แครอทกับแตงกวา เป็นพืชที่เรานำมาใช้ทำอาหารได้หลากหลาย ทำได้ทั้งสุกและดิบ เราทราบกันดีว่าให้คุณประโยชน์มากต่อสุขภาพทั้งภายในและภายนอกร่างกาย ผู้เขียนได้อ่านหนังสือเล่าสู่กันฟังแพทย์ทางเลือกเล่ม 2 เห็นว่าบางเรื่องเราควรที่จะช่วยกันบอกกล่าวให้ผู้ที่เราพอจะบอกได้ ให้ทราบในการนำแครอทและแตงกวา มาใช้เพื่อให้ได้ประโยชน์อย่างถูกต้อง และควรระวังอย่างไรได้บ้าง เพื่อไม่ให้เกิดโรคในร่างกาย ฯ
มีคำเขียนไว้บนบกหนังสือว่า
" แพทย์ทางเลือก ไม่ได้หมายความว่า คุณรอให้ป่วย
แต่เป็นศาสตร์แห่งความยั่งยืน ที่คุณต้องไม่ป่วยเลย"
บทความในหนังสือ ที่กล่าวถึง แครอทและแตงกวา
มีคำถามมากมายที่พูดถึง "การทานน้ำแครอท และนำแตงกวาสดปั่น"ทุกวันนั้น
ดร.รสสุคนธ์ ได้ให้เหตุผลไว้อย่างน่าฟังว่า
" การทานน้ำแครอทสำหรับคนไทยนั้นไม่ขอแนะนำเพราะถึง แม้แครอทจะมีปริมาณ เบต้าแคโรทีน ต่อหน่วยน้ำหนักสูงจริงเมื่อเทียบกับพืชชนิดอื่นแต่ก็เป็นเบต้าแคโรทีนชนิดที่ย่อยยากมาก ที่ไม่แนะนำคนไทยก็เนื่องจากคนไทย เป็นชาติที่เกิดลุ่มน้ำ โดยสภาพภูมิศาสตร์เขตร้อนชื้น จะทำให้มีการติดเชื้อที่มีผลต่อตับ ทำให้ตับเสื่อม ติดต่อกันทางสายพันธุ์มานานนับพันๆปีแล้ว เพราะเชื้อเหล่านี้มีอยู่ในน้ำและติดต่อกันง่ายมาก ซึ่งตับมีหน้าที่สำคัญต่อร่างกาย ทำให้ทำงานได้ไม่เต็มที่ การผลิตน้ำย่อยมาย่อยไขมันและย่อยโปรตีนก็จะเกิดได้น้อยลง
ซึ่งสามารถทดสอบได้ง่ายๆ
โดยการนำแครอทใส่ลงในโอ่งหมักจุลินทรีย์ พร้อมกับขยะอินทรีย์ที่เป็นพืชผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์และขยะอื่นๆ เมื่อใส่น้ำตาลทรายแดงและน้ำในอัตราส่วน น้ำตาล 1 ส่วน ต่อขยะ 3 ส่วนและน้ำ 10 ส่วน
ในขบวนการย่อยที่เกิดในโอ่งจะมีสภาพคล้ายแบบจำลองการย่อยอาหารในระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะส่วนลำไส้ของคนเรา
ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป 3 เดือน ขยะที่ใส่ลงไปในโอ่งจะถูกย่อยสลายไปเกือบหมด แต่แครอทที่ใส่ลงไปจะมีสภาพเหมือนเดิมอยู่ยังไงก็อยู่อย่างนั้น แม้เวลาจะผ่านไปเกือบ 8 เดือน ขยะทุกชนิดถูกย่อยสลายไปหมด แต่แครอทก็ยังคงอยู่เหมิือนเดิม สีเหมือนเดิม ความแข็งแรงเหมือนเดิม (ข้าวโพด ก็เช่นเดียวกัน)
ซึ่งได้ดูตารางคุณค่าสารอาหารของกระทรวงสาธารณสุขไทย มีผักหลายอย่างที่มี เบต้าแคโรทีนสูง เช่น กระเพรา โหระพา กวางตุ้ง ตำลึง ซึ่งเราสามารถหาทานได้ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว ในงานวิจัยของต่างประเทศอาจจะมีผลดีจริงเมื่อทานแครอท แต่สิ่งที่เราต้องคิดตามนั่นก็คือ ชาวต่างประเทศเกิดในพื้นที่สูง และอยู่ในสภาพอากาศที่หนาวเย็น ตับจะแข็งแรงกว่าคนไทย
ซึ่งถ้าท่านอยากจะทานแครอทจริงๆ แนะนำว่าควรนำมาต้มนานๆและรับประทานในปริมาณที่น้อยๆ ซึ่งจะดีกว่าเอามาปั่นสดทาทุกวันเพราะถ้าทานทุกวัน ตับจะทำงานหนักและเมื่อย่อยไม่หมดจะมีแครอทส่วนที่ย่อยไม่หมดตกค้างตามผิวหนัง มีอาการตัวเหลืองคล้ายกับคนที่ทาน มะละกอสุกในปริมาณมากๆทุกวัน จะมีผิวเหลืองและ ตัวเหลืองเช่นกัน "
การทาน "น้ำแตงกวาสดปั่น"
ก็เช่นเดียวกัน ถ้าจะนำมาปั่นทานทุกวันนำไม่แนะนำเพราะ แตงกวาจัดเป็นผักที่มีปริมาณของ ยูริคสูง (อยู่ในน้ำเมือกใสๆ) เหมือนพวกคะน้า และผักตระกูลกะหล่ำ โดยเฉพาะถ้านำมาปั่นสดๆทานทุกวัน ร่างกายจะสะสม ยูริค เข้าไป ซึ่งถ้าร่างกายกำจัดไม่หมด ก็จะไปสะสมทำให้เกิดการ แลกเปลี่ยน แคลเซี่ยม ในระบบการสร้างเซลล์กระดูก และความแข็งแรงของ เม็ดเลือดผิดปกติ ทำให้เกิดอาการอักเสบ ซึ่งเป็นที่มา ของโรคเก๊าท์ และโรคที่เกี่ยวกับข้อ คนป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับข้อ ควรระวัง "
ขอบคุณ บทความในหนังสือ เล่าสู่กันฟัง
โดย นาวี มีบรรจง และ ดร. รสสุคนธ์ พุ่มพันธุ์วงศ์ บรรณาธิการ
คนไทยเรามีสถิติคนเป็นโรคเกี่ยวกับตับมากพอควร เช่น ตับแข็ง ตับอักเสบ ไวรัสตับฯ ตับอักเสบ มะเร็งตับ ฯ มาจากหลายๆสาเหตุ สาเหตุหนึ่งอาจจะมาจากการ ใช้พืช ผักเพื่อสุขภาพ ไม่ถูกวิธี เพราะไม่ทราบ ทำให้ตับทำงานหนัก โดยเฉพาะแครอทนี้ ควรทำให้สุกๆ ดีที่สุดนอกจาก มีผลดีต่อตับแล้วยังได้สารอาหารมากขึ้น
และ แตงกวา น้อยคนจะทราบว่าในลูกแตงกวามี ยูริค ที่ทำให้เกิดโรคเก๊าท์ และโรคข้อได้ ส่วนใหญ่เราจะทราบดีว่าอยู่ใน ยอดผัก และเครื่องในสัตว์ และสัตว์ปีก ฯ ผู้้ป่วยโรคเก๊าท์และข้อควรงด ต่อแต่นี้ไป แตงกวา ก็ต้องใช้อย่างระวัง
ด้วยความปรารถนาดี กานดา แสนมณี
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย กานดาน้ำมันมะพร้าว ใน อาหารเพื่อสุขภาพดี
ชอบแตงกวา เมื่อก่อนจะทานกะขนมจีนเยอะมากๆ ค่ะ
ว่าทำไม ขอบคุณเจ้าปี้ดา ไปเดินเล่นชมน้องฟ้านายเมฆกันค่ะ :)