บรรณาธิการ :คุณคือคนสำคัญ


วันนี้ผู้เขียนเข้าร่วมฟังบรรยายการเขียนตำรา เป็นวันที่ 2 ในโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมความรู้และทักษะด้านการเขียนตำรา ระหว่างวันที่ 23-25 เมษายน 2555 โดยวันนี้มีกำหนดการ

  • การนำเสนอเนื้อหา และการอ้างอิงในการเขียนตำรา
  • การเผยแพร่และการบรรณาธิการตำรา
  • ฝึกปฏิบัติการบรรณาธิการตำรา

 ในหัวข้อแรก อาจารย์ตั้งชื่อเรื่องว่า บรรณาธิการ คุณคือคนสำคัญ บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.ชุติมา สัจจานันท์

ท่านอาจารย์ก็ตั้งคำถามว่า บรรณาธิการ คุณคือใคร

  • ผู้จัด
  • เลือกเฟ้น
  • รวบรวม
  • ปรับปรุง
  • รับผิดชอบเรื่องที่ลงพิมพ์

 มีความสำคัญ

  • ทำให้หนังสือเป็นรูปเล่ม
  • ทำให้หนังสือน่าอ่าน
  • ทำให้หนังสือมีคุณภาพและมีคุณค่า
  • ทำให้หนังสือถูกใจผู้อ่าน

มีบทบาทดังนี้ ผู้วางแผน ผู้จัดการ ประสานงาน วินิจฉัย ประเมินคุณค่า บรรณาธิกรเนื้อหา

 

บรรณาธิการเกี่ยวข้องกับใครบ้าง

   ผู้บริหาร เกี่ยวกับด้านนโยบาย

   ผู้เขียน  เกี่ยวกับ ต้นฉบับ

   ผู้ทรงคุณวุฒิ  เกี่ยวกับต้นฉบับ

   ฝ่ายศิลปกรรม  เกี่ยวกับ การเตรียมต้นฉบับ

   ฝ่ายจัดพิมพ์ เกี่ยวกับ การจัดพิมพ์

   ฝ่ายการตลาด เกี่ยวกับ การจัดจำหน่าย

   ผู้อ่าน เกี่ยวกับ หนังสือ

       คุณสมบัติของบรรณาธิการ อาจารย์เน้นว่าต้องมี ความรู้และประสบการณ์ทางวิชาการที่เกี่ยวกับเนื้อหา ความสามารถด้านภาษา โดยเฉพาะการเขียน ความรู้ด้านงานบรรณาธิการและเทคนิคบรรณาธิการ ความรู้เกี่ยวกับส่วนประกอบของหนังสือ ชนิดของตัวพิมพ์ ชนิดของตัวพิมพ์ ขนาดตัวพิมพ์ เทคโนโลยีการพิมพ์ แหล่งค้นคว้าอ้างอิง และที่สำคัญ กฏหมายลิขสิทธิ์และกฏหมายที่เกี่ยวข้อง การตลาดและกลุ่มผู้อ่าน

    สิ่งที่คุณควรเป็น ทำงานอย่างมีระบบและมีแผนงาน มีวิจารณญาณ มนุษยสัมพันธ์ มีความละเอียด รอบคอบ ถี่ถ้วน รักรู้ รักเรียน รักการอ่าน การค้นคว้า แลพัฒนาตนเอง

อาจารย์ยกตัวอย่าง ห้ามนุ่งกางเกงใน  เวลาราชการ...

    การตรวจสอบเนื้อหาของต้นฉบับ อาจารย์เน้นให้ดูโครงสร้าง ความต่อเนื่อง ความถูกต้อง ความชัดเจน และการอ้างอิง(สำคัญมากต้องมี) การตรวจสอบภาษา ตัวสะกด การันต์ (การสะกดคำ การใช้ศัพท์วิชาการ ศัพท์บัญญัติ การทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ การใช้ตัวย่อ และการใช้เครื่องหมายวรรณตอน) ตรวจสอบตัวเลข หน่วยนับ ตรวจสอบ รูปแบบ ตาราง แผนภูมิ การเรียงลำดับ หัวข้อตาราง (เน้นให้เป็นแบบเดียวกันให้ตลอดทั้งเล่ม) ตรวจสอบภาพ การวางภาพ การเรียงลำดับ คำบรรยาย (ภาพต้องอยู่ใกล้กับภาพและคำบรรยาย ทุกภาพต้องมีคำบรรยายภาพ) วิธีที่นิยมใช้ขึ้นบทไหนให้ใช้เลขบทเป็นตัวกำกับ...

การตรวจสอบการอ้างอิง ให้ไล่ทุกเล่มในเนื้อหาว่ามีครบทุกหน้าทุกเล่มหรือไม่

ที่สำคัญต้องจัดทำหนังสือให้อ่านเข้าใจง่าย และน่าอ่าน (ภาพประกอบ ตาราง แผนภูมิ แผนภาพ เชิงอรรถ อ๓ธานศัพท์ รูปเล่ม ปก การเข้าเล่ม)

   

 

 

หมายเลขบันทึก: 485908เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2012 09:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2013 13:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท