองได้ ช่วยตนเองและคนอื่นได้ 

สิ่งที่สำคัญคือ ต้องคิดว่าการรับผิดชอบต่อชุมชนของรัฐวิสาหกิจอย่างกฟผ. ต้องทำอย่างไรจึงจะส่งเสริมชุมชนให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ได้ 

คุณธวัช  วัจนะพรสิทธิ์  รองผู้ว่าการกิจการสังคมและสิ่งแวดล้อม: ชาวกฟผ.ส่วนใหญ่มาจากพื้นฐานทางวิศวกรรม สามารถแยกได้ว่า กฟผ.มีอยู่ 2 ยุค ได้แก่

ยุคเฟื่องฟู  เปลี่ยนจากสังคมการเกษตรเป็นสังคมอุตสาหกรรม ความต้องการใช้ไฟฟ้ามีอยู่อย่างมาก

ยุคประชาธิปไตย ประชาชนต้องการมีส่วนร่วม นโยบาย Top Down ของรัฐบาลถือว่าดีที่สุด

ต่อมาเริ่มนิ่ง จนมาถึงยุคปัจจุบัน เพราะฉะนั้นเราจึงต้องหา Solution Innovation ซึ่งเป็นคำตอบที่ดีที่สุด  ต้องหาวิธีการใหม่ๆ เข้ามา เป็นไปได้ว่าขาด Competency เรื่องจิตวิทยา เรื่องสังคม กฟผ. ต้องรีบปรับจาก Engineering based Financial based เป็น Social based เพื่อเข้าไปพัฒนา ดูแลสังคม สร้างความเจริญ สร้างความกินดีอยู่ดี ของชุมชน

ต้องระมัดระวังเรื่องทำแบบ One way คือ ทำฝ่ายเดียวโดยไม่ได้ดูความต้องการของประชาชนที่แท้จริง

            สังคมเรายังไม่ถึงจุดสมดุล ผู้บริหารสมัยนี้ต้องทำความเข้าใจและเอาชนะต่ออุปสรรคต่างๆมากมายให้ได้ ซึ่งเป็นยุคที่ต้นทุนทางสังคมสูง ต้องเข้าใจถึงบริบทสังคมด้วย

            ควรทำสายงาน CSR ให้เป็นสายงานขนาดใหญ่ และมี Power และมีมาตรฐาน ISO 20006  การดำเนินการที่เป็นธรรม การนำองค์กรเข้าไปมีส่วนร่วมรับผิดชอบในสังคมโดยตรง ทั้งการบริการ ดูแลลูกค้า และสิ่งแวดล้อม ฯลฯ

            เราไม่สามารถอยู่ได้ในบริบทเดิมตลอดไปได้ เนื่องจากทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการปรับ และเปลี่ยนแปลงกระบวนการตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป

            เมื่อก๊าซธรรมชาติหมดจากอ่าวไทยภายใน 10 ปี  เป็นปัญหาว่าต้องหาทรัพยากรใดมาทดแทน และเมื่อต้องนำเข้าแก็ส LNG มาแทน ประเทศไทยจะต้องสูญเสียเม็ดเงินเพื่อนำเข้าเชื้อเพลิงเป็นอย่างมาก

            ปัญหาคือ ขาดการต่อเนื่องในการทำโครงการต่างๆ เนื่องจากรัฐบาลบริหารงานอย่าง Short term โครงการต่างๆจึงเป็นโครงการ Short term ตามไปด้วย

สิ่งสำคัญที่เราจะสามารถเอาชนะปัญหาที่เกิดขึ้นในอนาคต คือ การเข้าไปคุย ทำความเข้าใจ มีปฏิสัมพันธ์กับเครือข่ายประชาชนในชุมชนเพื่อทำโรงไฟฟ้า และต้องดูแลชุมชนข้างโรงไฟฟ้าไม่ให้เกิดผลกระทบ และให้ชุมชนอยู่ได้ด้วยตัวเองได้ ซึ่งสิ่งนี้เป็น Social Innovation

การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

กลุ่ม 5 : ทำงานระบบสายส่ง เห็นปัญหาสายส่ง คือ มองเห็นศัตรูที่เรารอฟ้องมาก เพราะชุมชนโตจขึ้น ที่ดินที่จะปลูกพืชเศรษฐกิจน้อยลง ยิ่งนานไปยิ่งมีศัตรูมากขึ้น ในขณะนี้คือ การฟ้องร้องรื้อบ้านคน ชาวบ้านจะคิดว่าสายส่งไปที่ไหน ความซวยเข้ามาเยือนที่นั้น ทำอย่างไรให้สายส่งพาดผ่านแล้วเหมือนถูกลอตเตอรี่

คุณลิลิต ยังไม่ทราบว่าเกี่ยวข้องกับหน่วยงานไหน ปัจจุบันต้องใช้เวลาอีกนาน

ท่านรองธวัช  ต้องดำเนินการตามกฎหมาย และต้องหางบในส่วนที่ต้องช่วยเหลือประชาชน พร้อมๆกับการทำ Pr ให้ชาวบ้านรู้สิทธิ์ตามหลักมนุษยธรรมว่าต้องโดนเรียกร้องค่าเสียหายอย่างไรหากใช้ที่ดินนั้น

ท่านเสรี  เป็นเรื่องระยะยาว ธกส.ก็ทำเรื่องนี้ มีปัญหาความสัมพันธ์กับชาวบ้านเช่นกัน เพราะฉะนั้นองค์กรต้องเปลี่ยนจุดยืน เป็นเรื่องของยุทธศาสตร์องค์กร  ถ้าทำได้ ก็ต้องไปดูภาคชุมชนต่อ สรุปได้ว่าถ้าชุมชนไม่มีการเรียนรู้ ชุมชนก็จะไม่หลุดจากการครอบงำได้ ต้องดูว่าปัญหาของเขาคืออะไร ต้องมีการหาทางออกร่วมกัน

ท่านครูบาสุทธินันท์  ชาวบ้าน และองค์กรมีวัฒนธรรมต่างกัน ต้องทำการบ้านว่าเราจะส่งสายส่งไปที่ไหน แล้วเข้าไปคุยเข้าไปทำความเข้าใจกับชาวบ้าน หรือ หาคนที่เป็นตัวแทนชาวบ้านเข้าไปคุยในชุมชน  แล้วให้บอกว่าปัญหาของเขาคืออะไร แล้วมาแก้ปัญหาร่วมกัน องค์กรต้องให้เกียรติชาวบ้านด้วย

ท่านรองธวัช  องค์กรใหญ่มีกับดักหลายอัน จุดอ่อนขององค์กรใหญ่คือ เปลี่ยนแปลงยาก คนในองค์กรไม่อยากเปลี่ยนแปลงเพราะสบายแล้ว  สิ่งที่ควรทำคือ ต้องเปลี่ยนให้ได้

คุณสมชาย ต้องหาวิธีเปลี่ยนความเชื่อให้ชาวบ้านว่า ด้วยการทำกองทุนรอบโรงไฟฟ้า และมีการทำ PR ว่าถ้าโรงไฟฟ้าอยู่กับประชาชน แล้วประชาชนจะได้รับประโยชน์  เช่น ถ้าชาวบ้านที่อยู่รอบโรงไฟฟ้า จ่ายค่าไฟที่ถูกกว่า

สรุป

ดร.เสรี พงศ์พิศ

1. รัฐวิสาหกิจ ต้องเปลี่ยนเป็น Social enterprise ต้องมาเปลี่ยนเป็นกัลยาณมิตร การเคารพให้เกียรติกันกับทุกฝ่าย

2. ต้องใช้กรอบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

3. อยากให้กฟผ. รณรงค์การลดใช้พลังงานอย่างจริงจัง

สังคมจะเห็นว่ากฟผ.ทำเพื่อสังคม

ครูบาสุทธินันท์

ทุกปัญหามีทางออก ต้องหาให้เจอเท่านั้น

สรุปการบรรยายโดยทีมงานศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และเทคนิคการตัดสินใจของผู้บริหารมืออาชีพ

โดย    รศ.สุขุม นวลสกุล

ความขัดแย้งในการบริหาร แบ่งเป็น 3 ประเภท

  1. บุคคล กับ บุคคล  ต้องระวังไม่ให้เกิดความขัดแย้งระหว่างบุคคล

ผู้บริหารหรือหัวหน้า ต้องคอยดูแลไม่ให้เกิดความขัดแย้ง ต้องใช้หลักกันดีกว่าแก้

  1. บุคคล กับ องค์การ  คนทำงานที่ไหน ต้องรักภักดีกับองค์กรนั้น
  2. หน่วยงาน กับ หน่วยงาน  ทำงานที่เดียวกันแต่อยู่คนละหน่วยงาน  

ความขัดแย้งระหว่างบุคคล : มักจะอิจฉาริษยา และเอารัดเอาเปรียบกัน

ผู้นำ ไม่มีสิทธิ์เลือกลูกน้องเอง แต่ก็ต้องดูแลลูกน้องทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน

ความขัดแย้งระหว่างบุคคลกับองค์การ : เนื่องจากไม่เข้าใจ และไม่มีการอธิบาย เช่น พนักงานไม่เข้าใจว่าทำไมต้องเปลี่ยนยูนิฟอร์มพนักงานเป็นสีเขียว

บทบาทของหัวหน้าในที่ประชุม ต้องคอยซักคอยถามลูกน้องทุกๆคน

ความขัดแย้งระหว่างหน่วยงาน: เนื่องจากไม่เข้าใจบทบาท และหลงหน่วยงาน

การตัดสินใจ

นักบริหารต้องตัดสินใจเร็ว หากเป็นคนแม่นกฎระเบียบ บางคนตัดสินใจช้าเพราะเกรงใจ และไม่กล้าปฏิเสธ

องค์ประกอบการตัดสินใจ

-          ข้อมูล  คนเป็นนักบริหารต้องเป็นคนที่กล้าให้ข้อมูล

-          ประสบการณ์   คนประสบการณ์ดี จะตัดสินใจได้ดี ประสบการณ์ได้จากการฟัง การอ่าน

-          การคาดการณ์  ต้องมีการคาดการณ์ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น เช่น พ่อกับลูกจูงลากลับบ้าน ตอนแรกลูกจูงแล้วพ่อนั่ง เผอิญชาวบ้านผ่านมาก็ว่าพ่อ หาว่าพ่อเอาเปรียบลูก พ่อเลยลงมาจูงมาแทน  ชาวบ้านอีกกลุ่มหนึ่งผ่านมา ก็ว่าลูกหาว่าไม่ช่วยพ่อจูง เอาเปรียบพ่อ ถ้าเราเป็นนักบริหารวิธีการที่จะเอาลากลับทำอย่างไร วิธีการก็คือ ต้องคิดคำตอบไว้ล่วงหน้า ในสิ่งที่จะเกิดเป็นคำถาม สิ่งที่จะโดนวิจารณ์ หากคิดแล้วว่าเป็นคำตอบที่เหมาะสมแล้วก็ยืนยันคำตอบ อย่านิ่งเด็ดขาด

-          ผลกระทบ

-          สถานการณ์

การวิเคราะห์การตัดสินใจ

-          ถูกต้อง คนเป็นนักบริหารต้องเรียนรู้วิธีหาความถูกต้อง

-          ถูกใจ   เรื่องไหนที่เป็นเรื่องถูกต้องและถูกใจก็ตัดสินใจทำได้เลย

-          ถูกจังหวะ  จังหวะจะเปิดเมื่อคนเข้าใจกันอยู่แล้ว

ผู้บริหารต้องรู้จักการบริหารเชิงรุก คนเห็นความสำคัญของการประชาสัมพันธ์ ต้องทำให้คนเข้าใจ ความเข้าใจของคนเป็นเรื่องสำคัญ

สรุปหนังสือ โมโจ

กลุ่ม  1  เป็นอารมณ์ความรู้สึกของคนที่ทำ เป็นความรู้สึกที่เกิดจากข้างในแผ่ออกมาข้างนอก ทำให้คนมีความสุขและมีความหมายในชีวิตในขณะที่คน  อยากมีความสุขมากที่สุด แต่ไม่พยายามทำให้มีความสุข และมีความหมายต่อชีวิต

กลุ่ม 2  พูดถึงพระพุทธเจ้าเป็นผู้รู้ความหมายมนุษย์มากที่สุด มีพระพุทธศาสนาอยู่ในใจ  เป็นการทำงานด้วยใจประภัสสร ทำงานด้วยใจที่สงบ

    ข้อดี มีวิธีประเมิน  รู้ว่าเรามีโมโจอยู่เท่าใด

รู้ว่าสิ่งที่ทำลายโมโจมีอะไรบ้าง

รู้จักเอาความในใจออกมาข้างนอก ต้องใช้ความคิดเชิงรุก

กลุ่ม 3  ปัจจัยที่ทำให้เกิดโมโจขึ้นมาได้ ต้องมีการระบุตัวตนของเราว่าเราเป็นใคร มี 4 ลักษณะ

คือ ส่วนที่เรามองกลับไปในอดีต ว่าสำเร็จ ผิดพลาดอย่างไร  คนอื่นมองสิ่งที่เราได้ทำอย่างไร   ส่วนที่มี่เป็นลักษณะโปรแกรม หรือครูพยายามยัดเยียดให้เราให้เราเป็นอะไรในอนาคต   ส่วนที่เราคิดเอง ว่าเราจะเป็นอะไรในอนาคต  เอาองค์ประกอบทั้งหมดจากการฟังจากคนอื่น แล้วเรานำมาสร้างเอง ถึงได้เป็นตัวตนของเรา

ความสำเร็จของเราเป็นอย่างไร และคนอื่นยอมรับเรา คนอื่นมองเราอย่างไร สิ่งที่เราได้คือ เรารับรู้ต่อความสำเร็จนั้นอย่างไร และชื่อเสียงที่คนอื่นมองเราว่ามีชื่อเสียงดีหรือไม่ดี

การยอมรับความจริง ที่เราไม่สามารถแก้ได้ และไม่ได้เกิดจากตัวเอง ก็ต้องยอมรับความจริง

กลุ่ม 4  คนเขียนนับถือศาสนาพุทธ เรื่องที่เขียนเป็นเรื่องของจิตใจ ต้องการให้คนทำงานแล้วมีความสุข ความสำเร็จมีความหมายต่อชีวิตของเขา  

การยอมรับเป็นเรื่องที่ดี  เพราะเราไม่สามารถเปลี่ยนคนอื่นได้ เราก็สามารถทำงานอย่างมีความสุขได้

กลุ่ม 5  happiness & meaning  เป็นkeyword ของหนังสือเล่มนี้ 

MOJO killer  ไม่ควรใช้ลอจิกส์ในสถานที่ทำงาน ที่บ้าน แล้วท่านจะมีความสุข

นอกจากทำใจยอมรับแล้วต้องมีการให้อภัยด้วย

โมโจ ทำให้เราทำงานได้ดี ทั้งในที่ทำงานและที่บ้านด้วย

การประยุกต์ใช้โมโจกับกฟผ.

1. การรู้จักให้อภัย

2. ปรับใช้ได้ในหลายประเด็น ทั้งส่วนบุคคลและองค์กร  สร้างบุคคลให้มีพลังร่วมกับในองค์กรได้  เกิดจากปัจจัยภายในและภายนอก ทั้งในเรื่องอดีตและอนาคต โมโจสอนให้เกิดรู้จักการยอมรับและ การให้อภัย

3. โมโจเป็นเรื่องส่วนบุคคล องค์กรจะได้รับประโยชน์มาก ทุกคนจะทำงานประสบความสำเร็จ ไม่ทะเลาะกับเจ้านาย รับผิดชอบงานของเราให้ดีที่สุด ทำให้เป็นองค์กรที่มีคนฮึกเหิมมาก

4. performance มี 2 ส่วน คือ competency และ motivation โมโจทำให้ทำงานอย่างมีความสุข ทำประโยชน์ให้สังคม ทำให้จิตใจเรามีความสุขและมีความหมาย

 

 

  •  HR for Non – HR และทุนมนุษย์ของ กฟผ. รองรับประชาคมอาเซียน

โดยศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

 

ตารางเปรียบเทียบบทบาทของ HR (เก่า และ ใหม่)

Old HR

New HR

Routine

Strategic

HR Department

CEO + Other Departments

Training

Learning

Expense

Investment

Static

Change Management

Information

Knowledge

Stand alone

Partnership

Efficiency

Effectiveness

Value

Value Added

Command & Control

Respect & Dignity

Micro

Macro to Micro

Red Ocean

Blue Ocean

Liability

Assets

 

 1) HR Department เป็น..

 Silo

 Function

    คือ ทำงานอดีตได้ดี แต่อนาคตต้องมีผลประกอบการ (Performance) และความสุข (Happiness) เพิ่มขึ้น

Line Manager, Non – HR มีบทบาทมากขึ้น

อนาคต กฟผ. เปลี่ยนไป HR Function อย่างเดียวทำไม่สำเร็จ

2) HR Function ต้องเปลี่ยน Role มาเป็น Smart HR

3) นอกจากนั้น Non – HR ก็ต้องช่วยหรือเสริม CEO ให้สนใจเรื่องนี้ด้วย

4) Stakeholders อื่น ๆ  เช่น NGOs  นักวิชาการ หรือชุมชน

ก็อาจจะมาช่วยด้วย   เป็นการ Co - Creation

อ.จีระ เป็น outside In ที่เข้าใจต่อเนื่อง และเข้ามาช่วยที่กฟผ.  ทำไมต้องจ้างoutsource ฝรั่งๆ แพงๆ ควรมีที่ปรึกษาที่เป็นปราชญ์ชาวบ้านเพื่อให้คำแนะนำกับเราและให้เข้าถึงชุมชนได้  การทำ panel discussion เป็นวิธีการที่คุ้มมาก เพราะเป็นการทำให้คนได้คิด ทำให้ได้ Thinking skill  สามารถเอาข้อมูลที่ข้ามศาสตร์มาประยุกต์ใช้ ซึ่งเป็นวิธีการที่ดีมาก

ความหวังตอนนี้ของกฟผ. คือ การทำให้กฟผ.เข้ากับชุมชนให้ได้  และวิทยุชุมชน ก็ต้องจับมือกับกฟผ.ให้ได้ ต้องเปลี่ยนให้เป็น  Social Enterprise ให้ได้

การมองลูกน้องต้องมองทั้ง Invisible และ Intangible คือมองทั้งข้างในและข้างนอก มองคุณค่าและให้โอกาสลูกน้องด้วย

ทุนมนุษย์  คือการตัดสินใจองคนว่าจะทำดี หรือไม่ดี

P. Schultz P. Schultz จาก University of Chicago ก็ทำวิจัยใช้หลักของ Becker พบว่า ชาวนาในสหรัฐ ถ้าคนไหนมีความรู้หรือปัญญามาก.. ผลผลิตของสินค้าเกษตรหรือ Labor Productivity ของเขาก็เพิ่มขึ้น

            ต่อมาอีกคนหนึ่งที่ University of Chicago คือ Prof. Gary Becker ก็ได้วิเคราะห์ว่า ถ้าแรงงานมีการลงทุนด้านการศึกษาไม่เท่ากัน แค่วัดจากปีที่เรียนก็พอว่ารายได้ก็ไม่เท่ากัน จึงเป็นการค้นพบว่า การศึกษา คือ การลงทุนที่สำคัญของทุนมนุษย์ ใครมีการศึกษามากกว่าคนนั้นก็จะมีรายได้มากกว่า หรือมีทุนมนุษย์มากกว่า

            สิ่งที่สำคัญคือ ทุนมนุษย์ของคนนั้นไม่ได้วัดจากปริมาณอย่างเดียว

Happiness Capital

(Dr. Chira Hongladarom’s Model)

Happiness Capital

 (Sharp/Hongladarom’s Model)

  1. สุขภาพทางร่างกายและจิตใจพร้อมไม่หักโหม  (Healthy)
  2. ชอบงานที่ทำ

         (Passion)

3.       รู้เป้าหมายของงาน

         (Purpose)

4.       รู้ความหมายของงาน

         (Meaning)

5.      มีความสามารถที่จะทำให้งานสำเร็จ  

        (Capability)

6.      เรียนรู้จากงานและลูกค้าตลอดเวลา

        (Learning)

7.      เตรียมตัวให้พร้อม

         (Prepare)

8.       ทำงานเป็นทีม อย่าทำงานคนเดียว

         (Teamwork)

9.       ทำหน้าที่เป็นโค้ชให้แก่ทีมงานและลูกทีม

         (Coaching)

10.     ทำงานที่ท้าทาย

         (Challenge)

11.     ทำงานที่มีคุณค่า

         (Enrichment)

  1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

   (Exercise)

2.อย่าแบกงานที่หนักเกินไป

     (Put down your burden)

3. ศักยภาพในการถ่ายทอดในงาน

   (Communicate Effectively)

4. ทำงานในจุดแข็งของตัวเอง

   (Recognize your strengths)

5. มุ่งมั่นในงาน

   (Keep Focus)

6. ทำในสิ่งที่อยากทำไม่ใช่เพราะต้องทำ

   (Reduce the ‘shoulds’)

7. ทำงานในองค์กรที่มองคุณค่าของคนและงานคล้าย ๆ กัน

   (Clarify your values)

8. อย่าทำงานเครียดและวิตกกังวล

   (Overcome worry and stress)

9. บริหารภาระงานให้เหมาะกับตัวเอง

   (Refine your workload)

10.ใช้คำว่าขอบคุณกับลูกน้องและเพื่อนร่วมงาน

    (Choose your words)

11.สร้างบรรยากาศในการทำงานให้มีความสุขร่วมกัน

    (Create good environment)

 

Blue Ocean  คือการสร้างทุนความคิดสร้างสรรค์ การมองการหาธุรกิจใหม่ๆ ที่ไม่มีใครมาก่อน เหมือนกับกฟผ.ที่ต้องหานวัตกรรมใหม่ๆอยู่เสมอ

ศ.ดร.จีระ แนะนำวิธีการเลือกหนังสือ คือ ต้องsearch google แล้วดู Review เพื่ออ่านChapter ทีสำคัญๆดูก่อนว่าหนังสือเล่มนั้น น่าสนใจหรือไม่

ทฤษฎี 3 วงกลม ได้แก่ context  competencies และ motivation สามารถสรุปได้ว่า

ไม่ว่าจะเป็นผู้นำ HR หรือ Non –HR ก็ต้องปลูกเก็บเกี่ยวทำให้เราเป็นเลิศ โดยต้องมีแรงบันดาลใจ และมีการมีให้ Empoweringด้วย

สรุป Workshop

กลุ่ม 1 ในระดับ Leaders/CEO (ผู้ว่า ฯ รองผู้ว่า) จุดแข็ง จุดอ่อน เรื่อง HR คืออะไร?

จุดแข็ง  ผู้นำceo ที่เกี่ยวกับ Hr มีรูปแบบการวางแผนระยะยาว ผู้ว่าการเก่า ก็จะมีส่วนในการคัดเลือกด้วย ทำให้เป็นจุดแข็งเรื่องวัฒนธรรมองค์กร ว่าแต่ละยุคสมัยมีการคัดเลือกคนอย่างไร  EX-CEO ยังคุยกะคนรุ่นรุ่นใหม่ ถือว่าเป็นจุดแข็งขององค์กร ส่วนใหญ่จะมี Pattern ในการคัดเลือกคนอยู่แล้ว สิ่งที่ตามมาคือ ข้อดีของการโน้มน้าวคน จะมีจุดเชื่อมโยงเข้ากับพนักงานได้ดี

จุดอ่อน ผู้ว่ามีแผนเรื่อง Career path หรือไม่ สอดคล้องกับฝ่าย HR หรือไม่ ซึ่งในปัจจุบันยังมองไม่ชัด  ว่าในกฟผ.จะมี Idol เรื่องนี้อย่างชัดเจน

ผู้บริหารมองว่ากฟผ.ควรจ้างที่ปรึกษามาทำ Hr แต่ยังไม่ถึงระดับปฏิบัติการ เพราะถือว่าเป็นความลับ แล้วแบบนี้จะมาแก้ปัญหาของพนักงานได้อย่างไร

 กลุ่ม 2 ในระดับ HR ที่เป็น Function หรือ Silo จุดแข็ง จุดอ่อน คืออะไร?

            ฝ่ายทรัพยากรบุคคล และพัฒนาบุคคล  มองว่าเป็นจุดอ่อนมากกว่า เพราะยังมี Line function ไม่ชัดเจน แย่งงานกันทำ ไม่มียุทธศาสตร์ให้เป็นบุคลากรระยะยาว และลูกค้าต้องการอะไร ก็ให้ไม่ตรงจุด  ความเป็นSilo คิดว่าเงินเป็นของหน่วยงานตัวเอง

            ขาดการสื่อสารและประสาน และไม่มีการติดตามหลังการอบรม

            ไม่มีการสร้างวัฒนธรรมในการใฝ่รู้  ถึงเวลาก็จับมาอบรม

สถานที่มีความพร้อมมากที่จะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้

กลุ่ม 3 ใน Non-HR จุดแข็ง จุดอ่อน คืออะไร?

จุดอ่อน   คือ  ลูกค้าไม่รู้ว่าเป็นหน้าที่ของเราที่ต้องศึกษา

              ข้อมูลที่ฝ่าย HR ส่งมารู้สึกว่าเราไม่มีส่วนร่วม

            Line Manager ไม่มีความรู้จริง และไม่ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง

            งบประมาณไม่เพียงพอ

            ไม่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงใด ไม่สนใจกฎระเบียบ และไม่รู้ว่าเป็นหน้าที่ของเรา

จุดแข็ง   รู้สมรรถนะจุดแข็งของแต่ละคน

สามารถถ่ายทอดความรู้ให้ลูกน้องได้

พัฒนาทีมงานให้มีความรู้เฉพาะได้

มีอำนาจตัดสินใจได้

กลุ่ม 4 เสนอแนะ 3 เรื่องที่จะปรับปรุงให้ทั้ง 3 ฝ่ายทำงานร่วมกันเรื่อง HR อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ

            เรื่องที่ต้องทำงานร่วมกัน 3 ฝ่าย คือ กลยุทธ์งานบุคคล

            สร้างจิตวิญญาณ สร้างค่านิยม จริยธรรม ในการทำงาน เพื่อให้เป็นคนดี

            การฝึกอบรม ในการพัฒนาผู้นำ ด้านระบบสาง ระบบการผลิต  เรื่องที่ยังอ่อนคือ เรื่อง Social Innovation

            ควรคิดเรื่อง Career path succession plan คือการสืบทอดตำแหน่งร่วมกัน

กลุ่ม 5  หลักสูตรนี้ช่วยทำให้งานของ HR โดยใช้ตัวละครทั้ง 3 กลุ่มดีขึ้นอย่างไร?

มองเรื่องวงกลม 3 วงกลม ให้เป็นเรื่องของ CEO HR และ NON HR

Hr เป็นเรื่องของการจัดสรรบุคลากรให้เข้ามาอยู่ในองค์กร  และต้องให้การอบรม  ต้องมีการปรับระเบียบให้คล่องกับการทำงานมากขึ้น

มุ่งให้เขาทำงานอย่างไร โดยการสร้างแรงจูงใจ

Non hr  ควรคิดเรื่องการสื่อสาร สื่อสาร 2 ทางให้เข้าใจบทบาทหน้าที่ สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ร่วมกัน  ด้วยการทำ Coaching และมองเรื่อง Value innovation value creative

การสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ที่จะสร้างเป็น teamwork อย่างไร ทั้ง 3 กลุ่ม ควรใช้หลักการ Sคือ  support และ C คือ communication 

           

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สรุปการบรรยายโดยทีมงานศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

บทบาทของ Regulator และ Energy Tax กับการทำงานของ กฟผ.

โดย   ศาสตราจารย์ ดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ  ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน

 

สามารถเข้าไปดูเรื่องกฎหมายได้ที่ www.erc.or.th

พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 มีเหตุผลในการประกาศใช้คือ

  1. ต้องการแยกการกำกับดูแล งานนโยบาย และการประกอบกิจการพลังงาน
  2. เพื่อเปิดโอกาสให้ภาคเอกชน ชุมชน และประชาชนมีส่วนร่วมและมีบทบาทมากขึ้น
  3. เพื่อให้การประกอบกิจการพลังงาน

-          มีประสิทธิภาพ

-          มีความมั่นคง

-          เพียงพอและทั่วถึง

-          คุณภาพได้มาตรฐาน

-          ตอบสนองความต้องการภายในประเทศและต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ในด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอันสอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง

วัตถุประสงค์ของพ.ร.บ.

  1. ส่งเสริมให้การประกอบการดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ปกป้องสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้พลังงาน

คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน

ทั้งหมดมีอยู่ 7 คน จะเริ่ม 1 กุมภาพันธ์ 2557  จัดขึ้นเพื่อดูแลกำกับกิจการพลังงาน เป็นคนรักษากฎหมาย

วิสัยทัศน์และพันธกิจ

ต้องทำแล้วเป็น Benchmark กับองค์กรอื่นได้ และต้องทำให้เป็นที่รู้จักในระดับอาเซียน หลังจากเปิดตลาด AEC ก็จะมีการขายไฟไปต่างประเทศได้ ซึ่งปัจจุบันซื้อไฟจากลาวมากที่สุด เพราะมีนักลงทุนไปสร้างโรงไฟฟ้าที่ประเทศลาว

คนบริหารงานเรื่องไฟฟ้าในอาเซียน ต้องประชุมแล้วตกลงกันว่าในส่วนเรื่องของพลังงานจะมีการทำอะไร และมีข้อตกลงอะไรบ้าง

ค่านิยมของกกพ. (คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน) คือ TRUST  

T = Trust ความเชื่อมั่น

R= Realiability and Consistency ความน่าเชื่อถือ และเที่ยงธรรม

U= Unity ความเป็นเอกภาพ

S= Social Accountability ความเชื่อมั่นของสังคม

T= Transparency and Independence  อิสระและโปร่งใส

ผลลัพธ์ที่จะได้รับจากยุทธศาสตร์

รัฐบาล จะได้ประโยชน์ดังนี้   

-          ประเทศมีพลังงานเพียงพอ เชื่อถือได้ และปลอดภัย

-          ราคาเหมาะสม

-          ลดต้นทุนในการใช้พลังงาน

-          สนับสนุนให้ประชาชนสามารถเข้าถึง

หน้าที่และบทบาทของ กกพ.

1.การบริการ

2. การประกอบกิจการ

3. การมีส่วนร่วม

การอนุญาตการประกอบกิจการพลังงาน

ใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้า

-          ผลิตไฟฟ้า

-          ระบบส่งไฟฟ้า

-          จำหน่ายไฟฟ้า

-          ควบคุมระบบไฟฟ้า

ใบอนุญาตประกอบกิจการก๊าซธรรมชาติ

-          ขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ

-          จัดหาและค้าส่ง

-          ค้าปลีกผ่านระบบจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ

-          เก็บรักษาและแปรสภาพก๊าซธรรมชาติจากของเหลวเป็นก๊าซ  คือ  LNG ต้องทำให้เย็นก่อนซึ่งมีอุณหภูมิ -100 องศาเซลเซียส

มีการวางแผนล่วงหน้า5 ปี แล้วประเมินว่าจะเก็บเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม ซึ่งจะน้อยว่ากทช 2% การคุ้มครองผู้ใช้พลังงาน

-          ให้ผู้ใช้ได้ใช้พลังงานอย่างทั่วถึง

-          เปิดโอกาสให้ผู้ใช้พลังงานเข้ามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ

-          เพื่อคุ้มครองผู้ใช้พลังงานกรฯๆได้รับความเสียหาย

มาตรการทางภาษีเกี่ยวกับพลังงานในต่างประเทศ

-          ตรากฎหมาย Tax credit เพื่อให้เครดิตภาษีแก่นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

-          มีระบบการจัดการพลังงานที่มีประสิทธิภาพ

-          การใช้วัสดุที่นำมาใช้ใหม่

-          มีระบบการหมุนเวียนภายในโดยไม่ใช้เครื่องปรับอากาศ

การจัดตั้งกองทุนพัฒนาไฟฟ้า

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อเป็นทุนสนับสนุนให้มีการให้บริการไฟฟ้าไปยังท้องที่ต่างๆอย่างทั่วถึง
  2. เพื่อกระจายความเจริญไปยังพื้นที่ต่างๆ

Regulator กับการทำงานของ กฟผ.

-          การผลิตไฟฟ้าให้พอเพียงกับความต้องการไฟฟ้า

-          การผลิตไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ

-          การรับซื้อไฟฟ้าอย่างเป็นธรรม

-          การสั่งจ่ายการผลิตไฟฟ้าที่โปร่งใสและเป็นธรรม

-          การจำหน่ายไฟฟ้าให้กับระบบจำหน่ายมีความมั่นคง ปลอดภัย และมีมาตรฐานการบริการที่ดี

-          การเชื่อมต่อระบบโครงข่ายพลังงาน ตามข้อกำหนดที่เป็นไปตามหลักการของพระราชบัญญัติฯ

-          การจัดทำแผน PDP แผนการลงทุน แผนการขยายโครงข่ายไฟฟ้า

-          การรายงานข้อมูลที่จำเป็นต่อการกำกับดูแลของ Regulator

-          การนำส่งเงินเข้ากองทุนพัฒนาไฟฟ้า

-          การดำเนินการเพื่อรับผิดชอบต่อสังคม (CSR)

วรวิทย์ รวีนิภาพงศ์

สรุปการเรียนรู้ในวันที่ 15 พฤษภาคม 2555

             วันนี้ ผมรู้สึกปลาบปลื้มใจเป็นอย่างยิ่ง ที่ท่านผู้ว่าการ กฟผ. นายสุทัศน์  ปัทมสิริวัฒน์ ได้ให้เกียรติมาพูดคุยกับพวกเราอย่างเป็นกันเอง ทำให้ได้รับรู้แนวคิดผู้ว่าการฯ ว่า การที่จะเป็นผู้นำที่ดี สิ่งสำคัญคือ ต้องมองกว้าง การตัดสินใจจะพลาดไม่ได้ เพราะถ้าพลาดจะต้องตามแก้มาก   ต้องพัฒนาตนเองตลอดเวลา ต้องคิดในภาพองค์รวม ต้องเสียสละและอดทน ต้องสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่เป็นทีม และสร้างองค์กรให้เป็นที่ยอมรับของสังคม นอกจากนั้น ผู้ว่าการฯ ได้กล่าวถึง โครงสร้างของ กฟผ. เป็นลักษณะ Functional ทำให้คนที่จะขึ้นเป็นผู้นำต้องพัฒนาทักษะอีกมากในหลายๆ ด้าน กฟผ. จึงจำเป็นต้องสร้างผู้นำที่รู้หลายๆ ด้านขึ้นมาทดแทนอย่างเร่งด่วน
ได้เรียนรู้จากอาจารย์ประกาย  ชลหาญ ว่า การที่เราจะมีผลงานดี เราจะต้องมี Competency และ Motivation ที่ดี   ผู้นำที่ดีจะต้องมีบทบาท 4 อย่าง คือ 1. เป็น Path Finder 2. สร้าง Alignment 3. มี Empowerment และ 4. เป็น Role Model  นอกจากนั้น ผู้นำที่ดีต้องรู้จักคาดการณ์ล่วงหน้า ว่า จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรขึ้นในองค์กร แล้วคิดวิธีเตรียมพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง
ได้เรียนรู้จากอาจารย์ ดร.พลายพล  คุ้มทรัพย์  ในเรื่อง ปัญหาพลังงานของโลกที่ใช้ฟอสซิลมากเกินไปทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกและภาวะโลกร้อนเพิ่มมากขึ้น    สถานการณ์ราคาน้ำมันโลกก็นับวันจะแพงขึ้นเรื่อยๆ และหาได้ยากขึ้น  การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ เองยังพึ่งพาก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าถึง 70% ดังนั้น เพื่อความมั่นคงทางพลังงาน ควรมีการพิจารณาปรับลดการใช้ก๊าซธรรมชาติลงและใช้ถ่านหินนำเข้าคุณภาพดีให้มากขึ้น  รวมทั้งหันมาใช้พลังงานหมุนเวียน เช่น พลังน้ำ แสงอาทิตย์ คลื่น ลม และความร้อนใต้พิภพให้มากขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งรัฐบาลได้มีนโยบายให้เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนเป็น 20% ของการใช้พลังงานทั้งหมดของประเทศภายในปี 2565

วรวิทย์ รวีนิภาพงศ์

จันทิมา ลีละวัฒนากูล

15 พค.55-18 พค.55

หลักสูตรใน 4 วันนี้ เป็นอีกช่วงหนึ่งที่ได้ความรู้มากมาย เริ่มตั้งแต่ ฟังท่าน ผวก. สุทัศน์  ปัทมสิริวัฒน์   พูดในเรื่องได้อะไรจากโครงการพัฒนาผู้บริหาร  EADP รุ่นที่ 2  นั้น  ทำให้ฝึกคิดให้ใหญ่กว่าตำแหน่งที่เราเป็นอยู่ทุกๆด้าน ทั้งเศรษฐกิจ  ธุรกิจ การตลาด สังคม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย   ต้องเรียนรู้ศาสตร์ต่างๆในมุมมองที่กว้างขึ้น   องค์กรที่จะขับเคลื่อนได้ ต้องสร้างทุนองค์กร ด้านทุนมนุษย์  การจะเป็นผู้นำไม่ได้ต้องการเฉพาะสมอง หรือสติปัญญาอย่างเดียว  ต้องให้คิดถึงส่วนรวม ยิ่งให้ยิ่งได้  ไม่ทำงานคนเดียว แต่ต้องทำงานเป็นทีมและ  เพิ่มขีดความสามารถด้านธุรกิจ    

สอดคล้องกับเรื่องผู้นำการเปลี่ยนแปลง  ชี้ให้เห็นว่า สิ่งสำคัญที่สุดขององค์กร/คน คือ ผลงาน หรือ Performance  ซึ่งได้จาก Competency คือ ความรู้ความสามารถ ทักษะ ประสบการณ์ ความพร้อมที่จะสร้างผลงาน และ Motivation  คือ สร้างแรงจูงใจ   ผู้นำที่ดี ต้องมีบทบาทอย่างไร  สำคัญคือต้องเปลี่ยนแปลงตนเองให้เป็นผู้นำที่ดีก่อน  

สำหรับ Panel Discussion หัวข้อต่างๆ ทั้ง 2 วัน ได้ความรู้ แนวคิด และมุมมองด้านต่างๆ ทั้งเรื่องนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคต ทิศทางพลังงานกับการทำงานของ กฟผ.  นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน  ซึ่งผู้เข้าอบรมได้ร่วมกันถามและให้ความเห็นด้วยนั้น  เป็นสิ่งที่จะต้องนำมาใช้ปรับปรุงการทำงานเพื่อให้เข้าถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกระดับ  ต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร ของ กฟผ. เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน 

ท้ายสุดผู้นำที่ดีต้องเรียนรู้  ใฝ่รู้ เก่งงาน เก่งคน  มีศิลปะในการบริหารความขัดแย้ง มองบวก และกล้าตัดสินใจบนความถูกต้อง

 

 

 

 

 

พลังงานกับเศรษฐกิจไทย

ศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์

     เค้าโครงการบรรยาย

  • ปัญหาพลังงานของโลก
  • พลังงานกับเศรษฐกิจไทย
  • ปัญหาพลังงานของไทย
  • แนวทางการแก้ปัญหาของไทย

ปัญหาพลังงานของโลก

-          โลกใช้น้ำมันมากขึ้น และจะมีราคาแพงขึ้น และหาได้ยากขึ้น

-          พลังงานที่สะอาดก็มี แต่ก็ยังแพงและมีข้อจำกัดมาก

-          เป้าประสงค์สูงสุด คือ ใช้พลังงานสะอาด

พลังงานกับเศรษฐกิจไทย

-          น้ำมันเป็นพลังงานทีสำคัญที่สุด

-          ก๊าซธรรมชาติเป็นพลังงานสำคัญรองจากน้ำมัน

-          ไทยต้องพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ โดย30% นำเข้าแก๊สธรรมชาติจากพม่า

-          ไทยต้องพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ

-          เศรษฐกิจไทยพึ่งพลังงานในอัตราเพิ่มขึ้น

ปัญหาพลังงานของไทย

-          ไทยมีก๊าซธรรมชาติเอง แต่ไม่พอใช้จึงต้องนำเข้า แต่ราคาแพงขึ้นตามราคาน้ำมัน

-          ไม่มีใครต้องการมีบ้านใกล้โรงไฟฟ้า (แต่ทุกคนต้องการไฟฟ้า)

-          ความต้องกาการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นทุกปี

-          รัฐบาลยังอุดหนุนราคาน้ำมันบางประเภท ทำให้มีการใช้พลังงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ

ปัญหาเกี่ยวกับนโยบายราคาน้ำมันของไทย

-          ผลของการตรึงราคาปลีกไว้ต่ำ

-          การตรึงราคาขายปลีกไว้ต่ำก่อให้เกิดผลกระทบต่อเนื่อง

-          ผลิตภัณฑ์น้ำมันมีราค่าขายปลีกแตกต่างกันมากเกินไป

-          พึ่งพาเชื้อเพลิงในประเทศให้มากขึ้น

-          พึ่งพาไฟฟ้าจากเขื่อนในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว ซึ่งมีต้นทุนค่อนข้างต่ำ

แนวทางการแก้ปัญหาของไทย

-          ใช้ถ่านหินนำเข้ามากขึ้น

-          ใช้พลังงานนิวเคลียร์  แต่ค่าใช้จ่ายสูง และยังไม่แน่นอนเรื่องความปลอดภัย แต่ข้อดี คือ เป็นพลังงานที่สะอาด ซี่งรัฐบาลไทยเลื่อนแผนออกไปอีก 3 ปี เป็นพ.ศ. 2566 จากเดิมพ.ศ. 2563

-          ใช้พลังงานชีวมวล

-          ใช้พลังงานหมุนเวียน  ข้อจำกัดยังมีคือ ต้นทุนสูง และวัตถุดิบมีจำนวนจำกัด อย่างไรก็ตาม ต้นทุนมีแนวโน้มว่าจะลดลง แต่อาจจะต้องใช้เวลา

มาตรการส่งเสริมพลังงานทดแทน

-          ใช้กองทุนอนุรักษ์พลังงานเข้ามาช่วยเรื่องอุปกรณ์ และเรื่องการประหยัดไฟฟ้า

มาตรการราคาพลังงาน

-          ควรสะท้อนทุนที่แท้จริงเพื่อที่จะส่งเสริมประสิทธิภาพกาใช้พลังงาน

-          ควรมีการแทรกแซงของรัฐน้อยที่สุด

-          เสนอโครงสร้างราคาน้ำมันที่เหมาะสม  ซึ่งต้องพิจารณาไปตามองค์ประกอบ ได้แก่ ราคา ณ โรงกลั่น  ภาษีต่างๆ ค่าการตลาด  กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง

โครงสร้างราคาน้ำมันที่เหมาะสม

-          ให้เก็บภาษีโดยคำนึงถึงต้นทุนมลพิษจากคาร์บอนไดออกไซด์  ต้นทุนจากการสร้างถนน ต้นทุนจากการจราจรแออัด   ต้นทุนจากอุบัติเหตุ

-          กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง

ส่วนที่หนึ่ง  เพื่อการอุดหนุนไขว้ระหว่างผลิตภัณฑ์น้ำมันต่างๆ

ส่วนที่สอง   เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคาขายปลีก ในช่วงที่น้ำมันโลกผันผวนมากๆ

-          ช่วงห่างของราคาขายปลีก พิจารณาจาก การใช้ทดแทนกันได้ระหว่างผลิตภัณฑ์น้ำมันต่างๆ

-          ควรมีช่วงห่างระหว่างราคาของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ดังนี้

ราคาเบนซิน 91 ควรสูงกว่าราคาแก๊สโซฮอล์ 91 ไม่น้อยกว่าลิตรละ 5-6 บาท

ราคาเบนซิน 91 ควรสูงกว่าราคาแก๊สโซฮอล์ 95 ไม่น้อยกว่าลิตรละ 3 บาท

ราคาแก๊สโซฮอล์ 95 ควรสูงกว่าราคาแก๊สโซฮอล์ 91 ประมาณลิตรละ 2-3 บาท

ข้อเสนอชดเชยเกี่ยวกับราคาก๊าซหุงต้ม

-          ทำอย่างไรจึงจะชดเชยให้เฉพาะครัวเรือนยากจน โดยไม่มีการลักลอบถ่ายเท และคนจนจะได้รับประโยชน์จริงๆ

-          เสนอให้ใช้ระบบคูปอง: แจกคูปองให้ครัวเรือนยากจนเพิ่อใช้แลกซื้อ LPG บรรจุถังในราคราที่ถูกกว่า

คำถาม

  1. ก๊าซLPG ที่ปตท.นำเข้ามาเพียงเจ้าเดียว จะมีโอกาสเป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีกโรงไฟฟ้าเอกชนที่นำก๊าซ LPG เข้ามาและถูกว่า และป้อนให้โรงไฟฟ้า และทำให้โรงไฟฟ้ามีราคาถูกลงด้วย

ศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ ตอบว่า แน่นอนว่าแก๊ส LPG จะแพง เนื่องจากว่า ปตท. ผูกขาดรายเดียว แต่หากในอนาคต มีเอกชนทำโรงไฟฟ้า LPG เช่นกัน ก็มีโอกาสเป็นไปได้ที่จะทำให้มีราคาถูกลง และมีประสิทธิภาพในการผลิต และการใช้ดีขึ้น เนื่องจากต้องเปิดให้มีการแข่งขันด้วย ทำให้มีทางเลือกสำหรับการใช้เชื้อเพลิงดีขึ้น และขายใครก็ได้ ไม่ใช่ขายให้กฟผ.เท่านั้น

   2. ระบบขายน้ำมันของ ปตท. ที่ปิดตัวลงหลากที่ เงินรายได้ของปตท.ที่มาจุนเจือ มาจากแก๊สใช่หรือไม่

ศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ ตอบว่า   ส่วนหนึ่งมาจากการผลิตแก๊ส แล้วนำกำไรไปจุนเจือปั๊ม

   3. ต้องการเอารถไปติดแก๊สดีหรือไม่

ศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ ตอบว่า  คุ้มมาก1-2 ปีก็คุ้มแล้ว แม้จะไปติดเป็น LPG ก็ตาม แต่หากเปลี่ยนเครื่อง แล้ววิ่ง 1 ปี ไม่เกิน 20,000 กม จะไม่คุ้ม

  4. ราคาน้ำมัน มักจะไปเกาะกับราคาอาหารด้วยควรจะทำอย่างไร

ศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ ตอบว่า   ราคาอาหารมักจะแพงขึ้นด้วยในระดับหนึ่ง ซึ่งก็ต้องยอมรับบ้าง

   วันที่ 15 พค.55 ผู้ว่าการสุทัศน์ ได้บรรยายพิเศษ เรื่อง “ประสบการณ์เรียนรู้ในรุ่นที่2 ของข้าพเจ้า กับการปรับใช้เพื่อบริหารกฟผ.ในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลง” ท่านพูดได้ดีมากๆว่าการเป็นผู้นำองค์กรต้องการด้านกว้าง และยิ่งสูงขึ้นเท่าไร ศาสตร์ที่ใช้ในการตัดสินใจก็มากขึ้น กว้างขึ้น ผวก.เองก็ไม่คิดว่าจะมาเป็นผวก.  คือทำงานโดยไม่ได้คาดหวังว่าจะเป็นอะไร ท่านแนะว่าเราต้องพัฒนาตนเองให้พร้อมอยู่ตลอดเวลา หลักสูตรของ อ.จีระจะเชิญกูรูด้านต่างๆมาให้ความรู้ อ.จีระท่านมี Network กว้างขวางมาก และที่สำคัญมากคือ ท่านผวก. ให้มองถึงประเทศชาติมากกว่าองค์กร ต้องคิดให้ใหญ่ มองในเรื่องเศรษฐกิจ, สังคม , แนวคิดของ NGO,  การเงิน,การวางแผน  และปํญหาของ กฟผ. ยังมีอยู่ ในด้าน HR. คือ

  1. Generation ขาดช่วง แต่มีจุดแข็ง คือ งานเดินเครื่อง กับ บำรุงรักษา
  2. การสร้างผู้นำรุ่นใหม่ทดแทนให้ทัน Model ของเราเป็นแบบ Functional คนฝึกไม่ครบทุกด้าน ไม่เหมือนบริษัท ที่มี บริษัทลูกให้ไปฝึก ทำให้ฝึกคนให้ครบทุกเรื่อง กฟผ.มีจุดอ่อนที่โครงสร้าง ทำให้คนถนัดเฉพาะเรื่อง

     ดังนั้นระบบ HR.ต้องมีการปรับปรุง  มี การคิดว่าจะใช้ Competency อะไรรองรับ ประเมินให้เห็น Gap ของตัวเองพัฒนาให้ดีขึ้น มีระบบ Coaching มีการ Rotate มองคนเป็น Asset ผู้นำต้องมีคุณธรรม และจริยธรรม ไม่งั้นองค์กรอาจพังได้ด้วยผู้นำเพียงคนเดียว เช่น ผู้นำฉ้อโกง หรือ ตัดสินใจบนความเสี่ยงที่สูงไป

        ในอนาคต กฟผ. ต้องสามารถสร้างความเข้าใจ สื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อย่างเหมาะสม มีความสามารถดำเนินธุรกิจ อาจไปลงทุนในต่างประเทศ

        ผวก. ได้ฝากข้อคิดไว้ ซึ่งดีมากว่า “ การจะเป็นผู้นำ ไม่ได้ต้องการเฉพาะสติปัญญา แต่ต้อง Smart และหัวใจต้องคิดถึงส่วนรวม คนที่เรานับถือไม่ใช่คนเก่งที่สุด แต่มีจิตใจที่ดีมีลักษณะที่รวมจิตใจของผู้คนได้ บางจุดต้องอดทน สร้างการยอมรับ มีบารมี ต้องพูดแล้วคนเชื่อ มีมุมมองที่คิดถึง Stakeholder เชื่อว่าทุกคนรักองค์กร ต้องเตรียมพร้อม แต่อย่าคาดหวังมาก เมื่อได้รับโอกาสต้องพร้อม”

          ครับ ตรงใจมากครับ ทำให้นึกถึง Mindset ที่ อ.จีระให้อ่าน ว่า ความเฉลียวฉลาดฝึกได้ ต้องมีกรอบความคิดที่เป็นบวก สำคัญคือมีจิตใจที่ดีและมีคุณธรรม

 

        และในช่วงเช้าต่อด้วย “ผู้นำ-วัฒนธรรมองค์กร-การบริหารการเปลี่ยนแปลง” โดยอ. ประกาย ชลหาญ ซึ่งท่านได้สอนถึงการเป็นผุ้นำท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งวิเคราะห์ได้ดีว่า เราอยู่ในองค์กรได้ด้วยผลงาน (Performance) โดยมีส่วนสำคัญในการผลักดัน 2 ส่วน คือ 1. Competency 2. Motivation ถ้าขาด Motivation จะทำให้เราซังกะตาย ไม่อยากทำงาน วัฒนธรรมองค์กรก็เป็นส่วนสำคัญในการสร้าง Motivation จะจูงใจคนต้องเอาผู้รับเป็นตัวตั้ง อย่าคิดเอาเอง

         ผู้นำที่ดี ต้อง 1. เป็น Path Finder -หาแนวทางให้ลูกน้องเดิน

                              2. สร้าง Alignment ในองค์กร –หาความเชื่อมโยงไม่ให้คนเดินหลงทิศ

                               3. มี Empowerment-กระจายอำนาจ มอบอำนาจ

                                4. เป็น Roll Model-ตัวอย่างที่ดี

        ผู้นำต้องบริหารการเปลี่ยนแปลง ต้อง Forecast ให้ได้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง คือ ภายใน และภายนอก ต้องเปลี่ยนก่อนถูกบังคับให้เปลี่ยน

        หัวใจของการเปลี่ยนชีวิตอยู่ตรงนี้ครับ

               “ถ้าเปลี่ยนความคิด ก็จะเปลี่ยนความเชื่อ

                 ถ้าเปลี่ยนความเชื่อ ก็จะเปลี่ยนความคาดหวัง

                 ถ้าเปลี่ยนความคาดหวัง ก็จะเปลี่ยนทัศนคติ

                  ถ้าเปลี่ยนทัศนคติ ก็จะเปลี่ยนนิสัย

                  ถ้าเปลี่ยนนิสัย ก็จะเปลี่ยนการกระทำ

                  ถ้าเปลี่ยนการกระทำ ก็จะเปลี่ยนชีวิต”

 

ช่วงบ่ายเรื่อง “เศรษฐศาสตร์พลังงาน” โดย ศ.ดร. พลายพล คุ้มทรัพย์ ได้บรรยายเรื่องปัญหาพลังงานของโลก และของประเทศไทย ทำให้เข้าใจมากขึ้นในเรื่องปัญหา และแนวทางการแก้ไข และทิศทางของพลังงานของประเทศไทย โดยพลังงานของไทยยังต้องพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ถึงแม้ไทยมีก๊าซธรรมชาติเองแต่ไม่พอใช้ และการผลิตกระแสไฟฟ้าอาศัยก๊าซธรรมชาติมากเกินไป(70%) และปัญหาหลักอีกอย่างคือไม่มีใครต้องการโรงไฟฟ้าไว้ใกล้บ้าน ทำให้สร้างโรงไฟฟ้าได้ยากขึ้น และดูเหมือนนโยบายพลังงานของไทยก็ยังไม่ลงตัว ไม่สมบูรณ์นัก  แนวทางแก้ปัญหาพลังงานของไทยเน้นไปทางพึ่งพาต่างประเทศ ทั้งการซื้อไฟฟ้า และเชื้อเพลิง การมุ่งไปสู่พลังงานนิวเคลียร์ ก็ยังไม่ได้การยอมรับจากประชาชน ทำให้วิกฤติพลังงานเด่นชัดขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า พลังงานหมุนเวียนก็มีปริมาณน้อย พึ่งพาเป็นหลักไม่ได้

 

           วันที่ 16 พค. 55  เรื่อง “ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่น ต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคตของ กฟผ.” โดย ดร. กมล และ ศ.ดร. ปณิธาน  ได้ให้ความรู้ในเรื่องแผ่นดินไหว และ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ว่าแผ่นดินไหวยังไม่สามารถทำนายได้ และการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทยต้องเลื่อนออกไปอีก เร็วที่สุด คือ ปี 2026 เนื่องจากผลกระทบจากสึนามิต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของประเทศญี่ปุ่น ทำให้ไทยอาจล้าหลังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม, มาเลเซีย ในเรื่องการพัฒนาพลังงานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และประเทศไทยอาจต้องดับไฟฟ้าเป็น Zone ก็ได้ ถ้าความต้องการไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น ทุกปี และไม่สามารถสร้างโรงไฟฟ้าขึ้นมารองรับได้

          ช่วงบ่ายเป็นเรื่องทิศทางพลังงานกับการทำงานของ กฟผ.  โดย อดีตผวก. ไกรสีห์ และ รวห. วิรัช โดย อดีต ผวก. ได้กล่าวถึง เรื่องการเปลี่ยนแปลงว่าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องมี ในอดีต กฟผ. ทำเองหมด วางแผน ,ผลิต ดดยเมื่อก่อนขึ้นกับสำนักนายกฯ ปัจจุบันย้ายมาสังกัดกระทรวงพลังงาน นโยบายก็เปลี่ยนจากอดีต มี Regulator กำกับดูแล กฟผ.ผลิต 50% เอกชนผลิต 50% ปัญหาของ กฟผ.ก็คือ ถ้าสร้างโรงไฟฟ้าแพงกว่าเอกชน หรือ กฟผ.สร้างโรงไฟฟ้าไม่ได้แต่เอกชนสร้างได้ คนในชุมชนก็เปลี่ยนไป มีการตื่นตัวมากขึ้น ถ้ามีอะไรมากระทบ หรือเปลี่ยนวิถีชีวิตเขา ก็จะคัดค้าน ดังนั้นจึงต้องคำนึงถึงชุมชน และสิ่งแวดล้อม โรงไฟฟ้าขนาดเล็กเริ่มมีบทบาทมากขึ้น โดยเฉพาะพลังงานหมุนเวียน รัฐมีนโยบายที่ชัดเจน ว่าต้องมีพลังงานทดแทน 25% ควรมองด้าน Demand Side ส่งเสริมการใช้ไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพ ต้องเป็น Environmental Friendly

           โจทย์คือทำอย่างไรให้คนไว้วางใจ กฟผ. (Trust) ต้องทำให้วิถีชีวิตของชุมชนดีขึ้น ขาไปพบและคลุกคลีกับคนทุกกลุ่ม ให้ความมั่นใจว่าจะไม่ทำลายวิถีชีวิตของชุมชน ถ้ามีปัญหาในอนาคตที่เกิดจาก กฟผ.ก็พร้อมจะรับผิดชอบ และมีเงินกองทุนให้

           ท่านอดีต ผวก. ไกรสีห์ ได้ให้ข้อคิด และข้อเสนอแนะไว้เป็นประโยชน์อย่างมาก จากประสบการณ์ และมุมมองของท่านต่ออนาคตของกฟผ.  ซึ่งแสดงว่าท่านก็ยังห่วงใยกฟผ.และผูกพันอยู่ไม่คลาย

           รวห. วิรัช กล่าวว่าทิศทางพลังงานของประเทศไทยเพิ่มขึ้นทุกปี  แหล่งพลังงานลดลง เชื้อเพลิงในประเทศน้อย การสร้างโรงไฟฟ้าถูกคัดค้าน โดย ชุมชนบางกลุ่ม และNGO ด้านเทคนิคไม่น่าห่วง แต่สิ่งที่เป็นปัญหาก็คือ เรื่องการคัดค้าน การยอมรับในสังคม ต้องแก้ปัญหาที่สังคมและชุมชน ในปี2558-2559 ไม่มีโรงไฟฟ้าใหม่เข้าสู่ระบบเลย น่าเป็นห่วงว่ากำลังผลิตสำรองจะพอหรือไม่ ควรเน้นในเรื่องของ Demand Side Management ด้วย  และเราควรพิจารณาโครงสร้างการใช้พลังงานของประเทศด้วยว่า จะยังเป็นประเทศอุตสาหกรรมอยู่ไหม เพราะขณะนี้ผลิตไฟฟ้า 100 ใช้ในอุตสาหกรรม 50 ธุรกิจ 20 ที่อยู่อาศัย 20 อื่นๆ 10  และกฟผ.ก็ยังถูกโจมตีมาก ถึงแม้ว่าอากาศที่แม่เมาะดีกว่าทุกจุดในกรุงเทพฯ แต่ทุกครั้งที่โจมตีเรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินก็จะกล่าวถึง โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ทำให้ตอนนี้เราต้องบริหารความจริง และบริหารความเชื่อ เพราะความจริงคือเทคโนโลยีสะอาดแล้วแต่คนไม่เชื่อ โจทย์ คือ กฟผ.ต้องสร้าง Trustให้ได้ ซึ่งอาต้องใช้เวลานาน และต้องอดทน เสียสละ รับผิดชอบต่อสังคม โดยสร้าง Trust ให้เห็นว่า กฟผ.มีความรับผิดชอบ และจำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้า แต่ให้ความเชื่อมั่นว่าจะดำเนินการไม่ให้เกิดผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชุมชน

          ซึ่งท่านก็ได้ให้ข้อมูลและแนวคิดในการแก้ไขไว้ดีมาก ผมคิดว่าการบริหารความเชื่อของคนก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะบางครั้งคนเชื่อในเรื่องต่างๆโดยไม่ดูข้อเท็จจริงมาสนับสนุน เป็นมายาคติอย่างหนึ่ง ซึ่งเราก็มีหน้าที่ละลายความเชื่อนั้นให้ได้ อาจจะใช้เวลานาน อดทน เสียสละอย่างที่ท่านบอก แต่ก็ต้องตั้งมั่นไว้เหมือนที่ผวก.สุทัศน์ท่านบอกให้นึกถึงประเทศชาติให้มาก

              ช่วงเย็น เรื่อง Trendy Technology and Social Medias for EGAT Executive โดย ดร. วิรัช

ซึ่งได้บรรยายเรื่อง IT Technology ว่ามีทิศทางอย่างไร แนวโน้มเป็นอย่างไร ปัจจุบันก้าวหน้าไปอย่างไร และอนาคตจะเป็นอย่างไรการเป็นผู้นำยุคใหม่ควรทำอย่างไร เช่น ให้รางวัลคนที่ทำผิดพลาด ให้พนักงานเสนอโครงการเอง ให้มี Leadershipทำงานร่วมกัน ต้องพัฒนา Vision,Mission,Passion มีการบริหารแบบ Bottom-up บ้าง

 

               วันที่  17 พค.2555  ช่วงเช้า เรื่อง High Performance Organizationที่ กฟผ. โดย ดร. สมโภชน์ และ อ. สมชาย  อ.สมชายกล่าวถึงบทบาทของ Tris ว่ามีเป้าหมายในการปรับปรุงประสิทธิภาพของรัฐวิสาหกิจ ทำให้บริหารได้ดี และผลประโยชน์ตกอยู่กับประชาชน สร้างมูลค่าเพิ่มขึ้น และหัวใจขององค์กรที่จะเป็น HPO หรือไม่นั้น อยู่ที่People ไม่ใช่อยู่ที่ Process เพราะคนเป็นผู้ drive process คนที่เป็น Leader ต้องมี Vision และ Inspire ต้องเร้าใจให้คนในองค์กรอยากทำงาน  ทุกคนต้องเห็นวิสัยทัศน์ขององค์กรและขับเคลื่อนร่วมกัน  การเป็น HPOจากวัฒนธรรมแบบเดิมๆ ต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Paradigm Shift) ต้องสร้าง Trust ในทุกระดับ มีการให้รางวัลเป็นทีม (Team Based Reward) การให้แรงจูงใจบุคคลโดยโยงกับ KPI จะล้มเหลว เพราะ เกิดความแตกแยก มีการแต่งข้อมูล หัวหน้าต้องสื่อสารกับลูกน้องชัดเจน  Organization ต้องร่วมมือกันทั้งองค์กร ตัวชี้วัดในองค์กรไม่ควรมีมากเกินไป

อ.สมโภชน์ เห็นว่า HPO ต้องสร้างโดยทีมงานที่เข้มแข็ง ต้องพัฒนาที่คน มีทั้ง Tangible และ Intangible , Visible และ Invisible ต้องทำงานเป็นทีม (team Spirit) KPI เป็นการวัดแค่ Tangible

จริงๆแล้วคนในองค์กรมี 3 กลุ่ม คือ Cream20-25%, Average50-55% , Bottom20-25% แต่เราออกกฎมาหวังบังคับ Bottom เลยกระทบคนส่วนใหญ่ไปด้วย คนที่เป็นผู้นำต้องออกกฎให้คนส่วนใหญ่ แล้วอัดพวกBottom ที่ไม่ทำงานให้ปฏิบัติตามกฎ งานต้องมีเป้าหมายชัดเจน และมีการสร้าง Shared Value

         หลักการบริหารคือคนที่เป็นหัวหน้าต้องมอบหมายงาน และให้อิสระ แต่มี Commitment ร่วมกัน มีเป้าหมายร่วมกัน การเป็นผู้นำเป็นการนำคน ไม่ใช่นำงาน องค์กรต้องช่วยคนให้ค้นหาตนเองให้เจอ ดึงศักยภาพที่ซ่อนเร้นออกมาใช้ให้เต็มที่ ถ้ามีจุดอ่อนด้านไหน ให้เติม ควรพัฒนาคนโดย Learning By Doing

         ช่วงบ่าย เป็นการอภิปรายเรื่อง “นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน(Social Innovation)กับการทำงานของ กฟผ.”  ครูบาสุทธินันท์ พูดถึงสังคมที่เปลี่ยนไป ปัญหาเปลี่ยนไป นวัตกรรมทางสังคมมีความสำคัญกับการทำงานในอนาคต ครูบาท่านมีนวัตกรรมด้านการเกษตรมากมาย รวมทั้งการสร้างNetwork ผ่านระบบ IT ชนิดที่คนรุ่นใหม่ต้องอายเลยทีเดียว ท่านพูดไว้ดีมากเกี่ยวกับกับชุมชนและสังคม ว่าการบริหารองค์กรให้เจริญแบบยั่งยืน ต้องมีชีวิตชีวา ยิ้มแย้มแจ่มใสมีความสุข ร่วมหัวจมท้าย พูดเพราะ จริงใจกับลูกน้อง เป็นเสน่ห์ และกลยุทธ์อย่างหนึ่งที่ทำให้ประสบความสำเร็จ ท่านยังบอกว่าคนไทยมีหน้าที่ ในการทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด และดูแลสังคม  เราต้องมีความจริงใจเข้าหาชาวบ้าน ต้องดูว่าเขาได้ประโยชน์อะไร ต้องคุยเรื่องประโยชน์ของเขาก่อน จึงจะนั่งในหัวใจชาวบ้านได้   ท่านพูดได้ดีมากครับ และตรงประเด็นจริงๆ

       ดร.เสรี พูดถึงสังคมที่เปลี่ยนไป ทำให้ความสัมพันธ์ของคนเปลี่ยนไปด้วย สังคมเปลี่ยนเร็วมาก ถ้าปรับตัวไม่ได้ไม่รอด ขณะนี้โลกกำลังโหยหาการฟื้นฟูธรรมชาติ เรื่องที่สำคัญคือ อาหาร พลังงาน และความรู้ ยุคนี้เป็นยุคแห่งความรู้ ถ้าทำให้สังคมเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ก็จะแก้ปัญหาชีวิตได้ ชุมชนที่เข้มแข็งเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ และพึ่งพาตนเองได้  เราจะทำอย่างไรให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ เห็นด้วยกับดร.เสรีครับว่าต้องทำให้ชุมชนมีวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้และพึ่งพาตนเองไม่ต้องใช้เงินมาก ชีวิตในชนบทเป็นชีวิตที่มีความสุขอยู่แล้วเพียงแต่เติมความรู้เข้าไป

           รวค. ธวัช ท่านว่าไว้ดีมาก คือ กฟผ.ต้องเป็น Social Based แทนที่จะเป็น Technical Based เหมือนที่เคยเป็นมา แต่เป็นเรื่องใหญ่พอสมควร เพราะต้องเปลี่ยน Paradigm Shift ของคนจำนวนมาก ซึ่งต้องใช้เวลาครับ เพราะกฟผ.เป็นองค์กรที่ทำงานด้านเทคนิค แต่ผมเห็นว่าควรเป็นทั้ง Technical และ Social Based ครับ จะทิ้งทางเทคนิคไม่ได้ เพราะเป็นรายได้ของเรา และเป็นจุดแข็งของเราด้วยครับ แต่เราต้องทำฝานด้านสังคมมากขึ้น

            ดร.จีระ สรุปว่า

  1. รัฐวิสาหกิจต้องเปลี่ยนเป็น SocialEnterprise
  2. ต้องใช้กรอบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ช่วยให้คนในสังคมอยู่อย่างพอเพียงและมีความสุข
  3. กฟผ.ต้องลดการใช้พลังงานอย่างจริงจัง

          

            ช่วงเย็น เรื่อง “การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และเทคนิคการตัดสินใจของผู้บริหารมืออาชีพ” โดย อ.สุขุม ท่านสอนได้สนุกมาก ไม่เครียดเลย หัวเราะตลอด ท่านยกตัวอย่างได้ดีมากทั้งสนุกและเข้าใจ โดยท่านชี้ให้เห็นว่าความขัดแย้งมีทั้งส่วนตัว และส่วนรวม การขัดแย้งส่วนตัวนั้นไม่ดี ส่วนรวมนั้นดี แต่ต้องระวังไม่ให้ความขัดแย้งส่วนรวมกลายเป็นความขัดแย้งส่วนตัว

            ความขัดแย้งมี 3 ประเภท คือ 1. บุคคล กับ บุคคล 2. บุคคลกับ องค์กร 3. หน่วยงาน กับหน่วยงาน

โดยมีสาเหตุมาจาก 1. อิจฉา ริษยา 2. เอารัดเอาเปรียบ เราในฐานะผู้บริหารต้องพยายามลดความขัดแย้งลง โดยการพูด สื่อสารให้เข้าใจ ติดตามความเปลี่ยนแปลงขององค์กร ข้ามไปฟังความเห็นของหน่วยงานอื่นบ้าง

             การตัดสินใจถือว่าเป็นคุณสมบัติของนักบริหาร ควรตัดสินใจได้เร็ว และถูกต้อง ซึ่งต้องมี 1. แม่นกฎระเบียบ 2. ลดความเกรงใจ 3. ไม่โอ้อวด องค์ประกอบของการตัดสินใจ คือ ข้อมูล,ประสบการณ์,การคาดการณ์,ผลกระทบ,สถานการณ์ การวิเคราะห์การตัดสินใจต้อง 1.ถูกต้อง 2. ถูกใจ 3.ถูกจังหวะ

              ที่ชอบมาก คือที่อ.สุขุมสอนว่านักบริหารอย่าตายเพื่อความถูกต้อง อันนั้นเป็นนักอุดมการณ์ ต้องทำให้ถูกใจและถูกจังหวะ อันนี้เอามาใช้ประโยชน์ได้มากครับ

 

             วันที่  18 พค.2555  อ. จีระ เห็นว่าหน่วยงาน HR เป็นแบบ Silo และ Function Line Manager, Non – HR ควรมีบทบาทมากขึ้นต้องมีผลประกอบการ และความสุข เพิ่มขึ้นอนาคต กฟผ. เปลี่ยนไป HR Function อย่างเดียวทำไม่สำเร็จและ Non – HR ก็ต้องช่วยหรือเสริม CEO ให้สนใจเรื่องนี้ด้วย Stakeholders อื่น ๆ  เช่น NGOs  นักวิชาการ หรือชุมชนก็อาจจะมาช่วยด้วย   กฟผ.ควรมีปราชญ์ชาวบ้านเป็นที่ปรึกษาแทนที่จะจ้างฝรั่งแพงๆความหวังของกฟผ. คือเข้ากับชุมชนให้ได้  และวิทยุชุมชน ก็ต้องจับมือกับกฟผ.ให้ได้ ต้องเปลี่ยนให้เป็น  SocialEnterpriseให้ได้ การมองลูกน้องต้องมองทั้ง Invisible และ Intangible คือมองทั้งข้างในและข้างนอก มองคุณค่าและให้โอกาสลูกน้องด้วย    

มีการ Workshop 5กลุ่ม ในเรื่องจุดแข็ง จุดอ่อน เรื่อง HR ของ Leaders/CEO (ผู้ว่า ฯ รองผู้ว่า) ,HR ที่เป็น Function หรือ Silo ,Non-HR และข้อเสนอแนะ ที่จะปรับปรุงให้ทั้ง 3 ฝ่ายทำงานร่วมกันเรื่อง HR อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ และหลักสูตรนี้ช่วยทำให้งานของ HR ดีขึ้นอย่างไร? ซึ่งแต่ละกลุ่มได้ระดมสมอง ความคิดได้อย่างดี ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงต่อไป

    ช่วงบ่ายเรื่อง  “บทบาทของ Regulator และ Energy Tax กับการทำงานของ กฟผ.”โดย ศาสตราจารย์  ดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ  ซึ่งท่านได้อธิบายถึงเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550เพื่อตอบสนองความต้องการภายในประเทศและต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ในด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอันสอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีวัตถุประสงค์คือ

  1. ส่งเสริมให้การประกอบการดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ปกป้องสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้พลังงาน

โดยมีคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน7 คนเริ่มเมื่อ 2557  จัดขึ้นเพื่อดูแลกำกับกิจการพลังงาน เป็นคนรักษากฎหมายทำให้ประเทศมีพลังงานเพียงพอ เชื่อถือได้ และปลอดภัย ราคาเหมาะสม ลดต้นทุนในการใช้พลังงาน และสนับสนุนให้ประชาชนสามารถเข้าถึง มีหน้าที่ในการอนุญาตการประกอบกิจการพลังงาน การอนุญาตประกอบกิจการก๊าซธรรมชาติ การจัดตั้งกองทุนพัฒนาไฟฟ้า

Regulator มีบทบาทเกี่ยวข้องกับ กฟผ. คือ กำกับดูแลให้กฟผ.ผลิตไฟฟ้าให้พอเพียงกับความต้องการไฟฟ้า,มีประสิทธิภาพ,มีการรับซื้อไฟฟ้าอย่างเป็นธรรม ,การสั่งจ่ายการผลิตไฟฟ้าที่โปร่งใสและเป็นธรรม ,มีการจำหน่ายไฟฟ้าให้กับระบบจำหน่ายมีความมั่นคง ปลอดภัย และมีมาตรฐานการบริการที่ดี,มีการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายพลังงาน ตามข้อกำหนดที่เป็นไปตามหลักการของพระราชบัญญัติฯ,มีการจัดทำแผน PDP แผนการลงทุน แผนการขยายโครงข่ายไฟฟ้า,มีการรายงานข้อมูลที่จำเป็นต่อการกำกับดูแลของ Regulator ,การนำส่งเงินเข้ากองทุนพัฒนาไฟฟ้า และการดำเนินการเพื่อรับผิดชอบต่อสังคม (CSR)

ซึ่งนับว่าRegulator มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการทำงานของ กฟผ.  กฟผ.ต้องทำงานอย่างระมัด ระวัง โปร่งใส และเป็นธรรม ที่สำคัญคือต้องอธิบาย และตอบคำถามสังคมได้ในทุกเรื่องที่ดำเนินการไปนับว่าได้รับความรู้และแนวทางการดำเนินการมากครับ

สรุปบทเรียนที่ได้เรียนรู้ 15 พฤษภาคม 2555

  1. ภาคเช้า  ผู้ว่าการฯ คุณสุทัศน์  ปัทมสิริวัฒน์ ได้ให้ข้อคิดดังนี้

„   เป็นผู้นำระดับสูงต้องรู้กว้าง ตัดสินใจพลาดไม่ได้ ต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอ และคิดให้ใหญ่กว่าตำแหน่งที่ทำอยู่

„   ปัญาเรื่อง HR ของ กฟผ. มี 2 ประเด็น คือ Generation มี Gap มาก และไม่สามารถสร้างผู้นำรุ่นใหม่ที่รู้กว้างได้ เพราะมีโครงสร้างแบบ Silo

„   ต้นทุนที่สำคัญขององค์กรคือ ต้นทุนมนุษย์

„   เป็นผู้นำที่ดีต้อง Smart (มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพ) ต้องมี Heart (สร้างความรักและความผูกพันในองค์กรได้) และต้องทำงานเป็นทีมได้ดี

„   ผู้ว่าการฯ มีความตั้งใจที่จะทำให้ “กฟผ. เป็นที่ยอมรับและเป็นที่เชื่อถือของสังคม”

  1. หัวข้อ Leadership in Changing World โดย อ.ประกาย ชลหาญ

2.1              งานของผู้บริหารคือ การบริหารผลการดำเนินงานของผู้ปฏิบัติงาน

2.2              คนจะมีผลงานต้องประกอบด้วย การมี Competency และ Motivation

2.3              ผู้นำที่ดีมี 4 บทบาทคือ กำหนดเส้นทางให้เดิน (Vision/Mission) สร้างให้เกิดการทำงานไปในทิศทางเดียวกัน (Alignment) กระจายอำนาจ (Empower) เป็นตัวอย่างที่ดี (Role-Model)

2.4              การบริหารการเปลี่ยนแปลง  ผู้นำที่บริหารการเปลี่ยนแปลงได้ดีคือ ผู้ที่คาดการณ์ได้เก่งโดยใช้ข้อมูล สถิติ และศึกษาสภาพแวดล้อมภายใน-ภายนอกองค์กร

2.5              GE’s Change Model : Change Acceleration Process

  • สร้างความต้องการร่วมที่จะเปลี่ยนแปลง (Creating A Shared Need)
  • สร้าง Vision ให้เห็นร่วมกัน (Shaping A Vision)
  • ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน (Marking Change Last)
  • ติดตามความก้าวหน้า (Monitoring Progress)

หากจะให้ยั่งยืนจะต้องเปลี่ยนระบบและโครงสร้างเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวด้วย (Changing System & Structures)

  1. หัวข้อวิชาเศรษฐศาสตร์พลังงาน โดย ศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์

3.1 ปัญหาพลังานโลก  โลกใช้น้ำมันมากที่สุด รองลงมาคือก๊าซ และถ่านหิน โดยน้ำมันมีแนวโน้มราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากหาได้ยากขึ้น ในอนาคตการใช้พลังงานถ่านหินมีแนวโน้มมากขึ้นจะแซงน้ำมัน ปัญหาก๊าซเรือนกระจกและภาวะโลกร้อน เกิดจากการใช้พลังงานฟอสซิลมาก เป้าประสงค์สูงสุดคือการใช้พลังงานสะอาด เช่น แสงอาทิตย์ กังหันลม วัสดุเกษตร พลังงานน้ำ คลื่น ความร้อนใต้พิภพ แต่มีราคาแพง

3.2 พลังงานกับเศรษฐกิจไทย / ปัญหาพลังงานไทยและแนวทางการแก้ปัญหา

  • น้ำมันเป็นพลังงานสำคัญที่สุด ใช้ถึง 45% ของพลังงานทั้งหมด ในประเทศมีมูลค่านำเข้ามากกว่า 1 ล้านล้านบาท (ปี 2554)
  • ก๊าซธรรมชาติ เป็นพลังงานสำคัญรองลงมา ใช้ถึง 41% ของพลังงานทั้งหมด
  • ไทยต้องพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ นำเข้าน้ำมัน 90% นำเข้าก๊าซ 30% (จากพม่า)
  • การผลิตไฟฟ้า อาศัยก๊าซธรรมชาติมากเกินไป (ประมาณ 70%) อาจเป็นอันตรายต่อความมั่นคงและสถานะการแข่งขันของประเทศ
  • รัฐบาลยังอุดหนุนราคาน้ำมันและก๊าซ (LPG) ทำให้เกิดการบิดเบือนและใช้พลังงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ กองทุนน้ำมันติดลบมีหนี้สูง
  • แนวทางการแก้ปัญหาพลังงาน โดยต้องใช้ถ่านหินนำเข้าให้มากขึ้น โดยใช้ Clean Coal Technology และใช้พลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานน้ำ แสงอาทิตย์ คลื่น ลม และความร้อนใต้พิภาพ รวมทั้งพลังงานชีวมวล (Biomass)
  • แผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี (พ.ศ.2551 - พ.ศ.2565) ของกระทรวงพลังงาน “เพิ่มสัดส่วนมการใช้พลังงานทดแทนให้เป็นร้อยละ 20 ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย ของประเทศใน ปี 2565”
  • เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานโดยการเปลี่ยนไปใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน และเพิ่มประสิทธิภาพอุปกรณ์ที่มีอยู่ โดยรัฐออกพรบ. การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 กำหนดให้โรงงานและอาคารที่ใช้พลังงานมากกว่า 1 MW. เป็นโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม

 

 

สรุปประเด็นที่ได้จากการอ่านหนังสือ "จากนาซ่าสู่รากหญ้า จากรากหญ้าสู่นาซ่า"

วันนี้ผมได้มีโอกาสอ่านหนังสือเล่มนี้ คนเขียนชื่อ ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ และครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ ทำให้รู้สึกว่าเข้าใจสัจจะธรรมของโลกมากขึ้น จากการศึกษาธรรมะ และจากการศึกษาวิถีการดำเนินชีวิตและแนวคิดของปราชญ์ชาวบ้าน เรื่องบางเรื่องเรารู้อยู่แล้ว แต่ลืมมันไป เพราะสิ่งแวดล้อมรอบตัวพัดพาชีวิตเราไปให้ต้องทำตามวิถีที่ผู้อื่นทำ และอัตตาของเราที่มีมากขึ้นตามความรู้และอำนาจที่มีมากขึ้น ทำให้เราหลงลืมความจริงถึงความไม่เที่ยงแท้แน่นอนในชีวิต และบางครั้งความสุขในชีวิตก็หาได้ง่ายใกล้ตัว มิใช่สุขที่อยู่บนพื้นฐานและการไขว้คว้าให้ได้มาของลาภยศสรรเสริญ ก็รู้สึกดีมากครับที่ได้มีโอกาสอ่านหนังสือดีๆอย่างนี้

บุคคลที่น่าสนใจจากการอ่านหนังสือ TIME 5 ท่านประกอบด้วย 1.Jeremy Lin เป็นนักบาสเชื้อสายจีนวัย 23 ปี มีรูปร่างส่วนสูงไม่สูงเมื่อเทียบกับนักบาสอเมริกันผิวสี แต่เขาก็สามารถฝ่านฟันเข้าไปเล่นบาส NBA ได้และทำผลงานได้ดีนำทีมสู่ชัยชนะติดต่อกันหลายครั้ง ซึ่งแต่เดิมเขาเป็นผู้เล่นสำรองเท่านั้น แต่ด้วยความมุ่งมั่นทุ่มเททำให้เขาประสบความสำเร็จจนเป็นที่กล่าวขวัญถึง 2.Angali Gopalm เป็นสตรีชาวอินเดียวัย 54 ปี ที่อุทิศตนเพื่อดูแลผู้ติดเชื้อ HIV อย่างใกล้ชิดโดยไม่รังเกียจ โดยนำไปดูแลที่บ้าน ซึ่งแม้แต่หมอและพยาบาลไม่กล้าสัมผัสไกล้ชิดกับผู้ป่วย จุดเด่นคือเป็นผู้เสียสละ 3.Sala Blakely สตรีวัย 41 ปี เป็นผู้สามารถขยายธุรกิจชุดชั้นในสำหรับผู้ชาย โดยถือเป็นนวัตกรรมใหม่ตามแนว Blue Ocean ได้นำเสนอ 200 ผลิตภัณฑ์ ใน 40 ประเทศ ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์ MANX ทำให้เป็นเศรษฐินีพันล้านอย่างรวดเร็ว 4.Angela Merkel สตรีวัย 41 ซึ่งดำรงตำแหน่ง Channcellor ของเยอรมันเป็นผู้มีอิทธิพลที่สุดในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำของยุโรปโซน ทั้งที่เป็นสตรีมีความเป็นผู้นำมากกว่าสุภาพบุรุษที่เป็นผู้นำในกลุ่มยุโรป 5.Oscar Pistorius เป็นนักกรีฑาชาวแอฟฟริกาใต้ ที่ไม่ท้อถอย แม้มีร่างกายพิการขาขาด 2 ข้าง แต่มีความพยายามที่จะเข้าแข่งขันวิ่ง 400 เมตร 4x400 เมตร โดยใช้ Blade ช่วยเพื่อแข่งขันโอลิมปิกที่ลอนดอนกับนักกีฬาที่มีสภาพร่างกายปกติ แสดงถึงความเป็นนักสู้ที่ไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค

สาระที่ได้จากการอ่านหนังสือ Mojo ทำให้รู้ถึงแนวการดำเนินชีวิตที่อิงหลักศาสนาพุทธ ซึ่งจะเกิดความสุข สงบ รู้การให้อภัย รู้เขารู้เรา โดย Mojo เป็นความรู้สึกที่ดีต่อสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ จะเริ่มจากภายในสู่ภายนอก และเกิดสูงสุดขณะที่เรากำลังทำสิ่งที่มีความหมาย Mojo จะสูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับปัจจัย 4 ประการ ได้แก่
1.ความเป็นตัวเรา ไม่ควรยึดติดในอดีตหรือคาดหวังกับอนาคตแต่ให้ดูที่ปัจจุบันเป็นหลักและปรับปรุงให้ดีขึ้นซึ่งจะเป็นผลดีในอนาคต
2.ความสำเร็จ มองที่การยอมรับของผู้อื่นหรือสิ่งที่เรารู้สึกด้วยตัวเอง เราสามารถเพิ่ม Mojo ในตัวเองได้ โดยการเปลี่ยนระดับของความสำเร็จให้สูงหรือต่ำลง ไม่จำเป็นต้องเหมือนใครแต่ให้มองเป้าหมายชีวิตที่มีคุณค่า

3.ชื่อเสียง มาจากการกระทำของเราที่ผ่านมาอละเป็นที่ยอมรับของผู้อื่น ซึ่งบางครั้งเราอาจไม่รู้ว่าได้รับการยอมรับ 4.ยอมรับความจริง ไม่ควรยึดติดอดีตและกังวลกับอนาคต รู้จักให้อภัยกับตังเองและผู้อื่นในการกระทำผิดพลาด เข้าใจในสภาพแวดล้อมของมนุษย์แต่ละคนที่มีคสามแตกต่าง

วันที่ 15 พฤษภาคม 2555 หัวข้อ ประสบการณ์การเรียนรู้ในรุ่น 2 ของข้าพเจ้ากับการปรับใช้เพื่อการบริหาร กฟผ.ในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลง โดยคุณสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ท่านผู้ว่าการชื่นชมอาจารย์ ดร.จีระฯที่จัดทำหลักสูตรได้ดีปรับเข้ากับสถานะการณ์ที่เปลี่ยนไปเพราะอาจารย์มี Network ที่กว้างไกลสามารถเชิญอาจารย์ที่เชี่ยวชาญในแขนงต่างๆ และได้ประสบการณ์จากการดูงานที่ออสเตรเลีย พร้อมทั้งกล่าวถึงคุณสมบัติการเป็นผู้นำ กฟผ.ต้องมีความรอบรู้ด้านกว้าง ข้ามศาสตร์ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่ต้องไม่ผิดพลาด ต้องพัฒนาตนเองตลอดเวลา ต้องคิดใหญ่คำนึงถึงองค์กร ประเทศชาติเป็นสำคัญ ปัญหาด้านบุคลากรที่ กฟผ.ประสพมี 2 ปัญหา ได้แก่ 1.Generation ขาดช่วงเพราะขาดการรับพนักงานใหม่ในบางช่วงเป็นเวลานาน 2.ต้องสร้างผู้นำรุ่นใหม่ให้ทันและโครงสร้าง กฟผ.เป็น Functional มากเกินไปทำให้รู้เฉพาะด้าน แนวทางการพัฒนาบุคคลากร 1.หลักสูตรอบรมต้องเพิ่มมุมมองของผู้จะโตเป็นผู้บริหาร 2.ถ่ายปัจจัยขับเคลื่อน กฟผ.สู่ Competency 3.เพิ่มระบบ Coaching 4.พัฒนาทุนมนุษย์ให้ดี มีคุณภาพเพื่อองค์กรยั่งยืน คุณสมบัติผู้บริหาร กฟผ. 1.สามารถสร้างความเข้าใจกับผู้มีส่วนได้เสียเป็นอย่างดี 2.มีมุมมองธุรกิจ 3.เป็นผู้มีบารมี เป็นที่ยอมรับทุกฝ่าย

วันที่ 15 พฤษภาคม 2555 หัวข้อ ผู้นำ-วัฒนธรรมองค์กร-การบริหารการเปลี่ยนแปลง โดยอาจารย์ประกาย ชลหาญ อาจารย์ได้กล่าวถึงคนจะอยู่ได้เพราะผลงานโดยผลงานจะออกมาเพราะมี Competency และ Motivation ซึ่งการจะได้ผลงานที่ดีเราต้องเป็นหัวหน้าที่ดี ที่มีลักษณะคือต้องรู้จักตั้งคำถาม อย่าถึกเอาเอง ต้องหาข้อมูล ให้เวลากับลูกน้องเพื่อนร่วมงาน สำหรับคุณสมบัติการเป็นผู้นำที่ดีได้แก่ 1.หาแนวทางให้ลูกน้องเดิน 2.สร้างความเชื่อมโยงให้เดินไปแนวทางเดียวกัน 3.รู้จักกระจายอำนาจ 4.เป็นตัวอย่างที่ดี การบริหารการเปลี่ยนแปลง ต้องเปลี่ยนตัวเองก่อนถูกบังคับให้เปลี่ยน สามารถคาดเดาว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องต่างๆ ซึ่งการคาดการณ์ได้ดีจะบริหารการเปลี่ยนแปลงได้ดีด้วย โดยการเปลี่ยนแปลงสามารถมาจากปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายใน การเปลี่ยนแปลงมี 2 แบบ 1.Top Down 2.Bottom Up อะไรสำคัญที่สุดการเปลี่ยนแปลง 1.ต้องยอมรับความซับซ้อนขององค์กร ที่มีคนมาก 2.องค์กรสมัยนี้ไม่ได้ผลักดันโดยโครงสร้างแต่ผลักดันโดยขบวนการเพราะช่วยเรื่องคุณภาพ 3.การเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่งมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอื่นๆตามมา 4.เชื่อมโยงให้สอดคล้องกับนโยบายองค์กร 5.ต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงและใช้ประโยชน์ 6.ยอมรับผู้นำว่าเป็นมืออาชีพ เครื่องมือที่ใช้จัดการการเปลี่ยนแปลง 1.ต้องมีคนนำการเปลี่ยนแปลง 2.ต้องสร้างความรู้สึกร่วมให้ได้ 3.สร้าง Vision ให้คนมองเห็น โดยพูดให้เชื่อและยอมรับ 4.ผลักดันให้เกิดความต้องการร่วมกัน 5.ต้องเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน 6.มีการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

สรุปการอบรมระหว่างวันที่ 15-18 พค.2555 วันที่ 15 พค.2555

ประสบการณ์เรียนรู้ EADPในรุ่นที่2 ของข้าพเจ้ากับการปรับใช้เพื่อบริหารกฟผ.ในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลง โดย ผู้ว่าการสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์

การเป็นผู้นำต้องการความรู้ด้านกว้างมากขึ้น และยิ่งตำแหน่งบริหารสูงขึ้น ศาสตร์ที่ต้องใช้ในการตัดสินใจก็มากขึ้น กว้างยิ่งขึ้น พวกเราจึงต้องพัฒนาตนเองให้พร้อมอยู่ตลอดเวลา เมื่อถึงเวลาถูกมอบหมายให้ทำหน้าที่ในระดับสูง ถึงตอนนั้นต้องพร้อมเพราะจะมีภาระหน้าที่มากมาย ไม่มีเวลาให้เตรียมตัวได้อีก กฟผ.มีจุดแข็งที่บุคคลากรมีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้านสูง แต่ก็เป็นจุดอ่อนในตัวเองที่ขาดความรู้ด้านกว้าง การพัฒนาคน (HR) จึงต้องปรับปรุง ประเมินบุคคลให้เห็น Gap ของตัวเอง และจัดหลักสูตรพัฒนาคนเพื่อปิด Gap นั้น มีระบบ Coaching และมีการ Rotate คนเพื่อทำงานหลากหลายด้านเพื่อพัฒนาคนให้พร้อม ผู้นำ ไม่ใช่คนที่เก่งที่สุด แต่ต้อง Smart คิดถึงส่วนรวม มีจิตใจที่ดี เป็นศูนย์รวมจิตใจของผู้คน มีความอดทน สามารถสร้างการยอมรับ มีบารมี พูดแล้วคนเชื่อ คำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย

ผู้นำ – วัฒนธรรมองค์กร - การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Leadership in Changing World) โดย อาจารย์ประกาย ชลหาญ

คนมีความสำคัญกับองค์กร เพราะผลงาน(Performance) ผลงานมาจากความสามารถเชิงสมรรถนะ (Competency) และแรงจูงใจ (Motivation) ผู้นำที่ดีจะต้อง 1. Path Finder กำหนดนโยบาย/เป้าหมายให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติ 2. Alignment สร้างทิศทางให้กับคนในองค์กร 3. Empowerment ต้องมีการมอบอำนาจ กระจายอำนาจให้กับลูกน้อง 4. Role model เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูกน้อง การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management) สิ่งสำคํญที่ควรคำนึงถึงในการการบริหารการเปลี่ยนแปลง 1. ยอมรับความซับซ้อน และคนซับซ้อนกว่าเครื่องจักร 2. องค์กรถูกผลักดันจากกระบวนการมากกว่าโครงสร้าง 3. เข้าใจความแตกต่างระหว่างการเปลี่ยนแปลงแรกกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดผลจากการเปลี่ยนแปลงแรก 4. ต้องเกิดความคิดรวบยอดของนโยบายกับยุทธศาสตร์ 5. ยอมรับกับสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และใช้มันให้เป็นประโยชน์ 6. ยอมรับการนำของผู้นำ กระบวนการบริหารความเปลี่ยนแปลง (Change Acceleration Process : CAP) 1.ต้องมีผู้นำการเปลี่ยนแปลง 2.ช่วงระหว่างการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วยระยะเวลา 3 ช่วง ช่วงแรกเป็นสถานภาพก่อนการเปลี่ยนแปลง ช่วงต่อมาเป็นช่วงระหว่างการเปลี่ยนแปลง และช่วงสุดท้ายเป็นสถานภาพที่เปลี่ยนแปลงแล้ว โดยระหว่างนี้มีสิ่งที่ต้องดำเนินการตามลำดับดังนี้ 2.1 สร้างความต้องการร่วมกันที่อยากจะเปลี่ยนแปลง 2.2 สร้างความเข้าใจและความเชื่อให้ทุกคนเห็นร่วมกัน 2.3 สร้างความต้องการ(เปลี่ยนแปลง)ร่วมกันให้ได้ 2.4 รักษาการเปลี่ยนแปลงนั้นให้ยั่งยืน 2.5 มีกระบวนการติดตาม 3. เมื่อการเปลี่ยนแปลงเสร็จสิ้นแล้ว ต้องเปลี่ยนระบบและโครงสร้างให้สอดรับกับสถานภาพที่เปลี่ยนแปลงแล้ว

พลังงานกับเศรษฐกิจไทย บรรยายโดย ศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์

โลกทุกวันนี้มีปัญหาพลังงาน เห็นได้จากมีการบริโภคน้ำมันมากขึ้นในขณะที่มีการค้นพบใหม่ๆน้อยลง ทำให้มีราคาสูงขึ้นมาโดยลำดับและเป็นไปอย่างก้าวกระโดด พลังงานใหม่ที่โลกให้ความสนใจคือพลังงานสะอาดซึ่งส่งผลกระทบต่อโลกน้อยลงก็ยังมีราคาแพงและมีข้อจำกัดในการจัดหาอยู่มาก สำหรับประเทศไทย เราใช้พลังงานมากกว่าที่เรามี พลังงานจึงไม่เพียงพอต้องพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ ทั้งน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ รวมทั้งพลังงานไฟฟ้าที่ส่วนหนึ่งต้องซื้อมาจากต่างประเทศด้วย ไทยจึงมีปัญหาในแง่น้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศมีราคาแพงขึ้นอย่างมาก แต่นโยบายภาครัฐมีการใช้กลไกต่างๆให้ราคาขายปลีกต่ำ ทำให้การใช้น้ำมันและก๊าซไม่มีประสิทธิภาพและไม่เป็นไปตามสภาพความเป็นจริง ในอีกด้านหนึ่งความต้องการใช้ไฟฟ้าของไทยสูงขึ้นมาโดยตลอด แต่ไม่มีใครยอมรับให้มีโรงไฟฟ้าใกล้บ้านตัวเอง จึงต้องพึ่งพาพลังงานไฟฟ้าจากต่างประเทศ จะใช้เชื้อเพลิงถ่านหินหรือนิวเคลียร์ที่มีราคาต่ำก็ถูกต่อต้านไม่ได้รับการยอมรับ การใช้เชื้อเพลิงประเภทชีวมวลก็มีต้นทุนสูงและมีปริมาณจำกัดหรือพลังงานหมุนเวียนก็ยังมีราคาแพงมาก แม้จะมีแนวโน้มลดลงโดยลำดับ แต่ก็ยังใช้เวลาอีกนาน จึงต้องมีมาตรการส่งเสริมโดยให้มีกองทุนอนุรักษ์พลังงานเพื่อให้โรงไฟฟ้าประเภทชีวมวลและพลังงานหมุนเวียนสามารถเกิดขึ้นได้ รวมถึงส่งเสริมหรือให้สิทธิประโยชน์ในการประหยัดไฟฟ้า จัดให้มีโครงสร้างราคาน้ำมันที่เหมาะสม มีการเก็บภาษีมลพิษจากคาร์บอนไดออกไซด์ จัดเก็บภาษีเพื่อชดเชยต้นทุนการสร้างถนน ต้นทุนจากการจราจรแออัด ต้นทุนจากการเกิดอุบัติเหตุ จัดให้มีกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อการอุดหนุนกันระหว่างผลิตภัณฑ์น้ำมันต่างๆ เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคาขายปลีก ในกรณีที่น้ำมันโลกผันผวนมากๆ จัดการให้ราคาขายปลีกของผลิตภัณฑ์น้ำมันต่างๆให้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญเช่น ราคาเบนซิน 91 ควรสูงกว่าราคาแก๊สโซฮอล์ 91 ไม่น้อยกว่าลิตรละ 5-6 บาท ราคาเบนซิน 91 ควรสูงกว่าราคาแก๊สโซฮอล์ 95 ไม่น้อยกว่าลิตรละ 3 บาท ราคาแก๊สโซฮอล์ 95 ควรสูงกว่าราคาแก๊สโซฮอล์ 91 ประมาณลิตรละ 2-3 บาท เป็นต้น สำหรับการชดเชยราคาก๊าซหุงต้ม ควรชดเชยให้เฉพาะครัวเรือนที่ยากจนเพื่อให้ผู้มีรายได้น้อยได้รับประโยชน์จริงๆ โดยอาจให้ใช้ระบบคูปอง แจกคูปองให้ครัวเรือนยากจนในการแลกซื้อ LPG บรรจุถังในราคาที่ถูกกว่าราคาตลาด

วันที่ 16 พค. 55

ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่น ต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคตของ กฟผ. โดย ศ.ดร. ปณิธาน ลักคุนะประสิทธิ์ และ ดร.กมล ตรรกบุตร

แผ่นดินไหวยังเป็นศาสตร์ที่ไม่สามารถทำนายการเกิดขึ้นในเวลาที่แม่นยำได้ บอกได้เพียงว่ามีโอกาสเกิดขึ้นแต่ช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงมากขึ้นและถี่ขึ้น การเกิดสึนามิที่ประเทศญี่ปุ่นมีผลกระทบต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เกิดมีสิ่งปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีรั่วไหลออกมา ทำให้ทั่วโลกเกิดความหวั่นวิตกต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ซึ่งเรื่องนี้ส่งผลต่อโครงการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย และต้องพิจารณาเลื่อนกำหนดออกไปอีก โดยขณะนี้แผนงานโครงการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เร็วที่สุดกำหนดไว้ในปี 2026 ซึ่งเรื่องนี้จะส่งผลกระทบทำให้ไทยล้าหลังประเทศเพื่อนบ้านเช่น เวียดนาม, อินโดนีเชีย ที่ไม่มีนโยบายชลอการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และอาจทำให้ประเทศไทยเผชิญสภาวะไฟฟ้าไม่เพียงพอจนอาจต้องดับไฟฟ้าเป็น Zone ในอนาคต

ทิศทางพลังงานกับการทำงานของ กฟผ.โดย อดีตผู้ว่าการ ไกรสีห์ กรรณสูต และรองผู้ว่าการบริหาร วิรัช กาญจนพิบูล

อดีตผู้ว่าการ ไกรสีห์ กรรณสูต : ในอดีต กฟผ.ดำเนินการเองทั้งหมด ตั้งแต่งานวางแผน งานก่อสร้างโรงไฟฟ้า สายส่งไฟฟ้า งานผลิตไฟฟ้า งานควบคุมระบบไฟฟ้า งานบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า สายส่งไฟฟ้า แต่ในปัจจุบันโครงสร้างอุตสาหกรรมไฟฟ้าได้เปลี่ยนแปลงไป โรงไฟฟ้าก็มีเอกชนเข้ามาเป็นเจ้าของ และมากขึ้นถึง 50% ของโรงไฟฟ้าทั้งประเทศ มีกระทรวงพลังงานที่เข้ามามีบทบาทในการให้นโยบายมากขึ้น มี Regulator มากำกับดูแล โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนของเอกชนก็เข้ามามีบทบาทมากขึ้น กฟผ.จึงกำลังมีบทบาทน้อยลง มีส่วนแบ่งการผลิตไฟฟ้าน้อยลงมาตามลำดับ การสร้างโรงไฟฟ้าชุมชนก็ต่อต้าน ดังนั้น กฟผ.จะต้องคิดว่าจะทำอย่างไรให้คนไว้วางใจ กฟผ. เชื่อว่ากฟผ.จะทำให้วิถีชีวิตของชุมชนดีขึ้น เชื่อว่าโรงไฟฟ้าของ กฟผ.จะไม่ทำลายวิถีชีวิตของชุมชน รองผู้ว่าการบริหาร วิรัช กาญจนพิบูล : ความต้องการไฟฟ้าของประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นมาโดยตลอด ในขณะที่แหล่งพลังงานในประเทศกำลังหมดไป การสร้างโรงไฟฟ้าไม่สามารถทำได้เพราะถูกชุมชนและ NGO ต่อต้าน ไม่ยอมรับ จึงน่าเป็นห่วงว่าประเทศกำลังก้าวไปสู่ภาวะการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า ในทางหนึ่งจึงควรมุ่งเน้นด้าน Demand Side Management ด้วย อย่างไรก็ตามหากโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศยังเป็นอุตสาหกรรมอยู่ ประเทศก็จะมีปัญหาการขาดแคลนพลังงานและความสามารถในการแข่งขันลดลง สำหรับภารกิจการสร้างโรงไฟ้าของ กฟผ.ที่ถูกคัดค้าน ต่อต้านอย่างมาก โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าถ่านหิน จะถูก NGO นำเรื่องโรงไฟฟ้าแม่เมาะมาโจมตี ทั้งที่ความจริงแล้วอากาศที่แม่เมาะดีกว่าในกรุงเทพฯ ทุกแห่ง แต่ทุกครั้งที่โจมตีเรื่องก็จะกล่าวถึงโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เราจึงต้องบริหารความจริงและทำให้เกิดความเชื่อ เพราะความจริงคือเทคโนโลยีสะอาดแล้วแต่คนไม่เชื่อ กฟผ.จึงต้องแสดงให้สังคมเห็นและเชื่อว่า กฟผ.มีความรับผิดชอบ จะสร้างโรงไฟฟ้าโดยดำเนินการไม่ให้เกิดผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชุมชน

Trendy Technology and Social Medias for EGAT Executive โดย ดร.วิรัช ศรเลิศล้ำวาณิช

IT Technology ปัจจุบันความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง สำหรับประเทศไทย วสท.ได้พัฒนาในหลายเรื่องเช่นระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ LINUXได้พัฒนา Version สำหรับประเทศไทย เป็นต้น และได้ให้ข้อคิดเรื่องการบริหารที่น่าสนใจเช่นการให้การทำงานกลุ่มมี Leadership ร่วมกัน การส่งเสริมสนับสนุนให้พนักงานเสนอโครงการเอง โดยในการพัฒนาต้องคำนึงถึง 3 เรื่องคือ Vision, Mission และPassion และควรให้มีการบริหารแบบ Bottom-up บ้าง

วันที่ 17 พค.2555

High Performance Organization ที่ กฟผ. ร่วมอภิปรายโดย ดร.สมโภชน์ นพคุณ คุณสมชาย ไตรรัตนภิรมย์ (รองกรรมการผู้จัดการบริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด) ดำเนินรายการโดย ดร.วีรชัย กู้ประเสริฐ

หัวใจสำคัญของHigh Performance Organization (HPO) อยู่ที่คน (People) ไม่ใช่กระบวนการ (Process) ดังนั้นการบริหารคนจึงมีความสำคัญอย่างมาก และองค์กรชั้นนำจะเป็น HPOได้ จะต้องทำให้พนักงานทุกระดับรู้และมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน HPOs จะไม่พัฒนา ถ้ากฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ เป็นอุปสรรค เช่นหน่วยงานราชการหรือองค์กรของรัฐ การจะพัฒนาให้เป็น HPO จะต้องจัดการสามส่วนคือ Man, Money, Material โดยการพัฒนาคนนั้นจะต้องมี 4 องค์ประกอบคือ 1. พัฒนาสติปัญญา 2. พัฒนาวุฒิภาวะทางอารมณ์เพื่อทำงานร่วมกับคนอื่นได้ 3. พัฒนาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง 4. พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ความสำเร็จของ HPOs คือเรื่องของคน ต้องเข้าใจความเป็น Intangible และ Invisibleสามารถนำเอาความรู้ที่คนอื่นเรียนรู้ไปก่อนแล้วมาต่อยอดใช้ประโยชน์ได้ จะต้องใฝ่รู้ แสวงหาความรู้ แลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้และประสบการณ์กัน องค์กรที่เป็น HPO จะต้องสร้างวัฒนธรรม สร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ มี KM/LO มีการทำงานเป็นทีม มีรูปแบบของ Team Base Performanceเน้น Heart มากกว่า Scienceหัวหน้าต้องสื่อกับลูกน้องได้อย่างชัดเจน การใช้ตัวชี้วัด (KPI) ต้องใช้อย่างเข้าใจ KPI ที่ดีต้องทำให้คนทำงานไปสู่เป้าหมาย ตัวชี้วัดไม่ควรมาก ต้องใช้หลัก 20/80 คือต้องหาให้ได้ว่า ส่วนของ 20 ที่จะวัดมีอิทธิพลต่อส่วนที่เหลือได้ นอกจากนี้ต้องตระหนักว่า KPI กำหนดเพื่อให้คนทั่วไปทำงาน แต่ต้องไม่เป็นอุปสรรคกับคนเก่งที่ทำงานดีกว่าที่ได้่กำหนดไว้ในตัวชี้วัด

นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน (Social Innovation) กับการทำงานของ กฟผ. ร่วมอภิปรายโดย ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ ดร.เสรี พงศ์พิศ คุณธวัช วัจนะพรสิทธิ์ รองผู้ว่าการกิจการสังคมและสิ่งแวดล้อม ดำเนินรายการโดยศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ : กฟผ.เติบโตมาตามลำดับ แต่ประชาชนก็เปลี่ยนแปลงและเติบโตด้วยเช่นกัน สังคมจึงเปลี่ยนไป เรื่องของสิ่งแวดล้อมก็เปลี่ยนไป ดังนั้น กฟผ.จึงต้องศึกษา เรียนรู้ที่จะเปลี่ยนแปลง จึงจะก้าวเดินไปกับประชาชนได้ กฟผ.ต้องเป็นเพื่อนกับชุมชน ต้องทำเรื่องธรรมดาให้เป็นเรื่องพิเศษได้ ทำงานบนพื้นฐานของความไม่พร้อม ยึดหลักที่ว่า อยู่ที่ไหนก็เรียนรู้ได้ อยู่ที่ไหนก็ทำดีได้ และครูบาได้เน้นว่าคนเรามีหน้าที่ 2 อย่าง 1 คือหน้าที่การงาน 2 คือหน้าที่ดูแลสังคม หน้าที่ทั้งสองอย่างล้วนสำคัญต้องไม่ลืมที่จะทำ นอกจากนี้ครูบาได้ย้ำว่า IT สำคัญมาก ต้องใช้ประโยชน์จาก IT ให้เป็น IT สื่อสารข้อมูลถึงคนจำนวนมากได้ภายในเวลาที่รวดเร็ว สามารถทำให้ประชาชนเห็นความสำคัญของไฟฟ้าได้ ดร.เสรี พงศ์พิศ : รูปแบบการศึกษาของไทยมีลักษณะที่เป็นการสอน ไม่ใช่การเรียนรู้ คนไทยจึงขาดการเรียนรู้ คนที่แก้ปัญหาได้ เพราะเป็นคนที่เรียนรู้ ชุมชนเข้มแข็ง เพราะเป็นชุมชนที่เรียนรู้ ดังนั้น คนไทย ชุมชนไทยหลายส่วนจึงมีปัญหาและอ่อนแอ เนื่องจากขาดการเรียนรู้ นอกจากนี้การศึกษาในปัจจุบันแปลกแยกจากชีวิตจริง ทำให้ผู้เรียนใช้ประโยชน์จากการเรียนได้น้อย ทุกวันนี้เรื่องสำคัญในโลกมี 2 เรื่องคือ อาหารและพลังงาน เศรษฐกิจไทยพึ่งพาการเกษตร ดังนั้นชุมชนเกษตรจะเข้มแข็งได้ต้องเลือกได้ว่าจะปลูกอะไร เลี้ยงอะไร จะแปรรูปอย่างไร และรอที่จะขายได้ จึงจะต่อรองได้ ส่วนทุนทางสังคมนั้นต้องประกอบด้วย ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีความรัก ความเข้าใจกัน รองผู้ว่าการกิจการสังคมและสิ่งแวดล้อม ธวัช วัจนะพรสิทธิ์ : กฟผ.เป็นองค์กรที่มีอายุมา 40 กว่าปีแล้ว ผ่านมาแล้ว 2 ยุค ยุคแรกเป็นยุคแห่งการเฟื่องฟู สังคมเปลี่ยนจากการเกษตรไปสู่สังคมอุตสาหกรรม ความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง กฟผ.จึงเป็นฮีโร่ ช่วยสร้างประเทศ สนองนโยบายรัฐ ทำให้ประชาชนมีความสุขมีไฟฟ้าใช้ ยุคต่อมาเข้าสู่ยุคถดถอย กฟผ.ไม่ใช่พระเอกอีกต่อไป ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพมากขึ้น ต้องการการมีส่วนร่วมมากขึ้น แต่ กฟผ.ยังปรับตัวตามไม่ทัน คน กฟผ.ส่วนใหญ่เป็นคนด้านวิศวกรรม จึงขาด Competency ในด้านการทำความเข้าใจกับสังคม คน กฟผ.จึงต้องปรับตัวเองจาก Engineering Base เป็น Social Base กฟผ.จะต้องแก้ปัญหา 2 เรื่องใหญ่ๆ คือ ปัญหาการได้รับการยอมรับให้สร้างโรงไฟฟ้า ปัญหาการได้รับสิทธิในเขตเดินสายส่งไฟฟ้า กฟผ.ต้องปรับวิธีการเข้าหาประชาชนแบบ one way ให้แบบยัดเยียด เป็นการเข้าประชาชนแบบเพื่อนทีพึ่งพากัน

การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และเทคนิคการตัดสินใจของผู้บริหารมืออาชีพ โดย รศ.สุขุม นวลสกุล

ความขัดแย้งคือความที่คิดหรือต้องการไม่เหมือนกัน ไม่ตรงกัน เป็นอุปสรรคขัดขวางกัน ความขัดแย้งไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องไม่ดีทั้งหมด ถ้าขัดแย้งในเรื่องส่วนรวม ถือว่าเป็นเรื่องดีที่จะได้ถกกัน อภิปรายกัน ได้มุมมองที่รอบด้าน แต่ถ้าขัดแย้งในเรื่องส่วนตัว ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องไม่ดี การบริหารความขัดแย้งคือ การทำให้การดำเนินการไปในทางที่ดี ความขัดแย้งในการบริหาร แบ่งเป็น 3 ประเภท 1. บุคคลกับบุคคล ต้องต้องใช้หลักกันดีกว่าแก้ ระวังไม่ให้เกิดความขัดแย้งระหว่างบุคคล 2. บุคคลกับองค์การ ส่วนใหญ่เกิดจากบุคคลไม่เห็นด้วยกับนโยบายขององค์การ อาจเป็นเพราะไม่เข้าใจหรือขาดการอธิบาย 3.หน่วยงานกับหน่วยงาน สาเหตุมาจากความไม่เข้าใจบทบาทว่าเมื่อใดเป็นตัวแทนขององค์การ เมื่อใดเป็นตัวแทนของพนักงาน หรือหลงหน่วยงาน เข้าใจว่าหน่วยงานของตนดี วิเศษกว่าหน่วยงานอื่น การตัดสินใจ นักบริหารต้องตัดสินใจเร็ว จะตัดสินใจเร็วได้ต้องแม่นกฎระเบียบ ลดความเกรงใจ กล้าปฏิเสธ ไม่โอ้อวด องค์ประกอบการตัดสินใจ 1. ข้อมูล นักบริหารต้องมีบุคลิกที่ผู้อื่นกล้าที่จะให้ข้อมูล 2. ประสบการณ์ นักบริหารที่มีประสบการณ์ดี จะตัดสินใจได้ดี 3. การคาดการณ์ เมื่อตัดสินใจแล้วต้องคาดการณ์ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น คิดถึงคำอธิบายที่เหมาะสม ยืนยันการตัดสินใจนั้น ไม่โลเล เปลี่ยนการตัดสินใจกลับไปกลับมา 4. ผลกระทบ 5. สถานการณ์ การวิเคราะห์การตัดสินใจ ต้องพิจารณา 3 เรื่อง 1. ต้องถูกต้อง 2. ต้องถูกใจคน 3. ต้องถูกจังหวะ ถ้าเรื่องที่ตัดสินใจเป็นเรื่องที่ถูกต้องและถูกใจคน ไม่ต้องรอจังหวะ สามารถทำได้ทันที แต่ถ้าเรื่องไหนเป็นเรื่องที่ไม่ถูกใจคน ต้องทำให้ถูกจังหวะ เมื่อเป็นผู้บริหารระดับสูงมากขึ้นเท่าใด ก็ต้องตัดสินใจบนความไม่ถนัดของเรามากขึ้น ดังนั้นนักบริหารที่เก่งต้องรู้ว่าเรื่องไหนควรปรึกษาหรือขอความรู้ได้จากใคร นักบริหารต้องอย่าตายเพราะความถูกต้อง ถ้าตายเพราะความถูกต้องเขาเรียกว่านักอุดมการณ์ นักบริหารต้องอยู่เพื่อทำความถูกต้อง

วันที่ 18 พค.2555 HR for Non–HR และทุนมนุษย์ของ กฟผ.รองรับประชาคมอาเซียน โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ในอดีต HR มีโครงสร้างแบบ Silo มี Function ชัดเจน ซึ่งสามารถทำงานได้ดี แต่ในปัจจุบันระบบนี้ไม่เพียงพอ จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อให้มีผลประกอบการ (Performance) และความสุข (Happiness) เพิ่มขึ้น โดยต้องให้ Non-HR หรือ Line Manager ร่วมมีบทบาทใน HR มากขึ้น HR ต้องเปลี่ยนบทบาทให้เป็น Smart HR ต้องทำให้ CEO ให้ความสนใจเรื่อง HR รวมถึงต้องดึงStakeholders อื่น ๆ เช่น NGOs นักวิชาการ หรือชุมชนเข้ามาช่วยด้วย เรื่องสำคัญในตอนนี้ กฟผ.จะต้องเข้ากับชุมชนให้ได้ กฟผ.ต้องเปลี่ยนให้เป็น Social Enterprise ให้ได้

บทบาทของ Regulator และ Energy Tax กับการทำงานของ กฟผ. โดย ศ.ดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน

พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 มีเหตุผลในการประกาศใช้คือ 1. ต้องการแยกการกำกับดูแล งานนโยบาย และการประกอบกิจการพลังงาน ออกจากกัน เพื่อให้โปร่งใส ตรวจสอบได้ 2. เพื่อเปิดโอกาสให้ภาคเอกชน ชุมชน และประชาชนมีส่วนร่วมและมีบทบาทมากขึ้น 3. เพื่อให้การประกอบกิจการพลังงาน มีประสิทธิภาพ มีความมั่นคง เพียงพอและทั่วถึง มีคุณภาพได้มาตรฐาน และตอบสนองความต้องการภายในประเทศ เอื้อต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ในด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม วิสัยทัศน์และพันธกิจ ต้อง Benchmark กับองค์กรอื่นได้ และต้องทำให้เป็นที่รู้จักในระดับอาเซียน ค่านิยม TRUST มาจาก T = Trust ความเชื่อมั่น R= Realiability and Consistency ความน่าเชื่อถือ และเที่ยงธรรม U= Unity ความเป็นเอกภาพ S= Social Accountability ความเชื่อมั่นของสังคม T= Transparency and Independence อิสระและโปร่งใส การจัดตั้งกองทุนพัฒนาไฟฟ้า มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นทุนสนับสนุนให้มีการให้บริการไฟฟ้าไปยังท้องที่ต่างๆอย่างทั่วถึง และเพื่อกระจายความเจริญไปยังพื้นที่ต่างๆ Regulator กับการทำงานของ กฟผ. 1. การผลิตไฟฟ้าให้พอเพียงกับความต้องการไฟฟ้า 2. การผลิตไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ 3. การรับซื้อไฟฟ้าอย่างเป็นธรรม 4. การสั่งจ่ายการผลิตไฟฟ้าที่โปร่งใสและเป็นธรรม 5. การจำหน่ายไฟฟ้าให้กับระบบจำหน่ายมีความมั่นคง ปลอดภัย และมีมาตรฐานการบริการที่ดี 6. การเชื่อมต่อระบบโครงข่ายพลังงาน ตามข้อกำหนดที่เป็นไปตามหลักการของพระราชบัญญัติฯ 7. การจัดทำแผน PDP แผนการลงทุน แผนการขยายโครงข่ายไฟฟ้า 8. การรายงานข้อมูลที่จำเป็นต่อการกำกับดูแลของ Regulator 9. การนำส่งเงินเข้ากองทุนพัฒนาไฟฟ้า 10. ความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR)

วันที่ 15พฤษภาคม 2555

ผวก.กฟผ.คุณสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ได้กล่าวถึงปัญหาของ กฟผ.ที่กำลังเผชิญอยู่คือ 

1.ปัญหาบุคลากร - เกิดการขาดช่วง เนื่องจากการจำกัดการรับคนใหม่เข้าทำงาน ในช่วง 10 ปีกว่ามานี้ -โครงสร้างองค์กรที่ทำให้การพัฒนาผู้บริหารไม่ครบเครื่อง การแก้ปัญหาปัจจุบันได้เริ่มรับคนใหม่และจัด ให้มีProgram พัฒนาบุคลากร 2.ปัญหาการถูกต่อต้านจากการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ ผวก. ฝากให้ผู้บริหารคำนึงถึงเรื่อง

- ต้องเป็นคนมีจิตใจดีคิดถึงคนอื่น
- สร้างความสัมพันธ์ทั้งภายใน ภายนอก “เปิดตัว, ไม่ปิดตัว”  “เรายิ่งให้ เรายิ่งได้”
- อย่าทำงานคนเดียว ต้องทำเป็นทีม

ตามที่ผู้ว่าการกฟผ.ได้กล่าวในห้องวันนี้ผมเห็นว่าน่าจะนำออกไปเผยแพร่ให้ทุกคนในองค์กรได้รับทราบ

อ.ประกาย ชลหาญ ในหัวข้อ ผู้นำ-วัฒนธรรมองค์กร–การบริหารการเปลี่ยนแปลง อ.ประกายได้กล่าวถึง ความสำเร็จหรือผลงาน (Performance) ของคนเราเกิดจากผลของ 2 สิ่งคือ

1. Motivation
2. Competency

บทบาทของผู้นำมี 4 ข้อที่สำคัญที่จะทำให้เกิดHPO

1.Path Finder
2. สร้าง Alignment
3. Empowerment 
4. Role model
การบริหารการเปลี่ยนแปลง เป็นบทบาทที่สำคัญของผู้นำ กระบวนการเปลี่ยนแปลง จะเกิดได้ต้องมี Leading Change โดยผู้นำและต้องมี Changing System & Structures แต่อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงต้องทำให้เกิด Performance ดังตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงของ GE ได้แบ่งออกเป็น 3ช่วงคือ 
         1. Current State
           2.Transition State
           3. Improved State

 ศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์  ได้บรรยายเรื่องเศรษฐศาสตร์พลังงาน ซึ่งปัญหาด้านพลังงานเป็นปัญหาของทั่วโลก สำหรับประเทศไทย นโยบายด้านพลังงานยังไม่ชัดเจน ยังคงถูกฝ่ายการเมืองนำไปใช้ในเรื่องประชานิยม นโยบายของรัฐเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้ายังคงต้องเปลี่ยนไปตามกระแสสังคม ซึ่งอ.พรายพลคาดว่าต่อไปคงยังต้องใช้แก๊สผลิตกระแสไฟฟ้าต่อไป และสัดส่วนการใช้แก๊สอาจสูงถึง 80 %

วันที่ 16 พฤษภาคม 2555 ช่วงเช้า

ดร.กมล ตรรกบุตร , ศ.ดร.ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์ ในหัวข้อผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ ในอนาคตของ กฟผ.
ดร.กมล ตรรกบุตร กล่าวถึง ผลกระทบที่เกิดจากแผ่นดินไหวและเกิดปัญหากับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ที่ญี่ปุ่นทำให้สังคมไทยเกิดความวิตกกังวล ส่งผลให้รัฐบาลไทยเลื่อนแผนการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ออกไป ซึ่งแผนก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของไทย ถูกเลื่อนมาหลายครั้งแล้วเป็นเวลารวมเกินกว่า30 ปี สิ่งที่จะต้องตามมาในอนาคตสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าคือ ราคาไฟฟ้าต้องสูงขึ้นตามราคาเชื่อเพลิงที่ใช้อย่างแน่นอน และผู้ใช้ไฟฟ้าต้องเป็นผู้แบกรับ การหวังพึ่งพาพลังงานไฟฟ้าจากเพื่อนบ้านเป็นความเสี่ยงด้านความมั่นคงทางพลังงาน
ศ.ดร.ปณิธาน กล่าวถึงประเทศไทยแม้จะตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวไม่รุนแรง (คาดว่าสูงสุด  ≈  6 ริกเตอร์ ) แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จะไม่เกิดความเสียหายต่อสิ่งปลูกสร้าง หรืออุปกรณ์และยังได้ยกประเด็นปัญหาที่ยังไม่มีความชัดเจนคือ
1. การจัดการกับกากรังสีที่ใช้แล้ว รวมถึง Waste Contamination 
2. การจัดเตรียมบุคลากรสำหรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 
3. การจัดเตรียมรับมือในกรณีสภาวะฉุกเฉินจากโรงไฟฟ้าเมื่อเกิดปัญหา

วันที่ 16 พฤษภาคม 2555 ช่วงบ่าย 13.30-16.30น.

คุณไกรสีห์ กรรสูต , คุณวิรัช กาญจนพิบูลย์  พูดถึงทิศทางพลังงานกับการทำงานของ กฟผ.
คุณไกรสีห์ กล่าวถึง กฟผ.ในปัจจุบันที่ถูกกำกับโดย Regulator และต้องปฏิบัติตามนโยบายรัฐ อย่างไรก็ตาม กฟผ.จะต้องรักษาสัดส่วนกำลังผลิต 50 % ให้ได้ คนกฟผ.จะต้องพยายามสร้าง Trust ให้กับชุมชน
คุณวิรัช กล่าวถึง การคัดค้าน และต่อต้านการสร้างโรงไฟฟ้าและเห็นว่า กฟผ. ต้องสร้าง Trust ให้กับชุมชนเช่นกัน

วันที่ 16 พฤษภาคม 2555 ช่วงบ่าย 16.30-18.00 Trendy Technology and Social Medias for EGAT Executive

ด.วิรัช ศรเลิศล้ำวาณิช ได้กล่าวถึง Technology Trend and Hype Cycle ในปัจจุบันและอนาคตตามนวัตกรรม  ด้าน IT ที่มีการพัฒนาตลอดเวลา หากสามารถนำ Technology ไปใช้ในการสร้าง Social Network ให้เข้าถึงชุมชนและทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและองค์กร 
การเป็นผู้นำยุคใหม่ควรต้องมีคุณสมบัติทั้ง 2 ด้านคือ 
        1.  มีความสามารถในการเป็นผู้นำ
        2.  มีความสามารถในการผลักดันให้เกิดการสร้างนวัตกรรม

วันที่ 17 พฤษภาคม 2555 ช่วงเช้า High Performance Organization

ดร.สมโภชน์ นพคุณ, คุณสมชาย ไตรรัตน์ภิรมย์  

หัวใจของ HPO อยู่ที่คน ดร.สมโภชน์ ได้กล่าวถึงการพัฒนาคนต้องพัฒนาให้เต็มคน ต้องพัฒนาทั้ง 4 ด้าน

         1. สติปัญญา (IQ)
          2.    วุฒิทางอารมณ์ (EQ)
          3.    ร่างกายแข็งเรง (PQ)
          4.    จิตวิญญาณ (SQ)
 HPO ต้องสร้างด้วย Team Spirit คุณสมชายได้ให้ข้อสังเกตจากผลการประเมินของ บ.ทริส ในปี 2554 พบว่า คะแนนด้าน Human Resource Focus ด้านความผูกพันกับองค์กร ของ กฟผ. มีคะแนนต่ำ ≈ 40 % ซึ่งต้องนำไปพิจารณาว่าเกิดอะไรขึ้นและจะปรับปรุงแก้ไขอย่างไร อย่างไรก็ตามHPO จะเกิดขึ้นได้ก็ย่อมขึ้นอยู่กับ ผู้นำ

วันที่ 17 พฤษภาคม 2555 ช่วงบ่าย 13.30 น นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชนโดย ดร.เสรี พงศ์พิศ, ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ คุณธวัช วัจนะพรสิทธิ์

ครูบาสุทธินันท์ ได้ให้ข้อคิดด้านการบริหารองค์การว่า“ทำอย่างไรจะให้คนในองค์กรปลดปล่อยความสามารถภายในออกมาและทำด้วยความเต็มใจและมีความสุข”และข้อคิด“เข้าไปนั่งในหัวใจเคลียร์ได้ทุกปัญหา” อีกส่วนหนึ่งที่ผมเห็นว่าสำคัญและถูกใจมากคือ “รู้จริง” (ความรู้เรียนรู้ได้จากแหล่งความรู้ต่างๆ แต่ประสบการณ์และการลงมือทำ จะทำให้ได้ตามจริง)
ดร.เสรี ได้ให้ข้อคิดที่น่าสนใจ คือ คนที่อยู่รอด คือคนที่ปรับตัวได้ดี การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และการพึ่งพาตนเองได้ จะทำให้สังคมอยู่รอด
  คำถาม บทบาทของ กฟผ. จะรับผิดชอบกับสังคมอย่างไร ʔ
   คำตอบ กฟผ.จะทำอย่างไรที่จะส่งเสริมชุมชนให้เกิดการเรียนรู้ ปัจจุบันชุมชนถูกระบบเศรษฐกิจ, สังคม, การเมืองครอบงำอยู่ เมื่อคนมีความรู้ จะปกครองง่าย แต่ครอบงำ กดขี่ ข่มเหงไม่ได้ ในส่วนของ กฟผ. ปัจจุบันยังขาด Competency ด้านสังคม กฟผ.จะต้องปรับเปลี่ยน เพื่อทำให้ชุมชนเข้าใจ และยอมรับ กฟผ. และต้องสร้างความแตกต่างของชุมชนรอบโรงไฟฟ้าให้เห็นชัดเจน ทำให้เห็นว่ากฟผ. ไม่ได้ต้องการแค่สร้างโรงไฟฟ้า รวมทั้ง กฟผ.ต้องปรับเปลี่ยนตัวเองเป็น Social enterprise   

วันที่ 17 พฤษภาคม 2555 ช่วงบ่าย 17.00 น การบริหารความขัดแย้ง, การเจรจาต่อรองและเทคนิคการตัดสินใจของผู้บริหารมืออาชีพ โดย อ.สุขุม นวลสกุล อ.สุขุม ได้ให้ข้อคิดและยกตัวอย่าง ประกอบการบรรยายได้ชัดเจน ในเรื่องของความขัดแย้ง และการตัดสินใจ และได้เห็นความสามารถในการนำเสนอที่สร้างบรรยากาศ ให้ผู้ฟังสนใจติดตาม อย่างสนุกสนานทั้งๆ ที่ทุกคนน่าจะล้ามาทั้งวัน

วันที่ 18 พฤษภาคม 2555 เวลา 9.00 น หัวข้อ HR for NON-HR และทุนมนุษย์ของ กฟผ. รองรับประชาคมอาเชียน โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์

Work Shop ที่ร่วมกันคิดและนำเสนอในเรื่องที่เกี่ยวข้องกันของตัวละคร  3 กลุ่ม คือ CEO, HR, NON-HR ทำให้เห็นว่าการพัฒนาคนของ กฟผ.ปัจจุบันมีปัญหา จำเป็นที่ทั้ง 3 กลุ่ม จะต้องมาร่วมประสานเพื่อให้การพัฒนาคนของ กฟผ.เกิดประสิทธิ์ภาพ,ประสิทธิผลและสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร รวมทั้งHR.จะต้องปรับเปลี่ยนให้เป็นSmart HR

วันที่ 18 พฤษภาคม 2555 เวลา 13.300 น หัวข้อบทบาทของ Regulator และ Energy Tax กับการทำงานของ กฟผ. โดย ศ.ดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ ศ.ดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ ได้กล่าวถึง พรก.ประกอบกิจการพลังงาน 2550 การจัดตั้งหน่วยงาน กกพ., บทบาท อำนาจ หน้าที่ ของ กกพ. , การจัดตั้งกองทุนพัฒนาไฟฟ้า และ Regulator กับการทำงานของ กฟผ. ซึ่งเห็นว่าแต่เดิม กฟผ.สังกัดสำนักนายกดำเนินการเองทั้งหมดรวมทั้งกำกับตัวเองด้วย ปัจจุบัน กฟผ.ถูกกำกับโดย กกพ. โดยต้องปฏิบัติตาม พรก.ประกอบกิจการพลังงานรวมทั้งต้องปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลด้วย

วันที่ 15 พฤษภาคม 2555 หัวข้อ เศรษฐศาสตร์พลังงาน โดย ศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์

    ทำให้ทราบถึงปัญหาด้านพลังงานของโลกและประเทศไทย ซึ่งมีปัจจัยหลักอยู่ที่ Demand มีมากกว่า Supply เป็นผลให้ราคาเชื้อเพลิงสูงขึ้นทุกชนิด แต่เชื้อเพลิงเช่น LPG ดีเซล รัฐบาลไทยมีการเบี่ยงเบนราคาโดยใช้เงินอุดหนุนจากกองทุนน้ำมันทำให้ราคาไม่สะท้อนความเป็นจริง และขาดประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน การผลิตไฟฟ้าของไทยใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติถึง 70 % และต่อไปจะต้องมีการนำเข้าก๊าซธรรมชาติที่มีราคาสูงขึ้นเป็นผลให้ต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าสูงกว่าปัจจุบัน ประเทศไทยจะแข็งขันยากขึ้น ทางออกควรเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากการใช้ถ่านหินนำเข้าเป็นเชื้อเพลิง ส่วนการผลิตจากชีวมวล พลังงานหมุนเวียนเป็นสิ่งที่ทั่วโลกและประเทศไทยต้องการแต่มีข้อจำกัดที่มีต้นทุนสูงและวัตถุดิบมีจำนวนจำกัดแต่ในอนาคตมีแนวโน้มต้นทุนลดลง

วันที่ 16 พฤษภาคม 2555 หัวข้อ ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคต โดย ดร.กมล ตรรกบุตร และ ศ.ดร.ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์

ดร.กมล จากการเกิดแผ่นไหวขนาด 8.9 ลิกเตอร์ ที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 ทำให้เกิด Tsunami ขนาดสูงกว่า 10 เมตร ซึ่งโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟูกูชิมมา ไดอิชิ อยู่ใกล้จุดเกิดแผ่นดินไหวได้รับผลกรทบอย่างรุนแรงต้องหยุดการเดินเครื่อง โดยเหตุการณืดังกล่าวได้ส่งผลถึงการผลักดันการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในไทยต้องเลื่อนออกไป 3 ปี โดยมตื ครม.กำหนดให้ COD โรงแรกปี 2026 ทั้งที่ IAEA ให้ความเห็นชอบแล้ว และแผน PDP ฉบับใหม่จะนำเข้า LNG มาทดแทนทั้ง ถ่านหิน และนิวเคลียร์ ทำให้สัดส่วนในการใช้เชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าเปลี่ยนไปโดยจะมีต้นทุนที่สูงขึ้นกว่าแผนเดิม อีกทั้งยังต้องซื้อไฟจากประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น ซึงส่งผลต่อความมั่นคงของระบบ 

ดร.ปณิธานฯ กล่าวถึงภัยธรรมชาติที่เกิดจากแผ่นดินไหวเป็นสิ่งที่คาดการณ์ล่วงหน้าไม่ได้และเกิดขึ้นได้เหนือความคาดหมาย ซึ่งภัยธรรมชาตินำความสูญเสียมาสู่มนุษย์แต่ขณะเดียวกันก็ให้บทเรียนอันล้ำค่าในการเรียนรู้และวิจัยพัฒนาเพื่อป้องกันหรือบรรเทาภัยในอนาคต จากการประสบภัยธรรมชาติที่ผ่านมาเราควรมีมาตรการป้องกัน บรรเทาภัยพิบัติ โดยมีการเตรียมพร้อมอาคารและโครงสร้างพื้นฐาน การเตรียมพร้อมระบบเพื่อการบรรเทาภัย มาตรการด้านกฏหมายและการบังคับใช้กฏหมาย มาตรการด้าน Capacity Building มาตรการด้าน Emergency response เป็นต้น สำหรับประเทศไทยก็มีความเสี่ยงโดยเคยเกิดแผ่นดินไหวขนาดมากกว่า 5 ริกเตอร์ ดังนั้นควรมีการเตรียมการที่ดี

EADP 8 ช่วงที่ 4

สิ่งที่ได้จากการอ่านหนังสือ MOJO

MOJO คือพลังเชิงบวกต่อสิ่งที่เราทำอยู่ในเวลาปัจจุบัน ออกจากภายในตัวเราแผ่ออกสู่ภายนอกให้คนอื่นรับรู้ถึงพลังนี้ได้ องค์ประกอบของ MOJO 4 ประการ 1.Identify (ความเป็นตัวเรา) ตัวตนของเราในความคิดของเราเอง เรามองตัวเองว่าเป็นอย่างไรในปัจุบัน หากรู้สึกดีก็สามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นอีกได้ 2.Achievement (ความสำเร็จ) ตัวเราทำอะไรมาแล้วบ้าง และต้องพิจารณาดูว่าความสำเร็จนั้นต้องเป็นสิ่งที่สำคัญต่อชีวิตเราจริงๆ เราสามารถเพิ่ม MOJO ในตัวเราได้ ด้วยการเปลี่ยนระดับของความสำเร็จ ให้สูงขึ้นหรือต่ำลง ที่จะทำให้ตัวเราเองมีความสุขมากขึ้น 3.Reputation (ชื่อเสียง) คนอื่นคิดอย่างไรกับตัวเราและคิดอย่างไรกับสิ่งที่เราทำ 4.Acceptance (การยอมรับ) การยอมรับความจริง และปล่อยวางบางอย่างที่เราไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ บางครั้งการเป็นทุกข์กับอดีต การกังวลกับอนาคต การเก็บความโกรธแค้นและความรู้สึกลบในตัวเองเป็นการลด MOJO ในตัวเอง แต่ถ้าหากยอมรับความจริงและปล่อยวางก็สามาถเพิ่ม MOJO ในตัวเองได้ MOJO Paradox : ความขัดแย้งของ MOJO : ทั้งๆที่ทุกคนรู้ว่าสิ่งที่ต้องการที่สุดในชีวิต คือ ความสุข “Happiness” และการมีชีวิตที่มีความหมาย “Meaning” แต่มีปฏิกิริยาทางธรรมชาติบางอย่างที่ทำให้เราไม่ทำอย่างที่ต้องการแต่ทำทุกอย่างด้วยความเฉี่ยยชา “Inertia”และยังทำเหมือนเดิมทุกวันจนกลายเป็นวงจรความเฉื่อยชา”Cycle of inertia” ซึ่งจะมีผลต่อเรามากในอนาคต ดังนั้นเราจึงต้องเปลี่ยนเพื่อตัดวงจรนี้ โดยทำแบบสอบถามตัวเองประเมินกิจกรรมที่ทำใรเรื่อง “ความสุข” และ’ความหมาย” ประเมินทุกวัน จะทำให้มีสคิรับรู้ได้ทุกช่วงเวลาและรับรู้ได้ว่า มันควรค่าแก่การทำหรือไม่ ตัวผมเองเพิ่งรู้ว่าตัวเองว่าบ่อยอยู่เหมือนกันที่ตกอยู่ในวงจรความเฉื่อยชา ชึ่งต้องพยามตัดมันออกไป ต้องขอขอบคุณ อาจารย์ ดร.จิระ ที่ทำให้เรารู้จัก MOJO

15 พ.ค.2555 การบรรยาย ของ ท่านผู้ว่าการ สุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์

ท่านได้แนะนำว่า การเป็นผู้นำต้องเห็นในด้านกว้างเพราะศาสตร์ในการตัดสินใจกว้างขวางมากและพลาดไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องพัฒนาตนเองให้พร้อมตลอดแวลา มีต้นทุนที่เก็บเกี่ยวไว้ตลอดเวลา ต้องฝึกคิดให้ใหญ่กว่าตำแหน่งที่เป็นอยู่อย่างน้อย 1 ตำแหน่ง นอกจากนี้ยังต้องเข้าใจ NGO เข้าใจเรื่องสังคม และมีความรู้ทางด้านธุรกิจ ท่านชี้ให้เห็นว่า ปัญหา HR ใน กฟผ. มี 2 ปัญหา 1. Generation ขาดช่วง เนื่องจากมองจากภายนอกจำนวนคนต่อ MW มีจำนวนมาก เลยถูกกดอัตราเอาไว้ 2. สร้างผู้นำมาไม่ทัน เนื่องจาก กฟผ. คนจะถูกพัฒนามาตาม Function ซึ่งต่างจาก บริษัทที่สามาถดูภาพรวมได้ แม้ปัจจุบันจะมีแผนอัตรากำลัง 5 ปี ปีละ 700 คน โดยเฉลี่ย แต่ กฟผ. ไม่ใช่องค์กรที่ดีที่สุดที่คนอยากมาอยู่ และเงินเดือนก็ไม่ได้สูงสุด คนที่เข้ามาใหม่ก็จะเป็นพวกที่ชอบงานท้าทาย ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของหน่วยงาน ที่จะต้อง train และปลูกฝังอย่างไรให้เขารักที่จะทำงานกับเราอีกนาน กฟผ.จะขับเคลื่อนไปได้ต้องสร้างต้นทุน ต้นทุนนั้นคือคน กฟผ.จะพัฒนาให้ยั่งยืนได้ ก็อยู่ที่คน เพราะถ้าคนโกง คนตัดสินใจผิดพลาดก็จะทำให้องค์กรพังได้ นอกจากนี้ท่านไดย้ำอีกว่า การเป็นผู้นำไม่ต้องการเฉพาะสมองสติปัญาอย่างเดียว ต้องมีหัวใจที่จะให้ เสียสละ อดทน ไม่เสแสร้ง การสร้างบารมีต้องทำด้วยจิตใจซึ่งเป็นต้นทุนที่ได้มาโดยไม่รู้ตัว

Leadership in Changing World โดย อ.ประกาย ชลหาญ

การเป็น Leadership (ผู้นำ) จะต้องมีผลงาน (Performance)ให้กับองค์การ ซึ่งมี 2 ส่วน คือ Competency และ Motivation การเป็น Leadership ที่ดีจะต้องมีบทบาท 4 ข้อ คือ 1. กำหนดนโยบายให้กับองค์กร 2. สร้างทิศทางให้กับคนในองค์กร 3. มีการกระจายอำนาจ มอบอำนาจ ให้กับลูกน้อง และมีการติดตาม 4. เป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกน้อง นอกจากนี้หากองค์กรมี วัฒนรรมองค์ที่แข็งแรง ก็จะทำให้องค์กรก้าวย่างไปอย่างมั่นคง Change management : การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องปกติ ถ้ารู้อยู่แล้วว่าต้องเปลี่ยนแปลง ต้องเปลี่ยนตัวเองก่อนถูกบังคับให้เปลี่ยน

พลังงานกับเศรษฐกิจไทย โดย ศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์

จากที่ได้ฟังบรรยายของ ศ.ดร.พรายพล ในวันนี้สิ่งที่ได้รับความรู้จากที่ไม่เคยรู้มาก่อน ก็คือเรื่องโครงสร้างราคา น้ำมัน และก๊าซ โครงสร้าภาษี ราคาน้ำมันและก๊าซที่เหมาะสม (ตามที่อาจารย์ทำตารางคำนวนมาให้ดู) แต่มีสิ่งหนึ่งที่ไม่มีโอกาสได้สอบถามเนื่องจากเวลาไม่พอ ก็คือราคาค่าการกลั่นของทั้งน้ำมันและก๊าซมีรายละเอียดเป็นมาอย่างไรมีความเป็นธรรมกับผู้บริโภคหรือไม่ เนื่องจากในบรรยายของอาจารย์ระบุว่าถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงที่สกปรก จึงได้มีโอกาศได้ชี้แจงว่าด้วยเทคโนโลยี่ปัจจุบันสามารถทำให้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงที่สะอาดแล้ว หาก กฟผ.มีโอกาสได้สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินก็จะใช้เทคโนโลยี่นี้และที่แม่เมาะ กฟผ.ก็ได้แก้ไขปัญหาแล้ว อาจารย์ได้แย้งว่ายังมีปัญหาเรื่อง CO2 หลังจากนั้นก็มีผู้อภิปรายต่ออีกหลายท่าน ผมก็เลยไม่มีโอกาสได้ทราบว่าในความเห็นของอาจารย์เชื้อเพลิงอะไรที่เหมาะกับเศรษฐกิจไทนในอนาคต

16 พ.ค.2555 ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคตของ กฟผ. โดย ดร.กมล ตรรกบุตร และ ศ.ดร.ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์

ท่าน ดร.กมล ท่านได้บรรยให้เราได้รับทราบถึงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ประเภทต่างๆ ท่านได้เล่าถึงก่อนการเกิดเหตุการณ์ ระหว่างการเกิดเหตุการณ์ และหลังเหตุการณ์และปัจจุบัน ทีเกิดกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูจิม่า ที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดแผ่นดินไหว จนมีผลทำให้โครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั่วโลกต้องกลับมาทบทวนรวมทั้งของประเทศไทย โดยรัฐบาลนี้ให้เลื่อนไปอีก 6 ปี (โรงแรกปี 2026) ท่านได้ฝากข้อความกับเราว่า “เราสร้างโรงไฟฟ้ามาไม่ใช่เพื่อชื่นชม เราสร้างมาเพื่อใช้งาน โดยเฉพาะ กฟผ.ผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทย” ท่าน ศ.ดร.ปณิธาน ท่านได้บรรยายถึงเหตุการณ์แผ่นดินไหวต่างๆทั่วโลก ท่าได้เปรียบเทียบให้เห็นถึงขนาดความรุนแรงกับความเสียหายที่เกิดขึ้นและท่านได้เปรียบเทียบให้เห็นว่า หากอาคารมีการออกแบบไว้ดีก็จะเกิดความเสียหายที่น้อยกว่า ท่านได้ทิ้งท้ายกับเราว่า “ธรรมชาติเป็นเรื่องไม่แน่นอน เราต้องจัดการกับความไม่แน่นอนนั้น”

ทิศทางพลังงานการทำงานของ กฟผ. โดย อดีต ผู้ว่าการ ไกรสีห์ กรรณสูตร และ รวห วิรัช กาญจนพิบูลย์

ท่านอดีต ผู้ว่าการ ไกรสีห์ ท่านได้เล่าให้เราฟังว่า ในอดีต กฟผ.ขึ้นอยู่กับสำนักนายกรัฐมนตรี สามารถกำหนดนโยบาย วางแผนทุกอย่างเองหมด และผลิตไฟฟ้าแต่ผู้เดียว แต่ปัจจุบันมี Regulator กำกับดูแล รับนโยบายจากรัฐบาลผ่านกระทรวงพลังงาน มีเอกชนมาแบ่งสัดส่วนการผลิตไฟฟ้า แต่หน้าที่ของ กฟผ.ยังคงต้องผลิตไฟฟ้าให้มีคุณภาพคำนึงถึงความมั่นคงพลังงานที่จะต้องมีเพียงพอ ท่านได้มองทิศทางพลังงานในอนาคตว่า จะมีโรงไฟฟ้าขนาดเล็กมากขึ้น (พลังงานทดแทน) กฟผ.จะต้องเตรียมตัวเรื่องระบบไฟฟ้าว่าจะเอาอยู่หรือไม่ อาจต้องใช้เทคโนโลยี่ Smart grid ต้องส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยี่โรงไฟฟ้าและสายส่งจะต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ท่านมองว่าการต่อต้านโรงไฟฟ้าใหม่เกิดขึ้นมาก คนกฟผ.จะต้องสร้างความไว้วางใจให้ประชาชนยอมรับ ท่าน รวห.วิรัช ท่านชี้ให้เห็นว่าทิศทางพลังงานในอนาคต อัตราการใช้พลังงานจะเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่แหล่งพลังงานในประเทศจะหมดไป การต่อต้านโรงไฟฟ้าใหม่มีมากขึ้น ที่ผ่านมามีการถกเถียงกับ NGO ที่ปลายเหตุคือปริมาณการใช้ไฟ อาจจะต้องกลับมาพิจารณากันที่ต้นเหตุว่าจำเป็นต้องใช้ไฟหรือไม่ ท่านมองว่าที่ผ่านมา ปัญหา CSR ของ กฟผ.เกิดจากความไม่รับผิดชอบ ดังนั้นต่อไป กฟผ.จะต้องมี CSR in process คือต้องทำงานทุกขั้นตอนอย่างมีความรับผิดชอบ ท่านทิ้งท้ายไว้ว่า “ จะได้สัดส่วนการผลิตเท่าไรไม่สำคัญถ้าเราได้รับความไว้วางใจจากประชาชนเราก็สามารถส้างได้มากขึ้นเอง"

” Trendy Technology and Social Media for EGAT Executive โดย ดร.วิรัช ศรเลิศล้ำวาณิช

ดร.วิรัช ท่านได้บรรยายให้รับทราบในเรื่อง IT Technology ว่ามีทิศทางอย่างมีแนวโน้มเป็นเช่นไร มีหลายเรื่องเหมือนกันที่ท่านพูดถึงผมไม่เคยรู้จักอาจเลย คงต้องกลับมาดูอีกครั้งว่ามันคืออะไร ท่านได้ให้ความคิดของผู้นำยุคใหม่จากต้องมีวิธีการทำงานใหม่ เช่น สนับสนุนพนักงานเสนอโครงการเอง มีการให้รางวัลคนทำผิดพลาด ในด้านการพัฒนาท่านให้คำนึงถึง 3 เรื่อง คือ Vision, Mission และ Passion

เรียน พี่ ๆ EADP 8 ที่เคารพทุกท่าน

     ขอแจ้งข่าวให้ใช้ Blog นี้สำหรับกิจกรรมในวันที่ 29 - 30 พฤษภาคมนี้ได้เลยนะคะ (เดิมแจ้งว่าจะเปอชิด Blog ใหม่) เนื่องจากระยะเวลาค่อนข้างสั้นค่ะ ข้อมูลของทุกท่านจะได้หาง่ายขึ้นนะคะ

     จึงเรียนมาเพื่อทราบ และขอขอบพระคุณทุก ๆ ท่านค่ะ
     วราพร

ปฏิบัติธรรมที่เสถียรธรรมสถาน วันที่ 29 พค.2555

การไปปฏิบัติธรรมที่เสถียรธรรมสถานวันนี้ ได้สวดมนต์ ทำวัตรเช้า แผ่เมตตา นั่งสมาธิ เดินจงกรม แผ่ส่วนกุศล รู้สึกสบายๆ ใจสงบดีมาก ได้แง่คิดว่าความสุขไม่ได้อยู่ที่อื่น ไม่ได้อยู่ที่สิ่งอื่น แต่ความสุขอยู่ที่ตัวเราเอง ใจของเราเอง ชอบคำสอนของแม่ชีศันสนีย์ที่ว่า 1. “คนที่อยู่ข้างหน้าเราคือคนพิเศษ คือคนที่เราควรปฏิบัติต่อเขาอย่างดี ยิ้มให้เขา ทักทายเขา พูดคุยกับเขา”

 ถ้าคน กฟผ.ปฏิบัติอย่างนี้ การเข้าถึงชุมชน ได้ใจ ได้ความไว้วางใจ จากสังคมคงไม่ยากเกินไป

  1. “ให้อยู่กับโลก ทำงานให้โลก แต่อย่าแบกโลกไว้” คน กฟผ.ต้องทำงานภายใต้สังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ต้องการสิทธิ์มากขึ้น ไว้วางใจน้อยลง ต้องการสิ่งแวดล้อมที่ดี ในขณะที่ต้องการความสะดวกสบายในชีวิตมากขึ้น การทำงานจึงยากลำบาก คน กฟผ.รู้สึกขัดอกขัดใจที่เราทำงานก็เพื่อความสุขของคนไทย แต่กลับไม่ได้รับการยอมรับ จึงควรใช้ข้อคิดของแม่ชีคือ ทำงานเพื่อประเทศ แต่อย่าแบกประเทศไว้ ทำงานให้ดีที่สุด แต่อย่าทุกข์กับงาน

วันนี้ได้อะไรจากเสถียรธรรมสถาน

ได้สวดมนต์ ทำวัตรเช้า ได้เดินเล่นอย่างมีสติ (เดินจงกรม) ออกกำลังโดยควบคุมลมหายใจเข้าและออก นั่งสมาธิให้รู้ถึง การอยู่กับตัวเองอยู่กับปัจจุบัน วิธีการควบคุมอารมณ์ความโกรธ และได้เรียนรู้ถึงการให้ เรียนรู้การอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น การปล่อยวางทำให้ใจสงบ

15-18 พ.ค.55 ผวก.กฟผ. ให้แนวคิด -พัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา -ต้องหาความรู้ด้านต่างๆให้กว้างมากขึ้น -มองให้กว้างกว่าตำแหน่งให้หลุดจากสายงานที่ทำ -ต้องคิดถึงส่วนรวม คิดถึง Stakeholder -อย่าเป็นผู้นำที่ไปคนเดียวต้องไปเป็นทีม -เมื่ออยู่ระดับสูงแล้ว ถ้าต้องตัดสินใจแล้วจะพลาดไม่ได้

ผู้นำ -วัฒนธรรมองค์กร – การบริหารการเปลี่ยนแปลง โดย อ. ประกาย ชลหาญ

คนเป็นสิ่งสำคัญที่สุดขององค์กร เพราะเป็นผู้ทำให้เกิดผลงานตรงตามเป้าหมายขององค์กร คนจะสร้างผลงานได้ ก็ต้องมีความรู้ความสามารถ ทักษะประสบการณ์ ซึ่งหัวหน้างานจะต้อง Coaching และต้องมีแรงจูงใจที่จะผลักดันให้ตั้งใจทำงาน การสร้างแรงจูงใจจะต้องเอาตัวเขาเป็นที่ตั้งต้องรู้จักลูกน้อง

สิ่งที่ผู้นำจะต้องทำ -Path finder กำหนดบทบาทเส้นทางให้ -Alignment หาความเชื่อมโยงของแต่ละงาน -Empowerment กระจายอำนาจให้แก่ลูกน้อง -Role Model ทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีให้เห็น

สิ่งสำคัญที่สุดในการบริหารความเปลี่ยนแปลง -ยอมรับว่าองค์กรมีความซับซ้อน มีคนมากมายซึ่งมีความซับซ้อนกว่าเครื่องจักร -องค์กรไม่ได้ถูกผลักดันด้วยโครงสร้าง แต่ถูกขับดันด้วย Process -ต้องยอมรับผู้นำว่าเป็นมืออาชีพ

เศรษฐศาสตร์พลังงาน โดย ศ.ดร. พรายพล คุ้มทรัพย์

ได้รับทราบถึงปัญหาพลังงานของโลกและปัญหาพลังงานของไทย วัตถุประสงค์และประโยชน์ของกองทุนอนุรักษ์พลังงานและกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ผลของการตรึงราคาขายปลีกไว้ต่ำ ทำให้ไม่เกิดการประหยัด กองทุนน้ำมันฯ ติดลบเป็นหนี้สูง มีการลักลอบส่งออกไปประเทศเพื่อนบ้าน(ก๊าซหุงต้ม) รับทราบลักษณะโครงสร้างราคาน้ำมันที่เหมาะสมมีองค์ประกอบอะไรบ้าง

16 พ.ค. 55 ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ ญี่ปุ่น ต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคตของ กฟผ. โดย ดร. กมล ตรรกบุตร และ ศ. ดร. ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์

ได้บรรยายเรื่อง สาเหตุการเกิดแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่น เกิดจากการเคลื่อนตัวของแผ่นดินเปลือกโลก Pacific Plate สภาพของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ฟูกุชิมา ไดอิชิ ที่เสียหาย จากแผ่นดินไหว, สถานการณ์พลังงานในประเทศไทยและนโยบายพลังงานในประเทศโดยเลื่อนโครงการโรงฟ้าพลังงานนิเคลียร์ออกไปอีก 3 ปี จะจ่ายไฟเข้าระบบในปี คศ. 2026 (พ.ศ.2569) และจะนำเข้า LNG มาทดแทนทั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินและนิวเคลียร์พร้อมเพิ่มสัดส่วนการซื้อไฟจากประเทศเพื่อนบ้านให้มากขึ้น ทำให้สัดส่วนการใช้เชื้อเพลิง GAS จะสูงมากขึ้น (ปัจจุบัน 70 %) มีความเสี่ยงสูงขึ้นเพราะใช้เชื้อเพลิงประเภทเดียวมากเกินไปและค่าไฟจะแพงขึ้น เนื่องจาก LNG มีราคาสูงกว่า NGV

ทิศทางพลังงานกับการทำงานของ กฟผ. โดย คุณไกรสีห์ กรรณสูตและคุณวิรัช กาญจนพิบูลย์

ในอดีต กฟผ. จะดำเนินการเองทั้งหมด ตั้งแต่ออกนโยบาย กำกับดูแลและดำเนินการจัดหาและติดตั้ง ปัจจุบัน นโยบายไปอยู่ที่ Regulator กฟผ. ต้องหาเหตุผล สนับสนุนว่าทำไม กฟผ. ต้องคงสัดส่วนการก่อสร้างไว้ที่ 50 % อัตราความต้องการการใช้ไฟเพิ่มขึ้นทุกปี แต่การจัดหาพื้นที่เตรียมสร้างโรงไฟฟ้าใหม่มีแนวโน้มลดน้อยลง ส่วนมากจะต้องสร้างโรงไฟฟ้าในพื้นที่เดิมของ กฟผ. ประชาชนคัดค้านโรงไฟฟ้าทุกชนิด กฟผ. ต้องศึกษา Smart Grid และเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ต้องสร้างคุณภาพชีวิตของชุมชนรอบโรงไฟฟ้าให้ดีมากกว่าชุมชนทั่วไป สร้างความเชื่อใจ (Trust) ให้เกิดขึ้นในสังคม

17 พ.ค. 55 High Performance Organization (HPO) ที่ กฟผ. โดย ดร. สมโภชน์ นพคุณ , คุณสมชาย ไตรรัตน์ภิรมณ์

การพัฒนาองค์กรให้เป็น HPO ต้องพัฒนาที่คน เพราะคนเป็นผู้สร้างทุกอย่าง สินค้าและบริการ HPO สมัยใหม่ จะต้องดูทั้ง Strategy Leadership และที่สำคัญคือ Customer ต้องเน้นที่บริการและความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่อง การพัฒนาคนต้องดำเนินการ 4 ด้าน 1.ด้านสติปัญญา 2.ด้าน Emotion การฝึกให้ทำงานเป็นทึม ( Team Spirit) 3.ด้าน Physical 4.ด้านคุณธรรม จริยธรรม ประเด็นสำคัญคือต้องส่งเสริมให้คนอ่านหนังสือมากๆ ต้องมี KM และทำให้เกิด LO ขึ้น

นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชนกับการทำงานของ กฟผ. โดยครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์, ดร.เสรี พงศ์ทิศ, คุณธวัช วัจนะพรสิทธิ์

สิ่งที่ได้รับคือ กฟผ.ต้องมีความจริงใจกับชุมชน มองและปฏิบัติต่อชุมชนเหมือนลูกค้ารายหนึ่ง, การจะสร้างโรงไฟฟ้า จะต้องเข้าหาชุมชนให้ความรู้ความเข้าใจ ให้รู้ถึงข้อดี ข้อเสีย และมาตรการการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ให้ชุมชนทราบว่าจะได้อะไรเมื่อมีโรงไฟฟ้าเกิดขึ้น ต้องเรียนรู้ว่า ในแต่ละชุมชนมีความต้องการสิ่งใด และสิ่งที่สำคัญจะต้องช่วยเหลือ ในแนวทางที่ทำให้ชุมชนสามารถยืนอยู่ได้ด้วยตนเอง ไม่ใช่ช่วยด้วยการสนับสนุนเงินอย่างเดียว ต้องให้ความรู้ส่งเสริมช่วยเหลือพัฒนาอาชีพที่มีอยู่เดิมให้สามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้น ให้ชุมชนเรียนรู้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรองและเทคนิคการตัดสินใจ โดย รศ. สุขุม นวลสกุล

นักบริหารจะต้องแม่นในเรื่องกฎ ระเบียบ ไม่ต้องเกรงใจ มีข้อมูลเพียงพอและมีประสบการณ์จาการปฏิบัติจริง รู้ลึก จึงทำให้ตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง ถูกจังหวะ การเจรจาต่อรองจะต้องเตรียมข้อมูลต่างๆ ให้เพียงพอ เรียนรู้คู่เจรจา มีเป้าหมายในใจไว้แล้ว รู้จักพูด หาสิ่งจูงใจให้คล้อยตาม และต้องยึดหลัก WIN WIN , Give & Take

18 พ.ค. 55

HR For Non – HR และทุนมนุษย์ ของ กฟผ. รองรับประชาคมอาเซียน โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อ.จีระได้แสดงให้เห็นบทบาทของ HR แบบเก่าและสมัยใหม่ สมัยใหม่ Non-HR จะต้องเข้ามามีบทบาทในด้าน HR มากขึ้น ต้องเปลี่ยน กฟผ. เป็น Social Enterprise ให้ได้ แนะนำให้ใช้ทฤษฎี 3วงกลม ในการบริหารทุนมนุษย์

บทบาทของ Regulator และ Energy Tax กับการทำงานของ กฟผ. โดย ศ.ดร. ดิเรก ลาวัณย์ศิริ

-รับทราบวัตถุประสงค์ ของ พ.ร.บ. การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 -รับทราบโครงสร้างองค์กร คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน -รับทราบอัตรานำส่งเงินเข้ากองทุนพัฒนาไฟฟ้าสำหรับผู้ผลิตไฟฟ้า -รับทราบ บทบาทของ Regulator กับการทำงาน กฟผ. -รับทราบหลักการและโครงสร้างการบริหารงานกองทุนพัฒนาไฟฟ้า

สรุปการอบรมในวันที่ 17 พฤษภาคม 2555 การบริหารความขัดแย้ง

ความขัดแย้งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อบุคคลมีความคิดเห็นและความต้องการที่ไม่ตรงกัน ซึ่งมีทั้งความขัดแย้งที่่เป็นเรื่องดีและไม่ดี ความขัดแย้งในเรื่องส่วนรวมมักจะเป็นเรื่องดี ความขัดแย้งเรื่องส่วนตัวมักจะเป็นเรื่องไม่ดี ความขัดแย้งมีอยู่ด้วยกัน3 ประเภท คือ 1.บุคคลกับบุคคล 2.บุคคลกับองค์การ 3.หน่วยงานกับหน่วยงาน ผู้บริหารต้องเป็นคนที่ตัดสินใจได้ค่อนข้างเร็ว ซึ่งจะสามารถทำได้ต้องอาศัยหลัก 3 ประการ คือ 1.แม่นกฎระเบียบ 2.ลดความเกรงใจ และ 3.ต้องไม่โอ้อวด สำหรับองค์ประกอบในการตัดสินใจ ประกอบด้วย ข้อมูล, ประสบการณ์, การคาดการณ์, ผลกระทบ และสถานการณ์

วันที่ 16 พฤษภาคม 2555 หัวข้อ ทิศทางพลังงานกับการทำงานของ กฟผ.โดยคุณวิรัช กาญจนพิบูลย์ รวห.และคุณไกรสีห์ กรรณสูตร อดีต ผวก.กล่าวโดยสรุปทำให้ทราบแนวทางที่ กฟผ.จะต้องดำเนินการต่อไปโดยต้องพบกับอุปสรรคในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่จากแรงต้านของคนในพื้นที่ และ NGO และสัดส่วนในการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ.ลดลงโดยเอกชนเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ดังนั้น กฟผ.จะอยู่รอดได้จะต้องปรับตัวสร้างการยอมรับจากชุมชนในพื้นที่ สร้างความชัดเจนว่าชาวบ้านจะได้รับประโยชน์จากการมีโรงไฟฟ้าในพื้นที่ แม้ กฟผ.จะมีคนเก่งจำนวนมากแต่ยังด้อยเรื่อง CSR แม้ กฟผ.จะทำความจริงให้ปรากฏชาวบ้านก็ยังไม่เชื่อโดยอาจติดกับความเชื่อเดิมๆเพราะฉะนั้น กฟผ.จะต้องบริหารความเชื่อ(Trust)

  หัวข้อ Trendy Technology and Social Medias for EGAT Executive โดย ดร.วิรัช ศรเลิศล้ำวาณิช

อาจารย์กล่าวถึงแนวโน้มการใช้เทคโนโลยี่ด้านการสื่อสารในญี่ปุ่นในอนาคตซึ่งจะเป็นการสท้อนถึงการใช้เทคโนโลยี่ทั่วโลก เช่น จะใช้การสื่อสารใกล้ๆ New IPAD สามารถดูทีวีได้ตลอดเวลา ซึ่ง Social/Mobile จะเป็น Key Word ที่สำคัญ การเลือกใช้เทคโนโลยี่จะต้องดูแนวโน้มของเทคโนโลยี่ในอนาคต เป็นเครื่องมือที่เหมาะสม ราคาไม่แพง วันที่ 17 พฤษภาคม 2555 หัวข้อ นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน (Social Innovation) กับการทำงานของ กฟผ.โดยครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ ดร.เสรี พงศ์พิศ คุณธวัช วัจนะพรสิทธิ์

    ทำให้ทราบมุมมองของบุคคลภายนอกที่มีต่อ กฟผ.พร้อมเสนอแนวทางที่จะเข้าหาประชาชนเพื่อให้เกิดการยอมรับ ทั้งนี้การที่ กฟผ.ทำงานยากขึ้นกว่าในอดีตเพราะโจทย์ของสังเปลี่ยนไป สังคมเปลี่ยนเร็วมากเพราะการสื่อสาร ซึ่งการให้ความจริงใจสามารถแก้ปัญหาได้ การดำเนินการต้องมีแผนงานที่ชัด และมีการให้ความรู้ โดยสังคมจะอยู่ได้ต้องเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ จะทำให้ชุมชนเข็มแข็งเห็นคุณค่าทรัพยากร  ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเชื่ออะไรอย่างมีเหตุผล 

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยาย โดย ทีมงาน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

People Management วันที่ 30 พ.ค. 55

โดย อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด

 

NLP  ศาสตร์แห่งการใช้ภาษาทั้งกายและจิตให้เชื่อมโยงกันสู่ความสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย

N - Neuro

L- Linguistic

P - Programming

 

ทำให้ 1. สร้างความสัมพันธ์กับคนอื่นได้อย่างแน่นแฟ้น ทำให้คนชอบเราในระยะเวลาอันสั้นใน 5 นาที

            2. ถ้ามีอาการสั่นประหม่าสามารถแก้ได้เลย 

            3. เราสามารถรู้ได้ว่าคนที่พูดกับเราพูดความจริงหรือไม่พูดความจริง ใช้ความคิด หรือใช้ความรู้สึก

การเรียนรู้การรู้จักว่าเขา คิดอย่างไร

ระบบการรับรู้ข้อมูลทั้งหมดประกอบด้วย  ตา หู จมูก กาย ลิ้น

แต่ถ้าจะรับรู้คนที่เราสนทนาด้วย ให้สังเกต ตา หู หรือการสัมผัส

การสังเกตทางตา การรับรู้ว่าทำอะไรในสมอง จะส่งมาทางสายตา (คนที่สำคัญที่สุดคือคนที่อยู่ตรงหน้าเรา เราต้องเข้าใจเขา อยู่กับเขา คือ Be there)

เช็คให้ชัวร์ก่อนว่า ถนัดซ้ายหรือขวา โดยเช็คจากถามข้อมูลในอดีต เช่น ทานข้าวกับอะไร หรือซื้ออะไรที่ไหน  ถ้าเป็นแบบ Normal คือถนัดขวา สายตาจะมาทางซ้าย

  1. ถ้าคนที่ถามอะไรแล้วตอบ แล้วมองขึ้นข้างบน เป็นลักษณะการใช้ Visual คือถนัดในการมองเห็น
  2. ถ้ามองไปข้าง ๆ เป็นลักษณะ Audio คือถนัดรับข้อมูลทางเสียง
  3. ถ้ามองไปข้างล่าง เป็นลักษณะ ใช้ความรู้สึก มองไปด้านซ้ายเรียกว่า Audio Digital มองไปด้านขวาเรียกว่า Kinesthetic

Visual Recall

ถ้าเป็นคนถนัดขวาโดยปกติ  ถ้าเหลือกตาไปทางข้างซ้าย แสดงว่าใช้ Visual Recall คือการใช้ความจำในอดีต

Construct ....คือ การมองไปทางขวา..การนึกถึงในสิ่งที่ยังไม่แน่ใจ  ไม่ได้เห็นมาก่อน หรือ ตอบอะไรไม่ตรงความจริง

Audio Digital

  • คือตามองทางข้างซ้ายลงมาข้างล่างเป็นลักษณะคนที่ Self Talk  ต้องการเวลาคิด ตัดสินใจ ดังนั้นควรให้เวลาเขาตัดสินใจด้วย

Visual คือคนที่ชอบการมองเห็น เช่น มีสีอะไรบ้าง  ดังนั้นเวลาเสนองานกับหัวหน้าที่เป็น Visual  ดังนั้น Powerpoint  ต้องสีสวย และสวยงาม

Audio คือคนที่ชอบการฟัง ดังนั้นเวลาสื่อสาร ต้องเน้นการพูดจาให้ดี มีจังหวะชัดเจน

Feeling คือคนที่ชอบใช้ความรู้สึก  สังเกตว่าถ้าสายตามองต่ำเรื่อย ๆ แสดงว่าเขาเริ่ม trust เรา แสดงว่าเริ่มใช้ความรู้สึกกับเราแล้ว

 

People Engagement ไม่ได้ได้มาจากการจ่ายเงินเดือนอย่างเดียว แต่มาจากความสัมพันธ์ และการสร้างความเข้าใจด้วย

 

การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ต้อง Matching กับ Feeling  จึงสามารถที่จะ Lead เขาได้

-          คนส่วนใหญ่จะชอบคนที่เหมือนเรา นั่งท่าเดียวกับเขา หายใจเหมือนเขา กระพริบตาเท่าเขา

-          Matching คือการทำให้เราเหมือนเขา ทักษะ “PACE PACE LEAD” คือ ต้องทำให้เขาชอบเราก่อน ถึงสามารถ Lead เขาได้

-          PACING คือ เขาทำอะไร เราทำอย่างนั้น คนที่เครียดจะหายใจตื้น ดังนั้นเมื่อเวลาคุยกับคนที่เครียดควรเปลี่ยนระบบลมหายใจให้ลึกถึงท้อง ให้เต็มปอด แล้วปล่อยออกมา จะช่วยทำให้หน้าใส

คนเครียดจะนั่งเกร็ง ๆ หายใจสั้น ๆ  ถ้าเราไปนั่งกับคนเครียด ต้องหายใจเท่าเขา เพื่อให้เขารู้สึกว่าเราเข้าใจเขา  แต่เมื่อทำไปสักครั้ง 2 ครั้ง เราจะหายใจลึกขึ้น เขาจะเริ่มตามเราได้แล้ว

-          การที่ทำให้คนที่ถูกโค้ชตอบคำถามเราว่า “ใช่” 3 ครั้ง จะช่วยทำให้เขามีความเห็นที่จะคล้อยตามเราในฐานะโค้ช

-          โค้ชต้องเรียนรู้ธรรมชาติของมนุษย์ เช่น ธรรมชาติของผู้ชายไม่ชอบให้ใครมาเห็นใจ ชอบเป็นผู้นำ สำหรับความรักผู้ชายชอบ Appreciate อย่าใช้ feeling มากเกินไป แต่สำหรับผู้หญิงชอบ Loves

-          เวลามองผู้ชายให้มองด้วยสายตาทางขวาจะทำให้เวลาเขาคุยกับเรารู้สึกสบายใจ แต่ถ้ามองด้วยสายตาข้างซ้าย จะทำให้เขารู้สึกว่าเราจับผิดเขาอยู่

-          ทำอย่างไรผู้หญิงถึงรู้ว่ายังรักเขาอยู่...คำตอบ คือ กอด แค่ Confirm ว่ารัก ก็จะไม่มีปัญหา

-          Trust ของผู้หญิงแปลว่า Love , Trust ของผู้ชายแปลว่า Loyalty

-          ผู้ชายต้องเป็น a man ไม่ใช่ a boy  ตัวอย่างคือถ้ามีปัญหาที่ทำงานต้องเผชิญหน้า ไม่หวั่นไหว

6 ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ที่ต้องการทุกขณะจิต

  1. Certainty / Security /Comfort ความมั่นคง ความชัวร์ในชีวิต เช่นการงาน มีข้าวกิน ลูกรัก มีเงินพอส่งเสียลูกเรียนหนังสือ รู้ว่าปีหน้าขึ้นเงินเดือน รู้ว่าทักษะวันนี้ใช้ได้อีกนาน
  2. Uncertainty /Variety  ต้องการความลุ้น ต้องการความหลากหลาย ไม่ซ้ำซากจำเจ ทำอย่างไรให้ชีวิตเป็น Uncertain เป็น Variety ของเรา เมื่อคนเริ่มเซ็ง เริ่มเบื่อให้หา Variety ใส่ในชีวิตเพราะว่าเป็นสิ่งที่ต้องการ
  3. Connection & Love  มี Relationship ที่แน่น ดีมาก และลึกซึ้ง บางคนมีคนเดียว และแย่งไม่ได้ ขึ้นอยู่ว่าเป็นด้านบวกหรือลบ
  4. Significance การรู้สึกสำคัญและมีคุณค่า.. มนุษย์เราเกิดมามีจิตประภัสสร ไม่เหมือนกัน  เมื่อไรที่เรารู้สึกว่าเหมือนใครเป๊ะ เราจะเสียความมั่นใจ ดังนั้น หัวหน้าควรชมเพื่อให้เกิดความรู้สึกว่าแตกต่างจากคนอื่น เวลาชมให้ชม Specific

เวลาพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นต้อง Check ว่า Good for me, for other, for social

หรือบางครั้ง not good for me แต่ good for other , and social

  1. Growth มีโอกาสเติบโต เรียนรู้ และก้าวหน้าทุกวัน
  2. Contribution มีโอกาสเป็นผู้ให้ เชื่อมั่นว่างานที่ตนเองทำ มิได้มีผลเพียงเนื้องาน แต่ส่งผลต่อสังคมโดยรวมด้วย  เช่นมีความสุขมากกับการได้ทำบุญบ่อย ๆ เป็นต้น

 

ถ้าบางข้อหายไปจะทำให้เกิดความหวั่นไหว

  1. 1.      ขาด Certainty / Security
  • พฤติกรรมทางบวก คือ เรียนรู้ พัฒนาตัวเอง เพื่อให้ตามความเปลี่ยนแปลงทัน
  • พฤติกรรมทางลบ คือ ต่อต้านระบบที่มาใหม่ ไม่ไว้ใจลูกน้อง ใส่ร้าย กักไว้
  1. 2.      ขาด Uncertatinty/Variety
  • พฤติกรรมทางบวกคือ เที่ยว หาเรื่องพักผ่อน
  • พฤติกรรมทางลบ คือหา Variety ผิดกฎ หาเมียน้อย

ทางแก้ไข คือ การ Feed back  เช่นให้รู้ว่า การสร้างความแตกต่างทางด้านลบ มีผลเสียอย่างไร ให้รู้ตัวเอง

  1. 3.      ขาด Connection & Love
  • พฤติกรรมทางบวก คือไปหาทางช่วยเหลือคนอื่น ทำตัวเป็นคนอ่อนน้อม ให้คนรัก
  • พฤติกรรมทางลบ คือเรียกร้องความรัก งอน

ทางแก้ไข  คือ การให้ความรัก  ให้มี Connection กับเพื่อนร่วมงาน ให้เขาคุยบ่อย ๆ  เห็นอะไรก็ชมบ่อย ๆ ไม่ต้องจับผิด

  1. 4.      ขาด Significance
  • พฤติกรรมทางบวก คือ ทำตัวให้ดีขึ้น ทำทุกอย่างให้ดีขึ้น
  • พฤติกรรมทางลบ คือ เก็บตัวแบบประชด ทำให้ตัวเองเป็น Effect ของสถานการณ์  Show off หรือ เหยียบผู้อื่นให้ต่ำลง

ทางแก้ไข  คือ ส่งคนไป Train ก่อนที่จะเปลี่ยนระบบ

หมายเหตุ :

  1. ถ้า 4 ตัวนี้เติมเต็ม ทำให้การเจริญเติบโตไม่เป็นในทางลบ
  2. ก่อนช่วยเหลือผู้อื่น ต้องช่วยเหลือตัวเองก่อนว่า Top tool driver คืออะไร เช่น คุณพจนารถ มี Top Driver ที่ทำให้รู้จักตัวเองดีขึ้นคือ  Love , Significant
  3. เวลาคนไม่คุยกับเรา แสดงว่า The map isn’t collectory
  4. หน้าที่สมองเรา ทำได้ 3 อย่าง คือ

1. ลบทิ้ง Delete  

2. บิดเบือน Distort

3. เหมารวม  Generalization  

  • · เราจะรู้ได้อย่างไรว่า Delete ,Distort, Generalization อะไร ขึ้นอยู่กับ Factor หลายตัว เช่น ข้อมูลนี้มาเป็นภาษาอะไร , พูดผิด Timing ,ผิดจากความเชื่อของเรา
  • · Map ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน  ดังนั้นในการให้คนอื่นแสดงความคิด และพูดออกมา ต้องเข้าใจว่า Map ของใครของมัน ไม่เหมือนกัน  อย่าแสดง Power ให้คนกลัวเรา ดังนั้น การ Coach ที่ดีเราต้องเข้าใจ Map ของเขาก่อน คือ การฟังแบบจริง ๆ
  • · สังเกตคนที่เครียด ให้ดูว่า เวลากังวลริมฝีปากจะตกลง  รูขุมขนใหญ่ขึ้น หน้าไม่ใส หน้าหมอง หน้ากังวล เวลาเครียดจะเป็นเส้นมากขึ้น ตาจะตกลง เนื่องจากใช้ความคิด การหายใจจะตื้นขึ้น

ถ้าใช้ทักษะ โดยไม่ Security จะเกิดการ Fake

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยายโดย ทีมงาน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

หัวข้อ ทิศทางเศรษฐกิจไทยกับการปรับตัวของ กฟผ. วันที่ 30 พ.ค. 55

โดย มรว.ปรีดียาธร เทวกุล

 

  • นโยบายเป็นมาตรการที่ออกมาทีละเรื่องทำให้ทิศทางเศรษฐกิจปรับตัวดีพอสมควร
  1. การปรับรายได้จากค่าแรงขั้นต่ำ
  2. เพิ่มรายได้ให้กับผู้มีรายได้ต่ำ เช่นการรับจำนำข้าว ทำให้กลุ่มรายได้ต่ำมีรายได้สูงขึ้น

สิ่งที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจแล้วมีผลมากคือการเพิ่ม Demand ในประเทศ อย่างเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในไทย เกิดขึ้นโดยเมืองใหญ่  ๆ

  1. ส่งผลเสียต่อกิจการที่พึ่งพาแรงงานมาก ๆ เช่นโรงงานใหญ่ ๆ และ SMEs ที่ Profit Margin ต่ำ
  2. กิจการใหญ่ ๆ ที่พึ่งพาแรงงานราคาต่ำมาก เริ่มทยอยออกไปสู่ที่อื่นบ้างแล้ว
  3. รัฐบาลนี้ สนับสนุนการลงทุนเศรษฐกิจในพม่า เช่น กิจการที่ไปทำที่ท่าเรือน้ำลึกทวาย นับเป็นเรื่องที่ดี
  4. รัฐบาลนี้ไม่ยอมเปิดพื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่ เนื่องจากเจอ NGOs และแรงงานไม่พอ จึงประจวบเหมาะกับการไปลงทุนที่พม่า พื้นที่ใกล้ชายแดนพม่า กาญจนบุรีจะเจริญขึ้นแน่นอน
  5. ไม่มีการเปิดพื้นที่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่  Eastern Seaboard ไม่มี Southern Seaboard ไม่เกิด
  6. มีการสร้างเส้นทางรถไฟในกรุงเทพฯ และมีรถไฟฟ้าสายสีแดงเชื่อมไปรังสิต ตลิ่งชัน ฉะเชิงเทรา
  7. กรุงเทพกลางวันจะหนาแน่นขึ้น การเกิดเส้นทางรถไฟฟ้าดี ๆ จะเกิดคอนโดขึ้นมา คนใช้ไฟฟ้าในกรุงเทพฯ จะเพิ่มขึ้นสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าจากครัวเรือน

10. การเพิ่มเส้นทางรถไฟทางคู่ สำหรับส่งสินค้า และรถไฟเชื่อมจากจีนใต้ ผ่านลาว

11. การพัฒนาท่าเรือน้ำลึกที่ปากปารา สตูล ซึ่งจะพัฒนาเป็นท่าเรือน้ำลึกที่ใหญ่ที่สุด ทำให้มาเลเซียกลัวเรื่องนี้มาก และคาดว่าในอนาคตจะมีท่าเรือน้ำลึกปากปาราเชื่อมกับสงขลา  ถ้าขึ้นมาเมื่อไหร่ สินค้า จีนใต้ ลาว เขมรที่จะไปยุโรปจะผ่านที่นี่ทั้งหมด เข้าสงขลา เข้าตู้คอนเทนเนอร์ ผ่านปากปารา

12. ทำอย่างไรให้ท่าเรือปากปารา เป็นท่าเรือน้ำลึกของภูมิภาค ท่าเรือการค้า ท่าเรือชายฝั่ง

13. รัฐบาลให้หนุนพม่าเป็นแหล่งสินค้าอุตสาหกรรม ให้ไทยเป็นท่าเรือการค้า

14. Euro Zone มีปัญหา รัฐบาลที่ใช้สวัสดิการหาเสียงที่ใช้การกู้หนี้จากพันธบัตร ทำให้รัฐบาลเป็นหนี้สูงมาก  ประเทศที่เคยถูก Spoil พอรัดเข็มขัด เช่นกรีก ไม่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ทำให้คนไม่มีงานทำ และมีปัญหาตามมา แต่สำหรับไทยแก้ได้ง่ายกว่าเนื่องจากไม่ได้มีระบบสวัสดิการมากเหมือนอย่างประเทศในยุโรป ดังนั้น เมื่อลดค่าเงินบาท ทำให้ Export ขึ้นอย่างมหาศาล แต่กรีก ไม่ใช่คือ เมื่อลดค่าเงินแล้ว แต่ปรากฎว่าค่าเงินไปผูกกับยูโร สินค้าจึงไม่ถูกลง  Export ไม่ขึ้น ดังนั้นเศรษฐกิจกรีกจึงไม่ฟื้น

15. ยูโรโซน เกิดเศรษฐกิจหดตัว ทำให้การส่งออกไปยุโรปเกิดผลกระทบตามไปด้วย เอเชียได้รับผลกระทบ  จีนและไทย Export ชะลอตัว ตลาดอสังหาริมทรัพย์ทำท่าว่าจะไปไม่ดีแล้ว

16. ประชาคมเศรษฐกิจ 2015 สินค้าจะผ่านถึงกันโดยไม่มีภาษี การลงทุนไม่มีข้อจำกัดใด ๆ มีเพียงเล็กน้อยที่สงวนไว้  ไทยหันไปลงทุนในลาว พม่า เวียดนาม และเอเชียอื่น ๆ มากขึ้น เช่น ธุรกิจติดแอร์รถยนต์ จะเฟื่องฟูมากขึ้น อะไรก็ตามที่เคยเฟื่องฟูในเมืองไทยเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ก็จะเฟื่องฟูในประเทศเหล่านี้เช่นกัน

17. หากเส้นทางขนส่งพร้อม อัตราค่าใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนจะมากขึ้นทั้งในเมืองและในชนบท โมเดลการเติบโตการใช้ไฟฟ้าในภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นแน่นอน สิ่งที่เกิดขึ้นคือ Demand ในต่างจังหวัดเพิ่มเร็วกว่าในเมือง เนื่องจากมีการพัฒนาราคาพืชผลให้เพิ่มขึ้นเรื่อย  ๆ  

18. กรุงเทพฯ จะมีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อบริหารไม่ดีจะเกิดปัญหาสังคม และปัญหาต่าง ๆ ในเมืองใหญ่ได้  

 

 

 

ถาม  ที่ทวาย ที่ปากปารา เวียดนาม กัมพูชา จากโครงสร้างที่ทางอิตาเลียนไทยพยายามโปรโมททวายเป็นท่าเรือน้ำลึก กับ นิคมอุตสาหกรรม รู้สึกว่าปากปาราจะได้เปรียบค่อนข้างเยอะกว่า แต่ว่าทวายจะมีนิคมอุตสาหกรรมด้วย ถ้าไปเกิดที่กัมพูชา และเวียดนาม ด้วยก็จะสามารถแข่งขันกันได้ อยากทราบว่าโอกาสที่ Mega Project จะเกิดมากน้อยแค่ไหน จะได้วางแผนถูก

ตอบ  ตลาดเวียดนาม และกัมพูชา เกิดแล้ว แต่ก็ยังสามารถเกิดได้อีก เพราะประเทศเหล่านี้ค่าแรงยังราคาถูก ส่วนพม่าก็จะเกิดได้แน่ ๆ เช่นกัน แต่ไทยยังไม่ค่อยอยากให้เกิดเนื่องจากพม่ามีความใกล้เคียงกับไทยเยอะอยู่ นิคมอุตฯพม่า ไม่ต้องแข่งกับเขมรหรือญวน เนื่องจากค่าแรงถูกกว่า

            ท่าเรือของทวายประมาณ 50,000 – 80,000 ตันเพียงพอต่ออุตสาหกรรมแต่ไม่เพียงพอต่อน้ำมัน  และมีการวิ่งเต้นไม่ให้เกิดท่าเรือที่ปากปารา  ซึ่งจริง ๆ ไม่ถูกต้องนัก เพราะเพียงแค่ท่าเรือสินค้าที่ทวายนั้นก็เพียงพออยู่แล้ว

            พม่าถ้าฉลาดก็ควรพึ่งท่าเรือปากปาราเป็นสายต่อ ...ตัวที่ชนะของท่าเรือปากปาราก็คือน้ำมัน ไทยไม่จำเป็นต้องใช้จมูกเขาในการหายใจ  เราสามารถหายใจเองได้โดยใช้ความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์

 

ถาม  การใช้คลองสามารถใช้ได้หรือไม่

ตอบ ช้า ปัจจุบันใช้ท่อส่งน้ำมันหมดแล้ว จะเกิดการจับตัวกันเองได้

 

ถาม สงขลาเหมาะเป็นท่าเรือหรือไม่

ตอบ สงขลา ไม่เหมาะเป็นท่าเรือเพราะตื้นที่สุด แต่ดีที่สุดคือถนอม หรือศรีชัง เพราะทางรถไฟก็สามารถผ่านได้ แต่ในแง่การเมืองอาจเป็นสงขลา

 

  • ในความคิดเห็น มรว.ปรีดียาธร มองว่าประชาธิปไตยครึ่งใบดีที่สุด เนื่องจากเมื่อประชาธิปไตยเต็มใบประเทศไทยไม่ได้คนดี 100 %  ไปไม่รอด

 

ถาม เศรษฐกิจปัจจุบันมีสิทธิจะล้มเหมือนวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 หรือไม่

ตอบ วิกฤติต้มยำกุ้งเกิดเนื่องจากสมัยนั้นมีการเร่งเศรษฐกิจจนฟองสบู่แตก และภาคเอกชนได้รับการสปอยมากเกินไป แต่คราวนี้เศรษฐกิจภาคเอกชนเริ่มปรับตัวดี  เมื่อมีปัญหาไม่ลงทุนมากเกินไป แต่ตัวที่มีปัญหาในปัจจุบันคือภาครัฐ รัฐบาลขาดดุลมากขึ้น ๆ เรื่อย ๆ  สรุปคือ นักเศรษฐศาสตร์ และเอกชนต้องช่วยกันจับตารัฐบาลที่หนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ

 

ถาม รัฐบาลต้องการให้กฟผ.ลดหนี้ภาครัฐ  ปีนี้อยากให้ทำเป็นลักษณะ Infrastructure แล้วเข้าเอกชน ขอถามว่า มรว.มีความคิดเห็นอย่างไร

ตอบ อะไรก็ตามที่กฟผ.ไม่พึ่งรัฐบาล ดีหมด ถ้าเป็นเอกชนแล้วสามารถทำให้ดีได้จะยิ่งดี ๆ ขึ้นเรื่อย ๆ  เนื่องจากกฟผ.มีพลังในการทำ Funding ในภาคเอกชนได้พอ ๆ กับ ปตท. ให้ดูตัวอย่าง ปตท.เป็นหลัก กฟผ.สามารถทำได้แน่นอน

สรุปการอบรมวันที่ 30 พค.2555

People Management & Coaching : The New Role of EGAT Leadership โดย อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด อาจารย์ได้สอนการ Coaching โดยให้ Back to Basic ก่อน คือต้องอ่านคนจากอากัปกริยา การใช้สายตาเสียก่อน ซึ่งใช้ศาสตร์ที่เรียกว่า Neuro Linguistic Programing วิธีการ Matching เพื่อให้คนที่เราสื่อสารด้วย รู้สึกว่าเราเป็นพวกเดียวกับเขา และได้สอนวิธีค้นหาตนเองจากหลัก Human 6 Core Needs สุดท้ายได้ให้แนวคิดว่าการแสดงออกของคนเรามาจากการ Mapping ข้อมูลต่างๆที่ได้รับซึ่งมีจำนวนมหาศาล คนเราจึงใช้วิธี Delete / Distort / Generalize ออกมา ดังนั้นการแสดงออกมาหรือไม่แสดงออก จึงไม่ใช่สิ่งที่เขาคิดทั้งหมดหรือไม่ใช่ตัวตนของเขาทั้งหมด ศาสตร์ที่อาจารย์นำมาสอนนี้ น่าสนใจอย่างมาก เป็นความรู้ใหม่สำหรับผมมากทีเดียว

ทิศทางเศรษฐกิจไทย กับการปรับตัวของ กฟผ. โดย มรว.ปรีดิยาธร เทวกุล วิทยากรได้กล่าวถึงเศรษฐกิจไทยว่าขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 3 ตัวคือ นโยบายรัฐบาล ทิศทางเศรษฐกิจโลก และการค้าเสรีอาเซียน ด้วยระดับกูรูในวงการเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง ของวิทยากร ซึ่งคนไทยรู้จักท่านอย่างดี ทำให้การบรรยายใน Session นี้ ได้รับความรู้ มุมมองที่กว้างและสัมพันธ์กันอย่างน่าสนใจอย่างยิ่ง เป็นโอกาสที่หาฟังได้ไม่ง่ายเลย

เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC 2015 และเศรษฐกิจไทย ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ. ร่วมอภิปรายโดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ดำเนินรายการโดย ดร.วีรชัย กู้ประเสริฐ รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ได้ให้ความรู้การพัฒนาการของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( ASEAN Economic Community : AEC ) โดยลำดับการพัฒนาการเทียบเคียงกับสหภาพยุโรป ( European Union : EU ) ซึ่งชี้ให้เห็นว่าในที่สุดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จะพัฒนาไปสู่ตลาดร่วมอาเซียน และสหภาพอาเซียนในที่สุด ดังนั้นจึงควรมองไปให้ไกลกว่า AEC 2015 และเตรียมพร้อมเพื่อรับกับความเปลี่ยนแปลง อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ พูดถึงสถานการณ์พลังงาน แนวโน้มของน้ำมันที่จะมีราคาแพงขึ้นต่อไป ก๊าซธรรมชาติจะมีบทบาทในตลาดพลังงานมากขึ้น เพราะน้ำมันจะมีน้อยลงเรื่อยๆ สหรัฐอเมริกาจะเปลี่ยนจากผู้บริโภคพลังงานรายใหญ่เป็นผู้ขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติขึ้นมามากขึ้น เนื่องจากการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆในการขุดเจาะ ส่วนไฟฟ้า โลกก็ยังคงพึ่งพาพลังงานฟอสซิลต่อไป แต่พลังงานทดแทนจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น กฟผ.ก็ควรพิจารณาเปลี่ยนบทบาทตนเอง จากการสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่จากพลังงานฟอสซิล ซึ่งถูกต่อต้านมาก เป็นการไปร่วมลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าในต่างประเทศแทน และหันมาสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนในประเทศ ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ได้กล่าวถึงทิศทางเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน โอกาสของไทยในตลาดอาเซียน แนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจของอาเซียนและของไทย จึงเป็นโอกาสของไทยที่จะฉวยโอกาสเหล่านี้ไว้ให้ได้ ทั้งสามท่านได้ให้ความรู้ ข้อคิด บทสรุปต่างๆ ที่หาฟังพร้อมๆกันได้ยาก เป็นโชคดีของพวกเรา EADP8 ซึ่งต้องขอบพระคุณอาจารย์ ดร.จิระ และทีมงานอย่างสูง

สิ่งที่ได้จากหลักสูตรวันที่ 29-30 พ.ค. 2555

วันที่ 29 พ.ค. 2555 ที่เสถียรธรรมสถาน

- ได้สวดมนต์ทำวัตรเช้าร่วมกับแม่ชีจากเสถียรธรรมสถาน

- ได้รับฟังการบรรยายธรรมจากแม่ชีศันสนีย์ ร่วมกับเยาวชนในค่ายโครงการดี ดี๊ ดี จากจ.ตราด รับฟังวิธีการละจากกิเลสต่างๆในชีวิตประจำวันโดยมีภาพยนตร์ประกอบ สอนมีสติตื่นรู้ตลอดเวลา แม้ในยามที่ต้องเผชิญกับความทุกข์

- ได้สัมผัสบรรยากาศของสำนักปฏิบัติธรรมที่ยิ่งใหญ่ไม่เฉพาะในแง่มุมของสถานที่ แต่เหนือกว่านั้นคือความยิ่งใหญ่ในส่วนของการทำงานที่เสียสละเพื่อให้เยาวชนและผู้ตกอยู่ในห้วงทุกข์ได้มีสติตื่นรู้และเอาชนะทุกข์ที่เกิดจากกิเลสได้ ไม่ต้องติดยึด และได้เห็นตัวอย่างการให้ทานที่ยิ่งใหญ่ คือการให้หลักธรรมแก่ผู้คน นอกจากนี้ ยังได้เรียนรู้วิธีออกกำลังร่างกายเพื่อสุขภาพที่ดี เพื่อสร้างพลังให้ชีวิตอีกด้วย

- ตอนบ่ายได้ฝึกสมาธิระหว่างการนั่ง นอน และเดินจงกรมอีก

-นับเป็นวันดีๆอีกวันหนึ่งในหลักสูตร แม้จะยังไม่มั่นคงในการทำสมาธิในระหว่างเดินจงกรมเท่าไรนัก แต่ก็ให้ความรู้สึก สงบ สะอาด และ สว่าง ตลอดวัน

วันที่ 30 พ.ค. 2555

หัวข้อ People Management and Coaching : The New Role of EGAT Leadership โดย อ. พจนารถ ซีบังเกิด

- ได้เรียนรู้วิธีการดูความถนัดของบุคคลจากการใช้สายตาขณะสนทนา และเรียนรู้ว่า การcoaching จะต้องเริ่มต้นด้วยการเรียนรู้แรงผลักดันของผู้ที่เราจะต้องมี interrelation ด้วย เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ถูกทางและบรรลุเป้าหมาย

- ได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติการใช้ศาสตร์ Neuro Linguistic Programming (NLP) ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ช่วยให้บุคคลสามารถตั้งเป้าหมาย และประสบความสำเร็จได้ด้วยการประสานจิตใต้สำนึกให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับความคิด ภาษาพูด และภาษากายของตนเอง ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วเห็นว่าหัวข้อ NLP นี้มีความน่าสนใจมาก หากคน กฟผ. ได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติจนชำนาญ จะเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้กับเพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชา และผู้ใต้บังคับบัญชา รวมทั้ง stakeholder อื่นๆ ของ กฟผ. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใช้ในการทำงานด้านมวลชน น่าจะเกิดผลดี

 หัวข้อ ทิศทางเศรษฐกิจไทยกับการปรับตัวของ กฟผ.

โดย ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล

- ได้เรียนรู้รายละเอียดของปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ได้แก่ นโยบายรัฐบาล ความเป็นไปในโลก เฉพาะอย่างยิ่งในประชาคมเศรษฐกิจยุโรป และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โอกาสในการเป็นศูนย์กลางทางการค้าของประเทศไทย และผลจากการเพิ่มรายได้ให้กลุ่มคนที่มีรายได้ต่ำซึ่งเพิ่มโอกาสและรายได้ให้คนบางกลุ่ม ในขณะที่ธุรกิจอุตสาหกรรมชะลอตัว ดังนั้นจึงมีผลต่อการปรับ model การคาดการณ์การใช้ไฟฟ้าของประเทศ ซึ่งอาจต้องลดการคาดการณ์ demand การใช้ไฟฟ้าในภาคอุตสาหกรรม แต่เพิ่มที่ภาคครัวเรือนแทน

หัวข้อ เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียนAEC 2015 และเศรษฐกิจไทย...ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล และ อ.มนูญ ศิริวรรณ

- ได้เรียนรู้ขั้นตอนการรวมตัวกันของประชาคมในภูมิภาคยุโรป เริ่มตั้งแต่การเปิดเขตการค้าเสรี การเป็นสหภาพศุลกากร การเป็นตลาดร่วม การเป็นสหภาพทางเศรษฐกิจ จนถึงขั้นสุดท้าย เป็นสหภาพทางเศรษฐกิจสมบูรณ์แบบ แต่สำหรับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับประเทศในกลุ่มอาเซียน เป็นแบบก้าวกระโดดไปสู่การร่วมอยู่ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนทั้งที่คนไทยส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ในเรื่องนี้อย่างมาก จึงเป็นหน้าที่ของคนไทยที่จะต้องเร่งเรียนรู้และเตรียมความพร้อมให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นผลกระทบจากการเข้าร่วมในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในด้านต่างๆ อาทิ

 -การเงิน สามารถนำเงินออกนอกประเทศได้ไม่จำกัดจำนวน และนำเงินนั้นไปแลกเปลี่ยนเป็นเงินตราของประเทศสมาชิกอาเซียนประเทศใดก็ได้ และสามารถใช้เงินนั้นซื้ออะไรก็ได้ รวมทั้งจะมีการcross ซื้อ-ขายกันระหว่างตลาดหุ้นข้ามประเทศได้

-ด้านบุคลากร จะมีการเคลื่อนย้ายแรงงานบางอาชีพได้โดยเสรี เช่น แพทย์ วิศวกร ฯลฯ

-ด้านธุรกิจบริการ จะมีแนวโน้มการแข่งขันจากการเปิดเสรีสูงมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นเดียวกับธุรกิจอุตสาหกรรม ซึ่งในอนาคตอาจรวมถึงธุรกิจด้านพลังงานด้วย

ทั้งนี้ มีปัจจัยบางประการที่อาจสกัดกั้นศักยภาพในการแข่งขัน เช่นการให้ระบบ Visa เข้าประเทศเป็นแบบ Schengen Visa ความแตกต่างของอัตราการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละประเทศสมาชิก ซึ่งมีผลทำให้เกิดการลงทุนในประเทศที่VAT ต่ำ มากกว่าประเทศที่เก็บ VAT สูง ฯลฯ

สำหรับในด้านพลังงาน ขณะนี้การใช้พลังงานจาก fossil (ก๊าซ ถ่านหิน และน้ำมัน) ยังเป็นหลักในพลังงานของโลก แต่ก๊าซธรรมชาติกับพลังงานหมุนเวียน ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดกำลังมีบทบาทเพิ่มขึ้นสูงกว่าน้ำมันและถ่านหิน แม้ว่านิวเคลียร์จะเป็นพลังงานสะอาดเช่นกัน แต่ก็ต้องรับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวรุนแรงและสึนามิที่ญี่ปุ่น เมื่อเดือนมีนาคม 2554 ในอุตสาหกรรมไฟฟ้า ต้องใช้เชื้อเพลิงเป็นวัตถุดิบในการผลิต เมื่อราคาเชื้อเพลิงสูง ก็จะมีผลกระทบต่อค่า Ft แต่ในขณะนี้ อัตราการเติบโตของธุรกิจผลิตและส่งออกน้ำมันของประเทศในกลุ่มตะวันออกกลางและอาฟริกาเหนือกำลังสั่นคลอนเนื่องจากต้องใช้วงเงินลงทุนสูงมาก จึงมีความเสี่ยง ในขณะที่สหรัฐอเมริกาจะกลายเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ด้วยการใช้เทคโนโลยีการขุดเจาะแบบใหม่ เช่นเดียวก๊าซธรรมชาติ ซึ่งสหรัฐฯอาจกลายเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติแบบ unconventional gas อันดับใหญ่ที่ 2 ของโลก รองจากรัสเซีย และพัฒนาต่อไปให้ได้ LNG ราคาถูก จะทำให้ต้นทุนพลังงาน สินค้า รวมทั้งราคาไฟฟ้าของสหรัฐฯ ถูกลงมาก ทั้งนี้ ยังไม่รวมการพัฒนาการผลิต unconventional gas ในจีน ออสเตรเลีย และรัสเซีย อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีการผลิต unconventional gas ก็ทำให้เกิดมลภาวะ จึงมั่นใจไม่ได้ว่าโลกยุคต่อไปจะเป็นยุคทองของ unconventional gas หรือไม่ ในด้านวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในโลก เมื่อมีประชากรเพิ่มขึ้น รายได้ประชากรสูงขึ้น การขยายตัวของชุมชนเมืองสูงขึ้น ความต้องการพลังงานก็สูงขึ้นเป็นเงาตามตัว ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยใช้ได้อีกเพียง 15- 20 ปี ก็จะหมด จึงควรคิดว่าจะใช้อย่างไรให้ได้มูลค่าเพิ่มสูงสุด

 กฟผ.ต้องปรับยุทธศาสตร์ในการจัดหาพลังงานไฟฟ้าเป็นวิธีอื่น อาจไม่ใช่การสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ในประเทศ แต่เปลี่ยนเป็นการใช้พลังงานทดแทน และในเวลาเดียวกัน ก็ไปสร้างโรงไฟฟ้าในต่างประเทศแล้วซื้อพลังงานไฟฟ้ากลับมาใช้ในประเทศ นอกจากนี้ ประเทศไทยควรปรับโครงสร้างด้านพลังงานใน 3 เรื่อง ได้แก่ การใช้เชื้อเพลิงหลายประเภทในการผลิตไฟฟ้า การอนุรักษ์พลังงาน และการใช้ทรัพยากรร่วมกันในภูมิภาคอาเซียน พื้นที่ภูมิศาสตร์ของไทยเอื้อต่อการเป็นศูนย์กลางของอาเซียน เราจึงควรดูแลเรื่องขั้นตอนไปสู่ความสำเร็จ ซึ่งถึงแม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นในครึ่งหลังของปี 2555 ขณะที่เศรษฐกิจจีนและอินเดียอยู่ในขาลง และสหรัฐอเมริกาอยู่ในช่วงพักฟื้น รวมทั้งเป็นโอกาสการลงทุนที่ดีใน AEC .ใน 5- 10 ปีข้างหน้า แต่โอกาสจะป็นของไทยจริงหรือไม่ ก็เป็นเรื่องที่ต้องเตรียมการให้ดี

วันที่ 17 พฤษภาคม 2555 หัวข้อ High Performance Organization ที่ กฟผ. โดย ดร.สมโภชน์ นพคุณ คุณสมชาย ไตรรัตน์ภิรมย์

  ได้ทราบถึงปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาระบบราชการให้เป็นองค์กร HPO โดยการพัฒนาองค์กรให้เป็น HPO ต้องพัฒนาที่คนก่อน เพราะคนเป็นส่วนสำคัญที่สุดที่จะผลักดันให้องค์กรเป็น HPO ซึ่งการพัฒนาคนมี 4 องค์ประกอบ 1.ด้านสติปัญญา 2.ด้านวุฒิภาวะทางอารมณ์ 3.ด้านร่างกาย 4.ด้านคุณธรรม จริยธรรม เมื่อสามารถพัฒนาคนแล้วผู้บริหารก็เป็นส่วนสำคัญในการผลักดัน ผู้บริหารจะต้องมีภาวะผู้นำ มรบารมี เพื่อให้สามารถสร้าง Team Spirit การดำเนินการจะต้องกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน ทุกคนเข้าใจตรงกัน มีการจูงใจให้ทำงานไม่ใช้การบังคับ มอบหมายงานและให้ความอิสระ การบริหาร Man Money Material จะต้องใช้วิธีที่แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยอื่นที่เป็นอุปสรรคการเป็น HPO ได้แก่ โครงสร้างที่ไม่มีประสิทธิภาพ Working Process ไม่ดี กฏหมาย ข้อบังคับไม่ทันสมัย อนึ่งการวัดผลด้วย KPI ต้องคำนึงถึงปัจจัย Intangible Invisible ด้วย
     หัวข้อ การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และเทคนิคการตัดสินใจของผู้บริหาร โดย รศ.สุขุม นวลสกุล
   ความขัดแย้งสามารถให้คุณและโทษได้เราต้องรู้จักบริหาร ถ้าเป็นโทษคือเป็นอุปสรรค ความเสียหาย แต่ถ้าเป็นคุณจะทำให้เกิดทางเลือกเพื่อใช้พัฒนาได้ ความขัดแย้งส่วนตัวจะเป็นปัญหาในการดำเนินงานส่วนความขัดแย้งส่วนรวมไม่เป็นไร สำหรับในการบริหารความขัดแย้งให้ดูชนิดของความขัดแย้ง 
 1.ความขัดแย้งระหว่างบุคคล ต่อ บุคคล เกิดจาก ความอิจฉาริษยา การเอารัดเอาเปรียบ ให้ใช้หลักป้องกันดีกว่าแก้ภายหลัง  ความขัดแย้ง
 2.ความขัดแย้งระหว่างบุคคลกับองค์กร เกิดจาก ความไม่เข้าใจ ให้ใช้การอธิบาย
 3.ความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานกับหน่วยงาน เกิดจาก ไม่เข้าใจบทบาท หลงหน่วยงาน แก้โดย ทำความเข้าใจการทำงานของหน่วยงานอื่น
    การตัดสินใจที่ดีต้องแม่นกฏระเบียบ ลดความเกรงใจ องค์ประกอบการตัดสินใจ ประกอบด้วย ต้องมีข้อมูล ประสบการณ์ สามารถคาดการณ์ได้ดี รู้ถึงผลกระทบ รู้ถึงสถานนกาณ์ สำหรับการวิเคราะห์ก่อนตัดสินใจให้ใช้หลัก ถูกต้อง ถูกใจ และถูกจังหวะ

วันที่ 18 พฤษภาคม 2555 หัวข้อ HR for Non-HR และ ทุนมนุษย์ของ กฟผ.รองรับประชาคมอาเชี่ยน โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  อาจารย์ได้กล่าวถึงบทบาทของ HR แบบเก่า กับแบบใหม่ มีบทบาทต่างกันอย่างไร พร้อมเน้นการบริหารงานด้านบุคคล กลุ่ม Non-HR จะต้องเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เพราะตนเป็นผู้ใกล้ชิดกับลูกน้อง รู้ข้อมูลมาก สามารถวางเส้นทางการพัฒนาได้ดี ส่วนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ใช้หลักทฤษฏี 3 วงกลม ประกอบด้วย 1.Context 2.Competencies 3.Motivation

   หัวข้อ บทบาทของ Regulator และ Energy Tax กับการทำงานของ กฟผ. โดย ศ.ดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ
  ทำให้ทราบถึงวัตถุประสงค์การใช้ พรบ.การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.2550 โครงสร้างคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน บทบาทและหน้าที่ หลักการหารายได้และค่าใช้จ่าย วิธีการบริหารเงิน Energ Tax 
  สำหรับส่วนที่ กฟผ.ต้องคำนึงถึงคือ Regulator กับการทำงานของ กฟผ.ประกอบด้วย

1.การผลิตไฟฟ้าให้พอเพียงกับความต้องการไฟฟ้า 2.การผลิตไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ 3.การรับซื้อไฟอย่างเป็นธรรม 4.การสั่งจ่ายการผลิตไฟฟ้าที่โปร่งใสและเป็นธรรม 5.การจำหน่ายไฟฟ้าให้กับระบบจำหน่ายมีความมั่นคง ปลอดภัย และมีมาตรฐานการบริการที่ดี 6.การเชื่อมต่อระบบโครงข่ายพลังงาน ตามข้อกำหนดเป็นไปตามหลักของ พรบ. 7.การจัดทำแผน PDP แผนการลงทุน แผนการขยายโครงข่ายไฟฟ้า 8.การรายงานข้อมูลที่จำเป็นต่อการกำกับดูแลของ Regulator 9.การนำส่งเงินเข้ากองทุนพัฒนาโรงไฟฟ้า 10.การดำเนินการเพื่อรับผิดชอบต่อสังคม

สนทนาธรรม

การทำงานอย่างมีความสุขด้วยธรรมมาภิบาล

 ณ เสถียรธรรมสถาน

ได้ฝึกยืดเส้นยืดสาย ฝึกสมาธิ ฝึกเดินจงกรม การนอนพัก พร้อมฟังการบรรยายจาก แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต เป็นการบรรยายเกี่ยวกับชีวิต การให้ความสำคัญกับคนที่อยู่ข้างหน้า ให้คิดว่าเขาเป็นคนพิเศษสำหรับเรา ต้องรู้จักทักทายคน ทักคนไม่ให้คนเจ็บปวด ทุกคนต้องมีเป้าหมายในชีวิตและต้องไปให้ถึงเป้าหมาย รู้จักแบ่งปันความสุข อย่าขี้เหนียวความสุข อย่าให้คนข้างหน้าเราเจ็บปวด ทุกข์มีไว้ให้เห็นไม่ได้มีไว้ให้เป็น ความอยากทำให้เราเป็นทุกข์ มีกิจกรรมการดูแลคนข้างหน้าโดยการนวดคนข้างหน้าสลับกันนวด ทำให้มีความรู้สึกดีต่อกันทั้งๆที่ไม่รู้จักกันมาก่อนพร้อมการดูตัวอย่างโฆษณาซึ่งเป็นการปลุกกำลังใจของเรา  ถือได้ว่าเป็นกิจกรรมที่ดีกิจกรรมหนึ่งที่ทำให้เพิ่มความต้านทานให้กับจิตใจของเรา ทำให้จิตใจสบายขึ้น มีความสุขกับการทำงาน มีความสุขในการดำเนินชีวิต อย่างน้อยก็มีช่วงเวลาในการผ่อนคลายบ้าง

People Management & Coaching : The New Role of EGAT Leadership

อ.พจนารถ ซีบังเกิด

การให้คำปรึกษาหากคนมาปรึกษาเราแล้วหลุดออกไปด้วยความโปร่งใส หลุดจากปัญหา แสดงว่าประสบผลสำเร็จ อาจารย์ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับศาสตร์ NLP ซึ่งเกี่ยวพันกับ ระบบประสาท ภาษา และ โปรแกรม มีความเชื่อมโยงกัน ทำให้เราสามารถสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่นให้แน่นแฟ้นในระยะเวลาอันสั้น ระบบการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส ให้ดูที่ ตา หูและความรู้สึก การสังเกตคนเวลาพูดจะสังเกตได้ว่าเขามีความคิด ความรู้สึก ความถนัดอย่างไร การตรวจสอบโดยการป้อนคำถาม การ Matching เป็นการทำให้เราสอดคล้องกับคู่สนทนาในตอนแรกแล้วค่อยๆนำเขาตามที่เราต้องการ ต้องรู้ความต้องการของคน ความต้องการของผู้ชายต่างจากความต้องการของผู้หญิง ความต้องการหลัก 6 ประการ พฤติกรรมการตอบสนองต่อความต้องการทั้งแง่บวกและลบ สิ่งที่อาจารย์ถ่ายทอดเป็นเรื่องที่น่าสนใจเป็นประโยชน์หากเราสามารถเข้าใจความคิด เข้าใจความรู้สึก รู้ในความต้องการของผู้อื่น เราก็สามารถตอบสนองและทำให้ความรู้สึกที่ดีให้เกิดได้ จะทำให้เราประสบความสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้แต่น่าเสียดายที่มีเวลาน้อยจึงได้เพียงผิวเผินเท่านั้น

ทิศทางเศรษฐกิจไทย...กับการปรับตัวของ กฟผ.

มรว.ปรีดิยาธร เทวกุล

อาจารย์ได้พูดถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อทิศทางเศรษฐกิจไทยหลักๆ 3 ประการคือ

• นโยบายรัฐ

• ความเป็นไปในโลก

• การเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ซึ่งมีผลกระทบทั้งด้านบวกและลบในแต่ละประเด็น จะทำให้เห็นปัญหาโอกาสและทิศทางของเศรษฐกิจว่าจะไปอย่างไร การเพิ่มค่าแรงทำให้เพิ่มรายได้แต่มีผลกระทบกับเจ้าของกิจการโดยเฉพาะ SME กิจการใหญ่เริ่มทยอยพึ่งพาแรงงานต่างชาติที่ถูกกว่า กิจการ SME สองแสนกว่ารายมีปัญหา การประกันราคาข้าวทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มแต่มีปัญหาการทุจริตตามมารัฐสูญเสียเงินจำนวนมาก อัตราการเจริญเติบโตจะเกิดในชนบทห่างไกลมากกว่าในเมือง การสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษในพม่าสามารถผลักดันให้เกิดการพัฒนาในไทย สามารถเป็นแหล่งวัตถุดิบให้กับไทยซึ่งมีผลดีต่อ กฟผ. โครงการใหญ่ๆ เช่น Southern Seaboard ไม่สามารถเกิดได้แต่โครงการท่าเรือน้ำลึกที่ปากบารา จ.สตูลจะเป็นประโยชน์อย่างมากทำให้ร่นระยะการขนส่งสินค้า การเชื่อมโยงด้วยรถไฟรางคู่จะพัฒนาเพิ่มมากขึ้น จะเป็นการเชื่อมระหว่างประเทศ เป็นเครือข่ายตั้งแต่ประเทศจีนผ่านลาว เขมร ไทย พม่า มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทยจะเป็นศูนย์กลางในการส่งผ่านสินค้าจะเป็นTrading Center สินค้าง่ายๆที่เกิดขึ้นในไทยเมื่อสมัยก่อนจะทำรายได้ดีในประเทศเกิดใหม่ เช่น ถังน้ำ งานติดตั้งเครื่องปรับอากาศ Demand ภาคอุตสาหกรรมจะลดลงแต่ Demand ภาคครัวเรือนจะเพิ่มมากขึ้น กฟผ.จะต้องปรับแนวคิดในการ Forecast Load ปัญหาผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจในยุโรปจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย มีผลต่อตลาดหลักทรัพย์ไม่สามารถขึ้นเร็ว และแรงได้ นักลงทุนมีความกังวล ตลาดอสังหาริมทรัพย์เริ่มติดยกเว้นบริเวณริมทางรถไฟ

โดยสรุปการได้รับรู้ข้อมูลทำให้เป็นแนวสำหรับการพยากรณ์ทิศทางเศรษฐกิจในอนาคตสามารถเป็นแนวทางในการตัดสินใจลงทุนหรือดำเนินการในส่วนที่รับผิดชอบ โดยเฉพาะการลงทุนในส่วน ของ กฟผ.ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับการพัฒนาให้สอดคล้องกัน

Panel Discussion หัวข้อ เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC 2015 และเศรษฐกิจไทย..ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล

อ.มนูญ ศิริวรรณ

ดร.สมชาย : พูดถึงแนวคิดการเกิด AEC ซึ่งเริ่มตั้งแต่ 1 ธ.ค. 1993 ซึ่งเป็นการขยายแนวคิดจากประชาคมต่างๆที่ได้เกิดมาก่อน เช่น ประชาคมยุโรป AFTA NAFTA เป็นการบูรณาการ ไม่ใช่ Co-Operation โดย เริ่มจาก

• การค้าเสรี : เป็นการเปิดเสรีด้านสินค้าอย่างเดียว สินค้านอกกลุ่มต้องเสียภาษีนำเข้า อัตราต่างกัน สินค้าในกลุ่มไม่เสียภาษี เป็นการรวมตัวอย่างลึกซึ้ง ต้องเสียอธิปไตยทางการค้า ไม่มีการกำหนดโควตา

• สหภาพศุลกากร : เป็นตลาดร่วม เป็นการเปิดเสรี ด้านสินค้า แรงงาน บริการ บางส่วน สามารถเคลื่อนย้ายโดยเสรี

• ประชาคมเศรษฐกิจ : เป็นการเปิดโดยเสรี มีการรวมตัวเป็น Nation of Trading ด้านบริการจะเปิด 100% (เดิม 70%) บุคลากรอาชีพหลากหลายมีการเคลื่อนย้าย ไฟฟ้าเป็นกิจการหนึ่งที่เปิดให้มีการลงทุน สามารถนำเงินเข้าออกได้ไม่จำกัด สามารถซื้อหุ้นโดยอิสระ สามารถระดมเงินในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ สามารถขยายการขายตราสารหนี้ ตราสารทุน ซึ่งต้องแก้ปัญหาอุปสรรค 3 ประการ

1. การตรวจวีซ่า

2. อุปสรรคด้านกายภาพ ต้องปรับเป็นมาตรฐานเดียวกัน

3. ปรับความต่างด้านภาษี

อ.มนูญ : ได้พูดถึงสถานการณ์ด้านพลังงานซึ่งเป็นต้นทุนหลักของ กฟผ.ทิศทางของพลังงานโลกซึ่งยังต้องพึ่งฟอสซิลเป็นหลัก น้ำมัน ถ่านหิน จะโตน้อยลง Gas และพลังงานหมุนเวียนจะเป็นพลังงานในอนาคต นิวเคลียร์เป็นความหวังแต่หลังจากเกิดเหตุการณ์ที่ญี่ปุ่นทำให้หลายประเทศต้องยกเลิกทบทวน มีการนำก๊าซ LNG เข้า ต้นทุนจะสูงมีผลกระทบกับไทย มีผลกระทบกับค่า Ft ปัญหาในภูมิภาค MENA ซึ่งเป็นแหล่งน้ำมันหลัก มีการต่อสู้กันไม่มั่นคง OPEC ยังเป็นแหล่งน้ำมันรายใหญ่ อิรัคจะส่งออกมากแซงซาอุฯ อเมริกาซึ่งเป็นประเทศนำเข้าพลังงานจะเปลี่ยนเป็นผู้ส่งออก อเมริกาสามารถค้นพบกรรมวิธีในการนำก๊าซชั้นใต้หิน (Shell Gas) มาใช้ซึ่งจะเป็นยุคทองของก๊าซธรรมชาติก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยจะเหลือใช้อีกประมาณ15-20 ปี ควรใช้อย่างคุ้มค่าไม่ฟุ่มเฟือย กฟผ.ใช้ก๊าซ70% ควรทบทวนยุทธศาสตร์ ลดการใช้ก๊าซ ใช้อย่างอื่นแทน พิจารณาย้ายการสร้าง รฟฟ. ไปที่ต่างประเทศ กฟผ.อาจปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์จากองค์กรผลิตไฟฟ้าเป็นองค์กรพัฒนาประสิทธิภาพการใช้พลังงานเพื่อลดสภาวะโลกร้อน

ดร.กอบศักดิ์ : ได้พูดถึงทิศทางเศรษฐกิจ ธุรกิจจะเดินไปทางไหน พม่ากำลังเจริญแต่เดินด้วยความลำบากเนื่องจากปัจจัยพื้นฐานยังไม่พร้อม ผลกระทบจากน้ำท่วมมีผลกระทบต่อสภาวะเศรษฐกิจแต่ก็มีการฟื้นตัวเร็วสินเชื่อเดิมคิดว่าจะนำไปใช้ซ่อมแซมกรณีน้ำท่วมแต่จริงๆแล้วเป็นการนำไปลงทุน ธุรกิจมีการขยายตัวดีประมาณ 6% ในขณะที่ประเทศจีน อินเดีย ที่มีการขยายตัวดีมาก่อนหน้านี้ ต่อไปจะประสบปัญหา เป็นช่วงขาลง แรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ

• การใช้จ่ายภาคเอกชน

• การลงทุนภาครัฐ

• สภาวะเศรษฐกิจเอเชียที่กำลังผงาดขึ้น

โดยภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังไม่น่าเป็นห่วงการลงทุนยังสดใสถึงแม้จะได้รับผลกระทบจากภายนอกบ้างก็ตาม

นอกจากนี้ได้มีประเด็นข้อซักถามที่น่าสนใจในหลายๆประเด็นซึ่งผู้เข้าร่วมฟังการเสวนาให้ความสนใจและผู้เสวนาก็ให้ข้อมูลและแสดงความเห็นที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

มนตรี ศรีสมอ่อน

วันนี้ได้อะไร วันที่ 29 พฤษภาคม 2555

 วันนี้ออกเดินทางจาก กฟผ. 7.30 น. ไปทาง ถ.เกษตรนวมินทร์ มุ่งสู่เสถียรธรรมสถาน ของแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต ประมาณ 9 โมงเศษ

 รายการแรกที่ไปถึงเลยก็คือการสวดมนต์โดยมีแม่ชีวิทยากรเป็นผู้นำสวดตามคู่มือพุทธบริษัทฉบับสมบูรณ์จัดพิมพ์โดยธรรมสภา ราคาเพียง 70 บาท ตอนเที่ยงเลยไปหาซื้อมา 1 เล่ม แม้ว่าจะไม่ทราบว่าจะได้ใช้งานสวดให้คุ้มค่าหรือไม่ แต่ก็ชอบในบทสวดมนต์ที่มีคำทั้งบาลีและคำแปลไปพร้อมกัน ทำให้ตื่นจากเป็นนกแก้วนกขุนทองออกมาเป็นคนได้สักระยะหนึ่ง

  • บทสวดเริ่มจากคำทำวัตรเช้า คำบูชาพระรัตนตรัย ปุพพภาคนมการ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ส่วนพระรัตนตรัย และสังเวคปริกิตตนปาฐะ มาถึงวันนี้ก็ไม่แน่ใจว่าข้ามไปหรือเปล่า เป็นการสวดมนต์พิเศษบางบท คงมีเจตนาให้จิตใจนิ่ง ไม่วอกแวก ให้พิจารณารู้ว่าหายใจเข้าก็ทราบว่ากำลังหายใจเข้า เมื่อหายใจออกก็ทราบว่าหายใจออก
  • สายๆ ก็ให้เดินไปรวมกับกลุ่มเด็กเยาวชนที่มาจาก ม.ราชภัฏสงขลา ฟังแม่ชีศันสนีย์สอนเด็กที่มีแนวทางเป็นผู้ประสานงาน ร่วมกันกับ EADP8 ซึ่งก็ยังไม่ค่อยตรงกับผู้บริหารของ กฟผ. สักเท่าไหร่นัก วันหลังให้มาอีก
  • แนวสอนจึงมุ่งสอนให้ทักทายทุกคนที่ได้เจอกัน คนเราเพิ่งเห็นกันก็จริง แต่ถ้าระลึกชาติได้ จะทราบได้ว่าเราเคยพบกันมาหลายชาติแล้ว
  • ลดความอยาก หยุดความอยาก -- > ชีวิตก็ดีขึ้น
  • มีเป้าหมาย มีความสุข ตัวอย่างง่ายๆ คือคนขับแท็กซี่เข้าซอยลัดเพื่อให้ไปได้เร็วขึ้น แต่เจอรถขวางซอยกลางซอย ทะเลาะกันแล้วลงไปต่อยกับคันอื่นเขา ลืมเป้าหมายที่จะรีบไปเร็วๆ ซะแล้ว การถอยเพื่อให้เขาไปก่อนแล้วเราก็ไปได้เร็ว ไม่เสียหาย ไม่เสียเกียรติลูกผู้ชาย หยุดยาเสพติด เพื่อชีวิตต้องเดินไปศึกษาให้จบ
  • จ๊ะเอ๋ แล้ว บ้ายบาย ขี้หมากองเดียว เหม็น ทะเลาะกันกับข้างบ้าน
  • จ๊ะเอ๋ ความอยาก แล้วรีบ บ้ายบาย ไม่งั้น บิลจะตามมาที่บ้าน
  • ปลูกหัวใจให้ ASEAN ไม่มุ่งแข่งขันกัน (รู้สึกจะคนละแนวกับอาจารย์ท่านอื่นๆ ที่มีจุดหมายในการแข่งขัน มุ่งกำไรให้มากและเร็วก่อนประเทศอื่นๆ
  • คนเราต้องเคารพตัวเอง (respect your life)
  •  ทุกข์มีให้เห็น ไม่ได้มีไว้ให้เป็น ฟังง่าย เหมือนผงเข้าตา เอาออกยาก เอาเบิร์ดมาพูดก็งั้นแหละ เวลาเป็นทุกข์ จะถอยจิต ใจออกมาดูข้างๆ ว่า จิตกำลังเป็นทุกข์ นี้ไม่ง่ายนะ
  • จบ ห้าม จม ในความทุกข์
  • มื้อเที่ยงกินอาหาร ปรกติที่นี้เป็นอาหารมังสวิริติ์ แต่วันนี้มีไก่ทอดเสริมให้เด็กๆ ไม่มีหมู กินได้ทุกศาสนา แต่ต้องล้างจานชามกันเอง
  • ระหว่างรอบ่ายโมงครึ่ง ไปร้านหนังสือ ได้บทเพลง ดั่งดอกไม้บาน มา 1 ชุด และประวัติของแม่ชีศันสนีย์ คืนนั้นรีบมาอ่านทำให้ทราบว่าจุดเปลี่ยนที่ทำให้ออกบวชคือเรื่องครอบครัว เป็นไปอย่างกะทันทัน คนเราแม้ว่าจะรักกัน ก็ไม่จำเป็นต้องอยู่ด้วยกัน เป็นเพื่อนร่วมโลก ร่วมบุญวาสนาธรรมกันได้ ส่งเสริมซึ่งกันและกันได้ รักไม่จำเป็นต้องครอบครอง
  • ช่วงบ่ายเป็นการฝึกนอนให้มีสติ แต่ก็ได้ยินเสียงรถไฟหลายขบวน จิตไม่สงบ โทรศัพท์หายซะอีก แต่ก็มีคนเก็บไปฝากแม่ค้าน้ำมะพร้าวกับโรตี ได้รับคืนมาด้วยสภาพดี ฝึกกายบริหารเดินจงกรม แล้วบ่ายสามก็กลับ กฟผ.

 วันนี้ได้ข้อคิดดีๆ เยอะ โลกทัศน์เปลี่ยนไปอีกมุมหนึ่งแล้ว

 ประเสริฐศักดิ์

วันนี้ได้อะไร วันที่ 30 พฤษภาคม 2555

วันนี้เป็นการอบรม EADP8 ที่ห้องเฟื่องฟ้า 3 กฟผ. เปลี่ยนมาจากห้อง 278 เพราะว่าห้องนี้มีแอร์ในตอนเย็นด้วย กะว่าจะสอนเรียนกันถึงหกโมงเย็นกันเลย

อ. พจนารถ ซีบังเกิด เรื่อง People Management

  • เห็นหน้าอาจารย์แล้วก็ยังคิดอยู่ว่าอายุเท่าไหร่ ดูไม่แก่แต่ก็คาดคะเนไม่ถูก ผิวพรรณแจ่มใส แต่ว่าสีผมขาวแซมดอกเลาแล้ว
  • อาจารย์ชื่อ จิ๋ม มั้ง เขียนอังกฤษเป็นว่า Jimi คนก็เลยรู้จักกันในนาม จิมมี่ จบนิเทศน์จากจุฬาฯ ทำงานเป็น PR ที่ไทยวา ย้ายมา บริษัท Boots ขายยา เครื่องสำอาง ตอนอบรมกับ John Richards ได้เปลี่ยนความคิดจะเป็น Coach แทน Training Manger ดูเพิ่มเติมจาก
  • http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-style/health/20110911/408800/%E0%B8%9E%E0%B8%88%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%96-%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94-%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%8A%E0%B8%AA%E0%B8%B4!.html
  • โค้ชจากเมืองนอกมาเทรน พนักงานที่ Boots (Thailand) ขณะที่โค้ชจิมมี่นั่งตำแหน่ง Training Manager ทั้งคู่ยืนทักทายเพื่อล่ำลากันเพียงยี่สิบนาทีก่อนที่ John Richards จะกลับ แต่ยี่สิบนาทีนั้นเปลี่ยนชีวิตผู้หญิงชื่อ พจนารถ ซีบังเกิด สู่ โค้ชจิมมี่ ตลอดกาล
  • โค้ชจิมมี่เล่าให้เขาฟังว่า “เอ็มดี ถามฉันว่า การสอนของคุณเป็นอย่างไร”
  • “ฉันอยากเป็นแบบเขา” โค้ชจิมมี่เล่าให้ จอห์น ริชาร์ด ฟัง
  • แต่โค้ช จอห์น ริชาร์ดกลับบอกกับเธอว่า “you can be the best that Jimi can be”
  • Coaching คืออะไร ง่ายๆ คือการที่เขาเข้ามาคุยแล้วกลับออกไปโปร่งใสคิดได้เองว่าจะทำอย่างไรต่อไป
  • เราจะไม่แนะนำเขาเพราะว่าเป็นการนำประสบการณ์ของเราไปสอนเขา สอนลูกก็ไม่ได้ Gen. X ไม่ใช่ Baby Boomer รุ่นเรา
  • จิตประภัสสร คือจิตที่เป็นธาตุแท้ คิดงามก่อนที่จะมีกิเลสครอบงำ มีมโนธรรมที่ลึกซึ้ง
  • การพูดของคนเรามี 2 แบบ 1) ใช้ความคิด หรือ 2) ใช้ความรู้สึก ตาหูจมูกลิ้นกายใจ สัมผัสได้
  • ทักษะภาษากาย ทางฝรั่งเรียก NLP Neuro Linguistic Programming by John Grinder and Richard Bandler เป็นการใช้ทักษะอย่างเช่น Matching and Mirroring เป็นการลอกเลียนภาษากายของฝ่ายตรงข้าม มีความเชื่อว่าเขาจะทำตามเราเพราะคิดว่าเป็นพวกเดียวกัน เช่น การแต่งกาย การวางท่า การหายใจสั้นๆ ยาวๆ เพื่อปรับระดับให้เข้ากันแล้ว Lead เขา (Pace -- > Pace -- > Lead) 
  • ลักษณะภาษากาย
    • เครียด หายใจตื้น หน้าดำ เพราะอ็อกซิเจนไม่พอ ไม่เต็มท้อง
    • กอดอก รู้สึกไม่ปลอดภัย หรือ หนาว
    • กระดิกเท้า เราเคาะตามแล้วลดความถึ่ลง เขาจะหยุดกระดิกเท้าได้
  • การอ่านดวงตาคน  ดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ มีแผนที่ดวงตาดังนี้ (มองจากเรานะ)
    • Visual Construct มองข้างบนซ้าย ใช้จินตนาการสร้างภาพ
    • Visual Recall มองข้างบนขวา ใช้ภาพจากความจำ
    • Audio Construct มองด้านซ้าย ใช้เสียง คำพูด อ่านหนังสือ สร้างภาพ
    • Audio Recall มองด้านขวา ใช้ความจำ ว่าเสียง คำพูดนั้นเป็นอย่างไร
    • Kinesthetic Construct มองล่างซ้าย ใช้ความรู้สึกจากภายใน
    • Audio Digital มองล่างขวา ใช้ความรู้สึก น้ำเสียงจะเศร้า สดชื่น ตามเรื่องที่นึกถึง

 

  • ถามนำก่อนเพื่อเช็คคำตอบ โดยให้ตอบ Yes
  • การให้คำปรึกษา เช่น 1) ไม่มีใครกวนใช่ไม๊ 2) มีปากกากระดาษแล้วนะ 3) มีน้ำหรือกาแฟพร้อมนะ 4) คำถามของเราที่ต้องการให้เขาตอบ Yes
  • 6 Core Human Needs มีตัวอย่างประกอบให้ชัดเจนดังนี้
    • Certainty      ลูกมีเงินเรียนหนังสือจนจบ แม้ว่าเราจะเกษียณแล้วก็ตาม
    • Variety         ได้ไปเที่ยว ไปกินข้าว เวียนงาน (Job Rotation) ไม่เกิด Dead Wood
    • Love             มีเพื่อนฝูง น้องสาวมาชม แฟนมาชม
    • Significance   โดดเด่น สำคัญและ แตกต่างจากคนอื่น ชีวิตที่ใช่
    • Growth         หนูโตขึ้นเยอะ
    • Contribution ติวให้ลูกของเพื่อน Good for me, for other, for ecology
      Not good for me, but good for other -- > เยี่ยมสุดๆ

 

  • หลักของสมอง

ข้อมูล Computer 2 Mbps  -- > Brain 134 kbps หรือ 6.7% เท่านั้น เพราะว่า DDG :-

-         Delete          ลบทิ้ง

-         Distort         บิดเบือน

-         Generalize     เหมารวม

2 ข้อหลังนี้ สรรหา มาแก้ตัว ให้สบายใจตาม Value and Trust

          วันนี้ได้แค่วิธีสังเกตลูกตาคน ก็คุ้มค่าแล้ว ไม่ต้องเรียนอย่างอื่นก็ได้

ประเสริฐศักดิ์

 

  • การอ่านดวงตาคน  ดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ มีแผนที่ดวงตาดังนี้ (มองจากเรานะ)
    • Visual Construct มองข้างบนซ้าย ใช้จินตนาการสร้างภาพ
    • Visual Recall มองข้างบนขวา ใช้ภาพจากความจำ
    • Audio Construct มองด้านซ้าย ใช้เสียง คำพูด อ่านหนังสือ สร้างภาพ
    • Audio Recall มองด้านขวา ใช้ความจำ ว่าเสียง คำพูดนั้นเป็นอย่างไร
    • Kinesthetic Construct มองล่างซ้าย ใช้ความรู้สึกจากภายใน
    • Audio Digital มองล่างขวา ใช้ความรู้สึก น้ำเสียงจะเศร้า สดชื่น ตามเรื่องที่นึกถึง

จักรยาน

ไม่มีเครื่องยนต์

กลไกเรียบง่าย

ต้องใจกล้า

ลุยเป็นลุย

เป็นแล้วเป็นเลย

จากอาจารย์พจนารถ

วันนี้ได้อะไร วันที่ 30 พฤษภาคม 2555

 หลังอาหารเที่ยงเป็นเวลาที่ง่วงได้เป็นอย่างดี ฟังอาจารย์ มรว. ปรีดิยาธร เทวกุล เล่าเรื่อง ทิศทางเศรษฐกิจไทย... กับการปรับตัวของ กฟผ.

 นโยบายไทยมาจาก 3 อย่าง

    • นโยบายรัฐ
    • โลก
    • AEC2005
  • นโยบายรัฐ
    • ค่าแรง 300 บาท/วัน ตอนนี้ทยอยปิดโรงงานไปผลิตที่ลาว เขมร
    • ประกันราคาข้าว 15,000 บาท/ตัน    โกงกินกันเป็นขบวนการขาดทุนเป็น 100,000 ล้านบาท ข้าวในประเทศไทย 33 ล้านเกวียน ทำประกันได้ 10 ล้านเกวียน แต่ โกดังมีอยู่ 2 ล้านเกวียน โกดังภาคเอกชนก็ไม่มี ทำได้อย่างไร ธกส. ครวจสอบไมได้ การทุจริตง่ายทีสุดคือการออกใบประทวนปลอม
    • การลงทุนในพม่า สายการบินไปพม่าเต็มหมด เพราะคนหนีค่าแรง 300 บาท/วัน ไปลงทุนในพม่าดีกว่า
    • เส้นทางรถไฟฟ้า มี Condominium เพิ่มขึ้นมากตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า กทม. จะมี Demand ความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจากกลุ่มนี้ กระจุกตัวตามเส้นทาง
    • รถไฟรางคู่ ไทยต้องมีรถไฟรางคู่เพิ่มขึ้น เชื่อมจีนตอนใต้ ลาวทางหลวงน้ำทา ห้วยทราย เชียงราย ลงมาทางใต้ชุมทางหาดใหญ่ ไปท่าเรือปากบารา มีเส้นทางนี้ลดการเดินทางอ้อมสิงคโปร์ไป 10 วัน เราต้องมี Land bridge เชื่อมการขนส่งทางรถไฟและทางท่อ ท่อน้ำมัน จากฝั่งอันดามัน ไปฝั่งอ่าวไทย ท่าเรือสงขลา ลงเรือมาท่าเรือแหลมฉบังได้

 

ดูความคิดในการพัฒนาเส้นทางรถไฟไทยที่นี่ ดูแล้วจะหดหู่จากที่ฟังอาจารย์พูด เราวิ่งได้ 90 กม./ชั่วโมง มาตั้งแต่สมัย ร.5 แล้ว เดี๋ยวนี้เหลือ 60 กม./ชั่วโมง จึนเขาไป 450 กม./ชั่วโมง กันแล้ว ที่นี่ครับ http://www.paisalvision.com/2009-01-22-08-46-12.html?start=1 

 

  • นโยบายโลก
    • Euro zone มีปัญหาประชาธิปไตย ใช้งบประมาณรัฐเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเริ่มจาก
      • คนพิการ        คนด้อยโอกาส
      • คนเกษียณ     เลี้ยงคนแก่ คนชรา
      • คนทำงาน      มีวันพักผ่อนเป็นเดือน มาเที่ยวไทยได้สบาย
    • รัฐบาลหาเสียงนโยบายใหม่ๆ เช่นฝรั่งเศส หยุดงาน 6 สัปดาห์ ได้ กรีซ ความเจริญต่ำกว่าไทย รัฐบาลออกพันธบัตรมาใช้หนึ้ สัดส่วนหนี้ในยุโรป มากกว่า 100% ของไทย 40%
    • ไทยรัดเข็มขัดได้ เลือดหยุดไหล ไม่มีสวัสดิการมาก และลดค่าเงินบาท ทำให้ส่งออกสินค้าได้มากขึ้น Export เป็นน้ำเกลือมาเยียวยาได้ แต่ประเทศทาง EU ทำไม่ได้ รัดเข็มขัดแล้วสวัสดิการจะหายหมด ลดค่าเงินก็ไม่ได้ เพราะผูกไว้เป็นสกุล Euro แล้ว ดังนั้น Export เพิ่มขึ้นก็ไม่ได้
    • ทางรอดมีคือ ออกจาก Euro ลดค่าเงิน แล้ว Export เพิ่มขึ้นได้ ปัญหาคือจะออกจาก Euro อย่างไร
    • SET ของไทยผูกกับ US EU ขึ้นไปถึง 1200 จุด สะดุด ถอยแล้ว ตลาดอสังหาริมทรัพย์จะไม่ดี ริมทางรถไฟยังขึ้นไมได้Load ไทยจะชะลอตัว

 

  • AEC2005 จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
  1. ลงทุนข้ามประเทศได้ ตลาดเกิดใหม่ ไทยจะลงทุนในประเทศที่มีค่าแรงถูกและมีความต้องการสินค้าพร้อมกัน คือ ลาว เขมร เป็นธุรกิจที่เฟื่องฟูในไทยเมื่อ 20-30 ปีที่แล้ว ชิ้นส่วนมอเตอร์ไซค์ ติดแอร์ในรถยนต์ ในบ้าน
  2. หากเส้นทางขนส่งพร้อม สินค้า Cargo Train จะผ่านไทย ดังนั้น ไทยจะเป็น Trading Nation สินค้า ข้าว ยางพารา น้ำตาล
  3. การลงทุนอุตสาหกรรมจะชะลอตัวลง ดังนั้น การพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าของไทยจะใช้รูปแบบเดิมไม่ได้ เพราะว่า 1) บ้านอยู่อาศัย เพิ่มขึ้นมาก ต่างจังหวัดมากกว่าในเมือง เช่น จ.กาญจน์ เกิดเมืองใหม่ รับท่าเรือทวาย และ 2) อุตสาหกรรมลดลง

คำถาม

  • คลองขุดภาคใต้ ได้หรือไม่

คำตอบ คือไม่ได้ เรือแล่นช้า การจัดการเรือในคลองลำบาก ซับซ้อน ต้องมีเรือลาก เรือบังคับ สู้ใช้ระบบท่อไม่ได้ ใส่น้ำมันที่ปากบารา ออกที่ สงขลา ได้เลย

 

“เมืองไทยต้องการคนดีที่ไม่โกง เช่นป๋าเปรมทำได้ดี ต้องดึง ปิยสวัสดิ์ มาทำ เก่งมาก ขอมา 7 อย่าง ให้ทำแค่ 6 อย่าง ทำได้หมด”

 ประเสริฐศักดิ์

ช.อศง-ลท.

วันนี้ได้อะไร วันที่ 30 พฤษภาคม 2555

 

วันนี้บ่ายสองโมงกว่าจะสามโมงแล้ว เป็น Panel Discussion เรื่อง “เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC2005 และเศรษฐกิจไทย... ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.” โดย

  • รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์
  • อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ
  • ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล

 

เริ่มด้วย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวิฒน์

 

  • AEC2005 ไม่ใช่ของใหม่ เพราะเริ่มมาตั้งแต่ 1992 มี AFTA แล้ว เริ่มมาตั้งแต่การรวมตัวทางเศรษฐกิจ (Economic Integration) ไล่ระดับความเข้มข้นในการรวมตัวกันได้ดังนี้
  1. เขตการค้าเสรี (Free Trade Area: FTA)
  2. สหภาพศุลกากร (Customs Union: CM)
  3. ตลาดร่วม (Common Market: CM)
  4. สหภาพเศรษฐกิจ (Economic Union: EU)
  5. สหภาพเศษฐกิจเต็มรูปแบบ (Economic Community: EC)

 

ลองค้นหาใน Google ดู มี “เศรษฐศาสตร์จานร้อน” : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรุงเทพธุรกิจ  วันที่ 13 ตุลาคม 2546 อธิบายไว้ดังนี้

 

  1. เขตการค้าเสรี (Free Trade Area) คือ การที่ประเทศในกลุ่มยกเว้นการเก็บภาษีศุลกากรระหว่างกัน ทำให้การค้าระหว่างสมาชิกได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากร เช่น กรณีของอาฟตา AFTA ที่กลุ่มประเทศอาเซียน ได้พยายามจัดตั้งมาเกือบ 20 ปีแล้ว และกรณีของนาฟตา NAFTA ที่สหรัฐ แคนาดา และ เม็กซิโก ได้จัดตั้งเป็นเขตการค้าเสรีขึ้น เมื่อ 5 ปีที่แล้ว
  2. สหภาพศุลกากร (Customs Union) คือ ประเทศสมาชิกมีข้อตกลงยกเว้นภาษีศุลกากรและข้อจำกัดทางการค้าระหว่างกัน และต้องกำหนดอัตราภาษีศุลกากรระดับเดียวกันสำหรับสินค้าที่นำเข้าจากประเทศนอกกลุ่ม ซึ่งเป็นวิวัฒนาการสำคัญของการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ
  3. ตลาดร่วม (Common Market) เป็นการขยายการรวมตัวทางเศรษฐกิจให้ครอบคลุมถึงปัจจัยการผลิตและการบริการ ทำให้ปัจจัยดังกล่าวสามารถเคลื่อนย้ายระหว่างกันได้โดยเสรี เช่น การเคลื่อนย้ายของผู้ใช้แรงงานและเงินทุนโดยอิสรภาพในตลาดร่วมไม่เพียงแต่การซื้อ-ขาย สินค้า โดยปลอดภาษีระหว่างกัน เช่น ในกรณี 1 และ 2 การรวมตัวทางเศรษฐกิจในลักษณะนี้ดูเสมือนว่า จะใกล้เคียง AEC ที่เพิ่งประกาศออกมามากที่สุด (ประกาศมาตั้งแต่ปี 2546?)
  4. สหภาพเศรษฐกิจ (Economic Union) เป็นการรวมตัวทางเศรษฐกิจที่แนบแน่นที่สุด กล่าวคือ นอกจากการรวมตัวตามข้อ 3 ยังรวมถึงการใช้นโยบายการเงินและนโยบายการคลังที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอีกด้วย

 

  • ตัวอย่างของสหภาพเศรษฐกิจคือ สหภาพยุโรป และมลรัฐของประเทศสหรัฐอเมริกานั่นเอง เพราะอาศัยเงินสกุลเดียวกัน (ซึ่งหมายถึงนโยบายการเงินเดียวกัน) ตลอดจนการเก็บภาษีโดยรัฐบาลกลาง (สหรัฐ) หรือ การดำเนินนโยบายการคลังที่มีความสอดคล้องกัน (สหภาพยุโรป) และการใช้กฎหมายทางเศรษฐกิจการเงินร่วมกัน จะแตกต่างกันบ้างก็จะมีภาษีท้องถิ่นที่แตกต่างกันเล็กน้อย ตลอดจนกฎเกณฑ์มาตรฐานการทำธุรกิจที่แตกต่างกันในรายละเอียดที่ค่อนข้างจะปลีกย่อย
  • พัฒนาการ
    • เขตการค้าเสรี 1986-1993 Uruguay Round 1) สินค้าอย่างเดียว 2) ไม่มีโควต้า ไม่มีข้อยกเว้น 3) มีสัญชาติสินค้า แหล่งกำเนิดสินค้า
    • ประชาคมถ่านหินยุโรป 1952 -- > ประชาคมยุโรป 1964 -- > European FTA (EFTA)
    • Asian FTA (AFTA) 1992  ลดภาษีสินค้า -- > AEC ประกาศ 1993 หลักการ 3 อย่าง คือ 1) สินค้าเสรี 2) บริการเสรี และ 3) เงินลงทุนเสรี จะมาใช้จริง 2015 มี 3 อย่างเหมือนกัน แต่องค์ประกอบต่างกัน คือ 1) เศรษฐกิจ 2) ความมั่นคง และ 3) วัฒนธรรม

 

อาจารย์มนูญ ศิริธวรรณ

  • ภาพแรกความต้องการพลังงานโลกในปี 2010 และเพิ่มเติมจนถึงปี 2035 อีก 25 ปีจากนี้ไป ก๊าซธรรมชาติและพลังงานทดแทนจะสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นถึง สองในสาม แต่อย่างไรก็ตามทั้งหมด น้ำมันก็ยังคงเป็นลำดับหนึ่ง คือ 28% (ปี 2010+Incremental Demand)
  • ญี่ปุ่นกว้านซื้อ LNG มาแทน NUC ทำให้ราคา LNG จาก 13-14 USD/ล้านบีทียู เพิ่มขึ้นไปเป็น 16-17 USD/ล้านบีทียู
  • ไทยนำเข้าตั้งแต่ปีที่แล้ว เริ่มเดินเครื่อง 1 ล้านตัน จากขนาดโรงปรับสภาพก๊าซจากของเหลวเป็นสภาพก๊าซ 5 ล้านตัน เต็มที่ 2 Units ก็ 10 ล้านตัน การที่ราคาแพงมาก ทำให้ ค่าไฟฟ้า Ft เพิ่มขึ้นมาก เมื่อเทียบกับราคาก๊าซธรรมชาติ (NG) 10 USD/ล้านบีทียู
  • World Energy Outlook 2011 MENA แสดงให้เห็นว่าเงินลงทุนในกิจการน้ำมันในปี 2035 จะขึ้นไปถึง 100,000 ล้านดอลลาร์/ปี เพื่อให้ได้ปริมาณเพิ่มขึ้นจาก 3.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในปี 2015 เป็น 6.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในปี 2020 ประเด็นสำคัญคือราคาน้ำมันจะเป็น 150 USD/บาร์เรล เมื่อต้นปี 125 USD/บาร์เรลนั้นมีสาเหตุจากอิหร่าน ปัจจุบัน ก็ราว 100 USD/บาร์เรล
  • ประเทศผู้ผลิตน้ำมันอันดับ 1-5 คือ อิรัก ซาอุดิอารเบีย บราซิล แคนาดา คาซัคสถาน
  • ประเทศผู้ผลิตก๊าซ คือ รัสเซีย สหรัฐ จีน อิหร่าน กาต้าร์ โดยสหรัฐเพิ่มขึ้นจากเทคโนโลยีใหม่ในการผลิตก๊าซด้วยการอัดสารเคมีและน้ำลงไปในหลุมเจาะ ก็ขายไปได้อีก 250 ปี และทำให้ราคาลดลงจาก 4 USD/ล้านบีทียู เหลือเพียง 2.x USD/ล้านบีทียู เท่านั้น หากผลิตขึ้นมาขายต่างประเทศ มีต้นทุน 9 USD/ล้านบีทียู ราคาขาย 11-12 USD/ล้านบีทียู
  • มูลค่าเพิ่มของก๊าซที่ผลิตในไทย เป็นวัตถุดิบปิโตรเคมี 5.3 เท่า ผลิตไฟฟ้า 1.1 เท่า ประเทศมาเลเซีย ขายก๊าซเป็น LNG  16 USD/ล้านบีทียู แล้วซื้อถ่านราคาถูกกว่ามาผลิตไฟฟ้า (ขายไทย)
  • ประเทศไทยจำเป็นต้อง 1) กระจายเชื้อเพลิง ปี 2022 พลังงานทดแทน 20% 2) ลด Energy Intensity 25% ในปี 2030 และ 3) Integration of ASEAN Energy ตามข้อได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์ของไทย
  • ไทยจะสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ได้ยากขึ้น ต้องพลิกบทบาทเป็นผู้นำด้านพลังงานทดแทน/พลังงานหมุนเวียน ขนาดเล็ก แทน

 

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล

  • ภาพเศรษฐกิจไทย GDP ปี 2555 – 2556 ประมาณ 6.0% – 5.8% เงินเฟ้อ 3.5%

 

  • วัฏจักรการลงทุนประมาณ 15 ปี รอบที่แล้วปี 2540 ประมาณ 40% ของ GDP น้ำท่วมปีที่แล้วก็มีผลดี เพราะเครื่องจักรเก่าอายุ 30-40 ปี มีคนช่วยออกค่าเปลี่ยนเครื่องให้บางส่วน จากที่จะต้องออกค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด
  • ชาติเอเซีย เพิ่มการลงทุนใน 5-10 ปีข้างหน้า ขณะที่ US UK ปิดการลงทุนหมดแล้ว 5-10 ปีที่ผ่านมาเป็นจีนและอินเดีย
  • บริษัทไทยเริ่มไปลงทุนในลาว อินโด จีน มาเลย์ แล้ว เช่น มิตรผลปลูกอ้อยในลาว บ้านปูไปลงทุนในอินโด ผลิตชิ้นส่วนมอเตอร์ไซค์ไปอินโด เทคนิคการผลิตเขาล้าหลังเรา 20 ปี
  • เอเชียจะใช้เงินสกุลอะไร หยวนของจีนจะค้าขายเยอะ

 

ประเสริฐศักดิ์

ช.อศง-ลท.

จันทิมา ลีละวัฒนากูล

วันที่ 29 พฤษภาคม 2555 เป็นครั้งแรกที่ได้เข้าไปในเสถียรธรรมสถาน มีบรรยากาศของความสงบ ร่มเย็น เต็มไปด้วยต้นไม้ นานาพรรณ หลังจากสวดมนต์ทำวัตรเช้าแล้ว เป็นการเดินจงกรม สอนโดยแม่ชี ซึ่งสอนวิธีเดินอย่างมีสติ เข้าใจง่าย และปฏิบัติในวันนั้นด้วยความตั้งใจและมีสติจริงๆ เมื่อมาฟังการบรรยายธรรมของท่านแม่ชีศันสนีย์ ที่สอนให้จัดการกับความทุกข์ มองโลกในทางบวก ก็ยิ่งทำให้เราเข้าใจยิ่งขึ้นว่าสุขหรือทุกข์อยูที่ใจเรานี่เอง ปรับวิธีคิด ชีวิตเปลี่ยน ตอนบ่ายเข้าสู่การนอนสมาธิและนั่งสมาธิ ได้ความสุขมาเต็มเปี่ยม ขอบคุณค่ะที่ได้ให้มีเวลามาชำระจิตในช่วงสั้นๆแต่ได้กลับไปอย่างมากมาย ขออนุโมทนาบุญให้แก่อาจารย์ทุกท่าน เพื่อนๆพี่ๆน้องๆที่อบรมด้วยกันและ ครอบครัว ให้มีความสุขด้วยเทอญ

สรุปประเด็นจากการอ่านหนังสือ MOJO

MOJO คือพลังเชิงบวกต่อสิ่งที่เกิดขึ้นกับสิ่งที่เราทำอยู่ในปัจจุบัน และสิ่งนี้ได้ถ่ายทอดไปสู่ผู้อื่นทำให้ผู้คนอื่นรู้สึกถึงพลังนี้ด้วย MOJO ทำให้เราได้พบกับความสุขและความหมายในชีวิต MOJO จะมากน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยสี่อย่าง คือ ความเป็นตัวตน ความสำเร็จ ชื่อเสียง และการยอมรับความจริง

องค์ประกอบของ MOJO อันแรก คือ “ความเป็นตัวตน” (Identity) หรือ Who do you think you are?

องค์ประกอบที่สอง คือ “ความสำเร็จ” (Achievement) หรือ what have you done lately? และความสำเร็จนั้นมีผลกระทบต่อคนอื่น (Impact) ด้วย

องค์ประกอบที่สาม คือ “ชื่อเสียง” หรือ Who do other people think you are? “ชื่อเสียง” เป็นสิ่งที่แสดงว่าคนอื่นเขามองราอย่างไร และนำไปพูดต่อๆกันว่าเราเป็นใคร

องค์ประกอบที่สี่ในการสร้าง MOJO คือ “การยอมรับ” (Acceptant) ถามว่าเราต้องเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ขั้นแรกต้องเริ่มจากการที่เราต้องยอมรับก่อนว่าเราจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง และอะไรบ้างที่เราจะต้องเปลี่ยนแปลง อะไรที่เราเปลี่ยนแปลงได้ อะไรที่เราเปลี่ยนแปลงไม่ได้

ถ้าเราเปลี่ยนแปลงตัวเองไม่ได้ ก็ไม่ต้องไปเปลี่ยนแปลงคนอื่น เราต้องยอมรับว่ามีบางเรื่อง เช่น สันดานของเราเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ดังนั้นก็ยอมรับ (Accept) มันเสีย หรือ แทนที่จะยอมรับว่าผู้บริหารมีอำนาจเหนืองานของเรา พนักงานบางคนกลับเลือกที่จะต่อสู้กับผู้บริหาร ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่เคยได้ผล แทนที่จะปล่อยให้ความผิดหวังผ่านไป และกลับมาดูว่าอะไรที่ทำให้ตนเองผิดพลาด แต่กลับไปต่อว่าผู้อื่น สุดท้ายเราก็ไม่ได้เรียนรู้ข้อผิดพลาด ซึ่งถ้าปล่อยให้เป็นอย่างนี้ต่อไป ความสุขใจในชีวิตก็จะหมดไป ไม่สามารถยอมรับอะไรก็ตามที่นำไปสู่การล้มเหลวในชีวิต การเข้าใจผลกระทบและปฏิสัมพันธ์ที่มีต่อความเป็นตัวตน การบรรลุชื่อเสียง และการยอมรับนั้น สามารถเปลี่ยนให้เป็น MOJO ของเราได้ทั้งในชีวิตการทำงานและในชีวิตประจำวัน บางคนจะมี MOJO ในทุกงานที่เขาทำเพราะเขามีอารมณ์ใส่ใจ แม้ว่างานที่เขาทำอาจจะเป็นงานที่จำเจน่าเบื่อก็ตาม

16 พฤษภาคม 2555 : ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่น

เรียนรู้สถานการณ์การใช้พลังงานของประเทศในช่วง ปี 2553 จนถึงปัจจุบัน ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดในปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 24,571.50 เมกะวัตต์ (เมื่อ 29 มีนาคม 2555) ประมาณการแหล่งเชื้อเพลิงของโลกที่แสดงว่าพลังงานจากเชื้อเพลิงถ่านหินและนิวเคลียร์ยังคงเป็นพลังงานที่พึ่งพาได้ในอนาคตอีกร้อยกว่าปี

การที่โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟูกูชิมาไดอิจิ เกิดการระเบิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 255 นั้น มีสาเหตุมาจากการเกิดแผ่นดินไหวในระดับ 8.9 ริกเตอร์ โดยขณะที่เกิดแผ่นดินไหวนั้นระบบควบคุมอัติโนมัติได้สั่งการให้โรงไฟฟ้าหยุดทำงานในทันที และใช้ระบบปั๊มน้ำฉุกเฉินของโรงไฟฟ้าเพื่อระบายความร้อนให้แก่เครื่องปฏิกรณ์ ต่อมาได้เกิด After shock และเกิดคลื่นสึนามิที่มีระดับน้ำสูงกว่า 10 เมตรบริเวณชายฝั่งทะเลญี่ปุ่น เข้ากระแทกตัวโรงไฟฟ้า ทำให้เครื่องยนต์ดีเซลสำหรับระบบปั๊มน้ำฉุกเฉินของโรงไฟฟ้าเสียหายหยุดทำงานลง จึงเกิดการสะสมของความร้อนภายในเตาปฏิกรณ์จนมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นสูงมาก จนทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีระหว่างเปลือกเซอร์โคเนียมที่หุ้มแท่งเชื้อเพลิงและออกซิเจนเกิดก๊าซไฮโดรเจนขึ้น ซึ่งต้องถูกระบายออกไปยังอาคารคลุมตัวปฏิกรณ์ และคาดว่าก๊าซไฮโดรเจนที่ออกไปปะทะกับออกซิเจนในอากาศหรือน้ำ จึงเกิดการระเบิดขึ้นส่งผลต่ออาคารคลุมปฏิกรณ์เสียหาย

จากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ทุกโรงในญี่ปุ่นต้องหยุดเดินเครื่อง เพื่อทำการทดสอบระบบความปลอดภัยใหม่ทั้งหมด

วันพุธ 30 พ.ค. 2555 (ภาคเช้า)

People Management โดย อ.พจนารถ ซีบังเกิด

ท่านอาจารย์จิมมี่ได้กล่าวว่า ถ้าเราเข้าใจมนุษย์อย่างแท้จริง เราก็สามารถบริหารอะไรก็ได้

จิตประภัสสร คือ จิตที่บริสุทธ์ จิตเดิมจิตแท้ เป็นจิตที่ยังไม่ถูกอะไรปรุงแต่งหรือเข้าครอบนำ

เรียนรู้การสังเกตบุคคลที่สนทนาด้วย ว่าคิดอย่างไรโดยดูจากการแสดงออกทางสายตา

ได้รู้จักกับวิชา NLP Neuro-Linguistic Programing ซึ่งว่าด้วยเรื่องของการสร้างความไว้วางใจที่แท้จริง วิธีการตั้งเป้าหมายส่วนตัว วิธีการสำรวจปัญหา เป้าหมาย วิธีการทำความเข้าใจ และสื่อสารกับวิธีคิดที่หลากหลายได้อย่างลึกซึ้ง มุมมองที่แตกต่างและหลากหลายจากประสบการณ์จริงเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจของสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และการโค้ช วิธีการโน้มน้าวเชิงบวก เป็นศาสตร์ที่จะสามารถจัดการเคลื่อนไหวของร่างกาย และความคิดให้สอดคล้องกันอย่างมั่นใจ

วันพุธ 30 พ.ค. 2555 (ภาคบ่าย) มลว. ปรีดิยาธร เทวกุล

นโยบายของรัฐที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ได้แก่ การเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ ทำให้ SME ไทยเริ่มย้ายฐานการผลิตไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว เขมร หรือเวียดนาม เนื่องจากมีค่าจ้างแรงงานที่ถูกกว่าทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง สามารถแข่งขันกับผู้ผลิตรายอื่นได้ ในเรื่องของการขึ้นราคาพืชผลขั้นต่ำ ทำให้การส่งออกของพืชผลไทยลดลงเนื่องจากต้องเผชิญกับสินค้าชนิดเดียวกันจากประเทศอื่นที่มีราคาต่ำกว่า การสนับสนุนประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า เช่น เรื่องของการก่อสร้างท่าเรือที่เมืองทวาย ซึ่งในเรื่องนี้ได้คาดการณ์ว่า เมื่อโครงการนี้เกิดขึ้นจะทำให้มีสินค้าส่งผ่านไทยมากขึ้น ความต้องการใช้ไฟฟ้าในกรุงเทพเพิ่มขึ้น การคมนาคมทางรถไฟจะเพิ่มขึ้นในเส้นทาง จีน-ลาว-ไทย และไทยจะกลายเป็น Trading Center

ผลกระทบจาก AEC 2015 กฟผ. อาจต้องปรับเปลี่ยนสมมติฐานในการคาดการณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศเสียใหม่ เนื่องจากในภาคครัวเรือนจะมีการใช้ไฟฟ้ามากขึ้น ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมจะใช้ไฟฟ้าลดลง การใช้ไฟฟ้าของคนต่างจังหวัดเพิ่มขึ้น และกรุงเทพยังคงมีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น


เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC 2015 และเศรษฐกิจไทย...ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ. โดย ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล, อ.มนูญ ศิริวรรณ และ รศ. ดร. สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

รศ.ดร.สมชาย ได้คาดการณ์ว่า AEC จะทำให้เกิดเสรีใน 4 ด้าน ด้วยกัน คือ ด้านสินค้า, ด้านแรงงาน, ด้านการลงทุน และด้านการบริการ โดยในด้านสินค้าทุกประเภทจะสามารถเข้ามาได้ 100% โดยไม่มีกำแพงด้านภาษี (ภาษี 0%) ไม่มีโควตา และด้านบริการเข้ามาในไทยได้ 100% ด้านการลงทุน 100% ด้านการเงินก็จะไม่มีการควบคุมจำนวนเงินออกนอกประเทศ เสรีในเรื่องการซื้อหุ้นข้ามชาติ และการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ และคนจากยุโรปหรือจากที่อื่นนอกกลุ่ม AEC สามารถเดินทางเข้าออกกลุ่มประเทศ AEC ได้โดยใช้ VISA ของประเทศใดประเทศหนึ่งที่เป็นสมาชิก AEC นอกจากนั้นยังได้พูดถึงเหตุผลว่า ในกลุ่ม AEC จะไม่มีการใช้เงินสกุลเดียวกันอย่างแน่นอน

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ได้คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยช่วงครึ่งหลังปี 2555 จะลดลงจากประมาณการณ์เล็กน้อย (จาก 6% ไป 5.8%) แรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกต่อไปไม่ใช่มาจากสหรัฐหรือยุโรปแต่จะมาจากเอเชีย และมองว่า AEC จะเป็นพื้นที่ที่น่าลงทุนมากที่สุดในโลกใน 5 ปี ข้างหน้า และประเทศไทยต้องตัดสินใจว่าจะเดินในอุตสาหกรรมประเภทไหนต่อไปในอนาคต และยังได้พูดถึงผลเสียของการใช้เงินสกุลเดียวกันของประชาคมยุโรป ซึ่งทำให้ประเทศกรีซและสเปนประสบปัญหาอยู่ในขณะนี้

อ.มนูญ ศิริวรรณ ได้ให้ความรู้ในเรื่องของพลังงานว่า ความต้องการพลังงานของโลกจะเพิ่มเรื่อยๆ แต่เรายังคงต้องพึ่งพลังงานจากฟอสซิลอยู่ โดยพลังงานจากก๊าซธรรมชาติและพลังงานหมุนเวียนจะเป็นพลังงานแห่งอนาคต ราคา LNG ได้เพิ่มสูงขึ้นนั้นมีสาเหตุมาจากการที่ญี่ปุ่นต้องใช้พลังงานจากก๊าซธรรมชาติมากขึ้น เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการระเบิดของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟูกูชิมาไดอิจิ ทำให้โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ทุกโรงในญี่ปุ่นต้องหยุดเดินเครื่อง ปัจจุบัน ปตท. ได้มีการนำเข้า LNG มาใช้เป็นเชื้อเพลิงแล้ว โดยมีคลังเก็บสำรองอยู่ที่มาบตาพุด

อนาคตประเทศอิรักจะกลายเป็นผู้ผลิตน้ำมันอันดับหนึ่งของโลก และประเทศสหรัฐก็จะเปลี่ยนสถานะจากผู้นำเข้าน้ำมันไปเป็นผู้ส่งออกน้ำมัน

เทคโนโลยีใหม่ในการผลิตก๊าซ หรือ Shale Gas จะทำให้ผลิตก๊าซธรรมชาติได้มากขึ้นในอนาคต

วันที่ 30 พฤษภาคม 2555 หัวข้อ People Management&Coaching :The New Role of EGAT Leadership โดย อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด อาจารย์ได้ถ่ายทอดถึงวิธีอ่านคนจากการแสดงออกทางสายตา ตามหลัก Neuro Linguistic Programing โดยอาศัยการทดสอบด้วยคำถามต่างๆและดูปฏิกิริยาในการตอบคำถามผ่านสายตาที่ผุ้ตอบแสดงออก สำหรับการสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อผุ้เกี่ยวข้องต้องใช้การ Matching กับ Feeling เพื่อให้เขายอมรับเราและยอมรับการ Lead จากเรา สำหรับการทำ Matching คือการทำให้เราเหมือนเขาต้องใช้การ Pacing เข้าช่วยคือเขาทำอะไรเราทำอย่างนั้น อนึ่งต้องยอมรับว่ามนุษย์มีความต้องการขั้นพื้นฐานแตกต่างกันตามภูมิหลังของแต่ละคน และมีการคิดผ่านสมองที่ต่างกันตาม Map ของแต่ละคน

        หัวข้อ ทิศทางเศรษฐกิจไทยกับการปรับตัวของ กฟผ. โดย หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล ท่านได้กล่าวถึง 5 ปีข้างหน้าเศรษฐกิจไทยจะเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เนื่องจาก 

1.นโยบายรัฐบาล -มีมาตรการเพิ่มค่าแรงขั้นตำเป็น 300 บาทต่อวัน รับจำนำข้าวเกวียนละ 15,000 บาท ข้อดี เพิ่มรายได้ให้กับผู้มีรายได้ต่ำ สร้าง Demand ในชนบท ข้อเสีย อุตสาหกรรม SME ที่มี Margin ต่ำไม่สามารถอยู่ได้ การรับจำนำข้าวมีช่องทางทุจริต

- มีการสร้างเส้นทางรถไฟอย่างต่อเนื่องเชื่อมโยงกันทั้งระบบ ทำให้มีคอนโดเลียบทางรถไฟเกิดขึ้นหนาแน่นปริมาณการใช้ไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้น
- สร้างรถไฟรางคู่เพื่อรองรับจากสิบสองปันนา เข้าลาว เข้าไทยที่เชียงของ เด่นชัย
- สร้างท่าเรือน้ำลึกที่ปากบาลา สตูล ลดระยะเวลาการขนสินค้า และเป็นท่าเรือคู่ขนานกับท่าเรือทวาย

2.เศรษฐกิจโลก ยุโรโซนเศรษฐกิจมีปัญหาเกิดจากระบบประชานิยม เศรษฐกิจหดตัวมีผลกระทบต่อการส่งออก ตลาดหลักทรัพย์ไม่สามารถขึ้นไปได้เพราะนักลงทุนไม่กล้าลงทุน อสังหาริมทรัพย์ใน กทม.เริ่มไม่ดียกเว้นคอนโดเลียบทางรถไฟ 3.AEC -สินค้า การลงทุนข้ามประเทศไม่มีข้อจำกัด ทำให้เกิดตลาดใหม่ ค่าแรงถูก นักธุรกิจไทยจะไปลงทุนใน ลาว พม่า อินโดนีเซียมากขึ้น - หากเส้นทางขนส่งพร้อม ไทยจะเป็นศูนย์กลางการค้า (Trading Center) เนื่องจากอยู่ในชัยภูมิที่ดี และพ่อค้าไทยจะเป็น Trading Nation -อุตสาหกรรมในประเทศชะลอตัวลงเนื่องจากนักลงทุนไทยไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน มีผลให้การใช้ไฟฟ้าในภาคอุตสาหกรรมลดลง แต่ภาคประชาชนจะใช้ไฟฟ้ามากขึ้นอย่างรวดเร็วในชนบท

 ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวทำให้ทราบถึงแนวโน้มและกลุ่มเป้าหมายการรใช้ไฟฟ้าเพื่อ กฟผ.จะเตรียมการรองรับต่อไป

วันที่ 30 พฤษภาคม 2555 เวลา 15.00-18.00 น. หัวข้อ เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเชียน AEC 2015 และเศรษฐกิจไทย ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ. โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล และ อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ

     ดร.สมชายฯ ได้กล่าวถึงพัฒนาการของการเกิด AEC 2015 เป็นผลมาจาก AFTA1992 ซึ่งมีการพัฒนาการเช่นเดียวกับสหภาพยุโรป เมื่อถึงปี 2015 ซึ่ง AEC มีผลบังคับใช้จะเกิด 

1.เปิดเสรีทางการค้า 2.ไม่มีระบบโควต้า 3.ไม่มีกำแพงภาษี สำหรับเขตการค้าเสรีเปิดเพื่อ 1.สินค้าเสรี 2.บริการเสรี 3.เงินลงทุนเสรี ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะมีผลกระทบเศรษฐกิจไทย โดยจะมีการซื้อหุ้นข้ามประเทศ สามารถระดมทุนจากตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ขยายการซื้อขายตราสารหนี้ บุคลากรด้านวิศวกร แพทย์ สถาปนิก นักบัญชี นักสำรวจ จะมีการเคลื่อนย้ายไปหาส่วนที่ได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่า ซึ่งจะทำให้บุคลากรขาดแคลนในบางประเทศ บริษัทในประเทศไทยจะต้องปรับมาตรฐานเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ ส่วนที่ไม่เข็มแข็งจะต้องปิดกิจการ

    อาจารย์มนูญฯ กล่าวถึงสถาการณ์พลังงานและแนวโน้มของราคาเชื้อเพลิงที่จะแพงขึ้นต่อไป นำมันจะหายากและมีราคาสูง ก๊าซธรรมชาติจะมีบทบาทมากขึ้น และปัจจุบันสหรัฐได้มีการนำเทคโนโลยี่มาใช้ทำให้สามารถผลิตก๊าซธรรมชาติจากหลุมเก่าที่ปิดแล้ว ทำให้ในอนาคตสหรัฐอาจจะเป็นผู้ผลิตรายใหญ่เพื่อส่งออก อนึ่งสำหรับการใช้พลังงานของโลกมุ่งเน้นไปที่การใช้พลังงานสะอาด ปราศจากมลภาวะ ซึ่งจากสถานการณ์ดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบต่อการดำเนินการของ กฟผ.ดังนี้

1.การก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ทำได้ยาก ยกเว้นโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 2.ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานให้เข้าถึงและร่วมมือกับชุมชนเพิ่มมากขึ้น 3.ปรับปรุงองค์กรให้ตอบสนองต่อภาระกิจที่เปลี่ยนไป เช่นจากผู้ผลิตไฟฟ้าเป็นผู้พัฒนาประสิทธิภาพการใช้พลังงานเพื่อลดภาวะโลกร้อน 4.ตอบสนองโจทย์ด้านพลังงานเพื่อความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อมที่ดี โดยพลิกบทบาทเป็นผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียนและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 5.ต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางโครงข่ายด้านพลังงานในอาเซียน

  ดร.กอบศักดิ์ฯ กล่าวถึงทิศทางและการเติบโตของเศรษฐกิจโลก เอเชีย และประเทศไทย โดยการลงทุนในเอเชียสหรัฐและยุโรปจะลดการลงทุนแต่จีนและอินเดียจะมีบทบาทมากขึ้น สกุลเงินหยวนจะมีบทบาทในการค้าขายมากขึ้น สำหรับผู้ประกอบการไทยจะไปลงทุนในลาว อินโดนีเซีย มาเลย์เซียมากขึ้น
  ซึ่งจากข้อมูลอาจารย์ทั้ง 3 ท่านสามารถเห็นแนวโน้มและทิศทางเศรษฐกิจ กฟผ.สามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนผลิตไฟฟ้า (PDP) ในอนาคตได้

15 พฤษภาคม 2555
การบรรยายพิเศษ หัวข้อ ประสบการณ์การเรียนรู้ในรุ่น 2 ของข้าพเจ้ากับการปรับใช้เพื่อการบริหาร กฟผ.ในยุคที่โลกเปลี่ยน โดย คุณสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ผวก.ได้เล่าประสบการณ์การเรียนในรุ่นที่ 2 ว่า อ.จีระได้วิเคราะห์หลักสูตรโดยปรับตามความต้องการของลูกค้า ต้องการให้ผู้อบรมได้รู้ศาสตร์ด้านกว้าง เมื่อเป็นผู้บริหารระดับสูงขึ้นต้องตัดสินใจโดยใช้ศาสตร์ต่างๆในการตัดสินใจ ผวก.จึงต้องการให้ผู้บริหารพัฒนาตัวเองให้พร้อมอยู่เสมอและมองด้านกว้างนึกถึงประเทศชาติเป็นหลัก ผวก.ยังได้เล่าประสบการณ์การไปดูงานที่ MELBOURNE ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร ผวก.เคยเขียนไว้ใน BLOG ของ อ.จีระว่า กฟผ.มีปัญหาด้านคนอยู่สองอย่าง คือ คนต่อกำลังการผลิตมากเกินไป อีกปัญหาคือสร้างผู้นำไม่ทัน ผู้นำเติบโตขึ้นมาจากการทำงาน FUNCTION ไม่รู้กว้าง บริษัทอื่นมีบริษัทลูกให้ส่งคนไปบริหาร แต่กฟผ. ไม่มี อันนี้เป็นจุดอ่อนด้านโครงสร้างองค์กร ผวก.ได้พูดถึงการรับพนักงานใหม่ประมาญ 700 คนต่อปีว่า ต้องยอมรับว่า กฟผ. อาจไม่ใช่องค์กรที่ดีที่สุดที่คนเก่งจะเลือก ทั้งนี้เนื่องจากงานอาจไม่ท้าทาย เงินเดือนไม่จูงใจ ตอนจบ ผวก. ได้กล่าวว่าการเป็นผู้นำไม่ใช่ใช้เฉพาะสติปัญญา แต่ต้องมีจิตใจที่นึกถึงส่วนรวม สามารถรวบรวมผู้คนไว้ได้ และอย่าทำงานคนเดียว

หัวข้อ ผู้นำ – วัฒนธรรมองค์กร - การบริหารการเปลี่ยนแปลง โดย อาจารย์ประกาย ชลหาญ สิ่งที่สำคัญที่สุดของการทำงาน คือ ผลงานหรือ Performance ผลงานได้มาจาก Competency บวกกับ Motivation ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ คือ ปัจจัยสี่ สูงสุด คือการยอมรับ การจะสร้าง Motivation ให้คนต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้นั้นด้วยว่าเป็นอย่างไร ต้องตั้งคำถามเขาให้มาก ห้ามทึกทัก และต้องถามให้ตรงประเด็น บทบาทของผู้นำมี 4 อย่างได้แก่ หาทางให้ลูกน้องเดิน (path) สร้าง alignment ให้เกิดขึ้น กระจายอำนาจ (empower) และเป็นตัวอย่างที่ดี (role model) ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องปกติ การเปลี่ยนแปลงมีสองอย่าง คือ Top Down และ Bottom Up ซึ่ง Top Down จะมีมากกว่าและจัดการยากกว่า ผู้ที่จะเป็นผู้บริหารต้องเก่งสองอย่าง คือ เก่งคน และเก่งตัวเลข

หัวข้อ เศรษฐศาสตร์พลังงาน โดย ศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ การบรรยายมีเนื้อหาเกี่ยวกับ ปัญหาพลังงานของโลก พลังงานกับเศรษฐกิจไทย ปัญหาพลังงานของไทย และแนวทางการแก้ปัญหาของไทย เกือบ 40 ปี ตั้งแต่เกิดวิกฤตน้ำมันครั้งแรกจนถึงปัจจุบัน ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเคยขึ้นสูงสุดประมาณ 140 เหรียญต่อบาเรลในปี 2008 โลกใช้พลังงานจากน้ำมันในสัดส่วนมากที่สุด รองลงไปคือถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ โลกใช้พลังงานฟอสซิลมากทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ไทยใช้พลังงานน้ำมัน 45% ของพลังงานทั้งหมด ก๊าซธรรมชาติสำคัญรองลงมาใช้ 41% ที่เหลือเป็นพลังงานหมุนเวียน ปัญหาพลังงานของไทย คือ พึ่งพาน้ำมันและพลังงานอื่นๆจากต่างประเทศ การผลิตไฟฟ้าอาศัยก๊าซธรรมชาติมากเกินไป (70%) ความต้องการไฟฟ้าเพิ่มขึ้นทุกปีแต่ไม่มีใครอยากให้สร้างโรงไฟฟ้าไว้ไกล้บ้าน รัฐยังอุดหนุนราคาเชื้อเพลิงบางประเภท ทำให้การใช้พลังงานขาดประสิทธิภาพ แนวทางแก้ปัญหาพลังงานไทย ได้แก่ พึ่งพาเชื้อเพลิงในประเทศมากขึ้น เช่น ลิกไนต์ พลังน้ำ พลังงานหมุนเวียน พึ่งพาไฟฟ้าที่ผลิตจากเพื่อนบ้านแต่ก็เสี่ยง ใช้ถ่านหินสะอาดมากขึ้น ซึ่งราคาค่อนข้างถูก หรือใช้พลังงานนิวเคลียร์ เพราะไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก สุดท้าย อ. พลายพลได้เสนอโครงสร้างราคาน้ำมันทีเหมาะสม และข้อเสนอเกี่ยวกับราคาก๊าซหุงต้ม

17 พฤษภาคม 2555 หัวข้อ High Performance Organization ที่ กฟผ. โดย ดร.สมโภชน์ นพคุณ และ คุณสมชาย ไตรรัตนภิรมย์ คุณสมชาย ในบริบทของการพัฒนาองค์กร HPO ต้องทำหลายอย่างพร้อมกัน แต่สิ่งสำคัญที่สุด คือการบริหารคน ในการเป็น HPO ได้ต้องมีเรื่อง Leadership และ ต้องเป็น People Approach เนื่องจาก Leadership ต้องไป Deal กับคน ต้องมี Vision HPO ไม่ได้ทำโดยคนเดียว แต่ Leadership ทำให้รู้ว่างานที่ตัวเองทำจะไปอยู่ตรงจุดไหน HPO ต้องเป็น Multi Dimension มีเรื่อง Strategy, Leadership และอื่นๆ แต่ที่สำคัญคือการมี Customer Approach ที่มุ่งเน้นการบริการ และผลลัพธ์ที่ต่อเนื่อง ดร.สมโภชน์ HPOในระบบราชการไม่ค่อยพัฒนาเนื่องจาก โครงสร้างไม่มีประสิธิภาพ working process ไม่ดี คนมีลักษณะเป็น individual กฎระเบียบไม่ทันสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ดังนั้น จึงต้องพัฒนาคน การพัฒนาคนต้องทำคนให้เต็มคน ตามความหมายของท่าน ป.ปยุตโต ซึ่งความหมายเหมือนกับของ Steven Covey ซึ่งบอกว่าต้องพัฒนาคนนั้นต้องมี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ สติปัญญา วุฒิภาวะทางอารมณ์สุขภาพ และ คุณธรรม/จริยธรรม แนวคิดการบริหารจัดการที่กล่าวว่า การบริหารประกอบด้วย man, money, material นั้น จะบริหารให้เหมือนกันไม่ได้ ต้องแก้วัฒนธรรมคนไทยให้ทำงานร่วมกันให้ได้ ไม่เช่นนั้น HPO จะไม่เกิด และต้องสร้างด้วยทีมที่เข้มแข็งเป็นลักษณะ Team Spirit องค์กรที่เป็น HPO ต้องเปลี่ยนวัฒนธรรมเดิม ๆ องค์กรเดิม ๆ สู่อะไรใหม่ ๆ ทำให้เกิดการสร้าง Trust ในทุกระดับ การสร้างวัฒนธรรม บรรยากาศ องค์ความรู้ เช่น KM และ LO มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คนในองค์กรปกติจะแยกเป็น 3 ประเภท คือCream มีประมาณ 20-25% Average โดยเฉลี่ยแล้วเก่ง มีประมาณ 50-55% และ Bottom พวกไม่เอาไหนมีประมาณ 20-25% ซึ่งต้องแยกจัดการให้ดี ทำอย่างไรกับคนกลุ่ม 3 ให้ทำงานได้ และทำอย่างไรให้อีก 2 กลุ่ม ทำงานให้ดี งานต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน สร้างความผูกพันต่องาน และให้อิสระในการทำงาน นอกจากนี้ การสร้าง HPO ต้องใช้หลักสร้างคนให้ทำงานร่วมกัน เอาผลลัพธ์สุดท้ายเป็นตัวตั้ง แต่อย่า Empowerment กับคนที่อยู่ Bottom เพราะเขาจะไม่ทำงานเลย

หัวข้อ การอภิปรายนวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน (Social Innovation) กับการทำงานของ กฟผ. โดย ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ ดร.เสรี พงศ์พิศ และ คุณธวัช วัจนะพรสิทธิ์ ครูบาสุทธินันท์ ได้เล่าประสบการณ์การใช้ชีวิตอยู่กับชาวบ้าน คนในชนบทก็ต้องมีองค์ความรู้ รู้จักใช้เทคโนโลยี การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องการจัดองค์ความรู้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก กฟผ. ควรจะประยุกต์รูปแบบในการทำ CSR คือ ต้องอยู่ร่วมกับชุมชน และชาวบ้านให้ได้ หากสามารถเข้าไปนั่งในหัวใจชาวบ้านได้ก็จะสามารถคุยกันได้ทุกเรื่อง ดร.เสรี ให้ความเห็นว่าโลกในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว คนที่อยู่รอดคือคนที่สามารถปรับตัวได้ คนจะกลับมาหาธรรมชาติ คนที่ไม่มีความรู้จะถูกหมด เป็นหนี้ เป็นสิน คนที่มีความรู้จะเปลี่ยนทะเลทรายให้เป็นป่า คนไม่มีความรู้จะเปลี่ยนป่าเป็นทะเลทราย การศึกษาในปัจจุบันยิ่งเรียนยิ่งโง่ ระบบปัจจุบันทำให้คนคิดเองไม่ได้ การเรียนต้องรู้และต้องแก้ปัญหาชีวิตได้ ชุมชนแห่งการเรียนรู้จะแก้ปัญหาได้ เป็นชุมชนเข้มแข็งพึ่งตนเองได้ ยกตัวอย่างเช่น ชุมชนบ้านคลองเปียะ จ.สงขลา ชุมชนสามารถทำกินได้ไม่มีหนี้สูญ มีทุนทางสังคม กฟผ. มีโครงการดีๆหลายโครงการ แต่ต้องทำให้เข้าถึงชาวบ้านให้ได้ คุณธวัช กล่าวว่า คน กฟผ . เป็น Engineering Base ไม่เข้าใจ Social Innovation ซึ่งเปรียบเสมือนจิกซอร์ตัวที่ขาดหายไป คน กฟผ. ต้องปรับตัวเพื่อเสริมส่วนที่ขาดหายไปนี้ กฟผ. ยุคเฟื่องฟูเป็นยุคที่สังคมมีความต้องการไฟฟ้ามาก กฟผ. สามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างรวดเร็ว สามารถดำเนินโครงการได้ง่าย กฟผ. จึงถูกมองว่าเป็น Hero หลังจากยุคประชาธิปไตยเฟื่องฟู สิ่งที่ กฟผ. ทำถึงแม้จะตรงกับความต้องการของสังคม แต่กลับถูกปฏิเสธ และต่อต้าน คน กฟผ. จำเป็นต้องเปลี่ยนจาก Engineering Base มาเป็น Social Base ให้ได้ เดิม กฟผ. ทำ CSR แบบทางเดียวจะต้องให้ชาวบ้านอยู่อย่างสมศักดิ์ศรี ชาวบ้านเองมองทุกอย่างเป็นเศรษฐกิจหมด เดิมความต้องการของชาวบ้านมีไม่มากนัก แต่ปัจจุบันมีมากขึ้น ซึ่ง กฟผ. ต้องหาจุดสมดุลให้ได้ ดร.เสรี โลกทุกวันนี้ต้องการ Social Enterprise ต้องใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้ชาวบ้านพอกินพออยู่ กฟผ. ควรรณรงค์เรื่องลดการพลังงานอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง ต้องอยู่แบบ Win-Win อย่าอยู่กันด้วยความหวาดระแวง ครูบาสุทธินันท์ กล่าวปิดท้ายว่า ทุกปัญหามีทางออก เพียงแต่เราหามันเจอหรือไม่

หัวข้อ การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และเทคนิคการตัดสินใจของผู้บริหารมืออาชีพ โดย รศ.สุขุม นวลสกุล ความขัดแย้งมีทั้งแบบที่ทำให้เกิดปัญหาอุปสรรค ขัดขวาง พินาศ และแบบที่ทำให้เกิดการพัฒนา เป็นทางเลือก ความขัดแย้งมีทั้งแบบส่วนตัวกับส่วนรวม ความขัดแย้งระหว่างบุคคลกับบุคคล บุคคลกับหน่วยงาน และ หน่วยงานกับหน่วยงาน ความขัดแย้งระหว่างบุคคลเกิดจากความอิจฉาริษยา เอารัดเอาเปรียบ ความขัดแย้งระหว่างบุคคลกับหน่วยงาน เกิดจาก ความไม่เข้าใจ ความขัดแย้งระหว่าง หน่วยงานกับหน่วยงาน เกิดจากความไม่เข้าใจบทบาทของตัวเอง ผู้นำที่ดีต้องเรียนรู้วิธีและกระบวนการลดความขัดแย้ง การตัดสินใจที่ดีควรจะแม่นระเบียบ ลดความเกรงใจ และไม่โอ้อวด องค์ประกอบการตัดสินใจประกอบด้วย ข้อมูล ประสบการณ์ การคาดการณ์ ผลกระทบ และสถานการณ์ ผู้นำต้องตัดสินใจให้ถูกต้อง ถูกใจ และถูกจังหวะ ก่อนการเจรจาต่อรองควรมีการเตรียมว่ากับใคร เป้าหมายที่ต้องการเป็นอย่างไร การเป็นผู้นำในระดับที่สูงขึ้นไปก็ยิ่งต้องตัดสินใจเรื่องข้ามศาสตร์ของตนเองมากยิ่งขึ้น

16 พฤษภาคม 2555 หัวข้อ ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคตของ กฟผ. โดย ดร.กมล ตรรกบุตร และ ศ.ดร.ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์ ปัจจุบันโลกใช้เชื้อเพลิงถ่านหินสัดส่วน 41% ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า รองลงมาได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ และนิวเคลียร์ 21% และ 13.5% ตามลำดับ ประเทศไทยผลิตพลังงานไฟฟ้าโดยใช้ก๊าซธรรมชาติเชื้อเพลิง 72.4% รองลงมาเป็นลิกไนต์ และถ่านหินนำเข้า 17.6% กำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศแยกตามผู้ผลิต กฟผ. 47% IPP 39% SPP 9% ที่เหลือซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้าน PDP 2010 กำหนดให้ระเทศไทยสร้างโรงไฟฟ้า combined cycle ขนาด 800 MW 13โรง coal fired thermal plant ขนาด 800 MW 9โรง และ nuclear power plant ขนาด 1000 MW 5โรง ประมาณการไฟฟ้าที่ผลิตจากเชื้อเพลิง 1 กิโลกรัม จากยูเรเนียมเข้มข้น 3-4% 300,000 kWh ก๊าซธรรมชาติ 6 kWh ถ่านหิน 3 kWh น้ำมันเตา 4 kWh กากเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่เหลือจากการผลิตไฟฟ้ามีน้อยมากประมาณ 3-4% โรงไฟฟ้าฟูกูจิมาไดอิชิของญี่ปุ่นซึ่งเป็นแบบ BWR จำนวน 3 หน่วย ได้รับผลกระทบจาก tsunami คิดเป็นค่าความเสียหายประมาณ 15,275 million $ และมีผลทำให้ปัจจุบันโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในญี่ปุ่นต้องหยุดการเดินเครื่องทั้งหมด สำหรับในประเทศไทย IAEA ยืนยันว่าไทยมีความพร้อมขั้นต้น 19 ด้านที่จะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยสรุปหลายประเทศกำหนดแนวทางลดการพึ่งพาพลังงานนิวเคลียร์ในการผลิตไฟฟ้า มติครม. ของไทยให้เลื่อนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์โรงแรกไปปี คศ. 2026 และนำเข้า LNG มาทดแทนพลังงานนิวเคลียร์และถ่านหิน อีกทั้งกำหนดให้ซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้น

หัวข้อ ทิศทางพลังงานกับการทำงานของ กฟผ. โดย คุณไกรสีห์ กรรณสูต และคุณวิรัช กาญจนพิบูลย์ คุณไกรสีห์ พูดถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงว่ามีอยู่ตลอดเวลา เมื่อก่อนยังไม่มี regulator กฟผ. สังกัดสำนักนายกฯก็ให้ กฟผ. ทำงานอย่างเต็มที่ ต่อมาเมื่อสังกัดกระทรวงพลังงานก็เกิดการเปลี่ยนแปลง จากผู้ผลิตรายเดียวก็ให้เอกชนผลิตด้วย รัฐบาลบอกว่าหากเอกชนสร้างโรงไฟฟ้าไม่สำเร็จก็จะให้ กฟผ. สร้าง การสร้างโรงไฟฟ้าในปัจจุบันมีคนต่อต้านมาก เพราะเรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องกระทบวิถีชีวิตชาวบ้าน ดังนั้นการทำงานของ กฟผ. จึงต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน รัฐบาลมีนโยบายที่ชัดเจนในด้านพลังงาน คือ ต้องมีไฟฟ้าใช้อย่างเพียงพอและมั่นคง อีกทั้งยังส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนประมาณ 2000 MW ในอีก 15 ปีข้างหน้า กฟผ.ก็ต้องเตรียมเรื่องโรงไฟฟ้าไว้เพราะพลังงานหมุนเวียนไม่ได้มีใช้ตลอดเวลา กฟผ.ควรศึกษาเรื่อง smart grid (IT+Power) และ DSM เนื่องจากรัฐบาลต้องการให้ลดการใช้พลังงาน (Energy Intensity) ชาวบ้านยังไม่ Trust กฟผ. ดูได้จากหนังสือร้องเรียนตอนที่เป็นที่ปรึกษากรรมาธิการพลังงาน ดังนั้น กฟผ. ต้องสร้างการยอมรับและการมีส่วนร่วมของชาวบ้านให้ได้ เมื่อ กฟผ.ทำได้การสร้างโรงไฟฟ้าก็ไม่ใช่เรื่องยาก คุณไกรสีห์กล่าวชื่นชมทีมงานเตรียมการก่อสร้างโรงไฟฟ้าจะนะ ชุดที่ 1 และขอให้เป็นตัวอย่างแก่โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคต คุณวิรัช พูดถึงเรื่องการคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าและระบบส่งในปัจจุบันว่าเป็นกระแส ปัจจุบัน กฟผ. ให้ความสำคัญด้าน supply side คุณวิรัชเห็นว่า กฟผ. ควรเปลี่ยนมาให้ความสำคัญด้าน demand side คุณวิรัชได้เล่าประสบการณ์เรื่องที่เดินทางไปดูงานกับพวก NGO ที่รัฐ Oregon สหรัฐอเมริกา คุณวิรัชมีความเห็นว่าขณะนี้ กฟผ.อยู่กับการบริหารความจริงและความเชื่อ หากบริหารความจริงจะทำงานไม่สำเร็จ กฟผ.เสียเงินมามากมายกับการบริหารความจริง ดังนั้นตอนนี้ต้องเปลี่ยนเป็นเรื่อง Trust และ CSR ซึ่ง CSR นี้ก็คือ ศีล คือสิ่งที่ต้องรับผิดชอบ

หัวข้อ Trendy Technology and Social Medias for EGAT Executive โดย ดร.วิรัช ศรเลิศล้ำวาณิช

จากการบรรยายได้ทราบถึง Top Ten ของเทคโนโลยี IT ในปี 2012 และในอนาคต จากหลายสำนัก เช่น CNN, IDC, Gartner สำหรับ Social Media ก็เช่นกันทำให้ทราบถึง Future Trends ของ Social Media ผู้นำยุคใหม่ในด้าน IT ได้แก่ สตีฟ จ๊อบส์ ซึ่งเป็นคนที่มีความสามารถในการผลักดันให้เกิดการสร้างนวัตกรรม ตัวอย่างการสร้างผู้นำยุคใหม่ ได้แก่ ให้รางวัลคนที่ทำผิดพลาด ให้พนักงานเสนอโครงการเอง เมื่อได้รับอนุมัติก็ให้เป็นหัวหน้าโครงการ ผู้นำต้องพัฒนา vision, mission, passion เป็นต้น

18 พฤษภาคม 2555 หัวข้อ HR for Non – HR และการสร้างทุนมนุษย์ที่ กฟผ. โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ HR Department ของ กฟผ. ปัจจุบันทำงานแบบ Silo และ Function ซึ่งในอดีตทำงานได้ดี แต่ในอนาคต กฟผ.เปลี่ยนไป HR Function อย่างเดียวจะไม่เพียงพอ และ Line Manager, Non – HR CEO ก็ต้องเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ดังนั้น HR Function ต้องเปลี่ยนบทบาทมาเป็น Smart HR ช่วยเสริมด้วย Non – HR นอกจากนี้ Stakeholders ก็อาจช่วยเสริมเป็นการ Co-Creation บทบาทของ Non – HR ต้องช่วยดูแลลูกน้องของตนเอง และ communicate กับ Non – HR CEO, Stakeholders ทุนคือสิ่งที่ต้องเสียแล้วถึงเวลาก็จะได้ผลคืนมา ในโลกปัจจุบันมีทุนทางเศรษฐกิจหลายตัว หนึ่งในนั้นก็คือ ทุนมนุษย์ซึ่งเป็นทุนที่สำคัญมาก ผู้ที่เขียนเกี่ยวกับทุนมนุษย์ที่เด่นๆ ได้แก่ Adam Smith เป็นผู้ริเริ่มคำว่าทุนมนุษย์ Professor Gray Becker และ P. Schultz ศ.ดร.จีระก็มีทฤษฎี 8K’s และ 5K’s ในการพัฒนาทุนมนุษย์ ทฤษฎีทุน 8K’s ได้แก่ Human Capital, Intellectual Capital, Ethical Capital, Happiness Capital, Social Capital, Sustainability Capital, Digital Capital, Talented Capital และ ทฤษฎีทุนใหม่ 5K’s ได้แก่ Creativity Capital, Knowledge Capital, Innovation Capital, Emotional Capital, Cultural Capital สำหรับ Happiness Capital ใน model ของ อ.จีระได้แก่ Healthy, Passion, Purpose, Meaning, Capability, Learning, Prepare, Teamwork, Coaching, Challenge, Enrichment วิธีการสร้าง Social Capital ต้องเป็นคนชอบคบหากับคนหลายกลุ่ม พร้อมที่จะเรียนรู้และรับฟังความเห็น มีบุคลิกที่เข้ากับคนง่าย Creativity Capital ได้จากอ่านหนังสือดีๆ พูดคุยและปะทะกับคนเก่ง Innovation Capital ต้องมีความคิดใหม่ๆ เปลี่ยนความคิดเป็นการกรทำ และทำให้สำเร็จ ทฤษฏี 3วงกลมเพื่อบริหารทุนมนุษย์ ได้แก่ context, competency, motivation context ดูว่าองค์กรเอื้ออำนวยหรือไม่ competencyประกอบด้วย Functional competency, organization competency, leadership competency, entrepreneurial competency, macro and global competency ทฤษฎี HRDS เป็นยุทธศาสตร์บริหารคนและสร้างทีม ไดแก่ Happiness, Respect, Dignity, Sustainability สรุปสุดท้ายในเรื่องทุนมนุษย์ขององค์กร สำคัญคือผู้นำองค์กรต้องทำจริง อุปสรรคคือ ไม่ทำ ทำไม่สำเร็จ หรือทำงาน routine

หัวข้อ บทบาทของ Regulator และ Energy Tax กับการทำงานของ กฟผ. โดย ดร. ดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน วัตถุประสงค์ของ พ.ร.บ. การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 - ส่งเสริมให้มีบริการด้านพลังงานอย่างเพียงพอ มีความมั่นคง และมีความเป็นธรรมต่อผู้ใช้พลังงานและผู้รับใบ อนุญาต - ปกป้องผลประโยชน์ของผู้ใช้พลังงานทั้งทางด้านอัตราค่าบริการและคุณภาพการให้บริการ - ส่งเสริมการแข่งขันในกิจการพลังงาน และป้องกันการใช้อำนาจในทางมิชอบในการประกอบกิจการพลังงาน - ส่งเสริมให้การบริการของระบบ โครงข่ายพลังงานเป็นไปด้วยความเป็นธรรม โปร่งใส และไม่มีการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม - ส่งเสริมให้การประกอบกิจการพลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นธรรมต่อผู้รับใบอนุญาตและผู้ใช้พลังงาน - ปกป้องสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้พลังงาน ชุมชนท้องถิ่น ประชาชน และผู้รับใบอนุญาต ในการมีส่วนร่วม เข้าถึง ใช้ และจัดการด้านพลังงาน ภายใต้หลักเกณฑ์ที่ให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย - ส่งเสริมการใช้พลังงานและการใช้ทรัพยากรในการประกอบกิจการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และความสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติ - ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนในการประกอบกิจการไฟฟ้าที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ประกอบด้วย 3 รองเลขาธิการฯ มีหน้าที่หลักๆ ได้แก่ การอนุญาตการประกอบกิจการพลังงาน การกำกับดูแลกิจกรรมพลังงาน การคุ้มครองผู้ใช้พลังงาน การพิจารณาข้อพิพาทและการอุทธรณ์ การใช้อสังหาริมทรัพย์ กองทุนพัฒนาไฟฟ้า จัดตั้งขึ้นภายใต้พ.ร.บ. การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 วัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนสนับสนุนให้มีการให้บริการไฟฟ้าไปยังท้องที่ต่างๆอย่างทั่วถึง เพื่อกระจายความเจริญไปสู่ท้องถิ่น พัฒนาชุมชนในท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า และเพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนและเทคโนโลยีในการประกอบกิจการไฟฟ้าที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อัตรานำส่งเงินเข้ากองทุนพัฒนาไฟฟ้า สำหรับผู้ผลิตไฟฟ้า เมื่อใช้เชื้อเพลิงที่ผลิตเป็น ก๊าซธรรมชาติ 1 สตางค์ต่อหน่วย น้ำมัน 1.5 สตางค์ต่อหน่วย ถ่านหิน 2 สตางค์ต่อหน่วย เป็นต้น

29 พฤษภาคม 2555 หัวข้อ สนทนาธรรมและฝึกสมาธิ ณ เสถียรธรรมสถาน

เสถียรธรรมสถานเป็นสถานปฏิบัติธรรมของชาวพุทธ ช่วงเช้าได้สวดมนต์ทำวัตรเช้า สวดมนต์ภาวนาพร้อมคำแปล ให้รู้ถึงคุณพระพุทธเจ้า แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้จ้ากรรมนายเวร และได้ฟังการบรรยายธรรมโดยแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต ช่วงบ่าย ได้ฝึกเดินจงกรม และได้ฝึกจิตด้วยการกำหนดลมหายใจเข้าออก วันนี้ได้ปฏิบัติธรรมที่เสถียรธรรมสถาน ทำให้ตนเองจิตใจสงบ มีสมาธิทำให้กลับไปทำงานได้ดีขึ้น ด้วยสุขภาพใจและสุขภาพกายที่ดี สร้างผลงานที่ดีให้กับองค์กรต่อไป

30 พฤษภาคม 2555 หัวข้อ People Management & Coaching โดย อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด

Neuro Linguistic Programming (NLP) คือ ศาสตร์แห่งการใช้ภาษาที่ทำให้กายและจิตทำงานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อไปยังจุดมุ่งหมาย ทำให้คนที่เราพบเห็นชอบเราได้ภายใน 5 นาที สัมผัสของมนุษย์มี 5 อย่างประกอบด้วย ตา หู จมูก กาย ลิ้น การจะรับรู้คนที่เราสนทนาด้วยให้สังเกตที่ ตา ระลึกเสมอว่าคนที่อยู่ตรงหน้าเราคือคนที่สำคัญที่สุด การอ่านดวงตาคนโดย มองจากตัวเราเป็นหลัก Visual Recall ถ้ามองไปข้างบนขวา ใช้จากความจำ Visual Construct ถ้ามองไปข้างบนซ้าย ใช้จินตนาการสร้างภาพ Audio Recall ถ้ามองไปข้างด้านขวา ใช้การฟังเสียง Audio Construct ถ้ามองด้านซ้าย ใช้การฟังเสียง สร้างภาพ Audio Digital ถ้ามองลงล่างขวา ต้องการเวลาคิดในตัดสินใจ Kinesthetic Construct ถ้ามองลงล่างซ้าย ใช้ความรู้สึกการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคน ต้อง Matching กับเขา กับ Feeling ที่เหมือนเขา จึงจะสามารถ Lead เขาได้ Matching คือ ต้องทำให้เขาชอบเราก่อน โดยใช้ทักษะ “PACE PACE LEAD” Human 6 Core Needs ความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ประกอบด้วย 1. Certainty / Security /Comfort มีความมั่นคง ความแน่นอนในชีวิต 2. Uncertainty /Variety ต้องการความหลากหลายในชีวิต ไม่ซ้ำซากจำเจ 3. Connection & Love มีความสัมพันธ์กับคนที่ดีมาก และลึกซึ้ง 4. Significance รู้สึกเป็นคนสำคัญและมีคุณค่า 5. Growth มีโอกาสเติบโต และก้าวหน้า 6. Contribution อยากเป็นผู้ให้ ช่วยเหลือผู้อื่น สมองคนเราทำหน้าที่ 3 อย่าง คือ Delete ลบบางส่วนทิ้ง Distort บิดเบือน และ Generalize สิ่งที่รู้แล้วไม่ต้องเรียนรู้ใหม่ การ Coaching ที่ดีนั้นต้องคิดว่า Mind Map ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ดังนั้นต้องให้คนอื่นแสดงความคิด และพูดออกมา และต้องอยู่กับเขา (Be there) ตั้งใจฟังเขาจริงๆ

หัวข้อ ทิศทางเศรษฐกิจไทยกับการปรับตัวของ กฟผ. โดย หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล

ทิศทางเศรษฐกิจไทย นับจากนี้ไปจะเปลี่ยนโฉม เนื่องจากนโยบายรัฐ เศรษฐกิจโลก และ เศรษฐกิจอาเซียน รัฐมีนโยบายเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ ซึ่งเป็นนโยบายหาเสียง และจำนำพืชผลเกษตรกร นโยบายเหล่านี้จะเป็น growth engine แทนการส่งออก รัฐบาลมีนโยบายเรื่อง special economic zone เช่นพื้นที่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ทวายของพม่า เป็นต้น แต่ในไทยทำไม่ได้เพราะต้องสู้กับNGO ต่อไปกาญจนบุรีจะคึกคัก ซึ่งจะมีผลกับ กฟผ. ในการจัดหาไฟฟ้าเพิ่ม ในกทม. มีการสร้างรถไฟฟ้าทำให้ กทม. ตอนกลางวันคนจะหนาแน่นเหมือนฮ่องกง รถไฟจีนเข้ามาทางใต้ผ่านเชียงของ อาจมีการสร้างท่าเรือน้ำลึกปากปาราที่จังหวัดสตูล ทำให้การขนส่งสินค้าไปยุโรปทำได้อย่างรวดเร็ว เศรษฐกิจโลก ขณะนี้ Euro Zone กำลังมีปัญหา รัฐบาลใช้เรื่องสวัสดิการเป็นนโยบายหาเสียง ใช้การกู้หนี้โดยออกพันธบัตรทำให้รัฐบาลเป็นหนี้สูงมาก อาเซียนเมื่อเปิดเสรีทางการค้า คิดว่าสินค้าที่ขายดีจะเป็นสินค้าที่ประเทศไทยเคยขายมาก่อนเมื่อ 20 ถึง 30 ปีก่อน เช่น ถังน้ำ และแนะนำว่าธุรกิจติดแอร์รถยนต์หรือแอร์บ้านจะมีรายได้ดี ถ้าทางรถไฟจากจีนใต้-ลาวเสร็จ ทางต่อจากเขมรเชื่ออรัญญประเทศไปยังทวายของพม่าได้ ไทยก็จะเป็น trading center ของภูมิภาคนี้ และจะเป็น trading nation ของข้าว น้ำตาล ยางพารา โดยสรุปอาจารย์คิดว่า ความต้องการไฟฟ้าในภาคอุตสาหกรรมจะลดลงเนื่องจากไปลงทุนในพม่าแทน แต่ความต้องการภาคที่อยู่อาศัยใน กทม. และต่างจังหวัดจะเพิ่มขึ้น

หัวข้อ เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC 2015 และเศรษฐกิจไทย ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ. โดย รศ. ดร. สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ และดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล

รศ. ดร. สมชาย เล่าให้ฟังว่า AEC เกิดมาตั้งแต่ ปี คศ. 1992 เพราะ AFTA ลงนามเมื่อ 1 มค. 1993 ซึ่งควรจะเริ่มพร้อมกัน เป็นการเลียนแบบมาจาก EU เขตการค้าเสรีจะไม่มีโควตา ไม่มีภาษี แต่ต้องมีสัญชาติของสินค้า AEC 1993 มีหลักการ 3 อย่าง คือ สินค้าเสรี บริการเสรี และ เงินลงทุนเสรี จะมาใช้จริงในปี 2015 ด้านการลงทุนมี 12 ประเภท ต่อไปจะเปิด 100% ด้านการเงินสามารถนำเงินเข้าออกประเทศเท่าไรก็ได้ ตลาดหุ้นของไทยและสิงคโปร์อาจ cross listing จะมีการขายตราสารกันมากขึ้น สำหรับ กฟผ. จะต้องเตรียมตัวว่าจะมีอะไรมากระทบบ้าง อาจารย์มนูญ มีความเห็นว่า natural gas และ renewable จะเป็นพลังงานที่ใช้มากขึ้น พลังงานนิวเคลียร์จะใช้ลดลงหลังโรงไฟฟ้าฟูกูชิมาได้รับผลกระทบจาก tsunami ประเทศญี่ปุ่นก็นำเข้า LNG มากขึ้น ทำให้ราคา LNG ในตลาดโลกสูงขึ้นอย่างมาก กลุ่มประเทศ MENA ต้องการเงินลงทุนประมาณ หนึ่งแสนล้านเหรียญต่อปีเพื่อใช้ในการเจาะและผลิตน้ำมัน ในอนาคตสหรัฐอเมริกาจากผู้นำเข้าจะเป็นผู้ส่งออกน้ำมัน จากการที่ค้นพบเทคโนโลยีอัดน้ำและสารเคมีลงไปในชั้นหินเพื่อผลิตน้ำมัน รัสเซียจะเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลกทั้ง conventional และ unconventional gas ปัญหาของเทคโนโลยีอัดน้ำและสารเคมีลงไปในชั้นหิน คือ ทำลายสิ่งแวดล้อม อาจารย์มนูญ เชื่อว่าการสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ในประเทศเป็นไปได้ยากขึ้นเรื่อยๆ จึงควรไปสร้างในประเทศเพื่อนบ้านและซื้อไฟกลับเข้ามา ปัจจุบันประเทศไทยควรมีการพัฒนาด้านพลังงานในด้านการกระจายชนิดของเชื้อเพลิงที่ใช้ (diversification) โดยเพิ่มสัดส่วน renewable energy ให้ได้ 20.3% ให้ได้ภายในปี 2022 อนุรักษ์พลังงาน (efficiency) ลด energy intensity ให้ได้ 25% ภายในปี 2030 รวมธุรกิจพลังงาน (integration) ของอาเซียน โดยให้ไทยเป็น regional center ของธุรกิจพลังงาน ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ. ในเรื่องพลังงาน ได้แก่ - การสร้างโรงไฟฟ้ใหม่ไม่ว่าใช้เชื้อเพลิงใดจะทำได้ยาก ยกเว้นโรงไฟฟ้าพลังหมุนเวียนหรือโรงไฟฟ้าชุมชนขนาดเล็ก - ต้องปรับเปลี่ยนวิธีทำงานให้ร่วมมือและเข้าถึงชุมชนมากขึ้น - ปรับองค์กรให้ตอบสนองต่อภารกิจที่เปลี่ยนไป จากผู้ผลิตไปเป็นผู้พัฒนาประสิทธิภาพการใช้พลังงาน - พลิกบทบาทเป็นผู้นำด้านการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม - พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเป็นศูนย์กลางโครงข่ายพลังงานของอาเซียน ดร. กอบศักดิ์ กล่าวว่าในประเทศพม่าขณะนี้เติบโตเร็วมาก แต่การพัฒนาโครงสร้างทางด้านพื้นฐานยังแย่มาก เช่นเรื่องไฟฟ้า ที่ทุกบ้านจะมีเครื่องปั่นไฟของตนเอง ดร. กอบศักดิ์ มีความเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวไปได้ดี ด้วยอัตราการเติบโต 5-6%ต่อปี ไปอีกอย่างน้อยอีก 4-5 ปี และรอบการลงทุนรอบใหม่ก็กำลังจะเกิดขึ้นข้างหน้า AEC จะรุ่งเรืองมากในอีก 5ปีข้างหน้า เพราะมี balance sheet ที่ดีมาก ไม่มีหนี้เสีย

วรวิทย์ รวีนิภาพงศ์

16 พฤษภาคม 2555 ได้รับรู้ว่า ประเทศไทยคงจะเกิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ยาก หลังจากที่เกิดเหตุการณ์ที่ญี่ปุ่น ในขณะที่เวียตนามและมาเลเซียได้ทำสัญญาก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แล้ว อนาคตค่าไฟของประเทศไทยคงจะแพงกว่าเพื่อนบ้าน และได้รับรู้เรื่อง รอยเลื่อนที่มีพลังในประเทศไทยที่มีในบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ แต่ก็ยังโชคดีที่เป็นรอยเลื่อนแขนงที่มีผลกระทบน้อย ได้รับรู้เรื่องนโยบายพลังงานของรัฐบาลที่ให้มีโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน 25% และให้ลดการใช้พลังงานลงอย่างมีประสิทธิภาพ 20% ในอีก 15 ปี ข้างหน้า ดังนั้น กฟผ. คงจะต้องปรับทิศทางพลังงานหันไปพัฒนาพลังงานทดแทนให้มากขึ้นในอนาคต และสิ่งสำคัญที่ กฟผ. จะเติบโตได้อย่างยั่งยืนในอนาคต คือ กฟผ. ต้องสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (Trust) ให้เกิดขึ้นกับประชาชนทั้งประเทศ วรวิทย์ รวีนิภาพงศ์

17 พฤษภาคม 2555 ช่วงเช้า เรื่อง HPO โดย ดร.สมโภชน์ นพคุณ และคุณสมชาย ไตรรัตนภิรมย์ ได้เรียนรู้ว่า องค์กรที่จะเป็น HPO ต้องเก่งในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Strategy Leadership Customer Approach โดยเฉพาะ Leadership จะต้องเป็นผู้นำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะเป็น HPO คือ การบริหารคน ต้องทำให้คนในองค์กรทำงานร่วมกันให้ได้ และต้องทำให้เป็น Team Spirit ต้องสร้าง Trust ให้เกิดขึ้นในทุกระดับ และต้องสร้างองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ช่วงบ่าย เรื่อง CSR โดย รวค. ธวัช วัจนะพรสิทธิ์ ดร.เสรี พงศ์พิศ และครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ ได้เรียนรู้ว่า ชาวบ้านในชนบทต้องการอยู่อย่างพอเพียง อยู่อย่างมีศักดิ์ศรี ดังนั้น การที่จะทำให้ชาวบ้านไว้เนื้อเชื่อใจ คน กฟผ. ต้องเข้าไปร่วมทุกข์ร่วมสุขกับชาวบ้าน เคารพและให้เกียรติชาวบ้านมากขึ้น สร้างความเข้าใจกับชาวบ้าน ให้ความรู้กับชาวบ้าน และร่วมผลักดันให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ เพราะชุมชนที่เข้มแข็ง คือ ชุมชนที่เรียนรู้และพึ่งตนเองได้ กฟผ. ต้องเปลี่ยนฐานคิดเป็น Social Enterprise ต้องใช้กรอบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และต้องรณรงค์ลดการใช้พลังงานอย่างจริงจัง ช่วงเย็น เรื่อง การบริหารความขัดแย้งและเทคนิคการตัดสินใจ โดย อ.สุขุม นวลสกุล ได้เรียนรู้ว่า ความขัดแย้งระหว่างบุคคลกับบุคคล มักเกิดจาก ความอิจฉาริษยาและการเอารัดเอาเปรียบกัน ดังนั้น ผู้บริหารต้องมีความยุติธรรมและมีคุณธรรมกับลูกน้องทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ความขัดแย้งระหว่างบุคคลกับองค์กร มักเกิดขึ้นตอนออกนโยบายใหม่ๆ ดังนั้น ผู้บริหารต้องทำหน้าที่โฆษก ทำความเข้าใจ และอธิบายให้ชัดเจนว่า ทำไมจึงเกิดนโยบายนี้ขึ้นมา ความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานกับหน่วยงาน มักเกิดจากไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง และหลงหน่วยงานตัวเองว่าวิเศษกว่าหน่วยงานอื่น เข้าข้างหน่วยงานตัวเองมากเกินไป ในส่วนของการตัดสินใจ ต้องถูกต้อง ถูกใจ และถูกจังหวะ วรวิทย์ รวีนิภาพงศ์

HR for Non – HR และทุนมนุษย์ของ กฟผ. รองรับประชาคมอาเซียน

18 พค.55 ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

จุดแข็ง/จุดอ่อน ของ CEO ในเรื่องHR

o จุดแข็ง เป็นคนใน มีทักษะเฉพาะตัว เข้าใจและมีการสืบทอดวัฒนธรรมองค์กร

o จุดอ่อน มุมมองไม่ปรับเปลี่ยน นโยบายไม่ชัด ทำให้การปฏิบัติไม่มีทิศทาง ไม่ตรงความต้องการ ไม่ทันเวลา

HR Department เป็น Silo/ Function ต้องปรับบทบาทใหม่ เปลี่ยน Role มาเป็น Smart HR ในการทำงานสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียน

Non HR มีจุดแข็งในเรื่องความใกล้ชิดลูกน้องรู้จักตนเอง รู้ความต้องการ พัฒนาและถ่ายทอดในเรื่องเฉพาะงานเองได้รวมทั้งมีอำนาจในการตัดสินใจ จึงต้องเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ให้ความสนใจมากขึ้นในการช่วยทำให้ CEO เห็นความสำคัญ CEO

HR และ NON HR ต้องเป็น teamwork รู้เปลี่ยน กฟผ. เป็น Social Enterprise

 

บทบาทของ Regulator และ Energy Tax กับการทำงานของ กฟผ.

18 พค.55 ศาสตราจารย์ ดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ

รับทราบวัตถุประสงค์ ของ พ.ร.บ. การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ที่ต้องการแยกอำนาจการกำกับดูแล งานนโยบาย และการประกอบกิจการพลังงาน ออกจากกันเปิดโอกาสให้ภาคเอกชน ชุมชน และประชาชนมีส่วนร่วมและมีบทบาทมากขึ้น เพื่อให้การประกอบกิจการพลังงาน มีประสิทธิภาพเอื้อต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

รับทราบโครงสร้างองค์กร บทบาท อำนาจ หน้าที่ ของ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.)

รับทราบเรื่องกองทุนพัฒนาไฟฟ้าสำหรับผู้ผลิตไฟฟ้า ที่บริหารจัดการโดยสำนักงาน กกพ.

รับทราบ บทบาทของ Regulator กับการทำงาน กฟผ.

พิพัฒน์ วรคุณพิเศษ

People Management & Coaching

30 พค. 55 อ.พจนารถ ซีบังเกิด

การ Coaching คือการที่เขาเข้ามาคุยแล้วได้คำตอบกลับไปเป็นแนวทางในปฏิบัติ โดยไม่ใช่การแนะนำ เพราะจะได้แต่ประสบการณ์จากเรา

เรียนรู้ศาสตร์เรื่อง NLP Neuro-Linguistic Programing การใช้ภาษากายและการควบคุมจิตใจให้ทำงานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จัดการเคลื่อนไหวของร่างกาย และความคิดให้สอดคล้องกัน

เรียนรู้การสังเกตบุคคลที่สนทนาจากการแสดงออกทาง สายตาว่าใช้จินตนาการสร้างภาพ จากเสียง การอ่าน หรือใช้ความรู้สึกจากภายใน เพื่อให้สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีโดยการตอบสนองให้ตรงกับคู่ที่เราสนนทนาด้วย

เรียนรู้หลักของสมอง ในสภาพที่มีข้อมูลเข้ามามากๆ แต่สามารถรับรู้ได้เพียงบางส่วน ส่วนที่เหลือจะถูก Delete ลบทิ้ง Distort บิดเบือน Generalize เหมารวม

พิพัฒน์ วรคุณพิเศษ

วันที่ ๑๕ พ.ค. ๒๕๕๕ "ประสบการณ์การเรียนรู้ในรุ่น ๒ ของข้าพเจ้ากับการปรับใช้เพื่อการบริหาร กฟผ.ในยุคที่โลกเปลี่ยน" ผวก.

                ผวก.กล่าวว่า ผู้นำ กฟผ.ต้องมีความคิดด้านกว้าง ความเชี่ยวชาญด้านลึกต้องน้อยลง 

        อีกทั้งเราต้องพัฒนาตัวเองให้พร้อมตลอดเวลา เพื่อเป็นต้นทุนเมื่อได้รับโอกาส ก็พร้อมที่จะทำได้ทันที

                กฟผ.ขาดการสร้างผู้นำ เนื่องจากโครงสร้าง กฟผ.เป็นแบบ Function ขั้นตอนการพัฒนาจึงช้า

        แต่ ณ ปัจจุบัน ผวก.ได้ดำเนินการให้หน่วยงานที่รับผิดชอบจัดทำอัตรากำลังล่วงหน้า ๕ ปี และการรับ

        ผู้ปฏิบัติงานใหม่ ให้มีการกำหนดคุณสมบัติที่รับคนเก่งมากขึ้น เรามีส่วนที่จะช่วยองค์กร คือช่วยพัฒนาน้องใหม่

        อีกทั้ง ผวก.เน้นปัจจัยด้านบุคคลไว้สูง คือ ต้องช่วยสร้างความเข้าใจผู้มีส่วนได้เสีย  มีขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจ

        และต้องเป็นเลิศในกิจการของเรา

                การที่จะเป็นผู้นำ นอกจากเราจะต้องมี สมอง  สติปัญญาแล้ว เราก็ต้องมี SMART & HEART คิดถึงส่วนรวมด้วย

        ซึ่งองค์กรจะเติบโตแข็งแรงได้ ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญคือมนุษย์  เราต้องพัฒนาการเป็นผู้นำ และการทำงานเป็นทีม 

        "ผู้นำ - วัฒนธรรม - การบริหารการเปลี่ยนแปลง" อ.ประกาย  ชลหาญ

        บุคคลในองค์กรมีความสำคัญมาก เพราะทำให้องค์กรมีผลงานออกมา ซึ่งผลงานที่มีออกมาเนื่องจาก

        บุคคลนั้นมีความพร้อม และมีแรงจูงใจ ความพร้อมเกิดได้จากตัวบุคคลและผู้บริหารจัดการให้สามารถทำได้

        แต่แรงจูงใจ ผู้บริหารห้ามทึกทัก นึกไปเองว่าทีมงานของเราต้องอย่างโน้น อย่างนี้ โดยเด็ดขาด

                ๔ บทบาทของการเป็นผู้นำที่ดี ๑.) ต้องหาแนวทางให้ลูกน้องเดิน    ๒.) สร้าง Alignment ให้เกิดขึ้นในองค์กร

        ๓.) มีการกระจายอำนาจ     ๔.) ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี

                Jack Welch กล่าวว่า "Change before you are forced to change" (ต้องเปลี่ยนตัวเองก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน)

            "เศรษฐกิจพลังงาน" ศ.ดร. พลายพล  คุ้มทรัพย์

                โลกใช้พลังงานประเภทใดบ้าง? --> น้ำมัน  ถ่านหิน  ก๊าซธรรมชาติ  พลังน้ำ  พลังงานหมุนเวียน และนิวเคลียร์

        แล้วเกิดอะไรขึ้น หากใช้พลังงานมากเกินไป? --> ก็ทำให้พลังงานหมดโดยเร็ว  เกิดภาวะโลกร้อน  ทำลายสิ่งแวดล้อม

        กระทรวงพลังงานได้จัดทำแผนพัฒนาทดแทน ๑๕ ปี พ.ศ. ๒๕๕๑-๒๕๖๕ โดยมีเป้าประสงค์ "เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน

        ให้เป็นร้อยละ ๒๐%ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายของประเทศ ในปี ๒๕๖๕" และต้องเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน

                กฟผ. ก็เช่นกัน ต้องรับรู้ และช่วยดำเนินการในภาพรวมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และสนับสนุนให้มีการใช้ไฟฟ้าอย่างมี

        ประสิทธิภาพ ทั้งๆ ที่ กฟผ. มีภารกิจในการผลิตไฟฟ้า และขายไฟฟ้าให้ได้มากๆ เพื่อผลกำไรที่จะได้รับ โดยสนับสนุนหลอดผอม T5

        เครื่องใช้ไฟฟ้าเบอร์ ๕ ฯลฯ

........................................................................................................................................................................................................................

                วันที่ ๑๖ พ.ค. ๒๕๕๕ "ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคตของ กฟผ." ศ.ดร. ปณิธาน  ลักคุณะประสิทธิ์

       "ทิศทางพลังงานกับการทำงานของ กฟผ."  ไกรสีร์+รวห.

       "Trendy Technology and Social Medias for EGAT Executive" ดร. วิรัช  ศรเลิศล้ำวาณิช

         วันที่ ๑๗ พ.ค. ๒๕๕๕ "High Performance Organization ที่ กฟผ." คุณสมชาย  ไตรรัตนภิรมย์

        "นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน กับการทำงานของ กฟผ." ครูบาสุทธินันท์  ปรัชญพฤทธิ์+ดร.เสรี  พงศ์พิศ+รวค.

        "การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และเทคนิคการตัดสินใจของผู้บริหารมืออาชีพ" รศ. สุขุม  นวลสกุล

         วันที่ ๑๘ พ.ค. ๒๕๕๕ "HR for Non-HR และทุนมนุษย์ของ กฟผ.รองรับประชาคมอาเชียน" ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์

        "บทบาทของ Regulator และ Energy Tax กับการทำงานของ กฟผ." ศ.ดร. ดิเรก  ลาวัณย์ศิริ

 วันที่ ๑๕ พ.ค. ๒๕๕๕ "ประสบการณ์การเรียนรู้ในรุ่น ๒ ของข้าพเจ้ากับการปรับใช้เพื่อการบริหาร กฟผ.ในยุคที่โลกเปลี่ยน" ผวก.

       ผวก.กล่าวว่า ผู้นำ กฟผ.ต้องมีความคิดด้านกว้าง ความเชี่ยวชาญด้านลึกต้องน้อยลง 

        อีกทั้งเราต้องพัฒนาตัวเองให้พร้อมตลอดเวลา เพื่อเป็นต้นทุนเมื่อได้รับโอกาส ก็พร้อมที่จะทำได้ทันที

       กฟผ.ขาดการสร้างผู้นำ เนื่องจากโครงสร้าง กฟผ.เป็นแบบ Function ขั้นตอนการพัฒนาจึงช้า

        แต่ ณ ปัจจุบัน ผวก.ได้ดำเนินการให้หน่วยงานที่รับผิดชอบจัดทำอัตรากำลังล่วงหน้า ๕ ปี และการรับ

        ผู้ปฏิบัติงานใหม่ ให้มีการกำหนดคุณสมบัติที่รับคนเก่งมากขึ้น เรามีส่วนที่จะช่วยองค์กร คือช่วยพัฒนาน้องใหม่

        อีกทั้ง ผวก.เน้นปัจจัยด้านบุคคลไว้สูง คือ ต้องช่วยสร้างความเข้าใจผู้มีส่วนได้เสีย  มีขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจ

        และต้องเป็นเลิศในกิจการของเรา

                การที่จะเป็นผู้นำ นอกจากเราจะต้องมี สมอง  สติปัญญาแล้ว เราก็ต้องมี SMART & HEART คิดถึงส่วนรวมด้วย

        ซึ่งองค์กรจะเติบโตแข็งแรงได้ ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญคือมนุษย์  เราต้องพัฒนาการเป็นผู้นำ และการทำงานเป็นทีม 

        "ผู้นำ - วัฒนธรรม - การบริหารการเปลี่ยนแปลง" อ.ประกาย  ชลหาญ

       บุคคลในองค์กรมีความสำคัญมาก เพราะทำให้องค์กรมีผลงานออกมา ซึ่งผลงานที่มีออกมาเนื่องจาก

        บุคคลนั้นมีความพร้อม และมีแรงจูงใจ ความพร้อมเกิดได้จากตัวบุคคลและผู้บริหารจัดการให้สามารถทำได้

        แต่แรงจูงใจ ผู้บริหารห้ามทึกทัก นึกไปเองว่าทีมงานของเราต้องอย่างโน้น อย่างนี้ โดยเด็ดขาด

                ๔ บทบาทของการเป็นผู้นำที่ดี ๑.) ต้องหาแนวทางให้ลูกน้องเดิน    ๒.) สร้าง Alignment ให้เกิดขึ้นในองค์กร

        ๓.) มีการกระจายอำนาจ     ๔.) ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี

                Jack Welch กล่าวว่า "Change before you are forced to change" (ต้องเปลี่ยนตัวเองก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน)

              "เศรษฐกิจพลังงาน" ศ.ดร. พลายพล  คุ้มทรัพย์

                โลกใช้พลังงานประเภทใดบ้าง? --> น้ำมัน  ถ่านหิน  ก๊าซธรรมชาติ  พลังน้ำ  พลังงานหมุนเวียน และนิวเคลียร์

        แล้วเกิดอะไรขึ้น หากใช้พลังงานมากเกินไป? --> ก็ทำให้พลังงานหมดโดยเร็ว  เกิดภาวะโลกร้อน  ทำลายสิ่งแวดล้อม

        กระทรวงพลังงานได้จัดทำแผนพัฒนาทดแทน ๑๕ ปี พ.ศ. ๒๕๕๑-๒๕๖๕ โดยมีเป้าประสงค์ "เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน

        ให้เป็นร้อยละ ๒๐%ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายของประเทศ ในปี ๒๕๖๕" และต้องเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน

                กฟผ. ก็เช่นกัน ต้องรับรู้ และช่วยดำเนินการในภาพรวมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และสนับสนุนให้มีการใช้ไฟฟ้าอย่างมี

        ประสิทธิภาพ ทั้งๆ ที่ กฟผ. มีภารกิจในการผลิตไฟฟ้า และขายไฟฟ้าให้ได้มากๆ เพื่อผลกำไรที่จะได้รับ โดยสนับสนุนหลอดผอม T5

        เครื่องใช้ไฟฟ้าเบอร์ ๕ ฯลฯ

        วันที่ ๑๖ พ.ค. ๒๕๕๕ "ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคตของ กฟผ." ศ.ดร. ปณิธาน  ลักคุณะประสิทธิ์

       "ทิศทางพลังงานกับการทำงานของ กฟผ."  ไกรสีร์+รวห.

       "Trendy Technology and Social Medias for EGAT Executive" ดร. วิรัช  ศรเลิศล้ำวาณิช

         วันที่ ๑๗ พ.ค. ๒๕๕๕ "High Performance Organization ที่ กฟผ." คุณสมชาย  ไตรรัตนภิรมย์

       "นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน กับการทำงานของ กฟผ." ครูบาสุทธินันท์  ปรัชญพฤทธิ์+ดร.เสรี  พงศ์พิศ+รวค.

      "การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และเทคนิคการตัดสินใจของผู้บริหารมืออาชีพ" รศ. สุขุม  นวลสกุล

         วันที่ ๑๘ พ.ค. ๒๕๕๕ "HR for Non-HR และทุนมนุษย์ของ กฟผ.รองรับประชาคมอาเชียน" ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์

      "บทบาทของ Regulator และ Energy Tax กับการทำงานของ กฟผ." ศ.ดร. ดิเรก  ลาวัณย์ศิริ

 

นายไววิทย์  สุขมาก

ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการภาคเหนือ-ปฏิบัติการ (ช.อปน-ป.)

       

 

 

นายไววิทย์  สุขมาก

ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการภาคเหนือ-ปฏิบัติการ (ช.อปน-ป.)

วันที่ ๒๙ พ.ค. ๒๕๕๕ ณ เสถียรธรรมสถาน หลักสูตร "รักษ์ใจ รักษ์กาย" ฝึกสมาธิอย่างไร?

เสถียรธรรมสถาน เป็นสถานที่ร่มเย็น ผู้เข้าอบรมโครงการ EADP#8 มีความสุขที่ได้เริ่มเข้ามา ณ ที่นี้แล้ว

แม่ชีศันสนีย์ ให้ความรู้ทางธรรม โดยสวดมนต์ภาวนาพร้อมคำแปล ฟังธรรมจากแม่ชี เดินจงกรม

ให้ความรู้ทางโลก โดยไม่แบ่งชั้น วรรณะ คือให้ทานอาหารพร้อมกับทำความสะอาดภาชนะของตนเอง ไม่เป็นภาระกับคนอื่น

สวดมนต์ภาวนา ให้รู้ถึงคุณพระพุทธเจ้า ภาวนาให้สรรพสัตว์ และแผ่เมตตาพร้อมกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้ ทำให้ใจสบาย

ฟังธรรมจากแม่ชี ได้รู้ถึงการช่วยเหลือสังคม การอยู่ในสังคมอย่างมีสุข รู้จักปล่อยวาง สร้างมุมมองในแง่ดี สร้างคำ "จ๊ะเอ๋ บ้ายบาย"

เดินจงกรม ได้รู้ถึงจิต สมาธิ ลมหายใจ แน่วแน่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เกิดความสงบ

วันนี้ได้อะไรบ้าง ตอบได้เลยว่า "ได้ .. ได้ครับ" ก็ผู้บริหารอย่างพวกเรา มีแต่เรื่องที่ให้ทำเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน สมองก็ใช้งาน จิตก็ฟุ้งซ่าน

ได้มาสอนสมองให้รู้จักปล่อยวาง สอนจิตให้สงบ คิดแน่วแน่ ทำให้เรากลับไปทำงานอย่างได้คิด รู้วิธีการใช้สมอง และจิตอย่างมีประสิทธิภาพ

สร้างศักยภาพให้กับตนเองแถมด้วยสุขภาพกาย-จิตที่ดี สร้างผลงานให้กับองค์กร และเป็นที่ยอมรับของสังคมชุมชนได้

นายไววิทย์ สุขมาก

ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการภาคเหนือ-ปฏิบัติการ (ช.อปน-ป.)

 

นรชัย หลิมศิโรรัตน์

วันอังคารที่ 24 เมษายน 2555

ภาคเช้า: เรื่องบุคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่ (2)          

บรรยายโดย หม่อมราชวงศ์ เบญจภา ไกรฤกษ์

ในการเข้าสังคม การเป็นผู้บริหาร บุคลิกภาพที่ดีเป็นสิ่งสำคัญ หลักของบุคลกภาพที่ดี คือ สะอาด เรียบร้อย และมีสุขภาพดี การแต่งกายต้องให้เข้ากันทั้ง รองเท้า กางเกง และเครื่องประดับ การเข้าสังคมต้องสร้างความประทับใจให้แก่ผู้พบเห็น

การสนทนาไม่ควรกล่าวถึง เรื่องศาสนา การเมือง และเรื่องที่จะสร้างความขัดแย้ง 

การแสดงความเคารพด้วยการไหว้สำคัญมาก โดยใช้การพนมมือ และการโค้งก้มศรีษะ ซึ่งแสดงถึงการให้ความเคารพ 

การไปงานศพควรสวมเสื้อผ้าสีดำล้วน การไปงานเลี้ยงรับรองควรตอบรับการไปร่วมงานก่อนล่วงหน้า 7 วัน แต่งกายให้เหมาะสมดูตามบัตรเชิญ ควรถึงงานก่อนเวลานัดหมาย การไปงานเลี้ยงอาหารค่ำ ควรแนะนำตัวกับผู้ที่ท่านจะต้องนั่งข้าง ก่อนลงนั่ง

ภาคบ่าย: เรื่อง แนวคิด Blue Ocean กับการทำงานของ กฟผ. และการปรับใช้เพื่อสร้างโครงการแบบนวัตกรรมของ กฟผ.

บรรยายโดย ดร.กุศยา  ลีฬหาวงศ์

ปัจจุบันสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงรวดเร็วขึ้น สภาวะการแข่งขันมีมากขึ้น ดังนั้นเพื่อความอยู่รอดขององค์กร ต้องคิดใหม่ ทำใหม่ ทำให้เกิด Paradigm Shift คือ การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์และพฤติกรรม การปรับเปลี่ยนนั้นต้องเริ่มที่ใจก่อน แล้วจึงปรับเปลี่ยนกระบวนการคิด

หลักการสำคัญของ Blue Ocean Strategy คือการสร้างตลาดใหม่เพื่อหลีกหนีการแข่งขัน ซึ่งเป็นเรื่องท้าทาย เพราะเราต้องสร้างขอบเขตตลาดขึ้นมาใหม่ เริ่มจากการมองข้ามไปยังทางเลือกอื่น ๆ มองข้ามไปยังกลุ่มกลยุทธ์อื่นๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน หัวใจสำคัญ คือสิ่งที่เรียกว่า Value Innovation โดยจะต้องมีทั้ง Value และ Innovation ไม่เช่นนั้นก็จะไม่เกิดกลยุทธ์ Blue Ocean

อาจสรุปได้ว่า กลยุทธ์ Blue Ocean คือ การสร้างตลาดใหม่โดยไม่ต้องแข่งขันกันไปตายใน Red Ocean แต่ถึงกระนั้นน่านน้ำสีคราม ก็อาจกลายเป็นน่านน้ำสีแดงได้เช่นกัน จึงต้องมีการสร้างน่านน้ำสีครามอย่างต่อเนื่อง เป็นการสร้างตลาดใหม่ ไปเรื่อยๆ เพราะไม่ใช่แค่เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน แต่เป็นการสร้างผลกำไรในอนาคตนั่นเอง

 

วันพุธที่ 25 เมษายน 2555

ภาคเช้า: เรื่อง Art & Feeling of Presentation

บรรยายโดย  คุณจิตรสุมาลย์ อมาตยกุล

คนเราได้ทำในสิ่งที่รัก และรักในสิ่งที่ทำ จะเกิด Passion ซึ่ง Passion + Inspiration = Innovation

Word กับ Way Word คิดมาจากสมองซีกซ้าย จะเร้าใจผู้ชมได้ 7 % ส่วน Way คิดมาจากสมองซีกขวา จะเร้าใจผู้ชมประมาณ 93% การใช้สมองควรใช้ทั้งสองซีกคือ ทั้งด้านที่เป็นสาระ เหตุผล และมีการสร้างสรรค์ด้วยสีสันด้วยสมองซีกซ้าย เพื่อให้มีความน่าสนใจมากขึ้น

การที่จะทำให้มีบุคลิกภาพและวาทศิลป์ เป็นที่ต้องตาต้องใจของผู้ฟังในการนำเสนอ ต้องเตรียมตัวในการพูด ใช้มหัศจรรย์ของเลข 3 ได้แก่ ปัญหา ทางออก ผลลัพธ์ที่จะได้ 

 

ภาคบ่าย: เรื่องผู้นำกับการสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร

บรรยายโดย คุณดนัย  จันทร์เจ้าฉาย

คุณดนัยยกย่องให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรงเป็นบุคคลต้นแบบของโลก แต่คนไทยแม้จะมีบุคคลต้นแบบที่ดีแล้ว แต่ก็ไม่ทำตาม

ตอนนี้เราอยู่ในยุคการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ โลกของเรามีการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล เช่น อุณหภูมิสูงขึ้นมาก  เกิดสึนามิ แผ่นดินไหวบ่อยครั้ง

คุณดนัยสร้างเวทีเพื่อสนับสนุนให้เด็กไทยได้แสดงออก ชี่อ The ambassador เพื่อให้เด็กมีที่ยืน เข้ากับประโยคที่ว่า อย่าปล่อยให้ความดีไม่มีที่อยู่ อย่าปล่อยให้คนดีไม่มีที่ยืน

มนุษย์เราทุกคนเป็นประติมากรรมชิ้นเอกของพ่อแม่ (ไม่มีใครเหมือน) คนเราส่วนใหญ่มีทุกข์ เพราะใช้ชีวิตตามความคาดหวังของคนอื่น ชีวิตที่ธรรมดา ๆ คือชีวิตที่วิเศษสุดอยู่แล้ว

 

วันที่ 15 พ.ค. 55

สรุปประเด็นการบรรยายประสบการณ์การเรียนรู้ในรุ่น ของ ผวก. สุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์  กับการปรับใช้ในการบริหารงานคือ

  • ผู้บริหารต้อง เป็น Coaching โดยสอดแทรกประสบการณ์ให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
  • การเรียนรู้ นี้ เป็นการกระตุ้นให้ตื่นตัว ใฝ่รู้ตลอดเวลา
  • การมีเครือข่าย (Networking) เป็นสิ่งจำเป็นและเป็นประโยชน์สำหรับการทำงาน
  • ผู้บริหารระดับสูง ต้องใช้ความรู้หลาย ๆ ด้านในการตัดสินใจ เพราะเมื่อเลื่อนเป็นผู้บรืหารระดับสูงแล้วจะไม่มีเวลาที่จะมาเรียนรู้ การนำความรู้มาใช้จึงขึ้นอยู่กับต้นทุนที่สะสมมา ดังนั้นจึงควรมีการเตรียมตัวและเรียนรู้
  • มองว่าพนักงานคือทรัพย์สิน (Asset) ขององค์กร

และผวก. ได้มอบแนวคิดว่าคุณสมบัติของผู้นำ คือ

  1. มีความสามารถในการสื่อสารได้กับทุก ๆ  Stakeholder
  2. มีความสามารถในการดำเนินธุรกิจ
  3. มีความเป็นเลิศในเรื่องการดำเนินงาน
  4. มีการปรับปรุงคุณภาพตลอดเวลา
  5. มีจิตใจที่คิดถึงส่วนรวม

สรุปการบรรยาย ผู้นำ – วัฒนธรรมองค์กร – การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Leadership in Changing World)

โดย      อาจารย์ประกาย ชลหาญ

คนมีความสำคัญกับองค์กร เพราะทำงานและมีผลงานให้กับองค์กร (กฟผ.)

Performance (ผลงาน):   เรามีผลงานได้ก็ต่อเมื่อเรามีความสามารถ มีความรับผิดชอบ มีแรงจูงใจในการทำงาน มีสิ่งอำนวยความสะดวก มีสิ่งที่มาสนับสนุนเรา มีแรงผลักดัน มีความคิดสร้างสรรค์ มีความรู้ มีความกระตือรือร้น

สิ่งที่สำคัญในการสร้างผลงาน 2 ข้อ คือ

  1. ความสามารถเชิงสมรรถนะ (Competency) คือ การมีความรู้ ความสามารถ ทักษะ ประสบการณ์ ในแต่ละหน่วยงานเราจะต้องมีการกำหนด Competency ในแต่ละตำแหน่งงานแตกต่างกันไป

      คนแต่ละคนที่มีความพร้อม จะมีความสามารถทำผลงานให้กับองค์กรที่ไม่เหมือนกัน แม้แต่คนๆเดียวกันก็มีควาสามารถในการทำงานสร้างผลงานในแต่ละวันก็ไม่เท่ากัน

  1. แรงจูงใจ (Motivation) เป็นแรงผลักดันให้คนอยากทำงาน เช่น ความก้าวหน้าในอาชีพ รายได้ ครอบครัว ความสำเร็จ

การเป็นหัวหน้างาน ต้องสร้างแรงจูงใจ ให้แก่ลูกน้อง และรางวัลที่ให้ควรเป็นรางวัลที่ผู้รับ ต้องการ และหัวหน้างานต้องรู้จักลูกน้องด้วย

บทบาทของผู้นำที่สำคัญ มีดังนี้

  1. เป็นPath Finder ผู้หาแนวทางให้กับลูกน้อง หรือเป็นผู้วาง mission vision ให้กับองค์กร
  2. Alignment สร้างทิศทางให้กับคนในองค์กร
  3. Empowerment ต้องมีการมอบอำนาจ กระจายอำนาจให้กับลูกน้อง
  4. Role model เป็นตัวอย่าการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management)

แรงผลักดันที่ทำให้กฟผ.มีการเปลี่ยนแปลง มีดังนี้

  1. สิ่งจากภายนอกองค์กร  การเมือง เศรษฐกิจ
  2. สิ่งจากภายในองค์กร  ระบบระเบียบ การจัดระเบียบภายในองค์กร

การเปลี่ยนแปลงมี  2 แบบ (2 Strategies for Changes)

  1. Top Down  ปัจจัยภายนอกเยอะมาก บริหารยากมาก
  2. Bottom-Up

สิ่งสำคัญที่สุดในการเปลี่ยน mindset ให้เป็นผู้ที่พร้อมรับการบริหารการเปลี่ยนแปลง(What Matter Most in Change Management)

  1. ต้องยอมรับว่าองค์กร complex และเป็นองค์กรที่มีคนเยอะมาก คนซับซ้อนกว่าเครื่องจักรมาก ผู้นำต้องเก่งเรื่องคนด้วย
  2. ให้เข้าใจว่าองค์กรสมัยนี้ถูกผลักดันด้วย process มากกว่า structure เพราะprocess ช่วยเรื่องคุณภาพ อย่างเช่น เรื่อง six-sigma
  3. ให้เข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงจะมีการเปลี่ยนแปลงอื่นๆตามมาอีกเยอะ
  4. ต้องเข้าใจนโยบายและคิดที่จะทำอะไรให้เข้ากับกลยุทธ์ขององค์กร
  5. ต้องยอมรับสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และใช้ให้เกิดประโยชน์
  6. ชอบหรือไม่ชอบผู้นำ ก็ต้องยอมรับว่าเขาเป็นผู้นำ และเป็นมืออาชีพ

 

 

 

 

สรุปการบรรยายพลังงานกับเศรษฐกิจไทย

ศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์

     ประเทศไทย พึ่งพาพลังงานจากฟอสชิล ได้แก่น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติเป็นจำนวนมาก และต้องนำเข้าเป็นส่วนใหญ่

และการใช้พลังงานของประเทศไทยยังไม่มีประสิทธิภาพ เพราะพลังงานส่วนใหญ่ใช้ในภาคขนส่งทางรถ ไม่ค่อยมีระบบรางซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่ามากขึ้น แลนโยบายการอุดหนุนราคาพลังงานเป็นนโยบายทางการเมือง ทำให้มีการบิดเบือนราคาที่แท้จริง ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบอย่างต่อเนื่อง เช่นขาดการประหยัดการใช้ การใช้ลักลอบขนก๊าซหุงต้มไปขายประเทศเพื่อบ้าน ซึ่งเท่ากับประเทศไทยไปอุดหนุนราคาเชื้อเพลิงประเทศเพื่อนบ้านด้วยเป็นต้น

วันที่ 16 พ.ค. 55

สรุปการบรรยาย เรื่อง “ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่น ต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคตของ กฟผ.” โดย ดร. กมล และ ศ.ดร. ปณิธาน  ได้ให้ความรู้ในเรื่องแผ่นดินไหว และ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ว่าแผ่นดินไหวยังไม่สามารถทำนายได้ และการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทยต้องเลื่อนออกไปอีก เร็วที่สุด คือ ปี 2026 เนื่องจากผลกระทบจากสึนามิต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของประเทศญี่ปุ่น ทำให้ไทยอาจล้าหลังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม, มาเลเซีย ในเรื่องการพัฒนาพลังงานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และประเทศไทยอาจต้องดับไฟฟ้าเป็น Zone ก็ได้ ถ้าความต้องการไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น ทุกปี และไม่สามารถสร้างโรงไฟฟ้าขึ้นมารองรับได้

  สรุปการบรรยายเรื่อง “ทิศทางพลังงานกับการทำงานของ กฟผ.  

 อดีตผวก. ไกรสีห์. ได้กล่าว

  • กฟผ. ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงได้ เราต้องยอมรับและปรับตัวเองให้ทัน ก่อนที่คนอื่นจะมาเปลี่ยนแปลงเรา
  • ในอดีต กฟผ. ทำหน้าที่ กำกับนโยบาย เป็นผู้ปฎิบัติการ ในกิจการไฟฟ้า ต่อมารัฐบาลมีการตั้งหน่วยงานกำกับดูแล ให้กฟผ. ทำหน้าที่ปฎิบัติการอย่างเดียว
  • กฟผ. ต้องสร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อรักษากำลังผลิต 50 % ไว้ เนื่องจากนโยบายอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้
  • ปัจจุบันสังคมเปลี่ยนแปลงไป การก่อสร้างโรงไฟฟ้าสามารถดำเนินการได้ง่าย ๆ
  • ในอนาคตจะมีโรงไฟฟ้าขนาดเล็กเดพิ่มมากขึ้น โดยเป็นรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน
  • ควรมองปัญหาในอนาคตก่อนและหาวิธีแก้ไข กฟผ. ไม่ควรรอให้เกิดปัญหาก่อน และค่อยแก้ไข
  • IT กับ พลังงานไฟฟ้า จะรวม เป็นเรื่องเดียวกัน
  • รัฐบาลตั้งเป้าลดการใช้ไฟฟ้าลง 20% ภายใน 10 ปี
  • Demand Respond จะเป็น trend ในอนาคตรวมทั้งเรื่อง Smart Grid
  • ในอนาคตจะมีการใช้รถใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้น และอาจทำให้ Peak load เปลี่ยนไปเนื่องจากช่วงเวลาทำงานจะมีการ Charge แบตเตอรรี่ไฟฟ้า
  • ประชาชนไม่ไว้ใจว่า กฟผ. จะสร้างโรงไฟฟ้าแล้วจะไม่มีผลกระทบกับประชาชน

           รวห. วิรัช กล่าวว่า

  • การใช้ไฟฟ้าของประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ปแหล่งพลังงานลดลง โครงการใหม่ ๆ จะถูกต่อต้าน รวมทั้งระบบส่งไฟฟ้า
  • ทำอย่างไรที่จะสร้างความน่าเชื่อถือให้ประชาชนยอมรับได้
  • การแก้ปัญหาเรื่องสังคมชุมชน จะเป็นประเด็นที่ กฟผ. จะต้องรับผิดชอบ
  • อนาคตสัดส่วนกำลังผลิตของ กฟผ. จะลดลง และภาระการพัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และถ่านหิน เป็นของ กฟผ. ซึ่งต้องหาวิธีแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
  • ปี 2558-2559 จะไม่มีโรงไฟฟ้าใหม่ เข้ามาในระบบเลย อาจทำให้รบบการผลิตไม่มั่นคง
  • การแก้ปัญหาควรดูที่ต้นเหตุ คือ Demand Side

สรุปการบรรยายเรื่อง  Trendy Technology and Social Medias for EGAT Executive โดย ดร. วิรัช

ซึ่งได้บรรยายเรื่อง IT Technology ว่ามีทิศทางอย่างไร แนวโน้มเป็นอย่างไร ปัจจุบันก้าวหน้าไปอย่างไร และอนาคตจะเป็นอย่างไรการเป็นผู้นำยุคใหม่ควรทำอย่างไร เช่น ให้รางวัลคนที่ทำผิดพลาด ให้พนักงานเสนอโครงการเอง ให้มี Leadershipทำงานร่วมกัน ต้องพัฒนา Vision,Mission,Passion มีการบริหารแบบ Bottom-up บ้าง

 

17 พ.ค. 2555        

การบรรยายเรื่อง High Performance Organization ที่ กฟผ..

โดย      ดร.สมโภชน์ นพคุณ

           คุณสมชาย ไตรรัตนภิรมย์

           รองกรรมการผู้จัดการบริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด

อาจารย์สมชาย  ไตรรัตนภิรมย์

 วัตถุประสงค์ของการประเมิน

  • เพิ่มปรับปรุง ประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
  • ต้องการให้รัฐวิสาหกิจ ให้บริการประชาชนอย่างมีคุณค่า และมีคุณภาพ
  • ต้องการให้องค์กรของรัฐ มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล สร้างมูลค่าเพิ่ม ให้แก่ประเทศไทยและประชาชน

ผู้นำคือ

  • ต้องมี Vision
  • เป็นผู้กระตุ้น ปลุกเร้า  จูงใจ

ดร.สมโภชน์ นพคุณ

ให้ความเห็นว่าทำไมระบบราชการไม่เป็น HPO

  • โครงสร้างไม่เหมาะสม
  • Work process
  • คน โดยธรรมชาติ คนแต่ละคนแตกต่างกัน จะไปบังคับให้เหมือนกันเป็นสิ่งที่ยาก
  • กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ

การอภิปราย “นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน (Social Innovation)กับการทำงานของ กฟผ.”

 ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์

พูดถึงสังคมที่เปลี่ยนไป ปัญหาเปลี่ยนไป นวัตกรรมทางสังคมมีความสำคัญกับการทำงานในอนาคต ครูบาท่านมีนวัตกรรมด้านการเกษตรมากมาย รวมทั้งการสร้างNetwork ผ่านระบบ IT ชนิดที่คนรุ่นใหม่ต้องอายเลยทีเดียว ท่านพูดไว้ดีมากเกี่ยวกับกับชุมชนและสังคม ว่าการบริหารองค์กรให้เจริญแบบยั่งยืน ต้องมีชีวิตชีวา ยิ้มแย้มแจ่มใสมีความสุข ร่วมหัวจมท้าย พูดเพราะ จริงใจกับลูกน้อง เป็นเสน่ห์ และกลยุทธ์อย่างหนึ่งที่ทำให้ประสบความสำเร็จ ท่านยังบอกว่าคนไทยมีหน้าที่ ในการทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด และดูแลสังคม  เราต้องมีความจริงใจเข้าหาชาวบ้าน ต้องดูว่าเขาได้ประโยชน์อะไร ต้องคุยเรื่องประโยชน์ของเขาก่อน จึงจะนั่งในหัวใจชาวบ้านได้   ท่านพูดได้ดีมากครับ และตรงประเด็นจริงๆ

       ดร.เสรี

 พูดถึงสังคมที่เปลี่ยนไป ทำให้ความสัมพันธ์ของคนเปลี่ยนไปด้วย สังคมเปลี่ยนเร็วมาก ถ้าปรับตัวไม่ได้ไม่รอด ขณะนี้โลกกำลังโหยหาการฟื้นฟูธรรมชาติ เรื่องที่สำคัญคือ อาหาร พลังงาน และความรู้ ยุคนี้เป็นยุคแห่งความรู้ ถ้าทำให้สังคมเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ก็จะแก้ปัญหาชีวิตได้ ชุมชนที่เข้มแข็งเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ และพึ่งพาตนเองได้  เราจะทำอย่างไรให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ เห็นด้วยกับดร.เสรีครับว่าต้องทำให้ชุมชนมีวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้และพึ่งพาตนเองไม่ต้องใช้เงินมาก ชีวิตในชนบทเป็นชีวิตที่มีความสุขอยู่แล้วเพียงแต่เติมความรู้เข้าไป

           รวค. ธวัช

กล่าวว่า กฟผ.ต้องเป็น Social Based แทนที่จะเป็น Technical Based เหมือนที่เคยเป็นมา แต่เป็นเรื่องใหญ่พอสมควร เพราะต้องเปลี่ยน Paradigm Shift ของคนจำนวนมาก ซึ่งต้องใช้เวลาครับ เพราะกฟผ.เป็นองค์กรที่ทำงานด้านเทคนิค แต่ผมเห็นว่าควรเป็นทั้ง Technical และ Social Based ครับ จะทิ้งทางเทคนิคไม่ได้ เพราะเป็นรายได้ของเรา และเป็นจุดแข็งของเราด้วยครับ แต่เราต้องทำฝานด้านสังคมมากขึ้น

 

สรุปการบรรยายโดยทีมงานศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และเทคนิคการตัดสินใจของผู้บริหารมืออาชีพ

โดย    รศ.สุขุม นวลสกุล

ความขัดแย้งในการบริหาร แบ่งเป็น 3 ประเภท

1.บุคคล กับ บุคคล  มักจะอิจฉาริษยา และเอารัดเอาเปรียบกัน ผู้บริหารหรือหัวหน้า ต้องคอยดูแลไม่ให้เกิดความขัดแย้ง ต้องใช้หลักกันดีกว่าแก้

2.บุคคล กับ องค์การ  เนื่องจากไม่เข้าใจ และไม่มีการอธิบาย

3.หน่วยงาน กับ หน่วยงาน  เนื่องจากไม่เข้าใจบทบาท และหลงหน่วยงาน  

การตัดสินใจ

นักบริหารต้องตัดสินใจเร็ว หากเป็นคนแม่นกฎระเบียบ บางคนตัดสินใจช้าเพราะเกรงใจ และไม่กล้าปฏิเสธ

องค์ประกอบการตัดสินใจ

-          ข้อมูล  คนเป็นนักบริหารต้องเป็นคนที่กล้าให้ข้อมูล

-          ประสบการณ์   คนประสบการณ์ดี จะตัดสินใจได้ดี ประสบการณ์ได้จากการฟัง การอ่าน

-          การคาดการณ์  ต้องมีการคาดการณ์ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น เช่น พ่อกับลูกจูงลากลับบ้าน ตอนแรกลูกจูงแล้วพ่อนั่ง เผอิญชาวบ้านผ่านมาก็ว่าพ่อ หาว่าพ่อเอาเปรียบลูก พ่อเลยลงมาจูงมาแทน  ชาวบ้านอีกกลุ่มหนึ่งผ่านมา ก็ว่าลูกหาว่าไม่ช่วยพ่อจูง เอาเปรียบพ่อ ถ้าเราเป็นนักบริหารวิธีการที่จะเอาลากลับทำอย่างไร วิธีการก็คือ ต้องคิดคำตอบไว้ล่วงหน้า ในสิ่งที่จะเกิดเป็นคำถาม สิ่งที่จะโดนวิจารณ์ หากคิดแล้วว่าเป็นคำตอบที่เหมาะสมแล้วก็ยืนยันคำตอบ อย่านิ่งเด็ดขาด

-          ผลกระทบ

-          สถานการณ์

การวิเคราะห์การตัดสินใจ

-          ถูกต้อง คนเป็นนักบริหารต้องเรียนรู้วิธีหาความถูกต้อง

-          ถูกใจ   เรื่องไหนที่เป็นเรื่องถูกต้องและถูกใจก็ตัดสินใจทำได้เลย

-          ถูกจังหวะ  จังหวะจะเปิดเมื่อคนเข้าใจกันอยู่แล้ว

ผู้บริหารต้องรู้จักการบริหารเชิงรุก คนเห็นความสำคัญของการประชาสัมพันธ์ ต้องทำให้คนเข้าใจ ความเข้าใจของคนเป็นเรื่องสำคัญ

วันที่ 29 พ.ค. 2555

สรุปการทำกิจกรรมที่เสถียรธรรมสถาน

  • ช่วงเช้า เป็นการสวดมนต์ เพื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า เป้นการเตือนสติให้ตั้งมั่นอยู่ในความไม่ประมาท
  • ตอนสายฟังคำบรรยายของแม่ชีศันสนีย์ ที่ชี้ให้ละความโลภ โกรธ หลง อันเป็นภาระที่เราไม่ควรแบกรับเอาไว้ เช่นความทุกข์มีไว้รู้ ไม่ใช่มีไว้แบกรับเป็นต้น
  • สำหรับช่วงบ่ายเป็นการฝึกสมาธิ และฝึกการเดินจงกรม เพื่อให้สติอยู่กับตัวเราตลอดไป

วันที่ 18 พ.ค. 2555

สรุปการบรรยาย เรื่อง HR for Non-Hr

โดยศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • Old HR มองว่าพนักงานคือต้นทุนค่าใช้จ่าย แต่ New HR มองว่าพนังานคือสินทรัพย์ ยิ่งมีประสบการณ์ยิ่งมีมูลค่า  สามารถสร้าง Value ให้แก่หน่วยงาน
  • CEO สมัยใหม่ ต้องมีความรู้ HR และเป็น HR ด้วย โดยต้องบริหาร HR ให้เป็นทั้ง
    • สินทรัพย์หมุนเวียน เพื่อสร้างกำไรระยะสั้น คือต้องมีบทบาท
      • มีวิสัยทัศน์ บอกทิศทาง
      • แสดงความเป็นผู้นำ จุงใจคน
      • มี Network
    • สินทรัพย์ถาวร ต้องมีบทบาท
      •   สร้างวัฒนธรรมองค์กร
      • HR กับ CEO ต้องสร้างแนวทางให้พนักงานเห็นไปแนวทางเดียวกับองค์กร

ตารางเปรียบเทียบบทบาทของ HR (เก่า และ ใหม่)

Old HR

New HR

Routine

Strategic

HR Department

CEO + Other Departments

Training

Learning

Expense

Investment

Static

Change Management

Information

Knowledge

Stand alone

Partnership

Efficiency

Effectiveness

Value

Value Added

Command & Control

Respect & Dignity

Micro

Macro to Micro

Red Ocean

Blue Ocean

Liability

Assets

 

 

 

สรุปการบรรยาย “บทบาทของ Regulator และ Energy Tax กับการทำงานของ กฟผ.”

โดย ศาสตราจารย์ ดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ

ซึ่งท่านได้อธิบายถึงเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550เพื่อตอบสนองความต้องการภายในประเทศและต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ในด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอันสอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีวัตถุประสงค์คือ

  1. ส่งเสริมให้การประกอบการดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ปกป้องสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้พลังงาน

โดยมีคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน7 คนเริ่มเมื่อ 2557  จัดขึ้นเพื่อดูแลกำกับกิจการพลังงาน เป็นคนรักษากฎหมายทำให้ประเทศมีพลังงานเพียงพอ เชื่อถือได้ และปลอดภัย ราคาเหมาะสม ลดต้นทุนในการใช้พลังงาน และสนับสนุนให้ประชาชนสามารถเข้าถึง มีหน้าที่ในการอนุญาตการประกอบกิจการพลังงาน การอนุญาตประกอบกิจการก๊าซธรรมชาติ การจัดตั้งกองทุนพัฒนาไฟฟ้า

Regulator มีบทบาทเกี่ยวข้องกับ กฟผ. คือ กำกับดูแลให้กฟผ.ผลิตไฟฟ้าให้พอเพียงกับความต้องการไฟฟ้า,มีประสิทธิภาพ,มีการรับซื้อไฟฟ้าอย่างเป็นธรรม ,การสั่งจ่ายการผลิตไฟฟ้าที่โปร่งใสและเป็นธรรม ,มีการจำหน่ายไฟฟ้าให้กับระบบจำหน่ายมีความมั่นคง ปลอดภัย และมีมาตรฐานการบริการที่ดี,มีการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายพลังงาน ตามข้อกำหนดที่เป็นไปตามหลักการของพระราชบัญญัติฯ,มีการจัดทำแผน PDP แผนการลงทุน แผนการขยายโครงข่ายไฟฟ้า,มีการรายงานข้อมูลที่จำเป็นต่อการกำกับดูแลของ Regulator ,การนำส่งเงินเข้ากองทุนพัฒนาไฟฟ้า และการดำเนินการเพื่อรับผิดชอบต่อสังคม (CSR)

 

 

วันที่ 30 พ.ค. 55

สรุปการบรรยายเรื่อง People Management & Coaching โดยอาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด

  • เราต้องศึกษาเข้าใจมนุษย์ ความเป็นไปของมนุษย์ เพื่อจะได้บริหารคนได้ง่าย โดยหลักการบริหารงาน อาศัยพื้นฐานเบื้องต้นเท่านั้น
  • ศูนย์มนุษย์ มี 5 อย่างคือ
  1. ร่างกาย
  2. สติปัญญา
  3. ความรู้สึก
  4. ธาตุแท้
  5. มโนธรรมลึกซึ่ง/ความรู้จักผิดชอบ ชั่วดี
  • ศึกษาเรื่อง Neuro Linguistic Programming (NLP) คือ ศาสตร์แห่งการศึกษาการใช้ภาษากาย  โดยมีหลักการว่าประสาทจะเชื่อมโยงภาษากายและภาษาจิต ให้แสดงออกมาตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ ตัวอย่างเช่น หากคู่สนทนากำลังเล่าเรื่องและสายตามองลงข้างล่าง แสดงว่าใช้ความรู้สึกเล่าเรื่องเป็นต้น
  • Human 6 Core Needs ประกอบด้วย
  1. Certainty/Security/Comfort
  2. Uncertainty/Variety
  3. Connection & Love
  4. Significance
  5. Growth
  6. Contribution

สรุปการบรรยายเรื่อง ทิศทางเศรษฐกิจไทย กับการปรับตัวของ กฟผ. โดย ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล

  • ปัจจัยที่กระทบกับเศรษฐกิจไทย มี 3 ปัจจัย คือ
    • นโยบายรัฐบาล
    • ความเป็นไปของเศรษฐกิจโลก
    • การเกิด AEC ในปี 2015

1.นโยบายรัฐบาล

  • การเพิ่มรายได้ของผู้มีรายได้ต่ำ มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจค่อนข้างมาก
  • การรับจำนำพืชผลเกษตรในราคาสูง
  • จากนโยบาล 2 ข้อแรก
    • มีข้อดีคือ ผู้มีรายได้ต่ำ จะมีรายได้สูงขึ้น ซึ่งจะเป็นการเพิ่ม Demand ในชนบท เป็นผลให้ Demand ของประเทศเพิ่มขึ้น วึ่งจะมาทดแทนการส่งออกที่จะลดลง
    • มีข้อเสียคือ ไปกระทบกับกิจการ SME ที่พึ่งแรงงาน และมี Profit margin ต่ำ และกิจการที่พึ่งพาแรงงาน ทยอยย้ายฐานการผลิตไป จีน/เวียดนาม หรือปรับลดฝยกเลิก ธุรกิจตนเอง
    • สนับสนุนการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ทวาย ในประเทศพม่า ซึ่งเป็นจังหวะที่ดีเนื่องจาก ค่าแรงภายในประเทศสูงขึ้น  พื้นที่สำหรับพัฒนาอุตสาหกรรมในไทยเต็มแล้ว และสามารถใช้วัตถุดิบภายในพม่า ป้อนให้แก่ไทย เพื่อต่อยอดในการผลิตต่อ
    • มีการสร้างรางรถไฟรอบๆ กทม. อย่างต่อเนื่อง และจะมีรางรถไฟรางคู่ เพื่อเพิ่มการขนส่งสินค้า
    • พัฒนาท่าเรือน้ำลึกปากบารา รองรับการขนส่งสินค้าจากจีน ผ่านรางรถไฟที่จะก่อสร้างเพิ่ม ทำให้สินค้าไปสู่ยุโรปสะดวกขึ้น

2.ความเป็นไปของเศรษฐกิจโลก

  • ยูโรโซน มีปัญหา เนื่องจากระบบประชาธิปไตย ที่รัฐบาลใช้นโยบายประชานิยม เพื่อให้ประชาชนเลือกตน เข้ามาเป็นรัฐบาล ซึ่งต้องใช้งบประมาณมาก
  • กรีกมีปัญหา คาดว่าจะออกจากยูโรโซน ซึ่งประเทศภายในยูโรโซน กลัวว่าประเทศอื่นๆ ที่มีปัญหาคล้ายกรีก จะทำตาม ซึ่งปัญหาใหญ่จะตามมาคือ
    • เศรษฐกิจยุโรปจะหดตัว ทำให้เศรษฐกิจคู่ค้าชะลอตัว และไทยจะส่งออกลดลง
    • ตลาดหลักทรัพย์ไทย จะผันผวน
    • ตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่เริ่มฟื้นตัว จะเริ่มสะดุด

3. การเกิด AEC ในปี 2015

  • สินค้าจะผ่านกันโดยไม่มีกำแพงภาษี
  • การลงทุนข้ามอาเซียนไม่มีข้อจำกัด
  • ผลที่ตามมาคือ
    • ไทยจะหันไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น เนื่องจากกำลังซื้อในประเทศเหล่านั้นต้องการสินค้าที่ไทยผลิตได้ และเป็นสินค้าง่าย ๆ (ธุรกิจที่เคยเฟื่องฟูในไทยเมื่อ 30 ปีที่แล้ว จะเฟื่องฟูในประเทศเหล่านี้)
    • หากเส้นทางขนส่ง จากเหนือถึงใต้ และทางตะวันตกไปตะวันออก มีความสมบูรณ์ ไทยจะเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้า ของภูมิภาค

 

ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับ กฟผ. คือ ภาคชนบทจะเติบโตขึ้นมีความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคครัวเรือนมากขึ้น ในขณะที่การใช้ไฟฟ้าภาคอุตสาหกรรมจะชะลอตัวลง ดังนั้น กฟผ. จำเป็นต้องคาดการณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าในอนาคตใหม่

JEREMY LIN ผู้เล่นที่ทรงคุณค่าของคนช่างฝัน

เรื่อง Jeremy Lin เป็นบทเรียนที่ดีสำหรับเด็กทุกที่สามารถหักล้างอคติและทัศนคติที่ไม่เป็นธรรมกับเด็กลูกครึ่ง เขาไม่เคยยกเลิกความตั้งใจที่จะเป็นผู้เล่น Asian-American ในตำแหน่ง Guard  ใน NBA แต่อย่างใด

ขัดกับสิ่งที่คุณอาจอ่าน, Jeremy, 23, ไม่มีความรู้สึกชั่วข้ามคืน ในความเป็นจริงที่เขาประสบความสำเร็จ เขาใช้วิธีที่ดั้งเดิม คือ เขาทำงานหนักและอยู่อ่อนน้อมถ่อมตน เนื่องจากเขาใช้ชีวิตอยู่ทางที่ถูกทาง; เขาเล่นในวิถีที่ถูกต้อง เขาจึงประสบความสำเร็จในทุกวันนี้

กรณีของ Jeremy แสดงให้เห็นว่า ไม่ว่าคุณเป็นเด็ก Asian-American, สีขาว, สีดำหรือสเปน, แต่ถ้าคุณแสดงความอดทน ความมีวินัยและความซื่อสัตย์คุณก็สามารถได้รับโอกาสที่จะแสดงความสามารถ

 

U Thein Sein :ตัวแทนการเปลี่ยนแปลงในประเทศพม่า

U Thein Sein ปํจจุบันเป็นประธานาธิบดีของประเทศพม่า ที่พยามยามพิสูจน์ให้โลกเห็นตัวเขาเองและขั้นตอนที่พม่าวางแผนไว้ จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบประชาธิปไตย

U Thien Sein มีบทบาทที่สร้างสมดุลและเสถียรภาพทางการเมืองในพม่า เนื่องจากเขาเป็นตัวแทนของกองทัพที่ปกครองประเทศมาอย่างยาวนานและกลุ่มนักธุรกิจ ต้องทำงานร่วมกับ Daw Aung San Suu Kyi ตัวแทนของคนรุ่นใหน่ หัวก้าวหน้า  เพื่อนำพาประเทศให้หลุดพ้นจากความล้าหลังและความขัดแย้งภายในประเทศ

ในกรณีของ U Thien Sein คือการบริหารความขัดแย้งภายในชาติให้เกิดความสงบและความร่วมมือกันพัฒนาประเทศ

 

Sheryl Sandberg

Facebook Financial Visionary

สตรีผู้ที่มีความเข้าใจในศักยภาพของเครือข่ายทางสังคม (Social Network) ว่าจะมีอิทธิพลต่อโลกอย่างมหาศาลที่จะช่วยให้คนทั้งโลกสามารถแลกเปลี่ยนความรู้กันได้อย่างกว้างขวาง และทำให้โลกเกิดความโปร่งใสยิ่งขึ้น โดยเฉพาะ Facebook ได้สร้างการเชื่อมต่อโดยปลายนิ้วสัมผัส เพียงคลิกเดียว สามารถเชื่อมต่อและสร้างอำนาจอันทรงพลัง

เธอเชื่อว่าคนรุ่นใหม่จะร่วมมือกันสร้างสรรค์สิ่งดีงาม โดยการใช้เทคโนโลยีและความก้าวหน้าของการสื่อสาร

Tim Cook

Tim Cook คือผู้นำคนต่อไปจาก Steve Jobs ของอาณาจักร Apple ที่เป็นบริษัทชั้นนำในด้านนวัตกรรมที่มีคุณค่ามากที่สุดในโลก เขาสามารถดำเนินการผ่านจุดเปลี่ยนที่สำคัญได้อย่างราบรื่นและยอดเยี่ยม

เขาสร้างความประทับใจให้แก่คนในองค์กร โดยบริหารงานดูแลเทคโนโลยีใหม่ ที่เรียกว่า “insanely great “ และนวัตกรรมใหม่ เพื่อออกผลิตภัณฑ์ใหม่

เขามีปรัชญาการทำงานที่ว่า “เราจะเตรียมความพร้อมและ รอโอกาสที่สักวันหนึ่งจะมาถึง ”

ซึ่งหมายความว่าความสำเร็จที่ Tim Cook ได้รับในวันนี้ คือการศึกษาหาความรู้แบะมีการเตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอ

 

 

Maria das Gracas Silva Foster

CEO คนใหม่และเป็นผู้หญิงคนแรกของ บริษัท Petrobras ซึ่งเป็นบริษัท น้ำมันและก๊าซ  ประเทศบราซิล ชีวิตในวัยเด็กของเธอต้องต่อสู้ดิ้นรนอย่างหนัก ช่วงต้นการทำงานระดับ Favela ในเขตชานเมืองริโอเดอจาเนโร และเก็บกระป๋องรีไซเคิลและกระดาษเพื่อช่วยจ่ายสำหรับโรงเรียนวิศวกรเคมี  และต่อมาเธอได้เช้าทำงานที่บริษัท Petrobras นานกว่า 30 ปี ด้วยนิสัยการทำงานไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยของเธอทำให้เธอได้รับฉายา Caveirao  (คำแสลง หมายถึงรถหุ้มเกราะของตำรวจบราซิลใช้เพื่อกวาดล้างชุมชนสลัม)  การก้าวขึ้นมาเป็นผู้บริหารบริษัทชั้นนำนี้ เพราะเธอมีประสบการณ์และความอดทน อย่างสูง ที่จะผลักดันให้บริษัทมีความเจริญต่อไป

ผู้นำ – วัฒนธรรมองค์กร -การบริหารการเปลี่ยนแปลง

โดย อาจารย์ประกาย ชลหาญ 15/5/55

สิ่งที่ได้รับจากอาจารย์

1.ได้รับรู้ว่าการที่คนจะมี performance ดี ขึ้นอยู่กับ ขีดความสามารถของเขาและแรงจูงใจที่จะให้เขา ไม่ใช่ว่า ความารถเขาเพียงอย่างเดียวผู้นำต้องสร้างแรงกระตุ้นให้เขาทำงานด้วยโดยเฉพาะถ้าเป็นงานที่เขาชอบเขาจะสามารถทำได้ดีมากยิ่งขึ้น ต้องสร้างให้เขารู้ว่างานที่ตนเองทำนั้นทุกสิ่งมีค่าในองค์กร

2.หน้าที่ของการเป็นผู้นำที่ดีต้องกำหนดว่าตนเองจะไปไหน ไปอย่างไรให้ถูกต้องตามข้อมูลที่ได้รับรู้รับทราบจริง พร้อมทั้งกระจายอำนาจให้แก่ลูกน้องตามความเหมาะสม เป็นที่พึ่งของลูกน้องได้เสมอ ต้องเล่นบทบาทของตนเองให้ถูกต้องในแต่ละสถานะการณ์ กล้าตัดสินใจ และเป็นแบบอย่างที่ดีต่อลูกน้อง สุดท้ายนั้นต้องพยายามหาข้อมูลใหม่ๆเพิ่มเติมไม่ว่าจะเป็นแนวโน้มทิศทางของสินค้านั้นในตลาด คู่แข่งขัน และต้องรีบเป็นผู้นำในการดำเนินการเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์หรือการให้บริการใหม่ๆได้ทันที ถ้ารออาจจะสายเกินไป

3.วัฒนธรรมคือสิ่งที่หล่อหลอมทุกคนให้เป็นหนึ่งเดียวอย่างยาวนาน และวัฒนธรรมขององค์กรมีความสำคัญมาก หากองค์กรมีวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแรง ก็จะทำให้องค์กรก้าวไปอย่างมั่นคง หากองค์กรนั้นมีผู้นำหรือผู้ปฏิบัติงานที่ทำตัวเองเป็นแบบอย่างในความไม่ซื่อสัตย์ คดโกง องค์กรนั้นก็ไม่สามารถยืนอยู่ได้อย่างมั่นคงตลอดไป

 

 

พลังงานกับเศรษฐกิจไทย

ศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ 16/5/55

สิ่งที่ได้รับจากอาจารย์

1.ได้รับรู้ว่าตัวที่เป็นปัญหาพลังงานของโลกและประเทศไทย คือเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตเพื่อให้ได้มาซึ่งพลังงานไม่ว่าจะเป็น น้ำมัน ก๊าซ ถ่านหิน ราคาจะแพงขึ้นเรื่อยๆไม่มีการหยุด และจะหาได้ยากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะเดียวกันสิ่งที่มาทดแทน คือ การใช้พลังงานสะอาดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ซึ่งต้นทุนการลงทุนสูงมากในขณะนี้

2.ได้รู้ว่าน้ำมันและก๊าซเป็นตัวแปรหลักของเศรษฐกิจไทย ต้องนำเข้าจากต่างประเทศทำให้เสียเงินตราเป็นจำนวนมาก ราคาสินค้าต่างๆจะขยับขึ้นทันที่ที่ราคาพลังงานต่างๆขึ้น

3.ได้รู้ว่าการที่รัฐบาลควบคุมราคาก๊าซและน้ำมันและมีบางส่วนชดเชยเงินเข้ากองทุนเพื่อควบคุมราคาไม่ให้ขึ้นนั้นก่อให้เกิดการลักลอบขนไปขายในประเทศเพื่อนบ้าน ไม่มีต่อเศรษฐกิจไทย

ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่น ต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคตของ กฟผ.”

โดย ดร. กมล และ ศ.ดร.ปณิธาน 16/5/55

สิ่งที่ได้รับจากอาจารย์

1.ได้ทราบถึงการใช้เชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้าทั่วโลกใช้อะไรมากที่สุด สำหรับประเทศไทยนั้นใช้ก๊าซธรรมชาติมากที่สุด ใช้ยูเรเนียมในประเภทไทยยังไม่มี

2.โรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีหลายแบบ การออกแบบเขื่อนกั้นคลื่นน้ำทะเลนั้นได้ออกแบบตามสถิติการเหตุ แต่คลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นสูงกว่าแนวกั้นจึงทำให้เกิดเหตุการณ์น้ำท่วม ระบบป้องกันต่างๆที่ออกแบบไว้ก็ได้ทำงานตามปกติ แต่ไม่เพียงพอ ซึ่งจะต้องแก้ไขในอนาคตต่อไป และได้ทราบต่อไปว่าแผ่นดินไหวเป็นเหตุที่ไม่สามรถคาดการณ์ได้ล่วงหน้า ว่าเมื่อไหร่จะเกิดขึ้นที่ไหน ส่วนการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทยต้องเลื่อนออกไปอีก เร็วที่สุด คือ ปี 2026เนื่องจากผลกระทบจากสึนามิต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของประเทศญี่ปุ่น ทำให้ไทยอาจล้าหลังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม, มาเลเซีย ในเรื่องการพัฒนาพลังงานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

3.ประเทศไทยอาจต้องดับไฟฟ้าเป็น Zone ก็ได้ ถ้าความต้องการไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น ทุกปี และไม่สามารถสร้างโรงไฟฟ้าขึ้นมารองรับได้ทันต่อเหตุการณ์เนื่องจากเชื้อเพลิงที่ใช้อยู่ในปัจจุบันจะราคาแพงขึ้น โดยมีสาเหตุจากการหมดไปของโลกในอนาคต

ทิศทางพลังงานกับการทำงานของ กฟผ.

โดย อดีตผวก. ไกรสีห์ และ รวห. วิรัช 16/5/55

สิ่งที่ได้รับจากอาจารย์

1.อดีต ผวก. ได้กล่าวถึง เรื่องการเปลี่ยนแปลงในเรื่องพลังงานในอนาคตจะเป็นสิ่งทีกฟผ.ได้สามารถหลีกเลี่ยงได้ว่าหลีกเลี่ยงไม่ได้ Regulator จะเพิ่มบทบาทกำกับดูแล กฟผ.มากขึ้น โดยจะให้เพิ่มสัดส่วนในเรื่องการใช้พลังงานที่สะอาด รัฐมีนโยบายที่ชัดเจน ว่าต้องมีพลังงานทดแทน 25% ควรมองด้าน Demand Side ส่งเสริมการใช้ไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพ ต้องเป็น Environmental Friendly เพื่อลดก๊าซเรือนกระจก ต่อไป ปัญหาของ กฟผ.ก็คือ ถ้าสร้างโรงไฟฟ้าแพงกว่าเอกชน หรือ กฟผ.สร้างโรงไฟฟ้าไม่ได้แต่เอกชนสร้างได้ สัดส่วนกฟผ.การผลิตก็ลดลง การที่จะได้สัดส่วน 50% เหมือนเดิมคงไม่ใช่ และตอนนี้กฟผ.จะทำอะไรก็ตามที่มีผลกระทบต่อชุมชนก็ยากขึ้นกว่าแต่ก่อนค่อนข้างมาก คนในชุมชนก็เปลี่ยนไป มีการตื่นตัวมากขึ้น ถ้ามีอะไรมากระทบ หรือเปลี่ยนวิถีชีวิตเขา ก็จะคัดค้าน ดังนั้นจึงต้องคำนึงถึงชุมชน และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นกฟผ.ต้องทำอย่างไรให้คนในชุมชนและคนทั้งประเทศไว้ใจ มั่นใจ

จะไม่ทำลายวิถีชีวิตของชุมชน ถ้ามีปัญหาในอนาคตที่เกิดจาก กฟผ.ก็พร้อมจะรับผิดชอบ และมีเงินกองทุนให้

 

2.รวห. วิรัช กล่าวว่าทิศทางพลังงานของประเทศไทยเพิ่มขึ้นทุกปี แหล่งพลังงานลดลง เชื้อเพลิงในประเทศน้อยลงทุกปี การสร้างโรงไฟฟ้าถูกคัดค้าน โดย ชุมชนNGO สิ่งที่เป็นปัญหาก็คือ เรื่องการคัดค้าน ต้องแก้ปัญหาที่สังคมและชุมชน ถึงแม้ว่าอากาศที่แม่เมาะดีกว่าทุกจุดในกรุงเทพฯ แต่ทุกครั้งที่โจมตีเรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินก็จะกล่าวถึง โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ต้องสร้าง Trust ให้เห็นว่า กฟผ.มีความรับผิดชอบ และจำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้า แต่ให้ความเชื่อมั่นว่าไม่ให้เกิดผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชุมชน

เรื่อง Trendy Technology and Social Medias for EGAT Executive

โดย ดร. วิรัช 16/5/55

สิ่งที่ได้รับจากอาจารย์

1.การแข่งขันด้านการค้าในอนาคตหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะอาศัยเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ๆ ใครที่มีก่อนย่อมเป็นเจ้าของตลาดก่อน

2.ผู้นำในอนาคตต้องมีการเรียนรู้เรื่องการใช้ IT.ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

3. ข้อมูลที่ได้จากSocial Media เป็นสิ่งสำคัญมากในการที่จะพัฒนาองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืน

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

การบรรยายเรื่อง High Performance Organization ที่ กฟผ..

โดย ดร.สมโภชน์ นพคุณ

คุณสมชาย ไตรรัตนภิรมย์

รองกรรมการผู้จัดการบริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด 17/5/55

สิ่งที่ได้รับจากอาจารย์ ทั้ง 2 ท่าน คือ

อาจารย์สมชาย ไตรรัตนภิรมย์

1. สิ่งที่ได้รับคือการรับรู้ถึงเรื่องHPO (High Performance Organization)ในมุมมองของเอกชนและภาคราชการ การที่องค์กรจะเป็นHPO ได้นั้นทุกทุกคนในองค์กรต้องช่วยกัน คนในองค์กรทุกคนต้องเป็นคนที่มีขีดความสามารถสูงพร้อมที่จะเผชิญและแก้ไขปัญหาต่างๆได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว การที่จะได้มาซึ่งคนที่มีขีดความสารถสูงได้ใช่เกิดจากการรับคนที่มีการศึกษาสูง เกรดสูงๆ แต่ต้องเป็นคนที่พร้อมและใฝ่ที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นรอบตัวเองและขององค์กรและทำตนเองเป็น Multiple skill

2.นอกเหนือจากเรื่องคนแล้วสิ่งที่รู้คือในเรื่องทางด้าน Hard side นั้น ก็ต้องมีการจัด สิ่งอำนวยความสะดวกในการทำงานต่างๆให้พร้อมและทันสมัยอยู่เสมอ ผู้บริหารต้องพร้อมที่จะมีการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างขององค์กร ขั้นตอนการทำงาน ในขณะนั้นอาจจะเหมาะสมแต่ไม่ได้หมายความว่าโครงสร้างจะเป็นอย่างนั้นอยู่ตลอดไป ในขณะเดียวกันอุปกรณ์สนับสนุนทางด้านเทคโนโลยีจะต้องพร้อมด้วย

3.สิ่งที่สำคัญที่สุดต้องสร้าง Trust เกิดขึ้นในทุกระดับไม่ว่าจะเป็น stakeholder customer และต้องทำให้ทุกคนที่ทำงานอย่างเต็มความสามารถที่มีอยู่อย่างมีความสุข

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

การอภิปราย “นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน(Social Innovation)กับการทำงานของ กฟผ.”

โดย ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ 17/5/55

ดร.เสรี พงศ์พิศ

คุณธวัช วัจนะพรสิทธิ์ รองผู้ว่าการกิจการสังคมและสิ่งแวดล้อม

สิ่งที่ได้รับจากอาจารย์ ทั้ง 3 ท่าน คือ

1.คนเราต้องมีหน้าที่หลักอยู่ 2 อย่างคือ ทำงานตามภาระกิจที่เขาหรือตนเองมอบให้ทำ เพื่อที่จะได้เงินมาซื้อของเพื่อการดำรงชีพหรือแสวงหาความสำราญต่างๆและอีกประการหนึ่งคือต้องรับใช้สังคมซึ่งขณะนี้ทุกคนดำเนินการตามภารกิจแรกแต่ภารกิจที่ สองบอกว่าเป็นหน้าที่ของบุคคลอื่น ตนเองไม่เกี่ยว และทุกปัญหาต่างๆมีทางออกเสมอเพียงแต่ว่าหาให้เจอเท่านั้น

2.ในอนาคตคนที่ไม่มีความรู้จะอยู่ไม่ได้ จะเหลือแต่ตัว มีเงินแต่ไม่มีความรู้ก็จะเหลือแต่หนี้ คนที่มีความรู้ สามารถเปลี่ยนทะเลทรายให้เป็นป่า ต่างจากคนที่ไม่มีความรู้ ที่จะเปลี่ยนป่าให้เป็นทะเลทราย

3.คนของกฟผ.เก่งเรื่องงานวิศวกรรมแต่ไม่เก่งเรื่องชุมชนการเข้าถึงชุมชนไม่ใช่ว่าเพียงแต่ให้เงินทดแทนที่เขาต้องสูญเสียโอกาสในที่ทำกินเท่านั้นต้องให้องค์ความรู้ในการที่จะต้องดำรงชีวิตอยู่ได้ในระยะยาวด้วย ไม่อย่างนั้นจะเป็นเหมือนดังข้อ 2อย่าปฏิเสธความรับผิดชอบบอกว่าเป็นเรื่องของรัฐบาล จังหวัด อบต กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ต้องเป็นผู้รับผิดชอบร่วมด้วยในการที่จะช่วยเจรจากับหน่วยงานของรัฐ ไม่ใช่จะไปฟ้องเขาที่มารุกล้ำที่ที่ได้เวนคืน สุดท้ายการเข้าถึงชุมชนได้ต้องมีส่วนร่วมกับเขาตั้งแต่เริ่มต้น สร้างภาพลักษณ์ตั้งแต่เริ่มต้น ว่า เขาจะดีขึ้นอย่างไร และทำให้เขาได้เห็นจากสิ่งที่มีอยู่จริง และให้เกียรติกันไม่ว่าจะเป็นระดับสูงเพราะทุกคนเป็นคนเหมือนกัน

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และเทคนิคการตัดสินใจของผู้บริหารมืออาชีพ

โดย รศ.สุขุม นวลสกุล 17/5/55

สิ่งที่ได้รับจากอาจารย์ คือ

1.ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ในการทำงานของท่านว่าความขัดแย้งเกิดขึ้นได้จากเหตุการณ์ 3 เหตุการณ์ คือ คนกับคนในหน่วยงานเดียวกัน คนกับต่างหน่วยงาน หน่วยงานกับหน่วยงาน ทั้ง 3 อย่างนี้มีวิธีแก้ไขปัญหาไม่เหมือนกันใน การแก้ไขต้องอาศัยทั้งศาสตร์ทั้งศิลป บางครั้งจำเป็นก็ต้องใช้อำนาจที่ตนเองมีอยู่แต่ต้องพยายามใช้ให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น

2. ในการตัดสินใจเพื่อยุติข้อขัดแย้งต่างๆผู้บริหารต้องมีข้อมูลที่ถูกต้อง ซึ่งการได้ข้อมูลมาอย่างถูกต้องนั้นต้องอาศัยจากการที่ได้เรียนรู้อย่างแท้จริงมาก่อนเช่นกฏระเบียบต่างๆในหน่วยงาน ผู้เชี่ยวชาญด้านนั้นๆเป็นต้นนอกจากนั้นก็ต้องมาพิจารณาอีกว่าถูกใจหรือเปล่า ถ้าทั้งถูกต้อง ถูกใจ ทำเลย แต่ถ้ายังไม่ถูกใจก็ต้องรอจังหวะไม่ใช่จะเอาแต่ถูกต้องเท่านั้น ผลเสียที่ได้อาจจะไม่คุ้มค่า

NON HR -HR

โดย อ. จีระ หงส์ลัดดารมย์ 18/5/55

สิ่งที่ได้รับจากอาจารย์

1.ผู้บริหารที่ไม่ได้เป็น NON HR เห็นว่าเรื่อง งานบุคคลไม่ใช่หน้าที่รับผิดชอบของตน ซึ่งเป็นสิ่งที่เข้าใจผิด

2. กฟผ.จำเป้นต้องมีการสื่อสารให้ผู้บริหารทุกระดับได้ทราบถึงบทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวข้องว่าอะไรเป็นงานตรงของ HR อะไรเป็นงานตรงของตนเองที่ต้องเกี่ยวข้องกับผู้ปฏิบัติงานของตน อะไรที่เป็นส่วนร่วมกัน

3.การมองลูกน้องต้องมองทั้ง Invisible และ Intangibleคือมองทั้งข้างในและข้างนอก มองคุณค่าและให้โอกาสลูกน้องทำงานในงานที่ท้าทายความสามารถ

 

บทบาทของ Regulator และEnergy Tax กับการทำงานของ กฟผ.

โดย ศาสตราจารย์ ดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน 18/5/55

สิ่งที่ได้รับจากอาจารย์ คือ

1.ได้รับทราบกระบบการทำงานของ Regulator อย่างแท้จริง ซึ่งจะต้องดำเนินการให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆเชื่อมั่นในการทำงานอย่างแท้จริง

2.ได้รับทราบถึงหลักเกณฑ์ต่างๆในการพิจารณาจ่ายเงินจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้า

 

 

 

 

บุคคลที่ชื่นชอบ

 

1. Novak Djokovic นักเทนนิสชาวเซอร์เบีย เมื่อปี 2007ยอโควิช อยู่อันดับ 3 ของโลกโดยมีมือ1 คือ Roger Federer มือ 2 คือ Rafa Nadalและด้วยความพยายามในการฝึกซ้อม เป็นอย่างหนักในการเพิ่มการตีที่เส้น Base line จนในที่สุดก็ได้ขึ้นมาเป็นเขามือ 1ของโลกในปี 2011โดยได้แชมป์ Australian Open , Wimbledon, U.S. Openและเมื่อต้นปี 2012 เขาชนะนาดาลใน Australian Open ในการแข่งขัน 5 เซ็ท ใช้เวลาเกือบ 6 ชั่วโมง ซึ่งเป็นผลมาจากการฝึกซ้อมอย่างหนักของเขาจนขณะนี้เขากลายเป็น Hero ของ ประเทศเซอร์เบีย นักเทนนิสในดวงใจของเขาคือ Pete Samprass

 

2. Lionel Messi นักฟุตบอลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก อายุ 24 ปี ชาวอาเจนตินา เป็นผู้ที่ที่ทุ่มเทใจของตนเองทุกๆครั้งที่เท้าของเขาสัมผัสลูกฟุตบอล เป็นคนที่มีขี้อาย ง่ายๆทุกคนในทีมชอบเขา เขาเล่นอยู่กับสโมสรบาเซโลน่าในสเปน มีความสูงแค่ 170 ซม เป็นคนที่มีศักยภาพที่จะเป็นผู้เล่นที่ดีที่สุดทุกครั้งที่มีการแข่งขัน เขาชอบที่จะฝึกซ้อมอยู่เสมอ เขาเล่นเพราะเขารักจะแสดงศักยภาพออกมาทุกครั้งที่ลงสนาม

3. ประธานาธิบดี U Thein Sein ( เต็งเส่ง ) เป็นประธานาธิบดีของพม่า อายุ 67 ปี ที่ได้พิสูจน์ตัวเขาเองว่าเป็นผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงประชาธิปไตยที่ไม่น่าเป็นไปได้มากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก เขาพยายามขับเคลื่อนประเทศจากรัฐบาลที่ปกครองโดยผู้นำทางทหารมาสู่การปรองดองของ กลุ่มบุคคล 4 ฝ่าย ทหาร นักธุรกิจ ผู้นำการเมือง San Suu Kyl และกลุ่มคนหนุ่มไฟแรงของสังคม โดยปรับปรุงเศรษฐกิจที่ล้าหลังที่สุดในโลกใหม่ เจรจายุติความขัดแย้งของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ 12 กลุ่มที่มีมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ในขณะที่ประเทศยังถูก Sanctions อยู่ โดยตั้งความหวังว่าประเทศพม่าจะเป็นประเทศที่สงบและเป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ในปี 2012Jeremy Lin นักบาสเก็ตบอล NBA เชื้อสายจีน เขาเป็นนักกีฬาอาชีพระดับ world-class เมื่ออยู่ในสนาม เขาเป็นนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ที่มีผลการเรียนยอดเยี่ยม เขาเป็นผู้ที่มีความกล้าหาญ อดทน มีวินัยและมีคุณธรรม จริยธรรม

4.Adele เป็นนักร้องหญิงที่มีเอกลักษณ์ของตนเองถึงแม้ร่างกายจะอ้วนเพราะชอบที่จะทานอาหารมากกว่าการออกกำลังกายแต่มีความคิดว่าจะทำอัลบั้มสุดของตนเองให้ดีที่สุด นักร้องไม่จำเป็นที่จะต้องมีหุ่นดีตามค่านิยมที่ชอบกันมา แต่ถ้าน้ำเสียงเธอมีคุณภาพ ไม่มีใครเหมือนก็จะทำให้ทุกสถานีในโลกเปิดอัลบั้มเพลงที่เธอร้อง และสิ่งนั้นก็เป็นจริงขึ้นมาได้ในปัจจุบัน

5.Barack Obama เป็นประธานาธิบดีของสหรัฐถึงแม้ว่าในปี 2010 ผล poll ของเขาจะลดลงแต่ด้วยความฉลาดและ มีทักษะสูงในการสั่งการให้หน่วย SEALs จัดการ Osama bin laden และถอนกำลังทหารออกจากประเทศอิรักในช่วงที่เศรษฐกิจของประเทศกำลังดีขึ้นเล็กน้อย เขาจึงได้รับการเลือกตั้งกลับมาเป็นประธานธิบดีอีกในปี 2012

 

 

รักษ์กาย รักษ์ใจ

โดย คณะอาจารย์เสถียระรรมสถาน 29/5/55

สิ่งที่ได้รับจากอาจารย์ และมาใช้ในกฟผ.

1.ได้รู้ว่าการฝึกสมาธิมีได้หลายแบบไม่ว่า นั่ง ยืน เดิน นอน ทุกสิ่งต้องการให้จิตใจเราสงบไม่คิดอะไรนอกจากตามดูลมหายใจ ซึ่งจะทำให้เรามีใจ สติจดจ่อต่อสิ่งที่ทำเป็นเวลานานได้ และสามารถทำให้เกิดปัญญาได้ง่ายขึ้น

2. ได้รู้วิธีระงับอารมณ์โกรธที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ดีแก่ตัวเราและคนหน้าเรา โดยรู้มันว่ากำลังเกิดขึ้นและรีบออกจากมาโดยเร็ว (จะเอ๋ บ๊ายๆ)

3. ได้รู้ว่าคนที่อยู่หน้าเราเป็นคนที่สำคัญที่สุด ทุกคนในโลกนี้ต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

หัวข้อ People Management & Coaching

โดย อาจารย์พจนารถ ซ๊บังเกิด 30/5/55 ช่วงเช้า

สิ่งที่ได้รับจากอาจารย์ และนำมาใช้ในกฟผ.

1.ได้ทราบถึงวิธีที่เราสามารถเข้าใจถึงความต้องการหรือรู้ว่าเขาเป็นคนประเภทไหน visual audio felliing ถนัดซ้ายหรือขวาสังเกตุได้จากการเคลื่อนที่ของดวงตา ขึ้นบน ลงล่าง ไปซ้าย ไปขวา เมื่อเรารู้เขาเราก็สามารถที่จะเสนอสิ่งที่เขาต้องการได้อย่างถูกต้อง การทำงานก็ง่ายขึ้น

2.ได้รู้ว่าการทำงานได้อย่างประสพความสำเร็จต้องเป็นผู้นำเขาให้เขาเห็นชอบในสิ่งที่เราเสนอ โดยคิดเสมอว่าคนที่อยู้ข้างหน้าเราคือคนที่สำคัญที่สุด ต้องทำตนเองอยู่ที่นั่น (be there) และทำตัวเองให้เหมือนกับเขา (Pace Pace Lead)

3.ได้รู้ว่าการCoaching ที่มีประสิทธิผลไม่ใช่ใครที่สามารถจะทำได้ ต้องมีองค์ความรูและได้รับการฝึกฝนทักษะทางด้านความต้องการของคนและอื่นๆประกอCoaching ที่ดีคือ การที่เขาเข้ามาหาาเราแล้วสามารถทำให้สิ่งที่เขาต้องการสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างโปร่งใส

 

4. ได้รู้ว่ามนุษยฺทุกคนมีความคิด ความต้องการ และแผนที่นำทาง Map แต่ละคนไม่เหมือนกัน การที่จะทำให้เขามาคล้อยตามเรานั้นเป็นสิ่งที่ยาก ต้องอาศัย ศรัทธา การมองเห็นภาพในอนาคตที่เป็นสิ่งที่เขาต้องการเหมือนกับเรา ดังนั้นถ้าเราเข้าใจถึงความเป็นไปของมนุษย์ได้ จะบริหารอะไรก็ได้

5. Trust ของผู้ชายคือความเป็นที่ยอมรับ เป็น Man not Boy Trust ของผู้หญิงคือ Love

 

หัวข้อ ทิศทางเศรษฐกิจไทย กับการปรับตัวของกฟผ.

โดย อาจารย์หม่อมราชวงศ์ปรีดียาธร เทวกุล 30/5/55 ช่วงบ่ายแรก

สิ่งที่ได้รับจากอาจารย์ และนำมาใช้ในกฟผ.

1. ได้รู้ว่าแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในอนาคตขึ้นอยู่กับปัจจัยใหญ่ๆ 3 ประการ คือ นโยบาย ความเป็นไปได้ของโลก และ AEC 2015

2.นโยบายของรัฐที่ออกมาโดยเฉพาะ การสร้างทางรถไฟไม่ว่าจะเป็น รางคู๋ หรือเชื่อมต่อ จีนตอนใต้ ผ่านลาว ลง12 ปันนา เชียงของ สิ้นสุดที่เด่นชัย ท่าเรือน้ำลึกปากปารา สตูลจะทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าของ ASEAN สู่ทวีปยุโรป และตะวันออกกลาง ไฟฟ้าในอนาคตก็ต้องขยายตัวเพิ่มมากขึ้น

3. ยูโรโซนมีปัญหาเพราะทุกรัฐบาลลงทุนงบประมาณด้านการให้สวัสดิการคนมากกว่าการลงทุนปัจจัยพื้นฐานซึ่งก็โตขึ้นเรื่อยๆ เมื่อยูโรปมีปัญหาไทยก็ส่งออกไปยุโรปได้น้อยลง ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในบางจุดก็เริ่มชะลอตัวลง

4.AEC นักลงทุนไทยจำเป็นต้องย้ายการลงทุนไปยังต่างประเทศเนื่องจากค่าแรงต่ำ

5.อนาคตการลงทุนในภาครัฐจะสูงขึ้นมากว่า 40% ของ GDP กฟผ,กลัวอะไรที่จะต้องออกจากรัฐวิสาหกิจที่รัฐถือหุ้น 100 %ดูอย่างปตท โตเอาโตเอา กฟผ.ต้องรีบปรับตัวเองมิฉะนั้นจะต้องถูกปรับเพราะรัฐบาลอยากใช้เงินลงทุนในกิจการอื่นๆ ไม่ต้องการค้ำกฟผ.

 

หัวข้อ เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC 2015 และเศรษฐกิจไทย ผลกระทบกับการปรับตัวของกฟผ.

โดย อาจารย์ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ดร.กอบศักดิ์ ศิริวรรณ อ.มนูญ ศิริวรรณ 30/5/55 ช่วงบ่าย ตอนที่ 2

 

1. ได้เรียนรู้ถ้าหากยุโรปมีการล่มของประเทศบางประเทศต้องมีการส่งผลกระทบต่อหุ้นไทยแน่นอน

2.ได้เรียนรู้ว่าประเทศจีนโครงการก่อสร้างใหญ่ๆเริ่มชะลอตัวลงเพราะขายสินค้าไม่ได้ในยุโรปเป็นเศรษฐกิจขาลงและเป็นโอกาสอันดีของนักลงทุนไทยที่จะลงทุน

3.ทิศทางพลังงานโลกจะมีการใช้พลังงานมากขึ้น ราคาน้ำมันและก๊าซจะสูงขึ้น การสร้างรฟ.ใหม่ๆแต่จะเน้นให้มีการสร้างรฟ.แบบ Renewable รัฐบาลที่มีรฟ.นิวเคลียร์ต่างประกาศจะยกเลิก----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

มารยาทการเข้าสังคมและการเจรจาธุรกิจเพื่อสร้างความประทับใจ

โดย อาจารย์หม่อมราชวงศ์ เบญจภา ไกรฤกษ์ 24/4/55

สิ่งที่ได้รับจากอาจารย์

1.ได้รับรู้ว่ามารยาทด้านสังคมเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้บริหาร ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การแต่งกาย (เสื้อผ้า รองเท้า ทรงผม เน็คไท นาฬิกา ฯ) ท่าทางการยืน การนั่ง การตอบรับการเชื้อเชิญ การไปร่วมงานศพ การนั่งรับประทานอาหาร การพูดจา การให้ความเคารพต่อบุคคลต่างๆ ซึ่งถ้าทำทุกสิ่งอย่างถูกต้องจะเป็นการเสริมสร้างบุคลิกภาพของตนเองให้เป็นคนที่น่าประทับใจ น่าเคารพนับถือ น่าเข้ามาพูดคุยด้วย

2. ได้รับรู้เมื่อมีการเจรจาธุรกิจ มนุษย์ทุกคนมีความต้องการให้ได้ผลประโยชน์มากที่สุดโดยอาจลืมไปว่าอาจจะไม่ได้เลย ดังนั้นจึงต้องตั้งสมมุติฐานตนเองใหม่ว่าอาจจะต้องยอมเสียบางอย่างเพื่อที่จะให้ได้บางอย่างและในการเจรจาควรเป็นผู้นั่งฟังมากกว่าที่จะเป็นผู้พูด และสิ่งสำคัญที่สุดต้องมีข้อมูลที่สนับสนุนการเจรจาได้อย่างตลอดเวลาคือจะต้องเตรียมข้อมูลไปให้พร้อม ไม่พูดจาวกวนไปมา กล้าตัดสินใจ

 

หัวข้อ แนวคิด Blue Ocean กับการทำงานของ กฟผ. และการปรับใช้เพื่อสร้างโครงการแบบนวัตกรรมของ กฟผ.

โดย อาจารย์ ดร.กุศยา ลีฬหาวงศ์ 24/5/55

 

สิ่งที่ได้รับจากอาจารย์

1.ได้รับรู้ว่าในโลกการแข่งขันถ้ามาแข่งขันกันทางด้านราคา (Red Ocean)ธุรกิจอาจจะต้องล่มสลายได้ในสักวันเพราะเมื่อต้องกดราคาขายของสินค้าตนเองลง ค่าใช้จ่ายของบริษัทบางส่วนต้องลดลง จนถึงจุดหนึ่งก็อยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์หรือสร้างนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์ตัวเดิมหรือสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่มาเสริม

2.ได้รู้ว่าในโลกปัจจุบันซึ่งการค้าขายเป็นได้อย่างรวดเร็วโดยผ่านทางช่องทาง IT ลูกค้าสามารถเลือกซื้อจากผู้ขายได้อย่างสะดวกสบายถ้ามีผลิตภัณฑ์แบบเดียวกัน ดังนั้นเราควรต้องหาตลาดใหม่ที่ยังไม่มีการจับจอง(Blue Ocean)เพื่มขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้ว่าจะมีความเสี่ยงอยู่ก็ตาม ต้องกล้าคิดสิ่งที่สร้างสรรค์ มีความคิดเชิงบวกว่าสามารถทำได้ ไม่ใช่คิดแต่ว่าทำไม่ได้ ต้องคิดว่าทุกปัญญามีทางออกแต่เราจะหามันเจอหรือไม่

 

 

 

 

หัวข้อ Art& Feeling of Presentation

โดย อาจารย์จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล 25/5/55

 

สิ่งที่ได้รับจากอาจารย์

1.ได้ทราบถึงการใช้สมอง คนเราต้องใช้สมองทั้งสองซีกคือมีทั้งด้านที่เป็นสาระ เหตุผล และมีการใส่สีสันเพื่อให้มีความน่าสนใจมากขึ้น ในเวลาเดียวกัน อย่ามีด้านหนึ่งด้านใดมากเกินคน

2.ได้ทราบว่าก่อนที่จะทำงานใดๆต้องกระตุ้นตัวเองให้พร้อมที่จะทำงาน (Make a move)

3.ได้ทราบจินตนาการของเพื่อนๆที่อยากจะเป็น(ไม่บอก ก็ไม่รู้) บางคนก้ไม่คิดว่าเขาจะเป็นแบบนั้นเพราะบุคลิกท่าทางที่ในปัจจุบันไม่มีการบ่งบอกเลย

 

หัวข้อ ผู้นำกับการสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร

โดย อาจารย์ดนัย จันทร์เจ้าฉาย 25/5/55

บริษัท ดีซี คอนซัลแทนส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด

สิ่งที่ได้รับจากอาจารย์

1. ได้เรียนรู้ถึงว่ามนุษย์เราทุกคนสามารถทำงานตามที่ตนเองฝันหรือต้องการทำได้เมื่อให้โอกาสเขาถึงแม้เขาจะพิการไม่มีแขนก็ตามก็สามารถที่จะเรียนเป็นศิลปินวาดภาพได้และเรียนหนังสือได้จนจบ

2.โลกเปลี่ยนแปลงเร็วมากอุณหภูมิของโลกสูงขึ้นเรื่อยๆ เป็นหน้าที่ของทุกคนในโลกต้องเป็นผู้ดูแล

3.สังคมจะดีได้ต้องมีการชื่นชมและไว้วางใจ(Trust) ซึ่งกันและกันและอย่าปล่อยให้คนดีไม่มีที่อยู่

4. การเปลี่ยนแปลงที่ดีที่สุดคือการเปลี่ยนแปลงตัวเราเองให้พร้อมรับสถานะที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างตลอดเวลาไม่ใช่เชื่อว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้นดีแล้วและไม่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

24 เม.ย. 55

ช่วงเช้า

                เรียนรู้จากหนังสือ mindset ของกลุ่มต่างๆ สรุป คือ ต้องปรับตัวให้เป็น Growth Mindset โดยเริ่มด้วยต้องมีเป้าหมายชัดเจน จากนั้นจะมีกระบวนการพัฒนา ทั้งตนเองและกลุ่ม  ด้วยการปรับความคิดว่า ถ้ามุ่งมั่นตั้งใจอย่างต่อเนื่อง สามารถไปสู่จุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ได้อย่างแน่นอน

                หลังจากนั้นเรียนรู้เรื่องบุคลิกภาพ  มารยาทการเข้าสังคม และการเจรจาธุรกิจ โดยวิธีสร้างความประทับใจ  โดย มรว. เบญจภา  ไกรฤกษ์  ซึ่งเป็นผู้รู้ลึก รู้จริง จากเป็นผู้ที่ เกิดมาในชาติตระกุลที่ดี ประกอบกับมีประสบการณ์ จากการเป็นภรรยาเอกอัครราชทูต ในหลายประเทศ ท่านจึงเป็นตัวอย่างที่ดีมากๆ  มารยาทบนโต๊ะอาหารของท่านดูงดงามเป็นธรรมชาติมาก

ช่วงบ่าย

               BlueOcean( น่านน้ำสีคราม )  โดย  ดร.อุสยา   ลีฬหาวงศ์  

กล่าวถึงการหาโอกาสทางธุรกิจ ที่ไม่ต้องต่อสู้ฟาดฟันกับคู่แข่ง ซึ่งสุดท้ายทำให้ต่างคนต่างแย่(RedOcean) ด้วยการหาพื้นที่ตลาดที่ยังไม่มีใครจับจอง  เป็นพื้นที่ที่มีความต้องการ มีโอกาสเติบโต และสร้างผลกำไรได้อย่างมหาศาลเนื่องจากไม่มีคู่แข่ง ไม่มีการเทียบราคา แนวความคิดนี้ จึงทำให้ต้องคิดเพื่อหาน่านน้ำใหม่อยู่ตลอดเวลา หากลุ่มลูกค้าใหม่และสร้างให้เติบโตไปพร้อมๆกับเรา  ตัวอย่างสินค้า แบบBlueOcean เช่น  CNN , FedEX , Starbucks เป็นต้น   สำหรับอนาคต กฟผ. หากต้องการ เติบโตอย่างมั่นคงยั่งยืน จะต้องหาโอกาสทางธุรกิจ แบบBlueOcean

25 เม.ย. 55

ช่วงเช้า

                อาจารย์จิตรสุมาลย์  อมาตยกุล  สอนให้เรียนรู้เรื่อง  Art &Feeling of Presentation  ที่ต้องดึงพลังภายในและใช้เทคนิค  Power of 3   เพื่อรวบรวมเรื่องที่กระจัดกระจายแล้วจัดเป็นหมวดหมู่ เพราะฉะนั้น การ Presentation คือการเล่าเรื่องโดยการจัดหมวดหมู่ โดยแบ่งเป็น  1. ปัญหา  2.ทางออก  และ 3.ผลลัพธ์ที่จะได้

           

         
   
   

ทางออก

   
   
         
   
   

ผลลัพธ์

   
   
         
   
   

ปัญหา

   
   
         
   
   

ให้คิดเป็นภาพไว้ในใจแล้วพูดจากภาพ     สั้นๆ ย่อๆ ได้ใจความทำให้น่าสนใจด้วยการ เพิ่มเติมลีลาและสีสันในการนำเสนอ

   
   

 

 

 

 

 

 

ช่วงบ่าย

อาจารย์ดนัย  จันทร์เจ้าฉาย  มาในเรื่อง ผู้นำกับการสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร 

              บุคคลต้นแบบของประเทศไทย คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  อาจารย์เห็นว่าปัจจุบันการแข่งขัน  Speed of Trust   เป็นเรื่องสำคัญที่สุด ถ้ามีความไว้วางใจสูง  ต้นทุนด้านอื่นๆ ในการทำธุรกิจจะต่ำหมด  เช่น  ธนาคาร ขาดความไว้วางใจ  จะกู้เงินได้ยาก  หรือกู้ได้ด้วยดอกเบี้ยสูง  เป็นต้น

                การเปลี่ยนแปลงต้องเปลี่ยนแปลงที่ตัวเองก่อนและจึงเปลี่ยนระบบหากพยายามเปลี่ยนระบบ แต่คนไม่ยอมเปลี่ยน จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้

              แนวความคิด  การสร้างประเทศไทย ให้เป็นประเทศที่มีเรื่อง CSR ดีที่สุดในโลก เป็นเรื่องที่น่าจะทำได้เนื่องจากมีต้นแบบ คือพระเจ้าอยู่หัว จะต้องปลูกฝังและขับเคลื่นโดยคนที่รักในหลวง ร่วมกันและปลูกฝังเด็กรุ่นใหม่  ต้องปลุกคนไทยที่รักพระเจ้าอยู่หัวออกมาแสดงออกให้มากๆ

 

 

   วันที่ 29 พค.55  อบรมที่เสถียรธรรมสถาน ได้เรียนรู้ถึงการทำจิตให้สงบ รู้จักพอเพียง มีการฉายภาพยนตร์โฆษณา ของเสถียรธรรมสถาน  โดยใช้ดาราที่รู้จักเป็นอย่างดีเป็น Presenter  วิธีที่จะละความโกรธ,ความโลภ,ความหลง โดยการ จ๊ะเอ๋.....และบ้ายบาย ความโกรธ,ความโลภ,ความหลง การยึดติดในลาภยศ ตำแหน่ง สรรเสริญ ต่างๆ สิ่งเหล่านี้เป็นของไม่เที่ยง เป็นอนิจจัง อย่ายึดมั่นถือมั่น ให้รู้จักปล่อยวาง และได้ออกกำลังเล็กน้อย รู้จักดูแลร่างกายตนเองบ้าง ไม่ใช่ดูแลแต่ทรัพย์สินภายนอก ละเลยสุขภาพของตน  ดีมากครับ ทำให้จิตใจสงบ และอยู่เพลิดเพลินกับธรรมชาติบ้าง ไม่รีบเร่งและเครียดเกินไป

           วันที่ 30 พค. 55  เรื่อง “People Management” โดย อ. พจนารถ ซีบังเกิด  ได้ให้ความรู้ในเรื่องคนและ การอ่านคนที่อยู่ข้างหน้า สอนถึงเทคนิค NLP- Neuro , Linguistic และ Programming ซึ่งใช้ภาษากายและใจเชื่อมโยงกันให้ประสบความสำเร็จ วิธีทำให้คนชอบในระยะเวลาสั้นๆ,อ่านคนตรงหน้าเราว่าพูดจริง หรือไม่จริง และการอ่านคนจากดวงตา (ที่ว่าดวงตา คือหน้าต่างของหัวใจ)ว่าเป็นแบบ Visual, Audio, Digital Audio หรือ Kinesthetic รวมทั้งเทคนิคการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่น โดยใช้ Matchingและ Feeling จึงจะสามารถ Lead คนได้ วิธีสังเกตคนว่าเครียดหรือไม่ การเป็นโค้ชต้องรู้จักธรรมชาติของมนุษย์ ผู้หญิงกับผู้ชายต่างกัน  ผู้ชายชอบ Appreciate ผู้หญิงชอบ Love และได้สอนถึงความต้องการของมนุษย์มี 4 อย่าง คือ 1.Certainly/Security/Comfort 2.Uncertainly/Variety 3.Connection&Love 4.Significant ทำให้เกิด Growth และ Contribution สมองของคนเราก็ทำให้เกิด Map ที่แตกต่างกัน เพราะสมองมีข้อมูลเข้ามาเป็นจำนวนมาก สมองจึงมีการ 1. Delete 2.Distort 3.Generalizationข้อมูลขึ้นมาใหม่ ทำให้ Map แต่ละคนไม่เหมือนกัน ถ้าลูกน้องไม่กล้าพูดในที่ประชุม อาจเป็นเพราะกลัว Power ที่เราแสดงออกมา กลัวว่า Map ของตนเองไม่ตรงกับ Mapของผู้มีอำนาจ แล้วเขาอาจเดือดร้อนได้ ดังนั้นโค้ชที่ดี ต้องเข้าใจ Map ของเขาก่อน ต้องมีวิธีการฟังแบบจริงๆ และต้อง Be There

            วิชาของอาจารย์ดีมากครับ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในชีวิตประจำวันในที่ทำงาน แต่ที่บ้านไม่ต้องใช้หรอกครับ ใช้ Love อย่างเดียวพอแล้วครับ 

 

          ช่วงบ่ายเป็นเรื่อง “ทิศทางเศรษฐกิจไทยกับการปรับตัวของ กฟผ.”  โดย มรว. ปรีดียาธร เทวกุล

    ได้เรียนรู้ถึงนโยบายต่างๆของรัฐบาลที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจ เรื่องการปรับค่าแรงขั้นต่ำ และการเพิ่มรายได้ให้กับผู้มีรายได้ต่ำ เช่น การจำนำข้าว มีผลกระทบต่อ กิจการที่พึ่งพาแรงงานมาก ๆ เช่นโรงงานใหญ่ ๆและ SME

       การสนับสนุนลงทุนในโครงการใหญ่ๆ เช่น ท่าเรือน้ำลึกทวาย,การสร้างเส้นทางรถไฟในกรุงเทพฯ,การเพิ่มเส้นทางรถไฟทางคู่ สำหรับส่งสินค้า และรถไฟเชื่อมจากจีนใต้ ผ่านลาว,การพัฒนาท่าเรือน้ำลึกที่ปากปารา สตูล

   ปัญหาทางเศรษฐกิจของกรีซ และประเทศในยุโรปทำให้การส่งออกไปยุโรปเกิดผลกระทบตามไปด้วย เอเชียได้รับผลกระทบ  จีนและไทยการส่งออก ชะลอตัว ตลาดอสังหาริมทรัพย์มีแนวโน้มไม่ดี AECจะเริ่มขึ้นในปี 2558 สินค้าจะเสรีโดยไม่มีภาษี การลงทุนไม่มีข้อจำกัด นักลงทุนไทยไปลงทุนในลาว พม่า เวียดนาม และเอเชียอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้น

        ผลกระทบต่อ กฟผ. คือ การใช้ไฟฟ้าในภาคครัวเรือนจะมากขึ้นทั้งในเมืองและในชนบท โมเดลการเติบโตการใช้ไฟฟ้าในภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้น Demand ในต่างจังหวัดเพิ่มเร็วกว่าในเมือง เนื่องจากราคาพืชผลเพิ่มขึ้นเรื่อย  ๆ  ในกรุงเทพฯ จะมีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าบริหารจัดการไม่ดี ปัญหาสังคม และปัญหาต่าง ๆ ในเมืองใหญ่จะตามมาในที่สุด

              ช่วงเย็น เรื่อง “ประชาคมอาเซียน AEC 2015 และเศรษฐกิจไทย ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.” โดย รศ.ดร. สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์,อ.มนูญ ศิริวรรณ และ ดร. กอบศักดิ์ ภูตระกูล

 

          รศ.ดร. สมชาย ได้บรรยายถึงประวัติความเป็นมาของการรวมตัวของประเทศต่างๆเป็นเขตการค้าเสรี,สหภาพศุลกากร,ตลาดร่วม และเป็นสหภาพเศรษฐกิจที่สมบูรณ์ ซึ่งเกิดขึ้นในยุโรป และ อเมริกาเหนือ(NAFTA) จนมีการรวมตัวของประเทศในกลุ่มอาเซียน คือ AEC ในปี 2558 แต่คนไทยยังขาดความรู้,ความเข้าใจAEC อยู่มาก ซึ่งต้องเตรียมการให้พร้อม ก่อนที่AEC จะเกิดขึ้น และจะส่งผลต่อการเคลื่อนย้ายเงิน,การลงทุน,แรงงาน อย่างเสรี คนในอาเซียนสามารถเดินทางได้โดยใช้VISA แบบ Schengen เหมือนในยุโรป

           อ.มนูญกล่าวถึง การใช้พลังงานในโลก ส่วนใหญ่ยังใช้ Fossil เป็นหลัก แต่ก๊าซธรรมชาติ และพลังงานทดแทนกำลังมีบทบาทมากขึ้น ส่วนพลังงานนิวเคลียร์นั้นยังมีปัญหาอยู่ในเรื่องของการต่อต้าน เนื่องจากผลกระทบของการเกิดสึนามิที่ประเทศญี่ปุ่น และคงใช้เวลาอีกนานในการทำความเข้าใจ ขณะนี้อเมริกามีเทคโนโลยีใหม่ในการผลิตน้ำมันและ unconventional gas ซึ่งจะทำให้อเมริกาเป็นผู้ผลิต unconventional gas อันดับ2ของโลก อเมริกาอาจฟื้นตัวจากเศรษฐกิจตกต่ำได้  ปัญหาของโลก คือ ประชากรเพิ่มมากขึ้น ชุมชนเมืองขยายตัวสูง ใช้พลังงานมากขึ้น ส่วนในประเทศไทย มีก๊าซธรรมชาติใช้ได้อีกเพียง 15-20 ปี เราต้องเริ่มคิดว่าจะใช้เชื้อเพลิงใดในการผลิตกระแสไฟฟ้า กฟผ. ต้องปรับกลยุทธ์มาใช้พลังงานทดแทนในชุมชนต่างๆ โดยร่วมมือกับชุมชน และไปสร้างโรงไฟฟ้าในต่างประเทศแล้วรับซื้อไฟฟ้ามาใช้ในประเทศ   และประเทศไทยควรปรับโครงสร้างด้านพลังงาน 3 เรื่อง คือ 1. ใช้เชื้อเพลิงหลากหลายในการผลิตไฟฟ้า 2. อนุรักษ์พลังงาน 3.ใช้ทรัพยากรร่วมกันในภูมิภาคอาเซียน

             ดร.กอบศักดิ์ กล่าวถึงแนวโน้มของเศรษฐกิจโลก และ อาเซียน โดย AEC มีความโดดเด่นที่จะนำนักลงทุนมาลงทุนในภูมิภาคนี้ ประเทศไทยต้องเตรียมตัวให้พร้อม ขณะนี้เศรษฐกิจยุโรปไม่ดี มีปัญหามากใน กรีซ ธนาคารประเทศต่างๆไม่ไว้ใจธนาคารในกรีซ และยุโรป ไม่ยอมปล่อยกู้แม้จะเป็นเงินกู้ข้ามคืน ดังนั้นต้องระวังเศรษฐกิจในยุโรป กรีซอาจออกจากยูโรโซน และอาจส่งผลกระทบมายังอาเซียน และประเทศไทยได้

           ได้เรียนรุ้มุมมอง และการคาดการณ์ทางเศรษฐกิจ รวมถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อประเทศไทย และ กฟผ. จากกูรูทางเศรษฐกิจชั้นนำของเมืองไทยครับ ได้เปิดโลกทัศน์ของตัวเองให้กว้างขึ้นครับ

                                                                                     ณัฐวุฒิ แจ่มแจ้ง

 

 

 

จากการอ่านหนังสือ MOJO

        MOJO  เป็นจิตวิญญานด้านดี  หรือพลังด้านดีที่อยู่ภายใน  ที่ทำให้ชีวิตมีความสุข และมีความหมาย  บางครั้งการพยายามทำเพื่อคนอื่น หรือ สนใจความรู้สึกของคนอื่นมากเกินไป จนไม่มีความสุข  เป็นการทำลาย MOJO

       ปัจจัย ที่ทำให้เกิด MOJO  ประกอบด้วย

             1. ความเป็นตัวตนของเรา  -  อดีต - ที่มีทั้ง สำเร็จ และผิดพลาด

                                                     -  คนอื่นมองเรา -  จากสิ่งที่เราทำว่า ดี หรือ ไม่ดี

                                                     -  โปรแกรม  ที่พ่อ แม่ และ ครูบาอาจารย์ กำหนด อยากให้เป็น

                                                     -  เราคิดเอง  -  คาดหวังอนาคต

             2. ความสำเร็จ  -  คนอื่นยอมรับ

                                    -   เรารับรู้เอง

            3. ชื่อเสียง   -   คนอื่นมองเรา ว่า ดี หรือไม่ดี

            4. การยอมรับความจริง  -  เพื่อแก้ความเครียด ในใจ  โดยการวางเฉย ทำใจ และให้อภัย

     การนำมาปรับใช้กับ กฟผ.

          MOJO   เป็นเรื่องส่วนบุคคล ที่มีการสร้างพลังด้านดี    ทำให้ มีความหมาย และมีความสุข  

เราเปลี่ยนแปลงคนอื่นไม่ได้  ให้เปลี่ยนแปลงตัวเอง  ถ้าคนใน กฟผ. ร่วมกันสร้างพลังด้านดี  อยากทำงานให้ได้ผลงานที่ดี   อยากทำเพื่อสังคม ในขณะเดียวกันก็ต้องรู้จักให้อภัย เข้าใจผู้อื่น  หากเป็นเช่นนี้ องค์กรจะพัฒนาไปในทิศทางที่ดี มั่นคง  คนในองค์กร จะมีชีวิตที่มีความสุขและมีความหมาย

           

ผู้ทรงอิทธิพลที่สุดของโลก คัดเลือกโดยนิตยสาร ไทม์

 

        นิตยสารไทม์ คัดเลือกจากบุคคลที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียงในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ  ซึ่ง

มีทั้ง นักการเมือง นักกีฬา นักแสดง นักเรียกร้องสิทธิมนุษยชน นักธุรกิจ ซึ่งแต่ละคนจะมีความเหมือนกัน คือความมุ่งมั่นตั้งใจ ไม่ย่อท้อต่อปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ และพยายามอย่างต่อเนื่อง จนเป็นที่รู้จัก มีชื่อเสียงในระดับประเทศ และจนถึงในระดับโลก แต่ละคนมีที่มาที่ไปและมีความน่าสนใจอย่างยิ่ง ตัวอย่าง เช่น

 

        Novak Djokovic       นักเทนนิสระดับโลก ชาวเซอร์เบีย

        Barack Obama                ประธานาธิบดีผิวดำคนแรกของU.S.A.

        Rihanna           นักร้อยสาวน้อย เชื้อสายบาร์เบโดสที่โด่งดังไปทั่วโลก

        Lionel Messi            นักบอลศูนย์หน้าชาวอาร์เจนติน่า ที่มีความสามารถมาก

 

       

จากการอบรม 15-18 พ.ค.55    

เป็นช่วงการอบรมที่ดีมาก ได้ฟังความคิดความเห็น และประสบการณ์ ที่มีคุณค่ามาก จากท่านผู้ว่าสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ 

จากนั้นเป็นเรื่องพลังงานกับเศรษฐกิจไทย  ที่สืบเนื่องมาจากปัญหาพลังงานโลก และปัญหาจากนโยบายของภาครัฐ ที่อุดหนุนราคาน้ำมัน เป็นหนี้สินพอกพูนและไม่ส่งเสริมการประหยัด  มาตรการพลังงาน ควรต้องสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง  ส่งเสริมพลังงานสะอาด  การแทรกแทรงภาครัฐต้องทำระยะสั้น  และต้องส่งเสริมการประหยัด

การเสวนา ทิศทางพลังงานกับการทำงานของ กฟผ. โดย อดีต ผวก. ไกรสีห์  และรวห. ซึ่งเป็นมุมมองในส่วนของ ปัญหาเรื่องพลังงานไฟฟ้า ที่มีอัตราการใช้เพิ่มขึ้นทุกปี แต่หาแหล่งผลิตยากจากปัญหาเรื่องการคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้า ทำอย่างไรจึงจะสร้าง Trust เป็นโจทย์ที่สำคัญนอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องHR ต้องสร้างคนที่มีความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนทิศทางทำให้ กฟผ.ต้องปรับเปลี่ยนตัวเอง เนื่องจากการสร้างโรงไฟฟ้า ทั้งส่วนที่ภาครัฐลดสัดส่วน จนเหลือไม่ถึง 50% ในขณะที่ให้กฟผ.ดำเนินการในเรื่องที่ยาก เช่น นิวเคลียร์กับถ่านหิน จึงเป็นโจทย์ที่ยาก ที่กฟผ.ต้องคิดว่าจะบริหารจัดการอย่างไรต่อไป สิ่งสำคัญคือต้องสร้าง Trust ให้เกิดขึ้นให้ได้ เพื่อจะได้รับความไว้วางใจจากสังคม จึงจะสามารถสร้างโรงไฟฟ้าได้ในอนาคต

HPO  โดย อ.สมโภชน์ พูดถึงการ บริหารเงิน บริหารคน บริหารทรัพยากร  บริหารเหมือนกันไม่ได้ การพัฒนาต้องพัฒนาคน ต้องสร้างทีมที่เข้มแข็ง ผู้นำต้องนำทีมได้  และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้                                                                             อ. สมชาย  พูดเรื่องการประเมินผล เพื่อกระตุ้นเรื่องประสิทธิภาพ  ตัวชี้วัดระดับองค์กรไม่ควรมีมาก  สิ่งสำคัญให้ดูองค์รวม  SEPA ช่วยX-rayองค์กร ดูจุดอ่อน อยู่ตรงไหน ปรับตรงนั้น

Leader  HR และ Non-HR  มีแบ่งกลุ่มให้หัวข้อวิจารณ์  สนุกมากค่ะ ได้ข้อคิดที่เป็นประโยชน์  จากเทปสัมภาษณ์  การบริหารทุนมนุษย์  ทำอย่างไรให้ทำงานให้องค์กรด้วยใจ สร้างทัศนคติที่อยู่ร่วมกัน (ทีมWork) ผู้บริหารต้องมีทักษะเรื่องคน  หน้าที่การบริหารคน พัฒนาคน พัฒนาทีมงาน เป็นหน้าที่ทั้งของ Leader  HR และ Non-HR ควรทำในส่วนที่รับผิดชอบโดยไม่ก้าวก่ายกัน  Non-HR มีความสำคัญมากเพราะใกล้ชิดลูกน้อง ต้องคิดทั้งเรื่องการให้คุณให้โทษ และเรื่องการพัฒนา เพราะรู้ถึงสมรรถนะของผู้ใต้บังคับบัญชาดีที่สุด

บทบาทของ Regulator และ Energy Tax กับการทำงานของ กฟผ.  ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน  มาเล่าถึงโครงสร้าง และบทบาทหน้าที่ในความรับผิดชอบ ของคณะกรรมการกำกับดูแลพลังงาน

อ.สุขุม มาในเรื่อง การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และเทคนิคการตัดสินใจของผู้บริหารมืออาชีพ  สนุกสนานมาก มีตัวอย่างที่เห็นภาพได้ชัดเจน ได้ประโยชน์และดีมากค่ะ

 

             

วันที่ 29 พฤษภาคม 2555

        ปฏิบัติธรรมที่เสถียรธรรมสถาน

การเจริญสติ – การดูกาย ดูใจ ให้อยู่กับตัวเอง ด้วยการสวดมนต์ นั่งสมาธิ และเดินจงกรม

                – เป็นการฝึกการใช้พลังภายใน อย่างมีคุณภาพ เพื่อดูแลกายใจอยู่กับปัจจุบันอย่างมีสติ

 

ได้เห็นการดูแลเยาวชนไทยของโครงการ ดี ดี๊ ดี ที่สร้างพลังด้านดีให้กับเยาวชน ให้ห่างไกลยาเสพติด

 

หลังการปฏิบัติ – รู้สึกถึงความโปร่ง โล่ง สบาย เหมือนการเพิ่มพลัง จึงเป็นประโยชน์มากกับการทำงานที่อาจมีความกังวลและความเครียด  หากนำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวันอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยเจริญสติ ช่วยเพิ่มพลังด้านบวกที่ช่วยคลายความเครียดในการทำงานได้เป็นอย่างดี

 

วันที่ 30 พฤษภาคม 2555

ช่วงเช้า    People Management & Coaching โดยอาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด  อาจารย์เก่งมากค่ะ ได้รับรู้ถึงศาสตร์ ที่ไม่เคยรู้มาก่อน คือ NLP (Newro Linguistic  Programming) เป็นศาสตร์แห่งการใช้ภาษาที่จะเชื่อมโยงภาษากายและภาษาจิต เพื่อความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่ได้ตั้งไว้ ซึ่งมีประโยชน์มากสำหรับใช้ในการสังเกตุและจับความรู้สึกของผู้ที่เราต้องพบปะและประสานงาน สามารถสร้างความประทับใจ และแก้ไขความประหม่าได้ ในเวลาอันสั้น เป็นเทคนิคที่น่าทึ่งจริง ๆ ค่ะ

 

ช่วยบ่าย มรว.ปรีดิยาธร เทวกุล มาในเรื่องทิศทางเศรษฐกิจไทยกับการปรับตัวของ กฟผ.

        เป็นการเล่าถึงสถานการณ์โลก เชื่อมโยงมาถึงสถานการณ์ในประเทศ ทำให้เห็นภาพชัดขึ้นมาก รวมทั้งให้ข้อสังเกตุว่าการที่ประเทศเพื่อนบ้านเจริญก้าวหน้าขึ้นเป็นเรื่องดี ที่จะทำให้เรามีโอกาสมากมาย ที่ต้องเตรียมตัวและมองหาโอกาสต่อไป

 

ช่วงเย็น  เป็นการเสวนา เรื่อง เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซี่ยน AEC 2015

 และเศรษฐกิจไทย ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

        ดร.สมชาย – เล่าให้ฟังเรื่อง AEC เขตการค้าเสรี ที่ในความเป็นจริงได้เริ่มมาตั้งแต่ปี 1992 แล้ว การเป็นตลาดร่วม คือ เป็นการค้าเสรี ทั้งเรื่องสินค้า บริการ เงินลงทุน และแรงงาน ผลกระทบที่จะเกิดกับไทย มีเยอะมาก ต้องเรียนรู้เพื่อปกป้องผลประโยชน์  สิ่งสำคัญคือต้องดูโอกาส ผลประโยชน์ และผลกระทบ ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง

           อ.มนูญ – เน้นเรื่องพลังงานในอนาคต ที่มีแนวโน้มที่ ควรลดสัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติ มาใช้พลังงานหมุนเวียนแทน

           ดร. กอบศักดิ์ – พูดถึง AEC2015  กรอบธุรกิจจะเดินไปทางไหน เห็นว่าการพัฒนาเศรษฐกิจไทย น่าจะขยายตัว 5-6 %  ติดต่อไปหลายปี  ซึ่งเป็นวัฏจักรการลงทุนรอบใหม่

วันที่ ๓๐ พ.ค. ๒๕๕๕ ณ ห้องเฟื่องฟ้า ๓ อาคารนันทนาการ กฟผ.

หลักสูตร EADP หัวข้อ "People Management & Coaching The New Role of EGAT Leadership" อ.พจนารถ ซีบังเกิด (JIMI)

Coach คืออะไร? Coach แปลว่า ผู้สอน คนที่จะเป็น Coach ต้องเป็นผู้ที่ "ไม่แนะนำ" เพราะการแนะนำ เปรียบเสมือนการตั้งกรอบแนวคิดให้ผู้รับเสียแล้ว

Coach จะต้องดูลักษณะหน้าตา การ Move ของดวงตาแสดงออกถึงความคิดและจิตใจได้ เหมือนสุภาษิตไทยโบราณที่ว่า "ดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ"

รู้ดวงตา ไปถึงใจแล้ว มารู้จักสมองบ้าง เพื่อจะได้ Coaching ถูก สมองคนเราเก็บข้อมูลได้ไม่มาก จึงต้องทำหน้าที่ ลบทิ้ง / บิดเบือน / เหมารวม เมื่อรู้เช่นนี้

ทำให้เราทราบถึงเหตุผลว่า คนเราแต่ละคนคิดไม่เหมือนกัน เพราะสมองเป็นเหตุ ที่ลบทิ้ง/บิดเบือน/เหมารวม ถึงแม้จะรับข้อมูลเดียวกัน เท่ากัน พอถึงสมองก็ทำหน้าที่

ไปซะ ดีใจจังที่คิดกันคนละอย่าง จะได้ไม่ระแวงกัน และเกิดนวัตกรรมใหม่ได้

มีอีกอย่างครับ คือ "Human 6 Core Needs" ประกอบด้วย Certainty/Security/Comfort (มีงานทำ มีรายได้) - Uncertainty/Variety/Adventure

(ทำงานที่หลากหลาย) - Connection&Love (มีเพื่อน มีทีม) - Significance (สร้างผลงานสำคัญ) - Growth (มีความก้าวหน้า) - Contribution (เพื่อสังคม)

และ ๓ กลัว ของคนเรา "Universal FEARS of Human Being" คือ Not Good Enough - Not Being Loved - Not Belong To

ผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ของ กฟผ. รุ่นที่ ๘ วันนี้ได้อะไรบ้าง

ได้รู้ว่า NPL เราคงไม่ชอบ (หนี้เสีย) แต่ NLP เราชอบมาก (Neuro Linguistic Programming) ซึ่งเป็นวิธีการที่เราสามารถช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานตระหนัก

และใช้ศักยภาพของตนเองได้อย่างมั่นใจ ภาคภูมิใจ สร้างความหมายต่อตนเอง และส่งประสิทธิผลสูงสุดต่อองค์กร โดยเราใช้วิธี Coaching

........................................................................................................................................................................................

หลักสูตร EADP หัวข้อ "ทิศทางเศรษฐกิจไทย กับการปรับตัวของ กฟผ." มรว.ปรีดิยาธร เทวกุล

นโยบายรัฐบาล : เพิ่มรายได้ให้กับแรงงานขั้นต่ำ

: รับจำนำพืชผลในราคาสูง

ซึ่งทำให้เพิ่ม Demand ในต่างจังหวัด และโฉมไทยจะเปลี่ยนไป

ผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ของ กฟผ. รุ่นที่ ๘ วันนี้ได้อะไรบ้าง

กฟผ. ต้องทำ Funding ด้วยตัวเอง น่าจะต้องทำอย่าง ปตท. ซึ่งปัจจุบันดีกว่า บริษัท ปูนซิเมนต์ แล้ว

........................................................................................................................................................................................

หลักสูตร EADP หัวข้อ "เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเชี่ยน AEC 2015 เศรษฐกิจไทย ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ."

รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ / ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล / อ.มนูญ ศิริวรรณ

AEC 2015 ควรโหมให้คนไทยรับรู้ตั้งแต่ปี ๑๙๙๒

Model ของประชาคมยุโรป : เปิดเขตการค้าเสรี

: เปิดเขตการค้าปฐม

: เปิดตลาดร่วม

: สหภาพเศรษฐกิจ

: สหภาพเศรษฐกิจสมบูรณ์แบบ

การทำนายล่วงหน้าของ รศ.ดร.สมชาย : ด้านบริหารในปี ๒๐๑๕ : National Treatout : บุคลากรจะมีมากหลากหลาย

พลังงานเป็นต้นทุนหลักของ กฟผ.

ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

-: การสร้าง รฟ.ใหม่ไม่ว่าจะใช้เชื้อเพลิงชนิดใด จะทำได้ยากขึ้น (ยกเว้น รฟ.พลังงานหมุนเวียน/รฟ.ชุมชนขนาดเล็ก)

-: ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานให้เข้าถึงและร่วมมือกับชุมชนเพิ่มมากขึ้น

-: ปรับองค์กรให้ตอบสนองต่อภารกิจที่เปลี่ยนแปลง (จากผู้ผลิตไฟฟ้าเป็นผู้พัฒนาประสิทธิภาพการใช้พลังงาน เพื่อลดภาวะโลกร้อน/จากวิสาหกิจระดับนำของชาติเป็นองค์กรชั้นนำในระดับภูมิภาค)

-: ตอบสนองโจทก์ด้านพลังงานเพื่อความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อมที่ดี : Green Energy (พลิกบทบาทเป็นผู้นำด้านพัฒนาพลังงานหมุนเวียนและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม)

-: พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางโครงข่ายด้านพลังงานในอาเชี่ยน

ผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ของ กฟผ. รุ่นที่ ๘ วันนี้ได้อะไรบ้าง

รับรู้เศรษฐกิจของไทยและของโลก อีกทั้งแนวทางที่ กฟผ. ต้องวางแผนแม่บททั้ง MISSION หลัก และการพัฒนาทุนมนุษย์ให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งถ้าผู้บริหารรับรู้อนาคตอย่างถูกต้อง และทำงานเป็นทีม อีกทั้งสร้างประสบการณ์อย่างสม่ำเสมอ ย่อมนำพาองค์การ กฟผ. ผ่านพ้นมรสุมเศรษฐกิจ การเมือง ทรัพยากรเชื้อเพลิง และภาวะสิ่งแวดล้อม ไปสู่ความสำเร็จ องค์กรยั่งยืนตลอดไป

.....................................................................................................................................................................................................

นายไววิทย์ สุขมาก

ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการภาคเหนือ-ปฏิบัติการ (ช.อปน-ป.)

วันที่ ๒๙ พ.ค. ๒๕๕๕ ณ เสถียรธรรมสถาน หลักสูตร "รักษ์ใจ รักษ์กาย" ฝึกสมาธิอย่างไร?

เสถียรธรรมสถาน เป็นสถานที่ร่มเย็น ผู้เข้าอบรมโครงการ EADP#8 มีความสุขที่ได้เริ่มเข้ามา ณ ที่นี้แล้ว

แม่ชีศันสนีย์ ให้ความรู้ทางธรรม โดยสวดมนต์ภาวนาพร้อมคำแปล ฟังธรรมจากแม่ชี เดินจงกรม

ให้ความรู้ทางโลก โดยไม่แบ่งชั้น วรรณะ คือให้ทานอาหารพร้อมกับทำความสะอาดภาชนะของตนเอง ไม่เป็นภาระกับคนอื่น

สวดมนต์ภาวนา ให้รู้ถึงคุณพระพุทธเจ้า ภาวนาให้สรรพสัตว์ และแผ่เมตตาพร้อมกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้ ทำให้ใจสบาย

ฟังธรรมจากแม่ชี ได้รู้ถึงการช่วยเหลือสังคม การอยู่ในสังคมอย่างมีสุข รู้จักปล่อยวาง สร้างมุมมองในแง่ดี สร้างคำ "จ๊ะเอ๋บ้ายบาย"

เดินจงกรม ได้รู้ถึงจิต สมาธิ ลมหายใจ แน่วแน่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เกิดความสงบ

วันนี้ได้อะไรบ้าง ตอบได้เลยว่า "ได้ .. ได้ครับ" ก็ผู้บริหารอย่างพวกเรา มีแต่เรื่องที่ให้ทำเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน สมองก็ใช้งาน จิตก็ฟุ้งซ่าน

ได้มาสอนสมองให้รู้จักปล่อยวาง สอนจิตให้สงบ คิดแน่วแน่ ทำให้เรากลับไปทำงานอย่างได้คิด รู้วิธีการใช้สมอง และจิตอย่างมีประสิทธิภาพ

สร้างศักยภาพให้กับตนเองแถมด้วยสุขภาพกาย-จิตที่ดี สร้างผลงานให้กับองค์กร และเป็นที่ยอมรับของสังคมชุมชนได้

 

นายไววิทย์สุขมาก

ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการภาคเหนือ-ปฏิบัติการ (ช.อปน-ป.)

“การทำงานอย่างมีความสุขด้วยธรรมาภิบาล ฝึกสมาธิอย่างไร?” ณ เสถียรธรรมสถาน – 29 พ.ค.55

 

        เริ่มต้นด้วยการสวดมนต์  เริ่มตั้งแต่ อารธนาศีลห้า  จนถึงบทกรวดน้ำ  ที่แปลกคือ มีทั้งภาษาบาลีพร้อมคำแปล ทำให้มีความเข้าใจมากขึ้นในคำสวดทีละวรรคทีละประโยค  จากนั้นก็ฝึกการทำสมาธิ  การเดินจงกรม ตั้งแต่การกำหนดลมหายใจไปถึงการจรดเท้าให้อยู่ปัจจุบัน  ให้รับรู้กับความรู้สึกที่สัมผัสได้  มิให้ฟุ้งซ่าน  ส่วนนี้คงทำให้ปรับใช้กับการผ่อนคลายความเครียด  ความกังวลให้กับภาระที่ต้องรับผิดชอบ ทำให้ผ่อนคลายอยู่กับปัจจุบัน  ก่อนไปทานข้าว ได้มีโอกาสได้นั่งฟังท่านแม่ชี ศันสนีย์ สอนกลุ่มวัยรุ่นจากจังหวัดต่างๆ ตามโครงการของกระทรวงสาธารณสุขที่จะให้เยาวชนปลอดจากยาเสพติด หลักการที่สอน คงมุ่งเน้นให้มีสติ  เป็นตัวของตัวเอง  รู้จักรักตนเอง  รักผู้อื่น  จนได้คำคมที่ว่า  “คนที่อยู่ข้างหน้าเราสำคัญที่สุด”  เป็นเรื่องจริงที่ว่า เราจะทำปัจจุบันให้ดีที่สุด และแถมด้วยการบำบัดความเจ็บป่วยแบบธรรมชาติ  ตั้งแต่การกำหนดลมหายใจเข้า-ออก ให้รับรู้กับการเข้า-ออกของลมหายใจ  ประกอบกับการบริหารร่างกายและการบำบัดแบบธรรมชาติ (Natural Healing)  ด้วยฝ่ามือทั้ง 2 ของเราเอง ลดความเจ็บปวด ความเมื่อยล้า ได้  น่าเสียดายในช่วงเวลาที่ไปรับการอบรมที่เสถียรธรรมสถาน ค่อนข้างแออัดจอแจไปหน่อย

 

        People Management & Coaching the New Role of EGAT Leadership ณ ห้องเฟื่องฟ้า โดย คุณพจนารถ ชีบังเกิด – 30 พ.ค. 55

        ใน Session นี้  ได้ฟังความรู้ที่น่าสนใจมาก  คิดว่าน่าจะจำเป็นสำหรับผู้บริหารแทบทุกระดับ  ถ้าจะเป็นประโยชน์  วิชานี้น่าจะจัดอบรมให้กับผู้บริหาร ตั้งแต่ระดับหัวหน้าแผนก  เพราะหัวหน้าแผนกจะต้องทำงานร่วมกับคนจำนวนมาก หรืออย่างช้าที่สุด  น่าจะให้หัวหน้ากอง ซึ่งควรจะได้รับการอบรมหัวข้อนี้  โดยเฉพาะผู้บริหารที่จะต้องดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาจำนวนมากๆ 

แม้การอบรมในหัวข้อนี้  อาจารย์พูดในส่วนที่เป็นเกร็ดความรู้  กำหนดเวลาแล้ว ยังไม่ได้เข้าถึงหัวข้อที่เขียนไว้ที่หัวข้อวิชา  เกร็ดความรู้ที่ได้ ก็เป็นประโยชน์ในการเข้าใจพฤติกรรมและเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ในการเข้าใจคนมากขึ้น รวมถึงจิตวิทยาและพฤติกรรมศาสตร์

 

“ทิศทางเศรษฐกิจไทย กับการปรับตัวของ กฟผ. โดย มรว.ปรีดียาธร  เทวกุล – 30 พ.ค.55

วิทยากรได้บรรยายเริ่มจากนโยบายรัฐบาลตั้งแต่ที่ค่าแรงเพิ่มขึ้น   300  บาท   การจำนำผลิตผลการ

เกษตร นโยบายการขนส่งสินค้าแบบราง  การเพิ่มขนส่งมวลชนในเขตเมือง  ตลอดจนรถไฟด่วนที่พาดยาวจากเหนือจรดประเทศเพื่อนบ้าน  และนโยบาย Special Economic Zone ตามเมืองชายแดน  ตามด้วย AEC (2015)  และผลกระทบจากการขยายพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ ในเมืองทวาย ประเทศพม่า  มีผลต่อเศรษฐกิจในภูมิภาคอย่างไร  แนวโน้มประเทศไทยจะพัฒนาจากแหล่งผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนจากที่ใช้แรงงานมาก ไปเป็นที่ใช้เทคโนโลยีมากขึ้น และผันตัวไปเป็น Trading Center ของภูมิภาค  ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของผู้บริโภคของประเทศ  โดยจะเปลี่ยนจากอุตสาหกรรมที่ใช้งานมากหรือ Low technology จะย้ายฐานจากไทยไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านที่มีค่าแรงต่ำ โดยอุตสาหกรรมไทยจะพัฒนาเป็นไปสู่ผู้ผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีมากขึ้น  สัดส่วนการเพิ่มผู้ใช้ไฟฟ้าในภาคอุตสาหกรรม อาจจะไม่สูงขึ้นมาก  ในทางกลับกัน ผู้ใช้ไฟฟ้าภาคที่อยู่อาศัย จะเพิ่มมากขึ้น อันเนื่องจากผู้บริโภคมีรายรับมากขึ้น หันมาซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น และผู้ใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นชัดเจน น่าจะเป็นผู้ใช้ในพื้นที่ Special Economic Zone  ในพื้นที่ชายแดนของประเทศ เพราะต้องการแรงงานราคาถูกจากประเทศเพื่อนบ้าน แต่ในทางเดียวกัน ประเทศเพื่อนบ้านก็ยังไม่มีศักยภาพในช่วงแรกในการบริหารจัดการพลังงานในประเทศได้เพียงพอ  ดังนั้น  พื้นที่เศรษฐกิจพิเศษจะมีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะมีผลต่อการกระจายตัวของแหล่งผลิตและระบบส่งไฟฟ้าในพื้นที่ต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดย กฟผ. อาจจะนำ Scenario การเปลี่ยนแปลงมาปรับแผนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

       

        “เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน  (AEC 2015) และเศรษฐกิจไทย  ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ. โดย รศ.ดร. สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ , ดร. กอบศักดิ์  ภูตระกูล  และ อ. มนูญ  ศิริวรรณ

        เมื่อฟังแนวคิดของอาจารย์ที่มาให้ความรู้ทางด้านเศรษฐกิจ การเข้าร่วมเป็นประชาคมอาเซียน ตลอดจนผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกแล้ว  คงต้องกลับมาพิจารณาว่า กฟผ. จะดำเนินการอย่างไรบ้างเพื่อเท่าทันการเปลี่ยนแปลง  คงต้องเริ่มตั้งแต่ แหล่งเชื้อเพลิงที่จะใช้ในการผลิตไฟฟ้าหลักของเราว่าจะเริ่มอย่างไรดี  คงจะเริ่มจากนโยบายของรัฐ  คิดไปคิดมา คงต้องเป็นวาระแห่งชาติแล้วหล่ะว่า พลังงานของชาติมานโยบายอย่างไร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของชาติในการพัฒนา  คิดว่าหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง คงจะต้องมีแผนดำเนินการและบูรณาการระหว่างกระทรวง  เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของชาติไปใช้  ไม่ใช่มีเพียงแต่นโยบายเปล่าๆ น่ะครับ  เมื่อชัดเจนไประดับแหล่งเชื้อเพลิง   กฟผ. ก็คงจะต้องจองแหล่งเชื้อเพลิงหรือร่วมทุนในแหล่งเชื้อเพลิงแล้วก็คงจะมากำหนดโรงไฟฟ้าที่จะใช้ผลิต  คงจะต้องพักความคิดเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไว้ชั่วคราว  และหันมาดูเรื่องโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนแทนที่ในระหว่างรอโอกาสการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคต  อีกส่วนที่สำคัญ ก็คือ การรวมตัวของประชาคมอาเซียนในปี 2015 นั้น  เมื่อดูสภาพประเทศเพื่อนบ้านแล้ว โอกาสจะพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าในประเทศเพื่อนบ้านมีมากเนื่องจากความขาดแคลนที่เกิดขึ้นโดยทั่วไป คงต้องประสานกับหน่วยงานรัฐบาลในการเข้าไปร่วมโครงการในประเทศเพื่อนบ้าน  อย่างไรก็ตาม คงจะต้องพัฒนาร่วมกันแบบมีจรรยาบรรณและจริยธรรมตามวัฒนธรรมขององค์กร เพื่อการร่วมมือกันแบบยั่งยืน

       

EGAT GREEN POWER

“ผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุขของชุมชน”

 

 

บทนำ

 

       กำลังผลิตตั้งตั้งของระบบไฟฟ้าประเทศไทย เมื่อเดือนมีนาคม 2555 มีกำลังผลิตรวม 31,439 MW แยกเป็นกำลังผลิต

 

  กฟผ.                           14,998   MW        คิดเป็น    48 %

  IPP                      12,081   MW คิดเป็น    38 %

  SPP                            2,174            MW คิดเป็น     7 %

  นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน  2,185     MW คิดเป็น      7 %

 

       โดยแยกตามชนิดของเชื้อเพลิง                    CO2 Emission in Power Generation

  ก๊าซธรรมชาติ        65 %                    57.99     million ton   CO2       

  ถ่านหิน                 20 %                    33.16     million ton          CO2

  น้ำมัน                     8 %                      0.99     million ton          CO2

  พลังน้ำ                    6 %

  พลังงานทดแทน       1 %

 

ความต้องการพลังงานสูงสุด Peak  Demand     เมื่อเดือนเมษายน 2555    เมื่อวันที่ 26

เมษายน 2555  อยู่ที่ 26,121 MW  โดยมีกำลังผลิตติดตั้ง 31,447 MW  มีกำลังผลิตสำรองเพียง 16.94 % ในภาคการผลิตไฟฟ้า  ปลดปล่อย CO2   41 %  โดยมีภาคขนส่ง อุตสาหกรรม และอื่นๆ อยู่ที่  26,  24 และ 9 %  ตามลำดับ

 

       นโยบายด้านพลังงานของประเทศไทยประกอบด้วย  5  ด้านหลัก  คือ

  1. ความมั่นคงด้านพลังงาน
  2. พลังงานทางเลือกซึ่งเป็นวาระแห่งชาติ (มีแผนพัฒนาพลังงานทดแทน ตั้งแต่ปี 2008-2022)
  3. ส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  4. ความเป็นธรรมและเสถียรภาพทางด้านราคาพลังงาน
  5. ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม

 

ซึ่งแผนพัฒนาพลังงานทดแทนมีเป้าหมายกำลังผลิตไฟฟ้าอยู่ที่  5,600  MW ในปี  2022 

ปัจจุบันมีกำลังผลิตเพียง 1,830 MW (มีนาคม 2554)

                              

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ประเด็นที่ท้าทายและโอกาส

 

        ด้วย กฟผ. มีบทบาทหน้าที่รับผิดชอบในการผลิตไฟฟ้าเพื่อตอบสนองความต้องการการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ตามแผน Power Development Plan ซึ่งต้องเผชิญกับอุปสรรคในการยอมรับของประชาชนในการที่จะมีโรงไฟฟ้าอยู่ใกล้บ้านหรือชุมชน แต่ยังคงมีความต้องการใช้ไฟฟ้า ตั้งแต่โรงไฟฟ้าถ่านหินจนถึงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์   การสร้างการยอมรับทั้งในด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย วิถึชุมชน ตลอดจนดูแลผู้ได้รับผลกระทบในกลุ่มต่างๆ และกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ อย่างเป็นธรรม  เป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไปทั้งก่อนเริ่มโครงการ  ระหว่างโครงการ และภายหลังโครงการ

       เมื่อพิจารณาภาระกิจที่ต้องรับผิดชอบ  การผลิตไฟฟ้า  การให้ความสนใจการผลิตไฟฟ้าในรูปแบบของเชื้อเพลิงหมุนเวียนหรือในแบบพลังงานทางเลือก  น่าจะเป็นความท้าทายและโอกาสใหม่ๆ

 

วิเคราะห์สภาวะแวดล้อมและการแข่งขัน

 

        แหล่งผลิตพลังงานที่ใช้เชื้อเพลิงพลังงานนิวเคลียร์  ได้รับการต่อต้านในประเด็นทางด้านความปลอดภัย   ส่วนแหล่งผลิตที่ใช้เชื้อเพลิง Fossil Fuel.  ก็ได้รับการต่อต้านในประเด็นเป็นมลพิษทางอากาศและเป็นแหล่งที่ก่อให้เกิด CO2   ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาโลกร้อน (Global Warming)   โดยภาพรวมแนวโน้มการพัฒนาแหล่งพลังงานในประเทศพัฒนาแล้วในยุโรบ  เช่น  เยอรมันนี  มีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นจากเดินที่ 6.3 %  ในปี 2000 ไปเป็น > 20 %  ในครึ่งแรกของปี 2011  ใช้เงินลงทุนไป 26 พันล้านยูโร  จนได้รับสมญานามว่า “The World’s First Major Renewable Energy Economy”  

       จากแนวโน้มของโลกหลังวิกฤตนิวเคลียร์ที่ฟูกูชิมะ  โอกาสจะพัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จำเป็นที่จะต้องพักไว้ชั่วคราว  อย่างไรก็ตาม  โอกาสและตลาดการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนอันเนื่องจากนโยบายทางด้านพลังงาน ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติ ได้กำหนดให้มีพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งผลิตพลังานหมุนวียนถึง 5600 MW.  ในปี 2022  ประกอบกับแหล่งผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน  มีโอกาสได้รับการยอมรับจากชุมชนได้มากกว่าเชื้อเพลิงอื่นๆ ซึ่งชุมชนได้รับผลตอบแทนและมีผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมน้อย  ทำให้ กฟผ. มีโอกาสเป็นผู้นำด้านการผลิตไฟฟ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

 

 

 

 

 

 

 

โอกาส (Strength & Opportunities)

 

  มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ

  เป็นโรงไฟฟ้าที่มีปัญหาผลกระทบน้อย ประชาชนมีการยอมรับ

  องค์ความรู้เดิมและจากการวิจัยพัฒนา

  นโยบายด้านพลังงานเป็นวาระแห่งชาติ มีความชัดเจน

  ชื่อเสียงและการหาพันธมิตร

  โครงการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

  มีระบบ Network ของสายส่งครอบคลุมพื้นที่

 

 

ความท้าทาย (Threat & Weakness)

 

  รูปแบบการบริหารจัดการ         

  ต้นทุนต่อหน่วยสูง (มี Adder)

  การแข่งขันกับธุรกิจภายนอก

  คุณภาพและปริมาณไฟฟ้าไม่สม่ำเสมอขึ้นกับแหล่ง

  การทำงานเป็นทีมต่างสายงาน

  การยอมรับของชุมชนในการสร้างแหล่งผลิตในพื้นที่

 

รูปแบบของโครงการฯ

 

        เมื่อพิจารณาโอกาสและความท้าทาย  ทางเลือกในการพัฒนาโครงการธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  แม้จะมีขนาดกำลังผลิตไม่เป็นโครงการขนาดใหญ่ แต่สร้างความไว้วางใจและเป็นภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร

 

รูปแบบขององค์กร  

 

ธุรกิจเพื่อสังคม(SocialEnterprise).  เป็นบริษัทแยกจาก กฟผ.

 

ปรัชญาขององค์กร

 

  พลังงานที่ได้จะไม่ส่งผลกระทบและเป็นภาระต่อชนรุ่นต่อไป เพื่อเป็นพลังงานที่หยั่งยืน

  แหล่งผลิตจะส่งผลดีต่อสังคมและเศรษฐกิจของชุมชนและรองรับการกระจายตัวของแหล่งผลิตขนาดย่อยในพื้นที่ชุมชนและเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน

 

คำขวัญ

 

        ผลิตไฟฟ้า เพื่อความสุขของชุมชน

 

 

รูปแบบของธุรกิจ

 

  งานศึกษาความเป็นไปได้โครงการ งานที่ปรึกษาโครงการ

  งานบริหารและควบคุมงานโครงการ

  ที่ปรึกษาด้านการบริหารและประหยัดพลังงาน

  เป็นผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญ เช่น พลังแสงอาทิตย์ พลังลม พลังชีวมวล พลังน้ำขนาดเล็ก โรงไฟฟ้าขยะ     และธุรกิจ Recycle ต่างๆ เป็นต้น

  การร่วมทุนกับเอกชนและชุมชนในการผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก

 

หุ้นส่วนที่สำคัญ

 

  ผู้ผลิตอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานทดแทน

  แหล่งเงินทุน

  ชุมชน

  สถาบันวิจัยด้านพลังงานที่สำคัญ

 

ความเสี่ยง/และความท้าทาย/โอกาส

 

  ยังไม่มีการประเมินสภาพโอกาสความเป็นไปได้ของพลังงานหมุนเวียนแต่ละชนิดอย่างแท้จริง

  ไม่มีแหล่งเงินทุนที่เป็น Soft Loan เช่น Eco’s Fund เป็นต้น

  แนวโน้มใหญ่ของโลก จะมุ่งเน้นการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แหล่งเชื้อเพลิง Fossil Fuel  ในอนาคตมีแนวโน้มราคาสูง  การพึ่งพาแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่มีภายในประเทศเป็นทางเลือกที่มั่นคงและหยั่งยืน

  เกิดการรวมตัวของ AEC ในปี 2015 ซึ่งประเทศไทยเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีด้านการผลิตและสายส่งไฟฟ้า มีโอกาสจะเป็นผู้กำหนดมาตรฐานคุณภาพของระบบไฟฟ้า

  เทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทนเป็นเรื่องใหม่  หาก กฟผ. ได้เข้าตลาดตั้งแต่เริ่มแรก มีโอกาสเป็นผู้ครองตลาด

  โอกาสที่จะใช้ความรู้และเทคโนโลยีที่มีอยู่ต่อยอดในขณะที่การดำเนินการขยายกำลังผลิตหลักยังคงมีปัญหาการยอมรับ

  มีโอกาสสร้างภาพลักษณ์ความไว้ใจจากชุมชน

  พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ทางธุรกิจและมองภาพรวมมากกว่าแบบเดิม (SILO MODEL) โดยการหมุนเวียนผู้บริหารที่เป็น Focus’Group มาบริหารหรือ Carrier Path ของ Successor

  พลังงานทดแทนมีเป้าหมายในแผนกำลังผลิตค่อนข้างชัดเจน ประกอบกับมีการชดเชยราคาค่า Adder ตามประเภทอย่างชัดเจนและยังห่างจากเป้าหมายค่อนข้างมาก

  โอกาสของแหล่งผลิตขนาดเล็กในพื้นที่แยกออกจากสภาพภูมิศาสตร์ เช่น เกาะ ฯลฯ หรือ ของพื้นที่สายส่งหลักในกลุ่มประเทศ AEC ยังมีอีกมาก

  โอกาสจะนำ Biomass มาใช้เป็นเชื้อเพลิงในประเทศ ลาว / เขมร / อินโดนีเซีย และพม่า ยังมีอีกมาก อีกทั้งเป็นการลดการเผาในหน้าแล้งที่ก่อให้เกิดปัญหาคุณภาพอากาศ     

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Appendices

 

Appendix 1 - Renewable energy in Germany

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Appendix 2 Clean Energy Business

 

 

 

 

 

ทิศทางเศรษฐกิจไทย...กับการปรับตัวของ กฟผ.

30 พ.ค. 55 มรว.ปรีดียาธร เทวกุล

วิทยากรกล่าวถึง 2 หัวข้อหลักคือ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อทิศทางเศรษฐกิจไทยและผลกระทบต่อ กฟผ.

ปัจจัยหลักที่มีผลกระทบต่อทิศทางเศรษฐกิจไทยได้แก่ นโยบายรัฐ ความเป็นไปในโลก การเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

นโยบายรัฐ ประชาชนในชนบทมีรายได้มากขึ้น ความต้องการไฟฟ้าในภาคครัวเรือนจะสูงขึ้น จ.กาญจนบุรีจะเกิดเมืองใหม่จากโครงการทวายของพม่า การคมนาคมที่ดีขึ้นจะทำให้ กทม. ตอนกลางวันจะมีผู้คนเข้ามาทำงานมากขึ้นทำให้มีการใช้ไฟฟ้ามากขึ้น ธุรกิจที่ใช้แรงงานมากจะย้ายฐาน ทำให้ความต้องการการใช้ไฟฟ้าในภาคอุตสาหกรรมลดลง ในขณะที่ภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้น โครงการท่าเรือน้ำลึกที่ปากบารา จ.สตูล จะเป็นประโยชน์ในการขนถ่ายสินค้าและน้ำมัน

ความเป็นไปในโลก ผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจยุโรป กระทบไปที่จีน ส่งผลทำให้เศรษฐกิจไทยอาจจะชะลอตัว

การเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เส้นทางขนส่งในภูมิภาคอาเชียนจะดีขึ้นเกิดการขนถ่ายสินค้ามาก ไทยจะเป็นศูนย์กลางการค้า ทำให้ กทม. มีการใช้ไฟฟ้ามากขึ้น สินค้าไทยบางชนิดจะเฟื่องฟูในตลาดเกิดใหม่เช่น ถังน้ำ ธุรกิจติดแอร์รถยนต์ ซึ่งข้อมูลทิศทางเศรษฐกิจในอนาคตดังกล่าว กฟผ. ต้องใช้เป็นแนวสำหรับการพยากรณ์ความต้องการการใช้ไฟฟ้า เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจลงทุนหรือดำเนินการให้สอดคล้องกัน เศรษฐกิจโลก

 

ประชาคมอาเซียนAEC 2015 และเศรษฐกิจไทย...ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

30 พ.ค. 55 รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล และ อ.มนูญ ศิริวรรณ

ดร.สมชาย พูดถึงลำดับขั้นตอนการรวมตัวของประชาคมในภูมิภาคยุโรปโดยเริ่มจากการเปิดเขตการค้าเสรี ต่อมาเป็นสหภาพศุลกากรเป็นการเปิดเสรีบางส่วน ด้านสินค้า แรงงาน บริการ ต่อมาเป็นประชาคมเศรษฐกิจ เป็นการเปิดเสรีทั้งหมดทั้งตลาดเงิน ตลาดทุน และลำดับสุดท้ายเป็นสหภาพทางเศรษฐกิจสมบูรณ์แบบ มีการใช้สกุลเงินเดียวกัน สำหรับกระบวนการเกิด AEC นั้นได้เริ่มมาตั้งแต่ 1993 แล้ว เป้าหมายจะอยู่ในระดับเป็นประชาคมเศรษฐกิจ

อ.มนูญ พูดถึงการใช้พลังงานหลักของโลกยังคงต้องพึ่งพาจาก fossil โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติ กฟผ.ต้องเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น ปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ในเรื่องการอนุรักษณ์พลังงาน เป็นองค์กรที่พัฒนาประสิทธิภาพการใช้พลังงานโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดการยอมรับจากสังคม

 ดร.กอบศักดิ์  ได้พูดถึงทิศทางเศรษฐกิจไทยจะมีแนวโน้มเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง 5-6% ไทยจะเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงในกลุ่มอาเชียน ธุรกิจที่ตัดสินใจลงทุนวันนี้ จะชิงความได้เปรียบในตลาดได้ก่อน ในขณะที่จีนและอินเดียอาจจะมีปัญหาจากการเติบโตเร็วเกินไปทำให้เกิด NPL ในภาคอสังหาริมทรัพย์ จะทำให้กลุ่มธนาคารมีปัญหา ในขณะที่กลุ่ม AEC ที่เคยมีปัญหาทางเศรษฐกิจมาก่อน ทำให้มีวินัยทางการเงิน จึงยังสามารถเติบโตได้อีก

 

พิพัฒน์ วรคุณพิเศษ

วันนี้ได้อะไร ช่วงที่ 4 วันที่ 15-18 พฤษภาคม 2555

 

วันที่ 15 พฤษภาคม 2555

 

ผวก.สุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์      “ประสบการณ์การเรียนรู้ในรุ่น 2 กับการปรับใช้เพื่อการบริหาร กฟผ. ในยุคที่โลกเปลี่ยน”

  • การขึ้นเป็นผู้บริหารต้องใช้ศาสตร์กว้างขวางจะไม่มีเวลาเรียนรู้อีกแล้วต้องใช้การตัดสินใจเลยซึ่งพลาดไม่ได้ ดังนั้นต้องวางแผน และคิดให้ใหญ่กว่าหมวกที่สวมอยู่อีก 1 เบอร์
  • การดูงานที่ออสเตรเลีย งานวิชาการ ม. เมลเบอร์น คนไทยในรัฐวิคตอเรียเชิญ รมว.เหมืองแร่และพลังงาน นักลงทุนมาด้วย ต้องใช้ Speech ต้องพร้อมเสมอ
  • การแลกเปลี่ยนใน Blog มี 2 ปัญหา คือ 1) Generation Gap และ 2) คน กฟผ. โตขึ้นมาในกล่อง ไม่เหมือนเอกชนที่เวียนงานกันไป
  • ต้องปรับแผนอัตรากำลังเป็น 5 ปีๆ ละ 1,000 คน ทดแทนที่เกษียณปีเดียว 5,000 คน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเดียวกันขึ้นอีก
  • เพิ่มคุณภาพคนที่รับมาใหม่ GPA 2.5 TOEIC 550 บวกจริยธรรม
  • พัฒนาผู้นำ กฟผ. คิดถึงองค์รวมมากขึ้น
  • ประเมิน 360 องศา
  • ปัจจัยขับเคลื่อน กฟผ. 1) คน ความเข้าใจ สายสัมพันธ์ 2) ขีดความสามารถดำเนินธุรกิจ ให้บริษัทลูกลงทุนในต่างประเทศ ไปฟิลิปปินส์ เวียดนาม อินเดีย (อุตสาหกรรมหม้อแปลง สายไฟ) 3) เราต้องเป็นเลิศในการดำเนินการ ทั้งการเดินเครื่อง การบำรุงรักษา และระบบส่ง เพราะมีคู่แข่ง IPP SPP ต่างประเทศ
  • ผู้นำต้องมีสมอง สติปัญญา ดีแล้ว ต้องมีหัวใจที่คิดถึงส่วนรวมด้วย (Smart with big heart)

 

Panel Discussion อ.ประกาย ชลหาญ และ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

“ผู้นำ วัฒนธรรมองค์กร การบริหารการเปลี่ยนแปลง”

 

อ.ประกาย ชลหาญ

  • คนสำคัญที่สุด เพราะอะไร เพราะว่ามีผลงาน มีความสามารถ มีความรู้ มีแรงจูงใจ มีแรงผลักดัน
  • Competency ความรู้ ความสามารถ ทักษะ และประสบการณ์ คนมีไม่เท่ากัน คนเดียวกัน ในแต่ละวันก็มีไม่เท่ากัน ปัจจัยสำคัญคือ แรงจูงใจ
  • ทำอย่างไรให้ลูกน้องมีแรงจูงใจตลอดเวลา จะทำแรงจูงใจให้ถูกใจลูกน้องอย่างไร นอกจากปัจจัย 4 แล้ว การยอมรับเป็นเรื่องสำคัญ
  • บางครั้งเราคิดว่าดีแล้ว แต่ลูกน้องอาจไม่ต้องการก็ได้ เช่น รางวัลพนักงานยอดเยี่ยมแห่งเดือน ให้เกียรติกินข้าวกับผม ซึ่งเป็นวัฒนธรรมตะวันตก พนักงานแถวนี้อาจร้องไห้ก็ได้เมื่อจะต้องกินข้าวกับนาย ต้องดูจิตใจของลูกน้องว่าต้องการอะไร
  • Human Performance Framework ปัจเจกบุคคล (Individual) มี Competence และ Motivation อยู่แล้ว ก็ต้องมีภายนอกอีกเรียงตามลำดับ คือ Organization Culture, Operation, Strategy, and Environment

                       

 

Change Management

  • Managing Change ก็คือการ Guestimation
  • เดา -- > ประเมิน -- > เปลี่ยน
    • โดนบังคับให้เปลี่ยน – > สายเกินไป
    • Change Acceleration Process ให้นึกถึง 1) ภาพในอดีตที่เราเก็บไว้ 2) ภาพปัจจุบัน และ 3) ภาพในอนาคต ซึ่งสะท้อน ความจริง การจัดการได้ และความคาดหวัง

 

  • ผู้นำไม่เป็นทางการ คือพวก Silent Leader
  • Thinking -- > Change Beliefs -- > Expectation -- > Attitude -- > Behavior -- > Performance  -- > Life

 

ศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ “เศรษฐศาสตร์พลังงาน”

 

  • สถานการณ์ราคาน้ำมันโลกมีวิกฤตน้ำมันครั้งแรกเมื่อ 40 ปีก่อน ราคาน้ำมันผันผวนมาก ค่อยๆ ปรับขึ้นจาก 20 เหรียญ/บาเรล มาถึง 140 ในปี 2551 และปี 2512 ก็จะไม่เห็นราคาที่ต่ำกว่า 100 เหรียญ/บาเรลอีกแล้ว
  • สัดส่วนการใช้น้ำมันเยอะที่สุด รองไปเป็นถ่านหินและก๊าซ นิวเคลียร์และอื่นๆ
  • แนวโน้มทางแก้ปัญหาพลังงานไทย ต้องไปนิวเคลียร์ แม้ว่าจะลงทุนสูง แต่ค่าเชื้อเพลิงต่ำ ไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ปัญหาความปลอดภัย กากเชื้อเพลิง การยอมรับจากประชาชน
  • มาตรการราคาพลังงานควรสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง แทรกแซงน้อยที่สุด ทำชั่วคราวเพื่อปรับตัว ลดความผันผวนเท่านั้น
  • ควรลอยตัวราคาก๊าซหุงต้ม ช่วยเหลือภาคครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน โดยระบบคูปอง ประมาณ 12,000 ล้านบาท

คำถาม

  • ปตท. กำไรจากก๊าซมาก มาช่วยเหลือกิจการน้ำมันที่มีค่าการตลาดน้อยใช่หรือไม่ คำตอบคือ ใช่
  • ควรกำหนดราคาก๊าซสำหรับกิจการปิโตรเคมี ให้เท่ากับ Pool2 ด้วยหรือไม่ จากเดิมที่ใช้ Pool1 กิจการปิโตรฯ กำไรดี มูลค่าเพิ่มสูง แต่ราคาก๊าซอ่าวไทยต่ำมาก ยิ่งกำไรเยอะ คำตอบคือ น่าจะพิจารณาทบทวนให้ช่วยเหลือกิจการอื่นบ้าง

 

ประเสริฐศักดิ์

ช.อศง-ลท.

นิตยสาร Time ได้จัดอันดับ 100 บุคคลที่ทรงอิทธิพลของโลกประจำปี 2012 ในความคิดเห็นของผม ผมชื่นชม 5 รายชื่อ ดังนี้1. Jeremy Lin เขาเป็นแบบอย่างของคนรุ่นใหม่ที่แสดงให้เห็นว่า ความมุ่งมั่น ความตั้งใจ ความมีมานะอดทน สามารถที่จะเอาชนะอุปสรรค์ที่คนหลายๆ คนคิดว่าเป็นไปไม่ได้ เขาจึงเป็นตัวอย่างของคนที่ปรับเปลี่ยน Mindset ที่ดีคนหนึ่ง 2. Yani Tseng นักกอล์ฟหญิงจากจีนไต้หวัน ที่มีผลงานในการแข่งขันอยู่ในระดับดีอย่างเสมอต้นเสมอปลาย และขณะนี้ก็เป็นมือหนึ่งของโลกตามการจัดอันดับของ LPGAนอกจาก ด้านความสามารถในกีฬากอล์ฟแล้ว Yani Tseng ยังมีบุคลิกที่อ่อนโยนพร้อมรอยยิ้มที่สร้างความประทับใจกับผู้ที่ได้พูดคุยด้วย จากการจัดอันดับนักกีฬากอล์ฟของ LPGA ที่อยู่ใน Top Ten ขณะนี้เป็นชาวเอเชียตะวันออกมากกว่า 5 คน ทั้งเกาหลี, ญี่ปุ่น, จีน ซึ่งก็ต้องยอมรับใน ความมีระเบียบวินัย ความทุ่มเทและความตั้งใจฝึกฝนอย่างเอาจริงเอาจัง ถึงแม้ประเทศเหล่านี้ จะไม่มีสนามกอล์ฟที่ดีและจำนวนมากเท่าเมืองไทยก็ตาม แต่นักกอล์ฟของประเทศเหล่านี้ ก็ยังโชคดีที่มีสนามกอล์ฟของไทย เป็นสนามฝึกฝนให้นักกอล์ฟของประเทศเขาเหล่านี้ เราจะพบเห็นการเข้ามาเก็บตัวและฝึกซ้อมอย่างเอาจริงเอาจังของนักกอล์ฟ จากประเทศเหล่านี้ ตามสนามกอล์ฟในประเทศไทยอยู่เสมอ โดยเฉพาะจากเกาหลีใต้ 3. Xi Jinping ด้วยอายุเพียง 58 ปี กับตำแหน่งเบอร์ 2 ของประเทศ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายๆสำหรับประเทศจีนที่เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียและมีประชากรมากที่สุดในโลกขณะนี้ และประเทศจีนกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว การถูกวางตัวเป็นผู้นำคนต่อไปเขาจะนำพาประเทศจีนซึ่งถือว่าเป็นมหาอำนาจประเทศหนึ่งของโลก ก้าวไปข้างหน้าอย่างไร ภายใต้แรงเสียดทานทางการเมืองของโลก จากมหาอำนาจฝั่งตะวันตก 4. U Thein Sein เขาเป็นบุคคลที่ผมเห็นว่าเป็นนักบริหารที่ต้องใช้ความสามารถหลายด้านด้วยประเทศพม่าที่เต็มไปด้วยกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลาย มีความขัดแย้งกันมาเป็นเวลานาน รวมทั้งแรงกดดันจากภายในประเทศโดยพรรคฝ่ายค้านที่นำโดย อองซานซูจี และแรงกดดันจากนานาประเทศที่ Sanction ประเทศพม่า เขากำลังจะนำประเทศพม่าให้ Soft Landing เพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบอบประชาธิปไตย พร้อมไปกับการสร้างความปรองดอง ช่วงที่ผ่านมาจะเห็นความก้าวหน้าหลายด้านของพม่า ในความพยายามเดินหน้า Reform ประเทศ ในขณะที่หลายประเทศลุ้นให้เกิดความสำเร็จในพม่า และรอคอยให้พม่าเปิดประตูประเทศ 5. กลุ่มแฮกเกอร์ “Anonymous” กลุ่มแฮกเกอร์ ดังกล่าว ได้ปฏิบัติการหลายครั้ง จากหลายกลุ่มหลายสถานที่ ทำให้เรื่องราวที่บางคนเก็บเป็นความลับ ถูกเปิดเผยออกมาหรือแม้แต่การเข้าไปป่วนระบบขององค์กรต่างๆ ทั้งๆ ที่องค์กรเหล่านั้นคิดว่าเขาได้สร้างระบบป้องกันไว้อย่างดีแล้ว การกระทำของกลุ่มนี้ เป็นสิ่งที่เหมาะสมหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ผมเห็นว่าเป็นส่วนหนึ่งที่กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาและการคิดสร้างสรรค์ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อหนีให้ทันคนที่ไล่ตามมาติดๆอย่างไม่ลดละ

29 พ.ค.55

สนทนาธรรม การทำงานอย่างมีความสุขด้วยธรรมาภิบาล ณ.เสถียรธรรมสถาน

ได้เรียนรู้หลักการทำสมาธิโดยวิธีการเดินจงกรม เท้าสัมผัสพื้นให้รู้สึกตัว ท่ากายบริหารพร้อมการควบคุมการหายใจ ใช้ลมหายใจในการรักษาตนเอง รู้วิธีการจะอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างมีความสุข โดยคิดว่าคนที่อยู่ข้างหน้าคุณเป็นคนพิเศษ (คนพิเศษคือคนที่เราจะไม่ทำให้เขาทุกข์) จงยิ้มให้เขา ทุกข์มีไว้ให้เห็น ไม่ได้ให้เป็นทุกข์

30 พ.ค. 55

People Management & Coaching : The New Role of EGAT Leadership โดย อ.พจนารถ ซีบังเกิด

ได้เรียนรู้หลักเบื้องต้นในการอ่านคน จากการสังเกตุที่ดวงตา ปฏิกิริยาต่างๆที่เกิดขึ้นทั้งจากใบหน้าและกิริยาท่าทาง เรียนรู้เทคนิคในการ Matching คือการทำให้เราเหมือนเขาก่อน เพื่อ PACE PACE LEAD การจะCoaching ได้ จะต้องรู้จักธรรมชาติของคนก่อน ต้องได้รับการฝึกฝนทักษะมาเป็นอย่างดี ต้องรู้ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ 6 ข้อก่อน Map ของคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน การจะ coach ได้ต้องเข้าใจ Map ของเขาก่อน ต้องตั้งใจฟังแบบจริงๆ โดยอาศัยศาสตร์ NLP (Neuro Linguistic Programing)

ทิศทางเศรษฐกิจไทยกับการปรับตัวของ กฟผ. โดย ม.ร.ว.ปรีดียาธร เทวกุล

ได้เรียนรู้สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทย ประชาคมอาเซียน ในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ และด้วยนโยบายค่าแรง 300 บาท การประกันราคาพืชผล ทำให้เศรษฐกิจในชนบทเติบโตมากกว่าเศรษฐกิจในเมือง ความต้องการใช้ไฟฟ้าในภาคอุตสาหกรรมจะชะลอตัวลง ส่วนในภาคครัวเรือนจะเพิ่มมากขึ้น Demand ในกรุงเทพฯจะเพิ่มขึ้นอีก ซึ่ง กฟผ.จะต้องติดตามและวางแผนในการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าให้สอดรับกับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยอย่างใกล้ชิด

เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC 2015 และเศรษฐกิจไทย ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ. โดย รศ.ดร. สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ , ดร. กอบศักดิ์ ภูตระกูล , อ.มนูญ ศิริวรรณ

ได้ความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและแนงคิดของสหภาพยุโรป ( EU ) โดยเริ่มจาก

-เขตการค้าเสรี

-สหภาพศุลกากร

-ตลาดร่วม

-สหภาพเศรษฐกิจ

-สหภาพเศรษฐกิจเต็มรูปแบบ

ซึ่งประชาคมอาเซียนได้นำแนวคิดดังกล่าวทั้งส่วนดีและส่วนเสียมาปรับแก้ไขแล้วใช้กับภูมิภาคนี้

-ได้รับทราบแนวโน้มราคาก๊าซจะสูงขึ้น อ.มนูญ ได้เสนอความเห็นว่า กฟผ. จะต้องหันกลับมาพิจารณาสร้างโรงไฟฟ้าแบบ RENEWABLE เพิ่มมากขึ้น

-แนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศไทยจะยังคงเติบโต ~5-6% ต่อ GDP เป็นระยะเวลา 4-5 ปี เศรษฐกิจของจีนเริ่มชะลอตัวลงโดยมีผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจยุโรป

สรุปการอบรมระหว่างวันที่ 15-18 พค.2555

วันที่ 15 พค.2555 ประสบการณ์การเรียนรู้ในรุ่น 2 ของข้าพเจ้า กับการปรับใช้เพื่อการบริหาร กฟผ. ในยุคที่โลกเปลี่ยน โดยผู้ว่าการสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์

 กฟผ.มีจุดแข็งที่บุคคลากรมีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้านสูง แต่ก็เป็นจุดอ่อนในตัวเองที่ขาดความรู้ด้านกว้าง 

การเป็นผู้นำต้องมีความรู้ด้านกว้างมากขึ้น และยิ่งตำแหน่งบริหารสูงขึ้น ศาสตร์ที่ต้องใช้ในการตัดสินใจก็มากขึ้น กว้างยิ่งขึ้น ปัญาเรื่อง HR ของ กฟผ. คือ Generation มี Gap มาก และไม่สามารถสร้างผู้นำรุ่นใหม่ที่รู้กว้างได้ เพราะมีโครงสร้างแบบ Silo

การจะเป็นผู้นำ ได้ต้อง Smart และต้องคิดถึงส่วนรวม ต้องสร้างการยอมรับ มีบารมี พูดแล้วคนเชื่อ มีมุมมองที่คิดถึง Stakeholder เชื่อว่าทุกคนรักองค์กร ต้องเตรียมพร้อม แต่อย่าคาดหวังมาก เมื่อได้รับโอกาสต้องพร้อม

ผู้นำ – วัฒนธรรมองค์กร - การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Leadership in Changing World) โดย อาจารย์ประกาย ชลหาญ

 การที่เราจะมีผลงานดี เราจะต้องมี Competency และ Motivation ที่ดี   ผู้นำที่ดีจะต้องมีบทบาท 4 อย่าง คือ 

  1. Path Finder กำหนดนโยบาย/เป้าหมายให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติ
  2. Alignment สร้างทิศทางให้กับคนในองค์กร
  3. Empowerment ต้องมีการมอบอำนาจ กระจายอำนาจให้กับลูกน้อง
  4. Role model เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูกน้อง นอกจากนั้น ผู้นำที่ดีต้องรู้จักคาดการณ์ล่วงหน้า ว่า จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรขึ้นในองค์กร แล้วคิดวิธีเตรียมพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง

    การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management)

  5. ยอมรับความซับซ้อน โดยเฉพาะคนมีความซับซ้อนมากกว่าเครื่องจักร
  6. องค์กรถูกผลักดันจากกระบวนการมากกว่าโครงสร้าง
  7. เข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงจะมีการเปลี่ยนแปลงอื่นๆตามมา ซึ่งเป็นผลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงแรก
  8. ต้องเกิดความคิดรวบยอดของนโยบายกับยุทธศาสตร์
  9. ยอมรับกับสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และใช้มันให้เกิดประโยชน์
  10. ยอมรับการนำของผู้นำ

พลังงานกับเศรษฐกิจไทย โดย ศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์

ปัญหาพลังงาน เนื่องจากยังมีการใช้น้ำมันมาก ราคาน้ำมันมีความผันผวน และมีแนวโน้มสูงขึ้นตลอด 40 ปีที่ผ่านมา และจะหาได้ยากยิ่งขึ้น และจากการที่โลกยังใช้พลังงานฟอสซิลมาก จึงทำให้เกิดปัญหาก๊าซเรือนกระจก และภาวะโลกร้อน
สำหรับประเทศไทย ใช้น้ำมันเป็นพลังงานมากที่สุด (45%) ก๊าซธรรมชาติ 41% ที่เหลือนอกนั้นเป็นพลังงานหมุนเวียน ไทยต้องพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นทุกปี นอกจากนี้ไทยยังมีปัญหาจากนโยบายการตรึงราคาขายปลีกเชื้อเพลิงประเภทต่าง ๆ ความต้องการใช้ไฟฟ้าของไทยสูงขึ้นมาโดยตลอด ขณะที่เชื้อเพลิงถ่านหินหรือนิวเคลียร์ที่มีราคาต่ำก็ถูกต่อต้านไม่ได้รับการยอมรับ การใช้เชื้อเพลิงประเภทชีวมวลก็มีต้นทุนสูงและมีปริมาณจำกัดหรือพลังงานหมุนเวียนก็ยังมีราคาแพงมาก แม้จะมีแนวโน้มลดลงโดยลำดับ แต่ก็ยังใช้เวลาอีกนาน จึงต้องมีมาตรการส่งเสริมโดยให้มีกองทุนอนุรักษ์พลังงานเพื่อให้โรงไฟฟ้าประเภทชีวมวลและพลังงานหมุนเวียนสามารถเกิดขึ้นได้ รวมถึงส่งเสริมหรือให้สิทธิประโยชน์ในการประหยัดไฟฟ้า

วันที่ 16 พค. 55 ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่น ต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคตของ กฟผ. โดย ศ.ดร. ปณิธาน ลักคุนะประสิทธิ์ และ ดร.กมล ตรรกบุตร

ได้รับความรู้จาก ดร. ปณิธาน ด้านการเกิดแผ่นดินไหวในรูปแบบต่าง ๆ และศักยภาพการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทย รวมทั้งให้ข้อคิดว่า กฟผ. ควรคำนึงถึงปัญหาล่วงหน้าและการป้องกัน รวมทั้งเตรียมแผนฉุกเฉินเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น  ส่วน   ดร.กมล ให้ความรู้เกี่ยวกับชนิดและโครงสร้างของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบต่าง ๆ ซึ่งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีต้นทุนค่าเชื้อเพลิงถูกและเป็นพลังงานสะอาดไม่มีก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ ออกสู่บรรยากาศ จึงไม่เป็นปัญหาภาวะโลกร้อน นอกจากนั้นยังให้ข้อมูลว่าประเทศเพื่อนบ้านกำลังจะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เช่น เวียดนามและมาเลเซีย

ทิศทางพลังงานกับการทำงานของ กฟผ. โดย อดีตผู้ว่าการ ไกรสีห์ กรรณสูต และรองผู้ว่าการบริหาร วิรัช กาญจนพิบูล

ในอดีต กฟผ.ขึ้นอยู่กับสำนักนายกรัฐมนตรี สามารถกำหนดนโยบาย วางแผนทุกอย่างเองหมด และผลิตไฟฟ้าแต่ผู้เดียว
ปัจจุบันมี Regulator กำกับดูแล รับนโยบายจากรัฐบาลผ่านกระทรวงพลังงาน เอกชนมีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น โดย กฟผ. คงเหลือสัดส่วนประมาณ 50%  แต่หน้าที่ของ กฟผ. ยังคงต้องผลิตไฟฟ้าให้มีคุณภาพ โดยคำนึงถึงความมั่นคงพลังงานที่จะต้องมีเพียงพอ 
การสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ได้รับการต่อต้านจาก NGO และชุมชน  กฟผ.จะต้องคิดว่าจะทำอย่างไรให้คนไว้วางใจ กฟผ. เชื่อว่ากฟผ.จะทำให้วิถีชีวิตของชุมชนดีขึ้น เชื่อว่าโรงไฟฟ้าของ กฟผ.จะไม่ทำลายวิถีชีวิตของชุมชน เทคโนโลยี่โรงไฟฟ้าต้องเป็นชนิดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

Trendy Technology and Social Medias for EGAT Executive โดย ดร.วิรัช ศรเลิศล้ำวาณิช

ได้รับทราบว่าแนวโน้ม  IT Technology มีทิศทางเป็นเช่นไร ตามการคาดการณ์จากสถาบันต่าง ๆ ได้แก่ CNN Trend-watch และ IDC   รวมทั้งเรียนรู้เรื่องการจัดการข้อมูลความรู้ที่ท่วมท้นในปัจจุบัน ได้ข้อคิดเรื่องการทำงานกลุ่มโดยมี Leadership ร่วมกัน การส่งเสริมสนับสนุนให้พนักงานเสนอโครงการเอง โดยการพัฒนาต้องคำนึงถึง 3 เรื่องคือ Vision, Mission และPassion 

วันที่ 17 พค.2555 High Performance Organization (HPO) ร่วมอภิปรายโดย ดร.สมโภชน์ นพคุณ คุณสมชาย ไตรรัตนภิรมย์ (รองกรรมการผู้จัดการบริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด) ดำเนินรายการโดย ดร.วีรชัย กู้ประเสริฐ

องค์กรชั้นนำจะเป็น HPOได้ จะต้องทำให้พนักงานทุกระดับรู้และมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน HPO จะไม่พัฒนา ถ้ากฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ เป็นอุปสรรค  การจะพัฒนาให้เป็น HPO จะต้องมีจัดการสามส่วนคือ Man, Money, Material โดยการจัดการที่สำคัญที่สุดคือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  ซึ่งประกอบด้วย4  องค์ประกอบคือ  1. พัฒนาสติปัญญา (IQ)   2. พัฒนาวุฒิภาวะทางอารมณ์เพื่อทำงานร่วมกับคนอื่นได้ (EQ)  3. พัฒนาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง(PQ)   4. พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม (SQ) 
การสร้าง HPO ผู้นำต้องใช้หลักการมีส่วนร่วม แต่ต้องแยกกลุ่มคนให้ออก คนไหนควรมอบหมายให้ทำได้โดยอิสระ คนไหนควรต้องควบคุม และองค์กรจะไปถึง HPO ได้ต้องสร้าง Corporate Culture ร่วมกัน

นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน (Social Innovation) กับการทำงานของ กฟผ. ร่วมอภิปรายโดย ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ ดร.เสรี พงศ์พิศ คุณธวัช วัจนะพรสิทธิ์ รองผู้ว่าการกิจการสังคมและสิ่งแวดล้อม ดำเนินรายการโดยศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ครูบาสุทธินันท์ ใช้เวลา 30 ปี พลิกฟื้นแผ่นดินแห้งแล้งไม่มีต้นไม้ ให้เป็นพื้นที่ร่มรื่น ใด้ให้ข้อคิดว่า สังคมพันธ์ใหม่เคลื่อนไปเรื่อย ๆ มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  ประชาชนก็เปลี่ยนแปลงและเติบโตด้วยเช่นกัน  กฟผ.จึงต้องศึกษาเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนแปลง จึงจะก้าวเดินไปกับประชาชนได้ และ กฟผ. ต้องเป็นเพื่อนกับชุมชน คนเรามีหน้าที่สำคัญ 2 อย่างคือ 1 หน้าที่การงาน(ดูแลตนเอง)   2 หน้าที่ดูแลสังคม 
ดร.เสรี  ใด้ให้ข้อคิดว่า ในโลกปัจจุบันไม่ไช่ยุคเกษตรกรรม และก็ไม่ไช่ยุคอุตสาหกรรมด้วย แต่เป็นยุค “ความรู้” คนที่จะแก้ปัญหาได้คือคนที่มีความรู้ และสังคมที่เข็มแข็ง คือชุมชนที่มีการเรียนรู้ โลกในปัจจุบัน คนที่อยู่รอดได้ไม่ไช่คนที่เก่งที่สุด แต่เป็นคนที่รู้จักปรับตัว 
คุณธวัช (รวค.)  กฟผ.ส่วนใหญ่เป็นคนด้านวิศวกรรม จึงขาด Competency ในด้านการทำความเข้าใจกับสังคม คน กฟผ.จึงต้องปรับตัวเองจากการเป็น Engineering Base ให้เป็น Social Base  กฟผ. จะต้องปรับวิธีการเข้าหาประชาชนจากแบบยัดเยียด (one way)  เป็นการเข้าประชาชนแบบเพื่อนที่พึ่งพากัน

การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และเทคนิคการตัดสินใจของผู้บริหารมืออาชีพ โดย รศ.สุขุม นวลสกุล

 ความขัดแย้งในการบริหาร แบ่งเป็น 3 ประเภท 

  1. บุคคลกับบุคคล ต้องใช้หลักกันดีกว่าแก้ ระวังไม่ให้เกิดความขัดแย้งระหว่างบุคคล หัวหน้างานจะต้องวางตัวให้ดี ไม่เปิดช่องให้เกิกการเอารัดเอาเปรียบกัน
  2. บุคคลกับองค์การ ส่วนใหญ่เกิดจากบุคคลไม่เห็นด้วยกับนโยบายขององค์การ อาจเป็นเพราะไม่เข้าใจหรือขาดการอธิบาย ผู้บริหารต้องทำตัวเป็นโฆษกให้กับองค์การต้องอธิบายให้เข้าใจในนโยบายนั้น
  3. หน่วยงานกับหน่วยงาน สาเหตุมาจากความไม่เข้าใจบทบาทว่าเมื่อใดเป็นตัวแทนขององค์การ เมื่อใดเป็นตัวแทนของพนักงาน หรือหลงหน่วยงาน เข้าใจว่าหน่วยงานของตนดี วิเศษกว่าหน่วยงานอื่น นักบริหารต้องตัดสินใจเร็ว ซึ่งจะตัดสินใจเร็วได้ต้อง แม่นกฎระเบียบ ลดความเกรงใจ(กล้าปฏิเสธ) และไม่โอ้อวด โดยมีองค์ประกอบการตัดสินใจ 1. ข้อมูล ยิ่งมีมากก็ยิ่งช่วยในการตัดสินใจ 2. ประสบการณ์ นักบริหารที่มีประสบการณ์ดี จะตัดสินใจได้ดี 3. การคาดการณ์ เมื่อตัดสินใจแล้วต้องคาดการณ์ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น คิดถึงคำอธิบายที่เหมาะสม และยืนยันการตัดสินใจนั้น ไม่โลเล เปลี่ยนการตัดสินใจกลับไปกลับมา 4. ผลกระทบ 5. สถานการณ์ หลักการวิเคราะห์การตัดสินใจ ต้องพิจารณา 3 เรื่องคือ 1. ถูกต้อง 2. ถูกใจ 3. ถูกจังหวะ หากเป็นเรื่องที่ถูกต้องและถูกใจ สามารถทำได้เลยไม่ต้องรอจังหวะ แต่หากเป็นเรื่องที่ถูกต้องแต่ยังไม่ถูกใจ จะต้องมีการบริหารเชิงรุกเพื่อสร้างความเข้าใจก่อน จึงค่อยทำ

วันที่ 18 พค.2555 HR for Non–HR และทุนมนุษย์ของ กฟผ.รองรับประชาคมอาเซียน โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผู้นำองค์กร หน่วยงานด้าน HR  และ Non-HR จะต้องทำงานร่วมกัน เพื่อให้องค์กรบรรลุความสำเร็จ Line Manager ในหน่วยงานด้าน Non-HR เป็นผู้ใกล้ชิดกับผู้ปฏิบัติงานที่สุด รู้จุดอ่อน-แข็ง ของหน่วยงาน จึงควรมีส่วนร่วมกับหน่วยงานด้าน HR  ในการกำหนดนโยบายร่วมกัน ออกแบบระบบงาน และกำหนดบุคลิกของคนในองค์กร เพื่อให้การพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน 

บทบาทของ Regulator และ Energy Tax กับการทำงานของ กฟผ. โดย ศ.ดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน

ได้ทราบถึงเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550เพื่อตอบสนองความต้องการภายในประเทศและต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ในด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม สำหรับบทบาทของRegulator ที่เกี่ยวข้องกับ กฟผ. คือ กำกับดูแลให้ กฟผ. ผลิตไฟฟ้าให้พอเพียงกับความต้องการไฟฟ้า, มีประสิทธิภาพ, มีการรับซื้อไฟฟ้าอย่างเป็นธรรม , การสั่งจ่ายการผลิตไฟฟ้าที่โปร่งใสและเป็นธรรม, ระบบจำหน่ายมีความมั่นคง ปลอดภัย และมีมาตรฐานการบริการที่ดี, มีการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายพลังงาน ตามข้อกำหนดที่เป็นไปตามหลักการของพระราชบัญญัติฯ, มีการจัดทำแผน PDP แผนการลงทุน แผนการขยายโครงข่ายไฟฟ้า, มีการรายงานข้อมูลที่จำเป็นต่อการกำกับดูแลของ Regulator ,การนำส่งเงินเข้ากองทุนพัฒนาไฟฟ้า และการดำเนินการเพื่อรับผิดชอบต่อสังคม (CSR)

29 พ.ค.55 ปฏิบัติธรรมที่เสถียรธรรมสถาน

เริ่มต้นด้วยการสวดมนต์พร้อมคำแปร ทำให้ได้รู้ว่าคำสวดต่าง ๆ มีความหมายอย่างไร ได้เรียนรู้ถึงการทำจิตให้สงบโดยการทำสมาธิและเดินจงกลม โดยเฉพาะการเดินจงกลมโดยให้รู้สึกขณะเท้าสัมผัสพื้น ซึ่งสามารถนำมาใช้ได้ในชีวิตประจำวัน ทุกครั้งที่มีการเดิน ทำให้เรามีสติรู้อยู่ตลอดเวลา
ได้ชมภาพยนตร์โฆษณา ชุด “จ๊ะเอ๋.....และบ๊ายบาย” ของเสถียรธรรมสถาน ทำให้เห็นวิธีละ ความโลภ, ความโกรธ,  ความหลง โดยใช้คำว่า “จ๊ะเอ๋.....และบ๊ายบาย” เป็นอุบายให้เกิดสติ
สุดท้าย “ทุกข์มีไว้ให้เห็น ไม่ได้มีใว้ให้เป็น” ถ้าคิดได้อย่างนี้ก็สุดยอดครับ

30 พ.ค. 55 People Management & Coaching : The New Role of EGAT Leadership โดย อ.พจนารถ ซีบังเกิด

อาจารย์ได้สอนถึงศาสตร์ NLP (Newro Linguistic Programming) เป็นศาสตร์แห่งการศึกษาภาษากาย โดยมีหลักการว่าประสาทจะเชื่อมโยงภาษากายและภาษาจิต และแสดงออกมาทางกายโดยไม่สามารถบังคับได้ หากคู่สนทนาสังเกตุจะสามารถรู้ได้ว่ากำลังมีความรู้สึกอย่างไร สิ่งที่พูดเป็นความจริงหรือไม่  และวิธีการ Matching เป็นการทำให้คู่สนทนามีความรู้สึกว่าเราเป็นพวกเดียวกับเขา ความรู้ที่ได้รับในวันนี้เป็นความรู้ที่ใหม่มากสำหรับผม และคิดว่าน่าจะมีประโยชน์มากทีเดียว เสียดายที่เวลาเรียนสั้นไปหน่อย เป็นอีกวิชาหนึ่ง(ในหลักสูตร EADP8) ที่ผมมีความรู้สึกว่าเป็นแค่ ยั่วให้อยาก(เรียนเพิ่ม)แล้วจากไป

ทิศทางเศรษฐกิจไทยกับการปรับตัวของ กฟผ. โดย ม.ร.ว.ปรีดียาธร เทวกุล

ภายใต้นโยบายประชานิยม โดยเฉพาะ ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท/วัน และการรับจำนำพืชผล ด้วยราคาสูง จะทำให้อัตราการเติบโตด้านการใชไฟฟ้าภาคอุตสาหกรรมลดลง แตการใช้ไฟฟ้าภาคครัวเรือนจะสูงขึ้น การเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเป็นแนวนโยบายที่ดี แต่การปรับเพิ่มที่เร็วเกินไปจะมีผลกระทบมากเพราะผู้ประกอบการปรับตัวไม่ทัน นโยบายรับจำนำข้าวในราคาสูงทำให้ขายไม่ออก รัฐบาลจะขาดทุนนับแสนล้านบาท และจะมีการโกงในทุกขั้นตอน 
เราไม่เคยเลือกคนดีมาบริหารประเทศ ไม่มีคนดีที่จะสามารถหยุดการโกงได้

เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC 2015 และเศรษฐกิจไทย ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ. โดย รศ.ดร. สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ , ดร. กอบศักดิ์ ภูตระกูล , อ.มนูญ ศิริวรรณ

ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ได้ลำดับการพัฒนาการของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( ASEAN Economic Community : AEC ) โดยมี Model มาจากสหภาพยุโรป EU ( European Union : EU ) ซึ่งชี้ให้เห็นว่าในที่สุดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จะพัฒนาไปสู่ตลาดร่วมอาเซียน และสหภาพอาเซียนในที่สุด ดังนั้นจึงควรมองไปให้ไกลกว่า AEC 2015 และเตรียมพร้อมเพื่อรับกับความเปลี่ยนแปลง 
 อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ พูดถึงสถานการณ์พลังงาน ความต้องการพลังงานมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกปี และน้ำมันจะมีราคาแพงขึ้นต่อไป ก๊าซธรรมชาติจะมีบทบาทในตลาดพลังงานมากขึ้น เพราะน้ำมันจะมีน้อยลงเรื่อยๆ สหรัฐอเมริกาจะเปลี่ยนจากผู้บริโภคพลังงานรายใหญ่เป็นผู้ขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติขึ้นมามากขึ้น เนื่องจากการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆในการขุดเจาะ ส่วนเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าของโลกก็ยังคงต้องพึ่งพาพลังงานฟอสซิลเป็นหลัก แต่พลังงานทดแทนจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ในส่วนการผลิตไฟฟ้าของไทย ใช้เชื้อเพลิงจากก๊าซมากขึ้น 70% ซึ่งแหล่งก๊าซธรรมชาติในไทย มีอยู่จำกัดจะหมดลงภายใน 15 -  20 ปี กฟผ. จึงควรเร่งทำความเข้าใจกับประชาชนเพื่อในใด้สร้างโรงไฟฟ้าชนิดอื่น ๆ เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน หรือนิวเคลียร์ รวมทั้งการไปร่วมลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าในต่างประเทศแทน และหันมาสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนในประเทศ
ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ได้กล่าวถึงทิศทางเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน โอกาสของไทยในตลาดอาเซียน แนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจของอาเซียนและของไทยค่อนข้างดี จึงเป็นโอกาสของไทยที่จะฉวยโอกาสเหล่านี้ไว้ให้ได้ 

วรวิทย์ รวีนิภาพงศ์

สิ่งที่ได้เรียนรู้เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2555 ช่วงเช้า ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้เรียนรู้ว่า Mojo คือ การทำในสิ่งที่เราชอบ ทำแล้วมีความสุขและมีความหมายต่อชีวิต แนวคิด Mojo สามารถนำมาปรับใช้กับ กฟผ. ได้ คือ กฟผ. ต้องสร้างให้คนเกิดพลังร่วม เพื่อทำงานให้มีความสุขและมีความหมายต่อชีวิต ถ้าทุกคนมีพลังร่วม กฟผ. จะสามารถขับเคลื่อนไปสู่ HPO ได้ และ กฟผ. ต้องเปลี่ยนแนวคิดจาก Operation ไปช่วยสังคมให้มากขึ้น จะทำให้ทุกคนในองค์กรมีความสุขและมีความหมายในชีวิต เรื่อง HR for Non – HR และทุนมนุษย์ของ กฟผ. รองรับประชาคมอาเซียน ได้เรียนรู้จากการทำ Workshop ว่า การบริหารคน มีผู้เกี่ยวข้อง 3 ฝ่าย คือ HR , Non-HR , CEO ทั้ง 3 ฝ่ายจะต้องทำงานประสานสอดคล้องกัน และไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อพัฒนาคนของ กฟผ. ให้มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ บรรลุตามเป้าหมายองค์กร และ อ.จีระฯ ได้ฝากรุ่น 8 ทุกคนว่า ขอให้ช่วยกันฝึกคน กฟผ. ให้เป็นคนใฝ่รู้ ช่วงบ่าย ศาสตราจารย์ ดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ ได้เรียนรู้เรื่อง พรบ.ประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 หน้าที่บทบาทของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน และกองทุนพัฒนาไฟฟ้า ทำให้มีมุมมองในด้านนี้กว้างขึ้น

วรวิทย์ รวีนิภาพงศ์

วรวิทย์ รวีนิภาพงศ์

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันที่ 29 พฤษภาคม 2555 ที่ เสถียรธรรมสถาน ได้เรียนรู้ในเรื่อง การนั่งสมาธิและการเดินจงกรม ทำให้จิตใจสบาย ผ่อนคลาย และมีความสุข ชอบบทสวดมนต์ที่มีคำแปลภาษาไทยทำให้เข้าใจมากขึ้น และได้ความรู้จากแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุตว่า 1. คนที่อยู่ข้างหน้าเรา คือคนวิเศษของเรา และถ้าเราทำให้เขาเป็นคนวิเศษจริงๆ เราจะเป็น Hero

เป็นธรรมะที่ลึกซึ่งจริงๆ ครับ

  1. เราต้องศรัทธาตัวเอง
  2. ใช้ลมหายใจรักษาตนเอง เราจะเยียวยาตรงไหนให้กำหนดลมหายใจเข้าออก
  3. ทุกครั้งต้องมีสติ เพื่อสร้างปัญญาให้เกิด
  4. ทุกข์มีไว้ให้เห็น ไม่ได้มีไว้ให้เป็น

วรวิทย์ รวีนิภาพงศ์

       วันที่ ๑๖ พ.ค. ๒๕๕๕ "ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคตของ กฟผ." ศ.ดร. ปณิธาน  ลักคุณะประสิทธิ์                     แผ่นดินไหวเป็นภัยธรรมชาติ จะเกิดที่จุดไหนอาจพอรู้ แต่เกิดขึ้นเมื่อไหร่ไม่อาจคาดเดาได้ และผลกระทบต่อสถานที่ อาคารบริเวณนั้น        รวมทั้งสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ดังเช่นประเทศญี่ปุ่น แผ่นดินไหวและสึนามิทำให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เสียหาย อีกทั้งเกิดสภาพแวดล้อมเป็นพิษ         และยังทำให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เกิดเป็นภาพลบของประชาชนทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย                     นโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในปัจจุบันแทบมองไม่เห็นอนาคตอยู่แล้ว ยิ่งเกิดเหตุให้เห็นจากประเทศที่ทั่วโลกยอมรับว่ามีระเบียบที่สุด        อย่างประเทศญี่ปุ่นด้วยแล้ว อนาคตไม่ต้องพูดถึงเลย เกิดยากแน่นอนครับ                    ปัจจุบันคน กฟผ. ส่วนหนึ่ง (รวมทั้งผมด้วย) ก็พยายามใช้ IT ในการหาข้อมูล หาความคิดเห็น หาเพื่อน นั่นคือ Facebook ตั้ง        ประเด็นของนิวเคลียร์ และให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องนิวเคลียร์ ก็มีบุคคลภายนอกตอบมาพอสมควร แต่ก็ยังหาบทสรุปชัดเจนยังไม่ได้                                                    "ทิศทางพลังงานกับการทำงานของ กฟผ."  ไกรสีห์+รวห.                    ท่านไกรสีห์ กล่าวว่า กฟผ.ในอดีต เราจะทำเองทั้งหมด แต่ปัจจุบันจะมี Regulator มาแบ่งงานไปทำ ซึ่งบทบาทของ กฟผ.ต้องมอง        ปัญหาในอนาคตก่อน เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคง ให้ความเชื่อถือต่อต่างประเทศ และภายในประเทศเอง ก็ต้องทำให้ชุมชนไว้ใจ ถ้า        ตามสภาพเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าเติบโตอย่างรวดเร็ว มีความจำเป็นที่จะต้องสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ หรือโรงไฟฟ้าถ่านหิน        ซึ่งเป็นโจทก์ที่ยากมาก เพราะต้องมีการต่อต้านอย่างแน่นอน                    ท่านวิรัช กล่าวว่า ประเทศไทยกำลังพัฒนา มีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นทุกปี แผน PDP ปีสุดท้ายต้องมีกำลังผลิต 50,000 MW แต่        แหล่งผลิตลดลง แถมด้วยการสร้างโรงไฟฟ้าก็ถูกคัดค้าน ปี ๒๕๕๘-๕๙ โรงไฟฟ้าใหม่ไม่มีเข้าเลย ฉะนั้นกำลังผลิตสำรองจะพอไหม ส่วน        เรื่องบางเรื่อง ความจริงกับความเชื่อก็ไม่ได้ไปด้วยกัน หรือทางเดียวกัน เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ ถึง กฟผ.จะสร้างความจริงด้วย        เครื่องวัดต่างๆ ชุมชนก็ไม่เชื่อ ฉะนั้นต้องสร้างความเชื่อถือ เชื่อใจ ให้เกิดกับชุมชนให้ได้                                     "Trendy Technology and Social Medias for EGAT Executive" ดร. วิรัช  ศรเลิศล้ำวาณิช                4 Forces are shaping the future of IT : Access (Mobile) / Behavior (Social) / Context (Information) / Delivery (Cloud)                Key items for every policy to introduce Social Media                    ๑.) What is social media and how will we use it                    ๒.) Reminders on confidential information                    ๓.) Define who is responsible and identify a main point of contact                    ๔.) Responsibility for what is written online                    ๕.) Identifying oneself as an employee of the company                    ๖.) What happens if the policy is violated                ซึ่งผู้นำยุคใหม่ ต้องมีความสามารถ "การเป็นผู้นำ"  และต้องมีความสามารถ "ผลักดันให้เกิดการสร้างนวัตกรรม" เช่น สตฟ จ็อบส์                การสร้างผู้นำยุคใหม่ :    ให้รางวัลคนที่ทำผิดพลาด เพื่อเรียนรู้ ปรับปรุง หาวิธีแก้ไข /                                                 ให้พนักงานเสนอโครงการเอง เมื่อได้รับความเห็นชอบก็เป็นหัวหน้าโครงการ เพื่อเรียนรู้การเป็นผู้นำ สร้างประสบการณ์จริง พัฒนาตนเอง /                                                หลักสูตร Leadership โดยให้ทำงานร่วมกัน ซึ่งจะได้เห็นความเป็นผู้นำจากการทำงานร่วมกัน                                                ผู้นำต้องพัฒนา Vision  Mission  Passion                                                Top-Down Management อาจเหมาะสำหรับองค์กรที่มีผู้นำรุ่นแรก หรือเป็นเจ้าของ เช่น บริษัท SAMSUNG หากเป็นระบบเงินเดือนอาจต้องเป็นแบบ Bottom-Up         วันที่ ๑๗ พ.ค. ๒๕๕๕ "High Performance Organization ที่ กฟผ." คุณสมชาย  ไตรรัตนภิรมย์                HPO : องค์กรชั้นเลิศในทุกๆ ด้าน และมีผลประกอบการเหนือคู่แข่งที่ต่อเนื่องและยาวนาน หัวใจของการเป็น HPO อยู่ที่ "คน"        ปัจจุบัน กฟผ. ก็ดำเนินกลยุทธ์ เพื่อให้ได้เป็น HPO ซึ่งนำเครื่องมือ EGAT SMS QC ISO9000 ISO14000 ISO26000 ISO27000        และนำระบบ SEPA มาเป็นเกณฑ์ประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ โดยมีเป้าประสงค์ ให้เป็นมาตรฐานสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ         และเป็นเครื่องมือในการพัฒนารัฐวิสาหกิจไปสู่ความเป็นเลิศได้อย่างแท้จริง และแบ่งเป็น ๒ ส่วน ส่วนที่ ๑ เป็นกระบวนการ มี ๖ หมวด        ส่วนที่ ๒ เป็นผลลัพธ์ มี ๑ หมวด                                     "นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน กับการทำงานของ กฟผ." ครูบาสุทธินันท์  ปรัชญพฤทธิ์+ดร.เสรี  พงศ์พิศ+รวค.                        ครูบาสุทธินันท์ : อยู่ภาคอีสาน ปลูกต้นไม้ที่รับน้ำน้อยให้มากๆ ซึ่งใบไม้ก็ให้ความยกินได้                                              ข้อมูลส่วนมากปัจจุบันจะมีอยู่ที่ Internet จึงจำเป็นต้องติดตั้ง Wifi เพื่อค้นหาข้อมูลใน Website และ        นำมาทำ การจัดการความรู้  บุคลากรมีชุดความรู้ในตัวเองอยู่                         คนเรามี ๒ หน้าที่ คือ หน้าที่การงาน และหน้าที่ดูแลสังคม  เพราะปัญหาของสังคม เป็นปัญหาของคนไทยทุกคน            "เรียนในห้องเรียน ได้ความรู้  เรียนนอกห้องเรียน ได้ความจริง" ถ้าอยากได้ความรู้และความจริง ก็ต้องเรียนทั้งในห้องและนอกห้อง                        ดร.เสรี : สังคมปัจจุบันเปลี่ยนแปลงเร็ว ชุมชนที่เข้มแข็ง คือ ชุมชนที่เรียนรู้และพึ่งพาตนเองได้        แผนแม่บทชุมชน --> วิสาหกิจเปลี่ยนเป็น Social Enterprise / ใช้กรอบปรัชญาเสรษฐกิจ / กฟผ.รณรงค์การลดใช้พลังงาน                        รวค.: กฟผ. มี ๒ ยุค คือ ยุคที่ ๑ อุตสาหกรรม ซึ่ง กฟผ.สามารถรองรับได้ เพราะเป็น Engineering Base        ยุคที่ ๒ Decline กฟผ.ต้องปรับ Engineering Base เป็น Social Base ซึ่งปัจจุบันนี้ กฟผ.ให้ CSR ชุมชนตรงตามความต้องการหรือไม่        Brand EGAT ติดชาวบ้านหรือยัง  เป็นสิ่งที่ผู้บริหารในอนาคตต้องมีแนวนโยบาย และการดำเนินการที่ชัดเจนและต่อเนื่อง                                                        "การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และเทคนิคการตัดสินใจของผู้บริหารมืออาชีพ" รศ. สุขุม  นวลสกุล                การบริหาร : ไม่ใช้การดำเนินการตามธรรมชาติ ส่วนความขัดแย้ง ควรมี แต่ผู้บริหารต้องเข้าใจการจัดการ การพูด                ความขัดแย้ง : เกิดขึ้นมาจาก ไม่เหมือนกัน ไม่ตรงกัน / อุปสรรค ขัดขวาง พินาศ / ทางเลือก พัฒนา                            แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ ส่วนรวม / ส่วนตัว --> อย่าทำความขัดแย้งส่วนรวมเป็นส่วนตัว                                        ๓ รูปแบบ คือ ระหว่างบุคคล (ต้องกันไว้ดีกว่าแก้) / ระหว่างบุคคลกับองค์การ / ระหว่างหน่วยงาน                                     การตัดสินใจ (เป็นคุณสมบัติที่สำคัญของนักบริหาร และต้องเร็ว) : แม่นกฏหมาย / ลดความเกรงใจ / ไม่โอ้อวด                            องค์ประกอบในการตัดสินใจ --> ข้อมูล, ประสบการณ์, การคาดการณ์, ผลกระทบ, สถานการณ์                            การวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจ ต้อง ถูกต้อง, ถูกใจ, ถูกจังหวะ                การเจรจาต่อรอง : การพูดคุยเพื่อหาข้อตกลงจากความคิด / ผลประโยชน์ที่ต่างกัน                            หลักการเจรจา --> ความเชื่อมั่น / กลัวเสียเปรียบ (ทำให้เข้าใจ, ใช้ปิยวาจา, หาสิ่งจูงใจ, ให้ข้อสรุป)                            การฟังเป็นเสน่ห์ของนักบริหาร   การบริหารเชิงรุก --> ต้องใช้การอธิบาย อย่าหนีปัญหา และ                นักบริหารอย่าตายเพื่อความถูกต้อง (นักอุดมการณ์ต่างหาก ที่ใช่) ต้องอยู่เพื่อทำสิ่งที่ถูกต้องให้สำเร็จ (เมื่อวาน รวห.                ท่านวิรัช เพิ่งจะพูดให้ฟังในความเป็นจริงว่า ความจริงกับความเชื่อ บางเรื่องไม่ได้เดินไปด้วยกัน)         วันที่ ๑๘ พ.ค. ๒๕๕๕ "HR for Non-HR และทุนมนุษย์ของ กฟผ.รองรับประชาคมอาเชียน" ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์                            ผมอยู่กลุ่มที่ ๔ ให้ตอบคำถาม เสนอแนะ ๓ เรื่อง ที่จะปรับปรุงให้ทั้ง ๓ ฝ่าย ทำงานร่วมกันในเรื่อง HR อย่างมี                คุณภาพและประสิทธิภาพ ก็ต้องเอาความรู้จาก ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ เช่น ลิขสิทธิ์ ๑ Model คือ Smart HR                                 Old HR                                    New HR                1.) Routine                                    Strategic                2.) HR Department                        CEO + Other Departments                3.) Training                                   Learning                4.) Expense                                   Investment                5.) Static                                       Change Management                6.) Information                             Knowledge                7.) Stand alone                            Partnership                8.) Efficiency                                Effectiveness                9.) Value                                      Value Added              10.) Command & Control               Respect & Dignity              11.) Micro                                      Macro to Micro              12.) Red Ocean                              Blue Ocean              13.) Liability                                  Assets                            HR ต้องประสานกับ Non-HR และเสนอ CEO เพื่อให้ได้ทุนมนุษย์ที่ถูกต้อง และแรงจูงใจที่ต้องการจริงๆ             (ผู้บริหารอย่านึกไปเอง ต้องหาแนวทาง/วิธีการให้รู้ให้ได้ว่าลูกน้องต้องการอะไร)                                      "บทบาทของ Regulator และ Energy Tax กับการทำงานของ กฟผ." ศ.ดร. ดิเรก  ลาวัณย์ศิริ                            สิ่งที่ กฟผ.ต้องรู้เกี่ยวกับ Regulator คือ พรบ.การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.๒๕๕๐ เพื่อปรับโครงสร้าง            การบริหารกิจการพลังงาน โดยแยก งานนโยบาย / งานกำกับดูแล / การประกอบกิจการพลังงาน ออกจากกัน และให้มี            คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน : กกพ.เพื่อกำกับดูแลกิจการพลังงาน โดยมีโครงสร้างองค์กรที่ชัดเจน และมีพันธกิจ            ว่า : "กำกับดูแลการประกอบกิจการพลังงานให้มีระบบการบริหารจัดการพลังงานให้มีความมั่นคงและเชื่อถือได้ มี            ประสิทธิภาพ เป็นธรรมต่อทั้งผู้ใช้และผู้ประกอบกิจการพลังงาน ตลอดจนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยยึดมั่นต่อการปฏิบัติ            หน้าที่อย่างเที่ยงธรรม และโปร่งใส เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ทั้งในด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม"                            แนวคิด Energy Tax : เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน และปัจจุบันสู่อนาคตกำลังเดินไปสู่ กองทุนพัฒนาไฟฟ้า                    Energy Tax --> กองทุนรอบโรงไฟฟ้า --> กองทุนพัฒนาไฟฟ้า (ม.97 :3)            กองทุนพัฒนาไฟฟ้า จัดตั้งเพื่อเป็นทุนสนับสนุนให้มีการให้บริการไฟฟ้าไปยังท้องถิ่นต่างๆ อย่างทั่วถึง / พัฒนาชุมชนใน            ท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า / ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน ลดสิ่งแวดล้อม                            Regulator กับการทำงานของ กฟผ.: ร่วมกันผลิตไฟฟ้าให้พอเพียงกับความต้องการไฟฟ้า และมีประสิทธิภาพ            / ซื้อไฟฟ้าอย่างเป็นธรรม / จัดการสั่งจ่ายการผลิตไฟฟ้าอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม / มาตรฐานการบริการที่ดี / เชื่อมต่อ            ระบบโครงข่ายพลังงาน ตามข้อกำหนดของพรบ./ ร่วมจัดทำแผน PDP แผนการลงทุน แผนขยายโครงข่ายไฟฟ้า / นำส่ง            เงินเข้ากองทุนพัฒนาไฟฟ้า / ดำเนินการเพื่อรับผิดชอบต่อสังคม                                 จากบุคคล ๑๐๐ คน บุคคลที่น่าสนใจของผม คือ LIONEL MESSI นักฟุตบอลผู้สร้างสรรค์เกมส์        กีฬาฟุตบอลให้มีสีสรรค์  ในเกมส์ ๑ แมตช์ สามารถทำประตูได้ ๕ ประตู ทุกลมหายใจของเขาคือฟุตบอล เขา        เล่นให้ทีมบาเซโลนา และทีมชาติอาเยนตินา ด้วยส่วนสูงเพียง ๕ ฟุต ๗ นิ้ว หรือ ๑๗๐ ซม.เขาเป็นผู้เล่นที่ดีที่สุด        ในปัจจุบันนี้ เพราะเขารัก ทุ่มเท และแสดงออกอย่างเต็มที่ในทุกๆ แมตช์ ที่เขาลงเล่น                         ส่วนคนอื่นๆ ก็เด่นและมีความน่าสนใจ เพราะเขาเหล่านั้นทำด้วยใจ มีความทุ่มเท.......................................................................................................................................................................................         วันที่ ๑๕ พ.ค. ๒๕๕๕ "ประสบการณ์การเรียนรู้ในรุ่น ๒ ของข้าพเจ้ากับการปรับใช้เพื่อการบริหาร กฟผ.ในยุคที่โลกเปลี่ยน" ผวก.                ผวก.กล่าวว่า ผู้นำ กฟผ.ต้องมีความคิดด้านกว้าง ความเชี่ยวชาญด้านลึกต้องน้อยลง          อีกทั้งเราต้องพัฒนาตัวเองให้พร้อมตลอดเวลา เพื่อเป็นต้นทุนเมื่อได้รับโอกาส ก็พร้อมที่จะทำได้ทันที                กฟผ.ขาดการสร้างผู้นำ เนื่องจากโครงสร้าง กฟผ.เป็นแบบ Function ขั้นตอนการพัฒนาจึงช้า        แต่ ณ ปัจจุบัน ผวก.ได้ดำเนินการให้หน่วยงานที่รับผิดชอบจัดทำอัตรากำลังล่วงหน้า ๕ ปี และการรับ        ผู้ปฏิบัติงานใหม่ ให้มีการกำหนดคุณสมบัติที่รับคนเก่งมากขึ้น เรามีส่วนที่จะช่วยองค์กร คือช่วยพัฒนาน้องใหม่        อีกทั้ง ผวก.เน้นปัจจัยด้านบุคคลไว้สูง คือ ต้องช่วยสร้างความเข้าใจผู้มีส่วนได้เสีย  มีขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจ         และต้องเป็นเลิศในกิจการของเรา                การที่จะเป็นผู้นำ นอกจากเราจะต้องมี สมอง  สติปัญญาแล้ว เราก็ต้องมี SMART & HEART คิดถึงส่วนรวมด้วย        ซึ่งองค์กรจะเติบโตแข็งแรงได้ ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญคือมนุษย์  เราต้องพัฒนาการเป็นผู้นำ และการทำงานเป็นทีม                                               "ผู้นำ - วัฒนธรรม - การบริหารการเปลี่ยนแปลง" อ.ประกาย  ชลหาญ               บุคคลในองค์กรมีความสำคัญมาก เพราะทำให้องค์กรมีผลงานออกมา ซึ่งผลงานที่มีออกมาเนื่องจาก        บุคคลนั้นมีความพร้อม และมีแรงจูงใจ ความพร้อมเกิดได้จากตัวบุคคลและผู้บริหารจัดการให้สามารถทำได้        แต่แรงจูงใจ ผู้บริหารห้ามทึกทัก นึกไปเองว่าทีมงานของเราต้องอย่างโน้น อย่างนี้ โดยเด็ดขาด                ๔ บทบาทของการเป็นผู้นำที่ดี ๑.) ต้องหาแนวทางให้ลูกน้องเดิน    ๒.) สร้าง Alignment ให้เกิดขึ้นในองค์กร        ๓.) มีการกระจายอำนาจ     ๔.) ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี                Jack Welch กล่าวว่า "Change before you are forced to change" (ต้องเปลี่ยนตัวเองก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน)                                       "เศรษฐกิจพลังงาน" ศ.ดร. พลายพล  คุ้มทรัพย์                โลกใช้พลังงานประเภทใดบ้าง? --> น้ำมัน  ถ่านหิน  ก๊าซธรรมชาติ  พลังน้ำ  พลังงานหมุนเวียน และนิวเคลียร์        แล้วเกิดอะไรขึ้น หากใช้พลังงานมากเกินไป? --> ก็ทำให้พลังงานหมดโดยเร็ว  เกิดภาวะโลกร้อน  ทำลายสิ่งแวดล้อม        กระทรวงพลังงานได้จัดทำแผนพัฒนาทดแทน ๑๕ ปี พ.ศ. ๒๕๕๑-๒๕๖๕ โดยมีเป้าประสงค์ "เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน        ให้เป็นร้อยละ ๒๐%ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายของประเทศ ในปี ๒๕๖๕" และต้องเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน                กฟผ. ก็เช่นกัน ต้องรับรู้ และช่วยดำเนินการในภาพรวมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และสนับสนุนให้มีการใช้ไฟฟ้าอย่างมี        ประสิทธิภาพ ทั้งๆ ที่ กฟผ. มีภารกิจในการผลิตไฟฟ้า และขายไฟฟ้าให้ได้มากๆ เพื่อผลกำไรที่จะได้รับ โดยสนับสนุนหลอดผอม T5        เครื่องใช้ไฟฟ้าเบอร์ ๕ ฯลฯ ........................................................................................................................................................................................................................             นายไววิทย์  สุขมากผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการภาคเหนือ-ปฏิบัติการ (ช.อปน-ป.)โทร. ๐๔-๗๔๑-๕๑๐๑, ๗๐-๖๘๘๔๑Office ๐-๕๕๒๑-๕๙๙๗  มือถือ ๐๘-๙๒๐๐-๑๔๗๓โทรสาร ๐๔-๗๔๑-๕๑๙๐

นเรนทร์ วราภิรักษ์

วันที่ 30 มี.ค.-23 เม.ย. 55 อ่านหนังสือและวิเคระห์Mind SetMind Set เป็นชื่อหนังสือที่เขียนโดย Dr.Carol S. Dweck นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา เธอได้นำสิ่งที่พบจากงานวิจัย ซึ่งพากเพียรมากว่า 20 ปี มาเขียนเป็นหนังสือเล่มนี้ขึ้น เพื่อเตือนใจพ่อแม่ที่มีลูกเก่งๆว่าความเก่งนั้นอาจจะไม่ใช่สิ่งที่บ่งบอกว่า ในอนาคตเขาจะประสบความสำเร็จในชีวิตการเรียน และการทำงาน    Mind Set ที่ถูกต้องตามกาละต่างหาก คือกุญแจแห่งความสำเร็จของมนุษย์       เธอเฝ้าติดตามเด็กอัจฉริยะ เพื่อดูว่าเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่แล้วเด็กเหล่านี้จะเป็นอย่างไร ประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด  ผลปรากฏว่าเด็กอัจฉริยะส่วนใหญ่ล้มเหลวทั้งชีวิตการเรียน และชีวิตการทำงานเมื่อพวกเขาโตขึ้น  สาเหตุมาจาก Mind Set ของพวกเขานั่นเอง เด็กอัจฉริยะทุกคนต่างถูกคาดหวังจากสังคมว่าพวกเขาจะต้องทำอะไรทุกอย่างได้สำเร็จเสมอ “เพราะคุณคืออัจฉริยะ คุณจึงไม่มีพื้นที่สำหรับความล้มเหลว”   แรงกดดันจากสังคมรอบข้างหล่อหลอมความหวาดกลัวต่อความล้มเหลวให้เกิดขึ้นในใจของเด็กอัจฉริยะเหล่านี้   และในที่สุดพวกเขาก็เลยหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญกับปัญหาที่ยากๆ และมีแนวโน้มว่าจะทำไม่ได้   ตรงกันข้ามกับเด็กที่คะแนนความสามารถไม่ดีนัก เด็กเหล่านี้ไม่ได้ถูกคาดหวังอะไรจากสังคม พวกเขาจึงไม่กลัวความล้มเหลวและพร้อมที่จะลองอยู่ตลอดเวลา  “คราวนี้ไม่สำเร็จ ไม่เป็นไร คราวหน้าขอลองใหม่อีกที”  ซึ่งก็คือ Mind Set ของพวกเขานั่นเอง   ในที่สุดมันก็ทำให้พวกเขาเต็มไปด้วยบทเรียน และประสบการณ์ชีวิตที่ช่วยให้พวกเขาประสบความสำเร็จในชีวิตได้มากกว่าเด็กที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นเด็กอัจฉริยะ  Mind Set คือสิ่งกำหนดพฤติกรรม กรอบวิธีคิด และการตัดสินใจของคนเรา เพราะ Mind Set ที่กลัวความล้มเหลว ทำให้เด็กอัจฉริยะที่ Dr.Carol S. Dweck เฝ้าติดตามเกิดความล้มเหลวในชีวิตอย่างไม่น่าเป็นไปได้   วันที่ 26 เม.ย.-14 พ.ค. 55 อ่านหนังสือและวิเคราะห์MojoMojo คืออะไร....ผมว่าน่าจะเป็นความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้า+ความคิดเชิงบวก+พลังความเชื่อและความศรัทธา  ซึ่งจะทำให้เกิดพลังในการมุ่งมั่นที่จะทำสิ่งใดๆ ให้สำเร็จลุล่วงตามที่ตั้งใจไว้.....เข้าใจเอาเอง    Mojo จะสูง/ต่ำจะขึ้นอยู่กับปัจจัย 4 ด้านคือความเป็นตัวเรา (ตัวตนของตัวเองในความคิดตนเอง)  ความสำเร็จ (ตนเองได้ทำอะไรบ้าง)  ชื่อเสียง (คนอื่นมองตัวคุณและการกระทำของคุณอย่างไร)  และ การยอมรับความจริง (ปล่อยวางซะบ้าง)    Mojo เหมือนกับการเข้าถึงสภาวธรรมไม่แบ่งความรู้สึกภายในหรือภายนอก (เปรียบเทียบไปได้ไง?)    ในหนังสือกล่าวถึง Mojo Paradox (ความขัดแย้งที่อยู่อย่างผสมกลมกลืน)  ซึ่งเปรียบเทียบในทางพุทธศาสนาคนเราต้องการพ้นทุกข์เพื่อการหลุดพ้น  แต่ไม่ได้ปฏิบัติตนให้พ้นทุกข์ ยังคงยึดติดตัวตนและแสวงหาแต่ความสุข    Mojo จะช่วยให้คุณได้เข้าใจในกระบวนที่จะดึงพลังที่ซ่อนเร้นในตัวคุณออกมาเพื่อความสำเร็จที่ความสำเร็จที่คุณคาดหวังไว้.....ใช้อย่างมีปัญญาน๊ะครับTime Magazine100 บุคคลที่มีอิทธิพลต่อชาวโลก  เท่าที่สำรวจดู จะพบว่ามีบุคคลหลากหลายอาชีพที่ได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 100 บุคคลที่มีอิทธิพลต่อชาวโลก   ซึ่งในรายละเอียดจะเป็นผู้ใกล้ชิดหรืออยู่ในวงการได้กล่าวเหตุการณ์/การกระทำของบุคคลเหล่านั้น  ทำให้ไม่ทราบว่าพวกเขาเหล่านั้นจะมีอิทธิพลต่อชาวโลกได้อย่างไร   ทำให้ต้องค้นหารายละเอียดเพิ่มเติมในอาจารย์กู......เกิ้ล   ทำให้ประทับใจในบุคคลเหล่านี้1.       Yani Tseng เกิดเมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2532 เป็นนักกอล์ฟชาวไต้หวัน ปัจจุบันเล่นอยู่ในแอลพีจีเอทัวร์ เธอเป็นผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดที่สามารถคว้าแชมป์เมเจอร์ได้ถึง 3 แชมป์ แชมป์ LPGA หลายรายการและยังเป็นนักกอล์ฟหญิงมือ 1 ของโลก คนปัจจุบัน  (มาแรงคล้าย Tiger Wood, ที่อาจจะทำลายสถิติต่างๆอีกมากมาย   ต้องติดตามดูกันต่อไป)2.       Dr. Robert Grant  ผู้เปลี่ยนแนวคิดและวิธีการวิจัยในการรักษาการแพร่กระจายของเชื้อ HIV   ซึ่งตัวเขาและทีมงานได้แสดงให้เห็นว่าชายชาวเกย์ที่เป็น HIV-Negative สามารถลดการติดเชื้อจากคู่ร่วมสัมพันธ์  โดยการผสมผสานการใช้ยาต่อต้านไวรัสอย่างเหมาะสม  จากเทคนิคนี้เขาช่วยป้องกันการแพร่ของเชื้อ HIV ได้ โดยรวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างชายและหญิงด้วย3.       Osgar Leonard Carl Pistorius เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน  2529 ในประเทศแอฟริกาใต้  เขาเป็นนักวิ่งระยะสั้นที่เคยทำสถิติโลกในระยะวิ่ง 100  200 และ 400 เมตร ได้รับขนานนามว่า “Blade Runner” เขาพิการไม่มีเท้าทั้ง 2 ข้าง เป็นผู้ที่วิ่งได้เร็วที่สุดของนักวิ่งไร้ขา4.       Manal al-Sharif เกิดเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2522 ประเทศซาอุดิอาระเบีย ผู้เป็นจุดเริ่มต้นในการเรียกร้องสิทธิสตรีในการขับรถยนต์  เธอถูกจับและปล่อยตัวในวันที่ 21 พ.ค. 2554 และถูกปล่อยตัวในอีก 6 ชม.ต่อมา  แต่ข่าวของเธอถูกนำลง YouTube และ Facebook  โดยเธอให้เหตุผลว่าเป็นการเรียกร้องสิทธิของผู้หญิงในประเทศนี้   ซึ่งในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินใครจะเป็นผู้ขับรถส่งผู้ป่วยอาการหัวใจวายไปโรงพยาบาล5.       Maryam Durani  ในจังหวัดกันดาฮา ที่เต็มไปด้วยภยันอันตรายและชาวแอฟกันนิสถานที่อนุรักษ์นิยมจัด  เธอได้กล่าวถึงสิทธิของเด็กและสตรี เธอเป็นสมาชิกสภาจังหวัดกันดาฮา เป็นผู้อำนวยการขององค์กรไม่แสวงหาผลประโยชน์ของสมาคมสตรีกันดีจา คูบรา (Khadija Kubra)  และเป็นเจ้าของและผู้จัดการสถานีวิทยุท้องถิ่นที่กล่าวถึงเรื่องของสตรีโดยเฉพาะ  เธอเป็นทั้งผู้นาและเป็นต้นแบบให้กับสตรีชาวแอฟกันนิสถาน  เธอรอดชีวิตจากการลอบทำร้ายหลายครั้งรวมถึงการระเบิดพลีชีพในปี 2552 ที่เธอได้รับบาดเจ็บสาหัส  และเธอได้รับการประกาศเกียรติคุณจาก Secretary of State’s International Women of Courage ในเดือนมี.ค. 2555  

นายนเรนทร์ วราภิรักษ์

16 มี.ค. 55 สถานที่ กฟผ. ได้มุมมองเพิ่มขึ้นในด้านวิธีการคิด ซึ่งจะต้องมีการคิดที่เป็นแบบ Instinct & Rational Thinking เพื่อรองรับ AEC 2015 และมองโอกาสในการทำธุรกิจในประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ต้องเตรียมความพร้อมในเรื่องขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ภาษา และการสื่อสาร
ในเรื่องของ Mind Map ที่เน้นขบวนการคิดอย่างเป็นระบบ การสัญลักษณ์และสีเข้ามาช่วยในการจำ มีวิธีการคิดนอกกรอบ เช่นการลงจุดบนกระดาษขาวที่สามารถใช้ปากกามากกว่า 1 ด้าม ใช้มือทั้ง 2 ข้างในการลงจุดบนกระดาษ ในเรื่องของภาวะผู้นำที่ไม่เกิดขึ้นในวันเดียว แต่เป็นผลจากการพัฒนาการอย่างต่อเนื่องโดยกระบวนการของการพัฒนาจะต้องประยุกต์นำสหวิทยาการมาใช้อย่างเหมาะสมกับเวลาและสถานการณ์ การเรียนรู้จะต้องครบทั้ง 3 องค์ประกอบ 1. Knowledge 2. Skill 3. Ability
ชีวิตการทำงานไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาย แต่ละสถานการณ์ต้องรับมืออย่างมีสติ

17 – 26 มีนาคม 2555 เปรียบเทียบหนังสือ HR พันธุ์แท้ และ 8K’s, 5K’s ความเหมือน เป็นหนังสือที่สรุปให้เห็นว่าทรัพยากรมนุษย์ เป็นสิ่งที่มีค่ามากที่สุดในองค์กร องค์กรใดที่ลงทุนในการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ได้ดี จะทำให้สามารถแข่งขันและอยู่ได้อย่างยั่งยืนในสังคม ความต่าง หนังสือ 8K’s, 5K’s เป็นการกล่าวในทางทฤษฎีทางต้นทุนต่างๆ ที่ต้องมี เพื่อใช้ในการพัฒนามนุษย์ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ AEC 2015 หนังสือ HR พันธุ์แท้ เป็นการนำประวัติ (เป็นส่วนใหญ่) ของคุณพารณ มาเล่าสู่กัน ทำให้เห็ฯแนวการคิดและการลงมือปฏิบัติ เป็นจุดเริ่มให้ผู้อ่านได้มีความคิดถึงวิธีการเริ่มต้น การดำเนินการ และผลลัพธ์ที่ได้

27-29 มี.ค. 2555 กิจกรรม CSR วันที่ 27 มี.ค. 55 เป็นการจัด Panel Discussion ในเรื่อง การจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อชุมชน เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเสนอแนวทางดำเนินการเพื่อสร้างความมั่งคั่งและยั่งยืนให้กับชุมชน วันที่ 28 มี.ค. 55 เป็นการเสวนาหัวข้อ “เรียนรู้” การจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมในชุมชน สร้างความเข้มแข็งต่อสู่ภัยธรรมชาติ และ สร้างโมเดล “ชุมชนรู้จริงเรื่องอาเซียนเสรี” ทำให้ได้รับประสบการณ์ในการเสวนาจริงร่วมกับชุมชนบ้านสะเดา ทำให้ทราบถึงปัญหาของชุมชนที่ยังต้องการให้ทาง กฟผ. ช่วยเหลือ โดยเฉพาะเรื่องน้ำเพื่อการเกษตร มองเห็นภาพว่าหากชุมชนรอบโรงไฟฟ้า/เขื่อนยังไม่ยอมรับ การสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ๆ โดยไม่มีการวางระบบการจัดการกับชุมชนรอบโรงไฟฟ้าเพื่อสร้างความมั่งคั่งและยั่งยืน ก็จะเป็นปัญหาในการยอมรับของชุมชนเป็นปัญหากระทบต่อโครงอื่นๆในอนาคตอีก น่าจะมีการวางระบบการจัดการชุมชนรอบเพื่อสร้างความมั่งคั่งและยั่งยืนพร้อมกับโครงการโรงไฟฟ้าใหม่ เพื่อให้เห็นว่าชุมชนที่อยู่รอบโครงการโรงไฟฟ้าใหม่ มีความเป็นอยู่ที่ดีและช่วยเป็นกระบอกเสียงเผยแพร่ให้กับชุมชนอื่นๆ ที่อยู่รอบๆโครงการโรงไฟฟ้าใหม่ของ กฟผ. วันที่ 29 มี.ค. 55 เป็นการเสวนาหัวข้อ “การเตรียมความพร้อมของชุมชนกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ” ร่วมกับคณะผู้นำชุมชนท่าน้ำซุกโดน ทำให้ทราบว่าทาง SCG มีโครงการ เพื่อให้พนักงานในเครือ SCG สามารถเขียนโครงการปรับปรุง/พัฒนาชุมชน โดยมีรายละเอียดของการดำเนินการโครงการและค่าใช้จ่ายในแต่ละขั้นตอน เป็นกิจกรรมที่ดีที่ทาง กฟผ. น่าจะสนับสนุนให้ทางชุมชนนำเสนิโครงการเพื่อพัฒนาชุมชนโดยใช้เงินจากกองทุนที่ทางโรงไฟฟ้าจ่ายสมทบในทุกปี

วันที่ 30 มี.ค.-23 เม.ย. 55 อ่านหนังสือและวิเคระห์ Mind Set Mind Set เป็นชื่อหนังสือที่เขียนโดย Dr.Carol S. Dweck นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา เธอได้นำสิ่งที่พบจากงานวิจัย ซึ่งพากเพียรมากว่า 20 ปี มาเขียนเป็นหนังสือเล่มนี้ขึ้น เพื่อเตือนใจพ่อแม่ที่มีลูกเก่งๆว่าความเก่งนั้นอาจจะไม่ใช่สิ่งที่บ่งบอกว่า ในอนาคตเขาจะประสบความสำเร็จในชีวิตการเรียน และการทำงาน Mind Set ที่ถูกต้องตามกาละต่างหาก คือกุญแจแห่งความสำเร็จของมนุษย์
เธอเฝ้าติดตามเด็กอัจฉริยะ เพื่อดูว่าเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่แล้วเด็กเหล่านี้จะเป็นอย่างไร ประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด ผลปรากฏว่าเด็กอัจฉริยะส่วนใหญ่ล้มเหลวทั้งชีวิตการเรียน และชีวิตการทำงานเมื่อพวกเขาโตขึ้น สาเหตุมาจาก Mind Set ของพวกเขานั่นเอง เด็กอัจฉริยะทุกคนต่างถูกคาดหวังจากสังคมว่าพวกเขาจะต้องทำอะไรทุกอย่างได้สำเร็จเสมอ “เพราะคุณคืออัจฉริยะ คุณจึงไม่มีพื้นที่สำหรับความล้มเหลว” แรงกดดันจากสังคมรอบข้างหล่อหลอมความหวาดกลัวต่อความล้มเหลวให้เกิดขึ้นในใจของเด็กอัจฉริยะเหล่านี้ และในที่สุดพวกเขาก็เลยหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญกับปัญหาที่ยากๆ และมีแนวโน้มว่าจะทำไม่ได้ ตรงกันข้ามกับเด็กที่คะแนนความสามารถไม่ดีนัก เด็กเหล่านี้ไม่ได้ถูกคาดหวังอะไรจากสังคม พวกเขาจึงไม่กลัวความล้มเหลวและพร้อมที่จะลองอยู่ตลอดเวลา “คราวนี้ไม่สำเร็จ ไม่เป็นไร คราวหน้าขอลองใหม่อีกที” ซึ่งก็คือ Mind Set ของพวกเขานั่นเอง ในที่สุดมันก็ทำให้พวกเขาเต็มไปด้วยบทเรียน และประสบการณ์ชีวิตที่ช่วยให้พวกเขาประสบความสำเร็จในชีวิตได้มากกว่าเด็กที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นเด็กอัจฉริยะ
Mind Set คือสิ่งกำหนดพฤติกรรม กรอบวิธีคิด และการตัดสินใจของคนเรา เพราะ Mind Set ที่กลัวความล้มเหลว ทำให้เด็กอัจฉริยะที่ Dr.Carol S. Dweck เฝ้าติดตามเกิดความล้มเหลวในชีวิตอย่างไม่น่าเป็นไปได้

วันที่ 25 เม.ย. 55 บุคลิกภาพ- Blue Ocean กับ กฟผ. Presentation คือ การเล่าเรื่องตามโครงร่างการนำเสนอ โดยมีหลักการใช้ Power of 3 (ทฤษฎีสามเหลี่ยม) เป็นหลักการที่ให้มอง 1. เนื้อเรื่อง 2. ประเด็น 3. บทสรุป และในช่วงของการนำเสนอต้องอาศัยน้ำหนักและจังหวะของการออกเสียง เพื่อโน้มน้าวให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกคล้อยตาม

วันที่ 26 เม.ย.-14 พ.ค. 55 อ่านหนังสือและวิเคราะห์ Mojo Mojo คืออะไร....ผมว่าน่าจะเป็นความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้า+ความคิดเชิงบวก+พลังความเชื่อและความศรัทธา ซึ่งจะทำให้เกิดพลังในการมุ่งมั่นที่จะทำสิ่งใดๆ ให้สำเร็จลุล่วงตามที่ตั้งใจไว้.....เข้าใจเอาเอง Mojo จะสูง/ต่ำจะขึ้นอยู่กับปัจจัย 4 ด้านคือความเป็นตัวเรา (ตัวตนของตัวเองในความคิดตนเอง) ความสำเร็จ (ตนเองได้ทำอะไรบ้าง) ชื่อเสียง (คนอื่นมองตัวคุณและการกระทำของคุณอย่างไร) และ การยอมรับความจริง (ปล่อยวางซะบ้าง) Mojo เหมือนกับการเข้าถึงสภาวธรรมไม่แบ่งความรู้สึกภายในหรือภายนอก (เปรียบเทียบไปได้ไง?) ในหนังสือกล่าวถึง Mojo Paradox (ความขัดแย้งที่อยู่อย่างผสมกลมกลืน) ซึ่งเปรียบเทียบในทางพุทธศาสนาคนเราต้องการพ้นทุกข์เพื่อการหลุดพ้น แต่ไม่ได้ปฏิบัติตนให้พ้นทุกข์ ยังคงยึดติดตัวตนและแสวงหาแต่ความสุข Mojo จะช่วยให้คุณได้เข้าใจในกระบวนที่จะดึงพลังที่ซ่อนเร้นในตัวคุณออกมาเพื่อความสำเร็จที่ความสำเร็จที่คุณคาดหวังไว้.....ใช้อย่างมีปัญญาน๊ะครับ Time Magazine 100 บุคคลที่มีอิทธิพลต่อชาวโลก เท่าที่สำรวจดู จะพบว่ามีบุคคลหลากหลายอาชีพที่ได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 100 บุคคลที่มีอิทธิพลต่อชาวโลก ซึ่งในรายละเอียดจะเป็นผู้ใกล้ชิดหรืออยู่ในวงการได้กล่าวเหตุการณ์/การกระทำของบุคคลเหล่านั้น ทำให้ไม่ทราบว่าพวกเขาเหล่านั้นจะมีอิทธิพลต่อชาวโลกได้อย่างไร ทำให้ต้องค้นหารายละเอียดเพิ่มเติมในอาจารย์กู......เกิ้ล ทำให้ประทับใจในบุคคลเหล่านี้ 1. Yani Tseng เกิดเมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2532 เป็นนักกอล์ฟชาวไต้หวัน ปัจจุบันเล่นอยู่ในแอลพีจีเอทัวร์ เธอเป็นผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดที่สามารถคว้าแชมป์เมเจอร์ได้ถึง 3 แชมป์ แชมป์ LPGA หลายรายการและยังเป็นนักกอล์ฟหญิงมือ 1 ของโลก คนปัจจุบัน (มาแรงคล้าย Tiger Wood, ที่อาจจะทำลายสถิติต่างๆอีกมากมาย ต้องติดตามดูกันต่อไป) 2. Dr. Robert Grant ผู้เปลี่ยนแนวคิดและวิธีการวิจัยในการรักษาการแพร่กระจายของเชื้อ HIV ซึ่งตัวเขาและทีมงานได้แสดงให้เห็นว่าชายชาวเกย์ที่เป็น HIV-Negative สามารถลดการติดเชื้อจากคู่ร่วมสัมพันธ์ โดยการผสมผสานการใช้ยาต่อต้านไวรัสอย่างเหมาะสม จากเทคนิคนี้เขาช่วยป้องกันการแพร่ของเชื้อ HIV ได้ โดยรวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างชายและหญิงด้วย 3. Osgar Leonard Carl Pistorius เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2529 ในประเทศแอฟริกาใต้ เขาเป็นนักวิ่งระยะสั้นที่เคยทำสถิติโลกในระยะวิ่ง 100 200 และ 400 เมตร ได้รับขนานนามว่า “Blade Runner” เขาพิการไม่มีเท้าทั้ง 2 ข้าง เป็นผู้ที่วิ่งได้เร็วที่สุดของนักวิ่งไร้ขา 4. Manal al-Sharif เกิดเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2522 ประเทศซาอุดิอาระเบีย ผู้เป็นจุดเริ่มต้นในการเรียกร้องสิทธิสตรีในการขับรถยนต์ เธอถูกจับและปล่อยตัวในวันที่ 21 พ.ค. 2554 และถูกปล่อยตัวในอีก 6 ชม.ต่อมา แต่ข่าวของเธอที่ถูกนำลง YouTube และ Facebook เธอให้เหตุผลว่าเป็นการเรียกร้องสิทธิของผู้หญิงในประเทศนี้ ซึ่งในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินใครจะเป็นผู้ขับรถส่งผู้ป่วยอาการหัวใจวายไปโรงพยาบาล 5. Maryam Durani ในจังหวัดกันดาฮา ที่เต็มไปด้วยภยันอันตรายและชาวแอฟกันนิสถานที่อนุรักษ์นิยม เธอได้กล่าวถึงสิทธิของเด็กและสตรี เธอเป็นสมาชิกสภาจังหวัดกันดาฮา เป็นผู้อำนวยการขององค์กรไม่แสวงหาผลประโยชน์ของสมาคมสตรีกันดีจา คูบรา (Khadija Kubra) และเป็นเจ้าของและผู้จัดการสถานีวิทยุท้องถิ่นที่กล่าวถึงเรื่องของสตรี เธอเป็นทั้งผู้นาและเป็นต้นแบบให้กับสตรีชาวแอฟกันนิสถาน เธอรอดชีวิตจากการลอบทำร้ายหลายครั้งรวมถึงการระเบิดพลีชีพในปี 2552 ที่เธอได้รับบาดเจ็บสาหัส เธอได้รับการประกาศเกียรติคุณจาก Secretary of State’s International Women of Courage ในเดือนมี.ค. 2555

วันที่ 15 พ.ค. 55 ผู้นำ+วัฒนธรรมองค์กร+บริหารเปลี่ยนแปลง-ทิศทางเศรษฐกิจไทย-เศรษฐศาสตร์พลังงาน ท่าน ผวก. ให้เราต้องมีพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้มีความรู้ในหลายๆด้าน เป็นต้นทุนความพร้อมเมื่อต้องก้าวเป็นผู้บริหารในอนาคตของ กฟผ. สามารถจะมองเห็นภาพของผลกระทบในทุกด้าน (Stakeholder) ที่จะเกิดจากการตัดสินใจและเตรียมแนวทางแก้ไข เพื่อลดผลกระทบดังกล่าวให้เหลือน้อยที่สุด ในการเตรียมการรับการเปลี่ยนแปลง เรื่องที่สำคัญคือมีระบบการพัฒนาผู้บริหารให้มีความรู้ ความสามารถ(ทางกว้าง) ที่เหมาะสมในแต่ละระดับเพื่อการตัดสินใจ มีระบบการพัฒนาความรู้ให้เหมาะสมกับภารกิจแต่ละหน่วยงาน มีระบบการวัดผลและการให้รางวัลที่เหมาะสม มีระบบการสื่อสาร 2 ทางอย่างทั่วถึงทั้งองค์กร แต่ที่จะทำให้องค์กรอยู่รอดต้องอาศัย Leadership ของผู้บริหารแต่ละท่าน (ระบบการทำงานแบบคณะทำงาน. จะเป็นการสร้าง Leadership ให้ผู้บริหารแต่ละระดับหรือไม่........ผมไม่แน่ใจ)
ผู้บริหารที่เก่งต้องรู้เรื่องคน และ ตัวเลข ต้องมองเห็นทิศทางเศรษฐกิจที่กำลังเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ต้องสร้างกระบวนทัศน์ให้ทุกคนได้รับทราบและสื่อสารได้อย่างทั่วถึง ต้องสร้างความรู้สึกร่วมของคนในองค์กรเพื่อผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลง พลังงานกับเศรษฐกิจไทย ที่น่าเป็นห่วงคือเรื่องราคาน้ำมันในตลาดโลกซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นตลอดเวลา จำเป็นที่ต้องมองหาแหล่งพลังงานใหม่รองรับ การใช้พลังงานจากฟอสซิลมากย่อมส่งผลต่อสภาวะการเกิดก๊าซเรือนกระจกและภาวะโลกร้อน ขณะนี้เราต้องพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศไม่ว่าจะนำเข้าเชื้อเพลิงหรือกระแสไฟฟ้า เราอาจจำเป็นต้องพัฒนาการใช้พลังงานหมุนเวียนมากขึ้น (ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน.....น่าจะสนับสนุนงานวิจัยเพื่อนำแหล่งพลังงานที่ไม่วันหมด คือ น้ำ ด้วยการแยกน้ำด้วยกระแสไฟฟ้า ซึ่งกระแสไฟฟ้าจะมาจากไฟฟ้าจากเขื่อน หรือ พลังงานแสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้ามาใช้แยกน้ำ เพื่อดูความคุ้มค่าของโครงการ ซึ่งในอนาคตได้ใช้แน่หากราคาเชื้อเพลิงสูงมาก/เกิดขาดแคลน)

วันที่ 16 พ.ค. 55 แผ่นดินไหว-ทิศทางพลังงาน-Trendy Technology กล่าวถึงการใช้เชื้อเพลิงประเภทต่างๆ โดยที่ประเทศไทยมีสัดส่วนเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า ก๊าซธรรมชาติ 67% ถ่านหิน 19% พลังงานหมุนเวียน (พลังน้ำในประเทศและต่างประเทศ+อื่น) 13% น้ำมันเตา 1% น้ำมันดีเซล 0.1% รับซื้อไฟฟ้าต่างประเทศ 0.1% จำเป็นที่จะต่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ ประกอบกับเชื่อเพลิงด้านก๊าซธรรมชาติในปัจจุบันกำลังจะหมดไป โรงไฟฟ้านิวเคลียจึงเป็นแนวทางที่จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ซึ่งในปัจจุบันโรงไฟฟ้านิวเคลียจะใช้เตาปฏิกรณ์แบบ BWR และ PWR รวมถึงการออกแบบทางด้านความปลอดภัยจากการแผ่รังสี ซึ่งในขั้นตอนสุดท้ายคือการปิดเตาปฏิกรณ์ (เลิกใช้งาน) สำหรับกรณีโรงไฟฟ้านิวเคลียฟูกุชิมา ไดอิชิ เกิดปัญหาจากระบบน้ำหล่อเย็นฉุกเฉินด้วยแบตเตอรีและเครื่องดีเซลชำรุดเสียหายคลื่นสึนามิพัดทำลาย จากเหตุการณ์ครั้งนี้....จำเป็นต้องปรับปรุงมาตรการความปลอดภัยใหม่ สำหรับการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทยมีมาหลายครั้ง ที่รุนแรงที่สุดวัดได้เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 47 ขนาด 9.0 ริตเตอร์ ศูนย์กลางแผ่นดินไหวที่สุมาตรา รับรู้แรงสั่นสะเทือนได้ที่ภาคใต้และภาคกลางของประเทศไทย การที่แผ่นดินไหวจะอันตรายมากน้อยแค่ไหน เราจำเป็นที่จะต้องมีระบบการพยากรณ์เพื่อวัด ติดตามพฤติกรรมและแปรผลของสั่นไหวอย่างแม่นยำ เพื่อผ่อนหนักเป็นเบาและลดการสูญเสียลงให้เหลือน้อยที่สุด ทิศทางพลังงานของ กฟผ. ในอนาคต เราจำเป็นต้องเตรียมพร้อมด้านต่างๆ ต้องตอบโจทย์ของเราทั้งใน ด้านทิศทางนโยบายรัฐบาล-มีไฟฟ้ใช้อย่างเพียงพอและมีความมั่นคงของระบบไฟฟ้า ด้านการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม ด้านการใช้พลังงานหมุนเวียน อีก 10-15 ปีข้างหน้าสัดส่วนเป็น 25% ด้านการประหยัดพลังงาน/ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้านการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ที่ได้รับการต่อต้านจะทำอยางไร ปัจจุบันเรามองตัวเราเป็นด้าน Supply Side Management คือมุ่งสร้างดรงไฟฟ้าใหม่ตามความต้องการ แต่แจริงแล้วเราก็ต้องมองด้าน Demand Side Management ควบคู่ไปด้วย กฟผ. ต้องบริหารความจริง และความเชื่อ ต้องให้ประชาชนได้ตระหนักและเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ของ กฟผ. ด้วยความจริงใจ มองผลประโยชน์และความสุขของประชาชนเป็นหลัก

วันที่ 17 พ.ค. 55 Panel Discussion นวัตกรรมสังคม-HPO จาก Panel Discussion ผมได้ข้อสรุปว่าการที่องค์การมุ่งสู่การเป็น HPO นั้น เราจำเป็นต้องพัฒนาคน (ซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร) ให้มีความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรมและจริยธรรม ซึ่งการพัฒนาคนต้องพัฒนาทั้ง 4 ด้าน เพื่อทำคนให้เต็มคน คือ1. สติ ปัญญา (IQ, EQ, PQ) 2. วุฒิภาวอารมณ์ ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น 3. สุขภาพร่างกายต้องพร้อม 4. จิตวิญญาณ (Spirit) วัฒนธรรมขององค์กรจำเป็นที่จะต้องสร้าง Trust ให้เกิดขึ้นในทุกระดับชั้นและสามารถเชื่อมโยงให้ทุกคนสามารถทำงานร่วมมือกัน ได้อย่างมีความสุข (ปัจจุบันเราใช้ตัวชี้วัด KPI ต่างๆ เน้นวัดผลสำเร็จของตัวบุคคลเป็นส่วนมาก ไม่ค่อยมีการวัดความสำเร็จของการทีมงานเป็นทีม.....ผลของการ Synergy)
ส่วนในเรื่อง นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน เรียนรู้ว่าคนเราจะมีการเรียนรู้ไปตลอดชีวิต สามารถนำความรู้ของแต่ละคนมาจัดหมวดหมู่ เพื่อการบริหารจัดการองค์ความรู้ ต้องมีระบบ IT ที่ดีงานต่อการเข้าถึง องค์กรต้องส่งเสริมให้มีการคิดใหม่ ทำใหม่ (มองนอกกรอบบ้าง) หน้าที่ของคนเรามี 2 ประการ 1. หน้าที่การงาน 2. หน้าที่ต่อสังคม (ที่จำเป็นปลูกฝังลงในความคิดของคนในองค์กร) ในยุคสมัยของ Global Network ข้อมูล ข่าวสารมีมากมาย เราต้องวิเคราะห์ความทันสมัยและความถูกต้องของข้อมูล แปลความหมายของความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นและเตรียมความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ สังคมในปัจจุบันเริ่มเป็นสังคมเล็กลง ต้องการมีอิสระมากขึ้น ใช้โทรศัพท์สื่อสารแทนการพบปะสนทนา การที่จะให้สังคมอยู่รอดจำเป็นต้องปรับรูปแบบของสังคมให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ พึ่งพาซึ่งกันและกัน เรียนรู้ที่จะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าและอย่างยั่งยืน สำหรับแนวทางดำเนินการของ กฟผ. ต้องเปลี่ยนภาพการมองจาก Engineering Base มาเป็น Social Base มากขึ้น ต้องเน้นงานโครงการใหม่ๆ ให้สามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างดี มั่นคงและยั่งยืน

วันที่ 18 พ.ค. 55 HR for Non HR-Regulator+Energy Tax-บริหารขัดแย้ง+เจรจาต่อรอง ในปัจจุบันแนวคิดเกี่ยวกับ HR ในแบบ Silo/Function นั้น จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนใหม่มาเป็น Smart HR นั่นคือต้องเปลี่ยนแนวคิดและบทบาทของ HR ใหม่ และต้องให้ส่วนที่เป็น Non-HR (Line Function) ก็ต้องมีบทบาทเสริมการทำงานของ CEO และ HR ด้วย ในการดำเนินงานขององค์กรให้ประสบความสำเร็จจำเป็นต้องมีทุนด้านต่างๆ ที่ดี นั่นคือต้องพัฒนาทุนตามแนวทางหนังสือของ ดร.จิระ ในเรื่อง 8K’s+5K’s การดำเนินงานด้านกิจการพลังงานได้มีการออก พรบ. เพื่อให้มีการจัดตั้งองค์กร คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ขึ้นเพื่อให้มีการดูแลการด้านพลังงานอย่างพอเพียง มีความมั่นคง เป็นธรรมต่อผู้ใช้และส่งเสริมให้การประกอบกิจการพลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทาง กกพ. ได้กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการอนุญาตการประกอบกิจการพลังงาน โดยเป็นไปตามมาตรา 40 ของ พรบ. ประกอบกิจการพลังงาน สำหรับ Energy Tax ทาง กระทรวงพลังงานได้มีแนวคิดที่จะนำเงินจากค่ากระแสไฟฟ้ามาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของชุมชนที่อยู่รอบโรงไฟฟ้า ซึ่งต่อมาได้มีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า และให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้า นำส่งเงินเข้า กองทุนพัฒนาไฟฟ้า ตามอัตราที่กำหนดใน พรบ. ประกอบกิจการพลังงาน ปี 2550 ในช่วงเย็นเรื่องการบริหารความขัดแย้ง (ฮาลูกเดียว) ความขัดแย้งคืออะไร – ความไม่เหมือนกัน ไม่ตรงกัน ซึ่งประเภทของความขัดแย้ง 1. ระหว่างบุคคลกับบุคคล 2. ระหว่างบุคคลกับองค์กร 3, ระหว่างองค์กรกับองค์กร ซึ่งระดับของความขัดแย้งมีทั้งส่วนตัวหรือส่วนรวม ส่งผลให้เกิดการขัดขวางหรือร่วมมือ ปัจจัยความขัดแย้งระหว่างบุคคล มาจาก อิจฉาริษยา เอารัดเอาเปรียบ ความขัดแย้งระหว่างบุคคลกับองค์กร มาจาก ไม่เข้าใจ ไม่มีการอธิบาย และความขัดแย้งระหว่างองค์กรกับองค์กร มาจาก ไม่เข้าใจบทบาท หลงหน่วยงาน การตัดสินใจลดความขัดแย้งต้องทำให้ถูกต้อง ถูกใจและถูกจังหวะ

วันอังคารที่ 29 พ.ค. 55 ณ เสถียรธรรมสถาน ได้เดินทางไปที่เสถียรธรรมสถาน เป็นครั้งแรกที่ได้ไป ณ สถานที่แห่งนี้ บรรยายกาศ ร่มรื่น เงียบสงบ เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม ได้เรียนรู้การปรับสมดุลของลมหายใจกับการเคลื่อนไหว (น่าจะเป็นหลักการเดียวกับการรำไทเก๊ก....ที่ใช้ลมหายใจกับการเคลื่อนไหวปรับสมดุลหยิน-หยาง.....คาดเดาครับ) ช่วงเช้าได้ร่วมกับน้องๆที่มาอบรมหลักสูตร "3D" ดี ดี๊ ดี งดเหล้า บุหรี่ทั่วไทย ซี่งเป็นโครงการของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ช่วงบ่ายได้ปฏิบัติการเดินจงกรมเพื่อเจริญสติ ให้มีสติตลอดเวลา เป็นการช่วยผ่อนคลายได้แบบหนึ่ง ซึ่งจะปรับใช้ในช่วงการทำงานที่มีความเครียดได้โดยหยุดทำงาน และตั้งสติเดินจงกรมไปห้องน้ำก็น่าจะได้..น๊ะครับ

วันที่ 30 พ.ค. 55 People Management+Coaching-เศรษฐกิจโลก AEC ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ 1. นโยบายรัฐบาล 2. ทิศทางเศรษฐกิจโลก 3. ทิศทางประชาคมเศรษฐกิจ AEC มองนโยบายรัฐบาลต่อเศรษฐกิจไทยในอนาคต 1. มีการเพิ่มรายได้กลุ่มรายต่ำ ช่วยปรับเศรษฐกิจในชนบทดีขึ้น แต่ผลกระทบใหญ่คือทำให้เศรษฐกิจที่ต้องพึ่งพาแรงงานมีต้นทุนสูง ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว แรงงานราคาถูกย้ายไปที่อื่น 2. สนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศ สามารถรองรับแรงงานราคาถูก 3. ไม่มีการลงทุนในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ 4. มีงานก่อสร้างเส้นทางคมนาคมอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันยุโรโซนมีปัญหาจากนโยบายประชานิยมที่ใช้งบประมาณให้ประโยชน์คนมากชึ้น ทำให้คนขี้เกียจขึ้น ไม่เกิด Productivity รัฐเองประสบปัญหาเรื่องเงินหมุนเวียนต้องกู้ยืมเงินรับภาระดอกเบี้ย กระทบในหลายประเทศของยุโรป ต้องจับตาติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
สำหรับเศรษฐกิจอาเซียน AEC ประเทศไทยต้องเตรียมการรองรับ เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการขายสินค้าในอาเซียน เนื่องจากจีนต้องการขนส่งสินค้าผ่านไทยไปยังกลุ่มประเทศในยุโรป ในปี ค.ศ.2015 จะมีการเปิดเขตการค้าเสรี ไม่มีกำแพงภาษี ซึ่งจะส่งผลต่อสินค้าจากภายนอกบางรายการมีราคาต่ำกว่าภายในประเทศ เช่นราคาบุหรี่นอกจะถูกกว่าบุหรี่ของไทย มีเสรีในการลงทุนซึ่งอาจส่งผลต่อการแก้กฎหมายการคุ้มครองและการถือครองสิทธิ์ ระบบการเงิน คนต่างชาติอาจถือครอง อาจมีการทำ Cross Link ซื้อหุ้นซึ่งกันและกัน และอาจเกิดการระดมทุนข้ามประเทศผ่านทางตลาดหุ้นได้ ฟังดูแล้ว.....ก็เป็นทั้งโอกาสและวิกฤต ขึ่นอยู่กับการวิเคราะห์สถานการณ์ การบริหารจัดการ เพื่อเตรียมรองรับปัญหาและโอกาสเหล่านี้อย่างไร ทิศทางพลังงานไทยยังคงต้องพึ่งพา Fossil Energy & Natural Gas เป็นหลัก พลังงานนิวเคลียยังคงถูกต่อต้านจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว เกิดคลื่น Tsunami ทำความเสียหายต่อระบบน้ำหล่อเย็นของโรงไฟฟ้าฟูกูชิมา ไดอิชิ ทำให้เตาปฏิกรณ์มีการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสีในระดับสูง ในเรื่องของก๊าซธรรมชาติ ทางญี่ปุ่นและจีนได้กว้านซื้อในอีก 10 ปีข้างหน้าเรียบร้อยแล้ว ไทยจำเป็นต้องเริ่มนำเข้า LNG มาใช้ภายในประเทศ ซึ่งจะส่งผลต่อราคาค่ากระแสไฟฟ้าในอนาคต ประเทศไทยต้องปรับโครงสร้างพลังงาน 3 ทางคือ 1. เพิ่มสัดส่วนพลังงานอื่นทดแทนพลังาน Fossil 2. เน้นประสิทธิภาพการใช้พลังงานโดยควรลดการใช้พลังงานไฟฟ้าลง 25% ในปี 2573 3. Integration ต้องพยายามสร้างให้ไทยเป็นศูนย์การของแหล่งพลังงานในภูมิภาคอาเซียนนี้
สำหรับผมมองว่าพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดและมีไม่หมดสิ้นคือ H2 ซึ่งได้จาการแยกน้าด้วยกระแสไฟฟ้า ซึ่งไฟฟ้าอาจมาจาก แสงอาทิตย์หรือจากเขื่อนก็ได้ น่าจะเร่งทำวิจัยรองรับในอนาคตกรณีพลังงานขาดแคลน

หลักสูตรแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมของ กฟผ 27 มี.ค.2555 ปาฐกถาพิเศษ วิสียทัศน์กาญจนบุรีกับการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง โดย คุณพงศธร สัจจชลพันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี

      จ.กาญจนบุรี แบ่งเป็น 3 โซน คือ โซนอนุรักษ์ โซนเศรษฐกิจ และโซนอีสาน มีชายแดนติดต่อกับพม่า 370 กม. เป็นจังหวัดที่ทีนักท่องเที่ยวมาเยือนเป็นอันดับ 4 ของประเทศ การบริหารงานจึงต้องมีหลายรูปแบบเนื่องจากมีหลายปัจจัยที่หลากหลายกัน ในอนาคตการเกิดโครงการทวายในประเทศพม่าจะส่งผลโดยตรงที่ทำให้ จ. กาญจนบุรี ต้องเตรียมการรองรับด้วยเช่นกัน  ปัจจุบันมีผู้มาเยือนเพิ่มมากขึ้นส่วนหนึ่งเนื่องมาจากโครงการทวาย   ส่วนที่เกี่ยวข้องกับ กฟผ. รองผู้ว่าฯมีความเห็นว่า การเป็นกัลยาณมิตรกับชุมชน จะทำให้ชุมชนรักเรา กฟผ.สามารถช่วยทำให้ชุมชนเข้มแข็งขึ้นได้ และชุมชนจะรักเราอย่างยั่งยืน       ประเด็นช้างป่าบุกรุกทำลายพืชผลการเกษตรของชาวบ้าน เห็นว่าการช่วยอนุรักษ์ช้างป่าด้วย ส่วนที่สูญเสียไปรัฐควรจ่ายเงินชดเชยให้กับชาวบ้าน

การเสวนา การจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อชุมชน โดย อ.มนูญ ศิริวรรณ คุณสมภพ พวงจิตต์ อสล. กฟผ. และ คุณวสันต์ สุนจิรัตน์ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่5 บ้านช่องสะเดา จากการเสวนาได้รับทราบแนวคิดในการจะเข้ามาอยู่ร่วมกับชุมชน การทำงานต้องคิดถึงชุมชนให้มากขึ้น การช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อม ข้อเท็จจริงการเข้ามาของ กฟผ. ที่ทีผลกระทบกับประชาชนที่อยู่มาก่อน ทั้ง มุมมองที่เปลี่ยนไป จากอดีตที่เข้าไปโดยใช้อำนาจตามกฎหมายเพื่อเวนคืนที่ดินโดยไม่ได้ชี้แจงประชาชนมากนัก สู่ปัจจุบันที่ กฟผ.ดูแลประชาชนเป็นอย่างดี จนเป็นที่ยอมรับของประชาชนมากขึ้น

28 มี.ค.2555 การทำกิจกรรมร่วมกับชุมชนบ้านช่องสะเดา การเสวนา สร้างโมเดล ชุมชนรู้จริงเรื่องอาเซียนเสรี โดยคุณนิอันนุวา สุไลมาน พาณิชย์จังหวัดกาญจนบุรี ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท ดร.หญิงฤดี ภูมิศิริรัตนาวดี ผู้นำชุมชน อาจารย์ทำนอง ดาศรี และตัวแทนกลุ่ม 4 และ 5

       ได้ฟังมุมมองหลากหลายที่แตกต่างกัน แนวคิดที่สามารถนำมาผสมผสานกันได้   AEC คือการส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศสมาชิกเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งเกี่ยวข้องกับ เศรษฐกิจการค้า ความมั่นคง และวัฒนธรรม   จะเริ่มในปี 2558   แต่ความเป็นจริงมีบางกิจกรรมได้มีมาก่อนหน้านี้แล้ว  การปรับตัวเพื่อให้เข้าสู่ AEC ได้อย่างดีความสามารถในการสื่อสารจะเป็นปัจจัยที่จะทำได้ได้เกิดการได้เปรียบ ทั้งทางด้านภาษา  และเทคโนโลยี่ต่างๆ  ประเทศไทยมีข้อได้เปรียบในเรื่องภูมิประเทศ  จะทำให้ได้เปรียบในเรื่องการขนส่ง เชื่อมต่อกับแต่ละประเทศได้เป็นอย่างดี  ความได้เปรียบอีกอย่างคือความเป็นคนไทย   Brand วัฒนธรรมประเพณีที่เปิดกว้างของคนไทย เน้น 3 เรื่องที่สำคัญ คือ Friendly   มีความเต็มใจบริกา  ร และความเพรียบพร้อมในการบริหารจัดการ
            ภายหลังการเสวนา ได้ไปเยี่ยมชมชุมชนด้วยการลงพื้นที่จริง ได้พบภาพจริงๆ  จากที่เคยเข้าใจตามคำบอกเล่า แล้วมาจินตนาการต่อ พบว่ามีหลายอย่างที่ทำให้ความเข้าใจความคิดต่างๆเปลี่ยนไปจากที่เคยรับรู้มา ได้เห็นแปลงเกษตร รั้วป้องกันช้างป่า สภาพแวดล้อมโดยรวมแม้ว่าไม่กันดารมากนัก แต่คนเมืองอย่างเราๆหากต้องมาใช้ชีวิตอยู่แบบชาวบ้านก็คงไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะปรับตัวให้อยู่ได้อย่างพึงพอใจ  จำเป็นที่ กฟผ.จะต้องให้ความสำคัญกับชุมชนในทุกๆด้านอย่างต่อเนื่องตลอดไป

29 มี.ค.2555 การเยี่ยมชุมชนท่าน้ำชุกโดน

          ชุมชนท่าน้ำชุกโดนอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลอง อ.เมือง จ.กาญจนบุรี เป็นชุมชนขนาดใหญ่ กว่า 200 หลังคาเรือนภาพที่เห็น เป็นชุมชนที่ได้พัฒนาขึ้นเป็นอย่างดีแล้ว จากที่เคยมีปัญหาหลายอย่าง  การพัฒนาได้รับการสนับสนุนเงินทุนจาก SCG  ประกอบด้วยโครงการต่างๆดังนี้ โครงการบำบัดน้ำเสีย โครงการหมักแก๊สชีวภาพจากเศษอาหาร โครงการแปลงผักลอยน้ำ โครงการขุดคลองไส้ไก่ โครงการทำทางเดินด้วยอิฐบล๊อค  นับเป็นชุมชนที่พัฒนาอย่างดีเยี่ยมด้วยพลังจากคนในชุมชนเอง ที่จะมีผู้มาเยี่ยมชมผลงานของชุมชนในโครงการต่างๆอย่างต่อเนื่อง

29-30 พค.2555 เสถียรธรรมสถาน ได้ความสงบครับน่าจะมีหลักสูตรอย่างนี้แต่ให้เวลามากหน่อยก็จะดีครับ ทิศทางเศรษฐกิจไทย ได้ฟังการบรรยายทิศทางเศรษฐกิจไทยโดยมรว.ปรีดิยาธร เทวกุลทำให้มองเห็นภาพทิศทางเศรษฐกิจไทยใน 5-10ปีข้างหน้าและแนวทางที่กฟผ.จะต้องปรับตัวจากผลกระทบโดยเฉพาะนโยบายของรัฐบาลได้แก่ 1.นโยบาลขึ้นค่าแรง 300บาท หรือ 15,0000 บาทสำหรับปริญญาตรี

เกิดตลาดใหม่เช่น ธุรกิจแอร์ รถยนต์ เป็นต้น
ไทยเป็น Trading Zoneหรือ Trading center
มีผลต่อธุระกิจSME

  1. รัฐบาลไม่มีนโยบายเปิดEconomic zoneขนาดใหญ่แห่งใหม่ในขณะทีพม่าเปิดโครงการทวาย 3.โครงการสร้างรถไฟฟ้าในกรุงเทพและปริมลฑลเกิดขึ้นหลายสายและรถไฟฟ้ารางคู่ กทม.จะมีประชากรมากขึ้น เกิดคอนโดมิเนียมและที่อยู่อาศัยตามแนวก่อสร้างทางรถไฟฟ้า การสร้างรถไฟรางคู่เชื่อมจีนตอนสิบสองบันนาใต้ผ่านประเทศลาวผ่านอำเภอเชียงขอมของไทย 4.โครงการท่าเรือน้ำลึกปากบาราจังหวัดสตูลขนาด200,000 ตันอีก3ปีข้างหน้าสินค้าจากจจีนผ่านลาวและกัมพูชาและข้านอ่าวไทยมายังสงขลาและผ่านไปจังหวัดสตูล และรับสินค้าจากทวายที่มีท่าเรือขนาด80,000 ตัน สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน 1.ปัญหาของEUโดยเฉพาะปัญหาของกรีชและสเปน อิตาลีจนถึงฝรั่งเศส EUเป็นคู่ค้าของไทยประมาณ12% 2.ประเทศสหรัฐอเมริกาการเจริญเติบโตยังไม่เห็นสัญญานที่ชัดเจน
  2. การชลอตัวของตัวเลขทางเศรษฐกิจของจีน ผลกระทบต่อกฟผ. 1.จากนโยบายเพิ่มค่าแรงทำในเกิดDemandขึ้นในประเทศเกิดตลาดใหม่ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูงขึ้นเกิดการลงทุนในต่างประเทศเช่นลาว พม่า กัมพูชา ค่าแรงงานถูกกว่า

2.การใช้ไฟฟ้าในภาพอุตสาหกรรมไม่สูงมากแต่จะมากขึ้นอย่างมากในภาคการขนส่งและที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะในต่างจังหวัดและชนบทเป็นลูกโซ่ เช่น จังหวัดกาญจจนบุรี และจังงหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีผลต่อการคาดการณ์การใช้ไฟฟ้า 3.กทม.จะเป็นTrading Center ประชากรเพิ่งขึ้นการใช้ไฟฟ้าจจะเพิ่งมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง Global Energy Trends อาจารย์มนูญ ศิริวรรณกล่าวว่า

โลกมีความไม่แน่นอนแต่มีบางอย่างที่แน่นอนคือรายได้ของประชากรมากขึ้นประชาชนต้องการพลังงานเพิ่มขึ้น
การคมนาคมมีมากขึ้นหมดยุคน้ำมันถูกอีกต่อไป
ปัจจจุบันเป็นยุคทองของกาซธรรมชาติ
การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพทำให้เกิดความมั่นคงของพลังงานและลดภาวะโลกร้อน

ผลกระทบและการปรับตัวของกฟผ.

การสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ไม่ว่าจะใช้เชื้อเพลิงชนิดใดจะทำได้ยากขึ้น
- ยกเว้นโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน/โรงไฟฟ้าชุมชนขนาดเล็ก
ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานให้เข้าถึงและร่วมมือกับชุมชนเพิ่มมากขึ้น
ปรับองค์กรให้ตอบสนองต่อภาระกิจที่เปลี่ยนไป
- จากผู้ผลิตไฟฟ้าเป็นผู้พัฒนาประสิทธิภาพการใช้พลังงานเพื่อลดภาวะโลกร้อน
- จากวิสาหกิจระดับนำของชาติเป็นองค์กรชั้นนำในระดับภูมิภาค
ตอบสนองโจทย์ด้านพลังงานเพื่อความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อมที่ดี (green energy)
- พลิกบทบาทเป็นผู้นำด้านพัฒนาพลังงานหมุนเวียนและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางโครงข่ายด้านพลังงานในอาเซียน

แนวโน้มของเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลัง2555 ดร.กอบศักดิ์ เศรษฐกิจไทยโดยรวมไปได้ในปี2555

เศรษฐกิจไทยไปได้และถ้าการเมืองไม่มีปัญหา 3-4ปีข้างหน้าเป็นช่วงที่เศรษฐกิจเติบโต

แรงสนับสนุนมาจาก ASIAและAEC เป็นโอกาสทางธุระกิจ ในระยะสั้นๆจะเป็นการฟื้นตัวจากน้ำท่วมหลังจากกลางปีไปจะได้ผลกระทบจากการใช้จ่ายภาครัฐ ยุโรปจะเป็ความเสี่ยงที่ต้องจับตามอง แรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ

การใช้จ่ายของภาคเอกชนในการซ่อมแซมจากสินเชื่อของภาครัฐและเอกชนช่วยปล่อย(ครึ่งปีแรก)
การลงทุนภาครัฐและการลงทุนจากต่างประเทศและธุระกิจในช่วงต่อไป(ครึ่งปีหลัง)
เอเชียที่กำลังผงาดในระบบเศรษฐกิจโลก(ช่วง3-4ปี)

สรุปสำหรับเศรษฐกิจจไทย

ไปได้พยายามกลับมาจุดเดิมก่อนน้ำท่วม
แต่มีความผันผวนรออยู่
ถ้าเราผ่านการผันผวนไปได้จจะเป็นดอกาสที่ดีทางธุระกิจและการลงทุน
เราไม่ควรประมาทเอเชียกำลังเปลี่ยนไปอ่ย่างรวดเร็วWindow of opportunityกำลังเปิดและมีนัยต่อการทำธุระกิจ

หัวใจของการเตรียมการ

ไม่ประมาท
ย้อนกลับไปคิดในปี2008อะไรทำแล้วทำได้ดีทำอีก
อะไรพาดให้ปรับปรุง

AEC ประชาคมอาเชียน รศ.ดร.สมชาย วันที่1 มกราคม2558 ประชาคมอาเชียนจะรวมกับเป็นเขตการค้าเสรีอาเชียน โดยใช้Model ของ EC สหภาพยุโรปมีขบวนการเป็นขั้นตอนดังนี้คือ1เขตการค้าเสรี2สหภาพศุลกากร3ตลาดร่วม4สหภาพเศรษฐกิจและ5สหภาพการเมือง AECอยู่ในขั้นตอนแรกคือเขตการค้าเสรีสินค้าตัวเดียวกัน ไม่มีใดคต้า กำแพงภาษีไม่มีสัญชาติสินค้าหรือแหล่งกำเนิดสินค้า สินค้าได้แก่สินค้าทั่วไป การบริการ เงินทุน แรงงานสามารถเคลื่อนย้ายแรงงานได้ในประเทศอาเชียนเช่น แพทย์ วิศวกร นักบัญชี สถาบัตและช่างสำรวจเป็นต้น การที่อาเชียนจะรวมกันในขั้นตอนต่อไปอีก4ขั้นตอนดังกล่าวข้างต้นต้องใช้เวลาอีกนานหรืออาจจะเป็นไปได้ยาก สรุปได้ว่า AEC1 เป็นขบวนการ 2. ศูนย์กลางการลงทุนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขัน ด้านการขนส่งและการแก้กฎหมาย 3.ทำให้เกิดความเท่าเทียมกันและ4.บูรณาการเศรษฐกิจของโลก ผลที่เกิดขึ้นจากการเป็นAECเช่น การบริการและการลงทุนในปี2015สามารถถือครองได้100% สัญชาติอาเชียนถือครองได้ต้องดูด้านพลังงาน บุคคลากรมีการเคลื่อนย้ายกันได้และเรื่องการเงินสามารถนำเงินออกได้และซื้อสินค้าได้ทุกชนิดผลกระทบที่สำคัญอีกอันหนึ่งคือตลาดหลักทรัพย์

วรวิทย์ รวีนิภาพงศ์

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2555

ช่วงเช้า People Management โดย อ.พจนารถ ซีบังเกิด ได้เรียนรู้เรื่อง การอ่านดวงตาของคนที่เรากำลังพูดคุยด้วยใน 6 ลักษณะ ทำให้เรารู้ว่า เขากำลังนึกคิดในลักษณะอย่างไร เทคนิคในการ Matching กับคนที่เราคุยด้วย ก่อนที่เราจะ Lead เขาในเรื่องต่างๆ ได้เรียนรู้เรื่องความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ 6 อย่าง (ต่างจาก Maslow’s Hierarchical Theory) ซึ่งถ้าเรามีทั้ง 6 ข้อ จะทำให้เรามีความสุข ได้เรียนรู้วิธีการ coaching และวิธีแก้ คนที่มองโลกในแง่ลบ

ช่วงบ่าย

ทิศทางเศรษฐกิจไทยกับการปรับตัวของ กฟผ. โดย ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล ได้เรียนรู้ถึง ผลกระทบของเศรษฐกิจไทยจาก 3 ปัจจัยหลักๆ คือ นโยบายรัฐบาล การเปลี่ยนแปลงของโลก และ AEC 2015 ซึ่งมีผลต่อ กฟผ. คือ ภาคอุตสาหกรรมจะชะลอตัวลง กฟผ.จะต้องคาดการณ์การใช้ไฟฟ้าใหม่ (ภาคครัวเรือนจะใช้ไฟฟ้ามากขึ้นทั้งในกรุงเทพฯ และชนบท Demand การใช้ไฟฟ้าในต่างจังหวัดจะเพิ่มขึ้น เช่น กาญจนบุรี แม่สอด เป็นต้น) ในเรื่องการลงทุน กฟผ. มีพลังเรื่องทำการเงินเก่ง ดังนั้น ถ้าสามารถทำเรื่อง นำเงินมาลงทุนเองโดยไม่พึ่งรัฐบาลจะดีมาก

เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC 2015 และเศรษฐกิจไทย....ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ. โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล และ อ.มนูญ ศิริวรรณ ได้เรียนรู้ว่า AEC 2015 เมื่อเกิดขึ้นแล้ว สินค้า บริการ เงินทุน และแรงงาน จะเปิดเสรี อาชีพครูและการเงินจะมีการเคลื่อนย้ายสูง เงินออกจากประเทศเท่าไรก็ได้ แลกเงินอะไรก็ได้ ซื้อทุกอย่างได้ ตลาดหุ้นจะ cross กันได้ ซื้อขายข้ามประเทศได้ คนไทยจะต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจเรื่อง AEC 2015 ให้ดีเพื่อเตรียมตัวให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ได้เรียนรู้เรื่อง การใช้พลังงานของโลกยังใช้ Fossil เป็นหลัก แต่ในอนาคตก๊าซธรรมชาติและพลังงานทดแทนจะมีบทบาทมากขึ้น ซึ่งอเมริกาได้ใช้เทคโนโลยีใหม่ในการผลิตแก๊สธรรมชาติ อนาคตอเมริกาจะผลิตแก๊สได้เป็นอันดับ 2 ของโลก จะทำให้อเมริกาฟื้นตัวจากเศรษฐกิจตกต่ำได้ ในส่วนประเทศไทย ก๊าซธรรมชาติจะใช้ได้อีกประมาณ 15-20 ปี ดังนั้น กฟผ. จะต้องปรับทิศทางการผลิตไฟฟ้าใหม่ โดยหันมาใช้พลังงานทดแทนเป็นหลัก ร่วมมือกับชุมชนต่างๆ สร้างโรงไฟฟ้าในชุมชนแทนการสร้างโรงไฟฟ้าใหญ่ๆ และหันไปสร้างโรงไฟฟ้าใหญ่ๆ ในต่างประเทศแทน แล้วรับซื้อไฟฟ้ามาใช้ในประเทศต่อไป และในอนาคตอีก 5 ปีข้างหน้า AEC จะเป็นพื้นที่ที่น่าลงทุนมากที่สุดในโลก จะมีการเชื่อมโยงโครงการทางหลวงอาเซียน 23 เส้นทาง ระยะทาง 38,400 กิโลเมตรเข้าด้วยกัน

วรวิทย์ รวีนิภาพงศ์

13/3/55 สิ่งที่ได้เรียนรู้ - สาเหตุของการเกิดความผิดปกติในร่างกาย - วิธีการบำบัดโดยใช้วิธีทางธรรมชาติรวมทั้งไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งก่อให้เกิดผลข้างเคียง - กระบวนการฟื้นฟูสุขภาพ 14/3/55 สิ่งที่ได้เรียนรู้ - ทำให้รู้จักใช้สมองด้านขวาให้สัมผัสกับด้านซ้ายเพื่อความสมดุลของร่างกาย นอกจากนี้จะเป็นพื้นฐานในการเกิดปัญญา 15/3/55 สิ่งที่ได้เรียนรู้ - ได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับหมู่บ้านแม่คำปอง ซึ่งเกิดนอกกรอบเชิงอนุรักษ์ผสมหรือบูรณาการ วิถีชีวิต ธรรมชาติ การพัฒนาให้สอดคล้องกับทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่นำมาพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งผลผลิตที่เกิดขึ้นทั้งขบวนการเกิดจาก Creativity Thinking เช่น สร้างสรรค์ จึงนำมาซึ่งนวัตกรรม 16/3/55 สิ่งที่ได้เรียนรู้ Mind Mapping ช่วยให้สนับสนุนกระบวนการด้านพัฒนาความคิดวิเคราะห์เชิงระบบและสามารถบูรณาการได้อย่างละเอียดและอธิบายได้ง่ายแก่ทีมงาน ภาวะผู้นำ เป็นสิ่งที่สามารถสร้างได้ ทำให้เห็นกลไกหรือบทบาทที่องค์กรทุกองค์กรทำงานเป็นทีมเป็นเรื่องการปฏิบัติ แต่ภาวะผู้นำจะช่วยให้เกิดการบูรณาการหลายๆทีม ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ Blue Ocean กับโครงการการนวัตกรรม

เป็นพื้นที่ใหม่ ตลาดใหม่ คนใหม่ การเสนอเป็นเรื่องของผู้ขายหรือตลาดของผู้ขาย ฉะนั้นจะต้องไม่หยุดนิ่งเพื่อป้องกันกับการแข่งขันจนตลาดภายในที่พยายามพัฒนาตนเองหรือคู่แข่งขันจะ Red Ocean การไม่หยุดนิ่ง ต้องมีการสร้างนวัตกรรมทุกกระบวนการหรือ การผลิตและกาคิดนอกกรอบจนทีมงาน

17-26/3/55 HR พันธุ์แท้ และ 8K,5K ได้รับทราบว่า ทุนมนุษย์ที่จะเดินไปข้างหน้า ทั้ง 8K และ 5K เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะโลกใน AEC หรือทั้งอนาคต กับคนต่างประเทศที่เราอาจจะมีการติดต่อสื่อสาร เพราะทั้ง 8K , 5K ทำให้เราวิเคราะห์จุดบกพร่องของตนเองได้อย่างถ่องแท้และจะช่วยหาทางปรับปรุงแก้ไขให้เดินไปข้างหน้าอย่างมีเสถียรภาพ และทันต่อเหตุการณ์ 27/3/55 ได้เรียนรู้ว่า เดิมการจัดหาพลังงานจะเน้นประสิทธิภาพอย่างเดียว แต่ผลคือเกิดการไม่สมดุลระหว่างพลังงานที่ได้รับกับสิ่งแวดล้อมที่ต้องสูญเสีย หรือถูกมองข้าส่งผลให้เกิดทัศนคติที่ติดลบสะสมต่อองค์กรที่สร้างหรือจัดหาพลังงาน ฉะนั้นจะให้มีการยอมรับจากสาธารณะชน ถ้ามองสิ่งแวดล้อมซึ่งรวมทั้งประชาชนควรจะมาก่อน ซึ่งสอดคล้องกับกฎหมายซึ่งต้องจัดทั้ง ESA ให้เป็นที่ยอมรับก่อน ซึ่งจะต้องทำโครงการต่อไปได้ 28/3/55 ได้เรียนรู้ว่า วิถีชีวิต รากเง้าทางวัฒนธรรมของชุมชนเป็นสิ่งที่ควรอนุรักษ์ โดยต้องมองให้ครบวงจร โดยใช้ความรู้มา Apply ให้สอดคล้องกับสาเหตุของปัญหาเมื่อแก้สาเหตุได้จะทำให้เข้าสู้กระบวนการถ่ายทอดได้โดยง่าย และการจัดการต้องเป็นระบบเพื่อความยั่งยืน 29/3/55 ได้เรียนรู้ว่า บทบาทของประเทศเพื่อนบ้านรวมทั้งสภาพการเป็นอยู่ระหว่างไทย พม่า นำไปสู่การวิเคราะห์ ทั้ง 3 หลักของ AEC ว่าไทยจะได้รับผลกระทบเชิงลบหรือเชิงบวกในการเตรียมพร้อมดังตัวอย่างถึงแม้ประเทศพม่าจะมีนิคมอุตสาหกรรม

ก็ไม่มีหลักประกันว่าคนพม่าจะไม่เข้ามาทำงานในประเทศไทย อย่างปัจจุบันถึงแม้ว่ามีชนชาวพม่ามาใช้แรงงานในประเทศไทยจำนวนมาก และอะไรคือเป้าหมายที่คนไทยจะเกิดประโยชน์กับพม่า

  • Mindset 30/3 – 23/4/2012 หนังสือดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า Mindset กรอบความคิดต้องมาจากความคิดเชิงบวก เข้าสู่ปัญญา และต่อไปยังความเพียรพยายามเพื่อนำมาซึ่งความสำเร็จของนวัตกรรม ในโลกของการแข่งขันหรือพัฒนา Mindset เป็นสิ่งที่ผู้บริหารทุกคนต้องฝึกฝนจนเป็นนิสัย

  • บุคลิกภาพ / Blue Ocean กับ กฟผ. 20/4/2012 ได้ทราบว่า บุคลิกภาพมีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จของงานที่ทำเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ยังเสริมบทบาทของภาวะผู้นำได้เป็นอย่างดี Blue Ocean กับ กฟผ. น่าจะเหมาะกับองค์กรกฟผ.ที่จะต้องขยายธุรกิจไปยังประเทศอื่น ๆ ซึ่งต้องเตรียมความพร้อม

  • Presentation /ผู้นำกับทุนจริยธรรม ได้ทราบว่า ทุนทางจริยธรรมนั้นต้องมาจากตัวของเราเองไปสู่องค์กร โดยเฉพาะผู้นำองค์กรต้องบ่มเพาะคนในองค์กรให้ตระหนัก เมื่อมีความตระหนักทั้งองค์กร จะทำให้เกิดพลังที่จะได้รับการยอมรับ / ศรัทธาของสังคม และจะทำให้องค์กรเป็นที่ยอมรับและยั่งยืนต่อไป นอกจากนี้ยังสอดรับกับ 5K’s จากหนังสือ

  • Mojo เป็นเรื่องของการคิดเชิงบวก ไม่นำเรื่องที่ไม่ดีมาทำให้เรามัวหมอง เมื่อจิตของเราเป็นบวก จะให้เกิดความสุขทั้งภายในและภายนอก ซึ่งจะต้องสมดุลย์กัน ทั้งหลายทั้งปวงเป็นเรื่องของหลักของทางพุทธศาสนา ดังละเว้นความชั่ว/กระทำต่อความดี/ทำจิตใจให้ผ่องใส จะก่อให้เกิดแต่ความสุข

15/5/2012 ได้เรียนรู้ว่า ผู้นำมีบทบาทมากในการที่จะนำพาองค์กรท่ามกลางที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก การวางกลยุทธ์ขององค์กร การปรับตัวหรือยืดหยุ่น การเตรียมความพร้อมของบุคลากร ซึ่งทุนของบุคลากรจะมีบทบาทอย่างยิ่งต่อการเปลี่ยนแปลง เพราะถ้ามีทีมงานมีแนวความคิดเชิงระบบเหมือนกันทั้งหมดจะทำให้องค์กรมีความแข็งแกร่ง ต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี

16/5/2012 ได้เรียนรู้ว่า Status กฟผ.ในอนาคต มีข้อจำกัดสูง, ต้องอดทน,ต่อการต่อต้านวิธี /แนวทางที่จะเป็นไปได้ในอนาคต

17/5/2012 HPO องค์กรที่มีประสิทธิภาพอย่างสูง ได้เรียนรู้ บทบาทที่ผู้นำจะต้องใช้ความพยายามปรับปรุงองค์กรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการปรับปรุงต้องใช้ Tool ,การมีส่วนร่วมของทีมงานที่จะเดินไปข้างหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ ข้อคิด องค์กรไม่ว่าจะมีโครงสร้างดีเพียงใดถ้าทีมงานบุคลากรไม่พร้อม เป็น HPO ไม่ได้ ดังนั้นต้องสัมพันธ์กันทุกภาคส่วน

18/5/2012

ได้รับทราบ

หน้าที่ของ Regulation (บทบาท) ซึ่งเกี่ยวข้องกับ กฟผ. โดยตรง ตลอดจนการจัดการผู้มีส่วนร่วม เช่น กฟภ. กฟน. ฯลฯ มุมมองของ Regulation ที่มีต่อ กฟผ.

HR for Non HR ได้ทราบว่าทุนมนุษย์ที่สำคัญที่สุดใน 8K’s 5K’s คือ ปัญญา ที่เกิดจากความเพียรแสวงหา ไม่ว่าจะเป็น/หรือมีสภาพแวดล้อมอย่างไร ปัญญาจะนำพาความสำเร็จมาในที่สุด

วันนี้ได้อะไร ช่วงที่ 4 วันที่ 15-18 พฤษภาคม 2555

 

วันนี้วันที่ 16 พฤษภาคม 2555

 

ดร. กมล ตรรกบุตร และ ดร. ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์ “ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นต่อนโยบายนิวเคลียร์ในอนาคตของ กฟผ.”

  • ดร. กมล ตรรกบุตร อาจารย์เป็นที่ปรึกษาของ CEO บริษัทอิตาเลียนไทย ทำงานที่ กฟผ. ถึงผู้ช่วยผู้ว่าการก่อนเกษียณ จบตรีด้านวิศวกรรมเครื่องกล แล้วต่อดอกเตอร์วิศวกรรมนิวเคลียร์ที่ฝรั่งเศส พูดได้ดีทั้งอังกฤษและฝรั่งเศส ประสบการณ์ไม่ธรรมดานะการเรียนรู้เรื่องของ EdF ก็สบายมือเลย
  • โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของ กฟผ. วางแผนไว้แล้วเลื่อนออกไป 3 ปี รัฐก็เลยให้เลื่อนออกไปอีก 3 ปี เป็น 6 ปี 2026 จะได้เข้าหรือเปล่าก็ไม่ทราบ
  • การนำโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในญี่ปุ่นกลับเข้าใช้งานก็ลำบาก ต้องผ่านการทดสอบมาตรฐานความปลอดภัยของ USNRC ซึ่ง IEA ก็ยอมตาม โรงไฟฟ้านิวเคลียร์โรงสุดท้ายต้องหยุดการผลิตไปเมื่อ พ.ค.55 กำลังผลิตไฟฟ้าหายไปกว่า 30% ทำให้ต้องไปขุดโรงไฟฟ้าเก่าทั้ง Thermal, Combined Cycle ไทยเราก็ให้ Gas Turbine ไป 1 เครื่อง แล้วญี่ปุ่นต้องควานหาก๊าซมาผลิตไฟฟ้า เมื่อก๊าซในประเทศไม่เพียงพอก็ต้องตะเวนซื้อ LNG ที่อุณหภูมิ -160 องศา เป็นของเหลว ขนาดลดลง 160 เท่า  เป็นแก๊สกระป๋อง บรรจุเรือมาเป็นลำๆ ยังดีว่ามี Gas Expansion Unit นะ ถ้าไม่มีก็ต้องเร่งสร้างโรงงานเปลี่ยนสภาพแก๊สเหลวเป็นสภาพก๊าซเพื่อให้ใช้ผลิตไฟฟ้าได้ เมื่อทำไม่ทันก็ต้องเตรียมมาตรการดับไฟเป็นโซนๆ ไป มาตรการประหยัดพลังงานทั้งหลายก็นำมาใช้อย่างเข้มงวด
  •  ผลดังกล่าวทำให้ราคา LNG ทั้งโลกขยับจาก 10-11 USD/ล้านบีทียู เป็น 15-16  USD/ล้านบีทียู
  • ไทยเราก็มีโรงงานที่มาบตาพุด 5 ล้านตัน (MT) ตอนนี้ผลิตขั้นต่ำ 1 ล้านตัน ดังนั้น ไทยเราก็รับอานิสงค์นี้ไปด้วยราคา LNG ขึ้นไปถึง 500-600 บาท/ล้านบีทียู แพงกว่าอ่าวไทย 4-5 เท่า ทำให้ราคาก๊าซเฉลี่ยทั้งหมด (ผสมในกระดาษ) แพงขึ้น Ft ก็ขึ้นแบบก้าวกระโดดจาก 0 เป็น 30 สตางค์/หน่วย จริงๆ แล้วหาเงินอื่นมาช่วยเหลือบรรเทาไว้ ไม่งั้น 50 กว่าสตางค์/หน่วย
  • การซื้อก๊าซพม่าทำให้ความมั่นคงทางพลังงานของไทยลดลง
  • การจัดหาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน

 

ซื้อ

ทำเอง

ญี่ปุ่น

100%

0%

ฝรั่งเศส

50%

50%

...

0%

100%

ดร.ปณิธาน ติดตามแผ่นดินไหวมาตลอดชีวิต

  • อาจารย์เล่าให้ฟังว่าหลายสิ่งมันเกิดขึ้นเกินความคาดหมายของมนุษย์ โดยเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 ได้เกิดแผ่นดินไหวขนาด M 9.0 นอกชายฝั่ง Sendai ประเทศญี่ปุ่น ขนาดแผ่นดินไหวใหญ่เกินความคาดหมายของนักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่น โดยทำกำแพงกั้นน้ำทะเลไว้สูงขนาด 10 เมตร แต่แผ่นดินไหวนี้ก่อให้เกิดสึนามิคลื่นสูงถึง 13 เมตร ทำลายอาคารสิ่งปลูกสร้างรวมทั้งชีวิตผู้คนไปจำนวนมาก เป็นคลื่นสูงสุดไม่กี่ครั้งในรอบพันปีที่ผ่านมา
  • ที่ซ้ำร้ายกว่านั้นคือ ทั้งระบบไฟฟ้าหลัก และระบบไฟฟ้าฉุกเฉินของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมาไดอิจิ เสียหายอย่างหนัก เพราะออกแบบเป็นระบบภายนอกอาคาร ทำให้ระบบหล่อเย็นเตาปฎิกรณ์ปรมาณูล้มเหลว ส่งผลให้แท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์อยู่ในสภาพหลอมเหลวบางส่วน นอกจากนี้ บ่อเก็บแท่งเชื้อเพลิงที่ใช้แล้วก็เกิดการรั่วซึม ผลก็คือเกิดการรั่วไหลของสารกัมมันตภาพรังสีสู่บรรยากาศและพื้นดิน
  • ปัญหาการเก็บกากนิวเคลียร์ ก๊ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว เก็บไว้แบบ Ground Water Contamination เหมือนบังคลาเทศ
  • ประเทศเฮติเคยเจอแผ่นดินไหวรุนแรงมาก่อนแต่ไม่ได้เตรียมการรับมือไว้ คราวนี้จึงมีคนตายไปกว่า 200,000 คน
  • ความรุนแรงของแผ่นดินไหวจะขยายตัวแรงขึ้นในชั้นดินอ่อน กทม. จึงจะมีผลกระทบรุนแรง ดร. ปริญญา AIT เสนอแนะให้แก้ไขกฎกระทรวงมาตรา 49 ปี 2550 ให้เขตกรุงเทพฯ สร้างอาคารที่รับมือแผ่นดินไหวได้
  • ถ้าเรารู้ก่อน ทราบสถานที่ตั้ง พัฒนาคนให้รู้เท่าทัน ก็สามารถแก้ไข บรรเทาความเสียหายได้
  • อ.จีระ สงสัยว่าภูเก็ตทำไมมี Aftershock 8-9 ครั้ง อาจจะมีผลจากแผ่นดินไหวในอินโดนีเซียก็ได้
  • อาจารย์กมล โรงไฟฟ้าขนาดเดียวกันแต่ไปติดตั้งในฝรั่งเศส ได้กำลัง 1,600 MW ที่ 15 องศา ที่จีนก็ 1,600 MW ที่ 20 องศา แต่ที่ฟินแลนด์ เป็น 1,650 MW เพราะ 0 องศา Delta Temperature มากขึ้น งานก็มากขึ้นตามหลักเทอร์โมไดนามิคส์
  • เราต้องยึดแบบเตอรีให้แน่น เวลาแผ่นดินไหวจะได้ไม่หยุด ระบบสแตนบายด์ต่างๆ จะหยุดหมดเมื่อไม่มีแบตเตอรี
  • กำลังผลิตต้องมากกว่าความต้องการไฟฟ้า เมื่อสร้างโรงไฟฟ้าไม่ได้ก็ต้องมีมาตรการ DSM พวก NGO เขาบอกว่า PDP ตัดได้ 50% เพิ่มโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน ช่วงที่ไม่มีแดดลมจะเอาไฟฟ้ามาจากไหน ก็ต้องมาจากโรงไฟฟ้าใช้ก๊าซดั้งเดิมของ กฟผ. นั่นแหละ
  • ทำเลที่ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ต้องติดทะเล จะใช้น้ำจากแม่น้ำเพื่อระบายความร้อน มีเกาะแห่งหนึ่งในจังหวัดชัยนาท มีความเหมาะสม ส่วนจังหวัดนครสวรรค์จะระบายความร้อนได้ยาก ต้องขุดอ่างเก็บน้ำขนาด 2,000 ไร่ ลึก 5 เมตร งานใหญ่มโหฬาร แล้วก็มีเวลาเติมน้ำให้เต็มอ่างแค่ 4-5 เดือนในฤดูฝนเท่านั้น จะมีปัญหามาก
  • สร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในลาว พม่า หรือที่เวียดนาม เริ่มก่อสร้าง BOT 2X1,000MW เป็นความร่วมมือกับรัสเซีย ห่างจากจังหวัดมุกดาหารแค่ 200 กิโลเมตรเท่านั้น ระยะทางนี้เท่ากับฟูกูชิมากับโตเกียว
  • มาเลเซียก็สร้าง 2X1,000MW ในปี 2020, 2021 เตรียมเสนอขอ IAEA 19 ข้อ ปรากฏว่าไทยผ่านเยอะที่สุด แต่ก่อสร้างล้าหลังที่สุด ณ เวลานี้ ประเทศอินโดนีเซียโดน NGO บังคับให้หยุดงาน

“ปิ้งไอเดียงานนี้ เชื่อมโยงกับที่อาจารย์ท่านหนึ่งถามว่าเราจะสร้างโรงไฟฟ้าไปให้ใครใช้ ให้คนไทยหรือให้คนต่างชาติที่มาอาศัยเมืองไทยเป็นฐานการผลิตสินค้า ใช้ทรัพยากรธรรมชาติในไทย เพราะในประเทศเขาใช้จนหมดแล้วถึงมาที่นี่ ดังนั้น DSM เหมาะสมที่สุดที่จะให้ กฟผ. ทำเพราะเป็นการลดการก่อหนี้ กฟผ. ต้องสำนึกเหมือนเอกชนในอเมริกาที่หาเงินยาก ไม่ใช่ว่ากระทรวงการคลังค้ำประกัน”

 

ประเสริฐศักดิ์

ช.อศง-ลท.

วันนี้ได้อะไร ช่วงที่ 4 วันที่ 15-18 พฤษภาคม 2555

 

วันนี้วันที่ 16 พฤษภาคม 2555

 

อดีต ผวก. ไกรสีห์ และ รวห. วิรัช กาญจนพิบูลย์ สัมมนาเรื่อง “ทิศทางพลังงานกับการทำงานของ กฟผ.” มี ดร.จีระ ดำเนินรายการ

 

  • การกำกับดูแล กฟผ. ตั้งแต่อยู่ที่สำนักนายกรัฐมนตรี มาเป็นกระทรวงพลังงาน ตอนนี้มี Regulator หรือคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เป็นคนดูแล ซึ่งนโยบายเปลี่ยนได้ตามยุคสมัย
  • สมัย รมว.ปิยสวัสดิ์ฯ เราต้องตอบคำถามว่า ถ้า กฟผ. ทำได้แพงกว่าเอกชนทำไม กฟผ. ต้องได้สัดส่วน 50% ด้วย ถ้า กฟผ. สร้างโรงไฟฟ้าที่ไหนก็ไม่สำเร็จ เอกชนสร้างได้สำเร็จ ก็ให้เอกชนสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ ดังนั้นเราต้องทำงานในปัจจุบันให้ดี ให้สามารถบอกได้ว่า กฟผ. สร้างได้สำเร็จทุกแห่ง เอกชนสร้างหลายแห่งแล้วต้องเปลี่ยนสถานที่ก่อสร้าง ข้อสรุปจะเป็น กฟผ. การที่จะอ้าง 50% เพื่อความมั่นคงนั้น ในต่างประเทศเป็นเอกชน 100% ก็มีความมั่นคงได้ เมื่อมีกรณีไฟฟ้าดับในแคลิฟอร์เนีย ความเชื่อมั่นในระบบ Pool ก็ลดลงไป

การเปลี่ยนแปลง

  1. นโยบายความมั่นคงของรัฐบาลค่อนข้างชัดเจน ประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องยาก กรณีหมู่บ้านสบปาดที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะเกิดเหตุการณ์ขึ้นแล้ว จะแก้ไขค่อนข้างยาก การอยู่ร่วมกับสังคมและชุมชน สิ่งแวดล้อมต้องไปด้วยกัน
  2. การมีโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ -- > เล็ก เช่น 1) สัดส่วนพลังงานทดแทน 3-5% -- > 25%  2) Distributed Generation โรงไฟฟ้าขนาดเล็ก 50-60 MW เกาะอยู่ตามแนวท่อก๊าซ ใกล้แหล่งความต้องการไฟฟ้า 3) Greenhouse Effect ทำให้ต้องใช้พลังงานหมุนเวียนมากขึ้น 4) แรงจูงใจจาก Adder เช่น Solar 8 บาท บวกค่าไฟฟ้าฐานและเอฟที 3 บาท เป็น 11 บาท/หน่วย ทำให้คุ้มทุนเร็วขึ้นใน 7 ปี – 10 ปี
  3. การควบคุม เวลามีแดด/ไม่มีแดด มีลม/ไม่มีลม ต้องมี Intermittent source เมื่อลมหยุดไป 1,000 MW จะทำอย่างไร กฟผ. ต้องมองปัญหาในอนาคตและหาทางแก้ไขปัญหาไว้ก่อนที่ปัญหาจะเกิด Smart Grid เป็นการ Integrated IT กับ ไฟฟ้า มีโปรแกรม Demand Response เป็นต้น
  4. การส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้งาน รัฐบาลยิ่งลักษณ์ Energy Intensity (EI) ความเข้มของพลังงานต่อ GDP (E/GDP) เป้าหมายลดลง 20% ใน 15 ปี เราต้องส่งสัญญาณราคาค่าไฟฟ้าแพงในช่วงบ่ายที่มีคนใช้งานเยอะ กลางคืนมีราคาถูก ให้คนตั้งโปรแกรมซักผ้าตอนตีสอง ตื่นเช้ามาตากผ้าแทนการใส่เครื่องอบผ้า จะวัด KPI ใคร กระทรวงพลังงาน
  5. เทคโนโลยี รถยนต์ไฮบริดจ์ E vehicle สายส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาด Coal Gasification กฟผ. ต้องสร้าง Trust เป็นโรงไฟฟ้าสะอาด ลดการต่อต้านการสร้างโรงไฟฟ้า
  6. ชะลอ Growth จาก 8% -- > 3% เพิ่มระบบรถไฟฟ้า รถรางไฟฟ้าต้องกลับมา Mass Transit สามารถลด
  7. กมธ. วุฒิสภา ไม่ค่อยไว้ใจว่า กฟผ. สร้างโรงไฟฟ้าแล้วจะไม่กระทบเขา ตอนนี้เรากินบุญเก่า สร้างโรงไฟฟ้าใหม่ 4 แห่ง ในที่เดิมทำได้ง่าย แต่โรงไฟฟ้าจะนะ สถานที่ใหม่ทำได้ยากขึ้น ปตท. ต้องย้ายแนวท่อก๊าซ BPKCC3 และ WNCC4 ก็กินบุญเก่า   

 

รวห. วิรัช กาญจนพิบูลย์

  • PDP2010 เพิ่มขึ้นปีละ 1,000 MW แต่โรงไฟฟ้ามีน้อยโดนคัดค้านหมดทั้งใช้ก๊าซด้วย ก็โดน สร้างระบบส่งก็มีปัญหา เราต้องสร้างความเชื่อถือก่อนถึงจะสร้างระบบส่งได้
  • การรับเด็กใหม่เกรด 2.5 ขึ้นไป TOEIT 550 เพื่อเป็นการรับคนคุณภาพ แต่ก็ยังไม่ใช่ว่าดีที่สุด มารับภาระในอนาคต
  • โรงไฟฟ้าใช้ก๊าซให้เอกชน กฟผ. รับมายากๆ ทั้งนั้น Coal, NUC
  • งาน DSM ไม่ใช่แค่เบอร์ 5 เราควรดู Demand Side โรงงานมาลงทุนเยอะ GDP โตขึ้น เรารับจ้างประกอบ แต่มาใช้ทรัพยากรในประเทศ อุตสาหกรรมใช้ไฟฟ้า 50% ธุรกิจ 20% บ้านอยู่อาศัย 20% เราส่งเสริมกันทำไม งานรับจ้างประกอบไม่มี Value Added มาเลเซียยังมีผลิตรถยนต์โปรตอน ตอนนี้ส่งมาขายไทยแล้ว
  • ตรงนี้ เราคิดว่างาน DSM ควรจะมุ่งไปทำ Efficient Motor ด้วยเพราะโรงงานทุกแห่งใช้ Motor ในการขับเคลื่อนโรงงานทั้งสิ้น  ไม่ใช่ทำแต่เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนเบอร์ 5 ควรออกไปเน้นโรงงานด้วย งบวิจัยมีเยอะปีละ 900 ล้านบาท แต่ใช้ไม่เป็นใช้จริงแค่ 80 ล้านบาท

เราเสนอให้ใช้โอกาสนี้ตามน้ำ รัฐบาลให้เราใช้ Infrastructure Fund เพื่อลดปัญหาหนี้ภาครัฐ เราก็ควรรับมาดำเนินการ แม้ว่าต้นทุนดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 50 ล้านบาท จากเงินกองทุนจำนวน 2,000 ล้านบาท อาจส่งผ่านในค่าไฟฟ้าเอฟทีได้ หรือปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้าใหม่ก็ทำได้  กฟผ. ก็เคยรับภาระดอกเบี้ยมามากกว่า 2,000 ล้านบาทในช่วงปี 2551-2554 ใช้โอกาสนี้ในการออกไปดำเนินธุรกิจอื่น อาจต้องแก้ไข พรบ. กฟผ. ก็เคยทำมาแล้วในปี 2535 ให้เอกชนลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าได้ เพื่อลดปัญหาหนี้ภาครัฐเช่นกัน ต่างกันที่เครื่องมือในการดำเนินงานเท่านั้น

และเสนอให้เสนอโครงการระบบส่งไฟฟ้าควบคู่ไปกับแนวคลองด่วนระบายน้ำแก้ปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาล เดี๋ยว ปตท. ไปขอวางแนวท่อก๊าซควบคู่ไปก่อน กฟผ. จะไม่มีที่วางระบบส่ง แลเสนอให้ กฟผ. เป็นผู้เข้าไปดำเนินการรถไฟฟ้าไปพร้อมกับระบบส่งไฟฟ้า ไม่ต้องกังวลเรื่องให้ รฟม. เป็นผู้ดำเนินการ

 

ประเสริฐศักดิ์

ช.อศง-ลท.

วันนี้ได้อะไร ช่วงที่ 4 วันที่ 15-18 พฤษภาคม 2555

วันนี้วันที่ 16 พฤษภาคม 2555

Trendy Technology and Social Media โดย ดร.วิรัช ศรเสิศล้ำวาณิช

  • ดร. วิรัช ศรเลิศล้ำวาณิช สำเร็จการศึกษาปริญญาเอกสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว ทำงานที่ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ มองว่า กฟผ. โดดเด่นด้านโอเพ่นซอร์ส แห่งหนึ่งของไทย
  • อาจารย์เริ่มต้นด้วย The Top 10 tech trends for 2012 โดย Pete Cashmore, CNN ประกอบด้วย Touch computing, Social gestures, Near-Fill Communication (NFC) and mobile payments, Beyond the iPad, TV everywhere, Voice control, Spatial gestures, Second-screen experiences, Flexible screens และ HTML5 (ซึ่ง iPhone ไม่ใช้)
  • แต่สิ่งที่อาจารย์มองไว้ 5 Top ten คือ Augmented reality, The micro-payment economy ใช้หลัก Pareto คือ 20% ครอบคลุมยอดขาย 80%, The rise of UltraBook, Social/Digital exhaustion, Mobile chip wars และทำนาย 10 แนวโน้มว่า Cloud computing, Social media, Mobility, Data centers, Business process outsourcing, Smart cities ที่จะต้องใช้ ITS-Intelligent Transportation System, Service level agreements, Big data ปัญหาคือข้อมูลเยอะ หาไม่เจอ ตกลงไปในทะเลข้อมูล, Communication networks และ Smarter government
  • ซึ่งจะสังเกตเห็นตัวร่วมคือ Social และ Mobile ดังนั้นเทคโนโลยีที่เป็นตัวกลางคือ Cloud computing มีเครื่องมือในการเข้าถึง คือ โทรศัพท์ ใช้กันบ่อยๆในสังคมเป็นพฤติกรรมแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ใช้งานได้ (Information) ระหว่างกัน
  • อนาคตของ IT จะเปลี่ยนจาก 1) อยู่กับที่ (Fixed) เป็นเคลื่อนที่ได้ (Movable) 2) ท้องถิ่น (Local) เป็น โลก (Global) 3) ส่วนตัว (Private) เป็น สาธารณะ (Public) และ 4) ส่วนบุคคล (Individual) เป็น เสมือนหนึ่งบุคคล (Virtual) นั่นคือ Mobile, Social, Information and Cloud Computing --> MSIC..MSIC…MSIC….MSIC
  • คน IT กฟผ. จะไม่เพียงแต่วิ่งไล่ตามเทคโนโลยีให้ทันเท่านั้น จะต้องไปอยู่ข้างหน้าให้ได้ ต้องมองให้ออกว่าโลกจะไปทางไหน กฟผ. จะได้ไปดักรออยู่ตรงนั้น
  • ทิศทางในปี 2012 จาก Gartner Hype Cycle 2012 ก็แสดงไว้เช่นนั้น

                      

  • สมองของเด็กยุคใหม่จะเต็มไปด้วย Facebook Twitter Flickr YouTube digg FEED Smartphone ดังนั้นผู้นำยุคใหม่ก็ต้องสร้างเครือข่ายสังคมเพื่อการดูแลและต่อยอดองค์ความรู้วัฒนธรรม จากสถาบันคือ กฟผ. กับชุมชน ผ่านผู้ชม
  • ผู้นำในยุคใหม่ ต้องเป็นคนที่มีความสามารถ “ในการเป็นผู้นำ” และ “ผลักดันให้เกิดการสร้างนวัตกรรม” Intersection ของ 2 Themes นี้ หาได้ยากในโลกใบนี้ มี สตีฟ จ็อบส์ ในย่านเอเชียมี Lee Kun-Hee chairman ของ Samsung

ประเสริฐศักดิ์

ช.อศง-ลท.

 

วันนี้ได้อะไร ช่วงที่ 4 วันที่ 15-18 พฤษภาคม 2555

วันนี้วันที่ 17 พฤษภาคม 2555

High Performance Organization (HPO) ที่ กฟผ. โดย ดร. สมโภชน์ นพคุณ และคุณสมชาย ไตรรัตนภิรมย์ TRIS

 

  • อาจารย์สมชาย ไตรรัตนภิรมย์ จากบริษัท TRIS เล่าให้ฟังว่าเดิมเป็นรัฐวิสาหกิจชั้นดี กฟผ. ก็ปรับจากรัฐวิสาหกิจธรรมดาเป็นชั้นดีกับเขาด้วย ปรากฏว่าผลการประเมินตกหมด เปลี่ยนเป็นการประเมินทุกภาคส่วนของราชการแทน ดังนั้น กฟผ. จึงต้องถูกประเมินด้วยเพราะเป็นส่วนหนึ่งของกระทรวงพลังงาน
  • วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ปรับปรุงประสิทธิภาพองค์กร และ 2) ให้บริการสังคม สร้างความพึงพอใจให้ในสิ่งที่ Stake holder ต้องการ
  • การปฏิวัติอุตสาหกรรมของโลก Taylor ต้องการเพิ่มผลผลิตของคน Productivity จึงเกิดคณะบริหารธุรกิจขึ้นใน Wharton School of California เพื่อสอนให้คนรู้จักคุณค่าในการบริหารจัดการ
  • HPO คือ “ผลประกอบการยอดเยี่ยมในทุกด้านเหนือคู่แข่งสำหรับระยะเวลาหนึ่ง”
  • ทฤษฎีหลายอย่างก็ได้ข้ามๆ ไป คงต้องเรียนเชิญอาจารย์มาเล่าอีกครั้งหนึ่งครับ
  • Leadership แบบ HPO คือ เป็น 1) Behavior ไม่ใช่เป็นโดยตำแหน่งที่สั่งการได้ เป็นโดยสันดานก็ว่าได้ 2) Vision มองให้ไกล จะได้มีความคิดริเริ่มได้ และ 3) Inspiration กระหายใคร่เป็นผู้นำ ต้องการให้ “พนักงานต้องเห็นวิสัยทัศน์ขององค์กรและรู้ว่าเป็นส่วนใดขององค์กร” ตัวอย่างเช่น NASA ถ่ายทอดถึงพนักงานทำความสะอาด เมื่อประธานถามว่าทำหน้าที่อะไร คำตอบที่ได้รับคือ “ส่งมนุษย์ไปดวงจันทร์”
  • ตัวอย่างอื่น เช่น Malcolm Baldrige National Quality Award (MBNQA)  กลายมาเป็น Thailand Quality Award (TQA) และเกณฑ์ประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ (SEPA) ของไทย ดังรูป

                       

 

 ดร. สมโภชน์ นพคุณ

  • ปี 2521 เมื่อ 30 – 40 ปีมาแล้ว คิดว่าราชการเจ๋งมาก ๆ ความคิดตอนแรกที่เข้ารับราชการ คิดว่าได้คนเก่ง และคนดี หัวหน้าเป็นคนที่มีความรู้ความสามารถมาก แต่หลังจากที่ได้เข้ามาทำงานด้านพัฒนาบุคลากร รู้สึกว่าใน 30 ปีที่ผ่านมา ไม่เป็น HPO เหมือนแต่ก่อน ทุกสิ่งดูลดลง คิดว่าองค์กรอีกสักพักหนึ่งถึงสามารถเติบโตได้ดี
  • โครงสร้าง (Structure) ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ปี 2545 Restructuring ยุบเหลือ 14 จาก 24 กระทรวง เกิดกระทรวงพลังงานขึ้น ตำแหน่งดีขึ้น แต่ว่า Performance ไม่ดีขึ้น เพราะว่า กฎ ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ของข้าราชการยังไม่ทันสมัย ตัวบทกฎหมายยังเป็นเหมือนเดิมอยู่ไม่มีการปรับปรุงใหม่  ต่อมาจึงมีการจัดตั้งสำนักงานปฏิรูปกฎหมาย ก็ทำให้ดีขึ้น   วัฒนธรรมขององค์กรอ่อนมาก ราชการไม่รู้ว่าเป็นราชการเพื่ออะไร
  • ประเด็นที่สำคัญมากคือ การอ่านหนังสือ ต้องส่งเสริมคนให้อ่านมาก ๆ นศ. เวียดนามชัดเจนกว่าไทยเยอะ
  • เดิมการบริหาร (Management) รวมทั้ง 3 เรื่อง คือ Man Money Material ความจริงไม่ใช่เรื่องเดียวกัน  แต่ถูกทำให้เหมือนเรื่องเดียวกัน ใหม่จะแยกบริหารทีละเรื่อง
  • ท่าน ป. ปยุตโต  บอกว่า “คนเราถ้าจะพัฒนาให้ได้อย่างยั่งยืนต้องทำให้คนเต็มคน”ของฝรั่ง 7 Habits ต้นฉบับของ Steven Covey
    • พัฒนาสติปัญญา
    • พัฒนาวุฒิภาวะทางอารมณ์เพื่อทำงานร่วมกับคนอื่นได้
    • พัฒนา Physical สุขภาพร่างกายให้แข็งแรง
    • พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม
  • ต้องสร้างด้วยทีมที่เข้มแข็ง เป็นลักษณะ Team Spirit ขัดกับนิสัยคนไทย
  • ดร.จีระ สิ่งที่ KPI วัดไม่ได้ คือ Intangible และ Invisible assets ที่มีอยู่ในตัวคน ต้องเป็น LO ด้วย มองไปในอนาคต ไม่ใช่ KM เก็บแต่อดีตอย่างเดียว

 

  • คะแนนปี 2554 เรื่องของกระบวนการ กฟผ. ได้ 286 คะแนน เต็ม 600 คะแนน (หมวด 1-6) หรือ 47.67% ค่าเฉลี่ยปี 2554 เท่ากับ 290 ปี 2553 เท่ากับ 280 แสดงว่าปีนี้แย่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยแต่ว่าดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว ส่วนของ 35% นี้ได้ 3.6667 และเรื่องของผลลัพธ์อีก 65% ได้ 4.5053 เฉลี่ยได้ 4.2118 เมื่อปรับตัวคูณจาก RFIs ได้เท่ากับ 4.6203 ลดลง 0.0684 จากปี 2553  เป็นลำดับที่ 3 ของรัฐวิสาหกิจ
  • คำถามว่าจะอุธรณ์การประเมินผลของ TRIS ได้หรือไม่ เพราะการลงทุนของ EGAT-i ไม่ได้กำกับโดยบอร์ด กฟผ. เกณฑ์การอุธรณ์คือนอกเหนือการควบคุมของ กฟผ.

 

คำถาม            นโยบายเรื่อง EVM ใช้ได้ผลหรือไม่

ตอบ                EVM ต้องมี Assumption เยอะ ถ้าเปลี่ยน Assumption ทุกอย่างก็เปลี่ยน แต่หลักการใช่เนื่องจากเป็นนโยบาย EVM บางครั้งทำไปแล้ว กลัวเสียของเนื่องจากลงทุนไปเยอะ รัฐวิสาหกิจต้องมี feedback กลับไปว่าเกิดประโยชน์จริงหรือไม่ หรือไปสร้างภาระ  ดังนั้นประเด็นอยู่ที่การปรับใช้ 

                        สรุปคือ ควรไปทุ่มเทในส่วนของทรัพยากรในส่วนที่แข็ง  ระบบอะไรก็แล้วแต่ สร้างภาระให้ผู้ประเมิน องค์กร ผู้กำหนดนโยบาย แสดงว่าไม่ถูกทาง สิ่งที่ทำได้คือต้องช่วยกันใช้หลัก 80 : 20

คำถาม         มีการเปลี่ยนวิธีวัดค่าใช้จ่าย จากเดิมที่เคยช่วยกันประหยัดงบประมาณ แต่ปรากฎว่าเอาฐานการวัดจากการดูค่าเฉลี่ย ทำให้คนที่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยได้เปรียบทันที

ตอบ                เรื่องการวัด CPI-X น่าจะเลิกได้แล้วสำหรับการวัดในปัจจุบัน เพราะสถานการณ์และสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง ดังนั้นควรมีการทำการศึกษา  การตั้งเกณฑ์ไม่มี แต่อยู่ที่การเจรจา ต้องคุยกันว่ากำหนดอย่างไร เช่นการกำหนดลดต้นทุนจะลดจากปีที่แล้ว เฉลี่ย 3 ปี หรือ 5 ปี ไหวหรือไม่ ต้องมาเจรจาต่อรอง การวัดสัดส่วนของค่าใช้จ่ายต่อรายได้ ต้องเพิ่ม หรือไม่ ควรมีการนั่งเจรจากัน

ประเสริฐศักดิ์

ช.อศง-ลท.

 

วันนี้ได้อะไร ช่วงที่ 4 วันที่ 15-18 พฤษภาคม 2555

วันนี้วันที่ 17 พฤษภาคม 2555

นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน (Social Innovation) ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ ดร.เสรี พงศ์พิศ และ รวค. ธวัช วัจนพรสิทธิ์

  • ครูบาสุทธินันท์ นำผลน้ำเต้ามาให้ดู มีขนาดใหญ่มาก เป็นผลของป่าชุมชนที่ปลูกต้นไม้ขึ้นมาเองในพื้นที่ภาคอีสานที่แห้งแล้งกันดารมาก ก็พยายามปลูกต้นไม้ทีละต้นๆ จนเป็นป่าได้
  • ครูบาให้ความสำคัญกับไฟฟ้ามากและไม่ได้ละเลยเรื่องการสื่อสาร จัดทำ web สื่อให้คนทั่วไปทราบ มีคนมาดูงานสวนป่ามาก กลัวลำบาก
  • เลี้ยงวัว นำมูลวัวมาใส่ต้นไม้ อยากรู้ว่าวัวกินใบอะไรได้บ้าง ก็นำไปลองให้มันกินดู ถ้ามันไม่กินก็เพราะไม่ชอบหรือมีพิษ สัตว์เขารู้ได้เอง ไม่ต้องวิจัย เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านนี่แหละ
  • อยากให้คน กฟผ. คิดว่าทุกอย่างเริ่มต้นได้ ทุกอย่างเรียนรู้ได้ ไม่ต้องกลัวล้มเหลว อย่าไปกลัวใครเขาว่าอะไร เราลองทำ เราก็รู้เอง
  • ดร. เสรี เล่าถึงความสัมพันธ์ในสังคมว่ามีอยู่ 2 แบบ คือ 1) คนกับคน 2) คนกับธรรมชาติ โดยอาหารกับพลังงานมีความสำคัญที่สุดการดำรงชีวิต และวิวัฒนาการของสังคม จากยุคสังคมเกษตรกร พึ่งพาตนเอง ทำอาหารกินอยู่ได้เอง มาสู่สังคมอุตสาหกรรม ทำมาหาเงินเพื่อมาแลกเปลี่ยนเป็นอาหาร ไม่ต้องทำอาหารเอง ที่อยู่อาศัยมาจากการตัดไม้ทำลายป่า ทำให้ธรรมชาติเสื่อมลง
  • ชุมชนที่อยู่รอดได้เป็นชุมชนที่เข้มแข็ง เรียนรู้จึงจะพึ่งพาตนเองได้ เช่นแนวคิดของผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม ครูบาสุทธินันท์ฯ กำหนดเองว่าจะทำอะไร
  • กฟผ. ควรจะให้การศึกษาชาวบ้าน เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้มีหลักสูตรแก้ปัญหาหนี้สิน สอนให้รู้จักวางแผนการเงินของครอบครัว รู้ว่ารายรับรายจ่ายเป็นอย่างไร ควรออมเดือนละเท่าไร เมื่อเลี้ยงตนเองได้ ก็จะเลี้ยงครอบครัวและเพื่อนบ้านได้
  • เราก็นึกอยู่ว่า กฟผ. มีหน้าที่ผลิตไฟฟ้า แล้วต้องมาสอนชาวบ้านแบบนี้ไปทำไมกัน ความคิดว่าดำเนินการแบบเศรษฐกิจพอเพียงนั้น กฟผ. ไม่ต้องไปสอนชาวบ้านเขาหรอก สอนตัวเองให้รู้และเข้าใจว่าผลิตไฟฟ้าแบบเศรษฐกิจพอเพียงนั้นเป็นอย่างไร ความคิดนั้นคือ ผลิตให้คนไทยในประเทศใช้เท่านั้น ไม่ต้องไปเผื่อให้ชาติอื่นที่มาอาศัยทรัพยากรของเราให้เกิดกำไรของบริษัทเขา ไม่ควรผลิตไฟฟ้าให้อุตสาหกรรมต่างชาติ ไม่ต้องไปแสวงหาทรัพยากรจากประเทศลาว เขมร พม่า มาให้ธุรกิจ อุตสาหกรรมนั้นใช้งาน
  • รวค. เล่าให้ฟังว่า กฟผ. มี 2 ยุค 1) ยุคเฟื่องฟู สังคมเกษตรมาสู่สังคมอุตสาหกรรม ความต้องการไฟฟ้ามีอยู่มาก 2) ยุดประชาธิปไตย ตามผู้นำชาติเจริญ ซึ่งต่อมาจะใช้ไม่ได้แล้ว ต้องหาวิธีการใหม่ๆ อย่าทำทางเดียว คิดว่าเขาอยากได้อะไรแล้วทำ หรือ นำไปให้ ต้องดูความต้องการที่แท้จริงของประชาชน
  • เรามีรัฐบาล Short Term ก็ทำงานแบบ Short Term ไปด้วย เราต้องการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์กับถ่าน รัฐพูดนโยบาย 15 ปี เรื่องสายลมกับแสงแดด ต้องนำเข้า LNG 500 บาท/ล้านบีทียู หน่วยละ 4 บาท มาผลิตไฟฟ้าขายหน่วยละ 2.6 บาท ยิ่งนานไปจะเป็นอย่างไรก็ไม่ต้องเดา
  • สายส่งเราทำถูกต้อง ถูกกฎหมายหมด แต่ไม่ถูกใจชาวบ้าน ต้องสร้างค่านิยมใหม่ ใครโดนเวนคืน เหมือนถูกหวย รวย เงินไหลมา ไม่ใช่..วย เราต้องบริหารระหว่างความจริงกับความเชื่อ ทำให้เขาเชื่อก่อน
  • รัฐบอกให้เราทำ Coal ให้ได้
  • ดังนั้นอาจารย์เสรีบอกว่า ต้องยึด
    • Social Enterprise เป็นกัลยาณมิตรให้เกียรติกันทุกฝ่าย
    • กรอบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
    • รณรงค์ลดการใช้พลังงาน

เสริมว่า

  • แทนความต้องการไฟฟ้าของชาวบ้านด้วยพลังงานหมุนเวียน
  • สังคมจะเห็นว่าเราทำเพื่อสังคม

ประเสริฐศักดิ์

ช.อศง-ลท.

 

วันนี้ได้อะไร ช่วงที่ 4 วันที่ 15-18 พฤษภาคม 2555

วันนี้วันที่ 17 พฤษภาคม 2555

รศ.  สุขุม นวลสกุล การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และเทคนิคการตัดสินใจของผู้บริหารมืออาชีพ

  • เคยเห็นอาจารย์สุขุมแต่ในทีวี การวิเคราะห์ข่าวกับคุณศิริบูลย์ ช่อง 3 แล้วไม่เคยนึกว่าจะมาเห็นรายการ Talk Show แบบสนุกสนาน เต็มไปด้วยสาระในการบริหารความขัดแย้ง มีตัวอย่างของ ม.ราม ประกอบอย่างชัดเจน ทำให้ 2 ชั่วโมงกว่าของการบรรยายไม่น่าเบื่อเลย แม้ว่าจะเป็นช่วงหัวค่ำ หิวแล้วก็ตาม
  • ความขัดแย้งในการบริหาร แบ่งเป็น 3 ประเภท
    • บุคคล กับ บุคคล  ต้องระวังไม่ให้เกิดความขัดแย้งระหว่างบุคคลผู้บริหารหรือหัวหน้า ต้องคอยดูแลไม่ให้เกิดความขัดแย้ง ต้องใช้หลักกันดีกว่าแก้
    • บุคคล กับ องค์กร  คนทำงานที่ไหน ต้องรักภักดีกับองค์กรนั้น
    • องค์กร กับ องค์กร  ทำงานที่เดียวกันแต่อยู่คนละหน่วยงาน ไม่เข้าใจบทบาท หลงหน่วยงาน  
  • ตัวอย่างความขัดแย้งระหว่างบุคคล การเลือกชั้นที่ทำงานใหม่ชัดเจนดีมากว่าจะแก้ไขปัญหากับลุกน้องและกับเจ้านายอย่างไร ผู้นำ ไม่มีสิทธิ์เลือกลูกน้องเอง แต่ก็ต้องดูแลลูกน้องทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน
  • ตัวอย่างความขัดแย้งระหว่างบุคคลกับองค์กร  เนื่องจากไม่เข้าใจ และไม่มีการอธิบาย เช่น พนักงานไม่เข้าใจว่าทำไมต้องเปลี่ยนยูนิฟอร์มพนักงานเป็นสีเขียว
  • การตัดสินใจ ต้องเร็ว แม่นในกฎระเบียบจะตัดสินใจได้ทันที ลดความเกรงใจลงบ้าง ไม่โอ้อวด มีหลักในการวิเคราะห์การตัดสินใจอยู่ว่า 1) ถูกต้อง รู้วิธีหาความถูกต้อง 2) ถูกใจ และ 3) ถูกจังหวะ ถ้าไม่ถูกจังหวะจะโดนเผา
  • องค์ประกอบของการตัดสินใจมี 5 อย่าง 1) ข้อมูล 2) ประสบการณ์ 3) การคาดการณ์ 4) ผลกระทบ และ 5) สถานการณ์
  • ตัวอย่างข้อมูล การเดินทางไปเยือนจีน ซื้อหนังสือทุกเล่ม คนจีนชอบทุเรียนไทย ไม่ชอบใคร จะรู้ว่าถึงตรงนี้ต้องดำเนินการอย่างไร เหมือนคนเคยไปจีนมาแล้วหลายครั้ง
  • ตัวอย่างการคาดการณ์  ต้องมีการคาดการณ์ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น เช่น พ่อกับลูกจูงลากลับบ้าน ตอนแรกลูกจูงแล้วพ่อนั่ง เผอิญชาวบ้านผ่านมาก็ว่าพ่อ หาว่าพ่อเอาเปรียบลูก พ่อเลยลงมาจูงมาแทน  ชาวบ้านอีกกลุ่มหนึ่งผ่านมา ก็ว่าลูกหาว่าไม่ช่วยพ่อจูง เอาเปรียบพ่อ ถ้าเราเป็นนักบริหาร มีวิธีการที่จะเอาลากลับทำอย่างไร
  • วิธีการก็คือ ต้องคิดคำตอบไว้ล่วงหน้าในสิ่งที่จะเกิดเป็นคำถาม สิ่งที่จะโดนวิจารณ์ เอาไว้ชี้แจง เมื่อคิดว่าเป็นคำตอบที่เหมาะสมแล้วก็ยืนยันคำตอบ อย่านิ่งเด็ดขาด

 ผู้บริหารอย่าตายเพื่อความถูกต้อง

ประเสริฐศักดิ์

ช.อศง-ลท.

 

 

ผู้บริหารอย่าตายเพื่อความถูกต้อง

ประเสริฐศักดิ์

ช.อศง-ลท.

 

วันนี้ได้อะไร ช่วงที่ 4 วันที่ 15-18 พฤษภาคม 2555

วันนี้วันที่ 18 พฤษภาคม 2555

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ HR for Non – HR และทุนมนุษย์ของ กฟผ. รองรับประชาคมอาเซียน

  • วันนี้ขึ้นมารายการแรกอาจารย์เล่าถึง Mojo ก่อนเลยเป็น Competency + Happiness และ Three law of Performance มีอะไรเจ็บปวด อย่าเก็บไว้นาน เหมือนตอนอ่าน Mindset เด็กๆ ล้มแล้วลุก อย่ากลัวความล้มเหลวเหมือนเด็ก
  • The First Law of Performance is: How people perform correlates to how situations occur to them. The Second Law of Performance is: How a situation occurs arises in language. The Third Law of Performance is: Future-based language transforms how situations occur to people.
  • ฝึกคิดเรื่อง HR โดยจัดแบ่งเป็น 5 กลุ่ม 1) ผู้นำ กฟผ. ผวก. รวx. Leader/CEO 2) Functional HR คิดแบบ Silo 3) คนในห้องนี้ ระดับนี้เป็น Non-HR 4) เสนอแนะ 3 เรื่องที่จะปรับปรุงให้ 3 กลุ่มข้างต้นทำงาน HR อย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ (Problem Solving) และกลุ่มที่ 5) หลักสูตรนี้ช่วยทำให้งาน HR โดยตัวละครทั้ง 3 กลุ่มดีขึ้นอย่างไร กิจกรรมนี้ดีจริงๆ ได้ฝึกทักษะในการคิดเรื่อง HR ทันทีเลย สรุปได้ดังนี้

 

จุดแข็ง

จุดอ่อน

กลุ่ม 1 CEO

 - มีทีมคัดเลือก

 - Idol CEO-HR ไม่มี Star

 - Ex-CEO ยังมีเครือข่าย

 

กลุ่ม 2 HR

 - งบมาก

 - งบกระจุกตัว

 - สถานที่พร้อม

 - ไม่สนอง Need ลูกค้า เป็น Need ของ อพบ.

 

 - ขาดการประเมิน

 

 - ไม่สร้างวัฒนธรรมใฝ่รู้

กลุ่ม 3 Non-HR

 - รู้สมรรถนะของคน/เติบโต

 - ไม่ทราบว่าเป็นหน้าที่ของเรา

 - ใกล้ชิดลูกน้อง

 - ไม่มีส่วนร่วมประกาศของ HR

 - พัฒนาความรู้เฉพาะทาง ทีมงาน

 - ไม่สนใจข้อมูลที่ได้รับมา

 - มีอำนาจให้คุณให้โทษ

 - รู้ แต่ไม่ถ่ายทอด ไม่ชอบมัน

 

 - งบจัดให้ไม่เพียงพอ

 

 - จะทำแบบนี้ ทำไม

 Chira + HR + Union -- > Smart HR    *****

  • บทบาทของ HR เก่าและใหม่ เปลี่ยนแนวคิดหมดเลย ถ้าเจอคนทำงาน HR ที่เป็น Fixed Mindset ล่ะ จะทำอย่างไร  จากงานประจำเป็นงานวางกลยุทธ์ว่าจะพัฒนาคนอย่างไร จากความคิดแบบ Silo ของ HR Department เป็นงานของ Non-HR (CEO+Other Department)  จากงานฝึกอบรมเป็นงานศึกษาหาความรู้เอง จากที่มองว่าเป็นค่าใช้จ่ายขององค์กร มีแต่สิ้นเปลืองงบประมาณฝึกอบรม กลายเป็น การลงทุนในมนุษย์ จากคงที่เป็นบริหารการเปลี่ยนแปลง จากข้อมูลสารสนเทศเป็นความรู้ จากที่ทำหน่วยงานเดียวกลายเป็นมีหุ้นส่วน จากที่มุ่งประสิทธิภาพเป็นมุ่งประสิทธิผล จากที่คิดถึงราคากลายเป็นคิดถึงมูลค่าเพิ่ม จากการที่ออกคำสั่งควบคุมเป็นการมอบหมายให้อำนาจไว้วางใจ จากภาพย่อยเป็นภาพใหญ่มาย่อย จากเศรษฐกิจเปื้อนเลือดมาเป็นเศรษฐกิจคิดสร้างสรรค์ และสุดท้ายจากหนี้สินกลายมาเป็นทรัพย์สิน ดังตาราง

Old   HR

New   HR

Routine

Strategic

HR   Department

CEO   + Other Departments

Training

Learning

Expense

Investment

Static

Change   Management

Information

Knowledge

Stand   alone

Partnership

Efficiency

Effectiveness

Value

Value   Added

Command   & Control

Respect   & Dignity

Micro

Macro   to Micro

Red   Ocean

Blue   Ocean

Liability

Assets

  • คนจบอะไรก็เก่งได้ ถ้ามีปัญญา ดูคุณภาพมากกว่าปริมาณ คนทำงานต้องมีความสุข ผู้บังคับบัญชาต้องเป็น HR Manager แบ่งความรับผิดชอบกับ HR Department ดังนี้

CEO

ผู้บังคับบัญชา

HR Department

 - ให้คุณให้โทษ

นโยบาย

ปฏิบัติ

 - ผู้นำ ผู้จูงใจ

 - คน

 - รับคน

 - ไม่ล้วงลูก

 - พัฒนาคน

 - จ่ายค่าตอบแทน

 - อย่านั่งเฉยๆ

 

 

  • โครงสร้างเงินเดือน + Career Path ต้องถาม Stake Holder ภายในบริษัท แล้ว กฟผ. ล่ะ เคยถามหรือยัง อะไรก็เป็นความลับหมด
  • หลักสูตรนี้ช่วยเปลี่ยน Mindset ของ CEO-HR และ Non-HR จากไม่เคยสนใจ HR ให้มาสนใจ

 

ประเสริฐศักดิ์

ช.อศง-ลท.

 

วันนี้ได้อะไร ช่วงที่ 4 วันที่ 15-18 พฤษภาคม 2555

วันนี้วันที่ 18 พฤษภาคม 2555

โดย ดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ “บทบาทของ Regulator และ Energy Tax กับการทำงานของ กฟผ.”

  • วันนี้อาจารย์ดิเรกเล่าเรื่องการไปดูงานของโอบามาทำการปรับปรุงระบบส่งที่เสื่อมสภาพ 30 ปี ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วย ให้ทำ Smart Grid ด้วย 4 ปีผ่านมาสรุปปัญหาในการดำเนินงาน
  • ก่อนหน้านี้มีประชุมกลุ่ม Regulator คือ AERM- Asian Energy Regulator Network เมื่อเดือนมีนาคม 2555 ที่ต้องการให้เปิดขายไฟฟ้าข้ามประเทศได้ จากเดิมที่เป็น Bilateral Contract
  • SOM- Senior Official Ministry รัฐมนตรีว่าการพลังงานของอเมริกาจัดตั้งขึ้นเพราะมี Energy Crisis ในปี 1990  

เข้าเรื่อง Regulator เป็นค่านิยม TRUST โดย

  1. T = Trust ความเชื่อมั่น
  2. R= Reliability and Consistency ความน่าเชื่อถือ และเที่ยงธรรม
  3. U= Unity ความเป็นเอกภาพ
  4. S= Social Accountability ความเชื่อมั่นของสังคม
  5. T= Transparency and Independence  อิสระและโปร่งใส
  • Regulator เขียนแผนที่ยุทธศาสตร์โดยเริ่มจาก Stake Holder อยู่บนสุด ไล่ลงไปหา Financial ซึ่งกลับกันกับการเขียนโดยทั่วไป ผลลัพท์ที่ได้จากยุทธศาสตร์จะลงสู่ 4 Parties
  • การกำหนดนโยบายและการกำกับดูแล กพช. กับ กกพ. แบ่งงานนโยบายและงานกำกับดูแล ได้รับทราบหน้าที่และบทบาทของ กกพ. การใช้อสังหาริมทรัพย์ การระงับข้อพิพาท อัตราค่าธรรมเนียมในการประกอบกิจการพลังงาน เงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้า มีที่มาจาก Energy Tax กองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ตามลำดับ การนำส่งเงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้า
  •  Regulator กับการทำงานของ กฟผ.
    • การผลิตไฟฟ้าให้พอเพียงกับความต้องการไฟฟ้า
    • การผลิตไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ
    • การรับซื้อไฟฟ้าอย่างเป็นธรรม
    • การสั่งจ่ายการผลิตไฟฟ้าที่โปร่งใสและเป็นธรรม
    • การจำหน่ายไฟฟ้าให้กับระบบจำหน่ายมีความมั่นคง ปลอดภัย และมีมาตรฐานการบริการที่ดี
    • การเชื่อมต่อระบบโครงข่ายพลังงาน ตามข้อกำหนดที่เป็นไปตามหลักการของพระราชบัญญัติฯ
    • การจัดทำแผน PDP แผนการลงทุน แผนการขยายโครงข่ายไฟฟ้า
    • การรายงานข้อมูลที่จำเป็นต่อการกำกับดูแลของ Regulator
    • การนำส่งเงินเข้ากองทุนพัฒนาไฟฟ้า
    • การดำเนินการเพื่อรับผิดชอบต่อสังคม (CSR)
  • ใบอนุญาตที่ กฟผ. ขอจาก กกพ. มีอยู่ 4 ใบคือใบอนุญาต ผลิตไฟฟ้า ระบบส่งไฟฟ้า จำหน่ายไฟฟ้า และควบคุมไฟฟ้า

 ประเสริฐศักดิ์

ช.อศง-ลท.

 

29 พฤษภาคม 2555 รักษ์ใจ – รักษ์กาย -3 ณ.เสถียรธรรมสถาน

  วันนี้เป็นครั้งแรกที่ได้มาสถานปฏิบัติธรรม เพราะปกติจะไปที่วัด สิ่งที่ได้ในวันนี้
  1. มีโอกาสได้สวดมนต์ เดินจงกลมและนั่งสมาธิร่วมกันกับผู้บริหารระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการของ กฟผ. ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรก
  2. ได้เห็นและได้ฟัง แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต ตัวจริงเป็นครั้งแรกและได้รับข้อเตือนใจจากแม่ชีหลายเรื่อง ทั้งเรื่องที่เรารู้ๆอยู่แต่ก็ยังพลั้งเผลอ รวมทั้งข้อแนะนำใหม่ เช่น
   -อย่าเสพสิ่งที่ทำให้ปัญญาเราเสื่อม
   -อย่ากำทุกข์ไว้ ควรปล่อยวาง ทุกอย่างไม่ใช่ของของเรา
   -การเตือนสติตัวเอง ให้รู้ตัวเองตลอดเวลา ไม่ประมาทดูแลร่างกายและจิตใจด้วยการปฏิบัติธรรม
   -การควบคุมสมาธิ โดยการควบคุมลมหายใจเข้าและลมหายใจออก
   -การรู้จักควบคุมอารมณ์ การตั้งสติ และการเป็นผู้ให้

30 พฤษภาคม 2555 โดยอาจารย์ พจนารถ ซีบังเกิด

   หัวข้อ People management & Coaching The new role of EGAT Leadership สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ 

1.ศาสตร์ NLP (Neuro Linguistic Programming) ซึ่งอาจารย์ได้ให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ทดลองปฏิบัติ ซึ่งผมเห็นว่า ศาสตร์นี้มีประโยชน์มากแต่ต้องใช้เวลาและประสบการณ์พอสมควร จึงจะสามารถเอาไปใช้งานจริงให้ได้ผลแม่นยำและเกิดประโยชน์ 2.Human 6 Core Needs ซึ่งประกอบไปด้วย

   1.1 Certainty / Securities
    1.2 Uncertainty / Variety
    1.3 Connection & Love
    1.4 Significance
    1.5 Growth
    1.6 Contribution

สิ่งหนึ่งที่อาจารย์ได้สอนและผมเห็นว่าสามารถนำไปใช้ได้แน่นอน คือ การทำให้เราสามารถเข้ากับคนที่เราต้องการปฏิสัมพันธ์ได้ง่ายโดยใช้หลัก

1. คนเราชอบบุคคลที่มีอะไรคล้ายๆ เรา
2.การทำตัวให้อยู่ในระดับเดียวกับเขา หรือต่ำกว่าเขา
   (ยกย่องเขา, ปฏิบัติตนเป็นคนนอบน้อม)

ทิศทางเศรษฐกิจไทย....กับการปรับตัวของ กฟผ. โดย มรว.ปรีดียาธร เทวกุล

ผลกระทบกับเศรษฐกิจไทย ในช่วงระยะเวลานี้ มีอยู่ 3 ส่วนหลักคือ
   1.นโยบายรัฐขึ้นค่าแรงและประกันสินค้าเกษตร
   2.เศรษฐกิจโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น Euro Zone 
    3.AEC

ผลกระทบข้างต้นมีผลต่อ กฟผ.คือ

 1.ผลของการเพิ่มขึ้นของเงินเดือนและค่าจ้าง ทำให้ภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวลง(ไปลงทุนที่ประเทศอื่น) แต่ไปเน้นในด้านการค้าทำให้การใช้ไฟฟ้าในภาคอุตสาหกรรมมีการเปลี่ยนแปลงไปจากทิศทางเดิม
 2.ภาคครัวเรือน จะใช้ไฟฟ้ามากขึ้นทั้งในชนบทและในเมือง

คำถามและคำตอบที่น่าสนใจ : กฟผ. ควรปรับตัวเองให้ไปเป็นแบบ PTT และ กฟผ.ควรหาเงินลงทุนด้วยตัวเองจะดีที่สุด

Panel Discussion โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล, อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ

 หัวข้อ เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC 2015 และเศรษฐกิจไทย ...ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

ใน Session นี้ ผมไม่ได้อยู่ร่วมฟัง แต่ได้อ่านจากใน Blog ที่เพื่อน EADP 8 ได้ร่วมกันสรุปไว้หลายท่าน ผมมีความเห็นในส่วนของ EGAT โดยเฉพาะอนาคตขององค์กรแห่งนี้ จะก้าวไปข้างหน้าอย่างไร แม้ว่ายังไม่เปิด AEC แต่ EGAT ก็เผชิญกับปัญหาการพัฒนาโรงไฟฟ้าใหม่ๆ จากการต่อต้าน, คัดค้านจากกลุ่มต่างๆ และดูเหมือนว่าประเทศของเรากำลังแก้ปัญหาแบบเฉพาะหน้าอยู่เรื่อยๆ (ดูจากร่างแผน PDP 2010 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3) สำหรับ AEC นั้น ผมเห็นว่า EGAT ไม่น่าจะได้ประโยชน์มากนัก ไฟฟ้าอาจจะมีเพียงพอกับประเทศไทย ด้วยวิธีการอีกหลายรูปแบบและบทบาทของ EGATอาจจะเปลี่ยนไปจากปัจจุบัน

ปัญหาการจัดหาแหล่งพลังงานไฟฟ้าใหม่ๆ ของ EGAT ทุกวันนี้ เกิดจากอะไร? และยังมีหนทางแก้ไขหรือไม่

ผมมีความเห็นว่าผู้ปฏิบัติงานทุกคน ควรจะมีโอกาสรับรู้ข้อมูลที่ครบถ้วนเพื่อให้เกิดความเข้าใจในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตของ กฟผ. พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ทุกคน ได้มีส่วนร่วมและกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนในองค์กรร่วมมือกัน ฝ่าฝันปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ หากผู้ปฏิบัติงานในองค์กรยังไม่ตระหนักและคิดว่าไม่ใช่หน้าที่ของฝ่ายเรา เป็นหน้าที่ของฝ่ายอื่น เลยไม่สนใจและไม่ตระหนักว่า ภัยที่กำลังคืบคลานเข้ามาจะกระทบกระเทือนถึงเขาอย่างไร ผมขอนำข้อคิดเรื่องความเคยชิน 4 แบบซึ่งผมจำไม่ได้ว่าเจ้าของข้อคิดเป็นใครพบเมื่อ 10ปีที่แล้ว เห็นว่าเป็นคำเตือนที่ดี ดังนี้

  1.เคยชินกับการไม่เคยแข่งขัน
  2.เคยชินกับความสบาย
  3.เคยชินกับความภูมิใจในความสำเร็จในอดีต
  4.เคยชินกับปัจจุบันจนไม่คิดถึงอนาคต

ความเคยชินทั้ง 4 แบบที่ทำให้คนหรือองค์กรล่มสลายซึ่งผมคิดว่าคงเกิดขึ้นกับองค์กรแห่งการ “ไม่เรียนรู้”

Mojo คือ ความรู้สึกที่ดี ที่เรามีต่อสิ่งที่เรากำลังทำ โดยเกิดขึ้นจากภายในและแผ่สู่ภายนอก ทั่วไปจะเกิดขึ้นเมื่อเวลาที่เราทำสิ่งใดอย่างมีเป้าหมาย มีพลัง และคิดบวก และสังคมโลกก็เห็นค่าของสิ่งที่เราทำ ซึ่งทำให้เรามีความสุข

Mojo จะดีมากหรือดีน้อยเนื่องจากเหตุ 4 อย่าง - ความเป็นตัวเรา ซึ่งก็ได้รับอิทธิพลมาจากปัจจัยภายนอก เช่น การชี้บ่งจากพ่อแม่ และคนรอบข้าง และปัจจัยภายใน ตัวเองคิดได้เองในอนาคตว่าตัวเองจะไปอย่างไร -ความสำเร็จ (คุณทำอะไรไปบ้าง)สำเร็จหรือไม่ มากแค่ไหน คนอื่นยอมรับในความสำเร็จนั้นหรือไม่ - ชื่อเสียง (คนอื่นคิด กับตัวคุณ และสิ่งที่คุณทำอย่างไร) คนอื่นยอมรับในความสำเร็จนั้นหรือไม่ มากน้อยแค่ไหน แต่ที่สำคัญที่สุดคุณตั้งความสำเร็จของคุณไว้อย่างไร ถ้าถึงเกณฑ์ที่คุณตั้งแล้วคุณก็พอใจ โดยไม่ต้องสนใจคนอื่นก็ได้เพื่อความสบายใจ - การยอมรับความจริง (รู้ว่าตนเองมีความสามารถแค่ไหน แล้วจะสบายใจ ไม่ดิ้นรน ปล่อยวาง จิตใจก็จะไปสุข)

การนำมาใช้ในกฟผ. คนกฟผ.น้อยคนที่จะรู้ว่า MOJO คือ อะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร มีผลดีอย่างไรต่อตนเอง ครอบครัว และกฟผ. ดังนั้นต้องมีการให้ความรู้ ขณะเดียวกันต้องพยายามปรับแก้ไขตัวเองให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่องานที่ตนเองทำอย่างสม่ำเสมอ และพลังภายในร่างกายก็จะเปล่งออกมาทำให้ตัวเองมีความสุขตลอดไป

สมศักดิ์ ปิยะภาณี 19-6-55

15 พ.ค.2555

  ได้ฟัง ผวก. เป็นเนื้อหาที่น่าประทับใจมากๆ ท่านพูดได้ดีมาก  ให้ความสำคัญกับบุคคลากรของ กฟผ. ซึ่งจะต้องพัฒนาขึ้นอีกในหลายด้าน การสร้างความเข้าใจอันดีกับผู้มีส่วนได้เสีย  การพัฒนาความรู้ความสามารถในเชิงธุรกิจ  และให้เตรียมตัวในเรื่อง ASEAN Grid  ซึ่งมีหลายมิติ  การเป็นผู้นำที่ดีจะต้องเก่งทั้งเรื่องงาน และมีจิตใจที่นึกถึงส่วนรวมเป็นสำคัญ

หัวข้อ ผู้นำ วัฒนธรรมองค์กร การบริหารเปลี่ยนแปลง โดย อาจารย์ประกาย ชลหาญ

     คนเป็นทุนที่สำคัญที่สุดขององค์กร ผลงานจะเกิดได้ต้องมีทั้ง 2 ส่วน คือ ความสามารถ  และแรงจูงใจ  ผู้นำมีส่วนสำคัญที่จะสนับสนุนทั้งสองสิ่งนี้ ต้องเป็นแบบอย่างที่ดี  ต้องประเมินว่าในแต่ละช่วงเวลาควรผลักดันด้านใด                 

หัวข้อ ทิศทางเศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจพลังงาน โดย ศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์

     ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้พลังงานของโลก และประเทศ ไทย  การหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะเกิดขึ้นในประเทศ  เราควรหาทางพึ่งพาพลังงานในประเทศให้มากที่สุด   นอกจากนั้นสำหรับทิศทางของไทยต้องพึ่งพลังน้ำจากเพื่อนบ้าน หันมาใช้ถ่านหินและพลังงานหมุนเวียนให้มากขึ้น

16 พ.ค.2555 หัวข้อ ผลกระทบแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ของไทย โดย ดร.กมล ตรรกบุตร

    ดร.ปณิธาน  ลักคุณะประสิทธิ์
      ได้ทราบเกี่ยวกับทิศทางพลังงานและแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ   ผลกระทบของการเกิดแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของญี่ปุ่น     เหตุการณ์ครั้งนั้น มีผลต่อทัศนคติของคนญี่ปุ่นกับ รฟ.นิวเคลียร์ รวมทั้งชาวโลก และคนไทยด้วย   ทิศทาง รฟ.นิวเคลียร์ในประเทศ  ส่วนใหญ่เป็นไปในทางลบ

ทิศทางพลังงานกับการทำงานของ กฟผ. โดย อดีต ผวก.คุณไกรศรีห์ กรรณสูตร

     รวห. คุณวิรัช  กาญจนพิบูลย์
        นโยบายของรัฐบาลเป็นปัจจัยสำคัญต่อทิศทางการผลิตไฟฟ้าของประเทศและของ กฟผ.   ปัจจุบัน กฟผ. ต้องใส่ใจสิ่งแวดล้อม และสังคมมากขึ้น ต้องปรับบทบาทให้เป็นที่ยอมรับของสังคม เพื่อให้การต่อต้านลดลง เพื่อที่จะทำให้การปฏิบัติภาระกิจของ กฟผ. ง่ายขึ้น

17 พ.ค.2555 High Performance Organization ( HPO ) โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ

   คุณสมชาย   ไตรรัตนภิรมย์
           ได้เข้าใจเกณฑ์การประเมินองค์กร  ที่มีสมรรถนะสูง เกณฑ์การประเมินคุณ ภาพรัฐวิสาหกิจ และผลการประเมินการดำเนินงานตามระบบ SEPA ของ กฟผ.    เห็นว่าทีมงานที่เข้มแข็งเป็นปัจจัยสำคัญขององค์กร  ซึ่งคนไทยมีจุดอ่อนเรื่องนี้ ควรให้ความสำคัญกับการสร้างคนในองค์กร ซึ่งมีอยู่ 3 กลุ่ม คือพวก Cream   Average  และพวกด้อย  แต่ละกลุ่มต้องแยกการจัดการให้ดี

หัวข้อ นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน โดย ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทร์

    ดร.เสรี  พงศ์พิศ
    รวค.  คุณธวัช  วัจนพรสิทธิ์
           ตัวอย่างของการใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติ เป็นเพื่อนกับธรรมชาติไม่ทำร้ายกัน  การร่วมมือร่วมใจกันของคนในสังคมที่ช่วยกันสร้างสังคมให้เกิดการเรียนรู้ ให้ชุมชนพึ่งพาตนเองได้   ปัจจุบันสังคมเปลี่ยนไปเป็นสังคมแบบประชาชนมีส่วนร่วม    ต้องปรับตัวเข้าหาสังคม  วิธีการดูแลสังคมเข้าใจให้ได้ว่าสังคมต้องการอะไร

หัวข้อการบริหารความขัดแย้งและเทคนิคการตัดสินใจ โดย รศ.สุขุม นวลสกุล

          ตลอดเวลาของการฟังบรรยาย เต็มไปด้วยเนื้อหาที่ดี สอดแทรกด้วยมุขต่างๆที่ฟังแล้วสามารถเข้าใจ นึกภาพตามได้อย่างง่ายดาย  ได้รับฟังเกร็ดเล็กน้อยจากข้อเท็จจริงหลายๆเรื่องที่ไม่เคยรับทราบมาจากที่ไหน ทำให้นึกภาพของปัญหาที่เกิดขึ้น และใช้เป็นแนวทางการทำงาน  นำไปใช้ในอนาคตได้

18 พ.ค.2555 HR for Non HR โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

     ความก้าวหน้าขององค์กร ขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ ภาวะของผู้นำ การสร้างวัฒนธรรมที่ดีที่เกียวข้องกับทั้งในและนอกองค์กร  หน้าที่ของหน่วยงานต้องนำนโยบาย ด้าน HR  นำไปสู่การปฏิบัติให้สอดคล้องกัน  เป็นการประสานร่วมกันระหว่าง ผู้นำ  หน่วยงานHR  และหน่วยงาน Non-HR

หัวข้อ บทบาทของ Regulator และ Energy Tax โดย ศ.ดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ

    ได้ทราบสาระสำคัญของ พรบ.การประกอบพลังงาน พ.ศ. 2550   มาตรการภาษีเกี่ยวกับพลังงานของไทยและต่างประเทศ   กองทุนพัฒนาไฟฟ้าภายใต้ พรบ.  การทำงานระหว่าง กกพ.  และ กฟผ.

ลิลิต ณ ระนอง ( 15 พ.ค 55 – 18 พ.ค 55 )

15 พ.ค 55 การบรรยายพิเศษ ประสบการณ์การเรียนรู้ในรุ่น 2 ของข้าพเจ้า กับการปรับใช้เพื่อการบริหาร กฟผ. ในยุคที่โลกเปลี่ยน ( ผวก. สุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ) ผวก. เล่าถึงสิ่งที่ได้จากการอบรมโครงการ EADP2 สรุปได้ว่า - การเป็นผู้นำทุกระดับ สิ่งที่ต้องการคือความรู้ด้านกว้าง ( หรือข้ามศาสตร์ที่ อ. จีระพูด ) เพราะเวลาที่ตัดสินใจแล้วพลาดไม่ได้ ทุกคนต้องพัฒนาให้พร้อมตลอดเวลา - ในช่วงเรียนควรถอดหมวกจากหน่วยงานแล้วมอง กฟผ.จากภายนอก - มองในสิ่งที่ใหญ่กว่าที่เราเป็นอยู่ ต้องมองให้ใหญ่และกว้างขึ้น - หน่วยงานมีหน้าที่ต้องช่วยดูแลผู้ปฏิบัติงานใหม่ที่เข้ามาหลังจากที่มีการปฐมนิเทศจากหน่วยงานทรัพยากรบุคคลแล้ว - การพัฒนาทุนมนุษย์ที่เห็นว่าจำเป็นคือต้องสามารถสร้างความเข้าใจ สื่อสาร สร้างความสัมพันธ์กับ ผู้มีส่วนได้-เสีย ได้อย่างเหมาะสมและมีขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจ - กฟผ. ต้องมีความเป็นเลิศในงานที่เราทำอยู่ - การเป็นผู้นำไม่ได้ต้องการเฉพาะสมอง สติปัญญาอย่างเดียว หัวใจจะต้องเป็นผู้ที่คิดถึงส่วนรวมเป็นที่ตั้งด้วย

ผู้นำ-วัฒนธรรมองค์กร- การบริหารการเปลี่ยนแปลง ( อ. ประกาย ชลหาญ ) อ.บรรยายรื่นไหลมากสรุปได้ว่า - คนสำคัญที่สุดในองค์เพราะคนมีผลงาน - ผลงาน ( Performance ) มาจาก2 ส่วนคือ Competency คือมีความพร้อมที่จะสร้างผลงานและ Motivation มีแรงจูงใจซึ่งจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ แต่อย่าขาด จะต้องสร้างแรงจูงใจตลอดเวลา - สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้คนมีผลงานที่ดีคือความรู้ความสามารถและสร้างบรรยากาศให้มีแรงจูงใจ - การบริหารงานในองค์กรต้องคำนึงถึง 3 เรื่องคือ สไตล์ผู้นำ ความต้องการของลูกน้องและสถานการณ์ ณ ขณะนั้น - ผู้นำที่ดีมี 4 บทบาทคือ 1. เป็น Path finder ต้องหาวิธีให้ลูกน้องเดินเช่นกำหนดนโยบาย เป้าหมาย 2. สร้าง Alignment ให้เกิดขึ้นในองค์กร การเชื่อมโยงของงานให้เดินไปในแนวทางเดียวกัน 3. ต้องมี Empowerment คือการมอบอำนาจ การกระจายอำนาจให้ลูกน้องทำ การควบคุมติดตาม และ 4.ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี ( Role model ) ซึ่งสำคัญที่สุด - สร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เป็น Boundaryless ไม่มีการแบ่งขอบเขตงานระหว่างฝ่าย ต้องช่วยกันทำงานให้องค์กร - ผู้ที่จะบริหารการเปลี่ยนแปลงได้ดีที่สุดคือผู้ที่คาดการณ์ได้ดีที่สุด - หน้าที่ของผู้นำจะต้องประเมินให้ได้ว่าจะมีแรงผลักดันอะไรมา ต้องคาดการณ์ให้ได้

พลังงานกับเศรษฐกิจไทย ( ศ.ดร. พรายพล คุ้มทรัพท์ ) วิชานี้ทำให้ทราบถึงสถานการณ์ด้านพลังงานของโลกและแนวโน้มในอนาคตซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อทุกคน ทำให้เราสามารถเตรียมตัว วางแผนการใช้ชีวิตได้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆได้ เช่นโลกใช้พลังงานจากฟอสซิลมากทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกและปัญหาภาวะโลกร้อน เป้าประสงค์สูงสุดคือใช้พลังงานสะอาดโดยไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจมากนัก เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม คลื่นความร้อนใต้พิภพ วัสดุเกษตร โลกใช้น้ำมันมากขึ้นและจะมากขึ้นในขณะที่น้ำมันจะแพงและหาได้ยากขึ้น ยิ่งประเทศไทยมีผลกระทบมากเพราะต้องพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ ต้องนำเข้าน้ำมันกว่า 90 % นำเข้าก๊าซธรรมชาติ 30 % จากพม่า โดยรวมต้องนำเข้าถึง 2 ใน 3 ของพลังงานเชิงพาณิชย์ ยิ่งพึ่งพาพลังงานนำเข้ามาก ยิ่งได้รับผลกระทบมาก แล้วอัตราการพึ่งพาพลังงานนำเข้าก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก ปัญหาพลังงานไทยคือแม้ไทยจะมีก๊าซธรรมชาติเองแต่ไม่พอใช้จึงต้องนำเข้าและในราคาที่แพงขึ้นตามราคาน้ำมัน ในส่วนของการผลิตไฟฟ้า อาศัยก๊าซธรรมชาติมากเกินไป (ประมาณ 70 %) แต่มันเป็นผลมาจากพวกที่มีความคิดสุดโต่งคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าทุกรูปแบบทำให้เกิดความเสี่ยงของแหล่งพลังงาน ไม่สามารถสร้างโรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงประเภทอื่นได้

16 พ.ค 55 ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นต่อนโยบานพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคตของ กฟผ. ( ดร. กมล ตรรกบุตร ) จากการที่เกิดปัญหาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในญี่ปุ่นเนื่องจากแผ่นดินไหว ทำให้ส่งผลกระทบไปทั่วโลก หลายประเทศต้องทบทวนโครงการนิวเคลียร์ ยกเว้นจีนที่ยังคงดำเนินการต่อ สำหรับไทยคาดว่าจะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ประมาณปี 2026 จากสถิติการใช้พลังงานของไทย พบว่าปี 54 ภาคอุตสาหกรรมใช้ 36 % ภาคขนส่งใช้ 37 % สำหรับปัญหาของไทย เนื่องจากปัจจุบันใช้ก๊าซมาผลิตไฟฟ้าประมาณ 70 % หากนำก๊าซมาใช้เป็นเชื้อเพลิงมากๆ ก็ไม่สามารถคงราคาค่าไฟได้

ทิศทางพลังงานกับการทำงานของ กฟผ. ( คุณไกรสีห์ กรรณสูต คุณวิรัช กาญจนพิบูลย์ ) คุณไกรสีห์ กรรณสูต ได้บรรยายสรุปได้ว่า - เนื่องจากสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนมีการตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม ดังนั้น กฟผ ต้องให้ความสำคัญในเรื่องนี้ - กฟผ. ต้องศึกษาและใช้พลังงานทางเลือกมากขึ้น ในอีก 25 ปีข้างหน้าต้องมีพลังงานทดแทน 25 % - ติดตามและมองเทคโนโลยีในอนาคต ต่อไปจะเป็นรถยนต์ไฟฟ้า อาจมีผลกระทบต่อปริมาณการใช้และช่วงเวลาของการใช้ไฟจะเปลี่ยนไป - โรงไฟฟ้า หรือ สายส่งต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม - คน กฟผ. ต้องสร้าง Trust ให้ประชาชนเชื่อใจ ต้องทำให้เขามีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น - ให้ชุมชนมีส่วนร่วมมากๆ พยายามเข้าไปในพื้นที่คลุกคลีอยู่กับชุมชน กับปราชญ์ชาวบ้าน คุณวิรัช กาญจนพิบูลย์ ได้บรรยายสรุปได้ว่า - แผน PDP 2010 ประมาณการความต้องการใช้ไฟฟ้า 50,000 MW - ปัญหาปัจจุบันเป็นเรื่องการคัดค้าน ไม่ใช่เรื่องเทคนิค เรามีจุดอ่อนในการบริหารจัดการด้านสังคม ชุมชน - ทิศทางพลังงานการผลิตการใช้เชื้อเพลิงจากถ่านหินจะลดลง แต่จะใช้พลังงานทางเลือกเพิ่มขึ้น - ปี 2558 – 2559 จะไม่มีโรงไฟฟ้าใหม่เข้ามาในระบบเลย - ต้องให้ความสำคัญด้าน Demand side เป็นหลักแทนด้าน Supply side ที่ทำอยู่ในปัจจุบัน - ปัจจุบันต้องบริหารความเชื่อมากกว่าบริหารความจริง สิ่งที่จะสร้างความเชื่อได้คือการทำ CSR โดยคน กฟผ. จะต้องทำ CSR in process คือทำงานในงานที่รับผิดชอบโดยที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม

17 พ.ค 55 High Performance Organization ที่ กฟผ. ( ดร. สมโภชณ์ นพคุณ ดร.สมชาย ไตรรัตนภิรมย์ ) ดร.สมชาย ไตรรัตนภิรมย์ ได้บรรยายสรุปได้ว่า - HPO หมายถึงองค์กรที่มีความเป็นเลิศในทุกๆด้าน เหนือคู่แข่งในช่วงระยะเวลาต่อเนื่อง - คนเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้องค์กรเป็น HPO - การจะเป็น HPO ทุกคนต้องทำงานร่วมกันและเห็นวิสัยทัศน์ขององค์กรร่วมกันและพร้อมที่จะขับเคลื่อน HPO ไปด้วยกัน - องค์กรที่จะเป็น HPO ต้องเป็นแบบ Multi-dimension

ดร. สมโภชณ์ นพคุณ ได้บรรยายสรุปได้ว่า - สิ่งที่จำเป็นสำหรับการพูดเรื่อง HPO คือคนต้องรักการอ่านหนังสือ - การพัฒนาคนจะต้องพัฒนาให้เต็มคนทั้ง 4 ด้าน คือ สติปัญญา วุฒิภาวะอารมณ์ สุขภาพ และจิตวิญญาณที่เป็นคุณธรรม - องค์กรที่จะเป็น HPO ต้องสร้างวัฒนธรรมให้คนทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน ( Social Innovation ) ( ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธ์ ดร.เสรี พงศ์พิศ คุณธวัช วัจนะพรสิทธิ์ ) ครูบาสุทธินันท์ ได้บรรยายสรุปได้ว่า - คนไทยมี 2 หน้าที่ ที่จะต้องทำ คือ 1. ทำหน้าที่การงานที่ตนรับผิดชอบ 2. ดูแลสังคม - ต้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน - จุดแข็งของวัฒนธรรมไทยคือมีน้ำใจ การได้เข้าไปนั่งอยู่ในหัวใจ จะทำให้แก้ปัญหาทุกอย่างได้ - การลงชุมชนเพื่อพัฒนาชุมชน ต้องให้มั่นใจว่าทำแล้วไม่เสี่ยง ดร.เสรี ได้บรรยายสรุปได้ว่า - สังคมจะอยู่ได้ทุกวันนี้ ต้องเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ - ความรู้จริงเป็นความรู้ที่มีและแก้ปัญหาชีวิตได้ - แผนฟื้นฟูชีวิตของคนในชุมชน ที่ทำเพื่อให้เขาพึ่งพาตนเองได้ มี 4 แผน คือ แผนชีวิต แผนการเงิน แผนอาชีพและแผนสุขภาพ - การทำ CSR ขององค์กรที่สำคัญคือทำอย่างไรจะผลักดัน ส่งเสริมให้สังคมเกิดการเรียนรู้เพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน คุณธวัช ได้บรรยายสรุปได้ว่า - ยุคแรกๆเป็นยุคที่เปลี่ยนจากสังคมเกษตรเป็นสังคมอุตสาหกรรม ดังนั้นประเทศต้องการไฟฟ้าเป็นอย่างมาก ทำให้ กฟผ. อยู่ในยุครุ่งเรือง - หลังปี 2516 เปลี่ยนเป็นประชาธิปไตย สังคมต้องการการมีส่วนร่วมมากขึ้น - กฟผ. ต้องรีบเปลี่ยนสังคมจาก Engineering Based เป็น Social Based ให้เร็วมากขึ้นเท่าไรยิ่งเป็นประโยชน์ต่อ กฟผ. มากขึ้นเท่านั้น - สิ่งที่เป็นปัญหาของ กฟผ. คือ การได้มาซึ่งโรงไฟฟ้า และ กระบวนการได้มาซึ่งเขตเดินสายไฟฟ้าของสายส่ง

การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรองและเทคนิคการตัดสินใจของผู้บริหารมืออาชีพ ( รศ.ดร.สุขุม นวลสกุล ) ดร.สุขุม ได้บรรยายสรุปได้ว่า - ความขัดแย้งให้ดูเป็น 2 แนวทางคือ 1. ไม่เหมือนกัน ไม่ตรงกัน 2. ทางเลือก พัฒนา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ - ความขัดแย้งเรื่องส่วนรวมเป็นเรื่องดี ต้องสนับสนุน อย่าให้ถูกดึงเป็นความขัดแย้งส่วนตัว - ความขัดแย้งมี 3 ประเภทคือ 1. ระหว่างบุคคลกับบุคคล 2. บุคคลกับองค์การ และ 3. หน่วยงานกับหน่วยงาน - ความขัดแย้งระหว่างบุคคลกับองค์การ เกิดขึ้นเมื่อมีนโยบายใหม่ออกมาแล้วคนในองค์การไม่เห็นด้วย ในฐานะผู้บริหารต้องทำหน้าที่เป็นโฆษกขององค์การ ทำความเข้าใจให้กับพนักงาน ผู้บริหารทุกคนต้องตอบให้เหมือนกันเป็นไปในแนวทางเดียวกัน - การตัดสินใจเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของผู้บริหาร จะตัดสินใจเร็วถ้าแม่นกฎระเบียบ ลดความเกรงใจ ไม่โอ้อวด - องค์ประกอบในการตัดสินใจมี 1.ข้อมูล ยิ่งมากยิ่งดี 2. ประสบการณ์ และ 3. การคาดการณ์ - ผู้บริหารต้องตัดสินใจไม่ผิดซ้ำสอง การวิเคราะห์การตัดสินใจจะต้องถูกต้อง ถูกใจและถูกจังหวะ - นักบริหารอย่าตายเพื่อความถูกต้อง ต้องอยู่เพื่อทำความถูกต้องให้ผ่านพ้นไป

18 พ.ค 55 บทบาทของ Regulator และ Energy tax กับการทำงานของ กฟผ. ( ศ.ดร. ดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน) ดร.ดิเรก ได้บรรยายสรุปได้ว่า - เหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.บ.ฯ 1. เพื่อปรับโครงสร้างการบริหารกิจการพลังงาน โดยให้แยกงานนโยบาย งานกำกับดูแลและการประกอบกิจการพลังงานออกจากกัน 2. เพื่อเปิดโอกาสให้ภาคเอกชน ชุมชนและประชาชนมีส่วนร่วมและมีบทบาทมากขึ้น 3. เพื่อให้การประกอบกิจการพลังงานมีประสิทธิภาพ มีความมั่นคง เพียงพอและทั่วถึง ราคาเป็นธรรม คุณภาพได้มาตรฐาน - บทบาทของ กกพ. มีหน้าที่ในการกำกับดูแลกิจการพลังงาน โดย 1. ต้องกำกับการให้บริการมีประสิทธิภาพ อัตราค่าบริการเหมาะสมต่อผู้ใช้และ ผู้ให้บริการ 2. ประชาชนต้องได้รับความเป็นธรรมจากการให้บริการ มีไฟฟ้าใช้ในทุกพื้นที่ รู้จักใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและคำนึงถึงสิ่งวแดล้อม 3. ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล และให้ความเห็นต่อนโยบายต่างๆด้านพลังงาน

  • แนวคิดเรื่อง Energy Tax มีวัตถุประสงค์เพื่อ นำเงินมาพัฒนาคุณภาพชีวิต ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับประชาชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าและลดการต่อต้านของประชาชนในการสร้างโรงไฟฟ้า
  • แนวคิดเรื่อง Energy Tax นำไปสู่กองทุนรอบโรงไฟฟ้าและในที่สุดเป็นกองทุนพัฒนาไฟฟ้าตาม ม.97(3)
  • Regulator กับการทำงานของ กฟผ. โดย กฟผ. มีหน้าที่
  • ผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอกับความต้องการใช้ไฟฟ้า
  • ผลิตไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ
  • รับซื้อไฟฟ้าอย่างเป็นธรรม
  • สั่งจ่ายการผลิตที่โปร่งใสและเป็นธรรม
  • จำหน่ายไฟฟ้าให้กับระบบจำหน่ายมีความมั่นคง ปลอดภัยและมีมาตรฐานการบริการที่ดี
  • จัดทำแผนพีดีพี แผนการลงทุน แผนการขยายโครงข่ายไฟฟ้า
  • รายงานข้อมูลที่จำเป็นต่อการกำกับดูแลของ Regulator
  • นำส่งเงินเข้ากองทุนพัฒนาโรงไฟฟ้า
  • ดำเนินการเพื่อรับผิดชอบต่อสงคม ( CSR )
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท