การเรียนรู้และการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ


ทักษะภาษาอังกฤษ การพัฒนา การเรียนรู้ ประชาคมอาเซียน

ในอีกประมาณ 3 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ภาษาอังกฤษเป็นทักษะที่หลายคนเป็นห่วงว่าคนไทยจะสามารถปรับตัวในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่ชาวอาเซียนในประเทศใดๆ สามารถทำงานในประเทศใดๆ ในอาเซียนในหลายวิชาชีพ เช่น วิศวกร และพยาบาล  หากเราเริ่มที่จะฝึกทักษะภาษาอังกฤษตอน 3 ปีข้างหน้า คงจะช้าเกินไป แต่หากเราเริ่มฝึกตอนนี้ ก็คงจะไม่สายเกินไป

คำแนะนำตอนไปนี้เป็นแนวคิดคร่าวๆ ที่จะช่วยคนไทยพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ

1.  สำหรับพ่อแม่ที่ลูกเล็ก ควรจะฝึกพูดกับลูกเป็นภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ลูกอยู่ในท้อง หรือลูกเกิดมา  เด็กจะได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยธรรมชาติ

2.  สำหรับนักเรียนนักศึกษา

2.1 ควรจะมีการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษ เช่น ใช้สไลด์ เอกสาร หนังสือและข้อสอบเป็นภาษาอังกฤษ

2.2 ควรจะมีการบรรยาย ฝึกพูด ถามตอบ และนำเสนอเป็นภาษาอังกฤษ

3. สำหรับบุคลากร

3.1  ควรจะมีแรงจูงใจในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ เช่น ให้รางวัลในการไปประเทศอาเซียน  มีผลต่อการประเมินในส่วนของสมรรถนะการทำงาน  เป็นต้น

3.2  ทำให้การเรียนรู้ภาษาอังกฤษเป็นเรื่องสนุก โดยเริ่มต้นจากเรื่องที่ชอบ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง ดูรายการกีฬาที่เป็นภาษาอังกฤษ

3.3  จัดให้มีพื้นที่ที่จะต้องใช้ภาษาอังกฤษเท่านั้น โดยที่อาจจะจัดให้พื้นทีนั้นมีหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ร้านขายกาแฟที่ใช้เฉพาะภาษาอังกฤษ

3.4 เข้าร่วมในกลุ่มโซเชียลมีเดียที่เรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยกัน เช่น กลุ่ม Learning English

3.5 พยายามส่งเสริมให้การติดต่อสื่อสารกันใช้ภาษาอังกฤษให้มากที่สุด เช่น การส่งอีเมล การนำเสนอความก้าวหน้า

3.6 มีแบบทดสอบเพื่อวัดประเมินทักษะภาษาอังกฤษในการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน 

3.7 มีการจ้างครูมาสอนบุคลากรในทักษะภาษาอังกฤษที่บุคลากรต้องได้รับการพัฒนา หรือในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่จะต้องติดต่อกับชาวต่างชาติ

3.8 พยายามทำความเข้าใจกับคนไทยที่พยายามฝึกพูดภาษาอังกฤษว่าอย่ากลัวที่จะพูดผิด 

หากมีข้อแนะนำอะไรเพิ่มเติมในการช่วยกันเรียนรู้ภาษาอังกฤษ กรุณาแนะนำด้วยค่ะ

ขอบคุณ อ เด่นพงษ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและเทคโนโลยี ม ขอนแก่นที่ให้โจทย์ฝึกคิดเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษในการอบรม MCore401 และ อ ม ขอนแก่นที่รวมกลุ่มกันช่วยคิด

ขอบคุณ อ กรชวัลและคุณณัฐกานต์ที่ช่วยมาเป็นวิทยากรในโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้กับบุคลากรศูนย์คอมพิวเตอร์ 

ขอบคุณ อ อนัตต์ ผอ ศูนย์คอมพิวเตอร์ที่ให้โอกาสในการทำโครงการการพัฒนาบุคลากรศูนย์คอมพิวเตอร์ด้านภาษาอังกฤษและคุณมงคลที่ช่วยอำนวยความสะดวกและสนับสนุน

และที่สำคัญบันทึกนี้คงไม่เกิดขึ้น (บันทึกเกี่ยวกับเรื่องนี้ก่อนหน้านี้เป็นภาษาอังกฤษ) ถ้าไม่มีคุณโอ๋  ขอบคุณคุณโอ๋ที่เป็นแรงบันดาลใจและกำลังใจในการเขียนบันทึกนี้ค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 484515เขียนเมื่อ 7 เมษายน 2012 12:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

ขอบคุณ อ.กานดามากๆค่ะ ที่มาช่วยแนะนำแนวทางในการเริ่มฝึกภาษาอังกฤษในที่ทำงาน เพราะพี่คิดว่าเป็นสิ่งที่น่าจะเป็นประโยชน์กับหลายๆหน่วยงานในประเทศเราเป็นอย่างยิ่ง เพราะเมื่อเทียบกับประเทศอาเซียนด้วยกันแล้ว พวกเราแม้ในระดับอุดมศึกษาก็ยังพบว่าภาษาอังกฤษไม่ใช่เรื่องธรรมดาอย่างที่ควรจะเป็น ในขณะที่เมื่อถึงอีก 3 ปีข้างหน้าเราคงต้องเรียนรู้มากกว่าแค่สองภาษานี้ด้วยซ้ำนะคะ

วิดีโอการ์ตูนแนะนำประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเวอร์ชันภาษาไทย http://www.youtube.com/watch?v=GWtQFH8bies

ผมคิดว่า 3 ปีช้าไปแน่ๆๆ อยากน้อยควรพัฒนาบุคลากรก่อน ให้ฝึกพูด ฝึกการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันให้ได้ที่สำคัญคือ แรงจูงใจในการใช้ภาษาอ้วยครับ

ปัญหาเรื่องการพูดภาษาอังกฤษกับลูกคือผมสำเนียงไม่ดีครับ คิดๆ อยู่ว่าจะพูดแต่ก็ไม่กล้าเพราะกลัวเรื่องสำเนียงนี่ละครับ อาจารย์พอจะมีคำแนะนำไหมครับว่าเราควรจะพูดไปเลยหรือใช้วิธีอื่นดีครับ

การอยู่อเมริกาห้าปีครึ่งไม่ได้มีส่วนพัฒนาสำเนียงของผมเลย... (เฮ้อ) เห็นเพื่อนบางคนไปเรียนปีเดียวพูดได้สำเนียงดีจนฟังแยกไม่ออก เรื่องนี้เป็นพรสวรรค์ของแต่ละคนครับ

ขอบคุณอาจารย์กานดาและพี่โอ๋ค่ะ สมัคร facebook "Learning english" ไปเรียบร้อยค่ะ

I had a giggle on this ...สำหรับพ่อแม่ที่ลูกเล็ก ควรจะฝึกพูดกับลูกเป็นภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ลูกอยู่ในท้อง หรือลูกเกิดมา เด็กจะได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยธรรมชาติ...

I don't know how much Thai I had learned before I was born. But I was told that I spoke some 20 words when I was 10 months old and growing my teeth. The words were "aagh, hahaha, woeha, baaabaagh, mamaa, maama, pa, paapa, ...".

If we really want to teach our unvorn babies, maybe using audio players is the way to go, --- to give babies the right accents too.

Necessity is the mother of invention! When we need it, we will learn it -- very quickly ;-)

อาจารย์ขาแล้วพ่อแม่อย่างบ้านๆอย่างตัวเราเนี่ย ลำพังพ่อแม่ภาษาอังกฤษก็อ่อนแอมาก แต่อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษตั้งแต่ในท้องจะทำอย่างไรล่ะค่ะ ใช้เปิดซีดีเทปภาษาอังกฤษให้ฟังบ่อยๆ ช่วยได้มั้ยค่ะ

เรียน ดร. ธวัชชัย ขอบคุณที่เข้ามาคลิกชอบและให้ข้อคิดเห็น ก่อนอื่น ต้องออกตัวเหมือนกันว่าตัวเองก็สำเนียงไม่ดี ไม่ใช่ไม่อายนะคะที่ตัวเองสำเนียงไม่ดีแล้วยังพูดภาษาอังกฤษ อายค่ะเพราะตัวเองก็อยู่อเมริกามา 11 ปี ก็ยังพูดด้วยสำเนียงที่ไม่ดีนัก แต่คิดว่าพูดออกไปแล้ว คนฟังทั้งน้องต้าและนักศึกษาน่าจะได้ประโยชน์มากกว่า จึงพูดออกไป ตอนนี้ก็กำลังหาโอกาสให้ต้าเรียนภาษาอังกฤษกับคนที่สำเนียงดีอยู่ค่ะ แต่คิดว่าต้าได้ประโยชน์มากจากการพูดภาษาอังกฤษกับเขา เพราะช่วยทำให้เขาเป็นคนใฝ่รู้ เขามักจะถามเสมอว่า คำนี้ภาษาอังกฤษว่าอะไร ถึงต้าจะไม่พูดภาษาอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ แต่เขาจะฟังภาษาอังกฤษเข้าใจค่ะ และทำให้เค้ารู้สึกมั่นใจว่าเค้าทำได้ หรือภูมิใจเมื่อคนอื่นเห็นเค้าพูดภาษาอังกฤษ สรุปแล้ว สำหรับปัญหาเรื่องสำเนียง คำแนะนำก็คือ พูดไปเลยค่ะ แต่ก็ให้ลูกได้ดูวิดีโอหรือได้พูดคุยกับคนที่เขาสำเนียงดีกว่าเราค่ะ

เรียนคุณโรงเรียนพ่อแม่ ตัวเองก็ภาษาอังกฤษไม่ดีค่ะ เวลาลูกถามว่า ศัพท์คำนี้แปลว่าอะไร ต้องพูดเป็นประจำว่า let's ask อากู๋ Google จนลูกเข้าใจว่า อากู๋ Google เป็นคนมีอยู่จริง เรามามองกันดีกว่าไหมคะว่า การพยายามพูดภาษาอังกฤษกับลูก เป็นโอกาสในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษไปกับลูกค่ะ ส่วนตัวมองว่า ภาษาอังกฤษเป็นทักษะค่ะ ต้องใช้ให้บ่อยจึงจะเก่งขึ้น ไม่เชื่อกับการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแค่ในห้องเรียน

ถ้าใช้เปิดซีดีเทปก็ดีค่ะ แต่อาจจะให้ลูกเรียนรู้จากสิ่งที่เขาชอบ เช่น การ์ตูน เพลง อย่างนี้ก็น่าจะทำให้เขาสนุกไปด้วยค่ะ

พี่โอ๋ก็สำเนียงไทยๆนี่แหละค่ะ แต่ฝรั่งที่เค้าฟังเราสักพักเขาก็จะคุ้น เพราะเดี๋ยวนี้โลกกว้าง ฝรั่งเขาก็รู้จัก accent ของคนแต่ละชาติ ประเภทฟังแล้วรู้ว่าเป็นภาษาอังกฤษชาติไหน ของเราก็เป็น Thaiglish ไป ก็ต้องยอมรับว่าถ้าไม่ได้อยู่ในแหล่งเจ้าของภาษาตั้งแต่เด็กๆ โอกาสที่เราจะออกเสียงได้เหมือนเขานั้นต้องฝึกหนักมาก แต่ก็เห็นมีหลายๆคนทำได้ (ที่ไม่ใช่เรา) แต่เด็กๆขอให้ฟังรู้เรื่อง พอถึงเวลาพูดเขาก็เลือกเองแหละค่ะว่าเขาจะออกเสียงแบบไหน ให้ฟังจากเจ้าของภาษาเอาไว้ก็ดีกว่าอยู่แล้ว สิ่งสำคัญก็คือให้เขารู้สึกเป็นธรรมชาติเท่านั้นเอง ภาษาไหนๆถ้าไม่เป็นธรรมชาติก็ยากทั้งนั้น เพราะมัวแต่คิดมาก ถ้ามันไหลลื่นได้เอง ก็ไม่มีอะไรยาก ฟังอะไรตอนไหนก็เข้าใจ สังเกตจากตัวเองเวลาฟังน่ะค่ะ เพราะภาษาญี่ปุ่นที่เคยเรียนรู้พูดได้ ฟังได้ อ่านได้นิดหน่อย พอได้ฟังเมื่อไหร่ก็ยังเข้าใจอยู่ เวลาพูดก็พูดจากที่จำได้ ไม่ได้แปลกลับไปกลับมา ไม่รู้สึกว่ายาก เพราะเราชอบนั่นเอง เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญสำหรับเด็กๆก็คือ ให้เขารู้สึกว่ามันเป็นธรรมชาติ ไม่ต้องบังคับ ไม่ต้องเข้มงวด ทำให้กลมกลืนกับชีวิตประจำวัน เขาก็จะซึมซับไปเอง

ตกลงว่าผมกับ อ.จัน จะลองพูดภาษาอังกฤษกับเจ้าต้นไม้แล้วละครับ นึกๆ ดูก็ไม่ต่างจากตอนเด็กๆ เท่าไหร่ ก็คุณพ่อคุณแม่ผมพูดสำเนียงภาษากลางไม่ชัด โตขึ้นมาผมยังพูดได้ชัดเลยครับ และในขณะเดียวกันก็ฟังภาษาใต้ได้ชัดเจน กลไกก็น่าจะคล้ายๆ กันครับ

ดีใจค่ะที่ทราบว่า อ ธวัชชัยกับ อ จันจะพูดภาษาอังกฤษกับน้องต้นไม้ หวังว่าคงจะมีโอกาสได้เจอ อ ธวัชชัย อ จัน และน้องต้นไม้สักวันนะคะ อาจจะเจอน้องต้นไม้อีกที เค้าพูดอังกฤษคล่องแล้ว :)

วันไหนครูอ้อย อารมณ์ดี ดัดจริตเล็กๆๆ จะพูดภาษาอังกฤษได้ดีมากค่ะ ยิ้มยิ้ม

  • ได้รับประโยชน์ทั้งจากเนื้อหาในบันทึก และการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้อ่านกับผู้เขียนในบันทึกนี้ค่ะ
  • ดร.ธวัชชัยบอกว่าไปอยู่อเมริกา 5 ปีครึ่งยังมีปัญหาสำเนียงภาษาอังกฤษ พ่อใหญ่สอชาวอยุธยาหนักกว่ามากค่ะ ไปอยู่อีสาน 40 ปีเศษ ยังพูดภาษาอีสานไม่ได้เลย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท