ความเชื่อเป็นรากเหง้าของความคิดและการกระทำ


“ความเชื่อเป็นรากเหง้าของความคิดของเรา และความคิดก็เป็นต้นตอของพฤติกรรมที่เราแสดงออกมา”
               หากสังเกตให้ดีจะพบว่า “พฤติกรรม” ที่เราแสดงออกมา ไม่ว่าทางกาย (การกระทำ กริยาท่าทาง) หรือวาจา (คำพูด น้ำเสียง) ต่างก็เป็นผลพวงอันเนื่องมาจากระบบ “ความคิด” ของเราทั้งสิ้น และเมื่อพิจารณาให้ลึกลงไปก็จะเห็นชัดว่าที่เราคิดมาเช่นนี้ก็เพราะมีระบบ “ความเชื่อ” บางอย่างล็อกเราไว้ เช่น ถ้าเราเชื่อว่านักการเมืองคนนี้ไม่ดี ขี้โกง ความคิดของเราที่มีต่อเขาก็จะออกมาในทำนองที่ว่า คนๆนี้ไม่น่าไว้วางใจ ต้องไม่เปิดโอกาสให้เป็นใหญ่เป็นโต ซึ่งการกระทำ (ที่ตามมา) ของเราก็คือ พอถึงวันเลือกตั้งเราก็ไม่โหวตให้เขา หรือถ้าเรามีโอกาสแสดงออกทางวาจาเราก็คงจะโน้มน้าวคนอื่นให้เห็นด้วยกับเราจะได้ไม่ไปเลือกเขา เป็นต้น


               สรุปได้ว่า “ความเชื่อเป็นรากเหง้าของความคิดของเรา และความคิดก็เป็นต้นตอของพฤติกรรมที่เราแสดงออกมา”


               ประเด็นที่น่าสนใจและอยากชวนท่านคุยก็คือ :


  1. แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?
  2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?
                เอาแค่ 2 ประเด็นนี้ก่อนนะครับ ใครมีอะไรก็แชร์กันเข้ามาได้เลย
หมายเลขบันทึก: 479741เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2012 13:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 07:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (636)

1. การจะเชื่อ และคิด นั้น ควรหาข้อมูล อย่างรอบด้านก่อนตัดสินใจ ข้อมูลต้องเป็นกลางและหลากหลายไม่ใช่เลือกแต่เฉพาะที่ถูกใจ ถูกจริต ต้องฟัง อ่าน แล้วคิดวิเคราะห์ตามด้วย ไม่ตามกระแส

2. เราต้อง"รู้" ก่อนว่า "ความคิดเก่า" ของเรานั้นไม่ถูกต้อง ถ้าเรายังไม่รู้ตัวเอง ใครจะมาบอกเราได้

เมื่อรู้แล้วก็ต้องหาความรู้ใหม่ ความรู้ใหม่นี้ก็ต้องรู้จักคิดตาม วิเคราะห์ได้ว่าสิ่งที่ได้มานั้นถูกต้องหรือเอนเอียงอย่างไร

คนเรานั้นเมื่อยึดอยู่กับโลก ก็จะเกิดกิเลสที่เราไม่รู้ตัวคือ เสพแต่สิ่งที่ชอบ รักแต่สิ่งที่ถูกใจ ใครมาว่าเรา ตำหนิเราก็โกรธ ไม่เคยเผื่อใจไว้ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น ไม่ยอมรับความผิดหวัง ไม่ยอมรับความเป็นจริง ไม่ยอมรับความเปลี่ยนแปลง.

* ในภาพรวมแล้วเป็นประเด็นที่น่าสนใจมาก...เหมือนเป็นการประเมินความเชื่อของตนเอง เพื่อพัฒนาไปสู่ความเชื่อที่ถูกต้อง..

* แต่เมื่ออาจารย์ยกตัวอย่างเรื่องนักการเมืองทุจริต ..พี่ถึงทางตันค่ะ

* ชวนชมภาพดอกไม้ขาวๆหอมๆ สบายใจกว่า..

 

เรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?

- สลัดความเชื่อทั้งหมดที่มีอยู่ทิ้งไป และอย่าเพิ่งสร้างความเชื่อใหม่ ในชั่วขณะนั้น เราจึงจะรู้ได้

(คำตอบนี้ก็เป็นความเชื่อหนึ่ง ที่ต้องทดลอง)

ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?

- สลัดความเชื่อทั้งหมดที่มีอยู่ทิ้งไป และอย่าเพิ่งสร้างความเชื่อใหม่ ในชั่วขณะนั้น เราจึงจะเกิดพฤติกรรมใหม่ได้อย่างแท้จริง

(กรณีถามต่อว่าแล้วต้องทำอย่างไรจึงสลัดความเชื่อเก่าทั้งหมดลงได้ .. ถ้าความเชื่อเป็นผลของอดีตจริง เราก็อยู่กับปัจจุบันขณะ น่าจะช่วยได้)

ขอแสดงความคิดเห็นข้อ1ก่อนนะครับ กับความเชื่อของแต่ละคนนั้น หรือของผมเองก็ตาม ผมก็ไม่รู้ว่าความเชื่อของผมนั้นถูกหรือผิดครับ แต่ผมได้เลือกที่จะเชื่อแล้วว่าสิ่งที่ผมเชื่อจะทำให้ผมมีความสงบมีความสุข ผมเชื่อว่าจะเป็นอย่างนั้นและผมเลือกที่จะทำมันอย่างเต็มที่ โดยผมไม่ได้หวังให้ใครเชื่อตามผมครับ

ขอแสดงความคิดเห็นข้อ2ต่อเลยครับ ผมเคยมีพฤติกรรมที่ไม่ดีมาก่อนครับ จนวันนึ่งผมคุยกับตัวเองในกระจกครับ คุยไปคุยมา ผมก็ตั้งคำถามกับตัวเองว่า "ชีวิตเราต้องการความสุขหรือความทุกข์?" ผมก็ตอบตัวเองว่า "ความสุข" แล้วผมก็พูดเตือนตัวเองในกระจกว่า "ใช่นายต้องการความสุข นายเกิดมาต้องการความสุขเท่านั้น" แล้วผมก็ตั้งคำถามกับตัวเองอีกว่า "ในโลกนี้มีคนกี่ประเภท" ผมก็ตอบว่า "มีคนสองประเภท คือคนดีกับคนเลว" แล้วผมก็ตั้งคำถามกับตัวเองอีกครั้งว่า "คนประเภทไหนมีความสุขอย่างแท้จริง"  ผมก็ตอบตัวเองว่า "คนดี" หลังจากนั้นผมก็เริ่มศึกษาคำสอนศาสนาเกือบทุกศาสนา ผมก็มาสรุปตามความหมายเป็นนิยามของผมว่า "คนดี คือ คนที่คิดดี ทำดี พูดดี ต่อตัวเองและผู้อื่น ไม่คิดร้ายใคร ไม่ทำร้ายใคร ไม่พูดว่าร้ายใคร" เพียงแค่นี้ละครับที่ผมยึดเหนี่ยวผมไว้ครับ ผมก็จะตั้งคำถามกับตัวเองและเตือนตัวเองทุกวัน กาลเวลาก็ทำให้ คำถามและคำเตือนมีพลังมากขึ้น ตอนเช้าหลังแปรงฟัน  ผมจะเตือนตัวเองหน้ากระจกทันทีว่า "เอก นายต้องมีความสุขมากกว่าเมื่อวาน วันนี้นายต้องมีความสุขมากมาก" แล้วผมมีการชื่นชมตัวเองด้วยนะครับ หลังจากเตือนตัวเองแล้วก็ต่อด้วยชื่นชมตัวเองว่า "เอกเรารักนายนะ เรารักนายมากมาก เพราะนายมันเป็นคนดี ดีมากมากด้วย นายมันเก่ง นายไม่ยอมแพ้อะไรง่ายๆ จำไว้นะ นายจะมีเราอยู่เคียงข้างนาย เราคอยเป็นกำลังใจให้นายตลาดไป เรารักนาย เราจะไม่ทำให้นายเสียใจ เราจะดูแลนายเอง เรารักนายมากที่สุดในโลก" ผมจะใช้น้ำเสียงที่ดูจริงจังมากมากครับ อาจจะมีการชี้หน้าตัวเองในกระจกและกำมือด้วยนะครับ ทำแล้ว รู้สึกสุดยอดเลยครับ ระหว่างวัน ผมจะใช้เตือนตัวเองในใจเสมอคือ "เราเป็นคนดี เราเป็นคนดี เราเป็นคนดี" เมื่อเจอเหตุการณ์ที่อาจจะทำให้ผมกระทำสิ่งไม่ดีได้ เช่น คิดนอกใจแฟนเพราะมีผู้หญิงมาคุยด้วย ผมก็จะท่อง "เราเป็นคนดี เราเป็นคนดี เราเป็นคนดี เราเป็นคนดี" ผมก็จะไม่คิดนอกใจแฟนผมเลยครับ  คำเตือนว่า "เราเป็นคนดี" ใช้ได้กับผมทุกสถาณการณ์ครับ ก่อนจะนอนก็มานั่งทบทวนตัวเองครับว่าระหว่างวันได้ทำสิ่งดีๆอะไรไปบ้าง แล้วก็ชื่นชมตัวเอง สุดท้ายก็เตือนตัวเองว่า "เราต้องการความสุขเท่านั้น" นี้คือสิ่งที่เป็นทำทุกวันตลอดสิบกว่าปีมานี้ครับ ถนนที่ผ่านมาของผมสายนี้ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ แต่เพราะมีพลังของคำถาม คำเตือน คำชม ที่ทำให้ทุกวันของผมมีแต่ "ความสุข"

 

ความคิดเห็นส่วนตัวนะคะ..ความเชื่อในเรื่องใดก็ตาม ส่วนใหญ่มักจะมีจุดเริ่มมาจากอุปนิสัยส่วนตัวซึ่งอาจมีผลจากครอบครัวและสภาพแวดล้อม สภาพแวดล้อมนี้รวมถึงสังคม การศึกษา และการปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น คนที่อยู่ในสังคมที่มีความแตกต่างหลากหลายของผู้คน จะเรียกว่ามีมิติซับซ้อนกว่าก็ได ประกอบกับเป็นคนที่เปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่สม่ำเสมอ ก็จะมีแนวโน้มที่จะเป็นคนที่ปล่อยให้ความเชื่อเดิมของตัวเองถูกแกว่งบ้าง เพื่อท้าทายความเชื่อของตัวเองว่าถูกต้องหรือไม่ เพราะความเชื่อบางอย่างอาจถูกต้องในเวลาหนึ่ง แต่เมื่อเวลาผ่านไปความเชื่อนั้นอาจกลายเป็นความเชื่อที่ผิดได้หลังจากผ่านการพิสูจน์ด้วยเหตุการณ์และ ยุคสมัย ในขณะที่คนที่มีนิสัยยึดมั่นถือมั่นในความคิดของตน อยู่ในสังคมที่ไม่เห็นความแตกต่างชัดเจน ก็จะมีแนวโน้มที่จะไม่เปิดโอกาสรับรู้ รับฟังสิ่งใหม่ ๆ ที่อาจขัดแย้งกับความเชื่อเดิม และจะปิดประตูตายไม่ยอมรับการทดสอบความเชื่อของตนเองแต่อย่างใด โดยวิสัยคนปกติ ถ้าความเชื่อของตนได้รับการรับรองหรือเห็นได้ชัดว่ามีคนหลายคนเชื่อในทิศทางเดียวกัน ก็จะยิ่งตอกย้ำว่าความเชื่อของตนนั้นน่าจะเป็นสิ่งที่ถูกต้อง คนประเภทนี้จะใช้ปริมาณของคนที่คิดเห็นตรงกันเป็นเกณฑ์ในการสรุปความถูกต้องของความเชื่อนั้น ๆ ในขณะที่คนอีกกลุ่มหนึ่ง อาจไม่ได้ให้ความสำคัญกับจำนวนคนที่เชื่อเหมือนกันมากไปกว่า คุณภาพของคนที่มีความเชื่อในเรื่องนั้น ๆ ยกตัวอย่างเหตุการณ์ทางสังคมบางเหตุการณ์ บางครั้งเป็นการยากที่คนทุกคนจะเข้าถึงข่าวสารข้อมูลระดับเดียวกัน คนที่ไม่สามารถตัดสินใจว่าควรเชื่อในบุคคลใดหรือเหตุการณ์ใด ก็มักจะมองหา "ผู้ช่วย" ที่จะทำให้ตัวเองตัดสินใจเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้น ๆ ได้ง่ายขึ้น ผู้ช่วยในที่นี้ก็คือ คนที่ตนเองมีความเชื่อถือ ศรัทธา หรือยกย่องว่าน่าจะเป็นคนที่เข้าใจสถานการณ์นั้น ๆ ได้ดีกว่าตนนั่นเอง ผู้ช่วยนี้หาได้ตั้งแต่สังคมที่เล็กที่สุด คือในครอบครัว จนถึงสังคมใหญ่ระดับชาติ

ส่วนเรื่องที่ว่าจะทำให้ความเชื่อใหม่ เข้ามาแทนความเชื่อเก่าได้อย่างไรนั้น อย่างที่อาจารย์ได้กล่าวไว้ตอนต้นว่า ความคิดพัฒนามาจากความเชื่อ ในขณะเดียวกัน ความเชื่อก็พัฒนามาจากความคิดด้วยเช่นกัน การจะรับความเชื่อใหม่เข้ามา เราไม่จำเป็นต้องกำจัดหรือสลัดความเชื่อเก่าทิ้งทั้งหมด สิ่งที่ควรทำคือ การเปิดประตูแห่งความคิดให้กว้าง เปิดรับความเชื่อใหม่ ๆ เข้ามา ไม่ว่ามันจะมาจากเส้นทางใด หรือความเชื่อแบบใด จากนั้นพินิจพิเคราะห์ ไตร่ตรองความเชื่อนั้นว่าน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด ถ้าเป็นความเชื่อที่สามารถหาหลักฐานหรือข้อพิสูจน์ได้ก็ควรทำก่อนที่จะสรุปว่าเชื่อหรือไม่เชื่อ แต่ถ้ายังหาข้อสรุปหรือหลักฐานมาสนับสนุนหรือคัดค้านความเชื่อนั้นไม่ได้ ก็อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่าเชื่อหรือคัดค้านความเชื่อนั้น เช่น คนที่เชื่อว่าพระเจ้ามีจริง กับคนที่ไม่เชื่อว่าพระเจ้ามีจริง ต่างฝ่ายต่างก็ไม่สามารถพิสูจน์หรือหาหลักฐานมาสนับสนุนความเชื่อของตนเองได้เช่นกัน ถ้าไม่มีเงื่อนไขเรื่องเวลา เราก็ไม่ควรด่วนตัดสินความเชื่อใด ๆ หลายครั้งเมื่อไม่สามารถหาหลักฐานหรือผู้ช่วยมาสนับสนุนความเชื่อได้ เวลาจะกลายเป็นเครื่องพิสูจน์ความเชื่อนั้นเอง

สุดยอดจริงๆ ครับ . . ยังเปิดรับฟังจากทุกๆ ท่าน . . เม้นท์มากันมากๆ . . จะได้มา "จัดการความรู้" กัน

เชื่ออย่างไร สามารถทำได้และได้อย่างที่เชื่อเสมอ

ขออนุญาตต่อข้อสองครับ พึ่งได้สังเกตุตัวเองว่า เวลาผมท่อง "เราเป็นคนดี เราเป็นคนดี เราเป็นคนดี" ก็ต่อเมื่อผมคิดหรือแสดงออกหรือมีการกระทำการพูดออกไปครับ และยังมีประโยคที่ท่องประจำเมื่อก่อนนี้คือ "เราต้องมีความสุข เราต้องมีความสุข เราต้องมีความสุข" เมื่อมีความทุกข์เข้ามานะครับ เช่น ความกลัว เสียใจ น้องใจ โกรธ โมโห หงุดหงิด เครียด เข้ามาในจิตใจผม ผมก็จะท่อง " เราต้องมีความสุข เราต้องมีความสุข เราต้องมีความสุข" จนความทุกข์ดับไปเลยครับ

และผมพึ่งสังเกตุว่า การที่ผมตั้งเป้าหมายนั้น จากการตั้งคำถามว่า "ชีวิตเราต้องการความสุขหรือความทุกข์?" แล้วผมก็ตอบว่า "ความสุข" คำตอบก็คือเป้าหมายของผม เป้าหมายก็คือความเชื่อ เมื่อผมเชื่อว่า "ใช่นายต้องการความสุข นายเกิดมาต้องการความสุขเท่านั้น"ผมก็เลือกที่จะทำมันอย่างจริงจัง แต่สุดท้ายแล้วผมก็ไม่รู้หรอกว่า สิ่งที่ผมทำนั้นจะถูกหรือผิด เพราะมีแรงส์ต่อต้านวิธีคิดของผมจากกลุ่มศาสนาต่างๆ พอสมควรครับเพราะผมนำคำสอนที่ผมเห็นว่าจะสนับสนุนผมได้มาใช้บางข้อเท่านั้นครับ ผมเลยต้องออกจากกลุ่มศาสนา แต่ผมไม่แคร์เลยสักนิด พวกเขาทำให้ผมทุกข์ผมเลยตัดออกจากชีวิตผมเลย ผมก็หมดทุกข์เลยครับ ผมได้ตัดสินใจแล้วว่าชะตาชีวิตของผม ผมเลือกทางเดินเองได้และผมเชื่อว่าผมจะมีความสุขในสังคมที่ผมต้องการด้วยมือของผมเอง ผมก็ตัดสินใจทำทันทีไม่รอเวลาเพราะผมรู้อีกว่า ชีวิตผมมีจุดเริ่มต้น ก็ต้องมีจุดจบ ซึ้งไม่รู้ว่าจะมาวันไหน ก่อนเกิดมาก็มาแต่จิต พอถึงเวลาไป ก็ไปแต่จิต จุดนี้ถึงทำให้ผมพอใจกับสิ่งที่มี ผมเลยมีความสุขได้โดยไม่ต้องท่ิองประโยคที่ว่า "เราต้องมีความสุข" อีกเลยครับ เพราะเมื่อผมมีความสุขตลอดเวลาแล้ว ความทุกข์ในทุกๆเรื่องก็ไม่สามารถเข้ามาในจิตใจผมได้อีกเลย จนมีน้องคนนึ่งที่อยู่ที่บริษัทขออนุญาติ ถามผมต่อหน้าเพื่อนๆเขาเมื่อ3ปีที่แล้วว่า "คุณจ๊อดค่ะ หนูไม่เคยเห็นคุณจ๊อดเครียดเลยค่ะ นู๋เห็นคุณจ๊อดยิ้มตลอดเลย คุณจ๊อดทำได้อย่างไงค่ะ" ผมก็ถามเขาว่า "พี่ขอถามหนูนะว่า หนูเกิดมาแล้ว หนูต้องการความสุขหรือความทุกข์อะไรมากกว่ากัน?"เขาก็ตอบผมว่า "ความสุขค่ะ" ผมก็ถามเขาอีกว่า "ทุกลมหายใจเข้าออกของหนูมีแต่ความสุขตลอดเวลา หนูคิดว่าดีไหม?" เขาก็ตอบว่า "ดีซิค่ะ" ผมก็บอกเขาว่า ""ใช่ดีแน่นอน ชีวิตหนูต้องการความสุข หนูเกิดมาต้องการความสุขเท่านั้นใช่ไม?" เขาก็ตอบว่า "ใช่ค่ะ" ผมก็บอกเขาว่า "หนูกลับไปท่องนะว่า เราต้องมีความสุข เราต้องมีความสุข เราต้องมีความสุข ท่องได้ทุกที่ทุกเวลา ถ้าอยู่คนเดียวก็ูพูดออกเสียงออกมาเลยนะ เวลามีเรื่องเครียดๆก็ท่องเลย ท่องในใจจนความเครียดหายไปเลยนะและเวลาที่หนูท่อง หนูก็ยิ้มนิดนิดด้วยนะ แล้วหนูก็จะมีแต่ความสุขตลอดไปครับ ลองทำดูนะอย่าลืมยิ้มด้วยล่ะเวลาท่อง"

ชีวิตผมประสพความสำเร็จได้ด้วยประโยคง่ายๆแค่สองประโยคเองนะครับ "เราเป็นคนดี" และ "เราต้องมีความสุข" ท่องง่ายๆแค่นี้เองครับ

เราเป็นคนดี" และ "เราต้องมีความสุข"

เราเป็นคนดี คือ กล้าต่อสู้ เพื่อความถูกต้อง

มีศักดิ์ศรี จุดยืน บนพื้นฐาน เพื่อส่วนรวม

เป็นตัวของตัวเอง และเราจะมีความสุข ค่ะ

สวัสดีครับอาจารย์

สมมติฐานสำหรับผมแล้ว ความเชื่อ มีจุดเริ่มต้นมาจาก สิ่งแวดล้อมรอบตัวเราหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เป็นครูผู้สอนเราตั้งแต่เราเกิด ไม่ว่าผู้สอนนั้นจะตั้งใจสอนหรือไม่ก็ตาม รวมถึงตัวเราเองผู้เรียน ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ว่ากำลังเรียนรู้อยู่ และการสอน การเรียนรู้ เบื้องต้นนั้น มักอยู่ในกรอบที่จับต้องได้เสียเป็นส่วนใหญ่ อาจจะเรียกได้ว่า รูปธรรมมากกว่า ทั้งที่จริงเราก็เรียนรู้เรื่องนามธรรมไปด้วยนั่นแหละ เพียงแต่เราไม่เข้าใจ เข้าไม่ถึง ไม่มี Output ให้เห็นชัดเจนเท่า

ส่วนสาเหตุว่าทำไมจึงอยู่ในกรอบแบบนี้ เพราะผู้สอน หรือผู้เรียน อันนี้ผมก็ไม่ทราบ แต่ผมรู้สึกว่ามันเป็นกระแสของสังคมส่วนใหญ่อีกที ผมเองก็ยังรู้สึกว่าตัวเองก็ยังอยู่ใน mode ของความโน้มเอียงความเชื่อไปทางรูปธรรมมากกว่า ซึ่งคนส่วนใหญ่อาจจะเรียกมันว่าวิทยาศาสตร์ ส่วนความเชื่ออีกด้านหนึ่ง ผมขอเรียกว่าเป็นความเชื่อทางนามธรรม ในที่นี้ผมขออ้างอิงความเชื่อทางศาสนาเป็นหลัก(ศาสนาพุทธ) เพราะผมไม่เคยรู้ว่าศาสนาอื่นเขาสอนอะไรบ้าง ฟังแต่คนอื่นพูดมาว่าทุกศาสนาสอนให้คนเป็นคนดี

สุดท้ายครับที่อาจารย์ตั้งประเด็นมาว่า ความเชื่อที่เรามานั้นถูกต้องหรือไม่ ผมคิดว่าถ้าเราตอบข้อแรกได้ ก็จะเป็นคำตอบข้อที่สองได้ด้วยแต่ปัญหาคือผมตอบไม่ได้ตั้งแต่ข้อแรกนี่สิครับ

ด้วยความเคารพและนับถือ

สวัสดีครับอาจารย์

ขอแสดงความเห็นอันน้อยนิดนะครับ ออกตัวก่อนว่าเป็นสิ่งที่ได้เคยฟังมาว่า...

ความเชื่อมาจากการได้รับรู้ เมื่อเกิดรับรู้ได้ก็เกิดความเชื่อขึ้นมา

การรับรู้ที่จะทำให้เกิดความเชื่อได้มี 3 แบบ

1. รู้จากการได้ยินได้ฟังมา --> ความเชื่อที่เกิดขึ้นเป็นแบบไม่อาศัยเหตุ/ผล หรือหลักตรรกะ ก็ได้ เชื่อตามอย่างเดียว

2. รู้จากการได้คิด คิดเองก็ดี คิดจากสิ่งที่ได้ยินได้ฟังก็ดี --> ความเชื่อที่เกิดขึ้นเป็นแบบ อาศัยหลัก เหตุ/ผล และ ตรรกะ

3. รู้จากการเห็นสิ่งนั้นซ้ำๆ --> ความเชื่อที่เกิดเป็นแบบไม่อาศัยเหตุ/ผล แต่ก็ไม่ใช่การเชื่อตาม เชื่อแบบเห็นอย่างไรก็เชื่ออย่างนั้น

  • ความเชื่อแบบที่ 1กับ2 จะเปลี่ยนไปเพราะว่า ได้ฟังสิ่งใหม่ (น่าเชื่อกว่า/คนพูดน่าเชื่อกว่า), เกิดความคิดเองขึ้นมาลบล้าง (ตรรกะ), เกิดเห็นสิ่งนั้นแล้วเชื่อสิ่งที่เห็น
  • ความเชื่อแบบที่่ 3 จะเปลี่ยนยากแต่ก็เปลี่ยนได้เพราะว่าเห็นมาเอง จะเห็นถึงที่สุดหรือไม่ แต่ก็เห็นมาเอง จะเชื่อสนิทใจ จะเปลี่ยนก็ต่อเมื่อทำให้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นในอีกแบบได้ (เข้าใจว่าไม่ควรพยายามอธิบายในที่นี้)

อาจจะเป็นความต่ำต้อยที่ผมคิดต่างอยู่ ในเรื่องของพฤติกรรม

ผมเข้าใจว่า "พฤติกรรม" เป็นการกระทำที่อาจใช้ หรือ อาจไม่ใช้ "ความคิด" ก็ได้
ทีนี้พอเป็นพฤติกรรมที่ไม่ได้คิด ก็ทำไปเพราะว่าเคยชิน อย่างเช่น ผมชอบใช้คำว่า "จริงหรอ? จริงดิ" ทุกครั้งที่มีคนเล่าอะไรให้ฟัง แล้วก็ไม่เคยรู้ตัวมาก่อนจนแฟนทักว่ามันน่ารำคาญเหมือนคนกวนๆ พยายามเปลี่ยนแปลงแต่ก็ไม่ได้ตลอด

ส่วนพฤติกรรมที่อาศัยความคิด ผมก็ยังเชื่อว่าไม่เกี่ยวกับความเชื่อ เพราะผมก็เชื่อว่าการทำดีย่อมได้ผลกรรมที่ดี แต่ผมก็ไม่สามารถจะมีแต่พฤติกรรมหรือคำพูดที่ดีได้

ถ้าจะสรุปให้เห็นความเห็น (ส่วนตัว/อัตโนมติ) ก็บอกว่า คนทำดีต้องพยายามและมีสติที่จะทำให้มันออกมาดี อย่าอาศัยธรรมชาติของตัวเองหรือพฤติกรรมจะถูกต้องกว่าครับ

ความเชื่อเป็นรากเหง้าของความคิดเรา ซึ่งความคิดเราเป็นสิ่งที่กำหนดลักษณะการแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมต่างๆ ดังนั้นการที่คนบางคนมีพฤติกรรมที่ดี ก็มีต้นตอมาจากความคิดและความเชื่อ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการปลูกฝังความเชื่อที่ถูกต้องจะนำพาไปสู่ความคิดที่ดีทำให้มีการแสดงออกทางพฤติกรรมที่ดี ตามหลักแนวคิดของผมผมจะสร้างความเชื่อที่ดีให้แก่ตนเอง เพื่อการอยู่ร่วมในสังคมอย่างมีความสุข

การกระทำต่าง ๆ ย่อมเกิดมาจากความคิดที่เรากลั่นกรองออกมา การตัดสินใจในการกระทำนั้นย่อมประกอบไปด้วยหลาย ๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อหรือประสบกาณ์จากการลองผิดลองถูกในอดีต ดังนั้นความเชื่อที่เราได้รับการปลูกฝังมา หรือได้ยินมาจนยอมรับความเชื่อนั้น ย่อมมีผลต่อการกระทำและความคิดของเรา เพราะความเชื่อมีผลต่อแนวทางในการคิดและการกระทำของเรา สามารถเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจ การกระทำต่าง ๆ หรือการเลือกทางเดินในการดำเนินชีวิตได้

การกระทำต่าง ๆ ย่อมเกิดมาจากความคิดที่เรากลั่นกรองออกมา การตัดสินใจในการกระทำนั้นย่อมประกอบไปด้วยหลาย ๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อหรือประสบกาณ์จากการลองผิดลองถูกในอดีต ดังนั้นความเชื่อที่เราได้รับการปลูกฝังมา หรือได้ยินมาจนยอมรับความเชื่อนั้น ย่อมมีผลต่อการกระทำและความคิดของเรา เพราะความเชื่อมีผลต่อแนวทางในการคิดและการกระทำของเรา สามารถเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจ การกระทำต่าง ๆ หรือการเลือกทางเดินในการดำเนินชีวิตได้

1.ความเชื่อมาจากการอบรมของพ่อเเม่ที่จะปกป้องภายอันตรายหรือเข้าใจสิ่งที่เราอยากรู้ จึงมีความเชื่อขึ้น2.ความเชื่อรู้ว่าถูกผิดจากสิ่งนั้น ผิดศีลธรรมหรือไม่ เเละถูกตามหลักนิติธรรมเเละหลักนิติวิทยาศาสตร์หรือ ไม่ ถ้าไม่มี 2ใน 3 ความเชื่อนั้นก็ผิดเเต่ถ้ามี2ใน3ความเชื่อนั้นก็ถูก3.ความเชื่อจะเเก้ไขได้ จากต้องมีความเชื่อหรือข้อมูลที่rejectได้ ถ้าrejectเราก็ยอมรับได้เอง

1.ความเชื่ออาจเกิดจากประสบการณ์ที่เราสั่งสม หรือข้อมูลที่เราได้รับมาเป็นระยะเวลาหนึ่งโดยไม่มีข้อมูลอื่นมาลบล้าง จึงทำให้เราปักใจคล้อยตามข้อมูล นั้นจนกลายเป็นสิ่งที่เราเชื่อในที่สุด 2.ความเชื่อใดจะถูกต้องต้องไม่ก่อให้เกิดรูปแบบความคิดหรือพฤติกรรมในทางที่ผิดต่อศิลธรรมอันดีงาม 3.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ดี เราต้องวางใจให้เป็นกลางและลบล้างความเชื่อเดิมที่มี พร้อมรับข้อมูลหรือสารใหม่ๆที่เห็นว่าดีกว่าเข้ามาแทน จนกลายเป็นความเชื่อใหม่ที่ก่อให้เกิดชุดความความคิดและพฤติกรรมใหม่ที่ดีกว่าเดิม

1.ความเชื่อมาจากการอบรมของพ่อเเม่ที่จะปกป้องภายอันตรายหรือเข้าใจสิ่งที่เราอยากรู้ จึงมีความเชื่อขึ้น2.ความเชื่อรู้ว่าถูกผิดจากสิ่งนั้น ผิดศีลธรรมหรือไม่ เเละถูกตามหลักนิติธรรมเเละหลักนิติวิทยาศาสตร์หรือ ไม่ ถ้าไม่มี 2ใน 3 ความเชื่อนั้นก็ผิดเเต่ถ้ามี2ใน3ความเชื่อนั้นก็ถูก3.ความเชื่อจะเเก้ไขได้ จากต้องมีความเชื่อหรือข้อมูลที่rejectได้ ถ้าrejectเราก็ยอมรับได้เองเพื่อจะเป็นคนดีในสังคมได้โดยความเชื่อไม่ผิดเพี้ยน

6110710044 คณะเภสัชศาสตร์.1.ความเชื่ออาจเกิดจากประสบการณ์ที่เราสั่งสม หรือข้อมูลที่เราได้รับมาเป็นระยะเวลาหนึ่งโดยไม่มีข้อมูลอื่นมาลบล้าง จึงทำให้เราปักใจคล้อยตามข้อมูล นั้นจนกลายเป็นสิ่งที่เราเชื่อในที่สุด 2.ความเชื่อใดจะถูกต้องต้องไม่ก่อให้เกิดรูปแบบความคิดหรือพฤติกรรมในทางที่ผิดต่อศิลธรรมอันดีงาม 3.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ดี เราต้องวางใจให้เป็นกลางและลบล้างความเชื่อเดิมที่มี พร้อมรับข้อมูลหรือสารใหม่ๆที่เห็นว่าดีกว่าเข้ามาแทน จนกลายเป็นความเชื่อใหม่ที่ก่อให้เกิดชุดความความคิดและพฤติกรรมใหม่ที่ดีกว่าเดิม

  1. ความถูกต้องเป็นพื้นฐานหลักของการใช้ชีวิตก่อนเราจะเชื่ออะไรควรมีการกลั่นกรองข้อมูล หาเหตุผลประกอบการตัดสินใจในการเชื่อเรื่องนั้นๆ เมื่อความเชื่อมันมีเหตุผลในตัวของมันความถูกต้องก็จะตามมา2.ถ้าความเชื่อเก่าเป็นความเชื่อที่ผิดเราควรเรียนรู้ทำความเข้าใจและหาสิ่งที่ถูกต้องและทำให้เรามีความเชื่อใหม่ที่ถูกต้อง

ความเชื่อของคนในปัจจุบันส่วนใหญ่มาจากการอบรมสั่งสอนของพ่อแม่คุณครู ความเชื่อมีความหมายไว้ดังนี้

ความเชื่ออาจเกิดจากประสบการณ์ที่ได้รับมาเป็นระยะเวลาหนึ่งโดยไม่มีข้อมูลอื่นมาลบล้าง จึงทำให้เราปักใจคล้อยตามข้อมูล นั้นจนกลายเป็นสิ่งที่เราเชื่อในที่สุด      ความเชื่อใดจะถูกต้องต้องไม่ก่อให้เกิดรูปแบบความคิดหรือพฤติกรรมในทางที่ผิดต่อศิลธรรมอันดีงาม                 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ดี เราต้องวางใจให้เป็นกลางและลบล้างความเชื่อเดิมที่มี พร้อมรับข้อมูลหรือสารใหม่ๆที่เห็นว่าดีกว่าเข้ามาแทน จนกลายเป็นความเชื่อใหม่ที่ก่อให้เกิดชุดความความคิดและพฤติกรรมใหม่ที่ดีกว่าเดิม
  1. ความเชื่อที่ถูกต้องอาจจะดูจากเหตุผลที่เข้ากันได้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว วัฒนธรรม ศาสนา เช่น ความเชื่อนี้เข้ากันได้กับคำสอนของพ่อแม่ ของคุณครู หรือสิ่งที่เราเคยศึกษา/เล่าเรียนมาหรือเปล่า คิดไตร่ตรองจากเหตุผลรอบตัว วิจารณญาณแยกแยะให้ดี
  2. การที่เราจะเปลี่ยนความเชื่อที่มีมานั้นต้องเริ่มต้นจากใจเราเองก่อน ที่สงสัยว่าความเชื่อของเรานั้นผิดหรือเปล่า อาจจะด้วยยุคสมัยเปลี่ยนไป หรือเพราะเจอบุคคลที่มีความเชื่อต่างจากเราแล้วโดนโน้มน้าวใจจนเราเอนเอียงจากความเชื่อเดิม หลังจากนั้นจึงจะหาข้อมูลศึกษาเพิ่มเติมเพื่อค้นคว้าว่าสิ่งที่เราเชื่อมาตลอดนั้นจริงแค่ไหน ถ้าเราค้นพบได้ด้วยตัวเอง/มีหลักฐานที่ตัวเราเองเชื่อถือได้แล้ว เมื่อนั้นจะเป็นช่วงที่เราสามารถเปลี่ยนความเชื่อเดิมได้อย่างสนิทใจ

1ความเชื่อเกิดจากการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตที่เป็นสิ่งที่ตัวเราคิดว่ามันถูกต้องและเชื่อในสิ่งที่เกิดขึ้น2การเปลี่ยนความเชื่อนั้นต้องเกิดจากการทดลองพิสูจน์ว่าความเชื่อเดิมของเรามันถูกหรือผิดอย่างไรแล้วจึงหาเหตุผลมาลบล้างเพื่อเปลี่ยนแปลงความเชื่อเดิมและต้องหาข้อมูลเหตุผลของความเชื่อใหม่ที่เราจะเชื่อด้วย

1.) ความเชื่อนั้นเกิดจากการที่เราได้ฟังและได้เห็นสิ่งต่างๆรอบตัว รวมถึงเกิดจากประสบการณ์ที่เราพบเจอหรือได้เห็นการกระทำนั้นบ่อยๆจนได้รับการเรียนรู้และปลูกฝังให้ยอมรับจนเกิดเป็นความเชื่อ 2.) ความเชื่อที่ถูกต้องต้องมีข้อมูลที่สมเหตุสมผลและเป็นกลาง ซึ่งถ้าเรานำความเชื่อนั้นมาวิเคราะห์แล้วไม่สามารถหาหลักฐานมาสนับสนุนได้ ทั้งอาจทำให้เกิดพฤติกรรมที่ผิด ก็จะถือว่าความเชื่อนั้นไม่ถูกต้อง 3.) ถ้าหากจะสร้างความเชื่อใหม่มาแทนที่ความเชื่อเก่า เราควรเปิดใจไม่มองแง่ใดแง่หนึ่งและประเมินข้อมูลที่ได้รับมาว่าน่าเชื่อถือหรือไม่ มีความถูกต้องมากกว่าความเชื่อเดิมหรือเปล่า เพื่อที่เราจะได้สร้างความเชื่อใหม่ที่ดีขึ้น

1.) ความเชื่อเกิดจากการที่เราได้ฟังและได้เห็นสิ่งต่างๆรอบตัว รวมถึงเกิดจากประสบการณ์ที่เราพบเจอหรือได้เห็นการกระทำนั้นบ่อยๆจนได้รับการเรียนรู้และปลูกฝังให้ยอมรับจนเกิดเป็นความเชื่อนั้น 2.) ความเชื่อที่ถูกต้องต้องมีข้อมูลที่สมเหตุสมผลและเป็นกลาง ซึ่งถ้าเรานำความเชื่อนั้นมาวิเคราะห์แล้วไม่สามารถหาหลักฐานมาสนับสนุนได้ หรือก่อให้เกิดพฤติกรรมที่ผิด ก็ถือว่าความเชื่อนั้นไม่ถูกต้อง 3.) ถ้าจะสร้างความเชื่อใหม่มาแทนความเชื่อเก่า เราควรเปิดใจไม่มองแง่ใดแง่หนึ่งและประเมินข้อมูลที่ได้รับมาว่ามีความน่าเชื่อถือหรือไม่ มีความถูกต้องมากกว่าความเชื่อเดิมหรือเปล่า เพื่อที่เราจะได้สร้างความเชื่อใหม่ที่ดีขึ้น

6110710089 เภสัชศาสตร์1.ความเชื่อเกิดจากการรับข้อมูลผ่านประสาททั้ง5 ไม่ว่าจะเป็นการได้ฟัง ได้เห็น ได้สัมผัส ได้ลิ้มรสหรือได้กลิ่น ซ้ำๆ จนเกิดการปลูกฝังกลายเป็นมโนภาพที่ชัดเจน2.ความเชื่อที่ถูกต้องต้องตั้งอยู่บนหลักของความจริง ไม่ขัดกับกฎของธรรมชาติ พิสูจน์เป็นภาพที่ประจักษ์ได้และต้องได้รับการยอมรับจากคนหมู่มากและไม่สูญหายไปภายในระยะเวลาอันสั้น3.ถ้าจะเปลี่ยนความเชื่อเดิมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเราควรหาบุคคลที่มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ที่เราต้องการรับฟังความคิดของเค้าว่าอะไรทำให้เขามีพฤติกรรมเช่นนั้น หรืออาจจะข้อมูลจากสื่อต่างๆเช่นจากyoutube ,วิทยุ,หนังสือ,หนังสือเสียงเป็นต้น

1.ในความคิดเห็นส่วนตัวคิดว่าความเชื่อที่ถูกต้องนั้นมาจากการที่เราได้ทราบข้อมูลของสิ่งๆหนึ่งมาจากคนอื่นที่มีการศึกษามาแล้ว หรือข้อมูลที่เราศึกษาเองแล้วเห็นถึงความเป็นเหตุและผลของสิ่งๆนั้น สิ่งเหล่านี้แหละที่เป็นตัวเสริมให้เราเชื่อในสิ่งๆนั้นด้วย โดยความเขื่อนี้จะถูกหรือผิดนั้นก็มาจากข้อมูลที่เราศึกษามานั้นแหละ ว่ามันมีความเป็นเหตุและผลหรือไม่2. การที่เราจะเปลี่ยนความเชื่อของเรานั้น ต้องเริ่มมาจากความสงสัยในความเชื่อก่อน หรือใครก็ตามมาพูดให้เราเปลี่ยนความเชื่อ แต่เราอย่าไปเชื่อทันที อย่างแรกที่เราจะต้องทำคือ หาข้อมูลมาหักล้างความเป็นเหตุเป็นผลของข้อมูลเก่าก่อนว่า ความเชื่อที่เราเคยเชื่อนั้นมันผิด หรือลองหาเหตุผลอื่นๆมาช่วยเสริมให้ความเชื่อใหม่ของเรานั้นมีความน่าเชื่อถือและถูกต้องกว่าข้อมูลเก่า แล้วเราจะเปลี่ยนความเชื่อเก่าเป็นใหม่ทันทีโดยปริยาย เพราะทุกคนก็อยากที่จะเชื่อในสิ่งที่ถูกต้องและมีผลดีต่อตัวเองทั้งนั้น

1.ในความคิดเห็นส่วนตัวคิดว่าความเชื่อที่ถูกต้องนั้นมาจากการที่เราได้ทราบข้อมูลของสิ่งๆหนึ่งมาจากคนอื่นที่มีการศึกษามาแล้ว หรือข้อมูลที่เราศึกษาเองแล้วเห็นถึงความเป็นเหตุและผลของสิ่งๆนั้น สิ่งเหล่านี้แหละที่เป็นตัวเสริมให้เราเชื่อในสิ่งๆนั้นด้วย โดยความเขื่อนี้จะถูกหรือผิดนั้นก็มาจากข้อมูลที่เราศึกษามานั้นแหละ ว่ามันมีความเป็นเหตุและผลหรือไม่2. การที่เราจะเปลี่ยนความเชื่อของเรานั้น ต้องเริ่มมาจากความสงสัยในความเชื่อก่อน หรือใครก็ตามมาพูดให้เราเปลี่ยนความเชื่อ แต่เราอย่าไปเชื่อทันที อย่างแรกที่เราจะต้องทำคือ หาข้อมูลมาหักล้างความเป็นเหตุเป็นผลของข้อมูลเก่าก่อนว่า ความเชื่อที่เราเคยเชื่อนั้นมันผิด หรือลองหาเหตุผลอื่นๆมาช่วยเสริมให้ความเชื่อใหม่ของเรานั้นมีความน่าเชื่อถือและถูกต้องกว่าข้อมูลเก่า แล้วเราจะเปลี่ยนความเชื่อเก่าเป็นใหม่ทันทีโดยปริยาย เพราะทุกคนก็อยากที่จะเชื่อในสิ่งที่ถูกต้องและมีผลดีต่อตัวเองทั้งนั้น

1.ในความคิดเห็นส่วนตัว คิดว่าความเชื่อมาจากการที่เราคิดว่าทำสิ่งๆนั้นแล้วถูกต้อง มีผู้คนปฏิบัติกันตามมาอย่างยาวนาน เช่น เชื่อว่า “ทำดีต้องได้ดี” แนวคิดนี้มีมาอย่างยาวนานและหนูก็เชื่อว่ามันเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ปฏิบัติแล้วเห็นผลไม่ว่าจะช้าหรือเร็วก็ตาม2.เราจะรู้ว่าความเชื่อนั้นถูกหรือผิดก็ต่อเมื่อเราได้ปฏิบัติแล้วเห็นผลจริง ถ้าหากเราปฏิบัติแล้วไม่เบียดเบียนผู้อื่นประกอบกับตัวเราเองสบายใจ คิดว่าความเชื่อนั้นอาจเป็นความเชื่อที่ถูกต้อง ถ้าไม่แน่ใจก็ให้ถามผู้ใหญ่ที่เรานับถือ หรือไม่ก็ค้นหาจากอินเทอร์เน็ต น่าจะเป็นตัวช่วยที่บอกเราได้3.ในกรณีที่เราต้องการเปลี่ยนที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง”ความเชื่อใหม่”ให้เข้ามาแทนที่”ความเชื่อเก่า”ได้โดยการที่เราลองทำสิ่งนั้นแล้วดูผลที่ตามมา(ในกรณีที่ทดลองได้) เช่น “คิดว่างานนี้ใช้เวลาทำไม่นาน ค่อยทำก็ได้” แต่เมื่อลองปฏิบัติตามแนวคิดนี้แล้ว ผลปรากฏว่าทำไม่ทันวันส่งงาน ถ้าเป็นแบบนี้เราก็จะรู้ว่ามันมีผลเสียตามมา แนวคิดนี้ใช้ไม่ได้ เราก็จะสร้างความเชื่อใหม่ขึ้นมาแทนว่า “สมควรให้เวลากับงานมากกว่านี้ จะได้ทำทันวันส่งงาน“ ในความคิดเห็นส่วนตัว ไม่จำเป็นที่จะต้องลบความความเชื่อเก่าออก แต่ให้นำประสบการณ์ที่ได้มาเป็นการพัฒนาให้มีความเชื่อใหม่ที่ดีกว่าเดิม

1.ในความคิดเห็นส่วน คิดว่าความเชื่อเกิดจากการที่เราได้ยิน ได้ฟัง และได้สิ่งเห็นประจำ หรือการที่เราปฏิบัติตามบุคคลที่เรานับถือและยกย่อง 2.เราจะรู้ได้อย่างไรว่าถูก รู้ได้จากการคนคว้า หาความรู้ และใช้ความคิดไตร่ตรองในความเชื่อนั้นๆ ในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม โดยสร้างความเชื่อใหม่ เราต้องรู้ว่าพฤติกรรมนั้นไม่ดี ไม่น่าปฏิบัติ เราก็ต้องหาความรู้ใหม่ๆ เพื่อที่จะสร้างพฤติกรรมทีดี่ และเป็นความเชื่อที่ดีได้

ในความคิดเห็นของผมนั้นจากคำถามที่ว่า เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง ? ผมคิดว่าการที่เราจะเชื่ออะไรสักอย่างนั้นเราต้องได้รับการพิสูจน์ด้วยตัวอย่างมาก่อนแล้ว และถ้าถามว่ามันถูกไหม ก็ตอบว่าความเชื่อนั้นจะถูกในช่วงเวลาที่เราเชื่อเท่านั้น จะยกตัวอย่างตามแนวคิดของผมให้เข้าใจได้มากขึ้น เช่นเมื่อมนุษย์เกิดมาในยุคหนึ่งที่พอจะรู้ว่าเราอยู่บนโลก แต่ตอนนั้นคนเราเชื่อกันว่าโลกแบน ซึ่งก็เป็นความเชื่อกันมา เขาเชื่อว่ามันถูก เขาก็เลยยังเชื่ออยู่ แต่พอมีความรู้มากยิ่งขึ้นทำให้รู้ว่าโลกนั้นกลมซึ่งคนในตอนนี้ก็เลิกเชื่อว่าโลกแบนและเชื่อว่าโลกกลม ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าเราจะไม่รู้ได้ว่าความเชื่อที่เราเชื่อนั้นถูก แต่เราจะรู้ว่าความเชื่อนั้นไม่ถูกก็ต่อเมื่อรู้ว่าความเชื่อนั้นมันผิด แล้วไปเชื่อความเชื่อที่ถูกกว่าแทน

และในประเด็นต่อมาหากเราต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง”ความเชื่อใหม่”เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า”ได้อย่างไรการที่จะเช่นนั้นได้เราต้องบอกให้ตัวเองเห็นให้ได้ว่าความเชื่อเก่านั้นมันผิด และนำความเชื่อใหม่เข้ามาแทนที่ได้ แต่การที่จะทำให้ความเชื่อปัจจุบันของเรานั้นผิดเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากสำหรับหลายๆ คนเนื่องจากเขายังเชื่อว่ามันถูก ผมจะยกตัวอย่างให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่นที่เราเชื่อว่าเราไม่อ่านหนังสือแล้วเพราะเราเรียนในห้องเข้าใจแล้ว เดี๋ยวก็ทำข้อสอบได้อยู่ดี เราจะเห็นได้ว่าถ้าจะเชื่อแบบนี้ แล้วผลสอบออกมาเขาคะแนนดีเขาก็ยังเชื่อต่อไปเพราะเชื่อแล้วทำให้คะแนนดี แต่ในกรณีที่คะแนนเขาไม่ดีเขาก็จะนึกได้ว่าเขาต้องทบทวนความรู้ที่เรียนมาจากในห้องอีกและทำแบบฝึกหัดเยอะๆ นั้นก็กลายเป็นความเชื่อใหม่ที่เขาสร้างมาแทนความเชื่อเก่านั่นเอง และสุดท้ายแล้วความเชื่อต่างนั้นจะส่งผลต่อการปฏบัติต่อไปได้ และหากปฏิบัติแล้วได้ผลลัพธ์ไม่ดี ก็จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนความเชื่อไปจนกว่าเราเจอหนทางที่ดีที่สุดที่เราได้พิสูจน์มา

6110311021 คณะแพทยศาสตร์ สาขา กายภาพบำบัด1. บางครั้งความเชื่อที่เราเชื่อว่ามันถูกมันก็ไม่ได้ถูกต้องเสมอไป เนื่องจาก ถ้าเราได้ลงมือกระทำสิ่งนั้นแล้วผลปรากฏว่ามันไม่ถูกต้องตามความเชื่อของเรา เราก็จะเปลี่ยนความคิดว่าความเชื่อนี้มันไม่จริง เชื่อถือไม่ได้ แต่บางความคิด เราไม่ได้เชื่อว่ามันถูกต้อง แต่อาจเกิดการพฤติกรรมของสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เราเชื่อว่าความเชื่อนี้มันถูกต้อง เช่น จากคำสอนของผู้ใหญ่ คำสอนของพ่อแม่บรรพบุรุษ ซึ่งบางความเชื่ออาจจะไม่ถูกต้องเลยซะด้วยซ้ำ แต่เกิดจากเราคิดเป็นทอดๆมาแล้วว่ามันถูก และถ้าเกิดเราไม่ปฏิบัติตามมันอาจส่งผลเสียร้ายตามมาได้ แต่ในความจริงแล้ว มันอาจจะไม่มีผลเลยก็ได้แต่เราดันคิดและเชื่อไปแล้วว่าความเชื่อนั้นถูกต้อง2. ลงมือทำมันเลย ให้คิดว่า “มา! ลองดูซักตั้ง ถ้าฟลุ๊คก็ถือว่าได้กำไร แต่ถ้าไม่ก็ถือว่าได้ทำเรื่องแปลกๆก็แล้วกัน” การลงมือทำเลยในช่วงร่างกายของเราจะปฎิเสธพฤติกรรมนี้อยู่พอสมควร แต่พอผ่านไปซักวัน สองวัน ร่างกายเกิดความเคยชิน ก็จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเกิดขึ้น และมันก็จะกลายเป็นเชื่อในที่สุด เพราะเราทำมันได้สำเร็จ เราเลยเชื่อว่าถ้าเราลงมือทำมัน มันก็จะสำเร็จ อาจจะมองหาแรงบันดาลใจเพิ่ม เพื่อเพิ่มการกระตุ้นเป็นพลังเสริมอยากให้เราเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์นั้นได้

6110311011 คณะแพทยศาสตร์ สาขา กายภาพบำบัด1.ความเชื่อนั้นอาจเกิดได้จากหลายๆปัจจัย ซึ่งมีมาตั้งแต่ในอดีต โดยในอดีตความเชื่อต่างๆนั้นมาจากสิ่งที่เกิดขึ้น หรือการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการดำรงชีวิตของคนในสมัยนั้น มีทั้งความเชื่อทางด้านศาสนา วัฒนธรรม ทางการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ ซึ่งเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์ และยากที่จะแก้ไข โดยบางอย่างก็เป็นสิ่งที่อำนวยผลประโยชน์ และบางอย่างก็เป็นอันตรายต่อชีวิตได้เหมือนกัน ซึ่งมนุษย์ก็จะพยายามใช้ความเชื่อนั้นให้เกิดในทางที่ดี และเกิดความสุขแก่ตนเอง
2.เราจะรู้ว่าความเชื่อนั้นถูกต้องก็ต่อเมื่อ ความเชื่อนั้นอาจจะมีพื้นฐานมาจากข้อเท็จจริง จากการนึกรู้เอาเอง หรือเกิดจากความเข้าใจ จากการศึกษา การพิสูจน์ที่อาจจะพิสูจน์ได้หรือไม่ได้ก็ตาม ซึ่งความเชื่อนั้นส่งผลให้เกิดในสิ่งที่ดีต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์3.การเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์สร้างความเชื่อใหม่แทนความเชื่อเดิมได้ โดยการลองเริ่มเปลี่ยนจากความคิดและการกระทำของตนเองก่อน ถ้าเราคิดว่าเราทำได้ บวกกับการลงมือทำ มันก็จะส่งผลให้เราสามารถเปลี่ยนแปลงในทุกๆอย่างได้ ไม่เพียงแต่พฤติกรรมของตนเองเท่านั้น ยังสามารถนั้นไปปรับใช้ในเรื่องอื่นๆได้ด้วย ซึ่งบางครั้งการลงมือทำมันอาจจะยากแต่ถ้าเราเชื่อว่าทำได้มันก็จะทำได้แน่นอน

ความเชื่อเกิดมาจากหลายสาเหตุหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นจากอุปนิสัยส่วนตัวที่อาจมีผลจากครอบครัวและสภาพแวดล้อม ซึ่งสภาพแวดล้อมนี้รวมถึงสังคม การศึกษา และการปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น หรือจะเป็นการที่เราได้รู้จากการได้ยินได้ฟังมา(ความเชื่อแบบไม่อาศัยเหตุ/ผล), รู้จากการได้คิด ทั้งคิดเองและการคิดตามผู้อื่นแบบมีเหตุผล,รู้จากการเห็นสิ่งนั้นซ้ำๆ ซึ่งความเชื่อที่เกิดจะเปลี่ยนแปลงได้ยากจากข้อที่ 1. เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อของเรานั้นถูกต้อง เราสามารถรู้ได้จากการค้นคว้า การศึกษาหาข้อมูล (ข้อมูลต้องมีความทันสมัย) จากการพิจารณาตรวจสอบสิ่งที่เราเชื่อด้วยหลักเหตุผลและต้องพิจารณาให้รอบด้าน 2.จะสร้างความเชื่อใหม่ เข้ามาแทนความเชื่อเก่าได้อย่างไรนั้น การจะรับความเชื่อใหม่เข้ามา เราไม่จำเป็นต้องกำจัดหรือสลัดความเชื่อเก่าทิ้งทั้งหมด แต่สิ่งที่ควรทำคือ การเปิดประตูแห่งความคิดให้กว้าง เปิดรับความเชื่อใหม่ ๆ เข้ามา ไม่ว่ามันจะมาจากเส้นทางใด หรือความเชื่อแบบใด จากนั้นก็พิจารณาไตร่ตรองความเชื่อนั้นว่าน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด ซึ่งความเชื่อนั้นควรมีหลักฐานที่สามารถพิสูจน์ได้หรือมีเหตุผลเป็นข้อสนับสนุน ที่จะทำให้เราเชื่อหรือไม่เชื่อ

ความเชื่ออาจจะเกิดจากการปลูกฝัง การอบรมสั่งสอน สิ่งแวดล้อม หรือการที่เราได้เห็นสิ่งนั้นบ่อยๆ ซึ่งสิ่งเหล่านั้นจะหล่อหลอมให้แต่ละคนมีความเชื่อที่แตกต่างกันไป การที่เราจะบอกว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องนั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก แต่เราก็ควรพิจารณาความเชื่อนั้นตามหลักข้อเท็จจริงและเหตุผล และนอกจากนั้นความเชื่อนั้นควรจะเป็นความเชื่อที่ไม่ส่งผลกระทบต่อผู้อื่น หากเราต้องการที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม แล้วสร้างความเชื่อใหม่เข้ามาแทนความเชื่อเก่า เราควรเริ่มจากการเปิดใจให้กับความเชื่อใหม่ ไม่ยึดติดกับความเชื่อเดิมๆ จากนั้นก็กำหนดเป้าหมายว่าเราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมนี้อย่างไร และเพื่ออะไรแล้วลงมือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ หาแรงบันดาลใจ แล้วเราก็จะบรรลุเป้าหมายของเราได้

-การที่จะบอกว่าความเชื่อไหนถูก หรือความเชื่อไหนผิด ก็เป็นการยากที่จะบอก แต่ในความคิดของฉัน ความเชื่อที่ถูกต้องอาจจะหมายถึง ความเชื่อที่เมื่อเราเชื่อแล้วเราสบายใจ และทำให้ประพฤติปฏิบัติตนในชิวิตได้อย่างมีความสุข โดยสิ่งที่เราเชื่อ และสิ่งที่เราทำ จำไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน-การที่เราจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรมที่เราไม่ชอบ ควรเริ่มจากการเปลี่ยนแปลงความคิด ความเชื่อเดิม โดยเริ่มคิดถึงข้อเสียในสิ่งที่เราทำ ว่าทำให้เดือดร้อนอย่างไรบ้าง แล้วค่อยๆเปิดใจที่จะใช้ความคิด ความเชื่อใหม่ๆ มาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไม่ดีที่เราไม่ชอบ เช่นการนอนตื่นสาย ทำให้ไปเรียนหรือไปทำงานไม่ทันไม่ทัน เราก็คิดใหม่ว่าตื่นให้เช้าขึ้นก็จะมีข้อดีมากขึ้นอย่างอากาศสดชื่นและไปทันเวลา

                                                                                                               6110712006

-การที่จะบอกว่าความเชื่อไหนถูก หรือความเชื่อไหนผิด ก็เป็นการยากที่จะบอก แต่ในความคิดของฉัน ความเชื่อที่ถูกต้องอาจจะหมายถึง ความเชื่อที่เมื่อเราเชื่อแล้วเราสบายใจ และส่งผลให้ประพฤติปฏิบัติตนในชีวิตได้อย่างมีความสุข โดยสิ่งที่เราเชื่อ และสิ่งที่เราทำ จะไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน -การที่เราจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรมที่เราไม่ชอบ ควรเริ่มจากการเปลี่ยนแปลงความคิด ความเชื่อเดิม โดยเริ่มคิดถึงข้อเสียในสิ่งที่เราทำสิ่งที่เราเชื่อ ว่าทำให้เดือดร้อนอย่างไรบ้าง แล้วค่อยๆเปิดใจที่จะใช้ความคิด ความเชื่อใหม่ๆ มาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไม่ดีที่เราไม่ชอบ เช่นการนอนตื่นสาย ทำให้ไปเรียนหรือไปทำงานไม่ทัน เราก็คิดใหม่ว่าตื่นให้เช้าขึ้นก็จะมีข้อดีมากขึ้นอย่างอากาศสดชื่นและไปทันเวลา (์New Version) คณะเภสัชศาสตร์ 6110712006

6110311014 คณะแพทยศาสตร์ สาขากายภาพบำบัด

1.ทุกคนคิดว่าความเชื่อที่มีอยู่นั้นถูกต้องเเล้ว เเละจะมองว่าของคนอื่นนั้นผิด นั่นก็เป็นเพราะ ผลที่ตามมานั้นส่งผลดีเเก่ตัวเขา ไม่สร้างความเดือดร้อนเเก่คนอื่น เเต่หากมันเกิดผลในเเง่ลบ ทั้งยังสร้างปัญหาตามมา หรือไปเจอความเชื่อที่ถูกต้องเเละดีกว่า ความเชื่อเขาก็จะเปลี่ยนเเปลงไป 2.อย่างเเรก เราต้องเข้าใจก่อนว่าพฤติกรรมนั้นมันสร้างปัญหา มีข้อเสียมากกว่าข้อดี หรือเเทบไม่มีข้อดีอยู่เลย เเละถ้าเราเปลี่ยนหรือเลิกพฤติกรรมนั้นไป มันจะเกิดผลดีตามมา มากมาย ให้คิดอย่างนี้ก่อน เเละถึงเริ่มปฏิบัติ เริ่มทีละน้อย เเต่สม่ำเสมอ เเละค่อยๆเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ ทำเป็นประจำ จนเกิดเป็นนิสัย ติดตัวเราไป

1.เราจะทราบได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เราเชื่อเป็นสิ่งที่ถูก?ตอบ ความเชื่อถูกสร้างขึ้นมาจากอัตตาและข้อคิดเห็นในมุมมองของตัวผู้เชื่อเอง หากต้องการทราบข้อเท็จจริง ต้องเปิดใจยอมรับข้อคิดเห็นของคนอื่น เพื่อทราบข้อเท็จจริงในหลายๆมุมอง แล้วผ่านกระบวนการคิดอย่างเป็นเป็นกลางอีกครั้ง จึงจะได้ความเชื่อที่มีความถูกต้องมาหที่สุด2.หากเรามีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ที่เกิดจากความเชื่อผิดๆ เราจะมีวิธีสลัดความเชื่อเดิม และ สร้างความเชื่อใหม่ที่ถูกต้องอย่างไร?ตอบ ถ้าสำนึกได้แล้วว่าความเชื่อที่เราเชื่อเป็นสิ่งที่ผิด แล้วมันสร้างพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ที่ทำลายชีวิตของเรา ก็นับเป็นการเริ่มต้นที่ดีในการเปลี่ยนแปลง โดยเรืฝิ่มจากค่อยๆเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่มาจากความเชื่อนั่น ซึ่งทำง่ายกว่าการเปลี่ยนความเชื่อโดยตรง และค่อยๆปลูกฝังความเชื่อที่ดีใหม่เข้าไปแทนที่ ซึ่งจะทำให้เกิดพฤติกรรมที่ดีโดยถาวร การแทนที่ความเชื่ออาจต้องใช้เวลา แต่ก็คุ้มค่าแก่การพัฒนาตนเองอย่างยั่งยืน

1.ความเชื่อเกิดมาจากสาเหตุที่หลากหลาย เช่น - เกิดจากการที่ถูกปลูกฝังให้คิดให้ทำสิ่งนั้นจากบรรพบุรุษหรือคนรุ่นก่อนๆ เหมือนเป็นการสืบทอดความเชื่อนั้นมา- เกิดจากการที่คนคนนั้นเคยประสบมาหรือเคยทำสิ่งนั้นมา แล้วมันทำให้เกิดผลดีหรือผลเสียต่อตัวเขาเอง จึงเกิดเป็นความเชื่อขึ้นมาว่าหากทำสิ่งนี้หรือสิ่งนั้นเเล้วจะทำให้เกิดผลดี ผลเสียต่อตัวเขาเองอย่างไรบ้าง เป็นต้น2.หากเราอยากทราบว่าความเชื่อที่เราเชื่อนั้นถูกต้องหรือไม่ เราก็ควรที่จะคิดพินิจพิจารณาวิเคราะห์ ไตร่ตรองว่าความเชื่อนั้นมีความสมเหตุสมผลหรือไม่ และควรศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเชื่อนั้น เพื่อนำมาประกอบเป็นเหตุผลว่าความเชื่อนั้นถูกต้องหรือไม่3.ทำอย่างไรในการที่จะสร้างความเชื่อใหม่แทนที่ความเชื่อเก่า สิ่งเเรกเราควรพิจารณาว่าความเชื่อเก่านั้นมีความสมเหตุสมผลหรือไม่ ส่งผลดี หรือผลเสียต่อตัวเราเองอย่างไรบ้าง มีความน่าเชื่อถือมาน้อยเพียงใด มีเหตุผลมารองรับหรือไม่ หากมันส่งผลเสียมากกว่าผลดีเราก็เลิกเชื่อความเชื่อนั้นเสีย แล้วสร้างความเชื่อใหม่ให้ตนเอง โดยความเชื่อใหม่นั้นจะต้องส่งผลดีต่อตัวเรามากกกว่าผลเสีย และไม่ได้ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน

1.ความเชื่อเกิดมาจากการที่เราได้รับสารต่างๆจากสภาพแวดล้อมรอบตัวเรา ตั้งแต่เด็กจนโตไม่ว่าจะเป็นครอบครัว สังคมและการศึกษาต่างๆ ซึ่งเมื่อเราได้รับสารมา เราก็จะมีความเชื่อตามมานั้นมาโดยตลอด แต่ความเชื่อเหล่านั้นสามารถเปลี่ยนได้จากสภาพแวดล้อมและอุปนิสัยของเรา ถ้าเราได้รับสารใหม่ที่น่าเชื่อกว่าเดิม ก็จะสามารถเปลี่ยนความเชื่อของเราได้2.การที่เราจะรู้ได้ว่าความเชื่อของเราถูกหรือผิด ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ต่างๆที่เราพบเจอ ถ้าผลจากความเชื่อของเราให้ผลลัพธ์ที่ดี ที่ถูกต้องแสดงว่าความเชื่อของเรานั้นถูกต้อง แต่ถ้าให้ผลที่ตรงกันข้ามแสดงว่าความเชื่อของเรานั้นผิด3.การที่เราจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เราไม่ชอบได้นั้น เราจะต้องหนักแน่นในตัวเองก่อน หนักแน่นในความเชื่อใหม่ที่เราึิดว่ามันดีกว่า ถูกต้องกว่า ให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า ถ้าราหนักแน่นพอเราจะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเราได้

ความเชื่อเกิดจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวทั้งสังคม ครอบครัวที่เราพบเจอ และรับฟังมาตั้งแต่เด็กจนโต ทำให้เราซึมซับความเชื่อต่างๆที่ถูกปลูกฝังมา อาจจะสืบทอดไปยังรุ่นลูกของเราต่อไป และประสบกาณ์ที่เราพบเจอต่างๆก็ยังเป็นอีกปัจจัยที่สร้างความเชื่อให้แก่ตัวเรา1.ถ้าเราต้องการทราบว่าความเชื่อของเรานั้นถูกต้องไหม เราควรเปิดใจ คิดวิเคราะห์ตามความจริงบนพื้นฐานของความถูกต้องเกี่ยวกับความเชื่อนั้น ๆ ว่าถูกต้องและสมควรนำไปปฏิบัติในชีวิตหรือไม่ 2.ถ้าความเชื่อทำให้เกิดความคิด และความคิดทำให้เกิดพฤติกรรม แล้วดิฉันคิดว่าเราควรลองมองมุมต่างเริ่มจากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ก่อน เมื่อพฤติกรรมเปลี่ยนแล้วทำให้ชีวิตของเราดีขึ้น มีความสุขขึ้น ความคิดของเราก็เปลี่ยนไป ส่งผลให้ความเชื่อเราเปลี่ยนไปเป็นความเชื่อใหม่ด้วย

  1. ความเชื่อของคนเรามักเกิดจากสิ่งเเวดล้อมรอบๆตัวอาจจะเกิดจากครอบครัว เพื่อน กิจกรรมที่เราทำหรือจากนิสัยของตัวเราเอง ซึ่งเเน่นอนความเชื่อของเเต่ละคนย่อมไม่เหมือนกันเเละทุกคนก็ต้องคิดว่าความเชื่อของตนเองนั้นถูกต้อง เเม้จริงๆเเล้วมันอาจจะถูกหรือผิดเราก็ไม่รู้ เเต่เมื่อเวลาผ่านไป เราจะสามารถรู้ได้เองโดยอัตโนมัติว่าความเชื่อของเรานั้นถูกหรือผิด อาจจะรู้ด้วยตนเองจากการฟัง การพบเจอมา หรืออาจจะรู้โดยผู้อื่นก็ตามเเต่สุดท้ายนี้อยากจะบอกว่าทุกความเชื่อของเเต่ละคนนั้นย่อมไม่มีถูกหรือผิดเเม้เราจะมองว่ามันถูกเเต่คนอื่นมองว่ามันผิดก็ตาม มันอยู่ที่ว่าความเชื่อของเรานั้นทำให้ตัวเราเองหรือผู้อื่นเดือดร้อนรึป่าว ถ้าไม่เดือดร้อนเราก็เขื่อต่อไปเถอะว่ามันถูกต้อง

  2. พฤติกรรมของคนเรามักเกิดจากความเชื่อ ถ้าความเชื่อเราไม่ถูกต้อง พฤติกรรมของเราก็มักจะแสดงออกไปทางได้ลบ เเต่พฤติกรรมของคนเรานั้นสามารถเเก้ไขได้โดยการไปรู้ ไปเห็นมาบ่อยๆเมื่อเรารู้ เราเห็นมันบ่อยๆมันก็จะบอกตัวเราเองโดยอัตโนมัติว่าความเชื่อเก่าของเรานั้นผิดนะเเละเราก็จะเปลี่ยนความเชื่อของเราเป็นความเชื่อใหม่เองโดยอัตโนมัติเช่นกันเมื่อความเชื่อของเราเปลี่ยน พฤติกรรมของเราก็จะเปลี่ยนตามไปด้วย

ความเชื่อของเราเกิดจาก ประสบการณ์ต่างๆในชีวิตที่เราเจอมาในชีวิต , รับรู้จากสภาพแวดล้อมรอบตัว , ถูกสั่งสอนหรือปลูกฝังจากบุคคลใกล้ชิดเช่นครอบครัว ความเชื่อส่งผลต่อความคิด พฤติกรรม การกระทำต่างๆ เมื่อเราเรียนรู้ว่าบางพฤติกรรมนั้นผิด ไม่สมเหตุสมผล เช่นผิดศีลธรรม เราก็ต้องพิจารณาถึงความเชื่อว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นถูกต้องจริงหรือไม่ หากไม่เราจะต้องเปิดใจยอมรับก่อนว่าความเชื่อของเรานั้นผิด แล้วควรเปิดใจรับความเชื่อใหม่ๆ จากหลายๆทาง และไตร่ตรองดูว่าความเชื่อแต่ละอย่างนั้นน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด แล้วปลูกฝังความเชื่อใหม่ที่ดี พัฒนาความคิดให้ถูกต้องจนนำไปสู่การพัฒนาการกระทำให้ดีขึ้นด้วย

ความเชื่อของเราเกิดจาก ประสบการณ์ต่างๆในชีวิตที่เราเจอมาในชีวิต , รับรู้จากสภาพแวดล้อมรอบตัว , ถูกสั่งสอนหรือปลูกฝังจากบุคคลใกล้ชิดเช่นครอบครัว ความเชื่อส่งผลต่อความคิด พฤติกรรม การกระทำต่างๆ เมื่อเราเรียนรู้ว่าบางพฤติกรรมนั้นผิด ไม่สมเหตุสมผล เช่นผิดศีลธรรม เราก็ต้องพิจารณาถึงความเชื่อว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นถูกต้องจริงหรือไม่ หากไม่เราจะต้องเปิดใจยอมรับก่อนว่าความเชื่อของเรานั้นผิด แล้วควรเปิดใจรับความเชื่อใหม่ๆ จากหลายๆทาง และไตร่ตรองดูว่าความเชื่อแต่ละอย่างนั้นน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด แล้วปลูกฝังความเชื่อใหม่ที่ดี พัฒนาความคิดให้ถูกต้องจนนำไปสู่การพัฒนาการกระทำให้ดีขึ้นด้วย

6110710030 คณะเภสัชศาสตร์1. จะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อของเราถูกต้อง? ถ้าเราอยู่ตัวคนเดียวเราคงไม่รู้ว่าความเชื่อนั้นดีหรือไม่ดี เเต่ถ้าเราอยู่ในสังคม การกระทำของเราจะเป็นตัวบอกเอง เพราะความเชื่อเป็นรากเหง้าของความคิดของเรา และความคิดก็เป็นต้นตอของพฤติกรรมที่เราแสดงออกมา ถ้าการกระทำของเราไม่ทำให้เดือดร้อนก็เเปลว่าความเชื่อนั้นไม่ผิดเเต่ยังบอกไม่ได้ว่าความเชื่อนั้นถูกต้อง ผมคิดว่าความเชื่อที่ถูกต้องคือความเชื่อที่ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน ส่งผลดี เเละยึดตามเสียงข้างมาก2.ความเชื่อจะทำให้เกิดพฤติกรรม เเละพฤติกรรมที่เกิดขึ้นนั้นจะทำให้เกิดเหตุการณ์ต่างๆ เเละหากสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นไม่ดี มันก็จะทำให้เรารู้สึกสำนึกเเล้วเปลี่ยนพฤติกรรมเอง เเละเมื่อพฤติกรรมเปลี่ยนความเชื่อก็เปลี่ยน

-ควมเชื่อมมาจากไหน ทำไหมถึงเชื่อ?
ศาสนา ,ครอบครัว ,คนรอบข้าง ,คนในสังคมเดียวกัน ,ค่านิยมในสังคม, เพื่อน ,บุคคลที่รู้จัก, นัดแสดง, นักร้อง, คนที่เป็นแบบอย่าง เชื่อเพราะ ทำให้เกิดการยอมรับในสังคม ทำให้รู้สึกสบายใจ อยากเป็นอย่างเขา การปลูปฝังความเชื่อนั้นในครอบครัวหรือสังคมที่เราอยู่-รู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อนั้นถูก?
พิจารณาด้วยตัวเองว่าสมเหตุสมผลหรือไม่ อยากใช้ข้อมูลอื่นๆประกอบ เพราะความเชื่อไม่มีถูกผิด มีแค่เราเชื่อในสิ่งนั้นไหม-หากต้องการสร้างพฤติกรรมใหม่ จะเปลียนความเชื่อได้อย่างไร
หาความรู้ใหม่ เพื่อประกอบความเชื่อใหม่, ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนและลงมือทำมั้นอย่างแน่วแน่ ,หาประสบการณ์ต่างๆให้กับตัวเอง ,เข้าใจตัวเองและทำข้อเสียไปปรับปรุงแก้ไข
  1. ความเชื่อเกิดจากความคิด สังคม สภาพเเวดล้อม เเละจิตใจของบุคคลนั้นๆ
  2. รู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อเราถูก
    หากความเชื่อไม่ได้ทำให้เราเดือดร้อนหรือเป็นอันตรายต่อตนเองหรือคนรอบข้าง เเละเราเกิดความสบายใจที่จะเชื่อ ก็คิดว่าความเชื่อของเรานั้นถูก ไม่ว่าความเชื่อของเรานั้นจะต่างกับคนอื่นหรือไม่มีใครเห็นด้วยก็ตามเเต่ก็ต้องดูความเหมาะสมด้วย
  3. หากต้องการสร้างพฤติกรรมใหม่ จะเปลียนความเชื่อได้อย่างไรสลัดความคิดเก่าไปเเละมอง วิเคราะห์ความเชื่อใหม่ ให้เห็นด้านที่ดีของความเชื่อนั้นเเละไม่ต้องไปนึกถึงความเชื่อเก่า
  1. ความเชื่อเกิดจากความคิด สังคม สภาพเเวดล้อม เเละจิตใจของบุคคลนั้นๆ
  2. รู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อเราถูก
    หากความเชื่อไม่ได้ทำให้เราเดือดร้อนหรือเป็นอันตรายต่อตนเองหรือคนรอบข้าง เเละเราเกิดความสบายใจที่จะเชื่อ ก็คิดว่าความเชื่อของเรานั้นถูก ไม่ว่าความเชื่อของเรานั้นจะต่างกับคนอื่นหรือไม่มีใครเห็นด้วยก็ตามเเต่ก็ต้องดูความเหมาะสมด้วย
  3. หากต้องการสร้างพฤติกรรมใหม่ จะเปลียนความเชื่อได้อย่างไรสลัดความคิดเก่าไปเเละมอง วิเคราะห์ความเชื่อใหม่ ให้เห็นด้านที่ดีของความเชื่อนั้นเเละไม่ต้องไปนึกถึงความเชื่อเก่า

6110710065 คณะเภสัชศาสตร์1.ความเชื่อ มีผลจากความยึดติดในความคิดของเรา ไม่ว่าความคิดนั้นจะเกิดขึ้นเองหรือเป็นประสบการณ์ที่เคยได้รับมาจากผู้อื่นก็ตาม ถึงแม้หากประสบการณ์ที่เคยได้รับมาจะเรื่องที่ดีมากแค่ไหนก็ตามแต่ถ้าใจเราเลือกที่จะไม่เชื่อ ไม่ยอมรับ หรือเมินเฉย ก็จะไม่เกิดเป็นความเชื่อ2.สิ่งที่เชื่อมันถูกหรือไม่ ความเชื่อไม่มีถูกหรือผิด ทักคนมีสิทธิ์ที่จะเชื่อ แต่ความเชื่อนั้นก็ไม่ควรส่งผลร้านต่อผู้อื่นและไม่ผิดต่อหลักศีลธรรม3.หากต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมต้องใช้ความเชื่อให้เป็นประโยชน์ ต้องเชื่อว่าสิ่งเก่าจะส่งผลร้ายต่อตนเองและเชื่อว่าสิ่งใหม่เมื่อทำแล้วจะทำให้อนาคตดีขึ้น

ดิฉันรหัสนักศึกษา6110710008 คณะเภสัชศาสตร์ ขออนุญาตออกความคอดเห็นจากที่ได้อ่านความเห็นข้างต้นมา ทุกคนต่างมีความเห็นที่แตกต่างกัน ดังนั้นความเชื่อก็ย่อมต่างกันด้วย ความเชื่อเกิดขึ้นได้อย่างไร? แล้วเกิดขึ้นมาตอนไหน? ความเชื่ออาจเกิดขึ้นได้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา หรือเกิดจากครอบครัวของเรา ทุกคนอาจจะโดนปลูกฝังความเชื่อโดยที่เราไม่รู้ตัวเลยก็ได้ อย่าเสียงดังไปนะ เดี๋ยวตุ๊กแกจะมากินตับ แล้วเราก็จะเงียบ เราไม่รู้หรอกว่าตุ้กแกจะมากินจริงๆไหม แต่เราก็เงียบได้อย่างง่ายดาย เพียงเพราะคนที่พูดเป็นผู้ใหญ่กว่าหรือเป็นคนที่เราเคารพและไว้ใจ มาถึงประเด็นที่ว่าจะรู้ได้ไงว่าความเชื่อนั้นถูกหรือผิด ขอนำตัวอย่างก่อนหน้านั้นมาขยายความได้ว่า… พอเราโตขึ้นเราก็จะรู้ว่าสิ่งที่เขาพูดนั้นไม่เป็นความจริง เขาพูดเพียงอยากให้เราเงียบ สงบ ดังนั้นจะรู้ได้ว่าความเชื่อนั้นผิดไม่ผิดได้นั้นเราต้องลองทำดู ถ้าเราไม่ลองแล้วเราจะรู้ได้ไงว่าผิด รู้มาจากคนอื่นพูดว่าผิดเหรอ? หรือคนอื่นบอกให้เราเชื่อว่าถูก? ทั้งคู่ก็เป็นการสร้างความเชื่อซ้อนไปอีกเพื่อให้เราเชื่อคำพูดเขาอีกที วิธีที่ดีที่สุดในการจะรู้ว่าความเชื่อที่เราเชื่อมานั้นถูกหรือผิดคือการ ลองทำดู! แล้วเราจะรู้เอง

Thinking & predictable : ความเชื่อเกิดมาจากสภาพแวดล้อมและถิ่นที่อยู่ซึ่งถูกปลูกฝังจากรุ่นสู่รุ่น เมื่อคนไม่รู้สิ่งใดก็จะเกิดความคิด เกิดความเชื่อขึ้นมาเพื่ออธิบายสิ่งนั้นเหมือนเป็นทฤษฎีที่ไม่รู้ว่าถูกหรือผิด แต่เมื่อคนส่วนใหญ่เชื่อหรือเป็นที่ยอมรับในวงกว้างก็กลายเป็นว่าความเชื่อนั้นถูกต้องและปฏิบัติสืบต่อมา1. ความเชื่อที่ถูกควรจะไม่ทำให้ใครเดือดร้อน ต้องเกิดความสุขต่อตนเองโดยไม่เบียดเบียน ประกอบกับการตั้งอยู่บนหลักเหตุและผลที่ดี2. เป็นเรื่องยากที่เราจะเปลี่ยนความเชื่อ แต่หากต้องการที่จะเปลี่ยนแล้ว อันดับแรกคงต้องเปิดใจยอมรับฟังความคิดเห็น เปิดใจยอมรับเหตุผล ทดลองเปลี่ยนพฤติกรรมตามความเชื่อใหม่ หากผลที่เกิดขึ้นดีกว่าความเชื่อเดิมก็มีโอกาสที่จะเปลี่ยนความเชื่อใหม่มาแทนที่ความเชื่อเก่าได้

Thinking & predictable : ความเชื่อเกิดมาจากสภาพแวดล้อมและถิ่นที่อยู่ซึ่งถูกปลูกฝังจากรุ่นสู่รุ่น เมื่อคนไม่รู้สิ่งใดก็จะเกิดความคิด เกิดความเชื่อขึ้นมาเพื่ออธิบายสิ่งนั้นเหมือนเป็นทฤษฎีที่ไม่รู้ว่าถูกหรือผิด แต่เมื่อคนส่วนใหญ่เชื่อหรือเป็นที่ยอมรับในวงกว้างก็กลายเป็นว่าความเชื่อนั้นถูกต้องและปฏิบัติสืบต่อมา1. ความเชื่อที่ถูกควรจะไม่ทำให้ใครเดือดร้อน ต้องเกิดความสุขต่อตนเองโดยไม่เบียดเบียน ประกอบกับการตั้งอยู่บนหลักเหตุและผลที่ดี2. เป็นเรื่องยากที่เราจะเปลี่ยนความเชื่อ แต่หากต้องการที่จะเปลี่ยนแล้ว อันดับแรกคงต้องเปิดใจยอมรับฟังความคิดเห็น เปิดใจยอมรับเหตุผล ทดลองเปลี่ยนพฤติกรรมตามความเชื่อใหม่ หากผลที่เกิดขึ้นดีกว่าความเชื่อเดิมก็มีโอกาสที่จะเปลี่ยนความเชื่อใหม่มาแทนที่ความเชื่อเก่าได้

ดิฉันรหัสนักศึกษา6110710074 คณะเภสัชศาสตร์ ในความคิดของดิฉันความเชื่อนั้นเกิดได้หลายสาเหตุทั้งที่ตัวเราเองเป็นผู้ทำให้เกิดขึ้นเช่น “เราเชื่อว่าเราสามารถทำในสิ่งที่คนอื่นไม่สามารถทำได้” หรืออาจมีคนอื่นเป็นผู้ชักจูงเราให้เชื่อในสิ่งที่เขาเชื่อ เช่น “เมื่อมีกรอบรูปภาพคนในครอบครัวหล่นแตก เชื่อกันว่าบุคคลนั้นกำลังเกิดเรื่องร้ายๆ” ปัจจุบันนี้ก็ยังเชื่อแบบนั้นกันอยู่ แต่ในความจริงคงไม่ใช่แบบนั้นเสมอไป เพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ซึ่งสำหรับดิฉันเองการที่เราจะเชื่ออะไรสักอย่างนั้น เราไม่สามารถบอกได้อย่างชัดเจนว่าสิ่งที่เราเชื่ออยู่นั้นหรือที่กำลังจะเชื่อถูกหรือผิดกันแน่ เพราะบางความเชื่อก็มีทั้งที่ถูกและผิด แต่เราอาจสามารถทราบได้อย่างคร่าวๆว่า หากเชื่อแล้วจะเกิดผลดีหรือผลเสียอะไรตามมาบ้างหรือเราอาจลองพิสูจน์โดยการลงมือทำตามวามเชื่อนั้นแล้วผลที่ได้จะเป็นตัวพิสูจน์ว่าเราควรเชื่อในความเชื่อนั้นอีกรึเปล่า (อย่าด่วนตัดสินใจเชื่อเพียงเพราะคนอื่นบอกให้เชื่อ) สำหรับดิฉันการเปลี่ยนความเชื่อสำหรับใครหลายๆคนอาจจะเป็นเรื่องยากไปบ้าง แต่ถ้าหากเรารู้ว่าความเชื่อใหม่นั้นมันดีกว่าความเชื่อเก่าที่เราเชื่ออยู่อย่างไรบ้าง เราก็จะสามารถตัดสินใจได้ไม่ยากว่าตัวเราเองควรที่จะเชื่อสิ่งไหน แต่เราจะรู้ได้อย่างไรล่ะว่าความเชื่อใหม่นั้นมันมีข้อดีอะไรบ้างที่จะมาลบล้างหรือแทนที่ความเชื่อเก่าหากเราไม่ลองพิสูจน์ด้วยตัวเราเอง! (บางความเขื่อเราอาจไม่สามารถพิสูจน์ด้วยตัวเราเองได้ เช่น การเชื่อว่าผีมีอยู่จริง ซึ่งความเชื่อในลักษณะนี้ขึ้นอยู่กับวิจารญาณของแต่ละคน)

สำหรับข้อแรกนั้น เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้อง เราต้องแบ่งประเภทของความเชื่อก่อน ความเชื่อมีทั้งที่พิสูจน์ได้ เช่น ความเชื่อทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถใช้ทฤษฎีและการทดลองพิสูจน์ความถูกต้อง กับความเชื่อทางจิตวิญญาณ เช่น ศาสนา ลัทธิ ความคิด เป็นต้น หากเป็นความเชื่อในอย่างหลังนั้นคงเป็นไปได้ยากที่จะพิสูจน์ว่าสิ่งใดผิดหรือถูก ดังนั้นก่อนจะเชื่อสิ่งใดก็ให้ใช้ประสบการณ์และวิจารณญาณในการไตร่ตรองว่าควรเชื่อหรือไม่ และในการนำความเชื่อใหม่มาแทนที่ความเชื่อเก่านั้น ต้องเปิดกรอบความคิด ลดอคติต่อความเชื่อใหม่ๆที่ขัดกับความเชื่อเก่าออกไป หากทำได้จะทำให้เรามีความคิดหลากหลายมุมมองและมองโลกรอบตัวได้กว้างและลึกซึ้งมากขึ้น

ในความคิดของดิฉัน ดิฉันคิดว่าความเชื่อเกิดจากความไม่รู้ เมื่อเราไม่รู้ทำให้เกิดความคิดฟุ้งซ่านว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้ต้องเกิดมาจากสิ่งนั้นสิ่งนี้ ทำให้เราเชื่อไปต่างๆนานา เมื่อรวมกับการปลูกฝังจากครอบครัวหรือคนรอบข้าง ยิ่งทำให้เราเกิดความเชื่อมากขึ้น และอาจสืบทอดรุ่นต่อรุ่นได้และหากอยากทราบว่าความเชื่อที่เราเชื่อมานั้นถูกต้องหรือไม่ เราก็ต้องอาศัยประสบการณ์ หรือการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ หรือการหาข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อหาคำตอบในความคิดเราว่าความเชื่อที่เราเชื่อนั้นมันถูกหรือไม่ส่วนกรณีที่เราต้องการเปลี่ยนพฤติกรรม โดยการนำความเชื่อเก่ามาแทนที่ความเชื่อใหม่นั้น ดิฉันคิดว่าเราไม่จำเป็นที่จะต้องนำความคิดใหม่มาแทนความคิดเก่าทั้งหมด เพราะความเชื่อเก่าๆที่เคยเชื่อนั้น มันก็มีผลดีอยู่บ้าง เราควรเก็บผลดีตรงนั้น อาจนำมาเป็นรากฐานความเชื่อใหม่ของเราก็ได้ และนำความเชื่อใหม่นั้นมาเป็นส่วนเพิ่มเติม และการที่เราจะสร้างความเชื่อใหม่ได้นั้น เราต้องคิดให้ได้ก่อนว่าที่เราจะเปลี่ยนพฤติกรรมนี้ได้ เราต้องคิดที่จะทำอย่างมุ่งมั่น ตั้งใจ และเชื่อว่าเราต้องทำได้ เชื่อเพื่อผลที่ดีต่อตัวเรา แล้วเราจะคิดได้เองและนำมาซึ่งความเชื่อใหม่ที่ดี

ดิฉันรหัสนักศึกษา6110710088 คณะเภสัชศาสตร์ ในความคิดของดิฉัน ดิฉันคิดว่าความเชื่อเกิดจากความไม่รู้ เมื่อเราไม่รู้ทำให้เกิดความคิดฟุ้งซ่านว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้ต้องเกิดมาจากสิ่งนั้นสิ่งนี้ ทำให้เราเชื่อไปต่างๆนานา เมื่อรวมกับการปลูกฝังจากครอบครัวหรือคนรอบข้าง ยิ่งทำให้เราเกิดความเชื่อมากขึ้น และอาจสืบทอดรุ่นต่อรุ่นได้และหากอยากทราบว่าความเชื่อที่เราเชื่อมานั้นถูกต้องหรือไม่ เราก็ต้องอาศัยประสบการณ์ หรือการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ หรือการหาข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อหาคำตอบในความคิดเราว่าความเชื่อที่เราเชื่อนั้นมันถูกหรือไม่ส่วนกรณีที่เราต้องการเปลี่ยนพฤติกรรม โดยการนำความเชื่อเก่ามาแทนที่ความเชื่อใหม่นั้น ดิฉันคิดว่าเราไม่จำเป็นที่จะต้องนำความคิดใหม่มาแทนความคิดเก่าทั้งหมด เพราะความเชื่อเก่าๆที่เคยเชื่อนั้น มันก็มีผลดีอยู่บ้าง เราควรเก็บผลดีตรงนั้น อาจนำมาเป็นรากฐานความเชื่อใหม่ของเราก็ได้ และนำความเชื่อใหม่นั้นมาเป็นส่วนเพิ่มเติม และการที่เราจะสร้างความเชื่อใหม่ได้นั้น เราต้องคิดให้ได้ก่อนว่าที่เราจะเปลี่ยนพฤติกรรมนี้ได้ เราต้องคิดที่จะทำอย่างมุ่งมั่น ตั้งใจ และเชื่อว่าเราต้องทำได้ เชื่อเพื่อผลที่ดีต่อตัวเรา แล้วเราจะคิดได้เองและนำมาซึ่งความเชื่อใหม่ที่ดี

1.การที่เราจะรู้ได้ว่าความเชื่อที่เรารู้มานั้นเป็นความจริงหรือไม่ เราก็ต้องใช้กระบวนการในการคิดตามหลักเหตุและผล ใช้สติปัญญาในการพินิจพิจารณา คิดอย่างมีวิจารณญาณ หาข้อมูล รวบรวมจากหลายๆแหล่ง เมื่อเราได้รับความเชื่อใหม่ๆก็จะไม่ควรจะปักใจเชื่อในทันที ต้องคิดใตรตรองให้รอบคอบก่อนทุกครั้ง2.ความเชื่อเก่าบางอย่างก็ยากที่จะเปลี่ยนแปลงให้เชื่อเป็นแบบอื่นได้ แต่ความเชื่อบางอย่างก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากเราต้องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเรา เราก็สามารถสร้างความเชื่อใหม่ได้โดยการหาข้อดี ประโยชน์ของความเชื่อใหม่มาเป็นแรงจูงใจในการให้เรายอมที่จะเปลี่ยนความเชื่อเดิมๆ และหาข้อเสียของความเชื่อแบบเดิมมาทำให้เราไมาอยากเชื่อแบบเดิมอีกแล้ว

สำหรับดิฉันนักศึกษาเภสัชศาสตร์6110710086 คิดว่า- ความเชื่อส่วนใหญ่มักจะมีจุดเริ่มมาจากอุปนิสัยส่วนตัวซึ่งอาจมีผลจากครอบครัวและสภาพแวดล้อม สภาพแวดล้อมนี้รวมถึงสังคม การศึกษา และการปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น คนที่อยู่ในสังคมที่มีความแตกต่างหลากหลายของผู้คน ถ้าคนที่เปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่สม่ำเสมอ ทำให้ความเชื่อเดิมอาจเปลี่ยนแปลงไป ความเชื่อบางอย่างอาจถูกต้องในเวลาหนึ่ง แต่เมื่อเวลาผ่านไปความเชื่อนั้นอาจกลายเป็นความเชื่อที่ผิดได้หลังจากผ่านการพิสูจน์ด้วยเหตุการณ์เปิดโอกาสรับรู้ รับฟังสิ่งใหม่ ๆ ที่อาจขัดแย้งกับความเชื่อเดิม และจะปิดประตูตายไม่ยอมรับการทดสอบความเชื่อของตนเองแต่อย่างใด - ความเชื่อใหม่ เข้ามาแทนความเชื่อเก่าได้อย่างไร ความคิดพัฒนามาจากความเชื่อ ความเชื่อก็พัฒนามาจากความคิดด้วยเช่นกัน การจะรับความเชื่อใหม่เข้ามา เราไม่จำเป็นต้องกำจัดหรือสลัดความเชื่อเก่าทิ้งทั้งหมด สิ่งที่ควรทำคือ การเปิดประตูแห่งความคิดให้กว้าง เปิดรับความเชื่อใหม่ ๆ เข้ามา ไม่ว่ามันจะมาจากเส้นทางใด หรือความเชื่อแบบใด จากนั้นพินิจพิเคราะห์ ไตร่ตรองความเชื่อนั้นว่าน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด ถ้าเป็นความเชื่อที่สามารถหาหลักฐานหรือข้อพิสูจน์ได้ก็ควรทำก่อนที่จะสรุปว่าเชื่อหรือไม่เชื่อ แต่ถ้ายังหาข้อสรุปหรือหลักฐานมาสนับสนุนหรือคัดค้านความเชื่อนั้นไม่ได้ ก็อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่าเชื่อหรือคัดค้านความเชื่อนั้น ถ้าไม่มีเงื่อนไขเรื่องเวลา เราก็ไม่ควรด่วนตัดสินความเชื่อใด ๆ หลายครั้งเมื่อไม่สามารถหาหลักฐานหรือผู้ช่วยมาสนับสนุนความเชื่อได้ เวลาจะกลายเป็นเครื่องพิสูจน์ความเชื่อนั้นเอง ถ้าความเชื่อของเราไม่ทำให้เกิดผลกระทบต่อใคร เราก็สามารถที่จะเชื่อแบบนั้นต่อไปได้

แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?-เราจะทราบได้ว่าความเชื่อนั้นถูกต้องหรือไม่นั้น อาจดูได้จากผลของการกระทำที่สืบเนื่องมาจากความเชื่อนั้นว่าเหมาะสมหรือสมควรหรือไม่ ในกรณีนี้อาจไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัด แต่หากสามารถเทียบกับทฤษฎีที่เป็นกฏตายตัวแล้วนั้น จะสามารถทราบได้ทันทีว่าสิ่งใดผิดหรือถูก

ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?-เริ่มเปลี่ยนที่ทัศนคติของตัวเรา หากจะพูดถึงความเชื่อเก่าก็อาจจะพูดได้ว่าเป็นสิ่งที่อยู่กับเรามานาน หากจะต้องการปรับเปลี่ยนอาจจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนวิธีคิดของเราใหม่ เปิดกว้างที่จะยอมรับความเชื่อใหม่ๆเข้ามา

แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?

เราต้องพิจรณาความเชื่อนั้นโดยจิตใจที่เป็นกลาง อ้างอิงหลักความรู้และศีลธรรมเป็นพื้นฐาน จะทำให้เราทราบว่าความเชื่อนั้นถูกต้องหรือไม่

ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?

เราต้องเปิดใจ ยอมรับความเป็นจริง อย่ายึดติดกับอดีต จะทำให้เราเกิดความเชื่อใหม่ขึ้นมาได้

1)แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?ตอบ ลองเปิดใจรับความรู้ ความเชื่อใหม่ๆบ้าง และใช้สมองพินิจพิเคราะห์ ไตร่ตรอง ความเชื่อที่มีมาว่าน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด และเราควรสลัดความเชื่อที่มีอยู่ทิ้งไป และ อย่าเพิ่งสร้างความเชื่อใหม่ ทำให้เราจะรู้ได้ว่าความเชื่อที่มีมานั้นถูกหรือไม่2)ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไรตอบ ตั้งสติ ใช้สมองพินิจพิเคราะห์ ว่าพฤติกรรมที่เราทำแล้วไม่ดี ส่งผลอย่างไร หากเราเปลี่ยนพฤติกรรมนั้นๆ จะได้ผลที่ดีขึ้นหรือไม่ และลองทำดูให้เป็นประจำ และเป็นนิสัยเช่น หากเราอยากตื่นเช้า เราก็ลองตื่นตื่นเช้าทุกๆวัน จะทำให้เราพบข้อดีของการตื่นเช้ามากมากมายที่เป็นประโยชน์แก่เราทำให้ความเชื่อของเราเปลี่ยนแปลไปได้

จากคำถามข้อเเรก ความเชื่อนั้นเกิดสิ่งรอบข้างที่อยู่รอบตัว อาจจะมีอิทธิพลต่อจิตใจของเรา ซึ่งทำให้เราถูกปลูกฝังเเล้วมีความเชื่อเเบบนั้นเกิดขึ้น เเละความเชื่ออาจจะเป็นทั้งข้อดีเเละข้อเสีย ดังนั้นการที่เราจะรู้ได้ว่ามันจริงหรือไม่ เราจะต้องมองให้มันอยู่บนพื้นฐานตามหลักความเป็นจริง ที่ความเชื่อเเต่ละความเชื่อจะมีเหตุเเละผลของมันอยู่เเล้ว จากคำถามข้อสอง การที่เราจะรับความเชื่อใหม่มาได้ในบางที เราควรที่จะเจอกับตัวเอง เพื่อให้รู้ว่าความเชื่อเก่าของเรานั้นไม่ถูกต้อง เเล้วเราจะสามารถเปลี่ยนความเชื่อเก่าเเล้วรับความเชื่อใหม่มาได้ หรือในบางทีการรับฟังคำอธิบายหรือค้นคว้าหาข้อมูลอยู่เสมอ สิ่งเหล่านี้จะสามารถช่วยขัดเกลาความเชื่อของเรา ให้รู้จักคิดอย่างถูกต้องมากขึ้น อย่าปิดกั้นตัวเองมากเกินไป รู้จักเปิดรับสิ่งใหม่ๆ เรียนรู้สิ่งใหม่จากในห้องเเละนอกห้องเรียน เเล้วค่อยๆเปลี่ยนพฤติกรรมไปเรื่อยๆ

1.ความเชื่อเกิดขึ้นได้อย่างไร? ความเชื่อเกิดได้หลายทางไม่ว่าจะเป็นความเชื่อที่เกิดจากได้รับรู้ การได้เรียนรู้ มาจากการได้รับฟังมา ได้มาจากการคิดเองโดยอาศัยหลักเหตุผล ตรรกะต่างๆ หรือแม้กระทั่งประสบการณ์ต่างๆที่เราเจอในชีวิตล้วนแล้วแต่ทำให้สามารถเกิดความเชื่อได้ทั้งสิ้น2.แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อของเราที่มีนั้นถูกต้อง? หากเราอยากรู้ว่าความเชื่อที่เรามีถูกต้องหรือไม่ เราควรที่จะหาข้อมูลในหลายๆมุมมอง หลายๆด้าน แล้วมาวิเคราะห์หรือตีความรวมถึงใช้วิจารณญาณว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้องไหมโดยไม่เข้าข้างความเชื่อเดิมที่มีอยู่6110712057 คณะเภสัชศาสตร์

1.หนูคิดว่าความเชื่อเกิดมาจากการได้รับการอบรม ปลูกฝังมาจากคนในครอบครัวหรือสังคมที่เราอยู่ หรือมาจากการอ่าน ประสบการณ์ การได้ลงมือทำ2.เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อนั้นผิดหรือถูก หนูคิดว่ามันขึ้นกับตัวเราถ้าสิ่งที่เราเชื่อแล้วทำให้เราสบายใจไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่นก็น่าจะเป็นสิ่งที่เหมาะสม แต่หากความเชื่อใดที่สร้างความเดือดร้อนให้ตัวเราและผู้อื่นก็อาจเป็นความเชื่อที่ผิด3.การที่เราจะสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยสร้างความเชื่อใหม่ได้นั้นอย่างแรกเราต้องรู้ก่อนว่าพฤติกรรมที่เราทำอยู่นั้นไม่ถูกต้องแล้วก็ย้อนกลับไปมองว่ามันไมาถูกต้องตรงไหนแล้วเราก็ค่อยๆเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงความคิดและสร้างความเชื่อใหม่ว่าเราควรทำสิ่งที่ดีที่เป็นประโยชน์

1.)ความเชื่อนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุอย่างเช่น ศาสนา บุคคลต่างๆทั้งในครอบครัวและคนรอบข้าง ซึ่งอาจจะเกิดจากการบอกเล่าหรือการอบรม ซึ่งทำให้คนเรานั้นมีความเชื่อที่เหมือนและต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งที่ได้รับมานั่นเอง 2.)เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อนั้นถูกต้อง เราก็ต้องค้นคว้าหาข้อมูล และข้อเท็จจริงเพื่อมาพิจารณาว่าความเชื่อของเรานั้นถูกต้องหรือผิดอย่างไร เพื่อที่จะทำให้เรามีความเชื่อที่ถูกต้อง 3.)การที่เราจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยการแทนที่ความเชื่อที่ผิดด้วยความเชื่อที่ถูกต้องนั้น เราต้องมีบันดาลใจหรือแรงจูงใจ เช่น มีแบบอย่างในสิ่งที่จะทำ เพื่อสร้างแรงผลักดันทำให้เป้าหมายของเราที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้นสำเร็จ

  1. เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อนั้นถูกต้อง
    • ในความคิดของหนูการที่เราจะรู้ได้ว่าความเชื่อนั้นถูกต้องเกิดจากการทดลอง ลองดูว่าสิ่งที่เชื่อนั้นถูกหรือผิด และลองพิจารณาความเชื่ออื่นๆด้วยเพื่อประกอบการตัดสินใจ
  2. ในกรณีที่เราต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าความเชื่อใหม่ให้เข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่าได้อย่างไร
    • เปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองที่ไม่พึงประสงค์ให้เป็นแบบที่พึงประสงค์และประพฤติปฏิบัติตนซ้ำๆจนชินติดเป็นนิสัย ความเชื่อเก่าที่เคยมีก็จะเปลี่ยนไปและจะเชื่อแบบใหม่เหมือนปกติ

1.)ความเชื่อเกิดได้หลายสาเหตุ อย่างเช่น ศาสนา บุคคลในครอบครัว หรือสื่อต่างๆ ล้วนทำให้เกิดความเชื่อ เช่น ศาสนาที่แตกต่างกันก็มีความเชื่อที่ต่างกัน และคนที่มาจากต่างครอบครัวกันก็ถูกอบรมมาไม่เหมือนกัน ซึ่งทำให้คนเรามีความเชื่อที่ต่างกันไปนั่นเอง 2.) การที่เราจะรู้ได้ว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกหรือผิด เราก็ต้องศึกษาเกี่ยวกับความเชื่อนั้นๆว่ทเเท้จริงแล้วมันถูกหรือผิดอย่างไร เพื่อที่เราจะได้มีความเชื่อที่ถูกต้อง 3.)หากเราจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยการแทนที่ความเชื่อที่ผิดด้วยความเชื่อที่ถูก เราก็ต้องมีแรงบันดาลใจหรือเป้าหมาย เช่น มีบุคคลตัวอย่างในสิ่งที่้ราตั้งเป้าหมายไว้ เพื่อสร้างแรงพลักดันและอปลี่ยนความเชื่อของเรา

1.)ความเชื่อเกิดได้หลายสาเหตุ อย่างเช่น ศาสนา บุคคลในครอบครัว หรือสื่อต่างๆ ล้วนทำให้เกิดความเชื่อ เช่น ศาสนาที่แตกต่างกันก็มีความเชื่อที่ต่างกัน และคนที่มาจากต่างครอบครัวกันก็ถูกอบรมมาไม่เหมือนกัน ซึ่งทำให้คนเรามีความเชื่อที่ต่างกันไปนั่นเอง 2.) การที่เราจะรู้ได้ว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกหรือผิด เราก็ต้องศึกษาเกี่ยวกับความเชื่อนั้นๆว่ทเเท้จริงแล้วมันถูกหรือผิดอย่างไร เพื่อที่เราจะได้มีความเชื่อที่ถูกต้อง 3.)หากเราจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยการแทนที่ความเชื่อที่ผิดด้วยความเชื่อที่ถูก เราก็ต้องมีแรงบันดาลใจหรือเป้าหมาย เช่น มีบุคคลตัวอย่างในสิ่งที่้ราตั้งเป้าหมายไว้ เพื่อสร้างแรงพลักดันและอปลี่ยนความเชื่อของเรา

นักศึกษาเภสัชศาสตร์ 6110710061ความเชื่อเกิดจากความคิดที่เรายอมรับว่าสิ่งนั้นเป็นความจริง หรือมันถูกอยู่แล้ว บางคนอาจจะมีความเชื่อแบบอื่นที่ต่างจากเรา บางคนอาจจะมีความเชื่อที่เหมือนๆกับเรา สรุปคือ หลายคน หลายความคิด หลายความเชื่อ ดังนั้น การที่เราจะเชื่ออะไร เราควรคิดไตร่ตรองให้ดีก่อน ถ้าสิ่งที่เราเชื่อมันผิด ก็ให้นำความเชื่อที่ผิดนั้นมาแก้ไข

  1. เมื่อเราได้ประสบพบเจอว่าความเชื่อนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จริงด้วยตัวของเราเอง ดังสุภาษิตที่ว่า สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นไม่เท่ามือคลำ
  2. ก่อนอื่นต้องเริ่มจากสร้างความคิดทางบวกก่อน อาจใช้หลักเหตุผลมาช่วยแยกแยะหาข้อดีข้อเสียของความเชื่อเก่าและความเชื่อใหม่ เพื่อเปรียบเทียบว่าความเชื่อใหม่นั้นดีกว่าอย่างไร จึงสามารถชักจูงให้เรานำมาแทนที่ความเชื่อเก่าได้

ความเชื่อมาจากการรับฟังจากคนใกล้ตัว,คนรอบข้าง หรืออาจจะมาจากการเรียนรู้ด้วยตัวเองในอดีตแล้วส่งผลมาถึงปัจจุบัน เราไม่มีทางรู้ได้ว่าความเชื่อนั้นๆจะถูกหรือผิดจนกระทั่งมาลองทำหรือการเจอเข้ากับตัวเอง วิธีนี้เป็นวิธีที่ยืนยันได้ดีที่สุดว่ามันจะถูกหรือผิด ถ้ามันทำให้เราหรือคนรอบข้างไม่เดือดร้อน ความเชื่อนั้นก็อาจจะไม่ผิด แต่ถ้ามันทำให้ตัวเราหรือคนรอบข้างเดือดร้อน ความเชื่อนั้นก็อาจจะผิด โดยเราสามารถสร้างความเชื่อใหม่โดยการเปลี่ยนมุมมองความคิดทำความเข้าใจกับมัน ให้เปลี่ยนไปทีละนิดๆไม่เร่งรีบ ทำจนเป็นนิสัย ไม่นานเราก็สามารถเปลี่ยนนิสัยที่ไม่ชอบไปได้

ความเชื่อเป็นสิ่งที่พบได้ในตัวของมนุษย์ทุกคน ทุกๆคนต่างมีความเชื่อความคิดเป็นของตนเอง ดังนั้น การที่เราต้องการที่จะรู้ว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องหรือไม่เราก็ต้องพิสูจน์ คิดไตร่ตรองอย่างรอบคอบและเป็นกลาง ไม่มีอคติ เราจึงจะได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ส่วนการที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า”นั้น เราไม่จำเป็นต้องกำจัดหรือสลัดความเชื่อเก่าทิ้งทั้งหมด คือ อะไรที่ดีอยู่แล้วเราก็เก็บไว้อะไรที่ไม่ดีก็ค่อยๆปรับเปลี่ยนกันไป แต่สิ่งที่ควรทำคือ การเปิดใจ เปิดรับความเชื่อใหม่ ๆ เข้ามา มองสิ่งนั้นในหลายๆมุมมอง หลายๆด้าน อย่ามองเพียงด้านเดียว ที่สำคัญคือเราต้องมีความมุ่งมั่นและตั้งใจจริงที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมของเรา

ความเชื่อเกิดจากความคิด ความรู้สึก อารมณ์ของเรา โดยเราคิดว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือเป็นสิ่งที่ดีเราก็เลยเชื่อ ส่วนถ้าเป็นสิ่งที่ไม่ดีเราก็จะปฏิเสธ โดยความเชื่อส่วนใหญ่อาจมีอิทธิพลมาจากคนรอบข้าง หรือมาจากเพื่อนๆก็ได้ โดยปกติมนุษย์จะเชื่อในสิ่งที่ตนเองเห็นหรืออาจใช้ sence ของตัวเองในการที่จะเชื่ออะไรบางสิ่ง ซึ่งในส่วนตัวหนูเอง หนูเลือกที่จะเชื่อในสิ่งที่หนูเห็นหรือพิสูตน์ได้มากกว่า เหมือนกับการตัดสินคนก็เหมือนกัน เราควรคิดก่อนในการจะตัดสินใครคนใดคนหนึ่ง ไม่ใช่ว่าจะเชื่อคำพูดของทุกคนที่มาเป่าหูเรา เพราะฉะนั้นความเชื่อก็เปรียบเสมือนการใช้ความคิดในการพิจารณาสิ่งต่างๆนั่นเองค่ะ ขอบคุณค่ะ

ความเชื่อเกิดจากความคิด นิสัย ครอบครัว คนรอบข้าง รวมทั้งสภาพแวดล้อมต่างๆ ซึ่งความเชื่อนี้เกิดจากตัวเราเองทั้งสิ้น มิได้มีผู้ใดมาบังคับให้เชื่อ ดังนั้น ความเชื่อของเราไม่มีคำว่าถูกหรือผิด เพราะถ้าสิ่งที่เราเชื่อส่งผลให้เรามีความสุขนั้น เราก็เลือกที่จะเชื่อต่อไป แต่ถ้าเราเชื่อแล้วทุกข์นั้น เราก็เลือกที่จะไม่เชื่อ แต่พอเวลาเปลี่ยนไป เราก็จะมีความเชื่อที่เปลี่ยนไปเนื่องจากสิ่งที่ทำให้เราได้มีความสุขนั้นได้เปลี่ยนไป แต่ก่อนที่เราจะเลือกเชื่ออะไร เราความคิดพิจราณาไตร่ตรองให้ดีเสียก่อน ไม่เช่นนั้น ถ้าเราเลือกเชื่อในสิ่งที่ส่งผลเสียกับเรา มันจะทำให้เราไม่มีความสุข และ มีปัญหาในชีวิต ถ้าเพื่อนของเรามีความเชื่อที่แตกต่างกับเราออกไป เราก็ไม่จำเป็นไปก้าวก่ายความเชื่อของเขา ในเมื่อสิ่งที่ทำให้เรามีความสุขมันแตกต่างกัน ดังนั้น เราควรจะให้เกียรติและเคารพซึ่งกันและกันเพื่ออยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข

1.เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อของเรานั้นถูกต้อง ซึ่งโดยพื้นฐานความเชื่อและจุดกำเนิดของความเชื่อของแต่ละคนย่อมแตกต่างกัน ซึ่งความคิดของดิฉันต่อความเชื่อของตัวดิฉันเองย่อมเป็นสิ่งที่มีจุดเริ่มต้นที่สามารถพิสูจน์ได้ในหลายๆเรื่อง การกระทำตามความเชื่อของตัวดิฉันเองแล้วสิ่งที่ทำนั้นส่งผลดี มีข้อพิสูจน์เป็นสิ่งยืนยันว่าความเชื่อที่มีต่อสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องทำให้ตัวดิฉันเองเลือกที่จะเชื่อในสิ่งที่ตัวเองได้ทำค่ะ สิ่งที่ได้กระทำย่อมมาจากความเชื่อที่มีต่อสิ่งนั้นเลยเป็นจุดเริ่มต้นของการได้ทำในสิ่งที่เชื่อเพราะตัวเราเองเชื่อว่าสิ่งนั้นควรทำ ทำให้มีความคิดที่ว่าความเชื่อของเราเองนั้นถูกต้อง2.หากความเชื่อเก่าที่มีอยู่ในบางเรื่องเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องก็ควรลองทำในสิ่งที่ถูกต้อง หาความเชื่อที่คิดว่าถูกต้อง โดยการหาสิ่งอื่นมาทดแทนความเชื่อเดิม คิดใตร่ตรองให้ดีว่าควรเริ่มต้นในการทำสิ่งดีๆเหล่านั้นอย่างไร การได้ปรับเปลี่ยนสิ่งแย่ๆที่มีในความคิดที่มีจุดเริ่มต้นมาจากสิ่งที่เชื่อทำให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ดีได้ บางครั้งอาจจะต้องลองเปลี่ยนไปทำตามคนที่เคยเชื่อในสิ่งเหล่านั้นแล้วสิ่งที่ที่เขาทำเป็นสิ่งที่ดี เราควรปรับเปลี่ยนตามเขา หาเหตุผลดีๆมาอธิบายให้ตัวเองฟังว่าทำไมความเชื่อเดิมที่เรามีนั้นมันผิดโดยอาาจจะเปรียบเทียบกับความเชื่อเดิมที่ผลด้านลบ หาความคิดดีๆที่คนอื่นได้ทำไว้ มองหาแรงบันดาลใจเพื่อสร้างพลังให้กับตัวเราเองในปรับเปลี่ยนไปทำในสิ่งที่ดี ละทิ่งสิ่งที่ทำแล้ว ส่งผลไม่ดีต่อตัวเราเอง สร้างความเชื่อว่าเราทำได้ซึ่งความเชื่อจะเป็นแรงผลักดันให้เรารู้สึกอยากสู้ และอยากจะทำมันให้สำเร็จ หากมีการปรับเปลี่ยนตัวเองแล้ว แล้วมีความคิดที่อยากกลับไปทำสิ่งเดิมๆให้สร้างพลังงานด้านลบต่อสิ่งนั้นและปฏิเสธมันไปให้ได้ การเอาชนะสิ่งไม่ดีที่เราได้ละทิ้งไว้ถือเป็นความสำเร็จและสิ่งที่ไม่ดีเหล่านั้นก็จะหายไปจากตัวเราเอง

1.ความเชื่อมาจากสิ่งที่เราได้รับโดยการสั่งสอนจากพ่อเเม่ ศาสนา เเละสภาพเเวดล้อมที่อยู่อาศัย ซึ่งแต่ละคนได้รับมาต่างกันจึงทำให้เกิดความเชื่อที่ต่างกันได้2.ความเชื่อที่เรามีหากเราอยากทราบว่าถูกหรือผิดมีหลายประการที่เราสามารถหาคำตอบได้คือ การหาข้อมูลจากแหล่งๆต่าง และการกระทำสิ่งนั้นว่ามันเกิดจริงหรือเปล่า ถ้ามันเกิดขึ้นจริง หรือมีข้อมูลที่ชัดเจนพอก็สามารถเชื่อในสิ่งนั้นได้ แต่ต้องไม่งมงายเพราะทุกสิ่งในโลกย่อมเกิดขึ้นได้3.หากเราจะเปลี่ยนพฤติกรมที่ไม่ดีของเรา เราต้องหาข้อเสียของมันว่ามันกระทบอะไรกับเราและคนอื่นบ้าง จากนั้นเราก็หาเเรงบันดาลใจในการเปลี่ยนพฤติกรรมนั้น และเชื่อว่าสิ่งนั้นจะส่งผลดีต่อเราเเละคนรอบข้างมากขึ้น

1.ความเชื่อมาจาก 2 แหล่งหลักๆคือ หนึ่งมาจากคำสอนหรือความเชื่อที่ีมาก่อนแล้วแล้วเราก็เชื่อตามๆกันมา และสองคือความเชื่อที่เราเชื่อด้วยตนเองเนื่องจากมันเกิดมาจากประสบการณ์หรือการพบเจอด้วยตัวเอง การทดลองทำด้วยตัวเองนั่นเอง2.ความเชื่อที่เราเชื่อนั้นจะถูกหรือผิดก็ขึ้นอยู่กับค่านิยมของสังคมนั้นๆ เพราะมนุษย์เราเป็นสัตว์สังคม หากคนส่วนมากตัดสินว่าความเชื่อนั้นผิดก็จะกลายเป็นว่าผิดไปโดยทันที3.หากเราต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ดีองเราเราต้องเริ่มเชื่อในพฤติกรรมใหม่ก่อนแล้วค่อยๆปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปทีละน้อยจนมันกายเป็นพฤติกรรมใหม่ของเราไปในที่สุด

1.ความเชื่อของมนุษย์เรานั้นมาจากการยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริง หรือมีการดำรงอยู่จริง โดยอาศัยจากประสบการณ์ การปลูกฝัง ไม่ว่าจะมาจากพ่อ แม่ หรือคนรอบข้าง โดยจากสภาพแวดล้อมเหล่านั้นทำให้มนุษย์เราเชื่อว่าความเชื่อที่ตนคิดอยู่นั้นถูกต้อง2.หากต้องการที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์บางอย่างของเรา จากความเชื่อเก่าให้เปลี่ยนเป็นความเชื่อที่ใหม่ เราสามารถเปลี่ยนได้โดยเริ่มจากที่เรานั้นสร้างความคิดเชิงบวก หาเหตุและผลที่เราสามารถเปิดใจยอมรับความเชื่อนั้นๆ เปิดใจยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น และลดความอคติต่อความเชื่อใหม่ๆที่อาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อเก่าที่มีอยู่ ซึ่งแนวทางเหล่านี้ทำให้เรามีความเชื่อใหม่ๆที่ดี

เห็นด้วยในประเด็นที่ว่าหากเราทำใจให้ว่างเปล่า เราจะรู้คำตอบของความเชื่อเอง เพราะในโลกนี้มีความเชื่อที่แตกต่างและหลากหลายการที่เราจะเชื่อเรื่องไหนนั้นย่อยส่งผลต่อตัวเองและต่อสังคม การใช่วิจารณญาณเรื่องความเชื่อจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ส่วนการเปลี่ยนนิสัยตัวเองในกรณีที่เรารู้ตัวเองนั้น แล้วยังเปลี่ยนไม่ได้มองว่าเราน่าจะขาดความมุ่งมั่นตั้งใจจริงจังที่จะเปลี่ยนตัวเอง ถ้าเรารู้ว่าต้องการเปลี่ยนนิสัยเชื่อมั่นและสะกดจิตตัวเองในเรื่องนั้น และยึดถือมาปฏิบัติได้มันจะทำให้เราสามารถเปลี่ยนความเชื่อทั้งความคิดและการปฏิบัติแบบร้อยเปอร์เซ็นต์

เห็นด้วยในประเด็นที่ว่าหากเราทำใจให้ว่างเปล่า เราจะรู้คำตอบของความเชื่อเอง เพราะในโลกนี้มีความเชื่อที่แตกต่างและหลากหลายการที่เราจะเชื่อเรื่องไหนนั้นย่อยส่งผลต่อตัวเองและต่อสังคม การใช่วิจารณญาณเรื่องความเชื่อจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ส่วนการเปลี่ยนนิสัยตัวเองในกรณีที่เรารู้ตัวเองนั้น แล้วยังเปลี่ยนไม่ได้มองว่าเราน่าจะขาดความมุ่งมั่นตั้งใจจริงจังที่จะเปลี่ยนตัวเอง ถ้าเรารู้ว่าต้องการเปลี่ยนนิสัยเชื่อมั่นและสะกดจิตตัวเองในเรื่องนั้น และยึดถือมาปฏิบัติได้มันจะทำให้เราสามารถเปลี่ยนความเชื่อทั้งความคิดและการปฏิบัติแบบร้อยเปอร์เซ็นต์

โดยส่วนตัวคิดว่าความเชื่อมาจากสิ่งรอบข้าง ธรรมชาติ หรือสิ่งต่างๆที่อยู่รอบๆตัวเรา มันส่งผลทำให้เราเกิดความเชื่อต่างๆ ความเชื่อนั้นมีทั้งถูกและผิด ซึ่งความเชื่อที่เราเลือกที่จะเชื่อมันคือความเชื่อที่ทำให้เกิดความสุข ซึ่งคนเราก็คงจะไม่เลือกเชื่อในสิ่งที่ทำให้ทุกข์แน่นอน ดังนั้น ถ้าความสุขเราเปลี่ยนไป ความเชื่อเราก็อาจจะเปลี่ยนไปด้วย

1.ความเชื่อมาจากตัวของเราเองที่คิดว่าสิ่งนี้น่าเชื่อถือนะ สิ่งนี้ไม่น่าเชื่อนะซึ่งความเชื่อจะได้มาจากการที่เราไปพบไปเจอ หรือไปฟังคำบอกว่า แล้วเราคิดว่ามันจริง เราเลยเชื่อแบบนั้น2.เราจะรู้ได้ว่าความเชื่อของเรานั้นถูกต้องก็ต่อเมื่อเราได้ไปลองไปสัมผัสดูเองแล้วได้เห็นผลลัพธ์ของมันจากนั้นเราก็ต้องผ่านการกรองโดยใช้สมองของเรา จึงจะรู้ว่ามันจริง3.เราก็ต้องไปศึกษาหาความเชื่อแบบใหม่ๆที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมของเราได้แล้วนำไปปรับใช้จนเราเชื่อว่ามันจริง

ความเชื่อของแต่ละคนอาจมาจากครอบครัว คนรอบตัว สภาพแวดล้อม การศึกษา ศาสนา ที่หล่อรวมให้คนๆนึง มีความเชื่อแบบนั้น เมื่อเวลาผ่านไปเมื่อเจอสังคมใหม่ๆผู้คนรอบข้างเปลี่ยนแปลงไป ได้รับการเรียนรู้อะไรที่ต่างจากเดิม อาจมีความเชื่อใหม่ๆเกิดขึ้น แล้วสิ่งที่ทำให้เราตัดสินใจเชื่อนั้นด็คือประสบการณ์ที่ผ่านมาของตัวเรา ความคิดเก่าๆ ความเคยชิน แต่ก่อนที่เราจะเชื่อสิ่งไหนเราต้องพิจารณาถึงความถูกต้อง เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งที่เราเชื่ออยู่นั้นถูกหรือผิด ก่อนอื่นนั้นเราต้องทำใจให้เป็นกลาง เปิดใจรับรู้ิ่งใหม่ๆ จากนั้นก็ไตร่ตรองความน่าเชื่อถือ หาหลักฐานมาสนับสนุนหรือค้านความเชื่อนั้น แล้วสรุปว่าความเชื่อนั้นถูกหรือผิด6110710016 คณะเภสัชศาสตร์

6110712045 เภสัชศาสตร์

1.ความเชื่อเกิดขึ้นจากการที่เราต้องการสิ่งที่จะมาแทนที่ในความไม่รู้ของเราในตอนแรก ซึ่งเกิดขึ้นได้อัตโนมัติจากสิ่งที่เราประสบ เช่น จากประสบการณ์ของเรา จากสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม เวลาผ่านไปเมื่อไม่มีสิ่งใดสามารถมาหักล้างความเชื่อนั้นหรือตั้งข้อสงสัยในความเชื่อนั้น จึงทำให้มันกลายเป็นความเชื่อของเราในที่สุดดังนั้นเราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อนั้นถูกต้อง ? ผมคิดว่าเราควรตั้งคำถามต่อความเชื่อตัวเอง ลองหักล้างมันดู ถ้าทำได้ก็อยู่ที่ตัวเราว่าจะยอมรับหรือเปล่าว่าความเชื่อตัวเองนั้นถูกหรือผิด

  1. ความเชื่อเป็นสิางที่มนุษย์ส้างขึ้นมาเอง เราสามารถเปลี่ยนแปลงความเชื่อตัวเองด้วยการปฏิเสธความเชื่อเก่าแล้วสร้างกรอบความเชื่อใหม่มาแทนที่ได้โดย พยายามควบคุมความคิด การกระทำตัวเองให้ออกจากกรอบความเชื่อเก่า สร้างนิสัยตามความเชื่อใหม่อาจต้องอาศัยระยะเวลาแต่หากทำได้จนเราเคยชินแล้ว ดังนั้นเราก็ได้บอกลาความเชื่อเก่าไปเรียบร้อยแล้ว

6110311005 คณะเเพทยศาสตร์ สาขากายภาพบำบัดเราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้อง ในความคิดเห็นส่วนตัวคิดว่าความเชื่อนั้นมาจากครอบครัว สิ่งเเวดล้อม หรือสิ่งที่เคยเผชิญหน้ามาก่อนสิ่งเหล่านี้ก่อเกิดให้เกิดความเชื่อ ซึ่งเราจะรู้ได้ว่าความเชื่อของเรานั้นถูกหรือไม่ เราต้องพิสูจน์สิ่งที่เราเชื่อด้วยวิธีต่างๆ การที่เราจะสร้างความเชื่อใหม่มาเเทนที่ความเชื่อเก่านั้น ถ้าความเชื่อเก่าของเราเป็นสิ่งที่ไม่ดี เเละไม่ถูกต้อง เราก็ควรจะล้างความเชื่อเก่าทิ้งให้หมด เเละรับความเชื่อใหม่เข้ามาเเต่ก่อนที่จะเชื่อความเชื่อใหม่ เราจะต้องวิเคราะห์พิจารณาความเชื่อใหม่ก่อนว่าเป็นความเชื่อที่ถูกต้องหรือไม่ ก่อนที่ีจะเชื่อ

1.ความเชื่อ เกิดจากการยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริงหรือเป็นสิ่งที่เราไว้ใจ ความจริงหรือความไว้วางใจที่เป็นรูปของความเชื่อนั้น ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นความจริงที่ตรงตามหลักเหตุผลหรือหลักวิทยาศาสตร์ใดๆ คนที่เชื่อในฤกษ์ยามก็จะถือว่า วันเวลาการโคจรของดวงดาวจะก่อให้เกิดผลต่อตัวมนุษย์ คนที่เชื่อเครื่องรางของขลังก็จะมีความยึดมั่นว่า เครื่องรางของขลังให้คุณให้โทษแก่ตนได้จริง2.เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เราเชื่อนั้นถูกหรือผิด เราต้องพิสูจน์ความจริงโดยการหาข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจที่จะเชื่อความเชื่อนั้นและดูจากสิ่งแวดล้อมโดยรวมและคนรอบข้างว่าทำไมเขาถึงเชื่อ ถ้าโดยรวมเชื่อความเชื่อนั้น รวามเชื่อนั้นอาจจะถูกก็ได้3.หากเราจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเรา เราต้องรู้ก่อนว่าสิ่งที่เราเชื่ออยู่มันผิดและเราต้องเปลี่ยนความคิดใหม่ เมื่อเราเปลี่ยนความคิด ความเชื่อ และพฤติกรรมก็จะตามมาเอง เช่น ตอนแรกเราเชื่อว่าเราเก่งไม่จำเป็นต้องอ่านหนังสือ และต่อมา ผลจากการไม่อ่านกนังสือทำให้เราได้เกรดน้อย เราจึงเปลี่ยนความคิดว่าเรายังไม่เก่งพอและเปลี่ยนพฤติกรรมให้ขยันอ่านหนังสือมากขึ้น

6110710003 ข้อ1.จะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อนั้นถูกต้อง ? ในความคิดส่วนตัว…ความเชื่อมันแล้วแต่บุคคลใดจะมองว่าผิดหรือถูก เช่น กลุ่มคนที่มีความเชื่อเหมือนกันก็จะมองว่าถูกแล้ว ส่วนคนที่คิดต่างก็อาจจะผิดไปโดยปริยาย สำหรับฉันความเชื่อนั้นไม่มีถูกหรือผิด ขอแค่ความเชื่อนั้นไม่ส่งผลเสีย หรือส่งผลกระทบที่ทำให้คนอื่น ตัวเอง ครอบครัว หรือสิ่งแวดล้อมเดือดร้อน ก็เพียงพอ ข้อที่ 2.ความเชื่อมาแทนที่เพื่อเปลี่ยนนิสัยที่ไม่พึงประสงค์ ? ถ้าคิดได้อย่างนี้แล้วตัวเราเองก็คงรู้ว่าความเชื่อเก่านั้นผิดส่งผลเสียยังไง การที่จะนำความเชื่อใหม่เข้ามาเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้น มีได้หลายเส้นทาง เช่น การหาแรงบันดาลใจ ยกตัวอย่าง หากเราอยากจะเป็นขยันอย่างเขา อยากเอาความขี้เกียจออกไป ก็มองสิว่าคนขยันผลลัพธ์มันเป็นอย่างไร จะได้มีแรงกระตุ้น มาชนะสิ่งที่สำคัญที่สุด นั้นก็คือชนะใจตัวเอง ความเชื่อมันจะมาพร้อมกับเวลาที่พิจสูจน์ หากเราเชื่อว่า เราทำได้ เวลาที่ผ่านๆไปจนถึงวันที่เราสำเร็จจะบอกว่า สิ่งที่เชื่อว่าทำได้ มันทำได้จริงๆ

ดิฉัน รหัส6110311025 คณะแพทยศาสตร์ สาขากายภาพบำบัด ในความคิดของดิฉันคิดว่า ความเชื่อมาจากการได้รับรู้ เช่น การได้ฟัง การได้เห็น ได้ยิน หรือจากการคิด มีทั้งที่เป็นประสบการณ์โดยตรงและโดยอ้อม ประสบการณ์โดยตรงคือได้เจอด้วยตัวเองโดยตรง และประสบการณ์โดยอ้อมคือการได้เห็น ได้รู้จากที่คนอื่นประสบ หรือที่คนอื่นบอกต่อมา สอนมาอีกที และเราสามารถรู้ได้ว่าความคิดนั้นถูกหรือไม่ถูกนั้น เราต้องใช้วิจารณญาณในการเชื่อ เราต้องไตร่ตรอง และคิดถึงความเป็นไปได้มากน้อยเพียงได้ หรือใกล้เคียงความเป็นจริงมากแค่ไหน และสุดท้าย ในกรณีที่เราเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เราจะสร้างความเชื่อใหม่มาแทนความเชื่อเก่าได้โดย หาแรงบันดาลใจหรือแรงจูงใจมาช่วยเป็นแรงผลักดัน จะทำให้เรามีกำลังใจในการเปลี่ยนแปลงความคิด ความเขื่อได้ง่ายมากขึ้น

ผมมองว่าพฤษติกรรมไม่ได้เกิดจากความคิดของเรา แต่พฤติกรรมของเราอาจเกิดมาจากวัฒนธรรมภายในสังคมครอบครัว พฤติกรรมจากบุคคลรอบข้างหรือไอดอลของบุคคลนั้นๆเสียมากกว่า เพราะเมื่อเรามองลึกๆแล้วการกระทำส่วนใหญ่เป็นการตอบสมองโดยอัตโนมัติบางครั้งสมองมันยังคิดไม่ทันเสียด้วยซ้ำ แน่นอนว่าสิ่งที่ผมกำลังมากถึง คือรากเหง้าในจิตใจการผ่านอะไรหรือการถูกปลูกฝังมาต่างๆ สิ่งหลายครั้งที่มันไม่ได้เป็นความเชื่อแต่มันเป็นเพียงพฤติกรรมที่เราทำจนชิน และบางครั้งคนหลายคนอาจจะพูดว่าถ้าจะดูคนให้ดูตอนที่เค้าเมาหรือเค้าไม่เหงืออะไรเลย นั้นเพราะมันจะเป็นพฤติกรรมจริงๆของเขาสิ่งเขาแสดงมันออกมาโดยแทบไม่ได้คิด

ความเชื่อเป็นสิ่งที่ไม่สามารถบอกได้ว่าความเชื่อนี้ถูกหรือผิด เพราะแต่ละคนมาจากสภาพแวดล้อมและสังคมที่แตกต่างกัน ดังนั้นเขาจึงมีความเชื่อเป็นของตัวเอง ความเชื่อคือสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ การกระทำ การแสดงออกต่างๆล้วนมาจากความเชื่อ เช่น เราเชื่อว่าถ้าการที่เราทำแบบนั้นมันไม่ดี เราก็จะไม่ทำมัน ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยที่คนบนโลกนี้จะไม่มีความเชื่อ ยิ่งความเชื่อที่เกี่ยวกับศาสนา เราไม่สามารถที่จะไปตัดสินได้เลยว่าความเชื่อของเขาถูกหรือผิด แต่การที่เราจะเชื่ออะไรนั้น เราต้องคิดเยอะๆก่อน ไม่ใช่ไปได้ยินมาแล้วก็เชื่อเลย ความเชื่อไม่ได้เป็นสิ่งตายตัว และความเชื่อสามารถเปลี่ยนได้

6110712014 คณะเภสัชศาสตร์1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?ความเชื่อที่บรรพบุรุษหรือมีบุคคลที่ปลูกฝังให้เราปฏิบัติสิ่งๆนั้นสืบต่อมา ทำแล้วจะเกิดผลดีทางใจซึ่งเราทุกคนเลือกที่จะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ได้ ขึ้นอยู่กับใจของเรา ถ้าเราคิดว่าสิ่งนี้น่าเชื่อ อาจมีข้อเท็จจริงที่คนทั่วไปพิสูจน์ได้ เราก็เชื่อไป และคิดว่าสิ่งนั้นน่าจะถูกและดี ซึ่งจริงๆแล้วไม่มีใครพิสูจน์ความเชื่อได้ทุกเรื่อง เพียงแต่ว่าคนๆนั้น มีความศรัทธา ความเคารพ ต่อเรื่องนั้นๆมากน้อยเพียงใด2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?หันมาเชื่อในสิ่งที่ถูก รับรู้ถึงผลดีที่จะเกิดขึ้น การปรับเปลี่ยนความเชื่อไม่ใช่เรื่องยาก แต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นสิ่งที่ยากยิ่งกว่า เช่นเชื่อว่าออกกำลังกายแล้วจะลดน้ำหนักได้ แต่เราขี้เกียจไม่ยอมออก แบบนี้น้ำหนักจะลดได้อย่างไร หากเรามีความเชื่อในสิ่งๆนั้นแล้ว เราก็ควรปฏิบัติตามด้วย เพราะสิ่งที่เราเชื่อนั้นเป็นสิ่งที่ดี ทำแล้วจะเกิดผลดีต่อตัวเราทั้งนั้น เราต้องมีความตั้งใจจริง เชื่อมั่นว่าเราต้องเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างในชีวิต เพื่อให้สิ่งดีๆเกิดขึ้นในชีวิตของเรา

1.ตามปกติการจะเชื่อหรือไม่เชื่ออะไรก็ควรขึ้นกับความสมเหตุสมผลและการที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน แต่บางความเชื่อที่คนไทยคิดว่าไม่ถูกต้อง ในคนบางประเทศอาจอาจไม่ถือว่าผิดก็มี เช่นการอยู่กินด้วยกันของหนุ่มสาวก่อนแต่งงาน หากคนไทยฟังอาจคิดว่าดูไม่ดี แต่ชาวยุโรปกลับมองเป็นเรื่องปกติ ทดลองอยู่ด้วยกันก่อน ถ้าไม่ดีก็เลิกรากันไปง่ายๆ ไม่ต้องมีพันธะหรือสัญญาใดๆ จะสังเกตได้ว่า ความถูกต้อง บางครั้งก็ขึ้นอยู่กับ มุมมอง บรรทัดฐาน และจารีตประเพณี ของแต่ละประเทศด้วยเช่นกัน2.เราควรตระหนักถึงพฤติกรรมนั้น ว่ามันสร้างผลเสียหรือผลดีมากกว่ากันแน่ หากพฤติกรรมแห่งความเชื่อนั้น สร้างผลเสียให้เรามากกว่าผลดี เราในฐานะมนุษย์คนหนึ่งควรคิดคำนึงถึงตัวเราเองและส่วนรวม อย่าไปจมปลักอยู่กับความเชื่อเดิมๆที่ดีแต่สร้างผลเสีย อย่าขี้เกียจที่จะก้าวไปข้างหน้า ไม่เช่นนั้นค่าของเราจะอยู่ที่ตรงไหน

6110710045 1 แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?ในความคิดของดิฉันดิฉันคิดว่าความเชื่อที่เราเชื่อกันนั้นไม่มีถูกผิด ซึ่งขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแต่ละบุคคล และความเชื่อต่างๆอาจจะเกิดจากสภาพแวดล้อมรอบตัวบุคคลที่ทำให้เกิดความเชื่อที่แตกต่างกันไปซึ่งเราก็ไม่สามารถบอกได้มาถูกหรือผิด แต่ถ้าหากมีการพิสูจน์หรือทดสอบหรือมีความเชื่อใหม่ที่น่าเชื่อถือกว่าอาจทำให้ความเชื่อของคนเราเปลี่ยนแปลงไปได้

2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?เราต้องเปลี่ยน mindset ของตัวเองว่าพฤติกรรมนี้มันไม่พึงประสงค์นะ เราต้องเปลี่ยนความคิดความเชื่อใหม่ จะได้ส่งผลดีต่อตัวเราเองและอาจส่งผลที่ต่อคนรอบข้าง ซึ่งถ้าหาหเป็นพฤติกรรมที่มีความเคยชินอาจเปลี่ยนยากสักหน่อยแต่ว่าลองปรับลองพยายามเปลี่ยนไปทีละนิดก็จะสามารถเปลี่ยนความเชื่อเก่ามาแทนที่ความเชื่อใหม่ได้

1.ตามปกติการจะเชื่อหรือไม่เชื่ออะไรก็ควรขึ้นกับความสมเหตุสมผลและการที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน แต่บางความเชื่อที่คนไทยคิดว่าไม่ถูกต้อง ในคนบางประเทศอาจอาจไม่ถือว่าผิดก็มี เช่นการอยู่กินด้วยกันของหนุ่มสาวก่อนแต่งงาน หากคนไทยฟังอาจคิดว่าดูไม่ดี แต่ชาวยุโรปกลับมองเป็นเรื่องปกติ ทดลองอยู่ด้วยกันก่อน ถ้าไม่ดีก็เลิกรากันไปง่ายๆ ไม่ต้องมีพันธะหรือสัญญาใดๆ จะสังเกตได้ว่า ความถูกต้อง บางครั้งก็ขึ้นอยู่กับ มุมมอง บรรทัดฐาน และจารีตประเพณี ของแต่ละประเทศด้วยเช่นกัน

2.เราควรตระหนักถึงพฤติกรรมนั้น ว่ามันสร้างผลเสียหรือผลดีมากกว่ากันแน่ หากพฤติกรรมแห่งความเชื่อนั้น สร้างผลเสียให้เรามากกว่าผลดี เราในฐานะมนุษย์คนหนึ่งควรคิดคำนึงถึงตัวเราเองและส่วนรวม อย่าไปจมปลักอยู่กับความเชื่อเดิมๆที่ดีแต่สร้างผลเสีย อย่าขี้เกียจที่จะก้าวไปข้างหน้า ไม่เช่นนั้นค่าของเราจะอยู่ที่ตรงไหน

☝️ขออภัย ความคิดเห็นด้านบน ฉันได้ใส่ email ผิด ฉันจึงมาคอมเมนต์ใหม่ ไม่ได้เป็นการลอกความคิดเห็นแต่อย่างใด ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ 6110712038

ความเชื่อของคนเรามาจากสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว รวมถึงตัวเราเองด้วย ซึ่งอาจจะมาจากการได้ยิน ได้คิด หรือสัมผัสมา การที่เราจะรู้ว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกหรือผิด เราจะต้องทบทวนตัวเองก่อนว่าความเชื่อนั้นสามารถพิสูจน์ได้หรือไม่ ลองหาเหตุผลมาสนับสนุนข้อเท็จจริง โดยเหตุผลที่มาสนับสนุนนั้นต้องเป็นกลาง ไม่เอนเอียงไปทางใดทางนึง และการที่เราจะเปลี่ยนรับความเชื่อใหม่ๆเข้ามา เราก็จะต้องปล่อยวางความเชื่อเก่าๆและเปิดใจรับสิ่งใหม่ๆเข้ามา โดยต้องไตร่ตรองให้ดีด้วยว่าความเชื่อนั้นควรเชื่อหรือไม่

ความเชื่อมาจากอิทธิพลรอบๆตัวเราไม่ว่าจะเป็นคนรอบข้าง เช่น ครอบครัว เพื่อน หรือแม้กระทั่งสภาพแวดล้อมและสภาพสังคมที่เราใกล้ชิดด้วย ทำให้เราซึมซับมาซึ่งอาจด้วยวิธีการเรียนรู้ การได้ยินมาจากคนที่เราให้ความเคารพนับถือหรืออาจมาจากการที่เราไปเจอเหตุการณ์ต่างๆที่ทำให้เราเชื่อขึ้นมา สิ่งต่างๆรอบตัวล้วนแต่เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความเชื่อขึ้น แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อนั้นถูกต้องหรือไม่ บางความเชื่อเราอาจพิสูจน์ได้จากหลักฐาน ข้อมูล เหตุการณ์ต่างๆซึ่งความเชื่อเรานี้ที่ได้รับการพิสูจน์ย่อมเป็นความเชื่อที่ถูกต้อง แต่มีบางความเชื่อที่เราไม่สามารถพิสูจน์ได้ ซึ่งความเชื่อนั้นอาจถูกต้องในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เมื่อเวลาผ่านไปอาจไปถูกต้อง เราจึงต้องอาศัยเวลาในการพิสูจน์ และหากเราต้องการปรับเปลี่ยนความเชื่อเราสามารถทำได้โดยมองจากตัวเราเอง แล้วพิจารณาให้ดีให้ถี่ถ้วน ว่าความเชื่อที่เชื่อนั้นมันไม่พึงประสงค์เนื่องมาจากสาเหตุใด มองให้ออกแล้วค่อยๆปรับเปลี่ยน โดวิธีการปรับเปลี่ยนอาจมาจากการเปิดใจรับฟังคนอื่น เปิดใจยอมรับความเชื่อใหม่ๆที่จะส่งผลดีต่อตัวเรามากขึ้น6110710068 คณะเภสัชศาสตร์

รหัส 6110712040 คณะเภสัชศาสตร์1).ในความคิดของดิฉัน ความเชื่อนั้นเป็นเหมือนความเข้าใจแรกที่เรามีต่อบุคคลหรือสิ่งต่างๆ โดยความเชื่อสามารถถ่ายทอดไปยังผู้อื่นหรือทำให้ผู้อื่นเชื่อเหมือนๆกันได้ เป็นเหมือนสิ่งที่คนกลุ่มหนึ่งยอมรับร่วมกัน ซึ่งความเชื่ออาจจะไม่ถูกต้องเสมอไป ดังนั้นการที่เราจะรู้ได้ว่าความเชื่อเราถูกต้องหรือไม่นั้น เราควรจะมีวิจารญาณและไตร่ตรองให้ดีก่อนที่ยอมรับความเชื่อนั้นๆ เพราะความเชื่อจะมีผลต่อความคิดและพฤติกรรมของเรา ซึ่งอาจนำมาซึ่งผลเสียต่อตัวเราได้2).เมื่อเราพบว่าความเชื่อของเรานั้นไม่ถูกต้องและนำมาซึ่งพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ จนเกิดความคิดที่อยากจะเปลี่ยนแปลงความเชื่อของตัวเอง สิ่งที่สำคัญเลยคือให้คิดวิเคราะห์พิจารณาดูว่าความเชื่อนั้นส่งผลเสียอะไรบ้าง และพยายามหาความเชื่อใหม่ที่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อจากพ่อแม่ อาจารย์ หรือเพื่อน แล้วนำมาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับตนเอง การปรับเปลี่ยนความเชื่อเพียงเล็กน้อยก็สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันได้

1.ก่อนที่จะเชื่อเรื่องใดๆก็ตาม เราควรหาข้อมูลและหาความรู้ที่มีความถูกต้องน่าเชื่อถือไม่ถือว่าความคิดของตัวเรานั้นถูกต้องเสมอควรมีหลักการที่ถูกต้องแน่นอน2.เมื่อมีสิ่งที่ไม่ถูกต้องในความเชื่อของเรา ตัวเราควรเปิดรับความเชื่อใหม่ๆเข้ามาและคิดทบทวนว่าความเชื่อใหม่ๆเหล่านั้นมีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน ถ้าความเชื่อใหม่นั้นมีความถูกต้องน่าเชื่อถือมากกว่าเราควรนำมาปรับใช้และกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงความเชื่อเดิมของเรา

  1. ถ้าความเชื่อนั้นทำให้เรามีความสุข ทำให้เรามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยไม่ไปเบียดเบียนหรือทำร้ายคนรอบข้าง หนูคิดว่าความเชื่อนั้นคือความเชื่อที่ถูกต้อง
  2. เราต้องเปิดใจให้กับความเชื่อใหม่ๆ เมื่อเปิดใจแล้วก็ต้องลองทำตามความเชื่อนั้น และเมื่อทำแล้วก็เอาผลลัพธ์ที่ได้มาเทียบกับความเชื่อเก่าว่าอันไหนดีกว่า ถ้าความเชื่อใหม่ดีกว่า ก็ให้ตัดความเชื่อเก่าทิ้ง

โดยส่วนตัวคิดว่าความเชื่อเกิดจากสิ่งต่างๆรอบตัวเรา การปลูกฝังจากครอบครัวหรือสังคม ความเชื่อของแต่ละคนจะแตกต่างกัน ซึ่งอาจจะถูกหรือผิด การที่เราจะรู้ว่าความเชื่อนั้นถูกต้อง เราต้องพิจารณาไตร่ตรอง หาข้อมูลอย่างรอบคอบ เป็นสิ่งที่ไม่ทำให้ตนเองและคนรอบข้างเดือดร้อน ความเชื่อเป็นสิ่งที่ยึดเหนี่ยวความคิด และจะนำไปสู่การกระทำ การที่จะสร้างความเชื่อใหม่แทนที่ความเชื่อเก่านั้น เราไม่จำเป็นต้องทิ้งความเชื่อเก่าๆไป แต่ควรปรับเปลี่ยนความคิด ทัศนคติ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบางอย่างที่ส่งผลดีทั้งตนเองและผู้อื่น

6110712021 คณะเภสัชศาสตร์1. นำไปเปรียบเทียบกับหลักการทางวิทยาศาสตร์ เพราะความเชื่อในอดีตเป็นสิ่งที่ทำต่อๆกันมา จึงไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าจริงมั้ย เราจึงควรเปรียบเทียบกับหลักการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นปัจจุบันมากกว่า2. ต้องหัดมองมุมมองของคนอื่น ว่าเค้าแตกต่างกับเรายังไง ทำไมคนอื่นเค้าทำได้หรือทำไมเค้าไม่ทำ เช่น บางอย่างเรากังวลเวลาจะทำอะไรซักอย่าง แต่คนอื่นก็ไม่เห็นจะกังวลหรือลังเลที่จะทำมันเลย ดังนั้นเราควรดูความเชื่อของคนอื่นที่ดี แล้วนำมาปรับปรุงกับตัวเอง

ความเชื่อเป็นความคิดที่ถูกกลั่นกรองมาแล้ว ที่สามารถจะนำมาใช้ปฏิบัติตาม แสดงออกมาจนชินและเป็นนิสัย การจะตัดสินใจเชื่อสิ่งใดควรได้รับการไตร่ตรองให้ดีเสียก่อน จะเชื่อสิ่งๆนั้นลงไปความเชื่อที่เราเชื่อนั้นไม่มีผิดหรือถูกเพราะความเชื่อของแต่ละคนนั้นมีเพียงตัวเองเท่านั้นที่ตัดสินว่าถูกหรือไหม จึงทำให้ความเชื่อแต่ละคนแตกต่างออกไป แต่ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อใดก็ตามควรเป็นความเชื่อที่ก่อให้เกิดความดีงาม ความสร้างสรรค์ ส่งผลให้ตัวเรานั้นมีความสงบสุขและไม่เบียดเบียนผู้อื่น หากคิดว่าความเชื่อเก่าของเรานั้นยังไม่ถูกต้อง ต้องนำความเชื่อใหม่มาแทนที่นั้น ก็ต้องเริ่มจากการเปิดใจยอมรับกับความคิด ทัศนะใหม่ๆที่ตนไม่ได้ยอมรับหรือไม่แน่ใจว่าถูกต้องหรือไม่ มาผ่านกระบวนการพิจารณาให้เชื่อมกับตัวเองและปิดรอยความเชื่อเก่าที่ท่านคิดว่าไม่ถูกต้อง และไม่จำเป็นต้องทิ้งความเชื่อเก่าไปเพียงแค่ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับตัวเราและถูกต้องก็เพียงพอแล้ว

  1. ความเชื่อนั้นจะถูกหรือผิดเราสามารถพิสูจน์ได้จากการกระทำที่เราได้แสดงออกมา แล้วดูผลจากการกระทำนั้นว่ามันดีและสอดคล้องกับความเชื่อของเรามากน้อยเพียงใด ถ้าผลของการกระทำนั้นออกมาในทิศทางที่ดีสอดคล้องกับความเชื่อที่เรามี เราสามารถเชื่อได้ว่าความเชื่อที่เรามีนั้นอาจจะถูก2.หากเราต้องการที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ชอบและเปลี่ยนความเชื่อใหม่เราสามารถเริ่มจากการหยุดหรือเลิกกระทำในพฤติกรรมเก่าๆ แล้วเริ่มทำพฤติกรรมใหม่ที่เราต้องการอยากจะทำให้สม่ำเสมอเป็นนิสัยจึงส่งผลไปในทิศทางที่เราต้องการและดีขึ้น และเมื่อเราทำบ่อยๆเชื่อได้ว่าการกระทำนั้นก็จะค่อยๆเปลี่ยนความคิดของเราทำให้เราเกิดความคิดและความเชื่อใหม่ๆขึ้น

1.ความเชื่อนั้นเกิดจากการที่เราได้รับอิทธิพลจากบุคคลหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัวเราซึ่งเป็นสิ่งที่คนส่วนมากเชื่อว่าถูกต้องจึงส่งผลให้เราคิดว่าสิ่งๆนั้นถูกต้องไปด้วย2.หากต้องการเปลี่ยนความเชื่อ เราต้องรู้ก่อนว่าความเชื่อนั้ยเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องและอาจส่งผลเสียต่อคนรอบข้าง ซึ่งถ้ามีความเชื่อที่มาลบล้างกับความเชื่อที่ไม่ถูกต้องนั้นจะทำให้เราลบความเชื่อผิดๆนี้ได้เร็วยิ่งขึ้น

1)โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าการพิสูจน์ว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกหรือไม่สามารถทำได้โดยการเปิดใจรับความเชื่อใหม่ๆโดยไม่ปิดกั้นความคิด ปล่อยให้ความเชื่อเดิมได้เกิดการเปรียบเทียบทางความคิดและให้เวลาเป็นตัวพิสูจน์บางอย่างที่เราเคยเชื่อว่าถูกเมื่อเวลาผ่านไป กระบวนการทางความคิดเปลี่ยนไป การให้เหตุผลเปลี่ยนไปก็อาจกลายเป็นความเชื่อที่ผิด ดังนั้นเราอาจไม่สามารถรู้ได้ในทันทีว่าความเชื่อนั้นถูกหรือไม่สิ่งที่ทำได้คือการเลือกเชื่อในสิ่งที่เชื่อแล้วทำให้ชีวิตมีความสุข ไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนและก่อนจะเชื่ออะไรควรหาเหตุผลที่เป็นกลางและหลากหลายมารองรับ2)เนื่องจากความเชื่อพัฒนามาจากความคิด ดังนั้นถ้าความเชื่อเก่าที่มีอยู่ส่งผลเสียต่อการดำเนินชีวิตของเราเราก็ควรจะรับความเชื่อใหม่โดยไม่จำเป็นต้องเอามาลบล้างความเชื่อเก่าทั้งหมดเพียงแค่เปิดความคิดให้กว้าง มองสิ่งต่างๆในมุมมองอื่น รับความรู้ ความคิดใหม่ๆโดยต้องผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์ว่าสิ่งที่ได้มาทั้งจากการฟัง การเห็น หรือคิดขึ้นมานั้นถูกต้องหรือเอนเอียงไหม บางครั้งเราอาจต้องใช้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ในการเปลี่ยนแปลงความคิดและความเชื่อ

6110712033 คณะเภสัชศาสตร์1. ความเชื่อมาจากไหน?ความเชื่อเกิดจากการเรียนรู้สั่งสมประสบการณ์จากทุกๆสิ่งรอบตัวเรา โดยทุกสิ่งอย่างที่ผ่านเข้ามาล้วนจะสอนเราให้เชื่อและคิดว่าสิ่งไหนดีหรือไม่ดีผ่านการแสดงออกทางพฤติกรรม2. เรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้อง?ในขั้นแรกการจะเชื่อและคิดนั้น เราต้องคำนึงอยู่บนพื้นฐานของการมีเหตุผล ของหลักความจริง ไม่ใช่เชื่อในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ งมงาย ดังนั้นแล้วเราควรต้องหาข้อมูล หรือพิสูจน์ด้วยตัวเองว่าความเชื่อที่เรายึดถือและปฏิบัติมานั้นดี ถูกต้อง ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น 3. ในกรณีที่เราต้องการเปลี่ยงแปลงความเชื่อเก่า เราจะสร้างความเชื่อใหม่ให้เข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่าได้อย่างไรถ้าความเชื่อเดิมที่เรายึดถือนั้นเรารู้ว่ามันผิดหรือไม่เหมาะสมที่จะยึดถือปฏิบัติต่อไป เราก็ควรจะปรับปรุงแก้ไขโดยเปิดใจยอมรับความเชื่อใหม่ที่ดีกว่า เหมาะสมกว่า เข้ามายึดมั่นปฏิบัติเพื่อให้เกิดสิ่งที่ดีขึ้นกับตัวเราเองมากที่สุด

1.ต้องมีความเป็นเหตุเป็นผลโดยอาจเทียบจากหลักการวิทยาศาสตร์และต้องอยู่ในกรอบของกฎหมาย2.เราต้องเริ่มจากการตั้งเป้าหมายก่อนว่าจะเปลี่ยนแปลงตัวเองในด้านไหนโดยอาจมองผ่านมุมมองของคนอื่นที่สะท้อนถึงตัวเรา จากนั้นก็เริ่มลงมือทำในสิ่งที่ง่ายก่อนแล้วค่อยทำในสิ่งที่ยากขึ้นเรื่อยๆ ที่สำคัญคือต้องทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และอย่าลืมให้รางวัลตัวเองบ้างหากเราได้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งใจไว้

1ความเชื่อนั้นหมายถึง การยอมรับข้อเสนอข้อใดข้อหนึ่งได้ว่าเป็นจริง ความเชื่ออาจจะมีพื้นฐานจากหลักฐานข้อเท็จจริงที่เชื่อได้หรือมีพื้นฐานจากการนึกรู้เอาเอง เพราะฉะนั้นความเชื่อนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับความจริง ส่วนคำถามที่ว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้องเราก็ต้องพิสูจน์ตามหลักเหตุเเละผลของความเชื่อนั้น 2 ต้องมีจิตที่เข้มเเข็ง ไม่หลงผิดติดอยู่กับความเชื่อเดิมที่ไม่ถูกต้อง มองในมุมใหม่ มีความคิดบวก

1.ความเชื่อมาจากไหน?เดิมทีความเชื่อของมนุษย์เป็นสิ่งสมมุติขึ้นมา เพื่อลบล้างความกลัวในจิตใจของเรา(เริ่มขึ้นตั้งแต่ยุคหิน ยุคที่เพิ่งมีมนุษย์คนแรกเลยค่ะ) จนความเชื่อที่แต่เดิมเราสร้างมันขึ้นมาเพื่อให้คลายความกลัว ก็เริ่มพัฒนามาเรื่อยๆ จนเกิดกลุ่มคนที่มีความเชื่อเรื่องเดียวกันมาอยู่ด้วยกัน เกิดสังคม ครอบครัว ชนเผ่า วัฒนธรรม และเกิดเป็นประเทศในที่สุด ตั้งแต่เกิดจากท้องแม่ จิตใจของเราก็ยังว่างเปล่าและไม่เข้าใจ ยังไม่มีความเชื่อใดๆ เกิดขึ้น แต่ความเชื่อจะเริ่มก่อตัวเมื่อเราเริ่มเรียนรู้ เริ่มเห็นสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ อาหารการกิน พฤติกรรมคนรอบข้างที่เราลอกเลียนแบบและไม่ลอกเลียนแบบมา สังคม ครอบครัว การอบรม และอื่นๆ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ที่เราได้รับรู้มาตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบัน ล้วนเป็นสิ่งที่หลอมรวมความเชื่อของเราให้เกิดขึ้นทั้งสิ้น

2.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้อง?ฉันเชื่อว่าตราบใดที่ความเชื่อของเรานั้นไม่เบียดเบียนใคร(ซึ่งเป็นความเชื่อบนความเชื่ออีกเช่นกัน…) หรือทำให้ใครเดือดร้อน ก็ถือว่าความเชื่อนั้นไม่ใช่ความเชื่อที่ผิด และมันจะดีมากขึ้นไปอีกถ้าเราเคารพในคววามเชื่อของคนอื่นด้วย หากเราคิดเช่นนี้ได้ เราก็จะสามารถเรียนรู้เนื้อหาในความเชื่อของคนอื่นได้ และคนอื่นก็จะสามรถเรียนรู้เนื้อหาความเชื่อของเราได้เช่นกัน เพราะสิ่งเหล่านี้ต่างไม่มีถูกหรือผิด ตราบใดที่มันไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่คนอื่น

3.หากเราต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงปรพสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?ทุกวันนี้เราสามารถรับรู้ รับฟัง หรือแม้แต่สร้างความเชื่อใหม่ขึ้นมาด้วยตัวเองได้ เพราะรอบตัวเรามีที้งสิ่งแวดล้อม ผู้คนรอบตัว ธรรมชาติ หนังสือ และหลายสิ่งหลายอย่างมากมายที่จะทำให้เราได้เรียนรู้อยู่เสมอ สิ่งต่างๆเหล่านี้นี่แหละ ที่จะเป็นตัวขัดเกลาให้ความเชื่อของเราได้เปลี่ยนแปลงและพัฒนาอยู่เสมอ แต่หากอยากให้ความเชื่อใหม่นั้นมา “แทนที่” ความเชื่อเก่าและทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงด้วยนั้น มันจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเราให้มันทุกวัน ทุกเวลา เช่น เมื่อเราชอบที่จะกินขนมหวานมาก แต่จำเป็นต้องหักห้ามใจเพราะรู้ว่ามันไม่ดีต่อร่างกายและจะทำให้โรคเบาหวานกำเริบ วิธีคือ เมื่อเราผ่านร้านขนมหวานหรือเกิดอยากซื้อขึ้นมาทุกครั้ง เราก็ต้องพยายามนึกถึงความคิดนี้(ความคิดที่ว่า “หากกินอีกเบาหวานจะกำเริบ”)ไว้ก่อน ทำแบบนี้ทุกครั้งๆ พอนานวันเข้า เราก็จะเริ่มใจแข็งขึ้น และควบคุมพฤติกรรมที่เราไม่อยากทำได้ง่ายกว่าเดิม เพราะจิตเราควบคุมใจไว้ได้สำเร็จแล้วนั่นเอง (สรุปคือต้องฝึกฝนค่ะ)

ความเห็นนี้เป็นแค่ความเห็นของฉันเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นนะคะขอบคุณค่ะ

6110712062คณะเภสัชศาสตร์1.ต้องมีความเป็นเหตุเป็นผลโดยอาจเทียบจากหลักการวิทยาศาสตร์และต้องอยู่ในกรอบของกฎหมาย2.เราต้องเริ่มจากการตั้งเป้าหมายก่อนว่าจะเปลี่ยนแปลงตัวเองในด้านไหนโดยอาจมองผ่านมุมมองของคนอื่นที่สะท้อนถึงตัวเรา จากนั้นก็เริ่มลงมือทำในสิ่งที่ง่ายก่อนแล้วค่อยทำในสิ่งที่ยากขึ้นเรื่อยๆ ที่สำคัญคือต้องทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และอย่าลืมให้รางวัลตัวเองบ้างหากเราได้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งใจไว้

1.ความเชื่อเกิดจากการที่เราได้รับมาจากพ่อแม่ การปลูกฝังจากครอบครัวหรือสังคม อาจไม่ได้ถูกต้องตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ แต่ควรพิจารณาให้ดีก่อนที่จะเชื่อหรือไม่เชื่อสิ่งนั้น2.ความเชื่อของเราจะถูกหรือผิด ขึ้นอยู่กับค่านิยมของสังคมนั้นๆ หากคนในสังคมส่วนใหญ่ยอมรับ ย่อมแสดงว่าความเชื่อนั้นถูกต้อง แต่ก็ไม่จริงเสมอไป เราควรมีเหตุผลและรู้จักวิเคราะห์ข้อมูลที่ดูน่าเชื่อถือ3.หากต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เราจะสร้างความเชื่อใหม่แทนความเชื่อเก่าได้อย่างไร อย่างแรกเราต้องคิดก่อนว่าพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเราสร้างผลเสียต่อตนเองและผู้อื่นอย่างไรบ้าง แล้วหาวิธีแก้ปัญหา หรือปรึกษาพ่อแม่เพื่อหาทางออก หรือค้นหาความเชื่อใหม่ๆที่จะทำให้เราปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้นได้

จากบทความของอาจารย์ทำให้สรุปได้ว่าความเชื่อใดๆย่อมส่งผลให้การพฤติกรรม โดยความเชื่อนั้นมีที่มาหลากหลายรูปแบบทั้งสังคม พ่อแม่ ครอบครัวและการเรียนรู้ด้วยตัวเอง เช่นการสังเกต การลองผิดลองถูก ทำให้ความเชื่อนั้นๆบางครั้งอาจจะไม่ถูกเสมอไป ความเชื่อใดถ้ามีเหตุผลมารองรับหรือผ่านการกลั่นกรองมาแล้วย่อมมีแนวโน้มที่จะถูกต้อง แต่บางสิ่งที่ไม่ได้มาด้วยการเรียนรู้หรือไตร่ตรองด้วยตัวเองอาจจะผิดก็ได้ เช่น ความเชื่อที่ว่าถ้าเราอ่านหนังสือเยอะๆหามรุ่งหามค่ำจะทำให้เราได้เกรดดี ตอนแรกดิฉันคิดแบบนั้น แต่ไม่นานมานี้ก็ได้เปลี่ยนความคิดนอกจากร่างกายจะรับไม่ไหวแล้ว การที่อ่านหนังสือเยอะอาจจะได้ดีจริงแต่ก็สู้การที่เรามีสมาธิจดจ่อ ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงแต่ตั้งใจแบบสุดๆ และอ่านให้ตรงจุดพบว่าได้ผลดีกว่าที่เคยทำมา เมื่อเราเจอหนทางที่ดีกว่าหรือพิสูจน์ สังเกต ผ่านการกลั่นกรองแล้วพบว่าความเชื่อนั้นไม่จริงก็จะทำให้เราเปลี่ยนความเชื่อนั้นได้ เพียงแค่เราเปิดใจรับสิ่งใหม่ๆ เพราะทุกสิ่งบนโลกล้วนไม่แน่นอนเปลี่ยนไปตามการเวลา เวลาเปลี่ยนสิ่งทั้งหลายเปลี่ยน เราจึงต้องเปิดใจรับสิ่งใหม่ๆเข้ามาเสมอ แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของเหตุผล เพื่อที่เราจะสามารถปรับตัวตามโลกปัจจุบันและใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขค่ะ

1.เรามักจะเชื่อในสิ่งที่ไม่ขัดกับทัศนคติ ความคิด และความรู้พื้นฐานของเรา หากอยากทราบว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องหรือไม่ เราต้องเปิดใจ รับฟังผู้อื่น ศึกษา ค้นคว้า หรือทดลองพิสูจน์ เพื่อที่ว่าสิ่งนี้จะได้สะท้อนเราว่าความเชื่อนั้นถูกต้องหรือไม่2.การที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างของเรา นั่นแปลว่าพฤติกรรมเหล่านั้นไม่ก่อให้เกิดผลดีต่อเราหรือขัดกับความรู้สึก เริ่มแรกเราต้องทราบว่าพฤติกรรมที่ว่านั้นเป็นอย่างไร ส่งผลอย่างไรกับเรา ทำไมเราจึงแสดงพฤติกรรมเช่นนั้น เมื่อเราทราบเหตุและผลแล้วเราก็จะรู้สึกอยากที่จะแก้ไขสิ่งเหล่านั้นโดยอัตโนมัติ ความรู้สึกนี้จะทำให้เราเต็มใจที่จะแก้ไขและเปลี่ยนพฤติกรรม ความเชื่อเหล่านั้นได้

ความคิดเห็นส่วนตัวคิดว่า ความเชื่อเกิดขึ้นได้จากการที่เรานั้น ได้ฟัง ได้เห็น สิ่งๆนั้น ทำให้เราเกิดความคิดต่างๆจนนำไปสู่การก่อให้เกิดความเชื่อในสิ่งๆนั้น จะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อของเรานั้นถูกต้อง การที่เราจะเชื่อในสิ่งใด เราต้องมีข้อมูล เหตุผล หรือ บางสิ่งบางอย่างที่ทำให้เรานั้นเกิดความคิดและนำไปสู่ความเชื่อ การที่จะสร้างความเชื่อใหม่ แทนที่ความเชื่อเก่านั้นทำได้อย่างไร? ต้องเริ่มจากการที่เรามีความรู้สึกว่าความเชื่อเก่าของเรานั้นมันถูกต้องแล้วหรือ? ถ้ามันไม่ใช่เราก็ต้องลบล้างความเชื่อเก่าๆนั้นทิ้งไปและเริ่มสร้างความเชื่อใหม่เข้ามาแทนที่โดยการที่เรานั้นได้ไปฟัง ได้เห็น สิ่งที่ทำให้เกิดความเชื่อใหม่ๆขึ้นมาได้

ความเชื่อของคนเราเกิดจากสิ่งแวดล้อมและสังคมรอบตัว ไม่ว่าจะเป็น ครอบครัว โรงเรียน มหาลัย ทีทำงาน รวมไปถึง ประเพณีและวัฒนธรรมหรือจากประสบการณ์โดยตรง ทุกๆอย่างรวมกันก่อให้เกิดเป็นความเชื่อส่วนบุคคลขึ้น เพราะฉะนั้นถ้าจะถามว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อของเรานั้นถูกต้องก็คงเป็นคำถามที่ตอบได้ยาก เพราะคนเราโตมาจากสิ่งแวดล้อมและสังคมที่หลากหลายและได้รับประสบการณ์แตกต่างกัน จึงอาจจะต้องตั้งเกณฑ์มาประกอบคำถามด้วยว่าความถูกต้องนั้นใช้เกณฑ์อะไร และสำหรับคำถามที่สองเราจะสามารถสร้างความเชื่อใหม่แทนที่ความเชื่อเดิมได้อย่างไรนั้น ก็ต้องย้อนไปดูข้อแรก เนื่องจากความเชื่อได้รับอิทธิพลมาจาก สิ่งแวดล้อม สังคม และประสบการณ์ ดังนั้นการจะเปลี่ยนความเชื่อได้นั้นก็อาจจะต้องเปลี่ยนแปลงหรือได้รับปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งหมดใหม่อีกครั้งจึงจะสามารถทำให้เราสร้างความเชื่อใหม่ขึ้นมาได้

โดนส่วนตัวนั้น ฉันคิดว่าความเชื่อต่างๆนั้นมาจากการปลูกฝังเรื่องบางอย่างตั้งแต่ยังอยู่ในวัยเยาว์ ไม่รับการพรำ่สอนเทศนา ต่างๆมาทั้งที่เป็นทางตรง หรือทางอ้อมก็ตามแต่ ซึ่งสิ่งที่เราถูกปลูกฝังมานั้นจะหลอมรวมให้เรากลายเป็นเราในปัจจุบัน มีทัศนคติ ความคิดในด้านต่างๆตามที่เคยถูกสอนมา เช่น ถูกสอนมาว่า เป็นเด็กเป็นเล็กต้องรู้จักมีสัมมาคารวะ ไปมาลาไหว้ รู้จักที่ตำ่ที่สูง และไม่เถียงผู้ใหญ่เป็นต้น ซึ้งความเชื่อเหล่านี้ที่เราถุกปลูกฝังมานั้นอาจจะมีถูกผิดได้เหมือนกัน ถ้าอย่างนั้น เราจะรุ้ได้ยังไงว่าความเชื่อไหนถูก ความเชื่อไหนผิด ข้อนี้เป้นข้อที่ตอบยากเสียทีเดียว ส่วนตัวนั้นคิดว่าความเชื่อที่ถูกต้องนั้น คือความเชื่อใดๆก็ตามที่เมื่อปฎิบัติไปแล้ว ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ความเชื่อนั้นก้เป้นสิ่งที่ถูก ยกตัวอย่างเช่น การทำบุญ เป้นต้น ถ้าเราทำด้วยความเชื่อที่ว่าทำดีได้ดี ไม่โหมทำหนักจนเกินตัวทำให้คนเองหรือคนอื่นเดือดร้อนก็ถือว่าความเชื่อนั้นเป้นสิ่งที่ถูกต้อง ปฏิบัติได้จริง สุดท้ายนี้เป็นเพียงแค่ความเห้นส่วนตัวเท่านั้น ถ้าผิดพลาดประการใดก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

ความเชื่อเกิดจากการที่เราคิดหรือทำอะไรลงไปแล้วเกิดสิ่งนั้นขึ้นจริงโดยต้องอาศัยประสบการณ์หรือระยะเวลาระยะหนึ่ง เพราะฉะนั้นความเชื่อคือความมั่นใจในสิ่งที่หวังไว้เป็นความแน่ใจในสิ่งที่มองไม่เห็น1แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อของเราถูกต้อง สำหรับตัวดิฉันเองคิดว่าเราไม่สามารถไปบังคับให้ใครคิดหรือเชื่อเหมือนเราได้มันไม่มีตายตัวว่าความเชื่อนี้ถูกหรือผิดมันอยู่ที่มุมมองของคนถ้าความเชื่อของเราไม่ไปทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนหรือเป็นผลร้ายต่อผู้อื่นดิฉันคิดว่าความเชื่อนั้นก็ไม่ผิด 2.ถ้าเรารู้ว่าเรามีพฤติกรรมที่ไม่ดีหรือต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ตนเองไม่ชอบควรเริ่มปรับจากความคิดของเราก่อนเพราะพฤติกรรมที่เราแสดงออกส่วนใหญ่มาจากความคิดของเราเป็นที่ตั้งทั้งนั้นถ้าเรามีมุมมองหรือความคิดที่ดีแล้วเชื่อได้ว่าการแสดงออกของเราจะเป็นไปในทางที่ดี

ความเชื่อที่เรามีนั้นจะถูกหรือไม่ คิดว่าถ้าความเชื่อที่เราเชื่อนั้นไม่ได้มีผลเสียหายกับใครหรือทำให้ใครเดือดร้อนความเชื่อนั้นก็ไม่ผิดเพราะเเต่ละคนก็มีความเชื่อที่เเตกต่างคน เนื่องจากได้รับการถ่ายทอดความเชื่อมาจากบุคคลที่แตกต่างกัน ส่วนการสร้างความเชื่อใหม่เข้ามาเเทนที่ความเชื่อเก่าที่ไม่พึงประสงค์ ก็คิดว่าถ้าเราลองเปลี่ยนความเชื่อดู ก็จะทำให้ชีวิตเราดียิ่งขึ้น มีความสุขมากขึ้น เเละทำให้อยู่ในสังคมได้อย่างเป็นปกติ

  1. ในส่วนตัวคิดว่าความเชื่อของคนเราแตกต่างกัน เราจะรู้ว่าความเชื่อนั้นถูกต้องก็ต่อเมื่อผ่านการพิสูจน์ด้วยตนเองหรือผู้อื่น มีหลักฐานชัดเจน แต่ความเชื่อของคนเรานั้นย่อมแตกต่างกันเพราะการที่จะเชื่อในสิ่งใดส่วนใหญ่มักมีจุดเริ่มต้นจากนิสัยส่วนตัว ครอบครัว สภาพแวดล้อม ที่สำคัญความเชื่อของคนเราอาจถูกต้องในช่วงเวลาหนึ่ง แต่เมื่อเวลาผ่านไปความเชื่อเหล่านั้นอาจกลายเป็นความเชื่อที่ผิดก็ได้
  2. การที่เราจะเปลี่ยนแปลงความเชื่อนั้น เราต้องรู้ตัวเองก่อนว่าความเชื่อเก่านั้นไม่ถูกต้อง แล้วสลัดความเชื่อเก่าทิ้งไป ทิ้งแต่บางส่วนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องทิ้งทั้งหมด และอย่าเพิ่งสร้างความเชื่อใหม่ให้แก่ตนเองทันที การที่เราจะสร้างหรือรับความเชื่อใหม่เข้ามา เราต้องรู้ว่าความเชื่อนั้นถูกต้อง หาหลักฐานพิสูจน์ได้ แต่ถ้าไม่มีหลักฐานก็อย่างเพิ่งตัดความเชื่อนั้นทิ้งไปให้เก็บมาคิดพิจารณาด้วยตนเองก่อน เวลาจะช่วยพิสูจน์ว่าความเชื่อถูกต้องหรือไม่ แล้วเมื่อเราได้ความเชื่อใหม่ที่ผ่านการไตร่ตรองพิจารณาแล้วก็จะเกิดพฤติกรรมใหม่ได้

ความเชื่อไม่ว่าจะถูกหรือผิดก็ล้วนเกิดมาจากการสั่งสมประสบการณ์ต่างๆที่เราพบเจอ หรือเรียนรู้มาโดยผ่านความคิดผ่านการไตร่ตรองจนตัวเราเองยอมรับว่าความเชื่อเหล่านั้นถูก ความเชื่อเหล่านั้นดี โดยสิ่งที่เราเชื่อเหล่านี้ผู้อื่นอาจจะมองว่าดีหรือไม่ดีก็ได้ เพราะต่างคนก็ต่างมุมมอง แต่เราจะไม่นำความเชื่อส่วนตัวมาใช้ตัดสินความเชื่อของคนอื่น และการที่คนเราจะเปลี่ยนความเชื่อได้นั้นอาจจะเกิดมาจากความคิดตัวเอง หรืออาจจะเกิดมาจากสภาพแวดล้อมอาจจะเพราะฟังมาจากคนอื่น หรือพบเจอมาจากการกระทำของผู้คน จนทำให้ความสนใจเราเปลี่ยนเลยส่งผลให้ความเชื่อเราเปลี่ยนแปลงไปในการที่เราจะสร้างความเชื่อใหม่ เราอาจจะนำเอาความเชื่อเก่าของเรามาคิดพิจารณาดูว่าสิ่งใดที่ทำให้ความเชื่อเก่าเหล่านั้นผิดพลาด ลองทบทวนดูศึกษาหาความถูกต้อง ทดลองทำซ้ำๆดูผลลัพธ์จากการเปลี่ยนแปลงว่าเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นหรือแย่ลง แต่ไม่ว่าความเชื่อเหล่านั้นจะถูกหรือจะผิดก็ล้วนเป็นความเชื่อส่วนตัวของเราเพราะทุกสิ่งอย่างได้ผ่านการคิดวิเคราะห์มาแล้วทั้งสิ้น

ความเชื่อมาจากการฟัง การได้ยินจากคนที่เรานับถือ คนที่เราเชื่อใจ จากคนรอบข้างตัวเรา เมื่อได้ฟังก็จะเกิดความเชื่อในทันที โดยมีความเข้าใจว่าความเชื่อนั้นต้องมีความถูกต้องอย่างแน่นอน แต่เมื่อได้ลองฟังสิ่งใหม่ๆ เปิดรับสิ่งใหม่ๆมาผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์จะทำให้เราเข้าใจได้ว่าความเชื่อที่เราเชื่อมาโดยตลอด อาจจะไม่ได้เป็นไปในแบบที่เราคิดเสมอ มันอาจจะมีส่วนที่จริงบ้างไม่จริงบ้างก็ขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ของแต่ละบุคคล สรุปคือการที่เราจะมีความเชื่อในเรื่องใด ส่วนใหญ่มักมาจากการที่เรารับฟังอะไรเพียงด้านเดียวฟังแล้วเชื่อในทันทีไม่ได้ไตร่ตรองถึงอีกด้านหนึ่ง แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้อง เราจะรู้ว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องเมื่อได้ผ่านการพิสูจน์หรือมีหลักฐานที่ชี้ชัดได้ ว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องสามารถเชื่อถือได้ โดยความเชื่อที่ถูกต้องจะต้องผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์ พิจารณาโดยใช้วิจารณญาณจากตัวเราเองด้วยว่าสิ่งนั้นๆเหมาะสมควรค่าที่จะเชื่อในเรื่องนั้นๆหรือไม่

1.)ความเชื่อของคนเรานั้นไม่มีผิดหากตั้งอยู่บนศีลธรรม จริยธรรม เพราะความเชื่อของแต่ละบุคคลย่อมแตกต่างกัน ด้วยพฤติกรรมความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันที่แตกต่าง ถามว่าความเชื่อที่เราเชื่อนั้นถูกไหม เราต้องดูว่าสิ่งเราเชื่อนั้น เกิดผลดีต่อเราไหม หรือทำให้ชีวิตเราดีขึ้นไหม และความคิดของเราไปก่อความเดือดร้อนให้คนอื่นไหม หากมีแต่ข้อเสียก็ถือเป็นความเชื่อที่ผิด 2.)วิธีที่จะเปลี่ยนความเชื่อจากความเชื่อเดิม โดยให้เรามองหาดูว่าข้อเสียของความเชื่อเดิมมีผลเสียขนาดไหน และผลดีของการเปลี่ยนความเชื่อมีผลดีอย่าง เพื่อเป็นแรงจูงใจในการ เปลี่ยนความคิดไปสู่ความคิด

   ความเชื่อเกิดได้จาก2แหล่งใหญ่ๆ คือ 1ความเชื่อที่ได้รับจากผู้อื่น เช่น พ่อแม่ คุณครูและเพื่อน ในรูปของคำสั่งสอน ค่านิยมในสังคมว่าอะไรถูกอะไรผิด สิ่งไหนที่เราควรหรือไม่ควรทำในสังคม 2ความเชื่อที่เกิดจากตัวเราเอง อันเกิดจากการได้พบเจอเหตุการณ์ต่างๆด้วยตนเอง ปัญหาที่เราพบเจอจะสร้างประสบการณ์ให้กับเรา  ความเชื่อที่เรายึดถืออยู่มักถูกต้องเสมอในปัจจุบัน ประสบการณ์ที่เราได้รับในแต่ละช่วงวัย จะเป็นตัวกำหนดความเชื่อของเราจนกว่าจะมีเหตุผลอื่นมาลบล้างความเชื่อนั้น  หากต้องการเปลี่ยนความเชื่อสิ่งแรกที่ควรทำคือวางใจเป็นกลางและยอมรับว่าความเชื่อที่ยึดถืออยู่นั้นผิด หาเหตุผลมาอธิบายสนับสนุนความเชื่อใหม่ โดยความเชื่อที่ดีควรเป็นความเชื่อที่ไม่ชักนำให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่ดี ควรเป็นความเชื่อที่เมื่อยึดถือปฏิบัติแล้วทำให้ชีวิตเราดียิ่งขึ้น
  1. ตามปกติการจะเชื่อหรือไม่เชื่ออะไรก็ควรขึ้นกับความสมเหตุสมผลและการที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน แต่บางความเชื่อที่คนไทยคิดว่าไม่ถูกต้อง ในคนบางประเทศอาจอาจไม่ถือว่าผิดก็มี เช่นการอยู่กินด้วยกันของหนุ่มสาวก่อนแต่งงาน หากคนไทยฟังอาจคิดว่าดูไม่ดี แต่ชาวยุโรปกลับมองเป็นเรื่องปกติ ทดลองอยู่ด้วยกันก่อน ถ้าไม่ดีก็เลิกรากันไปง่ายๆ ไม่ต้องมีพันธะหรือสัญญาใดๆ จะสังเกตได้ว่า ความถูกต้อง บางครั้งก็ขึ้นอยู่กับ มุมมอง บรรทัดฐาน และจารีตประเพณี ของแต่ละประเทศด้วยเช่นกัน
  2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไรตอบ ตั้งสติ ใช้สมองพินิจพิเคราะห์ ว่าพฤติกรรมที่เราทำแล้วไม่ดี ส่งผลอย่างไร หากเราเปลี่ยนพฤติกรรมนั้นๆ จะได้ผลที่ดีขึ้นหรือไม่ และลองทำดูให้เป็นประจำ และเป็นนิสัยเช่น หากเราอยากตื่นเช้า เราก็ลองตื่นตื่นเช้าทุกๆวัน จะทำให้เราพบข้อดีของการตื่นเช้ามากมากมายที่เป็นประโยชน์แก่เราทำให้ความเชื่อของเราเปลี่ยนแปลไปได้
  3. การเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์สร้างความเชื่อใหม่แทนความเชื่อเดิมได้ โดยการลองเริ่มเปลี่ยนจากความคิดและการกระทำของตนเองก่อน ถ้าเราคิดว่าเราทำได้ บวกกับการลงมือทำ มันก็จะส่งผลให้เราสามารถเปลี่ยนแปลงในทุกๆอย่างได้ ไม่เพียงแต่พฤติกรรมของตนเองเท่านั้น ยังสามารถนั้นไปปรับใช้ในเรื่องอื่นๆได้ด้วย 6110712028 คณะเภสัชศาสตร์
  1. ความเชื่อนั้นไม่มีสิ่งตายตัวว่าถูกหรือผิด แล้วแต่แต่ละคนจะเชื่อ ถ้าเชื่อแล้วเป็นสิ่งที่ดีกับตัวเอง ทำให้ตัวเองใช้ชีวิตในสังคมอย่างมีความสงบ มีความสุข และความเชื่อนั้นไม่ไปเดือดร้อนใคร ก็แสดงว่าความเชื่อนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ผิด แต่ถ้าเราอยากรู้ถึงที่มาว่าความเชื่อนั้นถูกหรือผิด บางความเชื่อก็สามารถหาข้อมูลได้จากแหล่งต่างๆและวิเคราะห์ด้วยเหตุและผล แต่บางความเชื่อก็ควรใช้วิจารณญาณของตนเองคิดโดยส่วนใหญ่ที่มาของความเชื่อมาจากการที่ได้ยิน ได้ฟัง ได้ความเชื่อนั้นๆมาจากสภาพแวดล้อมรอบตัวเราและอุปนิสัยของคนรอบข้าง
  2. ในกรณีที่เราต้องการจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เราควรหาสาเหตุก่อนว่าสาเหตุที่ทำให้มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมคืออะไร หาข้อดีและข้อเสียและลองคิดถึงผลข้างหน้าว่าถ้าเราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้นวันละนิด จะทำให้ชีวิตของเรามีความสุขมากขึ้น

1.ความเชื่อที่ถูกต้องนั้นหมายความว่า..ความเชื่อนั้นไม่ทำให้ผู้อื่นและตนเองเดือดร้อนซึ่งสังเกตได้จากพฤติกรรมที่ตนนั้นแสดงออกมาหากพฤติกรรมนั้นสื่อออกมาในแง่ดีแสดงให้เห็นว่าเรามีความเชื่อที่ดี “ความเชื่อส่งผลต่อความคิดแล้วแสดงออกผ่านทางพฤติกรรม”2.การที่เราจะเปลี่ยนแปลงความเชื่อเดิมให้หายไปเราต้องสร้างความเชื่อใหม่มาหักล้างความเชื่อเดิมที่เราเชื่อว่ามันไม่ให้หายไป..และความเชื่อมหม่นี้จะต้องเป็นความเชื่อที่ทรงพลังเพื่อมาหักล้างความเชื่อเดิมที่สั่งสมมานานจนเคยชิน

1)การที่เราจะรู้ว่าความเชื่อนั้นผิดหรือถูกขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่นบุคคล เวลา และสถานที่ ความเชื่อหนึ่งอาจจะถูกกับคนๆหนึ่งในเวลาใดเวลาหนึ่งและในที่ใดที่หนึ่ง แต่เมื่อคนเปลี่ยน เวลาเปลี่ยน และสถานที่เปลี่ยน ความเชื่อนั้นก็อาจจะกลายเป็นความเชื่อที่ผิดไป ความเชื่อไม่มีผิดหรือถูก เพราะขึ้นกับมุมมองของแต่ละคน เราไม่สามารถตัดสินความเชื่อที่เปรียบเสมือนเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจคนได้ แต่เราสามารถบอกได้ว่าความเชื่อนั้น ‘ไม่ผิด’ ก็ต่อเมื่อความเชื่อของเราไม่ทำร้ายหรือสร้างความเดือดร้อนให้คนรอบข้างรวมถึงตัวเราเอง2)การที่เราจะเชื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง นั่นหมายความว่าสิ่งนั้นมีเหตุผลมากพอที่เราไม่สามารถโต้เถียงได้ เราจึงได้เชื่อมัน และเช่นกัน การจะเปลี่ยนความเชื่อต้องเริ่มจากการพิจารณาเหตุและผล ความเชื่อที่มาแทนที่ความเชื่อเก่าต้องมีเหตุผลมากพอ ไม่มีข้อโต้แย้ง หรือสิ่งที่ทำให้เราสงสัยหรือตะขิดตะขวงใจที่จะเชื่อ เมื่อสมควรแก่เหตุและสมควรแก่ผลแล้ว การเปลี่ยนแปลงความเชื่อก็ไม่ใช่เรื่องลำบาก

1.ความเชื่อของมนุษย์เรานั้นมาจากการยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริง หรือมีการดำรงอยู่จริง โดยอาศัยจากประสบการณ์ตรง การไตร่ตรอง การอนุมาน หรือการปลูกฝัง ไม่ว่าจะมาจากพ่อ แม่ หรือคนรอบข้าง ทำให้เราซึมซับมาซึ่งอาจด้วยวิธีการเรียนรู้ การได้ยินมาจากคนที่เราให้ความเคารพนับถือหรืออาจมาจากการที่เราไปเจอเหตุการณ์ต่างๆที่ทำให้เราเชื่อขึ้นมา โดยความเชื่อสามารถถ่ายทอดไปยังผู้อื่นหรือทำให้ผู้อื่นเชื่อเหมือนๆกันได้ ซึ่งพื้นฐานความเชื่อของแต่ละคนย่อมแตกต่างกัน ความเชื่อนั้นมีทั้งถูกและผิด เราจึงควรจะมีวิจารญาณและไตร่ตรองให้ดีก่อนที่เราจะยอมรับความเชื่อต่างๆเพราะความเชื่อจะมีผลต่อความคิดและพฤติกรรมของเรา ซึ่งอาจนำมาซึ่งผลเสียต่อตัวเราได้ และการเปิดรับสิ่งใหม่ๆอยู่ตลอดเวลาจะทำให้เราพบเจอเหตุการณ์มากมายที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าความเชื่อนั้นถูกหรือผิด

2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้จากการเรียนรู้สิ่งต่างๆที่ผ่านเข้ามาในชีวิตสิ่งเหล่านั้นจะช่วยพัฒนาความคิดของเรา แล้วความคิดนั้นก็จะก่อให้เกิดความเชื่อใหม่ๆเกิดขึ้น การเปิดกว้างทางความคิดจึงเป็นสิ่งจำเป็น การมีแรงบันดาลใจหรือแรงจูงใจเป็นสิ่งหนึ่งที่จะผลักดัน ทำให้เรามีกำลังใจในการเปลี่ยนแปลงความคิด ความเชื่อได้ง่ายมากขึ้น เพราะเรารู้ว่าเราต้องทำเพื่ออะไร ซึ่งความเชื่อไม่ได้เป็นสิ่งตายตัว ความเชื่อสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความคิดของเรา

6110712028 คณะเภสัชศาสตร์ 1.ความเชื่อเกิดจาก-อุปนิสัยส่วนตัวซึ่งอาจมีผลจากครอบครัวและสภาพแวดล้อม สภาพแวดล้อมนี้รวมถึงสังคม การศึกษา และการปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น2.ความเชื่อถูกหรือผิดพิจารณาจาก-ความเชื่อบางอย่างอาจถูกต้องในเวลาหนึ่ง แต่เมื่อเวลาผ่านไปความเชื่อนั้นอาจกลายเป็นความเชื่อที่ผิดได้หลังจากผ่านการพิสูจน์ด้วยเหตุการณ์และ ยุคสมัย3.ความเชื่อใหม่แทนความเชื่อเก่า-ความคิดพัฒนามาจากความเชื่อ ในขณะเดียวกัน ความเชื่อก็พัฒนามาจากความคิดด้วยเช่นกัน การจะรับความเชื่อใหม่เข้ามา เราไม่จำเป็นต้องกำจัดหรือสลัดความเชื่อเก่าทิ้งทั้งหมด สิ่งที่ควรทำคือ การเปิดประตูแห่งความคิดให้กว้าง เปิดรับความเชื่อใหม่ ๆ เข้ามา ไม่ว่ามันจะมาจากเส้นทางใด หรือความเชื่อแบบใด จากนั้นพินิจพิเคราะห์ ไตร่ตรองความเชื่อนั้นว่าน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด

6110710038 คณะเภสัชศาสตร์ 1.ความเชื่อเกิดจาก-อุปนิสัยส่วนตัวซึ่งอาจมีผลจากครอบครัวและสภาพแวดล้อม สภาพแวดล้อมนี้รวมถึงสังคม การศึกษา และการปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น2.ความเชื่อถูกหรือผิดพิจารณาจาก-ความเชื่อบางอย่างอาจถูกต้องในเวลาหนึ่ง แต่เมื่อเวลาผ่านไปความเชื่อนั้นอาจกลายเป็นความเชื่อที่ผิดได้หลังจากผ่านการพิสูจน์ด้วยเหตุการณ์และ ยุคสมัย3.ความเชื่อใหม่แทนความเชื่อเก่า-ความคิดพัฒนามาจากความเชื่อ ในขณะเดียวกัน ความเชื่อก็พัฒนามาจากความคิดด้วยเช่นกัน การจะรับความเชื่อใหม่เข้ามา เราไม่จำเป็นต้องกำจัดหรือสลัดความเชื่อเก่าทิ้งทั้งหมด สิ่งที่ควรทำคือ การเปิดประตูแห่งความคิดให้กว้าง เปิดรับความเชื่อใหม่ ๆ เข้ามา ไม่ว่ามันจะมาจากเส้นทางใด หรือความเชื่อแบบใด จากนั้นพินิจพิเคราะห์ ไตร่ตรองความเชื่อนั้นว่าน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด

6110710046 คณะเภสัชศาสตร์ สาขาเภสัชศาสตร์อุตสาหการ ดิฉันคิดว่าการที่เราจะรู้ว่าความคิดของเรานั้นเป็นความคิดที่ถูกหรือไม่ให้เราสังเกตตลอดถ้าความคิดที่ถูกต้องความคิดนั้นจะไม่ส่งผลร้ายต่อผู้อื่นแต่ไม่เป็นความจริงในแง่ลบถ้าหากเราต้องเปลี่ยนความคิดของเราใหม่ซึ่งความคิดต่อให้เรานั้นเป็นความคิดที่ผิดเราก็ควรคิดว่าเราไม่ควรยึดติดกับความคิดเดิมเพราะมันเป็นสิ่งที่ไม่ดีต้องคิดใหม่ที่ดีกว่าจะทำให้ระบบและพฤติกรรมของเรานั้นเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นเป็นไปในทางที่ถูกต้องจะส่งผลดีต่อบุคคลรอบข้างคนอื่นๆของเรา เราควรดีใจ เราควรดีใจที่เราได้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง อาจเป็นสิ่งที่ยากเป็นสิ่งที่ยากเราที่จะปฏิบัติตามความเชื่อใหม่ใหม่ที่ขับต่อความเชื่อของเรา

6110710021 คณะเภสัชศาสตร์​สาขาอุตสาหการ1.ความเชื่อนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในตัวเฉพาะบุคคลเราไม่สามารถบังคับคนอื่นหรือให้คนอื่นมาบังคับเราให้เชื่อแบบเดียวกัน​เหมือนกันและความเชื่อก็เกิดขึ้นมาจากหลายสาเหตุ​หลายปัจจัย​ การที่เราจะรู้ได้ว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นถูกหรือผิด​ก็ต้องมีการหาข้อเท็จจริง​ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ​และที่สำคัญคือการเปิดใจยอมรับคนอื่นฟังความเห็น​ต่าง​ตากคนที่เค้าไม่ได้เชื่อหรือคิดแบบเดียวกับเรา​2.ถ้าเรามีควมชื่อผิดๆส่งเสริมพฤติกรรมที่ไม่ดีจะสามารถหาสิธีเปลี่ยนความเชื่อใหม่ได้คือ​การที่เรารับฟังคนที่เห็นที่คอยเตือน​ บอกว่าสิ่งนั้นไม่ดี​ เราอาจจะไม่ต้องเชื่อตอนนั้นส่าไท่ดีแต่เราจะสัมผัสได้เองวันนึงว่าพฤติกรรมที่เราทำตอนนี้ไม่ดี​ เราจะต้องเปลี่ยนความเชื่อใหม่​เพื่อสร้างพฤติกรรมมใหม่ที่ดีต่อเราและคนรอข้าง​

แต่ละคนมีความเชื่อที่ไม่เหมือนกัน เพราะเราต่างก็เติบโตมาในครอบครัว สภาพแวดล้อม และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน อันจะทำให้เกิดความเชื่อที่ต่างกันด้วย การปลูกฝังความเชื่อเริ่มแรกก็จะเกิดจากการที่แต่ละครอบครัวเชื่อในเรื่องนั้นๆอยู่แล้ว และได้มีการถ่ายทอด มีการปลูกฝังความเชื่อนั้นให้แก่สมาชิกในครอบครัว เมื่อเราเติบโตมาเราก็จะได้เห็นถึงสภาพแวดล้อม วัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ อันจะทำให้เราเกิดความเชื่อ หรือเกิดความศรัทธาโดยการซึมซับสิ่งเหล่านั้นเข้าไป (1)แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง อันนี้เราจะต้องพิจารณาไตร่ตรองเองว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นมันถูกต้อง หรือเป็นความจริงไหม จะต้องหาข้อมูลที่เชื่อถือได้และมีความทันสมัย เพื่อมาสนับสนุนแนวความเชื่อของเรา (2)ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร อย่างแรกเลยเราจะต้องเปลี่ยนแปลงมุมมองของความคิด เปิดความคิดให้กว้างขึ้น มองโลกให้กว้างขึ้น และรับรู้ถึงข้อดีข้อเสียของความเชื่อเก่านั้น จากนั้นก็ลองเปิดใจรับเอาความเชื่อใหม่ๆเข้ามา อันจะทำให้ตัวเราเองนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นได้

6110311008​ คณะแพทยศาสตร์ สาขา กายภาพบำบัด 1.ความเชื่อนั้นเกิดขึ้นจากหลายๆปัจจัย อาจจะเกิดจากสภาพแวดล้อม สังคมรอบตัว หรือการเลี้ยงดูของครอบครัวซึ่งทำให้ความเชื่อแต่ละคนมีความแตกต่างกัน โดยการที่จะทราบได้ว่าความเชื่อของเราถูกหรือผิดนั้นเราต้องทราบข้อเท็จจริงและเปิดใจยอมรับ 2.การจะเปลี่ยนแปลงความเชื่อนั้นเราต้องทำตัวให้เป็นกลางก่อนแล้วพิจารณาว่าสิ่งนั้นถูกหรือผิด

ความเชื่อมาจากสภาพเเวดล้อมรอบตัวเรา ทั้งเหตุการณ์ที่เราเคยพบเจอกับตัวเอง การได้ยินหรือได้ฟังคำบอกเล่าจากประสบการณ์ของผู้อื่น ซึ่งมีความสมเหตุสมผล รวมถึงการเห็นสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นซ้ำๆ ทำให้เราเชื่อว่าทำอย่างนี้แล้วส่งผลให้เกิดอย่างนั้นแน่นอน การที่เราจะรู้ได้ว่าความเชื่อของเรานั้นเป็นความเชื่อที่ถูกต้องหรือไม่ เราก็ต้องหาข้อมูลว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นเป็นจริงได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นต้องเป็นกลางและหลากหลาย อีกทั้งควรเปิดใจรับสิ่งใหม่ๆเพื่อเป็นการเปิดประสบการณ์และทดลองว่าความเชื่อของเราถูกหรือไม่ แต่โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าความเชื่อที่ถูกต้องคือความเชื่อที่ทำให้เรามีความสุขและต้องไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ส่วนการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ดีของเราจากความเชื่อเดิมนั้นก็สามารถทำได้โดยรู้ว่าความคิดหรือความเชื่อไหนที่ทำให้เราแสดงพฤติกรรมที่ไม่ดีนั้นออกมา สลัดความเชื่อเดิมทิ้งไป แล้วสร้างความเชื่อใหม่ คิดใหม่ว่าเราควรทำอะไรเพื่อที่จะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้ เหมือนเป็นการประเมินความเชื่อของตัวเองเพื่อพัฒนาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่แสดงออก

1.การที่เราจะบอกได้ว่าความเชื่อไหนถูกหรือผิด เราคงจะต้องถามตัวเราเองว่าเราเองรู้สึกว่าความเชื่อไหนที่เรารู้สึกว่ามันใช่ รู้สึกว่าเราสบายใจที่เราจะเชื่อแบบนั้น และความเชื่อนั้นก็ไม่ควรที่จะทำให้ใครเดือดร้อน 2.การเปลี่ยนแปลงความเชื่อ มันอยู่ที่ตัวเราว่าเราพร้อมที่จะเปิดใจรับความเชื่อใหม่หรือไม่

1.การที่เราจะบอกได้ว่าความเชื่อไหนถูกหรือผิด เราคงจะต้องถามตัวเราเองว่าเราเองรู้สึกว่าความเชื่อไหนที่เรารู้สึกว่ามันใช่ รู้สึกว่าเราสบายใจที่เราจะเชื่อแบบนั้น และความเชื่อนั้นก็ไม่ควรที่จะทำให้ใครเดือดร้อน 2.การเปลี่ยนแปลงความเชื่อ มันอยู่ที่ตัวเราว่าเราพร้อมที่จะเปิดใจรับความเชื่อใหม่หรือไม่

1.ตอบ ดูได้จากว่าความเชื่อนั้นๆทำให้เราสบายใจมีความสุขและไม่สร้างความเดือดร้อนหรือปัญหาให้ผู้อื่น

2.ตอบ เปิดใจตัวเองและพิจารณาว่าความเชื่อนั้นๆส่งผลดีต่อเราจริงหรือไม่และมีเหตุผลอะไรที่เราจะปรับหรือไม่ปรับเปลี่ยนความคิด ความเชื่อนั้นๆ

นายณัฐภัทร ไพฤทธิ์ รหัส6110710023 คณะเภสัชศาสตร์ สาขาอุตสาหกรรม1.ความเชื่อถูกสร้างขึ้นมาจากความคิดเห็นในมุมมองของตัวผู้เชื่อเอง หากต้องการทราบข้อเท็จจริง ต้องเปิดใจยอมรับข้อคิดเห็นของคนอื่น เพื่อทราบข้อเท็จจริงในหลายๆมุมอง แล้วผ่านกระบวนการคิดอย่างเป็นเป็นกลางอีกครั้งซึ่งจะทำให้ความเชื่อที่เรามีนั้นจะถูกต้องที่สุด2.หากเป็นความเชื่อที่ผิดแล้วเรารู้ว่ามันผิดหรือไม่ดีแล้วมันสร้างสิ่งที่ทำลายชีวิตของเรา เราก้ต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการคิดโดยเริ่มจากค่อยๆเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่มาจากความเชื่อนั่นและค่อยๆปลูกฝังความเชื่อที่ดีใหม่เข้าไปแทนที่ การแทนที่ความเชื่ออาจต้องใช้เวลา แต่ก็คุ้มค่าแก่การพัฒนาตนเองอย่างยั่งยืน

นายปภังกร ฐานิสสร รหัส 6110710035 คณะเภสัชศาสตร์ มอ. 1.ความเชื่อนั้น เกิดจากการที่เรายึดมั่นในสิ่งใดสิ่งนึงด้วยความศรัทธาอันแรงกล้า ซึ่งความเชื่อนี้อาจเกิดจากสิ่งต่างๆในชีวิตประจำวันหรืออาจจะเป็นสิ่งที่เหนือธรรมชาติ อันเป็ยอิทธิพลต่อความคิดของเรา 2.ความเชื่อของเรานั้นจะเปลี่ยนแปลงเมื่อมความเชื่อใหม่ๆเข้ามา อันอาจจะเกืดจากเหตุการ์ณในชีวืตประจำวันเปลี่ยนไป ซึ่งหากเรามีศรัทธาในความเชื่อใหม่มากกว่าความเชื่อเก่า ความเชื่อของเราจะเปลี่ยนไป

นายชลสิทธิ์ กาญจนธัญลักษณ์ รหัส 6110710012 คณะเภสัชศาสตร์ อุตสาหการ1.ผมคิดว่าความเชื่อของคนเราไม่มีถูกหรือผิด แต่การที่เราคิดว่าความเชื่อที่เราเชื่อนั้นถูกก็ต่อเมื่อเราได้ปฏิบัติตามความเชื่อของเรา2.การที่เราจะสร้างความเชื่อมาแทนที่ความเชื่อของเราก่อนอื่นเราก็ต้องหาความเชื่อที่มันอิมแพคหรือบุคคลทีเป็นต้นแบบของเราที่เราชื่นชอบและสามารถทำให้เราเปลี่ยนแปลงความเชื่อไปตมกระแสของคนนั้นด้วย

ความเชื่อ มาจากประสบการณ์หรือสิ่งที่ได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก สิ่งมีสิ่งแวดล้อมรอบตัวเป็นอิทธิพลหลักของความเชื่อ ได้แก่ ครอบครัว เพื่อน ญาติพี่น้อง ครูหรือคนรอบตัว ทั้งจากคำสอนของพ่อแม่หรือบุคคลรอบตัว จากการทำกิจกรรมต่างๆที่ได้พบเจอมา ทำให้มีความเชื่อของตัวเองเกิดขึ้น 1. เราจะทราบได้อย่างไรว่าความเชื่อของเรานั่นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง? –>ความเชื่อไม่อาจบอกได้ตายตัวว่าถูกหรือผิด เพียงแต่บอกได้เพียงว่าเหมาะสม ควรทำหรือไม่ควรทำ โดยคำนึงถึงผลที่ตามมาหากนำความเชื่อนั้นไปปรับใช้ในชีวิตจริง 2.หากเราต้องการจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือความเชื่อ เราควรเริ่มต้นจากการเปิดใจ ยอมรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากผู้อื่น ด้วยใจที่เป็นกลาง แล้วนำมาคิดพิจารณาว่าดีหรือไม่ และนำไปทดลองปฏิบัติ เพื่อดูผลของการทำในครั้งนั้น

6110710021 คณะเภสัชศาสตร์​สาขาอุตสาหการ1.ความเชื่อนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในตัวเฉพาะบุคคลเราไม่สามารถบังคับคนอื่นหรือให้คนอื่นมาบังคับเราให้เชื่อแบบเดียวกัน​เหมือนกันและความเชื่อก็เกิดขึ้นมาจากหลายสาเหตุ​หลายปัจจัย​ การที่เราจะรู้ได้ว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นถูกหรือผิด​ก็ต้องมีการหาข้อเท็จจริง​ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ​และที่สำคัญคือการเปิดใจยอมรับคนอื่นฟังความเห็น​ต่าง​จากคนที่เค้าไม่ได้เชื่อหรือคิดแบบเดียวกับเรา​2.ถ้าเรามีควมชื่อผิดๆส่งเสริมพฤติกรรมที่ไม่ดีจะสามารถหาสิธีเปลี่ยนความเชื่อใหม่ได้คือ​การที่เรารับฟังคนที่เห็นที่คอยเตือน​ บอกว่าสิ่งนั้นไม่ดี​ เราอาจจะไม่ต้องเชื่อตอนนั้นส่าไท่ดีแต่เราจะสัมผัสได้เองวันนึงว่าพฤติกรรมที่เราทำตอนนี้ไม่ดี​ เราจะต้องเปลี่ยนความเชื่อใหม่​เพื่อสร้างพฤติกรรมมใหม่ที่ดีต่อเราและคนรอบข้าง​

1.ทราบได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง

เราต้องพิสูจน์หรือพิจารณาเองว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นมันถูกต้องและเหมาะสมกับเรา โดยหาข้อมูลหรือถามจากผู้มีประสบการณ์

2.ถ้าต้องการจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้มาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร

ต้องเปลี่ยนความคิด หาข้อดีและข้อเสียของความเชื่อเก่า แล้วลองเปิดใจให้ความเชื่อใหม่ซึ่งอาจจะทำให้ตัวเราเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น

6110712005 คณะเภสัชศาสตร์. 1)ในความคิดเห็นส่วนตัวความเชื่อส่วนใหญ่เกิดจากที่ครอบครัวหรือผู้ใหญ่ปลูกฝังเรามาตั้งแต่เด็กๆ แต่ละคนแค่มาจากต่างที่ต่างถิ่นก็มีความเชื่อไม่เหมือนกันเพราะได้รับประสบการณ์ที่แตกต่างกัน 2)ซึ่งความเชื่อที่เราเชื่อกันนั้นบางอย่างก็อาจจะถูกบางอย่างก็อาจจะผิดแต่ถ้าความเชื่อของเราไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนและถ้าเราเชื่อแล้วสบายใจก็จะขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล แต่ก็ควรเปิดใจรับความเชื่อใหม่ๆอยู่เสมอ 3)การปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ต่างๆ บางอย่างก็อาจจะต้องปรับที่ความเชื่อ ความคิด และทัศนคติเกี่ยวกับสิ่งนั้น อาจจะทำให้มีพฤติกรรมที่ดีขึ้นได้ และพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างก็อาจเกิดจากความเคยชินของเราเอง อาจจะแก้ไขได้ยากสักหน่อยแต่ก็สามารถปรับพฤติกรรมให้ดีขึ้นได้โดยการใช้ความเชื่อว่าเราทำได้ และความอดทน

สำหรับดิฉัน แต่ละคนมักจะมีความเชื่อที่ไม่เหมือนกัน เพราะต่างก็เติบโตมาในครอบครัว และ สภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน สิ่งเหล่านั้นอาจทำให้เกิดความเชื่อที่ต่างกัน ความเชื่อมักจะถูกปลูกฝัง และถ่ายทอดมาจากสมาชิกในครอบครัวในรุ่นก่อนหน้า ถึงแม้ว่ากาลเวลาจะเปลี่ยนแปลงไป แต่ก็มักจะมีความเชื่อเก่าๆที่ถูกฝังอยู่ในจิตใจของคนรุ่นใหม่อยู่ดี (1)แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง เราจะต้องพิจารณาไตร่ตรองว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นมันถูกต้องจากการที่ความเชื่อเหล่านั้นไม่ทำให้ตัวของเรา หรือผู้อื่นเกิดความเสียหายหรือทุกข์ใจ ตราบใดที่ความเชื่อของเรานั้นไม่สร้างความเดือดร้อนให้ใคร ความเชื่อเหล่านั้นก็จะยังเป็นความเชื่อที่ถูกต้องอยู่(2)ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร อย่างแรกสิ่งที่เราจะต้องทำคือการเปลี่ยนแปลงมุมมองของความคิด รู้จักคิดต่าง และเปิดความคิดและมุมมองให้กว้างขึ้น รู้ข้อดีและข้อเสียของความคิดเก่า และเปลี่ยนแปลงแก้ไขในสิ่งที่เป็นข้อเสียให้กลับกลายเป็นข้อดี สิ่งเหล่านั้นก็จะกลายเป็นความเชื่อใหม่ที่ถูกต้องในทันที

6110712015 คณะเภสัชศาสตร์หากเราต้องการที่จะทราบว่าความเชื่อที่เรามีอยู่นั้นถูกหรือผิด เราอาจจะต้องนึกถึงที่มาของความเชื่อนั้นๆก่อน ไม่ว่าจะได้รับมาเพราะคำพูดของคนอื่น หรือเราสร้างมันขึ้นมาเองจากประสบการณ์ของตัวเรา เราจึงจะสามารถจัดการกับความเชื่อนั้นได้อย่างถูกวิธีและตรงประเด็น โดยการวิเคราะห์ว่าความเชื่อนั้นถูกหรือผิดนั้นต้องอาศัยการคิดหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการคิดแบบเชิงตรรกะและเหตุผล หรือแม้แต่การคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ เป็นต้นหากเราต้องการที่จะปรับเปลี่ยนนิสัยพฤติกรรมของเรา เราต้องทราบก่อนว่าความเชื่อนั้นผิดหรือถูกอย่างไร แล้วให้เราลองทำอะไรใหม่ๆดูบ้าง อยากจะเจอความเชื่อใหม่ๆที่จะส่งผลดีต่อเรามากขึ้น

คณะแพทยศาสตร์ กายภาพบำบัด1)ในความคิดเห็นส่วนตัวความเชื่อส่วนใหญ่มาจากหลายๆปัจจัยรวมกันเช่นจากครอบครัว จากประสบการณ์เป็นต้น ซึ่งแต่ละคนล้วนมีความคิดแตกต่างกันไปเนื่องจากครอบครัวและประสบการณ์นั้นเป็นสิ่งที่เป็นปัจเจกบุคคล อีกทั้งเหล่าคำสอนต่างๆที่ได้รับจากครอบครัวก็เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเชื่อใหม่ๆได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นการที่เราจะตัดสินใจว่าความเขื่อนั้นถูกต้องจะต้องใช้ประสบการณ์ในการมาตัดสิน 2) การที่จะสร้างความเชื่อใหม่มาทดแทนความเชื่อเก่าๆนั้นจะต้องนำประสบการณ์ของเราที่เราได้เรียนรู้ในการใช้ชีวิตมาเป็นประเด็นในการพิจารณาความเชื่อเพื่อเป็นข้อพิสูจน์ในการปรับเปลี่ยนความเชื่อใหม่ๆ แต่ในการปรับเปลี่ยนความเชื่ออาจจะมีผลกระทบบ้างเช่นความไม่คุ้นชินเป้นต้น ดังนั้นในการปรับเปลี่ยนเพื่อสิ่งใหม่ๆก็ควรจะมีความอดทนและเชื่อมั่นในตนเอง

รหัส 6110710006 คณะเภสัชศาสตร์ ความเชื่อของคนเราแตกต่างกันไปตามประสบการณ์ อายุ หรือแม้แต่ศาสนาหรือถิ่นที่อยู่อาศัย โดยความเชื่อเป็นสิ่งที่เป็นธรรมชาติของมนุษย์ความเชื่อไม่มีผิดไม่มีถูก ขึ้นอยู่กับวิจารณญานและการตัดสินใจของคนนั้นๆโดยความเชื่อนั้นนั้นให้ทั้งประโยชน์เเละโทประโยชน์ที่จะได้รับจากความเชื่อ

       1. ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในการดำเนินชีวิตมากยิ่งขึ้น  เพราะมีสิ่งที่เชื่อถือเป็นสิ่งยึดเหนี่ยว
  1. ทำให้เกิดกำลังใจและพลังที่จะต้องสู้กับอุปสรรค หากรู้สึกว่าตนเองมีสิ่งที่เชื่อถือคุ้มครอง

  2. ทำให้เกิดความสุขใจหากได้ปฏิบัติตามความเชื่อที่มีอยู่

โทษที่จะได้รับจากความเชื่อ

  1. อาจทำให้หลงผิดและปฏิบัติตนไปในทางที่ผิดได้

  2. อาจทำให้เสียโอกาสในการกระทำสิ่งต่างๆ ได้เพราะมัวแต่รอฤกษ์ยาม

  3. อาจทำให้เกิดความเชื่อมั่นมากเกินไปจนกลายเป็นความประมาทและทำให้เกิดความสูญเสียได้

1.ในความเห็นของดิฉันดิฉันคิดว่าความเชื่อเกิดจากการรับรู้ ซึ่งมาจากกระทำของตนเองและสภาพแวดล้อมหล่อหลอมให้เกิเป็นความเชื่อ ไม่ว่าจะมาจากการเห็นแล้วก็เชื่อ การฟังทั้งที่เราคิดว่าดีและไม่ดีหากเกิดความคิดเหล่านั้นแล้วนั่นก็คือความเชื่อเช่นกันอีกทั้งยังเกิดจากประสบการณ์ในช่วงเวลาที่ผ่านมาเป็นทิศทางของความเชื่อให้เราและสุดท้ายสำคัญที่สุดคือการที่ใจเราเปิดรับสิ่งเหล่านั้นจนเกิดเป็นความเชื่อเพราะอสิ่งใดเมื่ออยู่ในใจแล้วก็จะคงอยู่นานและลบล้างได้ยากที่สุด2.สำหรับดิฉันคิดว่าความเชื่อนั่นถูกหรือผิด ดิฉันตัดสินจากผลลัพธ์ที่อสดงออกมาว่ามันส่งผลดีหรือร้าย มันให้ความสุขหรือทึกข์แก่เราและคนรอบข้าง โดยแารตัดสินนี้ต้องปราศจากอคติทางลบและกิเลสในจิตใจ ถ้าความเชื่อนั้นนำเราไปเจอสิ่งที่ดีและมีความสุขก็จงมั่นใจว่านั่นคือความเชื่อที่ถูกต้อง แต่ถ้าไม่ก็คงจะเป็นตรงกันข้าม นั่นคือความเชื่อที่ผิด และสุดท้ายสิ่งที่สำคัญคือประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมาจะเป็นตัวการันตีว่าความเชื่อของเราถูกหรือผิด ขอบคุณค่ะ ???

1) ความเชื่อมาจากหลายสาเหตุขึ้นอยู่กับจิตใจของแต่ละบุคคล สภาพแวดล้อมและประสบการณ์ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะหล่อหลอมให้ความเชื่อของแต่ละคนต่างกันไป2)ความเชื่อนั้นจะถูกผิดก็ขึ้นอยู่กับว่าจะส่งผลร้ายหรือผลดีต่อเราอย่างไร ถ้าเป็นความเชื่อที่ถูกก็จะส่งผลดีต่อเราและคนอื่น แต่ถ้าเป็นความเชื่อที่ผิดก็จะส่งผลร้ายต่อเราและคนอื่น3)การที่จะสร้างความเชื่อใหม่ได้ก็ควรเริ่มจากตัวเราก่อน โดยเริ่มเปลี่ยนแปลงความเชื่อไปทีละเล็กน้อย ทำซ้ำๆจนเป็นความเคยชิน จนกลายเป็นความเชื่อใหม่ในที่สุด

ความเชื่อที่ถูกต้องจะต้องไม่ก่อให้เกิดพฤติกรรมหรือความคิดที่ไม่ดี ในกรณีที่เราต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ดี เราจะต้องเปิดประตูความคิดของตัวเอง ยอมรับสิ่งใหม่ๆให้เข้ามาโดยไม่ยึดติดกับความเชื่อเดิม

นักศึกษารหัส 6110712022 คณะเภสัชศาสตร์ » เราจะทราบได้อย่างไรว่า “ความเชื่อ”ของเราถูกต้อง เราก็ต้องมีสติ ไม่ใช้อารมณ์มาตัดสินแต่ใช้ปัญญามาตัดสิน เพราะในบางเรื่องเราก็รู้ว่าอะไรผิดหรือถูก แต่มนุษย์มักเชื่อในสิ่งที่ตนเองอยากจะเชื่อ แต่ไม่อยากที่ตะยอมรับความจริง กล่าวคือเราต่างรู้อยู่แก่ใจว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด แต่เราเลือกที่จะเชื่อสิ่งที่ถูกหรือผิดนั้นต่างหาก และหากเราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่าง เราจะสามารถเปลี่ยนความเชื่อได้โดยการเปลี่ยนทัศนคติและความคิดของตนเอง ยอมรับความจริง และก้าวไปข้างหน้า เราไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนความคิดเก่าๆเราทั้งหมด เพียงแต่เลือกเก็บบางความคิดไว้หากว่าเป็นประโยชน์และปรับปรุงในบางอย่างที่ไม่เกิดประโยชน์และพัฒนาสิ่งนั้นให้ดีขึ้น

ความเชื่อมาจากคนอื่นและการไตร่ตรอง โดยการที่เราได้ยินที่คนอื่นเล่าอะไรมา ถ้าหลายๆคนเล่าแบบนี้เหมือนกันเราก็จะเชื่อมากว่าที่คนเดียวบอกมา แต่จะให้เชื่อ100%ก็ต้องไตร่ตรองดูก่อนว การจะรู้ว่าความเชื่อเราถูกหรือไม่ รู้ได้จากผลลัพธ์ที่ตามมา ถ้าเราเชื่ออะไรแล้วทำตามสิ่งที่เราเชื่อ ผลลัพธ์ออกมาทำให้เกิดปัญหาสร้างความเดือดร้อน แสดงว่าสิ่งที่เราเชื่อมันผิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์สามารถเปลี่ยนได้จากการปรับเปลี่ยนความคิดหรือความเชื่อ โดยอาจจะได้จากประสบการณ์ที่ผ่านมา หรือคำปรึกษาจากคนรอบข้าง6110710001 คณะเภสัชศาสตร์

1 ความเชื่อคือการเชื่อว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นจริงโดยที่อาจจะมีเหตุผลประกอบความเชื่อนั้นหรือไม่มีเหตุผลใดๆเลยก็ได้ ความเชื่อมาจากการที่เรารู้สึกเคารพหรือยึดมั่นกับสิ่งนั้นว่าเป็นความจริงในความคิดเรา2 ความเชื่อที่เรามีนั้นมีทั้งถูกต้องและผิด บางสิ่งต้องใช้เวลาในการเรียนรู้สั่งสมประสบการณ์เพื่อให้รู้ถึงความเป็นจริงที่สุดเพื่อตัดสินใจอีกครั้งว่าความเชื่อของเรายังคงเดิมไหม มีความถูกต้องหรือผิดอย่างไร ส่วนมากเราจะเชื่อตามผู้ที่มีอิทธิพลต่อเราเช่นพ่อแม่ เพื่อน ครูหรือไอดอล หรือเกิดจากการที่สิ่งแวดล้อมที่เราอยู่หล่อหลอมเราจนมีความเชื่อนั้น

1) ความเชื่อเกิดจากสิ่งที่เราได้พบเจอ ประสบการณ์ต่างๆในชีวิต รวมถึงสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเรา ซึ่งสุดท้ายแล้วก็ขึ้นอยู่กับตัวเราเองว่านะเชื่อหรือไม่2) ความเชื่อของเราถูกหรือผิด? ในบางกรณีก็อาจจะพิสูจน์ได้ว่าจริงหรือไม่จริง แต่ในบางกรณีก็จำเป็นต้องอาศัยวิจารณญาณของเราเอง ซึ่งถ้าไม่ได้ทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อนก็ไม่ได้มีความน่าเป็นห่วงอะไร3) ต้องปรับเปลี่ยนความคิดตัวเอง แล้วเปิดรับความเชื่อนั้นๆ แล้วพิจารณา ปฏิบัติตามให้เหมาะสม

1.ก่อนที่จะเชื่อสิ่งใด ควรผ่านการคิดวิเคราะห์แยกแยะให้รู้ถึงสิ่งนั้นๆอย่างลึกซึ้ง ให้รู้ถึงแก่นแท้ของความจริง โดยการหาความรู้เพื่อเพิ่มความเข้าใจในสิ่งนั้น พอเรามีความรู้หรือความเข้าใจมากพอแล้ว เราจะแยกแยะได้เองว่า สิ่งที่เชื่อมันถูกหรือผิดอย่างไร 2.ก่อนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ไม่ดีของเรานั้น แสดงว่าเราต้องรู้ตัวเองว่า ความเชื่อปัจจุบันที่เรากำลังกระทำหรือปฏิบัตินั้นมันยังไม่ดี ยังไม่ทำให้ตัวเราดีขึ้นหรือส่งผลดีต่อตัวเรา เราจึงเปลี่ยนความคิดว่า ถ้าเราเชื่อในความคิดใหม่ เปลี่ยนแปลงความเชื่อปัจจุบันให้เป็นความเชื่อใหม่ที่ดีขึ้น มันจะทำให้ความคิดเราโตขึ้น ตัวเราเองดูดีขึ้นและส่งผลดีต่อตัวเรามากขึ้นที่จะทำให้ชีวิตเราเจริญไปข้างหน้าได้มากกว่าความเชื่อปัจจุบันหรือความเชื่อเก่าๆที่เราเคยเชื่อหรือปฏิบัติมาโดยตลอด

นักศึกษารหัส 61103110071.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?- ความเชื่อล้วนมาจากหลายความคิดจากหลายบุคคล หากเรามีความคิดเห็นที่คล้ายคลึงกับบุคคลอื่นก็สามารถหล่อหลอมความคิดนั้นมาเป็นความเชื่อได้ แท้จริงแล้วธรรมชาติกำหนดให้ความเชื่อเป็นกฎที่ไม่ตายตัวแต่มีความหนักแน่นจากการกระทำของบุคคล ดังนั้นการที่คิดว่าความเชื่อถูกต้องหรือไม่นั้นควรพิจารณาจากรากฐานความเชื่อหากเป็นสิ่งที่ทำให้ยึดมั่นและมั่งคงถึงปัจจุบัน คงต้องยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?- ความเชื่อเปลี่ยงแปลงได้เสมอ หากมนุษย์มีความคิดที่ดีย่อมต้องการที่จะเปลี่ยนความเชื่อจากไม่ดีกลายเป็นดีได้อย่างแน่นอน เพียงแต่เราต้องเปิดรับการยินยอมการเปลี่ยนแปลงนั้นให้ได้

นักศึกษาเภสัชศาสตร์ 6110710022 »1.ในความคิดผมความเชื่อของคนเราน้ันจะแตกต่างกันเนื่องจาก แต่ละคนมีสภาพแวดล้อมหรือสังคมแตกต่างกัน ความเชื่อนั้นเป็นสิ่งที่มีทั้งดีและไม่ดีและเราจะทราบได้อย่างไรว่าความเชื่อนั้นเป็นสิ่งที่ถูกหรือผิด ทุกคนรู้อยู่ดีกับใจว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นเป็นสิ่งที่ส่งผลเสียต่อผู้อื่นหรือไม่ หากเป็นสิ่งที่ไม่ดีเราก็ควรจะปรับเปลี่ยนความเชื่อนั้น หรือเลิกคิดแบบนั้น แต่ถ้าเป็นสิ่งที่ดีแล้วไม่กระทบใครเราก็สามารถเชื่อสิ่งนั้นต่อไปได้ 2.เราจะปรับเปลี่ยนความเชื่อนั้นอย่างนั้น เราจะต้องคิดและไตร่ตรองให้ถี่ถ้วนว่าความเชื่อนั้นเป็นสิ่งที่ดีต่อเราถึงแม้ว่าเราไม่ชอบ แต่ถ้าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ดีและจริง เราก็ควรจะปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อสิ่งนั้นและนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

นักศึกษารหัส 6110710072.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?- ความเชื่อล้วนมาจากความไม่รู้ แท้จริงแล้วธรรมชาติกำหนดให้ความเชื่อเป็นกฎที่ไม่ตายตัวแต่มีความหนักแน่นจากการกระทำของบุคคล ดังนั้นการที่คิดว่าความเชื่อถูกต้องหรือไม่นั้นควรพิจารณาจากรากฐานความเชื่อหากเป็นสิ่งที่ทำให้ยึดมั่นและมั่งคงถึงปัจจุบัน คงต้องยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง โดยต้องวิเคราะห์และสังเคราะห์จากความรู้ตามความจริง2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?- ความเชื่อเปลี่ยงแปลงได้เสมอ เราต้องเปิดรับการยินยอมการเปลี่ยนแปลงนั้นให้ได้ เปิดใจมองสิ่งใหม่ๆ

ความเชื่อนั้นเกิดจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวของเราเอง ซึ่งอาจจะมีทั้งความเชื่อที่ถูก ความเชื่อที่ผิด และความเชื่อของแต่ละคนนั้นก็จะต่างกันอีก ความเชื่อที่ถูกต้องนั้น จะนำพาเราไปสู่สิ่งที่ดี ความคิดดีๆ ส่วนความเชื่อที่ผิด ก็จะเกิดผลตรงข้าม กรณีที่ต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมนั้น เราก็ต้องสร้างความเชื่อใหม่เพื่อมาแทนความเชื่อเก่า แต่ก็ต้องตระหนักว่า สิ่งที่เราเชื่อนั้น จะทำให้เราเป็นคนที่ดีได้หรือไม่ และนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

นักศึกษารหัส 6110710059 1)ความเชื่อเกิดจากความคิดของคนซึ่งจะเป็นเรื่องจริงหรือไม่จริงก็ได้ ซึ่งสิ่งนั้นไม่สามารถหาข้อพิสูจน์ว่าเป็นจริงหรือเปล่า เเต่คนเรานั้นจะยึดติดกับสิ่งนั้นหรือเปล่าก็เเล้วเเต่ความคิดของคนๆนั้นว่าจะคิดยังไง 2)ถ้าเราจะเปลี่ยนความเชื่อของคนก็ต้องเริ่มจากการเปลี่ยนความคิดก่อนเพราะความเชื่อเกิดจากความคิดของคนที่คิดขึ้นมา ว่าสิ่งนั้นมันยังไม่ใช่ที่สิ้นสุดค่อยหาประสบการณ์ใหม่ๆเพื่อที่จะให้คนๆนั้นมองอะไรได้กว้างขึ้นกว่าเดิมทำให้เกิดความคิดใหม่ๆเพื่อที่จะมาทดเเทนความคิดเก่าโดยเกิดจากสิ่งที่เค้าได้เจอจริงๆถ้าคนๆนั้นคิดว่าสิ่งที่เจอดีกว่าเดิมก็จะสามารถเเทนที่ความคิดเดินของคนๆนั้นได้

นักศึกษารหัส 61103110321 เราจะทราบได้อย่างไรว่าความเชื่อนั้นถูก : ความเชื่อของคนเรานั้นถูกปลูกฝั่งมาจากพ่อแม่ สัญชาตญาณ และจากการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่พบเจอด้วยตนเอง ดังนั้นความเชื่อของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกันอยู่แล้ว ถ้าเราคิดว่าความเชื่อที่เราเชื่อมันถูกแล้วสบายใจก็เชื่อต่อไป 2.เราจะสร้างความเชื่อใหม่เข้ามาแทนความเชื่อเก่าได้อย่างไร : เราจะมีความเชื่อใหม่มาแทนก็ต่อเมื่อเราเริ่มสงสัยในความเชื่อเดิม หรือเกิดความไม่สบายใจในความเชื่อเดิม ในตอนนั้นเองเราจะเกิดความสับสนและคำถามมากมายในหัว แต่เมื่อเราหาคำตอบที่เราต้องการได้แล้ว เราก็เกิดความเชื่อใหม่ขึ้นมาแทน

เราจะทราบได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรานั้นเป็นเชื่อที่ถูก ?
ความเชื่อส่วนใหญ่มาจากความคิดของเรา โดยจะแสดงออกของความเชื่อผ่านพฤติกรรมในแต่ละวันถ้าถามว่าเราจะทราบได้อย่างไรว่าความเชื่อเราถูก เราจะคงจะทราบได้จากพฤติกรรมที่แสดงออกมาแล้วไม่ได้ผิดศีลธรรม ผิดวัฒนธรรม หรือผิดกฎหมาย อีกทั้งพฤติกรรมนั้นไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน หรือความเชื่อของแต่ละคนอาจจะไม่มีผิดถูก แต่ขึ้นอยู่กับเวลา สถานที่ ของแต่ละช่วงนั้น
เราจะเปลี่ยนความเชื่อของเราได้อย่างไร เมื่อความเชื่อเราเป็นความคิดที่ผิด ?
เราควรจะยอมรับว่าความเชื่อเรานั้นเป็นความเชื่อที่ผิด ยอมรับที่จะปฏิเสธความเชื่อที่เราคิดบ่อย และหาประสบการณ์ใหม่ๆที่จะทำให้เราพบเจอกับความเชื่อใหม่ๆ อยู่กับปัจจุบันไม่อยู่กับความคิดในอดีต6110710002 คณะเภสัชศาสตร์

นักศึกษารหัส 6110311031 1.) เราจะทราบได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรานั้นเป็นเชื่อที่ถูก ?โดยส่วนตัวคิดว่าความเชื่อนั้นเกิดจากสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ดังนั้นความเชื่ออาจจะมึงทั้งที่ถูกหรือผิด เพราะแต่ละคนก็เชื่อในความเชื่อของตัวเอง ดังนั้นผมคิดว่าความเชื่อที่ถูกนั้นต้องไม่ไปรบกวนหรือเบียดเบียนผู้อื่น และควรเปิดใจรับความคิดใหม่ๆ ไม่ยึดติดกับความเชื่อเดิมๆ 2) เราจะเปลี่ยนความเชื่อของเราได้อย่างไร เมื่อความเชื่อเราเป็นความคิดที่ผิด ?เราก็ควรที่จะยอมรับว่าความเชื่อเรานั้นผิด และเปิดใจรับประสบการณ์ใหม่ๆ เปิดใจรับความคิดใหม่ๆ ไม่ต้องคำนึงถึงที่ความเชื่อที่เราได้รับมาตอนแรก

6110710026 คณะเภสัชศาสตร์ 1.ความเชื่อเกิดได้ทั้งจากปัจจัยที่เป็นนามธรรม เช่น สัญชาตญาณ เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคมการจะแสดงพฤติกรรมที่เหมือนๆกันได้ย่อมมีพื้นฐานมาจากความเชื่อเดียวกันก่อน ส่วนปัจจัยที่เป็นรูปธรรมก็คือความเชื่อที่มาจากการทดลองการพิสูจน์ซึ่งถือเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์รับรู้ได้จากประสาทสัมผัสหรือปรากฏการ์ณทางธรรมชาติจนเชื่อถึงสิ่งนั้น 2.การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ต้องใช้หลักการที่ว่าความเชื่อเป็นรากเหง้าของความคิดและเป็นรากเหง้าของพฤติกรรมตามลำดับ ดังนั้นจะเปลี่ยนพฤติกรรมได้ต้องเริ่มจากการเปลี่ยนแปลงความเชื่อซึ่งต้องค่อยๆเปลี่ยนแปลงถ้าเราคิดว่าความเชื่อเดิมไม่ถูกต้องหรือผิดต้องค่อยๆปรับเปลี่ยนหรือยอมรับ จนสุดท้ายความเชื่อของเราจะเปลี่ยนแปลงส่งผลให้แสดงพฤติกรรมที่ถูกเปลี่ยนจากความเชื่อในที่สุด

รหัส 61107100911.ความเชื่อของเราบางทีอาจจะตอบไม่ได้แท้จริงว่าถูกหรือผิดขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยเช่นยุคสมัย สถานการณ์บางความเชื่ออาจจะถูกต้องแค่บางเวลา แต่แค่ความเชื่อของเราไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อนนั่นก็เพียงพอแล้ว2.การที่เราจะนำความเชื่อใหม่เข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่า ขึ้นอยู่กับเราต้องการเปลี่ยนแปลงตัวเองหรือความคิดของตัวเอง ดังนั้นความเชื่อและความคิดของเราจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่เราต้องการ

6110712050ความเชื่อมีจุดเริ่มต้นมาจากอุปนิสัยส่วนตัว ซึ่งมีผลมาจากครอบครัว และสภาพแวดล้อม 1.ความเชื่อหนึ่งๆอาจจะถูกต้องในเวลาหนึ่ง และอาจจะไม่ถูกต้องเมื่อเวลาผ่านไปแล้วก็ได้ เราสามารถตรวจสอบได้จากตัวเรา ถ้าเราทำแล้วมีความสุข ไม่ก่อให้เกิดผลเดือดร้อนตามมาทีหลัง มันก็จะถูกต้อง แต่ถ้าผลที่เกิดมาตรงกันข้าม มันก็จะผิด2.การที่เราจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ความคิด ความเชื่อได้นั้น เราต้องเป็นคนที่เปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ ความเชื่อเก่าที่ผิด ก็จะถูกบิดเบียน เพื่อกลายเป็นความเชื่อใหม่ที่ถูกต้องได้

ในมุมมองส่วนตัวคิดว่าความเชื่อเกิดจากสภาพแวดล้อมรอบข้างที่เราอาศัยอยู่ ไม่ว่าจะเป็นปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นจนทำให้กลุ่มคนนำมาวิเคราะห์ ทำนายต่างๆ นาๆ จนเกิดเป็นความเชื่อ แต่หลักๆแล้วผมคิดว่าความเชื่อนั้นถูกถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษมากกว่า จริงๆเราอาจจะไม่ได้อยากเชื่อมันด้วยซ้้ำว่าไหมครับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นความเชื่อก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแต่ละบุคคลด้วย เพราะเราไม่สามารถพิสูจน์ความเชื่อแต่ละความเชื่อได้ด้วยกระบวนการต่างๆ แม้จะเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก็ตามแต่ และผมก็คิดว่าคนๆหนึ่งจะเชื่ออะไรบางอย่างก็ต้องได้รับการพิจารณาอย่างดีแล้วแน่นอนว่าความเชื่อนั้นจะส่งผลดีต่อตัวเองในด้านต่างๆ แน่นอน ซึ่งความเชื่อและการกระทำที่เกิดขึ้นจะส่งผลต่อพฤติกรรมที่ตามมาแน่นอน อย่างไรก็ตามไรก็ไม่สามารถตัดสินได้ว่าความเชื่อนี้ถูกความเชื่อนั้นผิด และควรหลีกเลี่ยงการถกเถียงกันในเรื่องดังกล่าว

1.)ความเชื่อของคนเรานั้นไม่มีผิดหากตั้งอยู่บนศีลธรรม จริยธรรม เพราะความเชื่อของแต่ละบุคคลย่อมแตกต่างกัน ด้วยพฤติกรรมความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันที่แตกต่าง ถามว่าความเชื่อที่เราเชื่อนั้นถูกไหม เราต้องดูว่าสิ่งเราเชื่อนั้น เกิดผลดีต่อเราไหม หรือทำให้ชีวิตเราดีขึ้นไหม และความคิดของเราไปก่อความเดือดร้อนให้คนอื่นไหม หากมีแต่ข้อเสียมากกว่าข้อดีที่เกิดขึ้นกับตัวเราและคนรอบข้างก็ถือเป็นความเชื่อที่ผิด 2.)วิธีที่จะเปลี่ยนความเชื่อจากความเชื่อเดิม โดยให้เรามองหาดูว่าข้อเสียของความเชื่อเดิมมีผลเสียขนาดไหน และผลดีของการเปลี่ยนความเชื่อมีผลดีอย่าง เพื่อเป็นแรงจูงใจในการ เปลี่ยนความคิดไปสู่ความคิด

1.)ความเชื่อของคนเรานั้นไม่มีผิดหากตั้งอยู่บนศีลธรรม จริยธรรม เพราะความเชื่อของแต่ละบุคคลย่อมแตกต่างกัน ด้วยพฤติกรรมความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันที่แตกต่าง ถามว่าความเชื่อที่เราเชื่อนั้นถูกไหม เราต้องดูว่าสิ่งเราเชื่อนั้น เกิดผลดีต่อเราไหม หรือทำให้ชีวิตเราดีขึ้นไหม และความคิดของเราไปก่อความเดือดร้อนให้คนอื่นไหม หากมีแต่ข้อเสียมากกว่าข้อดีที่เกิดขึ้นกับตัวเราและคนรอบข้างก็ถือเป็นความเชื่อที่ผิด 2.)วิธีที่จะเปลี่ยนความเชื่อจากความเชื่อเดิม โดยให้เรามองหาดูว่าข้อเสียของความเชื่อเดิมมีผลเสียขนาดไหน และผลดีของการเปลี่ยนความเชื่อมีผลดีอย่าง เพื่อเป็นแรงจูงใจในการ เปลี่ยนความคิดไปสู่ความคิด

นักศึกษารหัส 6110710069 1.เราจะทราบได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีนั้นเป็นความเชื่อที่ถูก ส่วนตัวดิฉันคิดว่าความเชื่อล้วนเกิดจากการที่เราได้พบเจอหรือการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เราคิดว่าสิ่งเหล่านั้นคือสิ่งที่ถูกต้องแต่ในความเป็นจริงแล้วอาจจะถูกต้องหรือไม่ถูกต้องก็ได้ แต่ในส่วนใหญ่การที่จะเกิดเป็นความเชื่อขึ้นได้นั้นล้วนต้องมีความถูกต้องอยู่ประมาณนึงและอีกส่วนนึงก็คือความคิดของเราที่ได้จากการนำมารวมกันของเหตุการณ์ต่างๆ 2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? เราจะต้องนำสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ของเรามาคิดวิเคราะห์และทบทวนดูว่าจริงๆแล้วมันคือสิ่งถูกต้องหรือเปล่า หากไม่ถูกต้องเราจะต้องหาแรงจูงใจที่เป็นสิ่งที่ถูกต้องมาทดแทนความเชื่อที่ผิดๆของเราแล้วลบความเชื่อเก่าๆออกโดยการนำความถูกต้องมาหักล้าง และเราควรที่จะเปิดใจรับความถูกที่มีให้ได้

  1. รู้ได้อย่างไรว่างความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้อง ลองเปิดใจรับความเชื่อใหม่ๆบ้างเเล้วใช่สติปัญญาไตร่ตรองให้รอบครอบเป็นกลางไม่อคติเเล้วเราก็จะรับรู้ได้ว่าความเชื่อนั้นถูกต้องหรือไม่2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไรตอบ ตั้งสติ ใช้สมองพินิจพิเคราะห์ ว่าพฤติกรรมที่เราทำแล้วไม่ดี ส่งผลอย่างไร หากเราเปลี่ยนพฤติกรรมนั้นๆ จะได้ผลที่ดีขึ้นหรือไม่ และลองทำดูให้เป็นประจำ และเป็นนิสัยเช่น หากเราอยากตื่นเช้า เราก็ลองตื่นตื่นเช้าทุกๆวัน จะทำให้เราพบข้อดีของการตื่นเช้ามากมากมายที่เป็นประโยชน์แก่เราทำให้ความเชื่อของเราเปลี่ยนแปลไปได้
  1. รู้ได้อย่างไรว่างความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้อง ลองเปิดใจรับความเชื่อใหม่ๆบ้างเเล้วใช่สติปัญญาไตร่ตรองให้รอบครอบเป็นกลางไม่อคติเเล้วเราก็จะรับรู้ได้ว่าความเชื่อนั้นถูกต้องหรือไม่2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไรตอบ ตั้งสติ ใช้สมองพินิจพิเคราะห์ ว่าพฤติกรรมที่เราทำแล้วไม่ดี ส่งผลอย่างไร หากเราเปลี่ยนพฤติกรรมนั้นๆ จะได้ผลที่ดีขึ้นหรือไม่ และลองทำดูให้เป็นประจำ และเป็นนิสัย

นักศึกษารหัส6110311003.ในความคิดเห็นของผม ข้อที่1 ผมคิดว่าในการจะดูว่าความเชื่อนั้นถูกหรือผิด อาจจะต้องใช้ข้อมูล หลักฐานต่างๆมาช่วยวิเคราะห์ แต่ทั้งนั้นแล้ว มันก็ขึ้นอยู่กับมุมมองและทัศนคติของแต่ละคน จึงอาจจะบอกได้ว่าไม่มีความเชื่อที่ผิด ถ้ามันเหมาะสม ไม่เดือดร้อน หรือไปทำให้คนอื่นเกิดอันตราย ข้อที่2 ในการสร้างความเชื่อใหม่เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม อาจจะใช้วิธีง่ายๆ โดยทำตามแนวความคิดของบุคคลที่เราประทับใจและนำความสำเร็จของเขา มาเป็นแรงบันดาลใจ แรงผลักดันให้เรามีความมุ่งมั่นมากขึ้นในการทำเป้าหมายที่เราตั้งไว้ได้สำเร็จ

6110710058 คณะเภสัชศาสตร์ 1.เราจะทราบได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีนั้นเป็นความเชื่อที่ถูก ส่วนตัว กระผมคิดว่าความเชื่อนั้นเป็นความคิดของตัวบุคคลต่างๆ ไม่มีถูกไม่ผิด เพราะแต่ละคนมีประสบการณ์ชีวิตต่างกัน แต่สิ่งที่เชื่อนั้นต้องอยู่บนหลักความจริง และ ศีลธรรม ความถูกต้อง 2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? เราต้องนำพฤติกรรมนั้นมาคิดว่าเกิดผลเสียอย่างไร และแก้โดยการเปลี่ยนวิธีคิด นำความจริงและความถูกต้องมาหักล้างความคิดที่ผิดเหล่านั้น

1ความเชื่อของเราจะถูกหรือผิดนั้นขึ้นกับการพิจารณาของตัวบุคคล ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อคือสภาพแวดล้อม สังคมรอบตัวที่ทำให้บุคคลหนึ่งมีความเชื่อที่ต่างกัน ทุกคนย่อมคิดว่าความเชื่อที่ตัวเองมีนั้นถูก ซึ่งหลักซงฐาน และการวิเคราะห์ตามหลักการน่าจะเป็นเกณฑ์ที่พิจารณาว่าสิ่งนั้นถูกหรือผิด2.ถ้าหากเราต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์เราต้องเปลี่ยนความคิดเปนอันดับแรก ซึ่งความคิดนั้นเปนพื้นฐานของความเชื่อ ดังนั้นจะทำให้เราสร้างความเขื่อใหมาได้และเปลี่ยนพฤติกรรม

1.รู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้อง ลองเปิดใจรับความเชื่อใหม่ๆมาบ้างเเล้วใช่สติปัญญาไตร่ตรองดูว่าความเชื่อที่มีนั้นถูกต้องหรือไม่โดยต้องใช่ความและไม่มีอคติในการไตร่ตรอง2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไรตอบ ตั้งสติ ใช้สมองพินิจพิเคราะห์ ว่าพฤติกรรมที่เราทำแล้วไม่ดี ส่งผลอย่างไร หากเราเปลี่ยนพฤติกรรมนั้นๆ จะได้ผลที่ดีขึ้นหรือไม่ และลองทำดูให้เป็นประจำ และเป็นนิสัย

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ความเชื่อบางอย่างเราสามารถพิสูจน์ได้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หรือวิธีการอื่นๆ แต่ในขณะเดียวกันบางความเชื่อก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้โดยวิทยาศาสตร์ แต่ถูกให้การยอมรับ ทั้งนี้ทั้งนั้น หากในความเชื่อนั้นไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น หรือตนเอง ถึงแม้จะไม่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยวิทยาศาสตร์ หรือวิธีการอื่นๆนั้น ใช่ว่าจะเป็นความเชื่อที่ผิด และใช่ว่าจะเป็นความเชื่อที่ถูกเสมอไปเช่นเดียวกัน

ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? การที่คนๆหนึ่งจะสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหนึ่งๆได้นั้น จะต้องทราบก่อนว่าพฤติกรรมใดที่ไม่เหมาะสม และเรียนรู้วิธีและกระบวนการที่เหมาะสม การตั้งใจอย่างแน่วแน่และไม่เอื้อไปยังด้านใดด้านหนึ่ง

ในความคิดของผม ผมคิดว่าความเชื่อคือ ความคิดที่สร้างขึ้นมาให้มีผลต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยแล้วแต่มุมมองของแต่ละคน แต่ละคนอาจจะคิดไม่เหมือนกัน แต่จะมีสิ่งแวดล้อม สังคมที่มีคนส่วนใหญ่เป็นตัวตัดสิน ถ้าความเชื่อนั้นเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ยอมรับความเชื่อนั้นก็จะถูก แต่ถ้าสังคมหรือคนส่วนใหญ่ไม่ยอมรับความเชื่อนั้นก็อาจจะเป็นความเชื่อที่ผิด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ว่าเราจะมีความเชื่ออะไรมันก็เป็นสิทธิของเราไม่ว่าความเชื่อนั้นมันจะเป็นความเชื่อที่ผิดก็ตาม

1.โดยส่วนมากการจะความเชื่อในเรื่องใดก็ตาม มักจะมาจากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวไม่ว่าจะเป็น คนในครอบครัว สภาพแวดล้อม สภาพสังคม การศึกษา แต่การจะเชื่อว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นถูกหรือไม่นั้น มันจะต้องเกิดจากการพิสูจน์จากเหตุการณ์ หรือเวลา และบางครั้งการที่เราไปอยู่ในสังคมที่มีความหลากหลายทางผู้คน ก็จะมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนควาเชื่อเดิมให้เปลี่ยนไป แต่ความเชื่อแต่ละความเชื่อจะต้องให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ ว่าความเชื่อนั้นถูกต้อง2.การที่เราจะสร้างความเชื่อใหม่ เราต้องรู้ก่อนว่าความเชื่อเก่าของเรามันสร้างพฤติกรรมที่ไม่ดีอย่างไร ถ้ามันทำให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่ดี ก็ไม่ควรเชื่อความเชื่อนั้น และเราก็ควรที่จะเลิกทำพฤติกรรมนั้นเพราะเรารู้ตัวดีว่าพฤติกรรมนั้นไม่ดี และเมื่อเราเลิกแสดงพฤติกรรมนั้นออกมาก็จะเกิดความเชื่อใหม่ๆเอง

6110311030

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ความเชื่อบางอย่างเราสามารถพิสูจน์ได้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หรือวิธีการอื่นๆ แต่ในขณะเดียวกันบางความเชื่อก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้โดยวิทยาศาสตร์ แต่ถูกให้การยอมรับ ทั้งนี้ทั้งนั้น หากในความเชื่อนั้นไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น หรือตนเอง ถึงแม้จะไม่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยวิทยาศาสตร์ หรือวิธีการอื่นๆนั้น ใช่ว่าจะเป็นความเชื่อที่ผิด และใช่ว่าจะเป็นความเชื่อที่ถูกเสมอไปเช่นเดียวกัน

ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? การที่คนๆหนึ่งจะสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหนึ่งๆได้นั้น จะต้องทราบก่อนว่าพฤติกรรมใดที่ไม่เหมาะสม และเรียนรู้วิธีและกระบวนการที่เหมาะสม การตั้งใจอย่างแน่วแน่และไม่เอื้อไปยังด้านใดด้านหนึ่ง

1 ที่เราคิดว่าความเชื่อเราถูกเป็นเพราะสิ่งที่เราเชื่อถูกปลูกฝังมาจากคนรอบข้างเเล้วเราทำสิ่งนั้นเเล้วเรามีความสุข รู้สึกดี2 การที่เราจะเปลี่ยนความเชื่อนั้น คือเราต้องเปลี่ยนความคิดเเละมุมมอง ยอมรับการเปลี่ยนเเปลงของสิ่งใหม่ๆ นำสิ่งที่ดีจากความเชื่อใหม่ๆมาปรับใช้ เเล้วนำสิ่งที่ไม่ดีจากความเชื่อเดิมออกไปเเล้วเราจะมีความเชื่อที่ดีเเละสมเหตุสมผล

6110712002 คณะเภสัชศาสตร์ความเชื่อมาจากสิ่งที่เราเรียนรู้มา ผ่านการยืนยันทางหลักฐานทั้งรูปธรรมและนามธรรม ซึ่งสะสมมาเรื่อยๆ ทำให้เราซึมซับจนเลือกที่จะเชื่อสิ่งนั้นซึ่งความเชื่อจะส่งผลต่อความคิดของเราและส่งผลออกมาเป็นพฤติกรรม โดยการตรวจสอบว่าความเชื่อนั้นถูกหรือผิด อาจพิสูจน์ด้วยหลักฐานทางลายลักษณ์อักษร เช่น หนังสือต่างๆ หรือจากคำบอกเล่า ประสบการณ์ที่ได้เจอมา หากเราจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่เราไม่ชอบจะสร้างความเชื่อใหม่ได้โดย ควรตั้งแนวความคิดใหม่ให้กับตัวเรา เพื่อให้เราพัฒนาตัวเองขึ้น เป็นคนใหม่ที่ดี เมื่อทำซ้ำบ่อยๆก็จะสร้างเป็นความเชื่อ ซึ่งความเชื่อนั้นจะส่งผลเป็นพฤติกรรมที่ดีขึ้นออกมา

ในความเห็นส่วนตัวของดิฉัน ดิฉันคิดว่าความเชื่อนั้นอาจจะเกิดจากการปลูกฝังจากครอบครัว ศาสนาที่ตนนับถือ ประสบการณ์ที่ได้ทำมา อิทธิพลจากเพื่อนสิ่งแวดล้อมรอบตัว ความชอบความสนใจส่วนตัว ซึ่งส่งผลให้แต่ละคนนั้นมีความเชื่อที่แตกต่างกันโดยเราจะรู้ได้อย่างไรนั้นว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้อง สำหรับดิฉันดิฉันคิดว่าการที่คนเราจะเลือกเชื่อสิ่งใดนั้นเป็นสิทธิของตนเอง เราสามารถเลือกเชื่อได้อย่างเสรี เว้นแต่ว่าความเชื่อนั้นไปเกิดผลเสียต่อตนเองหรือผู้อื่น อาจจะถือได้ว่านั่นเป็นความเชื่อที่ผิดค่ะถ้าเราต้องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ จะสร้างความเชื่อใหม่แทนความเชื่อเก่าได้อย่างไร ดิฉันคิดว่าเราควรมองไปที่สาเหตุของพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์นั้นก่อน ถ้าพฤติกรรมนั้นเกิดจากความเชื่อหนึ่งของเรา แสดงว่าความเชื่อนั้นของเราเป็นความเชื่อที่ผิด เราควรจะปรับเปลี่ยนความเชื่อนั้นใหม่โดยทำความเข้าใจไปถึงต้นเหตุของความเชื่อนั้น ค่อยๆปรับเปลี่ยนความคิดตรงนั้นใหม่ เมื่อเราปรับเปลี่ยนได้เราก็จะแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ได้ค่ะ

6110311022 -เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?ความเชื่อ การยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริงหรือเป็นสิ่งที่เราไว้ใจ ความจริงหรือความไว้วางใจที่เป็นรูปของความเชื่อนั้น ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นความจริงที่ตรงตามหลักเหตุผลหรือหลักวิทยาศาสตร์ใดๆ ด้วยสภาพแวดล้อม จิตสำนึก เมื่อเราเชื่อแล้วมันเกิดประโยชน์ส่งผลดีทางจิตใจเราจึงเชื่อมัน โดยคนบางกลุ่มอาจจะไม่เห็นด้วยก็แล้วแต่สภาพแวดล้อม จิตสำนึกของแต่ละคน ว่าความเชื่อนั้นถูกจริง-ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? เมื่อเราเปลี่ยนพฤติกรรมของเรา เราอาจจะมีความคิดใหม่ๆเข้ามา ความคิดต่าง ความเชื่อใหม่ๆ เราไม่ต้องสร้างความเชื่อใหม่ๆเข้ามาแทนเลย ความคิด จิตสำนึก ความเชื่อของเราอาจจะเปลี่ยนไปเองได้เลย

สำหรับดิฉันแล้วความเชื่อของมนุษย์เรานั้นมีอยู่มากมายหลายด้าน ซึ่งการที่เราจะเชื่ออะไรได้นั้น มักเกิดจากความศรัทธา ความชอบใจ เชื่อเพราะใครๆเขาเชื่อกันแบบนั้น เชื่อเพราะสอดคล้องกับความคิดเดิมของเรา และเชื่อเพราะได้ผ่านการคิดอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว เนื่องจากความเชื่อเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของคนๆนั้น แต่เราไม่สามารถไปตัดสินได้ว่าความเชื่อนั้นถูกหรือผิด เพราะความเชื่อไม่มีกฎเกณฑ์อะไรที่แน่นอน เราสามารถบอกได้เพียงแต่ว่าความเชื่อไหนควรเลือกเชื่อ ความเชื่อไหนไม่ควรเลือกเชื่อ ซึ่งเราก็ควรเลือกเชื่อในสิ่งที่ส่งเสริมให้เรามีพฤติกรรมที่ดีขึ้นเท่านั้นเอง และหากเราต้องการสร้างความเชื่อใหม่ ก็ต้องเริ่มจากความเชื่อเล็กๆน้อยๆ ค่อยๆหาความรู้ สร้างความศรัทธาไปทีละน้อย ก็จะทำให้เราซึมซับความเชื่อนั้นและปรับเป็นนิสัย เป็นพฤติกรรมที่ดีขึ้น

ดิฉัน 6110712048 คณะเภสัชศาสตร์ ความเชื่อในความคิดเห็นของดิฉันเกิดขึ้นมาจากกระบวนการรับรู้จากสิ่งเเวดล้อมรอบตัว เช่น ครอบครัว เพื่อน สังคม การศึกษา วัฒนธรรม ประเพณี เเละศาสนา เป็นต้น โดยความเชื่อจะถูกเเปรเปลี่ยนเป็นความคิดได้นั้นต้องผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์เพื่อหาหลักฐานมารับรองว่าความเชื่อนั้นน่าเชื่อถือเเละถูกต้อง เมื่อเกิดเป็นความคิดเเล้ว ไม่จำเป็นว่าคนๆนั้นมีความคิดเช่นใดเเล้วจะเเสดงออกมาเช่นนั้นเสมอไป ในบางครั้งคนเราอาจเเสดงพฤติกรรมที่ตรงข้ามกับความคิดได้ เช่น เรารู้สึกนึกคิดในใจว่าไม่ชอบเพื่อนคนหนึ่ง เเต่เรากลับเเสดงออกด้วยทีท่าที่ชอบพอเพราะต้องการเอาใจเพื่อนคนนั้น จะเห็นได้ว่ากระบวนการทางความคิดเเละการเเสดงออกของพฤติกรรมมนุษย์นั้นค่อนข้างซับซ้อน จึงไม่สามารถสรุปได้อย่างเเน่ชัดว่าความคิดจะส่งผลต่อพฤติกรรมได้โดยตรง ส่วนประเด็นที่จะเปลี่ยนเเปลงความเชื่อเเล้วส่งผลต่อพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้นนั้น อาจทำได้ถ้าเรารู้เเละหาหลักฐานมายืนยันกับตัวเองเพื่อเปลี่ยนความเชื่อใหม่ที่ดูน่าเชื่อถือกว่าความเชื่อถือเดิม แต่อาจเป็นไปได้ยากเพราะการที่ความเชื่อจะส่งผลต่อพฤติกรรมได้นั้น อาจเกิดจากจิตใต้สำนึกของคนที่สั่งสมความเชื่อนั้นมานานจึงต้องใช้เวลาพอสมควรในการปรับตัวสู่สิ่งที่ดีกว่า

นายเศรษฐพงค์ แซ่โง้ว 6110710062 คณะเภสัชศาสตร์1.ความเชื่อที่บรรพบุรุษหรือมีบุคคลที่ปลูกฝังให้เราปฏิบัติหรือแม้แต่เราคิดที่จะเชื่อด้วยตัวเองนั้นมีทั้งที่ก่อให้เกิดผลดีทั้งทางกาย หรือใจ แต่ก็มีบางความเชื่อที่ก่อให้เกิดผลเสีย ซึ่งเราสามรถที่จะทราบได้ว่าความเชื่อนั้นผิดหรือถูกโดยความเชื่อที่ถูกต้องนั้นจะต้องไม่นำมาซึ่งการทำให้ตัวเอง คนรอบข้าง หรือผู้อื่นเดือดร้อน2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” โดยการหันมาเชื่อในสิ่งที่ถูก รับรู้ถึงผลดีที่จะเกิดขึ้น โดยการจะเปลี่ยนความเชื่อนั้นเราจำเป็นที่จะต้องรู้ถึงผลที่จะเกิดจากความเชื่อนั้นแล้วเลือกว่าเราจะเชื่ออย่างนั้นเพื่อให้เรามีพฤติกรรมตามผลของความเชื่อนั้น หากเรามีความเชื่อในสิ่งๆนั้นแล้ว เราก็ควรปฏิบัติตามด้วย เราต้องมีความตั้งใจจริง เชื่อมั่นว่าเราต้องเปลี่ยนแปลงบางสิ่งเพื่อให้เกิดสิ่งดีๆขึ้นในชีวิตของเรา

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?คนเราจะเชื่ออะไรสักอย่างก็ต้องมีการคิดแล้วว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นมันส่งผลดีต่อตัวเราหรือไม่ ถ้ามันไม่ดีเราคงไม่เชื่อหรอก แต่สิ่งที่เราเชื่อไปนั้นแสดงว่ามันทำาให้เรารู้สึกดีขึ้น แร้วเราจะรู้ได้ไงว่ามันถูกต้อง แสดงว่าเราก้ต้องรู้จักคิดในหลักเหตุผล หาข้อขัดแย้งด้วย เพื่อมาพิสูจน์ว่าสิ่งที่เราชื่อนั้นถูกแร้วจริงหรือ2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?ก่อนอื่นเลยเราต้องรู้ก่อนว่าพฤต้ิกรรมเก่าเรานั้นเป็นอย่างเรา เรามีแนวคิด อย่างไรกับพฤติกรรมเก่า เมื่อเรารู้ในสิ่งนี้แล้วเราก็มาเริ่มเปลี่ยนแนวความคิดเดิมจากสิ่งที่มีอยู่ ให้กลายเป็นแนวความคิดใหม่ที่เราคิดว่ามันดีกว่า โอเครกว่า เราชอบมากกว่า เมื่อเรามีความคิดที่ดีกว่าเข้ามาแทนที่ ทำให้เราอยากที่จะเชื่อในสิ่งใหม่ จากนั้นความเชื่อเดิมๆๆของเราก็จะหายไป

ข้อแรกความเชื่อมีจุดเริ่มต้นจากนิสัยส่วนตัว ซึ่งทีผลต่อครอบครัส สิ่งแวดล้อม การศึกษา คนในสังคมที่แตกต่างหลากหลายกันไป ในบางครั้งความเชื่อที่ถูกเมื่อเวลาผ่านไปก็กลับเป็นผิดได้ ได้จากการพิสูจน์ ข้อสองตามจริงความเชื่อก็พัฒนามาจากความคิดด้วย การนับความเชื่อใหม่มาไม่จำเป็นต้องทิ้งความเชื่อเก่าทั้งหมด เราควรเปิดความคิดกว้างๆ เวลาจะเป็นตัวพิสูจน์เอง

1.ความเชื่อทึ่ถูกต้องจะรู้ได้จากการที่นำความเชื่อนั้นมาใช้ในสังคมแล้วไม่ผิดศีลธรรม จริยธรรม บริบทที่แตกต่างกันของสังคมจะส่งผลต่อความเชื่อนั้นๆ2.การสร้างความเชื่อใหม่มาแทนที่ความเชื่อเดิมจำเป็นต้องละทิ้งความเชื่อเดิมไปก่อน แล้วจึงนำข้อมูลใหม่ๆเข้ามาเพื่อมาประกอบการตัดสินใจเพื่อสร้างความเชื่อใหม่ขึ้นมาในภายหลัง

ความเชื่อเกิดจากความไม่รู้ ซึ่งความไม่รู้ทำให้เราต้อง ค้นหาความจริงทำให้เกิดเป็นความเชื่อของบุคคลนั้น ในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนำฤติกรรมไม่พึงประสงค์บางอย่างเราสามารถเปลี่ยนได้โดยการสร้างความเชื่อใหม่ให้มาแทนที่ความเชื่อเก่า เริ่มจากการทิ้งความเชื่อเก่าไป ทำใจให้เป็นกลาง พิจารณข้อดีและข้อเสียของความเชื่อเก่า แล้วคิดหาวิธีแก้ไข เพื่อไปสู่การสร้าความเชื่อใหม่ บนพื้นฐานของความเป็นจริง และบนพื้นฐานของเหตุและผล อันส่งผลให้เรามีความสุขและมีชีวิตที่ดีขึ้น

1.ความเชื่อมีจุดเริ่มมาจากการรับรู้ อุปนิสัยส่วนตัว ซึ่งอาจมีผลจากครอบครัวและสภาพแวดล้อม สภาพแวดล้อมรอบตัวเราหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เป็นครูผู้สอนเราตั้งแต่เราเกิด ไม่ว่าผู้สอนนั้นจะตั้งใจสอนหรือไม่ก็ตาม รวมถึงตัวเราเองผู้เรียน ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ว่ากำลังเรียนรู้อยู่ และการสอน การเรียนรู้ รวมไปถึงการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น2.การจะรู้ว่าความเชื่อของเราถูกต้องหรือไม่นั้น เราควรหาข้อมูล อย่างรอบด้าน ข้อมูลต้องเป็นกลางและหลากหลายไม่ใช่เลือกแต่เฉพาะที่ถูกใจ ถูกจริต ต้องฟัง อ่าน แล้วคิดวิเคราะห์ตามด้วย ไม่ตามกระแส สลัดความเชื่อทั้งหมดที่มีอยู่ทิ้งไป และอย่าเพิ่งสร้างความเชื่อใหม่ ในชั่วขณะนั้น เราจึงจะรู้ได้3.เราไม่จำเป็นต้องกำจัดหรือสลัดความเชื่อเก่าทิ้งทั้งหมด สิ่งที่ควรทำคือ การเปิดประตูแห่งความคิดให้กว้าง เปิดรับความเชื่อใหม่ ๆ เข้ามา ไม่ว่ามันจะมาจากเส้นทางใด หรือความเชื่อแบบใด จากนั้นพินิจพิเคราะห์ ไตร่ตรองความเชื่อนั้นว่าน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด

ความเชื่อมาจากการที่เราได้รับรู้สิ่งต่างๆจากการฟังคิดหรือเห็นซ้ำซึ่งจะผ่านกระบวนการคิดไตร่ตรองหาหลักฐานหรือใช้ระยะเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์โดยที่ความเชื่อนั้นไม่สามารถระบุได้ว่าผิดหรือถูกขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นคนตัดสินความเชื่อก็อาจมาจากอุปนิสัยส่วนตัวของเราซึ่งมีผลมาจากครอบครัวและสิ่งแวดล้อมความเชื่อก็อาจจะเปลี่ยนแปลงได้หากมีเหตุการณ์ใหม่ๆเข้ามาเปลี่ยนความคิดเรา โดยไม่จำเป็นจะต้องกำจัดความเชื่อเก่าทั้งหมด ทำได้ด้วยการเปิดรับความเชื่อใหม่ๆจากนั้นก็พิเคราะห์. ไตร่ตรอง ถ้าหาหลักฐานได้ก็ควรหาก่อน ถ้าไม่ได้ก็ให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์

ตามความคิดเห็นส่วนตัวคิดว่า1. การที่เราจะรู้ว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องต้องอาศัยเวลาและเหตุการณ์ต่างๆ มาพิสูจน์ความเชื่อนั้น ความเชื่อบางความเชื่ออาจถูกต้อง เหมาะสม หรือเป็นที่ยอมรับในบางช่วงเวลา และการที่ความเชื่อนั้นถูกต้องต้องได้รับการยอมรับจากสังคมรอบข้าง ซึ่งคือการไม่โดนมองว่าแปลกแยกแตกต่างจากคนส่วนมาก ไม่ฝืนธรรมชาติรอบข้าง ก็จะเป็นความเชื่อที่ถูกที่ควร เหมาะแก่การเชื่อต่อไปเช่นเดิม2. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเราต้องเริ่มจากความอยากที่จะเปลี่ยนอย่างแท้จริงในความคิดของเรา ซึ่งความคิดนอกจากจะเกิดจากความเชื่อแล้ว ในทางกลับกันความเชื่อก็สามารถเกิดจากความคิดได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่นการค้นพบหนทางดับทุกข์ของพระพุทธเจ้าโดยผ่านกระบวนการคิดที่เป็นเลิศ แล้วสำเร็จเป็นความเชื่อของพุทธศาสนิกชน แต่ในที่นี้ผู้ที่จะมาเชื่อไม่ใช่บุคคลอื่นแต่เป็นตัวเรา ตัวเราสร้างความคิดใหม่เพื่อเกิดความเชื่อใหม่ เชื่อในความเชื่อใหม่และสร้างความคิดใหม่ๆออกมา เปรียบเสมือนงูกินหางวนไปไม่รู้จบ ถ้าหากทำเช่นนี้ความเชื่อเก่าๆ ที่ก่อให้เกิดความคิดและพฤติกรรมที่เราไม่พึงประสงค์ก็จะหายไปเองโดยปริยาย เปลี่ยนเป็นสิ่งที่ถูกต้องและเหมาะสมแทน

1.เราจะทราบได้จากผลขแงการกระทำจากความเชื่อนั้นๆของเรา ถ้าผลออกมาดี ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ความเชื่อนั้นก็จะเป็นความเชื่อที่ดี 2.เราจะเปลี่ยนแปลงความเชื่อได้จากการที่เรารู้ถึงผลเสียของการกระทำจากความเชื่อที่ผิด ดังนั้นเมื่อเรารู้ว่าไม่ถูกต้องเราก็จะเปลี่ยนความเชื่อและความคิดไปเอง

การจะรู้ว่าความเชื่อเราถูกต้องหรือไม่นั้นเราต้องมีใจที่เป็นกลางแล้วนำความเชื่อเราไปวิเคราะห์สำหรับบางคนแค่เป็นความเชื่อ ที่ที่ทำให้ตัวเองมีความสุขก็เพียงพอแล้วซึ่งความเชื่อนี้ขึ้นกับสภาพแวดล้อม สังคม บางความเชื่อจะเปลี่ยนไปเมื่อเวลาและสถานที่เปลี่ยน ในกรณีเราต้องเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้างความเชื่อใหม่ๆได้ โดยทั่วไปพฤติกรรมหรือการกระทำต่างๆของเรานั้นย่อมเกิดจากความคิดที่เรากลั่นกรองออกมา ซึ่งถ้าความคิดเปลี่ยน พฤติกรรมจะต้องเปลี่ยนตาม และมนุษย์นั้นจะเชื่อในสิ่งที่ตัวเองคิดว่าถูกหรือคิดว่าดี ดังนั้นเมื่อเราเปลี่ยนความคิดทำให้ความเชื่อเราสามารถเกิดใหม่ได้ ส่งผลถึงพฤติกรรม

ในความคิดเห็นของฉัน คิดว่า 1. เราจะทราบว่าความคิดของเราถูกต้องก็ต่อเมื่อเรานำความเชื่อนี้ไปพูดคุยแลกเปลี่ยนกับคนอื่น หรืออาจจะผ่านการนำความคิดนั้นไปประยุกต์ใช้ ทั้งในรูปแบบของความคิดก็ดี พฤติกรรมก็ดี ถ้าเราทำแล้วถูกต้อง ไม่เบียดเบียนต่อผู้อื่น ไม่ผิดกฎหมายและยังส่งผลดีต่อตัวเรา ฉันคิดว่าความคิดของเราถูกต้องและเหมาะสมแล้ว 2. การเปลี่ยนแปลงความเชื่อนั้นต้องคิดอย่างรอบคอบ มีวิจารณญาณ และมองในหลายๆแง่มุม ซึ่งความเชื่อจะส่งผลต่อความคิดและพฤติกรรมของคนนั้นๆ การเปลี่ยนแปลงความเชื่อนั้นความเชื่อที่มาจากการได้รับฟังข่าวสารและความเชื่อที่มาจากความคิดสามารถเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ส่วนความคิดที่มาจากการได้รับหรือเกิดจากเหตุการ์ณที่เราเคยชินจะเปลี่ยนแปลงได้ยาก เพราะเรานั้นเคยชินกับวิถีความเชื่อนั้นๆ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงความเชื่อควรเริ่มจากการนำความเชื่อเก่ามาวิดราะห์และคิดถึงสาเหตุที่เราเชื่อความเชื่อนี้ และเราควรพัฒนาความเชื่อนี้เพื่อส่งผลในทางที่ดีต่อเราอย่างไรและควรเชื่อความเชื่อใหม่แบบไหน

ขออนุญาตตอบคำถาม2ข้อนี้ตามที่ได้อ่านมานะคะการที่เราจะรู้ว่าความเชื่อนั้นถูกต้องหรือไม่นั้นก็พิสูจน์ได้จากผลของการกระทำของเราค่ะ ถ้าผลของการกระทำนั้นส่งผลในแง่ลบต่อตัวเราหรือสังคม คนรอบข้าง ก็แปลว่าความเชื่อที่เรามีนั้นเป็นสิ่งที่ผิด แต่ไม่ได้หมายความว่าเราควรเปลี่ยนเป็นเชื่อในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับความเชื่อเดิมไปในทันทีทันใดค่ะเพราะความเชื่อที่เป็นแนวคิดตรงกันข้ามก็ใช่ว่าจะถูก100% ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม เวลา และสถานการณ์ในขณะนั้นด้วย ส่วนตัวมีความเห็นว่า ควรมองแบบกลางๆไม่เชื่อในทิศทางใดทิศทางหนึ่งมากเกินไปหากเราไม่รู้จริงๆว่าทางที่เราจะเชื่อนั้นถูกหรือผิดกันแน่ค่ะ ทั้งนี้การเปลี่ยนความเชื่อเราควรใช้วิจารณญาณให้มากๆ ค่ะ ถามคนรอบข้างว่าเขาคิดอย่างไรกับเรา ความเชื่อของเรา แล้วถามเกี่ยวกับความเชื่อของเขา บางทีเราอาจได้มุมมองใหม่ๆมากขึ้นค่ะ

เรื่องแรกคือจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อของเรานั้นถูกหรือไม่ ให้ลองศึกษาจากคนที่มีประสบการณ์ในเรื่องนั้นๆ ประกอบกับวิจารณญาณของตัวเอง ท้ายที่สุดแล้วก็ต้องดูจากผลของความเชื่อนั้นที่ส่งผลต่อการกระทำของเราว่าส่งผลในแง่บวกหรือแง่ลบ และเรื่องที่สองคือจะเปลี่ยนแปลงความเชื่อได้อย่างไร อย่างแรกคือทบทวนตัวเองว่าทำอะไร ต้องการอะไรอยู่ กำหนด mindsetตัวเอง เชื่อมั่นในตัวเองว่าสามารถเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเชื่อที่ดีได้ ความคิดดีๆก็จะตามมา การกระทำดีๆก็จะแสดงออกให้เห็น

เรื่องแรกคือจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อของเรานั้นถูกหรือไม่ ให้ลองศึกษาจากคนที่มีประสบการณ์ในเรื่องนั้นๆ ประกอบกับวิจารณญาณของตัวเอง ท้ายที่สุดแล้วก็ต้องดูจากผลของความเชื่อนั้นที่ส่งผลต่อการกระทำของเราว่าส่งผลในแง่บวกหรือแง่ลบ และเรื่องที่สองคือจะเปลี่ยนแปลงความเชื่อได้อย่างไร อย่างแรกคือทบทวนตัวเองว่าทำอะไร ต้องการอะไรอยู่ กำหนด mindsetตัวเอง เชื่อมั่นในตัวเองว่าสามารถเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเชื่อที่ดีได้ ความคิดดีๆก็จะตามมา การกระทำดีๆก็จะแสดงออกให้เห็น

  1. แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? จากคำถามข้างต้น เราสามารถรู้ได้จากการที่เราได้ประสบพบเจอเหตุการณ์นั้นๆ หรืออาจจะได้ยิน ได้เห็นมาจากบุคคลรอบๆตัวเรา หรืออาจจะได้จากการค้นคว้าหาข้อมูลมาจากสื่อต่างๆ และมาผ่านกระบวนการแยกแยะของเราว่าสิ่งไหนเป็นจริง หรือสิ่งไหนเป็นเท็จจากการวิเคราะห์สมเหตุสมผลจากความคิดของเรา
  2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? การสร้างความเชื่อใหม่มาแทนที่นั้นเป็นเรื่องที่ยากต่อดิฉัน ซึ่งการที่จะเปลี่ยนความเชื่อได้นั้น ต้องมีน้ำหนักมากพอ มีเหตุ มีผล ไม่ขัดแย้งต่อสิ่งที่เราคิด ต้องมีคำตอบที่เราสามารถที่จะเข้าใจได้ ดิฉันจึงจะนำมาแทนที่กันได้นั้นเอง

1.เราจะทราบได้ยังไงว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้อง เราสามารถรู้ได้จากผลลัพธ์ของความเชื่อค่ะว่ามันส่งผลดีกับเรามั้ยหรือว่าส่งผลเสีย ถ้าความเชื่อนั้นส่งผลเสียกับเราก็ถือเป็นความเชื่อที่ผิดหรือความเชื่อนั้นส่งผลกระทบต่อสังคมต่อผู้อื่นเราก็ควรพิจารณานะคะว่าสิ่งที่เชื่อนั้นมันถูกหรือไม่ถ้าถูกแล้วทำไมถึงส่งผลเสียแบบนี้2.เราจะเปลี่ยนความเชื่อไปเองถ้าเรารู้ว่าสิ่งที่เราเชื่อมาตลอดนั้นไม่ถูกต้องและมีเหตุผลและข้อเท็จจริงมาสนับสนุนความเชื่อนั้นๆ

  1. ความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้องหรือไม่ เราต้องวิเคราะห์ให้รอบด้าน ทั้งด้านเหตุผล กฎหมาย คุณธรรม จริยธรรม ซึ่งหากถูกต้องและเป็นไปตามด้านที่กล่าวมาจึงจะกล่าวได้ว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้อง
  2. เราต้องหาเหตุผลว่าทำไมจึงต้องเปลี่ยนความเชื่อ “ความเชื่อเก่า” ที่มีนั้นไม่ดีอย่างไร แล้วเปรียบเทียบกับ “ความเชื่อใหม่” การจะเชื่ออะไรใหม่นั้นเราต้องหาเหตุผลประกอบ เราจึงจะเชื่อได้อย่างสนิทใจ
  1. ความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้องหรือไม่ เราต้องวิเคราะห์ให้รอบด้าน ทั้งด้านเหตุผล กฎหมาย คุณธรรม จริยธรรม ซึ่งหากถูกต้องและเป็นไปตามด้านที่กล่าวมาจึงจะกล่าวได้ว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้อง
  2. เราต้องหาเหตุผลว่าทำไมจึงต้องเปลี่ยนความเชื่อ “ความเชื่อเก่า” ที่มีนั้นไม่ดีอย่างไร แล้วเปรียบเทียบกับ “ความเชื่อใหม่” การจะเชื่ออะไรใหม่นั้นเราต้องหาเหตุผลประกอบ เราจึงจะเชื่อได้อย่างสนิทใจ

1.การที่เราจะเชื่ออะไรผมยึดตามหลักวิทยาศาสตร์และต้องมีหลักฐานมารองรับ ข้อพิสูจน์เป็นสิ่งสำคัญมากและเป็นสิ่งที่ควรต้องมีหลักนี้ในใจไม่ใช่เชื่อเพียงเพราะเขาเชื่อกันมา ความเชื่อเป็นการแสดงตัวตนและแสดงจุดยืนในเชิงทัศนคติ บางทียังบอกได้อีกว่าคนนั้นๆเป็นคนแบบไหนจากความเชื่อ2.ในการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ต้องถามตัวเองก่อนทำไมถึงคิดว่าพฤติกรรมนั้นไม่ดี แล้วหากมันไม่ดีทำไมเราถึงทำบ่อยๆยกตัวอย่างง่ายๆ การจัดของไม่เป็นระเบียบ ที่จัดของไม่เป็นระเบียบเพราะว่า มันสะดวก แต่ข้อเสียคือหากจะมาแล้วอาจจะหาไม่เจอและยังดูไม่เรียบร้อยอีกด้วย กล่าวคือบางอย่างมีทั้งข้อดีข้อเสีย แต่บางอย่างมีแต่ข้อดี จึงเป็นเหตุผลให้เราเปลี่ยนพฤติกรรมเมื่อเปลี่ยนแนวคิดแล้ว พฤติกรรมก็จะเปลี่ยนง่ายขึ้น

  1. สำหรับดิฉันแล้วความเชื่อในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเรื่องไหนก็ตาม จากตัวดิฉันเองแล้วมักเริ่มจากอุปนิสัยส่วนตัว จากครอบครัว สิ่งแวดล้อมรอบข้าง และสังคมที่อยู่ รวมไปถึงการศึกษา อิทธิพลส่วนมากจะมาจากครอบครัวที่สอนให้เราเชื่อหรือไม่เชื่ออะไร ซึ่งเราควรจะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพื่อพิสูจน์ว่าความเชื่อของเรานั้นถูกต้องมั้ย อาจดูจากข้อมูล แนวโน้มความเชื่อของคนอื่นว่าเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับเราหรือเปล่า แต่นั้นไม่ได้หมายความว่าความเชื่อนั้นจะถูกต้องเสมอไป แต่มันขึ้นอยู่กับคุณภาพของความเชื่อ การที่เราจะเชื่อสิ่งใดนั้น ความเชื่อนั้นควรได้รับการพิสูจน์ ศึกษาหาข้อมูลก่อนเชื่อสิ่งใดค่ะ
  2. การที่เราจะสร้างความเชื่อใหม่ ให้มาแทนที่ความเชื่อเก่านั้น เราควรจะพิสูจน์ก่อนว่าความเชื่อเก่าของเรามันผิดจริง ผิดอย่างไร ควรเชื่อต่อไปอีกมั้ย หากพิสูจน์แล้วว่าความเชื่อเก่าของเรามันผิดจริง เราควรหาข้อมูลที่ถูกต้องที่สุดในการที่จะเชื่อใหม่
  1. เราทราบได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องก่อนที่เราจะเชื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เรามักจะหาคำตอบด้วยตัวเองเสมอ ว่าสิ่งนั้นจะเป็นตามที่เราคาดหวังไว้หรือไม่ มีการหาคำตอบในหลากหลายวิธี ซึ่งทำให้คำตอบที่เราศึกษามาได้ สะท้อนกลับมาว่า ความเชื่อที่เราเชื่อนั้น ถูกต้องหรือไม่ หรือมีลักษณะอย่างไร อีกทั้งการใช้ประสบการณ์โดยตรงจากที่ตัวเองพบเจอ หรือจากการสอบถามบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือบุคคลที่มีประสบการณ์ในเรื่องนี้เช่นกัน ทั้งหมดนี้จะประกอบรวมกันเป็นส่วนสนับสนุนในความเชื่อของเรา ว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่

  2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง ‘ความเชื่อใหม่’ ให้เข้ามาแทนที่ ‘ความเชื่อเก่า’ ได้อย่างไรพยายามหาข้อโต้แย้ง หรือข้อด้อยข้อเสียของความเชื่อเก่า มาถกเถียงว่าส่วนใดที่ผิด หรือส่วนใดที่ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือลดลง และหาข้อดีข้อได้เปรียบของความเชื่อใหม่ ที่สามารถมาลบล้างแนวความเชื่อเดิมของเราได้ อีกทั้งอาจจะหาประสบการณ์ต่างๆจากทั้งสองความเชื่อ และเปรียบเทียบกันให้เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน เพื่อเป็นแนวความคิดประกอบในการตัดสินใจที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองไปในทางที่ดีขึ้น

1.คนเเต่ละคนต่างมีประสบการณ์ที่พบเจอมาต่างกันมีการอบรมเลี้ยงดูที่ต่างกันไปในเเต่ละครอบครัวดังนั้นการที่เราจะรู้ได้ว่าความเชื่อนั้นถูกต้องหรือไม่นั้นเราก็ต้องพิสูจน์หรือให้คำตอบให้เหตุผลกับสิ่งๆนั้นตามความเชื่อที่มีมา(ถ้าสิ่งนั้นสามารถพิสูจน์ได้)หรือหากบางสิ่งบางอย่างที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้เราก็ควรที่จะคิดพิจารณาไตร่ตรองให้ถี่ถ้วนก่อนที่จะตัดสินใจเชื่อว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่2.ถ้ามันเป็นพฤติกรรมที่เราคิดว่าไม่พึงประสงค์อยู่เเล้วเราก็ควรให้เหตุผลจากความเชื่อเก่าว่ามันมีข้อเสียอย่างไรบ้างจะกระทบต่อตนเองหรือผู้อื่นอย่างไรพอได้คำตอบเราก็จะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนั้นโดยเปลี่ยนเลยถ้าเราเปลี่ยนพฤติกรรมเเละทำเป็นประจำก็จะสามารถกลายเป็นนิสัยของเราได้ในที่สุดในช่วงเเรกอาจจะยากหน่อยเเต่เราต้องตระหนักอยู่เสมอว่าต้องทำอย่างไรในที่สุดเราก็จะเปลี่ยนแปลงได้สำเร็จ

1.ความเชื่อเกิดขึ้นมาจากหลายปัจจัย เช่น ครอบครัว สังคม สิ่งแวดล้อม การบอกกล่าวหรือเล่าสืบต่อกันมา โดยความเชื่อเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อบุคคลที่ยอมรับในความเชื่อเหล่านั้น จึงก่อให้เกิดความคิดและแสดงออกมาเป็นพฤติกรรม ดังที่กล่าวมา ความเชื่อเกิดจากการยอมรับของแต่ละบุคคล ความเชื่อจึงไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามหลักเหตุผลหรือหลักวิทยาศาสตร์แต่อย่างใด2.เราจะปรับเปลี่ยนพฤกติกรรมโดยการสร้างความเชื่อใหม่แทนที่ความเชื่อเก่าได้โดย การสำรวจพฤกติกรรมที่เป็นข้อเสียของตยด้วยการสำรวจตนเองหรือสอบถามบุคคลที่สนิท การเปิดโอกาสให้ตนเองได้พบกับประสบการณ์จรงที่ขัดแย้งกับความเชื่อเดิม ซึ่งการทำเช่นนี้จะก่อให้เกิดการยอมรับมากกว่าให้คนอื่นคอยบอก การคิดตามหลักเหตุผลและหลักวิทยาศาสตร์เองก็จะเป็นส่วนช่วยให้ความเชื่อใหม่เป็นไปในทางที่ถูกต้องมาขึ้น

  1. แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? เราสามารถรู้ได้จากการวิเคราะห์ ไตร่ตรอง และทำความเข้าใจเนื่องจากการที่เราได้รับรู้สิ่งนั้นมาแล้วทำให้เราเชื่อในสิ่งนั้นต้องผ่านการกรองจากความคิดของเราก่อนโดยเราสามารถใช้การวิเคราะห์เข้ามาช่วยโดยอันดับเเรก คือ เราควรวิเคราะห์สิ่งที่ได้รับมาจากผู้พูดว่าผู้พูดมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด ต่อมาจึงมาวิเคราะห์เนื้อหาว่าน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน โดยในครั้งเเรกเราไม่สามารถเชื่อได้ในทั้งหมด ต้องมีการตรวจสอบ เเละ หาข้อมูลที่ถูกต้องและมีแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ และข้อมูลที่ได้นั้นต้องมีการอัพเดตตลอดเนื่องจากในปัจจุบันมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา โดยเมื่อเราทำทุกขั้นตอนเเล้วจะทำให้ความเชื่อนั้นน่าเชื่อถือและทำให้ความเชื่อของเราที่มีมามีความถูกต้องมากขึ้น

  2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร อันดับแรกเราต้องเป็นคนเปิดกว้างพร้อมจะรับความคิดหรือสิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ โดยควรจะคิดว่าสิ่งที่เราเป็นอยู่ไม่ใช่ว่าจะต้องถูกหรือเป็นสิ่งที่ดีที่สุดเสมอไปโดยเราควรจะรับฟัง และพร้อมรับคำติชมหรือแนวทางจากผู้อื่นด้วยเพื่อจะทำให้เรามีพฤติกรรมที่ดีขึ้น การสร้างความเชื่อใหม่สำหรับหนูในช่วงแรกเป็นสิ่งที่ยาก เนื่องจากเราทำสิ่งนั้นมาตลอดจะให้เปลี่ยนแปลงเลยก็คงจะเป็นเรื่องยาก ดังนั้นอันดับแรกที่เราจะสามารถยอมรับ รับฟัง และสร้างความเชื่อใหม่ได้นั้นต้องใช้เวลา และยอมเปิดใจรับมันโดยให้คิดว่าถ้าเราสามารถเปลี่ยนแปลงความเชื่อเก่าที่มีอยู่จะทำให้เรามีพฤติกรรมที่ดีขึ้น และมีการใช้ชีวิตที่ดีขึ้นตามมา คนส่วนใหญ่มักจะไม่ยอมรับความเชื่อใหม่ๆโดยจะไปยึดติดอยู่กับความเชื่อเก่าๆที่มีมาเพียงเพราะเขาทำสิ่งนั้นมาตลอดจะให้เปลี่ยนเลยก็ไม่ได้ หนูเลยคิดว่าเวลาเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความเชื่อใหม่เข้ามาแทนที่ความเชื่อเดิมที่มีอยู่ เพราะเวลาจะทำให้เราได้คิด วิเคราะห์ และทบทวนตัวเองมากขึ้นว่าพฤติกรรมของเรานั้นดีแล้วหรือยัง ถ้ายังก็ค่อยๆปรับเปลี่ยนจนเราสามารถยอมรับความเชื่อใหม่ๆได้ในที่สุด

1.เนื่องจากความเชื่อบางความเชื่อเป็นสิ่งที่มีมาอย่างยาวนานและหาข้อสรุปไม่ได้ เราจึงไม่สามารถตรวจสอบที่มาที่ไปของความเชื่อเหล่านั้นว่าถูกต้องจริงหรือไม่ แต่สำหรับบางความเชื่อ เช่น หากตาขวากระตุกจะทำให้พบเจอแต่สิ่งร้ายๆ ซึ่งความเชื่อนี้เป็นความเชื่อส่วนบุคคล การที่เราจะเจอเรื่องดีหรือร้ายนั้น อาจขึ้นกับการกระทำของตัวบุคคลคนนั้นเป็นส่วนใหญ่ หากทำสิ่งที่ไม่ดีก็จะเจอแต่สิ่งร้ายๆเข้ามา แต่ถ้าหากทำสิ่งที่ดีเราก็จะเจอแต่สิ่งดีๆ ฉะนั้นความเชื่อที่ยกตัวอย่างมาสามารถพิสูจน์ได้ว่าไม่เป็นความจริง2.ความเชื่อเก่านั้นก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นสิ่งที่ผิดเสมอไป และความเชื่อใหม่นั้นก็ไม่ใช่ว่าจะถูกเสมอไป ความเชื่อนั้นได้ถูกปรับไปตามยุคสมัย หากเราจะเปลี่ยนความเชื่อเก่าใหม่ทั้งหมดก็คงจะเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากความเชื่อเก่าๆนั้นได้ถูกปลูกฝังไว้กับตัวเราทุกคนตั้งแต่ยังเด็ก เราควรนำความเชื่อเก่ามาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัยในปัจจุบัน และนำความคิดเหล่านั้นมาพิจารณาและกลั่นกรอง ว่าสิ่งไหนควรเชื่อตามหรือสิ่งไหนไม่ควรเชื่อตาม หากความเชื่อนั้นเป็นสิ่งที่เราคิดว่าถูกแล้ว กาลเวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าความเชื่อของเรานั้นเป็นความจริงหรือไม่

  1. หากความเชื่อนั้นสามารถพิสูจน์ได้ ก็ให้พิสูจน์เพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเชื่อนั้นๆ เพื่อให้มั่นใจว่าสิ่งที่เชื่อนั้นถูกต้องและเพื่อความสบายใจที่จะเชื่อ แต่หากความเชื่อนั้นผ่านมานาน จนไม่สามารถพิสูจน์หาข้อเท็จจริงได้ แต่มันเป็นความเชื่อที่จะทำให้เราสบายใจ ตัวเราและคนอื่นไม่เดือดร้อน ก็คงไม่ต้องหาความถูกต้องอะไรมากมายแค่เชื่อแล้วสบายใจก็คงเพียงพอ

  2. ทำความเข้าใจถึงผลเสียที่เกิดขึ้นจากความเชื่อเก่าที่มี ทำไมถึงเชื่อแบบนั้น แล้วการเชื่อแบบนั้นส่งผลกระทบอะไรต่อเราบ้าง แล้วค่อยๆเริ่มสร้างความเชื่อใหม่ให้เกิดขึ้น พยายามเปิดใจรับความจริง เปิดใจฟังในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นกลาง หาข้อเท็จจริง รวมทั้งผลที่ตามมาจากการเชื่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่งเราจะสามารถสร้างความเชื่อใหม่เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้ดีขึ้นได้

1.ทุกๆอย่างต้องอาศัยเวลาในการพิสูจน์ สำหรับบางความเชื่อที่เราเคยเชื่อมาตลอดว่ามันเป็นเรื่องถูกต้องแต่สุดท้ายเมื่อกาลเวลาเปลี่ยน สิ่งที่เราคิดว่าถูกว่าดีกลับกลายเป็นหลังมือจนเราอาจจะคาดไม่ถึง โดยอาศัยปัจจัยหลายด้านที่มาเปลี่ยนความคิดของเรา พิสูจน์ให้เราเห็นว่าความเชื่อที่ผูกกับเรามาตลอดเป็นเพียงนิทานหลอกเด็กที่ใช้ไม่ได้ในกาลเวลาปัจจุบัน แต่ขณะเดียวกันในหลายความเชื่อก็ถูกพิสูจน์แล้วว่ามันเป็นไปตามนั้น มีเหตุและผลของมัน ไม่ว่าจะดีหรือร้ายแต่ความเชื่อนั้นถูกพิสูจน์ด้วยเวลาที่ล่วงเลยว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ในคำว่าถูกต้องหมายถึงสามารถใช้ได้หรืออิงได้กับในยุคสมัยนั้นๆ เพราะในบางครั้งความเชื่อบางอย่างถูกต้องสำหรับในสมัยก่อน แต่อาจใช้ไม่ได้ในสมัยใหม่ จากข้อความข้างต้นกล่าวได้ว่าความเชื่อจะผิดหรือถูกขึ้นอยู่กับกาลเวลา และที่สำคัญคือตัวบุคคลที่ต้องมีการรับฟังและเปิดใจมองโลกให้กว้างเพราะเวลาเปลี่ยน อะไรๆก็เปลี่ยน ความคิดมนุษย์ก็เปลี่ยน ไม่มีสิ่งใดจีรังยั่งยืน แม้แต่สิ่งที่เรียกว่าเป็นกฎ เช่นกฎของดอลตัน ยังสามารถถูกล้มล้างได้ นับประสาอะไรกับข้อความที่เรียกว่า “ความเชื่อ”2. ไม่จำเป็นว่าความเชื่อเก่าจะส่งผลทำให้เรามีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์เสมอไป เพราะในบางทีเราอาจจะคิด ตัดสินใจทำหรือแสดงพฤติกรรมที่ขัดกับความเชื่อที่เรามีอยู่ในใจ แต่หากต้องให้สร้างความเชื่อใหม่มาแทนที่ความเชื่อเก่า ก็จำเป็นต้องถูกพิจาราณาแล้วว่าความเชื่อที่เราได้มาใหม่ส่งผลต่อชีวิตเราในอนาคตอย่างไร สะดวก เร็ว ถูกต้อง มีผลดีต่อตนเองและผู้อื่นมากขึ้นหรือไม่ ชั่งน้ำหนักเปรียบเทียบดูว่าสิ่งใหม่ที่มาแทนที่นั้นมีผลกระทบในวงกว้างหรือไม่ เพราะเราทุกคนต้องการจะเลือกสิ่งที่ดีกว่า เหมาะสมกว่าให้กับตัวเองเสมอ

1.ทุกๆอย่างต้องอาศัยเวลาในการพิสูจน์ สำหรับบางความเชื่อที่เราเคยเชื่อมาตลอดว่ามันเป็นเรื่องถูกต้องแต่สุดท้ายเมื่อกาลเวลาเปลี่ยน สิ่งที่เราคิดว่าถูกว่าดีกลับกลายเป็นหลังมือจนเราอาจจะคาดไม่ถึง โดยอาศัยปัจจัยหลายด้านที่มาเปลี่ยนความคิดของเรา พิสูจน์ให้เราเห็นว่าความเชื่อที่ผูกกับเรามาตลอดเป็นเพียงนิทานหลอกเด็กที่ใช้ไม่ได้ในกาลเวลาปัจจุบัน แต่ขณะเดียวกันในหลายความเชื่อก็ถูกพิสูจน์แล้วว่ามันเป็นไปตามนั้น มีเหตุและผลของมัน ไม่ว่าจะดีหรือร้ายแต่ความเชื่อนั้นถูกพิสูจน์ด้วยเวลาที่ล่วงเลยว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ในคำว่าถูกต้องหมายถึงสามารถใช้ได้หรืออิงได้กับในยุคสมัยนั้นๆ เพราะในบางครั้งความเชื่อบางอย่างถูกต้องสำหรับในสมัยก่อน แต่อาจใช้ไม่ได้ในสมัยใหม่ จากข้อความข้างต้นกล่าวได้ว่าความเชื่อจะผิดหรือถูกขึ้นอยู่กับกาลเวลา และที่สำคัญคือตัวบุคคลที่ต้องมีการรับฟังและเปิดใจมองโลกให้กว้างเพราะเวลาเปลี่ยน อะไรๆก็เปลี่ยน ความคิดมนุษย์ก็เปลี่ยน ไม่มีสิ่งใดจีรังยั่งยืน แม้แต่สิ่งที่เรียกว่าเป็นกฎ เช่นกฎของดอลตัน ยังสามารถถูกล้มล้างได้ นับประสาอะไรกับข้อความที่เรียกว่า “ความเชื่อ”2. ไม่จำเป็นว่าความเชื่อเก่าจะส่งผลทำให้เรามีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์เสมอไป เพราะในบางทีเราอาจจะคิด ตัดสินใจทำหรือแสดงพฤติกรรมที่ขัดกับความเชื่อที่เรามีอยู่ในใจ แต่หากต้องให้สร้างความเชื่อใหม่มาแทนที่ความเชื่อเก่า ก็จำเป็นต้องถูกพิจาราณาแล้วว่าความเชื่อที่เราได้มาใหม่ส่งผลต่อชีวิตเราในอนาคตอย่างไร สะดวก เร็ว ถูกต้อง มีผลดีต่อตนเองและผู้อื่นมากขึ้นหรือไม่ ชั่งน้ำหนักเปรียบเทียบดูว่าสิ่งใหม่ที่มาแทนที่นั้นมีผลกระทบในวงกว้างหรือไม่ เพราะเราทุกคนต้องการจะเลือกสิ่งที่ดีกว่า เหมาะสมกว่าให้กับตัวเองเสมอ

1.การที่จะรู้ได้ว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องจะต้องพิจารณาจากเหตุและผลว่าความเชื่อนั้นสามารถพิสูจน์ได้หรือไม่ และถ้าข้าพเจ้าจะเชื่ออะไรสักอย่างหนึ่งข้าพเจ้าจะเชื่อเพราะได้ลงมือปฎิบัติจริงๆ ไม่ได้เชื่อเพราะคำพูดของผู้อื่น จึงเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นถูกต้องเพราะเราได้ลงมือทำมันด้วยตนเองแล้ว แต่บางเรื่องก็เป็นเรื่องที่เราลงมือปฎิบัติเองโดยตรงไม่ได้เราจึงต้องค้นหาข้อมูลจากหลายๆแหล่งหรือจากหนังสือหลายๆเล่มเพื่อมาอ้างอิงว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นถูกต้อง และเราก็ต้องมีสติ ความคิดวิเคราะห์และต้องมีวิจารณญาณในการจะเชื่อเรื่องใดสักเรื่องหนึ่ง ไม่เชื่อไปตามกระแสหรือการชวนเชื่อ 2.ในการจะสร้างความเชื่อใหม่โดยส่วนตัวของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะมองถึงข้อเสีย ข้อผิดพลาดของความเชื่อเก่า ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เรามีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์จากนั้นจะปรับเปลี่ยนความคิดของตนเองให้มีมุมมองต่อความเชื่อเก่าเปลี่ยนไป ซึ่งจากสิ่งที่เคยเชื่อก็จะเปลี่ยนความคิดใหม่เป็นไม่เชื่อ เพราะความเชื่อนี้ส่งผลให้เรามีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ โดยวิธีการเปลี่ยนนั้นจะพิจารณาจากหลักเหตุและผล และวิเคราะห์ว่าความเชื่อเก่ามันไม่ดี และความเชื่อใหม่มันดีกว่าเพราะจะทำให้เรามีพฤติกรรมที่ดีขึ้น จากนั้นก็พยายามเปิดใจยอมรับความเชื่อใหม่

1.การที่จะรู้ได้ว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องจะต้องพิจารณาจากเหตุและผลว่าความเชื่อนั้นสามารถพิสูจน์ได้หรือไม่ และถ้าข้าพเจ้าจะเชื่ออะไรสักอย่างหนึ่งข้าพเจ้าจะเชื่อเพราะได้ลงมือปฎิบัติจริงๆ ไม่ได้เชื่อเพราะคำพูดของผู้อื่น จึงเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นถูกต้องเพราะเราได้ลงมือทำมันด้วยตนเองแล้ว แต่บางเรื่องก็เป็นเรื่องที่เราลงมือปฎิบัติเองโดยตรงไม่ได้เราจึงต้องค้นหาข้อมูลจากหลายๆแหล่งหรือจากหนังสือหลายๆเล่มเพื่อมาอ้างอิงว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นถูกต้อง และเราก็ต้องมีสติ ความคิดวิเคราะห์และต้องมีวิจารณญาณในการจะเชื่อเรื่องใดสักเรื่องหนึ่ง ไม่เชื่อไปตามกระแสหรือการชวนเชื่อ 2.ในการจะสร้างความเชื่อใหม่โดยส่วนตัวของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะมองถึงข้อเสีย ข้อผิดพลาดของความเชื่อเก่า ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เรามีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์จากนั้นจะปรับเปลี่ยนความคิดของตนเองให้มีมุมมองต่อความเชื่อเก่าเปลี่ยนไป ซึ่งจากสิ่งที่เคยเชื่อก็จะเปลี่ยนความคิดใหม่เป็นไม่เชื่อ เพราะความเชื่อนี้ส่งผลให้เรามีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ โดยวิธีการเปลี่ยนนั้นจะพิจารณาจากหลักเหตุและผล และวิเคราะห์ว่าความเชื่อเก่ามันไม่ดี และความเชื่อใหม่มันดีกว่าเพราะจะทำให้เรามีพฤติกรรมที่ดีขึ้น จากนั้นก็พยายามเปิดใจยอมรับความเชื่อใหม่

  1. ความเชื่อที่เรามีมานั้นแตกต่างกันเพราะเราต่างเกิดมาในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน และความเชื่อที่เรามีมานั้นหลายครั้งก็เกิดจากประสบการณ์และความเจ็บปวดที่ได้พบเจอจริงๆ ดิฉันเลยคิดว่าหากเห็นผู้อื่นมีความเชื่อที่แตกต่างนั้นก็ไม่ควรมองว่ามันผิด เพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่าเขาเจออะไรมาบ้าง ดังนั้นดิฉันจึงเชื่อว่าความเชื่อนั้นไม่มีถูกและผิด เพียงแต่ความเชื่อที่เรามีนั้นจะส่งผลดีหรือร้าย หากพิจารณาแล้วว่าความเชื่อที่เรามีนั้นก่อเกิดเป็นพฤติกรรมที่ส่งผลร้ายต่อตัวเองและคนรอบข้างก็ควรจะแก้ไข โดยแก้ไขพฤติกรรมนั้นและเปลี่ยนความเชื่อเก่าที่ส่งผลร้ายให้เป็นความเชื่อใหม่ที่ส่งผลดีต่อเราและผู้อื่น

2.เราต้องมองเห็นและคิดพิจารณาว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นก่อให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ มองหาข้อเสียของมัน มองให้ไกลถึงอนาคตว่าหากเรายังมีความเชื่อและพฤติกรรมแบบนี้แล้วจะเป็นอย่างไร จากนั้นหาข้อดีและข้อเสียของความเชื่อใหม่เอามาเปรียบเทียบกันแล้วใช้เป็นแรงผลักดันเป็นเหตุผลให้ความเชื่อใหม่นั้นเข้ามาแทนที่ เพราะหากเรามีเหตุผลที่ดีการเปลี่ยนความเชื่อนั้นคงจะไม่ใช่เรื่องยาก เพียง แต่อาจต้องใช้เวลา

1.เราทราบได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง การที่ข้าพเจ้าจะเชื่อว่าความเชื่อของเรานั้นถูกต้องเกิดจากการที่ข้าพเจ้าได้พบเจอจริงในชีวิต จากประสบการณ์เก่าที่เคยพบเจอ จากการลองผิดลองถูก และการพิสูจน์ หากว่าข้าพเจ้าเชื่อสิ่งๆหนึ่งแต่ในความเป็นจริงสิ่งนั้นไม่ได้เป็นไปตามความเชื่อของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าก็จะลบล้างความเชื่อนั้น แต่หากเรื่องใดที่ข้าพเจ้าทำตามความเชื่อของข้าพเจ้าแล้วเป็นจริงตามที่ข้าพเจ้าเชื่อนั้น ข้าพเจ้าก็จะยังคงเชื่อความเชื่อนั้นต่อไป 2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้างความเชื่อใหม่ให้เข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่าได้อย่างไร การที่ข้าพเจ้าจะสร้างความเชื่อใหม่เพื่อมาลบล้างความเชื่อเก่านั้น ข้าพเจ้าจะพิจารณาก่อนว่าความเชื่อเก่าของข้าพเจ้ามีข้อบกพร่อง มีข้อเสียอย่างไร และต่อมาข้าพเจ้าก็จะมาพิจารณาที่ความเชื่อใหม่ที่ได้จากการหาข้อมูล หรือจากสิ่งที่ข้าพเจ้าได้พบเจอในชีวิตจริงว่ามีข้อดีอย่างไรที่ความเชื่อเก่าไม่มี และพิจารณาเปรียบเทียบว่าความเชื่อเก่าหรือความเชื่อใหม่ที่สมเหตุสมผลมากกว่ากัน ถ้าข้าพเจ้าเห็นว่าความเชื่อใหม่ของข้าพเจ้าดีกว่า ข้าพเจ้าก็จะสามารถนำความเชื่อใหม่นั้นมาทดแทนความเชื่อเก่าไ

1.หากเราคิดว่าความเชื่อที่มีมานั้นถูกต้องตามหลักความคิดที่เราเชื่อว่าถูกเเล้วก็ควรจะตรวจเเละผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์ อย่างถี่ถ้วนมาเเล้วเพื่อให้มั่นใจมากยิ่งขึ้นว่าสิ่งที่เราเชื่อว่าถูกต้องเป็นสิ่งที่ถูกต้องอย่างแท้จริงเเละสอบถามผู้รู้หรือคนรอบข้างว่ามีความคิดเห็นเกี่ยวกับความเชื่อที่เราคิดตรงกันหรือไม่ ให้ใช้เกณณ์คนส่วนมากเป็นหลักในการหาข้อพิสูจน์ข้อเท็จจริง2. เอาทั้งความเชื่อใหม่เเละความเชื่อเก่ามาเปรียบเทียบเเละวัดข้อดีข้อเสียของสองหัวข้อนี้ว่ามีข้อที่เเตกต่างกันอย่างไร เเละส่วนไหนที่น่าเชื่อถือมากกว่ากัน เอาข้อดีเเละข้อเสียหักลบกันเเละมามองถึงความเเตกต่างเพื่อนำมาตัดสินใจในการประกอบความเชื่อของเรา

1.เราทราบได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง การที่ข้าพเจ้าจะเชื่อว่าความเชื่อของเรานั้นถูกต้องเกิดจากการที่ข้าพเจ้าได้พบเจอจริงในชีวิต จากประสบการณ์เก่าที่เคยพบเจอ จากการลองผิดลองถูก และการพิสูจน์ หากว่าข้าพเจ้าเชื่อสิ่งๆหนึ่งแต่ในความเป็นจริงสิ่งนั้นไม่ได้เป็นไปตามความเชื่อของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าก็จะลบล้างความเชื่อนั้น แต่หากเรื่องใดที่ข้าพเจ้าทำตามความเชื่อของข้าพเจ้าแล้วเป็นจริงตามที่ข้าพเจ้าเชื่อนั้น ข้าพเจ้าก็จะยังคงเชื่อความเชื่อนั้นต่อไป 2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้างความเชื่อใหม่ให้เข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่าได้อย่างไร การที่ข้าพเจ้าจะสร้างความเชื่อใหม่เพื่อมาลบล้างความเชื่อเก่านั้น ข้าพเจ้าจะพิจารณาก่อนว่าความเชื่อเก่าของข้าพเจ้ามีข้อบกพร่อง มีข้อเสียอย่างไร และต่อมาข้าพเจ้าก็จะมาพิจารณาที่ความเชื่อใหม่ที่ได้จากการหาข้อมูล หรือจากสิ่งที่ข้าพเจ้าได้พบเจอในชีวิตจริงว่ามีข้อดีอย่างไรที่ความเชื่อเก่าไม่มี และพิจารณาเปรียบเทียบว่าความเชื่อเก่าหรือความเชื่อใหม่ที่สมเหตุสมผลมากกว่ากัน ถ้าข้าพเจ้าเห็นว่าความเชื่อใหม่ของข้าพเจ้าดีกว่า ข้าพเจ้าก็จะสามารถนำความเชื่อใหม่นั้นมาทดแทนความเชื่อเก่าได้

1.เปิดใจรับฟังความเชื่ออื่นๆโดยไม่ปิดกันตนเองด้วยความอคติใดๆ คิดวิเคราะห์ความเชื่อเหล่านั้นให้ถี่ถ้วน ถ้าความเชื่อที่เรามีมานั้นผิด ก็แก้ให้เป็นถูก แต่ไม่ใช่ว่าทุกความเชื่อจะสามารถระบุถูกผิดได้ จะมีบางความเชื่อที่เราไม่สามารถบอกได้ว่าอย่างนี้ถูกหรือผิด ถ้าเป็นอย่างนั้นเราควรพิจารณาว่าความเชื่อนั้นได้สร้างความเดือดร้อนหรือความไม่สบายใจแก่ตนเองและผู้อื่นหรือไม่2.เปรียบเทียบความเชื่อเก่าและความเชื่อใหม่ วิเคราะห์ผลดีผลเสียของแต่ละความเชื่อว่าอย่างไหนดีต่อเรามากที่สุด จูงใจตนเองโดยการนึกถึงผลเสียที่ชัดเจนที่สุดของความเชื่อเก่า เช่น อยากผอมและเชื่อว่ายาลดความอ้วนจะช่วยได้ ก็นึกถึงผลร้ายแรงที่สุดที่จะเกิดขึ้นได้ คือเสียชีวิต เป็นต้น และที่สำคัญการเปลี่ยนความเชื่อใหม่นั้น จะต้องไม่สร้างความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่นด้วย

  1. แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?ความเชื่อ เป็นผลมาจากทัศนคติและความคิดที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งแต่ละคนย่อมมีความเชื่อที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการปลูกฝังจิตสำนึกด้านความคิด ด้านศาสนา วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมที่อาศัย ความเชื่อเหล่านั้นก็จะนำไปสู่การแสดงพฤติกรรมออกมา ความเชื่อที่เรามีจะถูกต้องหรือไม่นั้นต้องอาศัยประสบการณ์ และการเรียนรู้ โดยสังเกตจากทัศนคติและพฤติกรรมที่แสดงออกมา หากทัศนคติและพฤติกรรมไปเป็นในทางที่ถูกต้อง ดีงาม ไม่ขัดต่อศีลธรรม และไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น ก็เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า ความเชื่อที่เรามีอยู่นั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง
  2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?ในช่วงแรกของการเปลี่ยนแปลงความเชื่อ อาจจะเป็นสิ่งที่ยาก เพราะยังคุ้นชินกับความเชื่อเดิมๆ ควรเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป การสร้างความเชื่อใหม่เพื่อแทนที่ความเชื่อเก่า เริ่มจากการเปลี่ยนแปลงความคิดในตัวเอง เปรียบเทียบสิ่งที่ดีและสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ เพราะความคิดจะส่งผลให้แสดงพฤติกรรมเหล่านั้นออกมา การเปรียบเทียบนั้นทำให้เกิดการคงไว้ซึ่งความเชื่อของพฤติกรรมที่ดี และขจัดความเชื่อของพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ออกไป การสร้างความเชื่อใหม่ก็เกิดจากการเปิดใจยอมรับสิ่งใหม่ สร้างแรงบันดาลใจ และตั้งเป้าหมายให้กับตนเอง ซึ่งนำไปสู่การแสดงพฤติกรรมใหม่ออกมา
  1. ความเชื่อ คือ ความเข้าใจเฉพาะบุคคลโดยที่อาจจะยังไม่มีหลักฐานพิสูจน์ อาจจะผิด หรืออาจจะถูกก็ได้ จะเป็นเรื่องเกี่ยวชีวิตหรือไม่ก็ได้ จะมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตกรือไม่ก็ได้ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องหรือไม่ ก่อนอื่นเราต้องเปิดใจ รับฟังผู้อื่น ศึกษา ค้นคว้า ไตร่ตรอง วิเคราะห์ พิจารณาให้ถี่ถ้วน พิสูจน์โดยมีการใช้เหตุผลและตรรกะมาประกอบการพิจารณาและมีหลักฐานชี้ชัดมาสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องสามารถเช่อถือได้
  2. ในกรณีที่เราจะต้องเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร การเปลี่ยนความเชื่อนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ก่อนอื่นเราต้องเปิดใจ เปลี่ยนแปลงวิธีคิด สร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อพฤติกรรมที่เราต้องการเปลี่ยน ซึ่งหากทำได้สำเร็จ ตัวเราเองจะค่อยๆปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่เราต้องการได้
  1. เรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?- ความเชื่อ เกิดมาจากการปลูกฝังความคิดกันมาไม่ว่าจะมาจากครอบครัว สิ่งแวคล้อมรอบตัวดังนั้นความถูกต้องของความเชื่อจะขึ้นอยู่กับการคิดวิเคราะห์ของแต่ละคนว่าสิ่งที่ได้รับต่อๆกันมาควรทำหรือไม่ควรทำซึ่งต่างคนต่างมีความคิดที่แตกต่างกันดังนั้นเราต้องเปิดใจรับรู้ความเชื่อของผู้อื่นและอาจนำไปพิจารณาว่าจะสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันตามความเหมาะสมได้หรือไม่
  2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?
    • เราต้องมีเหตุผลว่าเราเปลี่ยนพฤติกรรมของเราเพราะอะไร ความเชื่อเก่าของเรามันมีจุดที่ไม่เหมาะสมอย่างไร เมื่อเรารู้ปัญหาเหล่านั้นเราจึงแก้ไขปัญหาให้ตรงจุดคือพิจารณาหา ความเชื่อใหม่ ที่เหมาะสมซึ่งความเชื่อนั้นอาจจะมาจากการได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆและเราได้พิจารณาแล้วว่ามันสมควรที่จะนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันและมาแทนที่ ความเชื่อเก่า ของเรา

1) เรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?ตั้งแต่เกิดมาพวกเราทุกคนมักจะถูกปลูกฝังความเชื่อตั้งแต่เกิด ได้รับการพร่ำสอนต่างๆทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมถึงรับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมที่อยู่ ซึ่งที่เรารับรู้หรือถูกปลูกฝังมานี้ทำเรามีนิสัย ทัศนคติ หรือความคิดตามที่ถูกสอนมา ดังนั้น จึงเป็นซึ่งที่ยากที่จะตอบได้ว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกหรือไม่ ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน และเกณฑ์การตัดสิน และอีกอย่าง ความเชื่อที่ถูกต้องสำหรับดิฉัน คือ ความเชื่อที่เมื่อกระทำแล้วไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน หรือเกิดความเสียหายทั้งต่อตนเองและผู้อื่น2) ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? การที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเราได้นั้น ก่อนอื่นเลย เราต้องมีคติที่ดีต่อ “ความเชื่อใหม่” และไม่มีอคติต่อ “ความเชื่อเก่า” จากนั้นพิจารณาเหตุและผล ความเชื่อใหม่ที่มาแทนที่ความเชื่อเก่าจะต้องมีเหตุผลมากพอ ไม่มีข้อโต้แย้ง หรือสิ่งที่ทำให้เราสงสัยหรือตะขิดตะขวงใจที่จะเชื่อ เมื่อสมควรแก่เหตุและสมควรแก่ผลแล้ว การเปลี่ยนแปลงความเชื่อก็ไม่ใช่เรื่องยาก นอกจากนี้ การคิดแบบเป็นเหตุเป็นผล ยังช่วยพัฒนาความคิดอีกด้วย

1) ความเชื่อ นั่นจะถูกหรือผิด ขึ้นอยู่กับเราซึ่งเป็นผู้เชื่อในสิ่งนั้นๆ หากเรากำหนดให้สิ่งที่เราเชื่อนั้นเป็นสิ่งถูก สิ่งนั้นก็จะถูก ซึ่งปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความเชื่อคือ ค่านิยม แต่ภายใต้ค่านิยมนี้ การเลือกที่จะเชื่อหรือไม่ ต้องประกอบด้วยหลักเหตุผล และไตร่ตรองว่ามันเป็นจริงหรือไม่ เพื่อให้ความเชื่อที่เราเชื่อนั้นถูกต้องแน่นอน ความเชื่อมีหลากหลายแตกต่างกันไปตามจิตสำนึกของแต่ละคน ดังนั้นหากเราไม่ทำความเดือนร้อน เนื่องจากความเชื่อที่แตกต่าง ความเชื่อที่เรามีก็มิใช่เรื่องผิด แต่ลองเปิดรับความเชื่อใหม่ๆ เพื่อสิ่งที่ดีกว่า2) ใรกรณีที่เราต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของเรานั้น ประการแรกคือ “การเปิดใจ” หากเรามีอคติกับความคิดอื่น การพัฒนาคงไม่เกิดขึ้น อีกทั้งอาจทำให้หลายๆอย่างแย่ลง รวมถึง “การยอมรับ” การยอมรับโดยไม่มีอคติ คือยอมรับว่าความเชื่อเราในอดีตมิใช่ไม่ดี แต่ดีน้อยกว่าความเชื่อใหม่ที่เราได้เปิดใจรับเข้ามาพิจารณา เราก็ควรยอมรับวิธีใหม่เพื่อพัฒนาวิธีเก่าให้ถูกต้อง แต่ก่อนที่เราจะยอมรับความเชื่อใหม่ “Actions speak louder than words” หากเราไม่เห็นด้วยตา ก็ควรใช่สติปัญญาที่มีพิจารณาความเชื่อใหม่ให้รอบคอบและยึดหลักการมีเหตุผลเป็นที่ตั้ง ก่อนเลือกที่จะเชื่อ หากเราไม่ทำเช่นนี้ในยุคโลกาภิวัตน์เช่นนี้ เราคงไม่สามารถตามทันสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วนี้ได้อย่างแน่นอน

คณะเภสัชศาสตร์ สาขาอุตสาหการ วันอังคาร ตอนบ่ายคำตอบ1.ทุกคนมีความเชื่อที่แตกต่างกัน คนทุกคนมีวิจารณญาณที่ไม่มีเหมือนกัน ดังนั้น เกณฑ์ในการตัดสินว่าความเชื่อนั้นถูกหรือผิดของแต่ละคนก็จะไม่เหมือนกัน ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจะเชื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งประกอบด้วยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นอุปนิสัยที่ได้รับผลมาจากการเลี้ยงดูของผู้ปกครอง ว่าได้รับการปลูกฝังและเลี้ยงดูมาแบบใด อีกทั้ง สภาพแวดล้อม ที่เมื่อความเชื่อเป็นที่ยอมรับของสังคมหรือคนหมู่มาก ก็จะทำให้เรารู้สึกว่าสิ่งนี้มีความน่าเชื่อถือ รวมไปถึงกระแสนิยมในปัจจุบัน กระแสเป็นสิ่งที่น่ากลัว เพราะในบางที เป็นการอุปโลกน์หรือการอุปทานหมู่ ที่อาจจะไม่ได้ผ่านการไตร่ตรอง แต่บางครั้งก็เป็นสิ่งที่ดีถ้ากระแสนั้นเป็นสิ่งที่ดีที่ถูก อยู่ภายใต้กฎหมาย รวมไปถึงสร้างประโยชน์ให้กับสาธารณะและประเทศชาติ2.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เราก็ต้องไตร่ตรองก่อนว่านิสัยนั้นที่เราต้องการจะเปลี่ยน ต้องเปลี่ยนหมดหรือไม่ ต้องหาทั้งข้อดีและข้อเสีย ถ้ายังมีข้อดีที่เราควรจะมี ก็ให้ลองปรับข้อเสียให้ดีขึ้น ก็เหมือนกับการเก็บความเชื่อเก่าในส่วนที่ดีไว้ แล้วเอาความเชื่อใหม่ที่ดีมาแทนที่ความเชื่อเก่าที่ไม่ดี แต่ก่อนจะเปลี่ยนความเชื่อได้ เราต้องมีจิตใต้สำนึกที่แยกผิดชอบชั่วดีออก ไม่เห็นกรงจักรเป็นดอกบัว แล้วเราถึงจะสามารถเปลี่ยนความเชื่อได้

นางสาวกัลยวรรธน์ รัตนพัธ์ คณะเภสัชศาสตร์ 6210710002 ชั้นปีที่11.ความเชื่อเป็นสิ่งที่กำหนดพฤติกรรมทั้งทางด้านความคิดและจิตใจของมนุษย์เรา ซึ่งความเชื่อของพวกเรานั้นมาจาก การถูกปลูกฝังจากผู้ใหญ่ในสังคมทั้งพ่อแม่ ญาติพี่น้อง รวมทั้งครูอารย์ ซึ่งเราสามารถรับความเชื่อได้จากการฟังจากผู้อื่น การถูกอบรมสั่งสอนจากผู้ใหญ่ ประสบการ์ณโดยตรงที่ได้เผชิญด้วยตนเอง หรือแม้แต่การอ่านข่าวสารทางสื่อโซเชียลจนทำให้เกิดความเชื่อทั้งที่เกิดจากข้อเท็จจริงหรือเป็นเพียงข้อความที่ถูกพูดต่อหรือส่งต่อมาแต่ไม่มีมูลความจริง เราควรมีวิจารญาณและไตร่ตรองข้อมูลที่ได้รับให้ดีเสียก่อนที่จะยอมรับความเชื่อนั้น เพราะหากได้รับความเชื่อที่ผิดอาจส่งผลกระทบต่อทั้งตนเอง ผู้อื่น และสังคม2.ถ้าหากเราจะสร้างความเชื่อใหม่เราต้องเปิดกรอบความคิดให้กว้างขึ้น เราต้องเปิดใจรับสิ่งใหม่ๆเข้ามาไม่ต้องลบความคิดเก่าออกทั้งหมดเพียงแต่ยอมเปิดรับสิ่งใหม่มาเพื่อพัฒนาสิ่งเก่าให้ดีขึ้น หากความเชื่อใหม่ดีกว่าเราควรเปลี่ยนความเชื่อเพื่อผลประโยชน์ที่ดีกว่า

1.เรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?สำหรับตัวฉันแล้วฉันคิดว่าแต่ละคนนั้นมีความเชื่อแตกต่างกันอยู่แล้ว สาเหตุนั้นอาจจะขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูหรือสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน บางครอบครัวก็มีขนมธรรมเนียมความเชื่อตามถิ่นที่อยู่อาศัย บางครอบครัวก็มีความเชื่อตามหลักศาสนาที่ตนเองนับถือ ความเชื่อนั้นเป็นรากเหง้าที่คนสืบทอดส่งต่อกันมาผ่านรุ่นสู่รุ่น ไม่มีถูกไม่มีผิดอยู่ที่ความคิดของแต่ละคนว่าจะเลือกเชื่อยังไง2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?เราต้องหาเหตุผลมาลบล้างความเชื่อเก่าก่อนว่าทำไมความเชื่อใหม่ถึงน่าเชื่อถือมากกว่า ถ้ามีข้อมูลหนักแน่นมากพอที่จะทำให้เชื่อถือได้ เราก็อาจจะเปลี่ยนความคิดที่มีอยู่ก่อนแล้วเป็นอย่างอื่นได้ อย่างเช่นการที่เราเชื่อว่าถ้ากลืนเมล็ดแตงโมไปจะทำให้เมล็ดไปงอกในท้อง ซึ่งความเชื่อนี้เกิดจากการที่พ่อแม่หลอกเราตอนเด็กๆเพื่อไม่ให้เรากลืนเมล็ดผลไม้ลงไป แต่พอโตมาแล้วการที่เราได้เรียนรู้ด้วยสภาพแวดล้อม การศึกษา ทำให้ความเชื่อที่มีอยู่เดิมนั้นเปลี่ยนไป ดังนั้นการที่เราจะเปลี่ยนความเชื่อเก่า โดยสร้างความเชื่อใหม่เข้ามาแทนที่ ของมูลจะต้องหนักแน่นมากพอ และมีความน่าเชื่อถือเราถึงจะเปลี่ยนความเชื่อนั้นได้

นางสาวนิติรัตน์ ตุลายะนะ คณะเภสัชศาสตร์ สาขาเภสัชกรรมอุตสาหการ ชั้นปีที่ 1 รหัส 6210710013 กลุ่ม 01 การที่เราจะบอกว่าความเชื่อที่เราแต่ละคนมีนั้นเป็นเรื่องที่ถูกต้องหรือไม่นั้นเป็นไปได้ยาก เพราะความเชื่อของคนเราแต่ละคนนั้นเกิดจากการปลูกฝัง การอบรมสั่งสอน ประสบการณ์ หรือสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ในการที่จะบอกว่าเป็นความเชื่อที่ถูกค้องนั้นเราควรพิจารณาตามหลักของข้อเท็จจริงและเหตุผล และต้องเป็นความเชื่อที่ไม่ส่งผลเสียหรือผลกระทบต่อตัวเราเองและผู้อื่น อาจจะถือได้ว่าเป็นความเชื่อที่ถูกต้อง และถ้าหากเราต้องการที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมหรือสร้างความเชื่อใหม่เข้ามาทดแทนนั้นควรเริ่มจากการเปิดใจ เปิดรับความเชื่อใหม่ๆแต่ก็ไม่ละทิ้งความเชื่อเดิมที่ดีอยู่แล้วแต่อาจมีการปรับเปลี่ยนความเชื่อเหล่านั้นให้ให้เหมาะสมกับปัจจุบันและดียิ่งขึ้นไป มีการกำหนดเป้าหมายในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ชัดเจน หาแรงบันดาลใจและลงมือปฏิบัติสม่ำเสมอ

  1. จากความคิดเห็นส่วนตัว ฉันคิดว่าความเชื่อต่างๆเกิดจากสิ่งที่เราโดนปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก สภาพแวดล้อมที่เคยประสบ หรืออาจจะเป็นจากเหตุการณ์ฝังใจ แต่ไม่ใช่ว่าความเชื่อของเราจะถูกต้องเสมอไป เราทุกคนมีความเชื่อได้ แต่จะต้องอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้องและไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น หากเราเชื่อในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเราก็ควรจะเปิดใจเรียนรู้ต่อยอดสิ่งนั้นออกไป เช่นกันหากความเชื่อของเราผิดพลาดเราก็ควรจะทำความเข้าใจในเรื่องนั้นๆใหม่
  2. ฉันเชื่อว่าหากเรามีความเชื่อในเรื่องใดเรื่องนึงที่ผิดพลาด เมื่อมีสิ่งที่เราอยากจะแก้ไขให้เป็นสิ่งที่ถูกต้อง อย่างแรกคือเราควรเปิดใจรับมัน และทำความเข้าใจเรื่องนั้นใหม่ เพื่อสร้างความเชื่อใหม่ๆมาแทนที่ความเชื่อเก่าที่ผิดไป สิ่งแรกที่เราควรจะเชื่อมั่นและควรจะทำคือเราต้องเชื่อมั่นในตนเองว่าเราทำได้ เราสามารถสร้างความเชื่อที่ถูกต้องใหม่ได้ เพราะฉนั้นพื้นฐานจึงสร้างได้ที่ความเชื่อมั่นในตนเองของเราเป็นสำคัญ

1ความเชื่อก็พัฒนามาจากความคิด ในขณะเดียวกัน ความคิดพัฒนามาจากความเชื่อด้วยเช่นกัน ความเชื่อนั้นมีหลากหลายแบบ เช่น ความเชื่อที่เกิดขึ้นเป็นแบบไม่อาศัยเหตุผล หรือหลักตรรกะ เชื่อตามอย่างเดียว ความเชื่อที่เกิดขึ้นเป็นแบบ อาศัยหลักเหตุผล และตรรกะ สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าความเชื่อเป็นรากเหง้าความคิดของมนุษย์ ซึ่งความคิดนี้เป็นสิ่งที่กำหนดลักษณะการแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมต่างๆ ดังนั้นการที่คนบางคนมีพฤติกรรมที่ดี ก็มีต้นตอมาจากความคิดและความเชื่อ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการปลูกฝังความเชื่อที่ถูกต้องจะนำพาไปสู่ความคิดที่ดีทำให้มีการแสดงออกทางพฤติกรรมที่ดี 2ความเชื่อในเรื่องใดก็ตาม ส่วนใหญ่มักจะมีจุดเริ่มมาจากอุปนิสัยส่วนตัวซึ่งอาจมีผลจากครอบครัวและสภาพแวดล้อม สภาพแวดล้อมนี้รวมถึงสังคม การศึกษา และการปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น คนที่อยู่ในสังคมที่มีความแตกต่างหลากหลายของผู้คน ประกอบกับเป็นคนที่เปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่สม่ำเสมอ ความเชื่อก็จะมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงได้ เพราะความเชื่อบางอย่างอาจถูกต้องในเวลาหนึ่ง แต่เมื่อเวลาผ่านไปความเชื่อนั้นอาจกลายเป็นความเชื่อที่ผิดได้หลังจากผ่านการพิสูจน์ด้วยเหตุการณ์ และยุคสมัย ในขณะที่คนที่มีนิสัยยึดมั่นถือมั่นในความคิดของตน ก็เปิดโอกาสรับรู้ และรับฟังสิ่งใหม่ๆได้ยาก การจะรับความเชื่อใหม่เข้ามา สิ่งที่ควรทำคือ เปิดรับความเชื่อใหม่ๆเข้ามา แล้วดูว่าความเชื่อนั้นว่าน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดอีกด้วย นอกจากนี้การที่จะเปลี่ยนความเชื่อนั้นๆ ต้องเริ่มมาจากความสงสัยในความเชื่อก่อน อย่างแรกที่จะต้องทำคือ หาข้อมูลมาหักล้างความเป็นเหตุเป็นผลของข้อมูลเก่าก่อนว่า ความเชื่อที่เคยเชื่อนั้นผิดหรือถูกต้อง หรือหาเหตุผลอื่นๆ มาเสริมให้ความเชื่อใหม่ของเรานั้นมีความน่าเชื่อถือและถูกต้องกว่าข้อมูลเก่า แล้วเราจะค่อยๆเปลี่ยนความเชื่อเก่าเป็นใหม่โดยปริยาย เพราะทุกคนก็อยากที่จะเชื่อในสิ่งที่ถูกต้องและมีผลดีต่อตัวเองทั้งนั้น

  1. แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?ตอบ.จากแนวความคิดที่ว่าการกระทำเป็นผลที่เกิดจากความคิดความเชื่อของเรา การที่เราจะรู้ได้ว่าสิ่งนั้นผิดถูกดีหรือไม่ดีนั้น ดูได้เบื้องต้นจาก ผลของการกระทำ ก่อนแล้วตรึกตรองถึงรากฐานต่างๆของกฎหมายหรือจารีตของวัฒนธรรมที่ตนอยู่
  2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?ตอบ.ศึกษาในเรื่องนั้นๆที่เราต้องการจะเปลี่ยนแปลงก่อนว่าคนส่วนใหญ่หรือคนที่ประสบความสำเร็จในด้านนั้นมีความเชื่อแบบใด มีผลลัพท์จากการกระทำไปในทิศทางใดมีใครได้รบผลกระทบจากการกระทำหรือความคิดแบบนั้นหรือไม่ เราต้องเริ่มต้นเปลี่ยนจากการดูผลทั้งสองด้านก่อนแล้วเปรียบเทียบกับความคิดเดิมของตน ถ้าความคิดใหม่ดีกว่าเราจึงค่อยๆปรับ MindSet. ของตนเองให้ดีขึ้นกว่าเดิม และการที่จะไม่ทำตัวเป็น น้ำเต็มแก้ว จะช่วยคุณในเรื่องนี้ได้มาก

1.) ความเชื่อนั้นมีผลเกี่ยวเนื่องมาจากค่านิยมทางสังคม การมีความเชื่อที่ต่างจากผู้อื่นไม่ใช่เรื่องที่ผิด ดังนั้นเราจะวัดความถูกต้องของความเชื่อนั้นได้จากประพฤติกรรมและการแสดงออก หากเราปฏิบัติตามแล้วเกิดสิ่งที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ไม่ผิดต่อหลักจริยธรรมและกฎหมาย ความเชื่อนั้นก็ถือว่าถูกต้อง2.) คนมักเชื่อว่าถ้าหากเราเปลี่ยนความคิดได้แล้วชีวิตก็จะเปลี่ยนเอง แต่ในความเป็นจริงแล้วกลับพบว่า หลายครั้งที่เราเปลี่ยนความคิดแล้ว แต่ชีวิตกลับไม่ดีขึ้นเลย การเปลี่ยนความคิดก็เหมือนกับการเปลี่ยนภาพที่เราเห็น ซึ่งนั่นไม่ใช่แก่นของการเปลี่ยนแปลงตัวเอง หากต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เคยทำ เราต้องเข้าให้ถึงแก่นของมัน ซึ่งนั่นก็คือ “การเปลี่ยนจุดมุ่งหมายที่เราเคยมี”

1.เรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ความเชื่อนั้นเกิดจากการที่คนเราประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน ซึ่งอาจมีที่มาได้หลายทาง เช่น จากบรรพบุรุษ ประสบการณ์ที่ได้พบเจอด้วยตนเอง ในบางครั้งสิ่งที่เราเชื่อเราไม่เคยตั้งคำถามว่าเชื่อแบบนี้แล้วจะถูกต้องหรือเปล่า แต่ที่เชื่อในสิ่งนั้นก็เพราะครอบครัวเรามีความเชื่อมาแบบนั้นหากเราอยากทราบความเชื่อที่มีนั้นถูกต้องหรือไม่ เราจะต้องพิสูจน์ความถูกต้องของความเชื่อนั้น โดยวิธีที่พิสูจน์คือ เราต้องปฏิบัติตามความเชื่อนั้นว่าจะได้ผลเป็นเช่นไร เช่น ถ้าหากเราเชื่อว่าการอ่านหนังสือก่อนนอนจะทำให้จดจำเนื้อหาได้ดีกว่า เราก็ต้องลองอ่านหนังสือก่อนนอนดูว่าจะจำเนื้อหาทั้งหมดได้หรือไม่ หากเราทำแล้วทำให้เราจำเนื้อหาที่เรียนได้นั่นแสดงว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นถูก แต่หากทำแล้วเราจำเนื้อหาที่เรียนไม่ได้เลย เราก็ต้องกลับมาดูว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นควรจะเชื่อต่อไปหรือไม่ 2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? การที่เราจะสร้างความเชื่อใหม่ ให้มาแทนที่ความเชื่อเก่านั้นเราจะต้องมั่นใจก่อนว่าสิ่งที่เราทำหรือเชื่อนั่นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และหากความเชื่อเก่าของเรานั้นมันผิดจริง เราต้องค้นหาที่มาว่าเกิดจากสาเหตุใด เมื่อเราค้นพบแล้ว เราก็ต้องนำตัวเองไปสู่การเปลี่ยนแปลงความเชื่อโดยค้นหาข้อมูลมายืนยันว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ในปัจจุบันสังคมเราได้ถูกขับเคลื่อนด้วยข่าวลือและคำบอกเล่าจากปากต่อปากอยู่ตลอดเวลา ทำให้ความเชื่อที่เรามีอยู่นั้นอาจไม่รู้แน่ชัดว่าถูกหรือผิด เราจะรู้ได้โดย ถ้าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ความคิดรวมถึงพฤติกรรมจะแสดงออกในทางที่ถูกต้องและไม่ทำให้ใครคนใดเดือดร้อน แต่หากเป็นสิ่งที่ผิด ความคิดและพฤติกรรมจะเป็นไปในทางที่ไม่เหมาะสม อาจไปทำให้ใครเดือดร้อนได้ หรือเกิดความเสียหายต่อตนเอง

2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? การที่เรามีความเชื่อเก่า อาจจะเป็นความเชื่อที่สืบต่อกันมานาน จนในปัจจุบันอาจมีการพิสูจน์แล้วว่าไม่มีจริงหรือไม่เกิดขึ้นจริง ดังนั้นเราควรมีการปรับเปลี่ยนทัศนคติ ความคิดและเปิดใจพร้อมรับความเชื่อใหม่ๆเข้ามาบ้าง อาจทำให้ความคิดและพฤติกรรมของเรานั้นเปลี่ยนไปในทางที่เหมาะสมบนพื้นฐานแห่งความถูกต้อง

1.ความเชื่ออาจจะเกิดจากนิสัยส่วนตัว พื้นฐานของครอบครัว รวมถึงสิ่งแวดล้อม มีทั้งแบบเหนือธรรมชาติและตามหลักวิทยาศาสตร์ ซึ่งบางความเชื่อเราอาจจะประสบด้วยตนเอง แต่บางครั้งก็อาจเกิดจากการบอกเล่าต่อๆกันมาซึ่งอาจจะมีหลักฐานหรือไม่มีหลักฐานก็ได้ ความเชื่อนั้นมีความผูกพันด้านจิตใจจนเกิดการเคารพนับถือ แต่ควรจะเชื่ออย่างมีเหตุผลไม่ควรจะงมงายหรือคาดหวังเกินไป ความเชื่อของคนเรานั้นไม่สามารถบอกได้ว่าถูกหรือผิด เพราะแต่ละบุคคลย่อมมีความเชื่อแตกต่างกัน แต่หากถามว่าความเชื่อที่เราเชื่อนั้นถูกต้องทุกอย่างไหม เราก็ต้องดูว่าสิ่งเราเชื่อนั้นส่งผลอย่างไรกับเราและคนรอบข้าง หากมีผลในด้ายลบมากกว่าด้านบวกก็ถือเป็นความเชื่อที่ผิด 2.วิธีที่จะเปลี่ยนความเชื่อจากความเชื่อเก่าไปเป็นความเชื่อใหม่นั้น เราจะต้องดูว่าข้อเสียของความเชื่อเดิมว่ามีกระทบต่อตนเองและคนรอบข้างอย่างไร หากพบผลที่ไม่พึงประสงค์ เราอาจจะทิ้งความเชื่อเก่าทั้งหมดไปหรือบางส่วนก็ได้ และอย่าเพิ่งสร้างความเชื่อใหม่ให้แก่ตนเองทันที เราจะต้องไตร่ตรองก่อนว่าการเปลี่ยนความเชื่อมีผลดีอย่างไร และมีเหตุผลมากพอที่ควรค่าแก่การเชื่อหรือไม่ หากสมเหตุสมผลเป็นความเชื่อที่ถูกต้องก่อให้เกิดผลในทางที่ดี เกิดความสุขกับตนเองและคนรอบข้างได้ ก็จะเป็นแรงจูงใจในการเปลี่ยนความคิดนำไปสู่พฤติกรรมใหม่ที่ดีกว่าเดิม

1.เราไม่มีทางรู้ว่าความเชื่อนั้นจะถูกหากเราไม่เจออะไรเหล่านั้นที่เราเชื่อว่าถูก ดังนั้นสิ่งที่ทำให้เราเชื่อว่ามันถูก เราต้องพยายามาแสวงหาหรือค้นคว้าหามันให้ได้จนกว่าเราจะรู้ความจริงด้วยตัวเราเอง2.เราต้องเรียนรู้ก่อนว่าพฤติกรรมนั้นมันแย่ขนาดไหน คนรอบข้างของเรารับมันได้มากน้อยเพียงใดและสิ่งสำคัญเราต้องแคร์คนที่อยู่รอบข้างเราด้วย ซึ่งมันไม่ดีอย่างมาก นั่นจึงทำให้เราเชื่อว่าความเชื่อเก่าๆ มันไม่พึงประสงค์ต่อเราและคนรอบข้าง และควรปรับเปลี่ยนไปทีละนิดจนมันดีขึ้นและสามารถแทนความเชื่อเก่าได้

นายเรืองศักดิ์ ศรีวิไล รหัส6111110118 คณะศิลปศาสตร์ มอ. 1.เราจะรู้ว่าความเชื่อที่เรามีนั้นจะถูกต้องก็ต่อเมื่อในอันดับเเรกตัวเรานั้นต้องมีความมั่นใจในตัวเองและความคิดของตัวเองเสียก่อนหากเราไม่มีความมั่นใจและความคิดของตัวเองผู้อื่นหรือใครเขาจะมาเชื่อในสิ่งที่เรานั้นเชื่อได้ และสุดท้ายสิ่งที่ยืนยันได้จริงและเป็นรูปธรรมที่สุดนั้นก็คือการพิสูจน์ความเชื่อของเราไห้กับคนโดยรวมเห็นและยอมรับกันเป็นวงกว้างนั้นเอง2.ในการที่เราจะนำความเชื่อใหม่มาแทนที่ความเชื่อเก่าเพื่อต้องการลบล้างพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์นั้น ผมว่าไม่ใช่สิ่งที่ยาก โดยอันดับเเรกตัวเรานั้นควรเปิดใจไห้กว้างและอย่าอคติในความคิดใหม่ๆ เพราะไม่มีสิ่งใดหรอกที่จะจีรังยั่งยืน ความเชื่อก็เช่นกันหากเราเห็นว่ามันไม่เข้ากับตัวเราแล้วเชื่อไปก็มีแต่เสียกับเสียเราควรละทิ้งมันและยอมที่จะความเชื่อใหม่ๆที่อาจจะทำไห้เรานั้นดียิ่งขึ้นไปอีก

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?ความเชื่อมักเกิดมาจากการสั่งสมประสบการณ์ที่ตนเองพบเจอหรือบุคคลรอบข้างก็อาจมีส่วนที่จะเป็นแรงสนับสนุนให้เราเกิดความเชื่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้อย่างมั่นใจ หรือคล้อยตามไปในเวลาเดียวกัน ความเชื่อไม่จำเป็นต้องเหมือนกันเพราะสภาพแวดล้อม วัฒนธรรมสิ่งรอบข้างของแต่ละคนล้วนแตกต่างกัน ความเชื่อของเราจะถูกต้องก็ต่อเมื่ออยู่กับคนที่ทัศนคติหรือมีความคิดที่เหมือนกับเรา แต่ถ้าหากคนเปลี่ยนเวลาเปลี่ยนความเชื่อนั้นอาจจะไม่หมือนเดิม แต่สุดท้ายแล้วความเชื่อของเราจะถูกหรือไม่ทางที่ดีที่สุดคือ ความเชื่อของเราต้องไม่ไปกระทบกับคนอื่นและต้องไม่พยายามเปลี่ยนความเชื่อของคนอื่นเพียงเพราะคิดว่าของตนเองถูก2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?เราไม่จำเป็นที่ต้องลบความเชื่อเก่าๆเพียงเพราะมีสิ่งใหม่เข้ามา เพียงแค่เรียนรู้ให้เห็นถึงความแตกต่างและเปิดใจยอมรับจะทำให้เราเห็นอะไรที่กว้างมากขึ้น ไม่ปิดกั้น ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นล้วนมีความแตกต่าง รู้จักที่จะเรียนรู้กับสิ่งต่าง ๆที่ผ่านเข้ามาในชีวิตเพื่อเป็นการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ได้มองในหลาย ๆด้าน ก็จะทำให้เกิดความเชื่อใหม่ๆขึ้น ไตร่ตรองสิ่งต่าง ๆที่ผ่านเข้ามาอย่างมีสติเพราะทุกความเชื่อล้วนเป็นสิ่งที่ถูกของทุกคน ถึงแม้บางเรื่องเราจะมองว่าไม่จริงแต่ใช่ว่าเราจะเอาความคิดนี้ไปตัดสินกับคนที่คิดว่ามันเป็นความจริงได้

1.เราจะรู้อย่างไรว่าความเชื่อเรานั้นถูกต้อง เเต่ละคนนั้นมีความคิดความเชื่อที่เเตกต่างกันอาจเป็นเพราะว่าอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ตต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการถูกปลูกฝังจากครอบครัว ความคุ้นเคยกับการอยู่ในสังคมเพื่อนทุกๆวัน ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่ทุกคนจะมีความเชื่อต่างๆกัน เเต่สิ่งที่ควรจะมีในทุกๆคนก็คือ เราควรตระหนักว่า สิ่งที่เราเชื่ออยู่นั้นมีความถูกต้องหรือไม่ เราทราบได้จากการข้อเท็จจริง ความจริง ข้อมูลที่ถูกต้องของสิ่งนั้นๆ มาคิด วิเคราะห์ แยกแยะ ไตร่ตรองให้ถี่ถ้วนก่อนจะตัดสินใจเชื่อ หากไม่ทำเช่นนี้ความเชื่อของเราก็เป็นเเค่สิ่งงมงาย …….

2.เราสร้างความเชื่อใหม่แทนความเชื่อเก่าอย่างไร เราต้องเปิดใจกับสิ่งใหม่ๆเพราะปัจจุบันเรามีเทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้น ความเชื่อเก่าๆเราอาจจะเปลี่ยนแปลงไป เปลี่ยนมุมมองความคิดเดิมๆ คิดแตกต่าง เปิดโลกความคิดให้กว้างขึ้น เเต่ถ้าหากไม่อยากทิ้งความเชื่อเดิมของเรา เราก็อาจจะหาความรู้ใหม่ๆมีเพิ่มเติมเสริมความเชื่อของเรา ซึ่งอาจจะทำให้ความเชื่อของเราดีขึ้น (6210712012 คณะเภสัชศาสตร์ สาขา การบริบาลทางเภสัชกรรม)

1.ความเชื่อ คือ การที่เรายอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริง โดยไม่จำเป็นต้องตรงตามหลักเหตุผล,หลักวิทยาศาสตร์ โดยแต่ละคนจะมีความเชื่อที่แตกต่างกันมากมายตามประสบการณ์,ชาติกำเนิด,ศาสนา และ การเติบโตในแต่ละครอบครัวที่แตกต่างกัน ฯลฯ โดยเมื่อเราโตขึ้นเราก็ควรคิดวิเคราะห์ตามหลักเหตุผลและประสบการณ์ต่างๆ ว่าความเชื่อที่เรามีมาถูกต้องหรือไม่2.เมื่อเราจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเรา เราควรรับฟังความคิดเห็นจากบุคคลภายนอกและปรับทัศนคติของเราให้ดีขึ้น และสร้างความเชื่อใหม่มาแทนที่ความเชื่อเก่า โดยเริ่มจากการปรับปรุงตัวเองทีละเล็กทีละน้อย จนกระทั่งติดเป็นนิสัย เพียงเท่านี้ก็จะสามารถทำให้เราเปลี่ยนแปลงตนเองไปในทางที่ดีขึ้นได้

1.ในความคิดของข้าพเจ้านั้น การที่จะทราบว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องหรือไม่ ทราบได้จากการพิสูจน์ หรือลงมือทำจริง เพราะความเชื่อนั้นเกิดจากการปลูกฝังจากทั้งสถาบันครอบครัว เพื่อน และสังคม ซึ่งเป็นเพียงค่านิยมในแต่ละพื้นที่ หรือแต่ละยุคสมัย ไม่มีใครสามารถบอกได้ว่าความเชื่อใดถูก หรือความเชื่อใดผิด เราจึงควรพิสูจน์ด้วยตัวเองเพื่อให้ทราบแน่ชัดว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นเห็นผลจริงตามที่เชื่อ หรือถูกต้องจริง ที่สำคัญคือบางครั้งแม้คนอื่นจะเชื่อไม่เหมือนเรา ก็ไม่จำเป็นว่าความเชื่อของคนอื่นนั้นจะผิด ความเชื่อเราจะถูก บางครั้งความเชื่อทั้งของเราและของคนอื่นก็อาจจะถูกด้วยกันทั้งคู่ ขึ้นอยู่บริบท ประสบการณ์ ยุคสมัยนั้นๆ เราจึงควรเคารพความเชื่อของผู้อื่น ไม่ดูถูกกัน หรือนำความเชื่อมาเป็นประเด็นในการทะเลาะกัน ท้ายที่สุดแล้วข้าพเจ้าคิดว่าความเชื่อที่ถูกต้องนั้นต้องไม่ทำให้ตัวเอง และผู้อื่นเดือดร้อน เมื่อเชื่อแล้วลงมือทำก็จะเห็นผลจริงตามที่เชื่อ และตั้งอยู่บนหลักศีลธรรมอันดี 2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้างความเชื่อใหม่ มาแทนที่ ความเชื่อเก่า ได้โดยเริ่มต้นที่ตัวเราว่าพร้อมจะเปลี่ยนแปลงความเชื่อหรือไม่ เพราะถ้าหากใจเรายังยึดติดอยู่กับความเชื่อเก่า ไม่อยากเปลี่ยนแปลงแล้ว เราก็ไม่สามารถแทนที่ความเชื่อเก่าด้วยความเชื่อใหม่ได้ เมื่อเปิดใจแล้ว เราก็ต้องเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ที่ติชม แนะนำเรา ไม่โกรธหรือไม่พอใจที่ผู้อื่นนั้นติเรา เมื่อเรียนรู้ได้เช่นนี้ก็จะสามารถพัฒนา “ความเชื่อเก่า” ได้ ทำให้เราน้อมรับ และกล้าที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเราได้จากการที่ผู้อื่นแนะนำ พร้อมที่จะพัฒนา แก้ไข พฤติกรรมเหล่านั้นให้ดียิ่งขึ้นได้

1) สำหรับข้าพเจ้า ความเชื่อนั้นมีทั้งเรื่องที่พิสูจน์ได้ และพิสูจน์ไม่ได้ สำหรับความเชื่อที่พิสูจน์ได้ หากความเชื่อที่มีมานั้นถูกต้อง เราสามารถวัดได้จากความจริงที่ปรากฏ และมีเหตุผลที่สามารถอธิบายได้ถึงเหตุการณ์เหล่านั้น ยกตัวอย่างเช่น ความเชื่อเมื่อก่อนที่เชื่อว่าโลกนั้นแบน แต่เมื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ ได้พัฒนาขึ้น เราก็สามารถพิสูจน์ได้ว่าแท้จริงแล้ว โลกนั้นกลม จากหลักฐานที่ปรากฏนั่นก็คือ ภาพถ่ายจากดาวเทียมนั่นเอง ส่วนความเชื่อที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ เราก็ไม่สามารถบอกได้อย่างแน่ชัดว่าสิ่งใดถูกหรือสิ่งใดผิด แต่ในบางเรื่องเราก็วัดได้จากการกระทำอันมาจากความเชื่อเหล่านั้น หากการกระทำดังกล่าวสร้างความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่น นั่นก็แสดงว่าความเชื่อที่เรามีมาอาจไม่ถูกต้องเสมอไป

2) ข้าพเจ้าคิดว่าการจะสร้างความเชื่อใหม่ให้มาแทนความเชื่อเก่าได้ ต้องเริ่มจากการเปิดใจยอมรับ หากความเชื่อที่เรามีอยู่ถูกพิสูจน์ได้ว่าเป็นสิ่งที่ผิด เราก็ต้องเปิดใจยอมรับก่อนว่าเป็นสิ่งที่ผิด ขณะเดียวกันก็ต้องเปิดใจยอมรับถึงความเชื่อที่ถูกต้องนั้นด้วย เช่นเดียวกันกับความเชื่อที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ หากพฤติกรรมที่แสดงออกมาจากความเชื่อเป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ เราก็ต้องเปิดใจยอมรับว่านั่นอาจไม่ใช่ความเชื่อที่ถูกต้องเสมอไป แล้วลองเปิดใจรับความเชื่อใหม่ ๆ โดยใช้สติปัญญา ความรู้ วิจารณญาณ ถึงความสมเหตุสมผลของความเชื่อใหม่เหล่านั้นก่อน แล้วลองมองไปถึงพฤติกรรมที่จะเกิดจากความเชื่อใหม่ หากพฤติกรรมใหม่ที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่พึงประสงค์แล้ว นั่นก็คือเราสามารถสร้างความเชื่อใหม่ให้มาแทนความเชื่อเก่าได้แล้วนั่นเอง

1) จากบทความได้กล่าวว่า ความเชื่อนั้นเป็นรากเหง้าของความคิด เพราะฉะนั้นหากเราอยากทราบว่าความเชื่อของเรานั้นถูกต้องหรือไม่ก็ควรย้อนกลับไปดูความคิดของเราที่มีต่อเรื่องนั้นๆใหม่ โดยการวางใจให้เป็นกลาง ละทิ้งความอคติต่อตัวบุคคลหรือสิ่งต่างๆที่จะทำให้เราเอนเอียงและมีความคิดที่ไม่ถูกต้องได้ จากนั้นจึงลองมองบุคคลนั้นหรือสิ่งเหล่านั้นจากหลายๆมุม ทั้งในมุมของตัวเราเองและมุมของคนอื่น หากเราพิจารณาแล้วว่ามันสมเหตุสมผลเราก็จะมีความคิดที่สมเหตุสมผลเป็นผลให้เรามีความเชื่อที่ถูกต้องเหมาะสม2) การที่เราจะสร้างความเชื่อใหม่นั้น อย่างแรกเราต้องปรับเปลี่ยนความคิดที่มีมาแต่เดิมให้ถูกต้องก่อน โดยการเปิดใจยอมรับสิ่งต่างๆ เปิดใจยอมรับข้อมูลที่ถูกต้องโดยไม่เอาความคิดหรือความอคติของตัวเองมาเป็นที่ตั้ง ซึ่งถ้าหากเราเปิดใจยอมรับสิ่งที่ถูกต้องได้ก็จะทำให้เรามีความคิดที่ดีและเป็นความคิดที่ถูกต้องและจะส่งผลให้เราเกิดความเชื่อใหม่ที่ถูกต้องสมเหตุสมผล จากนั้นความเชื่อใหม่ที่ถูกต้องนี้ก็จะทำให้เราแสดงพฤติกรรมที่ดีและพึงประสงค์ออกมา

  1. ความเชื่อไม่มีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนมาตัดสินว่าความเชื่อที่เรามีอยู่นั้นถูกหรือไม่ เพียงแต่ความเชื่อที่ส่งผลต่อความคิดและพฤติกรรมที่แสดงออกมานั้นไม่ควรที่จะทำให้ผู้อื่นหรือแม้กระทั่งตนเองเดือดร้อน การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่นด้วยเหตุและผลจึงถือเป็นทางเลือกที่ดี เพราะนั่นอาจทำให้เรามองเห็นในสิ่งที่เรามองข้ามไปเพราะความเชื่อที่เรามีอยู่ได้บ้าง2.ก่อนอื่นเราต้องทราบก่อนว่าความเชื่อของเราต้องผิดหรือสมควรที่จะเปลี่ยนแปลงอย่างไร และที่สำคัญคือเราต้องมีความคิดที่จะเปลี่ยนมัน ในบางเรื่องอาจต้องใช้ความคิดและการไตร่ตรองเยอะๆ เพราะอาจต้องใช้เหตุผลมากมายเพื่อมาสนับสนุนในการเปลี่ยนแปลง เมื่อเราทราบถึงจุดนั้นแล้ว การเปลี่ยนแปลงความเชื่อก็จะง่ายขึ้น จนอาจเปลี่ยนได้ในเวลาไม่นาน หากมันยากก็คงต้องค่อยๆปรับกันไป ต้องใช้เวลาและความเชื่อมั่นในตนเอง

(1.)ความเชื่อของแต่ละคนนั้นแตกต่างกันไป ซึ่งขึ้นกับสิ่งแวดล้อม ความเป็นอยู่ วัฒนธรรมหรือประสบการณ์ที่ได้พบเจอ จากคำถาม”แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง”สำหรับดิฉันความเชื่อที่แตกต่างกันนั้นไม่มีถูกไม่มีผิด แต่สิ่งที่เราได้รับจากสิ่งที่เราเชื่อจะเป็นสิ่งที่แสดงว่าใช่สิ่งที่ถูกหรือไม่ เช่นไม่สร้างความเดือดร้อนให้ตนเองและผู้อื่น สามารถทำให้เราสบายใจ มีความสุขก็น่าจะเป็นความเชื่อที่ถูกต้อง(2.) ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? เมื่อเรามองเห็นว่าตนเองมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ อาจจะเป็นสิ่งที่สร้างความทุกข์ เป็นสิ่งที่ไม่ดีกับตนเองหรือผู้อื่นซึ่งต้องการจะเปลี่ยนแปลง เราควรที่จะเปิดใจกับสิ่งใหม่ๆก่อน ทั้งประสบการณ์และแนวความคิด เพราะอาจจะเป็นสิ่งที่ทำให้เราสบายใจ เปลี่ยนทัศนคติหรือเป็นที่พึ่งทางจิตใจของเราได้ แล้วจะนำไปสู่พฤติกรรมใหม่ที่ดีขึ้นได้

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้อง? ในความคิดของดิฉัน ความเชื่อนั้นส่วนใหญ่ก็มาจากความคิดของแต่ละคนกลายเป็นความเชื่อ และความเชื่อนั้นก็จะส่งต่อๆไป ให้กับคนที่คิดเหมือนกัน ทำให้มีความเชื่อแบบเดียวกัน แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะเชื่อในสิ่งเดียวกันทั้งหมด เราไม่อาจนำความคิดของเราไปตัดสินว่าสิ่งที่คนอื่นคิดคนอื่นเชื่อไม่เหมือนเรานั้นผิด และความเชื่อของเราถูกต้อง 100% การที่เราจะรู้ได้ว่าความเชื่อของเรานั้นถูกต้อง มาจากการที่เรานั้นได้พิสูจน์ให้ได้เห็น หรือมีสิ่งให้มายืนยันรองรับว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นถูก แต่ความเชื่อที่เราคิดว่าถูกในตอนนั้น อาจไม่ได้ถูกต้องตลอดไป เมื่อเวลาผ่านไป มีหลายสิ่งเปลี่ยนแปลงไป ก็อาจทำให้สิ่งที่เราเชื่อมาตลอดนั้นเปลี่ยนไป เราไม่ควรยึดว่าความเชื่อนั้นจะเป็นอย่างนั้นไปตลอด เราควรที่จะปรับมุมมอง มองสิ่งที่เปลี่ยนไปของความเชื่อนั้นและปรับความคิดใหม่ ไม่ยึดติดอยู่กับความเชื่อแบบเดิมไปตลอด ยอมรับมัน ก็จะทำให้ชีวิตเรามีความสุข2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง”ความเชื่อใหม่”ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า”ได้อย่างไร? ในความคิดเห็นของดิฉัน เมื่อเราต้องการที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์นั้นแสดงว่าเราได้คิดวิเคราะห์และรู้ว่าสิ่งนั้นไม่ดี ไม่ถูกและต้องการที่จะเปลี่ยนมัน ความเชื่อนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้เสมอ หากเราเปลี่ยนความคิด และเราพร้อมที่จะยอมรับมันเข้ามา เปิดใจยอมรับความคิดใหม่ๆที่ดีกว่า โดยไม่ยึดติดกับความเชื่อเก่ามากเกินไป ก็จะทำให้เราสามารถปรับเปลี่ยนความเชื่อของตนเองได้ แต่การที่จะรับความคิดใหม่เข้ามานั้นเราก็ควรที่จะคิดพิจารณาดูว่าความเชื่อใหม่ที่รับเข้ามานั้น เป็นสิ่งที่ดี สามารถนำมาใช้ได้(6210710018 คณะเภสัชศาสตร์ สาขาเภสัชกรรมอุตสาหการ)

  1. แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ความเชื่อในแต่ละบุคคลนั้นไม่เหมือนกัน แต่ทุกความเชื่อล้วนแล้วมาจากความคิด และประสบการณ์ของแต่ละบุคคลที่ได้ประสบพบเจอมา ดังนั้นแล้วความเชื่ออาจะเป็นสิ่งที่ถูกต้อง หรือเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องก็ได้ เพราะความเชื่อเป็นเพียงสิ่งที่เกิดจากเพียงแค่คนๆหนึ่ง หรือกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง ถ่ายทอดมายังคนต่อๆไป การที่เราจะรู้ได้ว่าความชื่อนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ ประการแรก เราต้องเปิดรับความเชื่อนั้นก่อน ต้องไม่มีความอคติในความเชื่อนั้น และใช้ความคิด ประสบการณ์ หรือแม้แต่นำความเชื่ออื่นๆ เพื่อมาตัดสินว่าความเชื่อนั้นถูกต้องหรือไม่ ประการที่สอง เราต้องนำความเชื่อนั้นมาลองประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อพิสูจน์ความเชื่อนั้นว่าเป็นสิ่งทีที่ถูกต้องหรือไม่

  2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? การที่เราจะเปลี่ยนพฤติกรรมจากความเชื่อเก่าของเรา เพื่อนำมาสู่ความเชื่อใหม่ที่เราสร้างขึ้นเราต้องเปรียบความข้อดีของความเชื่อเก่าของเราว่ามีอะไรบ้าง ที่เราจำเป็นต้องนำมาคิดเพื่อสร้างความเชื่อใหม่ของเรา และข้อเสียที่เราต้องพิจารณาเพื่อนำมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างความเชื่อใหม่ที่มาทดแทนความเชื่อเก่า

1.รู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อเราถูกต้อง?ดูที่ผลของความเชื่อนั้นๆคือ จากนิยามที่ว่า ความเชื่อ คือ การยอมรับในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยสิ่งนั้นจะมาจากประสบการณ์ตรง การรับรู้รับฟังมาจากผู้อื่น หรือแม้แต่การคิดและอนุมานก็ได้ ซึ่งการที่เราจะเชื่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่งและไว้ใจในสิ่งนั้น เราจะต้องรู้สึกสบายใจกับสิ่งนั้นก่อน ซึ่งการที่เราจะสบายใจกับสิ่งนั้นได้คือ สิ่งนั้นต้องไม่ทำให้ตัวเราและผู้อื่นเดือดร้อน เพราะหากเราทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนเราก็จะไม่สบายใจเช่นกัน นั่นก็ย้อนไปถึงคำตอบที่ว่าดูที่ผลของความเชื่อนั้นๆก็สรุปได้ว่าหากเราเชื่อหรือทำตามความเชื่อแล้วไม่ทำให้ตนเองหรือผู้อื่นเดือดร้อนก็แสดงว่าความเชื่อนั้นเป็นความเชื่อที่ถูกต้องนั่นเอง2.การเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ดีโดยการเปลี่ยนความเชื่อเก่าทำอย่างไร?การที่เราจะเปลี่ยนแปลงนั้นเราต้องพร้อม ถามว่าในที่นี้คือพร้อมอะไรบ้าง ประการแรกพร้อมที่จะยอมรับ ยอมรับว่าสิ่งที่เราเชื่อก่อนหน้านั้นไม่ได้ถูกต้องหรือดีที่สุดเสมอไป หากเราผ่านข้อแรกมาได้แล้ว ความพร้อมประการที่สองคือ พร้อมเปิดรับ เปิดรับสิ่งใหม่ๆที่เข้ามา แต่ก็ใช่ว่าเราจะรับมันมาทั้งหมด การรับในที่นี้ต้องผ่านการไตร่ตรองพิจารณากลั่นกรองอย่างถี่ถ้วนแล้ว ซึ่งจะทำให้เรานำมาสู่ความเชื่อใหม่ที่ดีกว่าเดิมที่เหมาะกับการเปลี่ยนแปลงของเรา และประการหลังคือพร้อมลงมือทำ คือการลงมือเปลี่ยนแปลงในสื่งที่เราอยากเปลี่ยนแปลงนั้นโดยมีรากฐานจากความเชื่อใหม่ที่ผ่านการพิจารณาอย่างดีจากประการที่สอง6210712044 (เภสัชศาสตร์ สาขาการบริบาลทางเภสัชกรรม)

  1. ความเชื่อไม่มีผิดไม่มีถูก ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล ความคิดของแต่ละบุคคล ดังนั้นก่อนที่เราจะเชื่อสิ่งใด เราควรที่จะคิดวิเคราะห์พิจารณาให้ดีว่าสิ่งที่เชื่อนั้นมีความถูกต้องมากน้อยแค่ไหน มีเหตุมีผลมารองรับความเชื่อนี้ไหม หากความเชื่อของเรานั้นไม่ไปเบียดเบียนผู้อื่น ไม่ไปทำร้ายผู้อื่น ก็ไม่ผิดที่เราจะเชื่อความเชื่อนั้น แต่ถ้าหากความเชื่อของเราส่งผลเสียให้แก่ตนเองและผู้อื่น เราก็ควรที่จะพิจารณาอีกครั้งว่าความเชื่อนี้สมควรที่จะเชื่อไหม
  2. เราต้องเตือนตัวเองไว้เสมอว่า “ถ้าหากเราต้องการจะเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดีขึ้น เราต้องทิ้งความคิดและความเชื่อเก่าๆที่ส่งผลเสียต่อตัวเราออกไป แล้วสร้างความเชื่อใหม่ๆที่จะส่งผลดีต่อตัวเราขึ้นมาแทน”(6210712026 คณะเภสัชศาสตร์ สาขาบริบาล)

1)แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?ดิฉันคิดว่า คำว่าความเชื่อ มันก็บ่งบอกอยู่แล้วว่าเป็นความเชื่อ ไม่ใช่ทฤษฎีตายตัวที่ถูกต้อง ไม่มีอะไรมาพิสูจน์ได้ว่าความเชื่อของเรานั้นถูก แต่เพียงแต่ตัวเรา จิตใต้สำนึกของเราบอกว่าสิ่งนั้นเป็นแบบนั้นสิ่งนั้นเป็นแบบนี้ ถ้าให้พูดตามหลักก็คงจะเป็นการตั้งสมมติฐานไปก่อน ซึ่งความเชื่อของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน แตกต่างกันในแต่ละบุคคล เพราะมุมมองของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เธอเชื่ออย่างนั้น ฉันเชื่ออย่างนี้ ไม่มีของใครถูก เพราะมันคือความเชื่อ แต่ความเชื่อนั้นก็ไม่ได้ถูกยึดติดไปตลอด เมื่อเวลาผ่านไป ความเชื่อที่เรามีอาจจะเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา ตามความรู้ใหม่ๆที่มีเข้ามาได้2) ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?สำหรับส่วนตัวดิฉันคิดว่าเมื่อเราเริ่มมีความคิดที่อยากจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเราจากความเชื่อเก่า นั่นแสดงให้เห็นแล้วว่าเราเริ่มมองว่าความเชื่อของเรานั้นเริ่มที่จะผิดเพี้ยนหรือไม่ถูกต้องแล้ว เราจึงอยากจะเปลี่ยนมัน เราจึงต้องเริ่มต้นมองความเป็นจริงมากขึ้นว่าสิ่งนี้เป็นแบบนี้ส่งผลแบบนี้ แน่นอนว่าการเปลี่ยนความเชื่อใหม่นั้นต้องผ่านการคิดวิเคราะห์ไตร่ตรองมากกว่าครั้งแรกแน่นอน คิดวิเคราะห์ไตร่ตรองจนคิดว่าได้ความเชื่อใหม่ที่ถูกที่สุด ณ ตอนนั้นในความคิดเรา ไม่ส่งผลเสียต่อตัวเองและคนอื่น ซึ่งความเชื่อใหม่นั้นจะส่งผลถึงพฤติกรรมที่ดีขึ้นอีกของตัวเรานั้นเอง

  1. แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้อง? สำหรับดิฉันความเชื่อที่เราได้รับมาจะเป็นความเชื่อที่ถูกต้องได้ต้องอาศัยการพิจารณาโดยอยู่บนหลักของเหตุและผล บนหลักของความเป็นจริง แต่ความเชื่อสามารถเปลี่ยนแปลงได้อยู่เสมอ ถึงแม้ว่าความเชื่อที่รู้มาจะเป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงมาเป็นระยะเวลานานแต่หากมีหลักฐานที่ดีกว่าหรือสมเหตุสมผลมากกว่ามายืนยันสนับสนุน และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปตามหลักการที่ถูกต้อง
  2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?เราจะต้องเข้าใจถึงเหตุผลวว่าทำไมความเชื่อเก่าถึงเปลี่ยนสิ่งที่ควรเปลี่ยน จะทำให้เราสามารถเชื่อมั่นในความเชื่อใหม่ได้อย่างเข้าใจ เมื่อเรามีความเชื่อที่ถูกต้องและมั่นใจในความเชื่อของเราแล้ว พฤติกรรมของเราก็จะถูกปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของความเชื่อภายในสังคมนั้นๆ

ความเชื่อคือการยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริงหรือการดำรงมีอยู่จริง โดยอาศัยประสบการณ์ตรง การไตร่ตรองต่างๆ ความเชื่อมีทั้งสามารถพิสูจน์ได้และไม่สามารถพิสูจน์ได้ ส่วนที่สามารถพิสูจน์ได้นั้นสามารถหาคำตอบได้จากความจริงที่ปรากฎ และความเชื่อก็ยังขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม วัฒนธรรม และการดำรงอยู่ของผู้คนนั้นๆ ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไรนั้นดิฉันมีความคิดว่า ความเชื่อของคนเราสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา หากมีสิ่งใดมาเปลี่ยนแปลงมัน มีข้อมูลข่าวสารที่น่าเชื่อถือมากกว่า ไม่ควรยึดติดกับความเชื่อเดิมๆหากความเชื่อใหม่นั้นจะทำให้ชีวิตตนเองดีขึ้น เปิดรับและยอมรับในความเปลี่ยนแปลงนั้น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ๆ สุดท้ายความเชื่อก็คือสิ่งที่เราคิดตรึกตรองดีแล้วว่าสิ่งนี้แหละที่เราคิดว่าควรเชื่อมากที่สุดจากประสบการณ์ความคิดและเหตุผล

ความเชื่อคือการยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริงหรือการดำรงมีอยู่จริง โดยอาศัยประสบการณ์ตรง การไตร่ตรองต่างๆ ความเชื่อมีทั้งสามารถพิสูจน์ได้และไม่สามารถพิสูจน์ได้ ส่วนที่สามารถพิสูจน์ได้นั้นสามารถหาคำตอบได้จากความจริงที่ปรากฎ และความเชื่อก็ยังขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม วัฒนธรรม และการดำรงอยู่ของผู้คนนั้นๆ ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไรนั้นดิฉันมีความคิดว่า ความเชื่อของคนเราสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา หากมีสิ่งใดมาเปลี่ยนแปลงมัน มีข้อมูลข่าวสารที่น่าเชื่อถือมากกว่า ไม่ควรยึดติดกับความเชื่อเดิมๆหากความเชื่อใหม่นั้นจะทำให้ชีวิตตนเองดีขึ้น เปิดรับและยอมรับในความเปลี่ยนแปลงนั้น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ๆ สุดท้ายความเชื่อก็คือสิ่งที่เราคิดตรึกตรองดีแล้วว่าสิ่งนี้แหละที่เราคิดว่าควรเชื่อมากที่สุดจากประสบการณ์ความคิดและเหตุผล (6210710006 เภสัชศาสตร์ สาขาอุตสาหการ)

  1. ความเชื่อไม่มีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนมาตัดสินว่าความเชื่อที่เรามีอยู่นั้นถูกหรือไม่ เพียงแต่ความเชื่อที่ส่งผลต่อความคิดและพฤติกรรมที่แสดงออกมานั้นไม่ควรที่จะทำให้ผู้อื่นหรือแม้กระทั่งตนเองเดือดร้อน การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่นด้วยเหตุและผลจึงถือเป็นทางเลือกที่ดี เพราะนั่นอาจทำให้เรามองเห็นในสิ่งที่เรามองข้ามไปเพราะความเชื่อที่เรามีอยู่ได้บ้าง2.ก่อนอื่นเราต้องทราบก่อนว่าความเชื่อของเราต้องผิดหรือสมควรที่จะเปลี่ยนแปลงอย่างไร และที่สำคัญคือเราต้องมีความคิดที่จะเปลี่ยนมัน ในบางเรื่องอาจต้องใช้ความคิดและการไตร่ตรองเยอะๆ เพราะอาจต้องใช้เหตุผลมากมายเพื่อมาสนับสนุนในการเปลี่ยนแปลง เมื่อเราทราบถึงจุดนั้นแล้ว การเปลี่ยนแปลงความเชื่อก็จะง่ายขึ้น จนอาจเปลี่ยนได้ในเวลาไม่นาน หากมันยากก็คงต้องค่อยๆปรับกันไป ต้องใช้เวลาและความเชื่อมั่นในตนเอง

1.ความเชื่อเป็นการยอมรับความจริงหรือสิ่งที่เราไว้ใจ ดังนั้น ความเชื่อจะดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับผลที่ตามมาของความเชื่อนั้น ถ้าเราเชื่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้วทำให้ชีวิตแล้วดีขึ้นนั้นจึงเป็นความเขื่อที่ดี แต่ถ้าเราเชื่อแล้วทำให้ตัวเราเองหรือคนรอบข้างเดือดร้อนแล้วนั้น ความเชื่อนี้ก็เป็นความเชื่อที่ไม่ดี2.ความเชื่อเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ถ้าความเชื่อนั้นไม่ดีเราก็คิดไตร่ตรองให้ละเอียดหาความจริงที่เกิดขึ้นและผลที่ตามมา เปิดใจให้กว้าง รับฟังยอมรับสิ่งใหม่ๆเข้ามา จะทำให้เราเปลี่ยนความเชื่อจากความเชื่อเดิมได้

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ความเชื่อ คือ การยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริงหรือเป็นสิ่งที่เราไว้ใจไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นความจริงที่ตรงตามหลักเหตุผลหรือหลักวิทยาศาสตร์ใด ๆซึ่งความเชื่อของคนเรามีความแตกต่างกันการที่จะตัดสินว่ามันถูกต้องนั้นขึ้นอยู่กับว่าสิ่งที่เราได้พบเจอมานั้นเป็นแบบใด บางความเชื่อเราอาจจะคิดว่ามันถูกต้องแต่สำหรับคนอื่นเขาอาจจะคิดว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องก็ได้2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง ความเชื่อใหม่ ให้เข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่าได้อย่างไร? เราต้องคิดว่าความเชื่อที่มีอยู่ของเราตอนนี้เป็นความเชื่อที่ดีกับเราหรือเปล่า มันทำให้เรามีความสุขหรือทำให้เราเกิดความทุกข์ถ้าทำให้เกิดความความทุกข์เราต้องตระหนักดูว่าส่วนไหนของความเชื่อนี้ที่ทำให้เราเป็นแบบนั้นและเปิดใจรับเอาความเชื่อใหม่ๆที่ส่งผลดีต่อชีวิตเราเข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่าของเราให้ได้

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ความเชื่อ คือ การยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริงหรือเป็นสิ่งที่เราไว้ใจไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นความจริงที่ตรงตามหลักเหตุผลหรือหลักวิทยาศาสตร์ใด ๆซึ่งความเชื่อของคนเรามีความแตกต่างกันการที่จะตัดสินว่ามันถูกต้องนั้นขึ้นอยู่กับว่าสิ่งที่เราได้พบเจอมานั้นเป็นแบบใด บางความเชื่อเราอาจจะคิดว่ามันถูกต้องแต่สำหรับคนอื่นเขาอาจจะคิดว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องก็ได้2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง ความเชื่อใหม่ ให้เข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่าได้อย่างไร? เราต้องคิดว่าความเชื่อที่มีอยู่ของเราตอนนี้เป็นความเชื่อที่ดีกับเราหรือเปล่า มันทำให้เรามีความสุขหรือทำให้เราเกิดความทุกข์ถ้าทำให้เกิดความความทุกข์เราต้องตระหนักดูว่าส่วนไหนของความเชื่อนี้ที่ทำให้เราเป็นแบบนั้นและเปิดใจรับเอาความเชื่อใหม่ๆที่ส่งผลดีต่อชีวิตเราเข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่าของเราให้ได้

นักศึกษารหัส 6210710036 1) ความเชื่อมันขึ้นอยู่กับคนแต่ละคน การตัดสินมันว่าถูกหรือผิดจึงแล้วแต่คนไม่สามารถหาอะไรมาพิสูจน์ได้อย่างแน่ชัด มันอยู่ที่ว่าเราคิดอย่างไรกับความเชื่อนั้น 2)ถ้าความเชื่อใหม่นั้นมีความน่าเชื่อถือกว่า และสัญชาตญาณของเราบอกว่าดีกว่าความเชื่อเก่า เราก็จะเปิดรับเชื่อนั้นเอง

  1. ความเชื่อในแต่ละเรื่องของแต่ละคนนั้นก็อาจจะแตกต่างกันออกไปขึ้น และการที่เราจะเชื่อในความเชื่อของตัวเองนั้นก็ควรที่จะพิจารณาตามเหตุและผล ตามข้อเท็จจริง จากผู้มีประสบการณ์ในเรื่องนั้นๆ และที่สำคัญที่สุดคือ จากการคิดวิเคราะห์และไตร่ตรองของตนเองด้วย
  2. ในการที่จะสร้างความเชื่อใหม่แทนที่ความเชื่อเดิมที่เรามีอยู่ เราต้องเล็งเห็นว่าความเชื่อที่เรามีอยู่นั้นส่งผลเสียอย่างไร ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนหรือไม่ มีโทษอย่างไร หรือทำให้เรามีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมหรือไม่ แล้วถ้าความเชื่อที่เรามีนั้นให้โทษแก่เรา เราก็อาจจะพิจารณาความเชื่อใหม่ตามเหตุและผล วิเคราะห์ข้อดีและข้อเสียของความเชื่อนั้น แล้วถ้าการเชื่อในความเชื่อใหม่อาจจะทำให้เรามีพฤติกรรมที่ดีขึ้นกว่าเดิมก็ไม่ผิดถ้าจะลองเชื่อในความเชื่อนั้น

1.ความเชื่อเป็นสิ่งที่จะระบุว่าถูกหรือผิดอย่างชัดเจนค่อนข้างยาก เนื่องจากเป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับสภาพแวดล้อมของแต่ละบุคคลด้วย ความเชื่อหนึ่งอาจเป็นที่ยอมรับว่าถูกต้องในสภาพแวดล้อมหนึ่งแต่ถูกกล่าวว่าเป็นความเชื่อที่ผิดในอีกสภาพแวดล้อมก็เป็นได้ ดังนั้นหากจะระบุว่าความเชื่อนั้นถูกหรือผิดอย่างไร คงต้องลองมองหาเหตุผลต่างๆมาสนับสนุนความเชื่อนั้นๆและหากว่าไม่ได้สร้างความลำบากแก่ผู้อื่นหรือเกิดความเสื่อมเสียก็อาจกล่าวได้ว่าเป็นความเชื่อที่ดีหรือถูกต้องได้2.ให้คิดว่าความเชื่อเดิมของเราก่อให้เกิดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์นั้น ฉะนั้นเราต้องมองหาว่าความเชื่อนั้นผิดตรงไหนและยอมรับว่าเป็นความเชื่อที่ผิดไม่ดื้อรั้นจะทำตามเดิม พร้อมทั้งรับความเชื่อใหม่ๆโดยเชื่อว่าจะปรับแก้พฤติกรรมให้ดีขึ้น

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?
ความเชื่อที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคลเกิดจากสภาพแวดล้อมของสังคมที่แตกต่างกัน เพราะแต่ละบุคคลนั้นเติบโตมาก็มีหลากหลายปัจจัยที่หล่อหลอมให้แต่ละบุคคลมีความเชื่อที่ไม่เหมือนกัน สำหรับข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าคิดว่าความเชื่อนั้นไม่มีผิดไม่มีถูก ขึ้นอยู่กับยุคสมัย มุมมอง และตัวบุคคลนั้นๆเอง แต่มีข้อแม้ว่าความเชื่อนั้นจะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อผู้อื่น เพราะหากเมื่อไหร่ที่ความเชื่อของเรานั้น สร้างผลกระทบที่ไม่ดีต่อบุคคลอื่นแล้ว บุคคลเหล่านั้นจะมองว่าความเชื่อของเรานั้นเป็นสิ่งที่ผิด แล้วอาจทำให้เกิดผลเสียต่างๆตามมา และหากอยากทราบว่าความเชื่อของเรานั้นเป็นสิ่งที่ถูกหรือไม่ อาจจะต้องใช้วิธีการพิสูจน์ ลองปฏิบัติด้วยตนเอง ดูผลจากการปฏิบัตินั้น แล้วตัดสินใจด้วยตัวเองว่าความเชื่อนั้นถูกต้องหรือไม่2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? สำหรับตัวของข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าคิดว่าพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ยาก ไม่ว่าพฤติกรรมนั้นจะเป็นพฤติกรรมที่แย่หรือดี การที่จะละทิ้งพฤติกรรมเก่าเพื่อสร้างพฤติกรรมใหม่นั้นต้องใช้ระยะเวลา และอาศัยความอดทน และค่อยๆเริ่มจากการเปลี่ยนทีละน้อย ค่อยเป็นค่อยไป พยายามมองหาข้อเสียของพฤติกรรมเดิม ว่าส่งผลเสียต่อชีวิตเราอย่างไร และหากเราเปลี่ยนพฤติกรรมไม่พึงประสงค์นี้ เราจะได้ประโยชน์อย่างไร ส่งผลดีต่อชีวิตเราอย่างไร จะทำให้เราสามารถเลิกพฤติกรรมเดิม และสร้างพฤติกรรมใหม่ได้ง่ายขึ้น

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?
ความเชื่อที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคลเกิดจากสภาพแวดล้อมของสังคมที่แตกต่างกัน เพราะแต่ละบุคคลนั้นเติบโตมาก็มีหลากหลายปัจจัยที่หล่อหลอมให้แต่ละบุคคลมีความเชื่อที่ไม่เหมือนกัน สำหรับข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าคิดว่าความเชื่อนั้นไม่มีผิดไม่มีถูก ขึ้นอยู่กับยุคสมัย มุมมอง และตัวบุคคลนั้นๆเอง แต่มีข้อแม้ว่าความเชื่อนั้นจะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อผู้อื่น เพราะหากเมื่อไหร่ที่ความเชื่อของเรานั้น สร้างผลกระทบที่ไม่ดีต่อบุคคลอื่นแล้ว บุคคลเหล่านั้นจะมองว่าความเชื่อของเรานั้นเป็นสิ่งที่ผิด แล้วอาจทำให้เกิดผลเสียต่างๆตามมา และหากอยากทราบว่าความเชื่อของเรานั้นเป็นสิ่งที่ถูกหรือไม่ อาจจะต้องใช้วิธีการพิสูจน์ ลองปฏิบัติด้วยตนเอง ดูผลจากการปฏิบัตินั้น แล้วตัดสินใจด้วยตัวเองว่าความเชื่อนั้นถูกต้องหรือไม่2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? สำหรับตัวของข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าคิดว่าพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ยาก ไม่ว่าพฤติกรรมนั้นจะเป็นพฤติกรรมที่แย่หรือดี การที่จะละทิ้งพฤติกรรมเก่าเพื่อสร้างพฤติกรรมใหม่นั้นต้องใช้ระยะเวลา และอาศัยความอดทน และค่อยๆเริ่มจากการเปลี่ยนทีละน้อย ค่อยเป็นค่อยไป พยายามมองหาข้อเสียของพฤติกรรมเดิม ว่าส่งผลเสียต่อชีวิตเราอย่างไร และหากเราเปลี่ยนพฤติกรรมไม่พึงประสงค์นี้ เราจะได้ประโยชน์อย่างไร ส่งผลดีต่อชีวิตเราอย่างไร จะทำให้เราสามารถเลิกพฤติกรรมเดิม และสร้างพฤติกรรมใหม่ได้ง่ายขึ้น

  1. แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อมี่เรามีนั้นถูกต้อง? ความเชื่อไม่ใช่สิ่งที่ตายตัวขึ้นอยู่กับมุมมองบองตัวบุคคลที่จะเลือกเชื่อในความเชื่อนั้นๆ การที่เราจะรู้ได้ว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้องเราต้องพิจารณาอย่างมีเหตุผล ยึดหลักความเป็นจริง
  2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? เราต้องทราบเหตุว่าความเชื่อมีข้อเสียอย่างไร เพื่อปรับแก้ไขให้ดีขึ้น เปลี่ยนแปลงความคิดของตัวเองใหม่ แล้วมันจะส่งผลดีต่อเรามากขึ้น(6210712027 คณะเภสัชศาสตร์ สาขาการบริบาลทางเภสัชกรรม)

ความเชื่อคือการยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริงหรือการดำรงมีอยู่จริง โดยอาศัยประสบการณ์ตรง การไตร่ตรองต่างๆ ความเชื่อมีทั้งสามารถพิสูจน์ได้และไม่สามารถพิสูจน์ได้ ส่วนที่สามารถพิสูจน์ได้นั้นสามารถหาคำตอบได้จากความจริงที่ปรากฎ และความเชื่อก็ยังขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม วัฒนธรรม และการดำรงอยู่ของผู้คนนั้นๆ ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไรนั้นดิฉันมีความคิดว่า ความเชื่อของคนเราสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา หากมีสิ่งใดมาเปลี่ยนแปลงมัน มีข้อมูลข่าวสารที่น่าเชื่อถือมากกว่า ไม่ควรยึดติดกับความเชื่อเดิมๆหากความเชื่อใหม่นั้นจะทำให้ชีวิตตนเองดีขึ้น เปิดรับและยอมรับในความเปลี่ยนแปลงนั้น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ๆ สุดท้ายความเชื่อก็คือสิ่งที่เราคิดตรึกตรองดีแล้วว่าสิ่งนี้แหละที่เราคิดว่าควรเชื่อมากที่สุดจากประสบการณ์ความคิดและเหตุผล

1.เราทราบได้อย่างไรว่าความเชื่อของเรานั้นถูกต้อง ?ความเชื่อของแต่ละคนนั้นไม่มีถูก ไม่มีผิด ขึ้นอยู่กับความคิดของแต่ละคน แต่ละคนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันก็ย่อมมีความเชื่อที่แตกต่างกัน และความเชื่อส่วนใหญ่ก็ถูกถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ ขึ้นอยู่กับว่าบุคคลนั้นจะมองว่ามันเป็นสิ่งที่ดีต่อตนเองหรือไม่ ถ้าเป็นสิ่งที่ดีก็เลือกที่จะเชื่อต่อไป2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้างความเชื่อใหม่ให้เข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่าได้อย่างไร?เราควรปรับความคิดใหม่ให้กับตนเอง โดยอาจจะหาแนวคิดของคนที่ประสบความสำเร็จในเรื่องนั้นมาเป็นแนวปฏิบัติให้กับตนเอง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีขึ้น โดยทำเป็นประจำทุกวันให้กลายเป็นนิสัย

1.หากเราคิดว่าความเชื่อที่มีมานั้นถูกต้องตามหลักความคิดที่เราเชื่อว่าถูกเเล้วก็ควรจะตรวจเเละผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์ อย่างถี่ถ้วนมาเเล้วเพื่อให้มั่นใจมากยิ่งขึ้นว่าสิ่งที่เราเชื่อว่าถูกต้องเป็นสิ่งที่ถูกต้องอย่างแท้จริงเเละสอบถามผู้รู้หรือคนรอบข้างว่ามีความคิดเห็นเกี่ยวกับความเชื่อที่เราคิดตรงกันหรือไม่ ให้ใช้เกณณ์คนส่วนมากเป็นหลักในการหาข้อพิสูจน์ข้อเท็จจริง2. เอาทั้งความเชื่อใหม่เเละความเชื่อเก่ามาเปรียบเทียบเเละวัดข้อดีข้อเสียของสองหัวข้อนี้ว่ามีข้อที่เเตกต่างกันอย่างไร เเละส่วนไหนที่น่าเชื่อถือมากกว่ากัน เอาข้อดีเเละข้อเสียหักลบกันเเละมามองถึงความเเตกต่างเพื่อนำมาตัดสินใจในการประกอบความเชื่อของเรา

1.เปิดใจรับฟังความเชื่อของคนอื่นประกอบกับเหตุผลว่าทำไมเขาจึงเชื่อแบบนั้น หมั่นหาความรู้และประสบการณ์ในเรื่องนั้นๆ ​และวิเคราะห์โดยใช้เหตุและผลเป็นหลักว่าถูกต้องหรือไม่ อย่างไรก็ตามบางความเชื่อก็ยากที่จะตัดสินว่าถูกหรือไม่เพราะบางความเชื่อก็ไม่มึผิดและถูกที่ชัดเจนขึ้นอยู่กัยวิจารณญาณ​แต่ละบุคคล2. ปรับทัศนคติของตน เปิดใจมองโลกให้กว้างคิดวิเคราะห์ว่าการเชื่อแบบนี้แล้วดีหรือไม่ดีอย่างไรบ้าง เชื่อแบบไหนที่จะทำให้เราดีขึ้น ถ้าความเชื่อนั้นทำให้เรากลายเป็นคนที่แย่ลงนั้นแสดงว่าความเชื่อนั้นไม่ใช่ความเชื่อที่ดี หากต้องการพัฒนา​ตนเองในทางที่ดีขึ้นก็ไม่ควรมีความเชื่อแบบนั้น

1.ความเชื่อไม่มีถูกหรือผิดมันเกิดจากสิ่งแวดล้อมต่างๆหล่อหลอมทำให้เกิดความเชื่อต่างๆนานา แต่ความเชื่อเหล่านั้นจะถูกหรือผิดก็ขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้คนเหล่านั้นว่าจะมองความเชื่อนั้นถูกต้องแต่มีคนต้องเดือดร้อนหรือถูกต้องและไม่มีใครเดือดร้อนหรือความเชื่อนั้นผิดแต่ไม่มีใครเดือดร้อนหรือผิดและมีคนเดือดร้อน ขึ้นอยู่กับมุมมองและบริบทรอบๆด้วยว่าจะมองความเชื่อเหล่านั้นว่าถูกต้องหรือผิดนั่นเอง2.จะเปลี่ยนความเชื่อเหล่านั้นด้วยมุมมองของผู้ที่จะเปลี่ยนความเชื่อเปลี่ยนด้วยปัจจัยภายนอก เช่น อยากขอให้ฝนตกใช้ความเชื่อในการใช้วิธีการต่างๆ ขอฝนบ้าง แห่นางแมวบ้าง แต่มาขอฝนในหน้าร้อน ก็ต้องอาจจะเปลี่ยนความเชื่อใช้ความเชื่อที่เหมาะสมกับสถานการณ์ หรือเปลี่ยนความเชื่อด้วยเหตุผลที่ว่าให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิต เช่นความเชื่อเรื่องสีเสื้อ ใส่เสื้อสีนี้แล้วจะไม่ดีต่างๆ แต่ในตู้เสื้อผ้ามีแต่สีที่ใส่แล้วตามความเชื่อว่าไม่ดีก็ต้องมีการเปลี่ยนความเชื่อนั้นไป เป็นต้น

    1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ความเชื่อ อาจจะมีพื้นฐานจากหลักฐานข้อเท็จจริงที่เชื่อได้หรือมีพื้นฐานจากความคิดจากการนึกรู้เอาเอง หรือจากลักษณะที่ทำให้เกิดความเข้าใจไขว้เขวก็ได้ เพราะฉะนั้น ความเชื่อจึงมิได้ขึ้นอยู่กับความจริง การกระทำที่ใช้สติปัญญาใดๆ ก็ตาม ย่อมต้องอาศัยความเชื่ออยู่ด้วยเสมอ แต่สติปัญญาเองนั้นอาจใช้มาทดสอบความเชื่อและตรวจดูความสมบูรณ์ถูกต้องพื้นฐานความเชื่อนั้นได้ การยอมรับต่างๆ ว่าเป็นจริง มีอยู่จริง และมีอำนาจที่จะทำให้เกิดผลดีหรือผลร้ายต่อการดำรงชีวิต ถึงแม้ว่าสิ่งนั้นจะไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นความจริงด้วยเหตุผล แต่เป็นที่ยอมรับกันในกลุ่มชนหรือสังคม2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? เราต้องรู้ก่อนว่า ความเชื่อเก่า ของเรานั้นไม่ถูกต้อง การจะรับความเชื่อใหม่เข้ามา เราไม่จำเป็นต้องลบความเชื่อเก่าทิ้งทั้งหมด สิ่งที่ควรทำคือ การเปิดใจที่จะยอมรับฟังความคิดออก เพื่อเปิดรับความเชื่อใหม่ ๆ เข้ามา ไม่ว่ามันจะมาจากเส้นทางใด หรือความเชื่อแบบใด ต้องไตร่ตรองก่อนว่าความเชื่อนั้นน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด ถ้าเป็นความเชื่อที่สามารถหาหลักฐานได้ ก็ควรทำก่อนที่จะสรุปว่าเชื่อหรือไม่เชื่อ แต่ถ้ายังหาหลักฐานมาสนับสนุนหรือคัดค้านความเชื่อนั้นไม่ได้ ก็อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่าความเชื่อนั้น แล้วนำมาปฏิบัติในทันที เพราะอาจจะส่งผลต่อตัวเราเองไม่มากก็น้อย

1.)แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? การที่เราจะรู้ว่าความเชื่อนั้นถูกต้องเราทราบได้จากการพิสูจน์ข้อเท็จจริง การที่เราจะเชื่ออะไร สิ่งนั้นจะต้องได้รับความพิสูจน์ว่าถูกต้อง หรือมีเหตุผลมารองรับว่าความเชื่อนั้นเป็นจริง โดยประสบการณ์ที่เราสะสมมานั้นจะช่วยเพิ่มแนวความคิด ช่วยสนับสนุนเหตุผลในความเชื่อนั้นให้มากขึ้น ซึ่งจากประสบการณ์ในบางครั้งก็สามารถพิสูจน์ได้ว่าความเชื่อนั้นผิดหรือถูก ดังนั้นก่อนที่เราจะเชื่ออะไร เราต้องพิสูจน์หรือทดลองหาเหตุผลก่อนว่าเป็นจริงหรือไม่

2.)ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา ราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่”ให้เข้ามาแทนที่”ความเชื่อเก่า”ได้อย่างไรการที่เรามีความเชื่อในเรื่องๆหนึ่งก็ถือว่าความเชื่อนั้นได้ผ่านการพิสูจน์มาก่อนหน้าแล้วหรือมีประสบการณ์โดยตรงกับตนเองจนทำให้เราเชื่อในสิ่งๆนั้น ดังนั้นการที่จะสร้างความเชื่อใหม่เข้ามาแทนที่เราจะต้องเปิดใจรับ ต้องปรับเปลี่ยนมุมมองความคิดจากเดิท และที่สำคัญคือความเชื่อนั้นต้องมีความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือมากพอและมีเหตุผลที่สามารถมาโต้แย้งความเชื่อเดิมได้6210710065

61111100901.หากเราคิดว่าความเชื่อที่มีมานั้นถูกต้องตามหลักความคิดที่เราเชื่อว่าถูกเเล้วก็ควรจะตรวจเเละผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์ อย่างถี่ถ้วนมาเเล้วเพื่อให้มั่นใจมากยิ่งขึ้นว่าสิ่งที่เราเชื่อว่าถูกต้องเป็นสิ่งที่ถูกต้องอย่างแท้จริงเเละสอบถามผู้รู้หรือคนรอบข้างว่ามีความคิดเห็นเกี่ยวกับความเชื่อที่เราคิดตรงกันหรือไม่ ให้ใช้เกณณ์คนส่วนมากเป็นหลักในการหาข้อพิสูจน์ข้อเท็จจริง2. เอาทั้งความเชื่อใหม่เเละความเชื่อเก่ามาเปรียบเทียบเเละวัดข้อดีข้อเสียของสองหัวข้อนี้ว่ามีข้อที่เเตกต่างกันอย่างไร เเละส่วนไหนที่น่าเชื่อถือมากกว่ากัน เอาข้อดีเเละข้อเสียหักลบกันเเละมามองถึงความเเตกต่างเพื่อนำมาตัดสินใจในการประกอบความเชื่อของเรา

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูก ต้อง? ความเชื่อ อาจจะมีพื้นฐานจากหลักฐานข้อเท็จจริงที่ เชื่อได้หรือมีพื้นฐานจากความคิดจากการนึกรู้เอาเอง  หรือจากลักษณะที่ทำให้เกิดความเข้าใจไขว้เขวก็ได้  เพราะฉะนั้น ความเชื่อจึงมิได้ขึ้นอยู่กับความจริง การก ระทำที่ใช้สติปัญญาใดๆ ก็ตาม ย่อมต้องอาศัยความ เชื่ออยู่ด้วยเสมอ แต่สติปัญญาเองนั้นอาจใช้มา ทดสอบความเชื่อและตรวจดูความสมบูรณ์ถูกต้องพื้น ฐานความเชื่อนั้นได้ การยอมรับต่างๆ ว่าเป็นจริง มีอยู่ จริง และมีอำนาจที่จะทำให้เกิดผลดีหรือผลร้ายต่อการ ดำรงชีวิต ถึงแม้ว่าสิ่งนั้นจะไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็น ความจริงด้วยเหตุผล แต่เป็นที่ยอมรับกันในกลุ่มชน หรือสังคม2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อ ใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? เราต้องรู้ก่อนว่า ความเชื่อเก่า ของเรานั้นไม่ถูกต้อง  การจะรับความเชื่อใหม่เข้ามา เราไม่จำเป็นต้องลบ ความเชื่อเก่าทิ้งทั้งหมด สิ่งที่ควรทำคือ การเปิดใจที่ จะยอมรับฟังความคิดออก เพื่อเปิดรับความเชื่อใหม่  ๆ เข้ามา ไม่ว่ามันจะมาจากเส้นทางใด หรือความเชื่อ แบบใด ต้องไตร่ตรองก่อนว่าความเชื่อนั้นน่าเชื่อถือ มากน้อยเพียงใด ถ้าเป็นความเชื่อที่สามารถหาหลัก ฐานได้ ก็ควรทำก่อนที่จะสรุปว่าเชื่อหรือไม่เชื่อ แต่ถ้า ยังหาหลักฐานมาสนับสนุนหรือคัดค้านความเชื่อนั้นไม่ ได้ ก็อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่าความเชื่อนั้น แล้วนำมา ปฏิบัติในทันที เพราะอาจจะส่งผลต่อตัวเราเองไม่มาก ก็น้อย

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?ความเชื่อ อาจจะมีพื้นฐานจากหลักฐานข้อเท็จจริงที่เชื่อได้หรือมีพื้นฐานจากความคิดจากการนึกรู้เอาเอง หรือจากลักษณะที่ทำให้เกิดความเข้าใจไขว้เขวก็ได้ เพราะฉะนั้น ความเชื่อจึงมิได้ขึ้นอยู่กับความจริง การกระทำที่ใช้สติปัญญาใดๆ ก็ตาม ย่อมต้องอาศัยความเชื่ออยู่ด้วยเสมอ แต่สติปัญญาเองนั้นอาจใช้มาทดสอบความเชื่อและตรวจดูความสมบูรณ์ถูกต้องพื้นฐานความเชื่อนั้นได้ การยอมรับต่างๆ ว่าเป็นจริง มีอยู่จริง และมีอำนาจที่จะทำให้เกิดผลดีหรือผลร้ายต่อการดำรงชีวิต ถึงแม้ว่าสิ่งนั้นจะไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นความจริงด้วยเหตุผล แต่เป็นที่ยอมรับกันในกลุ่มชนหรือสังคม

2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? เราต้องรู้ก่อนว่า ความเชื่อเก่า ของเรานั้นไม่ถูกต้อง การจะรับความเชื่อใหม่เข้ามา เราไม่จำเป็นต้องลบความเชื่อเก่าทิ้งทั้งหมด สิ่งที่ควรทำคือ การเปิดใจที่จะยอมรับฟังความคิดออก เพื่อเปิดรับความเชื่อใหม่ ๆ เข้ามา ไม่ว่ามันจะมาจากเส้นทางใด หรือความเชื่อแบบใด ต้องไตร่ตรองก่อนว่าความเชื่อนั้นน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด ถ้าเป็นความเชื่อที่สามารถหาหลักฐานได้ ก็ควรทำก่อนที่จะสรุปว่าเชื่อหรือไม่เชื่อ แต่ถ้ายังหาหลักฐานมาสนับสนุนหรือคัดค้านความเชื่อนั้นไม่ได้ ก็อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่าความเชื่อนั้น แล้วนำมาปฏิบัติในทันที เพราะอาจจะส่งผลต่อตัวเราเองไม่มากก็น้อย

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?ความเชื่อ อาจจะมีพื้นฐานจากหลักฐานข้อเท็จจริงที่เชื่อได้หรือมีพื้นฐานจากความคิดจากการนึกรู้เอาเอง หรือจากลักษณะที่ทำให้เกิดความเข้าใจไขว้เขวก็ได้ เพราะฉะนั้น ความเชื่อจึงมิได้ขึ้นอยู่กับความจริง การกระทำที่ใช้สติปัญญาใดๆ ก็ตาม ย่อมต้องอาศัยความเชื่ออยู่ด้วยเสมอ แต่สติปัญญาเองนั้นอาจใช้มาทดสอบความเชื่อและตรวจดูความสมบูรณ์ถูกต้องพื้นฐานความเชื่อนั้นได้ การยอมรับต่างๆ ว่าเป็นจริง มีอยู่จริง และมีอำนาจที่จะทำให้เกิดผลดีหรือผลร้ายต่อการดำรงชีวิต ถึงแม้ว่าสิ่งนั้นจะไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นความจริงด้วยเหตุผล แต่เป็นที่ยอมรับกันในกลุ่มชนหรือสังคม2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?เราต้องรู้ก่อนว่า ความเชื่อเก่า ของเรานั้นไม่ถูกต้อง การจะรับความเชื่อใหม่เข้ามา เราไม่จำเป็นต้องลบความเชื่อเก่าทิ้งทั้งหมด สิ่งที่ควรทำคือ การเปิดใจที่จะยอมรับฟังความคิดออก เพื่อเปิดรับความเชื่อใหม่ ๆ เข้ามา ไม่ว่ามันจะมาจากเส้นทางใด หรือความเชื่อแบบใด ต้องไตร่ตรองก่อนว่าความเชื่อนั้นน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด ถ้าเป็นความเชื่อที่สามารถหาหลักฐานได้ ก็ควรทำก่อนที่จะสรุปว่าเชื่อหรือไม่เชื่อ แต่ถ้ายังหาหลักฐานมาสนับสนุนหรือคัดค้านความเชื่อนั้นไม่ได้ ก็อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่าความเชื่อนั้น แล้วนำมาปฏิบัติในทันที เพราะอาจจะส่งผลต่อตัวเราเองไม่มากก็น้อย

  1. แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ความเชื่อของเราจะถูกหรือผิดขึ้นกับผลของการกระทำที่แสดงออกมา ถูกต้องหรือไม่ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละบุคคล หากจะพิสูจน์ให้ได้เลย คงต้องอ้างอิงจากงานวิจัยที่แสดงให้เห็นได้ชัดว่าความเชื่อที่เราเชื่อมานั้นเป็นสิ่งที่ได้รับการยอมรับหรือการยืนยันมาแล้ว การนำความเชื่อของเรามาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกับบุคลอื่น ๆ อาจจะทำให้เราเข้าใจความเชื่อของเราได้มากขึ้น อย่างไรก็ดี ความเชื่อในมุมมองของฉันไม่มีถูกหรือผิดแต่อย่างใด ความเชื่อสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ไปตามกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน
  2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? การที่เราริเริ่มมีความคิดที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา แสดงให้เห็นว่าความเชื่อของเราที่เคยเชื่อมาก่อนนี้มีการเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจากปัจจัยทางกายภาพและทางสังคม หรือปัจจัยอื่น ๆ ที่เข้ามามีอิทธิพลต่อความเชื่อของเรา การที่เราจะสร้างความเชื่อใหม่ให้เข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่า เราสามารถปรับเปลี่ยนได้จากประสบการณ์หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เข้ามา ซึ่งการจะสร้างความมเชื่อใหม่ก็จำเป็นที่จะต้องใช้เวลาเช่นกัน สิ่งสำคัญในการสร้างความเชื่อใหม่ คือ เรามีความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง มีความอดทนและขยันที่จะทำจริง ๆ

62107100191.)ความเชื่อที่มีมาของเราจะรู้ได้อย่างไรว่ามันถูกหรือผิด เราจะรู้ว่ามันถูกต้องก็ต่อเมื่อความเชื่อของเรานั้นได้ตั้งอยู่บนศีลธรรมอันดี หรืออยู่บนหลักธรรมของศาสนา หรือถ้าจะมองตามหลักของวิทยาศาสตร์ความเชื่อของเราเหล่านั้นจะต้องสามารถพิสูจน์ได้ โดยยกตัวอย่างเช่น สมัยก่อนเรามีความเชื่อว่าโลกนั้นได้หมุนโคจรรอบดวงอาทิตย์และเมื่อเราได้มีการพิสูจน์โดยการสำรวจทางอวกาศก็ทำให้รู้ว่าความเชื่อของเรานั้นถูกต้อง2.)ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไรหากสิ่งที่เราเชื่อและมันได้ส่งผลออกมาเป็นพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ อย่างแรกที่ควรจะทำเลยก็คือ เราควรที่จะรู้ตัวก่อนว่าสิ่งที่เราทำนั้นมันผิด แล้วหลังจากนั้นเราเราจึงมาหาสาเหตุทำไมเราถึงได้แสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ และเมื่อเราได้หาสาเหตุก็จะทำให้รู้ว่าจริงๆแล้วสิ่งที่ทำให้เราเป็นแบบนี้ก็เป็นผลมาจากความเชื่อของเรา สิ่งที่ต้องทำหลังจากนั้นเราก็ควรปรับมุมมอง ทัศนคติและความเชื่อใหม่ให้ดีขึ้น และวิธีการสร้างความเชื่อใหม่ให้มาแทนที่ความเชื่อเก่านั้นเราควรจะบอกกับตัวเองทุกวันเกี่ยวกับความเชื่อใหม่ที่ถูกต้อง บอกทุกวันคิดทุกวันจนทำให้เรานั้นชินไปเอง และเราก็จะมีความเชื่อใหม่ที่ถูกต้องและจะไม่แสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ออกมาอีก

1.ความเชื่อ หมายถึง การยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริงดำรงอยู่จริงโดยสิ่งนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นความจริงเสมอไป เช่น คนที่เชื่อในฤกษ์ยามจจะถือว่าวันเวลาการโคจรของดวงดาวจะก่อให้เกิดผลต่อมนุษย์ เป็นต้น ซึ่งเราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าความเชื่อของเรานั้นถูกต้อง เหมาะสม เป็นสิ่งที่ทำแล้วก่อให้เกิดประโยชน์ เพราะในสังคมปัจจุบันเรารับรู้ข่าวสารจากสื่อทางสังคมได้ ข้อมูลเหล่านั้นเป็นข้อเท็จจริงบ้าง ข้อคิดเห็นบ้าง ข่าวลือบ้างและข่าวลวงบ้างโดยเราจะนำข้อมูลเหล่านี้มาประกอบการตัดสินใจ ดังนั้นก่อนที่เราจะยอมรับว่าสิ่งนั้นเป็นความจริง ต้องมีการไตร่ตรองพิจารณาอย่าละเอียดถี่ถ้วน มองสิ่งนั้นอย่างเป็นกลางไม่มีอคติหรือความชอบ ใช้เหตุและผลให้ตัดสินว่าสิ่งนั้นถูกหรือผิดหรือไม่มีถูกผิดไม่ใช้ความรู้สึกหรือสัญชาตญาณของจิตใต้สำนึกในการตัดสินสิ่งเหล่านั้น และสามารถพิสูจน์ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ได้ว่าสิ่งนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร และจะส่งผลที่ดีหรือไม่ดีอย่างไรทั้งต่อตัวเราและสังคม เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้จะเป็นบทสรุปว่าเรามีความเชื่อที่ถูกต้องหรือไม่2.การสร้างความเชื่อใหม่จะสามารถแทนที่ความเชื่อเก่าได้ก็ต่อเมื่อเราเปิดใจรับฟังสิ่งใหม่ๆซึ่งแตกต่างจากความเชื่อเดิมๆ เป็นการเปิดโอกาสให้ตัวเองได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพัฒนาความคิดที่ไม่เคยหยุดนิ่งให้ถูกต้องเหมาะสมและก้าวทันความแปรเปลี่ยนของยุคสมัย โดยมองความเชื่อเหล่านั้นด้วยความยุติธรรมอย่างเป็นกลางใช้เหตุและผลมาพินิจพิจารณาวิเคราะห์อย่างรอบคอบ เมื่อเปรียบเทียบกับความเชื่อเดิมๆเราจะมองเห็นว่าสิ่งใดความเชื่อที่ถูกต้องเหมาะสมควรที่จะปฏิบัติโดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดจากความเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ ดังนั้นสิ่งเหล่านี้จะให้เราเกิดการยอมรับ เชื่อถือ ไว้ใจและศรัทธา นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพัฒนาตนเองในด้านความคิดทัศนคติซึ่งจะดีหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับความคิดของแต่ละบุคคล แล้วจะสะท้อนออกมากให้เห็นจากการกระทำ

6210710043 คณะเภสัชศาสตร์ เราจะรู้ว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้อง จะรู้ได้จากการมองโลกแห่งความเป็นจริง การคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล มีหลักการ ไม่งมงาย และเปิดรับความคิดเห็นใหม่ๆอยู่เสมอ ไม่ปิดกั้นความคิดเห็นของผู้อื่น แต่ไม่ลืมที่จะกลั่นกรองถึงความน่าเชื่อถือของความเชื่อนั้นๆเสมอๆ

ในกรณีที่เราต้องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้างความเชื่อใหม่มาแทนที่ได้จากการ มองโลกให้กว้างและเชื่อมั่นในความเชื่อใหม่อย่างเป็นเหตุเป็นผล เข้าใจอย่างแท้จริง ไม่งมงาย และต้องหาเหตุผลหาข้อเท็จจริงที่เห็นได้ชัดจากความเชื่อใหม่ๆ มาทดแทนความเชื่อเดิม

1.เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้อง-ถ้าความเชื่อเป็นเรื่องที่มีมาตั้งแต่อดีตก็จะเป็นเรื่องยากที่จะพิสูจน์ว่าเป็นจริงหรือไม่ แต่ถ้าเร่สามารถอิงข้อมูลจากหลักเหตุและผลได้ในการพิจารณาโดยถ้ามีความเชื่อที่มีความเป็นไปได้ มีหลักเหตุผลที่สามารถอธิบายได้ ก็จะทำให้ความเชื่อนั้นน่าเชื่อถือมากขึ้น2.ในกรณีที่เราต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ดีของเรา เราจะมีการนำความเชื่อใหม่มาแทนความเชื่อเก่าได้อย่างไร-ความเชื่อเก่าๆบางครั้งมีหลักความจริงมาขัดแย้งจนทำให้เกิดความเชื่อใหม่ๆเราก็ต้องยอมรับความเป็นไปได้และสิ่งใหม่ๆที่จะเกิดขึ้น และถ้าความเชื่อใหม่มีความแพร่หลายและมีการให้เหตุผลมากกว่าเราก็ต้องยอมรับ

( 6111110113 ) 1. รู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เราเอามานั้นถูกความเชื่อแต่ละความเชื่อไม่ได้เป็นสิ่งที่ถูกต้องสำหรับทุกคนเสมอไป บางคนเชื่อเรื่องดวงชะตา ทำตามทุกอย่างแต่บางคนไม่เชื่อ ถือเป็นเรื่องงมงาย จึงทำให้ดิฉันคิดว่าความเชื่อที่ดิฉันเชื่ออาจจะเป็นเรื่องจริงหรือไม่จริงก็ได้ แต่โดยส่วนใหญ่ความเชื่อมักจะเป็นเรื่องที่ดี ถูกมากกว่า เนื่องจากความเชื่อเป็นสิ่งที่มีมานานแล้ว มีการบอกต่อกันเป็นทอดๆ หลายช่วงอายุแล้ว และมีการทำตามมาก่อนที่จะถึงช่วงอายุของเรา แต่บางความเชื่อก็อาจจะถูกเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาตามความเหมาะสมของโลกที่มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา 2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า ”ได้อย่างไรอาจจะนำความเชื่อใหม่มาลองเปรียบเทียบกับความเชื่อเก่าว่าความเชื่อใหม่ดีกว่ายังไง เหมาะสมกับช่วงเวลา ยุคนั้นมากแค่ไหน อาจจะเทียบโดยการมองโลกที่มีแต่พัฒนาที่ทันสมัยมากขึ้นกว่าเดิมเยอะมากถ้าเทียบจากอดีต โดยเราก็ต้องเลือกพฤติกรรมที่ดี แง่คิดดีๆที่สอดคล้องกับความเป็นจริง ความเชื่อใหม่ก็อาจจะสร้างโดยการหาข้ออ้างที่เหมาะสมมาสนับสนุนพฤติกรรมนั้นๆว่าดีกว่าความเชื่อแบบเก่ายังไง หรือไม่ก็อาจจะนำความเชื่อแบบเก่ามาดัดแปลงเพิ่มเติมในส่วนที่ต้องการเปลี่ยนแปลงโดยจะต้องมีการอ้างเหตุผลอย่างสมเหตุสมผลเหมาะกับยุคนั้นๆ เพื่อให้หลายๆคนยอมรับ เมื่อทุกคนยอมรับความเชื่อใหม่ ความเอใหม่นี้ก็จะสามารถเข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่าที่ล่าสมัยไม่เหมาะกับยุคปัจจุบันได้

น.ส.ธิดา เอ่งฉ้วน คณะศิลปศาสตร์ 6111110059 sec.011.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ความเชื่อที่เรามีนั้นดิฉันคิดว่าเกิดจากการที่เราเจอในชีวิตจริง นั่นคือมีประสบการณ์หรือเจอเหตุการณ์นั้นๆด้วยตัวเราเอง ซึ่งจะทำให้เราเกิดความเชื่อและการตัดสินใจ การคิดวิเคราะห์ การประมวลผล ของความคิดของสมองว่า ความเชื่อนั้นเป็นสิ่งที่น่าเชื่อถือ หรือเป็นสิ่งที่ดี หรือไม่ดีอย่างไร หากมีความคิดที่จะเชื่อแล้วก็อยากที่จะเปลี่ยนความคิดไปมาได้เพราะเราคุ้นชินกับความเชื่อเดิมไปแล้วนั่นเอง อีกทั้งความเชื่อยังมาจากการปลูกฝังจากตัวบุคคลนั้นๆ ผ่าน การอบรม การพบเจอ การสั่งสอน ของครอบครัว เพราะเป็นสถาบันที่ใกล้ชิดตัวเราที่สุดซึ่งแต่ละ ครอบครัวก็จะมีแนวคิด หรือความเชื่อที่แตกต่างกันออกไป และนอกจากครอบครัวแล้วก็ยังมีการปลูกฝังความเชื่อจากครูอาจารย์อีกด้วย แม้แต่สื่อในโทรทัศน์และในอินเทอร์เน็ตต่างๆก็ล้วนแล้วแต่ปลูกฝังความคิดหรือความเชื่อนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อที่ถูกหรือผิดก็ตาม ดิฉันคิดว่าหากเราเชื่อไปแล้วก็ยังคงเชื่อต่อไปจนกว่าจะมีเหตุผลที่เป็นไปได้ที่สมเหตุสมผลกว่าที่จะทำให้เราปรับเปลี่ยนความเชื่อนั้นๆ

2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? ดิฉันคิดว่าหากเราจะเปลี่ยนความเชื่อเดิมที่มีอยู่ก่อนแล้วมาเป็นความเชื่อใหม่นั้น จะต้องมีเหตุผลที่น่าเชื่อถือจากบุคคลที่น่าเชื่อถือ หรือเกิดความหนักแน่นของข้อมูลที่จะทำให้เราเปลี่ยนความเชื่อเดิมไปได้ เพราะดิฉันเชื่อว่าก่อนคนเราจะตัดสินใจเชื่ออะไรนั้นต้องคิดไต่ตรองอยู่เสมอทุกครั้ง ซึ่งหากจะเปลี่ยนจริงๆ ควรจะเป็นความเชื่อที่สมเหตุสมผล นอกจากด้านเหตุผลแล้วยังอยู่ที่ตัวของบุคคลเองด้วยว่าพร้อมแค่ไหนที่เปิดใจที่จะยอมรับหรือเชื่อในความเชื่อใหม่ๆ ถ้าเรามีใจที่ไม่อคติ พร้อมมีทัศนคติที่ดีพอก็จะสามารถพิจารณาความเชื่อใหม่ๆ และต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นสิ่งที่น่าเชื่อถือจริงๆ

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง
ตอบ ความเชื่อเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเฉเพาะตัวบุคคล เกิดมาจากการปลูกฝังทางความคิดที่ไดร้ับมาจาก ครอบครัว จากการดา รงชีวิตอยู่จริงโดยอาศยัประสบการณ์ตรง การไตร่ตรอง หรือการอนุมานขึ้นมา มีอีก หลายสาเหตุปัจจัย ดังนั้นการที่เราจะรู้ได้ว่าความเชื่อที่เรามีนั้นเป็นความเชื่อที่ถูกหรือเปล่า เราต้องมีการ แลกเปลี่ยนทัศนคติ ความคิดเห็นหรือรับฟังประสบการณ์ต่างๆจากผู้คน และจะทา ให้เราสามารถหา ขอ้เทจ็จริงที่น่าเชื่อถือได ้ 2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร ตอบ ในบางครั้งความเชื่อของเรา เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่ามันถูกหรือผิด จนกระทั่งมีผู้อื่นมาเตือน เรา มาคอยบอกว่าสิ่งนั้นที่เราก าลังเชื่ออยู่ มันไม่ดี เราอาจจะยังไม่เชื่อเขาก่อนก็ได ้จนมาถึงวนันึงวนัที่เรา นั้นได้พบเจอกับโลกภายนอกที่กว้างมากขึ้น อาจจะท าให้เรารู้ว่าสิ่งนั้นแหละคือความเชื่อเก่า และพอรู้ว่า นั้นเป็นความเชื่อเก่า เราก็ต้องยอมเปิดใจที่จะยอมรับกับความเชื่อใหม่บ้างๆ และอาจจะท าให้เรามี พฤติกรรมที่ดีขึ้นได้

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง
ตอบ ความเชื่อเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเฉเพาะตัวบุคคล เกิดมาจากการปลูกฝังทางความคิดที่ได้รับมาจาก ครอบครัว จากการดำรงชีวิตอยู่จริงโดยอาศยัประสบการณ์ตรง การไตร่ตรอง หรือการอนุมานขึ้นมา มีอีก หลายสาเหตุปัจจัย ดังนั้นการที่เราจะรู้ได้ว่าความเชื่อที่เรามีนั้นเป็นความเชื่อที่ถูกหรือเปล่า เราต้องมีการ แลกเปลี่ยนทัศนคติ ความคิดเห็นหรือรับฟังประสบการณ์ต่างๆจากผู้คน และจะทา ให้เราสามารถหา ข้อเทจ็จริงที่น่าเชื่อถือได ้ 2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร ตอบ ในบางครั้งความเชื่อของเรา เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่ามันถูกหรือผิด จนกระทั่งมีผู้อื่นมาเตือนเรา มาคอยบอกว่าสิ่งนั้นที่เรากำลังเชื่ออยู่ มันไม่ดี เราอาจจะยังไม่เชื่อเขาก่อนก็ได ้จนมาถึงในวันนึงวันที่เรา นั้นได้พบเจอกับโลกภายนอกที่กว้างมากขึ้น อาจจะทำให้เรารู้ว่าสิ่งนั้นแหละคือความเชื่อเก่า และพอรู้ว่า นั้นเป็นความเชื่อเก่า เราก็ต้องยอมเปิดใจที่จะยอมรับกับความเชื่อใหม่บ้างๆและอาจจะทำให้เรามีพฤติกรรมที่ดีขึ้นได้

นางสาวอริสรา สงสิงห์ 611110172 คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทยประยุกต์1. แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? - ความเชื่อล้วนแล้วแต่เป็นความคิดส่วนบุคคล บางครั้งเราเองก็อาจมีความเชื่อผิดๆ แต่เรานั้นก็ไม่อาจทราบได้ ความเชื่ออาจออกมาในรูปแบบของสิ่งที่บอกเล่าต่อๆกันมา หรือเป็นความคิดเห็นภายในจิตใจของเราที่เลือกที่จะเชื่อเช่นนั้น เมื่อเราเชื่อไปแล้วก็ย่อมยากที่จะเปลี่ยนความคิดความเชื่อของตนเอง และในบางครั้งเราเองก็ยังทำหน้าที่เป็นผู้ที่ตัดสินว่าความเชื่อของคนที่แตกต่างจากเรานั้นว่าผิด สังคมก็เป็นเช่นนี้ ในความคิดของดิฉันไม่มีอะไรมากำหนดว่าสิ่งที่เราเชื่อหรือความเชื่อของคนอื่นนั้นถูกหรือผิด ตราบใดที่เราไม่ก้าวก่ายความเชื่อของคนอื่น และความเชื่อของเราไม่ได้สร้างความแตกแยก ความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นเราในฐานะคนในสังคมคนหนึ่ง ย่อมมีสิทธิ์ที่จะเชื่อ 2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?- อย่างที่กล่าวไปความเชื่อเมื่อเราเลือกที่จะเชื่อย่อมยากที่จะเปลี่ยน การที่จะสร้างคววามเชื่อใหม่ให้เข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่าอาจเกิดได้จากการที่เราเลือกเชื่อจากกระแสสังคม เพราะบางครั้งการที่เรามีความเชื่อที่แตกต่างเราอาจถูกเรียกว่าเป็นแกะดำในกลุ่มคน บางคนเลยเลือกที่จะเชื่อตามที่ควรจะเป็น และสำหรับดิฉัน ดิฉันคิดว่าเวลาก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะเปลี่ยนความเชื่อ ทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกย่อมเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปตามกาลเวลา ความเชื่อก็เช่นกัน เมื่อตอนเราเด็กเรามีความเชื่อตามวัยยังไม่กล้าที่จะคิดนอกกรอบ ผู้ใหญ่บอกให้เราเชื่ออะไรเราก็ต้องเชื่อเช่นนั้น แต่เมื่อเราโตขึ้นการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียนก็หล่อหลอมให้เรามีความเชื่อในแบบของตัวเอง

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง ?ความเชื่อเป็นสิ่งที่เกิดจากการยอมรับ จากความคิดของมนุษย์ หรือไม่ว่าจะเป็นสัตว์ก็ตามที่จะมีความคิดว่าสิ่งนั้นเป็นความจริง ซึ่งไม่จำเป็นว่าสิ่งนั้นมันเป็นความจริงที่พิสูจน์ได้จากการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ หรือ มีหลักการ ที่มีเหตุ และ ผล มาสนับสนุนว่าเป็นความจริง แต่มันเกิดจากความเชื่อที่เรามองว่าถ้าเราทำแบบนี้แล้วมันไม่สำเสร็จ ก็เชื่อไปแบบนั้นตลอดว่าถ้าทำแบบนี้มันไม่สำเร็จ แม้จะพยามแค่ไหนก็ไม่สำเร็จ เช่น ถ้าเราพยายามที่จะแบกของหนักๆในตอนเด็ก แต่ไม่ว่าจะพยายามแค่ไหนก็ไม่สามารถแบกมันได้ เมื่อโตขึ้นเราก็เชื่อว่าเราไม่สามาถที่จะแบกของหนักได้ เพราะ มันเป็นความเชื่อที่เราเชื่อไปแล้วว่ามันเป็นแบบนั้น แต่กลับลืมมองไปว่าที่เราแบกของหนักๆไม่ได้ไนตอนนั้น เพราะเรายังเป็นเด็กอยู่ ไม่มีแรงพอที่จะแบกของหนักๆได้ ความเชื่อจึงเป็นเหมือนกำแพงที่ปิดกั้นความคิดเรา แต่ถ้าเราไม่ยึดติดกับความเชื่อเดิม ๆ แล้วลองเปิดใจรับความเชื่อใหม่ๆ หรือลองพยายามเอากำแพงที่ปิดกั้นความคิดเรานั้นออกไป ถ้าเราเอากำแพงที่ปิดกั้นความคิดเราออกไปได้ มันก็จะทำให้เราเกิดมุมมองความคิดใหม่ที่บอกว่าที่เราเชื่อไปแบบนั้นมันเป็นความเชื่อที่ผิด สุดท้ายเราก็จะเจอความเชื่อที่ถูกต้องกว่าครั้งแรก ด้วยการเชื่อในหลายๆมุมมอง ไม่ยึดติดกับความเชื่อเดิม ๆ 2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?เราจะต้องเปลี่ยนวิธีการคิด และทัศนคติของเราก่อนว่า บางครั้งความเชื่อที่เราเชื่อในอดีตมันอาจจะไม่ได้ถูกต้องเสมอไป และ อาจจะส่งผลต่อพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเราก็ได้ แล้วลองเปิดใจหันมาเชื่อในหลายๆมุมมองดู ซึ่งเวลาจะเป็นตัวช่วยที่ทำให้เราสามารถเชื่อในสิ่งใหม่ได้ ที่จะทำให้เราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีขึ้นกว่าเดิม การที่เราพยายามเปิดรับความเชื่อใหม่ ๆ แทนที่จะยึดติดกับความเชื่อเดิม ๆ สิ่งนี้จะเป็นสิ่งที่ทำให้เราสร้างพฤติกรรมที่ถูกต้องขึ้นมาได้ และเราจะรู้ได้อัตโนมัติว่าความเชื่อที่เรามีมาแต่เดิมนั้นมันผิด เพราะเกิดจาการเปิดใจยอมรับความเชื่อสิ่งใหม่ การเปิดใจยอมรับสิ่งใหม่ ๆ นี้เองจะทำให้เราเกิดการไตร่ตรองทางความคิด ซึ่งจะนำไปสู่พฤติกรรมใหม่ที่ดีกว่าเดิมได้

นายพีรพงศ์ บุญรอด 6111110093 นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทยประยุกต์ ตอน 01 1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง : สิ่งที่เราเชื่อหรือเราคิดมาโดยตลอด แม้มันจะไม่ได้ถูกต้องหรือเป็นไปตามที่เราคิดเสมอไป แต่ความเชื่อคือสิ่งที่จะนำพาเราให้ก้าวเดินต่อไปได้เสมอ หลายครั้งที่ความเชื่อที่เราเชื่อมันเป็นสิ่งที่ถูก แน่นอนว่าผลลัพธ์ของมันก็ย่อมออกมาในทางที่เราพอใจเป็นธรรมดา แต่ในทางกลับกันถ้าสิ่งที่เราเชื่อมันเป็นสิ่งที่ผิด วันหนึ่งถ้าเรารู้ว่ามันผิดจริงๆ เราก็แค่เปลี่ยนแปลงและเริ่มต้นใหม่ เพราะฉะนั้นสิ่งที่เป็นประเด็นว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อของเรานั้นถูกต้องก็คงตอบได้ว่า ความเชื่อก็คือความคิด ไม่มีผิดไม่มีถูก หากแต่สิ่งที่เราเชื่อไปทำร้ายผู้อื่นให้เดือนดร้อนหรือไม่ หากไม่ก็นับได้ว่าถูก แต่ถ้าส่งผลต่อผู้อื่น ก็แค่ปรับเปลี่ยนความเชื่อและก้าวเดินต่อ ความเชื่อจะนำพาชีวิตเราเดินต่อไปได้2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร : คงเป็นคำตอบจากคำถามที่คงจะเกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติในชีวิตอยู่แล้ว หากวันนึงเราต้องปรับเปลี่ยนบางสิ่ง เราจะสร้างความเชื่อใหม่แทนความเชื่อเก่าอย่างไร สิ่งที่เราเชื่อในแบบเก่า หากเราเชื่อแล้วเรากระทำ ส่งผลร้ายต่อผู้อื่นหรือสิ่งรอบข้าง เราก็จำเป็นจะต้องปรับเปลี่ยนเป็นธรรมดาถ้ากหากสิ่งนั้นมันผิด พูดได้ว่า การจะเปลี่ยนสิ่งใหม่เพื่อแทนสิ่งเก่าได้นั้นก็ต่อเมื่อสิ่งที่เปลี่ยนมันจะส่งผลดีต่อตัวเองและคนรอบข้าง เพียงเท่านี้การเปลี่ยนแปลงเพื่อรับสิ่งใหม่ที่ดีกว่าก็ไม่ได้นับเป็นปัญหาหรือเรื่องร้ายแรงแต่อย่างใด

1.คนเราทุกคนล้วนมีความเชื่อที่แตกต่างกัน ความเชื่อที่เกิดขึ้นก็มักจะมาจากปลูกฝังมาจากครอบครัว เหตุการณ์หรือประสบการณ์ที่เราได้พบเจอมาในช่วงชีวิตของเรา ดังนั้นทุกคนยอมคิดอยู่แล้วว่าสิ่งที่ตนเชื่อมานั้นถูกต้อง แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้นก่อนที่เราจะเชื่อในบางสิ่งบางอย่าง เราควรหาข้อมูล หาเหตุผลมาสนับสนุนความเชื่อนั้นก่อนปักใจเชื่ออะไรลงไป การเชื่อในอะไรที่ไม่ไตร่ตรองให้ดีอาจจะพามาซึ่งปัญหาได้ ดังนั้นการที่เราจะได้รับความเชื่อที่ถูกต้องจะต้องพิสูจน์ก่อนเสมอว่าสิ่งที่เรากำลังจะปักใจเชื่อนั้นมีความน่าเชื่อถือมากพอ และความเชื่อนั้นจะไม่นำความเดือดร้อนมาสู่ตัวเราและผู้อื่น2.หากเราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา หากต้องการจะสร้าง ความเชื่อใหม่ สิ่งแรกที่ควรจะทำคือการเปิดใจของเราก่อน การเปิดใจคือการมองสิ่งต่างๆรอบๆตัวเราในมุมมองใหม่ ยอมรับในความเป็นไปของสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นให้ได้ก่อน นั่นจะทำให้เป็นการง่ายต่อการเริ่มต้นเปลี่ยนความเชื่อที่ทำให้เกิดพฤติกกรมที่ไม่พึงประสงค์ เริ่มเรียนรู้ที่จะลองทำสิ่งใหม่ๆ ซึ่งจะนำไปสู่ประสบการณใหม่ๆที่จะสามารถช่วยพัฒนาความคิด เปลี่ยนแปลงความเชื่อของเรา การที่เราจะเปลี่ยนแปลงความเชื่อนั้น ไม่ได้สามารถทำได้ทันทีทันใด เราต้องอาศัยเวลาค่อยๆปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ความเชื่อ ความคิดไปทีละนิด เมื่อเราเริ่มสร้างความเชื่อใหม่ๆได้แล้ว การคิด การแสดงออกทางพฤติกรรมก็จะเปลี่ยนแปลงไป ความเชื่อใหม่ๆก็จะค่อยๆเช้ามาแทนที่ความเชื่อเก่าๆได้ หากเรามีความอดทนที่จะรอ เราก็จะสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเราได้อย่างราบรื่น

6210712008 คณะเภสัชศาสตร์ 1.หากเรายึดถือความคิด ความเชื่อของตนเองเพียงคนเดียว เราก็คงคิดว่าความเชื่อของเราที่มีอยู่นั้นถูกต้องอยู่แล้ว เพราะความเชื่อเหล่านั้นเกิดมาจากการที่เราถูกอบรม สั่งสอนจากพ่อ แม่ คุณครู หรือแม้กระทั่งคนที่เคยผ่านเข้ามาในชีวิตของเรา ไม่ว่าจะระยะสั้นหรือระยะยาว หรืออาจจะมาจากประสบการณ์ที่เราได้พบเจอ หรืออาจจะเป็นความเชื่อที่มีคนปฏิบัติสืบต่อเนื่องกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน แต่เมื่อเราได้มาอยู่ร่วมกันกับคนอื่น เราจะสามารถทราบได้เลยว่า ถ้าความเชื่อนั้น ๆ เป็นความเชื่อที่ถูกต้องจริง ความเชื่อนั้นจะไม่ส่งผลเสียให้ผู้อื่น จะไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่คนรอบข้าง เป็นความเชื่อที่ทำให้เรามีความสุขใจนั่นเอง 2.จากข้อสรุปในชั้นเรียนที่ว่า “ความเชื่อเป็นรากเหง้าของความคิดของเรา และความคิดก็เป็นต้นตอของพฤติกรรมที่เราแสดงออกมา” ดังนั้น การที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์นั้น ๆ แสดงว่า เราได้เกิดความสงสัยในความเชื่อของเราว่าความเชื่อนั้นถูกต้องแล้วหรือไม่ ความเชื่อนั้นมีข้อผิดพลาดที่ตรงไหน แล้วความเชื่อนั้นได้ส่งผลกระทบหรือผลเสียต่อใครบ้าง เมื่อเราเกิดความสงสัยดังกล่าว เราก็จะเล็งหาความเชื่อที่ถูกต้องเพื่อมาลบล้าง อาจจะไม่ต้องลบล้างทุกข้อในความเชื่อนั้น แต่เป็นการลบล้างในหัวข้อ ในประเด็นที่มันไม่ถูกต้อง ในประเด็นที่ส่งทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ในประเด็นที่ทำให้เราเป็นทุกข์ ไม่สบายกายไม่สบายใจ โดยผ่านกระบวนการคิด การวิเคราะห์ เราอาจจะมีการวางแผน มีการตั้งเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงความเชื่อนั้น ๆ ว่าต้องทำอย่างไร ต้องลงมือปฏิบัติอย่างไรบ้าง ซึ่งในบางที “เวลา” อาจเป็นตัวช่วยสอนให้เราได้ทราบและได้เรียนรู้ความเชื่อที่ถูกต้องก็เป็นได้นั่นเอง

1.การที่เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าความเชื่อที่เราเชื่อมานานนั้นถูกต้อง เป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะความเชื่อหรือพฤติกรรมต่างๆ เราได้ทำมานาน จนเป็นนิสัย กลายเป็นเรื่องปกติ ในมุมมองของเรา เรามักมองว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้องเสมอ การที่เราจะรู้ได้ว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกหรือไม่ เราควรลองเปลี่ยนมุมมอง ลองมองในมุมของคนอื่นหรือมุมอื่นที่เราไม่เคยมองบ้าง เพื่อจะได้เห็นมิติใหม่ๆ จากนั้นเราก็ใช้ใจเป็นกลางในการตัดสินว่าความเชื่อที่เราเชื่อนั้นถูกต้องหรือไม่ ความเชื่อที่ดีควรเป็นความเชื่อที่ไม่ทำให้คนอื่นหรือตัวเองเดือดร้อน บางครั้งมันอาจจะเป็นเพียงความเชื่อของเราเพียงคนเดียว ก็ไม่เป็นไรเพียงแค่ไม่ทำให้คนอื่นหรือใครเดือดร้อนก็พอ2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ทำได้โดยการลองมองความเชื่อเก่า หาเหตุผลต่างๆมาเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจ ลองหาเหตุผลเยอะๆมาสนับสนุนว่าทำไมเราจึงต้องเปลี่ยนความเชื่อ ความเชื่อเก่าไม่ดี? หรือไม่เหมาะสมอย่างไร? แล้วความเชื่อใหม่ที่เราต้องการมันดีกว่าความเชื่อเก่าอย่างไร? แล้วนำมาตัดสินด้วยใจเป็นกลาง แล้วเริ่มเปลี่ยนความเชื่อเก่าที่ละนิดๆ มันจะช่วยให้เราไม่รู้สึกหนักใจหรือต่อต้านการเปลี่ยนความเชื่อ หากเปลี่ยนไปเลยอาจทำให้เรารู้สึกผิดปกติ แล้วค่อยๆเติมความเชื่อใหม่ลงไปในพฤติกรรมของเรา

(6111110012)1. เรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?สำหรับตัวดิฉันเองความเชื่อในความคิดของดิฉัน คือ การที่ดิฉันจะเชื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้นจะต้องมีเหตุผลที่เข้ามาประจักษ์ให้เห็นแจ้งก่อนที่จะเชื่อสิ่งๆ นั้น เช่น หากฉันได้ยินข่าวลือหรือมีคนบอกต่อๆ กันมาว่าคนๆ นี้นิสัยไม่ดี ดิฉันจะไม่ปักใจเชื่อก่อนจนกว่าดิฉันจะรับรู้ถึงการกระทำหรือได้พูดคุยกับเขาก่อน แต่มิได้วางใจ หรือเรียกว่า ฟังหูไว้หู เพราะดิฉันเชื่อว่าการที่เราจะเชื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้น เราควรมีเหตุผลที่มารองรับกับความเชื่อนั้นจริงๆ2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?สำหรับดิฉันหากดิฉันต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่าง โดยสร้างความเชื่อใหม่เข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่า ดิฉันจะหาเหตุผลของความเป็นจริงที่แท้จริงมาสนับสนุนความคิด เพราะการที่เราเชื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้นมันมาจากการที่เรารับรู้มา ซึ่งเราอาจแสดงออกมาทางพฤติกรรมที่อาจไม่พึงประสงค์ แต่หากดิฉันจะเปลี่ยนพฤติกรรมนั้น ดิฉันคิดว่าดิฉันคงต้องไปเปลี่ยนที่ความคิด เพราะความคิดทำให้เกิดการกระทำหรือพฤติกรรมนั่นเอง นอกจากวิธีข้างต้นแล้วดิฉันคิดว่าการคิดบวกหรือมองโลกในแง่ดีที่อยู่บนหลักพื้นฐานเหตุและผลก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้พฤติกรรมเราเปลี่ยนไปได้ในทางที่ดี เพราะการคิดลบในบางครั้งมักเป็นต้นเหตุนำไปสู่การกระทำหรือพฤติกรรมที่ไม่ดี จนอาจลืมไปว่า ทุกวินาทีที่เราทุกข์คือวินาทีที่ความสุขเรานั้นหายไป ถ้าเราเปลี่ยนความคิดให้เป็นบวกโดยอยู่บนพื้นฐานเหตุและผลนั้น มันก็จะสามารถส่งผลต่อการกระทำของเราในที่สุดได้ หรือสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ดีให้เป็นดีได้

ในความคิดเห็นของดิฉัน ที่ดิฉันทราบว่าความเชื่อที่ดิฉันเชื่อนั้นมันถูกต้องก็เพราะมันเกิดจากการที่ดิฉันคิดไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วน มีการใช้เหตุและผลในการตัดสินใจที่จะเชื่อในสิ่งนั้นๆ จะไม่เชื่อและโดนโน้มน้าวไปในตอนแรกๆแต่จะใช้เวลาคิดและตัดสินใจในภายหลังเพราะถ้าเราเกิดตัดสินใจไปโดยรวดเร็วและไม่ได้คิดไตร่ตรองให้ถี่ถ้วน ก็จะโดนโน้มน้าวใจไปให้เชื่อกับความเชื่อนั้นๆที่เราไม่อาจทราบได้ว่าสิ่งๆนี้มันถูกต้องจริงๆหรือไม่ และเมื่อเราต้องการที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเรา เราก็จะต้องสร้างความเชื่อใหม่เพื่อปรับพฤติกรรมของเราไปในทางที่ดีขึ้น เลยอาจเริ่มจากสิ่งรอบๆตัวเราเช่น สิ่งแวดล้อมรอบตัวหรือจะเป็นเพื่อนฝูงที่คบหาเพราะปัจจัยเหล่านี้อาจมีผลต่อพฤติกรรมของเราได้ว่าจะไปในทางที่ดีหรือไม่ดี หรือปัจจัยอื่นๆเช่นครอบครัว ก็อาจจะทำให้พฤติกรรมเราถูกปรับเปลี่ยนไปได้แต่ไปในทางไหนสุดท้ายก็ขึ้นอยู่กับตัวเราว่าเราจะสร้างความเชื่อในตัวเราให้มันดีกับตัวเองหรือจะสร้างให้มันทำลายตัวเรา

1.ในความคิดเห็นส่วนตัวคิดว่าความเชื่อที่ถูกต้องนั้นมาจากการที่เราได้ทราบข้อมูลของสิ่งๆหนึ่งมาจากคนอื่นที่มีการศึกษามาแล้ว หรือข้อมูลที่เราศึกษาเองแล้วเห็นถึงความเป็นเหตุและผลของสิ่งๆนั้น สิ่งเหล่านี้แหละที่เป็นตัวเสริมให้เราเชื่อในสิ่งๆนั้นด้วย โดยความเขื่อนี้จะถูกหรือผิดนั้นก็มาจากข้อมูลที่เราศึกษามานั้นแหละ ว่ามันมีความเป็นเหตุและผลหรือไม่2. การที่เราจะเปลี่ยนความเชื่อของเรานั้น ต้องเริ่มมาจากความสงสัยในความเชื่อก่อน หรือใครก็ตามมาพูดให้เราเปลี่ยนความเชื่อ แต่เราอย่าไปเชื่อทันที อย่างแรกที่เราจะต้องทำคือ หาข้อมูลมาหักล้างความเป็นเหตุเป็นผลของข้อมูลเก่าก่อนว่า ความเชื่อที่เราเคยเชื่อนั้นมันผิด หรือลองหาเหตุผลอื่นๆมาช่วยเสริมให้ความเชื่อใหม่ของเรานั้นมีความน่าเชื่อถือและถูกต้องกว่าข้อมูลเก่า แล้วเราจะเปลี่ยนความเชื่อเก่าเป็นใหม่ทันทีโดยปริยาย เพราะทุกคนก็อยากที่จะเชื่อในสิ่งที่ถูกต้องและมีผลดีต่อตัวเองทั้งนั้น

1.การที่เราจะรู้ว่าความเชื่อที่เราเชื่อนั้นถูกต้องหรือไม่ เราอาจต้องหาข้อมูล หาความคิดเห็นของผู้อื่นที่มีต่อความเชื่อ ดูความสมเหตุสมผลและใช้ประสบการณ์ของเราเพื่อมาทำความเข้าใจและพิสูจน์ว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นถูกต้องจริงๆ แต่บางความเชื่ออาจไม่มีข้อพิสูจน์ว่าจริงหรือไม่ บางความเชื่อเราเชื่อเพื่อความสบายใจ ดังนั้นหากความเชื่อนั้นไม่ได้ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนเราก็เพียงแค่เชื่อในแบบของเราและไม่ไปยัดเยียดความเชื่อของเราให้ผู้อื่นก็พอ 2.การที่เราอยากจะเปลี่ยนพฤติกรรม เปลี่ยนความเชื่อเก่า นั่นแสดงว่าเราไม่เชื่อมั่นในความเชื่อเก่าของเราอีกต่อไป ซึ่งการจะยอมรับความเชื่อใหม่จึงกลายเป็นสิ่งที่ง่าย แต่สิ่งที่ยากคือเราจะต้องมั่นใจว่าความเชื่อใหม่ที่จะเข้ามาแทนที่เป็นสิ่งที่ถูกต้อง สมควรที่จะเชื่อถือและยึดมั่น และจะทำให้พฤติกรรมที่เราอยากเปลี่ยนแปลงนั้นเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น

61111100191.เรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?ตอบ ความเชื่อ คือ การยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริงหรือเป็นสิ่งที่เราไว้ใจ ความจริงหรือความไว้วางใจที่เป็นรูปของความเชื่อนั้น ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นความจริงที่ตรงตามหลักเหตุผลหรือหลักวิทยาศาสตร์ใดๆ คนที่เชื่อในฤกษ์ยามก็จะถือว่า วันเวลาการโคจรของดวงดาวจะก่อให้เกิดผลต่อตัวมนุษย์ คนที่เชื่อเครื่องรางของขลังก็จะมีความยึดมั่นว่า เครื่องรางของขลังให้คุณให้โทษแก่ตนได้จริง ตัวอย่างของความเชื่อ ได้แก่ ไสยศาสตร์ โหราศาสตร์ โชคลาง ของขลัง ผีสาง นางไม้ ความเชื่ออำนาจลึกลับ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ เหล่านี้เป็นต้น เราไม่สามารถทราบได้เลยว่าความเชื่อของเราที่เรากันมานั้นจะถูกหรือผิด แต่อยู่ที่วิจารณญาณของแต่ละบุคคลว่าเขานั้นเลือกที่เชื่อหรือไม่ โดยแต่ที่ความเชื่อของแต่ละคนก็จะไม่ไปรุกรานความเชื่อของคนอื่น 2.ในกรณีที่เราต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์บางอย่างเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่”ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?ตอบ เราควรที่คิดไตร่ตรองให้ดีเสียก่อนว่า ความเชื่อที่เราเคยเชื่อมาก่อนนั้นไม่พึ่งประสงค์ต่อเราอย่างไร มีผลเสียต่อการใช้ชีวิตของเราอย่างไรบ้าง ถ้าคิดดูแล้วส่งผลเสียให้แก่เรา ก็จงเอาผลเสียต่างๆเหล่านั้นมาลบล้างความเชื่อเดิมๆออกไปให้หมดเสีย แล้วเริ่มต้นความเชื่อใหม่และเปลี่ยนพฤติกรรมเก่าให้ได้ เหมือนราวกับว่าฉันพร้อมที่จะเป็นคนใหม่นั้นเอง

  1. แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? สำหรับดิฉันคิดว่า การที่เราจะรู้ว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องหรือไม่ ควรดูจากหลากหลายองค์ประกอบ ไม่ว่าจะเป็นจากบุคคลรอบข้าง หรือเหตุการณ์ต่างๆที่เราพบเจอ หากความเชื่อของเรานั้นถูกต้อง เราต้องสามารถหาเหตุผลมาอธิบายได้อย่างสมเหตุสมผลว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น และเป็นเช่นนั้นเพราะเหตุใด หรืออาจจะนำความเชื่อที่มีนั้นไปเล่าให้คนอื่นฟัง หากผู้ที่เราเล่าให้ฟัง เขาเชื่อและความเชื่อที่เรามีนั้นไม่ทำให้ใครเดือดร้อน ก็สามารถบอกได้ระดับหนึ่งว่าความเชื่อของเรานั้นถูกต้อง2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้มาแทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? ในความคิดของดิฉันคิดว่า การที่เราจะเปลี่ยนความเชื่อเก่าที่มีอยู่ได้นั้น เราต้องเริ่มมาจากการเปลี่ยนความคิดว่าสิ่งที่เราเชื่ออยู่นั้นมันไม่ถูกต้องหรือไม่สมเหตุสมผลอย่างไร หรือความเชื่อที่เราเชื่ออยู่นั้นส่งผลเสียต่อสิ่งใดบ้าง ถ้าหากเรารู้ถึงข้อมูลเหล่านั้นแล้ว ก็สามารถนำความเชื่อใหม่เข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่าได้ แต่ในทางที่ดี เราก็ควรที่จะทราบว่าความเชื่อใหม่นั้น ถูกต้องอย่างไร และเราต้องให้เหตุผลกับตัวเองได้ว่า เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น และความเชื่อใหม่ดีกว่าและถูกต้องกว่าความเชื่อแบบเก่าอย่างไร เพียงแค่นี้ก็สามารถทำให้เราสามารถนำความเชื่อใหม่ มาแทนที่ความเชื่อเก่าได้แล้ว โดยทุกอย่างต้องมีเหตุและผลของตัวมันเอง

นางสาว รวินทร์ภิญา จันทร์สวาท รหัส6111110223 คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทยประยุกต์ 1.แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้องความเชื่อนั้นมีหลากหลายแบบอาจะเป็นทั้งความเชื่อที่เรามองเห็นได้และมีทั้งรูปแบบที่เราไม่สามารถที่จะมองเห็นได้แต่เป็นการเล่าต่อกันมา ความเชื่อของแต่ละคนแต่ละครอบครัวของเราไม่เหมือนกัน เราจะเชื่อคำบอกเล่าหรือความเชื่อที่คนในครอบครัวบอกต่อๆกันมามากกว่าความเชื่อของคนภายนอกหรือคนที่เราไม่สนิทด้วยอยู่ ไม่มีอะไรสามารถที่จะชี้วัดออกมาได้ว่าความเชื่อนั้นเป็นสิ่งที่ถูกนอกจากความเชื่อนั้นออกมาในรูปแบบที่คนสามารถมองเห็นหรือจับต้องได้ ดังนั้นความเชื่อของตัวเราจะถูกหรือไม่อยู่ที่ตัวเราอยู่ที่ความมั่นใจของเรา หากเราเชื่อว่าความเชื่อนี้คือสิ่งที่ถูกสำหรับตัวเราต่อให้มีความเชื่ออื่นมาสนับสนุนหรือมีคนบอกว่าความเชื่อของเราผิดแต่เราก็ยังคงยึดมั่นในความเชื่อของตัวเราอยู่ดี2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?คนบางคนจะเอาตนเองเป็นหลักไม่สนใจโลก แม้ใครจะพูดอะไรก็ไม่ฟังจะตั้งเหตุผลของตัวเองเอาไว้เป็นหลัก หากเราต้องการที่จะเปลี่ยนความเชื่อเก่าของเราแล้วจะสร้างความเชื่อใหม่นั้นอันดับแรกเราควรที่จะเปิดใจ สนใจโลกและสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น มองสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ที่เปลี่ยนแปลงไปแล้วค่อยๆเปลี่ยนความคิดของเราค่อยๆเดินออกจากโลกใบเดิมที่เราอยู่ อย่าปิดโอกาสตัวเองในการที่จะออกไปเจออะไรที่ดีกว่าเดิม รู้จักพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา ไม่ปิดกั้นความคิดของคนอื่น ในการเริ่มต้นนั้นอาจจะยาก แต่หากเราค่อยๆเปิดในรับฟัง มองในความเชื่อของเราและของคนอื่นๆและค่อยๆนำความเชื่อนั้นมาเชื่อมโยงเข้าหากัน และมองหาผลดีว่าหากเราเปิดใจยอมรับแล้วนั้นจะเป็นผลดีต่อตัวเราอย่างไรบ้าง หรือจะมีผลเสียอย่างไรบ้างแต่อย่างไรก็ทำในการกระทำนั้นก็ต้องอยู่บนความสบายใจของตัวเราเองเช่นกัน หากทำแล้วเราไม่มีความสบายใจก็ไม่ควรแต่ก็ไม่ควรที่จะปิดตัวมากเกินไป รู้จักปรับข้อเสียของตัวเราให้ดีขึ้นหรือความเชื่อใหม่ข้อใดที่เราไม่ชอบหรือไม่เหมาะกับตัวเราก็ไม่จำเป็นนำมาปรับใช้ ทุกคนย่อมมองหาสิ่งที่ดีที่สุดให้ตนเองเสมอ

1.ความเชื่อที่ถูกนั้น ข้าพเจ้าคิดว่าความเชื่อนั้นจะต้องมีเหตุมีผลที่มีน้ำหนักมารองรับและมีที่มาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น มีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ได้ สามารถมองเห็นหรือสัมผัสได้เป็นรูปธรรม 2.หากเราต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างในตัวเรา ข้าพเจ้าคิดว่าข้าพเจ้าควรที่จะสร้างความเชื่อใหม่ที่จะจูงใจข้าพเจ้าทำเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์นั้นให้เป็นพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์และมองหาเสียของความเชื่อเก่าที่ไม่ถูกต้องที่ข้าพเจ้าเชื่ออยู่เพื่อให้ตัวข้าพเจ้าเองหยุดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์เหล่านั้นลง

1)ความเชื่อคือข้อมูลพื้นฐานที่เรานำมาใช้ประกอบการตัดสินใจ ที่เกิดมาจากประสบการณ์และสิ่งที่แต่ละคนได้พบเจอมา ซึ่งความเชื่อนี้เองเป็นตัวควบคุมความคิดและแสดงออกมาเป็นพฤติกรรม ดังนั้นเราจะรู้ได้ว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องหรือไม่ จากพฤติกรรมที่เรากระทำนั่นเอง ถ้าการกระทำของเราทำให้ตนเองหรือผู้อื่นเดือดร้อนก็แสดงว่าความเชื่อนั้นไม่ถูกต้อง2)การที่เราจะสร้างความเชื่อใหม่มาทดแทนความเชื่อเก่านั้นถือเป็นเรื่องยากแต่ก็สามารถทำได้ ในความคิดของดิฉันคิดว่าเราจะเปลี่ยนความเชื่อเดิมได้เมื่อเราได้รู้ถึงผลของการกระทำที่มาจากความเชื่อเดิม และเป็นผลที่ให้ผลเสียกับตัวเอง ดังนั้นเมื่อเรากระทำอะไรลงไปแล้ว เราจึงควรกลับมาทบทวนว่าผลของการกระทำนั้นส่งผลดีหรือผลเสียต่อตัวเราและผู้อื่นอย่างไรบ้าง

นางสาวณัฐวรรณ ทองชัย 6210710042 ชั้นปีที่1 คณะเภสัชศาสตร์
1.รู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้อง?
ในความคิดของดิฉัน การจะรู้ได้ว่าความเชื่อที่มีของเรานั้นถูกหรือผิด ให้ดูจากพฤติกรรมที่เราแสดงออกมาจากความเชื่อนั้น แล้วผู้อื่นมองเป็นแบบไหน โดยแต่ละคนอาจจะคิดไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับพื้นฐานครอบครัวหรือความเชื่อ เช่น ถ้าเราแสดงพฤติกรรมหนึ่งออกมา แล้วขัดต่อความเชื่อของคนกลุ่มหนึ่ง คนกลุ่มนั้นก็อาจจะมองว่าความเชื่อของเรานั้นผิด แต่ในความเป็นจริง ความเชื่อนั้นอาจไม่มีถูกหรือผิด แต่ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน ว่ามองความเชื่อของผู้อื่นที่ขัดกับความเชื่อของตนในแบบไหน2.เราจะสร้าง ความเชื่อใหม่ เข้ามาแทน ความเชื่อเก่า ได้อย่างไร
เราจะสร้างความเชื่อใหม่ได้ เมื่อเรารู้ว่าความเชื่อที่เราเคยมีนั้นผิดหรือไม่ดี ซึ่งการจะสร้างความเชื่อใหม่ได้ อาจต้องพิจารณาก่อนว่าความเชื่อเก่ามีสิ่งผิดตรงไหน ส่งผลเสียอย่างไร โดยความเชื่อใหม่อาจเกิดจากความเชื่อของบุคคลรอบข้าง หรือแนวคิดแง่ใหม่ ประกอบกับเหตุผลต่างๆ เพื่อให้เกิดเป็นความเชื่อใหม่ที่ดี มีเหตุผล และไม่ขัดต่อความถูกต้องหรือความเชื่อของผู้อื่น

1.ผมคิดว่า ความเชื่อในตัวเราทุกวันนี้อาจจะเกิดมาจากการปลูกฝังจากครอบครัวตั้งแต่เด็กๆ รวมทั้งศาสนาที่เลือกนับถือ ประสบการณ์ที่เคยทำมา ซึ่งแต่ละคนนั้นก็จะมีความเชื่อที่แตกต่าง ความเชื่อเรานั้นจะถูกต้องหรือไม่ถูกต้องก็รู้ได้จากการนำความเชื่อนั้นมาใช้ในสังคมแล้วไม่ผิดกฎหมาย ศีลธรรม จริยธรรม ไม่ส่งผลเสียต่อผู้อื่น2.การที่จะสร้างความเชื่อใหม่มาแทนที่ความเชื่อเดิมนั้น จำเป็นจะต้องละทิ้งความเชื่อเดิมไปก่อนแล้วจึงจะนำข้อมูลใหม่ๆเข้ามาเพื่อมาประกอบการตัดสินใจเพื่อสร้างความเช่ือใหม่ขึ้นมาในภายหลัง

  1. โดยส่วนตัวแล้วคิดว่า การที่เราจะเชื่อในเรื่องใดเรื่องหนึ่งนั้น เราก็เลือกที่จะเชื่อในเรื่องที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าถูกต้องมีความน่าเชื่อถือทำให้เราเลือกที่จะเชื่อในเรื่องนั้น แต่บางครั้งความเชื่อที่เราเคยได้ยินมานั้นก็ไม่ได้ถูกต้องเสมอไป ความเชื่อเกิดจากสิ่งแวดล้อมทางสังคมรอบตัวเราที่เราได้พบเจอมาตั้งแต่เล็กจนโต ทำให้แต่ละคนจะมีความเชื่อที่แตกต่างกันไป
  2. เมื่อเรารู้แล้วว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นผิด เราก็ควรที่จะเปิดใจลองรับความเชื่อใหม่ๆ ลองเปลี่ยนแปลงความคิด พฤติกรรมต่างๆ ค่อยๆปลูกฝังความเชื่อที่ดีเข้าไปแทนที่อาจจะต้องใช้เวลา แต่ก็คุ้มค่ากับสิ่งที่เราจะได้รับหลังจากการเปลี่ยนแปลง

1.พิจารณาจากประสบการณ์ที่ผ่านมา เพื่อดูความสมเหตุสมผลของความเชื่อว่ามีเหตุผลมากน้อยเพียงใด หากสมเหตุสมผลมากพอทั้งที่เราและคนอื่นเห็นด้วย ก็อาจเชื่อได้ว่าเป็นความเชื่อที่ถูกต้อง 2.ดูผลที่เกิดขึ้นหลังจากที่เราเชื่อสิ่งๆนั้นไป ว่ามีผลร้ายมากน้อยเพียงใด เมื่อเราเห็นแล้วว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นไม่ดีก็จะแก้ไขโดยทันที เพราะเป็นเรื่องธรรมชาติที่คนเราจะพยายามแก้ไขสิ่งผิดให้เป็นสิ่งที่ถูกต้องเพื่อไม่ให้เกิดปัญหากับผู้อื่น และบางความเชื่อนั้นก็อาจไม่ใช่สิ่งที่ผิดทั้งหมด ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องมาพิจารณากันจากประสบการณ์อีกครั้งหรือจากที่เห็นสมควรจากคนส่วนใหญ่ด้วยว่าจารีตปกตินั้นเขาประพฤติกันอย่างไร

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?ความเชื่อนั้นเกิดจากการที่เราได้พิสูจน์ ได้เห็น ได้ลองทำ แล้วสิ่งนั้นมันเกิดขึ้นซ้ำๆจนเราเชื่อว่ามันต้องเป็นแบบนั้นตลอด การที่เราจะรู้ได้ว่าความเชื่อนั้นถูกต้องหรือไม่ เราก็ต้องเห็นผลว่าความเชื่อนั้น ความเชื่อเป็นพื้นฐานของการกระทำของเรา หากเรามีความเชื่อในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง การกระทำของเราก็เป็นไปตามความเชื่อ ถ้าผลออกไปในทางที่ดีต่อตนเองและส่วนรวม ไม่เดือดร้อนคนรอบข้าง นั่นก็ตอบได้ว่าเป็นความเชื่อที่ถูกต้อง

  1. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร การที่จะสร้างความเชื่อใหม่มาแทนที่ความเชื่อเก่านั้นเป็นสิ่งที่ยาก หากต้องการจะเปลี่ยนก็ต้องมองถึงข้อดี ข้อเสีย เหตุผลต่างๆมาสนับสนุนว่าความเชื่อใหม่ที่เราจะสร้างขึ้นมานั้นมีดีกว่าความเชื่อเก่าที่เราเชื่อมาอยู่ตลอดอย่างไร ทุกความเชื่อนั้นมีเหตุมีผลของมันเอง อาจจะเกิดจากการลองทำ ลองพิสูจน์ แล้วเมื่อเห็นผลของการกระทำ เราก็สามารถเปลี่ยนความเชื่อได้ง่ายขึ้น

พิมพ์ข้อความ…

1.) แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ในความคิดเห็นของดิฉัน ดิฉันคิดว่า 1. เราจะทราบว่าความคิดของเราถูกต้องก็ต่อเมื่อเราเมื่อเราพิจารณาให้ลึกลงไป นำความเชื่อนี้ไปพูดคุยแลกเปลี่ยนกับผู้อื่น ให้ผู้อื่นเเสดงความคิดเห็นที่มีต่อความคิดของเรา ว่าพวกเขาคิดเห็นอย่างไร จะเป็นความคิดที่ถูกอย่างที่เราตั้งไว้หรือไม่ หรืออาจจะผ่านการนำความคิดนั้นไปประยุกต์ใช้ ทั้งในรูปแบบของความคิดก็ดี พฤติกรรมก็ดี ถ้าเราทำแล้วถูกต้อง ไม่เบียดเบียนต่อผู้อื่น ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีลธรรม เเละยังส่งผลดีต่อตัวเรา ดิฉันคิดว่าความคิดของเราเป็นความคิดที่ถูกต้องและเหมาะสมแล้ว

2.)ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? การเปลี่ยนแปลงความเชื่อนั้นต้องคิดอย่างรอบคอบ มีวิจารณญาณ และมองในหลายๆแง่มุม ซึ่งความเชื่อจะส่งผลต่อความคิดและพฤติกรรมของคนนั้นๆ การเปลี่ยนแปลงความเชื่อนั้น ความเชื่อที่มาจากการได้รับฟังข่าวสารจากเเหล่งต่าวๆและความเชื่อที่มาจากความคิด สามารถเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ส่วนความคิดที่มาจากการได้รับหรือเกิดจากเหตุการ์ณที่เราเคยชินจะเปลี่ยนแปลงได้ยาก เพราะเรานั้นเคยชินกับวิถีความเชื่อนั้นๆ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงความเชื่อควรเริ่มจากการนำความเชื่อเก่ามาวิเคราะห์และคิดถึงสาเหตุที่เรามีเชื่อความเชื่อนี้ และเราควรพัฒนาความเชื่อนี้เพื่อส่งผลในทางที่ดีต่อเราอย่างไรและควรเชื่อความเชื่อที่เกิดขึ้นใหม่ในรูปเเบบใด หาหนทางที่ดีที่สุดในการที่จะเชื่อ เเละประยุกต์ใช้ให้เกิดผลดีต่อตัวเราให้มากที่สุด

1.ก่อนจะเชื่อสิ่งใด เราต้องหาข้ออ้างอิง ที่สมเหตุผลเพื่อมาพิสูจน์มาความเชื่อที่มีมาก่อนหน้าว่า จริงแท้ประการใด และต้นตอมาจากไหน เพราะเหตุใดจึงเกิดความเชื่อเช่นนี้2.หาข้อสนับสนุนของความเชื่อใหม่ มาหักล้างความเชื่อเก่าด้วยความสมเหตุสมผลมากกว่า โดยการแจกแจงข้อมูลที่เราหามา พิจารณาทีละข้อ นำมาเปรียบเทียบเพื่อหาข้อสรุปที่ดีกว่า

  1. เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้อง? สำหรับผม ผมคิดว่าความเชื่อไม่มีคำว่าถูกหรือผิด เพียงแต่มีคนยอมรับมากหรือยอมรับน้อยเท่านั้น แต่ถ้าหากจะตัดสินว่าว่าถูกหรือผิดนั้น เราต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริงด้วยหลักของเหตุและผล อาจจะไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ด้วยตัวเอง แต่เป็นการเรียนรู้ข้อเท็จจริงที่เคยได้มีการพิสูจน์มาแล้ว เพราะผมคิดว่า ความเชื่อเกิดจากการความไม่รู้ ของมนุษย์ เช่น ในอดีตผู้คนต่างเชื่อกันว่าโลกแบน แต่เมื่อมีการเดินเรือรอบโลกได้สำเร็จ ก็เป็นข้อพิสูจน์ชัดเจนว่า โลกของเรากลม ไม่ได้แบนอย่างที่เชื่อกัน
  2. ในกรณีที่เราต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่าง เราจะสร้างความเชื่อใหม่ เข้ามาแทนที่ ความเชื่อเก่าได้อย่างไร? แน่นอนความความเชื่อคือสิ่งที่ช่วยหล่อหลอมให้เรามีทัศนคติและความคิด ซึ่งจะแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมของตัวบุคคลในที่สุด ดังนั้นความเชื่อถือว่ามีอิทธิพลมากสำหรับพฤติกรรม การที่เราจะเปลี่ยนความเชื่อหนึ่งไปเป็นความเชื่อหนึ่งต้องอาศัยการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนตามของเหตุและผล ต้องมองให้เห็นข้อดี-ข้อเสียของหลักความเชื่อเดิมที่มีอยู่แล้วปรับปรุงให้ดีขึ้น รวมถึงการเรียนรู้จากข้อเท็จจริงที่ได้รับการพิสูจน์และเป็นที่ยอมรับในสังคม

1.ความเชื่อที่ถูกนั้น ข้าพเจ้าคิดว่าความเชื่อนั้นจะต้องมีเหตุมีผลที่มีน้ำหนักมารองรับและมีที่มาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น มีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ได้ สามารถมองเห็นหรือสัมผัสได้เป็นรูปธรรม 2.หากเราต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างในตัวเรา ข้าพเจ้าคิดว่าข้าพเจ้าควรที่จะสร้างความเชื่อใหม่ที่จะจูงใจข้าพเจ้าทำเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์นั้นให้เป็นพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์และมองหาเสียของความเชื่อเก่าที่ไม่ถูกต้องที่ข้าพเจ้าเชื่ออยู่เพื่อให้ตัวข้าพเจ้าเองหยุดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์เหล่านั้นลง

นางสาวพิมพ์ชนก โรสิกะ รหัสนักศึกษา6111110092 คณะศิลปศาสตร์ section 011.) แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ในความคิดเห็นของดิฉัน ดิฉันคิดว่า 1. เราจะทราบว่าความคิดของเราถูกต้องก็ต่อเมื่อเราเมื่อเราพิจารณาให้ลึกลงไป นำความเชื่อนี้ไปพูดคุยแลกเปลี่ยนกับผู้อื่น ให้ผู้อื่นเเสดงความคิดเห็นที่มีต่อความคิดของเรา ว่าพวกเขาคิดเห็นอย่างไร จะเป็นความคิดที่ถูกอย่างที่เราตั้งไว้หรือไม่ หรืออาจจะผ่านการนำความคิดนั้นไปประยุกต์ใช้ ทั้งในรูปแบบของความคิดก็ดี พฤติกรรมก็ดี ถ้าเราทำแล้วถูกต้อง ไม่เบียดเบียนต่อผู้อื่น ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีลธรรม เเละยังส่งผลดีต่อตัวเรา ดิฉันคิดว่าความคิดของเราเป็นความคิดที่ถูกต้องและเหมาะสมแล้ว

2.)ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? การเปลี่ยนแปลงความเชื่อนั้นต้องคิดอย่างรอบคอบ มีวิจารณญาณ และมองในหลายๆแง่มุม ซึ่งความเชื่อจะส่งผลต่อความคิดและพฤติกรรมของคนนั้นๆ การเปลี่ยนแปลงความเชื่อนั้น ความเชื่อที่มาจากการได้รับฟังข่าวสารจากเเหล่งต่าวๆและความเชื่อที่มาจากความคิด สามารถเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ส่วนความคิดที่มาจากการได้รับหรือเกิดจากเหตุการ์ณที่เราเคยชินจะเปลี่ยนแปลงได้ยาก เพราะเรานั้นเคยชินกับวิถีความเชื่อนั้นๆ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงความเชื่อควรเริ่มจากการนำความเชื่อเก่ามาวิเคราะห์และคิดถึงสาเหตุที่เรามีเชื่อความเชื่อนี้ และเราควรพัฒนาความเชื่อนี้เพื่อส่งผลในทางที่ดีต่อเราอย่างไรและควรเชื่อความเชื่อที่เกิดขึ้นใหม่ในรูปเเบบใด หาหนทางที่ดีที่สุดในการที่จะเชื่อ เเละประยุกต์ใช้ให้เกิดผลดีต่อตัวเราให้มากที่สุด

รหัสนักศึกษา 6111110018 นายกิตติพร รอดภัย คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทยประยุกต์ ชั้นปีที่ 2 section 01
1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ถ้ากล่าวว่าความคิดและการกระทำมาจากความเชื่อ ความเชื่อที่ถูกต้องทำให้คนเรามีพฤติกรรมที่เหมาะสมตามที่สังคมต้องการ ความเชื่อใดถูกต้องนั้นในความคิดของผมมี 2 แบบ คือ ความเชื่อที่คนรอบข้างหรือคนในสังคมเห็นว่าถูกและความเชื่อที่ตนเห็นว่าถูก อย่างแรกหากความเชื่อของเราไม่ขัดต่อบรรทัดฐานของสังคม ไม่ผิดต่อศีลธรรม ไม่สร้างความเดือดร้อนให้คนอื่น แสดงว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกในส่วนหนึ่ง ในส่วนที่กล่าวว่าถูกนั้นเพราะอีกส่วนมาจากตัวเราเราต้องพิสูจน์เอง เกิดจากการวิเคราะห์ของตนเองโดยใช้สมองไตร่ตรองดีแล้วว่าความเชื่อที่เรามีจะไม่ส่งผลในแง่ลบต่อผู้อื่นด้วย หากความเชื่อที่เรามีอยู่นั้นไม่ส่งผลลบหรือไม่ส่งผลต่อผ็อื่นก็แสดงความความเชื่อเราไม่ผิด และหากเป็นที่ยอมรับแสดงว่าความเชื่อเรานั้นถูก2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? ผมคิดว่าแค่เปลี่ยนแนวคิดของตนเองเปิดใจรับฟังสิ่งที่เข้ามา รู้ว่าเรามีความเชื่อใดไม่เหมาะสม ยอมรับมันและตัดสินใจที่จะเปลี่ยนมันโดยหาวิธีที่ดีที่สุดสร้างความเชื่อที่ดีงาม อาจจะหาตัวอย่างที่เป็นแรงบันดาลใจกระตุ้นความคิดเราให้มีความเชื่อใหม่ที่ถูกต้องขึ้นมาได้หรืออาจปฏิบัติตามสิ่งที่ตนคิดว่าดีเป็นประโยชน์ต่อสังคม มองหาแนวคิดเปิดมุมมองของความคิดเปิดรับทัศนคติที่ถูกต้อง บางทีเราอาจจะต้องใช้ความคิดที่มากขึ้นเพื่อวิเคราะห์ความเชื่อที่เราจะสร้างขึ้นมาใหม่นั้นดีหรือยัง อาจหาที่ปรึกษาสักคนมาคอยช่วยคิดวิเคราะห์โต้แย้งในการสร้างความเชื่อหรือรับความเชื่อใหม่นั้นอาจทำให้เราตัดสินใจได้มากขึ้น

นางสาวกัณฐิกา บุญแก้ว คณะศิลปศาสตร์ รหัส 6111110182 ชั้นปีที่2 กลุ่ม 011.แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?-เราไม่สามรถรู้ได้ว่าความเชื่อของเรานั้นถูกต้อง ที่มันถูกต้องเป็นเพราะถูกปลูกฝั่งให้จำความเชื่อแบบนั้นมาตลอด เมื่อถูกปลูกฝั่งให้เชื่อแบบเดียว เราก็จะยึดว่าความเชื่อนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่สุดสำหรับเรา ทั้งที่ความจริงแล้วความเชื่อมีอยู่หลากหลาย ความเชื่อไม่มีถูกหรือผิด เพราะยังไงทุกคนก็เชื่อความเชื่อแรกที่ทุกคนโดนปลูกฝังมาอยู่ดี เราไม่สามารถตัดสินได้ว่าความเชื่อที่เรามีอยู่นั้นถูกต้อง2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง”ความเชื่อใหม่”ให้เข้ามาแทน”ความเชื่อเก่า”ได้อย่างไร-หัดยอมรับข้อแตกต่างของึวามเชื่อ ความเชื่อแต่ละอย่างไม่เหมือนกัน เราต้องเปิดใจยอมรับข้อที่มันแตกต่าง อย่ายึดของตัวเองเป็นหลัก และเราก็ต้องทำความเข้าใจใหม่ว่าความเชื่อเดิมของเราบางทีมันอาจะยังไม่ถูกต้องเสมอไป ทำความเข้าใจศึกษาใหม่ ไม่ปิดตัวเองมากเกินไป

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?Ans หากอยากรู้ว่าความเชื่อที่มีอยู่ถูกต้องหรือไม่ มีวิธีการง่ายๆเพียง 2 วิธี อย่างแรกคือการพิสูจน์ โดยอาจจะให้ผู้อื่นช่วยด้วยก็ได้ อย่างที่สองคือ ให้สังเกตว่าความเชื่อที่ตัวเรามีนั้น ทำให้ตัวเราเองหรือคนรอบข้างได้รับความเดือดร้อนหรือไม่ หากทำให้เกิดความเดือดร้อน ก็มั่นใจได้เลยว่าความเชื่อนั้นผิดอย่างแน่นอน

2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?Ans วิธีการง่ายที่สุดคือต้องเปิดใจ รับฟังเหตุผลว่าเหตุใดความเชื่อที่เรามีถึงได้ผิด จากนั้นจึงค่อยเริ่มเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อเดิมให้เป็นพฤติกรรมจากความเชื่อใหม่ และต้องปฏิบัติบ่อยๆเพื่อให้เกิดความเคยชิน

  1. โดยส่วนตัวคิดว่าการที่เรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องต้องอาศัยพื้นฐานความมีเหตุผล ประสบการณ์ที่ได้รับและสั่งสมมาตลอด รวมไปถึงการที่ได้รับข้อพิสูจน์ว่าความเชื่อนั้นเป็นสิ่งที่สามารถเชื่อได้ และมีข้อเท็จจริง เหตุผลมารองรับ จึงทำให้รู้ได้ว่าความเชื่อเรานั้นมีความถูกต้อง
  2. เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้โดยการเปิดใจยอมรับสิ่งใหม่ๆ เข้ามา ถ้าความเชื่อนั้นเป็นความเชื่อที่ดีต่อการดำรงชีวิตเราก็ควรทำตามหรือปฏิบัติตามความเชื่อนั้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการที่เราจะให้ความเชื่อใหม่มาแทนที่ความเชื่อเก่าได้นั้น ต้องพิจารณาความเชื่อนั้นว่าถูกต้องหรือไม่ และเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงพฤติกรรมที่ผิดนั้นให้อยู่บนหลักความถูกต้องเสมอ

6210712035 คณะเภสัชศาสตร์ ชั้นปีที่ 11.แล้วเราจะรู้ว่าอย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?ความเชื่อนั้นต้องพิสูจน์ได้ว่าเป็นจริง มีผู้คนจำนวนมากที่มีความเชื่อตรงกับเรา หรือมีหลักฐาน เช่น เหตุการณ์ประกอบที่นำมาอ้างอิงได้ และความเชื่อนั้นต้องไม่ขัดต่อความถูกต้อง ศีลธรรม และไม่สร้างความเดือดร้อนทั้งต่อกับตนเองและผู้อื่น และเมื่อเราปฏิบัติตามความเชื่อแล้ว เราจะต้องไม่รู้สึกตะขิดตะขวงใจ ไม่ทำให้เกิดผลเสีย และต้องได้รับการยอมรับจากสังคม หากความเชื่อของเราเป็นไปตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น ดิฉันก็คิดว่าเป็นความเชื่อที่ถูกต้องสำหรับดิฉันแล้ว2.ในกรณีที่เราต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร ?ส่วนตัวดิฉันเชื่อว่าคนรอบข้างมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความเชื่อ เมื่อเราทำพฤติกรรมบางอย่างที่เป็นความเชื่อที่ไม่พึงประสงค์ คนรอบข้างก็จะคอยบอกหรือตัดสินเราเอง โดยอาจมาในรูปแบบการตักเตือน สั่งสอน เมื่อเราได้รับการสั่งสอนตักเตือนเราก็จะมีการเปลี่ยนความเชื่อ หรือในกรณีหนึ่ง หากเราอยู่ในกลุ่มที่มีความเชื่อแบบไหนเราก็จะเชื่อแบบนั้น หากเราอยากเปลี่ยนพฤติกรรม อยากได้ความเชื่อใหม่ เราก็ต้องเอาตัวเราไปอยู่ในกลุ่มคนที่มีความเชื่อแบบที่เราอยากเปลี่ยน และที่สำคัญ ในการเปลี่ยนความเชื่อ เราต้องยอมรับในความเชื่อเก่าของเราก่อนว่ามันผิด มันไม่ดีทั้งต่อเราและคนรอบข้าง เราก็จะสามารถละทิ้งความเชื่อเก่า พฤติกรรมไม่พึ่งประสงค์ และเปิดใจให้ความเชื่อใหม่ได้

1.ก่อนจะเชื่อสิ่งใด เราต้องหาข้ออ้างอิง ที่สมเหตุผลเพื่อมาพิสูจน์มาความเชื่อที่มีมาก่อนหน้าว่า จริงแท้ประการใด และต้นตอมาจากไหน เพราะเหตุใดจึงเกิดความเชื่อเช่นนี้2.หาข้อสนับสนุนของความเชื่อใหม่ มาหักล้างความเชื่อเก่าด้วยความสมเหตุสมผลมากกว่า โดยการแจกแจงข้อมูลที่เราหามา พิจารณาทีละข้อ นำมาเปรียบเทียบเพื่อหาข้อสรุปที่ดีกว่า

1.ในความคิดของผมนั้น เวลาผมมีความเชื่อผมจะแบ่งเป็น 2 แบบ คือความเชื่อที่พิสูจน์ด้วยตัวเอง และความเชื่อที่เกิดจากความศรัทธา ซึ่งในอันแรกคือความเชื่อที่พิสูจน์ด้วยตัวเอง เช่นผมมีความเชื่อว่า ถ้าเกิดว่าผมขยันมากขึ้น ความขยันจะทำให้ผมเก่งมากขึ้น ซึ่งผมก็เริ่มพิสูจน์ ว่าขยันแล้วจะการเรียนดีขึ้นจริงไหม สุดท้ายแล้วการเรียนผมดีขึ้นมากจริงๆ ดังนั้นที่ผมรู้ว่าความเชื่อนี้เป็นจริง ก็รู้ได้การพิสูจน์ด้วยตัวเอง ความเชื่อที่สอง คือ ความเชื่อที่เกิดจากความศรัทธา ความเชื่อนี้เกิดจากความชอบของผมและอยากที่จะศึกษาต่อ เช่นผมชอบพระพิฆเนศมาก ผมจึงเริ่มศึกษาความเป็นมาและประวัติดั้งเดิมของท่าน เมื่อผมได้อ่านและผมเจออะไรหลายอย่างที่เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ที่ทำให้ชีวิตดีขึ้น ผมจึงมาลองมาปฏิบัติจริง เช่นความกตัญญูของพระพิฆเนศ พอผมได้ปฏิบัติ ผมรักมากและดูแลแม่ดีขึ้นมาก ซึ่งท่านทำให้ชีวิตผมดีขึ้น จึงเกิดความเชื่อที่ทำให้เกิดศรัทธา โดยสรุปแล้วผมรู้ว่าความเชื่อของผมนั้นถูกต้อง เพราะผมเริ่มจากการศึกษาและลงมือทำ ทั้งสองอย่างนี้เป็นเครื่องมือที่ทำให้ผมเชื่อในความเชื่อของตัวเอง2.จากคำถามนี้ ในกรณีที่เราต้องการเปลี่ยนความเชื่อเก่ามาเป็นความเชื่อใหม่ ผมต้องเริ่มจากการดูตัวเอง พิจารณาตัวเองว่าทุกวันนี้ที่เราอยู่บนความเชื่อแบบนี้ ทำให้ชีวิตเราแย่ลงหรือไม่ เช่นมีช่วงหนึ่ง ผมมีความเชื่อว่าการลอกการบ้านไม่มีผลต่อการทำข้อสอบปลายภาคเพราะคิดว่า เดี๋ยวมาอ่านเนื้อหาตามก็ได้ ซึ่งเมื่อผมเชื่อแบบนี้ได้สักพัก พอผลสอบออกทำให้ผมรู้ทันทีว่าผมกำลังมีความเชื่อที่ผิดๆอยู่ ผมจึงปรึกษากับพ่อแม่ ผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่า และรับฟังความเชื่อใหม่และปฏิบัติตาม เพราะผมเชื่อว่า ผู้ใหญ่อาบน้ำมาก่อนแล้ว ยังไงท่านๆก็ต้องแนะนำสิ่งที่ดีที่สุดให้กับเรา อย่างในตัวอย่างท่านก็แนะนำว่า การทำการบ้านเป็นสิ่งที่ทำให้เราทบทวนบทเรียนทุกๆวัน เกิดจากการออมความรู้ที่ละนิด เพื่อให้เกิดความรู้ที่ยิ่งใหญ่ในอนาคต ผมจึงฝึกลองทำการบ้านทุกวัน สรุปผลการเรียนผมดีขึ้นมาก ทำให้ผมมีความเชื่อแบบนี้ต่อไป โดยสรุปแล้วผมเปลี่ยนความเชื่อเก่าเป็นความเชื่อใหมได้โดยรู้ก่อนว่าความเชื่อเก่านั้นผิด และเริ่มศึกษา ถามผู้มีประสบการณ์และลองทำ เมื่อเป็นสิ่งที่ดี เราก็จะทำตามความเชื่อใหม่โดยทันที

นางสาวอมฤตา ทนุศักดิ์ คณะศิลปศาสตร์ รหัส 6111110168 ชั้นปีที่2 กลุ่ม 011.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ความเชื่อที่ถูกต้องนั้นจากการที่เราได้ทราบข้อมูลต่างๆซึ่งมาจากคนอื่นที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับความเชื่อนั้นๆมาแล้ว หรือประสบการณ์ต่างๆที่เราได้เจอกับตัวเองมาแล้ว ทำให้เห็นถึงความเป็นเหตุและผลของสิ่งๆนั้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้แหละที่เป็นตัวเสริมให้เราเชื่อในสิ่งๆนั้นได้โดยความเชื่อนี้จะถูกหรือผิดนั้นก็มาจากข้อมูลที่ได้เลือกรับมันมานั้นแหละ ว่ามันมีความเป็นเหตุและผลหรือไม่2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?การที่เราจะเปลี่ยนความเชื่อของเรานั้น ต้องเริ่มมาจากความสงสัยในความเชื่อนั้นๆก่อนว่ามันผิดหรือไม่ หรืออาจะมีการปรับเปลี่ยนไปตามกาลเวลายุคสมัยในตอนนั้น หรืออาจจะเป็นเพราะเราไปเจอคนที่มีความเชื่อต่างจากเราล้าเขาก็ได้ตามมาพูดโน้มน้าวใจให้เราเปลี่ยนความเชื่อนั้นๆ แต่ไม่ว่าว่าอย่างไรก็ตามก่อนที่เราจะไปเชื่อสิ่งใดก่อนนั้นเราจำเป็นต้องหันกลับมาทบทวนความเชื่อของตัวเองอีกรอบว่าความเชื่อของเรานั้นมันมีความน่าเชื่อถือขนาดไหนถ้าเราค้นพบแล้วว่าความเชื่อของเรานั้นมีความหนักแน่นมากเพียงพอเราก็ยังต้องยึดความเชื่อตัวเองต่อไป แต่ในทางกลับกันถ้าเราได้รับความเชื่อใหม่มาเราก็จำเป็นที่จะต้องไปศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับความเชื่อใหม่นั้นให้มีความน่าเชื่อถือก่อน ถ้าเราศึกษาแล้วมีความหนักแน่นมากเพียงพอแล้ว เราถึงจะสามารถเปลี่ยนความเชื่อเดิมได้อย่างสบายใจได้ เพราะทุกคนในบนโลกนี้มักจะเลือกเชื่อในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและมีความถูกต้องทั้งนั้น

  1. ความเชื่อของมนุษย์ไม่ว่าจะผิดหรือถูก เกิดขึ้นจากการที่คนส่วนใหญ่เชื่อสิ่งเหล่านั้นอย่างไร บางครั้งความเชื่อที่เราคิดมาตลอดว่าถูกอาจจะผิดมาตลอดก็เป็นได้ ดังนั้นความเชื่อจะถูกตัดสินว่าผิดหรือถูกนั้นเกิดขึ้นจากการที่คนส่วนใหญ่เชื่อเช่นไร เพราะไม่ว่าอย่างไรหากเราเชื่อในสิ่งที่ต่างอาจจะถูกความคิดของคนส่วนใหญ่บีบให้เชื่อตามได้เช่นกัน แต่ทั้งนี้หากเราจะตัดสินว่าสิ่งใดถูกหรือผิดนั้นต้องใช้การคิดแบบวิพากษ์และการไตร่ตรองที่ดีให้อยู่บนพื้นฐานของความจริง มิใช่ความเพ้อฝัน2.พฤติกรรมของเราไม่ใช่สิ่งที่จะเปลี่ยนได้ง่ายตามที่ต้องการภายในวันหรือสองวัน แม้จะเปลี่ยนแล้วแต่บางครั้งยังยึดติดกับพฤติกรรมแบบเดิมๆได้ ดังนั้น การที่เราจะเปลี่ยนพฤติกรรมโดยอาศัยการเปลี่ยนความเชื่อนั้น เราต้องคิดอย่างถี่ถ้วนว่าความเชื่อเก่าที่ทำให้เรามีพฤติกรรมแบบนี้มีผลเสียหรือข้อบกพร่องอย่างไรและความเชื่อใหม่มีผลดีหรือส่งผลให้พฤติกรรมเราในอนาคตเป็นอย่างไร โดยส่วนใหญ่มนุษย์เราจะเปลี่ยนแปลงเมื่อพบความผิดพลาด ดังนั้นการเชื่อว่าความเชื่อเก่าผิดพลาดหรือเป็นสิ่งที่จึงเป็นทางที่จะเปลี่ยนความเชื่อใหม่ซึ่งก่อให้เกิดพฤติกรรมใหม่ได้

นางสาวณีรนุช กิ่งวชิรา คณะเภสัชศาสตร์ รหัส6210712052•[1.เรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง ?]•ความเชื่อที่เรามีมานั้น เริ่มต้นเราอาจไม่ได้เขื่อเพราะเราเชื่อในเรื่องนั้น สิ่งนั้นมาตั้งแต่ต้น แต่อาจมาจากการรับรู้จากสิ่งแวดล้อม การปลูกฝังจากคนรอบข้าง ครอบครัว สังคม วัฒนธรรมที่เราเป็นอยู่ ทำให้เราเชื่อสิ่งนั้นไปโดยปริยาย แต่หากตั้งคำถามสักนิดก่อนที่จะปักใจเชื่อในสิ่งใดนั้น เราจะเกิดการวิเคราะห์ถึงความสมเหตุสมผลของความเชื่อนั้นๆ ถึงที่มาของความเชื่อ วัตถุประสงค์ของความเชื่อนั้น และนำไปสู่การชั่งน้ำหนักถูกผิด ถูกในที่นี้คือถูกต้องเหมาะสมทั้งทางศีลธรรม ยุติธรรม หรือแม้แต่มีความเป็นไปได้โดยมีเหตุผลและที่มารองรับ ทั้งต่อเพื่อนมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม จึงอาจกล่าวได้ว่า เราจะรู้ได้ความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องจากการตั้งคำถามต่อความเชื่อ ไม่คล้อยตามไปก่อนนั่นเอง•[ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร ?]•ความเชื่อเป็นรากฐานของการแสดงออกของพฤติกรรม การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจึงต้องเริ่มจากเปลี่ยนความเชื่อ คนเรามีความสามารถคิดอย่างมีเหตุผล หากความเชื่อใหม่มีเหตุผลรองรับที่ดีกว่าย่อมควรเปลี่ยนความเชื่อ แต่ถึงอย่างนั้นความเชื่อที่เรามักปักใจเชื่อมาเป็นเวลานานนั้นยาก เพราะคนเรามักเอนเอียงและเชื่อถือเหตุผล หรือหลักฐานที่สอดคล้องกับความเชื่อเดิมของเรามากกว่า ดิฉันคิดว่าเราจะสร้าง “ความเขื่อใหม่” มาแทน “ความเชื่อเดิม” ด้วยแรงจูงใจ ในที่นี้คือประโยชน์ของความเชื่อใหม่ เมื่อเราเห็นว่าความเชื่อใหม่เป็นสิ่งที่ดีต่อเรา เราเปลี่ยนความคิดแล้วเราได้ประโยชน์ ซึ่งการเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ย่อมมาจากความเชื่อที่ผิดหรือไม่ถูกต้อง เมื่อแทนที่ด้วยความเชื่อใหม่ที่ถูกต้องเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น ย่อมเกิดประโยชน์ต่อตัวเรา เราจะมีแรงจูงใจในการแทนที่ “ความเชื่อเก่า” ด้วย “ความเชื่อใหม่”ที่ดีกว่าเดิม

1.ผมคิดว่า ความเชื่อในตัวเราทุกวันนี้อาจจะเกิดมาจากการปลูกฝังจากครอบครัวตั้งแต่เด็กๆ รวมทั้งศาสนาที่เลือกนับถือ ประสบการณ์ที่เคยทำมา ซึ่งแต่ละคนนั้นก็จะมีความเชื่อที่แตกต่าง ความเชื่อเรานั้นจะถูกต้องหรือไม่ถูกต้องก็รู้ได้จากการนำความเชื่อนั้นมาใช้ในสังคมแล้วไม่ผิดกฎหมาย ศีลธรรม จริยธรรม ไม่ส่งผลเสียต่อผู้อื่น2.การที่จะสร้างความเชื่อใหม่มาแทนที่ความเชื่อเดิมนั้น จำเป็นจะต้องละทิ้งความเชื่อเดิมไปก่อนแล้วจึงจะนำข้อมูลใหม่ๆเข้ามาเพื่อมาประกอบการตัดสินใจเพื่อสร้างความเช่ือใหม่ขึ้นมาในภายหลัง

นายภัทรภณ สุขพรหม 6210712062 คณะเภสัชศาสตร์ sec 011.ความเชื่อของมนุษย์ไม่ว่าจะผิดหรือถูก เกิดขึ้นจากการที่คนส่วนใหญ่เชื่อสิ่งเหล่านั้นอย่างไร บางครั้งความเชื่อที่เราคิดมาตลอดว่าถูกอาจจะผิดมาตลอดก็เป็นได้ ดังนั้นความเชื่อจะถูกตัดสินว่าผิดหรือถูกนั้นเกิดขึ้นจากการที่คนส่วนใหญ่เชื่อเช่นไร เพราะไม่ว่าอย่างไรหากเราเชื่อในสิ่งที่ต่างอาจจะถูกความคิดของคนส่วนใหญ่บีบให้เชื่อตามได้เช่นกัน แต่ทั้งนี้หากเราจะตัดสินว่าสิ่งใดถูกหรือผิดนั้นต้องใช้การคิดแบบวิพากษ์และการไตร่ตรองที่ดีให้อยู่บนพื้นฐานของความจริง มิใช่ความเพ้อฝัน2.พฤติกรรมของเราไม่ใช่สิ่งที่จะเปลี่ยนได้ง่ายตามที่ต้องการภายในวันหรือสองวัน แม้จะเปลี่ยนแล้วแต่บางครั้งยังยึดติดกับพฤติกรรมแบบเดิมๆได้ ดังนั้น การที่เราจะเปลี่ยนพฤติกรรมโดยอาศัยการเปลี่ยนความเชื่อนั้น เราต้องคิดอย่างถี่ถ้วนว่าความเชื่อเก่าที่ทำให้เรามีพฤติกรรมแบบนี้มีผลเสียหรือข้อบกพร่องอย่างไรและความเชื่อใหม่มีผลดีหรือส่งผลให้พฤติกรรมเราในอนาคตเป็นอย่างไร โดยส่วนใหญ่มนุษย์เราจะเปลี่ยนแปลงเมื่อพบความผิดพลาด ดังนั้นการเชื่อว่าความเชื่อเก่าผิดพลาดหรือเป็นสิ่งที่จึงเป็นทางที่จะเปลี่ยนความเชื่อใหม่ซึ่งก่อให้เกิดพฤติกรรมใหม่ได้

1.ความเชื่อทึ่ถูกต้องจะรู้ได้จากการที่นำความเชื่อนั้นมาใช้ในสังคมแล้วไม่ผิดศีลธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ ไม่ส่งผลให้ตนเองและผู้อื่นในสังคมเดือดร้อน2.เราจะเปลี่ยนแปลงความเชื่อได้จากการที่เรารู้ถึงผลเสียของการกระทำจากความเชื่อที่ผิด ดังนั้นเมื่อเรารู้ว่าไม่ถูกต้องเราก็จะเปลี่ยนความเชื่อและความคิดไปเองและเมื่อเราเปลี่ยนความคิดของเราได้แล้วพฤติกรรมที่แสดงออกมาย่อมเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย

1.ความเชื่อที่ถูกนั้น ข้าพเจ้าคิดว่าความเชื่อนั้นจะต้องมีเหตุมีผลที่มีน้ำหนักมารองรับและมีที่มาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น มีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ได้ สามารถมองเห็นหรือสัมผัสได้เป็นรูปธรรม
2.หากเราต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างในตัวเรา ข้าพเจ้าคิดว่าข้าพเจ้าควรที่จะสร้างความเชื่อใหม่ที่จะจูงใจข้าพเจ้าทำเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์นั้นให้เป็นพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์และมองหาเสียของความเชื่อเก่าที่ไม่ถูกต้องที่ข้าพเจ้าเชื่ออยู่เพื่อให้ตัวข้าพเจ้าเองหยุดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์เหล่านั้นลง

  1. คนในสังคมปัจจุบัน เติบโตมาให้ครอบครัวที่ต่างกัน ต่างการเลี้ยงดู ต่างสิ่งแวดล้อม ต่างประสบการณ์ ดังนั้นความเชื่อที่เราได้รับจากที่ต่างๆ ในระยะเวลาที่ผ่านมา มีมากมายจากหลายแหล่งที่มา หลายความเชื่อ แต่โดยสัญชาตญาณของมนุษย์มักเลือกสิ่งที่ดีที่สุดในตนเองเสมอ มักเลือกเชื่อ ในสิ่งที่เห็นว่าสมเหตุสมผล และเหมาะกับตนเอง ซึ่งความเชื่อนั้นอาจจะผิดหรือถูกก็ได้ เราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าความเชื่อที่เรามีถูกจริงหรือไม่ เราทำได้เพียงแต่คาดเดาจากประสบการณ์ ว่า อันใดอันนึง มีแนวโน้มที่จะถูกต้องมากที่สุดก็เท่านั้น โดยส่วนตัวขอสรุปว่า เราไม่ทราบแน่ชัดว่าความเชื่อของเรานั้นถูกต้องหรือไม่ แต่เราทราบแน่ชัดว่า ความเชื่อที่เราเชื่อนั้นถูกต้องที่สุดสำหรับเรา ซึ่งแต่ละบุคลก็แตกต่างกันออกไป ไม่มีแบบไหนถูกผิด ขึ้นอยู่กับว่าแบบไหนเหมาะกับใคร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ความเชื่อดังกล่าวจะต้องไม่ส่งผลเดือดร้อนต่อทั้งตนเองและผู้อื่น ทั้งทางกายและใจ 2.โดยส่วนตัวแล้ว คิดว่าไม่มีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์อยู่จริง เพราะบางความเชื่ออาจมองว่า พฤติกรรมที่ว่า ขึ้นอยู่กับความเชื่อของบุคคลนั้นๆ เช่น การทักทายแบบแก้มชนแก้มของชาวยุโรป สำหรับพวกเขา มันเป็นเรื่องที่สมควรทำ แสดงถึงความเคารพ ทักทาย ให้เกียรติ แต่สำหรับในประเทศไทยถือเป็นเรื่องขัดต่อประเพณี ซึ่งหมายความว่า เป็นพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์ ดังนั้นก่อนเราจะสร้างความเชื่อใหม่ๆ ว่ามันไม่ดี ควรแก้การแก้ไขปรับปรุง ควรตระหนักก่อนว่า ขณะนี้เราอยู่ที่ไหน สถานะอย่างไร การกระทำของเราทำให้ใครเดือนร้อนหรือไม่ หากเราสำรวจแล้วว่า ที่นี่ไม่เหมาะสม ไม่สมควร จึงเกิดพฤติกรรมอันไม่พึ่งประสงค์ เราจึงต้องเกิดการปรับตัว เริ่มจากการเรียนรู้ ลองผิดลองถูก หาความสมดุลระหว่างตนเองและสิ่งแวดล้อมขอสรุปว่า เราไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนความเชื่อใหม่ แต่เราหาความสมดุลระหว่างความเชื่อเรากับความเชื่อของสิ่งแวดล้อมนั้นเป็นพอ

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?คิดว่า ความเชื่อนั้นเกิดจากการที่เราไม่รู้ และเชื่อตามสิ่งที่เราเห็นหรือสัมผัสได้ ดังนั้นความเชื่อที่เราเชื่ออาจจะผิดหรือถูกก็ได้ และคิดว่าเราจะสามารถรู้ได้ว่าความเชื่อนั้นถูกต้องก็ต่อเมื่อ เราค้นหาความจริงของความเชื่อในเรื่องนั้นๆ

  1. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?คิดว่าอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนทัศนคติ และชี้ให้เห็นได้ว่า ความเชื่อใหม่นั้น เป็นสิ่งที่ดี และสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเราได้ดีกว่าความเชื่อเก่า โดยอาจจะต้องยกสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น เพราะความเชื่อเกิดจากความคิดของบุคคล ที่จะประมวลตามสิ่งที่เห็นหรือสัมผัสได้อย่างที่บอกไปในข้อแรก ดังนั้นจึงมองว่า ถ้าจพเปลี่ยนความเชื่อคนเราได้ ก็ต้องอยู่ที่การปรับเปลี่ยนทัศนคติและความคิดก่อน เพื่อนำไปสู่ความเชื่อที่ดีและถูกต้องได้(6111110076 คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทยประยุกต์)

นางสาวอาฑิตยา พันธ์จินา 6210710028 คณะเภสัชศาสตร์ sec011.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? คนแต่ละคนมีหลากหลายที่มา หลากหลายความเชื่อซึ่งแตกต่างกันอาจมีสาเหตุมาจากครอบครัว การเลี้ยงดู วัฒนธรรม ประเพณีและค่านิยม ไม่มีหลักเกณฑ์ใดๆในโลกนี้ที่ตัดสินว่าความเชื่อไหนผิดและความเชื่อไหนถูกแต่ขึ้นอยู่กับว่าความเชื่อนั้นๆที่เราเลือกจะเชื่อแล้วมันส่งผลกับเราอย่างไร เมื่อเรากระทำแล้วส่งผลกับคนรอบข้างแบบไหน ส่งผลดีหรือผลเสียมากกว่ากัน เราเลือกที่จะเชื่อแล้วเรามีความสุขหรือไม่2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? หากเราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเราและต้องการจะสร้าง ความเชื่อใหม่ เราควรคิดพิจารณาถึงพฤติกรรมนั้นๆก่อนว่าพฤติกรรมนั้นมีข้อเสียหรือข้อบกพร่องอย่างไรบ้าง เราจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองให้เป็นไปในทิศทางไหน สิ่งที่เราเปลี่ยนแปลงจะส่งผลกับเราและคนรอบข้างอย่างไรบ้าง

นางสาวฟัรฮะห์ สะอะ 6210712009 คณะเภสัชศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 sec 011.รู้ได้โดยการศึกษาหาข้อมูลจากหลายๆด้าน หลายๆแหล่งข้อมูลเพื่อยืนยันและพิสูจน์ได้ว่าความเชื่อนั้นถูกต้อง2.ศึกษาหาข้อมูลและหาความรู้ที่ถูกต้องของความเชื่อใหม่ให้มากจนสามารถกดความเชื่อเก่าที่ไม่พึงประสงค์ลงไปจากความคิด

คำถามที่ 1 การที่เราจะเปลี่ยนความเชื่อของเรานั้นสิ่งที่ต้องทำอย่างแรกเลยคือการเปิดใจยอมรับความเชื่อใหม่ๆเข้ามา เราต้องพยายามลดทิฐิให้มากที่สุดเพื่อที่เราจะได้พร้อมรับกับข้อมูลใหม่ๆที่เรารับเข้ามา อย่างที่สองที่เราต้องใช้ในการพิสูจน์ความเชื่อของเราคือการคิดวิเคราะห์ มองสิ่งต่างๆตามความเป็นจริง ไม่ตัดสินสิ่งต่างๆด้วยอารมณ์การที่เราจะเปลี่ยนความเชื่อของเรานั้นสิ่งที่ต้องทำอย่างแรกเลยคือการเปิดใจยอมรับความเชื่อใหม่ๆเข้ามา เราต้องพยายามลดทิฐิให้มากที่สุดเพื่อที่เราจะได้พร้อมรับกับข้อมูลใหม่ๆที่เรารับเข้ามา อย่างที่สองที่เราต้องใช้ในการพิสูจน์ความเชื่อของเราคือการคิดวิเคราะห์ มองสิ่งต่างๆตามความเป็นจริง ไม่ตัดสินสิ่งต่างๆด้วยอารมณ์ คิดไจชตร่ตรงให้รอบคอบกับข้อมูลจำนวนมากที่เรารับมันเข้ามา และสิ่งที่ควรมีควบคู่ไปกับทักษะการคิดวิเคราะห์ก็คือสติ การที่บอกให้ลดทิฐิไม่ได้หมายถึงการที่ให้เราไหลไปกับข้อมูลใหม่โดยละเลยความเชื่อที่เรามีอยู่ แต่คือการที่ให้เราเปิดใจเพื่อรับสิ่งใหม่ การรับสิ่งใหม่ก็ควรรับมาแบบมีสติ รอบคอบ ถี่ถ้วนสิ่งที่จำเป็นสำหรับหลายๆคนในการพิสูจน์ความเข้าใจของตัวเองอีกปัจัยนึงก็คือเวลาไม่ควรรีบร้อนมากจนเกินไป ตั้งสติ คิดพิจารณาข้อมูลให้รอบคอบ แต่ก็ไม่ควรปล่อยประละเลยจนทำให้เวลาไหลผ่านไปอย่างเปล่าประโยชน์เช่นกัน ไม่ต้องรีบร้อนแต่ก็ไม่ถึงขนาดเรื่อยเปื่อยเมื่อมีปัจจัยครบทุกอย่างแล้วก็ทำตามขั้นตอนคือ 1.เปิดใจ 2.รับข้อมูลและพิจารณาตามความเป็นจริงโดยมีสติอยู่ตลอดเวลา 3.ขมวดปมความคิดสรุปผล

คำถามที่2 ถ้าเกิดเราอยากเปลี่ยนพฤติกรรมก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่าพฤติกรรมที่เราอยากเปลี่ยนนั้นเกิดจากอะไร พยายามหาต้นตอแ้ลวหยุดปัญหาที่ต้นตอนั้น แล้วพยายามหาพฤติกรรมที่ดีมาแทนที่พฤติกรรมเก่า โดยการที่จะทำได้นั้น ต้องให้ความพยายามและเวลาอย่างมากเพราะพฤติกรรมเก่านั้นอยู่กับเรามานานแล้ว จะเปลี่ยนภายในวันสองวันนั้นคงยาก พอเปลี่ยนพฤติกรรมได้แล้วก็ควรระวังตัวไม่ให้เผลอเลอจนพฤติกรรมที่ไม่ดีกลับมาอีก

1.คนเราทุกคนมีความเชื่อที่แตกต่างกัน ซึ่งเกณฑ์การตัดสินว่าความเชื่อไหนถูกหรือผิดของแต่ละคนนั้นย่อมไม่เหมือนกัน ความเชื่อของเราที่คิดว่าถูก ในมุมมองของคนอื่นเขาอาจจะคิดเห็นตรงข้ามกันกับเรา แต่โดยสัญชาติญาณของมนุษย์นั้นย่อมเลือกสิ่งที่ดีและถูกต้องให้กับตนเองเสมอ ดังนั้นความเชื่อไม่มีคำว่าถูกหรือคำว่าผิด 2. หากต้องการจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเรานั้น ต้องพิจารณาก่อนว่ามีส่วนข้อดีหรือส่วนข้อเสียอย่างไรบ้าง ส่วนข้อดีที่มีอยู่ก็ควรพัฒนาให้ดียิ่งไปกว่าเดิม แต่ถ้ามีข้อเสียเราควรต้องพิจารณาว่ามันเป็นข้อเสียได้อย่างไร มีสาเหตุอะไร และความเชื่อเดิมนั้นมันบกพร่องอย่างไร เมื่อพิจารณาแล้วว่ามันไม่ดีควรจะค่อยๆปรับเปลี่ยนความเชื่อนั้นให้ดีกว่าเดิม ค่อยๆเรียนรู้ไป เมื่อมันดีแล้วความเชื่อนั้นก็จะส่งผลให้เรานั้นมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น

นางสาวกมลพรรณ​ ทวีสุขคณะเภสัชศาสตร์​ ปี1​ รหัส6210712002​ กลุ่ม01​1.การที่จะทราบได้ว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง​ อย่างแรกให้ลองถามผู้อื่นดูว่าเขามีความเชื่อเช่นเดียวกับเราหรือไม่​ แล้วสังเกตว่าความเชื่อของเรานั้นได้ส่งผลร้ายแรงต่อผู้อื่นหรือเปล่า​หรือไม่เราก็ต้องลองพิสูจน์ความเชื่อนั้นดู​ แต่อย่างไรก็ตามความเชื่อ​เป็นสิ่งที่เกิดจากสำนึกในจิตใจ​ ​เกิดจากการประสบพบผ่านของแต่ละคน​ บางครั้งก็ยากที่จะตัดสินใจว่าความเชื่อนั้นถูกหรือผิด2.อย่างแรกเราก็ต้องทำใจยอมรับความคิดเห็น​ ความเชื่อที่แตกต่างให้ได้ก่​อน ต้องไม่ยึดติดกับความเชื่อ​เก่ามากจนเกินไป​ ความเชื่อไหนที่ผิดๆก็ค่อยๆละเว้นมันไป​และค่อยๆเปิดรับความเชื่อใหม่ๆเข้ามา​ ​ซึ่งการการเปลี่ยนแปลงความเชื่อนี้ล้วนต้องใช้เวลาทั้งสิ้น

  1. บางครั้งความเชื่อที่เราเชื่อว่ามันถูกมันก็ไม่ได้ถูกต้องเสมอไป เนื่องจาก ถ้าเราได้ลงมือกระทำสิ่งนั้นแล้วผลปรากฏว่ามันไม่ถูกต้องตามความเชื่อของเรา เราก็จะเปลี่ยนความคิดว่าความเชื่อนี้มันไม่จริง เชื่อถือไม่ได้ แต่บางความคิด เราไม่ได้เชื่อว่ามันถูกต้อง แต่อาจเกิดการพฤติกรรมของสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เราเชื่อว่าความเชื่อนี้มันถูกต้อง เช่น จากคำสอนของผู้ใหญ่ คำสอนของพ่อแม่บรรพบุรุษ ซึ่งบางความเชื่ออาจจะไม่ถูกต้องเลยซะด้วยซ้ำ แต่เกิดจากเราคิดเป็นทอดๆมาแล้วว่ามันถูก และถ้าเกิดเราไม่ปฏิบัติตามมันอาจส่งผลเสียร้ายตามมาได้ แต่ในความจริงแล้ว มันอาจจะไม่มีผลเลยก็ได้แต่เราดันคิดและเชื่อไปแล้วว่าความเชื่อนั้นถูกต้อง2. ลงมือทำมันเลย ให้คิดว่า “มา! ลองดูซักตั้ง ถ้าฟลุ๊คก็ถือว่าได้กำไร แต่ถ้าไม่ก็ถือว่าได้ทำเรื่องแปลกๆก็แล้วกัน” การลงมือทำเลยในช่วงร่างกายของเราจะปฎิเสธพฤติกรรมนี้อยู่พอสมควร แต่พอผ่านไปซักวัน สองวัน ร่างกายเกิดความเคยชิน ก็จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเกิดขึ้น และมันก็จะกลายเป็นเชื่อในที่สุด เพราะเราทำมันได้สำเร็จ เราเลยเชื่อว่าถ้าเราลงมือทำมัน มันก็จะสำเร็จ อาจจะมองหาแรงบันดาลใจเพิ่ม เพื่อเพิ่มการกระตุ้นเป็นพลังเสริมอยากให้เราเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์นั้นได้

นายรฐนนท์ เทียมกนก คณะเภสัชศาสตร์ สาขาเภสัชกรรมอุตสาหการ รหัส 6210710055 ปีที่1 กลุ่ม01 คำตอบของผมคือความถูกต้องเป็นพื้นฐานหลักของการใช้ชีวิตก่อนเราจะเชื่ออะไรควรมีการกลั่นกรองข้อมูล หาเหตุผลประกอบการตัดสินใจในการเชื่อเรื่องนั้นๆ เมื่อความเชื่อมันมีเหตุผลในตัวของมันความถูกต้องก็จะตามมาและถ้าความเชื่อเก่าเป็นความเชื่อที่ผิดเราควรเรียนรู้ทำความเข้าใจและหาสิ่งที่ถูกต้องและทำให้เรามีความเชื่อใหม่ที่ถูกต้อง

นางสาวแพรววนิต สาระอาภรณ์ 6210710051 คณะเภสัชศาสตร์ 1.) เรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง↳ การที่จะรู้ว่าความเชื่อที่เรามันั้นถูกต้องหรือไม่ อาจจะดูได้จากหลายอย่างขึ้นอยู่กับยุคสมัย ช่วงเวลา ค่านิยม มุมมอง ศีลธรรมวัฒนธรรม การใช้ชีวิต ประเพณีต่างๆ ในสมัยก่อนอาจจะมีความเชื่อบางอย่างที่ไม่ดี ก็จะมีการส่งต่อมาจากพ่อแม่ญาติผู้ใหญ่ว่าเราไม่ควรทำอย่างนั้นไม่ควรทำอย่างนี้ แต่ในสมัยนี้คนในยุคใหม่มักจะหาข้อมูลและเหตุผลมาสนับสนุนความเชื่อ ว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้ดีหรือไม่ดี ถ้าดีดีอย่างไร และถ้าไม่ดีไม่ดีอย่าไร และความเชื่อก็อาจจะต่างกันในแต่ละท้องถิ่นหรือประเทศ อย่างเช่นในประเทศไทยยังไม่ค่อยยอมรับการอยู่กินด้วยกันก่อนแต่งงาน แต่ในต่างประเทศมีการอยู่ก่อนแต่งกันเยอะแยะซึ่งเป็นการลดอัตราการหย่าได้ เพราะจะได้รู้ไปเลยว่าจะอยู่ด้วยกันได้หรือไม่2) ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง”ความเชื่อใหม่”ให้เข้ามาแทนที่”ความเชื่อเก่า”ได้อย่างไร↳ การที่เราจะสร้างความเชื่อใหม่ให้มาแทนความเชื่อเก่า เราจะต้องดูก่อนว่าความเชื่อเก่าส่งผลเสียต่อเราอย่างไร แล้วมีข้อดีอะไรบ้าง แล้วความเชื่อใหม่ที่จะสร้างมีข้อดีพอที่จะสามารถแทนที่ข้อเสียของความเชื่อเก่าได้หรือไม่ แล้วเป็นความเชื่อที่จะส่งผลอย่างต่อคนในสังคมจะช่วยทำให้พฤติกรรมของคนดีได้หรือไม่ แล้วคนในสังคมยอมรับความเชื่อใหม่หรือไม่ หากมีเหตุผลและผลที่ตามมาที่ดีพอจะเปลี่ยนความเชื่อใหม่ได้ การจะค่อยๆปรับเปลี่ยน เพื่อให้คนในสังคมสามารถปรับตัวให้เข้ากับพฤติกรรมใหม่ได้

1.ดิฉันคิดว่าเราไม่สามารถทราบได้ว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องหรือไม่ เเต่เราสามารถดูเเนวโน้มความเป็นไปได้ ความน่าเชื่อถือของความเชื่อนั้นได้ จากการถามผู้รู้ การที่เราค้นคว้าเกี่ยวกับความเชื่อนั้นจากเเหล่งข้อมูลต่างๆ รวมถึงการใช้เหตุผล ในความเชื่อเรื่องนั้นๆ 2.การที่เราเปลี่ยนเเปลงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา จะสร้างความเชื่อใหม่ ให้เข้ามาเเทนที่ ความเชื่อเก่า ได้ด้วยการที่เราใช้เหตุผลในการเชื่อสิ่งต่างๆ รู้จักใช้ความรู้ในการไตร่ตรองความเชื่อ ว่าความเชื่อนั้นมีความถูกต้องหรือไม่ ขัดต่อค่านิยมของสังคมหรือไม่ มีผลดีผลเสียอย่างไร หากเรามีเหตุผลเเละความรู้ในการที่จะเชื่อในเรื่องต่างๆ ดิฉันคิดว่า เราจะสามารถสร้างความเชื่อใหม่ที่ดีได้

1.เรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ดิฉันคิดว่าเราทุกคนล้วนมีมุมมองความคิดที่แตกต่างกัน จึงส่งผลให้ความเชื่อส่วนบุคคลนั้นแตกต่างกันด้วย แต่อาจมีบ้างที่ความเชื่อบางอย่างอาจจะตรงกัน ก็อย่างเช่น ความเชื่อที่เกิดจากค่านิยมหรือจารีตประเพณี ซึ่งความเชื่อประเภทนี้เป็นความเชื่อที่คนแต่ละรุ่นได้สืบทอดต่อๆกันมา ปัจจุบันความเชื่อนี้เป็นสิ่งที่ถูกต้องอยู่แล้ว เนื่องจากเป็นที่ยอมรับกันในสังคม และปฏิบัติกันมาอย่างช้านาน ส่วนเราจะรู้ได้ยังไงว่าความเชื่อส่วนอื่นๆที่เรามีนั้นถูกรึเปล่า อันที่จริงดิฉันคิดว่า ความเชื่อไม่ได้มีการแบ่งผิดถูกอย่างชัดเจน บางความเชื่อเราอาจคิดว่าเราเชื่อแบบนี้นะ แต่คนอื่นอาจจะไม่ได้มีความเชื่อแบบเดียวกับเราก็ได้ มันไม่สำคัญหรอกว่าความเชื่อที่เรามีนั้นจะเหมือนหรือต่างกับคนอื่นหรือไม่ มันสำคัญอยู่ที่ความเชื่อที่เรามีจะต้องมีผลดีทั้งต่อเราเองและบุคคลอื่นๆด้วย มันจึงจะเป็นความเชื่อที่เราควรจะมี สรุปคือ ความเชื่อที่ถูก ควรเป็นความเชื่อที่ให้คุณประโยชน์ไม่ให้โทษทั้งต่อตนเองและผู้อื่น2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเราเราจะสร้าง”ความเชื่อใหม่”ให้เข้ามาแทน”ความเชื่อเก่า”ได้อย่างไร? ปกติคนเราจะมีความคิดเป็นของตนเอง ซึ่งความคิดนี้ จะทำให้เราสร้างความเชื่อที่เป็นของตนเองขึ้นมา ในกรณีที่เรามีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นเนื่องมาจากความเชื่อเก่าที่เรามีอยู่นั้น มันก็จะทำให้เรารับรู้ได้ว่าความเชื่อเก่าที่เรามีนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าความเชื่อเก่าที่เรามีนั้นจะไม่ถูกต้องทั้งหมด การที่เรามีความเชื่อเก่าเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว แล้วเราจะเปลี่ยนให้ตัวเองมีความเชื่อใหม่ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงเลยกับความเชื่อเก่านั้น มันเป็นเรื่องที่ยากมาก ดังนั้นเราควรดูว่าพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ที่เราแสดงออกมานั้น มันมีผลมาจากความเชื่อเก่าเราส่วนไหน เราก็ปรับเปลี่ยนความเชื่อเก่าส่วนนั้น ให้กลายเป็นความเชื่อใหม่ที่จะทำให้เราไม่แสดงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์นั้นออกมาอีก ซึ่งทุกๆคนย่อมต้องอยากเปลี่ยนความเชื่อใหม่อยู่แล้ว ถ้าความเชื่อใหม่นั้นเกิดผลดีทั้งต่อเราและต่อบุคคลอื่นด้วย และควรจำไว้เสมอว่าความเชื่อที่ดี ควรเป็นความเชื่อที่ให้คุณไม่ให้โทษทั้งต่อตนเองและผู้อื่น

1.เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้อง

ความเชื่อบางอย่างก็ถูกปลูกฝังมาจากคนรอบๆตัวจะรู้ได้อย่างไรว่าถูกหรือผิดฉันอ้างอิงถึงประสบการณ์ตัวเองที่เกิดขึ้นว่าจริงหรือไม่และเหตุการณ์ที่เราทำมาและได้รับรู้จักคนรอบข้างครอบครัวรวมถึงนำความขัดแย้งมาคิดพิจารณาว่าความเชื่อนั้นถูกหรือผิดและหาข้อมูลมาเป็นข้อพิสูจน์ตามหลักวิทยาศาสตร์และผลการวิจัยมาเป็นตัวยืนยันความถูกต้อง

  1. ในกรณีที่เราต้องการจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเราเราจะสร้างความเชื่อให้เข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่าได้อย่างไร

เราควรหาข้อยืนยันข้อเท็จจริงก่อนว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นมันผิดและเกิดผลเสียหรืออันตรายต่อเราอย่างไรบ้างเมื่อเราเชื่อแบบผิดๆเช่นความเชื่อที่ว่าอาหารตกพื้นแล้วสามารถนำมากินต่อได้นั้นเป็นความเชื่อที่ผิดเมื่อหารตกแล้วเชื้อโรคก็จะสามารถเข้าไปในอาหารได้เลยอาจจะเกิดเชื้อโรคหรือเจ็บป่วยได้ทำให้ฉันนั้นหาข้อเท็จจริงอื่นๆเกี่ยวกับเชื้อโรคทำให้ตระหนักถึงความเชื่อและนำมาแก้ไขปรับเปลี่ยนได้เพราะไม่อยากเกิดผลที่อันตรายตามมา

นางสาวฐิติรัตน์ ศิริ. 6111110193 คณะศิลปศาสตร์ ชั้นปีที่2 กลุ่ม011.เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้องความเชื่อบางอย่างก็ถูกปลูกฝังมาจากคนรอบๆตัวจะรู้ได้อย่างไรว่าถูกหรือผิดฉันอ้างอิงถึงประสบการณ์ตัวเองที่เกิดขึ้นว่าจริงหรือไม่และเหตุการณ์ที่เราทำมาและได้รับรู้จักคนรอบข้างครอบครัวรวมถึงนำความขัดแย้งมาคิดพิจารณาว่าความเชื่อนั้นถูกหรือผิดและหาข้อมูลมาเป็นข้อพิสูจน์ตามหลักวิทยาศาสตร์และผลการวิจัยมาเป็นตัวยืนยันความถูกต้อง

  1. ในกรณีที่เราต้องการจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเราเราจะสร้างความเชื่อให้เข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่าได้อย่างไรเราควรหาข้อยืนยันข้อเท็จจริงก่อนว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นมันผิดและเกิดผลเสียหรืออันตรายต่อเราอย่างไรบ้างเมื่อเราเชื่อแบบผิดๆเช่นความเชื่อที่ว่าอาหารตกพื้นแล้วสามารถนำมากินต่อได้นั้นเป็นความเชื่อที่ผิดเมื่อหารตกแล้วเชื้อโรคก็จะสามารถเข้าไปในอาหารได้เลยอาจจะเกิดเชื้อโรคหรือเจ็บป่วยได้ทำให้ฉันนั้นหาข้อเท็จจริงอื่นๆเกี่ยวกับเชื้อโรคทำให้ตระหนักถึงความเชื่อและนำมาแก้ไขปรับเปลี่ยนได้เพราะไม่อยากเกิดผลที่อันตรายตามมา

นายจิรวัฒน์ ชะบา 6110410134 คณะพยาบาลศาสตร์ sec03

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?คิดว่าการพิสูจน์ว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกหรือไม่สามารถทำได้โดยการเปิดใจรับความเชื่อใหม่ๆโดยไม่ปิดกั้นความคิด ปล่อยให้ความเชื่อเดิมได้เกิดการเปรียบเทียบทางความคิดและให้เวลาเป็นตัวพิสูจน์บางอย่างที่เราเคยเชื่อว่าถูกเมื่อเวลาผ่านไป กระบวนการทางความคิดเปลี่ยนไป การให้เหตุผลเปลี่ยนไปก็อาจกลายเป็นความเชื่อที่ผิด ดังนั้นเราอาจไม่สามารถรู้ได้ในทันทีว่าความเชื่อนั้นถูกหรือไม่สิ่งที่ทำได้คือการเลือกเชื่อในสิ่งที่เชื่อแล้วทำให้ชีวิตมีความสุข ไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนและก่อนจะเชื่ออะไรควรหาเหตุผลที่เป็นกลางและหลากหลายมารองรับ

2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?ถ้าความเชื่อเก่าที่มีอยู่ส่งผลเสียต่อการดำเนินชีวิตของเราเราก็ควรจะรับความเชื่อใหม่โดยไม่จำเป็นต้องเอามาลบล้างความเชื่อเก่าทั้งหมดเพียงแค่เปิดความคิดให้กว้าง มองสิ่งต่างๆในมุมมองอื่น รับความรู้ ความคิดใหม่ๆโดยต้องผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์ว่าสิ่งที่ได้มาทั้งจากการฟัง การเห็น หรือคิดขึ้นมานั้นถูกต้องหรือเอนเอียงไหม บางครั้งเราอาจต้องใช้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ในการเปลี่ยนแปลงความคิดและความเชื่อ

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ความเชื่อของแต่ละคนนั้นมีมาไม่เหมือนกัน บางคนอาจมีความเชื่อบางอย่างเพราะบริบทรอบตัว เช่น การที่เรานับถือศาสนาพุทธ เพราะเราเกิดในครอบครัวพุทธ ทำให้เรามีความเชื่อเรื่องบาปบุญและผลของกรรม ศาสนาอื่นๆ อาจจะเชื่อในเรื่องของเทพเจ้า ซึ่งส่วนตัวดิฉันแล้วคิดว่าความเชื่อไม่มีคำว่าถูกต้องหรือผิด ทุกคนล้วนมีความเชื่อเป็นของตัวเอง ซึ่งความเชื่อเหล่านั้นก็เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ เป็นสิ่งที่ทำให้ดำเนินชีวิตต่อไปในสังคมโดยมีความคิดเป็นของตัวเอง ความเชื่อบางอย่างที่ต่างกันนั้นทำให้เกิดทัศนคติที่แตกต่าง จึงทำให้มนุษย์ทุกคนมีความคิดเห็นเป็นของตัวเอง หากมีคนมาถามว่าเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อของเรานั้นถูกต้อง เราคงอาจจะตอบไปด้วยเหตุผลประกอบที่มี แต่หากเป็นเรื่องที่ไม่มีเหตุผลมาประกอบ เราคงต้องบอกว่านั่นเป็นความคิดส่วนบุคคล บางเรื่องอาจบิดเบือนมาจากอดีต2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? ขั้นตอนแรกเราต้องหาก่อว่าความเชื่อเก่าของเรานั้นมีข้อบกพร่องตรงไหน ไม่ดีอย่างไร ถ้าเชื่อแบบนั้นแล้วจะเกิดผลเสียอย่างไรต่อไปในอนาคตบ้าง ส่งผลเสียในที่นี้คือเกิดสิ่งไม่ดีทั้งต่อตัวเองและคนรอบข้าง หากรู้แล้วว่าความเชื่อเก่าของไม่ดีตรงไหน หรือผิดแปลกไปตรงไหน โดยตัดสินจากเหตุผล จะทำให้เราตัดใจจากความเชื่อนั้นไปได้ และเมื่อเราตัดใจจากความเชื่อเดิมไปได้แล้วให้เรามองดูว่าความเชื่อใหม่ที่เข้ามา มีเหตุผลมากน้อยเพียงใด น่าเชื่อถือและถูกต้องเพียงใด ในกรณีที่เป็นความเชื่อที่มีเหตุผลมาประกอบ ให้เราคิดไว้เสมอว่า บางความเชื่อที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจที่ทำให้ตัวเรามีความสุขก็อาจจะไม่จำเป็นต้องมีเหตุผลใดๆ มารองรับความเชื่อนั้น แต่ถ้าหากเป็นความเชื่อที่เกิดผลทำให้เราต้องตัดสินใจสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือหลายๆ อย่างในการดำเนินชีวิต เราควรมีเหตุผลมาประกอบความเชื่อนั้น และเมื่อเลือกจะเชื่อในสิ่งนั้นแล้ว ก็ต้องทำออกมาให้ดีที่สุด

นางสาวฐิติรัตน์ ศิริ. 6111110193 คณะศิลปศาสตร์ ชั้นปีที่2 กลุ่ม01 ——1.เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้องความเชื่อบางอย่างก็ถูกปลูกฝังมาจากคนรอบๆตัวจะรู้ได้อย่างไรว่าถูกหรือผิดฉันอ้างอิงถึงประสบการณ์ตัวเองที่เกิดขึ้นว่าจริงหรือไม่และเหตุการณ์ที่เราทำมาและได้รับรู้จักคนรอบข้างครอบครัวรวมถึงนำความขัดแย้งมาคิดพิจารณาว่าความเชื่อนั้นถูกหรือผิดและหาข้อมูลมาเป็นข้อพิสูจน์ตามหลักวิทยาศาสตร์และผลการวิจัยมาเป็นตัวยืนยันความถูกต้อง2.ในกรณีที่เราต้องการจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเราเราจะสร้างความเชื่อให้เข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่าได้อย่างไรเราควรหาข้อยืนยันข้อเท็จจริงก่อนว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นมันผิดและเกิดผลเสียหรืออันตรายต่อเราอย่างไรบ้างเมื่อเราเชื่อแบบผิดๆเช่นความเชื่อที่ว่าอาหารตกพื้นแล้วสามารถนำมากินต่อได้นั้นเป็นความเชื่อที่ผิดเมื่อหารตกแล้วเชื้อโรคก็จะสามารถเข้าไปในอาหารได้เลยอาจจะเกิดเชื้อโรคหรือเจ็บป่วยได้ทำให้ฉันนั้นหาข้อเท็จจริงอื่นๆเกี่ยวกับเชื้อโรคทำให้ตระหนักถึงความเชื่อและนำมาแก้ไขปรับเปลี่ยนได้เพราะไม่อยากเกิดผลที่อันตรายตามมา

ผมรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อเรานั้นถูกต้อง ความเชื่อคือสิ่งที่เชื่อและสืบต่อกันมาอย่างยาวนาน ความเชื่อนั้นจะขึ้นอยู่กับตัวเราว่าจะเชื่อหรือไม่เชื่อ แต่ถ้าอยากรู้ว่าความเชื่อนั้นเป็นจริงหรือไม่ ต้องพิสูจน์ และค้นหาเหตุผล การที่ผมจะเชื่ออะไรสักอย่างได้นั้น ต้องพิสูจน์ได้และต้องมีเหตุผลที่ชัดเจนถ้าจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของตัวเองจะสร้างความเชื่อใหม่มาลบล้างความเชื่อเก่าของเราได้อย่างไร การเปลี่ยนแปลงความเชื่อนั้นสามารถเปลี่ยนได้จากผู้คน สังคม แต่สิ่งที่สำคัญคือตัวเองที่จะเปลี่ยนความเชื่อเก่าที่ไม่พึงประสงค์นั้น ให้ดีขึ้นหรือแย่ลง

  1. รู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อเรานั้นถูกต้อง ? ความเชื่อหมายถึงการยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริง หรือมีการดำรงอยู่จริง โดยอาศัยประสบการณ์ตรง การไตร่ตรอง หรือการอนุมาน จากความหมายข้างต้นเราจะรู้ได้ว่าความเชื่อนั้นถูกหรือผิดก็ต่อเมื่อบุคคลที่เชื่อสิ่งเหล่านั้นจะได้พบเจอกับประสบการณ์เเละได้คิดไตร่ตรองความเชื่ออย่างถี่ถ้วนด้วยตนเองว่าถูกหรือผิด เพราะความเชื่อเป็นความคิดส่วนบุคคล ที่ไม่มีใครถูกใครผิด เเต่ขึ้นอยู่กับว่าบุคคลนั้นจะเชื่อแบบไหน
  2. จะสร้างความเชื่อใหม่มาลบล้างความเชื่อเก่าของเราได้อย่างไร ? การที่เราจะสามารถลบล้างความเชื่อเก่าได้ เราต้องมีการพิสูจน์เเละหาเหตุผลว่าทำไมความเชื่อเก่ามันถึงผิด เเละนำมาคิดไตร่ตรองให้ดีว่าที่ผิด ผิดอย่างไร เพราะอะไร เมื่อทราบข้อเท็จจริงเเล้วเราก็จะสามารถลบล้างความเชื่อเก่าออกไป เเละสร้างความเชื่อใหม่ของตัวเราเองได้

6210712045 คณะเภสัชศาสตร์1.เรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง ? ความเชื่อในเรื่อต่างๆนั้น ได้รับการสืบทอด เล่าต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องศาสนา พิธีกรรม วัฒนธรรม ประเพณี หรือแม้กระกระทั่งตำนานต่างๆ ความเชื่อต่างๆที่ส่งผ่านสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่นนั้น ย่อมมีการพัฒนา เปลี่ยนแปลง ให้เข้ากับแต่ละยุคแต่ละสมัย แต่ยังคงไว้ซึ่งแก่นความเชื่อเดิม ตราบใดที่ความเชื่อที่เรามีนั้นไม่ขัดต่อกฏหมายบ้านเมือง ไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีงาม ความเชื่อนั้นไม่ไปละเมิดสิทธิของผู้อื่น. ไม่เบียดเบียนทั้งตัวเองและผู้อื่นแล้วนั้น ความเชื่อนั้นก็ถูกต้อง2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร ในการที่เราจะเปลี่ยนความเชื่อที่มีอยู่เดิมได้ สิ่งแรกที่เราต้องทำคือการเปลี่ยน mindset ความคิดของตัวเองก่อน คิดถึงประโยชน์ ข้อดีที่มากมายของความเชื่อใหม่ คิดว่าความเชื่อใหม่นี้จะทำให้เราปรับปรุงพฤติกรรมที่ไม่ดีของเราใด้ดีขึ้น เป็นคนที่ดีขึ้น เมื่อเราสามารถจัดการกับ mindset ของเราได้ เราก็จะสามารถค่อยๆเปลี่ยนความเชื่อนั้นได้ และสามมารถเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเราได้ในที่สุด

  1. เรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง ?อันดับแรกเราต้องมีความคิดเป็นของตนเอง ไม่เอนเอียงไปตามสิ่งใด และแนวคิดนั้นต้องอยู่ในความถูกต้อง เพราะฉะนั้น เราจะเชื่อในสิ่งไหน อย่าเชื่อจนไม่ลืมหูลืมตาดูความจริง ต้องดูหลักความเป็นจริงด้วย เช่น ความเชื่อที่ว่าอาชีพหมอนั้นดีที่สุด พ่อแม่หลายๆคนอาจจะยังมีความเชื่อนี้อยู่ในหัว และล้วนคาดหวังอยากให้ลูกสอบเป็นหมอไห้ได้ จริงอยู่ที่ว่าอาชีพหมอนั้นมีเกียรติได้ช่วยชีวิตผู้คนมากมาย ผลตอบแทนสูงแต่ก็ต้องแลกมาด้วยความเสียสละมากมายเช่นกัน แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นอาชีพเพียงอาชีพเดียวที่สำคัญ ใช่ว่าจะเป็นอาชีพเดียวที่ต้องเสียสละ ทุกอาชีพล้วนมีความสำคัญซึ่งกันและกันทั้งสิ้น ไม่ว่าลูกจะเป็นอะไรขอให้เป็นอาชีพสุจริตและเป็นสิ่งที่เขาชอบ ก็ดีที่สุดแล้ว เพราะฉะนั้นความเชื่อต่างๆที่ได้ยินมา ไม่ใช่จะเป็นไปตามนั้นทุกอย่าง อย่าเอาความเชื่อผิดๆมาทำให้ความคิดของเราและพฤติกรรมของเราผิดเพี้ยนไปด้วย ต้องคิดวิเคราะห์อยู่เสมอ และยุคสมัยเปลี่ยนความเชื่อบางอย่างก็อาจเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน

  2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร ?โลกเราหมุนไปทุกวัน มีความรู้ใหม่ๆ สิ่งใหม่ๆเกิดขึ้นทุกวัน ฉะนั้นบางครั้งความเชื่อเก่าๆก็ถูกลบล้างไปตามกาลเวลาและยุคสมัย เราควรเปิดใจกว้างรับความเชื่อใหม่ๆ สิ่งใหม่ๆเข้ามาอยู่เสมอ เพราะผลของพฤติกรรมของเราบางครั้งก็มาจากความเชื่อ หากเรายังจมปรักกับความเชื่อบางอย่างไม่รับสิ่งใหม่จะทำให้เราเป็นคนปิดหูปิดตา ไม่มองโลกตามความจริง

  1. 1.หากเราคิดว่าความเชื่อที่มีมานั้นถูกต้องตามหลักความคิดที่เราเชื่อว่าถูกเเล้วก็ควรจะตรวจเเละผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์ อย่างถี่ถ้วนมาเเล้วเพื่อให้มั่นใจมากยิ่งขึ้นว่าสิ่งที่เราเชื่อว่าถูกต้องเป็นสิ่งที่ถูกต้องอย่างแท้จริงเเละสอบถามผู้รู้หรือคนรอบข้างว่ามีความคิดเห็นเกี่ยวกับความเชื่อที่เราคิดตรงกันหรือไม่ ให้ใช้เกณณ์คนส่วนมากเป็นหลักในการหาข้อพิสูจน์ข้อเท็จจริง
  2. เอาทั้งความเชื่อใหม่เเละความเชื่อเก่ามาเปรียบเทียบเเละวัดข้อดีข้อเสียของสองหัวข้อนี้ว่ามีข้อที่เเตกต่างกันอย่างไร เเละส่วนไหนที่น่าเชื่อถือมากกว่ากัน เอาข้อดีเเละข้อเสียหักลบกันเเละมามองถึงความเเตกต่างเพื่อนำมาตัดสินใจในการประกอบความเชื่อของเรา

1.เราจะทราบได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เราเชื่อนั้นถูกต้องหรือไม่ ? ในความคิดของดิฉัน ดิฉันเห็นว่า คำว่า‘’ความเชื่อ’’นั้นของแต่ละบุคคลมีการตีความได้แตกต่างกันออกไป แต่สำหรับดิฉัน ดิฉันเห็นว่า ความเชื่อ คือที่เราได้พบเจอในเหตุการณ์ต่างๆหรือโดยทั่วไปนั้นคือเรื่องเล่าที่เล่าขานกันมา อย่างเช่นเชื่อว่าถ้าทำแบบนี้มันดี เราก็จะทำตามกันต่อไป ดังนั้นหากเราจะทราบว่าความเชื่อนั้นถูกต้องหรือไม่ ต้องพิจารณาว่า ความเชื่อเดิมนั้นเป็นความเชื่อที่มีเหตุผลหรือไม่ ว่ามีเหตุผลและมีหลักฐานมายืนยันที่ชัดเจนหรือไม่ หรือถ้ามองในแง่ศาสนา ซึ่งแน่นอนค่ะว่าแต่ละศาสนามีความเชื่อที่แตกต่างกันไป อย่างเช่น ศาสนาอิสลามนั้นไม่สามารถทานหมูได้ นั้นก็เป็นความเชื่อทางศาสนาที่บัญญัติเอาไว้ ดังนั้นถ้าพูดในส่วนด้านศาสนา ดิฉันเห็นว่าเราไม่สามารถพูดว่าความเชื่อนั้นผิดหรือความเชื่อนั้นถูก เพราะเนื่องจากมุมมองของแต่ล่ะบุคคลไม่เหมือนกันและมองคนล่ะแง่กัน ดังนั้นความเชื่อเก่าไม่ได้เป็นสิ่งที่ผิดแต่อาจจะเป็นเพราะมีความเชื่อที่สมเหตุสมผลมากกว่ามายืนยันเท่านั้นเอง2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง ความเชื่อใหม่ ให้เข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่าได้อย่างไร ในความคิดของดิฉัน ความเชื่อนั้นเป็นสิ่งไม่แน่นอนและเป็นสิ่งที่ไม่ตายตัวพร้อมมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และความเชื่อเดิมนั้นจะลบล้างไป จนว่าจะมีความเชื่อใหม่และต้องเป็นความเชื่อที่สมเหตุสมผลประกอบด้วยหลักฐานที่ใหม่และชัดเจนแน่นอน จากเหตุผลข้างต้นที่กล่าวมา ทำให้ความเชื่อเดิมของดิฉันเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?ตอบ เราต้องเชื่อก่อนว่าความคิดของเรา ความเชื่อของเราที่มีอยู่นั้นถูกต้องแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราต้องพิจารณาความเชื่อของเราตามบริบทสังคมด้วยว่าความเชื่อที่เรามีเหมาะสมหรือถูกต้องต่อสังคมหรือไม่ ถ้าความเชื่อที่เรามีอยู่นั้นถูกต้องความเชื่อนี้จะไม่ทำให้สังคมหรือตัวเราเองเสียหายและเดือดร้อน เพราะความเชื่อนั้น คือ การยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริงหรือเป็นสิ่งที่เราไว้ใจ ความจริงหรือความไว้วางใจที่เป็นรูปของความเชื่อนั้น ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นความจริงที่ตรงตามหลักเหตุผลหรือหลักวิทยาศาสตร์ใดๆ2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?ตอบ เราต้องปรับเปลี่ยนแนวความคิดของตัวเองใหม่เพราะถ้าเราไม่ปรับความคิดใหม่เราจะตกอยู่ในความเชื่อเดิม การกระทำเดิม ความคิดเดิม ผลลัพธ์ที่เหมือนเดิม ดังนั้นเราต้องปรับแนวความคิดใหม่ปรับทัศนคติใหม่ ออกไปหาสิ่งใหม่ๆไปทำกิจกรรมที่ไม่เคยทำ มองในหลายๆมุมมอง ดังเช่นคำพูดดังต่อไปนี้ “ความคิดและทัศนคติเป็นตัวกำหนดการกระทำ แนวคิดที่ดีคือจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น เมื่อเรายังไม่ประสบความสำเร็จ ต้องกล้าที่จะปรับเปลี่ยนบางสิ่งบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นทัศนคติ ความเชื่อ วิธีการ และสิ่งสำคัญที่ต้องปรับเปลี่ยนก็คือความคิด เมื่อความคิดที่ไม่ถูกต้องถูกบำบัดความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีก็ย่อมเกิดขึ้นได้”

นางสาวกชนันท์ บรรจงการ 6111110004 คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทยประยุกต์ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้อง ความเชื่อเกิดขึ้นได้จากสิ่งที่สืบทอด ปลูกฝังเรามาตั้งเเต่อดีตหรือเกิดขึ้นจากตัวเราเอง เเต่ถ้าความเชื่อเกิดจากรากเหง้าความคิด ทำให้เเสดงออกมาซึ่งพฤติกรรมความคิดที่ออกมาจากตัวเองล้วนมีทั้งเหตุผล ความรู้สึก อารมณ์ที่ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ ซึ่งเหตุผล ความรู้สึก อารมณ์ที่เกิดจากตัวเราเองเป็นสิ่งที่มั่นคงที่สุด ที่เราไตร่ตรองออกมาเเล้วผลออกมาในด้านบวกทั้งระยะสั้นเเละระยะยาว ดิฉันก็คิดว่า “ความเชื่อ” ของเราถูกต้องที่สุด ถ้ามันไม่ได้ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนหรือส่งผลร้ายต่อใครๆ เราจะสร้าง”ความเชื่อใหม่” เเทนที่ “ความเชื่อเก่า”ได้อย่างไร ความเชื่อเก่าๆคือสิ่งที่เราพบเจอซ้ำๆ ปฏิบัติซ้ำๆ ความเชื่อใหม่ๆก็คือสิ่งที่เราไม่เคยประสบพบเจอมาก่อน หากเราต้องการเอาความเชื่อใหม่เเทนความเชื่อเก่า เราต้องเปิดใจให้กว้าง ใจที่ยอมรับการเปลี่ยนเเปลง ใช้สติปัญญาในการไตร่ตรอง ช่างน้ำหนักด้วยเหตุผล มองโลกในความเป็นจริงที่เราสามารถปรับใช้ได้จริงๆในชีวิต

1.การที่เราจะรู้ว่าความเชื่อที่เราเชื่อนั้นถูกต้องหรือไม่ ดิฉันคิดว่าแต่ละคนมีความเชื่อที่แตกต่างกันไปตามประสบการณ์ที่เราได้พบเจอ ความเชื่อที่ถูกต้องนั้นต้องสามารถพิสูจน์ได้ ไม่งมงาย ไม่ก่อผลเสีย เราอาจต้องหาข้อมูล หาความคิดเห็นของผู้อื่นที่มีต่อความเชื่อ ดูความสมเหตุสมผลและใช้ประสบการณ์ของเราเพื่อมาทำความเข้าใจและพิสูจน์ว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นถูกต้องจริงๆ แต่บางความเชื่ออาจไม่มีข้อพิสูจน์ว่าจริงหรือไม่ บางความเชื่อเราเชื่อเพื่อความสบายใจ ดังนั้นหากความเชื่อนั้นไม่ได้ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนเราก็เพียงแค่เชื่อในแบบของเราและไม่ไปยัดเยียดความเชื่อของเราให้ผู้อื่นก็พอ 2.การที่เราอยากจะเปลี่ยนพฤติกรรม เปลี่ยนความเชื่อเก่า นั่นแสดงว่าเราไม่เชื่อมั่นในความเชื่อเก่าของเราอีกต่อไป ซึ่งการจะยอมรับความเชื่อใหม่จึงกลายเป็นสิ่งที่ง่าย แต่สิ่งที่ยากคือเราจะต้องมั่นใจว่าความเชื่อใหม่ที่จะเข้ามาแทนที่เป็นสิ่งที่ถูกต้อง สมควรที่จะเชื่อถือและยึดมั่น และจะทำให้พฤติกรรมของเราเปลี่ยนแปลงนั้นเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น มีประโยชน์ขึ้นกว่าเดิม

นายกฤษณะ แสงแก้ว 6111110010 คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทยประยุกต์ ชั้นปีที่ 2 กลุ่ม 011.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?ความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องหรือเหมาะสมจะต้องเป็นสิ่งที่เราสามารถคิดตามได้ถึงความสมเหตุสมผลของมัน ยึดพื้นฐานของความจริงเป็นหลัก คำนึงถึงความน่าจะเป็นว่าเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ สามารถตรวจสอบข้อมูลถึงข้อเท็จจริงของความเชื่อนั้นๆได้ เป็นสิ่งที่เราสามารถระบุหรือให้เหตุผลได้ว่าเพราะมีสิ่งนี้จึงทำให้เกิดอีกสิ่งหนึ่งเป็นผลลัพธ์ที่ตามมาได้ คิดทบทวนพิจารณาอย่างละเอียดและรอบคอบถึงความถูกต้องความเหมาะสมของสิ่งที่เราสามารถเชื่อถือได้ มองเห็นถึงข้อดีข้อเสียของความเชื่อนั้นๆมองเห็นสิ่งที่เป็นผลลัพธ์หรือผลกระทบทั้งในทางที่เป็นเชิงบวกหรือเชิงลบว่ามีมากน้อยเพียงใด หากเราจะกระทำการใดที่เกิดจากความเชื่อนั้นๆเราควรมองเห็นสิ่งที่กระทบต่อตนเองและผู้อื่นว่าควรหรือไม่ควร หากเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำอาจจะส่งผลเสียที่ร้ายแรงแก่ตัวเราและคนรอบข้างเช่นกัน
2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?ในกรณีที่ตัวเรานั้นต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างที่เกิดขึ้นกับตัวเรา เราสามารถสร้างความเชื่อใหม่ให้เข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่าได้โดยวิธีการที่เราต้องรู้ว่าสาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้เรากระทำพฤติกรรมนั้นออกมาพฤติกรรมนั้นไม่ดีหรือมีจุดบกพร่องอย่างไร เป็นสิ่งที่เราต้องรีบปรับปรุงหรือขจัดพฤติกรรมเหล่านั้นออกไปให้ได้ พฤติกรรมนั้นส่งผลเสียกับตัวเราและคนรอบข้างมากน้อยแค่ไหน หากเรายังมีพฤติกรรมเหล่านั้นอยู่จะทำให้เราเป็นคนที่มีความคิดที่ไปในทิศทางใด ส่งผลให้เราคิดหรือกระทำไปในทางที่เป็นผลดีหรือผลเสีย แต่ถ้ามองในมุมกลับกันหากเรานั้นสามารถสร้างความเชื่อใหม่ให้กับตัวเราเองได้ก็จะส่งผลทำให้เรานั้นมีแสดงออกทางพฤติกรรมที่ไปในทางที่ดีมากขึ้น เป็นพฤติกรรมที่เหมาะสมควรแก่การกระทำหรือแสดงออกมา ทำให้เรานั้นเป็นคนที่มีเชื่อมั่นในตนเอง มีความน่าเชื่อถือและมีความน่าไว้วางใจกับรอบคนข้างเช่นเดียวกัน

1.ความเขื่อของแต่ละคนนั้นจะแตกต่างกันออกไปตามการยอมรับของแต่ละคนนเรื่องนั้นๆนั่นก็ก็ขึ้นกับปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น สภาพแวดล้อม สังคม ครอบครัว วัฒนธรรม หรือแม้กระทั่งยุคสมัยกาลเวลาที่เปลี่ยนไปก็ทำให้ความเชื่อหลายๆอย่างแปลปี่ยนเปลี่ยนไป เราจะมากำหมดว่าความเชื่อนี้ถูกหรือผิด มันก็ต้องขึ้นอยู่กับกระบวนการคิดของแต่ละคน ถ้าความเชื่อที่เรามีนั้นส่งผลที่ไม่ดีต่อบุลคลอื่น รือส่งผลกระทบทางด้านลบเราก็ควรกลับมามาระหนักคิด ทบทวนหม่อีกครั้งว่านั้นเป็นความเชื่อที่ดีจริงๆหรือเปล่า2.ทำให้ตัวของเราเองรู้ตัวก่อนว่าความเชื่อที่เรามีอยู่ตอนนี้มันส่งผลทำให้เรามีพฤติกรรมที่ไม่ดี มองเห็นนข้อเสียผลกระทบต่างๆที่เกิดขึ้น แล้วสร้างความเชื่อใหม่ขึ้นมามองให้เห็นถึงข้อที่ดีที่ได้รับและผลเสียที่ลดลง กระบวนการคิดเหล่านี้จะทำให้เราเปลี่ยนความเชื่อของเราได้

นางสาวศศินิภา รัฐภูมิภักดิ์ รหัสนักศึกษา 6111110228 คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทยประยุกต์ 1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องก่อนอื่น ความเชื่อของดิฉันในเรื่องของ ห้ามตัดเล็บในเวลากลางคืน ในวัยเด็กๆฉันมักได้ยินคนเฒ่าคนแก่บอกว่าห้ามตัดเวลากลางคืนเพราะจะทำให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วอยู่อย่างไม่สงบ ตั้งแต่นั้นฉันก็เชื่อมาอย่างนั้นตลอด โดยไม่คิดที่จะลองหรือกระทำนั้น แต่ต่อมาเมื่อดิฉันโตขึ้นตัวฉันได้คิดย้อนไปในอดีต ได้คำนึงว่า ทำไมคนเฒ่าคนแก่ถึงไม่ให้ตัดเล็บเวลากลางคืน ก็คิดได้ว่า ในสมัยก่อนไม่มีไฟฟ้าที่ส่องสว่างในเวลากลางคืนอย่างเพียงพอ จึงทำให้การตัดเล็บเวลากลางคืนเกิดอันตรายได้ ไม่ใช่เพราะคำพูดหรือความเชื่อที่คนเฒ่าคนแก่ๆได้บอกกล่าวไว้ 2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? ถ้าเราต้องการที่จะเปลี่ยนความคิดและความเชื่อเก่าๆที่บางครั้งอาจส่งผลเสีย แล้วสร้างความเชื่อใหม่ๆที่จัส่งผลดีกับเราขึ้นมา เพราะตัวดิฉันเองไม่ค่อยมีเวลาว่าง ส่วนใหญ่จะมีเวลาว่างใหนอวลากลางคืน จึงใช้เวลากลางคืนในการตัดเล็บ เพื่อได้รำเวลาว่างในช่วงเช้าไปทำกิจกรรมอย่างอื่น.

นาย อันวา หีมเบ็ญและ 6111110175 คณะศิลปศาสตร์. Sec.011.สำหรับดิฉันความเชื่อ เป็นเรื่องของบุคคล ซึ่งความเชื่อที่มี หากความเชื่อนั้นเป็นสิ่งที่สามารถทำให้เราอยู่ในขอบเขตที่ดีงามและประพฤติในสิ่งดี ทำให้ชีวิตเรามีแต่สิ่งที่ดีงาม มันก็ไม่ถือว่าเป็นสิ่งผิด2.หากพฤติกรรมนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ดี เราก็ต้องปรับเปลี่ยน นำความเชื่อใหม่ที่ดีงามเข้ามาแทน เพื่อที่จะทำให้ชีวิตของเราดีขึ้นไป

1-แล้วเรารู้ได้ยังไงว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?

ครั้งเมื่อฉันยังเป็นเด็กฉันเคยสงสัยใน สิ่งที่ฉันใช้ยึดเหนี่ยวจิตใจนั่นคือเรื่องศาสนาแต่เมื่อวันเวลาผ่านไป ชีวิตเริ่มเติบโตขึ้นได้เรียนรู้อะไรมากขึ้นทั้งอ่านหนังสือและเรียนมากขึ้น

จากความเชื่อที่เคยแปรเปลี่ยนเป็นความสงสัย..ก็เริ่มจาง

กลายเป็นความเชื่อบนพื้นฐานหลักความเป็นจริงมีหลักฐานอ้างอิง

2-ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?

ลดอคติเปิดใจพร้อมยอมรับแก้ไขความเชื่อแบบเดิมที่ผิดเพราะหากยังยึดติดกับความเชื่อเดิมความเปลี่ยนแปลงก็จะไม่เกิดขึ้น

พฤติกรรมผิดๆที่ยกตัวอย่างคือ

‘กินยาลดไขมันสามารถลดน้ำหนักได้จริงโดยไม่ต้องควบคุมปริมาณอาหารและไม่จำเป็นต้องออกกำลังกาย’

หากเราไม่ได้คิดไตร่ตรองให้ดีและเชื่อคำโฆษณาก็อาจทำให้เรากิดความเชื่อแบบผิดๆโดยไม่คำนึงถึงหลักความจริงที่ว่า

‘ไม่มีทางเผาผลาญไขมันได้ หากไม่ควบคุมปริมาณอาหารและไม่ออกกำลังกาย’

ดังนั้นสิ่งสำคัญคือพร้อมเปิดใจยอมรับฟังสารที่ถูกต้อง

1.เรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?ส่วนตัวคิดว่าความเชื่อของคนเราแตกต่างกันตามวัฒนธรรม วัย ประเทศ ศาสนาและอื่นๆจึงทำให้แต่ละคนมีฐานการวัดความเชื่อที่แตกต่างกันดังนั้นความเชื่อที่ถูกต้องของข้าพเจ้าอาจจะผิดไปกับความเชื่อของคนอื่นก็เป็นได้ ในความคิดของข้าพเจ้าคิดว่าความเชื่อที่ถูกต้องคือต้องมีสิ่งที่มาพิสูจน์ได้หรือมีหลักฐานของความเชื่อนั้นๆว่าความเชื่อนั้นน่าเชื่อถือ มีความเป็นไปได้2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเราเราจะสร้าง”ความเชื่อใหม่”ให้เข้ามาแทน”ความเชื่อเก่า”ได้อย่างไร?ความเชื่อของคนเรามีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามสิ่งต่างๆเช่นวัย อายุ เหมือนความเชื่อของเราตอนเด็กๆกับเมื่อโตขึ้นย่อมแตกต่างกันเนื่องมีเรามีประสบการณ์มากขึ้น เข้าใจสิ่งต่างๆมากขึ้น หรืออาจจะเป็นสภาพแวดล้อม สังคมแต่ละสังคมย่อมมีความคิดแตกต่างกันถ้าเปลี่ยนสภาพแวดล้อมอาจจะทำให้ความคิดของเราเปลี่ยนไปสิ่งที่เราต้องดูคือความเชื่อเก่าของเราเป็นอย่างไร เชื่อถือได้ไหม มีหลักฐานของความเชื่อนั้นๆไหม ถ้าหากมีความเชื่อที่มีความน่าถือกว่า มีหลักฐานใหม่ๆหรือเราศึกษา เรียนรู้กับเรื่องนั้นมากขึ้นมันจะทำให้เราสามารถสร้างความเชื่อใหม่มาแทนที่ความเชื่อเก่าได้

รหัสนักศึกษา 6111110001 นายบัณฑิตย์ อุดมเศรษฐ์ คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทยประยุกต์ ชั้นปีที่ 2 section 01

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?

ความเชื่อของใครคนใดคนหนึ่งนั้นมักจะเกิดขึ้นมาจากประสบการณ์ตรงหรือสิ่งที่ตัวของเขานั้นได้สัมผัสมา ซึ่งการที่เรามีความเชื่อแต่ต่างจากคนอื่นใช่ว่าความเชื่อของเรานั้นผิดเสมอไป หากเราอยากจะรู้ว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องหรือไม่นั้นมันก็พอมีวิธีอยู่ นั่นก็คือการคิดโดยใช้หลักเหตุผลไม่ใช้อารมณ์หรือประสบการณ์ของเราก่อนหน้านี้มาตัดสิน ให้เราใช้เหตุผลกับตัวเองว่าคนที่คิดต่างจากเราทำไมเขาถึงคิดแบบนั้นให้หาเหตุผลมา และให้หาเหตุผลว่าทำไมเราถึงคิดต่างจากเขาเช่นกัน แล้วจึงนำมาเปรียบเทียบหรือไม่ก็ให้คนอื่นเป็นคนเปรียบเทียบว่าเหตุผลของใครมีน้ำหนักและตรงกับหลักความเป็นจริงมากกว่ากัน แค่นี้เราก็จะได้รู้ว่าความเชื่อของเรานั้นถูกต้องหรือไม่

2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?

ผมคิดว่าแค่เมื่อเราพิสูจน์ได้ว่าความเชื่อของเราที่มีมาตลอดนั้นผิด คนเราก็พร้อมที่จะเปิดใจยอมรับความเชื่อใหม่ที่ถูกเข้ามาอยู่เสมอ ไม่มีใครหรอกที่รู้ว่าความเชื่อตัวเองผิดแล้วยังดื้อดึงที่จะเชื่อต่อไป เพราะทุกคนย่อมอยากที่จะเป็นคนที่ดีกว่าตัวเองในวันเมื่อวานอยู่เสมอ พูดง่ายๆคือทุกคนย่อมอยากทำตัวให้ดีขึ้นในทุกๆวันนั่นเอง ด้วยเหตุนี้หากเราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่าง เพียงแค่เรารู้ว่าพฤติกรรมนั้นมันผิดและความเชื่อที่ทำให้เกิดพฤติกรรมนั้นก็ผิด จิตใต้สำนึกของเราก็พร้อมที่จะสร้างหรือเปิดรับความเชื่อใหม่ที่ถูกเข้ามาแทนที่เสมอ

6210710007 คณะเภสัชศาสตร์1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้อง ? ในความคิดของดิฉันทุกคนล้วนมีความเชื่อเป็นของตัวเอง แล้วแต่ว่าแต่ละคนเลือกที่จะเชื่อแบบไหน ความเชื่อไม่มีถูกมีผิด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะไม่มีความเชื่อผิดๆ ความเชื่อต้องอยู่บนหลักความจริง ไม่ใช่เชื่อจนลืมหูลืมตา ไม่คิดถึงหลักความจริง ความเชื่อบางอย่างเพียงแค่เราเลือกที่จะไม่เชื่อ ไม่ศรัทธามันก็จะทำให้ความเชื่อนั้นไม่มีความหมาย แต่สำหรับดิฉันความเชื่อ คือ สิ่งที่เราเลือกที่จะเชื่อ เลือกที่จะทำตามในสิ่งที่เราเชื่อบนหลักของความเป็นจริง เพื่อความสบายใจ ความเชื่อบางอย่างมันอาจจะพิสูจน์ไม่ได้ว่าถูกต้องหรือไม่ หรือความเชื่อบางอย่างอาจจะมีการพิสูจน์แล้วว่าถูกต้อง แต่เมื่อเวลาเปลี่ยนแปลงไป ความเชื่อเหล่านั้นอาจจะเปลี่ยนไปก็ได้ คำว่าความเชื่อ ถ้าคนจะเชื่อยังไงมันก็เชื่อ มันจะไม่มีอะไรมาขัดขวางความเชื่อเราได้ ไม่ว่ามันจะถูกหรือผิด ถ้าเราเลือกที่จะเชื่อแล้วไม่ได้เดือดร้อนผู้อื่น ดังนั้นความเชื่อเราควรเลือกในสิ่งที่เชื่อแล้วสบายใจและไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อนแม้ว่ามันจะถูกหรือผิด2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง”ความเชื่อใหม่”ให้มาแทนที่ “ความเชื่อเก่า“ ได้อย่างไร? ในความคิดของดิฉัน การที่เราจะเปลี่ยนความเชื่อใดความเชื่อหนึ่ง มันต้องมีจุดอะไรบางอย่างบนความเชื่อเก่าที่ทำให้เราไม่สบายใจ หรืออาจะเกิดการวิเคราะห์ พิจารณาจากการเชื่อในสิ่งนั้นๆแล้วมันออกมาไม่โอเค เราก็ต้องหาความเชื่อใหม่มาแทนที่ความเชื่ออันเก่าที่เราคิดว่าเราทำเชื่อแล้วไม่สบายใจแล้วนะ บางทีการหาความเชื่อใหม่ๆมาแทนที่ความเชื่อเก่ามันอาจจะดีกว่าการที่เราฝืนเชื่อความเชื่อเก่าก็ได้ เพียงแค่เราเลือกที่จะก้าวข้ามมาเลือกที่จะเชื่อในสิ่งใหม่ๆที่ าจจะอยู่บนหลักความจริงมากกว่าความเชื่อเก่า และทำแล้วสบายใจกว่า

ความเชื่อ คือ สิ่งที่เรายึดถือว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องดังนั้นในมุมมองของเราเองมันก็จะถูกเสมอเพราะเราเชื่ออย่างนั้น แต่หากเราเปลี่ยนมุมมองโดยไม่ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง เราก็จะได้เห็นว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นเป็นจริงๆแล้วอย่างไร และถ้าเราได้มองความเชื่อนั้นจากมุมมองใหม่ๆก็อาจจะทำให้ความเชื่อนั้นเปลี่ยนไปไม่มากก็น้อย หากเราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากความเชื่อเดิมๆ ก็ควรจะเริ่มที่การเปลี่ยนมุมมองต่อความเชื่อนั้น และเมื่อเราได้รู้ว่าความเชื่อเดิมนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และนำพาให้เราทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เราก็จะไม่ทำตามความเชื่อนั้นอีกและเราก็จะเกิดมุมมองใหม่ๆต่อทุกสิ่งและความเชื่อเดิมๆก็จะเปลี่ยนไปตามมุมมองใหม่ๆที่เราได้ลองมองมัน

รหัส 6210710059 คณะเภสัชศาสตร์1).ในความคิดของผม ความเชื่อนั้นเป็นเหมือนความเข้าใจแรกที่เรามีต่อบุคคลหรือสิ่งต่างๆ โดยความเชื่อสามารถถ่ายทอดไปยังผู้อื่นหรือทำให้ผู้อื่นเชื่อเหมือนๆกันได้ เป็นเหมือนสิ่งที่คนกลุ่มหนึ่งยอมรับร่วมกัน ซึ่งความเชื่ออาจจะไม่ถูกต้องเสมอไป ดังนั้นการที่เราจะรู้ได้ว่าความเชื่อเราถูกต้องหรือไม่นั้น เราควรจะมีวิจารญาณและไตร่ตรองให้ดีก่อนที่ยอมรับความเชื่อนั้นๆ เพราะความเชื่อจะมีผลต่อความคิดและพฤติกรรมของเรา ซึ่งอาจนำมาซึ่งผลเสียต่อตัวเราได้2).เมื่อเราพบว่าความเชื่อของเรานั้นไม่ถูกต้องและนำมาซึ่งพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ จนเกิดความคิดที่อยากจะเปลี่ยนแปลงความเชื่อของตัวเอง สิ่งที่สำคัญเลยคือให้คิดวิเคราะห์พิจารณาดูว่าความเชื่อนั้นส่งผลเสียอะไรบ้าง และพยายามหาความเชื่อใหม่ที่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อจากพ่อแม่ อาจารย์ หรือเพื่อน แล้วนำมาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับตนเอง การปรับเปลี่ยนความเชื่อเพียงเล็กน้อยก็สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันได้

1.ความเชื่อเป็นความคิดส่วนบุคคลต่างจากข้อเท็จจริงที่สามารถตรวจสอบหาความถูกต้องได้ ความเชื่อขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลขึ้นกับปัจจัยหลายๆอย่างหรือประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลพบเจอมาดังนั้นจึงตัดสินไม่ได้ว่าความเชื่อใดผิด และเมื่อไม่มีความเชื่อไหนผิดก็แสดงว่าทุกความเชื่อถูกต้องอยู่แล้วในตัวของมันเอง2.การจะเปลี่ยนแปลงความเชื่อเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมากดังนั้นถ้าหากต้องเปลี่ยนความเชื่อนั้นควรที่จะค่อยๆเป็นค่อยๆไป ไม่ควรรีบร้อน

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อนั้นถูกต้อง? การที่จะรู้ว่าความเชื่อนั้นถูกต้องจะต้องผ่านการพิสูจน์ การปฏิบัติมาเป็นเวลานาน หรือผ่านการวิเคราะห์จนได้ข้อสรุปหรือข้อเท็จจริงที่สามารถสนับสนุนความเชื่อนั้น แต่คนเรามาจากสังคมที่ต่างกันทำให้มีความแตกต่างในด้านวัฒนธรรมและความเชื่อก็แตกต่างกันด้วย ซึ่งหากว่าเราไปพิสูจน์ความเชื่อของคนที่มีวัฒนธรรมต่างจากเรา ก็ไม่ควรไปตัดสินว่าความเชื่อของบุคคลนั้นผิดเพียงเพราะว่าเขาเชื่อไม่เหมือนเรา2.ต้องการเปลี่ยนพฤติกรรม แล้วจะสร้างความเชื่อใหม่แทนความเชื่อเก่าได้อย่างไร? การสร้างความเชื่อใหม่ เราต้องเปิดใจและวิเคราะห์ว่าความเชื่อใหม่นั้นมีความสมเหตุสมผลมากเพียงใดหรือวิเคราะห์ว่าความเชื่อใหม่นั้นจะส่งผลให้พฤติกรรมของเราดีขึ้น

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?ความเชื่อ คือ การยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริงหรือเป็นสิ่งที่เราไว้ใจ ความจริงหรือความไว้วางใจที่เป็นรูปของความเชื่อนั้น ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นความจริงที่ตรงตามหลักเหตุผลหรือหลักวิทยาศาสตร์ใดๆ คนที่เชื่อในฤกษ์ยามก็จะถือว่า วันเวลาการโคจรของดวงดาวจะก่อให้เกิดผลต่อตัวมนุษย์ คนที่เชื่อเครื่องรางของขลังก็จะมีความยึดมั่นว่า เครื่องรางของขลังให้คุณให้โทษแก่ตนได้จริง ความเชื่อก็คือ การยอมรับข้อเสนอข้อใดข้อหนึ่งได้ว่าเป็นความจริง การยอมรับเช่นนี้ ความเชื่อจะก่อให้เกิดภาวะทางจิตขึ้นในบุคคลซึ่งอาจจะเป็นพื้นฐาน สำหรับการกระทำโดยสมัครใจของบุคคลนั้น ดังนั้นความเชื่อไม่มีผิดไม่มีถูก ถ้าใครอยากจะเชื่ออะไร เชื่อแล้วสบายใจ ไม่ทำให้ใครเดือดร้อนก็เชื่อต่อไป2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง”ความเชื่อใหม่”ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า”ได้อย่างไรการที่จะเปลี่ยนความคิดความเชื่อของคนนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมากๆ เพราะการที่เราเชื่อสิ่งนั้นมาโดยตลอด แล้วอยู่ๆจะให้มาเปลี่ยนเลยอาจะเป็นเรื่องที่รับไม่ได้ แต่ถ้าเราค่อยๆมองมุมใหม่ ปรับเปลี่ยนความคิดทีละเล็กน้อย ยังคงให้มีความเชื่อเก่าๆผสมใหม่ ค่อยๆเปลี่ยนโดยากรใช้เวลา เราอาจจะเปลี่ยนความเชื่อเราได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นเราก็ต้องสละความเชื่อเก่าๆลงบ้างและเปิดรับอะไรใหม่ๆด้วย

นางสาวปฐมพร บุญทองโท คณะ เภสัชศาสตร์ รหัส 62107120571.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อนั้นถูก?-ความเชื่อนั้นขึ้นอยู่กับค่านิยมของคนในยุคนั้นๆ หรือสภาพแวดล้อมในขณะนั้น โดยการที่คนเราจะมีความเชื่อนั้นได้ เพราะส่วนใหญ่คนในขณะนั้นเขาเชื่อกันแบบนั้น แต่เราจะรู้ว่าความเชื่อนั้นถูกหรือไม่ เราต้องพิสูจน์ โดยคำนึงถึงหลักความเป็นจริง ความมีเหตุผล และผลที่ตามมามันเป็นเหมือนกับสิ่งที่เราคิดหรือไม่ 2.การสร้างความเชื่อใหม่-เป็นสิ่งที่ยาก แต่ก็สามารถทำได้ โดยในเมื่อความเชื่อเดิมของเรานั้นมันไม่เป็นความจริงอีกต่อไป เราก็ควรจะเปิดรับความเชื่อใหม่ๆ โดยการจะเปิดรับได้นั้น เราต้องดูถึงผลเสียของความเชื่อเก่าว่า ความเชื่อเก่ามันไม่ดี คนไม่นิยมกันอีกแล้ว และยังส่งผลเสียกับตัวเราหรือคนรอบข้างอีกด้วย หลังจากนั้นให้เราหาความเชื่อใหม่ขึ้นมาโดยต้องคำนึงถึงหลักความเป็นจริง เชื่ออย่างมีเหตุผล

นางสาวชญานี คงหอม คณะศิลปศาสตร์ สาขาภาษาไทยประยุกต์ ชั้นปีที่2 รหัส61111100371.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?ทุกๆคนย่อมมีความเชื่อที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งเกิดจากสภาพแวดล้อมของสังคมที่แตกต่างกัน เพราะแต่ละบุคคลนั้นเติบโตมาก็มีหลากหลายปัจจัยที่ทำให้มีความเชื่อที่ไม่เหมือนกัน ดิฉันคิดว่าความเชื่อไม่มีข้อกำหนดตายตัวว่าจะผิดหรือถูก ขึ้นอยู่กับยุคสมัย มุมมอง และตัวบุคคลนั้นๆเอง แต่ความเชื่อของเรานั้นจะต้องไม่กระทบ หรือสร้างความเดือดร้อนต่อผู้อื่น เพราะหากเมื่อไหร่ที่ความเชื่อสร้างผลกระทบที่ไม่ดีต่อบุคคลอื่นแล้ว บุคคลเหล่านั้นจะมองว่าความเชื่อของเรานั้นเป็นสิ่งที่ผิด แล้วอาจทำให้เกิดผลเสียตามมา และหากอยากทราบว่าความเชื่อของเรานั้นเป็นสิ่งที่ถูกหรือไม่ อาจจะต้องใช้วิธีการพิสูจน์ ลองทำด้วยตนเอง ใช้ระยะเวลา และรอดูผล แล้วจึงตัดสินใจด้วยตัวเองว่าความเชื่อนั้นถูกต้องหรือไม่2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?ดิฉันคิดว่าพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงค่อนข้างยาก ไม่ว่าพฤติกรรมนั้นจะเป็นพฤติกรรมที่แย่หรือดี การที่เราจะละทิ้งพฤติกรรมเก่าเพื่อสร้างพฤติกรรมใหม่นั้นอาจต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร และอาศัยความอดทน รวมถึงค่อยๆเริ่มจากการเปลี่ยนทีละน้อย ค่อยเป็นค่อยไป ค่อยๆฝึกฝน พยายามมองหาข้อเสียของพฤติกรรมเดิม ว่าส่งผลเสียอย่างไร และหากเราเปลี่ยนพฤติกรรมไม่พึงประสงค์นี้ จะเกิดประโยชน์อย่างไร ส่งผลดีอย่างไร จะทำให้เราสามารถเลิกพฤติกรรมเดิม และสร้างพฤติกรรมใหม่เพื่อพัฒนาชีวิตของเราให้ไปในด้านที่ดีขึ้นนั่นเอง

ดิฉันนางสาวอริสา สุขลิ้ม รหัสนักศึกษา 6111110173 ชั้นปีที่2 กลุ่ม 011.เรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?แน่นอนว่าความเชื่อของเราอาจได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรม ค่านิยม ของบรรพบุรุษที่สืบต่อกันมานั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่เราควรจะต้องวิเคราะห์ในความเชื่อนั้นๆอยู่เสมอว่ามันมีความเป็นเหตุเป็นผลมากแค่ไหน หรืออาจหาข้อเท็จจริงมาสนับสนุน ว่าความเชื่อนั้นเป็นความเชื่อที่ถูกต้องเพียงใด ความเชื่อที่เรามีจะถูกต้องก็ต่อเมื่อความเชื่อที่เรามีอาจต้องมีกระบวนการคิดวิเคราะห์ เพื่อแยกแยะในสิ่งที่ควรจะเชื่อ โดยไม่ใช่การเชื่อแบบงมงาย เป็นความเชื่อที่เกิดขึ้นเพื่อให้ชีวิตดีขึ้นไม่ใช่แย่ลง

2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?อันดับแรกเราจำเป็นต้องเข้าใจว่าความเชื่อเป็นสิ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากเรามีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์บางอย่างที่เกิดขึ้นเพราะความเชื่อ แสดงว่าความเชื่อเก่าของเรานั้นอาจมีข้อผิดพลาด เกิดข้อบกพร่องหรือไม่ถูกต้อง จึงทำให้เกิดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ดังนั้นเราก็ต้องเปิดใจกว้างยอมรับกับความเชื่อใหม่ๆ โดยต้องผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์ว่าความเชื่อใหม่นั้นจะเป็นสิ่งที่จะทำให้พฤติกรรมเราดีขึ้น เราจะต้องไม่ยึดติดกับความเชื่อเก่าๆที่ทำให้เกิดพฤติกรรมแย่ๆ เพราะความเชื่อที่ดีและถูกต้องย่อมนำมาซึ่งชีวิตที่ดีขึ้นไม่ใช่แย่ลง

นางสาวชนันธร จิตติรัตนกุล รหัสนักศึกษา 6210710070 คณะเภสัชศาสตร์ ชั้นปีที่1 1.เราจะสามารถรู้ได้ว่าความเชื่อที่เราเชื่อนั้นถูกต้องก็ต่อเมื่อมาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ หลักฐานชัดเจนหรือมีการพิสูจน์แล้วว่าความเชื่อนั้นเป็นความจริง เราจึงสามารถเชื่อได้ระดับนึงว่าความเชื่อนั้นถูกต้อง แต่ถ้าเป็นความเชื่อที่มาจากการเล่าปากต่อปาก รุ่นสู่รุ่น ดิฉันคิดว่าเราไม่ควรเชื่อความเชื่อนั้นเต็มร้อยแต่ก็ไม่ควรลบหลู่เช่นกัน เนื่องจากเราไม่สามารถรู้ได้ว่าความเชื่อที่เล่าต่อกันมาเป็นเวลานานมีการเสริมหรือปรุงแต่งมากน้อยเพียงใด แต่ถึงกระนั้นความเชื่อพวกนี้ก็มีความจริงไม่มากก็น้อยเพราะฉะนั้นก็ไม่ควรลบหลู่ ฟังไว้บ้างและนำมาคิดจะเป็นการดี 2.ในกรณีที่เราอยากจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์จะนำ ความเชื่อใหม่ มาแทนที่ ความเชื่อเก่า โดยการคิดถึงข้อเสีย ผลเสียถ้าเรายังเชื่อความเชื่อนี้อยู่จะทำให้เรามีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์เช่นนี้ ก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อตนเองและอาจจะส่งผลต่อคนรอบข้างด้วย อย่างแรกเราควรที่จะกล้ายอมรับความจริงจากนั้นจึงละทิ้งความเชื่อที่ทำให้เราเป็นแบบนี้ไป และเปิดรับความเชื่อใหม่ ต้องคิดไตร่ตรองให้รอบคอบว่าความเชื่อใหม่นี้ดีหรือไม่ จะทำให้เรามีพฤติกรรมที่ดีขึ้นหรือเปล่า ถ้าคิดว่าความเชื่อนี้คงจะส่งผลดี ก็ค่อยๆใช้เวลาในการซึบซับความเชื่อนี้ และเชื่อในที่สุด

นางสาวภัทรวดี จีนเมือง คณะศิลปศาสตร์ สาขาภาษาไทยประยุกต์ ชั้นปีที่2 รหัส61111102171.เราจะสามารถรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?ตามความคิดเห็นส่วนตัวของดิฉันคิดว่าก่อนที่เราจะมีความเชื่อกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งนั้นมันจะต้องเกิดจากประสบการณ์ที่เราพบเจอ สภาพแวดล้อมของเรา การได้ยินหรือได้ฟังมา การถูกปลูกฝังแต่เด็กรวมถึงจากประสบการณ์จริง ซึ่งตามที่กล่าวมาข้างต้นนั้นก็เป็นข้อสนับสนุนความเชื่อของเราได้ว่าที่เราเชื่อแบบนั้นมันถูกต้องจริงๆ2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า”โดยการลองเปิดใจให้สิ่งใหม่ๆดูบ้าง ลองหาผลดีผลเสียของความเชื่อเก่าๆดูว่าเราควรจะปรับแก้หรือเปลี่ยนตรงจุดไหน รับฟังผู้อื่นดูบ้างและเปิดใจให้กว้างและค่อยๆปรับไปทีละนิด

1.การที่เราจะคิดว่าความเชื่อของเรานั้นถูก มันจะสามารถถ่ายทอดออกมาทางความคิดและพฤติกรรมซึ่งถ้าความคิดที่เราไม่ริษยา ไม่มองร้าย หรือแม้แต่พฤติกรรมที่ไม่เบียดเบียนผู้อื่น และไม่นินทาให้ร้าย นี่หนูก็ถือว่าเป็นความเชื่อที่ถูก ขอแค่เพียงความเชื่อของเราไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนก็เพียงพอ2.คนเราย่อมมีความเชื่อที่ดำมืดภายใต้จิตใจ ซึ่งเป็นความเชื่อที่ไม่ดี แต่หนูใช้การคิดแบบเป็นเหตุเป็นผล และใช้องค์ประกอบวิเคราะห์ว่าแต่ละเหตุการที่จะเกิดขึ้นล้วนมีเหตุมีผล เราจงอย่าใช้ความเชื่อของเราตัดสิน แล้วด่าทอว่ากล่าว ดังชเ่นในโลกออนไลน์ในสมัยปัจจุบัน หากคนลองไตร่ตรองก่อนที่จะพิมพ์สักนิด โลกเราจะน่าอยู่ขึ้นมาก โดยสร้างความเชื่อใหม่ๆที่ดี สร้างมุมมองทัศนคติที่ดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่นก็เพียงพอ

ความเชื่อ หมายถึงความคิด ความเข้าใจและการยอมรับนับถือ เชื่อมั่นว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริงหรือมีดำรงอยู่จริง โดยอาศัยประสบการณ์ตรง การไตร่ตรองหรือการอนุมาน อาจมีหลักฐานสนับสนุนเพียงพอที่จะพิสูจน์หรืออาจไม่มีหลักฐานที่จะพิสูจน์สิ่งนั้นให้เห็นจริงก็ได้ คนเราแต่ละคนย่อมโตมาจากสิ่งแวดล้อมและสังคมที่แตกต่างกัน ย่อมมีความเชื่อที่แตกต่างกันด้วย เพราะฉะนั้นถ้าถามว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเขื่อของเรานั้นถูกหรือก็ควจะตอบได้ยาก ความเชื่อนั้นไม่ใช่สิ่งตายตัวว่าถูกหรือผิด แต่ถ้าต้องการพิสูจน์จริงๆว่าถูกหรือผิดก็ต้องหาข้อมูลที่มีความเป็นกลางและหลากหลาย และควรเปิดใจเปิดรับสิ่งใหม่ๆ ลดอคติต่อความเชื่อที่เราไม่เชื่อเพื่อที่จะได้พิสูจน์ว่าความเชื่อนั้นเป็นจริงหรือไม่ แต่ก็ยังมีความเชื่ออีกหลายอย่างที่ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ ซึ่งความเชื่อที่เรามีอยู่นั้นควรอยู่ในขอบเขตความพอดีไม่ใช่เลยไปถึงขั้นงมงาย
บางครั้งความเชื่อไหนที่ทำให้เราประพฤติไม่เหมาะสม เราก็ควรทิ้งความเชื่อเดิมนั้นไปแล้วสร้างความเชื่อใหม่ขึ้นมา เพื่อที่เราจะได้มีพฤติกรรมที่ดีขึ้น โดยการเปิดใจ ลองมองอีกมุมหนึ่งที่เราไม่เคยมอง ลดอคติกับความเชื่ออีกด้านที่เราไม่เคยเชื่อมาก่อน เปรียบเทียบความเป็นเหตุเป็นผลของความเชื่อนั้นๆ

6210710031 1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องเราอาจจะตรวจสอบได้โดยเริ่มจากคนใกล้ตัวก่อนโดยถามว่าในเรื่องนี้คุณเชื่อหรือมีความคิดเห็นอย่างไร แต่ถึงความเชื่อของตัวเราเองจะตรงกับความเชื่อของคนใกล้ตัวก็ใช่ว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นจะเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ดังนั้นเราอาจจะตรวจสอบได้โดยการค้นหาข้อเท็จจริงไม่ว่าจะเป็นข้อเท็จจริงจากในหนังสือหรือข้อเท็จจริงจากในเว็บไซต์ต่างๆ ในหนังสือนั้นจะเป็นงานวิจัยที่ได้รับการพิสูจน์มาแล้วซึ่งสามารถเชื่อถือได้ แต่ถ้าเป็นข้อเท็จจริงจากเว็บไซต์อาจจะต้องดูว่าข้อเท็จจริงนั้นน่าเชื่อถือขนาดไหนก่อน2. ในกรณีที่เราต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่”ให้เข้ามาแทนที่”ความเชื่อเก่า”อย่างไรเราควรที่จะไปศึกษาต้นเหตุของความเชื่อใหม่ว่าทำไมถึงมีความเชื่อนี้ขึ้นมา รวมถึงศึกษาว่าสามารถหักล้างกับความเชื่อเก่าของเราอย่างไร โดยการจะเปลี่ยนความเขื่อเก่านั้นอาจจะเริ่มโดยการเปลี่ยนพฤติกรรมเก่าที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อเก่าก่อน หากเราเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วทำเป็นปกติ ความเชื่อเก่าของเราก็จะหายไปแล้วความเชื่อใหม่จะเข้ามาแทนที่เอง

นางสาวภาสินี เลิศวีรนนทรัตน์ คณะเภสัชศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 รหัสนักศึกษา 6210712038 กลุ่ม 011.ความเชื่อของแต่ละคนย่อมแตกต่างกันไปตามการปลูกฝังจากพ่อแม่ การเรียนรู้ และประสบการณ์ต่างๆที่ได้พบเจอมา ดังนั้นการตัดสินว่าความเชื่อนั้นถูกต้องหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคนในการมองความเชื่อนั้นๆ บางคนอาจคิดว่าความเชื่อนี้ถูก หรือบางคนอาจคิดว่าความเชื่อนี้ผิดก็เป็นไปได้ทั้งนั้น แต่ในความคิดของดิฉัน หากความเชื่อใดที่ปฏิบัติแล้วส่งผลดีต่อตัวเอง ต่อครอบครัว ต่อสังคม และไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนก็จัดว่าเป็นความเชื่อที่ดีที่ถูกต้อง เราควรนำมาปฏิบัติตาม2.ก่อนอื่นเราต้องเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อความเชื่อเก่า รับรู้ถึงข้อเสีย และเข้าใจเหตุผลที่เราจะเปลี่ยนความเชื่อ จากนั้นก็เปิดใจยอมรับความเชื่อใหม่เข้ามา โดยพิจารณาด้วยเหตุและผลก่อนว่าความเชื่อนั้นถูกต้องหรือไม่ หากนำมาปฏิบัติตามจะทำให้เราแสดงพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นได้หรือไม่

1.รู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูก ?การที่เราจะเชื่อเรื่องใดนั้นแสดงว่าเราต้องรู้ที่มาที่ไปของมัน ก่อนที่ฉันจะเชื่ออะไรฉันเลยดูว่าทำไมมันจึงควรจะเชื่อ และมีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหนโดยใช้วิธีพิสูจน์ หรือหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับมันโดยการค้นคว้าหาข้อมูลที่น่าเชื่อถือหรือสอบถามจากผู้รู้ทางด้านนี้เราจะต้องใช้การคิดวิเคราะห์และวิจารณญาณและไต่ตรองสิ่งนั้นให้ดีว่าความเชื่อนี้ถูกต้องหรือไม่ 2.ในกรณีที่เราจะเปลี่ยนความพฤติกรรม เราจะทดแทนความเชื่อเก่า ด้วยความเชื่อใหม่อย่างไร อย่างแรกเราควรดูข้อดีข้อเสียของมันก่อนว่าความเชื่อเก่าเรามีข้อเสียอย่างไร หากเรายังเชื่อหรือปฏิบัติตามจะส่งผลไม่ดีต่อเราอย่างไรบ้าง และต่อมาเราก็ต้องมาดูถึงข้อดีของความเชื่อใหม่ และหากเราปฏิบัติตามหรือมีความเชื่อแบบใหม่ จะช่วยให้ส่งผลดีมากกว่าเดิมแค่ไหน สรุปคือเราต้องหาผลดีผลเสียของทั้งสองความเชื่อ เพราะถ้าเราจะมีความเชื่อใหม่ๆ ความเชื่อนั้นจะต้องส่งผลดีกว่าความเชื่อเก่าและไม่ส่งผลกระทบที่แย่กว่าเดิมค่ะ

นางสาวเจนจิรา พุทธรัตน์ 6210710008 คณะเภสัชศาสตร์ 1) เรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง : ดิฉันคิดว่าความเชื่อไม่ใช่สิ่งที่สามารถมาตัดสินได้ว่าถ้าเชื่อแบบนี้ เป็นความเชื่อที่ถูกหรือเป็นความเชื่อที่ผิดในทางกลับกันดิฉันคิดว่าความเชื่อเป็นสิ่งที่สามารถประเมินความน่าเชื่อถือได้ โดยการที่จะมาประเมินได้ ผู้ประเมินก็ต้องมีวิจารณญาณในการพิจารณาว่าความเชื่อนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความจริงหรือไม่ ขัดกับกฎธรรมชาติหรือไม่ พิสูจน์เป็นภาพที่ประจักษ์ได้หรือไม่ จึงจะสามารถประเมินได้ว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นน่าเชื่อถือเพียงใด2) ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง”ความเชื่อใหม่”ให้มาแทนที่”ความเชื่อเก่า”ได้อย่างไร : แน่นอนว่าหากเราได้ประเมินความน่าเชื่อถือของความเชื่อนั้นแล้ว และพิจารณาได้ว่าความเชื่อนั้นมีความน่าเชื่อถือ แสดงว่าเราก็ได้ใช้วิจารณญาณไปพิจารณาข้อมูลที่มีในตอนนั้นอย่างดีแล้ว แต่ด้วยโลกหมุนไปทุกวัน เราได้ข้อมูลใหม่มากขึ้น เราก็ต้องใช้วิจารณญาณในการตัดสินอีกว่าความเชื่อที่เราเคยคิดว่าน่าเชื่อถือยังน่าเชื่อถืออยู่ไหม ถ้าผลลัพธ์คือไม่สอดคล้องกัน เราก็แค่ปรับความเชื่อใหม่ เพราะความเชื่อใหม่มาความน่าเขื่อถือมากกว่าความเชื่อเก่า

1.ความเชื่อเป็นสิ่งที่เกิดจากการรับรู้สิ่งต่างๆจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เคยเรียน เคยได้ยินเคยเห็นมา หรือถูกปลูกฝังมาจากครอบครัวและสังคม คนเราแต่ละคนอาจมีความเชื่อที่เหมือนหรือต่างกันก็ได้ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? อันดับแรกต้องพิจารณาว่าความเชื่อนั้นชอบตามกฎหมาย เป็นข้อเท็จจริงที่สามารถหาเหตุผลมารองรับหรืออธิบายตามหลักวิทยาศาสตร์ได้หรือไม่ ถ้าเป็นเช่นนั้นความเชื่อจะถูกยอมรับโดยคนหมู่มากเพราะมีความสมเหตุสมผลและน่าเชื่อถือ แต่บางครั้งก็ขึ้นอยู่กับมุมมองของสังคมและวัฒนธรรมของแต่ละที่ด้วยเหมือนกัน2. ในกรณีที่เราต้องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา ต้องเริ่มจากการเปลี่ยนแปลงความเชื่อเก่าๆของตนเอง ลองเปิดใจรับมุมมองใหม่ๆ ออกไปพบปะผู้คนเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันดูบ้าง เพราะบางทีการอยู่แต่ในสังคมเดิม ก็จะทำให้เรามีแต่ความเชื่อหรืแนวคิดเดิมๆ บางความเชื่อจะเปลี่ยนแปลงได้ก็ต่อเมื่อเรามีประสบการณ์โดยตรง และเมื่อเราสามารถเปลี่ยนแปลงความเชื่อเดิมแทนที่ด้วยความเชื่อใหม่แล้ว ก็สามารถทำให้เราเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตัวเองได้ เพราะความเชื่อเป็นรากเหง้าของความคิดและการกระทำนั่นเอง

แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้องความเชื่อนั้นมักมาพร้อมกับความถูกต้องและความสมเหตุสมผลที่เรามีทัศนคติต่อสิ่งนั้นๆ ดังเช่นว่า หากคุณมีความเชื่อว่า ทำแบบนี้แล้วจะดี ทำแบบนี้แล้วจะถูกต้อง เมื่อคุณได้ลองทำแล้วพบว่ามันถูกต้อง มันเป็นจริงดังที่คุณได้คิดเอาไว้ คุณก็จะมีความเชื่อกับสิ่งนั้น ว่ามันคือสิ่งที่ใช่ คือสิ่งที่มันถูกต้อง ซึ่งพอต่อไปในคนรุ่นหลัง ความเชื่อของสิ่งเหล่านี้ก็จะถูกถ่ายทอดจากคนรุ่นเก่าไปยังพวกเขาต่อไป ด้วยทัศนคติที่ว่า ผู้ใหญ่อาบน้ำร้อนมาก่อน ควรจะเชื่อตามที่พวกเขาบอก เพราะเขามองโลกมามากกว่าคุณ เขาจึงรู้มากกว่า ซึ่งความเชื่อเหล่านี้ที่ถูกถ่ายทอดสู่คนรุ่นหลัง มันคือความเชื่อที่ถูกบ่มเพาะอบรมให้เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ ไม่ใช่ความเชื่อที่คุณสร้างมันมาด้วยตัวคุณเอง ซึ่งเราไม่อาจทราบได้ว่ามันคือสิ่งที่ถูกต้อง เหมาะสมสำหรับเราหรือไม่ จนกว่าคุณจะได้ค้นพบแล้วหาคำตอบให้กับสิ่งที่คุณคิด แล้วคุณพบว่าสิ่งนั้นคือสิ่งที่ใช่ ความเชื่อที่เรามีนั้นมันถูกต้องและสมเหตุสมผล

ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร จะเกิดขึ้นเมื่อคุณเริ่มค้นพบว่า ความเชื่อเหล่านั้นคือความเชื่อที่ผิด คือความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง เมื่อนั้นคุณจะแสวงหาคำตอบ หรือค้นหาความเชื่อใหม่ด้วยตัวคุณเอง โดยการนำเอาประสบการณ์ ความคิดที่คุณมี สิ่งรอบข้างตัวคุณมาหลอมรวมให้เป็นก้อนความเชื่อก้อนหนึ่ง เมื่อคุณค้นพบแล้ว คุณก็ต้องหาสิ่งที่จะนำมายืนยันว่า ความเชื่อที่คุณได้มานั้นเป็นความเชื่อที่ถูกต้อง เป็นความเชื่อที่เหมาะสมที่จะตอบโจทย์ที่คุณได้สร้างขึ้นมา เพื่อค้นหาและสร้างความเชื่อก้อนใหม่นั้นเอง

นายโชติช่วง โอคะเบะ คณะเภสัชศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 รหัสนักศึกษา 6210712023 กลุ่ม 01 1.)เรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง : กระผมคิดว่าต้องใช้ขั้นตอนดังนี้จึงจะเพียงพอต่อการตรวจสอบว่าความเชื่อเรานั้นถูกต้องหรือไม่ อันดับแรกต้องได้รับการพิสูจน์จนเป็นที่ยอมรับ ถ้าสิ่งนั้นไม่ได้มีการพิสูจน์อย่างถูกต้องสิ่งนั้นก็จะไม่มีความน่าเชื่อถือแม้จะเป็นสิ่งที่ถูกต้องก็ตามและการพิสูจน์จะอยู่ในรูปของรูปธรรมหรือนามธรรมก็ได้ อย่างที่สองคือสิ่งนั้นต้องเป็นที่ยอมรับของสังคมกลุ่ม ๆ หนึ่ง แม้ว่าจะไม่ใช่ความคิดเห็นส่วนใหญ่แต่ถ้ามีจำนวนที่มากพอก็พอที่จะสามารถเป็นความเชื่อได้ อย่างที่สามคือขึ้นกับประสบการณ์ของเรา เราได้พบเจอสิ่งต่าง ๆ มากมายรอบตัว จริงบ้างเท็จบ้าง เราจึงต้องอาศัยประสบการณ์ที่เรามีมาพิสูจน์ว่าสิ่งนั้นเป็นจริงหรือไม่เป็นขั้นตอนสุดท้าย 2) ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง”ความเชื่อใหม่”ให้มาแทนที่”ความเชื่อเก่า”ได้อย่างไร : หากเรารู้ว่าพฤติกรรมนั้นเกิดจากความเชื่อของเราสิ่งที่ต้องตรวจอย่างแรกคือความเชื่อเราเป็นไปตามความจริง3ข้อบนมั้ย หากเป็นไปตามนั้นแสดงว่าเราอยู่ในหลักความจริง การที่เราแสดงความจริงออกมาไม่ใช่สิ่งที่ผิด แต่หากไม่ได้เป็นไปตาม3ข้อบน เราจะต้องหาความเชื่อใหม่ที่มีรากฐานเดียวกันหรือมีความคล้ายคลึงกันระดับหนึ่ง แต่ความเชื่อเหล่านี้ต้องไปตาม3ข้อบน หากทำตามดังนี้แล้วปัญหาจะไม่เกิดขึ้น

  1. ความเชื่อเป็นสิ่งที่มีมาช้านาน ผ่านคำบอกเล่าปากต่อปาก บางความเชื่อไม่มีมูลเห็นเพียงแต่ถูกพูดเพื่อเตือนในการกระทำบางอย่างที่ไม่ดี ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่จะตรวจสอบว่าเรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ แต่ไม่ใช่ว่าจะทุกความเชื่อที่ไม่มีหลักฐาน จึงควรพิจารณาความเป็นเหตุเป็นผล ว่าความเชื่อของเรานั้นเชื่อถือได้หรือไหม มีหลักฐานไหนที้พอจะเชื่อมโยงถึงกัน 2. การเปลี่ยนแปลงความเชื่อนั้น หลายครั้งอาจจะดูเป็นเรื่องยากที่จะแก้ไข แต่หากเราได้รับรู้ความน่าเบื่อถือของมันแล้ว หากเป็นเรื่องไม่สมเหตุสมปล หรือเรื่องเท็จ เราก็ควรที่จะเปลี่ยนเพื่อยึดมั่นในความเชื่อที่ถูกต้อง เพื่อไม่ให้เกิดเรื่องผิดซ้ำซาก

นางสาวอัญชิสา สงสุวรรณ์ คณะเภสัชศาสตร์ 6210710107

1.เรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?ความเชื่อ คือ การยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริง หรือมีการดำรงอยู่จริง โดยอาศัยประสบการณ์ตรง การไตร่ตรอง หรือการอนุมานว่าเป็นจริง สาเหตุการเกิดความเชื่อข้าพเจ้าคิดว่าเกิดจากความกลัวธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ มนุษย์เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติเป็นการบันดาลให้เกิดขึ้นจากอำนาจของเทวดา พระเจ้า หรือภูตผีปีศาจ ดังนั้นเมื่อเกิดปรากฏการณ์ต่างๆ ขึ้น เช่น ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด อุทกภัย และวาตภัย ต่างๆ ขึ้น ล้วนเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อชีวิตหรือความเป็นอยู่ของมนุษย์ จึงเป็นต้นเหตุให้เกิดความเชื่อขึ้นมา ความเชื่อจึงอาจจะเป็นความจริง หรือไม่ใช่ความจริงก็ได้ทั้งนั้น ดังนั้นจะตอบคำถามที่ว่า เรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ขึ้นอยู่กับว่าเรามีหลักฐานสนับสนุนความเชื่อนั้นมากน้อยเพียงใด มีข้อพิสูจน์ไม่ว่าจะทางกฎหมายหรือทางวิทยาศาสตร์ด้วยเช่นกัน เมื่อความเชื่อเหล่านั้นสามารถพิสูจน์ได้ ก็ไม่ใช่เพียงการอนุมานแต่จะเป็นความจริง สังคมก็จะให้การยอมรับกับความเชื่อเหล่านั้นที่มีหลักฐานพิสูจน์ได้

  1. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?

อันดับแรก ข้าพเจ้าคิดว่าเราต้องรู้จักการยอมรับว่าความเชื่อเก่าของตนนั้นผิดพลาด โดยอาจจะใช้หลักการ Critical thinking รู้จักการคิด ประมวลผล วิเคราะห์ผล แยกแยะผลได้ว่าสิ่งใดพึงประสงค์หรือไม่ เมื่อเราสามารถยอมรับได้ว่าความเชื่อเก่าของตนนั้นไม่พึงประสงค์ ก็จะเป็นการง่ายที่จะสร้างความเชื่อใหม่เข้ามาทดแทน อาจจะอาศัยประสบการณ์ตรงที่เราพบเจอมาในชีวิต เพื่อสร้างความเชื่อใหม่ๆก็ได้ เพราะความเชื่อเป็นการยอมรับสิ่งใดสิ่งหนึ่งว่าเป็นสิ่ง โดยอาศัยสิ่งที่เรียกว่าประสบการณ์ตรงของเราเอง

นายนภัส พูนทอง คณะเภสัชศาสตร์ รหัส 62107100111.เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อของเรานั้นถูกต้อง ในบางครั้งการพิสูจน์ว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้องหรือไม่ ทำได้โดยการแลกเปลี่ยนความคิด พูดคุยกับบุคคลรอบข้างให้มากขึ้น เข้าใจความคิดเขาความคิดเรา หรือแม้แต่การอาศัยจากประสบการ์ตรงขอตนเอง แล้วนำมาประยุกต์ การคิดไตร่ตรองหลายชั้น ว่าความคิดที่เรามีต่อเรื่องนั้น เป็นสิ่งที่ถูกต้อง อีกทั้ง ความคิดนั้น ไม่ส่งผลร้าย ส่งผลกระทบต่อบุคคลรอบข้างหรือแม้แต่ตนเอง มากไปกว่านั้นคือความคิดนั้นสามารถทำให้เรามีความสุขได้โดยอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง จารีต ประเพณี และคุณธรรม ควบคู่กันไป หรือบางครั้งการพิสูจน์ความเชื่อนั้นสามารถทำได้โดยอาศัยหลักฐาน เอกสารมาอ้างอิงประกอบความคิดของเราว่าถูกต้องแน่นอน เป็นที่ยอมรับของคนโดยทั่วไป 2) ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง”ความเชื่อใหม่”ให้มาแทนที่”ความเชื่อเก่า”ได้อย่างไร :เมื่อเรารู้ว่าพฤติกรรมบางอย่างของเรานั้นเป็นพฤติกรรมที่ไม่ดี ไม่พึงประสงค์ ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม เราจึงต้องหันกลับมาพิจารณาตัวเอง มองตัวเอง คิดให้มากขึ้น ยอมรับสิ่งรอบข้างให้มากขึ้น ยอมรับว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีอะไรแน่นอน ทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว กฏเกณฑ์ต่างๆ ไม่สามารถนำมาใช้ได้กับชีวิตจริง เพียงแค่นำมาปรับ ประยุกต์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ที่เผชิญ เพราะพฤติกรรมของเราต่างเป็นผลพวงอันเนื่องมาจากความคิด ตลอดจนความเชื่อเราจึงต้องพร้อมเรียนรู้และสร้างความเชื่อใหม่ ที่ดีกว่าเดิม ถูกต้อง และเหมาะสมต่อสถานการณ์นั้นให้ดีกว่าเดิมอยู่เนืองนิตย์

1	แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง ความเชื่อของเราจะถูกหรือผิดขึ้นกับผลของการกระทำของเรา ซื่งการจะบอกว่าถูกหรือผิดก็ขึ้นกับว่าแต่ละคนมองแบบไหน ถ้ามองตามหลกศาสนาความเชื่อที่ถูกต้องต้องมาพร้อมกับศีลธรรมอันดีหรืออยู่บนหลักศาสนาที่ถูกที่ควร หากมองตามหลักวิทยาศาสตร์ ความเชื่อที่ถูกต้องก็มาพร้อมกับหลักการที่สามารถพิสูจน์ได้มีงานวิจัยรองรับเช่นกัน2	ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? การที่เราริเริ่มมีความคิดที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา แสดงให้เห็นว่าความเชื่อของเราที่เคยเชื่อมา มีการเปลี่ยนแปลงไป อาจจะเป็นเพราะปัจจัยต่างๆ เช่น การที่เราโตขึ้น มีประสบการณ์ต่างๆมากขึ้น ความเชื่อต่างๆก็เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา การที่เราจะสร้างความเชื่อขึ้นมาใหม่ก็จำเป็นต้องใช้เวลาเช่นกันและเราต้องรู้ว่าพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์ของเราคืออะไรและพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนและยอมรับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ

นางสาวนภัสสร ศักดามาศ นักศึกษาเภสัชศาสตร์ 6210712030 สาขาบริบาล

กันตรัตน์ เอียดเจริญ 6210710064 คณะเภสัชศาสตร์ 1. ความเชื่อเป็นสิ่งที่มีมาช้านาน ผ่านคำบอกเล่าปากต่อปาก บางความเชื่อไม่มีมูลเห็นเพียงแต่ถูกพูดเพื่อเตือนในการกระทำบางอย่างที่ไม่ดี ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่จะตรวจสอบว่าเรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ แต่ไม่ใช่ว่าจะทุกความเชื่อที่ไม่มีหลักฐาน จึงควรพิจารณาความเป็นเหตุเป็นผล ว่าความเชื่อของเรานั้นเชื่อถือได้หรือไหม มีหลักฐานไหนที้พอจะเชื่อมโยงถึงกัน 2. การเปลี่ยนแปลงความเชื่อนั้น หลายครั้งอาจจะดูเป็นเรื่องยากที่จะแก้ไข แต่หากเราได้รับรู้ความน่าเบื่อถือของมันแล้ว หากเป็นเรื่องไม่สมเหตุสมปล หรือเรื่องเท็จ เราก็ควรที่จะเปลี่ยนเพื่อยึดมั่นในความเชื่อที่ถูกต้อง เพื่อไม่ให้เกิดเรื่องผิดซ้ำซาก

1) เรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?สำหรับดิฉัน ความเชื่อในบางเรื่องอาจเป็นความเชื่อเฉพาะบุคคลหรือเฉพาะกลุ่ม ถ้าความเชื่อในเรื่องใดก็ตาม ไม่ได้เบียดเบียนผู้อื่น หรือ ขัดกับหลักศีลธรรม ดิฉันก็มองว่าความเชื่อนั้นไม่ใช่ความเชื่อที่ผิด. สำหรับดิฉัน ความเชื่อของแต่ละคนก็เหมือนสิทธิเสรีภาพ ทุกคนมีสิทธิ์ที่นะคิดหรือเชื่อแตกต่างกัน และสิ่งที่เราทุกคนทำได้คือ ยอมรับในความแตกต่างกันของแต่ละบุคคล ไม่เหยียดหรือดูถูก แต่จงเปิดในรับฟังมุมมองของเพื่อนมนุษย์ เพราะนอกจากจะได้มุมมองใหม่ๆเพิ่มขึ้นมา อาจจะได้เพื่อนใหม่เพิ่มด้วย

2)เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?ในมุมมองของดิฉัน การจะสร้างความเชื่อใหม่เข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่าอย่างปุ๊ปปัปฉับพลัน คงเป็นอะไรที่รวดเร็วจนเกินไป ถ้าเป็นตัวของดิฉัน ดิฉันคงใช้วิธีค่อยๆปรับความคิดความเชื่อ มองทุกอย่างในดีขึ้น มองสิ่งรอบๆตัวในหลายๆแง่มุม พยายามเข้าใจในสิ่งต่างๆมากขึ้น แต่ไม่ต้องเก็บทุกอย่างมาคิดเล็กคิดน้อยเพราะถ้าทำอย่างนั้น เราจะกลายเป็นคนที่คิดมากและต้องใส่ใจกับสิ่งรอบตัวตลอด ดังนั้น สิ่งที่ดิฉันจะสื่อคือ บางความเชื่อ อาจจะเป็นเรื่องที่เชื่อมานาน ถ้าเราเอาความเชื่อใหม่ๆเข้าไปแทนที่เลย คงเป็นการยาก และลำบาก ควรจะค่อนๆปรับความคิดทีละเล็กทีละน้อย เพื่อนให้เรามีคสามคิดและทัศนคติที่ดีขึ้นและไม่รู้สึกกดดันตัวเองมากเกินไป

นางสาวนภัสวรรณ วงศ์โชติกมลคณะศิลปศาสตร์ 6111110065 ชั้นปีที่2 sec.021 จริงๆแล้วเรื่องของความเชื่อมีสองรูปแบบ 1คือความเชื่อที่เป็นข้อเท็จจริง สามารถสัมผัสได้โดยประสาทสัมผัสทั้ง5 และสามารถพิสูจน์ได้เป็นที่รับรู้ทั่วกัน เช่นเชื่อว่ามีภาวะโลกร้อน และ2 ความเชื่อที่เป็นข้อคิดเห็น และความเชื่อทางมโนธรรม-นามธรรม ความเชื่อชนิดนี้ เกิดจากสภาวะแวดล้อมต่างๆรอบตัวเรา ครอบครัว สังคม ศาสนา บ่มเพาะให้เกิดความเชื่อความเชื่อหนึ่งขึ้นมา เช่นการเชื่อเรื่องสิ่งลี้ลับต่างๆ จริงๆแล้วเราไม่สามารถรู้ได้แน่ชัดหรอก ว่าความเชื่อนี้เป็นจริงอย่างไร มันขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อมของเราที่ทำให้เราคิดว่าความเชื่อนี้เป็นจริงแค่ไหน 2 พาตัวเองไปอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่มีคนเชื่อแบบเดียวกัน จริงๆแล้วเวลาเปลี่ยนคนเปลี่ยน ความเชื่อและนิสัยก็ย่อมมีบางสิ่งเปลี่ยนแปลง ถ้าเราเริ่มรู้สึกว่าพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของเราเกิดจากความเชื่อ นั่นแปลว่าเราได้มีความเชื่อใหม่แล้ว

ความเชื่อ หมายถึง การยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริง หรือมีการดำรงอยู่จริง โดยอาศัยประสบการณ์ตรง การไตร่ตรอง หรือการอนุมาน ดังนั้นความเชื่อของแต่ละคนจะไม่เหมือนกันซึ่งสิ่งเหล่านี้จะส่งผลต่อความคิดที่แตกต่างของแต่ละคนอย่างแน่นอน1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?ความเชื่อเป็นความคิด ความเข้าใจและการยอมรับ นับถือ เชื่อมั่นในสิ่งหนึ่งสิ่งใดโดยไม่ต้องมีเหตุผลใดมาสนับสนุนหรือพิสูจน์ ทั้งนี้บางอย่างอาจมีหลักฐานอย่างเพียงพอที่จะพิสูจน์ได้ หรืออาจจะไม่มีหลักฐานที่จะนำมาใช้พิสูจน์ให้เห็นจริงเกี่ยวกับสิ่งนั้นก็ได้ การจะเชื่อในสิ่งที่ถูกต้องเราจะต้องอาศัยการหาข้อมูล การตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเชื่อนั้น โดยปราศจากความอคติต่อสิ่งที่ต่อต้านความเชื่อเก่า2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? หากพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์มาจากความเชื่อที่ไม่ถูกต้องหรือผิด เราควรเปิดใจรับสิ่งที่ถูกต้อง ความเชื่อที่อยู่บนความเป็นจริง ความถูกต้อง อาศัยการรวบรวมหลักฐานข้อเท็จจริง เพื่อยืนยันว่าความเชื่อนั้นถูกต้องและอยู่ในหลักความเป็นจริง การแก้ไขความเชื่อเก่าให้เป็นความเชื่อใหม่ เราไม่สามารถแก้ไขความเชื่อของใครได้ แต่เราสามารถแก้ไขความเชื่อของตนเองได้ หากความเชื่อเก่านั้นมันผิดจริงๆ เราต้องเปิดใจยอมรับ โดยปราศจากการอคติต่างๆ การบอมรับความจริงและความถูกต้องจึงจะทำให้เกิดความเชื่อที่ดีได้

นางสาวฉัตรสุดา เก้าเอี้ยน 6210710039 คณะเภสัชศาสตร์1.รู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? สำหรับดิฉัน ความเชื่อคือสิ่งที่ตัวเรายอมรับว่ามันมีจริง ซึ่งส่วนตัวหนูไม่เชื่อในอะไร หรือศรัทธาอะไร เพราะหนูคิดว่าทุกสิ่งที่เกิดนั้นมันล้วนมีเหตุผลที่เกิด ทุกอย่างที่เกิดนั้นล้วนมีผลทำให้เราเป็นคนมากขึ้น หรืออาจทำให้เราดีหรือเลวขึ้น และยิ่งและให้ความหวังกับความเชื่อมาก เราก็ยิ่งผิดหวัง ดังนั้นถ้าเราไม่คาดหวังเราก็ไม่ผิดหวัง แต่ถ้าถามว่าจะรู้ได้ยังไงว่าที่เชื่อมันถูกต้อง หนูจะดูว่าที่เชื่อนั้นมีความเป็นเหตุเป็นผลหรือไม่ สามารถหาคำตอบ หรือต้นตอความเชื่อนนั้นหรือไม่ หรือเป็นความเชื่อที่ส่งผลต่อๆกันมาเรื่อยมา แล้วเราก็เชื่อไป ถ้าหาคำตอบจากแหล่งข้อมูลที่ถูกต้องมีอ้างอิงว่าเป็นจริงและถูกต้อง ก็สามารถที่เชื่อในสิ่งนั้นได้ แต่ถ้าหากพิสูจน์ว่ามันขัดแย้งกับเหตุผลต่างๆก็แสดวงว่าความเชื่อที่เราเชื่อมาตลอดนั้นเป็นเพียงแค่ คำพูดของคนๆอื่นที่ส่งต่อๆกันมาไม่มีอะไรน่าเชื่อเท่านั้น2.เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?เราต้องดูก่อนว่าความเชื่อเก่าที่เราเชื่อมาตลอดกับความเชื่อใหม่นั้น มันต่างกันอย่างไร ความเชื่อเก่านั้นเราเข้าใจอะไรผิด หรือมีอะไรผิด แล้วความเชื่อใหม่ที่จะมาแทนที่นั้น ทำไมถึงให้ความเชื่อใหม่มาแทนที่ เป็นเพพราะความเชื่อเก่าเรานั้น ไม่มีเหตุผล ไม่มีข้อเท็จจริง หรือเป็นเพราะคนอื่นยัดเยียดความเชื่อใหม่ให้เราว่าความเชื่อนี้ดีกว่า แต่ถ้าสรุปแล้วว่าความเชื่อเก่าของเรานั้น ไม่ผิดจริงๆ ไม่ควรที่จะเชื่ออย่างนั้น งั้นก็ควรปรับความเชื่อใหม่ให้ดีขึ้น เพราะทุกความเชื่อที่เราเชื่อนั้นมีผลต่อการกระทำของเรา ถ้าความเชื่อของเรานั้นดีกว่า ย่อมส่งผลให้เรากระทำในสิ่งต่างๆดีขึ้นอยู่แล้ว

1) การที่เราจะรู้ได้ว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้องหรือไม่เราจะต้องหาเหตุผลมารองรับความเชื่อนั้นๆ แต่ในบางครั้งที่ความเชื่อจะมาในรูปของนามธรรมและไม่สามารถพิสูจน์ได้ เช่น ศาสนา สิ่งศักสิทธิ์ต่างๆ ดังนั้นความเชื่อจึงเป็นเรื่องของแต่ละบุคคลขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม การปลูกฝังและการเลี้ยงดู เราจึงไม่สามารถบอกได้เสมอไปว่าความเชื่อนั้นถูกต้องหรือไม่ แต่ถ้าความเชื่อของเราไม่ได้ส่งผลเสียทั้งต่อตนเองและผู้อื่น เราก็สามารถบอกได้ว่าความเชื่อของเรานั้นไม่ผิด2) หาเหตุผลมารองรับในการที่เราจะเชื่อความเชื่อใหม่ และเปรียบเทียบความเชื่อใหม่และเก่าว่าแตกต่างกันอย่างไร ความเชื่อใหม่ดี/ถูกต้องอย่างไร ความเชื่อเก่าไม่ถูกต้องอย่างไร แล้วจึงค่อยๆเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปสู่ความเชื่อแบบใหม่ทีละน้อย

  1. รากเหง้าของความคิดทำให้เกิดความเชื่อ แล้วความเชื่อที่เรามีก็ทำให้เราแสดงพฤติกรรมต่างๆออกมา แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมันถูกต้อง? รู้ได้จากการความเชื่อของเราที่เราแสดงออกมันด้วยพฤติกรรม ไม่ได้ไปเบียดเบียนให้คนอื่นเดือดร้อน ไม่ได้ไปสร้างปัญหาให้ใคร และที่สำคัญคือความเชื่อที่เรามีอยู่ไม่ได้สร้างปัญหาให้ตัวเองและไม่ได้ทำให้ชีวิตเราแย่ลง
  2. ความเชื่อเป็นรากเหง้าของความคิดเมื่ออยากเปลี่ยนความเชื่อเก่าที่ไม่พึงประสงค์ ต้องเริ่มต้นจากการหาสาเหตุก่อนว่าความเชื่อเก่าของเรามันมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ในส่วนของข้อเสียเราก็ต้องยอมรับความจริงก่อนว่าความเชื่อเดิมของเรามันผิด แล้วหลังจากนั้นจึงเปิดใจยอมรับความเชื่อใหม่ๆเข้ามา

1.เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง ความเชื่อมาเป็นสิ่งส่วนบุคคล เป็นสิ่งที่ต่างคนก็ต่างความเชื่อ มีความเชื่อไม่เหมือนกัน ไม่สามารบอกได้ว่าจริงๆแล้วสิ่งที่เราเชื่อมันถูกหรือผิด มันขึ้นอยู่กับสังคมและสภาพแวดล้อมรอบข้างเราด้วย ถ้าส่วนมากเป็นไปในทางเดียวกัน เราก็จะบอกว่าความเชื่อเรานั้นถูกต้อง ถ้าแตกต่างเราก็คงบอกว่าความเชื่อนั้นผิด2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? เราต้องเปิดใจของเราก่อน มองให้เป็นกลางวันความเชื่อเก่าเราเป็นยังไง ดีไม่ดี แล้วลองทำความเข้าใจความเชื่อใหม่ว่ามันดีมั้ย ถ้ามันโอเคมันดีต่อเรา เราก็จะค่อยๆเปลื่ยนพฤติกรรมไปเอง

1.เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง ความเชื่อมาเป็นสิ่งส่วนบุคคล เป็นสิ่งที่ต่างคนก็ต่างความเชื่อ มีความเชื่อไม่เหมือนกัน ไม่สามารบอกได้ว่าจริงๆแล้วสิ่งที่เราเชื่อมันถูกหรือผิด มันขึ้นอยู่กับสังคมและสภาพแวดล้อมรอบข้างเราด้วย ถ้าส่วนมากเป็นไปในทางเดียวกัน เราก็จะบอกว่าความเชื่อเรานั้นถูกต้อง ถ้าแตกต่างเราก็คงบอกว่าความเชื่อนั้นผิด2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? เราต้องเปิดใจของเราก่อน มองให้เป็นกลางวันความเชื่อเก่าเราเป็นยังไง ดีไม่ดี แล้วลองทำความเข้าใจความเชื่อใหม่ว่ามันดีมั้ย ถ้ามันโอเคมันดีต่อเรา เราก็จะค่อยๆเปลื่ยนพฤติกรรมไปเอง

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ความเชื่อเป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ และถือว่าเป็นวัฒนธรรมของมนุษย์อย่างหนึ่ง การดำรงชีวิตของมนุษย์ในสมัยโบราณที่มีความเจริญทางด้านวิชาการน้อย ความเชื่อจึงเกิดจากการเกิดขึ้น และการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติที่มนุษย์เชื่อว่าเป็นการบันดาลให้เกิดขึ้นจากอำนาจของเทวดา พระเจ้า หรือภูตผีปีศาจ ดังนั้นเมื่อเกิดปรากฏการณ์ต่างๆ ขึ้น เช่น ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด อุทกภัย และวาตภัย ต่างๆ ขึ้น ล้วนเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อชีวิตหรือความเป็นอยู่ของมนุษย์ ซึ่งยากที่จะป้องกันหรือแก้ไขได้ด้วยตัวเอง บางอย่างเป็นเหตุการณ์ที่อำนวยประโยชน์ แต่บางเหตุการณ์ก็เป็นอันตรายต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์ มนุษย์จึงพยายามที่จะคิดหาวิธีการที่จะก่อให้เกิดผลในทางที่ดี และเกิดความสุขให้กับตนเอง เพื่อกระทำต่อสิ่งที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติเหล่านั้น ทำให้เกิดเป็นแนวทางปฏิบัติที่เป็นพิธีกรรม หรือศาสนาเกิดขึ้น 2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?ต้องเริ่มจากเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่ใช่เป็นเพียงคุณสมบัติที่นักพูดทุกคนจำเป็นต้องมีเท่านั้น แต่ยังเป็นคุณสมบัติที่จำเป็นในเกือบทุกเรื่องของการดำรงชีวิต คนส่วนใหญ่ไม่กล้าเสี่ยงที่จะให้ความสนับสนุนโครงการหรืองานที่นำโดยคนที่ละล้าละลัง ซุ่มซ่าม หรือจะทำอะไรก็ออกตัวขอโทษขอโพยจนเฝือ ตรงกันข้าม เราท่านทั้งหลายคงเคยรู้สึกชื่นชมผู้ที่สามารถอธิบายเรื่องราวต่างๆ ได้อย่างชัดเจน มีบุคลิกภาพสง่างามน่าเชื่อถือ ตอบคำถามได้อย่างมั่นใจ และกล้าที่จะยอมรับในสิ่งที่ตนไม่รู้ ผู้ที่มีความเชื่อมั่นในตนเองจะเป็นผู้ที่สร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นผู้ฟัง เพื่อน เจ้านาย หรือลูกค้า การที่สามารถเรียกความเชื่อมั่นจากผู้เกี่ยวข้องได้นี้ นับเป็นหัวใจสำคัญต่อการกระทำการให้สำเร็จ เมื่อความเชื่อมั่นในตนเองเป็นสิ่งที่มีคุณค่าเช่นนี้ ผู้คนทั้งหลายจึงมุ่งหวังที่จะสร้างความเชื่อมั่นในตนเองให้เกิดขึ้นแก่ตัวเอง แต่ในทางปฏิบัติ คนที่ไม่มีความเชื่อมั่นในตนเองก็คงรู้สึกอับจน ไม่รู้ว่าจะสร้างความเชื่อมั่นขึ้นมาได้อย่างไร การสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นกับตนเองเป็นเรื่องที่เรียนรู้และสร้างให้เกิดขึ้นได้ และที่สำคัญ การสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นไม่ว่าจะแก่ตนเองหรือแก่ผู่อื่น แม้จะยากแต่ก็คุ้มค่าต่อความพยายาม

1.) แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ตอบ เราจะทราบว่าความคิดของเราถูกต้องก็ต่อเมื่อเราพิจารณาให้ลึกลงไป มองหลายๆมุม หรือนำความเชื่อนี้ไปพูดคุยแลกเปลี่ยนกับผู้อื่น ให้ผู้อื่นเเสดงความคิดเห็นที่มีต่อความคิดของเรา ว่าพวกเขาคิดเห็นอย่างไร มุมมองของเขาที่มีความเชื่อของเรานั้นเป็นเช่นไร จะเป็นความคิดที่ถูกอย่างที่เราตั้งไว้หรือไม่ หรืออาจจะผ่านการนำความคิดนั้นไปประยุกต์ใช้ ทั้งในรูปแบบของความคิดก็ดี พฤติกรรมก็ดี ถ้าเราทำแล้วถูกต้อง ไม่เบียดเบียนต่อผู้อื่น ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีลธรรม เเละยังส่งผลดีต่อตัวเรา ดิฉันคิดว่าความคิดของเราเป็นความคิดที่ถูกต้องและเหมาะสมแล้ว2.)ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? ตอบ การเปลี่ยนแปลงความเชื่อนั้นต้องคิดอย่างรอบคอบ มีวิจารณญาณ ต้องใช้สติและมองในหลายๆแง่มุม ซึ่งความเชื่อจะส่งผลต่อความคิดและพฤติกรรมของคนนั้นๆ การเปลี่ยนแปลงความเชื่อนั้น ความเชื่อที่มาจากการได้รับฟังข่าวสารจากเเหล่งต่าวๆและความเชื่อที่มาจากความคิด สามารถเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ส่วนความคิดที่มาจากการได้รับหรือเกิดจากเหตุการณ์ที่เราเคยชินจะเปลี่ยนแปลงได้ยาก เพราะเรานั้นเคยชินกับวิถีความเชื่อนั้นๆ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงความเชื่อควรเริ่มจากการนำความเชื่อเก่ามาวิเคราะห์และคิดถึงสาเหตุที่เรามีเชื่อความเชื่อนี้ และเราควรพัฒนาความเชื่อนี้เพื่อส่งผลในทางที่ดีต่อเราอย่างไรและควรเชื่อความเชื่อที่เกิดขึ้นใหม่ในรูปเเบบใด หาหนทางที่ดีที่สุดในการที่จะเชื่อ เเละประยุกต์ใช้ให้เกิดผลดีต่อตัวเราให้มากที่สุด

1.เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง»เราไม่มีทางรู้ว่าสิ่งใดถูก เพราะ๑ ต่างคนต่างความคิด ต่างคนต่างมุมมอง คนทุกคนล้วนมีความคิดที่ต่างกัน มุมมองในการพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็ต่างกัน ดังนั้นมันอาจจะเป็นความเชื่อที่ถูกสำหรับเรา แต่ก็อาจเป็นความเชื่อที่ผิดสำหรับผู้อื่น๒ มันอาจจะเป็นความเชื่อที่ถูกในตอนนี้แต่มันก็อาจเป็นความเชื่อที่ผิดได้ในอนาคต เพราะการที่เราหาข้อผิดของมันไม่เจอ ก็ใช่ว่าข้อผิดของมันจะไม่มี เพราะฉะนั้นเราจะไม่มีทางรู้เลยว่าสิ่งที่เราเชื่อมันถูกจริงๆมั้ย เราทำได้เพียงแค่เชื่อต่อไป และหาเหตุผลมารองรับความเชื่อนั้นหรือจะเป็นการเชื่อต่อไปเพราะหาเหตุผลที่จะไม่เชื่อไม่ได้ แล้วหาเหตุผลในอนาคตมาหักล้างความเชื่อนั้นแทน
2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า”ได้อย่างไร?» การละทิ้งความเชื่อเก่าเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยากแต่ก็ไม่ง่ายเลยที่เราจะทำได้ดังนั้นอันดับแรกเราจะต้องทำความเข้าใจก่อนว่าความเชื่อเก่านั้นผิดตรงไหน ทำไมมันถึงผิด พยายามทำความเข้าใจในเรื่องนั้นๆใหม่ ต่อมาก็ตอบตัวเองว่าแล้วความเชื่อที่ถูกมันต้องเป็นยังไง พยายามทำความเข้าใจความเชื่อใหม่ที่เราคิดว่า “อันนี้สิถึงจะถูก” พยายามตอบคำถามที่เกิดขึ้นมาในใจให้ได้จนกว่าตัวเองจะไม่สามารถหาข้อมาโต้แย้งความเชื่อใหม่ได้อีก สุดท้ายก็หาเหตุผล ผลของเหตุการณ์ต่างๆในอดีตมาคอยสนับสนุนความเชื่อใหม่อยู่ตลอดเวลา(จนกว่าจะเจอข้อผิดผลาดใดอีกในอนาคต)

ความเชื่อ หมายถึงความคิด ความเข้าใจและการยอมรับนับถือ เชื่อมั่นว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริงหรือมีดำรงอยู่จริง โดยอาศัยประสบการณ์ตรง การไตร่ตรองหรือการอนุมาน อาจมีหลักฐานสนับสนุนเพียงพอที่จะพิสูจน์หรืออาจไม่มีหลักฐานที่จะพิสูจน์สิ่งนั้นให้เห็นจริงก็ได้ คนเราแต่ละคนย่อมโตมาจากสิ่งแวดล้อมและสังคมที่แตกต่างกัน ย่อมมีความเชื่อที่แตกต่างกันด้วย เพราะฉะนั้นถ้าถามว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเขื่อของเรานั้นถูกหรือก็ควจะตอบได้ยาก ความเชื่อนั้นไม่ใช่สิ่งตายตัวว่าถูกหรือผิด แต่ถ้าต้องการพิสูจน์จริงๆว่าถูกหรือผิดก็ต้องหาข้อมูลที่มีความเป็นกลางและหลากหลาย และควรเปิดใจเปิดรับสิ่งใหม่ๆ ลดอคติต่อความเชื่อที่เราไม่เชื่อเพื่อที่จะได้พิสูจน์ว่าความเชื่อนั้นเป็นจริงหรือไม่ แต่ก็ยังมีความเชื่ออีกหลายอย่างที่ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ ซึ่งความเชื่อที่เรามีอยู่นั้นควรอยู่ในขอบเขตความพอดีไม่ใช่เลยไปถึงขั้นงมงาย
บางครั้งความเชื่อไหนที่ทำให้เราประพฤติไม่เหมาะสม เราก็ควรทิ้งความเชื่อเดิมนั้นไปแล้วสร้างความเชื่อใหม่ขึ้นมา เพื่อที่เราจะได้มีพฤติกรรมที่ดีขึ้น โดยการเปิดใจ ลองมองอีกมุมหนึ่งที่เราไม่เคยมอง ลดอคติกับความเชื่ออีกด้านที่เราไม่เคยเชื่อมาก่อน เปรียบเทียบความเป็นเหตุเป็นผลของความเชื่อนั้นๆ

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?เราต้องค้นหาความจริง หาที่มาของความเชื่อว่ามีต้นเหตุจากอะไรถึงมีความเชื่อนี้เกิดขึ้น แล้วเราก็จะรู้ว่ามันถูกต้องหรือไม่ เป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดี เบียดเบียนผู้อื่นหรือส่งผลให้เป็นไปในทางที่ดี ในการค้นหาต้นเหตุนั้นเราอาจจะเริ่มถามตัวเองก่อนว่าทำไมเราถึงเชื่อ มีเหตุผลอะไรที่ทำให้เชื่อ และค่อยๆไปถามคนอื่นที่มีความเชื่อเหมือนกันว่าทำไมเขาถึงเชื่อแบบนั้น ถามความคิดเห็นของคนหลายๆคน แล้วนำมาสรุป แล้วนำข้อสรุปของเราไปถามคนอื่นๆอีก ว่าเห็นด้วยหรือไม่ เมื่อเราได้ข้อสรุปที่ชัดเจนมาแล้วเราก็จะทราบว่าความเชื่อที่เราเชื่อนั้นมันเป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือผิด

2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?ต้องคิดก่อนว่าเพราะเรามีความเชื่อแบบนี้เราจึงแสดงพฤติกรรมออกมาแบบนี้ เราควรจะเปลี่ยนความเชื่อเพื่อให้พฤติกรรมดีขึ้น พร้อมทั้งคิดถึงข้อดีข้อเสียของความเชื่อนั้นๆ เพื่อให้เราได้ตัดสินใจที่จะเชื่อในสิ่งที่ดีกว่า และจะทำให้พฤติกรรมเป็นไปในทางที่ดีขึ้น

1.แล้วเรารู้สึกได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ถ้าใช้ความรู้สึกของดิฉัน ส่วนตัวของดิฉันคิดว่าการที่เรารู้สึกได้ว่าความเชื่อที่เรามีอยู่นั้นถูกต้องตัวของดิฉันต้องได้เจอประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวของดิฉันเองหรือตัวดิฉันได้กระทำแล้วมันเกิดผลตามที่ดิฉันเชื่อเพราะถ้าความเชื่อที่ดิฉันมีนั้นมันไม่ได้เป็นเหตุเป็นผล ไม่น่าเชื่อถือและเป็นสิ่งที่ดิฉันไม่ได้พบเจอมาด้วยตนเอง ดิฉันไม่คิดว่าความเชื่อที่ดิฉันมีนั้นจะถูกต้อง และตัวดิฉันเองจะไม่มีความเชื่อเหล่านั้นอยู่ในตัวของดิฉัน2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร ดิฉันคิดว่า ถ้าเราต้องการที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆที่ตัวเองมีเป็นแบบใหม่นั้น เราต้องดูเสียก่อนว่าที่เราเปลี่ยนไปนั้นเราเปลี่ยนไปเพื่ออะไร เปลี่ยนเพราะปรับตัวเข้ากับอะไร หรือเปลี่ยนเพราะสิ่งที่เราเป็นอยู่ตอนนี้มันแย่ ถ้าเป็นแบบหลังเราควรพิจารณาตัวเองก่อนว่าเมื่อเราเป็นแบบนี้ มีอะไรทีส่งผลทำให้เรารู้สึกว่าพฤติกรรมนี้มันไม่ดี มันแย่ จากนั้นก็ถามคนรอบข้างว่าที่ตนเป็นอยู่นี้เป็นอย่างไร ถ้ามันแย่ เราก็ควรกลับมาทบทวนว่าทำไมถึงแย่ แย่เพราะอะไร เพราะความคิด หรือความเชื่อที่ผิดๆหรือไม่ ถ้าเรารู้สาเหตุ เราก็ควรปรับทัศนคติ ความเชื่อเหล่านั้น และเปลี่ยนมุมมองกลับกันถ้าเราทำอีกแบบทุกอย่างจะดีขึ้นไหม ลองปรับใช้กับชีวิตของเราและดูว่าผลลัพธ์มันดีไหม เพราะการที่เราได้พยายามทำอะไรสักอย่าง ย่อมดีกว่าปล่อยให้ทำตามความคิดจนทุกอย่างสายไป เพราะการปรับเปลี่ยนมุมมองใหม่ ความเชื่อใหม่ๆ ที่ดีกว่าความเชื่อเก่าอาจจะทำให้ชีวิตที่เป็นอยู่ดีกว่าเดิมและมีความสุขกว่าเดิมก็เป็นได้

  1. แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ตอบ : การที่เราจะเชื่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้น เกิดจากหลายองค์ประกอบ เช่น เราต้องได้ฟัง เห็น ดู ด้วยตัวเองหรือคนรอบข้างก่อน ไม่มีใครเชื่อในสิ่งที่ไม่เคยเห็น และความเชื่อนั้นหากเป็นความจริงย่อมมีการพิสูจน์ได้ สามารถอธิบายได้อย่างสมเหตุสมผล เราไม่สามารถทราบได้เลยว่าความเชื่อของเราที่เรากันมานั้นจะถูกหรือผิด แต่อยู่ที่วิจารณญาณของแต่ละบุคคลว่าเขานั้นเลือกที่เชื่อหรือไม่ โดยแต่ที่ความเชื่อของแต่ละคนก็จะไม่ไปรุกรานความเชื่อของคนอื่น

  2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?

ตอบ : อย่างแรกเลยต้องมีการสงสัยในความเชื่อ หากมีข้อสงสัย เราก็จะทำการหาคำตอบ และเมื่อได้คำตอบแล้ว หากมันสมเหตุสมผลกว่าความเชื่อเก่าๆ แน่นอนเลยที่เราจะเลือกเชื่อความเชื่อที่เกิดขึ้นมาใหม่ ยิ่งถ้ามีเหตุผลเสริมอื่นๆมาเสริมว่าความเชื่อเก่าของเรานั้นผิด เราก็จะเชื่อความเชื่อที่เกิดขึ้นมาซึ่งน่าเชื่อถือและถูกต้องมากกว่าความเชื่อเก่าๆ เมื่อเราเปลี่ยนความเชื่อแล้ว พฤติกรรมก็จะเปลี่ยนตาม เพราะความเชื่อ > ส่งผลต่อความคิด > ส่งผลต่อพฤติกรรม เมื่อความเชื่อเราเปลี่ยน ความคิดเราก็จะเปลี่ยน และสุดท้าย พฤติกรรมเราก็จะเปลี่ยนตามๆกันไป

นายนนทวัฒน์ เสียมไหม รหัส 6210710083 คณะเภสัชศาสตร์แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้อง ?ผมคิดว่าความเชื่อนั้นมีทั้งถูกและผิด แล้วแต่มุมมองของแต่ละคน เราต้องวิเคราะห์ให้รอบ ด้าน ทั้งด้านเหตุผล กฎหมาย ความมีจริยธรรม คุณธรรมต่างๆ และมีความเชื่อในทางด้าน วิทยาศาสตร์ โดยการมีเหตุผลที่น่าเชื่อถือ มีหลักฐานที่ชัดเจนมารองรับข้อพิสูจน์ โดยข้อพิสูจน์ เป็นสิ่งสาคัญมากและเป็นสิ่งที่ควรมีหลักในการคิดภายในใจ ไม่ได้เพียงเชื่อเขามาอย่างลอยๆ การเชื่อเป็นการแสดงตัวตนและจุดยืนของแต่ละคนในด้านมุมมอง ทัศนคติ บางครั้งอาจจะบอกได้ ว่าคนคนนั้นมีการเชื่อในลักษณะแบบไหน โดยเราสามารถดูจากบริบต่างๆ สิ่งแวดล้อมใน ชีวิตประจาวัน ว่าเป็นไปในทิศทางเดียวกับเราหรือเปล่า ดูแนวโน้มของสังคม การเปลี่ยนแปลงใน อดีตกับปัจจุบันสิ่งแตกต่างกันมาก สิ่งนี้ก็เป็นอีกอย่างที่ทาให้เรามีความเชื่อแบบผิดๆเกิดขึ้นได้ เราอย่าปลักใจเชื่อก่อนที่จะมีเหตุผลต่างๆเข้ามา เราควรมีสติที่ดีในการคิดอย่างไตรตรอง รอบคอบ และจะทาให้เราสามารถมีความเชื่อในทางที่ถูกต้องได้ในกรณีที่เราต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ ความ เชื่อใหม่”ให้เข้ามาแทนที่“ความเชื่อเก่า”ได้อยา่งไร?ในกรณีที่เราต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเราเองโดยการสร้างความเชื่อใหม่ๆเข้าแทน ความเดิมๆในอดีตนั้น เราสามารถทาได้โดยการใช้เหตุผลมารองรับ ซึงในปัจจุบันนั้น ผู้คนส่วน ใหญ่จะมีการวิวัฒนาการขึ้นมาเยอะมากจากอดีต มีสิ่งที่เรียนรู้ได้รอบกาย มีหลักฐานที่แน่ชัด สามารถหาได้ด้วยความเป็นจริงในทางด้านวิทยาศาสตร์ ควรคิดข้อบกพร่องของตัวเองในด้าน ต่างๆ ที่เราเคยทาผิดพลาดไป ว่าเราผิดอะไร เรียนรู้อะไรจากมัน เราจึงนามันมาปรับใช้ให้ถูกต้อง ในความเชื่อใหม่ๆของเราได้ ซึ่งมันจะเป็นผลดีที่เราถ้าเราสามารถรู้ข้อผิดพลาดของเองได้และนา มันไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์มากทีสุด โดยความเชื่อเก่าก็สามารถที่จะเชื่อถือได้แต่ควรจะเชื่อถือ ตามสถานการณ์ปัจจุบัน ตามหลักความเป็นจริง เพียงเท่าไรเราก็สามารถเปลี่ยนตัวเอง เปลี่ยนคน รอบข้างให้มีมุมมองที่มีความเชื่อที่ถูกต้อง และไม่ต้องกังวลกับเรื่องความเชื่อในอดีตต่างๆ

นางสาวชลลดา หาญพล 6111110191​ คณะศิลปศาสตร์​1. เวลาเราจะปลักใจเชื่อสิ่งใดใดก็ตาม เรามักจะหาความเป็นเหตุเป็นผลที่สามารถพิสูจน์หรือสัมผัสและรู้สึกได้ และเมื่อเราได้เห็นหรือสัมผัสมันแล้วก็จะทำให้เราเริ่มมีความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งๆนั้นมากขึ้นโดยที่ความเชื่อเหล่านี้ ก็ขึ้นอยู่แต่ละวิจารณญาณ​ของแต่ละบุคคล เพราะทุกคนสามารถ​เลือกที่จะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ได้ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลด้วย2.เราจะต้องพิจารณา​ว่าความเชื่อเก่าของเรานั้นมันทำให้เราประพฤติ​สิ่งไม่พึงประสงค์​ออกมาจริงๆหรือไม่ ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงก็แสดงให้เห็นว่ารูปแบบความคิดเก่าของเรานั้นมันไม่ถูกต้องจริงๆเราจะต้องแก้ไขปรับปรุง​ให้มันดีขึ้นโดยที่เมื่อเรารู้ว่าความเชื่อนั้นมันส่งผลเสียต่อเรา เราก็จะสามารถนำความคิดใหม่มาแทนที่ได้ทันที มันเหมือนเป็นสัญชาตญาณ​ของมนุษย​์ที่หากเรารู้ว่ามันจะทำให้เราเดือดร้อน เราก็จะทำการ​แก้ไขมันให้ทันท่วงที

1.คงต้องใช้ประสบการณ์ที่เจอมามากมายประกอบเข้าด้วยกันแล้ววิเคราะห์ว่าความเชื่อที่ได้รับรู้มานั้นควรเป็นไปทางไหน

2.ในการจะสร้างความเชื่อใหม่ขึ้นแทนที่ความเชื่อเก่าได้นั้น เราคงต้องได้พบเหตุการณ์สักอย่างที่ทำให้เราคิดได้ว่าสิ่งที่เชื่ออยู่มันผิด และยอมเปลี่ยนความเชื่อเองอย่างโดยดีและไม่มีเงื่อนไขใดๆมาบังคับ นั้นจะทำให้เราเปลี่ยนความเชื่อที่ผิดมาเป็นสิ่งที่ถูกได้อย่างถาวร เพราะถ้าคนเราเชื่อสิ่งใดๆแล้วถ้าสิ่งนั้นก็ยังเป็นอยู่เช่นนั้นก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะเลิกเชื่อไป แต่ถ้าได้รับรู้กับตัวเองว่าสิ่งนั้นมันผิดเราก็จะเปลี่ยนความเชื่อได้เอง

1.หลักการครับ เหตุผล ความเชื่อก่อให้เกิดความเป็นไปได้นานัปการ หากจะหาวิธีพิสูจน์ คือหลักฐาน และเหตุผล หรือหลักกการนั้นเอง 2.สร้างใหม่สำหรับผลก็คือหลักการที่ได้รับการยอมรับอีกนั้นแหละครับ ยังไง เมื่อมีการพิสูจน์ที่รับได้ ความเชื่อก็ควรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ไม่มีอะไรจีรังหรอกครับ ให้ยึดหลักกการ และเหตุผล อย่ายึดในอารมณ์ และความรู้สึกไม่งั้นจะไม่ได้อะไรดี ๆ กลับมาแน่ มีแต่เสีย ๆ กับเสียจมปลักกับความเชื่อไร้แก่นสาร

1.สิ่งที่จะทำให้เราเชื่อได้ว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง มีหลายประการ อย่างเช่น สิ่งที่ปลูกฝังเรามาตั้งแต่เด็กๆ พฤติกรรมที่คนในครอบครัว หรือแม้กระทั่งคนรอบตัวเราปฏิบัติให้เราเห็น พูดให้เราฟัง ทำให้เราเชื่อ ตัวเราก็จะเกิดความเชื่อต่อสิ่งที่เราได้เห็น ผ่านการปลูกฝัง ประสบการณ์ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้เราเชื่อว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง การที่เราได้ใช้ชีวิต ได้เห็นสิ่งต่างๆ เจอคนหลากหลายประเภท รับรู้เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น ประสบการณ์จะเป็นตัวตอกย้ำให้เราเชื่อในความคิดที่เรามีมามากยิ่งขึ้นไปอีก2.เราจะต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ความเชื่อเก่าที่เรามีมานั้นไม่อาจลบล้างไปได้หมดสิ้น เพียงแต่จะลดลง จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆประการ เราต้องนำความเชื่อเก่ามาเป็นประสบการณ์ที่สอนเรา นำเราไปสู่ความเชื่อใหม่ได้อย่างมีสติ ส่วนการที่จะสร้างความเชื่อใหม่ เราจะต้องมีสติ วิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาอย่างมีปัญญา จัดการกับมันอย่างชาญฉลาด โดยนำสิ่งที่ความเชื่อเก่าสอนเรามาเป็นบทเรียนที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ไม่ปิดกั้นตัวเองที่จะรับสิ่งใหม่ๆเข้ามา

น.ส.ปิยะธิดา พิชัยยุทธ์ รหัสนักศึกษา:6210710017 คณะเภสัชศาสตร์ ชั้นปีที่11.)แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้อง?ตอบ ในความคิดของดิฉันนั้นคนทุกคนล้วนมีความเชื่อ ซึ่งความเชื่อของแต่ละคนอาจจะเหมือนกันหรือต่างกันไปแล้วแต่วิถีหรือแนวคิดที่ปฏิบัติ ซึ่งดิฉันคิดว่าการที่เราจะเชื่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งเรานั้นจะต้องเลือกเชื่อในสิ่งที่มันมีเหตุผลเพียงพอที่จะมารองรับและสามารถพิสูจน์ได้ว่าความเชื่อนั้นมีความน่าเชื่อถือและสรุปได้ว่าความเชื่อนั้นถูกต้อง แต่ในบางครั้งความเชื่อต่างๆที่เคยได้ยินมานั้นอาจจะมีถูกหรือมีผิดบ้างเป็นธรรมดาขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกที่จะเชื่อสิ่งที่ถูกหรือสิ่งที่ผิดโดยความเชื่อนั้นจะต้องไม่ไปเบียดเบียนหรือทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน

2.)ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง”ความเชื่อใหม่”ให้มาแทนที่”ความเชื่อเก่า”ได้อย่างไร?ตอบ ดิฉันคิดว่าคนเราสามารถสร้างความเชื่อใหม่ๆเข้ามาแทนที่หรือเปลี่ยนแปลงความเชื่อเก่าๆได้ ในกรณีที่ตัวเรานั้นต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างที่เกิดขึ้นกับตัวเรา โดยการที่เรานั้นจะต้องทราบสาเหตุที่ทำให้เรานั้นมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์หรือไม่ถูกต้องแล้วแสดงว่าความเชื่อเก่าๆนั้นอาจจะมีข้อผิดพลาดหรือไม่ถูกต้อง โดยเมื่อทราบสาเหตุแล้วดิฉันคิดว่าเราควรที่ขจัดหรือปรับปรุงพฤติกรรมนั้นออกไป ไม่ว่าความเชื่อนั้นจะเก่าแก่มากน้อยเพียงใดเราควรที่จะเปิดใจกว้างยอมรับความเชื่อใหม่ๆให้กับตัวเราโดยต้องมีการผ่านกระบวนการความคิดต่างๆว่าความเชื่อใหม่นั้นถูกต้องและส่งผลให้เรานั้นมีพฤติกรรมที่ไปในทางที่ดีและทำให้ชีวิตของเรานั้นดีขึ้น ดังนั้นเราควรที่ไม่ยึดติดต่อความเชื่อเก่าๆที่ไม่ดีและควรเปิดใจให้กว้างพร้อมรับต่อความเชื่อใหม่ๆที่ดีเข้ามาในชีวิตเรา

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องเราจะเริ่มรับรู้ว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้อง ก็ต่อเมื่อเรามีหลักความคิดที่สมเหตุสมผล มาสนับสนุนความคิดนั้นๆ รวมทั้งประสบการณ์ที่พบเจอ เมื่อความเชื่อนั้นเริ่มเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการดำรงชีวิต ความเชื่อนั้นจะส่งผลให้เกิดความคิดและการกระทำ ซึ่งผลของการกระทำนั้น จะเป็นตัวพิสูจน์ว่า ความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้องหรือไม่2.การเปลี่ยนพฤติกรรม โดยการเปลี่ยนความเชื่อ ต้องมาจากการที่เรารับรู้แล้วว่าไม่ควรสนับสนุนความเชื่อเดิม แล้วสร้างความเชื่อใหม่ที่มีความน่าเชื่อถือมากกว่า หรือ มองเห็นโอกาสในความเชื่อใหม่มากกว่า เช่น ถ้าเรามีความเชื่อใหม่แบบนี้ จะส่งผลให้เรามีโอกาสได้ในสิ่งที่เราต้องการมากกว่า เร็วกว่า

นางสาวกนกรักษ์ มณีโชติ รหัส 6210710062 คณะเภสัชศาสตร์1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องตอบ สำหรับดิฉัน ดิฉันคิดว่าเราทุกคนนั้นต่างมีความเชื่อที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ครอบครัวที่ได้รับการปลูกฝังเลี้ยงดูขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความรู้ ความคิด ประเพณี วัฒนธรรมต่างๆ ศาสนา ความรู้สึกถูกผิด ประสบการณ์ที่แต่ละคนได้รับ ได้พบเจอ ซึ่งเมื่อระยะเวลาผ่านไปเรื่อยๆ ความเชื่อที่ยังคงมีความดีงามอยู่ก็คงอยู่ในรุ่นต่อๆไปเรื่อยๆ เราจะทราบได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีอยู่นั้นถูกต้อง สามารถคิดพิจารณาได้ หากความเชื่อที่เราเชื่ออยู่นั้น ไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน เกิดความทุกข์ใจ ความเชื่อที่เราเชื่อกันอยู่ ก็จะถูกต้องในตัวของมันเอง 2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ “ ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?ตอบ อย่างแรกเลยคือเราต้องตั้งเป้าหมายของตนเองก่อนว่าความเชื่อหรือสิ่งที่เราจะเปลี่ยนแปลงนั้นคือด้านไหน โดยอาจมองผ่านมุมมองของคนอื่นที่สะท้อนถึงตัวเราแล้วจึงเริ่มลงมือปฏิบัติ อย่างที่สองการที่จะเกิดความเชื่อใหม่มาได้นั้น แสดงว่าความเชื่อเก่าที่เรามีอยู่เกิดความหักล้างด้วยบางสิ่งบางอย่างที่ไม่ดี หรือควรที่จะมีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นเราควรที่จะมองกลับมาพิจารณาความเชื่อเก่า โดยมองจากหลายๆแง่มุมมอง หลายๆแง่ความคิด ว่าสิ่งเดิมที่มีอยู่ควรที่จะปรับเปลี่ยนหรือไม่ และเมื่อเห็นว่าสิ่งที่มีอยู่นั้นไม่ดี ดังนั้นในการปรับเปลี่ยนเพื่อสิ่งใหม่ๆก็ควรจะมีความอดทนและเชื่อมั่นในตนเองในการปรับเปลี่ยนสิ่งใหม่ๆ ที่สำคัญคือตัองทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และอย่าลืมให้รางวัลตัวเองบ้างหากเราได้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งใจไว้

นส.นิศริน นิเงาะ เภสัชศาสตร์ 6210712031 กลุ่ม011.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องเราจะเริ่มรับรู้ว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้อง ก็ต่อเมื่อเรามีหลักความคิดที่สมเหตุสมผล มาสนับสนุนความคิดนั้นๆ รวมทั้งประสบการณ์ที่พบเจอ เมื่อความเชื่อนั้นเริ่มเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการดำรงชีวิต ความเชื่อนั้นจะส่งผลให้เกิดความคิดและการกระทำ ซึ่งผลของการกระทำนั้น จะเป็นตัวพิสูจน์ว่า ความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้องหรือไม่2.การเปลี่ยนพฤติกรรม โดยการเปลี่ยนความเชื่อ ต้องมาจากการที่เรารับรู้แล้วว่าไม่ควรสนับสนุนความเชื่อเดิม แล้วสร้างความเชื่อใหม่ที่มีความน่าเชื่อถือมากกว่า หรือ มองเห็นโอกาสมากกว่า ว่าถ้าเรามีความเชื่อใหม่แบบนี้ จะส่งผลให้เรามีโอกาสได้ในสิ่งที่เราต้องการมากกว่า หรือ เร็วกว่า

  1. ความเชื่อเป็นรากเหง้าของความคิด ดังนั้นแต่ละคนจึงมีความคิดที่แตกต่างกันเป็นธรรมดา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความเชื่อนั้นไม่มีถูกไม่มีผิด เพราะมันเป็นเรื่องของเฉพาะบุคคล แต่ด้วยหลักความถูกต้องนั้น ความเชื่อของเราต้องอยู่บนพื้นฐานของความดี เชื่อในสิ่งที่เป็นพลังบวกให้กับเรา และไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น

  2. หากสิ่งที่เราทำเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมที่มาจากความคิด ดังนั้นเราก็ควรปรับเปลี่ยนความคิดใหม่โดยเริ่มจากการคิดในสิ่งที่ถูกต้องและลบความคิดเก่าที่ไม่ดีออกไป เมื่อเราคิดในสิ่งที่ดีก็จะทำให้เราแสดงพฤติกรรมที่ดีออกมา เมื่อเราคิดดีทำดี เราก็จะมีความเชื่อที่ดีและสามารถสร้างความเชื่อใหม่ได้อีกครั้ง จากการเปลี่ยนระบบความคิดที่ผ่านการกลั่นกรองเพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่ดี

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้อง?ตอบ ดิฉันคิดว่าความเชื่อที่ถูกต้องคือ ความเชื่อนั้นอยู่บนพื้นฐานของความมีเหตุมีผล มีน้ำหนักรองรับ ไม่เลื่อนลอย สามารถพิสูจน์ได้และเป็นจริง มีวิจารณญาณในการคิด ไม่งมงายเออออตามบุคคลอื่น เมื่อบุคคลนั้นเห็นว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ทั้งๆที่ตัวเราไม่ได้พิสูจน์ได้ด้วยตนเอง2.ในกรณีที่เราต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้มาแทนที่ความเชื่อเก่าอย่างไรตอบ เปรียบเทียบความเชื่อทั้งแบบใหม่และแบบเก่า ว่าความเชื่อใดเป็นความเชื่อที่ถูกต้องมากกว่ากัน เมื่อปฏิบัติตามความเชื่อทั้งสองแบบแล้วอันไหนให้ผลดีกว่ากันหรือทำแล้วสบายใจมากกว่ากัน หากความเชื่อใหม่นั้นดีกว่าความเชื่อเก่าแล้วความเชื่อใหม่นั้นก็จะเข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่าอย่างอัตโนมัติ แต่หากความเชื่อใหม่นั้นแย่กว่าความเชื่อเก่าก็ไม่รู้จะเลือกความเชื่อใหม่ให้มาแทนที่ความเชื่อใหม่ไปทำไม

ความเชื่อในนิยามของข้าพเจ้าคือ สิ่งที่เราเลือกที่จะเชื่อ หากเป็นความเชื่อที่สามารถพิสูจน์ได้ ตามหลักทางวิทยาศาสตร์ ข้าพเจ้าจะเลือกเชื่อตามหลักและเหตุผลของมัน แต่ในบางสิ่งที่เป็นเรื่องของนามธรรม ไม่สามารถพิสูจน์ได้ จะได้รับการสั่งสอนหรือปลูกฝังจากบุคคลหลายๆบุคคล และนำสิ่งที่ได้รับฟังมา มาคิดวิเคราะห์ และเลือกสิ่งที่จะเชื่อด้วยตนเอง ซึ่งในสิ่งที่เป็นนามธรรมนั้น เนื่องด้วยว่าเป็นสิ่งที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ ความเชื่อของแต่ละบุคคลในสิ่งนี้จึงไม่มีผิดไม่มีถูก หากแต่ว่าสิ่งนั้นจะต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่นและสังคม
1.ในประเด็นที่ว่า เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง ข้าพเจ้าขอแบ่งเป็นหัวข้อ2หัวข้อใหญ่ๆ คือ ความเชื่อที่สามารถพิสูจน์ได้ และ ความเชื่อที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ หากเป็นความเชื่อที่พิสูจน์ได้ เราจะสามารถรู้ได้ว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นถูกต้องได้เมื่อมีการพิสูจน์ตามหลักต่างๆ แต่หากเป็นความเชื่อที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้นั้น เราไม่สามารถบอกได้ว่าแบบไหนถูกหรือแบบไหนผิด จะบอกได้ว่าแค่ว่าผิดอย่างไม่มีข้อกังขาคือ การมีความคิดที่เบียดเบียนต่อผู้อื่นและสังคม
2.ในกรณีที่เราต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้างความเชื่อใหม่ ให้เข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่าได้อย่างไร? หากเป็นความเชื่อที่สามารถพิสูจน์ได้ ถ้าความเชื่อนั้นมีเหตุผลที่สนับสนุนความเชื่อใหม่และสามารถน่าเชื่อถือได้มากกว่า ข้าพเจ้าเลือกที่จะเชื่อความเชื่อใหม่นั้น แต่หากเป็นความเชื่อที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ ข้าพเจ้าจะรับฟังและลองเปิดใจความเชื่อใหม่ๆ หากความเชื่อใหม่นั้น เป็นสิ่งที่มีผลดีและส่งเสริมความคิดของข้าพเจ้าในหลายๆด้านให้ดีขึ้น ข้าพเจ้าเลือกที่จะนำความเชื่อนั้นมาเป็นหลักยึดเหนี่ยวจิตใจต่อไป

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?ตอบ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อของเราถูกต้อง อย่างเเรกการที่เราจะเชื่ออะไรบางอย่าง เราจะต้องมีข้อมูลที่เราได้รวบรวม หรือสิ่งที่เราเจอมารวมถึงการกระทำต่างๆที่เกิดขึ้น นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ดู เเต่ก่อนที่จะวิเคราะห์อะไร เราก็ต้องมีสติไม่ใช้อารมณ์ในการตัดสินปัญหาหรือความเชื่อนั้นไปเลยว่าผิดหรือถูก เมื่อเรา “เชื่อ” แล้วก็ให้ความเชื่อของเรานั้นกำหนด “การกระทำ” ของเรา ซึ่งการกระทำนั้นเองที่จะสร้างความจริง เเต่การกระทำของเราเพียงคนเดียวอาจจะไม่เพียงพอ เราต้องร่วมมือกับเพื่อนมนุษย์คนอื่นด้วย 2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาเเทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?ตอบ สิ่งที่มนุษย์มีอยู่เหนือกว่าสัตว์ คือ ความสามารถที่จะไม่ต้องผูกความเชื่อไว้กับประสบการณ์เท่านั้น เพราะสิ่งที่พวกเรามีอยูเป็นพิเศษ คือ จินตนาการ ที่สามารถนึกคิดหรือคาดหวังในสิ่งที่ยังไม่ได้เป็นจริงได้ และจินตนาการนั้นเองที่เเปรเปลี่ยนไปเป็นความเชื่อได้โดยไม่ต้องอาศัยประสบการณ์จริง การที่เราจะสร้างความเชื่อใหม่ได้ โดยเป็นการคิด ชุดความคิดหรือทัศนคติของตัวเองก่อน เเล้วยอมรับความจริงที่เกิดขึ้นของความเชื่อนั้น เราไม่จำเป็นต้องลบความคิดเก่าๆทั้งหมดออกไป แต่เลือกเก็บชุดความคิดที่นำมาเป็นบทเรียนและนำมาใช้ประโยชน์ ปรับปรุงให้เกิดการพัฒนาในสิ่งนั้นได้ และปัจจุบันเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นสิ่งที่เราจะกระทำหรือทำสิ่งที่ดีหรือไม่ดี การที่เราสร้างความเชื่อใหม่ได้ ก็ทำให้เรามีความคิดที่เป็นผู้ใหญ่มากขึ้น เพราะเราก็จะมีประสบการณ์ข้อมูล ชุดความคิดที่รับเข้ามาอยู่เรื่อยๆ ทำให้ชีวิตของเราเจริญก้าวหน้า ก้าวตามทันผู้อื่นได้นางสาวมนิษา นกคง 6111110256นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ section 01ชั้นปีที่2

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง เราไม่สามรถรู้ได้ว่าความเชื่อของเรานั้นถูกต้องหรือไม่ ที่คิดว่าถูกต้องอาจเป็นเพราะถูกปลูกฝั่งให้จำความเชื่อแบบนั้นมาตั้งแต่เด็ก เมื่อถูกปลูกฝั่งให้เชื่อแบบนั้นมา เราก็จะยึดว่าความเชื่อนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ทั้งที่ความจริงแล้วความเชื่อมีอยู่หลากหลาย ความเชื่อไม่มีถูกหรือผิด เพราะยังไงทุกคนก็เชื่อไม่เหมือนกัน เนื่องจากต่างคนต่างวัฒนธรรม ต่างการเลี้ยงดู ผ่านการปลุกฝังมาไม่เหมือนกัน ดังนั้น เราไม่สามารถตัดสินได้ว่าความเชื่อที่เรามีอยู่นั้นถูกต้อง2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้โดยพฤติกรรมบางอย่างที่เป็นความเชื่อที่ไม่พึงประสงค์ คนรอบข้างก็จะคอยติเรา หรือตักเตือนเราเอง เมื่อเราได้รับการตักเตือน มันจะทำให้เราเกิดความคิดว่าเราต้องเปลี่ยน เปลี่ยนความเชื่อที่ไม่พึงประสงค์ของเราให้มันเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น สิ่งที่สำคัญคือเราต้องยอมรับในความเชื่อเก่าของเราว่ามันไม่ดี และเปิดใจให้ความเชื่อใหม่ได้ เพื่อจะได้ดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข

1.การที่เราจะรู้ว่าความเชื่อที่เราเชื่อนั้นถูกต้องหรือไม่ ดิฉันคิดว่าแต่ละคนมีความเชื่อที่แตกต่างกันไปตามประสบการณ์ที่เราได้พบเจอ ความเชื่อที่ถูกต้องนั้นต้องสามารถพิสูจน์ได้ ไม่งมงาย ไม่ก่อผลเสีย เราอาจต้องหาข้อมูล หาความคิดเห็นของผู้อื่นที่มีต่อความเชื่อ ดูความสมเหตุสมผลและใช้ประสบการณ์ของเราเพื่อมาทำความเข้าใจและพิสูจน์ว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นถูกต้องจริงๆ แต่บางความเชื่ออาจไม่มีข้อพิสูจน์ว่าจริงหรือไม่ บางความเชื่อเราเชื่อเพื่อความสบายใจ ดังนั้นหากความเชื่อนั้นไม่ได้ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนเราก็เพียงแค่เชื่อในแบบของเราและไม่ไปยัดเยียดความเชื่อของเราให้ผู้อื่นก็พอ 2.การที่เราอยากจะเปลี่ยนพฤติกรรม เปลี่ยนความเชื่อเก่า นั่นแสดงว่าเราไม่เชื่อมั่นในความเชื่อเก่าของเราอีกต่อไป ซึ่งการจะยอมรับความเชื่อใหม่จึงกลายเป็นสิ่งที่ง่าย แต่สิ่งที่ยากคือเราจะต้องมั่นใจว่าความเชื่อใหม่ที่จะเข้ามาแทนที่เป็นสิ่งที่ถูกต้อง สมควรที่จะเชื่อถือและยึดมั่น และจะทำให้พฤติกรรมของเราเปลี่ยนแปลงนั้นเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น มีประโยชน์ขึ้นกว่าเดิม

เรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง ? โดยส่วนตัวแล้วนั้น ฉันคิดว่าความเชื่อล้วนมีที่มาจากสิ่งแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรม รวมถึงการเรียนรู้ด้วยตัวเอง และการถูกปลูกฝัง ซึ่งการที่เราจะเชื่อในสิ่งใดเราต้องมีข้อมูลและเหตุผล ที่นำไปสู่ความคิดและพฤติกรรมของเรา โดยข้อมูลนั้นต้องได้รับการตรวจสอบไตร่ตรอง วิเคราะห์ สังเคราะห์และแยกแยะถึงความเป็นเหตุเป็นผลและที่มา แต่โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าความเชื่อของคนเรานั้นไม่มีผิดถูก ตายตัว แต่ต้องเป็นความเชื่อที่นำไปสู่ความคิดและพฤติกรรมที่ไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อนในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง ความเชื่อใหม่ให้เข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่าได้อย่างไรโดยส่วนใหญ่แล้วการเปลี่ยนแปลงล้วนเกิดมาจากความคิดที่ว่า สิ่งเก่านั้นดีแล้วจริงหรือไม่ ซึ่งในทำนองเดียวกันการที่เรานั้นจะเปลี่ยนความเชื่อเราได้นั้น แสดงว่าเราคิดว่าสิ่งที่เชื่ออยู่นั้นดีจริงหรือ ซึ่งการสร้างความเชื่อใหม่สามารถเริ่มได้ด้วยตัวเราเอง โดยเราต้องมองสะท้อนตัวเอง และวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และต้องเปิดใจในการปรับเปลี่ยนความเชื่อ ว่าถ้าเราเปลี่ยนไปเชื่อในอีกทางหนึ่งจะเกิดผลดีกับตัวเรา และจะสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของเราไปในทางที่ดีขึ้นได้หรือไม่ ถ้ามันทำให้ดีขึ้นก็ไม่เสียหายที่เราจะปรับและเปลี่ยนให้ความเชื่อใหม่ๆเข้ามาแทนที่

(1) ความเชื่อนั้นไม่มีถูก ไม่มีผิด เพราะต่างคน ต่างวัฒนธรรม ความคิดและความเชื่อในเรื่องต่างๆย่อมแตกต่างกันออกไป แต่หากอ้างอิงในปัจจุบัน ซึ่งเป็นยุคที่มีความเชื่อที่หลากหลาย ความเชื่อที่ถูกต้อง อาจเป็นความเชื่อที่สามารถอธิบายได้ด้วยหลักของเหตุและผล เป็นความเชื่อที่เมื่อปฏิบัติตามแล้วจะก่อให้เกิดประโยชน์ ซึ่งความเชื่อเหล่านั้นต้องไม่เป็นความเชื่อที่งมงายหรือตั้งขึ้นมาลอยๆ

(2) พยายามทำให้ตัวเองเข้าใจว่าความเชื่อเก่าของเรานั้นเป็นความเชื่อที่ผิด หลักจากนั้นค่อยๆนำความเชื่อใหม่ที่ถูกต้องเข้ามาปรับใช้กับตัวเราที่ละนิด โดยความเชื่อใหม่ต้องไม่เอื้อให้เรากลับไปทำพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ได้อีก หากเราค่อยๆปรับ นำความเชื่อใหม่เข้ามาทีละนิด ในที่สุดความเชื่อแบบเก่าๆที่ผิดก็จะหมดไป

  1. จริงๆแล้วจะบอกว่าความเชื่อของเราที่มีมานั้นถูกต้องแค่ไหนก็คงจะตอบได้ยากนักเพราะไม่มีเกณฑ์อะไรที่ตายตัวและบอกว่าความเชื่อของเราเหล่านั้นถูกต้อง หากแต่ความเชื่อของเรานั้นมีพื้นฐานมาจากสภาพแวดล้อมที่เราอยู่อาศัย การดูแลอบรมสั่งสอนของผู้ปกครอง และอีกสิ่งที่ส่งผลอย่างมากเลยก็คือ วัฒนธรรมของแต่ละสังคมซึ่งแน่นอนว่าค่อนข้างจะแตกต่างกันอย่างชัดเจนและทำให้ความเชื่อของคนเรานั้นแตกต่างกันไปด้วย
  2. ต้องบอกก่อนว่าความเชื่อเก่าที่เรามีมานั้นค่อนข้างจะติดตัวมานานและแก้ยาก การจะแก้เราต้องทำการพิสูจน์ให้เห็นก่อนว่าความเชื่อที่เราเชื่อมาตลอดนั้นผิด แสดงออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรม พอเราเห็นว่ามันผิดแล้วจริงๆเราก็จะเริ่มหาความเชื่อใหม่ๆที่สอดคล้องกับเราและน่าเชื่อถือกว่ามาใช้ ทีนี่ความเชื่อเก่าๆที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของเราก็จะค่อยๆลดลงจนไม่แสดงออกมาและก็จะได้รับความเชื่อใหม่ๆเข้ามาแทนที่
  1. ความเชื่อของเรานั้นบางอย่างอาจเป็นสิ่งที่ถูกก็ได้หากเรามีข้อพิสูจน์ที่บอกได้ว่าความเชื่อนี้จะเป็นจริงได้ แต่สำหรับความเชื่อบางอย่างก็ไม่ได้สามารถบอกได้ว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องได้เพราะเราไม่สามารถวัดความเชื่อที่เรามีกับความเชื่อของคนอื่นได้ แม้เราจะเจอปัญหาหรือเกิดในสถานที่เดี๋ยวกันก็อาจจะมีความเชื่อที่ต่างกัน แต่หากความเชื่อที่สามารถพิสูจน์อาจจะเป็นการเรียนหากเราเชื่อว่าอ่านหนังสือแล้วจะสอบผ่านเราจะมีความพยายามหรือความคิดหาวิธีเพื่อให้อ่านหนังสือแล้วสอบผ่านไปได้ เนื่องจากที่ผ่าน ๆ หากทำด้วยความเชื่อแบบนี้มีโอกาสผ่านและหากเชื่อว่าทำดีที่สุดแล้วเราก็จะไม่เสียใจกับสิ่งที่ทำ แม้ผลจะออกมาอย่างไรก็ตาม
  2. หากต้องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของตัวเองบางอย่างของตัวเองจะสร้างควาเชื่อใหม่แทนความเชื่อเก่าโดยการหาแรงบรรดาลใจหรือแบบอย่างในด้านพฤติกรรมที่เราไม่ดีเพื่อเป็นแรงผลักดันให้เกิดเชื่อใหม่ที่ทำให้เรามีความเชื่อนั้นให้เป็นไปได้ในอนาคต เช่น การที่เราไม่ออกกำลังกายเลย เราอาจจะเชื่อว่าออกกำลังกายมันดีก็จริงแต่เรามีความเชื่อว่าเดี๋ยวค่อยออกก็ได้ไม่เป็นไรหลอก ดังนั้นเราต้องเปลี่ยนใหม่โดยใส่ความเชื่อใหม่ไปว่าหากเรายังรอที่จะไม่ออกกำลังกายร่างกายของเราอาจะไม่แข็งแรงก็ได้ ความตั้งใจที่จะมีหุ่นดี ๆ ก็อาจจะไม่เป็นไปตามที่เราคิดก็ได้ หรือพฤติกรรมด้านการกินอันนี้ก็อร่อยอันนี้ก็น่ากินไปหมด หากเราคิดและเชื่อแบบนี้อาจทำให้เราเป็นโรคอ้วนได้ แต่หากเราคิดใหม่ว่าควรกินอาหารที่มีประโยชน์และพอดีจะทำให้เราปราศจากโรคที่เกิดจากการกินได้

1.ในความคิดเห็นส่วนตันของดิฉัน ความเชื่อเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความสบายใจ ซึ่งความเชื่อนั้นเป็นพื้นฐานของความคิด เมื่อเกิดความคิดต่างๆขึ้น ย่อมแสดงผ่านทางพฤติกรรมทั้งทางกายหรือวาจา โดยความสบายใจนั้นเกิดจากที่เราสบายใจในสิ่งที่ได้เชื่อ ได้คิด และได้ปฏิบัติออกมาตามความเชื่อ เช่น การสวดมนต์ไหว้พระก่อนนอน เราเชื่อว่าหากสวดมนต์ก่อนนอนจะทำให้เรานอนหลับฝันดี ปลอดภัยจากสิ่งอันตรายต่างๆ แม้บางครั้งเราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเป็นความจริงหรือไม่ แต่เราก็ได้ปฏิบัติสิ่งนั้นต่อไปเพราะมันก่อให้เกิดความสงบและความสบายใจ ซึ่งทุกคนมีความเชื่อที่หลากหลายและบางครั้งก็ไม่เหมือนกับความเชื่อของผู้อื่น เช่น ดิฉันเชื่อว่าวันพุธเป็นวันเน่าวันเปื่อย จึงไม่ควรที่จะตัดผมหรือตัดเล็บ แต่ในขณะเดียวกันบางคนบอกว่าสามารถตัดผมหรือตัดเล็บวันพุธได้ อย่างที่ทุกคนทราบว่าความเชื่อส่วนใหญ่ได้ถูกถ่ายทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น บางครั้งก็เป็นความเชื่อหรือค่านิยมส่วนบุคคลที่ปรับเปลี่ยนตามสิ่งแวดล้อมที่ได้อยู่อาศัย หากเราอยากทราบว่าความเชื่อที่มีนั้นถูกต้องหรือไม่นั้น เราจะต้องยอมรับและเปิดใจกับสิ่งใหม่ๆ ไม่ใช่แค่บุคคล แต่รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ โดยเริ่มจากการรับฟังคำแนะนำจากผู้อื่น สังเกตพฤติกรรมหรือการกระทำของบุคคลรอบข้าง แล้วนำกลับมาเปรียบเทียบว่าความเชื่อของเราแตกต่างจากความเชื่อของผู้อื่นอย่างไร และมีความเชื่ออะไรบ้างที่ส่งผลกระทบก่อให้เกิดความเดือดร้อนทั้งตนเองและผู้อื่น ดิฉันคิดว่าความเชื่อที่ถูกต้องจะส่งผลถึงความคิดและพฤติกรรรมที่แสดงออกมา โดยเกิดผลดีต่อตนเองและสังคม และไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับตนเองและผู้อื่น2.จากที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นว่าความเชื่อก่อให้เกิดความคิดและส่งผลต่อการแสดงออกทางการกระทำทางกายและวาจาหรือส่งผลต่อพฤติกรรมนั้นเอง ดิฉันเชื่อว่าทุกการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรม ย่อมเกิดมาจากการกระตุ้นของสิ่งต่างๆรอบๆตัวของเรา ไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือสิ่งแวดล้อม แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าพฤติกรรมที่แสดงออกมานั้นถูกต้อง ซึ่งจะต้องเกิดจากการเปิดใจ ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น คำแนะนำต่างๆ รวมทั้งสังเกตพฤติกรรมของผู้อื่นที่มีต่อพฤติกรรมที่มีมาจากความเชื่อนั้นๆ แล้วนำกลับมาเปรียบเทียบว่า พฤติกรรมที่มาจากความเชื่อของเรานั้นแตกต่างจากพฤติกรรมที่มาจากความเชื่อของคนอื่นอย่างไร และพฤติกรรมนั้นส่งผลให้ตนเองและผู้อื่นเกิดความเดือดร้อนหรือไม่ หากก่อให้เกิดความเดือดร้อนไม่ว่าจะตนเองหรือผู้อื่น จะต้องเกิดการปรับเปรียบพฤติกรรมนั้นเป็นพฤติกรรมที่ไม่เกิดความเดือดร้อนต่อผู้อื่นแทน ซึ่งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจะส่งผลต่อความเชื่อที่มีอยู่ให้เกิดการเปลี่ยนไปเช่นกัน จึงทำให้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของแต่ละบุคคลไม่ใช่เรื่องที่จะทำกันได้ง่ายๆ เพระต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรในการปรับเปลี่ยนความเชื่อ และความคิดที่มีต่อพฤติกรรมนั้นๆ นอกจากจะใช้ระยะเวลาแล้วยังใช้ความตั้งใจและความพยายามเป็นอย่างมากในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในแต่ละพฤติกรรม แต่หากเรารู้ว่าพฤติกรรมนั้นผิดก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะเริ่มปรับเปลี่ยนความคิด ความเชื่อที่มีผลพฤติกรรมนั้นๆ

สำหรับดิฉัน ความเชื่อ คือ สิ่งที่เราให้ความยอมรับและมักจะถูกกำหมดมาจากความคิด ทัศนคติ สภาพแวดล้อมรวมไปถึงเรื่องราวต่างๆที่เราได้พบเจอมา อาจไม่ได้หมายถึงว่า ความเชื่อจะต้องถูกต้องเสมอไป เพราะทุกอย่างล้วนเป็นความรู้สึกของเราเองทั้งนั้น ที่สื่อออกมาให้เห็นถึงมุมมองต่างๆ และความเชื่อของแต่ละคนไม่ได้หมายความว่าจะต้องเหมือนกับคนอื่น คนเรามีรูปแบบการคิด วิเคราะห์ที่แตกต่างกันไม่แปลกที่ความเชื่อจะออกมาในรูปแบบที่แตกต่างกันค่ะ แต่อย่างไรก็ตามที่ต้องขึ้นกับหลักเหตุผลด้วย

  1. แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?โดยส่วนใหญ่แล้วเชื่อว่าความเชื่อของแต่ละคนมีความเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ไม่ซ้ำเหมือนเหมือนคนอื่นทั้งหมด ทั้งนี้เนื่องจากแต่ละคนก็มีพันธุกรรม ลักษณะนิสัย เอกลักษณ์ของตนเอง ทัศนคติ การเลี้ยงดู การศึกษา รวมทั้งสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน ทำให้บุคคลแตละคนนั้นมีความคิดความเชื่อที่แตกต่างกันออกไป แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง แน่นอนว่าไม่สามารถกำหนดกฏเกณฑ์ได้อย่างชัดเจนว่าความเชื่อนั้นผิด ความเชื่อนี้ถูก แต่ทั้งนี้ความเชื่อที่ดีจะต้องตั้งอยู่บนความพอดี ไม่ส่งผลกระทบต่อคนอื่นหรือต่อตนเองในทางที่ไม่ดี ไม่ทำในผู้อื่นเดือดร้อน มีความสมเหตุสมผล เป็นความจริงและมีความถูกต้อง โดยไม่มีอคติ และต้องอาศัยประสบการณ์ต่างๆในการตัดสินใจ เนื่องจากประสบการณ์จะเป็นบทพิสูจน์ความเชื่อเหล่านั้นว่าจะเกิดผลดีหรือส่งผลเสียตามมาเมื่อเรามีความคิดและแสดงพฤติกรรมตามความเชื่อที่เราตั้งไว้

2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?สิ่งสำคัญของความเชื่อที่ไม่พึงประสงค์ ก็จะนำไปสู่ความคิดและพฤติกรรมที่แสดงออกไม่พึงประสงค์ตามไปด้วย ทั้งนี้หากเราต้องการที่จะปรับเปลี่ยนความเชื่อเก่า ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมที่ไม่ดี อาจเริ่มตั้นจากการประเมินหาข้อเสียหรือผลกระทบต่างๆที่อาจเกิดขึ้นหากเรามีการปฏิบัติตามความเชื่อเดิมๆเหล่านั้นต่อไปโดยไม่อคติและยอมรับความจริง มีเหตุผล เมื่อเรามองเห็นถึงผลกระของความเชื่อเก่าแล้วนั้น เราก็สามารถนำความเชื่อเหล่านั้นมาปรับปรุงพัฒนาเพื่อให้มีคุณภาพมากขึ้น โดยอาศัยการเรียนรู้และประสบการณ์ และมาคิดวิเคราะห์และไตร่ตรองเป็นความเชื่อใหม่ที่จะส่งผลีต่อตัวเรา เมื่อเรามีความเชื่อในสิ่งที่ดี เราก็จะมีการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลและนำไม่สู่การปฏิบัติพฤติกรรมที่เหมาะสมในที่สุด

สำหรับดิฉัน ความเชื่อ คือ สิ่งที่เราให้ความยอมรับและมักจะถูกกำหมดมาจากความคิด ทัศนคติ สภาพแวดล้อมรวมไปถึงเรื่องราวต่างๆที่เราได้พบเจอมา อาจไม่ได้หมายถึงว่า ความเชื่อจะต้องถูกต้องเสมอไป เพราะทุกอย่างล้วนเป็นความรู้สึกของเราเองทั้งนั้น ที่สื่อออกมาให้เห็นถึงมุมมองต่างๆ และความเชื่อของแต่ละคนไม่ได้หมายความว่าจะต้องเหมือนกับคนอื่น คนเรามีรูปแบบการคิด วิเคราะห์ที่แตกต่างกันไม่แปลกที่ความเชื่อจะออกมาในรูปแบบที่แตกต่างกันค่ะ แต่อย่างไรก็ตามที่ต้องขึ้นกับหลักเหตุผลด้วย (แก้ไขชื่อ)

1.ความเชื่อที่ถูกต้องอาจจะดูจากเกตุผลที่เข้ากันได้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว วัตรธรรม ศาสนา เช่น ความเชื่อนี้เข้ากันได้กับคำสอนของพ่อแม่ ของคุณครู หรือสิ่งที่เราเคยศึกษา/เล่าเรียนมากรือเปล่าคอดไตร่ตรองจากเหตุผลรอบตัว วิจารณญาณแยกแยะให้ดี2.การที่เราจะเปลี่ยนความเชื่อที่มีมานั้นต้องเริ่มต้นจากใจเราเองก่อน ที่ส่งสัยว่าความเชื่อของเรานั้นผิดหรือเปล่า อาจจะด้วยยุคสมัยเปลี่ยนไป หรือเพราะเจอบุคคลที่มีความเชื่อต่างจากเราแล้วโดนโน้มนาวใจจนเราเอนเอียงจากความเชื่อเดิม หลังจากนั้นจึงจะหาข้อมูลศึกษาเพิ่มเติมเพื่อค้นคว้าว่าสิ่งที่เราเชื่อมาตลอดนั้นจริงแค่ไหน ถ้าเราพบได้ด้วยตนเอง มีหลักฐานที่ตัวเองสามารภเปลี่ยนความเชื่อเดิมได้อย่างสนิทใจ

1.สำหรับตัวดิฉันคิดว่าความเชื่อไม่มีถูกไม่มีผิด ไม่มีกฎตายตัว ไม่มีอะไรบ่งบอกหรือมาตัดสินได้ว่าความเชื่อของเรานั้นถูกต้องหรือไม่ เพราะแต่ละคนต่างมีความเชื่อที่แตกต่างกันไป เช่น บางคนคิดว่าความเชื่อของตนนั้นดี ถูกต้องแน่นอน แต่อีกคนอาจจะเห็นต่างกับความเชื่อนั้น ซึ่งไม่มีอะไรมาสามารถมาตัดสินได้ว่าความเชื่อที่เราเชื่อนั้นถูกต้อง แต่อาจจะรับรู้ได้ว่าความเชื่อของเรานั้นถูกต้อง เพราะแต่ละความเชื่อล้วนมากจากสิ่งแวดล้อม อิทธิพลจากสิ่งรอบข้างของตัวเรามากกว่า การที่จะบอกว่าความเชื่อนั้นถูกต้องหรือไม่ อาจจะมองว่า ความเชื่อของเรานั้นได้ไปทำร้ายใคร หรือส่งผลกระทบทางลบ สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นรึเปล่า ถ้าความเชื่อเราไม่ได้สื่อถึงอย่างที่กล่าวมา ก็ถือว่าความเชื่อนั้นถูกต้อง แต่อาจจะไม่เสมอไป ขึ้นอยู่กับแต่ละสถานการณ์และตัวบุคคลเองด้วย2.ลองมองย้อน และทบทวนเกี่ยวกับพฤติกรรมของตนเองว่า จากการที่เราเชื่อในความเชื่อแบบเดิม พฤติกรรมที่สื่ออออกมามีข้อดี ข้อเสียอย่างไรบ้าง ก่อให้เกิดประโยชน์หรือสร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและผู้อื่นอย่างไร ถ้าเรามองเห็นโทษและจุดด้อยของความเชื่อเดิมแล้วคิดว่าไม่สามารถยึดหลักความเชื่อนั้นได้ตลอดไป เราสามารถเปลี่ยนเป็นความเชื่อใหม่ โดยปรับมุมมองและทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่เราต้องการที่จะแก้ไขพฤติกรรมของเรา สร้างแรงจูงใจเกี่ยวกับความเชื่อใหม่ที่คิดว่าถ้าเราเปลี่ยนความเชื่อใหม่ พฤติกรรมของเราตรงส่วนนั้นจะดีขึ้นมากกว่าเดิม

1.ความเชื่อเป็นสิ่งที่ไม่มีถูกไม่มีผิด บางครั้งความเชื่อที่เราเชื่อมาตลอดว่าเป็นความเชื่อที่ถูกก็อาจจะผิด เเต่ความเชื่อที่เราเชื่อว่ามันผิดอาจจะเป็นความเชื่อที่ถูกก็ได้ ดังนั้นการที่เราจะทราบว่าความเชื่อที่เรามีมาถูกต้องหรือไม่ เราก็ควรมีเหตุผลที่มากพอมารองรับว่าความเชื่อนั้นมีเหตุมีผลมากพอที่จะเชื่อโดยผ่านการไตร่ตรองก่อนเสมอ2.หากเราต้องการเปลี่ยนเเปลงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเราเราก็ควรสร้างความเชื่อใหม่เเทนที่ความเชื่อเก่าให้กับตัวเอง โดยการที่จะทำให้เราเชื่อความเชื่อใหม่เราก็ต้องดูว่าเพราะอะไรเราจึงเชื่อความเชื่อเเบบเก่ามีเหตุผลอะไรที่ทำให้เราเชื่อ ต่อมาเราก็ต้องหาเหตุผลที่ดีกว่าความเชื่อเก่าให้ได้ เเละสร้างเเรงจูงใจให้เราเชื่อว่าความเชื่อใหม่นั้นดีกว่าความเชื่อเก่าสุดท้ายมันก็จะทำให้เราสามารถเปลี่ยนเเปลงพฤติกรรมได้

1.ความเชื่อในที่นี้หมายถึง สิ่งที่มนุษย์ยอมรับว่าเป็นความจริง เป็นสิ่งที่มนุษย์ไว้ใจ ซึ่งมีความเชื่อแตกต่างกันออกไปในแต่ละคน เราไม่มีทางมั่นใจได้เลยว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง แต่สามารถวิเคราะห์ได้จากสิ่งที่บุคคลนั้นได้เรียนรู้และเข้าใจมา เช่น ศีลธรรม จรรยาบรรณ คำสอน ความเข้าใจ เป็นต้น หากพิจารณาสิ่งเหล่านี้ในด้านที่ดี เราก็จะเชื่อว่าสิ่งนั้นดีทำให้เราเชื่อในสิ่งที่ดีๆ แล้วความถูกต้องก็จะตามมา2.สำหรับดิฉัน อันดับแรกที่ต้องทำคือการเปิดใจยอมรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเรา โดยการยอมรับความจริงว่าพฤติกรรมส่วนนี้ของเราดีหรือไม่ดี ควรเปลี่ยนหรือไม่ ต่อมาคือหาข้อดีข้อเสียระหว่างความเชื่อเก่าและความเชื่อใหม่ว่าสิ่งไหนดีกว่ากัน หากดีอยู่แล้วให้คงไว้ หากไม่ดีก็เปลี่ยนความเชื่อนั้น โดยดูว่าสิ่งใดให้ผลกระทบด้านดหรือด้านเสียมากกว่ากัน เช่น ความเชื่อที่ว่าตัดสินคนจากภายนอกซึ่งเป็นความเชื่อที่ไม่ดี ควรเปลี่ยนเป็นการตัดสินคนจากการกระทำหลายๆการกระทำของคนนั้นๆ

1)ฉันคิดว่าความเชื่อไม่มีถูกไม่มีผิด แต่ความเชื่อที่คิดว่าถูกต้องมักมาจากความเชื่อของคนส่วนใหญ่ และในส่วนของตัวเราเอง บางครั้งความเชื่อที่เราว่าถูกต้องอาจเป็นความเชื่อที่ผิดสำหรับคนอื่นๆที่มีความเชื่อที่แตกต่าง เพราะปัจจุบันคนเราเติบมาในครอบครัวที่แตกต่างกัน ต่างการเลี้ยงดูการปลูกฝัง ต่างสิ่งแวดล้อม ต่างประสบการณ์ ทำให้ความเชื่อที่ผ่านมาที่มีมาถึงปัจจุบัน มีความเชื่อที่หลากหลายแตกต่างกัน โดยปกติมนุษย์จะเชื่อและเลือกคิดเลือกทำในสิ่งที่ตัวเองเชื่อว่ามันดีที่สุด สิ่งที่มีความสมเหตุสมผลสามารถพิสูจน์ได้ มีหลักฐานอ้างอิงสนับสนุนที่น่าเชื่อถือ ซึ่งความเชื่อของแต่ละคนนั้นไม่สามารถบอกได้เลยว่าเชื่อแบบไหนถึงจะถูก และเชื่อแบบไหนผิด เราทำได้แค่การคาดเดาหรือดูเหตุผลว่ามีความสมเหตุสมผลน่าเชื่อถือไปในความเชื่อใด สรุปได้ว่า ความเชื่อของคนเราไม่มีถูกไม่มีผิด แม้ความเชื่อจะแตกต่างจากคนอื่น แต่ตัวเราจะรู้ว่าความเชื่อนั้นถูกต้องที่สุด และความเชื่อนั้นต้องไม่ทำให้ผู้อื่นและตัวเองได้รับความเดือนร้อน 2)พฤติกรรมของเราผ่านการคิดมาหลายขึ้นตอน ซึ่งอยู่ภายใต้ความเชื่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทำให้คนเหล่านั้นแสดงพฤติกรรมต่างๆออกมา ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเปลี่ยนความเชื่อได้อย่างทันทีทันใด เราควรมีการตระหนักหรือพิจารณาถึงความเชื่อเก่าที่มีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ว่ามีข้อเสียอะไร จึงทำให้เราเกิดความสำนึกคิด รู้ผิด ตระหนักได้ว่าควรเปลี่ยน “ความเชื่อเก่า” โดยค่อยๆปรับเปลี่ยน เรียนรู้ เมื่อคิดว่ามันดีจะเกิด “ความเชื่อใหม่” และมีการคิดที่ทำให้เกิดพฤติกรรมที่ดี ที่ถูกต้อง เหมาะสม ไม่ทำให้ตัวเองและผู้อื่นเดือดร้อน

  1. เราไม่รู้หรอกว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องหรือไม่ ความเชื่อที่ถูกต้องอาจจะดูจากเหตุผลที่เข้ากันได้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว วัฒนธรรม ศาสนา เช่น ความเชื่อนี้เข้ากันได้กับคำสอนของพ่อแม่ ของคุณครู หรือสิ่งที่เราได้ศึกษาเรียนรู้มา คิดไตร่ตรองจากเหตุผลต่างๆ ใช้วิจารณญาณในการแยกแยะ และถ้าความเชื่อเราไม่ทำให้ใครเดือดร้อนเราก็เชื่อว่ามันถูกต้อง
  2. การกระทำที่ผ่านมา เราสามารถใช้เพื่อมาเป็นเหตุผลมาสนับสนุนสิ่งที่ความเชื่อเก่าว่ามันไม่ดี และหาเหตุผลมาสนับสนุนความเชื่อใหม่ได้ โดยมาจากที่เรามีการสั่งสมประสบการณ์และได้การเรียนรู้สิ่งๆต่างเรื่อยมาหรือหาหลักฐานที่แสดงถึงเป็นความจริงมาเป็นเหตุผลในการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเก่าให้เป็นพฤติกรรมใหม่ได้ เช่น ผลคะแนนสอบ หรือการเปิดใจรับความเชื่อใหม่ๆเข้ามาและการที่เรามองถึงสิ่งที่ดีที่จะเกิดขึ้นกับความเชื่อใหม่ในอนาคตก็จะสามรถช่วยให้เรามีแรงผลักดันและเกิดการเปลี่ยนแปลงความเชื่อได้

1.ความเชื่อของแต่ละคนแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการอบรมสั่งสอน ครอบครัว สิ่งแวดล้อม รวมทั้งวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไป ซึ่งดิฉันคิดว่าความเชื่อไม่สามารถตัดสินได้ว่าถูกหรือผิด เพราะทุกคนสามารถมีความเชื่อที่แตกต่างกัน แต่ในความเชื่อนั้นต้องไม่ส่งผลกระทบต่อผู้อื่นหรือทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน2.เราต้องพิจารณาว่าพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเรานั้น ส่งผลกระทบต่อผู้อย่างไร และมีสาเหตุมาจากการที่เราเชื่อสิ่งใด โดยพิจารณาด้วยใจที่เป็นกลาง ยอมรับความจริง เมื่อทราบแล้วก็หาหลักฐานโดยการรับฟังความคิดเห็นหรือคำแนะนำของผู้อื่น หาข้อมูลหรือนำประสบการณ์ที่ผ่านมา นำมาปรับปรุง พัฒนา ความเชื่อเก่าที่ส่งผลถึงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ และแก้ไขให้ก่อเกิดเป็นความเชื่อใหม่พร้อมด้วยพฤติกรรมที่ดีขึ้น

1.เรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีอยู่นั้นถูกต้อง ก่อนอื่นเลยต้องบอกก่อนว่า สำหรับดิฉันแล้วดิฉันคิดว่า ปัจจุบันสังคมของเรามีผู้คนมากมาย มากหน้าหลายตา ล้วนแล้วแต่มากันคนละทิศคนละทางดังนั้นแล้ว ไม่ใช่เป็นเรื่องที่หน้าแปลกเลยทุ่กคนล้วนมีควมเชื่อที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละคน เช่น บางคนอาศัยอยู่ในภาคอีสานก็จะมีความเชื่อเกี่ยวกับพญานาคหรือบั้งไฟพญานาค ซึ่งความเชื่อเหล่านี้เป็นความเชื่อที่ชาวอีสานในอดีต และปัจจุบันยังคงได้สืบทอดรุ่นต่อรุ่นกันมา ความเชื่อก็ยังคงมีอิทธิพลในการดำเนินชีวิตของเขาเหล่านั้นอีกด้วย ซึ่งเราจะเห็นว่าในสังคมปัจจุบัน ยอมรับและปฎิบัติกัน ส่วนความเชื่อที่เรามีอยู่นั้นมันจะถูกหรือผิด มันก็คิดอยู่ในแต่ละบุคคล สำหรับดิฉันแล้วความเชื่อไม่มีถูกไม่มีผิดดิฉันคิดว่าเราควรเชื่อในความเชื่อที่ให้ประโยชน์แก่ตัวเองและผู้อื่น และไม่ควรเชื่อความเชื่อที่ให้โทษตัวเองและผู้อื่น2.ในกรณีที่เราต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ ความเชื่อใหม่ ‘’ ให้เข้ามาแทนที่ ‘’ ความเชื่อเก่า ‘’ ได้อย่างไร ? สำหรับดิฉันแล้วดิฉัน คิดว่าหากเราทุกคนมีความเชื่อเก่าเป็นของตัวเองอยู่แล้วนั้น เราควรเปิดรับแนวคิดความเชื่อใหม่ๆเข้ามาบ้าง โดยบ้างครั้งการที่เรารับความเชื่อใหม่เข้ามาไม่จำเป็นว่ามันต้องมาหักลบกลบกับความเชื่อเก่าที่เรามีอยู่จนหมด เพียงแค่เราทักคนควรเปิดรับความคิดให้กว้างออกไป มองหาสิ่งใหม่ๆเข้ามาบ้าง สิ่งต่างๆที่อยู่ในมุมมองอื่นๆ เปิดรับความรูใหม่ๆ โดยใช้กระบวนการคิดและวิเคราะห์ว่าสิ่งไหนที่ได้มาจากการฟัง หรือความเห็นนั้นว่าถูกต้องหรือมีส่วนไหนผิดเพี้ยนไปบ้าง บางครั้งเราควรให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ในการตัดสินใจการเปลี่ยนแปลงความเชื่อในครั้งนี้

1.ลองสังเกตความคิดและพฤติกรรมของเรา เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนมีต้นตอมาจากความเชื่อ ถ้าหากความคิดและพฤติกรรมของเราที่แสดงออกมา ทำให้คนรอบข้างได้รับความเดือดร้อน รวมไปถึงตนเองด้วย แสดงว่านั้นอาจเป็นความเชื่อที่ผิด แต่ถ้าความคิดและพฤติกรรมที่เราแสดงออกมา ทำให้เกิดผลดีต่อคนรอบข้างและตนเอง แสดงว่านั้นอาจเป็นความเชื่อที่ถูกต้อง นอกจากนี้แล้วยังต้องศึกษาจากสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบข้างควบคู่ไปด้วย เนื่องจากยุคสมัยมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ความเชื่อก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน2.เราต้องรู้ตนเองก่อนว่า พฤติกรรมไหนของเราที่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน และหาสาเหตุไปถึงความเชื่อว่า อะไรที่ทำให้เราเชื่อแบบนั้นและแสดงพฤติกรรมแบบนั้นออกมา และยอมรับในความเชื่อที่ผิดๆ พร้อมที่จะแก้ไข ปรับปรุงพฤติกรรมเหล่านั้น และเปิดใจตนเองค่อยๆปลูกฝังความเชื่อที่ถูกต้อง โดยปราศจากอคติเดิม พร้อมทั้งปรับปรุงพฤติกรรมของตนเองควบคู่ไปด้วย โดยให้นึกถึงความเดือดร้อนที่ผู้อื่นได้รับจากพฤติกรรมเดิมของเรา สิ่งนี้จะช่วยให้เราตระหนักและเห็นถึงความสำคัญในการเปลี่ยนแปลงความเชื่อและพฤติกรรมเดิมๆของเรา

6110410101 ชั้นปีที่2 คณะพยาบาลศาสตร์ 1.เรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ถ้าเราจะมีความเชื่อที่ถูกต้อง เราต้องรู้จักสิ่งที่ถูกต้อง ไม่ใช่เพียงแต่รู้จักสิ่งที่ผิดเท่านั้น ดิฉันเชื่อว่าความเชื่อที่ถูกต้องคือการนำความเชื่อนั้นมาปฏิบัติหรือแสดงออกโดยที่ไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน ไม่ส่งผลเสียต่อส่วนรวมและต่อตนเอง ความเชื่อของคนเรานั้นถูกปลูกฝังมาจากพ่อแม่ สัญชาตญาณ และจากการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ รวมทั้งประสบการณ์ที่พบเจอด้วยตนเอง หากเรานำสิ่งเหล่านี้มาปฏิบัติในทางที่ถูกต้อง ไม่เบียดเบียนผู้อื่นก็ถือว่าเป็นความเชื่อที่ดีแล้วค่ะ แล้วเราจะมีชีวิตที่เต็มไปด้วยความชื่นชมยินดีได้เสมอ 2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? ดิฉันคิดว่าการพิจารณาตนเองเป็นอันดับแรกว่าความเชื่อเดิม ส่งผลเสียอะไรกับตนเองและผู้อื่นบ้าง เราควรคำนึงถึงสิ่งที่เรากระทำและสร้างประโยชน์หรือสร้างความเสียหายต่อเพื่อนมนุษย์ และเราควรเปิดใจยอมรับความเชื่อใหม่ๆ ที่มีการพิสูจน์จนเป็นที่ยอมรับ และต้องพิจารณาด้วยความรู้ว่าความเชื่อใหม่นั่นสามารถแทนที่ความเชื่อเดิมได้ และเมื่อเราปฏิบัติตามความเชื่อใหม่จะส่งผลให้เรามีชีวิตที่ดีกว่าเดิมได้ และสุดท้ายดิฉันข้อสรุปว่าความเชื่อและการกระทำล้วนมาจากจิตใจสำนึก ไม่ว่าเราจะรู้สึกตัวหรือไม่ก็ตาม พฤติกรรมของเราที่ทำอยู่คือความเชื่อของเรา เราทำตามที่เราเชื่อ เราไปทำงานเพราะเราเชื่อว่าเราจะเดินทางไปถึงที่อย่างปลอดภัยและเชื่อว่าการงานที่ทำจะสำเร็จด้วยดี เรารับประทานเพราะเชื่อว่าในอาหารไม่มียาพิษและเชื่อว่าให้ประโยชน์ต่อร่างกายของ ให้เราจินตนาการถ้าเราไม่มีความเชื่อมีแต่ความสงสัย เราจะไม่กล้าทำอะไร ไม่กล้าไปไหน ไม่กล้ากินอะไร ความเชื่อและการกระทำทำงานคู่กันเสมอ

1.เรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ถ้าเราจะมีความเชื่อที่ถูกต้อง เราต้องรู้จักสิ่งที่ถูกต้อง ไม่ใช่เพียงแต่รู้จักสิ่งที่ผิดเท่านั้น ดิฉันเชื่อว่าความเชื่อที่ถูกต้องคือการนำความเชื่อนั้นมาปฏิบัติหรือแสดงออกโดยที่ไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน ไม่ส่งผลเสียต่อส่วนรวมและต่อตนเอง ความเชื่อของคนเรานั้นถูกปลูกฝังมาจากพ่อแม่ สัญชาตญาณ และจากการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ รวมทั้งประสบการณ์ที่พบเจอด้วยตนเอง หากเรานำสิ่งเหล่านี้มาปฏิบัติในทางที่ถูกต้อง ไม่เบียดเบียนผู้อื่นก็ถือว่าเป็นความเชื่อที่ดีแล้วค่ะ แล้วเราจะมีชีวิตที่เต็มไปด้วยความชื่นชมยินดีได้เสมอ 2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? ดิฉันคิดว่าการพิจารณาตนเองเป็นอันดับแรกว่าความเชื่อเดิม ส่งผลเสียอะไรกับตนเองและผู้อื่นบ้าง เราควรคำนึงถึงสิ่งที่เรากระทำและสร้างประโยชน์หรือสร้างความเสียหายต่อเพื่อนมนุษย์ และเราควรเปิดใจยอมรับความเชื่อใหม่ๆ ที่มีการพิสูจน์จนเป็นที่ยอมรับ และต้องพิจารณาด้วยความรู้ว่าความเชื่อใหม่นั่นสามารถแทนที่ความเชื่อเดิมได้ และเมื่อเราปฏิบัติตามความเชื่อใหม่จะส่งผลให้เรามีชีวิตที่ดีกว่าเดิมได้ และสุดท้ายดิฉันข้อสรุปว่าความเชื่อและการกระทำล้วนมาจากจิตใจสำนึก ไม่ว่าเราจะรู้สึกตัวหรือไม่ก็ตาม พฤติกรรมของเราที่ทำอยู่คือความเชื่อของเรา เราทำตามที่เราเชื่อ เราไปทำงานเพราะเราเชื่อว่าเราจะเดินทางไปถึงที่อย่างปลอดภัยและเชื่อว่าการงานที่ทำจะสำเร็จด้วยดี เรารับประทานเพราะเชื่อว่าในอาหารไม่มียาพิษและเชื่อว่าให้ประโยชน์ต่อร่างกายของ ให้เราจินตนาการถ้าเราไม่มีความเชื่อมีแต่ความสงสัย เราจะไม่กล้าทำอะไร ไม่กล้าไปไหน ไม่กล้ากินอะไร ความเชื่อและการกระทำทำงานคู่กันเสมอ

นางสาวกนิษฐา กังสวร ชั้นปีที่2 คณะพยาบาลศาสตร์ รหัส6110410002 sec 031.ความเชื่อส่วนใหญ่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษซึ่งมีมานานแล้ว ซึ่งความเชื่อที่เกิดขึ้นมีทั้งที่ถูกและผิด แต่ความเชื่อส่วนใหญ่เกิดจากการที่พยายามคิดหาวิธีการที่จะก่อให้เกิดในทางที่ดีและเกิดความสุขให้กับตนเอง ความเชื่ออาจจะขัดกับหลักความเป็นจริงแต่ดิฉันมองว่าหากความเชื่อนั้นส่งผลดีและสังคมยอมรับก็ถือว่าเป็นความเชื่อที่ถูกต้อง2. การที่เราจะเปลี่ยนความเชื่อในสิ่งหนึ่ง ดิฉันมองว่า ความเชื่อเก่าที่มีอยู่ต้องส่งผลเสียต่อเราหรือมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นจึงทำให้เราเกิดความคิดที่จะเปลี่ยนความเชื่อนั้น ซึ่งถ้าจะเปลี่ยนความเชื่อใหม่นั้นต้องส่งผลดีมากกว่าความเชื่อเดิมที่มีอยู่ และหากความเชื่อใหม่เป็นสิ่งที่ดีและถูกต้องและสังคมยอมรับเราก็สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ได้จากความเชื่อใหม่ที่ส่งผลดีตามมา

นางสาวรสสุคนธ์. พรมนุ้ย 6110410081 คณะพยาบาลศาสตร์. 1.เรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?ตอบ ความเชื่อแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดู วัฒนธรรมแต่ละท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อม-รอบตัว หรืออาจจะเกิดจากประสบการณ์ที่เราเจอมา ซึ่งเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกหรือผิด เนื่องจาก เราอาจจะเห็นหรือได้ยินความเชื่อเหล่านั้นจากผู้ใหญ่ หรือคนมักจะพูดต่อกันมาจนเราเกิดความเคยชินกับความเชื่อเหล่านั้นจนเราไม่รู้เลยว่าความเชื่อที่เรามีมาตลอดนั้นถูกหรือผิด และเราก็ยินดีที่จะปฏิบัติตามความเชื่อที่เรามี ซึ่งเป็นการสร้างความสบายใจให้กับตัวเองและคนรอบข้าง และการที่เราได้ยิน ความเชื่อ เราควรที่จะคิดไตร่ตรองให้ดี ว่าทำไมสิ่งนั้นจึงกลายเป็นความเชื่อและคนส่วนใหญ่เขามีความเชื่อกัน ควรนำความเชื่อมาวิเคราะห์หาเหตุผลที่มันสนับสนุนความเชื่อเหล่านั้น ซึ่งอาจจะมีเหตุการณ์ที่บังเอิญเกิดขึ้นตรงกับความเชื่อเหล่านั้นจนเกิดเป็นความเชื่อที่ทำให้เรามีตลอดมา แต่เมื่อเวลาผ่านไป ยุคสมัยมีความทันสมัยมากขึ้น บางความเชื่อนั้นก็อาจจะถูกผ่านการพิสูจน์ตามยุคสมัยและประสบการณ์ต่างๆที่เรามีและเราอาจจะรู้ได้ว่าความเชื่อนั้นถูกหรือ ผิด โดยการที่เราใช้ชีวิตตามความเชื่อ แล้วส่งผลกระทบให้ผู้อื่นและตนเองเดือดร้อน ซึ่งในลักษณะนี้ดิฉันคิดว่าความเชื่อนั้นก็อาจจะผิด. 2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?ตอบ อันดับแรกคือเราต้องเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์จากตัวเองก่อน โดยอาจจะเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมโดยเริ่มจากความคิดและการกระทำของเราก่อนและเปิดใจให้กับความเชื่อใหม่ เปิดใจยอมรับกับเหตุผลต่างๆของความเชื่อใหม่ อย่าปิดกั้นความคิดและอยู่กับความเชื่อเดิมๆและหาข้อเสียหรือมุมต่างของ ความเชื่อเก่ากับความเชื่อใหม่เพื่อมาสนับสนุนว่าทำไมเรา ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านั้นโดยการสร้างความเชื่อใหม่และ กำหนดเป้าหมายที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมให้ชัดเจน หนักแน่นกับความเชื่อใหม่ ค่อยๆนำความเชื่อ ใหม่เข้ามาใช้ทีล่ะน้อย เพราะทำให้เราได้รู้ด้วยว่าความเชื่อใหม่นั้นเข้ามามีผลต่อการเปลี่ยนพฤติกรรมหรือไม่อย่างไร

นางสาวรุสยา ขุนหลัด 6110410085 คณะพยาบาลศาสตร์ sec. 03

1 เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าความเชื่อที่เรามีน้ำถูกต้อง
ต้องเกิดจากการที่เราเห็น และมีหลักฐาน ประจักษ์อย่างชัดเจน ถึงจะทำให้เชื่อว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ยกตัวอย่างง่ายๆก็คือ ความเชื่อในเรื่องการอ่านหนังสือสอบแล้วผลการเรียนจะดีขึ้น เพราะฉันเคยลองปฏิบัติมากับตัวแล้ว และมันก็เป็นเช่นนั้น แต่อย่างไรก็ตาม ความทุกข์คิดในเรื่องความเชื่อนี้ ไม่มีใครสามารถกำหนดความถูกผิด ให้แก่ความเชื่อต่างๆได้ เพราะความเชื่อเกิดขึ้นจากต่างบุคคล ต่างสังคมต่างวัฒนธรรม ซึ่งแต่ละที่ ล้วนมีความเชื่อที่แตกต่างกันไป ความเชื่อที่เราคิดว่าถูกต้องบางสถานที่อาจว่าผิดก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นแล้ว เมื่อเรามีความเชื่อ แล้วก่อให้เกิดความคิดส่งผลให้เราปฏิบัติพฤติกรรมออกมา พฤติกรรมที่เราแสดงออกมาควรไม่เป็นภัยไม่ส่งผลร้ายแก่คนรอบข้างควรเป็นพฤติกรรมที่เป็นประโยชน์ และสิ่งสำคัญที่สุด เมื่อต่างคนต่างมีความเชื่อที่แตกต่างกันเราอยู่ร่วมกัน เราจึงควรเคารพในความเชื่อของกันและกัน จะทำให้เราสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุข
2 ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ บางอย่างของเราเราจะสร้างความเชื่อใหม่ให้เข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่า ได้อย่างไร
เมื่อพิจารณาที่ถ้วนแล้ว พฤติกรรมที่ปฏิบัติอยู่ไม่พึงประสงค์ และไม่ก่อให้เกิดผลดีกับเราและคนรอบข้างจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนความเชื่อทัศนคติ ที่ผิดๆเหล่านั้น โดยเริ่มจากการสืบค้นความรู้ ว่าความเชื่อที่ถูกต้องควรเป็นแบบไหน ถึงจะส่งผลให้เกิดพฤติกรรมที่ถูกต้องได้ เช่นพฤติกรรมการนอน การนอนดึกที่ฉันปฏิบัติตลอด ไม่เป็นผลดีกับฉันแม้แต่น้อย เมื่อฉันได้ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการนอน ปรากฏว่า ความเชื่อที่ฉันมีมานั้น มันผิดทั้งหมด ความเชื่อที่ถูกต้องคือ ควรนอนเร็วๆ แล้วตื่นเช้าๆ เพราะการนอนเร็วจะทำให้ โกรทฮอร์โมน หลังส่งผลให้เราโตดี ฉันเลยเปลี่ยนพฤติกรรมการนอน จากนอนดึกตื่นสาย กลายเป็นนอนเร็วและตื่นเช้า เมื่อตื่นเช้า ฉันจึงมีเวลาทำอะไรต่างๆมากมายเช่นรับประทานอาหารเช้า หรือได้ออกกำลังกาย สืบเนื่องจากการหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆที่น่าเชื่อถือ และโชคดีที่ได้มาเรียนพยาบาล จึงทำให้ฉันได้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้ด้วย
  1. จากคำถามที่ถามว่าเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง ในความคิดส่วนตัวคิดว่าการที่เราจะมีความเชื่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งนั้นมันจะต้องมีที่มาของความเชื่อนั้นอาจจะมาจากการปลูกฝังจากพ่อ แม่ บรรพบุรุษ คำสั่งสอน หรือมาจากประสบการณ์ที่เราได้ทำได้พบเห็น ซึ่งความเชื่อในแต่ละคนก็จะแตกต่างกันไปตามความคิด ตามมุมมองของตัวเอง โดยในส่วนที่จะให้เราบอกว่าความเชื่อของเรานั้นถูกต้องเสมอไปอาจจะไม่ใช่ทั้งหมดเพราะความเชื่อที่เรามีทั้งที่เราสามารถพิสูจน์ให้เห็นได้และไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นได้ เช่น ความเชื่อที่ว่าถ้าเราออกกำลังกายกินผักและผลไม้ กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ จะทำให้ร่างกายเราแข็งแรงไม่เป็นโรคต่างๆ ซึ่งความเชื่อนี้ก็สามารถพิสูจน์ได้โดยเราจะเห็นตามงานวิจัยต่างๆ หนังสือต่างๆที่เราอ่านพบตามที่เขาพิสูจน์เรื่องนี้กัน แต่ความเชื่อบางความเชื่อเราก็ไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นได้ เช่น ความเชื่อที่ว่าถ้าเราทำความดีตายไปจะได้ขึ้นสวรรค์ ถ้าเราทำความชั่วตายไปจะตกนรก ซึ่งความเชื่อนี้เราไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นได้ว่าคนที่ทำดีตายไปเขาจะได้ไปสวรรค์จริงๆหรือคนที่ทำชั่วตายไปเขาจะได้ไปนรกจริงๆ แต่ความเชื่อนี้ก็ทำให้เรารู้จักคิดก่อนที่จะทำอะไร รู้จักยับยั้งตัวเองไม่ให้ทำในสิ่งไม่ดี ถึงแม้เราจะไม่รู้ว่าความเชื่อที่เรามีนั้นจะเป็นจริงไหมแต่เราก็เลือกที่จะปฏิบัติตามสิ่งนั้นเพราะคิดว่าดี ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าความเชื่อของเรานั้นไม่มีผิดไม่มีถูกเสมอไปแต่อยู่ที่ว่าเราจะคิดยังไงกับความเชื่อนั้น
  2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร ในการเปลี่ยนความเชื่อเก่าที่เรามีอยู่แล้วนั้นให้เป็นความเชื่อใหม่ อาจจะใช้เวลานานพอสมควรเพราะเราคิดที่จะเชื่อความเชื่อเก่าไปแล้ว แต่ถ้าเราคิดที่จะเปลี่ยนความเชื่อเก่านั้นเป็นความเชื่อใหม่ เราอาจจะเริ่มจากการที่เราเปลี่ยนมุมมองเปลี่ยนแนวคิด ลองหาเหตุผล หาข้อดีต่างๆในความเชื่อใหม่นั้นว่ามีอะไรบ้างที่มีประโยชน์กับเราถ้าเราเปลี่ยนความเชื่อแบบเก่าเป็นแบบใหม่ไปแล้วเราจะได้อะไรจากการเปลี่ยนความเชื่อนั้น
  1. แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง ?ความเชื่อ คือ การยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริงหรือเป็นสิ่งที่เราไว้ใจ ความจริงหรือความไว้วางใจที่เป็นรูปของความเชื่อนั้น ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นความจริงที่ตรงตามหลักเหตุผลหรือหลักวิทยาศาสตร์ใดๆ และดิฉันก็คิดคนทุกคนล้วนมีความเชื่อเป็นของตัวเอง แล้วแต่ว่าแต่ละคนเลือกที่จะเชื่อแบบไหน ความเชื่อไม่มีถูกมีผิด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะไม่มีความเชื่อผิดๆ ความเชื่อต้องอยู่บนหลักความจริง ไม่ใช่เชื่อจนลืมหูลืมตา ไม่คิดถึงหลักความจริง ความเชื่อบางอย่างเพียงแค่เราเลือกที่จะไม่เชื่อ ไม่ศรัทธามันก็จะทำให้ความเชื่อนั้นไม่มีความหมาย แต่สำหรับดิฉันความเชื่อ คือ สิ่งที่เราเลือกที่จะเชื่อ เลือกที่จะทำตามในสิ่งที่เราเชื่อบนหลักของความเป็นจริง เพื่อความสบายใจ ความเชื่อบางอย่างมันอาจจะพิสูจน์ไม่ได้ว่าถูกต้องหรือไม่ หรือความเชื่อบางอย่างอาจจะมีการพิสูจน์แล้วว่าถูกต้อง แต่เมื่อเวลาเปลี่ยนแปลงไป ความเชื่อเหล่านั้นอาจจะเปลี่ยนไปก็ได้ คำว่าความเชื่อ ถ้าคนจะเชื่อยังไงมันก็เชื่อ มันจะไม่มีอะไรมาขัดขวางความเชื่อเราได้ ไม่ว่ามันจะถูกหรือผิด ถ้าเราเลือกที่จะเชื่อแล้วไม่ได้เดือดร้อนผู้อื่น ดังนั้นความเชื่อเราควรเลือกในสิ่งที่เชื่อแล้วสบายใจและไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อนแม้ว่ามันจะถูกหรือผิด เหมือนกับตัวดิฉันที่เชื่อเรื่องเวรกรรม ใครทำดีก็จะได้ดี ใครทำชั่วก็จะชั่ว
  2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? ความเชื่อซึ่งเป็นรากเหง้าของความคิด หากเรามีความเชื่ออย่างไรก็จะส่งผลให้เราคิดย่างนั้นและแสดงพฤติกรรมตามความคิดออกมา สิ่งสำคัญของความเชื่อที่ไม่พึงประสงค์ ก็จะนำไปสู่ความคิดและพฤติกรรมที่แสดงออกไม่พึงประสงค์ ทั้งนี้หากเราต้องการที่จะปรับเปลี่ยนความเชื่อเก่า ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมที่ไม่ดี โดยเราต้องเริ่มจากตัวเราเอง ต้องปรับเปลี่ยน Mindset ก่อนการเปลี่ยนและปรับ Mindset ต้องใช้หลายองค์ประกอบ และระยะเวลานานกว่าจะเห็นผลของการเปลี่ยนแปลง เพราะว่ามันเป็นของที่ติดตัวเราๆ มาตั้งแต่จำความได้ จนผ่านแต่ละช่วงของชีวิต ที่หล่อหลอมให้เราเป็นตัวตนแบบ ปัจจุบัน ที่เรามี กระบวนการทางความคิด มุมมอง ความชอบ นิสัย การจัดลำดับความคิด การจัดลำดับความสำคัญ และทัศนคติในแบบของเราเอง ทุกสิ่งในหัวใจเราเลือกเอง มิว่าความสุขและความทุกข์ล้วนเกิดขึ้นจากหัวใจเรา คนอื่นและสิ่งรอบข้างเป็นเพียงปัจจัยภายนอกที่กระตุ้นเท่านั้น แต่เราเลือกเองว่าเราจะรู้สึก นึก และคิดอย่างไร โดยขึ้นอยู่กับมุมมองหรือความเชื่อที่เรามีหากเราเชื่อว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับเรา แม้เลวร้ายปานนี้ก็เป็นครู หรือเห็นความเป็นธรรมชาติที่มีเสื่อม มีทุกข์ และไม่แน่นอน หัวใจเราก็สงบลงและพร้อมเติบโตกับบาดแผลที่เกิด ไม่มีใครเลือกให้เราได้ มีแค่คนๆ เดียวเท่านั้นที่เลือกให้เราคือเราเอง แว่นที่เราสวมใส่ในชีวิตประจำวัน เราเองก็เป็นผู้หยิบสวม ดังนั้นจะเปลี่ยนก็ต้องคิดใหม่เชื่อใหม่ในสิ่งที่ดีมั่นใจในตัวเองและก็จะแสดงพฤติกรรมใหม่ๆที่ดีออกมาเอง

1.”แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง” ความเชื่อเป็นสิ่งที่มนุษย์ไว้วางใจ ยึดถือว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ทั้งนี้ยังขึ้นอยู่กับค่านิยมของคนในสมัยนั้นๆและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ซึ่งการที่มนุษย์จะเชื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งย่อมมาจากการถ่ายทอดของคนส่วนใหญ่ ที่สืบทอดจากการเล่าต่อกันมา เมื่อเวลาผ่านไปมนุษย์ย่อมมีการพัฒนาการที่มากขึ้น ส่งผลให้ความเชื่อเหล่านั้นมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นเพื่อให้เข้ากับยุคสมัยนั้นๆ แต่ยังคงไว้ของรากเหง้าเดิม นอกจากนี้ความเชื่อยังมีมากมายนับไม่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี บาปบุญคุณโทษ และเวรกรรม ที่ล้วนจะสอนให้คนเป็นคนดี มุ่งเน้นการกระทำที่ถูกต้อง ไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีงาม และกฏหมายบ้านเมือง เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่ากว่าจะตกผลึกเป็นความเชื่อนั้นต้องผ่านกระบวนการขัดเกลาที่เห็นแล้วว่าเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่นึกคิดตาม และมีความถูกต้องอยู่ด้วย2.”ในกรณีที่เราต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่าง เราจะสามารถสร้างความเชื่อใหม่ เข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่า ได้อย่างไร” ก่อนที่เราจะเปลี่ยนแปลงความเชื่อนั้น เราต้องหาสาเหตุก่อนว่าทำไมจึงเปลี่ยน เป็นเพราะมันส่งผลให้เรากระทำการที่ไม่ดี ดังนั้นเมื่อเรารู้แล้วว่าเราประพฤติไม่ดีตรงไหน เราก็จะสามารถนำข้อเสียนั้นมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีกว่าเดิมได้ แล้วสังเกตุผลตอบรับของมันว่าออกมาดี เป็นที่น่ายอมรับได้ขนาดไหน เมื่อเราเล็งเห็นแล้วว่าพฤติกรรมที่เราเปลี่ยนแปลงนั้นดีขึ้น ก็จะนำไปสู่ความเชื่อที่ว่า การกระทำแบบนี้ อย่างนี้ ส่งผลให้เราเป็นไปตามพฤติกรรมเหล่านี้ และเป็นพฤติกรรมในทางที่ดี ที่ถูกต้อง ส่งผลให้เรานั้นยอมรับความเชื่อใหม่ และแทนที่ความเชื่อเก่าได้ในที่สุด

นาย กูอิรฟาณ อับดุลบุตร6210311019 คณะแพทยศาสตร์ สาขากายภาพบำบัด sec 03

1 ) แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง ?ตอบ ความเชื่อที่เรามีมานั้นย่อมมาจากความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมาหากจะมีแค่ความเชื่อที่มาจากจิตใต้สำนึกนั้นอาจจะไม่มีความถูกต้อง 100 % เนื่องจากความเชื่อที่มาจากจิตใต้สำนึกนั้นอาจมาจากประสบการณ์ หรือความเชื่อที่มีมาแต่ก่อนเป็นต้น2 ) ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร ?ตอบ ยอมรับในความเชื่อใหม่ที่มีความหนักแน่นมากกว่าอาจจะไม่ได้รับความเชื่อใหม่นั้นมาเลยแต่จะเป็นการค่อยๆยอมรับทีละนิดพร้อมทั้งหาเหตุผลประกอบไปพลาง

  1. แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? เราแต่ละคนต่างก็มีความคิด ความเชื่อ และพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไปในเรื่องต่างๆ ขึ้นอยู่กับหลายสิ่งหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อม หรือ บุคคลรอบๆตัวเรา แต่การที่จะเชื่อในสิ่งนั้นๆเราไม่ควรที่จะเชื่อโดยที่ยังไม่ได้พิสูจน์ ควรที่จะคิดวิเคราะห์ หาข้อมูลที่ถูกต้องและได้รับการพิสูจน์แล้ว เพื่อนำความเชื่อที่ถูกต้องมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน รวมถึงอาจจะเรียนรู้จากประสบการณ์ในการดำเนินชีวิต รู้จักคิดวิเคราะห์แยกแยะว่าสิ่งไหนควรปฏิบัติหรือไม่ควรปฏิบัติ

  2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? พยายามปรับเปลี่ยนตัวเอง ปรับความคิด ความเชื่อในเรื่องนั้นๆให้ถูกต้องและเหมาะสม ประพฤติปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามความเชื่อนั้นๆ และไม่ยึดติดกับความเชื่อเดิมๆที่ผิด เพื่อเราจะได้มีความคิดที่ถูกต้อง มีทัศนคติที่ดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เรามีความคิดที่ดี ที่ถูกต้องสมควร และมีพฤติกรรมที่ดี ไม่ทำให้ใครเดือดร้อนอีกด้วย และคิดถึงผลดีที่จะตามมาหากเราสามารถเปลี่ยนแปลงความเชื่อที่ผิดๆนั้นได้ รวมถึงถ้าเรายังมีความเชื่อที่ไม่พึงประสงค์ อาจจะส่งผลเสียอีกมากมายในอนาคตที่อาจเกิดขึ้นกับตัวเราเองและคนรอบๆตัวเราด้วย

  1. แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? เราแต่ละคนต่างก็มีความคิด ความเชื่อ และพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไปในเรื่องต่างๆ ขึ้นอยู่กับหลายสิ่งหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อม หรือ บุคคลรอบๆตัวเรา แต่การที่จะเชื่อในสิ่งนั้นๆเราไม่ควรที่จะเชื่อโดยที่ยังไม่ได้พิสูจน์ ควรที่จะคิดวิเคราะห์ หาข้อมูลที่ถูกต้องและได้รับการพิสูจน์แล้ว เพื่อนำความเชื่อที่ถูกต้องมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน รวมถึงอาจจะเรียนรู้จากประสบการณ์ในการดำเนินชีวิต รู้จักคิดวิเคราะห์แยกแยะว่าสิ่งไหนควรปฏิบัติหรือไม่ควรปฏิบัติ

  2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? พยายามปรับเปลี่ยนตัวเอง ปรับความคิด ความเชื่อในเรื่องนั้นๆให้ถูกต้องและเหมาะสม ประพฤติปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามความเชื่อนั้นๆ และไม่ยึดติดกับความเชื่อเดิมๆที่ผิด เพื่อเราจะได้มีความคิดที่ถูกต้อง มีทัศนคติที่ดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เรามีความคิดที่ดี ที่ถูกต้องสมควร และมีพฤติกรรมที่ดี ไม่ทำให้ใครเดือดร้อนอีกด้วย และคิดถึงผลดีที่จะตามมาหากเราสามารถเปลี่ยนแปลงความเชื่อที่ผิดๆนั้นได้ รวมถึงถ้าเรายังมีความเชื่อที่ไม่พึงประสงค์ อาจจะส่งผลเสียอีกมากมายในอนาคตที่อาจเกิดขึ้นกับตัวเราเองและคนรอบๆตัวเราด้วย

นายสรรพวัศ เพชรกาฬ คณะแพทยศาสตร์ สาขากายภาพบำบัดประเด็นที่ 1 แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? เราต้องหาข้อเท็จจริงของความเชื่อของเราจากหลายๆด้านหรือผู้อื่นและวิเคราะห์ว่าความเชื่อนั้นมันถูกต้องไหม ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น บางครั้งเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ก็ช่วยเราหาคำตอบได้อย่าชัดเจนเพราะวิทยาศาสตร์มีความมีเหตุมีผล เพื่อมาพิสูจน์ความคิดของเราได้

ประเด็นที่ 2 ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?

         เราต้องหาข้อพิสูจน์มาลบล้างความเชื่อเก่าว่ามันถูกต้อง มันดีกว่า และเปิดใจรับความเชื่อใหม่ๆ ไม่ปิดกั้นความเชื่อนั้น นำความเชื่อนั้น มาพิจารณาว่ามันดีกว่ายังไง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเราอย่างเหมาะสมแล้วมันจะแทนที่ความเชื่อเก่าๆได้อย่างถูกต้อง

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?ก่อนอื่นต้องบอกก่อนเลยว่า คนเรานั้นได้มีการพบเจอสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน เกิดมาจากสังคม ครอบครัวที่มีความหลากหลาย ซึ่งการคนเราจะมีความเชื่อที่มีความเหมือนกันเลย คงเป็นไปได้ยาก แต่ทุกความเชื่อล้วนมาจากการประสบการณ์ในอดีตของคนรุ่นเก่าที่ยังสืบทอดมายังปัจจุบันเปรียบเสมือนเป็นวัฒนธรรมก็ว่าได้ แต่สิ่งสำคัญที่สุดของความเชื่อ คือผลได้จากความเชื่อนั้น ซึ่งมักจะแสดงออกมาในรูปแบบพฤติกรรมที่หลากหลาย และทุกความเชื่อของคนๆหนึ่งมักจะส่งผลดีกับตัวเขาเองโดยส่วนใหญ่ จึงไม่แปลกที่ทุกความเชื่ออาจจะทำให้อีกคนที่ไม่มีความเชื่อเดียวกันงุนงง และเกิดข้อสงสัยตามมา แต่ความเชื่อที่ถูกต้องนั้น คงจะพ้นจากการที่พฤติกรรมจากความเชื่อเหล่านั้น ส่งผลดีทั้งต่อตัวบุคคล สังคมและในขณะเดียวกัน ก็ไม่ส่งผลเสียสร้างความเดือดร้อนแก่คนรอบข้างเช่นกัน2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?เป็นไปได้ยากที่เราจะสร้างความเชื่อใหม่ให้เข้ามาแทนที่ความเชื่อเดิมเลยนั้น คงต้องอาศัยปัจจัยหลายๆอย่างเพื่อที่จะลบล้างความเชื่อเดิมออกไป แต่การที่เราสร้างใหม่ก็ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสเลย ถึงอย่างนั้น ตัวแปรหลักของทั้งหมดคือ บุคคลที่เชื่อ หากบุคคลดังกล่าวพร้อมที่จะเปลี่ยน มันจะเป็นการเปิดโอกาสให้คนเหล่านั้นรับรู้ถึงข้อดีของความเชื่อใหม่มาแทนที่ความเชื่อเดิมที่มีอยู่ จนสามารถนำความเชื่อใหม่แสดงออกมาเป็นพฤติกรรมในที่สุด แต่พฤติกรรมเหล่านั้นจะยั่งยืนเป็นประจำก็ขึ้นอยู่กับคนเช่นเดียวกัน ดังนั้นเมื่อได้โอกาสเรียนรู้สิ่งใหม่ที่ดีกว่าเดิมแล้ว ควรรักษาซึ่งพฤติกรรมนั้นไว้

1.เรามักจะเชื่อในสิ่งที่คนใกล้ตัวหรือคนในครอบครัวเชื่อ ซึ่งบางทีเราเองก็ไม่เคยคิดเลยว่าความเชื่อนั้นมันเป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ แต่อาจจะเป็นเพราะการอบรมเลี้ยงดู การที่เราอยู่ในสภาพแวดล้อมเหล่านั้นมาเป็นเวลานานมันจึงทำให้เรารู้สึกว่าความเชื่อเหล่านั้นมันเป็นสิ่งที่ถูกต้องเพราะมันเป็นสิ่งที่ทำให้ความสัมพันธ์ของคนรอบข้างไม่เกิดการขัดแย้ง แต่ถ้าหากเราคิดถึงหลักความถูกต้องความเชื่อบางความเชื่อของเราอาจจะไม่ถูกต้องเสมอไปก็ได้เพราะเราต่างก็มองกันคนละมุม เราจึงเลือกที่จะเชื่อในสิ่งที่ไม่ขัดกับคนรอบข้างโดยไม่สนใจว่ามันเป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ ฉะนั้นเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่า ความเชื่อที่เราเชื่ออยู่นั้นมันถูกหรือผิด ตราบใดที่เรายังมีความเคารพและเชื่อฟังผู้ใหญ่ 2. ก่อนอื่นเราต้องรู้ว่า “ความเชื่อเก่า” นั้นมีอิทธิพลอย่างไรที่ทำให้เราแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ออกมา แล้วจึงค่อยๆปรับแก้ความเชื่อโดยการหาสาเหตุที่ทำให้เกิดการแสดงพฤติกรรมนั้นและหาข้อบกพร่องของความเชื่อเก่าเพื่อนำมาแก้ไขและปรับเปลี่ยนเป็น “ความเชื่อใหม่” โดยความเชื่อใหม่ต้องเป็นสิ่งที่มีเหตุผลมากพอที่จะทำให้เรามีความคิดว่าความเชื่อเก่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องและต้องทำให้เกิดความรู้สึกเชื่อจริงๆไม่ใช่แค่อยากลบความเชื่อเก่าแต่ต้องมีใจที่ยอมรับในความเชื่อใหม่นั้นจริงๆ นี่คือมุมมองที่อาจจะทำได้หากต้องการเปลี่ยนความเชื่อ แต่ถ้าว่ากันตามความเป็นจริงการเปลี่ยนความเชื่อไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่ายเพราะการที่คนเราจะเชื่อในอะไรสักอย่างจะต้องใช้เวลาและการสัมผัสโดยตรงจึงจะทำให้เกิดความเชื่อได้ ฉะนั้นถ้าอยู่ๆจะมาเปลี่ยนความเชื่อเลยมันคงเป็นไปได้ยากแต่ถ้าหากเป็นการปรับเปลี่ยนเล็กๆน้อยๆอาจจะทำได้แต่อย่างน้อยก็คงรากฐานของ “ความเชื่อเดิม” ไว้อยู่ดี

น.ส.วรรณวิภา ม่องพร้า 6110410087 sec.031. แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ความเชื่อคือกระบวนการคิดของมนุษย์ที่ผ่านการยอมรับ ไตร่ตรองและถูกปลูกฝังไว้ในจิตใต้สำนึก ความเชื่อของแต่ละบุคคลขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว เช่น สภาพสังคม บุคคลรอบข้าง หรือแม้กระทั่งวัฒนธรรม ซึ่งความเชื่อของมนุษย์จะมีความเหมือนหรือแตกต่างกันก็ได้ และแน่นอนว่าการที่เราได้เชื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งไป ตัวเราเองก็ย่อมมั่นใจแล้วว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นถูกต้อง เนื่องจากเรารับรู้แล้วว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นมีอยู่จริง และผ่านการยอมรับพิจารณาไตร่ตรองจากบุคคลหลายฝ่าย นั่นคือเราผ่านการไตร่ตรองมาแล้วว่าสิ่งที่เรากำลังเชื่ออยู่นั้นไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคมและผู้อื่น

  1. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?หากเราต้องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม นั่นหมายถึงพฤติกรรมเดิมอาจเป็นพฤติกรรมที่ยังไม่เหมาะสม หรือเป็นพฤติกรรมที่ไม่เป็นผลดีเท่าที่ควร ซึ่งการที่เราแสดงออกถึงพฤติกรรมนั้นๆได้ย่อมเกิดจากความเชื่อของตัวเราเอง ดังนั้นหากเราต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เราก็ต้องเปลี่ยนแปลงความเชื่อของเราก่อน โดยการลบล้างความเชื่อเดิมและสอดแทรกความเชื่อใหม่ เพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเองไปยังพฤติกรรมใหม่ที่ดีขึ้น
  1. แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?ตอบ การที่เราจะรู้ได้ว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง ความเชื่อเหล่าจะต้องผ่านการพิสูจน์ ผ่านการปฏิบัติแล้วส่งผลดีให้กับเรา โดยอาจจะมีตัวอย่างความคิด ความเชื่อ และการกระทำเหล่านั้นให้เห็นแล้วว่าถ้าปฏิบัติอย่างนั้นแล้วจะเกิดผลกับเราอย่างไร แล้วความเชื่อเหล่านั้นทำให้ชีวิตเราดีขึ้นหรือเปล่า ถ้าความเชื่อเหล่านั้นทำให้ชีวิตเราดีขึ้น ก็แสดงว่าความเชื่อเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องสำหรับคนคนนั้น โดยความเชื่อเหล่านั้นที่มีอยู่อาจจะเปลี่ยนแปลงหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆที่เข้ามาอิทธิผลกับชีวิตกับของเขา

  2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?ตอบ ความเชื่อใหม่จะมาแทนที่ความเชื่อเก่าได้นั้นจะต้องเป็นความเชื่อที่ดีกว่าความเชื่อเก่า โดยความเชื่อใหม่จะต้องส่งผลดีให้กับเรา และเราสามารถพิสูจน์ได้ดีกับตัวเราจริงๆ อย่างเช่น บางคนเชื่อว่าเราสามารถลดน้ำหนักได้โดยการอดอาหาร แต่เมื่อมีคนเหล่านั้นลองปฏิบัติแล้วไม่ได้ผล หรือไม่เกิดผลประโยชน์กับเขา เขาก็จะลองหาวิธีอื่น เช่น รับประทานอาหารทุกมื้อ แต่รับประทานอาหารปริมาณน้อย และมีการออกกำลังกาย เมื่อเขาลองนำวิธีเหล่านี้มาใช้ แล้วส่งผลดีให้กับเขา เกิดประโยชน์โดยทำให้การลดน้ำหนักของเขามีประสิทธิภาพมากกว่าการลดน้ำหนักแบบวิธีแรก ก็จะทำให้เขามีความเชื่อใหม่แทนความเชื่อเก่าได้ว่า เราสามารถลดน้ำหนักได้ดีโดยการรับประทานอาหารทุกมื้อ แต่รับประทานอาหารปริมาณน้อย และมีการออกกำลังกาย

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง ? ความเชื่อเป็นสิ่งที่มนุษย์ไว้วางใจ ยึดถือว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ทั้งนี้ยังขึ้นอยู่กับค่านิยมของคนในสมัยนั้นๆและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ซึ่งจากการที่มนุษย์จะเชื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งย่อมมาจากการถ่ายทอดของคนส่วนใหญ่ที่สืบทอดจากการเล่าต่อกันมา เมื่อเวลาผ่านไปมนุษย์ย่อมมีการพัฒนาการที่มากขึ้น ส่งผลให้ความเชื่อเหล่านั้นมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาที่ดีขึ้น เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยนั้นๆ แต่ยังคงไว้ของรากเหง้าเดิม นอกจากนี้ควมมเชื่อนั้นมีมากมายนับไม่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี บาปบุญคุณโทษ และเรื่องเวรกรรม ที่ล้วนสอนให้เป็นคนดี มุ่งเน้นการกระทำที่ถูกต้อง ไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีงาม ปละกฏหมายบ้านเมือง ดังนั้นจะเห็นได้ว่ากว่าจะตกผลึกมาเป็นความเชื่อได้นั้นต้องผ่านกระบวนการขัดเกลาที่เห็นแล้วว่าเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่นึกคิดตาม และมีความถูกต้องอยู่ด้วย2.ในกรณีที่เราร้องการเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่าง เราสามารถสร้างความเชื่อใหม่ มาแทนที่ความเชื่อเก่าได้อย่างไร ? ก่อนที่เราจะเปลี่ยนแปลงความเชื่อนั้น เราต้องหาสาเหตุก่อนว่าทำไมจึงเปลี่ยน เป็นเพราะมันส่งผลให้เรากระทำการไม่ดี ดังนั้นเมื่อเรารู้แล้วว่าเราประพฤติไม่ดีตรงไหน เราก็จะนำข้อเสียตรงนั้นมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีกว่าเดิม แล้วดูผลตอบรับของมันว่าออกมาดี เป็นที่น่ายอมรับขนาดไหน เมื่อเราเล็งเห็นแล้วว่าพฤติกรรมที่เราเปลี่ยนแปลงนั้นดีขึ้น ก็จะนำไปสู่ความเชื่อว่าการกระทำแบบนี้ จะส่งผลให้เราเป็นไปตามพฤติกรรมเหล่านั้นและเป็นพฤติกรรมในทางที่ดี ที่ถูกต้อง ส่งผลให้เรานั้นยอมรับความเชื่อใหม่ มาแทนที่ความเชื่อเก่าได้ในที่สุด

6110410113 นางสาวอนิศรา ละเต็บซัน คณะพยาบาลศาสตร์ เซค 03

1.เรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ความเชื่อไม่มีผิดถูก เราไม่สามารถนำความคิด ความเชื่อ ความเข้าใจของตัวเองหรือแม้กระทั่งกฎเกณฑ์ทุกอย่างที่มีอยู่บนโลกมาตัดสินว่าความเชื่อใดๆของคนๆหนึ่งนั้นผิดหรือถูก แต่หากถามว่าความเชื่อที่เรามี จะรู้ได้อย่างไรว่าถูกต้องคงต้องตอบว่า เพราะความเชื่อที่เราเชื่อว่ามันถูกต้องเพราะตัวเราถูกหล่อหลอม ปลูกฝังและคลุกคลีอยู่กับความเชื่อนั้นจนกลายเป็นค่านิยมที่เกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมรอบตัว ตราบใดที่คนอื่นรอบตัวๆไม่ได้มีความเชื่อผิดแปลกไปจากเรา ความเชื่อนั้นมันก็ยังคงถูกต้องในโลกของเรา แต่ถ้าหากเริ่มมีความแตกต่างของความเชื่อระหว่างบุคคลขึ้น สิ่งที่จะทำให้เราเลือกที่จะเชื่อว่าความเชื่อของเรานั้นถูกต้อง คงเป็นการยึดมั่นในตัวเอง แต่แล้วความเชื่อจะถูกหรือผิดคงขึ้นอยู่กับการพิสูจน์ได้หรือไม่ได้อีกเช่นกัน แล้วแต่บุคคลจะเลือกว่าจะเชื่อในความถูกต้องของความเชื่อนี้ต่อไป หรือจะพิสูจน์เพื่อหาข้อเท็จจริงในความเชื่อของตนเอง

2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? เมื่อเราสามารถใช้เหตุผลมาพิสูจน์เพื่อหักล้างความเชื่อเก่าออก เราก็จะสามารถนำความเชื่อใหม่ของตัวเองมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การลบล้างความเชื่อเก่าๆออกย่อมเป็นเรื่องยาก ค่อยๆศึกษาและพิสูจน์ทีละเล็กทีละน้อย จนค้นพบความถูกต้องและสามารถสร้างความเชื่อใหม่ให้เกิดขึ้นเพื่อควบคุมการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมต่อไป

  1. เรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ในมุมมองความคิดส่วนตัว คิดว่าความเชื่อเกิดจากสภาพแวดล้อมรอบข้างที่เราอาศัยอยู่ ซึ่งมีผลมาจากค่านิยมของคนในสมัยนั้นๆ ครอบครัว และศาสนา ซึ่งจากสภาพแวดล้อมรอบข้างที่แตกต่างกัน จึงทำให้ความเชื่อของแต่ละบุคคลย่อมแตกต่างกัน ดังนั้นสิ่งที่ทำให้เราทราบและรับรู้ได้ว่าความเชื่อของเรานั้นถูกต้องคือ เป็นความเชื่อที่เมื่อเรานำมาปฏิบัติแล้ว ไม่ส่งผลให้พฤติกรรมที่เราแสดงออกมานั้นผิดหรือขัดกับหลักศีลธรรม วัฒนธรรม หรือผิดกฎหมาย และไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้คนรอบข้าง
  2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่“ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? พฤติกรรมที่แสดงออกจะมาจากความเชื่อของแต่ละบุคคล ดังนั้นหากต้องการที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ อย่างแรกเราต้องยอมรับความจริงให้ได้ก่อนว่าพฤติกรรมที่เราปฏิบัติอยู่นั้นเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม แล้วเปิดใจรับรู้และทำความเข้าใจในสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม และค่อยๆปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองด้วยความตั้งใจอย่างแน่วแน่ สุดท้ายเมื่อเราแสดงหรือปฏิบัติพฤติกรรมนั้นบ่อยๆ โดยพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเราก็ได้หายไปด้วย ก็จะแสดงให้เห็นว่า ความเชื่อเดิมของเรานั้นได้ถูกแทนที่ด้วยความเชื่อใหม่แล้ว

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง??ความคิดส่วนตัวของดิฉันมองว่าความคิดและความเชื่อของแต่ละคนมีความแตกต่างกันไปตามเหตุผลของการเชื่อและกระบวนการคิดในแต่ละบุคคลที่ต่างกัน การที่จะรู้ได้ว่าความเชื่อของเราที่มีมานั้นถูกต้องหรือไม่ ดิฉันคิดว่าความเชื่อนั้นจะต้องเป็นความเชื่อที่เชื่อแล้วไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม และต้องเป็นความเชื่อที่อยู่บนพื้นฐานของการเคารพสิทธิส่วนบุคคล ไม่ละเมิดก้าวก่ายความเชื่อของบุคคลอื่นและไม่ยัดเยียดความเชื่อของตนเองให้กับผู้อื่น เพราะถึงแม้ว่าจะมีความคิดและความเชื่อแตกต่างกันเราก็สามารถอยู่ในสังคมเดียวกันได้2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?? การที่เราจะเปลี่ยนความเชื่อเก่าของเรานั้น อันดับแรกคือ เราต้องเริ่มมาจากการสงสัยในความเชื่อเดิมก่อนว่าถูกต้องและเหมาะสมหรือไม่ หรือการที่ผู้อื่นนำความเชื่อของตนมาแนะนำแก่เรา ซึ่งถ้าเราไม่รู้หรือไม่แน่ใจว่าความเชื่อนั้นดีหรือไม่ สิ่งที่เราจะต้องทำคือ หาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อมาหักล้างความเป็นเหตุเป็นผลของความเชื่อเก่าก่อนว่า ความเชื่อที่เราเคยเชื่อนั้นมันไม่ถูกต้อง หรือลองหาเหตุผลอื่นๆมาช่วยส่งเสริมให้เกิดความเชื่อใหม่ของเราให้มีความน่าเชื่อถือและถูกต้องกว่าข้อมูลเก่า แล้วเราจะเปลี่ยนความเชื่อเก่าเป็นความเชื่อใหม่ทันทีโดยไม่มีข้อมาแย้งในจิตใจ เพราะทุกคนก็อยากมีความเชื่อในสิ่งที่ถูกต้องและมีผลดีต่อตัวเอง ครอบครัวและสังคมทั้งนั้น

1.เรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?ในความเห็นส่วนตัวคิดว่าความเชื่อนั้นจะถูกต้องไหม ดิฉันมักจะหาคำตอบให้กับตัวเองในสิ่งที่อยากรู้เสมอโดยความเชื่อนั้นเป็นสิ่งที่ต้องมีหลักฐานที่ถูกต้องและเมื่อเราปฏิบัติตามความเชื่อนั้นแล้วมันจะส่งเสริมให้เรามีความคิด พลังงานที่ดีขึ้นมากกว่าเดิม การที่เราจะรู้ได้นั้นว่าสิ่งที่เราเชื่อถูกต้องมากน้อยเพียงใดเราต้องเป็นบุคคลที่รู้จักค้นคว้า ลองหาเหตุผลที่มารองรับความเชื่อของโดยข้อมูลและความเชื่อของเรามันสัมพันธ์กัน ความเชื่อในแต่เรื่องมันมีทั้งที่ถูกและผิดเราต้องเป็นคนที่มองให้เห็นถึงนัยยะความเชื่อนั้นว่ามันซ่อนเรื่องราวให้เราเรียนรู้อะไรบ้าง2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?การที่เราจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ได้นั้นเราจะต้องนำความเชื่อใหม่มาลองเปรียบเทียบกับความเชื่อเก่าที่ยังมีข้อบกพร่องอยู่ลองเปรียบดูถึงความแตกต่างของอันเก่าและใหม่ ลองมองถึงข้อเสียที่ความเชื่อเก่ายังขาดไปและความเชื่อใหม่ที่มีข้อดีที่มากกว่า ซึ่งความเชื่อใหม่ต้องเป็นความเชื่อที่ถูกต้องกว่า ดีกว่ามีการรับรองหลักฐานที่ชัดเจนกว่าความเชื่อเก่าได้และเมื่อเรานำมาปฏิบัติแล้วความเชื่อนั้นต้องมีเหตุผลที่ดีที่ถูกต้องว่าถ้าเราเชื่อสิ่งนั้น ทำตามความเชื่อนั้นแล้วมันจะส่งเสริมให้เราสามารถปฏิบัติตัว มีความคิดที่ดีขึ้นมากกว่าความเชื่อเก่าได้ถ้าความเชื่อใหม่นั้นรองรับเหตุผลทุกอยางได้เราก็สามารถที่จะนำเอาความเชื่อใหม่มาแทนที่ความเชื่อเก่าได้

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? โดยทั่วไปความเชื่อจะเกิดจากตัวบุคคล ส่งต่อไปยังอีกบุคคลหนึ่งหรือไม่ก็เชื่อแค่เพียงตนเอง ดังนั้นการเลี้ยงดูของครอบครัว สังคมความเป็นอยู่ สิ่งแวดล้อมรอบๆกายของบุคคล ย่อมมีผลต่อความเชื่อทั้งนั้น โดยส่วนตัวคิดว่าความเชื่อมักจะขึ้นกับการศึกษา ในบางคนที่มีการศึกษาในระดับสูงมักไม่มีความเชื่อที่ไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ได้ ความเชื่อทุกอย่างล้วนต้องมีที่มาที่ไป เมื่อนึกย้อนกลับไปตอนเป็นเด็กอายุเพียง 9 ขวบ พ่อแม่เคยส่งต่อความเชื่อบางอย่าง ตอนนั้นความเชื่อนั้นเป็นสิ่งที่เชื่อถือมาก ยึดถือไว้ในใจตลอด จนเมื่อโตขึ้นสามารถคิดวิเคราะห์หาเหตุผลต่างๆได้ ก็ทำให้มองความเชื่อเหล่านั้นเปลี่ยนไป ซึ่งจริงๆทุกอย่างที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงในมุมมองส่วนตัวของดิฉัน หากลองมองในมุมมองของคนอื่นก็คงมีความคิดอีกแบบหนึ่ง ดังนั้นไม่ว่าความเชื่ออะไรก็ตาม หากเราคิดจะเชื่อมันแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเสมอคือความเชื่อนั้นหากเราเชื่อแล้วส่งผลร้ายต่อคนอื่นหรือไม่ ขอแค่คิดดี ทำดี พูดดี ไม่ว่าใครจะมีความเชื่อแปลกจากบุคคลอื่น ย่อมไม่มีวันผิดและเราไม่สามารถไปตัดสินความเชื่อของบุคคลอื่นได้ว่าเขาคิดผิดคิดถูก ตราบใดที่เราก็ยังมีความเชื่อบางอย่างที่ไม่เหมือนบุคคลอื่น

2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? ตามที่ได้กล่าวไว้ว่า “ความเชื่อเป็นรากเหง้าของความคิดของเรา และความคิดก็เป็นต้นตอของพฤติกรรมที่เราแสดงออกมา” ดังนั้นการที่เราจะสลัดความเชื่อเก่าทิ้งไป ก็หมายความว่าเราต้องทิ้งความคิดเก่าๆทั้งหมดที่มีออกไปด้วย ในทางกลับกันหากเราต้องการสร้างความเชื่อใหม่ขึ้นมา เราต้องสร้างความคิดที่มารับรองความเชื่อใหม่ของเราเช่นกัน โดยส่วนตังดิฉันคิดว่าการที่จะสร้างความเชื่อใหม่หรือทิ้งความเชื่อเก่า ล้วนต้องใช้เวลาเป็นตัวพิสูจน์ทั้งสิ้น เพราะทุกสิ่งทุกอย่างล้วนไม่ได้เกิดขึ้นภายในวันเดียวเท่านั้น ต้องเกิดจากการที่เราย้ำคิดย้ำทำอยู่ซ้ำๆบ่อยๆ จึงจะผนึกเข้าในระบบความคิดของคนเรา

1 .เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อเรานั้นถูกต้อง ?ชิวตที่เราเกิดมาจากท้องแม่ ลืมตาดูโลกวินาทีแรก พฤติกรรมที่คนในครอบครัวทำเป็นอันดับแรก คือ การนำเด็กไปทำพิธีทางศาสนา เช่น ในศาสนาอิสลามจะมีการอาซานข้างหูเด็กโดยผู้เป็นพ่อ เพื่อแสดงถึงการเข้ารับนับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความเชื่อทั้งหลายเป็นสิ่งที่มีหลักฐานอย่างประจักษ์ เห็นได้ชัดจากพฤติกรรม และความเข้าใจของบุคคลใกล้ชิดกับเรามากที่สุดที่สำคัญเมื่อสิ่งที่เราเชื่อและปฏิบัติตามสิ่งเหล่านั้น และได้รับประโยชน์อย่างแท้จริงหรือไม่ทำให้เกิดโทษ แต่ยังเป็นการส่งผลดีต่อจิตใจของผู้กระทำการตามความเชื่อต่างๆ ก็ถือว่าเป็นความรู้สึกส่วนลึกของมนุษย์ว่าสิ่งที่ประพฤติปฏิบัติอยู่นั้นถูกต้อง และควรรักษาไว้เพื่อเป็นการสืบทอดองค์ความรู้ด้านความเชื่อต่างๆให้กับลูกหลานต่อไป และเพื่อสืบสานเจตนารมณ์ของผู้ให้ด้วยความชัดเจนและจริงใจ ที่ส่งต่อผู้รับจากรุ่นสู่รุ่นเป็นความหนักแน่นและน่าเชื่อถือ 2. ในกรณีที่เราต้องการปรับเปปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเราเราจะสร้าง ความเชื่อใหม่ ให้เข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่า ได้อย่างไร ?สิ่งเหล่านี้เราสามารถปรับเปลี่ยนตนเองไปในทางที่ดีขึ้นด้วยกับการเชื่อมั่นถึงผลดีและได้ผลลัพธ์ระยะยาวกว่า ทุกอย่างที่กระทำหากส่งผลต่อจิตใจให้ความรู้สึกไม่ดีหรือไม่สบายใจ เป็นการสร้างพลังลบ ทำให้จิตใจฟุ้งซ่าน ไม่สงบนิ่ง ฉะนั้น การสร้างพลังบวกให้กับตนเอง ด้วยการประพฤติปฏิบัติที่เหมาะสมและเป็นบุคคลที่ไม่ทำให้ใครเดือนร้อนถือเป็นการบรรลุเป้ามหายในชีวิตที่สูงสุดแล้ว

นางสาวศิรประภา พุ่มมรินทร์ 6110410189 คณะพยาบาลศาสตร์ sec 031. แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?ความเชื่อไม่มีผิดหรือถูก ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่เราอาศัยอยู่ของแต่ละคนที่ส่งผลต่อความคิด ความเชื่อของเราและส่งผลให้แสดงพฤติกรรมออกมาตามความเชื่อของเรา แต่ความเชื่อของเราต้องไม่ไปสร้างความเดือดร้อนให้ใคร ความเชื่อของแต่ละบุคคลนั้นย่อมไม่เหมือนกัน อยู่ที่ความคิดของแต่ละคน ซึ่งเราไม่อาจห้ามความคิดของคนอื่นได้และไม่สามารถไปเปลี่ยนความคิดใครที่ไม่ได้คิดเหมือนกับเราให้เขาหันมาเชื่อในสิ่งที่เราเชื่อได้ อยู่ที่วิจารญยาณของแต่ละคน เราต้องเคารพและเข้าใจความคิดของแต่ละคนเพราะมนุษย์มีความหลากหลาย ควรให้เกียรติซึ่งกันละกันเราถึงจะอยู่รวมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข ไม่เกิดการแตกแยก2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?ก่อนที่เราจะเปลี่ยนความเชื่อของเราได้นั้น เราต้องมีเหตุและผลว่าทำไมเราถึงจะไม่เชื่อในสิ่งๆนั้นแล้ว เช่น เราเชื่อว่าการที่กินไก่ตอนที่เป็นแผลจะทำให้แผลหายยาก แต่เมื่อเราไม่ศึกษาหาข้อมูลที่เป็นจริงแล้ว การกินไก่ที่เป็นสารอาหารประเภทโปรตีนจะทำให้แผลหายเร็วขึ้น นั้นเป็นข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือและมีเหตุผลเพียงพอและส่งผลดีต่อตัวเราเอง จึงทำให้เราเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเราได้ และที่สำคัญคือความเชื่อเราต้องไม่ไปสร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่นอีกด้วย

นางสาวยุพารัตน์ พ่วงคง 61104078 คณะพยาบาลศาสตร์ sec 031. แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ตอบ ความเชื่อคือการยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริง หรือมีการดำรงอยู่จริง โดยอาศัยประสบการณ์ตรง การไตร่ตรอง หรือการอนุมาน ซึ่งเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกหรือผิด เนื่องจากความเชื่อแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับ การเลี้ยงดู การใช้ชีวิตตามแบบแผนที่ถูกวางมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจุบันไม่ว่าจะเป็นขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างและเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนกัน รวมทั้งสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น สภาพสังคม บุคคลรอบข้าง หรืออาจจะเกิดจากประสบการณ์ที่เราเจอมา ในบางครั้งเราเคยสงสัยไหมว่าสิ่งที่เราเห็นสิ่งที่ได้ยินความเชื่อจากผู้ใหญ่มานั้น เป็นความจริงหรือเป็นความคิดของใคร ไม่มีใครรู้ว่ามาจากไหน แต่ทุกคนเลือกที่จะปฏิบัติตามความเชื่อนั่นกันมาเป็นทอดๆจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เพราะความเชื่อนั่นได้ผ่านการพิสูจน์ตามกระบวนการความคิด การไตร่ตรองจากบุคคลตามยุคสมัยมาเป็นอย่างดีและเห็นว่าการปฏิบัติตามความเชื่อนี้จะช่วยทำให้ทุกคมมีความสุขสบายทางกายและจิตใจ ไม่ส่งผลกระทบและสร้างความเดือดร้อนให้ตนเองเดือดร้อนและผู้อื่น ดังนั่น การที่เราได้สัมผัสกับความเชื่อต่างๆ การที่นำความเชื่อมาปฏิบัติได้นั่น เราคิดแล้วว่าความเชื่อนั่นเป็นสิ่งที่ดี และถูกต้องไม่ทำให้ส่งผลกระทบและสร้างความเดือดร้อนแก่ตนเองเดือดร้อนและผู้อื่น 2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?ตอบ การที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เราก็ต้องรู้ก่อนว่าสิ่งที่เรามีอยู่มีอยู่นั่นยังไม่เหมาะสมหรือไม่เป็นผลดีอย่างไร และค่อยๆปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่แบบเรื่อยๆเพื่อให้เกิดความคุ้นชินและปรับตัวเข้ากับสิ่งใหม่ได้ โดยเริ่มจากความคิดของเราก่อน เปิดใจให้กับความเชื่อใหม่ ยอมรับกับเหตุผลต่างๆของความเชื่อใหม่ อย่าปิดกั้นความคิดและอยู่กับความเชื่อเดิมๆโดยพิจารณาข้อดีและข้อเสียของความเชื่อ กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ โดยค่อยๆนำความเชื่อใหม่เข้ามาใช้ทีล่ะน้อย ค่อยๆเป็น ค่อยๆไปและปรับตัวไปเรื่อยๆพร้อมกับความเชื่อเก่าที่มีอยู่ให้ไปด้วยกัน จะทำให้เรามีพฤติกรรมที่ดีได้โดยไม่ขัดแย้งและกังวลกับตัวเองว่าจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ไหม

น.ส.วรินทร นนทะสร 6110410186 คณะพยาบาลศาสตร์1.เรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?ดิฉันคิดว่าความเชื่อและความคิดมีความสัมพันธ์กันคือเราคิดยังไงเราก็มาความเชื่อแบบนั้นส่งผลให้ความเชื่อของแต่ละคนแตกต่างกันไปเพราะความคิดของแต่ละแตกต่างกัน ไม่มีใครสามารถตัดสินความเชื่อว่าจะถูกหรือผิดตราบใดที่ความเชื่อนั้นตั้งอยู่บนความถูกต้องคือ การไม่ส่งผลเสียกับผู้อื่นหรือสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น ดังนั้น หากเรามีความเชื่อแล้วความเชื่อนั้นตั้งอยู่บนความถูกต้องก็อาจเป็นความเชื่อที่ถูกแต่ก็ไม่เสมอไปเพราะความเชื่อก็เหมือนความคิดบางทีเราคิดว่าถูกแต่จริงๆมันผิดต่อให้ตั้งอยู่บนความถูกต้องก็ตามเพราะความเชื่อบางอย่างวิทยาศาสตร์ก็สามารถพิสูจน์ได้ เพราะฉะนั้นจะถูกหรือผิดก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง”ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า” อย่างไรดิฉันคิดว่าเราต้องคิดทบทวนพฤติกรรมที่ไม่ดีของเราก่อนแล้วตั้งคำถามว่าไม่ดีอย่างไรหลังจากนั้นให้เราปรับมุมมองแล้วแก้ไขพฤติกรรมโดยหาความเชื่อใหม่ที่ดีกว่าเก่า บอกข้อดีของความเชื่อใหม่ ดังนั้นถ้าเรารู้ข้อดีของความเชื่อใหม่และรู้ถึงข้อด้อยของความเชื่อเก่า เราก็จะสามารถเปลี่ยนความเชื่อและนำไปการเปลี่ยนพฤติกรรม

นางสาวอัสมา มอลี 6110410205 คณะพยาบาลศตร์ section 031.เรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? -ความเชื่อของแต่ละบุคคลนั้นแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของแต่ละคนที่เติบโตมาซึ่งการที่เราจะมีความเชื่อนั้น เราต้องคิดว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นเป็นสิ่งที่ดี สร้างสิ่งที่ดีและประโยชน์ให้กับสังคม ทำให้เรามีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่ไปทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนไปกับความเชื่อของเรา2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่“ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?- ต้องหาข้อมูลสนับสนุน แรงบันดาลใจ ปรับทันศนคติความเชื่อใหม่ที่เราต้องการจะปรับเปลี่ยนก่อนและเราต้องคำนึ่งถึงผลเสียที่ตามมาด้วยว่าถ้าเราไม่มีการปรับเปลี่ยนมันจะเกิดผลเสียอย่างไรกับเราบ้างและถ้าหากว่าเราปรับเปลี่ยนสิ่งที่เราเปลี่ยนนั้นก็จะส่งผลดีให้กับตัวเราเอง

นางสาวหยาดทิพย์ การสุรสิทธิ์ 6110410066 คณะพยาบาลศาสตร์ Sec 031.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?ความเชื่อ คือ สิ่งทุกคนล้วนมีและอาจแตกต่างกันไป ความเชื่อถูกสืบทอด เล่าต่อหรือปลูกฝังกันมาอย่างยาวนานโดยการได้ยินได้ฟัง การอบรมสั่งสอนทางวัฒนธรรม คอบครัว สิ่งแวดล้อม สังคมหรือหรือประสบการณ์ที่เคยเจอ ซึ่งความเชื่อมีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อด้านความคิด ความเชื่อด้านศาสนา เช่นศาสนาพุทธ เชื่อว่า ทำดีจะขึ้นสวรรค์ ทำบาปจะตกนรก ความเชื่อในการกระทำ เช่น กระทำความดีแล้วจะได้รับคำชื่นชม ดิฉันคิดว่าความเชื่อนั้นไม่มีถูกไม่มีผิดขึ้นอยู่กับการรับรู้ ยอมรับในสังคมนั้นๆที่แตกต่างกันไป แต่ทั้งนี้ต้องคิดไตร่ตรอง วิเคราะห์ด้วยตนเองแล้วว่าความเชื่อของเรานั้นอยู่ในหลักความเป็นจริง มีเหตุมีผลมากพอและไม่ทำให้เกิดสิ่งไม่ดี เกิดผลเสียขัดแย้งต่อกันหรือเกิดผลกระทบต่อสิ่งใดๆ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ไม่ควรคิดว่า ความเชื่อของเรานั้นถูกต้องที่สุดเพราะทุกคนก็ล้วนมีความเชื่อที่แตกต่างกันไป2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?อย่างแรกเลยเรารับรู้หรือเล็งเห็น สังเกตพฤติกรรมที่ไม่ดีหรือพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์ของเราที่ควรจะเปลี่ยนแปลงก่อน เมื่อเล็งเห็นแล้วก็คิด ถึงสาเหตุที่ต้องการอยากจะเปลี่ยน ต้องใช้ความเชื่อที่เป็นเหตุเป็นผลมากพอ เข้ามาเป็นเหตุผลที่ดีกว่าความเชื่อเก่าและส่งเสริมให้พฤติกรรมของเรานั้นดียิ่งขึ้น แต่ถ้าเหตุผลของสิ่งใหม่ไม่ดีพอหรือทำให้พฤติกรรมเราแย่ลง ก็ไม่ควรเอาความเชื่อใหม่มา และที่สำคัญที่สุด คือ ความเชื่อใหม่ต้องอยู่ในความคิดหรือการกระทำที่ไม่ได้ส่งผลเสียต่อผู้อื่น

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?​ความเชื่อของคนเราแต่ละคนก็มีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม การเลี้ยงดู การสั่งสอน และสิ่งที่พบเจอมา บางสิ่งที่เราคิดว่าถูก คนอื่นก็ไม่ได้คิดเหมือนเรา เราก็ไม่อาจทราบแน่ชัดว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้องแน่นอนหรือไม่ แค่คนส่วนมากเชื่อและเป็นที่ยอมรับก็ไม่ได้แปลว่าความเชื่อนี้ถูกต้องแต่เราก็อาจหาเหตุผลประกอบเพื่อให้ความเชื่อเรานั้นมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น

2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?​ถ้าเราจะเปลี่ยนความเชื่อจากความเชื่อเก่าเป็นความเชื่อใหม่ เราก็จะหาเหตุผลว่าความเชื่อเก่าไม่ถูกต้องตรงไหน ดูความสมเหตุสมผลประกอบกับความเชื่อใหม่ หาข้อมูลเพิ่มเติมหรือไปถามจากคนรอบข้าง ความเชื่อในอดีตก็อาจจะไม่ถูกต้องในปัจจุบัน เนื่องด้วยการพัฒนาหลายๆอย่างในปัจจุบันทั้งเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อมรอบตัว เราควรลองมองในมุมมองที่ต่างออกไป ค่อยๆปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปทีละนิด ความคิดเราก็จะเปลี่ยนไปและจะทำให้เรามีความเชื่อใหม่มาแทน

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?​ความเชื่อของคนเราแต่ละคนก็มีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม การเลี้ยงดู การสั่งสอน และสิ่งที่พบเจอมา บางสิ่งที่เราคิดว่าถูก คนอื่นก็ไม่ได้คิดเหมือนเรา เราก็ไม่อาจทราบแน่ชัดว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้องแน่นอนหรือไม่ แค่คนส่วนมากเชื่อและเป็นที่ยอมรับก็ไม่ได้แปลว่าความเชื่อนี้ถูกต้องแต่เราก็อาจหาเหตุผลประกอบเพื่อให้ความเชื่อเรานั้นมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น

2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?​ถ้าเราจะเปลี่ยนความเชื่อจากความเชื่อเก่าเป็นความเชื่อใหม่ เราก็จะหาเหตุผลว่าความเชื่อเก่าไม่ถูกต้องตรงไหน ดูความสมเหตุสมผลประกอบกับความเชื่อใหม่ หาข้อมูลเพิ่มเติมหรือไปถามจากคนรอบข้าง ความเชื่อในอดีตก็อาจจะไม่ถูกต้องในปัจจุบัน เนื่องด้วยการพัฒนาหลายๆอย่างในปัจจุบันทั้งเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อมรอบตัว เราควรลองมองในมุมมองที่ต่างออกไป ค่อยๆปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปทีละนิด ความคิดเราก็จะเปลี่ยนไปและจะทำให้เรามีความเชื่อใหม่มาแทน

6110410067 นางสาวพรวิตา หนูช่วย sec 031)แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?->โดยส่วนตัวดิฉันคิดว่า บางความเชื่อที่เราเชื่อมาตั้งแต่เด็กๆว่ามันถูก บางครั้งมันก็ไม่ได้ถูกต้องเสมอไป ด้วยความที่เราเรียนทางด้านวิทยาศาสตร์มา จึงทำให้เรามีการคิด การฝึก การปฏิบัติ การลงมือทำ โดยทุกๆอย่างต้องมีการพิสูจน์ มีหลักฐานที่ชัดเจน มีเหตุผลที่สอดคล้องกับความเชื่อ มาให้เห็นว่าความเชื่อเหล่านั้นเป็นความจริง ตัวอย่างเช่น ถ้าเราได้ลงมือกระทำสิ่งนั้นแล้วปรากฏว่าผลมันไม่ถูกต้องตามความเชื่อของเรา เราก็คิดและเชื่อว่าความเชื่อเหล่านั้นว่าไม่เป็นความจริง เชื่อถือไม่ได้ แต่บางความคิด ตอนแรกๆเราไม่ได้เชื่อว่ามันถูกต้อง แต่เมื่อเกิดการกระทำ และพฤติกรรมต่างๆมารวมกัน แล้วเรามีการคิด หาเหตุผลมาสนับสนุน รวมทั้งการประเมินต่างๆ ทำให้เราเชื่อว่าความเชื่อนั้นมันถูกต้อง เช่น จากคำสอนของผู้ใหญ่ แต่บางความเชื่อนั้นอาจจะไม่ถูกต้อง เช่น ถ้าเราไม่ปฏิบัติตามอาจเกิดผลเสีย แต่ในความจริงแล้ว มันอาจจะมีผลเสียหรือไม่มีผลเสียก็ได้ แต่เราคิดและเชื่อไปแล้วว่าความเชื่อนั้นถูกต้องและเป็นความจริง เนื่องจากเรามีการถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กๆ ว่าให้เชื่อ ให้ทำในสิ่งนั้นๆ ตามที่ผู้ใหญ่สอนมา เหมือนอย่างสำนวนสุภาษิตที่เขาพูดกันว่า “ผู้ใหญ่อาบน้ำร้อนมาก่อน” 2)ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?->การที่เราจะเปลี่ยนความเชื่อใหม่ ให้มาแทนความเชื่อเดิมที่เราเชื่ออยู่แล้วนั้น ส่วนตัวดิฉันคิดว่าทำได้ยาก แต่หากเราต้องการที่จะเปลี่ยนความเชื่อเหล่านั้นแล้ว อย่างแรกเลยคือเราต้องเปิดใจยอมรับฟังความคิดเห็น และเหตุผลของความเชื่อเหล่านั้น เราต้องมีสติ คิดทบทวนดีๆ ด้วยความคิดของเราเอง โดยเราต้องเริ่มจากการคิดบวก ซึ่งอาจใช้หลักเหตุผลมาช่วยแยกแยะหาข้อดีข้อเสีย จากนั้นเราเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมตามความเชื่อใหม่ ซึ่งหากเกิดผลดีแก่ตัวเรา เราก็มีโอกาสที่จะเปลี่ยนความเชื่อใหม่ให้มาแทนความเชื่อเก่าได้เร็ว โดยบางความเชื่อ เราไม่จำเป็นต้องทิ้งความเชื่อเก่าๆ แต่เราต้องมีการปรับเปลี่ยนความคิด ทัศนคติ และพฤติกรรมบางอย่างเพื่อให้เกิดผลดีต่อตัวเราเองและพฤติกรรมเหล่านั้นต้องไม่เดือดร้อนแก่ผู้อื่น

ชญานิน โฉลกคงถาวร คณะแพทยศาสตร์ กายภาพบำบัด sec031.ในความคิดเห็นส่วนตัว ดิฉันคิดว่าเริ่มแรกนั้นเราก็อาจจะไม่รู้ได้ว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกหรือผิดอย่างไร เนื่องจากมีปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น ความเชื่อที่เราถูกปลูกใังมาตั้งแต่เด็กๆจากครอบครัว นังคม สภาพแวดล้อมที่เราพบเจอซ้ำๆ เกิดจากการได้ยินได้ฟัง เกิดจากการเล่าสืบต่อกันมาตั้งแต่อดีต เกิดจากประสบการณ์ที่เราพบเจอ หรือข้อมูลที่เราได้รับโดยไม่มีข้อมูลอื่นมาลบล้าง ทำให้เราคล้อยตามและเชื่อในที่สุด เราจะรู้ได้ว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องหรือไม่ เราก็ต้องใช้วิจารณญาณ คิดพิจารณา ไตร่ตรองให้ถี่ถ้วนจากตัวเราเองก่อนว่าทำไมถึวเลือกที่จะเชื่อสิ่งนั้น เขื่อแล้วทำมห้เราสบายใจขึ้นหรือเปล่า ส่งผลกระทบต่อผู้อื่นหรือไม่ หากความเชื่อที่เราทีนั้นไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นต้องเดือดร้อน ดิฉันก็คิดว่าความเชื่อนั้นไม่ผิด เราอาจจะไม่ต้องถึงขั้นที่จะพิสูจน์ในทุกๆความเชื่อ ความเชื่อบางอย่างก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้ แต่บางความเชื่อเราอาจจะพิสูจน์ไดเด้วยตัวเองได้โดยการที่เราคิดและแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมนั้นๆแล้วดูผลลัพธ์ออกมาว่าส่งผลดีหรือไม่ เมื่อพิสูจน์ออกมาแล้วหากว่าไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ผิดศีลธรรม จารีตประเพณีและกฎหมายก็แสดงว่าความเชื่อนั้นไม่ผิด หรือไม่เราก็ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม สอบถามบุคคลที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับความเชื่อนั้นเพื่อนำมาประกอบเหตุผล ให้เราได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนตามเหตุและผลก่อนที่จะตัดสินใจว่าความเชื่อนั้นถูกต้องหรือไม่2.ก่อนอื่นเราต้องคิด ไตร่ตรอง หาเหตุผลที่สมเหตุสมผล สามารถลบล้างเหตุผลเดิมเพื่อเปลี่ยนแปลงความเชื่อเดิม เปิดใจยอมรับข้อมูลใหม่ๆ หาประสบการณ์ที่แตกต่าง การที่เราจะเปลี่ยนความเชื่อหนึ่งไปอีกความเชื่อหนึ่งต้องอาศัยการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนตามเหตุและผล ต้องมองหาข้อดีและข้อเสียของหลักความเชื่อเดิม หรือลองทำสิ่งนั้นแล้วดูผลลัพธ์ที่ออกมาว่าส่งผลดีมากกว่าผลเสียหรือไม่ หากความเชื่อเดิมมันส่งผลเสียมากกว่า เราก็เลิกยึดติดกับความเชื่อเดิม แล้วสร้างความเชื่อใหม่ให้ตนเอง จากการที่เราหาเหตุผลได้ด้วยตัวเองหรือมีหลักฐานที่ตัวเราเองได้พิสูจน์แล้ว เมื่อนั้นเราก็จะสามารถเปลี่ยนความเชื่อเดิมของเราได้อย่างสนิทใจและสร้างความเชื่อใหม่ที่ดีขึ้น ส่งผลดีต่อตัวเราและไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน

-ส่วนตัวคิดว่าความเชื่อไม่มีถูกไม่มีผิดเห็นเเต่จะมองว่าความเชื่อนั้นส่งผลกระทบต่อสิ่งเเวดล้อมรอบข้างหรือไม่ หากเรามีความเชื่อเเล้วไม่ได้เบียดเบียนใครก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรที่จะเชื่อ เเต่ตรงข้ามห้างสิ่งที่เชื่อนั้นนำไปสู่การกระทำที่เบียดเบียนผู้อื่นหรือตนเองเห็นจะเป็นความเชื่อที่ไม่ค่อยจะถูกสักเท่าไร

-การเปลี่ยนความเชื่อนั้นเห็นจะต้องเริ่มจากการที่เราต้องเชื่อในสิ่งนั้นก่อน โดยการตั้งคำถามในความเชื่อใหม่ที่เราจะเปลี่ยนเเละหากเราหาคำตอบได้สิ่งเหล่านั้นจะเป็นตัวเสริมเเรงต่อการเปลี่ยนความเชื่อนั้นเอง

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง ? จากมุมมองความคิดของดิฉันนั้น ดิฉันคิดว่า “ความเชื่อ” นั้นเราไม่สามารถตัดสินได้ว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นเป็นสิ่งที่ผิดหรือถูกต้อง เนื่องจากการที่คนเรานั้นเลือกที่จะเชื่ออะไรล้วนเเล้วแต่เป็นสิทธิส่วนบุคคล ทั้งนี้ทั้งนั้นความเชื่อขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ความแตกต่างทางศาสนา สังคม ครอบครัวหรือเเม้กระทั่งสิ่งแวดล้อมต่างๆรอบตัวบุคคลล้วนเเล้วเเต่ส่งผลต่อความเชื่อทั้งนั้นซึ่งหากความเชื่อเหล่านั้นเมื่อเราปฎิบัติเเล้วดี ไม่ส่งผลกระทบต่อตัวเรา คนรอบข้าง สังคม ได้ผ่านกระบวนการคิด ทำให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้น ก็สื่อให้เห็นว่าความเชื่อเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องสำหรับคนนั้น2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง”ความเชื่อใหม่”ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า”ได้อย่างไร ? หากเราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราก็ควรที่จะทบทวนถึงพฤติกรรม ความเชื่อเก่าๆ เเละสร้างความเชื่อใหม่ๆขึ้นมาทดแทนเเต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการเปลี่ยนแปลงความเชื่อใหม่นั้นเป็นสิ่งที่ค่อนข้างยาก ต้องอาศัยระยะเวลา ความอดทน การลองผิดลองถูก เพื่อหาสิ่งที่เหมาะสมแก่ตัวผู้ปฎิบัติเอง พร้อมทั้งหาข้อผิดพลาด ข้อเสียของความเชื่อเก่าที่ส่งผลแก่ตัวเราว่าเมื่อเราปฏิบัติเเล้วเกิดผลเสียต่อตัวเองอย่างไร มากน้อยเพียงใด และลองเปิดใจแก่ความเชื่อใหม่ๆหากความเชื่อเหล่านั้นไม่ส่งผลเสียต่อตนเอง คนรอบข้างเเละสังคม

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?
ความเชื่อมาจากการยอมรับในสิ่งๆหนึ่ง การพิจารณาไต่ตรอง จากประสบการณ์ตั้งแต่เด็กจนโต ความเชื่อสามารถเปลี่ยนแปลงได้ มีทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ต่างบุคคล ต่าศาสนา ก็ต่างความเชื่อ ซึ่งมีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ บางความเชื่อสามารถพิสูจน์ได้ในทางวิทยาศาสตร์ นั่นก็หมายความว่าความเชื่อนั้นถูกต้อง แต่ก็มีบางความเชื่อที่ไม่สามารถที่จะพิสูจน์ได้จริง ซึ่งเราก็ไม่สามารถที่จะไปตัดสินความเชื่อของบุคคลอื่นได้ว่าไม่ถูกต้อง เพราะหากเขาเชื่อในสิ่งนั้น ก็คือสิ่งที่เขายอมรับ มีผลต่อแนวความคิดของบุคคลนั้น
2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?
หากเราต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ นั่นแสดงว่าพฤติกรรมที่เป็นอยู่ส่งผลเสียหรือผลร้ายให้แก่ตนเองหรือบุคคลอื่น เราต้องเริ่มโดยการมองข้อเสียของพฤกติกรรมที่เป็นอยู่ก่อน เมื่อทราบถึงข้อเสียก็ต้องมีความเชื่อใหม่เข้ามารองรับ ให้มองหาข้อดีของความเชื่อใหม่ ซึ่งต้องดีกว่าเดิมจึงจะสามารถเปลี่ยนพฤกติกรรมเก่าได้ ค่อยๆเปลี่ยนแปลงๆ ซึ่งต้องอาศัยการปฏิบัติอย่างสม่ำเมอ จึงจะเปลี่ยนได้

นางสาววรวรรณ คงสมเพชร 6110410089 คณะพยาบาลศาสตร์

น.ส.ภูวรินทร์ ช่วยนุกูล 6110410074 คณะพยาบาลศาสตร์ sec03 1. แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?> ความเชื่อของแต่ละบุคคลแตกต่างกันไปตามการรับรู้ และประสบการณ์ที่ได้พบเจอมา นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับค่านิยมและยุคสมัยด้วย ส่วนตัวดิฉันคิดว่าความเชื่อต่างๆจะถูกต้องหรือไม่นั้นต้องอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงที่พิสูจน์ได้ไม่ว่าจะด้วยกระบวนการใด การมีเหตุผลที่มีความสมเหตุสมผลมารองรับจะทำให้ดิฉันรู้สึกว่าความเชื่อนั้นมันถูกต้อง แต่สุดท้ายความเชื่อมันขึ้นอยู่กับความคิดของแต่ละบุคคล ความเชื่อที่คนหนึ่งมั่นใจว่าถูกต้อง อีกคนอาจจะไม่เห็นด้วยและคิดว่าไม่ถูกต้องก็ได้ การได้ลองเจอหรือลองปฏิบัติสิ่งใดด้วยตัวเองจะทำให้สามารถรับรู้ในความถูกต้องของความเชื่อนั้นได้

  1. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? > ต้องมีการลองเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการกระทำจากความเชื่อนั้น ถ้าหากเราคิดว่าพฤติกรรมเก่าของเราเป็นพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ แปลว่าเราได้คิดวิเคราะห์แล้วว่าความเชื่อเก่าที่ทำให้เราแสดงพฤติกรรมนั้นนั่นมันไม่ถูกต้อง เราจึงต้องมองหาแนวทางใหม่มาแก้พฤติกรรมของเรา การลองมองในมุมใหม่ๆ มุมที่แตกต่าง หรือขยายขอบเขตการรับรู้ของเราจะทำให้เรามีความเชื่อใหม่ๆ เพียงแค่นี้เราก็สามารถเปลี่ยนความเชื่อได้

นายพงศกร เสียมไหม 6210311039 คณะแพทยศาสตร์ สาขากายภาพบำบัด sec 03 1)เราจะทราบได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เราเชื่อนั้นถูกต้องส่วนตัวคิดว่าความเชื่อของแต่ละบุคคลย่อมไม่เหมือนกันและไม่สามารถตัดสินได้ว่าความเชื่อของใครถูกต้องความเชื่อของใครผิด หากไม่มีปัจจัยทางกายภาพเป็นตัวกำหนด2)ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?เราต้องหาเหตุผลมารองรับความเชื่อใหม่ว่าทำไมเราถึงต้องเปลี่ยนแปลงความเชื่อ และถ้าเรามีความเชื่อใหม่แสดงว่าความเชื่อเก่าของเรานั้นเริ่มจะไม่ค่อยถูกต้องสักเท่าไหร่

  1. ความเชื่อเกิดจากความคิด ซึ่งความคิดของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ดังนั้นความเชื่อของแต่ละคนก็ย่อมไม่เหมือนกัน ความเชื่อจึงเป็นสิ่งที่ไม่มีถูกไม่มีผิด ดังนั้น หากจะถามว่าความเชื่อที่มีมานั้นถูกหรือไม่ ก็ต้องดูว่า ความเชื่อที่มีอยู่มันส่งผลให้ประพฤติปฏิบัติตัวไปแนวทางไหน หากปฏิบัติไปในทางที่ถูกต้องตามหลักของสังคม โดยไม่ทำให้ใครเดือดร้อน และส่งผลชีวิตของตนเองดีขึ้น มีความสุข ความเชื่อนั้นย่อมเป็นความเชื่อที่ถูกต้องแล้ว
  2. การที่เราต้องการจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตัวเองได้นั้น ก่อนที่จะเปลี่ยนความเชื่อ อย่างแรกที่จะต้องเปลี่ยนคือ ความคิด เช่น คิดว่าการกระทำแบบนี้แล้วส่งผลเสียอย่างไรบ้าง เมื่อคิดได้ดังนั้น ก็จะเกิดเป็นความเชื่อว่าหากทำในสิ่งใหม่ จะทำให้พฤติกรรมดีตามไปด้วย ดังนั้น การที่จะมีความเชื่อใหม่ๆ เข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่าได้นั้น จะต้องมีความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมก่อน จากความคิด จึงจะกลายเป็นความเชื่อใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น และสามารถเข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่าได้ หากต้องการที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างจริงจัง
  1. เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ทุกคนบนโลกใบนี้ล้วนมีความเชื่อที่อาจจะทั้งเหมือนและแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแหล่งถิ่นฐานที่อยู่อาศัย การอบรมสั่งสอนเลี้ยงดูมาตั้งแต่เด็ก การเรียนรู้ ประสบการณ์ที่เราประสบพบเจอมา และศาสนา บางคนเชื่อทั้งๆที่ไม่มีใครสามารถพิสูจน์ให้เห็นแน่ชัดว่าความเชื่อนั้นเป็นจริงและถูกต้อง การที่เราจะเชื่อสิ่งใดนั้นไม่ใช่เรื่องผิด ทุกคนที่สิทธิที่จะคิด มีสิทธิที่จะเชื่อ แต่การที่เราจะรู้ว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นถูกต้องหรือไม่นั้นเป็นคำถามที่ไม่มีคำตอบตายตัว สำหรับตัวดิฉันเองคิดว่า การที่ดิฉันจะเชื่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ความเชื่อนั้นจะต้องมีเหตุผลมากพอที่จะทำให้เชื่อ เหตุผลในที่นี้ก็คือ การที่ฉันเชื่อในสิ่งนั้นแล้วผลจากการกระทำมันทำให้ฉันสบายใจ รู้สึกดีเป็นสุข ไม่เครียด ไม่ทุกข์ ไม่ส่งผลต่อบุคคลอื่นให้ต้องเดือดร้อนจากความเชื่อของฉัน อย่างเช่น ฉันมีความเชื่อว่าเมื่อทำบุญในวันเกิดของตัวเองในทุกๆปีจะทำให้ฉันหมดทุกข์ พบเจอแต่สิ่งที่ดีๆ มีความสุขในทุกๆวัน ความเชื่อนี้ทำให้ฉันสบายใจ เป็นสุขและไม่ส่งผลให้ใครเดือดร้อน นั้นแหละคือความเชื่อที่ถูกต้อง 2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? หากความเชื่อใดที่ฉันเคยเชื่อแล้วผลจากการกระทำมันทำให้ฉันไม่สบายใจ เป็นทุกข์ หรือทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน แสดงว่าความเชื่อนั้นเป็นความเชื่อที่ผิด ฉันก็จะหาเหตุผลมารองรับว่าทำไมถึงผิด ผิดอย่างไร และสร้างความเชื่อใหม่ขึ้นมาแทน โดยการใช้ความคิดเปรียบเทียบดูว่าระหว่างความเชื่อเก่าและความเชื่อใหม่แตกต่างกันอย่างไร พร้อมทั้งเปิดใจรับฟังผู้อื่นให้มากขึ้นพร้อมรับสิ่งใหม่ๆ เรียนรู้ พิสูจน์ ทดลอง แล้วนำสิ่งที่ได้รู้มาคิดวิเคราะห์เชื่อมโยงเหตุและผลของสิ่งนั้นว่าเชื่อได้ไหม หากเชื่อแล้วส่งผลให้ฉันสบายใจหรือไม่หรือทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนหรือไม่ หากค้นหาสิ่งเหล่านี้ได้ฉันก็สามารถเชื่อความเชื่อใหม่นั้นได้อย่างไม่มีข้อกังขาใดๆ

1)แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?…สาหรับดิฉันความเชื่อเป็นความคิดของแต่ละบุคคล เราไม่สามารถทราบได้ว่าความคิดนั้นจะถูกหรือผิด หากเราไม่ได้มีการพิสูจน์ด้วยตัวเราเอง เหมือนที่เราชาวไทยพุทธที่คิดว่าหากทำชั่วตายไปจะตกนรก ทำให้เรารู้สึกกลัวที่จะทำสิ่งที่ผิด แต่ความเชื่อดังกล่าวเราก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่านรกและสวรรค์มีจริงหรือมั้ย แต่ด้วยความที่เราโดนปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กๆทำให้เราเชื่ออย่างนั้น ความเชื่ออีกอย่างที่เราสามารถพิสูจน์ได้ เช่น หากเราเชื่อว่าการอ่านหนังสือ การตั้งใจ หรือการพยายามทำสิ่งต่างๆจะทำให้เราประสบความสำเร็จตามที่เราตั้งใจไว้ได้ ความเชื่อแบบนี้มันสามารถพิสูจน์ได้หากเราได้ลงมือทำมันจริงๆแล้วและจากการเห็นกรณีตัวอย่างหลายๆคนที่มีให้เห็นอยู่บ่อยๆ ดังนั้นความเชื่อนั้นจะถูกหรือผิดขึ้นอยู่กับการคิด หรือมุมมองความเชื่อของแต่ละคนที่ต่างกันไป ความเชื่อเหล่านั้นเมื่อเราปฎิบัติเเล้วดี ไม่ส่งผลกระทบต่อตัวเรา คนรอบข้าง สังคม ได้ผ่านกระบวนการคิด ทำให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้น ก็สื่อให้เห็นว่าความเชื่อเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องสำหรับคนนั้น2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง”ความเชื่อใหม่”ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า”ได้อย่างไร ?…ก่อนที่เราจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะต้องทบทวนพฤติกรรมที่เราทำอยู่ก่อนว่ามันไม่พึงประสงค์อย่างไร และเราควรแก้จากจุดไหนเพื่อให้มันกลับดีขึ้นมา ส่วนเรื่องความเชื่ออย่างที่บอกว่าความเชื่อบางอย่างมันไม่ถูกต้องเสมอไป เราจะต้องลองพิสูจน์มันก่อน หากมันดีเราก็เชื่อมันต่อไป แต่ถ้าหากมันไม่ดีเราก็เลือกที่จะสร้างความเชื่อใหม่ๆของเราขึ้นมาเอง เพราะความเชื่อของเราไม่มีใครมาสั่งหรือบังคับให้เชื่อได้นอกจากตัวเราเอง ที่ได้ทำการพิสูจน์ด้วยตัวเราเองแล้ว

1.เรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ความเชื่อ ในความคิดของดิฉัน แน่นอนอยู่แล้วคะว่าคนเรามีความเชื่อในทุกๆเรื่องไม่เหมือนกันอาจจะเป็นเพราะการเลี้ยงดูจากครอบครัว การเรียนรู้ การพบเจอ ดังนั้นความเชื่อจะถูกต้องหรือไม่ก็ขึ้นจากมุมมองของแต่ละคน เราไม่สามรถไปตัดสินว่าสิ่งนี้ถูกต้องนะ สิ่งนี้ผิดนะ เพราะคนเรามีแง่คิดและความเชื่อที่ต่างกัน สำหรับดิฉันนับถือศาสนาพุทธ ดิฉันมีความเชื่อว่า “คนทำดีต้องได้ดี ทำเชื่อต้องได้ชั่ว” หลายๆคนอาจ จะมองว่ามันไม่จริง บางคนอาจจะคิดว่าทำดีมาตลอดแต่ไม่เห็นได้ดีเลย เราไม่สามารถที่จะไปตัดสินเขาได้ แต่เรายอมรับฟังในความเชื่อที่แตกต่างนั้นได้ ดิฉันมีความว่าความดีที่ทำมันไม่สามารถเห็นผลได้ใน 2-3 วันหรอก มันจะค่อยๆสะสมไปเรื่อยๆ ในวันหนึ่งวันที่เราลำบาก หรือมีปัญหา ดิฉันเชื่อว่าความดีเหล่านี้จะส่งให้เราพ้นทุกข์และเจอแต่สิ่งดี

2.เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? สำหรับดิฉัน ดิฉันคิดว่าก่อนที่ เราจะเปลี่ยนแปลงความเชื่อนั้น เราต้องหาสาเหตุก่อนว่าทำไมจึงเปลี่ยน เป็นเพราะมันส่งผลให้เรากระทำการไม่ดีหรือเป็นเพราะอะไร เมื่อเรารู้แล้วว่าเราประพฤติไม่ดีตรงไหน เราก็จะนำข้อเสียตรงนั้นมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีกว่าเดิม แล้วดูผลตอบรับของมันว่าออกมาดี เป็นที่น่ายอมรับขนาดไหน แต่หากเราอยากมีความเชื่อใหม่ๆความเชื่อใหม่จะมาแทนที่ความเชื่อเก่าได้นั้นจะต้องเป็นความเชื่อที่ดีกว่าความเชื่อเก่า และส่งผลให้เราเป็นไปตามความเชื่อเหล่านั้นและเป็นความเชื่อในทางที่ดี ที่ถูกต้อง ไม่ทำให้คนที่เรารัก ครอบครัวหรือคนรอบข้างต้องเดือนร้อนเพราะความเชื่อใหม่ๆนั้น

ดิฉัน นางสาว กานต์ธิดา ไพจิตจินดา 6110410131 คณะพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 1. แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?- ดิฉันคิดว่า ความเชื่อนั้น ไม่สามารถบอกได้ว่าผิดหรือถูก เพราะแต่ละความเชื่อล้วนแล้วแต่มีเหตุผลที่ทำให้เกิดเป็นความเชื่อนั้นขึ้นมา คนที่เชื่อในความเชื่อต่างๆ ทุกคนล้วนแต่มีเหตุผลของแต่ละคน เช่น อาจจะได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก เชื่อตามครอบครัวหรือชุมชน แต่ละความเชื่อล้วนแล้วแต่แตกต่างกัน ตามชาติพันธุ์ ที่อยู่อาศัย สภาพอากาศ เป็นต้น ดังนั้นการตัดสินว่าเราความเชื่อของเรานั้นถูกต้องหรือไม่นั้นไม่อาจจะมาตัดสินได้ เพราะความเชื่อที่เราคิดว่าถูกต้อง อาจจะผิดในความเชื่อของคนอื่นก็ได้ 2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?- ก่อนอื่นเราควรเปิดใจให้กับความเชื่อใหม่ ให้เข้ามาในชีวิตแทนที่ความเชื่อเก่า เพราะถ้าหากเริ่มต้นที่จะเชื่อในความเชื่อใหม่แล้ว เราควรเริ่มจากการเปิดใจก่อน และก็ควรทบทวนเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของตนเอง ว่าจะนำมาปรับใช้กับความเชื่อใหม่ได้อย่างไร เพื่อที่จะได้ปรับเปลี่ยนได้ทีละเล็กทีละน้อย เพื่อไม่ให้เรารู้สึกฝืนใจที่จะเปลี่ยนความเชื่อนั้นไปเลย

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? สำหรับตัวฉันเองหากจะเชื่อเรื่องใดสักเรื่องหนึ่ง ฉันก็จะหาข้อมูล ข้อเท็จจริงให้แน่ชัดก่อนว่าน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดหรือมีความเป็นจริงมากน้อยแค่ไหน และสำหรับบางความเชื่ออาจจะไม่สามารถหาข้อมูลยืนยันได้อย่างชัดเจนแต่หากดูจากผลลัพธ์และใช้เหตุผลหรือความรู้ที่มีอยู่เป็นตัววัดหรือชั่งน้ำหนักความเป็นไปได้แล้ว เราสามารถเป็นคนตัดสินได้เองว่าสิ่งนั้นมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดหรืออาจจะเปรียบเทียบกับจำนวนคนหรือระยะเวลาที่มีต่อความเชื่อนั้นว่ามีจำนวนมากแค่ไหนและระยะเวลานานเท่าไรเพราะถ้าหากความเชื่อนั้นไม่ถูกต้องหรือชัดเจนก็จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงหรือได้รับการคัดค้านมาแล้ว2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง”ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? การที่เราจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองนั้นสำหรับตัวฉันเอง ฉันคิดว่าควรจะเริ่มปรับเปลี่ยนความคิดและความเชื่อของตัวเองขึ้นมาใหม่ก่อนโดยจะต้องคำนึงถึงเหตุผลก่อนว่า ทำไมเราเลือกที่จะปรับเปลี่ยนซึ่งแน่นอนว่าการที่เรามีการปรับเปลี่ยนมันแสดงให้เห็นว่าสิ่งนั้นอาจจะยังไม่ดีพอสำหรับเรา เราก็ควรจะเลือกสิ่งที่ดีๆเข้ามาทดแทนในสิ่งที่คิดว่าจะมีการปรับเปลี่ยนโดยต้องเริ่มจากการให้กำลังใจตัวเอง เชื่อมั่นในตนเองและหาข้อมูลมาเป็นเหตุผลให้กับตัวเองว่าทำไปเพื่ออะไร และมีผลดีต่อตัวเราอย่างไรเพื่อที่จะเป็นแรงผลักดันให้รู้สึกอยากมีการเปลี่ยนความคิดเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนความเชื่อและพฤติกรรมใหม่

1.เรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ความเชื่อเป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับเรา และถือว่าเป็นวัฒนธรรมของเราอย่างหนึ่ง ความเชื่อจึงเกิดจากการเกิดขึ้น และการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติที่มนุษย์เชื่อว่าเป็นการบให้เกิดขึ้นจากอำนาจของเทวดา พระเจ้า หรือภูตผีปีศาจ ดังนั้นเมื่อเกิดปรากฏการณ์ต่างๆ ขึ้น เช่น ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า แผ่นดินไหว ต่างๆ ขึ้น ล้วนเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อชีวิตหรือความเป็นอยู่ ซึ่งยากที่จะป้องกันหรือแก้ไขได้ด้วยตัวเอง บางอย่างเป็นเหตุการณ์ที่ให้ประโยชน์ แต่บางเหตุการณ์ก็เป็นอันตรายต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์ มนุษย์จึงพยายามที่จะคิดหาวิธีการที่จะก่อให้เกิดผลในทางที่ดี ทำให้เกิดเป็นแนวทางปฏิบัติที่เป็นพิธีกรรมหรือศาสนาเกิดขึ้น ทำให้เรากลัวที่จะทำไม่ดีกลัวบาปแต่จะทำความดีมากขึ้น แต่ละคนถูกปลูกฝังมาไม่เหมือนกันบางคนคนคิดว่าความเชื่อนี้ถูกต้องแต่บางคนอาจจะคิดว่ายังไม่ถูกต้อง แต่สำหรับเราเราว่าถ้าเราทำแล้วสบายใจและผู้อื่นไม่เดือดร้อน ทำแล้วเกิดผลดี เราสามารถที่จะปฏิบัติตามได้ก็ถือเป็นความเชื่อที่ถูกต้องได้ 2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่“ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? เราต้องปรับทัศนคติโดยการคิดว่าถ้าเราไม่ชอบให้คนอื่นมาทำอย่างนี้กับเราเราก็อย่าไปทำแบบนี้กับใครๆเขา มันจะทำให้เรามีพฤติกรรมที่เหมาะสมในเรื่องของการอยู่ร่วมกันกับเพื่อนมนุษย์ เช่น เราไปพูดดูถูกเพื่อนแล้วหากวันใดที่เพื่อนคนนั้นดูถูกเรากลับก็สมเหตุสมผลแล้วเพราะเราไปดูถูกเขาก่อน ถ้าเกิดเราไม่ชอบให้เขาดูถูกเราก็ไม่ควรไปดูถูกเขาถ้าทุกคนคิดแบบนี้กันก็จะอยู่ร่วมกันได้อย่างสบายใจ

นางสาวศุภาพิชญ์ ใส้เพี้ย 6110410190 คณะพยาบาลศาสตร์ sec03• แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้องเชื่อว่าตราบใดที่ความเชื่อของเรานั้นไม่เบียดเบียนใครหรือทำให้ใครเดือดร้อน ก็ถือว่าความเชื่อนั้นไม่ใช่ความเชื่อที่ผิด หรือแม้แต่ความเชื่อของผู้อื่นด้วยเช่นกัน ถ้าไม่ได้ทำให้เราเดือดร้อน ความเชื่อของคนนั้นไม่ได้หมายความผิด คนเรามีความคิดและความเชื่อที่แตกต่างกัน นั่นก็ไม่แปลกที่แต่ละคนต่างบอกว่าความเชื่อของตัวเองถูกและมันจะดีมากขึ้นไปอีกถ้าเราเคารพในคววามเชื่อของคนอื่นด้วย หากเราคิดเช่นนี้ได้ เราก็จะสามารถเรียนรู้เนื้อหาในความเชื่อของคนอื่นได้ และเราก็จะเข้าใจในความแตกต่างของความเชื่อแต่ละคน อีกทั้งคนอื่นก็จะสามรถเรียนรู้เนื้อหาความเชื่อของเราได้เช่นกัน เพราะสิ่งเหล่านี้ต่างไม่มีถูกหรือผิด เหมือนที่กล่าวไปข้างต้นคือคนเรามีความเชื่อที่แตกต่างกัน ไม่แปลกถ้าเราจะบอกว่าความเชื่อของเราถูก และความเชื่อเราไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้ใคร• หากเราต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไรการจะเปลี่ยนความเชื่อต้องเริ่มจากการพิจารณาเหตุและผล ความเชื่อที่มาแทนที่ความเชื่อเก่าต้องมีเหตุผลมากพอ ไม่มีข้อโต้แย้ง ได้จากการเรียนรู้สิ่งต่างๆที่ผ่านเข้ามาในชีวิตสิ่งเหล่านั้นจะช่วยพัฒนาความคิดของเราเมื่อสมควรแก่เหตุและสมควรแก่ผลแล้ว การเปลี่ยนแปลงความเชื่อก็ไม่ใช่เรื่องลำบาก แล้วความคิดและเหตุผลที่มาสนับสนุนนั้นก็จะก่อให้เกิดความเชื่อใหม่ๆเกิดขึ้น การเปิดกว้างทางความคิดจึงเป็นสิ่งจำเป็น การมีแรงบันดาลใจหรือแรงจูงใจเป็นสิ่งหนึ่งที่จะผลักดัน ทำให้เรามีกำลังใจในการเปลี่ยนแปลงความคิด ความเชื่อได้ง่ายมากขึ้น เพราะเรารู้ว่าเราต้องทำเพื่ออะไร ซึ่งความเชื่อไม่ได้เป็นสิ่งตายตัว ความเชื่อสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความคิดของเรา อยู่ที่ตัวเราและเวลาในตอนนั้นว่าเราจะคิดและเชื่ออย่างไร

นางสาวศิภ์ธิณัศม์ เตียวสกุล 6110410096 sec03 คณะพยาบาลศาสตร์ 1. แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?Ans เราทุกคนมีความเชื่อที่แตกต่างกันไปในแต่ละครอบครัวขึ้นอยู่การเลี้ยงดูปลูกฝัง ศาสนา สถานะทางสังคม สภาพภูมิศาสตร์ รวมถึงภูมิอากาศก็ยังมีอิทธิพลต่อความเชื่อ ซึ่งในแต่ละความเชื่อก็จะมีความแตกต่างไปในแต่ละพื้นที่อย่างเช่น คนไทยมีความเชื่อว่าต้องเคารพเจ้าที่ที่อยู่บนต้นไม้ ส่วนคนยุโรปนั้นเชื่อในพระเจ้า การที่เราจะพิสูจน์ได้ว่าความเชื่อของเรานั้นถูกต้อง ต้องอยู่ในพื้นฐานของความเป็นจริงที่พิสูจน์ได้ ไม่ใช่สิ่งที่คนส่วนมากอุปทานขึ้นมา่ ในอีกทางหนึ่ง เมื่อบุคคลอื่นไม่ได้มีความเชื่อเหมือนเรา เราก็ไม่ควรไปลบหลู่ความเชื่อของเขา เพราะแต่ละบุคคลย่อมมีความคิดต่อเรื่องต่างๆไม่เหมือนกัน แต่หากสิ่งที่เขาเชื่อนั้นได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่เป็นความจริง เราก็ควรให้คำแนะนำแก่เขาไป

2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?Ans ในความคิดของดิฉันนั้น การที่เราจะเปลี่ยนความเชื่อของเราได้นั้น แสดงว่าเราต้องรับรู้มาแล้วว่าความเชื่อนั้นๆไม่ดีต่อตนเอง ไม่ว่าจะพิสูจน์ด้วยตนเองหรือมีการตัวอย่างให้ดู ซึ่งจะทำให้ตัวดิฉันนั้นมีแรงจูงใจที่จะเปลี่ยนความเชื่อ และการเปลี่ยนความเชื่อนั้นจะส่งผลให้ดิฉันเปลี่ยนพฤติกรรมและนิสัยด้วย ตามทฤษฎีของ หนังสือจิตวิทยายุคปี 2505 ที่ชื่อว่า Psycho-Cybernatics ได้เขียนว่าการที่คนเราจะเปลี่ยนนิสัยได้นั้นต้องทำให้เกิดความชินภายใน 21 วันหลังจากนั้น การเปลี่ยนความเชื่อและพฤติกรรมจะสำเร็จ

  1. แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?การที่ความเชื่อเกิดขึ้นได้นั้นจะต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง ทั้งความเชื่อที่หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นความเชื่อเล็กๆน้อยๆแต่จริงๆการที่เรานั้นจะมีความเชื่อเป็นสิ่งที่ไม่ผิดหลายคนต่างมีความเชื่อและแต่ละคนไม่จำเป็นต้องมีแค่ความเชื่อเดียวเสมอไป แต่บางครั้งความเชื่อที่เรานั้นเชื่อไปไม่ได้ถูกต้องเสมอไปในบางความเชื่อหากเป็นสิ่งที่ไม่อยู่บนพื้นฐานแห่งความเป็นจริงไม่ควรที่จะเชื่ออย่าง100% ควรมีการไตร่ตรองให้รอบคอบก่อนที่จะเชื่อและปฏิบัติตามความเชื่อนั้นเพราะในบางครั้งอาจจะทำให้เรานั้นเกิดอันตรายหรือเกิดความเดือดร้อนได้ ดิฉันคิดว่าการที่เราจะเชื่ออะไรนั้นเราควรคิดพิจารณาถึงหลักพื้นฐานของความเป็นจริงในสิ่งที่จะเชื่อลองหาข้อมูลให้แน่ใจก่อนทั้งผลที่เกิดขึ้นจากความเชื่อหรือผลกระทบจากความเชื่อเพื่อพิจารณาความถูกต้องของสิ่งที่เชื่อนั้นๆแต่อย่างไรก็ตามความเชื่อในบางสิ่งเป็นเสมือนกลยุทธ์ที่ทำให้เรานั้นเกิดความคิดที่ดีได้
  2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?ในการที่เราจะสร้างความเชื่อใหม่เพื่อเข้ามาแทนที่ความเชื่อเดิมนั้นในตอนแรกอาจจะทำได้ยากเพราะเราเชื่อความเชื่อเดิมๆมาก่อนแล้วจนกระทั่งเราอยากที่จะเชื่อความเชื่อใหม่ที่เพิ่งจะมีมาได้ไม่นานแต่หากความเชื่อใหม่นั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องเราก็ต้องเชื่อความเชื่อใหม่แต่การที่จะเปลี่ยนให้เชื่อได้นั้นเหมือนอย่างที่ได้กล่าวไว้ไม่ว่าเราจะเชื่ออะไรก็ตามสิ่งที่เราต้องคำนึงถึงคือหลักแห่งความเป็นจริงและความปลอดภัยต่อความเชื่อนั้นให้มากที่สุดอันดับแรกในการสร้างความเชื่อใหม่คือ คุณจะต้องหาข้อมูลความเป็นไปได้ของความเชื่อนั้นๆ และหาผลกระทบหรือสาเหตุของความเชื่อเก่าด้วยหากความเชื่อใม่นั้นให้ข้อมูลหรือผลที่ดีกว่าคุณก็ควรเชื่อได้ประมาณ50%แล้วว่าความเชื่อนั้นก็ดีและน่าจะเชื่อได้ อย่างการที่หลายคนมีความเชื่อเก่าว่าหากเป็นแผลหรือผ่าตัดใหม่ๆห้ามกินเนื้อไก่เพราะจะทำให้แผลให้ยากหรือเป็นหนองได้แต่ในความเป็นจริงคุณสามารถกินเนื้อไก่ได้เนื่องจากเนื้อไก่เป็นโปรตีนจะช่วยให้แผลหายดีขึ้นเพราะโปรตีนช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้ดังนั้นเมื่อคุณหาข้อมูลแล้วคุณก็จะต้องเชื่อในสิ่งที่ส่งผลดีต่อคุณมากกว่า

ดิฉันนางสาวกัญชุมา ศรีสวนแก้ว รหัสนักศึกษา 6110410129 ชั้นปีที่2 Section 03 1.เรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?ความเชื่อ เป็นการยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริงหรือเป็นสิ่งที่เราไว้ใจซึ่งอาจได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรม สภาพแวดล้อม สังคม ค่านิยม ของบรรพบุรุษที่สืบต่อกันมานั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่เราควรจะต้องวิเคราะห์ในความเชื่อนั้นๆว่ามีความเป็นเหตุเป็นผลมากแค่ไหน มีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด อาจหาข้อเท็จจริงมาสนับสนุนเพื่อให้ความเชื่อนั้นมีความถูกต้อง แยกแยะในสิ่งที่ควรจะเชื่อ โดยไม่ใช่การเชื่อแบบงมงาย เป็นความเชื่อที่เกิดขึ้นในทางบวก ไม่ทำร้ายผู้อื่น และตัวเราสามารถเชื่อในสิ่งนั้นได้สนิทใจจริงอย่างไม่มีข้อสงสัย2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?อย่างแรกคือเราต้องประเมินตนเอง รับรู้ตนเองว่าพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเรา เป็นพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์จริงๆ ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เกิดผลเสียต่อผู้อื่น เมื่อเรารับรู้ตนเองเราจะเริ่มวิเคราะห์ พิจารณา ความเชื่อเก่าว่าว่าควรปรับเปลี่ยนหรือไม่ ถ้าปรับเปลี่ยนแล้วดีขึ้นอย่างไร แย่ลงอย่างไร เมื่อเราได้ข้อสรุปแล้ว เราก็จะเริ่มปรับความเชื่อใหม่ เปิดใจกว้างยอมรับกับความเชื่อใหม่ๆ โดยต้องผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์แล้วความเชื่อใหม่จะค่อยๆซึมซับเข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่า จนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น

1.แล้วรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อนั้นถูกต้อง?ในความคิดของดิฉัน คิดว่าทุกคนมีความเชื่อที่แตกต่างกัน ซึ่งความเชื่อของแต่ละคนนั้นก็ต่างเกิดขึ้นมาจากสิ่งที่แต่ละคนได้พบเจอมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ล้วนแล้วมีอิทธิพลต่อความศรัทธา นับถือ แตกต่างกันไป ความถูกต้องก็อยู่บนพื้นฐานของการคิดการตัดสินใจของคนนั้นๆ บางคนเชื่อว่าความเชื่อนั้นถูกต้องเพราะมีการพิสูจน์มาแล้วจากคนส่วนมาก แต่บางคนก็เลือกที่จะเชื่อในสิ่งที่ตัวเองพบเจอมา ดังนั้น ความเชื่อที่ว่าถูกต้องแล้วหรือไม่ เป็นสิทธิการตัดสินใจของบุคคลนั้นๆ แต่ต้องไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนด้วย2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเราเราสามารถสร้าง”ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่”ความเชื่อเก่า”ได้อย่างไร? ดิฉันคิดว่า เราสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์นี้ได้โดยการริเริ่มหาความเชื่อใหม่ และลองปฏิบัติดูว่า ความเชื่อใหม่นี้ สามารถทำได้จริงหรือไม่ และสามารถมาลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์จากความเชื่อเก่าได้ หากหาความเชื่อใหม่ได้แล้ว ให้ค่อยๆปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและปฏิบัติอย่างเป็นประจำ จนเกิดความชำนาญ และสามาถดำรงชีวิตได้โดยไม่ส่งเสียต่อตนเองและผู้อื่นนางสาวซันมาร์ สะเหะยุนุ่ย6110410031 คณะพยาบาลศาสตร์

1.ความเชื่อถือเป็นนามธรรม มีทั้งความเชื่อที่พิสูจน์ได้และไม่สามารถพิสูจน์ได้ ดังนั้นถ้าถามถึงความถูกต้องของความเชื่อที่เรามี แบ่งเป็นเป็นสองประเด็น คือ ความเชื่อที่สามารถพิสูจน์ได้ จะถูกต้องต่อเมื่อได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นจริง ส่วนความเชื่อที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ ดิฉันคิดว่าน่าจะวัดจากผลของความเชื่อนั้น หากความเชื่อนั้นส่งผลดีต่อตนเอง ไม่กระทบผู้อื่น มันก็เป็นความเชื่อที่ดีและถูกต้องสำหรับคนนั้น แต่ถ้าหากส่งผลเสียทั้งตนเองและผู้อื่น ดิฉันคิดว่าความเชื่อนั้น ต้องได้รับการพิจารณาอีกครั้งว่ามันถูกต้องจริงหรือ สุดท้ายสรุปได้ว่า ความเชื่อที่ดิฉันมี ณ ปัจจุบัน เป็นความเชื่อที่ถูกต้อง เพราะมันส่งผลดีต่อตัวดิฉันและผู้อื่น ส่งผลให้ดิฉันมีความคิดที่ดี เป็นบวก และแสดงออกมาทางพฤติกรรมที่ไม่สร้างความเดือดร้อนต่อผู้อื่น2.การที่เราจะเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ เราต้องเริ่มจากมีความเชื่อใหม่ในเรื่องนั้น เมื่อมีความเชื่อใหม่ จะมีความคิดใหม่ๆ ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมใหม่ แต่หากจะให้เปลี่ยนความเชื่อใหม่เลย คงไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นควรเริ่มจากการเริ่มรู้ตัวเองก่อนว่า ตนเองมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ต่อมาค้นหาสาเหตุของความเชื่อเก่า ที่เป็นต้นตอของพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ แล้วจึงปรับเปลี่ยนให้เป็นความเชื่อใหม่ที่ไม่ขัดกับความเชื่อเดิมที่ดี โดยในการปรับต้องเริ่มจาก รู้ตัว เปิดใจ ค่อยๆปรับ จนได้เป็นความเชื่อใหม่ที่ดี คามคิดใหม่ที่ดี และส่งผลต่อพฤติกรรมที่พึงประสงค์

1) ความเชื่อไม่มีถูกหรือผิด อยู่ที่เราอยากจะเชื่อมากกว่า เราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าความเชื่อของเรานั้นถูก หรือผิดกันเเน่ ถึงสิ่งนั้นจะถูกเเต่เมื่อเราเชื่อว่ามันผิด คนเราก็ต้องเอาตัวเองเป็นใหญ่ หรือเราต้องได้รับการพิสูจน์ให้เห็นกับตาตัวเอง เราถึงจะเชื่อว่าสิ่งนั้นถูกต้องเเน่นอน เราเชื่อว่าความเชื่อสำคัญกว่าความคิด เราเชื่อในสิ่งที่เราอยากจะเชื่อ ความเชื่อที่ถูกต้องคือเราต้องเชื่อตัวเอง อย่างเช่น เราเชื่อว่าเพื่อนคนนั้นนิสัยดี เเต่คนอื่นมาบอกว่าคนนั้นไม่ดีเลย เราอย่าพึ่งเชื่อคนอื่นก่อน เราต้องไตร่ตรองให้ดีหรือต้องได้รับการพิสูจน์ก่อนถึงจะรู้ว่าถูกต้องหรือไม่อย่างไร2) เราต้องไตร่ตรอง หรือทบทวนตัวเองให้ดีก่อน ว่าความเชื่อที่เรามีนั้นเหมาะสมดีเเล้วหรือยัง เเละเราควรเปิดใจให้กับสิ่งใหม่ๆที่เราได้พบเจอหรือได้ยินมา พร้อมรับกับความเชื่อใหม่ๆ เเละเราควรคิดให้ดีว่าควรเชื่อสิ่งนั้นหรือไม่ ถ้าคิดได้เเล้วว่าความเชื่อใหม่ๆนั้นดีกว่าความเชื่อเก่าที่เรามี เราก็เชื่อสิ่งใหม่เเทน การรับความเชื่อใหม่ๆนั้นคือการเปิดโลกทัศน์ใหม่ให้กับตัวเอง ไม่จมปลักอยู่กับความเชื่อเดิมๆ

1.เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อของเรานั้นถูกต้องความเชื่อคือ การยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริง โดยความเชื่อแตกต่างกันไปตามลักษณะวิถีชีวิต ประสบการณ์ สิ่งแวดล้อม ทำให้ความเชื่อนั้นมีความหลากหลาย จึงเป็นเรื่องยากที่จะตัดสินว่าสิ่งใดจริงไม่จริง สิ่งใดผิดหรือถูก แต่หากจะพิจารณาว่าความเชื่อที่เรามีนั้นมีความถูกต้องหรือไม่นั้น จะต้องมีการรวบรวมข้อมูล หลักฐาน ข้อเท็จจริงและข้อมูลสนับสนุน มาพิจารณารับรองว่าความเชื่อของเรานั้นมีความถูกต้อง และความเชื่อนั้นจะต้องมีความสมเหตุสมผลในด้านต่างๆ มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคนอื่นๆเพื่อพิจารณาว่าสิ่งที่เราเชื่อเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และความเชื่อนั้นต้องไม่สร้างความเดือนร้อนหรือส่งผลเสียต่อผู้อื่น2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?อย่างแรกคือต้องพิจารณาหาสาเหตุว่าทำไมจึงเกิดความเชื่อต่อความเชื่อเก่าก่อน ว่าเกิดจากสิ่งใด มีที่มาอย่างไร ทำไมเราถึงเชื่อ และความเชื่อนั้นไม่สมเหตุสมผลอย่างไร และรวบรวมข้อมูลข้อสนับสนุนที่สมเหตุสมผลมาคิดพิจารณาเพื่อจะทำให้เกิดความเชื่อใหม่และมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ มุมมองความคิดกับคนอื่นๆเพื่อพิจารณา มีการเปิดใจตนเองให้มีความเชื่อใหม่ที่ถูกต้องและสมเหตุสมผล และนึกถึงผลดีที่จะตามมาหากเรามีความเชื่อที่ถูกต้อง

นางสาวศศิร์อร รัตนดิต รหัส6110410095 Sec.03 1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?ในความเป็นจริง เราจะไม่อาจรู้ได้เลยว่าความเชื่อที่มีมานานแล้ว หรือความเชื่อที่เราเคยได้ยินมานั้นเป็นความเชื่อที่ถูกต้องหรือไม่ เพราะแต่ละคนก็มีวัฒนธรรม การเลี้ยงดูและการสั่งสอนที่ไม่เหมือนกัน เราจะรู้ได้ก็ต่อเมื่อความเชื่อนั้นจะได้รับการพิสูจน์จากแหล่งที่เชื่อถือได้ ซึ่งบางความเชื่อ ณ ปัจจุบันก็อาจจะยังพิสูจน์ไม่ได้ แต่สาเหตุที่คนยังเชื่อทั้งที่ยังพิสูจน์ไม่ได้นั้น ดิฉันคิดว่าเมื่อคนเรามีความเชื่อในสิ่งหนึ่งสิ่งใดตั้งแต่ครั้งแรกแล้วนั้น เราก็จะยึดมั่นในความเชื่อนั้นไปตลอดซึ่งยากที่จะทำให้คนๆหนึ่งเปลี่ยนความเชื่อที่มีมาตั้งแต่แรกเป็นอย่างอื่นได้ นอกเสียจากว่าความเชื่อนั้นถูกพิสูจน์โดยแน่ชัดแล้วว่าไม่เป็นความจริงและเราเองก็รู้สึกว่าความเชื่อเดิมของเราถูกสั่นคลอนจนเราไม่สามารถเชื่อแบบเดิมได้อีกแล้ว เราก็อาจจะเปลี่ยนความเชื่อไปเป็นอีกแบบซึ่งเรารู้สึกว่ามันเป็นไปได้มากกว่าก็ได้ แต่ในบางคน ถึงความเชื่อนั้นจะได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นความเชื่อที่ผิดแล้วก็ตาม แต่เขาก็ยังมั่นคงที่จะยึดถือว่าความเชื่อที่มีอยู่เดิมเป็นความเชื่อที่ถูกต้องของตัวเองอยู่ ถึงแม้ว่าจะได้รับการพิสูจน์แล้วว่าความเชื่อนั้นไม่เป็นความจริงก็ตาม ซึ่งความเชื่อที่แรงกล้าเหล่านั้นก็จะมีผลต่อความคิดและการกระทำต่อๆไป เช่นถ้าเราเชื่อว่าAเป็นคนไม่ดี เราก็จะคิดอคติหรือคิดในแง่ลบกับA แล้วพฤติกรรมของเราที่มีต่อAก็จะเป็นพฤติกรรมที่ไม่ดีไปด้วย2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?การที่เราจะสร้างความเชื่อใหม่ให้มาแทนที่ความเชื่อเก่าได้นั้น เราต้องมีความเชื่อมั่นในเรื่องใหม่และความเชื่อในเรื่องใหม่นั้นต้องมีน้ำหนักและเป็นเหตุเป็นผลมากพอที่จะมาแทนเรื่องเก่าได้ก่อน ซึ่งความเชื่อที่ดีจะเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดที่ดีและพฤติกรรมที่ดี ซึ่งในส่วนของความคิดที่ดีนั้นเราน่าจะประเมินตัวเองได้ว่าเรามีความคิดที่ดีหรือไม่หรือถ้ามีความคิดที่ไม่ดีแต่มันไม่ได้ไปเบียดเบียนผู้อื่นก็อาจจะไม่ค่อยส่งผลกระทบอะไรนัก แต่ถ้าเรามีพฤติกรรมที่ไม่ดีที่สืบเนื่องมาจากความเชื่อเก่าๆที่มันผิดแล้วพฤติกรรมนั้นก็ไปเบียดเบียนผู้อื่นในสังคม การที่เราจะแก้ไขพฤติกรรมได้อย่างยั่งยืนนั้นเราก็ต้องแก้ที่ความเชื่อเก่าๆที่มันผิด แล้วก็คิดใหม่ปรับความเชื่อใหม่ ซึ่งความเชื่อใหม่นั้นเกิดจากการที่เราต้องการปรับพฤติกรรมที่ไม่ดีให้มันดีขึ้น ฉะนั้นความเชื่อใหม่จึงมีน้ำหนักและเป็นเหตุเป็นผลพอที่เราจะปรับมาใช้แทนความเชื่อเก่าที่มีมาแต่เดิม

นางสาวภานุชนาถ นารี 6110410073 คณะพยาบาลศาสตร์ sec.031.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง ? ความเชื่อ คือ การรับรู้ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นเรื่องจริงหรือเป็นสิ่งที่ทำให้เราเข้าใจในเรื่องเหล่านั้น ความเชื่อไม่จำเป็นว่าจะต้องตรงกับความจริงตามหลักเหตุผลหรือหลักวิทยาศาสตร์ใดๆ คนที่เชื่อในฤกษ์ยามก็จะถือว่า วันเวลาการโคจรของดวงดาวจะก่อให้เกิดผลในอนาคตในวันข้างหน้า ถ้าหากถือเอาฤกษ์ดีเป็นที่ตั้งฤกษ์ก็ควรจะดูการโคจรของดวงดาวก่อน ส่วนคนที่เชื่อเรื่องเครื่องรางของขลังก็จะมีความเชื่อว่า เครื่องรางของขลังให้คุณให้โทษแก่ตนได้จริง ซ้ำยังเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของคนว่าจะสามารถป้องกันภยันตรายได้ ความเชื่อจะก่อให้เกิดภาวะทางจิตใจขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ดังนั้นต่างคนก็ต่างความเชื่อ ต่างศาสนา แล้วแต่คนว่าจะเลือกเชื่อแบบไหน ความเชื่อไม่มีผิดไม่มีถูก การที่แต่ละคนมีความเชื่อแตกต่างกันนั้นสุดท้ายแล้วทุกคนก็เอาความสบายใจเป็นที่ตั้ง เพราะทุกคนเลือกที่จะปฏิบัติตามความเชื่อของตนเองเสมอ

2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง”ความเชื่อใหม่”ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า”ได้อย่างไรการที่จะปรับเปลี่ยนความคิดความเชื่อของแต่ละคนนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ง่ายเลย เพราะการที่เราเชื่อ เรากระทำสิ่งนั้นมาโดยตลอดก็จะทำให้เรายึดสิ่งนั้นว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องเสมอ อย่างเช่นเราถูกปลูกฝังมาว่า ชีวิตหลังจากความตายมีจริง ซึ่งเรื่องนี้ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ในทางวิทยาศาสตร์ มันเป็นเรื่องของความเชื่อของบุคคลหนึ่งบุคคลใดเท่านั้น แต่ถ้าหากจะให้เราเปลี่ยนแปลงความเชื่อไปฉับพลันทันใดนั้น ก็คงจะเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากความเชื่อเก่านั้นเป็นสิ่งที่เราเชื่อมาตั้งแต่เกิดว่ามันควรจะเป็นแบบนั้น ถ้าเราจะเปลี่ยนไปเชื่อสิ่งใหม่เราก็ควรจะเริ่มปรับเปลี่ยนความเชื่อไปที่ละน้อยๆ เพื่อไม่ให้เรารู้สึกว่ามันเป็นการบังคับให้เชื่อสิ่งที่ต้องการให้เชื่อ ความเชื่อเปลี่ยนได้เสมอแค่ต้องใช้เวลาเท่านั้นเอง

  1. เรารู้ได้อย่างไร ว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้อง ความเชื่อของแต่ละคนไม่เหมือนกัน การถูกเลี้ยงดูต่างกัน ต่างครอบครัว ต่างสภาพแวดล้อม ต่างเพศ ต่างถิ่นที่อยู่ ต่างภาษา ต่างศาสนา การถูกปลูกฝังที่ต่างกัน การถูกเลี้ยงดูที่ต่างกัน อายุประสบการณ์ที่ต่างกัน ความเชื่อไม่มีถูกผิดแต่ขึ้นอยู่กับตัวของบุคคลเอง ทุกคนล้วนมีความเชื่อที่แตกต่างกันออกไป ฝาแฝดยังมีพฤติกรรมต่างกันทั้งที่ถูกเลี้ยงมาแบบเดียวกัน ความเชื่อมีทั้งที่มีอ้างอิงสามารถพิสูจน์ได้และทั้งที่ยังหาข้อพิสูจน์ไม่ได้ แต่เราก็ไม่สามารถตัดสินได้ว่าสิ่งที่บุคคลเชื่อเป็นสิ่งที่ผิดหรือถูก แต่สามารถยอมรับในสิ่งที่บุคคลเชื่อ ให้เกียรติในความเชื่อของบุคคล ยอมรับและทำความเข้าใจ
  2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ บางอย่างของเราเราจะสร้างความเชื่อใหม่ให้แทนความเชื่อเก่าได้อย่างไร การเปลี่ยนความเชื่อของบุคคลเป็นสิ่งที่ยาก การที่บุคคลยึดติดสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วนั้น ยากที่จะลบข้อมูลหรือแก้ไขข้อมูล แต่หากข้อมูลใหม่หรือความเชื่อใหม่สามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้ มีแหล่งที่มาแน่ชัด มีการอัพเดตข้อมูลน่าเชื่อถือกว่าความเชื่อเก่าๆนั้น ความเชื่อใหม่อาจแทนความเชื่อเก่าได้แต่ต้องอาศัยเวลาในการพิสูจน์

นายภวินท์ แก้วโภคา รหัสนักศึกษา 6110410070 ชั้นปีที่ 2 คณะพยาบาลศาสตร์ กลุ่ม031.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?การที่เราจะรู้ว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องหรือไม่ เราต้องพิสูจน์ว่าสิ่งที่เราเชื่ออยู่นั้นถูกหรือไม่ โดยวิธีการต่างๆ เช่น การใช้ความรู้ ความสามารถ การอาศัยประสบการณ์ต่างๆที่เรามีในการหาคำตอบ ซึ่งอาจจะเกิดจากการแลกเปลี่ยนความคิดจากคนรอบตัวเราเอง หรือการลงมือพิสูจน์ด้วยตนเอง ขอยกตัวอย่างเช่น การที่คนในสมัยก่อนมีความเชื่อว่าโลกแบน และได้มีการพิสูจน์ความจริงด้วยการนั่งเรื่อไปรอบโลกจนกระทั่งกลับมายังจุดเดิม นี่ก็เป็นการพิสูจน์ความเชื่อด้วยการลงมือทำ โดยอาจมีการอาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์มาเป็นตัวช่วยในการพิสูจน์ จนมาได้ซึ่งคำตอบ แล้วนำมาไตร่ตรอง ว่าเรื่องที่เราเคยเชื่อมานั้นถูกหรือผิด ดังนั้นความเชื่อของเรานั้นจะถูกต้องได้ก็จะต้องผ่านการพิสูจน์มาก่อนแล้ว อาจมีหลักฐานต่างๆมายืนยันความจริง และต้องเป็นที่ยอมรับของคนทั่งไปด้วย

2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?โดยสิ่งแรกก่อนที่เราจะมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ได้นั้น เราต้องมีการสำรวจตัวเราเองก่อนว่า เรามีพฤติกรรมอะไรบ้างที่ไม่พึงประสงค์หรืออยากมีการปรับเปลี่ยน โดยการพิจารณาตัวเอง มองตัวเองให้มากขึ้น และประมวลผล วิเคราะห์ถึงสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์นั้นๆ ซึ่งอาจเกิดจากความเชื่อเก่าที่เราเองมีความเชื่อที่ผิดๆถูกๆ ไม่ถูกต้อง เราจะต้องเรียนรู้การเปิดใจกว้างในการหาแนวคิดหรือความเชื่อใหม่ๆ โดยการหัดมองสิ่งรอบตัวต่างไปจากเดิม มองในแง่บวก ปรับเปลี่ยนความคิดที่ละเล็กที่ละน้อย ค่อยเป็นค่อยไป อาจจะนำความเชื่อเก่ามาเป็นบทเรียนหรือนำสิ่งดีจากความเชื่อเก่ามาผสมผสานให้เกิดความเชื่อใหม่ ทั้งนี้ความเชื่อใหม่อาจส่งผลดีต่อตัวเราเองไปในทางที่ดีกว่าความเชื่อเก่า และก็จะทำให้เราเองมีการพัฒนาความเชื่อใหม่ต่อไปเรื่อยๆได้

นางสาวเหมวรรณ เพ็ชรชนะ รหัส 6110410112 คณะพยาบาลศาสตร์ 1.)แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ความเชื่อนั้นมาจากอิทธิพลรอบๆตัวเรา ไม่ว่าจะเป็น ครอบครัว การอบรมเลี้ยงดู สิ่งแวดล้อมต่างๆ เพื่อน สภาพสังคมที่เราอาศัยอยู่ โดยดิฉันคิดว่า ความเชื่อไม่มีถูก ไม่มีผิด แต่เราต้องพิจารณาไตร่ตรองอย่างมีวิจารณาณและหาข้อมูลอย่างรอบคอบก่อนที่จะตัดสินใจเชื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นความจริงที่ตรงตามหลักเหตุผลหรือหลักวิทยาศาสตร์ใดๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับมุมมองและทัศนคติของแต่ละบุคคล แค่เป็นสิ่งที่ไม่ทำให้ตนเองและคนรอบข้างเดือดร้อน ไม่ผิดกฎหมายและศีลธรรม 2.)ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? อันดับแรกเราต้องรู้ก่อนว่าสิ่งที่เราเชื่ออยู่มันผิด แล้วต้องเปลี่ยนความคิดใหม่โดยการเปลี่ยนทัศนคติและมุมมองของตนเองต่อสิ่งนั้นๆ เมื่อตัวเราเปลี่ยนความคิดและความเชื่อแล้ว พฤติกรรมก็จะเปลี่ยนตามมาด้วย ซึ่งการมองหาข้อดีของความเชื่อใหม่จะเป็นแรงผลักที่จะส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ให้กลายเป็นพฤติกรรมที่ดีและเหมาะสม

นางสาวจุฑาทิพย์ ชมบุญ รหัส 6110410022 เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง อย่างแรกคือเราต้องพิจารณาก่อนว่าแหล่งที่มาของข้อมูลความเชื่อนั้นมาจากสิ่งไหน น่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหนและหากเราเชื่อ จะส่งผลอะไรต่อชีวิตเรา บางครั้งความเชื่อก็อาจจะขัดแย้งกับสภาพแวดล้อมและบริบทของเรา เราจึงต้องพิจารณาหลายๆด้าน หากแหล่งข้อมูลความเชื่อนั้น มีความน่าเชื่อถือมาก เพราะแหล่งข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญที่จะบ่งบอกได้ว่า ความเชื่อนี้น่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด ประกอบกับหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร สามารถพิสูจน์ให้เป็นที่ประจักษ์ได้เราก็ต้องพิจารณาเนื้อหาความเชื่อก็มีส่วนสำคัญเช่นกัน เพราะหากแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือจริง แต่เนื้อหาความเชื่อไม่ได้อิงหลักความเป็นจริง ก็ไม่อาจะชื่อถือความเชื่อนั้นได้ ในกรณีที่เราต้องการที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เป็นสิ่งที่ค่อนข้างยากในระดับหนึ่ง เนื่องด้วยตนเองเชื่อในสิ่งๆหนึ่งมาโดยตลอด แต่กลับต้องมาเปลี่ยนความเชื่อตนเองในสิ่งที่ยังไม่ได้รับรู้ว่าสิ่งผลดีหรือผลเสียกับตนเองอย่างไร สำหรับดิฉัน หากต้องการที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของตนเอง ดิฉันจะศึกษาและหาข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่จะสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์นั้น โดยเน้นในการศึกษาจากสิ่งที่ผ่านการพิสูจน์ให้เป็นที่ประจักษ์ว่าสามารถทำได้จริงและได้ผลดี จากนั้นจะลองปรับเปลี่ยนความเชื่อเก่า โดยพยายามหาข้อดีของความเชื่อใหม่เพื่อมาหักล้างกับข้อเสียของความเชื่อเก่า เพื่อให้ตนเองเกิดความเข้าใจในความเชื่อทั้งสองได้อย่างลึกซึ้ง เช่น ดิฉันต้องการลดความอ้วน โดยมีความเชื่อการทานน้อยจะทำให้ลดน้ำหนักได้ไว เมื่อปฏิบัติพฤติกรรมนั้นมาสักระยะ รู้สึกสุขภาพร่างกายอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น จึงได้มีการหาข้อมูลเพิ่มเติม ผ่านงานวิจัยต่างๆและผู้มีประสบการณ์โดยตรง ได้ข้อสรุปว่า การลดน้ำหนักไม่ได้หมายถึงการกินน้อยแต่เพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงการกินให้ได้ปริมาณที่ร่างกายต้องและออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย ดิฉันจึงได้มีการเปลี่ยนพฤติกรรมเกิดขึ้น

1) เมื่อความเชื่อส่งผลต่อความคิด ความคิดมีผลให้เกิดพฤติกรรม เมื่อดูจากวัฏจักรการเกิดก็จะสามารถพิจารณาได้ ความเชื่อเป็นสิ่งที่เราไม่เห็น แค่สิ่งที่จะสามารถเห็นและวัดได้จากพฤติกรรมที่แสดง ชนิดการที่เราจะพิจารณาว่าความเชื่อที่เราเชื่อมานั้นถูกหรือไม่ แน่นอนการที่จะแสดงความเห็นเรื่องๆหนึ่งคนเรามีสิทธิที่จะแสดงความคิด การแสดงออกที่แตกต่างกันได้ เช่นการการบวกเลข. ที่เท่ากับ 10 บางคนอาจจชื่อว่า 5+5=10. แต่เอาจริงๆแต่ละคนก็คิดต่างกัน อาจจะมีคนคิด 7+3=10. , 6+4=10 , 101=10,52=10, 20หาร2.,40หาร4. ซึ่งการคิดรูปแบบนี้ก็ไม่ผิด เพราะยังคงในผลลัพธ์ที่เท่ากันแต่การคิดจะผิดก็ต่อเมื่อสิ่งที่เราคิดมีผลลัพธ์ไม่เท่ากับ 10. ซึ่งสามารถพิจารณาย้อนกลับไปได้หากผลลัพธ์เราออกมาผิด. การแสดงวิธีทำหรือการปฏิบัติก็ผิด. ความคิดเรา.รวมถึงความเชื่อของเราก็ผิดไปด้วย. นั้นก็คือการพิสุทธิ์ได้ว่าสิ่งที่เราเชื่อมานั้นถูกไหม. คือการพิจารณาจากผลของพฤติกรรม หรือผลจากการคิดว่าถูกต้องหรือไม่ โดยใช้เกณฑ์ของหลักการสิ่งที่สามารถอ้างอิงได้มากและถูกต้องที่สุดรวมทั้งไม่เบียดเบียนหรือละเมิดสิทธิผู้อื่นด้วย2) ตอนประถมหากการที่เราถูกสอนมาว่า 5+5=10 อาจจะทำให้เราจดจำและเชื่อว่า 5+5=10เท่านั้น! ซึ่งการเชื่อแบบนั้นอาจจะทำให้เราคิดว่า การคิดด้วยวิธีอื่นนั้นคือวิธีที่ผิด ซึ่งในความจริงแล้วไม่ใช่เลย.แต่การที่จะทำให้เรามีความเชื่อได้ว่าวิธีคิดอื่นๆที่มีผลลัพธ์เท่ากับ 10 ได้ก็ต้องมาจากการใช้หลักที่สามารถพิสูจน์ได้หรืออ้างอิงได้ว่ามีเหตุผลที่น่าเชื่อถือเพียงพอ จึงจะทำให้เราเชื่อว่าวิธีอื่นนั้นสามารถคิด แล้วมีผลเท่ากับ 10 ได้เช่นกันกัน. ดังนั้นการที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ได้ก็ต้องมาจาการการเปลี่ยนความเชื่อ เชื่อว่า. การทำให้ผลเท่ากับ10 ไม่ได้มีแค่ทางเดียว เปลี่ยนความคิดว่า นอกจาก 5+5=10. ก็ยังมี7+3=10. , 6+4=10 , 101=10,52=10, 20หาร2.,40หาร4. และอื่นๆที่เท่ากับ10ด้วย. นั้นก็จะส่งผลให้พฤติกรรมเราเปลี่ยนว่า นอกจากที่เราคิด หากมีการคิดแบบอื่นแต่ผลลัพธ์ถูกต้องเหมือนกัน เราก็จะไม่แสดงพฤติกรรมคัดค้านว่าการคิดแบบอื่นนั้นผิด. พฤติกรรมเราก็เปลี่ยนไปเข้าสู่พฤติกรรมใหม่ ที่ดีขึ้นและถูกต้องคือพฤติกรรมที่คัดค้านว่า การคิดแบบอื่น นอกจาก 5+5=10 แต่7+3ก็เท่ากับ10. และการคิดวิธีอื่นก็ไม่ได้ผิดหากการคิดนั้นเท่ากับ10. หรือผลสอดคล้องกับเหตุผลและผลลัพธ์ที่แสดงออกมา

นางสาวศิริลักษณ์ เพชรมณี 6110410099 คณะพยาบาลศาสตร์1.รู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? สำหรับตัวดิฉัน ความเชื่อคือสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ เป็นความเชื่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ว่าจะจับต้องได้หรือจับต้องไม่ได้ แต่ความเชื่อของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน สิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อทั้งความคิดและการกระทำของแต่ละคนแตกต่างกันอีกด้วย ทั้งนี้การจะเชื่ออะไรใดๆก็ตามก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิด และไม่ใช่เรื่องที่ถูก ก่อนจะเชื่ออะไร เราควรมองที่ความเป็นเหตุเป็นผลมากกว่าโดยปราศจากการอคติต่อความเชื่อนั้นด้วย 2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง”ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ “ ความเชื่อเก่า “ ได้อย่างไร?ในความคิดของดิฉัน คิดว่าเราไม่สามารถที่จะไปบังคับหรือแก้ไขความเชื่อของใครได้ แต่เราสามารถแก้ไขความเชื่อของตนเองได้ ถ้าสิ่งที่เราเชื่อมันไม่ดี มันผิด เราต้องหัดลองเปิดใจ รับสิ่งใหม่ๆเข้ามามากขึ้น

นางสาวสิรีธร สุวรรณชะนะ รหัสนักศึกษา 6110410104 คณะพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 กลุ่ม 031.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?ตอบ ดิฉันคิดว่าทุกความเชื่อนั้นไม่มีผิดหรือถูก เพราะความเชื่อของแต่ละบุคคลย่อมเกิดจากการอบรมสั่งสอน การปลูกฝังความคิด ความเชื่อจากครอบครัว หรือแม้กระทั่งสภาพแวดล้อมหรือสังคม ยุคสมัยที่แตกต่างหรือเปลี่ยนแปลงไป ก็สามารถทำให้เกิดความเชื่อที่แตกต่างกันได้ และทุกความเชื่อนั้นทุกคนย่อมมีเกณฑ์ เหตุผลประกอบ หรือบางคนเลือกที่จะเชื่อสิ่งนั้นเนื่องจากมีทั้งเหตุผล มีวิจัย หรือคำตอบทางวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือ พิสูจน์ได้ หรือบางคนเลือกที่จะเชื่อสิ่งนั้นเพราะคนส่วนใหญ่เขาเชื่อกันแบบนี้ ว่าสิ่งนี้ดี สิ่งนี้ถูก หรือบางความเชื่อที่เราเลือกเชื่ออาจจะไม่มีเหตุผลอะไรมารองรับ แต่เราเลือกที่จะเชื่อเพราะทำให้เราเกิดความสบายใจ ดังนั้นการที่จะตัดสินว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกหรือผิด ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณ สติ ความรู้ ประสบการณ์ สภาพสังคม ยุคสมัยที่เราอยู่ แต่ไม่ว่าเราจะมีความเชื่ออย่างไร สิ่งที่สำคัญที่สุดคือเราไม่ควรไปตัดสินว่าความเชื่อบุคคลอื่นที่เชื่อไม่เหมือนเรานั้นเป็นความเชื่อที่ผิดเสมอไป เพราะทุกคนย่อมมีวิจารณญาณ สติ ความรู้ ประสบการณ์ สภาพสังคม ยุคสมัยที่แตกต่างกับเรา2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?ตอบ ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้นั้น อย่างแรกที่เราจะต้องมีคือการเปิดใจยอมรับฟังเหตุผลก่อน และเหตุผลนั้นจะต้องอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง ไม่ใช่เรื่องงมงาย อีกทั้งไม่อคติ โดยเราจะต้องใช้วิจารณญาณพิจารณาไตร่ตรองหรืออาจจะหาข้อพิสูจน์ และคิดว่าหากเรายังคงมีความเชื่อที่ผิด จนทำให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ หรืออาจทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนนั้น เราก็ควรจะเปลี่ยนความเชื่อหรือมุมมอง อีกทั้งปรับปรุงพฤติกรรมนั้นโดยใช้วิจารณญาณ เปิดใจยอมรับความเชื่อใหม่ที่ทำให้เรามีพฤติกรรมที่ดีขึ้น ในบางครั้งอาจจะต้องใช้เวลาในการปรับเปลี่ยนความเชื่อและพฤติกรรม แต่ถ้าหากเราทำได้ก็จะส่งผลดีกับตัวเราเองทั้งสิ้น

1)แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง ดิฉันคิดว่าความเชื่อนั้นไม่ใช่สิ่งที่จะตัดสินใจได้ว่าของใครถูกหรือผิดเพราะความเชื่อเป็นเหมือนเชือกที่ทรงพลังและกำแพงที่มองไม่เห็นซึ่งอาจจะเกิดจากประสบการณ์และความเจ็บปวดที่แต่ละคนได้พบเจอมาความเชื่อที่เป็นข้อจำกัดหรือบั่นทอนเราเองหลายครั้งก็เกิดจากประสบการณ์จริง ที่เราอาจจะเคยดิ้นรนต่อสู้แต่เมื่อประสบความเจ็บปวดซ้ำแล้วซ้ำเล่า คาดหวัง ลงมือต่อสู้ และก็ล้มเหลว การล้มลงทุกครั้งก็เหมือนการวางอิฐก่อกำแพงแห่งความเชื่อขึ้นมาจองจำตัวเองไว้ โดยที่ไม่กล้าจะเข้าไปทดสอบกับกำแพงที่มองไม่เห็นนั่นอีก เพราะเราก็ไม่อาจรู้ได้ว่า กำแพงมันจะหายไปเมื่อไร และเราก็ไม่สามารถที่จะไปตัดสินใจได้ว่าความเชื่อของใครถูกหรือผิดเพราะแต่ละคนมีปัญหาที่เกิดขึ้นไม่เหมือนกันที่ทำให้เค้าเชื่อว่าแบบนี้คือดีสำหรับเขา

2)เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? ในมุมมองของดิฉันคิดว่าการที่เราจะเอาความเชื่อใหม่มาแทนความเชื่อเก่าที่เราเชื่อแบบนี้มานานแล้วเราควรจะพิจารณาความสมเหตุสมผลของความเชื่อใหม่ที่จะเข้ามาแทนที่ว่ามันมีเหตุผลมีความน่าเชื่อถือแค่ไหนอาจจะมีการรวบรวมข้อมูลและพิสูจน์ข้อเท็จจริงถ้าในกรณีที่เราเชื่อแบบผิดๆมาตลอดแล้วความเชื่อใหม่ที่จะเข้ามาแทนที่นั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องเราก็ควรจะปรับเปลี่ยนให้ถูกต้องเพื่อป้องการเข้าใจผิดในอนาคต นางสาวศรัณยพัชร์ เทพบัวแก้ว 6110410188 คณะพยาบาลศาสตร์ sec03

รหัส6110410177นางสาวมัลลิกา โสดาหวัง sec31.)เรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้อง?ตอบ ถ้าหากเราเชื่อว่าสิ่งนี้ถูก เราจะคิดและไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วนว่าสิ่งนี้ถูกต้องหรือไม่ โดยจะแสดงออกมาทางพฤติกรรม ซึ่งถ้าคนเรามีความเชื่อที่ถูกต้อง พฤติกรรมที่แสดงออกมานั้นก็จะถูกต้องและเหมาะสมตามไปด้วย ธรรมชาติของความคิดคนเรามีทั้งที่เป็นจริงและไม่จริง บางคนไม่รู้ว่าตนเองกำลังคิดอะไรอยู่ แต่บางคนสามารถคิดและปรับเปลี่ยนความคิดของตนเองได้ โดยเราต้องมีสติ และต้องอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง ความจริงและไม่เพ้อฝัน อีกทั้งความคิดของเราต้องไม่ส่งผลร้ายต่อผู้อื่น และจะต้องอยู่บนพื้นฐานของจารีต ประเพณี และสามารถทำให้เราดำรงอยู่ได้อย่างมีความสุขในสังคม2.)ในกรณีที่เราต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้างความเชื่อใหม่ให้เข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่าได้อย่างไร?ตอบ การจะสร้างความเชื่อใหม่นั้น เราจะต้องยอมรับและเรียนรู้พฤติกรรมไม่พึงประสงค์นั้นโดยสังเกตผลเสียที่ตามมาจากการมีความเชื่อผิดๆ และส่งผลให้ความคิด พฤติกรรมของเราผิดตามไปด้วย เราสามารถเปลี่ยนความเชื่อเหล่านี้โดยเปิดใจยอมรับให้กว้างขึ้น กำจัดอคติต่างๆออกไป และพาตัวเองไปหาสิ่งดีๆ สิ่งเหล่านี้จะสนับสนุนความคิดและความเชื่อ ทำให้เรามีแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้นได้ และสามารถสร้างความเชื่อใหม่เข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่าได้สำเร็

นางสาวตะวัน ศรีสวัสดิ์ รหัส 6110410038 คณะพยาบาลศาสตร์ 1. แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ความเชื่อเป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ และถือว่าเป็นวัฒนธรรมของมนุษย์อย่างหนึ่ง การดำรงชีวิตของมนุษย์ในสมัยโบราณที่มีความเจริญทางด้านวิชาการน้อย ความเชื่อจึงเกิดจากการเกิดขึ้น และการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติที่มนุษย์เชื่อว่าเป็นการบันดาลให้เกิดขึ้นจากอำนาจของเทวดา พระเจ้า หรือภูตผีปีศาจ ดังนั้นเมื่อเกิดปรากฏการณ์ต่างๆ ขึ้น เช่น ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด อุทกภัย และวาตภัย ต่างๆ ขึ้น ล้วนเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อชีวิตหรือความเป็นอยู่ของมนุษย์ ซึ่งยากที่จะป้องกันหรือแก้ไขได้ด้วยตัวเอง บางอย่างเป็นเหตุการณ์ที่อำนวยประโยชน์ แต่บางเหตุการณ์ก็เป็นอันตรายต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์ มนุษย์จึงพยายามที่จะคิดหาวิธีการที่จะก่อให้เกิดผลในทางที่ดี และเกิดความสุขให้กับตนเอง เพื่อกระทำต่อสิ่งที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติเหล่านั้น ทำให้เกิดเป็นแนวทางปฏิบัติที่เป็นพิธีกรรม หรือศาสนาเกิดขึ้น 2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? การที่เราจะสร้างความเชื่อใหม่ให้มาแทนที่ความเชื่อเก่าได้นั้น เราต้องมีความเชื่อมั่นในเรื่องใหม่และความเชื่อในเรื่องใหม่นั้นต้องมีน้ำหนักและเป็นเหตุเป็นผลมากพอที่จะมาแทนเรื่องเก่าได้ก่อน ซึ่งความเชื่อที่ดีจะเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดที่ดีและพฤติกรรมที่ดี ซึ่งในส่วนของความคิดที่ดีนั้นเราน่าจะประเมินตัวเองได้ว่าเรามีความคิดที่ดีหรือไม่หรือถ้ามีความคิดที่ไม่ดีแต่มันไม่ได้ไปเบียดเบียนผู้อื่นก็อาจจะไม่ค่อยส่งผลกระทบอะไรนัก แต่เราก็เชื่อสิ่งใหม่เเทน การรับความเชื่อใหม่ๆนั้นคือการเปิดโลกทัศน์ใหม่ให้กับตัวเอง ไม่จมปลักอยู่กับความเชื่อเดิมๆ ซึ่งเราเห็นด้วยว่าบางทีเราอาจจะไม่ต้องเชื่อในสิ่งเดิมๆ เชื่อในสิ่งใหม่ๆและเปิดใจกับมัน มันอาจจะดีว่ากว่าความเชื่อเก่าที่เรามีอยู่เดิมก็ได้

  1. เรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?ความเชื่อนั้นเป็นสิ่งที่เรายอมรับและเลื่อมใสมันและต้องผ่านกระบวนการคิดมาอย่างยาวนานจึงทำให้สิ่งที่เรายอมรับนั้นเกิดเป็นความเชื่อได้ ความเชื่อของแต่ละบุคคลอาจจะเหมือนกันหรือไม่เหมือนกันก็ได้ขึ้นอยู่กับว่าเรื่องราวในชีวิตในแต่ละบุคคลนั้นผ่านสิ่งใดมาบ้าง ความเชื่อนั้นไม่อาจบอกถูกหรือผิดได้อย่าง100%เพราะการที่บอกว่าถูกหรือผิดต้องขึ้นอยู่กับกระบวนการคิดของแต่ละคน แต่ความเชื่อของเราต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงและความเป็นไปได้สามารถตรวจสอบโดยผ่านการแลกเปลี่ยนกับผู้อื่น พูดคุย ปรึกษา ว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นเป็นสิ่งที่คนส่วนมากมีความคิดเห็นตรงกันหรือไม่รวมถึงความคิดและพฤติกรรมที่แสดงออกมาโดยใช้ความเชื่อที่เราเชื่อนั้นต้องไม่ละเมิดสิทธิและศีลธรรมด้วยเป็นเพราะว่าความเชื่อนั้นต้องควบคู่กับความคิดและพฤติกรมเสมอ

  2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?ถ้าจะต้องเปลี่ยนเอาความเชื่อเก่าออกไปและนำความคิดใหม่เข้ามาในตอนแรกคงจะมีการขัดแย้ง สับสนในระบบความคิดของเราบ้างเพราะเป็นสิ่งที่ตัวเราคิดเองและเราไม่ยอมรับมันเองต้องหาอีกความเชื่อหนึ่งมาแทนที่ เพราะฉะนั้นเราต้องค่อยๆปรับระบบความคิดเราไปเรื่อยๆไม่ควรปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วเพราะอาจจะทำให้เกิดความสับสนและอาจจะต่อต้านได้และเราก็ไม่ควรมองโลกในแนวลบจนเกินไปเพราะความเชื่อนั้นมีหลากหลายมากลองพยายามหาความเชื่อที่สามารถแทนที่ความเชื่อแบบเก่าของเราได้และต้องใช้เวลาในการพยายามต้องผลัดเปลี่ยนพูดคุยกับคนรอบข้าง แลกเปลี่ยนแนวคิด เปิดใจ และสักวันหนึ่งความเชื่อใหม่จะเข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่าได้เองและความคิดเราจะเปลี่ยนไปในทิศทางเดียวกับความเชื่อใหม่และแสดงออกทางพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ก็จะเปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน

  1. เรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้อง?ความเชื่อบางความเชื่อเกิดจากที่เราได้พิสูจน์หรือพบเจอด้วยตัวเองหลายๆครั้ง แล้วผลที่ได้อาจจะคล้ายๆกันทุกครั้ง บางความเชื่อก็เกิดจากการปลูกฝัง ค่านิยมในแต่ละสังคม แต่ละครอบครัว โดยความเชื่อเหล่านี้จะไม่มีผิดและไม่มีถูก อาจจะมีหรือไม่มีเหตุผลด้านวิทยาศาสตร์มาเกี่ยวข้อง ในความคิดเห็นส่วนตัวความเชื่อจะถูกต้องหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นไปผิดกับกฎหมายหรือทำแล้วมีบุคคลอื่นเดือดร้อนไหม เช่น การดูฤกษ์ยามก่อนการทำกิจกรรมต่างๆหรือมีเครื่องรางติดตัว อาจจะไม่ตรงกับหลักศาสนาเพราะการปลูกฝัง ความเชื่อในแต่ละครอบครัวไม่เหมือนกัน และเพื่อให้เกิดความสบายใจกับตัวเอง ซึ่งอาจจะไม่มีเหตุผลทางด้านวิทยาศาสตร์มาสนับสนุน เป็นต้น

  2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?เราจะเปลี่ยนความเชื่อใหม่แทนที่ความเชื่อเก่า ความเชื่อใหม่ที่ได้จะต้องมีความน่าเชื่อถือ มีข้อมูลสนับสนุน มีเหตุมีผล และต้องไม่ผิดต่อกฎหมายหรือไม่ทำให้ใครเดือดร้อน นอกจากนี้ต้องคำนึงถึงผลที่ได้รับผลที่ได้จากความเชื่อใหม่แตกต่างจากความเชื่อเก่าอย่างไร ทำแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางบวกหรือไม่ เปรียบเทียบหรือวิเคราะห์ระหว่างความเชื่อใหม่และความเชื่อเก่าว่าความเชื่อไหนจะดีสำหรับเรา โดยไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนหรือไม่ส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น

  1. คนเราย่อมมีความเชื่อเป็นของตัวเอง ซึ่งบางครั้งความเชื่อที่เราเชื่ออาจจะเหมือนหรือไม่เหมือนกับคนอื่น นั้นก็มาจากการที่ความเชื่อเป็นผลที่จากความคิด และคนเราก็มีความคิดที่แตกต่างกัน หากถามว่าความเชื่อที่มีนั้นถูกหรือผิด เราก็คงตอบเลยไม่ได้ เราอาจจะต้องคิดวิเคราะห์ว่าหากเราเชื่อในสิ่งนั้นแล้วส่งผลให้เรามีพฤติกรรมที่ดี ปฏิบัติแล้วไม่ส่งผลเสียต่อตัวเอง ครอบครัว คนรอบข้าง สังคม ความเชื่อนั้นก็ย่อมเป็นเชื่อที่ถูกต้อง 2.การที่เราจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ได้นั้น สิ่งแรกคือเราควรปรับเปลี่ยนการคิด เพราะการคิด จะส่งผลให้เราเกิดความเชื่อ และความเชื่อก็จะทำให้เราเกิดการแสดงพฤติกรรม ดังนั้น หากเราต้องการปรับจริงๆ เราก็ควรตัดการคิดแบบเก่า ความเชื่อเก่าออกไปหากเราเชื่อสิ่งนั้นมานาน ก็ให้ค่อยๆตัด และในช่วงนี้ก็ฝึกพัฒนาตนเองให้มีความคิดแบบใหม่ที่ดีขึ้น แล้วเราก็จะมีความเชื่อใหม่เกิดขึ้นมา แล้วพฤติกรรมก็จะตามมาด้วย

ชนากานต์ ลีตะวัฒนกุล 6210311023 คณะแพทยศาสตร์ สาขากายภาพบำบัด 1. แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเขื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?

          ความเชื่อคือการที่เรายอมรับว่าสิ่งนั้นเป็นความจริง มีอยู่จริง ไม่ว่าจะมาจากประสบการณ์โดยตรง การอนุมานขึ้นมาเองหรืออะไรก็แล้วแต่ ส่วนตัวคิดว่าความเชื่อถ้าหากไม่ขัดกับจารีตประเพณี ไม่ขัดต่อขนบธรรมเนียม ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น ก็เป็นความเชื่อที่ไม่ผิดแล้ว จริงๆไม่มีอะไรวัดได้หรอกว่าความเชื่อนั้นถูกหรือไม่ แต่ถ้าความเชื่อนั้น ส่งผลออกมาเป็นผลดี ก็เป็นความเชื่อที่ดีแล้ว เพราะความเชื่อไม่ได้มีหลักเกณฑ์อะไร เป็นความสมัครใจส่วนบุคคลที่อยากจะเชื่อในสิ่งนั้นๆ ไม่ว่าจะพิสูจน์ได้หรือพิสูจน์ไม่ได้ก็ตาม  2.	ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?          ส่วนตัวคิดว่า ถ้าหากความเชื่อเก่ามันไม่ดี มันย่อมส่งผลเสียออกมาให้เห็น ซึ่งก็เป็นผลจากการกระทำ แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว ผลเสียนั้นเราแทบจะไม่เห็นมันเลย ถ้าคนในสังคมไม่สะท้อนมาให้เราเห็นว่าสิ่งที่ทำอยู่ไม่ดี เพราะความเชื่อนั้นเราเลือกเชื่อไปแล้ว จนกว่าเราจะได้รับผลกระทบจากมัน บางทีแล้วความเชื่อก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลด้วย ถ้าเขาเห็นว่าความเก่ามันไม่ดี ความเชื่อใหม่ที่ดีกว่าย่อมมาแทนที่ได้ เพราะเขาเลือกที่จะเชื่อแล้วว่าความเชื่อเก่าไม่ดี มีความเชื่อใหม่ที่ดีกว่า ซึ่วการแยกว่าสิ่งใดดีหรือไม่ดีมันขึ้นอยู่กับตัวบุคคลอีกเช่นกันว่า จิตใต้สำนึกสามารถแยกแยะได้หรือไม่ได้ 

นางสาวกนกวรรณ มานะชำนิ คณะแพทยศาสตร์ สาขากายภาพบำบัด ชั้นปีที่ 1 รหัสนักศึกษา 6210311009 กลุ่ม 03 1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?ดิฉันคิดว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องหรือไม่จะขึ้นอยู่กับว่าการกระทำจากความเชื่อนั้นส่งผลในทิศทางที่ดีหรือร้าย หรือความเชื่อนั้นขัดต่อหลักกฎหมายหรือไม่ หากความเชื่อที่เรามีนั้นไม่ได้ส่งผลร้ายต่อบุคคลใดๆ และไม่ได้ขัดต่อหลักกฎหมาย จารีตประเพณี และศีลธรรม ดิฉันคิดว่าความเชื่อนั้นเป็นความเชื่อที่ถูกแต่หากความเชื่อที่มีนั้นขัดต่อหลักกฎหมาย จารีตประเพณี และศีลธรรม หรือส่งผลร้ายต่อบุคคลอื่น ดิฉันคิดว่าความเชื่อนั้นเป็นความเชื่อที่ผิด

2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?ดิฉันคิดว่าในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะต้องสร้างความเชื่อใหม่ให้มาแทนที่ความเชื่อเก่า เราต้องหาข้อเสียของพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเราว่ามันจะส่งผลเสียต่อตัวเราอย่างไร และหาแนวทางที่จะหยุดพฤติกรรมเหล่านั้นด้วยความเชื่อใหม่ด้วยความคิดที่ว่าความเชื่อใหม่จะส่งผลดีต่อตัวเรา มีข้อดีและทำให้พัฒนาตัวเราในทางที่ดีขึ้นกว่าความเชื่อเดิม เมื่อเรามีความคิดว่าความเชื่อใหม่จะทำให้ตัวเราดีขึ้น เมื่อนั้นความเชื่อใหม่จะสามารถเข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่าได้

1)ในการที่เราจะมีความเชื่อนั้น จะต้องเกิดจากความศรัทธา ความเข้าใจในสิ่งนั้นๆ ความเชื่อส่วนมากเกิดจากความศรัทธาในศาสนา เป็นความเชื่อที่เกิดตามวัฒนธรรมต่างๆ ความเชื่อตามแหล่งที่อยู่อาศัย ในประโยคที่ว่า ความเชื่อที่เรามีนั้้นถูกต้องหรือไม่ ส่วนตัวคิดว่าความเชื่อต่างๆขึ้นอยู่กับตัวเอง ว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นส่งผลดี หรือส่งผลเสียต่อเราอย่างไร ถ้าหากความเชื่อที่เราเชื่ออยู่นั้นส่งผลให้เรามีความคิดที่ดีทำให้ชีวิตเรามีความสุข เป็นความเชื่อที่เราเชื่อแล้วส่งผลให้พฤติกรรมที่เราแสดงออกมาในทางที่ดี ไม่ว่าจะเป็นทางกาย วาจา หรือว่ากริยาท่าทางต่างๆ ออกมาในทางที่ดีก็ย่อมเชื่อว่า ความเชื่อที่เราเชื่ออยู่นั้นเป็นความเชื่อที่ถูกต้อง โดยสิ่งที่เราเชื่อ หรือเป็นความเชื่อของเราไม่ได้ส่งผลให้ใครเดือดร้อน หรือเป็นทุกข์ 2)ในการที่เราจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเรา เราจะต้องคิดก่อนว่าพฤติกรรมที่ไม่ประสงค์ของเราเกิดจากสิ่งใด หากเกิดจากความเชื่อเก่าของเราที่ส่งผลทำให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น เราจะต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการสร้างความเชื่อใหม่มาแทนความเชื่อเก่า ส่วนตัวคิดว่าการสร้างความเชื่อใหม่โดยการคิดว่าความเชื่อเก่าของเรานั้นมีผลเสีย ผลกระทบต่อพฤติกรรมของเราอย่างไร หาเหตุผลมารองรับความเชื่อเก่า นำมาวิเคราะห์หาสาเหตุของความเชื่อเก่าที่ทำให้เกิดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ เมื่อทราบถึงสาเหตุและผลเสียของความเชื่อเก่าแล้วนำมาปรับปรุง หรือสร้างเป็นแนวความเชื่อใหม่ ที่จะส่งผลต่อพฤติกรรมออกมาในทางที่ดียิ่งขึ้น

นางสาวโสภิตา วังบุญคง 6110410110 Sec03ในแง่ของคำถามที่ผู้เขียนถามว่า แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ในความคิดของดิฉันคิดว่าคนทุกคนมีความเชื่อเป็นพื้นฐานของชีวิต ความเชื่อของแต่ละคนเกิดมาจากการที่ยอมรับสิ่งใดสิ่งหนึ่งว่าเป็นจริง มีอยู่จริง ซึ่งความเชื่อต่างๆเหล่านั้นก็มีทั้งความเชื่อที่สามารถพิสูจน์หาสาเหตุมีที่มาที่ไป มีเหตุผลอธิบายถึงความเชื่อนั้นๆได้ ถูกต้องเป็นจริง แต่ก็มีความเชื่ออีกแบบหนึ่งเหมือนกันที่ไม่สามารถอธิบายถึงเหตุของความเชื่อนั้นๆตามหลักวิทยาศาสตร์ได้ หากแต่เป็นความเชื่อที่เกิดมาจากแรงศรัทธาที่แรงกล้า ดังนั้นหากจะกล่าวว่ารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เชื่อเชื่อกันอยู่มีที่มาที่ไปถูกต้องแล้วไหม ส่วนตัวขอเปรียบเทียบกับการที่เราดูโฆษณาสินค้าสักชิ้นหนึ่ง ผู้ขายจะต้องสร้างความเชื่อที่มีต่อสินค้านั้นๆให้เกิดขึ้นกับผู้ซื้อ ถึงจะสามารถขายสินค้าตัวนั้นๆได้ ความเชื่อที่เกิดขึ้นอาจมาจากการที่สินค้านั้นๆมีเครื่องหมาย อย.กำกับ หรือมีรีวิวจากผู้ที่ซื้อสินค้านั้นๆเหมือนกัน สรุปได้ว่าความเชื่อที่ดิฉันคิดว่ามีที่มาที่ไปถูกต้องไหมนั้น ต้องอาศัยเหตุผลที่น่าเชื่อถือ เป็นจริง พิสูจน์ได้ มีหลักฐานสนับสนุนความเชื่อนั้นมาประกอบ

ส่วนในแง่ของคำถามที่ผู้เขียนถามว่า ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา คือเราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? ความคิดเห็นส่วนตัวคิดว่าความเชื่อทุกความเชื่อสามารถเปลี่ยนแปลงได้หากแต่ความเชื่อที่เกิดขึ้นใหม่นั้นมีข้อมูลที่เป็นจริงมากกว่า มีความสมเหตุสมผล มีตรรกะ สามารถพิสูจน์ถึงความเชื่อที่เกิดขึ้นใหม่นั้นได้มากกว่าความเชื่อเก่าๆ ดังนั้นความเชื่อจึงไม่มีวันตายตัว อย่างเช่น สิ่งที่เราเชื่อว่าเป็นเรื่องจริงในวันนี้ อาจจะไม่ใช่ความเชื่อที่เป็นเรื่องจริงของวันพรุ่งนี้ก็ได้ เนื่องจากโลกของเราเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ความคิดทัศนคติที่มีต่อความเชื่อเดิมๆก็ย่อมเปลี่ยนแปลงไปได้ การที่เราจะสามารถสร้างความเชื่อใหม่แทนความเชื่อเดิมที่มีได้นั้นสิ่งสำคัญก็คือทัศนคติของตัวเราที่มีต่อความเชื่อใหม่ที่เกิดขึ้นรวมถึงสาเหตุที่มาที่ไปความจริงข้อพิสูจน์ต่างๆที่สามารถนำมาหักล้างของความเชื่อเดิมๆได้มากน้อยแค่ไหน สิ่งสำคัญอีกอย่างก็คือถ้าใจเรามี bias ต่อความเชื่อใหม่ๆสิ่งนี้เป็นอุปสรรคทำให้เรากลายเป็นคนที่มีความคิดหรือมีความเชื่อแค่เรื่องเดิมๆสิ่งเดิมๆการเรียนรู้ใหม่ๆที่มาจากความเชื่อใหม่ๆความคิดหรือการกระทำใหม่ๆก็เกิดขึ้นได้ยากเหมือนกับเราตีกรอบความเชื่อไว้ซึ่งสิ่งนี้แหละคือสิ่งสำคัญที่มีผลโดยตรงต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเราที่มีต่อความเชื่อได้

ชนากานต์ ลีตะวัฒนกุล คณะแพทยศาสตร์ สาขากายภาพบำบัด 6210311023 1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเขื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ความเชื่อคือการที่เรายอมรับว่าสิ่งนั้นเป็นความจริง มีอยู่จริง ไม่ว่าจะมาจากประสบการณ์โดยตรง การอนุมานขึ้นมาเองหรืออะไรก็แล้วแต่ ส่วนตัวคิดว่าความเชื่อถ้าหากไม่ขัดกับจารีตประเพณี ไม่ขัดต่อขนบธรรมเนียม ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น ก็เป็นความเชื่อที่ไม่ผิดแล้ว จริงๆไม่มีอะไรวัดได้หรอกว่าความเชื่อนั้นถูกหรือไม่ แต่ถ้าความเชื่อนั้น ส่งผลออกมาเป็นผลดี ก็เป็นความเชื่อที่ดีแล้ว เพราะความเชื่อไม่ได้มีหลักเกณฑ์อะไร เป็นความสมัครใจส่วนบุคคลที่อยากจะเชื่อในสิ่งนั้นๆ ไม่ว่าจะพิสูจน์ได้หรือพิสูจน์ไม่ได้ก็ตาม 2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? ส่วนตัวคิดว่า ถ้าหากความเชื่อเก่ามันไม่ดี มันย่อมส่งผลเสียออกมาให้เห็น ซึ่งก็เป็นผลจากการกระทำ แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว ผลเสียนั้นเราแทบจะไม่เห็นมันเลย ถ้าคนในสังคมไม่สะท้อนมาให้เราเห็นว่าสิ่งที่ทำอยู่ไม่ดี เพราะความเชื่อนั้นเราเลือกเชื่อไปแล้ว จนกว่าเราจะได้รับผลกระทบจากมัน บางทีแล้วความเชื่อก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลด้วย ถ้าเขาเห็นว่าความเก่ามันไม่ดี ความเชื่อใหม่ที่ดีกว่าย่อมมาแทนที่ได้ เพราะเขาเลือกที่จะเชื่อแล้วว่าความเชื่อเก่าไม่ดี มีความเชื่อใหม่ที่ดีกว่า ซึ่วการแยกว่าสิ่งใดดีหรือไม่ดีมันขึ้นอยู่กับตัวบุคคลอีกเช่นกันว่า จิตใต้สำนึกสามารถแยกแยะได้หรือไม่ได้

นางสาวอัฏวรรณ อักษรนำ รหัส 6110410203 คณะพยาบาลศาสตร์1. แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?=เราไม่อาจรู้ได้เลยว่าความเชื่อหรือสิ่งที่เรากำลังคิดอยู่นั้นเป็นสิ่งที่ถูกหรือผิด แต่สำหรับตัวของฉันแล้วสิ่งที่ฉันตัดสินใจเชื่อหรือคิดนั้นเป็นความเชื่อที่ถูกเสมอ แต่ทว่าคนอื่นมองว่ามันเป็นความเชื่อที่ผิด เราก็ควรเอามาไตร่ตรองให้ดีว่าเราจะเชื่อในสิ่งที่เราเชื่อว่ามันถูกมาโดยตลอด หรือแท้จริงแล้วสิ่งที่เราเชื่อนั้นมันผิดกันแน่ เราไม่สามารถตัดสินได้เลยว่าความเชื่อของเรา ความเชื่อของคนโน้น ความเชื่อของคนนั้น ผิดหรือถูกเพราะคนเรามีกระบวนการหรือความคิดที่ต่างกัน การปลูกฝัง สังคม สิ่งแวดล้อม ที่ต่างกันอาจเป็นผลที่ทำให้ความคิดและความเชื่อของแต่ละคนต่างกัน เช่น ฉันเชื่อว่าการทำดีนั้นย่อมต้องได้ดี แต่บางคนก็บอกว่าการทำดีอาจจะไม่ได้ดีเสมอไป ดังนั้นเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าความเชื่อไหนที่ถูกความเชื่อไหนที่ผิด แต่ให้เคารพการตัดสินใจที่จะเชื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งของตนเอง2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?=หากความเชื่อที่เรามีอยู่แล้ว ส่งผลทำให้มีพฤติกรรมบางอย่างที่ไม่พึงประสงค์การที่เราจะเปลี่ยนความเชื่อที่เราเชื่อมานานหรือคิดว่ามันถูกต้องสำหรับเราแล้วเป็นเรื่องที่ยาก ดังนั้นจะให้เปลี่ยนทันทีทันใดเป็นไปไม่ได้ เราอาจจะเริ่มจากการลองที่จะปรับความคิดและค่อยๆเริ่มสร้างความเชื่อใหม่แล้วลองดูว่าความเชื่อใหม่ที่เราสร้างขึ้นนั้นมันส่งผลให้พฤติกรรมเราดีขึ้นหรือไม่ถ้าหากพฤติกรรมเราเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น เราจึงค่อยๆสร้างความเชื่อใหม่มาแทนความเชื่อเก่า แต่ถ้าหากพฤติกรรมของความเชื่อนั้นออกมาในทางที่แย่ให้เราพิจรณาอีกครั้งก่อนที่จะตัดสินใจเชื่อสิ่งสิ่งหนึ่ง

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้อง? การที่เราจะทราบได้นั้นว่าความเชื่อของตนเองนั้นถูกต้องหรือไม่ จะต้องผ่านการคิดและพิจารณาปัจจัยสนับสนุนต่างๆหลายๆปัจจัย การที่เรานั้นต้องคิดและพิจารณาปัจจัยต่างๆนั้นเพื่อที่จะหาสาเหตุว่าทำไมเราถึงเชื่อว่า ความเชื่อของตนเองนั้นถึงถูกต้อง พิจารณาหาถึงความเป็นไปได้ของความเชื่อ นอกจากนี้เราจะต้องพิจารณาถึงผลกระทบและประโยชน์ต่างๆหากว่าเราคิดว่าความเชื่อดังกล่าวนั้นถูกต้อง ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นเราต้องมีหลักฐานอ้างอิงเชิงประจักษ์ที่จะนำมาสนับสนุนความเชื่อของตนเอง นอกจากนี้การรับฟังความคิดเห็นรวมถึงประสบการณ์จากผู้ที่มีความรู้และความสามารถในด้านที่เรานั้นสนใจและมีความเชื่อว่าถูกต้องนั้น ก็สามารถนำมาสนับสนุนควรคู่ไปกับการใช้หลักฐานอ้างอิงได้เช่นเดียวกัน จากที่กล่าวมาทั้งหมดจึงทำให้ทราบว่าการคิดว่าความเชื่อของเรานั้นจะถูกต้องหรือไม่ต้องขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของเราเองที่อยู่บนพื้นฐานของความจริงและความเป็นไปได้ ซึ่งจะต้องไม่ทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่น2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง ‘‘ความเชื่อใหม่’’ ให้เข้ามาแทนที่ ‘‘ความเชื่อเก่า’’ ได้อย่างไร? การสร้าง ‘‘ความเชื่อใหม่’’ ให้เข้ามาแทนที่ ‘‘ความเชื่อเก่า’’ นั้นสามารถกระทำได้ด้วยกันหลายวิธีเช่น การตั้งข้อสงสัยว่าทำไมความเชื่อเดิมของเรานั้นจึงไม่ถูกต้องซึ่งนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านความเชื่อ ,การเปิดใจรับฟังความคิดเห็นหรือประสบการณ์ต่างๆจากผู้อื่น เนื่องจากมนุษย์ของเรานั้นจะต้องมีการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ต่างๆในชีวิตแล้วนำมาปรับใช้ เราจึงสามารถนำประสบการณ์ด้านที่เหมาะสมมาปรับเปรียบพฤติกรรมด้านความเชื่อของเราได้ นอกจากนี้การศึกษาค้นคว้าหาข้อเท็จจริงจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่มีความน่าเชื่อถือ ก็สามารถนำมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านความเชื่อได้เช่นเดียวกัน ซึ่งจากที่กล่าวมาข้างต้นนั้นจะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านความเชื่อนั้นจะต้องอาศัยวิจารณญาณในการค้นคว้าข้อมูล รวมถึงวิจารณญาณความเชื่อในด้านต่างๆ

นางสาวศศิชา ไทรทอง 6110410094 คณะพยาบาลศาสตร์ sec.031.เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?คนเราแต่ละคนย่อมโตมาจากสิ่งแวดล้อมและสังคมที่แตกต่างกัน ย่อมมีความเชื่อที่แตกต่างกันด้วย เพราะฉะนั้นถ้าถามว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อของเรานั้นถูกหรือก็คงจะตอบได้ยาก ความเชื่อนั้นไม่ใช่สิ่งตายตัวว่าถูกหรือผิด แต่ถ้าต้องการพิสูจน์จริงๆว่าถูกหรือผิดก็ต้องหาข้อมูลที่มีความเป็นกลางและหลากหลาย และควรเปิดใจเปิดรับสิ่งใหม่ๆ ลดอคติต่อความเชื่อที่เราไม่เชื่อเพื่อที่จะได้พิสูจน์ว่าความเชื่อนั้นเป็นจริงหรือไม่ แต่ก็ยังมีความเชื่ออีกหลายอย่างที่ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ ซึ่งความเชื่อที่เรามีอยู่นั้นควรอยู่ในขอบเขตความพอดีไม่ใช่เลยไปถึงขั้นงมงาย

2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้างความเชื่อใหม่ ให้เข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่า ได้อย่างไร? ต้องพิจารณาหาสาเหตุว่าทำไมจึงเกิดความเชื่อต่อความเชื่อเก่าก่อน ว่าเกิดจากสิ่งใด มีที่มาอย่างไร ทำไมเราถึงเชื่อ และความเชื่อนั้นไม่สมเหตุสมผลอย่างไร และรวบรวมข้อมูลข้อสนับสนุนที่สมเหตุสมผลมาคิดพิจารณาเพื่อจะทำให้เกิดความเชื่อใหม่และมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ มุมมองความคิดกับคนอื่นๆเพื่อพิจารณา มีการเปิดใจตนเองให้มีความเชื่อใหม่ที่ถูกต้องและสมเหตุสมผล และนึกถึงผลดีที่จะตามมาหากเรามีความเชื่อที่ถูกต้อง ถ้าคิดได้เเล้วว่าความเชื่อใหม่ๆนั้นดีกว่าความเชื่อเก่าที่เรามี เราก็เชื่อสิ่งใหม่เเทน การรับความเชื่อใหม่ๆนั้นคือการเปิดโลกทัศน์ใหม่ให้กับตัวเอง ไม่จมปลักอยู่กับความเชื่อเดิมๆ

นางสาวจิดาภา สุดไพ 6110410018 คณะพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่2 กลุ่ม031.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องดิฉันคิดว่าความเชื่อเกิดจากการได้เรียนรู้ กระทำหลายครั้งจนเกิดเป็นพฤติกรรม ดิฉันคิดว่าเราต้องแลกเปลี่ยนความเชื่อเสมือนแลกเปลี่ยนความคิดที่มีรากเหง้าจากความเชื่อโดยพูดคุยกับบุคคลที่เรารู้จัก และตรวจสอบโดยการคิดพิจารณาว่าความเชื่อของเรานั้นเป็นสิ่งที่ถูกศีลธรรมหรือผิดกฏหมายหรือไม่ สิ่งนี้แหละที่จะทำให้เรารู้ว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องหรือไม่2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง”ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไรในการสร้างความเชื่อใหม่นั้นเราก็ต้องเรียนรู้ แล้วมองหาสิ่งที่สามารถมาแย้งความเชื่อเก่าของเราได้ อย่างเช่น ความเชื่อในเรื่องอาหาร บางคนอาจนิยมทานอาหารดิบๆสุกๆ เพราะเชื่อว่าทานเช่นนี้จะทำให้รับรู้รสอาหารได้มากขึ้น แต่เมื่อเกิดการเรียนรู้ว่าการทานอาหารดิบๆสุกๆนั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพ ที่อาจเรียนรู้ได้จากผลที่เกิดกับร่างกายอย่างท้องเสีย หรือได้รับรู้จากข่าวสารทางทีวีหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ

นางสาวจิดาภา สุดไพ 6110410018 คณะพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่2 กลุ่ม03

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องดิฉันคิดว่าความเชื่อเกิดจากการได้เรียนรู้ กระทำหลายครั้งจนเกิดเป็นพฤติกรรม ดิฉันคิดว่าเราต้องแลกเปลี่ยนความเชื่อเสมือนแลกเปลี่ยนความคิดที่มีรากเหง้าจากความเชื่อโดยพูดคุยกับบุคคลที่เรารู้จัก และตรวจสอบโดยการคิดพิจารณาว่าความเชื่อของเรานั้นเป็นสิ่งที่ถูกศีลธรรมหรือผิดกฏหมายหรือไม่ สิ่งนี้แหละที่จะทำให้เรารู้ว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องหรือไม่2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง”ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไรในการสร้างความเชื่อใหม่นั้นเราก็ต้องเรียนรู้ แล้วมองหาสิ่งที่สามารถมาแย้งความเชื่อเก่าของเราได้ อย่างเช่น ความเชื่อในเรื่องอาหาร บางคนอาจนิยมทานอาหารดิบๆสุกๆ เพราะเชื่อว่าทานเช่นนี้จะทำให้รับรู้รสอาหารได้มากขึ้น แต่เมื่อเกิดการเรียนรู้ว่าการทานอาหารดิบๆสุกๆนั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพ ที่อาจเรียนรู้ได้จากผลที่เกิดกับร่างกายอย่างท้องเสีย หรือได้รับรู้จากข่าวสารทางทีวีหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ

ความเชื่อในนิยามของข้าพเจ้าคือ สิ่งที่เราเลือกที่จะเชื่อ หากเป็นความเชื่อที่สามารถพิสูจน์ได้ ตามหลักทางวิทยาศาสตร์ ข้าพเจ้าจะเลือกเชื่อตามหลักและเหตุผลของมัน แต่ในบางสิ่งที่เป็นเรื่องของนามธรรม ไม่สามารถพิสูจน์ได้ จะได้รับการสั่งสอนหรือปลูกฝังจากบุคคลหลายๆบุคคล และนำสิ่งที่ได้รับฟังมา มาคิดวิเคราะห์ และเลือกสิ่งที่จะเชื่อด้วยตนเอง ซึ่งในสิ่งที่เป็นนามธรรมนั้น เนื่องด้วยว่าเป็นสิ่งที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ ความเชื่อของแต่ละบุคคลในสิ่งนี้จึงไม่มีผิดไม่มีถูก หากแต่ว่าสิ่งนั้นจะต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่นและสังคม1.ในประเด็นที่ว่า เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง ข้าพเจ้าขอแบ่งเป็นหัวข้อ2หัวข้อใหญ่ๆ คือ ความเชื่อที่สามารถพิสูจน์ได้ และ ความเชื่อที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ หากเป็นความเชื่อที่พิสูจน์ได้ เราจะสามารถรู้ได้ว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นถูกต้องได้เมื่อมีการพิสูจน์ตามหลักต่างๆ แต่หากเป็นความเชื่อที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้นั้น เราไม่สามารถบอกได้ว่าแบบไหนถูกหรือแบบไหนผิด จะบอกได้ว่าแค่ว่าผิดอย่างไม่มีข้อกังขาคือ การมีความคิดที่เบียดเบียนต่อผู้อื่นและสังคม2.ต้องบอกก่อนว่าความเชื่อเก่าที่เรามีมานั้นค่อนข้างจะติดตัวมานานและแก้ยาก การจะแก้เราต้องทำการพิสูจน์ให้เห็นก่อนว่าความเชื่อที่เราเชื่อมาตลอดนั้นผิด แสดงออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรม พอเราเห็นว่ามันผิดแล้วจริงๆเราก็จะเริ่มหาความเชื่อใหม่ๆที่สอดคล้องกับเราและน่าเชื่อถือกว่ามาใช้ ทีนี่ความเชื่อเก่าๆที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของเราก็จะค่อยๆลดลงจนไม่แสดงออกมาและก็จะได้รับความเชื่อใหม่ๆเข้ามาแทนที่

นางสาวรอยฮัน สนิทวาที 6110410182 กลุ่ม03 1.แล้วเราจะเชื่อได้อย่างไรว่าความเชื่อที่มีมันถูกต้อง ? หากพูดถึงความเชื่อ หลายคนย่อมมีความเชื่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การที่เราจะเชื่อ แน่นอนว่าต้องมีปัจจัยต่างๆมาทำให้เราเลือกที่จะเชื่อสิ่งนั้นเช่น สิ่งแวดล้อม ประสบการณ์ ความรู้สึกนึกคิด หรือแม้แต่คำพูดของคนในอดีต ต่างคนต่างก็เลือกที่จะเชื่อในแบบของตัวเอง เพราะความเชื่อเหล่านั้นกล่าวไปถึงการใช้ชีวิตด้วย ความเชื่อเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น ทำให้ยากตือการที่จะพิสูจน์ว่าความเชื่อที่มีนั้นถูกต้องหรือไม่ ถ้าอยากรู้ก็ต้องอาศัยระยะเวลา หลักฐาน และความเป็ยเหตุเป็นผลมาเชื่อมโยงกันให้ได้ว่าความเชื่อนั้นถูกต้องหรือไม่2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง”ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? หากเราอยากจะเปลี่ยนพฤติกรรม เราต้องคิดก่อนว่าพฤติกรรมที่อยากจะปลี่ยนมันเป็นอย่างไร คิดให้รอบคอบ คิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลเพราะความคิดเป็นพื้นฐานของความเชื่อ แล้วค่อยคิดถึงพฤติกรรมใหม่ที่เราต้องการเปลี่ยนและเชื่อมั่นความคิดใหม่ สิ่งเหล่านี้ก็จะทำให้เราเกิดความเชื่อใหม่ๆ และส่งผลให้เกิดพฤติกรรมใหม่ที่จะไปทดแทนพฤติกรรมที่ต้องการเปลี่ยนอย่างเป็นธรรมชาติ

  1. เราจะทราบได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง ทุกคนเติบโตมาในครอบครัวที่ต่างกัน ถูกสอนมาต่างกัน และแจ่ละครอบครัวนั้นก็มีค่านิยม ความคิด และคงามเชื่อที่แตกต่างกัน ในวัยเด็ก เราทุกคนต่างก็ปฏิบัติตามความเชื่อที่ได้รับการถ่ายทอด การสั่งสอนจากบุคคลในครอบครัว แต่เมื่อเราโตขึ้น สามารถแยกแยะความรู้ข้อเท็จจริงเองได้แล้ว เราทุกคนย่อมที่จะแสดงหาข้อมูล เพื่อทดสอบหรือหาข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุนสิ่งที่เราปลูกฝังมา ความเชื่อมีมากมายหลายรูปแบบ บางความเชื่อก็สามารถเป็นสิ่งที่ทำให้เราเกิดความสบายใจได้ บางความเชื่อก็อาจส่งผลที่ไม่ดีต่อสุขภาพจิตใจได้ เมื่อเราโตขึ้น เราก็สามารถกำหนดแนวคิดความเชื่อเป็นของตนเอง เลือกจะเชื่อในสิ่งที่ดี เลือกจะปล่อยวาง ลดอคติจากความเชื่อที่เคยถูกปลูกฝังมาว่ามันจะไม่ดี ถ้าถามดิฉันว่า จะทราบได้อย่างไรว่าความเชื่อนั้นถูกต้อง หากต้องการจะพิสูจน์ว่าความเชื่อนั้นถูกต้องจริงหรือไม่ อย่างแรกเราก็ต้องหาข้อมูล หลักฐานอ้างอิงตามแนวหลักวิทยาศาสตร์ว่าความเชื่อนั้นถูกต้อง มีแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ มากพอที่จะให้เรานำไปปฏิบัติต่อได้ แต่ในทางกลับกันก็มีอีกหลายความเชื่อที่วิทยาศาสตร์ก็ไม่สามารถอธิบายได้เช่นกัน 2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมไม่พึงประสงค์บางอย่าง เราจะสร้างความเชื่อใหม่ มาแทนที่ความเชื่อเก่าได้อย่างไร แน่นอนค่ะว่า เมื่อเราโตขึ้น การที่เราจะคิดหรือจะเชื่ออะไรบางอย่าง ย่อมต้องมีข้อมูลมาอ้างอิง หรือสนับสนุนความเป็นไปได้ของข้อมูลนั้นๆ ในวัยเด็ก เราอาจถูกปลูกฝังมาด้วยความเชื่อแบบผิดๆหลายรูปแบบ เมื่อเราโตขึ้น เราก็คงมีความคิดที่ว่า ไม่ใช่นะ ความเชื่อแบบนี้มันไม่ดี มันผิด เราจึงหาความเชื่อใหม่เพื่อทดแทนความเชื่อเก่าที่ผิด แล้วเราจะรู้ได้ไงว่าความเชื่อใหม่จะถูกต้องกว่าความเชื่อเก่า เราก็ต้องหาเหตุผลชี้แจง หาข้อมูลสนับสนุน หรืออาจจะเป็นการรับรู้ผ่านประสบการณ์โดยตรงจากตนเองหรือโดยอ้อมจากคนรอบข้าง แลกเปลี่ยนข้อมูลจากคนรอบข้าง เมื่อเราได้ข้อมูลที่เพียงพอ และรับรู้ว่าความเชื่อนั้นดี เราก็สามารถที่จะนำความเชื่อใหม่ เข้ามาทดแทนหรือแทนที่ความเชื่อเก่าได้ การสร้างความเชื่อใหม่ไม่ได้ยาก เพียงแค่เราลองเปิดใจมองออกไปในมุมกว้าง ไม่อคติ เปิดใจที่จะยอมรับข้อมูลใหม่ๆเข้ามา

นางสาวสิริมา หมัดอะดั้ม 6110410196 คณะพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่2 1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ความเชื่อนั้นไม่มีถูก ไม่มีผิดเพราะคนเราเกิดมาย่อมมีครอบครัว สังคม วัฒนธรรม หรือสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน ดังนั้นถ้าหากทุกคนมีความเชื่อที่ต่างกันก็ถือว่าไม่แปลก แล้วเราก็ไม่ควรคิดว่าความเชื่อของคนอื่นนั้นผิด แล้วของตัวเองถูก และการเชื่อในสิ่งๆหนึ่ง ไม่ควรที่จะเชื่อแบบงมงาย ควรอยู่ในขอบเขตที่พอดี สุดท้ายถ้าเราเชื่อว่าความเชื่อของตัวเองนั้นถูกต้อง จะต้องแสดงให้เห็นว่าเรานั้นมีพฤติกรรมที่ดี และส่งผลดีทั้งตัวเอง ครอบครัว และสังคม2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง”ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? อันดับแรกคือ เราต้องเข้าใจว่าความเชื่อเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ยาก มันไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลยที่จะเปลี่ยนแปลงได้ทันที เราต้องมีความอดทน แล้วรู้จักเปิดใจยอมรับสิ่งใหม่ๆเข้ามา โดยอาศัยประสบการณ์ และปรับมุมมอง แต่เราไม่ได้ทิ้งความเชื่อเก่าไปทั้งหมด เพียงแค่นำความเชื่อใหม่ๆเข้ามาปรับเปลี่ยน ผสมผสาน แล้วจึงเกิดเป็นความเชื่อใหม่ขึ้นมา ส่งผลให้พฤติกรรมของเราให้พัฒนาชีวิตไปในทางที่ดีขึ้น และดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข

1.เราจะไม่มีทางรู้ได้เลยว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกหรือผิด เพราะในแต่ละคนก็ต่างที่จะมีความเชื่อเป็นของตัวเอง เราจึงไม่สามารถใช้ความเชื่อของเราไปตัดสินความเชื่อของผู้อื่นได้ว่าถูกหรือผิด แต่เราสามารถตัดสินใจโดยใช้การวิเคราะห์ตรึงตรอง ถึงความน่าเชื่อถือของความเชื่อนั้นได้ด้วยตัวเอง หากเรามีสติ ไม่งมงาย และใช้ความมีเหตุมีผลในการตัดสินความเชื่อ ก็จะเป็นตัววัดได้ว่าความคิดที่เราเลือกจะเชื่อนั้นเป็นความเชื่อที่ไม่ขัดต่อศีลธรรม และประเพณี เพราะเป็นความคิดมีรากฐานมาจากการมีสติ ส่งผลให้เกิดความคิดที่ดี2.เราต้องเริ่มจากการที่เราต้องมีความคิดที่จะปรับเปลี่ยนตัวเองด้วยความเต็มใจ แล้วการที่เราจะสามารถนำความเชื่อใหม่เข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่าได้นั้น ต้องใช้ความคิดมาเป็นส่วนช่วยในการวิเคราะห์ถึงผลดี และผลเสีย ของความเชื่อต่อพฤติกรรม ทั้งความเชื่อใหม่และความเชื่อเก่า และถ้าหากเราสามารถวิเคราะห์ได้แล้วว่าจะส่งผลดีมากกว่าผลเสีย เราก็จะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ จากความเชื่อเก่า ไปเป็นความเชื่อใหม่ที่คิดจะปรับเปลี่ยนได้

นางสาวลัดดา สุภาคีรีวัลย์ 6110410184 คณะพยาบาลศาสตร์ sec03 1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ความเชื่อไม่มีถูกหรือผิด เพราะแต่ละคนมีความเชื่อเป็นของตัวเอง ขึ้นอยู่กับความคิด มุมมอง ความศรัทธาของแต่ละคน เราะทุกคนมีความคิด มุมมอง และความศรัทธาที่แตกกัน เพราะฉะนั้นเราไม่มีทางรู้ได้ว่าความเชื่อใครถูกต้องที่สุด เราก็เชื่อในส่วนของเราไม่ไปสร้างความเดือดร้อนให้ใครแค่นี้ก็เพียงพอแล้ว 2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?ถ้าเรารู้ว่าสิ่งนั้นมันไม่ดีเราก็ไม่ควรจะทำมันอีก เพราะมันอาจจะไปสร้างความเดือดร้อนให้กับคนอื่น แต่ก่อนอื่นเราควรรู้จักตัวเองให้ดีกว่าว่าสิ่งไหนควรทำไม่ควรทำ ถ้าความเชื่อเก่ามันไม่ดีจริงเราก็ควรปรับเปลี่ยนความเชื่อใหม่ให้ดีกว่าเดิม ไม่มีคำว่าสายกับการเริ่มต้นใหม่ที่ดี

1:ความเชื่อของแต่ละคนนั้น แตกต่างกัน บางคนเชื่ออีกอย่าง บางคนไม่เชื่ออย่าง บางความเชื่ออาจจะผิด หรือบางความเชื่ออาจจะถูกต้อง การที่จะรู้ได้ว่า ความเชื่อเราจะถูกต้องหรือไม่นั้น ส่วนตัวดิฉันคิดว่า มาจากการวิจัย การค้นคว้า และการทดลอง ที่มาจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นคนส่วนใหญ่ที่คนเขาเชื่อกัน แต่บางความเชื่อที่พิสูจน์นั้น บางทีอาจจะไม่ถูกต้องก็ได้ แล้วแต่บุคคล2: การที่เราจะมีความเชื่อใหม่นั้น เราต้องทำความเข้าใจ และต้องให้การยอมรับความเชื่อใหม่นั้น โดยจะต้องหาข้อมูลมาสนับสนุน มาเสริมความรูนั้น ว่าถูกต้องจริงหรือไม่

  1. แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องตอบ เราต้องมีความมั่นใจในความเชื่อนั้นๆ จากการพิจารณา รวบรวมข้อมูล โดยผ่านการใช้สติในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ความเชื่อนั้นๆ นอกจากนี้เรายังเพิ่มความมั่นใจในความเชื่อนั้นๆได้จากประสบการณ์ จากบทเรียนที่เราเคยสัมผัสด้วยตัวเราเอง

  2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง ความเชื่อใหม่ ให้เข้ามาแทนที่ ความเชื่อเก่า ได้อย่างไรตอบ เราต้องมีบทบาทสมมติหรือยกตัวอย่างของความเชื่อใหม่โดยต้องมีการบอกเหตุผลและมีหลักฐานที่ชัดเจนเพื่อให้เกิดความคิดแบบใหม่ขึ้น เมื่อเกิดความคิดซึ่งเป็นสิ่งที่ไตร่ตรองวิเคราะห์ผ่านสมองแล้วก็จะส่งผลให้เชื่อในความเชื่อใหม่และยังส่งผลต่อพฤติกรรมของเรา ให้เปลี่ยนแปลงตามความเชื่อใหม่

นางสาวจริยา ฝั่งขวา 6110410016 คณะพยาบาลศาสตร์ sec 03

1.ความเชื่อของแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกันและเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง อันเนื่องมาจากสังคม สิ่งแวดล้อม การอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครอง การศึกษาและประสบการณ์ที่ได้ประสบพบเจอมาในช่วงชีวิต รวมถึงลักษณะนิสัยและทัศนคติ ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ส่งผลต่อความเชื่อของบุคคลนั้น ดังนั้นแล้วการที่จะรับรู้ได้ว่าความเชื่อใดถูกต้องหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแต่ละบุคคลเอง ไม่สามารถกำหนดกฏเกณฑ์ที่ชัดเจนได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้วความเชื่อนั้นจะต้องไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนทั้งต่อตนเองและต่อบุคคลรอบข้าง

2.เริ่มจากการหาเหตุผลว่า “ความเชื่อเก่า” ส่งผลต่อพฤติกรรมของเราอย่างไร เพื่อพิจารณาว่าพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์นั้น เป็นพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์จริงๆ ส่งผลให้ตนเองหรือบุคคลอื่นเดือดร้อน จากนั้นจึงวิเคราะห์ พิจารณา ความเชื่อเก่าว่าว่าควรปรับเปลี่ยนส่วนใด การปรับเปลี่ยนจะส่งผลให้พฤติกรรมดีขึ้นอย่างไร จนเมื่อได้ข้อสรุปแล้ว จึงเริ่มปรับเปลี่ยน “ความเชื่อใหม่” ซึ่งเป็นความเชื่อที่จะส่งผลให้พฤติกรรมนั้นดีขึ้น ไม่เดือดร้อนตนเองและผู้อื่น โดยปรับเปลี่ยนแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้ตนเองได้คุ้นชินและซึมซับพฤติกรรมและความเชื่อใหม่นั้น

1.ความเชื่อในความเชื่อในความคิดของฉันคือ มันมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อที่ส่งต่อกันมา ความเชื่อที่มีข้อเท็จจริงมารองรับ หรือความเชื่อที่ประสบพบเจอ แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าเป็นจริง ถูกต้อง แน่นอนว่ามันต้องพิสูจน์ได้ มีเหตุผลมารองรับ และเป็นความจริงที่อธิบายได้ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ 2.การเปลี่ยนแปลงความเชื่อ เหมือนเป็นเรื่องที่จะง่ายก็ง่ายจะยากก็ยาก ขึ้นอยู่กับบุคคลและเรื่องราวต่างๆ ถ้าเราจะสร้างความเชื่อใหม่ แน่นอนว่าเราต้องมีเหตุผล มีข้อเท็จจริง มีประสบการณ์ใหม่กับเรื่องนั้นมา และเมื่อเรารู้ว่าพฤติกรรมที่เราทำอยู่มันไม่ดีและอาจเป็นผลเสียก็แค่สร้างความเชื่อใหม่ที่บางคนอาจจะใช้เวลาในการเปลี่ยนแปลงนี้ ว่าสิ่งที่เรากำลังทำมันแย่ เพราะฉะนั้นก็ควรเปลี่ยนมุมมองและความเชื่อเสียใหม่เพื่อหลีกเลี่ยงและเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าว

นางสาวพิไลลักษณ์​ ประสานสงฆ์รหัส​ 6110410014​ sec 03​ คณะพยาบาลศาสตร์1.เรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?ความเชื่อที่เรามีมานั้นเกิดขึ้นจากหลายปัจจัยรอบตัว​ การเลี้ยงดูจากครอบครัว​ สิ่งแวดล้อมที่เราอยู่​ ค่านิยมของคนรอบข้าง​และอื่นๆ​ จึงทำให้มีความเชื่อที่หลากหลาย​ หากตามความคิดของข้าพเจ้าความเชื่อที่ถูกต้องควรมีเหตุผลที่ชัดเจน​ มีหลักการที่สามารถพิสูจน์ได้​ มีความน่าเชื่อถือ และไม่ควรผิดศีลธรรมและกฎหมาย2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของตนเองได้นั้นอย่างแรกคือต้องมองถึงข้อเสียของพฤติกรรมนั้นก่อนว่าส่งผลต่อเราอย่างไรบ้าง​ จากนั้นจึงลองเปิดใจหาแนวคิดหรือหลักความเชื่อใหม่มาปฏิบัติทดแทนความเชื่อเก่า โดยเริ่มจากทีละน้อยไม่หักโหมและทำอย่างต่อเนื่องเพื่อที่เราจะได้มีพฤติกรรมที่ดีขึ้น

นางสาว หยาดเพรช อินทองปาน รหัส 621031146แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?ดิฉันเชื่อว่าความเชื่อของแต่ละคนนั้นไม่ซ้ำเหมือนเหมือนกับคนอื่นทั้งหมด เนื่องจากแต่ละคนก็มี ลักษณะนิสัย มุมมอง ทัศนคติ การเลี้ยงดู การศึกษา รวมทั้งสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน ทำให้แตละคนนั้นมีความคิดความเชื่อที่แตกต่างกันออกไป แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง แน่นอนว่าเรื่องความเชื่อนี้ไม่สามารถกำหนดกฏเกณฑ์ได้อย่างชัดเจนว่าความเชื่อนั้นผิดหรือถูก แต่ทั้งนี้ความเชื่อที่ดีจะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อคนอื่นหรือต่อตนเองมี่ทำในผู้อื่นเดือดร้อน มีความสมเหตุสมผล เป็นความจริงและมีความถูกต้อง โดยไม่มีอคติ และต้องอาศัยประสบการณ์ต่างๆในการตัดสินใจ เนื่องจากประสบการณ์จะเป็นบทพิสูจน์ความเชื่อเหล่านั้นว่าจะเกิดผลดีหรือส่งผลเสียตามมาเมื่อเรามีความคิดและแสดงพฤติกรรมตามความเชื่อที่เราตั้งไว้2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?ก่อนที่จะเปลี่นเเปลงหรือสร้าง ความเชื่อใหม่ให้ตัวนั้น เราต้องหาถึงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ที่อาจจะทำให้เกิดความเสียหายให้เเกตัวเองหรือผู้อื่นโดยที่อาจจะตั้งใจหรืออาจจะไม่ก็ได้ และสำคัญของความเชื่อที่ไม่พึงประสงค์ ก็จะนำไปสู่ความคิดและพฤติกรรมที่แสดงออกไม่พึงประสงค์ตามไปด้วย ทั้งนี้หากเราต้องการที่จะปรับเปลี่ยนความเชื่อเก่า ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมที่ไม่ดี อาจเริ่มตั้นจากการประเมินหาข้อเสียหรือผลกระทบต่างๆที่อาจเกิดขึ้นหากเรามีการปฏิบัติตามความเชื่อเดิมๆเหล่านั้นต่อไปโดยยอมรับความจริง มีเหตุผล เมื่อเรามองเห็นถึงผลกระของความเชื่อเก่าแล้วนั้น เราก็สามารถนำความเชื่อเหล่านั้นมาปรับปรุงพัฒนาเพื่อให้มีคุณภาพมากขึ้น

นางสาวธนัญญา มั่งมี 6110410041 คณะพยาบาลศาสตร์1. รู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? สำหรับดิฉันหลักการพิจารณาความเชื่อว่าความเชื่อนั้นมีความถูกต้องหรือไม่ เราสมควรเชื่อแล้วน้ำมาปฏิบัติหรือไม่ โดยมีหลักเกณฑ์การพิจารณาอยู่ 2 ข้อด้วยกันคือ 1. เป็นความเชื่อที่มีเหตุและผลและเป็นหลักการทางวิทยาศาสตร์ โดยพิจารณาดูว่าเบื้องหลังของความเชื่อนั้นๆมีเหตุและผลของตัวมันเอง เป็นไปตามกฎของธรรมชาติ มองลักษณะของความเชื่อนั้นๆอย่างมีที่มาและที่ไป คิดต่อเนื่องเป็นสายสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกัน ไม่เป็นความเชื่อซึ่งไร้ที่มา ไม่มีหลักเหตุผล ไม่สามารถอธิบายได้และไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 2. เป็นความเชื่อที่สอดคล้องกับหลักทางพระพุทธศาสนา โดยนำหลักการพิจารณามาจากหลักความเชื่อ 10 ประการของพระพุทธศาสนา แต่นำมาใช้จริงเพียง 8 ข้อ ตามหลักการพิจารณาของตนเองได้แก่ ไม่เชื่อความเชื่อนั้นเพียงแค่ได้ยินต่อๆกันมา เล่าต่อๆกันมา เป็นความเชื่อที่กำลังได้รับความนิยม ถูกบันทึกไว้ในหนังสือ มาจากการคาดเดาตามสามัญสำนึก คาดคะเนตามเหตุที่แวดล้อม หรือเพียงแค่ความเชื่อนั้นเหมือนกับความคิดที่เรามีอยู่หรือเชื่อเพียงเพราะผู้บอกกล่าวมีความน่าเชื่อถือโดยดูจากภายนอก2. วิธีสร้างความเชื่อใหม่ อย่างแรกที่เราต้องทำคือมีทัศนคติเชิงบวกต่อความเชื่อนั้นๆเมื่อเรามีทัศนคติที่ดีต่อความเชื่อเรื่องหนึ่ง จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญทำให้เราปฏิบัติตัวตามความเชื่อนั้น ประการที่2 คือเราต้องเข้าใจในความคาดหวัง เชื่อมั่นในตนเองว่าเราสามารถสร้างความเชื่อใหม่ได้ เพราะเมื่อไรก็ตามที่เราคิดว่าเราทำได้หรือคิดว่าทำไม่ได้ มันก็จะป็นอย่างที่คิด ซึ่งความสำเร็จจาการทำอะไรหนึ่งอย่างส่วนหนึ่งก็มาจากความคาดหวัง ถ้าเราเปลี่ยนความคาดหวังของตัวเองก็เท่ากับว่าเรากำลังเปลี่ยนโลกของตัวเองอยู่ ประการที่ 3 คือการเปลี่ยนความคิด ซึ่งความคิดเป็นแนวทางสำหรับทุกสิ่งได้เสมอ ความคิดเปปรียบเสมือนประกายเริ่มต้นของการกระทำ ดังนั้นถ้าเราต้องการทำอะไร มันต้องเริ่มจากที่เราคิดอะไรด้วยเช่นกัน และประการสุดท้ายคือการลองเริ่มที่ตนเอง

1.การที่เราจะรู้ได้ว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องจะต้องเกิดจากการที่เราค้นคว้าหาความจริงซึ่งเราไม่สามารถตัดสินได้ว่าความเชื่อตั้งแต่เกิดหรือความเชื่อต่อๆกันมาตั้งแต่อดีตนั้นเป็นความเชื่อที่ถูกต้องเราจึงต้องเรียนรู้และค้นคว้าข้อมูลต่างๆเพื่อหาข้อเท็จจริงในความเชื่อนั้น​​ซึ่งผู้คนต่างเเหล่งที่มาต่างความเชื่อต่างศาสนาต่างเชื้อชาติต่างคำสอนไม่สามารถตัดสินว่าความเชื้อของคนอื่นผิดเพียงเพราะเชื่อต่างจากเรา2 ต้องศึกษาต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับความเชื่อเก่าและใหม่ว่ามันต่างกันอย่างไร ความเชื่อใดที่ก่อให้เกิดผลดีแก่เราและเราจะปรับเปลี่ยนความเชื่อนั้นทำไม เมื่อเรารู้เหตุผลที่จะต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนั้นๆแล้ว เราจะสามารถ รับความเชื่อใหม่ได้

นางสาวธีรารัตน์ แก้วประดับรัฐ 6210311031 คณะแพทยศาสตร์ สาขากายภาพบำบัด ชั้นปีที่1 กลุ่ม031.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?ความเชื่อเป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับมนุษย์มาตั้งแต่สมัยโบราณ ดังนั้นดิฉันคิดว่าความเชื่อบางอย่างในสมัยก่อนอาจถูกต้องหรือไม่ถูกต้องก็ได้ เมื่อเวลาผ่านไปความเชื่อของมนุษณ์ก็เปลี่ยนไปด้วย ดังนั้นความเชื่อที่ถูกต้อง ต้องพิสูจน์ได้ โดยมีหลักฐาน อยู่บนรากฐานของความเป็นจริง ตรงตามหลักเหตุผลหรือหลักวิทยาศาสตร์2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?ความเชื่อส่งผลต่อพฤติกรรม โดยอย่างแรกเราต้องทราบก่อนว่าความเชื่อบางอย่างที่เราเชื่อมาจนถึงปัจจุบันนั้นถูกเชื่อตามๆกันมาจากสมัยก่อนตอนที่มนุษย์ยังมีความรู้ไม่มากนักและมีการใช้ชีวิตที่แตกต่างออกไป ซึ่งความเชื่อเก่าอาจไม่ถูกต้องในสมัยปัจจุบัน ดังนั้นเราต้องเริ่มจากการพิจารณาความเชื่อของตนเอง ทบทวนตนเอง เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมที่ดีขึ้น เราต้องกำจัดความเชื่อเก่าโดยหาเหตุผลหักล้างความเชื่อเก่าที่ไม่ถูกต้อง และสร้างความเชื่อใหม่ที่ดีให้กับตัวเอง ซึ่งเราต้องหาเหตุผลให้มากพอที่จะเปลี่ยนความเชื่อ มีหลักฐานที่มาสนับสนุนความเชื่อใหม่หรือสร้างหลักฐานใหม่เพื่อสนับสนุนความเชื่อใหม่ ยกตัวอย่างการเปลี่ยนพฤติกรรมเก่าๆ เช่น สมัยก่อนเมื่อคนมีอาการหลอน ผู้คนต่างเชื่อว่าเกิดจากวิญญาณ หรือโดนทำของใส่ ต้องรักษากับหมอผีถึงจะหาย ซึ่งตามหลักเหตุผลหรือหลักวิทยาศาสตร์อาการหลอนเป็นโรคทางจิตควรพบแพทย์เพื่อช่วยควบคุมอาการและดูแลให้อาการดีขึ้นได้ในระยะยาว

นางสาวภัทรชนก ไชยรัตน์ 6110410072 Sec03 พยาบาล1.การที่เราจะรู้ได้ว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องจะต้องเกิดจากการที่เราค้นคว้าหาความจริงซึ่งเราไม่สามารถตัดสินได้ว่าความเชื่อตั้งแต่เกิดหรือความเชื่อต่อๆกันมาตั้งแต่อดีตนั้นเป็นความเชื่อที่ถูกต้องเราจึงต้องเรียนรู้และค้นคว้าข้อมูลต่างๆเพื่อหาข้อเท็จจริงในความเชื่อนั้น​​ซึ่งผู้คนต่างเเหล่งที่มาต่างความเชื่อต่างศาสนาต่างเชื้อชาติต่างคำสอนไม่สามารถตัดสินว่าความเชื้อของคนอื่นผิดเพียงเพราะเชื่อต่างจากเรา2 ต้องศึกษาต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับความเชื่อเก่าและใหม่ว่ามันต่างกันอย่างไร ความเชื่อใดที่ก่อให้เกิดผลดีแก่เราและเราจะปรับเปลี่ยนความเชื่อนั้นทำไม เมื่ิเรารู้เหตุผลที่จะต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนั้นๆแล้ว เราจะสามารถ รับความเชื่อใหม่ได้

นางสาวณัฐธิดา พลายด้วง 6110410036 คณะพยาบาลศาสตร์ sec 031.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ความเชื่อ คือ การยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริง ความจริงหรือความไว้วางใจที่เป็นรูปของความเชื่อนั้น ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นความจริงที่ตรงตามหลักเหตุผลหรือหลักวิทยาศาสตร์ใดๆ ความเชื่อของคนเราแต่ละคนนั้นแตกต่างกันไป เราไม่สามารถตัดสินได้ว่าความเชื่อของใครถูกต้อง หรือความเชื่อของใครผิด หรือความเชื่อของใครถูกต้องที่สุด หรือความเชื่อของใครผิดที่สุด ไม่มีมาตราวัดไหนบนโลกใบนี้ที่สามารถวัดค่าความเชื่อได้ ซึ่งบางความเชื่อก็อาจเป็นไปในทางเดียวกัน หรือบางความเชื่อก็อาจจะขัดแย้งกันได้ โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าคนเราไม่ควรมาทะเลาะกันด้วยประเด็นของความเชื่อ ความเชื่อเป็นเรื่องส่วนบุคคลไม่มีถูก ไม่มีผิด2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?การที่เราจะเปลี่ยนแปลงความเชื่อของเรานั้น เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เพราะความเชื่อเป็นเรื่องที่ฝังลึกอยู่ในจิตใจ ยากที่จะเปลี่ยนแปลงได้ในระยะเวลาอันสั้น แต่ก็เชื่อว่าสามารถทำได้ เช่น การพาตัวเองเข้าไปอยู่ท่ามกลางผู้คนที่มีความเชื่อใหม่ที่เราอยากจะมีความเชื่อแบบนั้น โดยส่วนตัวคิดว่าการที่เราได้อยู่ในสภาพแวดล้อมแบบไหน ส่วนใหญ่แล้วสภาพแวดล้อมแบบนั้นก็จะหลอรวมให้เรากลายเป็นคนแบบนั้น กรณีตัวอย่างเช่น การที่เราเป็นคนมองโลกในแง่ลบ เราต้องการปรับเปลี่ยนความคิดแบบนี้ เพราะว่าความคิดมาจากความเชื่อและความเชื่อส่งผลต่อพฤติกรรม เราควรพาตัวเองไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยคนมองโลกในแง่บวก นานๆเข้าความเชื่อเก่าของเรา ก็จะถูกแทนที่ด้วยความเชื่อใหม่ในที่สุด

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ความเชื่อของแต่ละคนล้วนมีความแตกต่าง ขึ้นกับปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น การเลี้ยงดูของครอบครัว สภาพแวดล้อมหรือสังคมรอบข้าง ประสบการณ์ที่เคยผ่านมา ฯลฯ ซึ่งความเชื่อเหล่านั้นไม่ได้มีเกณฑ์กำหนดที่ชัดเจนว่าความเชื่อแบบใดถูกแบบใดผิด เพียงแต่ความเชื่อที่เรามีต้องไม่สร้างความเดือดร้อนหรือทำให้ผู้อื่นเสียหาย แต่หากจะพิสูจน์ว่าความเชื่อที่เรามีนั่นถูกต้องหรือไม่ สิ่งสำคัญคือ การเปิดใจ เปลี่ยนมุมมองและยอมรับความเชื่อแบบอื่นๆอย่างมีเหตุผลโดยไม่อคติ หากความคิดและพฤติกรรมที่ตามมาจากผลของความเชื่อนั้นดีขึ้น ก็ไม่แปลกที่เราจะมีความเชื่อที่เปลี่ยนไปตามเวลาที่เปลี่ยนแปลง2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? ในเมื่อความเชื่อเก่าทำให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ก็ต้องกลับมาคิด พิจารณา หาสาเหตุของพฤติกรรมนั้น โดยการปรับเปลี่ยนมุมมองทางความเชื่อ เปิดใจ ยอมรับความคิดเห็นผู้อื่น แลกเปลี่ยนความรู้ พูดคุยกับคนรอบข้างที่เป็นแบบอย่างของพฤติกรรมที่ดี แล้วค่อยๆปรับเปลี่ยนความเชื่อทีละน้อย ไม่ยึดติดกับความเชื่อแบบเดิมๆ แต่อาจจะผสมผสานความเชื่อเก่ากับความเชื่อใหม่เข้าด้วยกันเพื่อผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?ตอบ สำหรับดิฉันคิดว่าความเชื่อนั้นไม่มีผิดถูกแล้วแต่วิจารณญาณส่วนบุคคล แต่บางทีหากเรามีความเชื่อเดิมๆอยู่แล้วแต่เมื่อกระทำบางอย่างแล้วรู้สึกว่ามันขัดตัวเอง ทำแล้วไม่สบายใจ รู้สึกว่ามันไม่ถูกต้องก็ควรจะหาคำตอบให้กับตัวเองและมาคิดวิเคราะห์ว่าสิ่งที่เรากำลังเชื่ออยู่นั้นมันมีเหตุผลพอหรือถูกต้องแค่ไหน เช่นเรามีความเชื่อหนึ่งๆอยู่แล้วเมื่อเราได้ปฏิบัติเป็นพฤติกรรมออกมาเรารู้สึกว่ามันขัดกับตัวเองหรือไม่ถูกต้อง เราก็ควรจะหาข้อมูลสนับสนุนในความเชื่อนั้นว่ามันถูกต้องหรือไม่ หากมันถูกต้องมีเหตุผลดิฉันก็พร้อมจะคิดว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นมันถูกต้องสำหรับดิฉันแล้ว2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?ตอบ สำหรับฉันคิดว่าความเชื่อเก่าของแต่ละคนคงเป็นสิ่งที่เชื่อมาเป็นเวลานานแล้วอาจจะแก้ยากต้องใช้เวลากว่าความเชื่อใหม่จะเข้ามาแทนที่เก่าได้ ทั้งต้องทำการศึกษาหาข้อมูลสนับสนุนมากเพียงพอ และข้อมูลของความเชื่อใหม่ต้องมีเหตุผลและน้ำหนักเป็นอย่างมากถึงจะทำให้ฉุกคิดขึ้นมาว่าสิ่งที่ทำอยู่ตอนนี้มันใช้แล้วใช่ไหม และตรงนี้อาจจะเป็นจุดเริ่มตนของการเปลี่ยนแปลงความเชื่อเก่าเป็นความเชื่อใหม่เลยก็ได้ เพราะเมื่อเรามีความฉุกคิดมีความสนใจกับสิ่งนั้นๆเราก็จะศึกษา หาข้อมูล พยายามหาข้อเท็จจริงเพื่อเคลียในประเด็นที่เราสงสัยจนได้

1.เรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ความเชื่อเกิดจากการคิด ไตร่ตรอง ซึ่งความเชื่อของแต่ละบุคคลนั้นย่อมมีความแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความสามารถในการรับรู้ การเล่าเรียน ประสบการณ์ต่าง ๆ รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่ การที่เราจะรู้ได้ว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นถูกหรือไม่ ย่อมต้องมีการตรวจสอบ มีการพิสูจน์ หรือมาหลักฐานมายืนยันว่าสิ่งที่เราได้รู้และเชื่อไปนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ความเชื่ออาจจะไม่มีถูกหรือผิดแล้วแต่มุมมองและทัศนคติของแต่ละคน ซึ่งความเชื่อที่ถูกในสังคมหนึ่งอาจจะผิดสำหรับอีกสังคมหนึ่ง เหล่านี้อาจจะไม่สามารถตัดสินได้อย่างชัดเจนและแน่นอน2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? การที่เราจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้นั้นเราต้องทราบถึงข้อเสียของพฤติกรรมเก่าก่อน ต้องทราบว่าพฤติกรรมนั้นไม่เหมาะสมอย่างไร โดยคิดว่าพฤติกรรมนั้นมีผลอย่างไรต่อความคิด ความเชื่อของเรา การจะรับความเชื่อใหม่ๆเข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่าได้นั้นเราต้องมีการคิด วิเคราะห์ถึงความเป็นจริง ความเป็นไปได้ของความเชื่อเหล่านั้น แล้วค่อยๆนำความเชื่อใหม่มาปรับใช้ ซึ่งความคิดและความเชื่อจะส่งผลผลต่อพฤติกรรมที่เราแสดงออกมา การที่เราต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ได้นั้นอาจจะต้องใช้เวลา ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมและเรื่องว่าเกี่ยวกับความเชื่อ ความคิดในเรื่องใด บางเรื่องอาจจะต้องใช้เวลานาน บางเรื่องอาจจะใช้เวลาน้อย

  1. เราจะรู้ได้อย่างว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ความเชื่อ เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้คนเกิดการยอมรับ เกิดความแตกต่างและรวมไปถึงการดำเนินวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน นั่นเพราะความเชื่อมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิต ดังนั้นสิ่งที่ทำให้เรารับรู้ได้ว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องคือ ความเชื่อที่ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในการดำรงชีวิต การไม่ไปเบียดเบียนผู้อื่นจนได้รับความเดือดร้อน และการทำให้เกิดความสุข ความสบายใจหากได้ปฏิบัติตามความเชื่อที่มีอยู่
  2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสามารถสร้างความเชื่อใหม่ให้เข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่าได้อย่างไร? การที่เราจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองนั้นอย่างเเรกเลยเราจะต้องยอมรับเเละเข้าใจในสิ่งที่เป็นอยู่แล้วเริ่มเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น และเชื่อมั่นว่าสิ่งๆนั้นจะต้องส่งผลดีให้กับตนเอง โดยทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกนี้จะต้องใช้เวลาเป็นตัวพิสูจน์

6110410168 คณะพยาบาลศาสตร์ sec.031. จากคำถามแล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? การที่จะบอกได้ว่าความเชื่อที่เราเชื่อนั้นถูกต้อง ความเชื่อเหล่านี้ของเราล้วนต้องผ่านการคิดจนมาเป็นการกระทำและพฤติกรรมของเรา เมื่อเราได้ลองทำ ลองพิสูจน์จากความเชื่อที่เรามี ผลที่ออกมาจะถูกต้องหรือไม่ถูกต้องซึ่งนั่นก็ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราเชื่อตั้งแต่แรกการลองผิดลองถูกก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้เรารู้ว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นถูกต้องไหม ความเชื่อนั้นมีหลายแบบ บางความเชื่อที่เราคิดว่าถูกต้องและเมื่อได้ลองทำตามความเชื่อซึ่งผลออกมาดีก็อาจนับว่าเป็นความเชื่อที่ถูกต้องสำหรับเรา ส่วนความเชื่อที่คนอื่นบอกว่าดีและถูกต้อง เมื่อเราได้ลองเชื่อตามและทำมันออกมา บางทีก็อาจไม่ดีเหมือนที่คนอื่นได้บอกไว้ก็ไม่ได้หมายความว่าความเชื่อนี้จะถูกต้องสำหรับเราเสมอไป ซึ่งหากเราเลือกที่จะเชื่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่งและคิดว่าถูก ให้เราคิดต่อจากความเชื่อ และลงมือกระทำ สุดท้ายผลที่ออกมาจะเป็นตัวบอกเราว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นถูกต้องหรือไม่2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? หากเราต้องการที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมซึ่งนั่นหมายความว่าเราควรเริ่มจากแทนที่ความเชื่อเก่าด้วยความเชื่อใหม่โดยความเชื่อเก่าเหล่านั้นอาจจะยังเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้องหรือเรียกว่าเชื่อในสิ่งที่ผิด จึงส่งผลให้เรานั้นมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เมื่อเราคิดได้ว่าความเชื่อเก่านั้น ไม่ได้ส่งผลให้เรามีพฤติกรรมที่ดี เราจึง สร้าง แสวงหา ความเชื่อใหม่ๆ และ คิดต่อยอดจากความเชื่อ สู่พฤติกรรมของเรา รวมถึง การที่เราจะเชื่อในสิ่งสิ่งหนึ่งได้ ไม่ใช่มาจากความเชื่อส่วนตัวเราเพียงสิ่งเดียว แต่เราต้อง คิดต่อและหาเหตุในการรองรับความเชื่อ และความเชื่อนั้นสามารถต่อยอดต่อไปได้ และไม่ส่งผลในทางที่ไม่ดี ความเชื่อใหม่ที่ได้มา เราต้องรู้จักที่ลองผิดลองถูก และปรับ จนเกิดเป็นพฤติกรรมเราพึงประสงค์และพอใจ สิ่งสำคัญคือไม่ขัดแย้งหรือเป็นพฤติกรรมที่ไม่ดีส่งผลเดือดร้อนต่อผู้อื่น

นางสาวจิตติมา ทองจีน 6110410019 คณะพยาบาลศาสตร์ sec.031.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ตอบ หลายๆความเชื่อก็เกิดจากการปลูกฝังมาตั้งแต่เรายังเด็ก เราจึงได้ซึมซับความเชื่อเหล่านั้นมาอย่างยาวนาน โดยบางครั้งก็ทำให้เราอาจไม่ได้คำนึงถึงหลักความเป็นจริง การที่เราจะทราบได้ว่าความเชื่อเหล่านั้นถูกต้องหรือไม่ ก็ต้องผ่านกระบวนการคิดที่ใตร่ตรองว่า สิ่งเหล่านั้นเป็นความจริงหรือไม่ เหมาะสมหรือไม่ เชื่อถือได้หรือไม่ แต่อย่างไรก็ตามความเชื่อของแต่ละคนก็ย่อมไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับหลักความคิดและเหตุผลของบุคคลเหล่านั้น ซึ่งจะกล่าวว่าใครถูกใครผิดไม่ได้ แต่ก็ต้องไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนด้วย และหากเมื่อพิสูจน์มาแล้วว่าความเชื่อเหล่านั้นผิด ก็ต้องลดอคติต่อความเชื่อที่เราไม่เชื่อเพื่อที่จะได้พิสูจน์ว่าความเชื่อนั้นเป็นจริงหรือไม่ แต่ก็ยังมีความเชื่ออีกหลายอย่างที่ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ ซึ่งความเชื่อที่เรามีอยู่นั้นควรอยู่ในขอบเขตความพอดีไม่ถึงขั้นงมงาย2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? ตอบ หากความเชื่อที่เรามีอยู่แล้ว ส่งผลทำให้เราไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ตามที่ต้องการ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างที่ไม่พึงประสงค์เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขขึ้นนั้นก็ย่อมสามารถทำได้ แต่หากเป็นเราจะเปลี่ยนความเชื่อที่เราเชื่อมานานหรือคิดว่ามันถูกต้องสำหรับเราแล้วย่อมเป็นเรื่องที่ยาก ดังนั้นจะให้เปลี่ยนทันทีทันใดเป็นไปไม่ได้ เราอาจจะเริ่มจากการลองที่จะปรับความคิดและค่อยๆเริ่มสร้างความเชื่อใหม่แล้วลองดูว่าความเชื่อใหม่ที่เราสร้างขึ้นนั้นมันส่งผลให้พฤติกรรมเราดีขึ้นหรือไม่ถ้าหากพฤติกรรมเราเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น เราจึงค่อยๆสร้างความเชื่อใหม่มาแทนความเชื่อเก่า แต่ถ้าหากพฤติกรรมของความเชื่อนั้นออกมาในทางที่แย่ให้เราพิจารณาอีกครั้งก่อนที่จะตัดสินใจเชื่อสิ่งสิ่งหนึ่ง

จากคำถามที่ว่าเราจะรู้ได้ไงว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง ดิฉันมองว่าเราไม่สามารถวัดได้ว่าความเชื่อที่มีนั้นถูกต้องเพราะบางทีความเชื่อที่เรามีก็อาจเป็นความเชื่อที่ผิด แต่เราก็ยังมีความเชื่อต่อสิ่งนั้นๆ เพราะความเชื่อบางอย่างที่มีก็อาจเกิดจากความเชื่อที่ปลูกฝั่งมาตั้งแต่สมัยเด็ก เกิดการฝั่งเข้าไปข้างในโดยไม่รู้ตัว และความเชื่อที่มีก็อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุเช่น เกิดจากประสบการณ์ตรง การได้รับข่าวสารสืบต่อกันมาเป็นความเชื่อที่กล่าวอ้างต่อๆ กันหรือการปฏิบัติสืบต่อมาของคนรุ่นก่อน และบางทีก็อาจจะเกิดจากการนึกคิดเอาเองตามความรู้สึกของตนเอง เป็นความเชื่อที่คาดเดา หรือคิดเอาเอง อาจไม่มีข้อมูลใดๆ มาสนับสนุน และจากคำถามที่ว่าในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร ข้อนี้ดิฉันคิดว่าการที่จะเปลี่ยนแปลงความเชื่อที่มีอยู่จากเดิมได้อาจต้องหาข้อมูลสนับสนุนหรือข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์บางอย่างที่บอกได้ว่าความเชื่อที่เรามีอยู่นั้นไม่เป็นจริงตามที่เราเชื่อถือ จะทำให้เราไม่เกิดความเชื่อถือต่อความเชื่อเก่าทำให้เกิดการใช้เหตุและผลในการวิเคราะห์ความเชื่อและจะสามารถสร้างความเชื่อใหม่ได้

(นางสาวดารารัตน์ ขจรฟุ้ง 6110410037 คณะพยาบาลศาสตร sec.03)1.แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?สำหรับตัวของดิฉันคิดว่า ความเชื่อที่เรามีมานั้นเราไม่สามารถรับรู้ได้เลยว่าถูกหรือผิดอย่างไรบ้าง เพราะความเชื่อที่มีก็อาจจะแตกต่างกันออกไปตามสภาพแวดล้อม ความเป็นอยู่ในสังคม เป็นต้น อีกทั้งความเชื่อคือสิ่งที่กระจายมาจากคนสู่คน ซึ่งเราก็ไม่อาจรับรู้ได้ว่าในระหว่างการกระจายนั้น มีการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขความเชื่อนั้นอย่างไรบ้าง หรือในระหว่างการกระจายนั้นมีความเข้าใจที่ไม่ตรงกันในสื่อสาร ซึ่งอาจจะนำมาซึ่งความเชื่อที่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม แล้วความเชื่อนั้นจะถูกต้อง ก็ต้องมีการพิสูจน์ หรือมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถทำให้เป็นที่ประจักษ์กับทุกคน ซึ่งความเชื่อนั้นก็ต้องอยู่บนหลักความเป็นจริง2.ถ้าหากเราจะสร้างความเชื่อใหม่มาแทนที่ความเชื่อเก่า?ดิฉันมองว่าเราควรหาข้อดีข้อด้อยของความเชื่อที่เรามี แล้วพัฒนาข้อด้อยนั้นให้เป็นจุดที่แข็งแรงเพิ่มมากขึ้น อาจจะได้มาโดยการหาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ หรือวิจัยใดๆก็แล้วแต่ จากนั้นเมื่อเราได้ความเชื่อใหม่ขึ้นมาแล้ว เราอาจจะต้องตรวจสอบด้วยว่า สิ่งที่เราสร้างขึ้นมีช่องว่างหรือจุดที่ไม่ครอบคลุมตรงไหนอีกบ้าง ถูกต้อง และตรงกับเป้าหมายที่วางไว้มากน้อยเพียงใดซึ่งเป็นการตรวจสอบก่อนที่จะนำไปสู่การปฏิบัติ และเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

6110410115 นางสาวอังคณา ชัยชะนะ คณะพยาบาลศาสตร์ sec03ความเชื่อคือการยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริงหรือสิ่งที่เราไว้ใจ ซึ่งไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นความจริงที่ตรงตามหลักเหตุผลหรือหลักวิทยาศาสตร์ใดๆ การที่เราจะรู้ได้ว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องความเชื่อเหล่านั้นจะต้องผ่านการพิสูจน์ และเกิดผลดีกับเรา โดยอาจจะมีตัวอย่างความคิดความเชื่อ และการกระทำเหล่านั้นให้เห็นว่าปฏิบัติแล้วจะเกิดผลอย่างไร ถ้าความเชื่อเหล่านั้นส่งผลดี แสดงว่าความเชื่อเหล่านั้นถูกต้อง สำหรับคนๆนั้นโดยความเชื่ออาจจะเปลี่ยนแปลงหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆที่เข้ามามีอิทธิพล 2. การที่เราจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่เกิดจากความเชื่อเรานั่น เพราะพฤติกรรมไปส่งผลดีต่อตัวเราและความเชื่อใหม่ที่จะเข้ามาเเทนที่ความเชื่อเก่าได้ต้องต้องเป็นความเชื่อที่ดีกว่าและส่งผลต่อเรามากกว่าและสามารถพิสูจน์ได้วาเปลี่ยนแล้วผลเป็นอย่างไรถ้าพฤติกรรมที่เกิดจากความเชื่อใหม่ส่งผลดีมากกว่า ก็จะนำไปสู่ความเชื่อการกระทำแบบนี้จะส่งผลในทางที่ดีทำให้เรายอมรับความเชื่อใหม่และแทนที่ความเชื่อเก่าได้

ความเชื่อเป็นรากเหง้าของความคิดและการกระทำ ประเด็นที่ 1 : รู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ความเชื่อเป็นสิ่งที่มนุษย์เราสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นบรรทัดฐานทางจิตใจ บางครั้งสิ่งที่เราเชื่อว่าถูกต้องแล้ว แต่อีกมุมหนึ่งมันอาจเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องสำหรับคนอื่น ไม่มีใครสามารถตัดสินความเชื่อของเราได้นอกจากตัวเราเอง ทั้งนี้แล้วมันขึ้นอยู่กับว่าผลของความเชื่อนั้นจะส่งผลดีต่อตัวเราและบุคคลรอบข้างหรือไม่ ซึ่งผลของความเชื่อ คือ ทัศนคติทางความคิดและการกระทำที่จะบ่งบอกความเป็นตัวตนของมนุษย์ หากส่งผลในทางที่ดีซึ่งจะหมายความได้ว่าสิ่งที่กระผมเชื่อนั้นมีความถูกต้อง

ประเด็นที่ 2 : หากต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? หากเรารู้ตัวว่ามีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งแน่นอนว่าต้องมาจากความคิดและความเชื่อของเราที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นที่ยอมรับของคนในสังคม แสดงว่าสิ่งที่เราจะต้องทำต่อไป คือ การเปลี่ยนแนวคิดใหม่ โดยการแสวงหาสิ่งใหม่ๆที่แตกต่าง เคยมีคำกล่าวไว้ว่า “การเรียนรู้ ไม่มีที่สิ้นสุด จงเป็นน้ำที่ไม่เต็มแก้ว พร้อมที่จะนำสิ่งใหม่มาเติมเต็มเสมอ” เรามีสิทธิในการเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับชีวิต หากแนวคิดใหม่ดีกว่าแนวคิดเดิม เราก็สามารถเปลี่ยนแปลงและยอมรับ เพื่อพัฒนาตนเองต่อไป

ความเชื่อ ความคิด พฤติกรรม1. แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ตอบ ความเชื่อคือกระบวนการคิดของมนุษย์ทีอยู่ภายใต้จิตใจหรือเป็นก้นบึ้งของหัวใจ ถูกปลูกฝังไว้ในจิตใต้สำนึก ความเชื่อของแต่ละบุคคลจะสามารถเหมือนหรือไม่เหมือนกัน เนื่องจากต่างดีเอ็นเอ ต่างสมอง ต่างสิ่งแวดล้อม ต่างความคิดและต่างความเชื่อ ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว เช่น สังคม บุคคล วัฒนธรรมและศาสนา เช่น ในกลุ่มสังคมกลุ่มหนึ่งเชื่อในเรื่องบาปบุญ แต่อีกกลุ่มไม่เชื่อ และเมื่อที่เราได้เชื่อสิ่งใด ตัวเราเองก็ย่อมมั่นใจแล้วว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นถูกต้อง และคิดหาเหตุผลมารองรับโดยอัตโนมัติเนื่องจากเรารับรู้แล้วว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นมีอยู่จริง ดีจริง หรือเหมาะสมกับเราจริง และผ่านการยอมรับพิจารณาไตร่ตรองจากหลายบุคคล นั่นคือเราผ่านการไตร่ตรองโดยความคิดก่อนจะเป็นความเชื่อ คิดว่าสิ่งนี้ถูกสิ่งนี้ดีกับตัวเรา จึงเชื่อว่าสิ่งนี้ดี ว่าสิ่งที่เรากำลังเชื่อนั้นไม่ได้ก่อให้เกิดผลเสียหรืออันตรายใดๆกับผู้อื่นและตัวเราทั้งกายภาพและชีวภาพ2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?ตอบ เนื่องจากความเชื่อเป็นสิ่งหนึ่งที่มาจากความคิด หากเราต้องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แสดงว่าเราสามารถนั้นรับรู้ได้ว่ามันไม่เหมาะสม หรือเป็นพฤติกรรมที่ไม่เป็นผลดีต่อตัวเรา ซึ่งการที่เราแสดงออกย่อมมาจากความเชื่อของตัวเราเองเนื่องจากพฤติกรรมมักจะสอดคล้องกับความคิดและความเชื่อ ดังนั้นหากเราต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เราก็ต้องเปลี่ยนแปลงความเชื่อของเราก่อน โดยการปรับเปลี่ยนความเชื่อเดิมและเพิ่มเติมความเชื่อใหม่ เพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเองไปยังพฤติกรรมใหม่ที่ดีขึ้น เช่น เรื่องการอ่านหนังสือหลังเรียนจบในหนึ่งวัน หากอ่านจะทำให้มีคะแนนที่ดี แต่หากไม่อ่านอาจจะสอบตกได้ ในเรื่องนี้สามารถชี้ชัดได้ว่าหากเชื่อว่าอ่านแล้วคะแนนจะดีขึ้น เราก็จะมีความตั้งใจและพฤติกรรมในการปรับเปลี่ยนตัวเอง

1.แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องสำหรับดิฉันนั้น ดิฉันเชื่อว่าคนเราทุกคนบนโลกนี้มีความเชื่อในแต่ละเรื่องที่แตกต่างกัน ในเรื่องๆเดียวกัน ต่างคนต่างมีความคิดเป็นของตนเอง และเชื่อในเรื่องๆนั้นกันคนละแบบ ความเชื่อที่หลากหลายนี้ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมต่างๆ ที่แตกต่างกันด้วย แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เราเชื่อกันมามันถูกต้อง สำหรับดิฉันก็คือ ในเมื่อทุกคนมีความคิดเป็นของตนเอง ทุกคนมีสิ่งที่อยากทำและไม่อยากทำที่ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นดิฉันเชื่อว่าความเชื่อของแต่ละคนกับเรื่องๆหนึ่งไม่มีใครผิดใครถูก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น สิ่งที่จะวัดได้ว่าความเชื่อที่มีมานั้นมันไม่ถูกต้อง คือการที่ความเชื่อนั้นได้ทำให้ผู้อื่น หรือ ตนเอง เดือดร้อนหรือไม่ ถ้าเกิดเราเชื่อในเรื่องๆหนึ่งและแสดงพฤติกรรมบางอย่างออกไป เราต้องคำนึงถึงว่าความเชื่อและพฤติกรรมนั้นจะไม่ไปก่อให้เกิดปัญหาที่ทำให้เกิดความเดือดร้อนทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ถ้าหากว่าความเชื่อและพฤติกรรมนั้นก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อตัวเราเอง หรือไปสร้างความเดือดร้อนให้กับคนอื่น เราอาจจะต้องเปลี่ยนความเชื่อนั้นใหม่ และปรับปรุงพฤติกรรมนั้นใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับค่านิยมของสังคม และการอยู่ร่วมกันในสังคมกับคนอื่นๆ โดยที่ความเชื่อที่เรามีอยู่นั้น ไม่ได้แปลกไปจากเดิม หรืออาจจะแปลกไปแต่ไม่มาก เพื่อความสบายใจของตัวเอง และความสบายใจของเพื่อนร่วมโลกด้วยเช่นกัน 2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร อย่างที่ดิฉันได้กล่าวไปในข้อที่ 1. ดิฉันเชื่อว่าคนเราทุกคนบนโลกมีความคิดความเชื่อ และพฤติกรรมที่แสดงออกมาไม่เหมือนกัน การทีเราจะคำนึงได้ว่าพฤติกรรมหรือความเชื่อใดถูกหรือผิด ต้องขึ้นอยู่กับจิตสำนึกและนิสัยใจคอของคนแต่ละคน แต่ถ้าความเชื่อของเรา เป็นความเชื่อที่ไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน แต่ตัวเราเองต้องการที่จะเปลี่ยนความเชื่อนั้นใหม่ ดิฉันคิดว่าสิ่งที่ทำได้คือ เราต้องหา “แรงบันดาลใจ” การหาแรงบันดาลใจใหม่ๆ จะทำให้เราอยากที่จะทำกิจกรรมใหม่ๆ และเมื่อเราอยากจะทำอะไรใหม่ๆ ความเชื่อใหม่ๆก็จะเกิดขึ้นด้วย ทั้งนี้การจะเปลี่ยนความเชื่อเก่าๆ ให้เป็นความเชื่อใหม่ ก็ต้องใช้เวลามากหน่อย แต่ถ้าเราตั้งใจจริงที่อยากจะเปลี่ยนความเชื่อใหม่ จิตใจของเรามันก็จะสั่งให้เราทำให้ได้ และเราจะค่อยๆซึบซับความเชื่อใหม่ๆนั้นเข้าไป หรือการเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมรอบตัว ให้เป็นไปในทิศทางของสิ่งที่เราอยากจะเชื่อ ดิฉันคิดว่าก็ช่วยได้เหมือนกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิธีการของแต่ละคน และขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่แต่ละคนจะใช้ในการปรับตัวก็ไม่เหมือนกัน

  1. แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?เราจะรู้ได้ว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องไหมขึ้นกับการให้คุณค่ากับความเชื่อนั้น คนในสังคมให้คุณค่าเช่นไร เราต้องดูว่าความเชื่อที่มีนั้นเป็นความเชื่อประเภทใด ยกตัวอย่างเช่น ความเชื่อทางวิทยาศาสตร์ แน่นอนว่ามันอาจถูกต้องเพราะความเชื่อทางวิทยาศาสตร์นั้นต้องได้รับการพิสูจน์ในข้อเท็จจริงมาแล้วจึงสามารถถ่ายทอดเผยแพร่ได้ หรือความเชื่อในด้านศาสนาที่แตกต่างกัน บางศาสนาให้ความสำคัญกับสิ่งของมีการเคารพบูชากราบไหว้ บางศาสนาห้ามการกราบไหว้สิ่งของ จะเห็นได้ชัดเจนเลยว่าทั้งสองศาสนามีการกระทำที่ต่างกันซึ่งไม่อาจตัดสินได้เลยว่าความเชื่อแบบไหนที่ผิดเพราะการให้คุณค่ากับแต่ละความเชื่อนั้นไม่เหมือนกัน ซึ่งโดยส่วนตัวดิฉันมองว่าความเชื่อเราจะถูกผิดไหมไม่สามารถตัดสินใจได้แน่ชัดตราบใดที่ความเชื่อนั้นไม่ได้ก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งใดหรือแม้แต่ตัวเราเอง ความเชื่อนั้นก็ยังคงถูกต้อง โดยตัดสินใจจากบริบทที่เกิดขึ้นในขณะนั้นร่วมด้วย

  2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้โดยขั้นแรกเราต้องยอมรับกับตัวเองก่อนว่าความเชื่อเก่านั้นไม่ถูกต้องและต้องได้รับการแก้ไขโดยทันที ลำดับต่อไปเริ่มสร้างความคุ้นชินกับความเชื่อใหม่โดยปฏิบัติพฤติกรรมตามความเชื่อใหม่ซ้ำๆ แล้วจะชินไปเอง ทั้งนี้ทั้งนั้นแกนหลักในการสร้างความเชื่อใหม่คือการกำหนดจิตใจของเรานั่นเอง หากเรากำหนดจิตให้เชื่อได้เราจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ได้อย่างแน่นอน

  1. แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?- ส่วนตัวคิดว่าความเชื่อส่วนใหญ่นั้นมาจากการโดนปลูกฝังตั้งแต่เด็กสืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน เราเชื่อโดยทั้งๆไม่มีการพิสูจน์ด้วยตนเองว่าความเชื่อเหล่านั้นถูกต้องหรือไม่ โดยเราจะต้องมีการคิดไตร่ตรอง พิจารณา ว่ามันสมเหตุสมผลหรือไม่ มันเชื่อได้จริงไหม อาจจะมีการหาข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้ร่วมได้ด้วย แต่ในปัจจุบันก็ได้มีความเชื่อบางอย่างที่ไม่เป็นความจริง ( สำหรับตัวดิฉัน )เช่น การห้ามตัดเล็บในตอนกลางคืน เป็นต้น เพราะ การลงมือทำด้วยตัวเองเลยทำให้รู้ว่าความเชื่อนี้ไม่ถูกต้อง สำหรับตัวดิฉันเอง และแน่นอนว่าความเชื่อของคนเเต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน เราทุกคนย่อมเชื่อว่าความเชื่อของตัวเองถูกต้อง แต่ก็ไม่ควรที่จะไปตัดสินความเชื่อของคนอื่นว่าผิดเช่นกัน
    และควรที่จะเชื่ออย่างมีขอบเขตทร่พอดีไม่งมงายจนเกินไป

2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?- แน่นอนว่าการที่เราจะเปลี่ยนสิ่งๆหนึ่งที่เรากระทำมาโดยตลอด เชื่อมาโดยตลอด มันเป็นสิ่งที่ยาก แต่ถ้าหากเรากระทำแล้วมันส่งผลไม่ดีต่อบางอย่างของเรา เชื่อว่าทุกคนพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงมันหรือเลิกทำก็ว่าได้ เราจะต้องเริ่มจากการมั่นใจและเชื่อก่อนว่า ความเชื่อใหม่นี้ ดีกว่า ความเชื่อเก่า ของเราอย่างแน่นอน เราถึงจะกล้าเปลี่ยนมันมาแทนที่ หลังจากที่เราคิดจะเปลี่ยนแล้ว ก็ต้องลงมือทำและใช้เวลาเพราะเราอาจจะยังเคยชินกับความเชื่อเก่า แต่เมื่อเรามี ความเชื่อใหม่มาแทนที่แล้ว และเเทนที่ไปเรื่อยๆทำไปเรื่อยๆไม่นานความเชื่อใหม่ ก็จะ กลายเป็นความเชื่อของเราค่ะ ??

  1. ความเชื่อเป็นสิ่งที่อาจจะได้มาจากประสบการณ์หรือการปลูกฝังจากคนรอบข้าง จากการได้ฟังของผู้ที่มีความน่าเชื่อถือ แล้วเรามีการไตร่ตรองหรืออนุมานต่อความเชื่อนั้น ซึ่งความเชื่อเป็นสิ่งที่ไม่มีทั้งถูกหรือผิด เพราะมันขึ้นอยู่กับมุมมองและทัศนคติของแต่ละบุคคล รวมทั้งสิ่งแวดล้อมต่างๆ และปัจจัยต่างๆ ดังนั้นการที่เราตัดสินว่าความเชื่อของเราถูกต้อง เราจะต้องพิจารณาว่าความเชื่อนั้นของเราจะต้องส่งผลดีและไม่ส่งผลเสียต่อตัวเราเองหรือบุคคลอื่น และก่อนที่เราจะตัดสินว่าความเชื่อนั่นถูกต้องเราจะต้องมีการคิดวิเคราะห์และการไตร่ตรองให้รอบคอบอย่างสมเหตุสมผลเสียก่อน2.มีการมองย้อนกลับหาความเชื่อที่ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ จากนั้นหาเหตุผลมาหักล้างความเชื่อเก่า และเราก็จะต้องมีกการเปิดใจและมองหาความเชื่อใหม่ๆ จากคนที่มีความน่าเชื่อถือ หรือมีการแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมหรือที่พึงประสงค์ออกมา หรือจากแหล่งต่างๆ ที่มีความน่าเชื่อถือ จากนั้น เราจะต้องมีการหาข้อมูลมาสนับสนุนหรือส่งเสริมความเชื่อใหม่ของเราว่าความเชื่อนี้เป็นสิ่งที่มีความถูกต้องมากกว่า เป็นสิ่งที่มีการยอมรับ เป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้ตัวเรามีการแสดงออกของพฤติกรรมที่พึงประสงค์และบุคคลอื่นยอมรับ ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน ส่งผลดีต่อตัวเรา ซึ่งเมื่อเรามีการพิจารณา คิดวิเคราะห์ และไตร่ตรองอย่างรอบคอบและสมเหตุสมผลแล้วว่าความเชื่อใหม่ของเราเป็นสิ่งจะส่งผลดีต่อพฤติกรรมของเรา มีความถูกต้อง และมีข้อดีมากกว่าความเชื่อเก่าของเราแล้ว เราก็จะมีการให้ความเชื่อใหม่มาแทนที่ความเชื่อเก่าของเราไปโดยปริยาย เพราะเราทุกคนก็ต่างอยากมีความเชื่อดี มีความถูกต้อง
  1. ความเชื่อเป็นสิ่งที่อาจจะได้มาจากประสบการณ์หรือการปลูกฝังจากคนรอบข้าง จากการได้ฟังของผู้ที่มีความน่าเชื่อถือ แล้วเรามีการไตร่ตรองหรืออนุมานต่อความเชื่อนั้น ซึ่งความเชื่อเป็นสิ่งที่ไม่มีทั้งถูกหรือผิด เพราะมันขึ้นอยู่กับมุมมองและทัศนคติของแต่ละบุคคล รวมทั้งสิ่งแวดล้อมต่างๆ และปัจจัยต่างๆ ดังนั้นการที่เราตัดสินว่าความเชื่อของเราถูกต้อง เราจะต้องพิจารณาว่าความเชื่อนั้นของเราจะต้องส่งผลดีและไม่ส่งผลเสียต่อตัวเราเองหรือบุคคลอื่น และก่อนที่เราจะตัดสินว่าความเชื่อนั่นถูกต้องเราจะต้องมีการคิดวิเคราะห์และการไตร่ตรองให้รอบคอบอย่างสมเหตุสมผลเสียก่อน2.มีการมองย้อนกลับหาความเชื่อที่ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ จากนั้นหาเหตุผลมาหักล้างความเชื่อเก่า และเราก็จะต้องมีกการเปิดใจและมองหาความเชื่อใหม่ๆ จากคนที่มีความน่าเชื่อถือ หรือมีการแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมหรือที่พึงประสงค์ออกมา หรือจากแหล่งต่างๆ ที่มีความน่าเชื่อถือ จากนั้น เราจะต้องมีการหาข้อมูลมาสนับสนุนหรือส่งเสริมความเชื่อใหม่ของเราว่าความเชื่อนี้เป็นสิ่งที่มีความถูกต้องมากกว่า เป็นสิ่งที่มีการยอมรับ เป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้ตัวเรามีการแสดงออกของพฤติกรรมที่พึงประสงค์และบุคคลอื่นยอมรับ ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน ส่งผลดีต่อตัวเรา ซึ่งเมื่อเรามีการพิจารณา คิดวิเคราะห์ และไตร่ตรองอย่างรอบคอบและสมเหตุสมผลแล้วว่าความเชื่อใหม่ของเราเป็นสิ่งจะส่งผลดีต่อพฤติกรรมของเรา มีความถูกต้อง และมีข้อดีมากกว่าความเชื่อเก่าของเราแล้ว เราก็จะมีการให้ความเชื่อใหม่มาแทนที่ความเชื่อเก่าของเราไปโดยปริยาย เพราะเราทุกคนก็ต่างอยากมีความเชื่อดี มีความถูกต้อง

(1)แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? สำหรับหนูแล้วความเชื่อคือสิ่งที่เราเชื่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดจากการถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เรายังเป็นเด็ก ซึ่งความเชื่อเหล่านี้ถูกซึมซับมาอย่างยาวนานและที่สำคัญต้องไม่ผิดต่อหลักศาสนา ซึ่งก่อนที่เราจะเชื่อต่อสิ่งนั้นๆเราต้องมีความคิดไตรตรองให้ดีก่อนว่าสิ่งนั้นดีหรือไม่ เราสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ไหมและส่งผลกระทบกับคนรอบข้างไหม นอกจากนี้เราต้องไม่ไปขัดความเชื่อของคนรอบข้าง เพราะคนเรามีความเชื่อที่แตกต่างกันและเราต้องเคารพสิทธิความเชื่อของเขาด้วย (2)ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? การที่เราจะเปลี่ยนแปลงความเชื่อของเรานั้น เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เพราะความเชื่อเป็นเรื่องที่ฝังลึกอยู่ในจิตใจ ยากที่จะเปลี่ยนแปลงได้ในระยะเวลาอันสั้น แต่ก็เชื่อว่าเราสามารถทำได้ เพราะการที่เราพาตัวเองเข้าไปอยู่ท่ามกลางผู้คนที่มีความเชื่อใหม่ที่เราอยากจะมีความเชื่อแบบนั้น โดยส่วนตัวคิดว่าการที่เราได้อยู่ในสภาพแวดล้อมแบบไหน ส่วนใหญ่แล้วสภาพแวดล้อมแบบนั้นก็จะหลอรวมให้เรากลายเป็นคนแบบนั้นและการจะรับความเชื่อใหม่ๆเข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่าได้นั้นเราต้องมีการคิด วิเคราะห์ถึงความเป็นจริง ความเป็นไปได้ของความเชื่อเหล่านั้น แล้วค่อยๆนำความเชื่อใหม่มาปรับใช้ ซึ่งความคิดและความเชื่อจะส่งผลผลต่อพฤติกรรมที่เราแสดงออกมา การที่เราต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ได้นั้นอาจจะต้องใช้เวลา ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมและเรื่องว่าเกี่ยวกับความเชื่อ ความคิดในเรื่องใด

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องความเชื่อก็คือการยอมรับต่อสิ่งต่างๆว่าเป็นจริงและเชื่อว่ามีอยู่จริง ถึงแม้ว่าสิ่งนั้นจะไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นความจริงด้วยเหตุผล แต่เป็นสิ่งที่ยอมรับกันในสังคม ความเชื่อไม่มีผิดไม่มีถูก เพียงแต่ว่าความเชื่อที่ถูกต้องนั้นจะต้องอยู่บนหลักเหตุและผลที่ถูกต้องและเหมาะสม จะต้องไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนและส่งผลกระทบที่ไม่ดีต่อผู้อื่น จากความเชื่อของดิฉัน ดิฉันมองว่าหากความเชื่อนั้นส่งผลดีและเกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ก็ถือว่าเป็นความเชื่อที่ถูกต้องเช่นกัน 2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่ “ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า “ ได้อย่างไรอยางแรกเลยก็คือพิจารณาถึงความเชื่อเก่าว่ามันส่งผลไม่ดีต่อตัวเราอย่างไรบ้าง และเปิดใจยอมรับถึงความเชื่อใหม่ โดยที่ความเชื่อใหม่นั้นจะต้องส่งผลที่ดีกว่าความเชื่อเก่า โดยที่หาเหตุผลและข้อสนับสนุนว่าความเชื่อใหม่ดีกว่าความเชื่อเก่าอย่างไร เพื่อที่จะสามารถหักล้างกับความเชื่อเก่าได้

  1. แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง ?ความเชื่อของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับหลายๆปัจจัย เช่น สภาพแวดล้อม การถูกปลูกฝังในวัยเด็ก ประสบการณ์ที่เจอมา สังคมรอบข้าง ครอบครัว สิ่งเหล่านี้ทำให้เราไม่สามารถตัดสินได้ว่าความเชื่อที่มีมานั้นถูกหรือผิด แต่ถ้าให้อธิบายเฉพาะบุคคลทุกคนก็ต้องคิดว่าความเชื่อของตัวเองถูกต้องเพราะการที่เราจะฝังใจเชื่อนั้นมันได้ผ่านการคิด ไตร่ตรอง พิจารณามาอย่างถี่ถ้วนแล้ว และด้วยสัญชาตญาณของความเป็นมนุษย์ทำให้เราตัดสินใจว่าความเชื่อนั้นถูกต้องที่สุดสำหรับเราแล้ว

  2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร ?เราสามารถเปลี่ยนแปลงความเชื่อใหม่ได้โดยตัวเองและโดยผู้อื่น การเปลี่ยนแปลงความเชื่อใหม่โดยตัวเองสามารถทำได้ด้วยการค้นหาประสบการณ์ใหม่ๆ การคิดนอกกรอบ หรือเป็นการเรียนรู้ ลองทำสิ่งใหม่ๆสิ่งเหล่านี้จะทำให้เราเห็นมุมมองใหม่ๆ และเมื่อนำความเชื่อใหม่กับความเชื่อเก่ามาเปรียบเทียบก็ย่อมเห็นถึงความแตกต่างซึ่งจะนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี ส่วนการเปลี่ยนแปลงความเชื่อใหม่โดยผู้อื่นทำได้ด้วยการแลกเปลี่ยนความคิด ความเชื่อ รับฟังเหตุผลของความเชื่อนั้นและนำมาคิดไตร่ตรอง มันอาจจะยากที่จะเชื่อเพราะเราไม่ได้ประสบพบเจอแบบเดียวกับเขาเราเพียงรับฟังเขามา แต่เราสามารถนำมาจินตนาการถึงเหตุการณ์ที่นำไปสู่ความเชื่อนั้นได้ และนำไปปรับเป็นความเชื่อใหม่ของเรา

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้อง? ทุกๆคนมีความเชื่อ ซึ่งอาจเกิดจากความเชื่อที่มีต่อๆกันมา หรือจากความคิดของแต่ละคนที่แตกต่างกันออกไป เมื่อกาลเวลาผ่านไป คนรอบข้างหรือสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเรา หรือวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไปอาจจะทำให้ความเชื่อนั้นเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งเราอาจจะมองดูพฤติกรรมที่เราแสดงออกมาต่อความเชื่อนั้นๆ ที่เราสามารถหาเหตุผลข้อสนับสนุนเพียงพอให้เราต้องคิดพิจารณา ไตร่ตรอง เพื่อพิสูจน์ว่าแท้จริงแล้วความเชื่อนั้นมันถูกหรือไม่สำหรับเรา และความเชื่อนั้นไม่ได้ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน อันที่จริงความเชื่อมันไม่ได้มีถูก ผิดตายตัว มันเกิดจากความคิด มุมมองของแต่ละคนว่าจะมองยังไงมากกว่า2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง ‘‘ความเชื่อใหม่’’ ให้เข้ามาแทนที่ ‘‘ความเชื่อเก่า’’ ได้อย่างไร? โดยปกติหลายๆคนจะมีความเชื่อที่ แตกต่างกันออกไป และแสดงออกมาเป็นพฤติกรรม ถ้าเราแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะนั่นอาจเกิดจากความเชื่อที่เรามี ถ้าเราจะเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างที่ไม่ดีสิ่งแรกคือเราควรจะเริ่มสำรวจพฤติกรรมตัวเองก่อน คิดทบทวน หาเหตุผลต่างๆเพื่อให้ตัวเองยอมรับว่าพฤติกรรมที่เราแสดงออกมามันไม่ควร หาข้อมูลเหตุผล ความถูกต้อง เปิดใจยอมรับความเชื่อใหม่โดยต้องคิดไตร่ตรองด้วยว่ามันถูกต้องหรือไม่ แล้วลองปรับความคิดใหม่ ถ้าเราก้าวผ่านตรงนี้มาได้เราก็จะสามารถรับความเชื่อใหม่เข้ามาได้

1.เรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง : ทุกคนย่อมมีความคิด ความเชื่อเป็นของตนเอง ส่วนการที่จะทราบได้ว่าความเชื่อนั้นถูกต้องหรือไม่ อาจเริ่มได้ที่ตัวเราก่อน ก่อนอื่นเราต้องตั้งคำถามกับตัวเองว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นมีเหตุมีผลมาจากอะไร สามารถเชื่อถือได้หรือไม่ (ในที่นี้ต้องคิดด้วยเหตุผลที่เป็นกลาง ไม่ใช่เชื่อเพราะความชอบหรือไม่เชื่อเพราะมีอคติ) เมื่อเราพิสูจน์กับตนเองแล้ว หากยังไม่แน่ใจ อาจจะลองถามถึงความคิด ความเชื่อ แล้วลองเปรียบเทียบกับความเชื่อของผู้อื่นดู เพราะในบางครั้งการที่เราได้เห็นมุมมองที่หลากหลายหรือข้อมูลที่มากขึ้น อาจช่วยให้เราสามารถไตร่ตรองถึงความเชื่อของเราที่มีอยู่ตอนนี้ อาจทำให้มั่นใจกับความเชื่อแบบเดิมมากขึ้น หรืออาจทำให้เราเปลี่ยนแปลงความเชื่อไปเลยก็ได้ แน่นอนความเชื่อของคนเราสามารถเปลี่ยนแปลงได้อยู่ตลอดเวลา แต่สิ่งที่ต้องตระหนัก คือ การเชื่อแบบมีเหตุผล ไม่ใช่เชื่อด้วยความงมงาย และที่สำคัญ ไม่ว่าความเชื่อนั้นจะเป็นอย่างไร แต่มันจะต้องไม่ทำให้เกิดความเดือดร้อนต่อตนเองและผู้อื่น เพราะถ้าเป็นแบบนั้นขอให้มั่นใจได้เลยว่า “ความเชื่อนั้นไม่ถูกต้อง”

2.ในกรณีที่เราต้องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร : การที่จะเปลี่ยนแปลงความเชื่อที่มีอยู่เดิมถือว่าไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะความเชื่อนั้นส่งผลต่อพฤติกรรม และความคิดในการดำรงชีวิตประจำวัน จนกลายเป็นนิสัย แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ใช่เรื่องยากจนเกินความสามารถ ทั้งนี้อาจขึ้นกับสภาพจิตใจที่มีต่อความเชื่อว่าจะมั่นคงได้มากแค่ไหน และข้อมูลใหม่ว่ามีความน่าเชื่อถือต่อความเชื่อใหม่มากน้อยเพียงใด ในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เริ่มแรก เราควรตั้งเป้าที่ตัวเองก่อน หากต้องการที่จะเปลี่ยนความเชื่อ เราก็จะต้องเชื่อและตระหนักถึงความเชื่อใหม่นี้ก่อน จากนั้นก็ค่อยๆปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองตามความเชื่อใหม่นี้ อาจเริ่มที่การเปลี่ยนแปลงเล็กๆน้อยๆ ค่อยๆเปลี่ยนไปที่ละอย่าง นอกจากนี้หากต้องการจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อาจลองหาเพื่อนร่วมอุดมการณ์ ช่วยกันคิด ช่วยกันตั้งเป้า และช่วยกันตักเตือนถึงสิ่งที่ต้องการจะปรับตัว วิธีนี้น่าจะช่วยให้ใครหลายๆคนประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ นอกจากการจัดการกับตัวเองแล้ว สภาพแวดล้อมที่เราอยู่ก็สามารถส่งผลต่อความเชื่อ และพฤติกรรมนั้น ดังนั้นหากต้องการปรับเปลี่ยนความเชื่อไปในแนวทางไหน เราก็ควรจะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อความเชื่อนั้นๆด้วย

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อของเรานั้นถูกต้อง?ส่วนตัวคิดว่ารู้ได้จากการที่มีข้อพิสูจน์ ข้อเท็จจริงที่สามารถบ่งบอกถึงหรือตอบสนองต่อความเชื่อที่เราคิดว่าถูกต้อง เช่น เชื่อว่าเข้านอนตอน4ทุ่มหรือก่อน5ทุ่มเป็นเวลานอนที่เหมาะสมเพราะจะทำให้ร่างกายได้รับการพักผ่อนที่เพียง กระตุ้นการเจริญเติบโตเพราะช่วงเวลานั้นร่างกายมีการหลั่งฮอร์โมนที่ชื่อว่า Growth hormone ซึ่งช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของร่างกายได้ สมองทำงานได้มีประสิทธิภาพ มีสมาธิในการทำกิจกรรมได้อย่างเต็มที่ อารมณ์คงที่ ไม่แปรปรวนหรือเครียด ซึ่งข้อเท็จจริง ข้อพิสูจน์ที่นำมาอ้างอิงความเชื่อของเราที่คิดว่าถูก คือวิจัย(Research)ที่มีความน่าเชื่อถือหรือข้อมูลที่ได้รับการอ้างอิงจากแหล่งที่เชื่อถือได้ที่ผ่านการรับรองจากผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ ที่ได้ทำการพิสูจน์ความเชื่อนั้นๆว่าความเชื่อของเรานั้นถูกต้องและความเชื่อของเรานั้นต้องไม่ทำให้ผู้อื่นหรือสิ่งแวดล้อมอื่นๆเดือดร้อนเนื่องจากสาเหตุที่มาจากความเชื่อของเราคนเดียวที่อาจก่อให้เกิดปัญหาที่ตามมาภายหลังได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าความเชื่อที่ไม่รับการพิสูจน์หรือหาข้อเท็จนั้นไม่ถูกต้อง ความเชื่อมันเป็นความคิดส่วนบุคคลเราไม่มีสิทธิ์ทีจะบังคับคนอื่นให้คิด ให้เชื่อเหมือนเรา หากคนอื่นที่ไม่เชื่อเหมือนเราก็เป็นสิทธิ์ของเขาที่จะเชื่อแบบนั้น เพราะต่างคน ต่างวัฒนธรรมต่างประเพณี ต่างศาสนา ต่างสิ่งแวดล้อม ต่างหลากหลายสิ่งบนโลกใบนี้ เพราะทุกคนล้วนต่างกัน จึงมีความคิดที่แตกต่างกันออกไป ไม่อย่างนั้นคงเปรียบความเชื่อได้เหมือน”ฝาแฝด”ที่หมายความว่าเหมือนกันอย่างกับแกะ ฉนั้นโลกนี้คงมีแฝดเป็นล้านล้านคนเพราะมีความเชื่อเหมือนกันอย่างกับแกะออกมาจากแม่พิมพ์เดียวกันทั้งโลก ทุกคนมีความเชื่อต่างกัน หากแต่ความเชื่อนั้นต้องไม่เป็นเหตุที่ให้ผู้อื่นเดือดร้อนเช่นกัน

2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” มาแทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?หากเราต้องการที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น พฤติกรรมการดูถูกตนเองว่าไม่เก่ง ซึ่งเราจะสร้างความเชื่อใหม่ คือ การเชื่อมั่นว่าตนเองนั้นจะทำทุกอย่างได้สำเร็จแค่เชื่อมั่นในตัวเอง ให้กำลังใจตัวเองมากเพราะการให้กำลังใจตัวเองเป็นสิ่งสำคัญมากในการทำบางสิ่งบางอย่างรวมไปถึงการเรียน คืดในแง่ดีอยู่เสมอ ไม่นำเอาความเชื่อเก่าที่คิดติดลบหรือแย่มาบั่นทอนตัวเองซึ่งจะทำให้การสร้างความเชื่อใหม่ของเราไม่สำเร็จตามที่เราต้องการ เชื่อว่าการสร้างความคิดใหม่นี้จะสามารถทำให้เรานั้นปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ได้ ขอแค่เรา”เชื่อ”มั่นในตนเอง ว่าเราจะผ่านอุปสรรคต่งๆไปได้ ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ เราก็จะทำได้ในที่สุด ขอแค่ “เชื่อ” เท่านั้น.

  1. แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ผลของความเชื่อที่แสดงออกมาเป็นพฤติกรรมทั้งทางกายและวาจาที่ผ่านมาจะเป็นตัวพิสูจน์ว่าความเชื่อของเรานั้นถูกหรือไม่ เพราะสำหรับดิฉันแล้วมนุษย์ทุกคนล้วนเรียนรู้และเข้าใจสิ่งต่างๆได้มากขึ้นจากสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว ดังนั้นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากความเชื่อที่ผ่านมาของเรานั้นจะเป็นตัวที่ทำให้เราเกิดการการเรียนรู้ การไตร่ตรอง วิเคราะห์ สังเคราะห์และสามารถแยกแยะได้ว่าความเชื่อของเรานั้นถูกหรือผิด
  2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?การที่เราต้องการจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเราแสดงว่าตัวเรานั้นมีความคิดที่ไม่ดีที่เกิดจากความเชื่อที่ไม่ถูก ดังนั้นเพื่อให้เราเปลี่ยนความเชื่อเดิมของเราเป็นความเชื่อใหม่ได้ ควรจะเริ่มจากการหาให้เจอว่าความเชื่ออะไรของเราที่ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์นั้น จากนั้นวิเคราะห์ พิจารณาว่าควรปรับเปลี่ยนความเชื่อเก่าส่วนใดและหาวิธีมาแก้ไขเพื่อที่จะให้ปรับพฤติกรรมให้ดีขึ้น จนเมื่อได้ข้อสรุปแล้วจึงปรับเปลี่ยนให้เกิดความเชื่อใหม่โดยการปรับเปลี่ยนแบบค่อยเป็นค่อยไปเพื่อให้เกิดผลดีและได้ผลลัพธ์ในระยะยาว ซึ่งจะเป็นผลให้พฤติกรรมดีขึ้น

นางสาวกัลยาณี วงค์ชนะ 6110410007 นักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่2 1.)ในความคิดเห็นส่วนตัวนั้น คิดว่าความเชื่อของแต่ละคนนั้น ไม่เหมือนกัน ซึ่งไม่สามารถเอาอะไรมาวัดได้ว่าความเชื่อไหนถูก ความเชื่อไหนผิด เนื่องจากความเชื่อของแต่ละคนเกิดมาจากพื้นฐานทางความคิด ประสบการณ์ต่างๆที่พบเจอมา พื้นฐานการเลี้ยงดู สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ประเพณีต่างๆ และอีกมากมาย ที่ขัดเกลาให้บุคคลมีความเชื่อต่างๆ ซึ่งแน่นอนว่าบุคคลแต่ละบุคคลนั้น ย่อมต้องมีปัจจัยเหล่านั้นต่างกัน ทำให้เกิดความเชื่อที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงไม่สามารถเอาอะไรมาเป็นมาตรฐานหรือตัวชี้วัดได้ว่าความเชื่อไหนถูกต้อง ความเชื่อไหนผิด ขึ้นอยู่กับความคิดและความเชื่อของแต่ละคน พฤติกรรมที่แสดงออกมาต่างหาก ที่สามารถบอกได้ว่าถูกหรือผิด ซึ่งพฤติกรรมก็เกิดจากความเชื่อหรือความคิด ซึ่งหากบุคคลนั้นมีความเชื่อที่ในส่วนตัวเราคิดว่าไม่ดี หากแต่บุคคลนั้นยับยั้งชั่งใจ ไม่ได้แสดงพฤติกรรมที่ไม่ดีออกมาหรือทำให้บุคคลอื่นเดือดร้อน เราก็ไม่สามารถไปบอกได้ว่าว่าความเชื่อนั้นถูกต้องหรือไม่ 2.)ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรานั้น เราอาจจะต้องเริ่มจากการเปลี่ยนความเชื่อ เนื่องจากความเชื่อก็ส่งผลต่อการแสดงออกของพฤติกรรม ซึ่งหากเราต้องการจะเปลี่ยนจากความเชื่อเก่า มาเป็นความเชื่อใหม่นั้น ต้องเริ่มที่ตัวเรา โดยเราต้องเริ่มจากการวิเคราะห์ความเชื่อเก่าของเราก่อน ว่าทำไมเราถึงอยากเปลี่ยน ความเชื่อเก่าของเรานั้นส่งผลดีหรือไม่ดีต่างกันมากน้อยแค่ไหน สมเหตุสมผลที่จะเปลี่ยนหรือไม่ หากคิดว่าสมเหตุสมผลแล้วก็ควรเชื่อมั่นในความเชื่อใหม่ ซึ่งการที่เราจะสร้างความเชื่อใหม่นั้น เราต้องเปิดรับสิ่งต่างๆที่เข้ามาในชีวิต และวิเคราะห์มันและคิดว่ามันมีผลอย่างไรต่อชีวิต หากเราเห็นถึงข้อดีของบางสิ่งบางอย่างที่เข้ามา อาจจะทำให้เราเต็มใจที่จะเปลี่ยนความเชื่อโดยที่เราไม่ต้องฝืน ซึ่งความเชื่อใหม่ของเรานั้น ก่อนเราจะเปลี่ยนความเชื่อ เราก็ต้องวิเคราะห์ความเชื่อใหม่ของเราว่าส่งผลดีหรือไม่ดีต่อตัวเราและผู้อื่นอย่างไรบ้าง และนำไปเปรียบเทียบกับความเชื่อเก่า เมื่อคิดว่ามันสมเหตุสมผลแล้วเราอยากเปลี่ยนมัน ความเชื่อ มันจะค่อยๆเปลี่ยนไปเอง

นางสาววรรณพร แก้วสุวรรณ 6110410086 1. แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง : ความเชื่อบางอย่างอาจจะเป็นสิ่งที่เราเชื่อตามๆกันมา เชื่อตามพ่อแม่ เชื่อตามบุคคลรอบตัวที่สนิทหรือใกล้ชิดหรือตามสังคมรอบข้างที่เป็นอยู่ แต่เมื่อมีโตขึ้น เราสามารถแยะแยะหรืออาจจะมีเหตุผลบางอย่างทำให้ความเชื่อของเราเปลี่ยนแปลงไป ก็จะเห็นได้ว่าความรู้ การคิดแยกแยะ การคิดอย่างมีเหตุมีผล หรือการคิดในรูปแบบอื่นๆก็อาจทำให้เราเกิดความสงสัยและตั้งคำถามว่าความเชื่อที่เรามีมาตั้งนานแล้วนั้นถูกต้องหรือเปล่า ก็จะเกิดการหาคำตอบเกี่ยวกับความเชื่อ โดยการหาคำตอบจากแหล่งต่างๆก็ต้องก็ต้องพิจารณาดูถึงความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล ความเป็นไปได้ โดยใช้กระบวนการคิดแบบต่างๆ บางครั้งเมื่อเราหาคำตอบเกี่ยวกับความเชื่อก็อาจะทำให้เราเปลี่ยนแปลงหรือไม่เปลี่ยนแปลงความเชื่อของเราก็ได้ ความเชื่อที่ถูกต้องควรอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงและไม่ส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น2. ในกรณีที่เราต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร : หากเราพิจารณาดูแล้วว่าความเชื่อเก่าส่งผลให้เรามีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เราเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากความเชื่อเก่า นำไปสู่การตั้งคำถามว่าความเชื่อเก่าเป็นสิ่งที่ควรเชื่อต่อไปหรือไม่ ซึ่งหากเป็นในกรณีนี้ เราควรมีการปรับเปลี่ยนความเชื่อ สิ่งแรกสำหรับการเปลี่ยนความเชื่อคือเราต้องเปิดใจและยอมรับความจริงว่าความเชื่อเก่านั้นทำให้เรามีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ไม่ปิดกั้นตนเองที่จะนำไปสู่การรับรู้ความเชื่อใหม่ๆ ใช้การคิดอย่างมีเหตุมีผลหรือใช้ความคิดแบบอื่นๆมาร่วมด้วย วิเคราะห์ถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อนั้นๆ มีการหาข้อมูลและเหตุผลมาสนับสนุนความเชื่อใหม่ว่าเป็นสิ่งที่ดี สามารถทำให้เราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในตอนแรกให้เป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ได้

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้อง?ส่วนตัวมองว่าความเชื่อของคนเราแต่ละคนนั้นแตกต่างออกกันตามประสบการณ์ที่ผ่านมา สังคม วัฒนธรรม และสิ่งต่างๆรอบตัวทำให้คนมีความคิดที่หลากหลายและแตกต่างกัน ส่งผลให้เกิดการแสดงออกทางพฤติกรรมที่แตกต่างกันด้วย ทุกคนต่างก็คิดว่าสิ่งที่ตนเองเชื่อและทำลงไปนั้นถูกที่สุด ส่งผลดีและก่อประโยชน์ให้แก่ตนเองได้มากที่สุด ซึ่งเราไม่รู้เลยว่าความเชื่อเหล่านั้นถูกจริงรึเปล่า คนอื่นอาจจะมองสิ่งเหล่านั้นว่าผิดหรืออาจจะไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเขาก็ได้2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเราจะสร้างความเชื่อใหม่ให้เข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่าได้อย่างไร? ถ้าเราต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ แสดงว่าเราได้เล็งเห็นอะไรบางอย่างที่ทำให้สามารถพัฒนาและส่งเสริมให้เราไปในทางที่ดีมากกว่าเดิม หากเราลองเปิดใจไม่ปิดกั้นความเชื่อใหม่ๆที่พิจารณาว่าดีสำหรับตัวเราก็ลองนำสิ่งนั้นมาลองปรับใช้ให้เข้ากับศักยภาพของตนเอง เมื่อลองทำแล้วผลลัพธ์ที่ออกมานั้นดี ชอบ ตอบสนองความต้องการและทำให้เกิดความสุข เราก็อยากทำต่อเรื่อยๆเกิดผลให้ติดเป็นนิสัยและอยากทำต่อไปเรื่อยๆจนเกิดเป็นพฤติกรรม ความคิด ความเชื่อใหม่ขึ้นมาแทนของเดิม

  1. แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง ความเชื่อเป็ยสิ่งที่ทุกคนรู้อยู่แล้วว่าความเชื่อของแต่ละคนนั้นต่างกัน เพราะเราทุกคนต่างสถานที่เกิด ศาสนา วัฒนธรรมหรือจะเรียกว่าการเลี้ยงดูต่างกัน ทำให้ทุกคนมีความเชื่อในแบบของตัวเองตามประสบการณ์ที่ได้พบเจอและประสบการณ์ที่มีคนเคยเจอสถานการณ์นั้นมาบอกหรือเตือนเรา สำหรับดิฉันการที่จะรู้ว่าความเชื่อเรานั้นถูกต้อง คือ การที่พบเจอกับสถานการณ์จริงไม่ว่าจะเหมือนคนอื่นหรือไม่เหมือนคนอื่น ไม่ว่าจะถูกหรือผิดก็มีผลกระทบต่อความเชื่อเรา ทำให้เราเกิดการเทียบหรือหาเหตุผลในความเชื่อนั้นๆว่าแท้จริงแล้วอันไหนคือถูกต้องอย่างพอดี

2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? การที่จะเปลี่ยนความเชื่อเก่านั้น ดิฉันคิดว่าความเชื่อเก่าต้องไม่เกิดประโยชน์หรือส่งผลกระทบต่อตัวเราก่อน แล้วจึงหาแนวทางใหม่ให้กับตัวเอง ที่จริงแล้วก็อยู่ที่การคิดของเราว่าเราต้องการเปลี่ยนความเชื่อเก่าที่มีผลต่อพฤติกรรมเดิม แล้วเราก็จะหาแนวทาง วิธีการใหม่ๆ วิธีคิดใหม่ๆ ที่จะช่วยให้เราสามารถปรับความเชื่อใหม่ได้ อีกหนึ่งอย่างที่จะสามารถช่วยสร้างความเชื่อใหม่ได้ คือ การเด็ดเดี่ยวกับตัวเองและความอดทนที่จะเปลี่ยนเพราะว่าการที่เราทำพฤติกรรมที่ไม่ดีที่มาจากความเชื่อผิดๆของเราอันเดิม เราคุ้นชินกับการปฏิบัติแบบนั้นอยู่ตลอด ดังนั้นเราต้องเด็ดเดี่ยว อดทน และยอมฝืนตัวเองแรกๆของการปฏิบัติใหม่ เพราะการจะทำสิ่งใหม่ที่เราไม่เคยทำต้องใช้เวลาและทุกอย่างย่อมมีเวลาของมันเอง

-รู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?ดิฉันคิดว่าความเชื่อในแต่ละบุคคลย่อมมีความแตกต่างกันหรือมีเอกลักษณ์ต่างกันออกไป อาจเนื่องจากประสบการณ์ การเรียนรู้ การเลี้ยงดูที่แตกต่างกัน แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง ในส่วนนี้ดิฉันคิดว่า มันจะต้องผ่านประสบการณ์ การเรียนรู้ การเลี้ยงดู หรือแม้กระทั้งสิ่งที่อยู่รอบๆตัว สิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเอง ที่จะสามารถทำให้เราเชื่อมั่น ที่จะยึดความเชื่อตามที่ตนเองเชื่ออยู่ และบางความเชื่อมันมีหลักฐาน ความสำคัญที่มาที่ไปของมันอยู่ จึงทำให้เรานั้นเลือกที่จะยึดมั่นที่จะเชื่อและศรัทธาต่อไป ซึ่งในแต่ละความเชื่อจะมีแต่สิ่งดีๆ ซ่อนไว้ สิ่งที่เกิดประโยชน์สูงสุดกับเรา และสิ่งดังกล่าวก็มาจากรากฐานของความคิด ทำให้เราเลือกเชื่อและสุดท้ายนำมาแสดงออกเป็นพฤติกรรม-ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า”ได้อย่างไร?แน่นอนว่าก่อนที่เราจะเลือกเปลี่ยนพฤติกรรมอะไรบางอย่าง นั้นแสดงว่าสิ่งที่เราเลือกจะเปลี่ยนนั้นเป็นสิ่งที่เกิดผลประโยชน์ที่ดีขึ้น แล้วเราจะสร้างความเชื่อใหม่ให้เข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่าได้อย่างไร ดิฉันคิดว่าในการมาแทนที่ของความเชื่อเก่ามันต้องผ่านการพิสูจน์ให้เห็นถึงความจริงหรือเห็นถึงความมีเหตุมีผล ที่จะสามารถมาแทนความเชื่อเก่าได้ เพราะในบางครั้งการที่เราจะเปลี่ยนความเชื่อนั้นๆ ตามที่เราเชื่ออยู่มันค่อนข้างที่จะยากหน่อยสำหรับในการแทนที่ความเชื่อเก่า แต่คิดว่ามันเป็นไปได้ที่จะมาแทนที่กัน หากมีบางสิ่งบางอย่างที่สามารถพิสูจน์ให้เห็น สามารถเชื่อมกับเหตุและผล ที่เป็นความเชื่อใหม่ โดยผ่านการพินิจพิเคราะห์ แล้วเข้ามาแทนที่ของความเชื่อเก่า

นายอภิสิทธิ์ กลิ่นแก้ว6210311047คณะแพทยศาสตร์ สาขากายภาพบำบัด1. แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? - ความเชื่อของแต่ละคนถูกปลูกฝังมาจากประสบการณ์และแนวความคิดที่หลากหลายและแตกต่างกัน ในเรื่องบางเรื่องคนอาจจะเชื่อต่างกัน แต่ก็ยังมีอีกหลายเรื่องที่คนเชื่อเมื่อกัน หากถามว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีนั้นมันถูกต้อง อย่างแรกคือเราต้องมีวิจารณญาณก่อนที่จะเชื่อสิ่งต่างๆควรคิดไตร่ตรองในความเชื่อนั้นๆ หาข้อเท็จจริงตั้งประเด็นสรุป หากความเชื่อนั้นเป็นสิ่งที่เป็นจริงและเกิดผลดีหรือความสบายใจแก่ตนเองก็เป็นสิ่งที่ดีสำหรับการที่เราจะเชื่อในสิ่งนั้น

  1. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ ความเชื่อใหม่ “ ให้เข้ามาแทนที่ “ ความเชื่อเก่า “ ได้อย่างไร? - มีคนเคยบอกว่าการจะมีชีวิตที่ดีได้เริ่มจากเรื่องง่ายๆแค่คุณพับผ้าห่มและเก็บเตียงหลังจากคุณตื่นในตอนเช้า แสดงให้เห็นว่าการที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองให้ดีขึ้นเราควรเริ่มจากเรื่องเล็กที่ใกล้ตัวเรา ซึ่งพฤติกรรมที่ดีเหล่านั้นที่เราทำมันลงในทุกวันจะค่อยๆปรับเปลี่ยนความเชื่อเราไปเรื่อยๆ เช่น จากคนที่ไม่เคยทานอาหารเช้า ก็เริ่มพยายามที่จะหาอาหารเช้าทานในทุกวัน พอคุณทำมันได้ในทุกวัน คุณก็จะเชื่อว่าคุณสามารถตื่นมาและทานอาหารเช้าได้อย่างทันเวลาและไม่สาย ซึ่งความเชื่อใหม่ที่เข้ามาก็มาจากพฤติกรรมเริ่มแรกของคุณที่เข้ามาสะสมและเห็นผลจนคุณเชื่อ

นางสาวสาธิดา เพ็ชรมาศ 6110410194 คณะพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่2 sec031. เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? -จะรู้ได้จากความคิดที่เรานึกคิดอยู่ภายในจิตใต้สำนึกของตัวเอง ซึ่งในความคิดนั้นต้องเกิดมาจากความเชื่อ คือ หากเรานั่งพินิจพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว ก็สามารถทำให้เกิดความเชื่อที่ถูกต้องตามความคิดของเรา และนอกจากนี้ ความคิดที่เกิดจากความเชื่อนั้นยังมีศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง กล่าวคือ ในความคิดที่เป็นพื้นฐานของคนนั้น มีศาสนาเข้ามาเป็นบทบาทที่สำคัญในความคิด หรือตัดสินใจ หากความคิดไม่ขัดต่อหลักศาสนา ก็สามารถทำให้เกิดความเชื่อที่ถูกต้องได้ และหากความคิด ศาสนาถูกต้องตรงกันก็จะสะท้อนทำให้เกิดความเชื่อในเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นมา ซึ่งความเชื่อเหล่านั้นจะส่งผลให้คนๆนึงเกิดพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมา โดยพฤติกรรมที่เกิดขึ้นมานั้นเป็นพฤติกรรมที่เรามีความเชื่อว่าถูกต้องแล้ว จึงทำให้เราแสดงพฤติกรรมออกมา2. ในกรณีที่ต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่าง จะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? -หากเราจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่าง จะต้องสร้างความเชื่อใหม่ โดยการคิดปรับเปลี่ยนตัวเอง หาข้อที่บกพร่อง ข้อเสีย ผลกระทบของการแสดงพฤติกรรมนั้นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น หากเราแสดงพฤติกรรมเหล่านั้นออกมา เมื่อเราทราบถึงปัญหาพฤติกรรมที่ต้องการจะปรับเปลี่ยนแล้วนั้น ก็ทำให้เราเกิดความคิดใหม่ ที่อาจจะเป็นการนำข้อบกพร่องจากพฤติกรรมดังกล่าวมาแก้ไขปรับปรุง โดยความคิดใหม่นั้น ต้องไม่ขัดต่อหลักศาสนาที่ตนเองนับถือ และหลังจากเกิดความคิดใหม่ ในการที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนั้น ก็ทำให้เกิดความเชื่อใหม่เข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่าของเราได้ ซึ่งความเชื่อใหม่นั้นก็สามารถทำให้แสดงพฤติกรรมใหม่เกิดขึ้นมา จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางความคิดของตนเอง

  1. เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้อง ? สำหรับหนูแล้ว หนูมองว่าความเชื่อที่ทุกคนมีมานั้น ล้วนถูกต้องกันทั้งสิ้น เนื่องจากว่า กว่าจะมาเป็นความเชื่อของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แน่นอนต้องผ่านการคิด วิเคราะห์ ลองผิดถูก มามากสมควร ถึงจะถูกก่อเกิดให้เป็นความเชื่อขึ้นมาได้ โดยผ่านการเล่าสืบต่อกันมาและแสดงพฤติกรรมตามความเชื่อนั้นมานานแสนนาน ดังนั้น หากความเชื่อนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง แน่นอน ก็จะไม่มีการเล่าสู่กันฟังไปยังรุ่นสู่รุ่นเพื่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสังคม
  2. ในกรณีที่เราต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้างความเชื่อใหม่ให้เข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่าได้อย่างไร ?การสร้างความเชื่อใหม่เข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่า ถือเป็นเรื่องที่ทำได้ยากมาก เนื่องจากว่า ความเชื่อเก่าของเรานั้น ถูกแสดงออกเป็นพฤติกรรมมานานพอสมควร จึงเกิดการทำซ้ำๆและเชื่อมาอย่างยาวนานจนความเชื่อเหล่านั้นถูกฝั่งเก็บไว้ในความทรงจำระยะยาว ดังนั้น เราไม่สามารถลบล้างความเชื่อเก่า แล้วสร้างความเชื่อใหม่เข้ามาแทนที่ได้ทั้งหมด ทำได้เพียงแค่สร้างความเชื่อใหม่ๆเพิ่มขึ้นแล้วลองแสดงพฤติกรรมตามความเชื่อใหม่นั้นออกมา หากพฤติกรรมที่ถูกแสดงออกมาแล้ว เป็นพฤติกรรมที่เราพึงประสงค์ ก็จัดได้ว่า ความเชื่อนั้น เป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การเชื่อ และหากแสดงพฤติกรรมออกมาแล้ว พฤติกรรมที่แสดงออกมานั้นเป็นพฤติกรรมที่เราไม่พึงประสงค์ เราก็สามารถลบล้างหรือลืมความเชื่อนั้นได้เลย เนื่องจากว่า ความเชื่อที่เราเพิ่งสร้างขึ้นมาใหม่ๆแล้วถูกแสดงเป็นพฤติกรรมเพียงครั้งสองครั้ง จะไม่ถูกนำไปเก็บไว้ในส่วนของความทรงจำระยะยาว ทำให้เราสามารถลืมความเชื่อนั้นได้ เพียงต้องใช้ระยะเวลา

นางสาวนิมา แวกาจิ 6110410050คณะพยาบาลศาสตร์ Sec 03

1.เราไม่สามารถทราบได้ว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องหรือไม่? ซึ่งความเชื่อนั้นจะส่งผลไปยังพฤติกรรม การกระทำของคนเรา แล้วความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องไหม?เราจะทราบได้ ก็ต่อเมื่อความเชื่อนั้นเป็นความเชื่อที่ไม่ทำให้เกิดความขัดแย้งกับวิถีชีวิต ไม่ทำให้เดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่น โดยดูจากเหตุผลที่เข้ากันได้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว วัฒนธรรม ศาสนา เช่น ความเชื่อนี้เข้ากันได้กับคำสอนของพ่อแม่ ของคุณครู หรือสิ่งที่เราได้ศึกษาเรียนรู้มา คิดไตร่ตรองจากเหตุผลต่าง ๆ ใช้วิจารณญาณในการคิด10มิติ ที่ใช้วิเคราะห์แยกแยะและอื่น ๆ ก็เชื่อว่ามันถูกต้องถ้ากระทำด้วยการดีและสร้างประโยชน์แก่สังคม โดยความเชื่อจะทำให้คนในสังคมมีพฤติกรรมที่ไปทางเดียวกัน คือ ส่งผลต่อการเป็นอยู่ การใช้ชีวิตได้2.การกระทำที่ผ่านมา เราสามารถใช้เพื่อมาเป็นเหตุผลมาสนับสนุนสิ่งที่ความเชื่อเก่าว่ามันไม่ดี และหาเหตุผลมาสนับสนุนความเชื่อใหม่ได้ โดยมาจากที่เรามีการสั่งสมประสบการณ์และได้การเรียนรู้สิ่งๆต่างเรื่อยมาหรือหาหลักฐานที่แสดงถึงเป็นความจริงมาเป็นเหตุผลในการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเก่าให้เป็นพฤติกรรมใหม่ได้ จากการสืบค้นความรู้ ว่าความเชื่อที่ถูกต้องควรเป็นแบบไหน ถึงจะส่งผลให้เกิดพฤติกรรมที่ถูกต้องได้หรือการเปิดใจรับความเชื่อใหม่ๆเข้ามาและการที่เรามองถึงสิ่งที่ดีที่จะเกิดขึ้นกับความเชื่อใหม่ในอนาคตก็จะสามารถช่วยให้เรามีแรงผลักดันและเกิดการเปลี่ยนแปลงความเชื่อได้ โดยเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์จากตัวเองก่อน ซึ่งอาจจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ด้วยการเริ่มจากความคิดและการกระทำของเราก่อนและเปิดใจให้กับความเชื่อใหม่ อย่าปิดกั้นความคิดและอยู่กับความเชื่อเดิม ๆ และหาข้อเสียหรือมุมต่างของ ความเชื่อเก่าและความเชื่อใหม่เพื่อมาสนับสนุนว่าทำไมเรา ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านั้นโดยการสร้างความเชื่อใหม่และ กำหนดเป้าหมายที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมให้ชัดเจน หนักแน่นกับความเชื่อใหม่ ค่อยๆนำความเชื่อ ใหม่เข้ามาใช้ทีละน้อย เพราะทำให้เราได้รู้ด้วยว่าความเชื่อใหม่นั้นเข้ามามีผลต่อการเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดีได้ในอนาคต

1.เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง ความเชื่อที่มีนั้น มาจากการปลูกฝั่งมาตั้งแต่ครอบครัว สังคม กลุ่มเพื่อน สิ่งแวดล้อมต่างๆ ทำให้มีความเชื่อในแบบต่างๆ อาจจะเหมือนหรือแตกต่างกับบุคคลอื่นๆในสังคม ความเชื่อของเราอาจไม่ถูกต้องเสมอไป และไม่มีความจำเป็นต้องเหมือนใคร เราเชื่อแบบนี้ เราทำแบบนี้ มันอยู่ทีจิตสำนึก ความนึกคิคของเราเองว่าความเชื่อเหล่านี้ควรไปในทิศทางใด และไม่ควรนำความเชื่อของใครมาตัดสินว่าความเชื่องของเราที่ผ่านการไตร่ตรอง ผ่านการนึกคิดมาเป็นเวลานานว่าผิด แต่ให้วิเคราะห์ความเชื่อที่แตกแต่นั้นแทน ว่าทำไมถึงต่างกัน ทำให้อาจมองเห็นข้อเท็จจริงที่อาจซ้อนอยู่ ดังนั้นอาจอาจกล่าวไม่ได้ว่าความเชื่อที่มีอยู่ถูกต้องหรือไม่ แต่สามารถวิเคราะห์ และพิจารณา ความเชื่อเหล่านั้น และเห็นถึงข้อเท็จจริง หรือประเด็น ที่สามารถเข้าใจได้ถึงความเชื่อดังที่กล่าวมา 2.ในกรณีที่ต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่าง จะสร้าง ความเชื่อใหม่ให้เข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่าได้อย่างไร เมื่อต้องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบางอย่าง เราต้องมีข้อมูลสนับสนุนความเชื่อใหม่ โดยเป็นข้อมูลที่ส่งผลดี คิดแล้วว่าข้อมูลเหล่านี้ มีความน่าเชื่อถือ นำมาสนับสนุนความเชื่อใหม่ ทำให้เกิดการเปรียบเทียบกันระหว่างความเชื่อเดิมกับพฤติกรรมเดิมและ ความเชื่อใหม่กับพฤติกรรมใหม่ อะไรส่งผลดีต่อการใช้ชีวิต หรือส่งผลต่อการดำเนินชีวิตอย่างไร เมื่อได้เปรียบเทียบ ไตร่ตรอง วิเคราะห์ พิจารณาแล้ว เราก็จะสามารถเลือกสิ่งที่ดีกว่าให้กับชีวิต เลือกที่จะเชื่อความเชื่อที่ดีกว่า เพราะมีข้อมูลสนับสนุนที่ดี เห็นได้ชัดว่าจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตอย่างไร ดังนั้น เมื่อเรามีความเชื่อที่ดีขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงความเชื่อไปในทางที่ดีกว่าส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม มีการทดแทนพฤติกรรมที่ดี และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ได้ในที่สุด

1.เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง ความเชื่อที่มีนั้น มาจากการปลูกฝั่งมาตั้งแต่ครอบครัว สังคม กลุ่มเพื่อน สิ่งแวดล้อมต่างๆ ทำให้มีความเชื่อในแบบต่างๆ อาจจะเหมือนหรือแตกต่างกับบุคคลอื่นๆในสังคม ความเชื่อของเราอาจไม่ถูกต้องเสมอไป และไม่มีความจำเป็นต้องเหมือนใคร เราเชื่อแบบนี้ เราทำแบบนี้ มันอยู่ทีจิตสำนึก ความนึกคิคของเราเองว่าความเชื่อเหล่านี้ควรไปในทิศทางใด และไม่ควรนำความเชื่อของใครมาตัดสินว่าความเชื่องของเราที่ผ่านการไตร่ตรอง ผ่านการนึกคิดมาเป็นเวลานานว่าผิด แต่ให้วิเคราะห์ความเชื่อที่แตกแต่นั้นแทน ว่าทำไมถึงต่างกัน ทำให้อาจมองเห็นข้อเท็จจริงที่อาจซ้อนอยู่ ดังนั้นอาจอาจกล่าวไม่ได้ว่าความเชื่อที่มีอยู่ถูกต้องหรือไม่ แต่สามารถวิเคราะห์ และพิจารณา ความเชื่อเหล่านั้น และเห็นถึงข้อเท็จจริง หรือประเด็น ที่สามารถเข้าใจได้ถึงความเชื่อดังที่กล่าวมา 2.ในกรณีที่ต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่าง จะสร้าง ความเชื่อใหม่ให้เข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่าได้อย่างไร เมื่อต้องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบางอย่าง เราต้องมีข้อมูลสนับสนุนความเชื่อใหม่ โดยเป็นข้อมูลที่ส่งผลดี คิดแล้วว่าข้อมูลเหล่านี้ มีความน่าเชื่อถือ นำมาสนับสนุนความเชื่อใหม่ ทำให้เกิดการเปรียบเทียบกันระหว่างความเชื่อเดิมกับพฤติกรรมเดิมและ ความเชื่อใหม่กับพฤติกรรมใหม่ อะไรส่งผลดีต่อการใช้ชีวิต หรือส่งผลต่อการดำเนินชีวิตอย่างไร เมื่อได้เปรียบเทียบ ไตร่ตรอง วิเคราะห์ พิจารณาแล้ว เราก็จะสามารถเลือกสิ่งที่ดีกว่าให้กับชีวิต เลือกที่จะเชื่อความเชื่อที่ดีกว่า เพราะมีข้อมูลสนับสนุนที่ดี เห็นได้ชัดว่าจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตอย่างไร ดังนั้น เมื่อเรามีความเชื่อที่ดีขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงความเชื่อไปในทางที่ดีกว่าส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม มีการทดแทนพฤติกรรมที่ดี และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ได้ในที่สุด

1.เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง ความเชื่อที่มีนั้น มาจากการปลูกฝั่งมาตั้งแต่ครอบครัว สังคม กลุ่มเพื่อน สิ่งแวดล้อมต่างๆ ทำให้มีความเชื่อในแบบต่างๆ อาจจะเหมือนหรือแตกต่างกับบุคคลอื่นๆในสังคม ความเชื่อของเราอาจไม่ถูกต้องเสมอไป และไม่มีความจำเป็นต้องเหมือนใคร เราเชื่อแบบนี้ เราทำแบบนี้ มันอยู่ทีจิตสำนึก ความนึกคิคของเราเองว่าความเชื่อเหล่านี้ควรไปในทิศทางใด และไม่ควรนำความเชื่อของใครมาตัดสินว่าความเชื่องของเราที่ผ่านการไตร่ตรอง ผ่านการนึกคิดมาเป็นเวลานานว่าผิด แต่ให้วิเคราะห์ความเชื่อที่แตกแต่นั้นแทน ว่าทำไมถึงต่างกัน ทำให้อาจมองเห็นข้อเท็จจริงที่อาจซ้อนอยู่ ดังนั้นอาจอาจกล่าวไม่ได้ว่าความเชื่อที่มีอยู่ถูกต้องหรือไม่ แต่สามารถวิเคราะห์ และพิจารณา ความเชื่อเหล่านั้น และเห็นถึงข้อเท็จจริง หรือประเด็น ที่สามารถเข้าใจได้ถึงความเชื่อดังที่กล่าวมา 2.ในกรณีที่ต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่าง จะสร้าง ความเชื่อใหม่ให้เข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่าได้อย่างไร เมื่อต้องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบางอย่าง เราต้องมีข้อมูลสนับสนุนความเชื่อใหม่ โดยเป็นข้อมูลที่ส่งผลดี คิดแล้วว่าข้อมูลเหล่านี้ มีความน่าเชื่อถือ นำมาสนับสนุนความเชื่อใหม่ ทำให้เกิดการเปรียบเทียบกันระหว่างความเชื่อเดิมกับพฤติกรรมเดิมและ ความเชื่อใหม่กับพฤติกรรมใหม่ อะไรส่งผลดีต่อการใช้ชีวิต หรือส่งผลต่อการดำเนินชีวิตอย่างไร เมื่อได้เปรียบเทียบ ไตร่ตรอง วิเคราะห์ พิจารณาแล้ว เราก็จะสามารถเลือกสิ่งที่ดีกว่าให้กับชีวิต เลือกที่จะเชื่อความเชื่อที่ดีกว่า เพราะมีข้อมูลสนับสนุนที่ดี เห็นได้ชัดว่าจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตอย่างไร ดังนั้น เมื่อเรามีความเชื่อที่ดีขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงความเชื่อไปในทางที่ดีกว่าส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม มีการทดแทนพฤติกรรมที่ดี และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ได้ในที่สุดนางสาวกาญจนสิริ นิติวรานุรักษ์ 6110410008 คณะพยาบาลศาสตร์ sec03

นางสาวธีรนาถ บุญขันธ์ 6110410153 sec 03 1. แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ในความคิดของดิฉันความเชื่อของแต่ละคนแตกต่างกันออกไป บางความเชื่อก็ถูกเล่าสืบต่อกันมา และเกิดจากการได้ฟัง ได้ปลูกฝันต่อๆกันมา ความเชื่อก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆเช่น ความแตกต่างทางด้านศาสนา ความแตกต่างด้านสังคม ครอบครัว วัฒนธรรม รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมต่างๆ โดยความเชื่อแต่ละคนก็ขึ้นอยู่กับตัวเองว่าจะเชื่อยังไง ไม่เชื่อยังไง อยู่ที่ตัวเราคิดว่าความเชื่อนั้นจะเป็นยังไง และนำความเชื่อนั้นมาปฏิบัติทำให้ชีวิตดีขึ้น และไม่ส่งผลกระทบต่อตัวเรา อีกอย่าง เราไม่สามารถไปห้ามความคิดของคนอื่นได้ บางคนเชื่อ บางคนไม่เชื่อ อยู่ที่ตัวเค้าว่าเค้าจะพิจราณายังไง ความคิดเห็นของเค้าเป็นยังไง เพราะความเชื่อความคิดของแจ่ละคนแตกต่างกันอยู่แล้ว 2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? การที่เราจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองนั้น เราต้องดูก่อนว่าแบบเดิมมันเป็นยังไง ต้องแก้ไขยังไงให้มันดีขึ้นกว่าเดิม ไม่ใช่เปลี่ยนแปลงให้แย่ลงกว่าเดิม เราต้องยอมรับ เข้าใจหาข้อมูลสนับสนุนที่จะมาใช้วิเคราะห์ ที่จะทำให้ความเชื่อใหม่นั้นสามารถจะเปลี่ยนพฤติกรรมให้ไปในทางที่ดีขึ้น และส่งผลดีกับตนเอง

1.เรายังรู้ได้อย่างไรว่าค.คิดที่ได้รับมานั้นถูกต้องค.คิดที่เป็นรูปแบบที่สืบทอด/สืบต่อกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้น เป็นแนวค.คิดที่ถูกต้องและเหมาะสมสำหรับสังคมนั้นๆ แต่ว่า ในขณะเดียวกัน ถ้าไปอยู่ในสถานที่ที่แตกต่าง ในที่ๆมีแนวคิดแตกต่าง ชุดค.คิดที่ถูกส่งต่อมาของคนๆนั้นก็อาจจะเป็นแนวค.คิดที่ผิดก็ได้ ดังนั้น การผิดถูกของแนวค.คิดนั้นขึ้นอยู่กับว่า เราอยู่ในสังคมไหน สังคมนั้นมีแนวคิดเเบบไหน ดังนั้นในแนวคิดของผม ไม่มีแนวคิดไหนผิดไปทั้งหมดหรือถูกไปทั้งหมด ทุกแนวคิดไม่ไเ้ผิดถูกแบ่งชัดเป็นสีขาวดำ แต่เป็นสีสันต่างๆ และจะผิดถูกนั้น ขึ้นอยู่กับว่าสังคนในตอนนั้นเป็นสังคมสีอะไร/สีโทนอะไรมากกว่า2.ในกรณีที่ต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่าง จะสร้าง ความเชื่อใหม่ให้เข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่าได้อย่างไรแน่นอนว่าค.คิดหรือค.เชื่อที่ได้รับการปลูกฝังมาแล้วนั้นจะเปลี่ยนแปลงได้ยากมากๆ เนื่องจากบุคคลโดนปลูกฝังมาอย่างยาวนาน แต่การจะเปลี่ยนแปลงไม่ใช่เป็นไปไม่ได้ เเต่เป็นไปได้ยากเท่านั้น การเปลี่ยนแปลงนั้นต้องอธิบายว่าสิ่งนี้มันไม่เหมาะสมอย่างไรในช่วงต้น หลังจากนั้นก็อาจจะทำให้เห็นว่ามันส่งผลเสียอย่างไร หรือมันไม่ดีอย่างไร หรือบางครั้งการเปลี่ยนแนวคิดอาจเกิดได้จากการปรับตัวของตนเองในสังคมนั้นๆ เนื่องจากต้องดำรงชีวิตในสังคมใหม่ๆ การปรับตัวและแนวคิดจึงจำเป็น บุคคลเลยพยายามในการปรับเเนวคิดเพื่อให้เข้ากันได้กับสังคมแต่ในแนวทางนี้ คนอื่นในสังคมต้องมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือบุคคลด้วย เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงและปรับตัวเป็นไปได้อย่างราบรื่นนายธีรภัทร ผิวผ่อง 6210311030 คณะแพทย์ศาสตร์ สาขากายภาพบำบัด Sec03

นางสาวรุสนี แวแมคณะพยาบาลศาสตร์รหัสนักศึกษา 6110410084กลุ่ม 031 แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? คำว่า“ความเชื่อ” นั้นเป็นสิ่งที่ยากที่จะบอกว่าเป็นจริงหรือเท็จ ดังนั้นการที่จะตัดสินใจเชื่อในเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้นั้น เราต้องมีการคิดวิเคราะห์ การไตร่ตรอง การแยกแยะข้อเท็จจริง จะต้องเป็นสิ่งที่ไม่ผิดคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงาม ต้องไม่ขัดแย้งกับความถูกต้อง ซึ่งทักษะการคิดของแต่ละคนนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถในการรับรู้ของแต่ละคน ประสบการณ์ต่างๆที่ได้ประสบมา ความรู้ การศึกษา การอบรมเลี้ยงดูจากบุคคลในครอบครัว รวมถึงสภาพแวดล้อมของสังคมที่อาศัยอยู่ ซึ่งจะส่งผลอย่างมากในการคิด และเมื่อเราได้คิดแล้วก็จะส่งผลถึงความเชื่อ และทั้งสองอย่างนี้ก็ก่อให้เกิดพฤติกรรมต่างๆตามมา

2 ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? การใช้ชีวิต จะทำให้เราได้เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา การทำงานแต่ละครั้งและทำกิจกรรมแต่ละอย่างนั้น จะทำให้เราได้ประสบการณ์ใหม่ๆ และความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ ดังนั้น การแทนที่ความเชื่อที่เรามีจึงเกิดได้ตลอดเวลา แต่การที่เราจะนำความเชื่อใหม่ มาแทนที่ความเชื่อเก่านั้น สิ่งแรกที่เราต้องคำนึงถึงเลยก็คือ เหตุผลว่าทำไมเราต้องคิดแบบใหม่ เราต้องมองไปถึงหลักของความเป็นจริง ความเป็นเหตุและผล ข้อดีข้อเสียต่างๆหากเราคิดหรือเชื่อแบบใหม่ ใช้สติปัญญา เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์ให้ได้มาซึ่งความเชื่อที่ถูกที่สุด ซึ่งจะต้องเป็นไปในทางเชิงบวก ให้ประโยชน์มากกว่าให้โทษ และเป็นความเชื่อที่ทันสมัยและได้รับการยอมรับ จากบุคคลรอบตัว เช่น ครอบครัว เพื่อน และสังคมที่เราอยู่ เมื่อเราได้ความเชื่อใหม่ที่ได้รับการยอมรับด้วยหลักของเหตุและผล เราก็จะสามารถแสดงพฤติกรรมออกมาให้ดีและถูกต้องกว่าเดิม ตลอดจนได้รับการยอมรับ จากสังคมสามารถแสดงพฤติกรรมต่างๆในดำเนินชีวิตได้อย่างราบรื่น ประสบความสำเร็จในชีวิต

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง ? ความเชื่อเป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ทุกคน ซึ่งความเชื่อของแต่ละคนอาจจะเหมือนกันหรือ ต่างกันแล้วแต่วิธีคิดหรือแนวปฏิบัติ เมื่อระยะเวลาผ่านไปเรื่อย ๆ ความเชื่อที่ยังคงมีความดีงามอยู่ก็คงอยู่ในรุ่นต่อ ๆไปเรื่อย ๆแล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเชื่อที่มีมานั้นถูกต้องโดยความคิดของหนู ความเชื่อไม่มีผิดมีถูกแต่อยู่ว่าความเชื่อนั้นเมื่อเราไปอยู่ในที่มีคนหมู่มากแล้วความเชื่อนั้นไม่ทำให้ใครเดือนร้อนแต่ความเชื่อนั้นต้องอยู่บนหลักเหตุและผลที่ถูกต้อง และอีกเหตุผลหนึ่งก็คือ เนื่องจากว่าเราทุกคนต่างมาจากหลายถิ่น หลายการเลี้ยงดู หลายวัฒนธรรมเมื่อเราถูกปลูกฝั่งมาแบบนั้น เราเองก็จะยึดมั่นความเชื่อนั้นถูกต้องเพราะความเชื่อที่เราถูกปลูกฝั่งมานั้นเป็นสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของทุกคนแล้วทำให้คนที่เชื่อความเชื่อนั้นสบายใจหรือมีความสุขการใช้ชีวิตในแต่ละวันโดยอาศัยประสบการณ์ที่พบเจอหลายๆครั้ง ผลที่ตามมาคือ ออกมาในทางที่ดี2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร ? อย่างแรกเลยคือเราต้องตั้งเป้าหมายของตนเองก่อนว่าความเชื่อหรือสิ่งที่เราจะเปลี่ยนแปลงนั้นคือด้านไหนเช่นความเชื่อในด้านศาสนาของแต่ละคนซึ่งแน่นอนว่ามันเปลี่ยนไม่ได้เลย แต่ถ้าเป็นความเชื่อในด้านการเรียน ความรัก เป็นต้นเราสามารถเปลี่ยนได้จากระบบความคิดวิเคราะห์ของตัวเองว่าเราควรพัฒนาความเชื่อนี้เพื่อส่งผลในทางที่ดีต่อเราอย่างไร ฉันขอยกตัวย่างในกรณีคนประสบผลสำเร็จในชีวิต แต่ก่อนเราเชื่อว่าคนที่จะประสบความสำเร็จได้นั้นต้องเป็นคนฉลาด เก่ง รวย ต้องเรียนพิเศษ พอเราเติบโตและได้มาอยู่ในสังคมที่มันกว้างทำให้ได้เห็นอะไรหลายๆอย่างที่เราเชื่อเปลี่ยนไปจากประสบการณ์ที่ได้ฟังและพบเจอจากหลายๆคนที่รู้จักเช่น แม้ว่าเรามาจากโรงเรียนที่ไม่ดัง ไม่ได้เรียนพิเศษ พ่อแม่ทำงานกรีดยาง แต่ทุกคนก็สามารถประสบผลสำเร็จในชีวิตได้จากความขยันมั่นเพียรของตัวเองที่ผลักดันให้ตัวเองสู้ต่อไป บวกกับความเชื่อมั่นในตัวเอง

1.) ความเชื่อ อาจจะมีพื้นฐานจากหลักฐานข้อเท็จจริงที่เชื่อได้หรือจากลักษณะที่ทำให้เกิดความเข้าใจที่ไขว้เขวก็ได้ เพราะฉะนั้น ความเชื่อจึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับความจริง คนเราอาจจะกระทำอย่างบ้าคลั่งด้วยความเชื่อที่ผิดๆได้เท่าๆกับที่ทำด้วยความเชื่อที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม การกระทำที่ใช้สติปัญญาก็ย่อมต้องอาศัยความเชื่ออยู่ด้วยเสมอ แต่สติปัญญาเองนั้นอาจใช้มาทดสอบความเชื่อและตรวจดูความถูกต้องของความเชื่อนั้นได้ ความเชื่อ คือการยอมรับต่างๆ ว่าเป็นจริง มีอยู่จริง และมีอำนาจที่จะบันดาลให้เกิดผลดีหรือผลร้ายต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ถึงแม้ว่าสิ่งนั้นจะไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นความจริงด้วยเหตุผล แต่เป็นที่ยอมรับกันในกลุ่มชนหรือสังคม
2.) หลายคนอาจใช้ชีวิตผ่านไปแต่ละวันโดยไม่เคยตรวจสอบ ไม่เคยกลับมาคิดถึงสิ่งที่ตัวเองเคยทำลงไป ไม่เคยถามตัวเองว่าทำไมถึงทำ คนเหล่านี้เอาแต่รับความคิด ความเชื่อ หรือคุณค่าจากพ่อแม่ จากสังคม ยอมรับโดยที่ไม่เคยถามสักคำ ไม่สงสัยว่าความเชื่อเหล่านั้นมันผิด หรือมันอาจทำร้ายเราได้ ถ้าเราเปลี่ยนความเชื่อใหม่ เราก็สามารถเปลี่ยนแปลงความเชื่อเก่าได้ โดยมองว่าความผิดพลาดของความเชื่อเก่านั้นไม่ใช่ สิ่งที่ผิดปกติ แต่มันเป็นโอกาสที่จะได้เรียนรู้ ฝึกฝนขัดเกลาจุดด้อย ทำตัวให้เป็นหุ่นยนต์ที่ไร้ความรู้สึก ไม่ย่อท้อ ไม่เหนื่อย ไม่สิ้นหวังถึงแม้ว่าเราจะได้รับความเชื่อหรือคุณค่าจากการสืบทอดทางสังคม แต่เราไม่สามารถโทษสังคมได้ เพราะเป็นตัวเราเองที่ยอมรับมันมาทุกวัน มันเป็นความรับผิดชอบของเราที่จะดูแลจิตวิญญาณของตัวเอง

นางสาวศิริพร ประกายทอง 6110410097 คณะพยาบาลศาสตร์ 1.เรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? สำหรับดิฉัน ดิฉันคิดว่าไม่มีความเชื่อใดถูกใดผิด เพราะต่างคนต่างมุมมองแต่ละคนก็จะมีความเชื่อต่างกัน เกิดมาจากครอบครัว สังคมแวดล้อมและการศึกษา รวมกันจึงเกิดเป็นความเชื่อ ความคิด พฤติกรรมของเรา หากจะย้อนดูว่าความเชื่อของเรานั้นถูกต้องหรือไม่ ก็ต้องสังเกตเหตุและผลที่เราเลือกจะเชื่ออย่างนั้น และเราคงไม่มองว่ามันผิด ดิฉันว่าถ้าเราเลือกจะเชื่อตั้งแต่แรกมันก็ต้องถูกสำหรับเรา แต่ถ้ายุคสมัยเปลี่ยน สิ่งใหม่ๆเข้ามา ความคิดความเชื่อเราก็อาจจะเปลี่ยนกันได้ ไม่ได้มองว่าสิ่งนั้นถูกต้องอยู่ตลอดเสมอไป2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? สำหรับดิฉันคงต้องมองถึงเหตุผลที่เราเชื่อเช่นนั้นก่อน แล้วพิจารณาว่ามันไม่พึงประสงค์อย่างไร เมื่อมองเห็นถึงผลเสียจากความเชื่อนั้น เราค่อยสร้างความเชื่อใหม่ด้วยการมองมุมมองใหม่ หาข้อดีของมุมมองนั้น เช่น เมื่อก่อนเชื่อว่าอ่านหนังสือวันสุดท้ายก่อนสอบก็ทัน แต่เราไม่อยากเชื่ออย่างนั้น เราอยากเปลี่ยนตัวเองก็ให้หาเหตุผลที่จะเปลี่ยน หาผลเสียของการกระทำนั้นว่าถ้าเราอ่านวันสุดท้าย เนื้อหามันเยอะมาก เราก็จำไม่หมดอยู่ดี หรือถ้าจำหมดก็ต้องโต้รุ่ง ตื่นมาสอบสมองเบลอๆ ทำไม่ได้อีก จากนั้นค่อยๆสร้างความเชื่อใหม่ว่าอ่านวันละนิดสิ ไม่เหนื่อยเท่าอ่านทีเดียว จำได้ดีกว่าด้วย เป็นต้น จริงๆดิฉันคิดว่าถ้าเราเล็งเห็นถึงผลของการกระทำที่มันส่งผลเสียต่อเรา เราจะค่อยๆเปลี่ยนความเชื่อเองโดยอัตโนมัติ อาจจะต้องคอยกระตุ้นตัวเองในช่วงแรก แต่ในท้ายที่สุดเราจะเปลี่ยนความเชื่อ ความคิดและพฤติกรรมไปเอง

ณัฏฐ์นรี เอกบัว 6110410035 พยบ.2 Sec31. ความเชื่อของแต่ละคนมีความแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม การเลี้ยงดู และปัจจัยอื่นๆแต่การจะบอกว่าความเชื้อของใครถูกหรือผิด มันเป็นเรื่องของสถานการณ์นั้นๆ ถ้าความเชื่อที่แสดงออกมาไม่เหมาะสมกับสถานที่หรือเวลา ณ ขณะนั้นจึงถูกตัดสินว่าผิด แต่บางทีในที่ของเขานั้นความเชื่อที่แสดงออกมาอาจจะเป็นสิ่งที่ถูกก็ได้ เราจึงไม่ควรตัดสินว่าอะไรถูกหรือผิด แต่ควรทำให้ถูกกาลเทศะ หรือจะกล่าวง่ายๆคือควรมีมารยาทและคิดให้เยอะก่อนที่จะแสดงความเชื่อนั้นๆออกมา2. การจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้นต้องมีความเชื่อใหม่เข้ามาเพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการเปลี่ยน โดยความเชื่อใหม่นั้นจะต้องเป็นสิ่งที่ทำแล้วไม่เดือดร้อน หรือสร้างปัญหาให้กับส่วนรวม และจะต้องเป็นสิ่งที่สร้างสรรค์ โดยผู้เปลี่ยนต้องมีความพยายามและความหนักแน่นในอุดมการณ์ที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

1.ความเชื่อเกิดขากความคิดของตัวเราเอง ความเชื่ออาจจะได้มาจากการปลูกฝั่งจากคนในครอบครัวด้วย แต่ ความคิดเกิดจากกระบวนการคิดของตัวเราเอง เกิดจากการไตร่ตรองของเราเอง ดังนั้น ความเชื่อกับความคิดจึงไม่มีถูก ไม่มีผิด แต่ความเชื่อที่ได้รับมาจะส่งผลต่อพฤติกรรมในทิศทางใด หากส่งผลให้ปฏิบัติในทางที่ดีไม่เดือดร้อนสังคม ส่งเสริมใฟ้ตัวเองกีขึ้น ใช้ชีวิตมีความสุข ความเชื่อหล่าวนี้ก็เป็นสิ่งที่ดีต่อตัวเรา2. ถ้าเราคิดจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม สิ่งแรกเราต้องเปลี่ยนความคิดในตัวเองให้ได้ คิดให้เปลี่ยนไป คิดในสิ่งใหม่ที่เราคิดจะเปลี่ยนไป เมื่อเราเปลี่ยนความคิดได้ มันก็จะส่งผลต่อความเชื่อ เมื่อเราคิดแบบนี้ แล้วมันดีขึ้น มันก็จะกลายไปเป็นความเชื่อ เพราะเมื่อเราทำสิ่งที่เราคิดใหม่ ได้ดี ไม่เดือนร้อนสังคม ใช่ชีวิตมีความสุข ทึกอย่างนี้ก็จะกลายไปเป็นความเชื่อใหม่ของเรา

ดิฉันนางสาวชนัญญา เบ็ญหรอหมาน รหัสนักศึกษา 6110410135 ชั้นปีที่ 2 Section 03 ความเชื่อ หมายถึง การยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริง หรือมีการดำรงอยู่จริง โดยอาศัยประสบการณ์ตรง การไตร่ตรอง หรือการอนุมาน ดังนั้นความเชื่อของแต่ละคนจะไม่เหมือนกันซึ่งสิ่งเหล่านี้จะส่งผลต่อความคิดที่แตกต่างของแต่ละคนอย่างแน่นอน 1.เรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ความเชื่อเป็นเรื่องของความคิด ซึ่งความคิดของคนราย่อมมีความแตกต่างกัน ดังนั้นความเชื่อจึงเป็นสิ่งที่เรามองไม่เห็น จับต้องไม่ได้ สัมผัสไม่ได้ ความเชื่อจึงเป็นสิ่งที่ไม่ตายตัว ไม่มีการถูกหรือผิดขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน ส่วนตัวคิดว่าความเชื่อนั้นต้องอาศัยระยะเวลาในการดูว่าความเชื่อที่เราได้ยิน บอกกล่าว ปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กๆ นั้นเมื่อเวลาผ่านไปเรายังเชื่ออยู่ไหม ประสบการณ์ต่างๆทำให้เราคิดได้ว่ามันถูกต้องจริงหรือ มันผิดจริงหรือ อีกทั้งยังตั้งอยู่บนพื้นฐานของศีลธรรม ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ก่อให้เกิดความวุ่นวายตามมา 2.เราจะสร้างความเชื่อใหม่มาแทนที่ความเชื่อเก่าได้อย่างไร? การจะมีความเชื่อใหม่มาแทนที่ความเชื่อเก่านั้นเป็นสิ่งที่ยาก ต้องอาศัยเวลานานและประสบการณ์โดยตรง หากจะต้องเอาความเชื่อใหม่มาแทนที่ความเชื่อเก่านั้น ดิฉันคิดว่ามันจะต้องเริ่มจากการเปลี่ยนความคิด ทีละเล็กทีละน้อยสั่งสมจนเกิดเป็นความเชื่อใหม่ ซึ่งขั้นตอนของการจะเปลี่ยนแปลงเราจะต้องมองในมุมมองที่หลากหลาย ไม่ยึดติดกับอะไรเดิมๆ เปิดใจต่อสิ่งใหม่ๆ พร้อมกับคิดหากเรื่องบางอย่างพอเราได้เห็น ได้เรียนรู้ ได้ความรู้ที่เป็นสิ่งที่น่าเชื่อถือสมเหตุสมผล เราคิดว่าใช่ถูกต้องเราก็จะค่อยๆปรับเปลี่ยนความคิด เปลี่ยนความเชื่อได้

นางสาวสริตา เจะมะ 6110410100 คณะพยาบาลศาสตร์ Sec031. ทุกคนต่างมีความเชื่อของตนเอง ซึ่งแท้จริงแล้วนั้นความเชื่อไม่มีสิ่งผิดหรือถูกต้องไปเสียหมด เพราะความเชื่อ เป็นแนวการดำเนินชีวิตในกรอบความคิดตามความศรัทธา การเชื่อมีผลต่อสภาพจิตใจและมีบทบาทในการกำหนดพฤติกรรม การกระทำต่างๆ ในทิศทางความเชื่อนั้น ซึ่งเราจะทราบได้อย่างไรว่าความเชื่อของเราถูกต้องนั้น ในความคิดเห็นของดิฉันคือ ต้องศึกษาความเชื่อควบคู่กับวิทยาการทางวิทยาศาสตร์ และหากความเชื่อนั้นๆไม่ส่งผลกระทบหรือส่งผลร้ายต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ความเชื่อนั้นก็ถือเป็นความเชื่อที่ดี2. หากเรามีพฤติกรรมไม่พึ่งประสงค์ เราจะสร้างความเชื่อ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าวได้อย่างไรขั้นตอนแรกคือ ต้องเริ่มเปิดใจรับการเรียนรู้ที่จะเริ่มขึ้น เพราะความเชื่ออยู่กับเรามานาน เป็นสิ่งที่กำหนดพฤติกรรมเรามานาน ซึ่งส่งผลให้ยากต่อการริเริ่มที่จะปรับเปลี่ยนความเชื่อ จากนั้นจึงเริ่มหาความรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคนที่มีความเชื่อแตกต่างจากเราด้วยความสุภาพ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆที่ทำให้เราเล็งเห็นถึงผลกระทบของความเชื่อที่ไม่พึงประสงค์นั้นๆ ส่งผลให้เกิดความเชื่อใหม่ๆและกลายเป็นรากฐานของพฤติกรรมเราต่อไป

นางสาว อัสมาอ์ รักและ 6110410122 พยาบาลศาสตร์ Sec3 1. แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ตอบ ความเชื่อมีหลายความเชื่อ ซึ่งมนุษย์แต่ละคนมีความเชื่อที่ไม่เหมือนกัน บางครั้งการยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริงหรือเป็นสิ่งที่เราไว้ใจ ความจริงหรือความไว้วางใจที่เป็นรูปของความเชื่อนั้น ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นความจริงที่ตรงตามหลักเหตุผลหรือหลักวิทยาศาสตร์ใดๆ ความเชื่อจึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับความจริงเชิงวัตถุวิสัยในเนื้อหาความเชื่อแปลกวิตถารก็ได้ คนเราอาจจะกระทำการอย่างแข็งขันจริงจัง หรืออย่างบ้าคลั่งด้วยความเชื่อที่ผิดได้เท่าๆ กับที่ทำด้วยความเชื่อที่ถูกต้อง อย่างไรก็ดี การทำที่ใช้สติปัญญาใดๆ ก็ตาม ย่อมต้องอาศัยความเชื่ออยู่ด้วยเสมอ แต่สติปัญญาเองนั้นอาจใช้มาทดสอบความเชื่อและตรวจดูความสมบูรณ์ถูกต้องพื้นฐานความเชื่อนั้นได้

  1. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?ตอบ การที่จะให้มนุษย์เปลี่ยนแปลงความเชื่อนั่น คงเป็นเรื่องที่ยาก แต่หากเราต้องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเดิม ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่มาจากความเชื่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ไม่เหมาะสม เราคงต้องรู้ว่าสิ่งที่เราเชื่อและเรากำลังทำเป็นสิ่งที่ผิดที่ต้องหาวิธีการแก้ไข อาจจะเป็นการที่เราหาความเชื่อใหม่ๆ ที่เป็นความเชื่อที่ถูกต้องและไม่ทำให้ตัวเองและคนรอบข้างของสังคมเดือดร้อน อันดับแรกเราคงต้องค่อยๆเปลี่ยนวิธีคิด เริ่มยอมรับความเชื่อนั่น รู้ข้อดี และค่อยๆปรับพฤติกรรมของตัวเอง เพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเองไปยังพฤติกรรมใหม่ที่ดีขึ้น

นางสาวฐิดาพร มณีโชติ 6110410145 คณะพยาบาลศาสตร์ sec 03 1.ความเชื่อเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน บ้างก็เป็นความเชื่อที่สืบต่อกันมาในหลายๆรุ่น มีทั้งที่ผิดบ้างถูกบ้างนอกจากนั้นความเชื่อยังมีผลต่อการดำเนินชีวิตของเราอีกด้วย คนเรามีความเชื่อที่แตกต่างกันส่งผลให้พฤติกรรม และทัศนคติแตกต่างกันได้ ถ้าถามว่าเราจะสามารถรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้องหรือไม่ ก็คงจะหนีไม่พ้นการพิสูจน์ หรือหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเชื่อนั้นๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจต่างๆ ว่าเราควรจะเชื่อต่อหรือปรับเปลี่ยนความเชื่อไปตามกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้เหมาะสมกับยุคสมัย2.ในกรณีที่เราต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่“ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร ก่อนอื่นเลยต้องเริ่มจากการปรับเปลี่ยนทัศนคติ เปิดใจที่จะยอมรับความเชื่อใหม่ โดยหาข้อดีข้อเสียของความเชื่อนั้น มาเปรียบเทียบกันว่าถ้าเราปรับเปลี่ยนความเชื่อไปลองเชื่อในสิ่งใหม่ๆหรือยังเชื่อในสิ่งเดิมๆสิ่งไหนจะส่งผลดีต่อชีวิตเรามากที่สุด และค่อยๆเรียนรู้ไปเรื่อยๆ เปิดใจทีละนิดทุกอย่างต้องใช้เวลาในการปรับเปลี่ยน

นายวรวรรธน์ อินทรภักดี คณะแพทยศาสตร์ สาขากายภาพบำบัด ชั้นปีที่ 1 รหัสนักศึกษา 6210311008 กลุ่ม 03 1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? แท้จริงแล้วความเชื่อไม่มีถูกไม่มีผิด ความศรัทธา ความเชื่อมีผลต่อสภาพจิตใจ เป็นความคิด ซึ่งความคิดของแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกัน ความเชื่ออาจจะมาได้จากครอบครัวหรือคนรอบข้าง ในความคิดเห็นของกระผม คิดว่า ต้องศึกษาความเชื่อควบคู่กับหลักการทางวิทยาศาสตร์และไม่ส่งผลกระทบที่ไม่ดีหรืออาจให้เกิดผลเสียต่อตัวเองและผู้อื่น 2. เราจะสร้างความเชื่อใหม่มาแทนที่ความเชื่อเก่าได้อย่างไร?
เราควรปรับความเชื่อ ค่อยๆเริ่มเรียนรู้ เเลกเปลี่ยนความเห็นกับผู้อื่นเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ สร้างพฤติกรรมจากความเชื่อที่ดี ไม่เกิดความเดือดร้อนแก่ผู่อื่น มองถึงข้อดีข้อเสียและปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์และความเชื่อที่ผิดออกไป จนทำให้เราสามารถก้าวเดินต่อไปได้ด้วยความเชื่อที่ถูกต้อง

นางสาวนาบีละฮ์ อาแด 6110410154 คณะพยาบาลศาสตร์ sec031.ความเชื่อ คือ การยอมรับในสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริงหรือเป็นสิ่งที่เราไว้ใจ เรามีความเชื่อมาตั้งแต่กำเนิด แต่หากจะถามว่าความเชื่อนั้นถูกต้องหรือไม่ ค่อนข้างเป็นคำตอบที่ตอบยาก เนื่องจากไม่มีเกณฑ์ตายตัวในการหาคำตอบของเรื่องนี้ ยิ่งไม่มีเกณฑ์ตายตัว เกณฑ์คำตอบของแต่ละคนจึงแตกต่างกันไป ซึ่งในเรื่องของความเชื่อเองก็สามารถแบ่งได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อด้านศาสนา ความเชื่อด้านสังคมหรือแม้กระทั่งความเชื่อด้านจิตวิญญาณ ซึ่งหากเรามีความเชื่ออย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว แน่นอน คนเรามักจะยึดหลักความเชื่อของตัวเองว่าถูกต้องเสมอ ไม่ผิดพลาด เพราะการที่คนเราจะเชื่อสิ่งๆหนึ่งนั้น มันต้องมีเหตุผลที่เค้าสามารถพิสูจน์ได้หรือหากเป็นความเชื่อจากคนที่เค้าไว้ใจ เค้าก็เชื่อว่าเป็นความจริงและความเชื่อนั้นถูกต้อง เพราะมันถูกสืบทอดมาจากคนที่เค้าไว้ใจ และความเชื่ออาจได้มาจากสังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม ความเชื่อที่มาจากสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งที่หลายคนมักจะมั่นใจว่าความเชื่อเหล่านั้นถูกต้อง เพราะเป็นความเชื่อที่ค่อนข้างหาความเป็นไปได้สูง 2.การสร้างความเชื่อใหม่ไปแทนที่ความเชื่อเก่า ไม่ใช่สิ่งที่ยากและไม่ใช่สิ่งที่ง่ายเช่นกัน หากแต่ต้องพิจารณาว่าความเชื่อเก่านั้นเราเชื่อมันฝังลึกแค่ไหน หากเชื่อเพียงผิวเผินการเปลี่ยนแปลงความเชื่อก็จะไม่ใช่เรื่องยาก แต่หากเป็นความเชื่อที่ฝังลึก เชื่อมาตั้งแต่เนิ่นนานแล้วนั้น การเปลี่ยนแปลงความเชื่อจะค่อนข้างยาก เนื่องจากว่าความเชื่อนั้นเป็นความเชื่อที่เชื่อมาอย่างยาวนาน หากมีอะไรมาเปลี่ยนแปลงความเชื่อจากความเชื่อเดิม คงต้องผ่านการหาคำตอบที่แน่ชัดจนได้คำตอบที่ชัดเจนจึงจะสามารถเปลี่ยนความเชื่อได้ การที่เราจะเปลี่ยนแปลงความเชื่อเดิมนั้น อาจจะต้องอาศัยหลายๆอย่างและจะต้องมีการสะท้อนข้อเสียของความเชื่อเก่าที่แน่ชัดออกมา จึงจะทำให้เราสามารถเปลี่ยนแปลงความเชื่อได้ เช่น ทุกคนเชื่อว่ากินเยอะจะทำให้อ้วน ซึ่งภาวะอ้วนจะส่งผลให้เป็นโรคต่างๆมากมาย การที่จะทำให้คนเชื่อได้ มันเป็นไปได้ยาก หากไม่เกิดขึ้นกับตัวเอง เช่นเดียวกัน หากผู้คนเชื่อว่าความอ้วนจะส่งผลทำให้เกิดโรคต่างๆมากมาย ก็จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ข้อนี้แสดงให้เห็นว่า พฤติกรรมมาจากความเชื่อ หากคนมีความเชื่อในเรื่องใดเรื่องนึงแล้ว ก็จะนำไปสู่พฤติกรรมการเปลี่ยนแปลง

1.เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?สำหับดิฉัน การที่เราจะมีความเชื่อต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งคือดราต้องจำนนต่อหลักฐานที่มาสนับสนุนความเชื่อ ไม่ว่าความเชื่อนั่นจะมาจากการตกทอดจากรุ่นสู่รุ่น หรือมาจากการค้นคว้าศึกษาความรู้ด้วยตัวเอง แต่ล้วนทั้งยอมจำนนต่อหลักฐาน การเปิดใจ ศึกษาหลักฐานอย่างมีเหตุผล และคิดไตร่ตอง เป็นแนวทางในการพิจารณาถึงความเชื่อนั้นๆ จึงเกิดการตัดสินใจด้วยตัวเองได้ ทุกคนล้วนมีความเชื่อและวิธีการคิดต่อความเชื่อนั้นแตกต่างกันจากเหตุผลของตัวเอง เราจึงไม่สามารถตัดสินว่าความคิดของใครต่อใครว่าถูกหรือผิด แต่การเคารพในความต่างของความเชื่อ เป็นสิ่งสำคัญในการการอยู่ร่วมกัน และเป็นแนวทางที่นำไปสู่ความสันติและผาสุข2.การปรับเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เราสร้างความเชื่อใหม่ ให้เข้ามาแทนที่ ความเชื่อเก่า ได้อย่างไร?สำหรับดิฉัน การที่เราจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เราต้องมีข้อมูลหรือความรู้เกี่ยวกับ พฤติกกรมใหม่ และพฤติกรรมเก่า มีการคิดเปรียบเที่ยบของทั้งสองพฤติกรรม ถึงข้อดีหรือข้อเสีย จึงเกิดการชั่งน้ำหนักว่าพฤติกรรมใดที่จะให้ผลดีต่อตัวเรามากที่สุด หากเราเชื่อความพฤติกรรมใหม่ดีกว่า เราก็จะเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากความเชื่อใหม่แทนที่ความเชื่อเก่า เพราะคนทุกคนล้วนต้องการมอบสิ่งที่ดีให้กับตัวเอง

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องในสังคมปัจจุบันนี้ถึงแม้ว่ามนุษย์จะมีความคิดที่หลากหลายมากมายที่แตกต่างกันออกไป แต่ดิฉันเชื่อว่าเมื่อมนุษย์คนหนึ่งได้รับความคิด ความเชื่อและหลักการปฏิบัติตามความคิดนั้นๆแล้ว เขาก็จะเชื่อและคิดตามหรือการได้รับรู้ความคิด ความเชื่อตามบุคคลในครอบครัวที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น คนเราก็จะรู้สึกนึกคิดไตร่ตรองอยู่แล้วว่าความเชื่อที่เราทำมันดีนะ ตรงตามศีลธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี แต่อย่างไรก็ตามเมื่อมนุษย์เชื่อในความคิดของตนเองว่าถูกต้องแล้ว ตามความเชื่อที่ตนเองได้ยึดถือความคิดนั้นมาตลอด และเขาก็ยังคงยึดตามความเชื่อนี้เพราะคิดว่ามันดี เขาสามารถนำมาปรับใช้ได้หรือเขาสามารถทำตามความคิดนั้นโดยไม่ส่งผลให้ผู้อื่นเดือดร้อนก็ถือว่าความคิดนั้นถูกต้องเพียงพอแล้วสำหรับเขา2.ในกรณีที่เราต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง”ความเชื่อใหม่”ให้เข้ามาแทนที่”ความเชื่อเก่า”ได้อย่างไรการที่เราจะปรับนเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเราโดยการนำความเชื่อใหม่เข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่านั้น อย่างแรกคือเราต้องไตร่ตรองถึงความเชื่อเก่าที่เราได้ทำหรือปฏิบัติมาก่อนว่ามันดีพอแล้วหรือยัง กับการที่เราได้นำความเชื่อใหม่มาแทนที่ความเชื่อเก่า แล้วก่อนที่เราจะเปลี่ยนเรานึกถึงสาเหตุ การกระทำต่างๆที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อใหม่ว่ามีความน่าเชื่อถือเหมาะสมพอกับที่เราจะเปลี่ยนหรือยัง หากความคิดบางอย่างหรือการกระทำต่างๆของเราที่เกี่ยวกับความเชื่อเก่าแล้วไตร่ตรองดูว่ามันผิด เราก็ต้องยอมรับความเชื่อใหม่แล้วนำมาปรับใช้กับตัวเราแทนความเชื่อเก่า ช่วงแรกๆอาจจะปรับตัวลำบากเกี่ยวกับความเชื่อในบางเรื่อง แต่ก็เชื่อว่าสามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งใหม่ๆได้

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ความเชื่อเป็นสิทธิส่วนบุคคลและความเชื่อของแต่ละคนจะมีความแตกต่างกัน ซึ่งทุกคนมีสิทธิเลือกได้ว่าควรเชื่อหรือไม่เชื่อสิ่งใด ในอดีตมนุษย์มีความเจริญทางด้านวิชาการน้อย ความเชื่อจึงเกิดจากการเกิดขึ้น และการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติที่มนุษย์เชื่อว่าเป็นการบันดาลให้เกิดขึ้นจากอำนาจของเทวดา พระเจ้า หรือภูตผีปีศาจ แต่ในปัจจุบันมนุษย์มีความเจริญทางด้านวิชาการ การที่จะเชื่อสิ่งใดนั้นควรวิเคราะห์พิจารณาว่าความเชื่อนั้นถูกต้องหรือไม่ การที่เราจะรู้ว่าความเชื่อมี่เรามีอยู่ถูกต้องไหมเราสามารถพิจารณาได้จากผลดีและผลเสียที่จะส่งผลต่อตัวเราและบุคคลอื่น2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? ความเชื่อ เป็นการยอมรับข้อเสนอข้อใดข้อหนึ่งได้ว่าเป็นความจริง หากความเชื่อผ่านการไตร่ตรองมาแล้วว่าส่งผลเสียและสร้างพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์ต่อตัวเรา เราควรหยุดความเชื่อนั้นและลองเปิดใจเปิดรับความเชื่อใหม่เข้ามาโดยวิเคราะห์ผลดีผลเสียของความเชื่อใหม่ว่ามันดีกว่าความเชื่อเดิมหรือใหม่ ซึ่งการที่เราจะเอาความเชื่อใหม่มาแทนที่ความเชื่อเดิมนั้นจะต้องค่อยๆปรับเปลี่ยนไปทีละนิดเพราะการที่จะแทนที่เดิมเป็นสิ่งที่ค่อนข้างยากและต้องใช้เวลาดังนั้นหากเราเปิดรับและสามารถปรับเปลี่ยนได้จะส่งผลดีต่อตัวเราเป็นอย่างมากและจะทำให้เรามองอะไรได้กว้างขึ้นกว่าที่เคยรู้

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? คนส่วนมากมีความเชื่อตามการปลูกฝังมาตั้งแต่อย่างน้อย เมื่อโตขึ้นรู้อะไรเป็นอะไรก็นำความเชื่อที่ว่าเป็นสิ่งยึดเหนียวจิตใจเป็นสิ่งที่บรรเทาความกลัว พึ่งพาในยามท้อแท้ และเมื่อเรามีความศรัทธาไปแล้วเราก็ต้องศึกษาให้ละเอียด วิเคราะห์ เปรียบเทียบกับความเป็นจริงว่าสมเหตุสมผลหรือไม่อย่างไร2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? ในกรณีนี้อาจจะประสบพบประสบการณ์โดยตรง เราก็ต้องนำมาคิดพิจารณาใหม่ มองโลกให้กว้างขึ้น พิจารณาความเชื่อใหม่ว่ามีความสมเหตุสมผลอย่างไร และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองให้อยู่บนพื้นฐานความถูกต้อง สบายใจต่อตนเอง และไม่เป็นที่เดือดร้อนต่อผู้อื่นค่ะ

1.เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้อง? ความเชื่อหมายถึงการที่เรายอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริงหรือเป็นสิ่งเราไว้ใจ ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นความจริงที่ตรงตามหลักเหตุผลหรือหลักวิทยาศาสตร์ ซึ่งในแต่ละคนก็จะมีความเชื่อที่แตกต่างกันออกไป มีทั้งความเชื่อที่เหมือนกันบ้าง ไม่เหมือนกันบ้าง และการที่เราจะรู้ได้ว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้องหรือผิด เราจะต้องวิเคราะห์ความเชื่อเหล่านั้น โดยจะวิเคราะห์จากสิ่งที่บุคคลเหล่านั้นได้รับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับความเชื่อเหล่านั้น เช่น ความเข้าใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง พฤติกรรม หลักคำสอน จารีตและประเพณี ศีลธรรม เป็นต้น หากเราวิเคราะห์และไตร่ตรองว่าความเชื่อที่เราเชื่อนั้นเป็นด้านที่ดี เราก็สามารถที่จะเชื่อได้ว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นดีและถูกต้องแล้ว2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้างความเชื่อใหม่ให้เข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่าได้อย่างไร? การที่เราจะต้องเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา สิ่งแรกที่จะต้องทำคือการรับรู้และความเข้าใจ เราจะต้องรับรู้และเข้าใจว่าพฤติกรรมและความเชื่อที่เราเชื่อนั้นอาจจะผิดหรืออาจจะไม่ดีต่อตัวเรา ทำให้ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมและสร้างความเชื่อใหม่ สิ่งต่อมาที่ควรจะทำก็คือการเปิดใจยอมรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา โดยการยอมรับความจริงว่าพฤติกรรมที่ทำอยู่นั้นอาจจะไม่ดีหรืออาจจะผิด ต่อมาคือหาข้อดีข้อเสียของความเชื่อเก่าว่าความเชื่อเก่ามีข้อดีและข้อเสียอย่างไร ในส่วนของข้อดีของความเชื่อเก่าก็ให้คงไว้ ในส่วนของข้อเสียของความเชื่อเก่าก็ให้นำมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีให้ถูกต้องก็จะทำให้ได้ความเชื่อใหม่ที่ดีและถูกต้องได้มากยิ่งขึ้นและยังสามารถที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมไม่พึงประสงค์บางอย่างของเราได้อีกด้วย

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?

       :ความเชื่อในเรื่องใดก็ตาม ส่วนใหญ่มักจะมีจุดเริ่มมาจากอุปนิสัยส่วนตัวซึ่งอาจมีผลจากครอบครัวและสภาพแวดล้อม สภาพแวดล้อมนี้รวมถึงสังคม การศึกษา และการปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น คนที่อยู่ในสังคมที่มีความแตกต่างหลากหลายของผู้คน จะเรียกว่ามีมิติซับซ้อนกว่าก็ได ประกอบกับเป็นคนที่เปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่สม่ำเสมอ ก็จะมีแนวโน้มที่จะเป็นคนที่ปล่อยให้ความเชื่อเดิมของตัวเองถูกแกว่งบ้าง เพื่อท้าทายความเชื่อของตัวเองว่าถูกต้องหรือไม่ เพราะความเชื่อบางอย่างอาจถูกต้องในเวลาหนึ่ง แต่เมื่อเวลาผ่านไปความเชื่อนั้นอาจกลายเป็นความเชื่อที่ผิดได้หลังจากผ่านการพิสูจน์ด้วยเหตุการณ์และ ยุคสมัย ในขณะที่คนที่มีนิสัยยึดมั่นถือมั่นในความคิดของตน อยู่ในสังคมที่ไม่เห็นความแตกต่างชัดเจน ก็จะมีแนวโน้มที่จะไม่เปิดโอกาสรับรู้ รับฟังสิ่งใหม่ ๆ ที่อาจขัดแย้งกับความเชื่อเดิม และจะปิดประตูตายไม่ยอมรับการทดสอบความเชื่อของตนเองแต่อย่างใด โดยวิสัยคนปกติ ถ้าความเชื่อของตนได้รับการรับรองหรือเห็นได้ชัดว่ามีคนหลายคนเชื่อในทิศทางเดียวกัน ก็จะยิ่งตอกย้ำว่าความเชื่อของตนนั้นน่าจะเป็นสิ่งที่ถูกต้อง คนประเภทนี้จะใช้ปริมาณของคนที่คิดเห็นตรงกันเป็นเกณฑ์ในการสรุปความถูกต้องของความเชื่อนั้น ๆ ในขณะที่คนอีกกลุ่มหนึ่ง อาจไม่ได้ให้ความสำคัญกับจำนวนคนที่เชื่อเหมือนกันมากไปกว่า คุณภาพของคนที่มีความเชื่อในเรื่องนั้น ๆ ยกตัวอย่างเหตุการณ์ทางสังคมบางเหตุการณ์ บางครั้งเป็นการยากที่คนทุกคนจะเข้าถึงข่าวสารข้อมูลระดับเดียวกัน คนที่ไม่สามารถตัดสินใจว่าควรเชื่อในบุคคลใดหรือเหตุการณ์ใด ก็มักจะมองหา "ผู้ช่วย" ที่จะทำให้ตัวเองตัดสินใจเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้น ๆ ได้ง่ายขึ้น ผู้ช่วยในที่นี้ก็คือ คนที่ตนเองมีความเชื่อถือ ศรัทธา หรือยกย่องว่าน่าจะเป็นคนที่เข้าใจสถานการณ์นั้น ๆ ได้ดีกว่าตนนั่นเอง ผู้ช่วยนี้หาได้ตั้งแต่สังคมที่เล็กที่สุด คือในครอบครัว จนถึงสังคมใหญ่ระดับชาติ

2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?

        :ส่วนเรื่องที่ว่าจะทำให้ความเชื่อใหม่ เข้ามาแทนความเชื่อเก่าได้อย่างไรนั้น อย่างที่อาจารย์ได้กล่าวไว้ตอนต้นว่า ความคิดพัฒนามาจากความเชื่อ ในขณะเดียวกัน ความเชื่อก็พัฒนามาจากความคิดด้วยเช่นกัน การจะรับความเชื่อใหม่เข้ามา เราไม่จำเป็นต้องกำจัดหรือสลัดความเชื่อเก่าทิ้งทั้งหมด สิ่งที่ควรทำคือ การเปิดประตูแห่งความคิดให้กว้าง เปิดรับความเชื่อใหม่ ๆ เข้ามา ไม่ว่ามันจะมาจากเส้นทางใด หรือความเชื่อแบบใด จากนั้นพินิจพิเคราะห์ ไตร่ตรองความเชื่อนั้นว่าน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด ถ้าเป็นความเชื่อที่สามารถหาหลักฐานหรือข้อพิสูจน์ได้ก็ควรทำก่อนที่จะสรุปว่าเชื่อหรือไม่เชื่อ แต่ถ้ายังหาข้อสรุปหรือหลักฐานมาสนับสนุนหรือคัดค้านความเชื่อนั้นไม่ได้ ก็อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่าเชื่อหรือคัดค้านความเชื่อนั้น เช่น คนที่เชื่อว่าพระเจ้ามีจริง กับคนที่ไม่เชื่อว่าพระเจ้ามีจริง ต่างฝ่ายต่างก็ไม่สามารถพิสูจน์หรือหาหลักฐานมาสนับสนุนความเชื่อของตนเองได้เช่นกัน ถ้าไม่มีเงื่อนไขเรื่องเวลา เราก็ไม่ควรด่วนตัดสินความเชื่อใด ๆ หลายครั้งเมื่อไม่สามารถหาหลักฐานหรือผู้ช่วยมาสนับสนุนความเชื่อได้ เวลาจะกลายเป็นเครื่องพิสูจน์ความเชื่อนั้นเอง

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ความเชื่อในเรื่องใดก็ตาม ส่วนใหญ่มักจะมีจุดเริ่มมาจากอุปนิสัยส่วนตัวซึ่งอาจมีผลจากครอบครัวและสภาพแวดล้อม สภาพแวดล้อมนี้รวมถึงสังคม การศึกษา และการปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น คนที่อยู่ในสังคมที่มีความแตกต่างหลากหลายของผู้คน จะเรียกว่ามีมิติซับซ้อนกว่าก็ได ประกอบกับเป็นคนที่เปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่สม่ำเสมอ ก็จะมีแนวโน้มที่จะเป็นคนที่ปล่อยให้ความเชื่อเดิมของตัวเองถูกแกว่งบ้าง เพื่อท้าทายความเชื่อของตัวเองว่าถูกต้องหรือไม่ เพราะความเชื่อบางอย่างอาจถูกต้องในเวลาหนึ่ง แต่เมื่อเวลาผ่านไปความเชื่อนั้นอาจกลายเป็นความเชื่อที่ผิดได้หลังจากผ่านการพิสูจน์ด้วยเหตุการณ์และ ยุคสมัย ในขณะที่คนที่มีนิสัยยึดมั่นถือมั่นในความคิดของตน อยู่ในสังคมที่ไม่เห็นความแตกต่างชัดเจน ก็จะมีแนวโน้มที่จะไม่เปิดโอกาสรับรู้ รับฟังสิ่งใหม่ ๆ ที่อาจขัดแย้งกับความเชื่อเดิม และจะปิดประตูตายไม่ยอมรับการทดสอบความเชื่อของตนเองแต่อย่างใด โดยวิสัยคนปกติ ถ้าความเชื่อของตนได้รับการรับรองหรือเห็นได้ชัดว่ามีคนหลายคนเชื่อในทิศทางเดียวกัน ก็จะยิ่งตอกย้ำว่าความเชื่อของตนนั้นน่าจะเป็นสิ่งที่ถูกต้อง คนประเภทนี้จะใช้ปริมาณของคนที่คิดเห็นตรงกันเป็นเกณฑ์ในการสรุปความถูกต้องของความเชื่อนั้น ๆ ในขณะที่คนอีกกลุ่มหนึ่ง อาจไม่ได้ให้ความสำคัญกับจำนวนคนที่เชื่อเหมือนกันมากไปกว่า คุณภาพของคนที่มีความเชื่อในเรื่องนั้น ๆ ยกตัวอย่างเหตุการณ์ทางสังคมบางเหตุการณ์ บางครั้งเป็นการยากที่คนทุกคนจะเข้าถึงข่าวสารข้อมูลระดับเดียวกัน คนที่ไม่สามารถตัดสินใจว่าควรเชื่อในบุคคลใดหรือเหตุการณ์ใด ก็มักจะมองหา “ผู้ช่วย” ที่จะทำให้ตัวเองตัดสินใจเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้น ๆ ได้ง่ายขึ้น ผู้ช่วยในที่นี้ก็คือ คนที่ตนเองมีความเชื่อถือ ศรัทธา หรือยกย่องว่าน่าจะเป็นคนที่เข้าใจสถานการณ์นั้น ๆ ได้ดีกว่าตนนั่นเอง ผู้ช่วยนี้หาได้ตั้งแต่สังคมที่เล็กที่สุด คือในครอบครัว จนถึงสังคมใหญ่ระดับชาติ

2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? ส่วนเรื่องที่ว่าจะทำให้ความเชื่อใหม่ เข้ามาแทนความเชื่อเก่าได้อย่างไรนั้น อย่างที่อาจารย์ได้กล่าวไว้ตอนต้นว่า ความคิดพัฒนามาจากความเชื่อ ในขณะเดียวกัน ความเชื่อก็พัฒนามาจากความคิดด้วยเช่นกัน การจะรับความเชื่อใหม่เข้ามา เราไม่จำเป็นต้องกำจัดหรือสลัดความเชื่อเก่าทิ้งทั้งหมด สิ่งที่ควรทำคือ การเปิดประตูแห่งความคิดให้กว้าง เปิดรับความเชื่อใหม่ ๆ เข้ามา ไม่ว่ามันจะมาจากเส้นทางใด หรือความเชื่อแบบใด จากนั้นพินิจพิเคราะห์ ไตร่ตรองความเชื่อนั้นว่าน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด ถ้าเป็นความเชื่อที่สามารถหาหลักฐานหรือข้อพิสูจน์ได้ก็ควรทำก่อนที่จะสรุปว่าเชื่อหรือไม่เชื่อ แต่ถ้ายังหาข้อสรุปหรือหลักฐานมาสนับสนุนหรือคัดค้านความเชื่อนั้นไม่ได้ ก็อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่าเชื่อหรือคัดค้านความเชื่อนั้น เช่น คนที่เชื่อว่าพระเจ้ามีจริง กับคนที่ไม่เชื่อว่าพระเจ้ามีจริง ต่างฝ่ายต่างก็ไม่สามารถพิสูจน์หรือหาหลักฐานมาสนับสนุนความเชื่อของตนเองได้เช่นกัน ถ้าไม่มีเงื่อนไขเรื่องเวลา เราก็ไม่ควรด่วนตัดสินความเชื่อใด ๆ หลายครั้งเมื่อไม่สามารถหาหลักฐานหรือผู้ช่วยมาสนับสนุนความเชื่อได้ เวลาจะกลายเป็นเครื่องพิสูจน์ความเชื่อนั้นเอง

  1. แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?ความเชื่อที่ถูกต้องคือความเชื่อที่ทำให้เราแสดงพฤติกรรมที่เป็นผลดีต่อตัวเราเองและไม่ทำความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น และอยู่ที่เหตุผลของแต่ละคนที่นำมาประกอบทำให้มีความเชื่อแบบนั้น ความเชื่อที่เป็นประเพณีวัฒนธรรมมีข้อมูลหลักฐานความเป็นมาและประสบการ์ณทำให้เรามีความเชื่อโดยปริยาย
  2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?ความเชื่อมีความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงเสมอหากมีสิ่งเร้าหรือแรงคล้อยที่มีผลต่อจิตใจ ในกรณีที่เราจะสร้างความเชื่อใหม่เราจะต้องเปลี่ยนความคิดใหม่และลองทำตามความคิดนั้นเมื่อเราเห็นว่ามันดีเราจะเปลี่ยน

1.) แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง ?ตอบ ก่อนอื่นเราต้องเปิดใจรับฟังทั้งผู้คนรอบตัวและตัวเราเองจริงๆด้วย จากนั้นก็พินิจดูว่าความเชื่อนั้นเป็นไปตามที่เราเชื่อจริงหรือไม่ โดยให้มองตามความจริงไม่เอนเอียงใดๆ2.) ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง”ความเชื่อใหม่”ให้เข้ามาแทนที่”ความเชื่อเก่า”ได้อย่างไร ?ตอบ ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ก่อนว่า ความเชื่อเก่าๆนั้นไม่ได้ส่งผลตามที่เราหวัง หรือให้ผลเสียกับเรา จากนั้นจึงดูความเชื่อใหม่และเราต้องมั่นใจแล้วจริงๆในความเชื่อใหม่ที่เราตั้งจากนั้นจึงจะเปลี่ยนความเชื่อได้อย่างถ่องแท้จากภายในอย่างแท้จริง

1.)เรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้อง->มนุษย์บนโลกมีอยู่มากมาย ต่างก็แตกต่างกันทั้งรูปร่างหน้าตา นิสัย ความชอบ งานอดิเรก และอื่นๆ จึงเป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์ทุกคนบนโลกจะมีความเชื่อเดียวกัน แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นถูก ทุกอย่างบนโลกจะมีสีดำและสีขาวเสมอ ไม่มีสิ่งใดขาวทั้งหมด หรือดำทั้งหมด เราจึงควรดูถึงความเหมาะสมของพฤติกรรมเราว่าไปกระทบผู้อื่นมากเพียงใด หากพฤติกรรมที่เราแสดงไม่กระทบบุคคลอื่น ไม่ผิดกฏหมาย ไม่ผิดจริยธรรม ศีลธรรม นั่นอาจแสดงถึงว่าเรามีความเชื่อที่ถูกต้อง2.)ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่าง เราจะสร้าง”ความเชื่อใหม่”ให้เข้ามาแทนที่”ความเชื่อเก่า”ได้อย่างไร->หากเราต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เราควรรู้แนวทางของพฤติกรรมที่เราต้องการปรับเปลี่ยนว่าอยากให้เป็นแบบใด ต้องปรับเปลี่ยนความคิด ความเชื่อ และอีกทั้งต้องหาข้อมูลเพื่อสนับสนุนอีกด้วย เมื่อเรารู้แนวทางแล้วก็สามารถคิดวิธีปรับเปลี่ยนได้ และนี่คือจุดเริ่มต้นสำหรับการสร้าง”ความเชื่อใหม่”แทนที่”ความเชื่อเก่า”

1.เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้อง?ความเชื่อเป็นสิ่งที่ไม่ตายตัวแล้วแต่บุคคลคน ไม่มีความเชื่อไหนถูกหรือผิด แล้วแต่การคิดวิเคราะห์ ความเข้าใจของแต่ละคน 2.ในกรณีที่เราต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้างความเชื่อใหม่ให้เข้ามาแทนความเชื่อเก่าได้อย่างไร?ก่อนอื่นเราต้องเริ่มจากการประเมินความเชื่อตนเองว่าความเชื่อที่เป็นอยู่นั้นดีหรือไม่ ส่งผลกระทบต่อผู้อื่นมากน้อยเพียงใด หากประเมินแล้วพบว่ามีผลเสียมากกว่าต้องสร้างความตระหนักแก่ตนเองถึงความเชื่อที่ถูกต้องแล้วเปิดใจลองทำตามพฤติกรรมใหม่ๆที่ส่งผลดีต่อเรา

ดิฉันนางสาวโซเฟีย มูดอ รหัสนักศึกษา 6110410143 กลุ่มที่03 คณะพยาบาลศาสตร์ 1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?สำหรับดิฉัน การที่เราจะเชื่อในอะไรก็ตามได้ สิ่งๆนั้นจะต้องเป็นสิ่งที่มีหลักฐานพิสูจน์ได้ หรือมีข้อมูลสนับสนุนเพียงพอต่อความเชื่อนั้นๆไม่ว่าจะเป็นข้อพิสูจน์ที่ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ หรืองานวิจัยที่จัดทำโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านนั้นๆ คัมภีร์ ตำรา ฯลฯ อีกทั้งความเชื่อที่ว่ายังเป็นสิ่งที่บรรพบุรุษต่างสืบทอดมาให้แก่เรา หมายความว่าบุคคลในวงศาคณาญาติต่างมีความคิดและความเชื่อเช่นนี้มานานแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับศาสนา เช่น ศาสนาอิสลามเชื่อและศรัทธาในพระเจ้าองค์เดียว เชื่อในวันพิพากษาหรือวันสิ้นโลก เป็นต้น หรือเป็นความเชื่อที่ส่งผลต่อสุขภาพ เช่น เชื่อว่าหากมีแผลผ่าตัดห้ามกินไข่และไก่ ไม่อย่างนั้นจะทำให้แผลเป็นหนองและหายช้า เป็นต้น2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?ไม่ว่าจะเป็นสิ่งใดก็ตามหากต้องมาแทนที่สิ่งเก่าที่มีอยู่แล้วล้วนต้องใช้เวลา สิ่งสำคัญคือการมีจิตใจที่แน่วแน่ต่อการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ เพราะเมื่อไหร่ที่ตัดสินใจจะเปลี่ยนสิ่งหนึ่งเป็นอีกอีกสิ่งแล้วจะไม่สามารถหวนกลับไปประพฤติตนหรือปฏิบัติตนอย่างเดิมอีก ฉะนั้นความพร้อมของจิตใจจึงเป็นเรื่องสำคัญ เมื่อจิตใจแน่วแน่ต่อการเปลี่ยนแปลงแล้ว เราเองต้องมีข้อมูลหรือหลักฐานเพื่อใช้เป็นเครื่องยืนยันความเชื่อใหม่ของเราให้ได้ ไม่เช่นนั้นความเชื่อที่รับมาใหม่ในภายหลังจะขาดความน่าเชื่อถือ และสุดท้ายอาจส่งผลเสียต่อเราในอนาคตข้างหน้าได้ ไม่ว่าจะเป็นทางกาย จิต หรืออื่นๆ ยกตัวอย่างการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามความเชื่อที่ว่าคือ1. เปลี่ยนศาสนา การเปลี่ยนศาสนาถือการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่เดิมอย่างมาก เช่น จากศาสนาพุทธมานับถือศาสนาอิสลาม ไม่เพียงแต่ว่าจะต้องเปลี่ยนความเชื่อในเรื่องของความศรัทธาต่อพระเจ้าแล้ว เรายังต้องเปลี่ยนพฤติกรรมทุกอย่างตามหลักการของศาสนา (หลักศรัทธา 6 ประการ ,หลักปฏิบัติ 5 ประการ) เช่น ผู้หญิงต้องแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย ปกปิดเรือนร่างให้มิดชิด ให้เห็นได้แค่ ใบหน้าและฝ่ามือเท่านั้น ฯลฯ2. การนอนหลับพักผ่อนการนอนหลับพักผ่อนถือเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับมนุษย์ทุกคนมาก เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มนุษย์เจริญเติบโตได้ แต่ในปัจจุบันคนส่วนใหญ่มักจะไม่เห็นความสำคัญของการนอนหลับ หรืออาจจะให้ความสำคัญน้อยเมื่อเทียบกับการดูแลสุขภาพ ดิฉันเป็นหนึ่งคนที่นอนดึกมาก ทำให้สุขภาพร่างกายทรุดโทรม หน้าไม่สดชื่น มีสมาธิในการเรียนลดลงจากผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งหมดดิฉันจึงหันมาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมดังกล่าว แต่การจะเปลี่ยนได้จะต้องใช้เวลาและต้องตระหนักรู้ถึงข้อเสียของการนอนดึกให้มากๆ และเมื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเดิมได้แล้วต้องไม่กลับไปทำเช่นเดิมอีก

  1. ความเชื่อที่เรามีนั้น อาจถูกปลูกฝังมาจากสถาบันทางสังคม ยกตัวอย่างเช่น สถาบันศาสนา เนื่องจากความเชื่อในศาสนาจะแสดงออกในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้นับถือศาสนานั้นๆ ซึ่งมีกฎหรือบัญญัติ ที่เรียกชื่อต่างๆ กันเป็นแนวทาง อย่างเช่น พุทธศาสนามีศีล ๕ และหลักศีลธรรม จริยธรรม หลายประการตามในพระไตรปิฎก ศาสนาคริสต์มีบัญญัติ ๑๐ ประการ และบทบัญญัติอื่นๆ ที่ปรากฏในพระคัมภีร์ไบเบิล ศาสนาอิสลามมีหลักเกณฑ์อย่างละเอียด ในการดำเนินชีวิต ในทุกด้าน เป็นต้น เพราะฉะนั้น ความเชื่อไม่มีถูกหรือผิด เเต่ที่สำคัญคือความเชื่อของเราต้องไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เราไม่ควรเอาความเชื่อของตัวเองเป็นที่ตั้ง เพราะทุกคนต่างมีสิทธิที่จะเชื่อหรือไม่เชื่อ เราเชื่อว่าความเชื่อของเราถูกต้อง คนอื่นก็เชื่อว่าของเขาถูกต้อง ถ้ามีคนเชื่อไม่เหมือนเรา เราก็ไม่ควรไปยัดเยียดความเชื่อของเราให้คนอื่น เราไม่ควรไปลบหลู่ความเชื่อของผู้อื่น ไม่ควรไปโกรธเกลียดผู้ที่มีความเชื่อต่างจากเรา ไม่ควรมองว่าเขาเป็นศัตรู ไม่ว่าด้วยวาจาหรือการกระทำ
  2. สำหรับดิฉัน ในกรณีที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ การที่จะนำความเชื่อใหม่ๆ มาเเทนที่ความเชื่อเก่าๆที่มีมาตั้งนานเเล้วนั้น ดิฉันจะพิจารณา คิดเเละไตร่ตรองให้ดีก่อนที่จะลบล้างความเชื่อเก่าๆออก พิจารณาว่าความเชื่อเก่าส่งผลให้เรามีความคิดอย่างไร เเละความคิดนั้นๆส่งผลต่อพฤติกรรมที่เเสดงออกมาในรูปแบบใด หากมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมก็ควรเปลี่ยนความคิดเเละความเชื่อ อีกทั้งพิจารณาว่าความเชื่อเก่านั้นส่งผลเสียต่อการดำเนินชีวิตเราอย่างไร มีผลดีต่อการดำเนินชีวิตของเราอย่างไร หากมีผลเสียมากกว่าผลดี ก็เเสดงให้เห็นว่าความเชื่อที่เรามีนั้นไม่ถูกต้อง เเละความเชื่อที่ไม่ถูกต้องนั้นก็ส่งผลให้เรามีความคิดผิดๆ เเล้วความคิดเหล่านั้นก็จะส่งผลให้เรามีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในที่สุด เเละเมื่อเราจะหาความเชื่อใหม่ๆที่มาทดเเทนความเชื่อเก่า เราต้องคำนึงถึงความสมเหตุสมผล ความเป็นไปได้ รวมทั้งผลดีที่จะตามมา ยกตัวอย่างความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับการลดน้ำหนัก เช่น การลดน้ำหนักเเบบอดอาหาร ซึ่งการอดอาหารเป็นหนึ่งวิธีที่ลดน้ำหนักได้ไวก็จริง แต่มันจะไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย มีแต่จะดูโทรมเพราะผิวเสีย และเมื่อกลับมากินแบบปกติน้ำหนักก็จะกลับมาอีกครั้ง เพราะส่วนใหญ่แล้วการอดอาหารจะทำให้หิวมากขึ้น และกินเยอะขึ้นในมื้อถัดไป แถมมันยังทำให้เป็นโรคขาดสารอาหาร ตลอดจนระบบการเผาผลาญพลังงานในร่างกายทำงานผิดปกติอีกด้วย

น.ส.มณฑกาญจน์ ราชพิทักษ์ 6110410075 คณะพยาบาลศาสตร์1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?ในความคิดของดิฉัน ดิฉันคิดว่าความเชื่อของแต่ละบุคคลนั้น เราไม่สามารถไปตัดสินได้ว่าสิ่งนั้นถูกหรือผิด เพราะความความเชื่อในแต่ละบุคคลแตกต่างกันออกไป เนื่องจากประสบการณ์ที่พบเจอมาต่างกัน ทั้งยังมีปัจจัยในด้านอื่นๆไม่ว่าจะเป็นด้านศาสนา ค่านิยมและยุคสมัย โดยส่วนดิฉันจึงคิดว่าการไปตัดสินหรือพิสูจน์ว่าความเชื่อใดความเชื่อหนึ่งว่าถูกหรือผิด ล้วนต้องผ่านพิจารณาไตร่ตรองและมีเหตุผลที่สมเหตุสมผลมารองรับ ทำไมถึงผิด ผิดอย่างไร และสร้างความเชื่อใหม่ขึ้นมาแทน โดยการใช้ความคิดเปรียบเทียบดูว่าระหว่างความเชื่อเก่าและความเชื่อใหม่แตกต่างกันอย่างไร พร้อมทั้งเปิดใจรับฟังผู้อื่นให้มากขึ้นพร้อมรับสิ่งใหม่ๆ เรียนรู้ พิสูจน์ ทดลอง แล้วนำสิ่งที่ได้รู้มาคิดวิเคราะห์เชื่อมโยงเหตุ ทำให้ดิฉันเชื่อว่าความเชื่อนั้นถูกต้อง แต่ท้ายที่สุดความเชื่อที่ถูกต้องนั้นขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตัวไปแนวทางไหน หากผลที่ได้นั้นทำให้เรารู้สึกดีสบายใจ ไม่เครียด ไม่เป็นทุกข์และปฏิบัติไปในทางที่ถูกต้องตามหลักของสังคม โดยไม่ทำให้ใครเดือดร้อน และส่งผลชีวิตของตนเองดีขึ้น ความเชื่อนั้นย่อมเป็นความเชื่อที่ถูกต้องแล้ว2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง”ความเชื่อใหม่”ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า”ได้อย่างไร ?การที่เราจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองนั้นสำหรับตัวฉันเอง ฉันคิดว่าควรจะเริ่มเปิดใจและปรับเปลี่ยนความคิดและความเชื่อของตัวเองขึ้นมาใหม่ก่อน โดยต้องเริ่มจากการให้กำลังใจตัวเอง เชื่อมั่นในตนเองและหาข้อมูลมาเป็นเหตุผลให้กับตัวเองว่าทำไปเพื่ออะไร และมีผลดีต่อตัวเราอย่างไรเพื่อที่จะเป็นแรงผลักดันให้รู้สึกอยากมีการเปลี่ยนความคิดเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนความเชื่อและพฤติกรรมใหม่ในทางที่ดีขึ้น

น.ส..ฝาซียะห์ ยาเต็ง 6110410165 คณะ พยาบาลศาสตร์ ?

  1. แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง

ตอบ : ความเชื่อนั้นเป็นคำที่ไม่มีความหมายในทางบวกหรือทางลบ ความเชื่อนั้นเป็นเครื่องกำหนเความจริงสำหรับมนุษย์ หรือแม้เเต่สัตว์ที่มีระบบความคิด แต่จะเป็นความจริงในทางที่ดีหรือร้ายนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่า ความเชื่อนั้นถูกสร้างขึ้นบนต้นเชื้อของอะไรระหว่างความหวังหรือความกลัว ถ้าหากว่าความเชื่อนั้นมาจากความหวัง แน่นอนอยู่แล้วว่าความเชื่อนั้นต้องเป็นความจริงที่คนเราคิดว่ามันถูกต้อง เพราะกว่าที่ความเชื่อจะถูกเรียกว่าความเชื่อที่ถูกต้อง มันก็ต้องผ่านกระบวนการคิด การไตร่ตรอง การปรับทัศนคติของเรา เมื่อเราเชื่อแล้ว ก็ให้ความเชื่อนั้นกำหนดการกระทำของเราด้วย ดังนั้น สิ่งที่จะทำให้เราเชื่อว่า ความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง นั่นก็คือ การกระทำของเรา หากเรามองว่า เราเชื่อแบบนี้ แล้วเราปฏิบัติตามในสิ่งที่เราเชื่อ โดยไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน นั้นก็เเสดงว่าความเชื่อเรานั้นก็ถือว่าถูกต้อง เพราะเเน่นอนอยู่แล้วว่า ความเชื่อของเเต่ละคนมันไม่เหมือนกันแต่สิ่งที่สามารถวัดได้ว่าความเชื่อนั้นถูกต้องหรือไม่คือ การไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนตามความเชื่อของตน

  1. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม” ่เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร

ตอบ : ก่อนอื่นก็ต้องดูก่อนว่า พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเรานั้น มีผลกระทบต่อคนอื่นรึเปล่า ถ้าหากว่าส่งผลกระทบเเก่ตัวเราคนเดียวก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะการสร้างความเชื่อใหม่เป็นสิ่งที่ทุกคนทำได้ สิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ การสร้างความเชื่อต้องเริ่มจากการมีเเรงวันดาลใจ เช่น ถ้าเป็นคนที่ไม่ชอบออกกำลังกาย ซึ่งรู้ดีว่า การไม่ออกกำลังกายจะส่งผลเสียหลายอย่างให้เเก่ร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการทำให้อ้วน การสร้างความเชื่อในเรื่องการลดน้ำหนักจากการออกกำลังกาย คือ การหาเเรงบันดาลใจ เพราะเเรงบันดาลใจเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความเชื่อใหม่ การหาดาราที่เขาสามารถลดน้ำหนักได้ เพื่อเป็นเเรงบันดาลใจให้เราได้สร้างความเชื่อใหม่เข้ามาเเทนความเก่า สิ่งเหล่านี้มันสามารถลบความเชื่อเก่าเราได้ เพราะมันเป็นรูปธรรมที่เราเห็นผลลัพท์มันอย่างชัดเจน เเต่ในทางกลับกัน ความเชื่อบางความเชื่อของคนเราก็ไม่สามารถที่จะมาเปลี่ยนเป็นความเชื่อใหม่ได้ เช่น ความเชื่อในศาสนาที่เป็นความศรัทธาของมนุษย์ไปแล้ว ซึ่งมีหลักฐานชัดเจน ความเชื่อเหล่านี้ไม่สามารถที่จะปรับเปลี่ยน เปลี่ยนเเปลงและเเก้ไขได้ เพราะเป็นความเชื่อที่ตายตัวที่มนุษย์ทุกคนเชื่อเเละยอมรับเเตกต่างกัน

นางสาวศิริรัตน์ สุวรรณนิมิตร รหัส 6110410098 คณะ พยาบาลศาสตร์1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องเราไม่สามารถรู้ได้ว่าความเชื่อที่เรามีอยู่นั้นถูกต้องร้อยเปอร์เซ็น เพราะความเชื่อโดยส่วนใหญ่ของเราจะได้มาจากครอบครัวและสิ่งแวดล้อมรอบข้างที่พบเจอมา รวมทั้งศาสนาและความเชื่อส่วนตัว ซึ่งเมื่อเราไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ความเชื่อที่เรามีอาจไม่หมือนกับที่คนอื่นมี ความเชื่อที่เราคิดว่าถูกต้องเสมอมา เมื่อนำไปพูดกับคนอื่นความเชื่อนั้นอาจเป็นความเชื่อที่ผิดสำหรับคนอื่นก็ได้ เราจึงควรต้องยอมรับในความเชื่อที่แตกต่าง ไม่มองว่าความเชื่อใดความเชื่อหนึ่งเป็นสิ่งผิด หากความเชื่อนั้นไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน แต่หากความเชื่อของเราไปทำให้คนอื่นเดือดร้อน เราก็ควรปรับปรุงตัวเองเปลี่ยนแปลงความเชื่อ2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง ความเชื่อใหม่ ให้เข้ามาแทนที่ ความเชื่อเก่า ได้อย่างไร
หากเราต้องการสร้างความเชื่อใหม่เพื่อลบล้างความเชื่อเก่าที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์นั้น แปลว่าเราได้คิด วิเคราะห์ มาแล้ว ว่าความเชื่อเก่าที่เชื่ออยู่แล้วนั้นเป็นความเชื่อที่ผิด ทำให้ตนเองหรือผู้อื่นเดือดร้อน การสร้างความเชื่อขึ้นมาใหม่จึงไม่ใช่เรื่องยาก หากเรารู้ตัวแล้วคิดได้ว่าความเชื่อเก่าที่เราเชื่ออยู่ไม่ถูกต้อง ตัวเราเองจะสร้างความเชื่อใหม่ที่เชื่อว่าถูกต้องขึ้นมา แต่หากเราไม่รู้ตัวว่าความเชื่อที่เราเชื่อมันผิด เราก็จะไม่ยอมรับมัน การสร้างความเชื่อใหม่จึงเป็นสิ่งที่ยาก ผู้คนรอบข้างจึงเป็นปัจจัยอีกอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้เราสร้างความเชื่อใหม่ๆได้

นางสาวชนิกานต์ รอดขวัญ รหัส6110410136 ชั้นปีที่ 2 คณะพยาบาลศาสตร์ sec031.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง ?-เราทุกคนมีความเชื่อที่แตกต่างกันไป เกิดได้จากหลายๆอิทธิพล เช่น ครอบครัว สังคม ศาสนา เป็นต้น สิ่งเหล่านี้คือปัจจัยส่วนหนึ่งที่หล่อหลอมจนเกิดเป็นความเชื่อ และความเชื่อก็มีผลต่อการดำรงชีวิตของเรา การที่เรายอมรับว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้อง เราควรจะต้องวิเคราะห์ในความเชื่อนั้นๆว่ามีความเป็นเหตุเป็นผลมากแค่ไหน มีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด อาจหาข้อเท็จจริงมาสนับสนุนเพื่อให้ความเชื่อนั้นมีความถูกต้อง แยกแยะในสิ่งที่ควรจะเชื่อ และต้องไม่ไปทำลายความเชื่อของผู้อื่นด้วยเช่นกัน2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?-การที่เราจะสร้างความเชื่อใหม่ให้มาแทนที่ความเชื่อเก่านั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเรากระทำสิ่งนั้นมาโดยตลอดและทำให้เรายึดสิ่งนั้นว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องเสมอ ถ้าหากจะให้เราเปลี่ยนแปลงความเชื่ออย่างแรกที่เราต้องคิดคือเราต้องประเมินตนเอง รับรู้ตนเองว่า พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเรานั้น เป็นพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์อย่างไร และความเชื่อใหม่ดีหรือถูกต้องกว่าความเชื่อเก่าอย่างไร ถ้าเราจะเปลี่ยนไปเชื่อสิ่งใหม่เราก็ควรจะเริ่มปรับเปลี่ยนความเชื่อไปที่ละน้อยๆ เพื่อไม่ให้เรารู้สึกว่ามันเป็นการบังคับให้เชื่อสิ่งที่ต้องการเชื่อในสิ่งใหม่ ความเชื่อเปลี่ยนได้แค่ต้องใช้เวลา

1.แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องในความคิดของดิฉันการที่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องเราต้องเริ่มรู้ถึงความหมายของคำว่า ความเชื่อก่อน ความเชื่อ (อังกฤษ: belief) หมายถึง การยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริง หรือมีการดำรงอยู่จริง โดยอาศัยประสบการณ์ตรง การไตร่ตรอง หรือการอนุมาน ทั้งนี้ทั้งนั้นความเชื่อที่จริงเเล้วจะถูกหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของเเต่ละคน เเละผ่าการเรียนรู้ รับฟัง เเละเข้าใจที่ไม่เหมือนกัน หากต้องการรู้ว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกหรือผิดก็ให้ถามผู้รู้ สืบค้นจากในหนังสือ หาอ้างอิงต่างๆมาสนับสนุนว่าความเช่อเรานั้นถูกต้อง2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม” ่เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไรเริ่มจากการสำรวจตัวเราเองว่าเรามีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์หรือไม่ ถ้าหากมีเเละมันเป็นสิ่งที่ไม่ดีเเละไม่ควรปฎิบัติ เราก็ต้องเริ่มจากการเปลี่ยนความคิด เปิดใจให้กว้าง อย่ามีอคติกับความเชื่อเก่าที่เราปฎิบัติหรือทำตามกันมา ยอมรับความเชื่อใหม่ทีละเล็กทีละน้อย เเละอย่างไรก็ตามเเม้ว่าความเชื่อใหม่จะดีมากขนาดไหนเราก็ยังคงต้องใช้เวลาเสมอ ให้เวลากับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างช้าๆ รวมทั้งการคิดในเเง่บวกจะช่วยทำให้เราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเราได้

ความเชื่อเกิดจากสิ่งที่ปลูกฝังเรามาตั้งแต่เด็กๆ สิ่งที่ครอบครัวสั่งสอนมาแต่เด็ก สภาพแวดล้อมที่เจอล้วนบ่มเพาะกลายเป็นความเชื่อที่ฝั่งอยู่ในจิตสำนึกของเรา แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าความเชื่อมันดีหรือเปล่า ดีในที่นี้คือดีต่อตัวเราเอง ทำให้เรามีความสุขกับชีวิตสามารถพัฒนาตัวเองดีขึ้น ดีต่อคนรอบข้างคือไม่สร้างความเดือดร้อนรำคาญใจให้กับผู้อื่นและอยู่ในขอบเขตไม่ผิดศีลธรรมกฎหมายที่มีไว้ จึงจะถือเป็นความเชื่อที่ดี ส่วนในกรณีที่เราจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเราเราจะสร้างความเชื่อใหม่ให้เข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่าโดยเริ่มจากเปลี่ยนmindsetในหัวเปิดใจรับสิ่งใหม่ๆเรียนรู้ให้ทันโลกปัจจุบันหากความเชื่อใหม่ที่จะเข้ามาแทนที่นั้นมันดี เราก็ควรที่จะเปลี่ยนเพราะความเชื่อเป็นผลมาจากความคิดและพฤติกรรมการดำรงชีวิต ถ้าเราเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมการดำรงชีวิตความเชื่อเดิมก็จะเปลี่ยนความเชื่อใหม่ก็จะเข้ามาแทนที่. น.ส.บุญฑริกา. วิจะสิกะ

ดิฉันนางสาวกฤษติการ์ ศรีชอุ่ม รหัสนักศึกษา 6110410128 ชั้นปีที่2 section031.แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องความเชื่อเป็นสิ่งที่ไม่มีผิดไม่ถูก แต่ละคนก็จะมีความเชื่อที่แตกต่างกันออกไปซึ่งความเชื่อเป็นสิ่งที่วัดไม่ได้ว่าถูกหรือผิด บางคนอาจจะมีความเชื่อที่ผิดแต่สำหรับเขาความเชื่อนั้นอาจจะเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วความเชื่ออาจจะเป็นสิ่งที่ถูกหรือผิดก็ได้ ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นความจริงที่ตรงตามหลักเหตุผลหรือหลักวิทยาศาสตร์ใดๆ แค่ความเชื่อของเราไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่นก็พอ โดยความเชื่ออาจจะเกิดจากประสบการณ์ตรง เป็นความเชื่อที่บุคคลได้ประสบมาด้วยตนเอง อาจจะด้วยความบังเอิญ เป็นเรื่องของธรรมชาติ หรือมีผู้ทำให้เกิดขึ้นก็ตาม ทั้งนี้อาจจะเป็นจริงหรือไม่เป็นจริงก็ได้ หรืออาจจะเกิดจากการที่ได้ปฏิบัติสืบต่อๆ กันมาของคนรุ่นก่อน ดังนั้นโดยส่วนตัวจึงคิดว่าความเชื่อไม่มีผิดไม่มีถูก2.ในกรณีที่เราต้องการที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้างความเชื่อใหม่ให้มาแทนความเชื่อเก่าได้อย่างไรสิ่งที่ทำให้เราเปลี่ยนความเชื่อได้อาจจะเกิดจากประสบการณ์โดยการเจอเหตุการณ์ที่คัดค้านกับความเชื่อเดิมอย่างเช่นเมื่อกระทำแล้วทำให้ไม่เป็นที่ยอมรับในสังคมหรือสร้างความเสียหายและอาจจะทำให้เสียโอกาสในการกระทำต่างๆได้ การรู้จักใช้เหตุและผลในการวิเคราะห์ความเชื่อของตนเอง

  1. มนุษย์ทุกคนมีความแตกต่างกันเพราะทีจุดเริ่มต้นที่ไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นนิสัย ครอบครัว สภาพแวดล้อม สังคม และการศึกษาที่มีความหลากหลาย ดังนั้นแต่ละคนจึงมีความคิด ความเชื่อและพฤติกรรมที่ต่างกัน ซึ่งความเชื่อเป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ บางสิ่งบางอย่างที่มนุษย์คิดว่าความคิด ความเชื่อและพฤติกรรมตั้งแต่เดิมนั้นถูกต้องแล้ว แต่เมื่อเปิดใจและได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อาจจะเปลี่ยนความคิด ความเชื่อใหม่ แต่ไม่ได้เป็นกับมนุษย์ทุกคน บางคนก็อาจจะยังคิด และเชื่อแบบเดิม ขึ้นอยู่กับเรื่องแต่ละเรื่อง หรือประสบการณ์ เพราะบางสิ่งบางอย่างยิ่งหาประสบการณ์หรือเรียนรู้ อาจจะทำให้คิดว่าความคิด ความเชื่อและพฤติกรรมที่มาแต่เดิมนั้นถูกต้อง
  2. หากต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างให้ความเชื่อใหม่เข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่า ต้องเปิดใจให้กว้างกับความเชื่อใหม่ๆ แต่ก่อนเที่จะเชื้อกับความเชื่อใหม่นั้นต้องเกิดจากการทดลอง พิสูจน์ว่าความเชื่อใหม่นั้นดีกว่าความเชื่อเดิมอย่างไร หาข้อมูล เหตุผล และหลักฐานมาสนับสนุนความเชื่อใหม่ แล้วนำมาประเมิน วิเคราะห์ ไตร่ตรอง และเปรียบเทียบระหว่างความเชื่อใหม่กับความเชื่อเดิม เมื่อเห็นถึงความแตกต่าง แล้วมาเปลี่ยนแปลงเพื่อให้การเปลี่ยนไปในทางที่ดี
      ความเชื่อมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ อยู่คู่กับมนุาย์มาอย่าวยาวนาน ความยาวนานที่กล่าวขึ้นมานั้นค่อยๆหล่อมหลอมทำให้เกิดความเชื่อขึ้นมา เช่นการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติก็สามารถกำเนิดเป็นความเชื่อได้ คนในอดีตเปรียบเป็นการดลบันดาลจากเทวดาฟ้าดิน แต่เมื่อยุคสมัยแปรเปลี่ยน ความเชื่อทั้งหลายค่อยๆเปลี่ยนตามกาลเวลา ซึ่งหมายถึงความเชื่อในอดีตปัจจุบันอาจจะไม่ได้มีการยอมรับนับถือมากนักเมื่อเทียบกับเมื่อก่อน นับว่าเวลาที่เปลี่ยนแปลงไปก็เป็นอีกเหตุผลที่ทำให้ความเชื่อเราเปลี่ยนแปลงตาม บางอย่างเป็นเหตุการณ์ที่อำนวยประโยชน์ แต่บางเหตุการณ์ก็เป็นอันตรายต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์ มนุษย์จึงพยายามที่จะคิดหาวิธีการที่จะก่อให้เกิดผลในทางที่ดี และเกิดความสุขให้กับตนเอง ทำให้เกิดเป็นแนวทางปฏิบัติที่เป็นพิธีกรรม หรือศาสนาเกิดขึ้น แต่หากถามถึงความเชื่อที่เรานับถืออยู่ว่ามีความถูกต้องมั้ย ต้องพูดถึงวิธีการที่นำมาเป็นกฎเกณฑ์ในการวัดว่าอะไรถูกไม่ถูก เนื่องจากในแต่ละสังคมนั้นความถูกผิด ดีชั่วนั้น แตกต่างกัน      การที่เราจะสร้างความเชื่อใหม่ให้มาแทนที่ความเชื่อเก่าได้นั้น เราต้องมีความเชื่อมั่นในเรื่องใหม่และความเชื่อในเรื่องใหม่นั้นต้องมีน้ำหนักและเป็นเหตุเป็นผลมากพอที่จะมาแทนเรื่องเก่าได้ก่อน ซึ่งความเชื่อที่ดีจะเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดที่ดีและพฤติกรรมที่ดี ซึ่งในส่วนของความคิดที่ดีนั้นเราน่าจะประเมินตัวเองได้ว่าเรามีความคิดที่ดีหรือไม่หรือถ้ามีความคิดที่ไม่ดีแต่มันไม่ได้ไปเบียดเบียนผู้อื่นก็อาจจะไม่ค่อยส่งผลกระทบอะไรนัก แต่เราก็เชื่อสิ่งใหม่เเทน การรับความเชื่อใหม่ๆนั้นคือการเปิดโลกทัศน์ใหม่ให้กับตัวเอง ไม่จมปลักอยู่กับความเชื่อเดิมๆ ซึ่งเราเห็นด้วยว่าบางทีเราอาจจะไม่ต้องเชื่อในสิ่งเดิมๆ เชื่อในสิ่งใหม่ๆและเปิดใจกับมัน มันอาจจะดีว่ากว่าความเชื่อเก่าที่เรามีอยู่เดิมก็ได้

1.ความเชื่อเป็นสิ่งที่คาดว่ามีอยู่ในมนุษย์ทุกคนและมนุษย์ทุกคนล้วนแต่มีความเชื่อที่ต่างกันออกไป ความเชื่อนั้นมีมาตั้งแต่มนุษณ์สมัยโบราณที่เชื่อว่าสิ่งที่เกิดขึ้นหรือเหตุการณ์ทางธรรมชาติต่างๆ ทั้งเกิดผลดีและไม่ดีต่อการดำรงชีวิตเป็นผลมาจากเทพเจ้า เทวดา ความเชื่อส่งผลให้เกิดการปฏิบัติจนเกิดเป็นพิธีกรรมต่างๆ โดยความเชื่อในรุ่นก่อนๆก็ยังมีอยู่ในปัจจุบัน ความเชื่อเป็นการยอมรับว่าเป็นความจริงไม่ว่าจะด้วยหลักเหตุผลหรือหลักวิทยาศาสตร์ใดๆ ความเชื่อคนเรานั้นมีหลายเรื่อง บางเรื่องพิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นความจริงได้ บางเรื่องก็พิสูจน์ไม่ได้ และเราไม่สามารถวัดได้ว่าความเชื่อไหนถูกความเชื่อไหนผิด ส่วนตัวคิดว่าความเชื่อที่ถูกนั้นสิ่งสำคัญเลยต้องพิสูจน์ได้ด้วยหลักวิทยาศาสตร์เพราะเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงมันได้ แต่ความเชื่อไหนที่ใช้หลักวิทยาศาสตร์ไม่ได้ ก็จะใช้หลักเหตุผลหรือการเห็นว่าเป็นสิ่งที่สมควรที่ตัวเองและคนอื่นๆยอมรับได้ ความเชื่อบางเรื่องทำให้คนงมงายแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าความเชื่อนั้นต้องผิดเสมอไป มันมีมาเพื่อให้คนที่เชื่อเกิดความสบายใจ เป็นผลมาจากประสบการณ์โดยตรงหรืออาจเป็นสิ่งที่ฟังต่อๆกันมา2. ความเชื่อถูกฝังอยู่ในความคิดของมนุษย์เป็นเวลานาน หากว่าเราจะเปลี่ยนพฤติกรรรมความเชื่อคงเป็นไปได้ยาก นอกจากว่าความเชื่อที่มีมานั้นถูกเปลี่ยนโดยการพิจารณาหาเหตุผลถึงความเชื่อนั้นว่าเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด ต้องใช้หลักความคิดและความรู้ที่มีหาความจริงที่เป็นไปได้ หรืออาจจะประสบการณ์ตรง และเหตุการณ์อื่นๆที่พบเจอ แล้วค่อยๆปรับตัวกับพฤติกรรมความเชื่อจนกลายเป็นความเชื่อใหม่ขึ้นมา

1.แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องในความคิดของดิฉันการที่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องเราต้องเริ่มรู้ถึงความหมายของคำว่า ความเชื่อก่อน ความเชื่อ (อังกฤษ: belief) หมายถึง การยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริง หรือมีการดำรงอยู่จริง โดยอาศัยประสบการณ์ตรง การไตร่ตรอง หรือการอนุมาน ทั้งนี้ทั้งนั้นความเชื่อที่จริงเเล้วจะถูกหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของเเต่ละคน เเละผ่าการเรียนรู้ รับฟัง เเละเข้าใจที่ไม่เหมือนกัน หากต้องการรู้ว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกหรือผิดก็ให้ถามผู้รู้ สืบค้นจากในหนังสือ หาอ้างอิงต่างๆมาสนับสนุนว่าความเช่อเรานั้นถูกต้อง2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม” ่เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไรเริ่มจากการสำรวจตัวเราเองว่าเรามีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์หรือไม่ ถ้าหากมีเเละมันเป็นสิ่งที่ไม่ดีเเละไม่ควรปฎิบัติ เราก็ต้องเริ่มจากการเปลี่ยนความคิด เปิดใจให้กว้าง อย่ามีอคติกับความเชื่อเก่าที่เราปฎิบัติหรือทำตามกันมา ยอมรับความเชื่อใหม่ทีละเล็กทีละน้อย เเละอย่างไรก็ตามเเม้ว่าความเชื่อใหม่จะดีมากขนาดไหนเราก็ยังคงต้องใช้เวลาเสมอ ให้เวลากับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างช้าๆ รวมทั้งการคิดในเเง่บวกจะช่วยทำให้เราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเราได้

นางสาวกุลธิดา เเหลมม่วง รหัส6110410009 คณะพยาบาลศาสตร์ 1.แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องในความคิดของดิฉันการที่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องเราต้องเริ่มรู้ถึงความหมายของคำว่า ความเชื่อก่อน ความเชื่อ (อังกฤษ: belief) หมายถึง การยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริง หรือมีการดำรงอยู่จริง โดยอาศัยประสบการณ์ตรง การไตร่ตรอง หรือการอนุมาน ทั้งนี้ทั้งนั้นความเชื่อที่จริงเเล้วจะถูกหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของเเต่ละคน เเละผ่าการเรียนรู้ รับฟัง เเละเข้าใจที่ไม่เหมือนกัน หากต้องการรู้ว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกหรือผิดก็ให้ถามผู้รู้ สืบค้นจากในหนังสือ หาอ้างอิงต่างๆมาสนับสนุนว่าความเช่อเรานั้นถูกต้อง2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม” ่เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไรเริ่มจากการสำรวจตัวเราเองว่าเรามีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์หรือไม่ ถ้าหากมีเเละมันเป็นสิ่งที่ไม่ดีเเละไม่ควรปฎิบัติ เราก็ต้องเริ่มจากการเปลี่ยนความคิด เปิดใจให้กว้าง อย่ามีอคติกับความเชื่อเก่าที่เราปฎิบัติหรือทำตามกันมา ยอมรับความเชื่อใหม่ทีละเล็กทีละน้อย เเละอย่างไรก็ตามเเม้ว่าความเชื่อใหม่จะดีมากขนาดไหนเราก็ยังคงต้องใช้เวลาเสมอ ให้เวลากับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างช้าๆ รวมทั้งการคิดในเเง่บวกจะช่วยทำให้เราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเราได้

นายรุซลาน ผอมเกื้อ. 6110410083 คณะพยาบาลศาสตร์1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?ความเชื่อและเป็นสิ่งที่เกิดจากความคิดที่ส่งผลต่อความเชื่อ ซึ่งออกมาจากจิตใจด้านในของแต่ละบุคคลซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลการที่เราจะเชื่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งเราต้องคิดวิเคราะห์ แยกแยะ และไตร่ตรองให้ถูกต้องว่าสิ่งที่เราจะเชื่อนั้นถูกต้องหรือไม่ ซึ่งสะสมมาจากประสบการณ์ที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคลซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมาจากพฤติกรรมและการเรียนรู้การเลี้ยงดูจากบุคคลในครอบครัวก็เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อความเชื่อ เช่น เราจะชื่ออะไร นับถือศาสนาอะไร ก็เป็นผลมาจากครอบครัวโดยตรง เป็นต้น และสังคมและคนรอบข้างก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเชื่อของบุคคลนั้นๆด้วย2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเราเราจะสร้างความเชื่อใหม่ให้เข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่าได้อย่างไร? ตอบ เราจะต้องตรวจสอบความเชื่อใหม่ที่เข้ามากับความเชื่อเคราะเก่า โดยเปรียบเทียบว่าความเชื่อไหนดีกว่ากันโดยใช้วิจารณญาณและสอบถามจากผู้ปกครองหรือบุคคลใกล้ชิดว่าความเชื่อนี้เหมาะสมหรือไม่ประกอบการตัดสินใจว่าจะเชื่อหรือไม่ และการตัดสินใจที่จะเชื่อจะต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักการและเหตุผลที่จะเชื่อว่าความเชื่อใหม่มีความมีความน่าเชื่อถือเพียงพอ การจะเปลี่ยนแปลงความเชื่อจากความเชื่อเก่าเป็นความเชื่อใหม่นั้นเป็นสิ่งที่ไม่ผิดในความคิดของผม ซึ่งทุกอย่างที่เราจะเชื่อนั้นต้องเป็นสิ่งที่สามารถพิสูจน์ได้จากนามธรรมและรูปธรรมต่างๆการเชื่อสิ่งต่างๆจะต้องไม่ทำความเดือดร้อนให้กับคนรอบข้างและจะต้องเชื่อแล้วได้รับจากคนรอบข้างและเชื่อแล้วสามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันกับคนรอบข้างและคนในสังคมอย่างมีความสุข

นายกริศภณ ธาระบุญ 6110410004 พยาบาลศาสตร์ตอน 031. พิจารณาถึงความเชื่อว่าถูกต้องหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาจากบุคคลภายนอก กล่าวคือบุคคลไม่สามารถพิจารณาว่าความเชื่อนั้นถูกต้องหรือไม่ถูกต้องได้อย่าง 100% ความเชื่อที่เราเชื่อนั้นต้องถูกพิจารณาจากคนอื่น โดยขึ้นอยู่กับหลายเหตุปัจจัย เช่น ความเชื่อในสังคมนั้นนั้น ได้รับการยอมรับมากน้อยเพียงใด ความเชื่อนั้นส่งผลกระทบกับคนในสังคมเช่นไร ศาสนา คติ ยกกรณีตัวอย่างได้เช่น บุคคลเชื่อว่าการทำแท้งถูกต้อง ในสังคมหนึ่งเช่นอเมริกาในบางรัฐ อนุญาตมีการทำแท้งได้อย่างถูกกฎหมายและเสรี คนในรัฐให้การยอมรับว่าการทำแท้งเป็นที่ยอมรับได้ ทั้งในกรณีคุกคามต่อชีวิตและในกรณีที่ไม่คุกคามต่อชีวิต แต่หากพิจารณาความเชื่อเหลือในบริบทของสังคมไทย จะพบได้ว่าความเชื่อดังกล่าวไม่ถูกต้องและไม่ได้รับการยอมรับ จึงกล่าวโดยสรุปได้ว่า การตัดสินความเชื่อนั้น ขึ้นโดยตรงกับบุคคลกลุ่มของสังคมที่บุคคลอาศัยอยู่ ทั้งนี้ความเชื่อที่ผิดอาจจะกลายมาเป็นความเชื่อที่ถูก และความเชื่อที่ผิดอาจกลายเป็นความเชื่อที่ถูก เมื่อความเชื่อนั้นได้รับการพิสูจน์และเป็นที่ยอมรับในสังคม2. การเปลี่ยนถ่ายระหว่างความเชื่อเก่ามาเป็นความเชื่อใหม่ในระดับบุคคล มักเป็นไปได้ยาก เนื่องจากความเชื่อเก่าส่งผลให้เกิดเป็นพฤติกรรมที่ปฏิบัติเป็นปกติ การจะเปลี่ยนมาใช้ชุดความเชื่อใหม่นั้น จึงจำเป็นที่จะต้องส่งผลกระทบรุนแรงหรือร้ายแรงต่อบุคคล เมื่อยังคงปฏิบัติพฤติกรรมในความเชื่อเก่าอยู่ ขั้นตอนนี้เป็นการชี้ให้เห็นถึงผลเสียที่จะได้รับหากไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทฤษฎี The transtheoretical model of behavior change ที่มักใช้กันในงานสาธารณสุข

นางสาวญันนะฮ์ บาราเฮง รหัสนักศึกษา 6110410144 คณะพยาบาลศาสตร์1) แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง คำตอบ : สำหรับตัวดิฉันความเชื่อเป็นสิ่งที่ยากจะเปลี่ยนแปลงและมีมาตั้งแต่กำเนิดทั้งนี้หากจะรู้ว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้องหรือไม่ก็ต้องขึ้นอยู่กับสัญชาตญาณ ความคิด และวุฒิภาวะของคนๆหนึ่งในการคิดไตร่ตรองถึงความสมเหตุสมผลของความเชื่อนั้นๆ เช่น หากคนๆหนึ่งมีวุฒิภาวะเพียงพอ ก่อนที่เขาจะตัดสินใจเชื่อหรือสร้างความเชื่อในจิตใจของตนเอง ว่าคนๆหนึ่งที่เขาต้องการตัดสินว่าเป็นคนดีหรือไม่ดี เขาก็สมควรที่จะใช้วุฒิภาวะที่มีในการคิด รวบรวม และวิเคราะห์ความน่าจะเป็นในการที่จะตัดสินใจเชื่อ หากเขามีวุฒิภาวะไม่เพียงพอเมื่อได้รับข้อมูลมาจากแหล่งใดแหล่งหนึ่งแล้วข้อมูลดังกล่าวระบุไว้ว่าเขาคนนั้นเป็นคนไม่ดีแล้วเราปักใจเชื่อแล้วสร้างความคิดที่ผิดๆให้ตนเองทำให้เรารู้สึกไม่ดีหรือเกลียดเขาคนนั้นขึ้นมาในท้ายที่สุด สรุป คือ เราจะรู้ว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องได้ด้วยการใช้วุฒิภาวะและความคิดในการตัดสินใจว่าความเชื่อนั้นถูกหรือผิด2)ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?ตอบ ได้โดยการหาข้อมูล ข้อมูลที่เราได้หามายิ่งมีจำนวนมากก็ยิ่งมีผลทำให้เราเปลี่ยนแปลงความเชื่อเราได้มาก ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรามีความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับการดื่มน้ำในหนึ่งวันว่า ทำไมเราต้องดื่มน้ำมากๆในหนึ่งวันยิ่งดื่มมากยิ่งปวดปัสสาวะมาก ทำให้เรารู้สึกรำคาญเพราะขัดจังหวะในการทำกิจกรรมหรือการเรียนของเรา หากเราได้ทำการหาข้อมูลทั้งทางหนังสือ อินเทอร์เน็ต หรือผู้เชี่ยวชาญเราก็จะได้รู้ว่าแท้จริงแล้วการดื่มน้ำในปริมาณมากในหนึ่งวันส่งผลดีต่างๆมากมายมากกว่าผลเสียเสียด้วยซ้ำ เช่น ช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย ช่วยรักษาสมดุลในร่างกาย ช่วยให้ผิวหนังชุ่มชื้นและอื่นๆอีกมากมาย ทั้งนี้เมื่อเรามีข้อมูล/ความรู้เราก็จะเปลี่ยนความคิดและทัศนคติทันทีทันใด

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? โดยส่วนตัวแล้วดิฉันคิดว่า ความเชื่อนั้นไม่มีถูกหรือว่าผิด ไม่อาจตัดสินได้ เพราะว่า คนเราต่างก็คิดว่าสิ่งที่ตัวเองเชื่อนั้นถูกต้อง เนื่องจากคนเรามีความเป็นปัจเจกบุคคล คนเราโตมาต่างพ่อแม่ ต่างครอบครัว ต่างสภาพแวดล้อม ต่างศาสนาและวัฒนธรรม และต่างการศึกษา ทำให้มีมุมมองในการคิดที่ต่างกัน เลยเกิดความเชื่อไม่เหมือนกัน เช่น คนที่เชื่อว่าผีมีจริง กับ คนที่เชื่อว่าผีไม่มีจริง โดยส่วนตัวคิดว่าความเชื่อที่ถูกหรือผิดนั้นจะดูจากผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตนเองและคนรอบข้างมากกว่า หากว่าความเชื่อของเรานั้นไม่ได้ไปมีผลทำให้ชีวิตของเราหรือของคนอื่นเดือดร้อน และความเชื่อนั้นทำให้ชีวิตของเราดี ดิฉันก็จะมองว่าความเชื่อนั้นถูกต้อง ส่วนความเชื่อไหนที่ไปเบียดเบียนทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ดิฉันก็จะมองว่าความเชื่อนั้นผิด และอาจควรปรับปรุงแก้ไข ซึ่งการจะมองว่าความเชื่อนั้นถูกหรือผิดนั้นค่อนข้างยากและต่างกันออกไป ดังที่กล่าวมาข้างต้น เพราะคนเรานั้นมีอิสระในความคิดและความเชื่อกันทั้งนั้น ซึ่งก็จะแตกต่างกันตามปัจจัยต่างๆ2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่”ให้เข้ามาแทนที่ “ ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?กรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ โดยที่เราต้องการจะเปลี่ยนความเชื่อเก่า ให้เป็น ความเชื่อใหม่ ได้นั้นเราต้องเข้าใจก่อน ว่าความเชื่อเก่าของเรานั้น ผิดยังไง ทำไมเราจึงต้องเปลี่ยนความเชื่อนั้น สิ่งนี้ได้ไปเบียดเบียนใครเขาหรือเปล่า และมองดูความเชื่อใหม่ว่าดีอย่างไร มีประโยชน์ต่อตัวเราไหม เมื่อเราคิดว่าดีแล้วที่จะเปลี่ยน เราก็ต้องค่อยๆเปลี่ยนความเชื่อเก่าไปทีละนิดๆ เพราะการที่จะเปลี่ยนความเคยชินนั้นเป็นเรื่องที่ยาก แล้วจากนั้นเราก็จะค่อยๆแทรกความเชื่อใหม่เข้าไปทีละน้อย อาศัยเวลาทำให้เราเปลี่ยนความเชื่อได้ จนในที่สุด เราก็จะสามารถเปลี่ยนความเชื่อเก่าให้เป็นความเชื่อใหม่ได้ แล้วสุดท้ายเราก็จะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์นั้นได้เอง

ชื่อ นางสาวนูรไลลา กูแบบาเด๊าะ 6110410159 คณะพยาบาลศาสตร์ กลุ่ม 03 จากคำถามข้อแรกที่ว่า แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้อง? การที่คนเราจะรับรู้และทราบว่าความเชื่อของตนเองนั้นถูกต้องหรือไม่ จำเป็นที่จะต้องผ่านการคิดวิเคราะห์และพิจารณาปัจจัยสนับสนุนต่างๆหลายๆด้านหลายๆปัจจัย เพราะว่าการที่เรานั้นต้องคิดและพิจารณาปัจจัยในด้านต่างๆนั้นเพื่อที่จะหาสาเหตุว่าทำไมเราถึงมีความเชื่อว่าอย่างนั้น คิดพิจารณาหาถึงความเป็นไปได้ของความเชื่อที่เราเชื่อว่ามันถูกต้อง นอกจากนี้เราจะต้องพิจารณาถึงผลกระทบและประโยชน์ต่างๆหากว่าเราคิดว่าความเชื่อดังกล่าวนั้นถูกต้อง ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นเราต้องมีหลักฐานอ้างอิงเชิงประจักษ์ที่จะนำมาสนับสนุนความเชื่อของตนเองได้ รวมถึงการเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น รวมไปถึงรับฟังประสบการณ์จากผู้ที่มีความรู้และความสามารถในด้านที่เรานั้นมีความสนใจและมีความเชื่อว่าถูกต้องนั้น ก็จะสามารถนำมาสนับสนุนควบคู่ไปกับการใช้หลักฐานอ้างอิงได้เช่นเดียวกัน จากข้อความข้างต้นทั้งหมดนั้นทำให้ทราบว่าการคิดว่าความเชื่อของเรานั้นจะถูกต้องหรือไม่ต้องขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของตัวเราเองที่อยู่บนพื้นฐานของความจริงและความเป็นไปได้ และต้องไม่ทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่น และจากคำถามข้อสองที่ถามว่า ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง ‘‘ความเชื่อใหม่’’ ให้เข้ามาแทนที่ ‘‘ความเชื่อเก่า’’ ได้อย่างไร? ในการที่จะสร้าง ความเชื่อใหม่ ให้เข้ามาแทนที่ ความเชื่อ เก่านั้นสามารถกระทำได้ด้วยกันหลากหลายวิธีตัวอย่างเช่น 1.การตั้งข้อสงสัยว่าทำไมความเชื่อเดิมของเรานั้นจึงไม่ถูกต้องซึ่งนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านความเชื่อ 2.การเปิดใจรับฟังความคิดเห็นหรือประสบการณ์ต่างๆจากผู้อื่น เพราะมนุษย์ของเรานั้นจะต้องมีการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ชีวิตหลายๆด้านในชีวิตแล้วนำมาปรับใช้ มาปรับพฤติกรรม เราจึงสามารถนำประสบการณ์ด้านที่เหมาะสมมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านความเชื่อของเราได้ การศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลและข้อเท็จจริงจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่เป็นที่ยอมรับและน่าเชื่อถือ ก็สามารถนำมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านความเชื่อได้เหมือนกัน จากข้อความที่กล่าวมานั้นสรุปได้ว่าความเชื่อนั้นอาจจะต้องอาศัยวิจารณญาณในการค้นคว้าข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือให้ได้มากที่สุด

นางสาวสุวีรยา ศรีทวี 6110410199 คณะพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่2 กลุ่ม03

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? คำว่า “ความเชื่อ” มีความหมายอยู่หลายความหมาย ในความคิดของดิฉัน ความเชื่อคือ การยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริงหรือเป็นสิ่งที่เราไว้ใจ ความจริงหรือความไว้วางใจที่เป็นรูปของความเชื่อนั้น ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นความจริงที่ตรงตามหลักเหตุผลหรือหลักวิทยาศาสตร์ใดๆ คนที่เชื่อในฤกษ์ยามก็จะถือว่า วันเวลาการโคจรของดวงดาวจะก่อให้เกิดผลต่อตัวมนุษย์ คนที่เชื่อเครื่องรางของขลังก็จะมีความยึดมั่นว่า เครื่องรางของขลังให้คุณให้โทษแก่ตนได้จริง ตัวอย่างของความเชื่อ ได้แก่ ไสยศาสตร์ โหราศาสตร์ โชคลาง ของขลัง ผีสาง นางไม้ ความเชื่ออำนาจลึกลับ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งดิฉันคิดว่าความเชื่อของเเต่ละบุคคลนั้นไม่มีถูก ไม่มีผิดเพราะคนเราเกิดมาย่อมมีครอบครัว สังคม วัฒนธรรม หรือสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันไป ดังนั้นถ้าหากทุกคนมีความเชื่อที่แตกต่างกันก็ถือว่าไม่ใช่เรื่องผิดปกติ แล้วเราก็ไม่ควรนำความเชื่อของตนเองมาตัดสินว่าความเชื่อของคนอื่นนั้นผิด และการเชื่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ของเรา ก็ไม่ได้รับการตัดสินว่าถูกหรือผิดจากคนอื่นเช่นกัน ความเชื่อควรอยู่ในขอบเขตที่พอดี สุดท้ายถ้าเราเชื่อว่าความเชื่อของตัวเองนั้นถูกต้อง ก็ควรเชื่อต่อไป เเต่จะต้องไม่ส่งผลกระทบในด้านที่ไม่ดีทั้งต่อตัวเอง ครอบครัว สิ่งแวดล้อมและสังคม

2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?ความคิดเห็นส่วนตัวคิดว่าความเชื่อทุกความเชื่อสามารถเปลี่ยนแปลงได้หากแต่ความเชื่อที่เกิดขึ้นใหม่นั้นมีข้อมูลที่เป็นจริงมากกว่า มีความสมเหตุสมผล มีตรรกะ สามารถพิสูจน์ถึงความเชื่อที่เกิดขึ้นใหม่นั้นได้มากกว่าความเชื่อเก่าๆ ดังนั้นความเชื่อจึงไม่มีวันตายตัว อย่างเช่น สิ่งที่เราเชื่อว่าเป็นเรื่องจริงในวันนี้ อาจจะไม่ใช่ความเชื่อที่เป็นเรื่องจริงของวันพรุ่งนี้ก็ได้ เนื่องจากโลกของเราเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ความคิดทัศนคติที่มีต่อความเชื่อเดิมๆก็ย่อมเปลี่ยนแปลงไปได้ การที่เราจะสามารถสร้างความเชื่อใหม่แทนความเชื่อเดิมที่มีได้นั้นสิ่งสำคัญก็คือทัศนคติของตัวเราที่มีต่อความเชื่อใหม่ที่เกิดขึ้นรวมถึงสาเหตุที่มาที่ไปความจริงข้อพิสูจน์ต่างๆที่สามารถนำมาหักล้างของความเชื่อเดิมๆได้มากน้อยแค่ไหน สิ่งสำคัญอีกอย่างก็คือถ้าใจเรามีอคติต่อความเชื่อใหม่ๆสิ่งนี้เป็นอุปสรรค ทำให้เรากลายเป็นคนที่มีความคิดหรือมีความเชื่อแค่เรื่องเดิมๆสิ่งเดิมๆการเรียนรู้ใหม่ๆที่มาจากความเชื่อใหม่ๆความคิดหรือการกระทำใหม่ๆก็เกิดขึ้นได้ยากเหมือนกับเราตีกรอบความเชื่อไว้ซึ่งสิ่งนี้คือสิ่งสำคัญที่มีผลโดยตรงต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเราที่มีต่อความเชื่อได้

1.แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?คนเราเกิดมาล้วนได้รับการปลูกฝังที่แตกต่างกัน​ ข้อมูลตามความคิด สังคม​ วัฒนธรรม​ที่หลากหลาย​สิ่งแวดล้อม​จะหล่อหลอม​ให้เรามีความเชื่อแบบนั้นตามสภาพสังคมที่เราอยู่ โดยหากจะถามว่าความเชื่อที่เราได้รับนั้นจะถูกต้องได้อย่างไร ดิฉันคิดว่าหากคนจะเชื่อสิ่งใดก็ตามจะต้องมีการคิดวิเคราะห์ แยกแยะ มีเหตุผลจึงจะสามารถ​กรองข้อมูลเหล่านั้นเพื่อให้เราเชื่อในสิ่งนั้นๆแต่ความถูกต้องของความเชื่อล้วนมีเกณฑ์​ตัดสินใจที่แตกต่างกันตามลักษณะนิสัยสิ่งแวดล้อมของแต่ละบุคคล2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์​บางอย่างของเรา เราจะสร้าง‘‘​ความเชื่อใหม่’‘​ให้เข้ามาเเทนที่’‘​ความเชื่อเก่า’‘​ได้อย่างไร? หากเราจะเปลี่ยนความเชื่อเก่าของเรา คงต้องมีบางอย่างที่ทำให้เราคิดว่าความเชื่อของเราจากเดิมมันผิดไป หรือไม่ก็ไม่เหมาะตามยุคสมัย ก็คงต้องเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา แต่จะต้องมีหลักการ เหตุผล ความเหมาะสม ความถูกต้องของข้อมูลจึงจะสามารถทดแทนความเชื่อเก่าได้

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?เราสามารถรู้ได้จากการที่เราได้เจอเหตุการณ์นั้นๆ หรืออาจจะได้ยิน ได้เห็นมาจากบุคคลรอบๆตัวที่เราเชื่อถือเขา เช่น พ่อ แม่ หรืออาจจะได้จากการค้นคว้าหาข้อมูลมาจากสื่อต่างๆ เช่น อินเตอร์เน็ต นิตยสาร และนำมาผ่านกระบวนการแยกแยะของเราว่าสิ่งไหนเป็นสิ่งถูกต้อง หรือสิ่งไหนเป็นสิ่งผิดจากการวิเคราะห์สมเหตุสมผลจากความคิดของเรา2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?การสร้างความเชื่อใหม่มาแทนที่นั้นเป็นเรื่องที่ยาก ซึ่งการที่จะเปลี่ยนความเชื่อได้นั้น เราควรจะพิสูจน์ก่อนว่าความเชื่อเก่าของเรามันผิดจริง ผิดอย่างไร ควรเชื่อต่อไปอีกมั้ย หากพิสูจน์แล้วว่าความเชื่อเก่าของเรามันผิดจริง เราควรหาข้อมูลที่ถูกต้อง มีเหตุ มีผล มีน้ำหนักมากพอ และไม่ขัดแย้งต่อสิ่งที่เราคิด ต้องเป็นคำตอบที่เราสามารถยอมรับได้

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ส่วนตัวผมคิดว่าความเชื่อมาจากการกระทำ ประสบการณ์ที่เจอมา แล้วมันเกิดขึ้นจริง ตั้งอยู่จริง เกิดขึ้นแล้วมีผลตามมาเช่นนี้ๆ ทำให้เกิดความเข้าใจในสิ่งต่างๆ และเชื่อในผลของสิ่งที่กระทำ ซึ่งความเชื่อแบบนี้มีโอกาสถูกต้องสูงมากเพราะมันเกิดขึ้นแล้วมีอยู่จริง การที่คนๆหนึ่งจะเชื่อในเรื่องอะไรนั้น อยู่ที่ความคิดของบุคคลนั้นๆว่า จะยอมรับในสิ่งที่บอก หรือยอมรับในสิ่งที่เห็นได้หรือไม่ หากเป็นความคิดที่ได้การยอมรับแล้ว ก็จะเกิดความเชื่อขึ้น2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่”ให้เข้ามาแทนที่ “ ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?กรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ วิธีีการไม่ยากเลย การที่จะสร้างความเชื่อใหม่เข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่า ความเชื่อเก่าจะต้องมีส่วนที่ไม่น่าเชื่อถือเกิดขึ้น ความเชื่อเก่าไม่เป็นไปตามความเป็นจริง หรือตระหนักได้ถึงสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในความเชื่อเก่า ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความคิดเช่นกัน ถ้ามีความคิดที่ดี ยอมรับได้ เกี่ยวกับความเชื่อใหม่ ตระหนักรู้ถึงความเป็นได้ไป เราก็จะปักใช่ เชื่อในสิ่งนั้นๆไปเอง

1.เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องในความเชื่อของแต่ละคนนั้นหรือแม้กระทั่งความเชื่อของดิฉันเอง ดิฉันไม่สามารถตอบได้ว่าความเชื่อนั้นถูกหรือผิด เพราะมันมีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลต่อความเชื่อของเรา บางคนอาจจะถูกผู้ใหญ่ปลูกฝังความเชื่อในสิ่งต่างๆมาตั้งแต่เด็กซึ่งก็ไม่ผิดถ้าความเชื่อนั้นไม่ส่งผลกระทบต่อผู้อื่น เราทุกคนมีสิทธิที่จะตัดสินใจเชื่อในความเชื่อต่างๆได้ด้วยตัวของเราเอง หากความเชื่อนั้นทำให้เรามีความสุข ไม่สร้างปัญหาให้กับผู้อื่น เราก็จงเชื่อมั่นในความเชื่อนั้นต่อไป ถึงแม้คนอื่นจะมองว่าความเชื่อของเรานั้นผิด เราก็อย่าไปสนใจหรือกังวล เพราะมันเป็นความเชื่อของเรา ความเชื่อที่ทำให้เรามีความสุข โดยไม่ได้หวังว่าต้องมีใครมาเชื่อตามเรา2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง ความเชื่อใหม่ ให้มาทดแทนความเชื่อเก่า ได้อย่างไรการที่เราสร้างความเชื่อใหม่มาแทนที่ความเชื่อเก่านั้น ดิฉันมองว่าเป็นสิ่งที่ยากค่ะ เพราะเราได้คุ้นชินกับความเชื่อเก่าไปแล้ว แต่ถ้าหากเราต้องการที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราก็สามารถเปลี่ยนความเชื่อได้โดยไม่จำเป็นต้องลบความเชื่อเก่าทั้งหมดออกไป ในการที่เราจะสร้างความเชื่อใหม่นั้น เราต้องมองว่าข้อเสียหรือปัญหาของความเชื่อเก่านั้นคืออะไรร่วมกับการหาข้อดีและประโยชน์ของความเชื่อใหม่เพื่อที่จะเป็นเหตุผลและเป็นแรงจูงใจในการเปลี่ยนความเชื่อเดิมๆและเปิดใจยอมรับในความเชื่อใหม่

1.เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องในความเชื่อของแต่ละคนนั้นหรือแม้กระทั่งความเชื่อของดิฉันเอง ดิฉันไม่สามารถตอบได้ว่าความเชื่อนั้นถูกหรือผิด เพราะมันมีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลต่อความเชื่อของเรา บางคนอาจจะถูกผู้ใหญ่ปลูกฝังความเชื่อในสิ่งต่างๆมาตั้งแต่เด็กซึ่งก็ไม่ผิดถ้าความเชื่อนั้นไม่ส่งผลกระทบต่อผู้อื่น เราทุกคนมีสิทธิที่จะตัดสินใจเชื่อในความเชื่อต่างๆได้ด้วยตัวของเราเอง หากความเชื่อนั้นทำให้เรามีความสุข ไม่สร้างปัญหาให้กับผู้อื่น เราก็จงเชื่อมั่นในความเชื่อนั้นต่อไป ถึงแม้คนอื่นจะมองว่าความเชื่อของเรานั้นผิด เราก็อย่าไปสนใจหรือกังวล เพราะมันเป็นความเชื่อของเรา ความเชื่อที่ทำให้เรามีความสุข โดยไม่ได้หวังว่าต้องมีใครมาเชื่อตามเรา2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง ความเชื่อใหม่ ให้มาทดแทนความเชื่อเก่า ได้อย่างไรการที่เราสร้างความเชื่อใหม่มาแทนที่ความเชื่อเก่านั้น ดิฉันมองว่าเป็นสิ่งที่ยากค่ะ เพราะเราได้คุ้นชินกับความเชื่อเก่าไปแล้ว แต่ถ้าหากเราต้องการที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราก็สามารถเปลี่ยนความเชื่อได้โดยไม่จำเป็นต้องลบความเชื่อเก่าทั้งหมดออกไป ในการที่เราจะสร้างความเชื่อใหม่นั้น เราต้องมองว่าข้อเสียหรือปัญหาของความเชื่อเก่านั้นคืออะไรร่วมกับการหาข้อดีและประโยชน์ของความเชื่อใหม่เพื่อที่จะเป็นเหตุผลและเป็นแรงจูงใจในการเปลี่ยนความเชื่อเดิมๆและเปิดใจยอมรับในความเชื่อใหม่

นางสาวกัสมา คงหัด 6110410130 คณะพยาบาลศาสตร์ เซค 03 1.ความเชื่อเป็นสิ่งที่เราได้รับมาแต่กำหนดและถูกปลูกฝังหรือได้รับมาจากบรรพบุรุษของเรานั้นเอง ดิฉันเองในตอนเด็กก็ยังไม่เข้าใจหรอกว่าความเชื่อมันเป็นยังไงแต่ด้วยการที่เราได้รับฟังได้เรียนรู้ มันก็ทำให้เรายิ่งเข้าใจเกี่ยวกับความเชื่อนั้นมากยิ่งขึ้น ดิฉันคิดว่าเราไม่สามารถที่จะไปตัดสินใครหรือความเชื่อใดได้เลยหาเรานั้นยังไม่มีเหตุและผลที่เพียงพอ การที่คนๆหนึ่งจะเชื่อได้นั้นเขาก็ต้องมีเหตุผลที่จะเชื่อแบบนั้น และดิฉันคิดว่าความเชื่อสำหรับดิฉันนั้นมันทำให้การใช้ชีวิตของดีฉันนั้นมีเป้าหมาย มันเป็นสิ่งที่ค่อยเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจที่ดีมากเลยที่เดียว มันสอนให้ฉันกระทำในสิ่งที่ดีและละเว้นในสิ่งที่ไม่ดี จะพูดไปบางครั้งเราจะตัดสินไม่ได้ว่าความเชื่อนี้ไม่ดีหากบุคคลที่นำความเชื่อที่นั้นไปใช้ในทางที่ผิดไปฉะนั้นไม่ว่าเราจะเชื่ออย่างไร มีความต่างกับคนอื่นมากแค่ไหน การตัดสินโดยไร้เหตุผลหรือเชื่อแบบไร้เหตุผลย่อมต้องกลับไปคิดแล้วว่าเพราะอะไรเพราะอะไรเราถึงต้องเชื่อและตัดสินแบบนั้น 2.ดิฉันคิดว่าเราต้องดูก่อนว่าพฤติกรรมนั้นเกิดจากความเชื่อเก่าของเราจริงหรือเปล่าและมันเกิดจากอะไร และหากเราต้องเปลี่ยนความเชื่อใหม่แล้วมันเชื่อมโยงอย่างไรเราถึงต้องเปลี่ยน เพราะการจะปรับเปลี่ยนความเชื่อไม่ใช่ว่าจะเป็นเรื่องง่ายคิดวันนี้แล้วเปลี่ยนได้เลย กาลเวลามันก็เป็นสิ่งสำหรับ เมื่อเปลี่ยนไปแล้วก็ไม่รู้ว่าต้องถอยหลังกลับไหมแม้เราจะหาเหตุผลหรือข้อมูลสนับสนุนมากเพียงพอแล้วก็ตาม บางครั้งก็อาจจะต้องมีการลองพิสูจน์ดูว่ามันใช่หรือเปล่า ความเชื่อเป็นสิ่งมองไม่เห็นที่มันมีความสำคัญต่อชีวิตเราเป็นอย่างมากไม่ใช่เฉพาะแค่ด้านพฤติกรรมของเราอย่างเดี่ยวแต่ทุกอย่างมันมีการเชื่อมโยงกันทั้งหมดแบบองค์รวม ฉะนั้นการที่ปรับเปลี่ยนความเชื่อเพื่อสิ่งใดเราก็ควรใช้วิจารณญาณ มีการใช้เหตุใช้ผลและมีความครอบคลุมให้มากที่สุด ฉะนั้นจงใช้ชีวิตอย่างมีสติ

1.แล้วเราเชื่อได้อย่างไรว่า ความเชื่อที่เรามีมานั้น ถูกต้อง ? - ความเชื่อเกิดจาก ความคิด และประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ที่ได้ประสบพบเจอมา ดังนั้น ความเชื่อ ของแต่ล่ะบุคคลจึงไม่เหมือนกัน ความเชื่อจึงเป็นสิ่งที่ไม่มีผิดหรือถูก แต่ถ้าถามว่าความเชื่อที่มีมานั้น ถูกต้องหรือไม่ ก็ต้องดูว่า ความเชื่อนั้น ส่งผลให้ประพฤติปฏิบัติตัวไปทางแนวไหน หากปฏิบัติไปทางที่ถูกต้องตามหลักสังคม และไม่ทำให้ผู้อื่นและตัวเองเดือดร้อน และส่งผลดีขึ้นกับทั้งตัวเองและผู้อื่นด้วย ความเชื่อที่เรามีมานั้นก็เป็นความเชื่อที่ถูกต้องแล้ว

2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? -การจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา ก่อนที่จะเปลี่ยน ความเชื่อ อย่างแรกที่จะต้องเปลี่ยนคือ ความคิด เช่น การคิดว่าการกระทำพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเราส่งผลเสียอย่างไรบ้าง เมื่อคิดได้ ก็จะเกิดเป็นความเชื่อว่า ถ้าเราทำให้สิ่งใหม่ จะทำให้พฤติกรรมของเราเปลี่ยนไปด้วย ดังนั้น ดังนั้น การที่จะ ให้ความเชื่อใหม่ เข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่า จะต้องมีความคิดที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเราก่อน จากความเชื่อเก่าๆ ก็จะกลายเป็นความเชื่อใหม่ๆได้ หากต้องการพฤติกรรมอย่างจริงจัง

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง

ความเชื่อเป็นสิ่งที่ไม่มีการกำหนดหรือมีลายลักษณ์อักษรไว้ตายตัวถึงเรียกว่าความเชื่อ ดังนั้นความเชื่อจึงมีมากมายหลายหลาก ไม่ว่าจะแต่ละบุคคล แต่ละจังหวัด แต่ละภูมิภาค แต่ละประเทศ ก็ล้วนแต่มีความเชื่อเป็นของตนเอง แต่การที่จะรู้ได้ว่าความเชื่อนั้นถูกต้องหรือไม่ ก็ต้องอาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์มาช่วยตรวจสอบ มีเหตุผลรองรับ และเป็นที่ยอมรับในสังคม 

2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร

ความเชื่อเป็นสิ่งที่เราถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กๆ ซึ่งอาจจะเป็นที่จดจำสำหรับหลายคน ดังนั้นการที่จะสร้างความเชื่อใหม่มาแทนความเชื่อเดิมที่ติดตัวมา ดูเหมือนจะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่การทำความเข้าใจและเปิดใจที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ นับว่าเป็นวิธีที่เห็นผลได้ดีที่สุดไม่ว่าจะกับเรื่องอะไรก็ตาม รวมถึงเรื่องความเชื่อ หากเรายอมรับที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆได้ เราก็จะสามารถลบล้างเรื่องเก่าๆที่เราเคยเชื่อหรือเคยรู้มาก่อนได้ ขึ้นอยู่กับตัวเราเองว่าเราจะเปิดใจยอมรับสิ่งใหม่ที่จะเข้ามาได้มากน้อยเพียงใด

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ความเชื่อคือการยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริง หรือมีการดำรงอยู่จริง โดยอาศัยประสบการณ์ตรง ทั้งสังคมการอบรมเลี้ยงดู สำหรับความคิดของผมความเชื่อไม่มีคำว่าผิดหรือถูกมีแต่ความเชื่อที่ดีและไม่ดีขึ้นอยู่กับว่าความเชื่อนั้นส่งผลต่อเรา หรือผู้อื่นอย่างไร เพราะว่าคนเรามีความเชื่อที่มาจากประสบการณ์ที่ไม่เหมือนกัน ถ้าหากความเชื่อนั้นทำให้เกิดสิ่งดีทั้งต่อตัวเราเเละคนรอบข้าง สิ่งนี้ก็คือความเชื่อที่ดี แต่ถ้าหากเป็นความเชื่อที่ไม่เกิดประโยชน์อีกทั้งยังมีผลเสียมากมายต่อเราเเละคนรอบข้างสิ่งนี้ก็เป็นความเชื่อที่ไม่ดี 2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง ความเชื่อใหม่ ให้มาทดแทนความเชื่อเก่า ได้อย่างไร? อย่างแรกที่ต้องเปลี่ยนทัศนคติของตัวเรา โดยต้องยอมรับให้ได้ว่าการเปลี่ยนความเชื่อนั้นไม่ใช่สิ่งที่ผิด ถ้าหากคิดว่าความเชื่อเก่านั้นไม่พึงประสงค์ สองคือหาข้อมูลมาประกอบเพื่อเพิ่มเหตุผลในการเปลี่ยนความเชื่อ เช่นผลเสียที่จะตามมาถ้าหากเรายังมีความเชื่อแบบนี้ และสามปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในช่วงแรกๆอาจจะเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าหากปรับตัวได้ สิ่งนี้ก็จะเป็นผลดีกับตัวเรา

  1. แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ในความคิดของดิฉัน คิดว่าความเชื่อของแต่ละบุคคลไม่มีถูกมีผิด แต่ละคนมีสิทธิที่จะคิดและเชื่อได้ตามอิสระโดยที่ไม่มีการถูกครอบงำความคิดหรือบังคับให้เชื่อแบบใดแบบหนึ่งเพียงเท่านั้น โดยต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ไม่เบียดเบียนใครและไม่ทำให้ใครเดือดร้อน ทั้งนี้ การที่เราจะมีความเชื่อต่ออะไรสักอย่าง เราควรมีการไตร่ตรองข้อมูลก่อนเป็นอันดับแรกว่าน่าเชื่อถือหรือไม่ มีอะไรมายืนยันความถูกต้อง ในฐานะที่เป็นคนรุ่นใหม่และมีการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างหลากหลายช่องทาง ดังนั้น จึงควรมีทักษะในการแยกแยะข้อมูลที่น่าเชื่อถือและไม่น่าเชื่อถือ นอกจากนี้ การที่เราจะเชื่ออะไรสักอย่าง ควรเป็นสิ่งที่สามารถพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นได้ ไม่ควรเป็นอะไรที่ทำให้ตัวเองแย่ลงหรือด้อยลง เช่น เชื่อว่าการอ่านหนังสือจะทำให้สอบได้คะแนนดี มากกว่าที่จะนั่งไหว้พระ ทำสมาธิและไปสอบโดยที่ไม่ได้เตรียมตัวมาล่วงหน้า เป็นต้น

2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? สำหรับดิฉัน ดิฉันคิดว่าการสร้างความเชื่อเป็นเรื่องที่ยากที่สุด หากเราปักใจเชื่ออะไรสักอย่างแล้ว แสดงว่าสิ่งนั้นคือสิ่งที่เราคิดมาดีแล้วว่าจะดีสำหรับตัวเรา ดังนั้น การเปลี่ยนความคิดจึงทำได้ยาก แต่หากเราเริ่มได้รับผลของการปฏิบัติตัวตามความเชื่อแบบนั้นและได้รับผลเสียสำหรับเราอย่างเห็นได้ชัดและส่งผลอย่างร้ายแรงต่อเรา ดิฉันคิดว่าการเริ่มสร้างความเชื่อใหม่ๆจึงไม่ใช่สิ่งที่ยากจนเกินไป แต่คนส่วนมากมักไม่ทราบว่าความเชื่อของตนเป็นความเชื่อแบบผิดๆ และไม่พยายามที่จะปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้น จนกว่าจะได้รับผลจากการกระทำนั้น ดังเช่นสุภาษิตที่ว่า “ไม่เห็นโลงศพ ไม่หลั่งน้ำตา”

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง ความเชื่อเป็นสิ่งที่ไม่มีการกำหนดหรือมีลายลักษณ์อักษรไว้ตายตัวถึงเรียกว่าความเชื่อ ดังนั้นความเชื่อจึงมีมากมายหลายหลาก ไม่ว่าจะแต่ละบุคคล แต่ละจังหวัด แต่ละภูมิภาค แต่ละประเทศ ก็ล้วนแต่มีความเชื่อเป็นของตนเอง แต่การที่จะรู้ได้ว่าความเชื่อนั้นถูกต้องหรือไม่ ก็ต้องอาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์มาช่วยตรวจสอบ มีเหตุผลรองรับ และเป็นที่ยอมรับในสังคม 2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร ความเชื่อเป็นสิ่งที่เราถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กๆ ซึ่งอาจจะเป็นที่จดจำสำหรับหลายคน ดังนั้นการที่จะสร้างความเชื่อใหม่มาแทนความเชื่อเดิมที่ติดตัวมา ดูเหมือนจะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่การทำความเข้าใจและเปิดใจที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ นับว่าเป็นวิธีที่เห็นผลได้ดีที่สุดไม่ว่าจะกับเรื่องอะไรก็ตาม รวมถึงเรื่องความเชื่อ หากเรายอมรับที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆได้ เราก็จะสามารถลบล้างเรื่องเก่าๆที่เราเคยเชื่อหรือเคยรู้มาก่อนได้ ขึ้นอยู่กับตัวเราเองว่าเราจะเปิดใจยอมรับสิ่งใหม่ที่จะเข้ามาได้มากน้อยเพียงใด

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?ส่วนตัวดิฉันคิดว่า ความเชื่อ คือ ความคิดของมนุษย์ที่อยู่ภายใต้จิตใจเป็นสิ่งที่อาจจะได้มาจากประสบการณ์หรือการปลูกฝังจากคนรอบข้าง โดยความเชื่อของแต่ละบุคคลจะต่างกัน อันเนื่องมาจากพันธุกรรมและสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ความเชื่อทำให้ผู้คนเกิดการยอมรับ เกิดความแตกต่างและรวมไปถึงการดำเนินวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน นั่นเพราะความเชื่อมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิต ดังนั้นสิ่งที่ทำให้เรารับรู้ได้ว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง คือ ความเชื่อที่ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในการดำรงชีวิต ตัวเราเองก็ย่อมมั่นใจแล้วว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นถูกต้อง และคิดหาเหตุผลมารองรับเนื่องจากเรารับรู้แล้วว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นมีอยู่จริง และเหมาะสมกับเราจริๆง โดยผ่านการยอมรับพิจารณาไตร่ตรองจากหลายบุคคล นั่นคือเราผ่านการไตร่ตรองโดยความคิดก่อนจะเป็นความเชื่อ คิดว่าสิ่งนี้ถูกสิ่งนี้ดีกับตัวเรา จึงเชื่อว่าสิ่งนี้ดี โดยความเชื่อของเราต้องไม่มีผลทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อนหรือก่อให้เกิดผลเสีย และก่อให้เกิดความสุขสบายใจเมื่อได้ปฏิบัติตามความเชื่อที่มีอยู่

2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?หากเราต้องการที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมซึ่งนั่นหมายความว่าเราควรเริ่มจากแทนที่ความเชื่อเก่าด้วยความเชื่อใหม่ โดยเราต้องยอมรับกับตัวเองก่อนว่าความเชื่อเก่านั้นไม่ถูกต้องทำให้เรานั้นมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ และความเชื่อนั้นต้องได้รับการแก้ไข จากนั้นเราต้องเริ่มสร้างความคุ้นชินกับความเชื่อใหม่โดยปฏิบัติพฤติกรรมตามความเชื่อใหม่ซ้ำๆ แล้วจะเกิดความเคยชิน โดยการที่เราจะเชื่อในสิ่งใดนั้นไม่ใช่มาจากความเชื่อส่วนตัวเราเพียงสิ่งเดียว แต่เราต้องคิดต่อและหาเหตุในการรองรับความเชื่อ ดังนั้นแกนหลักในการสร้างความเชื่อใหม่คือการกำหนดจิตใจของเรา หากเรากำหนดจิตให้เชื่อได้พฤติกรรมของเราจะเปลี่ยนไปตามความเชื่อนั้นและเราจะสามารถแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ได้อย่างแน่นอน

ดิฉันนางสาวชลดา โอรามหลง รหัสนักศึกษา 6110410139 คณะพยาบาล1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง?สำหรับฉันแล้ว เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าความเชื่อที่เราเชื่อไปนั้น มันจะถูกต้องหรือเปล่า แต่ความเชื่อที่ถูกต้องนั้น ย่อมต้องเป็นความเชื่อที่ต้องส่งผลดีไม่กับเราก็ผู้อื่น เพราะถ้าเราเชื่อแล้วความเชื่อนั้นมันส่งผลไม่ดีต่อตัวเรา และส่งผลไม่ดีต่อผู้อื่น นั้นย่อมเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง เราต้องคิดพิจารณาให้ดีถึงความเชื่อ ว่ามันจะก่อให้เกิดปัญหาตามมาหรือเปล่า2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่”ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?เราต้องรู้ก่อนว่าความเชื่อใหม่ และความเชื่อเก่าของเราอะไรมันเป็นสิ่งที่ดี และคุ้มค่ากว่าเพื่อที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมไม่พึ่งประสงค์ของเรา ถ้าเกิดเราต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเราให้ดีขึ้น แล้วความเชื่อใหม่ของเราไม่ได้ส่งผลเสียใดๆ เราก็ควรที่จะเปลี่ยนมัน เพื่อผลลัพธ์ที่ดีกว่า แต่หากความเชื่อใหม่มันไปกันไม่ได้กับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เราก็ควรคิดพิจารณาใหม่ และลองหาความเชื่ออันใหม่ที่มันสอดคล้องกว่าและส่งผลดีกว่า ความเชื่อเดิมๆ

1.แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง-สำหรับตัวฉันเองเมื่อฉันเชื่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปแล้วนั้น การที่ฉันจะคิดว่าสิ่งที่ฉันเชื่อมันถูกต้องหรืออเปล่าฉันจะพิจารณาเพียงแค่ 50%เปอร์เซ็นต์ใน 100เพราะการที่ฉันจะเชื่อในสิ่งใดๆล้วนมาจากการที่เห็นพ่อ เห็นแม่ บุคคลรอบข้างทำอยู่ และเห็นภาพๆนั้น สถานการณ์เหล่านั้นมาตั้งแต่เด็กๆจึงเรียกได้ว่าความเชื่อของฉันที่ฉันคิดว่ามันถูกต้องก็คือการที่ฉันได้เห็น ได้ยิน และได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กจากบุคคลที่ฉันให้ความเชื่อใจและไว้วางใจ รวมถึงการที่ความเชื่อนั้นไม่เคยทำให้ฉันรู้สึกผิดหวัง เสียใจ หรือเดือดร้อนแก่ตนเอง และไม่จำเป็นต้องเป็นที่ยอมรับของใครๆทุกคนก้ได้ รวมถึงเวลาฉันทำอะไรต่างๆในด้านการใช้ชีวิต การเรียน ฉันจะใช้ความเชื่อของฉันมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการทำงาน ซึ่งฉันคิดว่ามันทำให้ฉันประสบความสำเร็จในด้านนั้นไปได้ จึงยิ่งทำให้ฉันแน่ใจว่าความคิดของฉันถูกต้องแล้ว

2.ในกรณีที่เราต้องการที่จะเปลี่ยนพติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง”ความเชื่อใหม่”ให้เข้ามาแทนที่”ความเชื่อเก่า”ได้อย่างไร?-ต้องยอมรับว่าฉันค่อนข้างจะเป็นคนที่เชื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ค่อนข้างง่าย แต่ไม่เคยเชื่อจนปักใจ ถ้าสิ่งนั้นยังไม่ได้มีผลกับชีวิตของฉันมากนัก แต่ถ้าเกิดว่าความเชื่อที่ฉันมีนั้นมันไม่ค่อยจะดีนักจนมีผลต่อพฤติกรรม ฉันคิดว่าการที่ฉันจะนำความเชื่อใหม่มาแทนที่ความเชื่อเดิมนั้นคือการที่ฉันได้เจอกับสถานการ์ที่ฉันคิดว่ามันเป็นอะไรที่แปลกใหม่ ไม่เคยเกิดขึ้นและไม่เคยเห็นมาก่อน จนถึงขั้นมีผลต่อจิตใจและชีวิตรวมถึงทำให้การมใช้ชีวิตของฉันดีขึ้น มีความสบายใจมากกว่าเดิม ฉะนั้นแล้วฉันจึงพยายามที่จะมองหาสิ่งใหม่ๆ ลองทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ สิ่งที่คิดว่าทำไม่ได้ทั้งๆที่ไม่เคยลงมือทำมันเลยสักครั้ง และในสักวันหนึ่งฉันอาจจะเปลี่ยนความคิดความเชื่อของฉันไปได้โดยการที่ฉันได้ลงมือทำและทำให้ชีวิตฉันดีขึ้น

1.สิ่งที่แต่ละคนเชื่อนั้นไม่มีคำว่าถูกหรือคำว่าผิดมาเป็นสิ่งมาตัดสิน แต่ในความเชื่อนั้นเป็นสิ่งที่ไม่เหมือนกันในแต่ละคน สำหรับคนที่เชื่ออาจจะถูก แต่สิ่งนั้นอาจจะผิดในบางคนที่เชื่อต่างกัน ดังนั้นจึงไม่มีสิ่งตายตัวที่จะมาบอกว่าสิ่งที่เราเชื่อมันจะถูกหรือผิด แต่เวลา เหตุการณ์ หรือกลุ่มบุคคลอาจจะบอกได้ว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นมันถูกหรือไม่2.หากเราต้องการที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมไม่พึลประสงค์ของเรา สิ่งที่ต้องทำก่อนอย่างอื่นคือ การหาผลเสียของพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเราก่อน ว่าจะมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของเราอย่างไรและเมื่อเรารู้แล้วว่าสิ่งที่จะตามมาจากความเชื่อเก่าของเราจะเป็นอย่างไร เราก็มาคิดว่าความเชื่อใหม่ที่จะเข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่าของเรานั้นดีหรือไม่ หากคิดว่าดีแล้วก็จะค่อยๆทำให้ตัวเองคุ้นชินกับความเชื่อใหม่ไปทีละนิด และพร้อมที่จะเปิดใจให้กับความเขื่อใหม่ที่จะเข้ามาอีกด้วย

นางสาวนุรไลลา อีซอ คณะพยาบาลศาสตร์ sec. 031.แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีนั้นถูกต้องตอบ ความเชื่อที่เราเชื่อมาจากความคิดว่าถูกต้องและมีหลักฐานหรือเหตุผลมารองรับควาทเชื่อนั้นๆ เพื่อที่จะทำให้ความเชื่อนั้นมีน้ำหนัดมากพอที่จะเชื่อ อีกทั้งความเชื่อนั้นอาจจะมาจากการถูกปลูกฝังและเล่าสืบต่อกันมานานในหลายๆรุ่น ก็ต้องมีหลักฐานและสมเหตุสมผล ถ้าความเชื่อนั้นมันผิดเราต้องปรับความคิดต่อว่าจะเชื่อหรือไม่อีกต่อไป เพราะความเชื่อเป็นรากเหง้าของความคิด2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร?ตอบ เริ่มจากปรับความคิดใหม่ว่าความเชื่อเก่าของเรานั้นไม่ถูกตรงไหน ผิดอย่างไร พร้อมกับหาข้อมูลใหม่ที่จะนำให้เราเข้าสู่ความเชื่อใหม่ที่ถูกต้องกว่าเดิมมากยิ่งขึ้น

นางสาว ฐิติยา ขำทิพย์ 6210311026 คณะแพทยศาสตร์ สาขากายภาพบำบัด กลุ่ม 031)เรารู้ได้อย่างไรว่าความคิดที่เรามีมานั้นถูกต้องตอบ สำหรับฉันในด้านศีลธรรมในชีวิตเราต้องอ้างอิงมาจากศาสนาเพราะไม่ว่า ศาสนาใดก็สอนให้คนคิดดี ทำดี หากความคิดเกี่ยวกับเรื่องที่ไม่มีในศาสนาก็ต้องดูจากตัวกฎหมาย จารีตประเพณี ถ้าความคิดที่เรามีไม่ได้ขัดต่อกฎหมาย จารีตประเพณี ก็ถือว่าถูกต้อง แต่ในความคิดที่มีต่อคนๆหนึ่ง เราต้องดูพฤติกรรมเขา การปฏิบัติตัวต่อผู้อื่น และหลักฐานการทำดีหรือชั่วของเขา2)กรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” แทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไรตอบ เราสามารถเปลี่ยนความเชื่อได้จากการที่เราต้องเตือนตัวเองอยู่บ่อยๆ ว่าพฤติกรรมนั้นเป็นสิ่งไม่ดี และต้องหาเหตุผลที่ความเชื่อนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง จะทำให้เราละอายที่จะทำพฤติกรรมแบบนั้น ข้อสำคัญคือเราต้องเปิดใจที่จะรับ และเรียนรู้ความเชื่อใหม่

นายธนพล ศักดิ์แก้ว คณะเเพทยศาสตร์ สาขากายภาพบำบัด รหัส 6210311029 1)เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่มีมานั้นถูกต้อง _ตอบ_ความเชื่อต่างสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้จากการทดลองประสบการณ์ เเละการพิสูจข้อเท็จจริง หลายปัจจัยที่สามารถล้มล้างความเชื่อเดิมหรือพิสูจว่าความเชื่อที่มีมานั้นว่าถูกต้อง บางครั้งกาลเวลาก็เเละยุคสมัยก็สามารถเปลี่ยนเเปลงหรือลบเลือนความเชื่อเหล่านั้นไปได้ดังนั้นเราจะรู้ได้ว่าความเชื่อเหล่านั้นถูกต้องหรือไม่นั้นเราต้องทดลองเเละใช้ประสบการณ์ต่างๆพิจารณาว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องเเต่ความเชื่อเหล่านั้นต้องไม่ส่งผลเสียต่อคนรอบข้างเเละตัวเราเองด้วย2)ในกรณีที่เรามีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างเราสามารถนำเอา (ความเชื่อใหม่) มาเเทนที่(ความเชื่อเก่า)ได้อย่างไร ตอบ เราต้องมีความรู้ความเข้าใจ ทั้งสองความเชื่อเป็นอย่างดี ทั้งความเชื่อเก่าว่าทำไมมันถึงควรที่จะนำเอาไปเพราะมันมีผลเสียอย่างไรต่อตัวเราเเละคนรอบข้าง หรือ ความเชื่อใหม่เราก็ควรรู้อีกว่าทำไมความเชื่อใหม่ถึงมีประโยชน์มากกว่า ทั้งส่วนตนเเละส่วนรวม โดยต้องผ่านการพิจารณาเเละตั้งอยู่บนฐานของความเป็นจริง ดังนั้นเมื่อเรารู้ถึงผลเสียต่อตนเองคนเราก็จะหลีกเลี่ยงความเชื่อเเบบเดิม เเละนำเอาความเชื่อใหม่ที่ดีกว่ามาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ได้อย่างเหมาะสมเเทนที่ความเชื่อแบบเดิม

1)แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องตอบ ไม่เชื่ออย่าลบหลู่” เราคงจะเคยได้ยินประโยคนี้มาบ้างพอสมควร เพราะความเชื่อโบราณเป็นสิ่งที่คนสมัยก่อนตั้งแต่รุ่นปู่ ย่า ตา ยาย นิยมทำกันต่อๆ มาจนกลายเป็นความเชื่อหรือข้อห้าม ที่อาจจะมีบางความเชื่อแฝงไว้ เช่น ห้ามใส่ชุดสีดำเยี่ยมผู้ป่วย เพราะสีดำเป็นสีที่คนโบราณถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของความทุกข์โศก การใส่ชุดดำไปเยี่ยมผู้ป่วยนั้นเป็นการแช่งให้ผู้ป่วยตายเร็วขึ้น จิ้งจกร้องทัก ห้ามออกจากบ้านเด็ดขาด โดยถ้าเสียงนั้นอยู่ด้านหลังหรือตรงศีรษะให้เลื่อนการเดินทางแต่หากเสียงร้องทักอยู่ด้านหน้าหรือซ้าย ให้เดินทางได้ จะทำให้การเดินทางเป็นไปอย่างราบรื่นสะดวกสบายตุ๊กแกร้องตอนกลางวัน เชื่อว่าจะมีเหตุร้ายเพราะตามปกติแล้วตุ๊กแกที่อาศัยในบ้านมักจะร้องตอนกลางคืน ถ้าร้องตอนกลางวันถือเป็นลางบอกเหตุร้าย เนื่องจากคนโบราณเชื่อว่าตุ๊กแกคือ วิญญาณของปู่ย่าตายายที่ตายไปแล้วมาอาศัยอยู่ คอยคุ้มครองลูกหลานจากภัยอันตราย สิ่งเหล่านี้หล่อหลอมให้เราเกิดความเชื่อไปโดยปริยาย2)ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสามารถสร้างความเชื่อใหม่ให้เข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่าได้อย่างไร?ตอบ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแน่นอนว่าความเชื่อเก่าๆ ที่เล่าสืบทอดกันมามันเป็นเพียงเรื่องเล่าของคนในอดีต ซึ่งไม่มีการบอกได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ เพราะฉะนั้นทำให้คนรุ่นใหม่มีการปรับเปลี่ยนความเชื่อเนื่องจากกาลเวลาได้ผ่านมาข่วงหนึ่งแล้ว สิ่งต่างๆ ก็ย่อมเปลี่ยนไป โดยเฉพาะคนปัจจุบันมีการวิจัยมากมายที่มีเหตุผลและเป็นรูปธรรมมากขึ้นทำให้คนในยุคนี้อาจจะเปลี่ยนความเชื่อได้ ทำให้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ก็ต้องไม่ให้ส่งผลกระทบต่อผู้อื่นด้วย

  • แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง : เราทุกคนต่างมีความเชื่อที่เเตกต่างกันอซึ่งเราไม่สามารถตัดสินได้ว่าความเชื่อของใครนั้นถูกต้องเเม้แต่ความเชื่อของตัวเราเองก็ตาม แต่เมื่อไรที่เราโตขึ้น มีวุฒิภาวะมากขึ้น สามารถแยกแยะสิ่งต่างๆได้อย่างมีที่มาที่ไป มีข้อมูลสนับสนุน เมื่อนั้นเราคงได้คำตอบ แต่ถึงเช่นนั้นใช่ว่าทุกความเชื่อจะได้รับคำตอบ เพราะในบางความเชื่ออาจเป็นความเชื่อที่มีผลต่อความรู้สึก จิตวิญญาณ ที่ถึงแม้จะหาเหตุผลมาอธิบายซักเท่าใดก็ไม่สามารถหาได้ เพราะเราจะคัดค้านคำตอบที่จะทำให้เราไม่มีความสุข เพราะบางครั้งความเชื่อเล็กๆก็เป็นเเหล่งพลังงานความสุขของเรา ต่อให้ใครจะบอกว่าไม่ดีเเต่เราก็มีความสุขที่จะเชื่ออย่างนั้น ทุกๆการกระทำมีเหตุผลของตัวมันเองทั้งนั้น ซึ่งในบางความเชื่อที่เกิดขึ้นในสังคมต่อให้ใครพยายามลบล้าง นักวิชาการมาตอบโต้ เเต่ก็ไม่สามารถลบล้างความเชื่อที่มีมาเเละยังคงมีต่อไป-ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้างความเชื่อใหม่เข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่าได้อย่างไร : การที่เราจะสร้างความเชื่อใหม่มาแทนที่ความเชื่อเก่านั้น สิ่งแรกที่ต้องทำคือการหาข้อมูลมาสนับสนุนความเชื่อใหม่ ว่ามีดี หรือสร้างประโยชน์ให้เราอย่างไร มนุษย์ทุกๆคนต่างต้องการสิ่งดีๆให้เข้ามาในชีวิตดังนั้นเมื่อไรที่ความเชื่อใหม่ดีจริง เราก็พร้อมที่จเปิดใจนำทั้งความเชื่อใหม่และความเชื่อเก่ามาผสมผสานกัน เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยน เปลี่ยนแปลง และพัฒนาจนเกิดเป็นความเชื่อที่สร้างสิ่งดีๆให้เเก่ตัวเราได้ ซึ่งความเชื่อนี้อาจสร้างตัวเราในรูปแบบที่ดีขึ้น พัฒนาชีวิตไปในทางที่ดีขึ้น เป็นชีวิตที่มีความสุขและไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับสังคมและคนรอบข้างอีกด้วย
    นางสาวณํฐธิตา มามะ 6110410149 คณะพยาบาลศาสตร์ sec. 03
  1. เรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? ในความคิดเห็นส่วนตัวคิดว่าความเชื่อนั้นมาจากครอบครัว สิ่งเเวดล้อม หรือสิ่งที่เคยเผชิญหน้ามาก่อน สิ่งเหล่านี้ก่อเกิดให้เกิดความเชื่อต่างๆ ซึ่งเราจะรู้ได้ว่าความเชื่อของเรานั้นถูกหรือไม่ เราต้องพิสูจน์สิ่งที่เราเชื่อด้วยวิธีต่างๆ โดยการที่เราสร้างความเชื่อใหม่มาเเทนที่ความเชื่อเก่า ถ้าความเชื่อเก่าของเราเป็นสิ่งที่ไม่ดี เเละไม่ถูกต้อง เราก็ควรจะล้างความเชื่อเก่าทิ้งให้หมด เเละรับความเชื่อใหม่เข้ามา เเต่ก่อนที่จะเชื่อความเชื่อใหม่เราจะต้องวิเคราะห์พิจารณาความเชื่อนั้นถูกต้องหรือไม่ เราควรวิเคราะห์สิ่งที่ได้รับมาจากผู้พูดว่าผู้พูดมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด ต่อมาจึงมาวิเคราะห์เนื้อหาว่าน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน โดยในครั้งเเรกเราไม่สามารถเชื่อได้ในทั้งหมด ต้องมีการตรวจสอบ เเละ หาข้อมูลที่ถูกต้องและมีแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ และข้อมูลที่ได้นั้นต้องมีการอัพเดตตลอดเนื่องจากในปัจจุบันมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา

2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้างความเชื่อใหม่ให้เข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่าได้อย่างไรทบทวนเกี่ยวกับพฤติกรรมของตนเองว่า จากการที่เราเชื่อในความเชื่อแบบเดิม พฤติกรรมที่สื่ออออกมามีข้อดี ข้อเสียอย่างไรบ้าง ก่อให้เกิดประโยชน์หรือสร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและผู้อื่นอย่างไร ถ้าเรามองเห็นโทษและจุดด้อยของความเชื่อเดิมแล้วคิดว่าไม่สามารถยึดหลักความเชื่อนั้นได้ตลอดไป เราสามารถเปลี่ยนเป็นความเชื่อใหม่ โดยปรับมุมมองและทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่เราต้องการที่จะแก้ไขพฤติกรรมของเรา สร้างแรงจูงใจเกี่ยวกับความเชื่อใหม่ที่คิดว่าถ้าเราเปลี่ยนความเชื่อใหม่ พฤติกรรมของเราตรงส่วนนั้นจะดีขึ้นมากกว่าเดิม บางครั้งการสร้างความเชื่อใหม่มาเเทนที่ความเชื่อเก่าเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเรานั้นถือเป็นเรื่องยากมากพอสมควร เนื่องจากความเชื่อเก่าของเรานั้นถูกฝั่งไปลึกเเล้ว จึงเป็นเรื่องยากที่จะสร้างความเชื่อใหม่มาเเทนที่ความเชื่อเก่า เพราะเราอาจไม่สามารถลบล้างหรือลืมความเชื่อเก่านั้นได้เลย อาจทำได้เพียงคิดเเละสร้างความเชื่อใหม่ๆเเก่ตนเองเพื่อลบพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์นั้นเอง ดังนั้นเราก็ควรปรับเปลี่ยนความคิดใหม่โดยเริ่มจากการคิดในสิ่งที่ถูกต้องและลบความคิดเก่าที่ไม่ดีออกไป เมื่อเราคิดในสิ่งที่ดีก็จะทำให้เราแสดงพฤติกรรมที่ดีออกมา เมื่อเราคิดดีทำดี เราก็จะมีความเชื่อที่ดีและสามารถสร้างความเชื่อใหม่ได้อีกครั้ง จากการเปลี่ยนระบบความคิดที่ผ่านการกลั่นกรองเพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่ดี

1.เรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? คามเชื่อนั้นเกิดจากสิ่งรอบข้างที่อยู่รอบตัว อาจจะมีอิทธิพลต่อจิตใจของเรา ซึ่งทำให้เราถูกปลูกฝังเเล้วมีความเชื่อเเบบนั้นเกิดขึ้น เเละความเชื่ออาจจะเป็นทั้งข้อดีเเละข้อเสีย ดังนั้นการที่เราจะรู้ได้ว่ามันจริงหรือไม่ เราจะต้องมองให้มันอยู่บนพื้นฐานตามหลักความเป็นจริง ที่ความเชื่อเเต่ละความเชื่อจะมีเหตุเเละผลของมันอยู่เเล้ว ความเชื่อนั้นเกิดได้หลายสาเหตุ อย่างเช่น ศาสนา บุคคลในครอบครัว หรือสื่อต่างๆ ล้วนทำให้เกิดความเชื่อ ศาสนาที่แตกต่างกันก็มีความเชื่อที่ต่างกัน และคนที่มาจากต่างครอบครัวกันก็ถูกอบรมมาไม่เหมือนกัน ซึ่งทำให้คนเรามีความเชื่อที่ต่างกันไปนั่นเองดังนั้น ความเชื่อของเราไม่มีคำว่าถูกหรือผิด เพราะถ้าสิ่งที่เราเชื่อส่งผลให้เรามีความสุขนั้น เราก็เลือกที่จะเชื่อต่อไป แต่ถ้าหากเราเชื่อแล้วทำให้เกิดทุกข์นั้น เราก็เลือกที่จะไม่เชื่อ แตเมื่อเวลาเปลี่ยนไป เราก็จะมีความเชื่อที่เปลี่ยนไปเนื่องจากสิ่งที่ทำให้เราได้มีความสุขนั้นได้เปลี่ยนไป แต่ก่อนที่เราจะเลือกเชื่ออะไร เราควรคิดพิจราณาไตร่ตรองให้ดี ไม่อย่างนั้นเราเลือกเชื่อในสิ่งที่ส่งผลเสียกับเรา มันจะทำให้เราไม่มีความสุข และ มีปัญหาในชีวิต ถ้าเพื่อนของเรามีความเชื่อที่แตกต่างกับเราออกไป เราก็ไม่จำเป็นไปก้าวก่ายความเชื่อของเขา ในเมื่อสิ่งที่ทำให้เรามีความสุขมันแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นเราควรจะให้เกียรติและเคารพซึ่งกันและกันเพื่ออยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข

2.ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้างความเชื่อใหม่ให้เข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่าได้อย่างไร การที่เราจะรับความเชื่อใหม่มาได้ในบางที เราควรที่จะเจอกับตัวเอง เพื่อให้รู้ว่าความเชื่อเก่าของเรานั้นไม่ถูกต้อง เเล้วเราจะสามารถเปลี่ยนความเชื่อเก่าเเล้วรับความเชื่อใหม่มาได้ หรือในบางทีการรับฟังคำอธิบายหรือค้นคว้าหาข้อมูลอยู่เสมอ สิ่งเหล่านี้จะสามารถช่วยขัดเกลาความเชื่อของเรา ให้รู้จักคิดอย่างถูกต้องมากขึ้น อย่าปิดกั้นตัวเองมากเกินไป รู้จักเปิดรับสิ่งใหม่ๆ เรียนรู้สิ่งใหม่จากในห้องเเละนอกห้องเรียน เเล้วค่อยๆเปลี่ยนพฤติกรรมไปเรื่อยๆ บางครั้งการสร้างความเชื่อใหม่มาเเทนที่ความเชื่อเก่าเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเรานั้นถือเป็นเรื่องยากมากพอสมควร เนื่องจากความเชื่อเก่าของเรานั้นถูกฝั่งไปลึกเเล้ว จึงเป็นเรื่องยากที่จะสร้างความเชื่อใหม่มาเเทนที่ความเชื่อเก่า เพราะเราอาจไม่สามารถลบล้างหรือลืมความเชื่อเก่านั้นได้เลย อาจทำได้เพียงคิดเเละสร้างความเชื่อใหม่ๆเเก่ตนเองเพื่อลบพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์นั้นเอง

นายกรุณา ชัยกิจวัฒนะ 6210311010 คณะแพทยศาสตร์ สาขากายภาพบำบัด กลุ่ม 031. แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง? สำหรับผมความเชื่อของคนเรานั้นไม่มีผิดไม่มีถูกและความเชื่อต่างก็มีมากมาย เนื่องจากในสังคมของเราต่างมีผู้คนมากมาย หลากหลายเหตุผลและความคิด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะความหลากหลายทางชาติพันธุ์ วัฒนธรรม ประเพณี รวมไปถึงการอบรมเลี้ยงดูที่แตกต่างกันในแต่ละครอบครัว จึงทำให้มีความเชื่อที่แตกต่างกัน ความเชื่อหนึ่งอาจถูกต้องสำหรับบุคคลหรือกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง แต่อาจผิดต่อบุคคลหรือกลุ่มคนต่างกลุ่ม ดังนั้น ความเชื่อจึงไม่มีถูก ไม่มีผิด เพราะความเชื่อนั้น ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน คนเรานั้นมีสิทธ์ที่จะเชื่อหรือไม่เชื่อในความเชื่อที่แตกต่างกันได้ แต่ความเชื่อนั้นจะต้องไม่ไปเบียดเบียนหรือทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน

  1. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? สำหรับผม เราควรที่จะค่อยๆเปลี่ยน ทีละเล็กทีละน้อย และ คอยพึงระลึกถึงเหตุผลที่ทำไมเราจะต้องเปลี่ยนความเชื่อเก่าเป็นความเชื่อใหม่เสมอ เช่น จอห์นนี่ไม่ตั้งใจเรียนและไม่ขยัน เขาเชื่อว่าการไปขอพรพระแม่มารีที่โบสถ์ดังแห่งหนึ่ง จะทำให้เขาเรียนได้เกรดดี แต่ผลออกมาแล้วเกรดไม่ดีอย่างที่คิด จอห์นนี่จึงอยากจะพฤติกรรมเดิมๆ ของตน จากความเชื่อเก่า เป็น ความเชื่อใหม่ โดยจะต้องมุ่งมั่น ตั้งใจเรียน ขยันอ่านหนังสือ ซึ่งในช่วงแรกๆ อาจเบื่อหน่ายกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ก็ต้องค่อยๆเปลี่ยนไปทีละเล็กน้อย และให้พึงระลึกเสมอว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ไม่สามารถช่วยเราได้ หากเราไม่ช่วยตัวเราเองก่อน และ ถ้าหากไม่ตั้งใจเรียนและไม่ขยันเรียนอีก ก็จะทำให้เกรดไม่ดี ทำเช่นนี้จนให้เกิดความเคยชินและเป็นพฤติกรรมใหม่ในที่สุด
  1. ความเชื่อ หมายถึง แนวคิดและความรู้สึกที่ส่งผลต่อจิตใจของคน ที่เกิดขึ้นภายใต้อิทธิพลของสังคมและการยอมรับของกลุ่มคนในยุคนั้นๆ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้องหรือไม่ ก็ต่อเมื่อมีความเชื่ออื่นซึ่งให้ผลที่ถูกต้องหรือที่ดีกว่าที่เราเคยเชื่อมาหรือมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ สามารถพิสูจน์ความจริง สามารถที่จะโต้เถียงและใช้เหตุผลล้มล้างความเชื่อที่เคยมีมาได้ ซึ่งความเชื่อที่อาจจะดูไม่เป็นวิทยาศาสตร์นั้นคงจะอยู่คู่กับสังคมไทยตลอดไป แต่ชุดความเชื่อที่จะถูกเลือกมาใช้ในการแสดงออกนั้นจะเปลี่ยนไปตามกาลเวลา การศึกษา ความรู้ที่เพิ่มขึ้น สถานะทางสังคมของคนไทยและบริบททางสังคมในแต่ละช่วงเวลา เมื่อคนไทยมีการเรียนเรื่องวิทยาศาสตร์มากขึ้น ชุดความเชื่อและรูปแบบที่ใช้ในการแสดงออกก็จะเปลี่ยนไปตามพื้นฐานและบริบทของปัญหา
  2. จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ความเชื่อก็ย่อมที่จะเปลี่ยนไปตามกาลเวลา การศึกษา ความรู้ที่เพิ่มขึ้น สถานะทางสังคมของคนไทยและบริบททางสังคมในแต่ละช่วงเวลา ดังนั้นเราก็ต้องเปิดใจยอมรับสิ่งใหม่ๆ เพื่อเปลี่ยนความเชื่อของเรา ทำให้เรามึความคิดที่แปลกใหม่ขึ้น รวมไปถึงการเปลี่ยนพฤติกรรมอันเนื่องมากจากความคิดแบะความเชื่อที่เปลี่ยนไป

1 แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง. ตอบ สำหรับฉันแล้วความเชื่อคือจากการที่เรายึดมั่นในสิ่งนั้น ไม่มีผิดหรือถูกขึ้นอยู่กับหลายสิ่งหลายอย่างที่พบเจอมาในชีวิต ซึ่งแต่ละคนก็ไม่จำเป็นต้องมีความเชื่อที่เหมือนกัน ความเชื่อในแต่ละคนอาจะแตกต่างแต่ความเชื่อที่ถูกต้องนั้นสำหรับฉัน จะต้องเป็นความเชื่อที่ไม่ส่งผลร้ายต่อผู้อื่น สามารถเชื่อได้โดยที่ไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน

2 ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไรตอบ เมื่อความเชื่อส่งผลต่อพฤติกรรมแล้ว หากเราต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมของเรา สิ่งแรกที่ควรทำคือการถามตัวเองว่าพฤติกรรมนี้มาจากเหตุผลใด เราเชื่อว่าอย่างไร บางครั้งความเชื่ออาจเปลี่ยนไปตามเวลา บางอย่างเมื่อก่อนอาจจะดี แต่ตอนนี้อาจจะไม่ดีเท่าเมื่อก่อน แล้วพิจารณาว่าทำไมเราถึงมีพฤติกรรมนี้ แล้วมันมันส่งผลเสียอะไรบ้าง เราต้องเปลี่ยนความเชื่อ เราจึงควรทบทวนความเชื่อของเราใหม่ แล้วเราก็ต้องดูว่าแล้วพฤติกรรมไหนที่เราคิดว่าดีแล้วควรทำ ซึ่งอาจทำให้เกิดผลดีต่อตนเองและคนรอบข้างมากขึ้น เราก็จะเชื่อในสิ่งนั้น นั้นก็จะทำให้เรายอมรับในความเชื่อใหม่แทนที่ความเชื่อเก่าได้

6210311013 นางสาวกษิรา ทองมอญ คณะแพทยศาสตร์ สาขากายภาพบำบัด1.เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อของเราถูก? มนุษย์เราอยู่ได้ด้วยความเชื่อ ต่างคนต่างความเชื่อกัน เราไม่สามารถไปตัดสินความเชื่อของผู้อื่นได้ว่าความเชื่อนั้นผิดความเชื่อนี้ไม่ถูก แต่เราสามารถเลือกที่จะเชื่อได้ ความเชื่อของเราอาจจะไม่ใช่ความจริงเสมอไป หากเราเลือกที่จะเชื่อแล้ว ความเชื่อนั้นส่งผลต่อพฤติกรรมของเรา แต่ไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้ตนเองและผู้อื่น พฤติกรรมที่เราแสดงออกมาเป็นสิ่งที่ดีและเป็นที่ยอมรับของสังคม ความเชื่อนั้นคงจะเป็นความเชื่อที่ถูก2. ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง “ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทนที่ ”ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร? หากเราอยากที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ควรจะเริ่มจากการเปลี่ยนความเชื่อ สิ่งแรกที่เราต้องทำคือการเปิดใจ เปิดใจให้กว้างพอที่จะยอมรับความเชื่อใหม่ๆเข้ามาแทนที่ความเชื่อเก่า สิ่งที่ต้องใช้อีกอย่างคือเวลา เราไม่สามารถเปลี่ยนความเชื่อของเราได้ในทันที ใช้เวลาค่อยๆปรับเปลี่ยนไปทีละนิด ความเชื่อใหม่ๆจึงจะเกิดขึ้นมา ทำให้พฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ของเราเปลี่ยนไปด้วย

ความเชื่อคือสิ่งที่เกิดขึ้นโดยส่วนบุคคลอาจเกิดจากการได้พบ การได้รับการปลูกฝั่ง หนืออาจเกิดขึ้นเองโดยไม่รู้ตัวซึ่งอาจเป็นเรื่องที่มีเหตุผลหรือไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนก็ได้การที่เรานั้นจะเปลี่ยนเอาความเชื่อใหม่มาแทนที่ความเชื่อเก่าๆนั้นจำเป็นต้องมีสิ่งจูงใจ ว่ามันดีกว่าหรือมันดูจริงกว่าสิ่งที่เราเคยเชื่อโดยการพบเห็นหรือการพิสูจน์ใหม่

นางสาว ฟาเดีย หมุดหวัน ปีที่ 26111110097 คณะศิลปะศาสตร์กลุ่ม 01งานครั้งที่4

ข้อ1 แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง

​มนุษย์ทุกคนมีความเชื่อเสมอไม่ว่าจะกับเรื่องใดๆก็ตามแต่อาจจะแตกต่างกันไปตามบุคคล ความเชื่อเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลที่สามารถส่งผลต่อพฤติกรรมและการดำเนินชีวิตในทุกๆวัน แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีหรือที่ได้รับมานั้นถูกต้อง เมื่อเราได้รับสารมาแล้วนั้นเราต้องใช้วิจารณญาณประกอบกับประสบการณ์ที่เรามีเพื่อกรองสารหรือความเชื่อเหล่านั้นว่าจริงหรือไม่ ถ้าไม่แน่ใจก็สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อให้เราตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าเราจะควรเชื่อสิ่งๆนั้นหรือไม่

ข้อ2 ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง”ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทน “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร

​เมื่อเราตัดสินใจที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมของเรานั้น มันจะดำเนินต่อไปไม่ได้หากเราไม่เปิดใจ เราต้องเปิดรับมุมมองใหม่ๆ พูดให้น้อยลง รับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่นให้มากขึ้น แล้วนำมาพิจารณาว่าถ้าเปลี่ยนเป็นความเชื่อใหม่ เปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ มันจะส่งผลดีกับชีวิตอย่างไรบ้าง

นางสาว ฟาเดีย หมุดหวัน ปีที่ 26111110097 คณะศิลปะศาสตร์กลุ่ม 01งานครั้งที่4

ข้อ1 แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีมานั้นถูกต้อง

​มนุษย์ทุกคนมีความเชื่อเสมอไม่ว่าจะกับเรื่องใดๆก็ตามแต่อาจจะแตกต่างกันไปตามบุคคล ความเชื่อเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลที่สามารถส่งผลต่อพฤติกรรมและการดำเนินชีวิตในทุกๆวัน แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเชื่อที่เรามีหรือที่ได้รับมานั้นถูกต้อง เมื่อเราได้รับสารมาแล้วนั้นเราต้องใช้วิจารณญาณประกอบกับประสบการณ์ที่เรามีเพื่อกรองสารหรือความเชื่อเหล่านั้นว่าจริงหรือไม่ ถ้าไม่แน่ใจก็สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อให้เราตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าเราจะควรเชื่อสิ่งๆนั้นหรือไม่

ข้อ2 ในกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างของเรา เราจะสร้าง”ความเชื่อใหม่” ให้เข้ามาแทน “ความเชื่อเก่า” ได้อย่างไร

​เมื่อเราตัดสินใจที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมของเรานั้น มันจะดำเนินต่อไปไม่ได้หากเราไม่เปิดใจ เราต้องเปิดรับมุมมองใหม่ๆ พูดให้น้อยลง รับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่นให้มากขึ้น แล้วนำมาพิจารณาว่าถ้าเปลี่ยนเป็นความเชื่อใหม่ เปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ มันจะส่งผลดีกับชีวิตอย่างไรบ้าง

อนพัทย์ เศรษฐสิทธิ์กุล

ผมเห็นด้วยกับข้อสรุปของท่านอย่างจริงใจครับ แต่อยากเรียนถามว่าแล้วข้อสรุปของ “ทัศนคติ”ท่านมีความเห็นต่างประการใดครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท