KM ที่รัก ตอนที่ 56" เปลือกโบง...ปูนซีเมนต์อินทรีย์ของชาวบ้าน


ต้นทุนทางปัญญา
ได้รู้จักต้นโบง หรือ โบงครั้งแรกตอนที่เด็ก ๆ ทำโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง "โครงการใช้วัสดุธรรมชาติทดแทนวัสดุเพาะชำจากพลาสติก" ซึ่งมีจุดม่งหมายที่จะนำเอาวัสดุจากธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถ่น ของเขาเองที่มีคุณสมบัติเหมาะสมโดยได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์ (ทบทวนเอกสารจากตัวคน) จากผู้รู้จากชุมชนท้องถ่นของเขาเอง วัสดุที่เขาเลือกคือขี้วัว และขี้ควาย ผลการทดลองความเหนียว และความคงทนไม่ต่างกันมากแต่ชิ้นงานที่ผลิตขึ้นความคงทนความเหนียวยังไม่ถึงขั้นที่จะทำเป็นผลิตภัณฑ์ในระดับมาตรฐานได้ แต่สามารถทำใช้ในครัวเรือนได้ ลุงสมาน ปิยวงศ์ ผู้รู้ของชุมชนที่มีความรู้และทักษะทางต้นไม้และป่าไม้ ได้แนะนำให้ใช้เปลือกของต้นบง มาตากแห่งและบดให้ละเอียด ผสมน้ำพอให้เหนียวแล้วมาขึ้นรูปตามแบบที่ต้องการ เช่นเป็นกระถางหรือโอ่งเล็ก ๆ เป็นแก้ว ถ้วย ชาม เมื่อปล่อยให้แห้งแล้วจะแข็งและเหนียวมาก มีการทดลองเบื้องต้นพบว่า มีคุณสมบัติกึ่งปูนซิเมนต์กับกาวลาเท็ก สามารถกันน้ำได้ดีมาก ที่สำคัญเป็นวัสดุหลักเบื้องต้นในการผลิตผลิตภัณฑ์ ที่ใช้ในชี่วิตประจำวัน วัสดุชิ้นเล็ก ๆ สามารถขึ้นรูปได้เลย แต่ถ้าชิ้นใหญ่ขึ้นมาชาวบ้าน จะใช้ไม้ไผ่สานเป็นโครงร่างก่อนแล้วใช้เปลือกโบงที่บดตากแห้งผสมน้ำ แล้วมาเป็นตัวเคลือกบเป็นตัวประสานแทนปูนซิเมนต์ ผลิตตภัณฑ์เหล่านี้ สามารถรองน้ำฝน น้ำใช้ ได้อย่างสบาย แต่ปัจจุบัน ปัญหาป่าไม้ถูกทำลายต้นโบงหายาก มีอยู่ในท้องถิ่นไม่กี่ต้น และมีแนวคิดที่จะอนุรักษ์ไว้ ลูกศิษย์ที่เรียนอยู่ที่จุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย อาษาที่จะขยายพันธ์โดยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อให้ชาวบ้านที่สนใจนำไปปลูก จะได้เป็นทุนกับลูกหลานต่อไป
หมายเลขบันทึก: 48083เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2006 07:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 18:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท