One minute preceptor


หลังจากได้เรียนรู้จากบทความ เกี่ยวข้องกับคุณอำนวย-Faciliatator ของหลายท่านในที่นี้ จึงขอเล่าสิ่งที่อาจ "เขยิบใกล้" ความเป็นคุณอำนวยมากขึ้น เมื่อทดลองเปลี่ยนรูปแบบการสอนนักศึกษาแพทย์ตรวจผู้ป่วยนอก จากเดิม มาเป็น..One minute preceptor
ฟังชื่ออาจเกินจริง ว่าสอนแค่หนึ่งนาทีหรือ ?
ไม่ขนาดนั้นคะ..เพียงเป็นเทคนิคการตั้งชื่อให้น่าสนใจ ในความ Time efficient.
เป็นหนึ่งในวิธีการสอนปฎิบัติทางคลินิก อ่านรายละเอียดได้ที่นี่ หรือที่นี่คะ
ซึ่งสภาพจริงของห้องตรวจ มักมีผู้ป่วยรอตรวจจำนวนมาก 
โจทย์คือ ทำอย่างไรให้ได้สมดุลของคุณภาพ
ทั้ง งานบริการ กับ การศึกษา ในเวลาที่จำกัด
...

รูปแบบเดิมที่ข้าพเจ้าปฎิบัติมา

1. นักศึกษานำเสนอข้อมูล ซักประวัติ ตรวจร่างกาย พงศาลี แต่ต้นจนจบ
ส่วนนี้มักกินเวลา 50-80% 
2. อาจารย์ถามเพิ่มเติม ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ขาดหายไป หรือบางครั้งก็ซักประวัติด้วยตนเองใหม่หมดเลยอีกรอบ  
ช่วงนี้มักใช้เวลา 20-30%
3. ส่วนที่อภิปราย เหตุผลในการวินิจฉัย และแผนการรักษา
มักมีเวลาน้อยกว่า 10%
โดยเฉลี่ยใช้เวลา 45-60 นาที/ราย 

ผลที่ยังไม่น่าพอใจ
- เวลาให้กับการนำเสนอข้อมูล และเก็บข้อมูลเพิ่ม มากกว่าปฎิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน นักศึกษากังวลกับการคิดว่าข้อมูลครบหรือยัง
- ประเมินทักษะการเก็บข้อมูล  มากกว่าทักษะการเชื่อมโยงข้อมูล การให้เหตุผล
- นักศึกษามีความรู้สึกพึ่งพาอาจารย์ 

รูปแบบใหม่ตามหลัก One minute preceptor

1. Engage: เริ่มต้นสร้างบรรยากาศ โดยบอกว่า เรามาคุยกัน ให้ลองเสมือนเป็น "หมอใหญ่" ประจำตัวคนไข้  แล้วออกความเห็น ไม่ต้องกลัวผิด
"คิดว่าปัญหาสำคัญสำหรับคนไข้คนนี้คืออะไรคะ"
ถ้านักศึกษาไม่กล้าออกความเห็นก็ถามต่อ
"เท่าที่คุย/ตรวจมา มีอะไรที่น้องรู้สึกสนใจเป็นพิเศษ"
2. Probe rational : "ทำไม/อะไร ทำให้คิดเช่นนั้น"
หลังจากนั้นข้าพเจ้าจะขอให้ผู้ป่วยรอ อยู่อีกที่หนึ่ง เพื่อสนทนาส่วนที่เป็น Feedback
3  General rules  : "โดยทั่วไป หากพบเช่นนี้ เราถือว่า.. " 
4. Exellent point : " น้องทำได้ดีมากในการ.."
5. Learning point : " ครั้งต่อไป เราน่าจะ ลองถาม/ตรวจ/ทำ..."
 

หลังจากได้ทดลองใช้ในการสอนที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอกที่ผ่านมา
นักศึกษาสามคน ใช้เวลารวม 90 นาที ใช้เวลารายละ 20-45 นาที
= ใช้เวลาเฉลี่ยแต่ละราย น้อยลงบ้าง 
ความมั่นใจในการส่งตรวจ วางแผนรักษาไม่ต่างจากสอนรูปแบบเดิม
แต่..ข้าพเจ้ามีความมั่นใจในการประเมินนักศึกษามากขึ้น
..นักศึกษาดูผ่อนคลายมากขึ้น 
และ "เรา" ได้มีสมาธิจดจ่อกับจุดที่น่าเรียนรู้ (Learning point) มากขึ้น

โดยสรุป จากการทดลองครั้งแรก..เมื่อเทียบ OMP กับรูปแบบเดิม
ใช้เวลาน้อยลงบ้าง  โดยคุณภาพการสอน(น่าจะ)ดีขึ้น  คุณภาพบริการเท่าเดิม

สิ่งที่น่าจะพัฒนาต่อไป

1. เพิ่มการประเมินผลแบบให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วม โดยประเมินความสามารถในการสื่อสาร โดยดูว่า ข้อมูลที่นักศึกษาให้นั้น ผู้ป่วยจดจำใส่ใจมากน้อยเพียงไร
2. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยมากขึ้น เช่นรายหนึ่ง นักศึกษาตรวจพบว่ามีเสียงหัวใจฟู่-murmur  ก่อนดูผลตรวจที่เฉลย  น่าจะให้เวลาเข้าเวบไซต์ เข้าไปทบทวน ฟังคลิปเสียงหัวใจก่อน

###

ความจริงบันทึกนี้เขียนเสร็จเมื่อคืนแต่พับเก็บไว้ก่อนด้วยความลังเลใจ "แสดงดีไหม?"

ก็ปรากฎว่า..

ขอบคุณมากคะ หากมีคำแนะนำที่เป็นประโยชน์เช่นนี้ จะช่วยในการปรับปรุง OMP ครั้งต่อไป

หมายเลขบันทึก: 477631เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2012 10:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 13:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (25)

น่าสนใจมากๆครับ คุณหมอกำลังทำอะไรคล้ายๆ Learning Organization เลยครับ..

และชอบคำว่า "หนึ่งนาที" นี่มากๆครับ

หนึ่งนาทีก็เปลี่ยนอะไรได้จริงๆนะครับ

ทำให้ผมนึกถึงหนังสือ One Minute Manager, One Minute Father

มีบางโรงงานที่ผมไปทำ AI ให้ ผู้บริหาร CEO ให้ทุกคนอ่านเล่มนี้..

และผมว่ามนุษย์เราเอาใจใส่กับหนึ่งนาที แต่เป็นนาทีที่มีความหมาย

ก็สร้างการเปลี่ยนแปลงได้

ทำให้ผมจิตนาการต่อเป็น

One Minute KM

One Minute AI

ขอบคุณครับคุณหมอ

ข้อเขียนของคุณหมอจุดประกาย idea ได้เสมอครับ

มั่นใจในการเประเมินเป็นสิ่งสำคัญมากในกระบวนการนี้ ครับผม

อาจารย์ครับ

ผมพยายามให้ดอกไม้ และแสดงความคิดเห็นครับ

แต่วันนี้รู้สึกว่าเข้ายากจังครับ

เป็น 1 นาที ที่มีความหมายคะ

1 นาที ที่เราเปิดให้เขาเล่า 

1 นาที ที่เราเปิดให้เขาถาม

 จะทำให้เราได้รู้เรื่องต่างๆ มากขึ้น 

รู้ว่า  บางที บางสิ่ง บางอย่าง ก็ไม่ใช่สิ่งที่เขาต้องการรู้

......^__^ ......

 

  • อาจารย์หมอป.คะ ขอยกข้อความที่ได้ให้ความเห็นรอบสองไว้ แต่จัดเก็บไม่สำเร็จ มาไว้ ณ ที่นี้นะคะ
  • ครั้งนี้เป็นการจัดเก็บครั้งที่ 4 นะคะ (เข้าไปอยู่บ้านเรือนขวัญในเมืองแล้ว ครั้งที่ 1-3 พยายามจัดเก็บตอนอยู่ที่ฟาร์มค่ะ)
  • เหมือนที่คุณหมอทิมดาบพูดเลยค่ะ เข้ามาแสดงความเห็นตอนหัวค่ำไม่สำเร็จ รอบนี้จากยังไม่ 6 ทุ่ม จนจะตีสองยังไม่รู้ว่าจะสำเร็จไหม เพราะมีข้อความว่า "Error on page" (สรุปคือไม่สำเร็จค่ะ) และตอนเช้าก่อนจะเข้าเมือง พยายามอีกรอบก็ไม่สำเร็จค่ะ

  • จะบอกอาจารย์หมอป.ว่า "ที่อาจารย์หมอป.เล่ามานั้น มันไม่ใช่แค่การเล่าถึงการปฏิบัติงานในฐานะ "คุณอำนวย" ธรรมดาๆ แต่มันเป็น การบอกกล่าวถึง "การใช้ R2R เพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานในฐานะคุณอำนวย ทีเดียวแหละค่ะ เป็น R2R ที่ได้เห็นอาจารย์หมอทำอยู่อย่างต่อเนื่องจนเป็นวิถีปกติของการทำงานของอาจารย์หมอ รับรู้ได้เพราะรู้สึกว่าจะเป็นวิถีเดียวกันกับที่ตนเองปฏิบัติในการทำงานค่ะ"

ได้แอบแวบๆ ไปดูหนังสือ One minute manager ที่อาจารย์แนะนำใน Amazon
เห็นมีผู้รีวิวว่า หนึ่งนาที ซึ่งใช้ในการระบุเป้าหมายที่ชัดเจน ส่งผลยิ่งใหญ่
"Don't tell people how to do things. Tell them what to do and let
them surprise you with their results"
..George Patton

เป็นการริเริ่มด้วยชื่อที่น่าสนใจมากคะ  One minute KM , One minute AI

 

ไปแอ่วเจียงฮายมา ม่วนก่อคะ :)

มั่นใจขึ้นบ้างคะ เพราะแต่ละขั้นตอน ประเมิน ทักษะความคิดรวบยอดแปลผลข้อมูล การใช้เหตุผล, ความรู้เนื้อหา, ทัศนคติ ชัดเจนขึ้น

อย่างไรเสีย การประเมินก็ยัง "subjective" เหมือนมองวิวสองข้างทาง บางคนว่าสวยมาก
บางคนว่าเฉยๆ  บางคนว่า ไม่น่าสนใจเลย..แต่นี่ก็เป็นชีวิตจริง "คนรักเท่าผืนหนัง คนชังเท่าผืนเสื่อ" คะ

เสาร์อาทิตย์ที่ผ่านมาเจอปัญหาเหมือนกันคะ 
แต่ตอนนี้ดีแล้ว (และหวังว่าจะดีไปนานๆ)

...
การเปลี่ยนผ่าน มีอุปสรรคบ้างเป็นธรรมดา
ขอบคุณกำลังใจที่ให้เสมอมานะคะ 

ขอบคุณมากคะพี่กระติก
1 นาทีที่เปิดพื้นที่ให้คนอื่นได้แสดงความเห็น
อาจมีผลยิ่งกว่า 1 ชั่วโมงที่เราพูดก็ได้
วันนี้สัมผัสกับตัว ยังรู้สึกตัวเองเตรียมมา "พูด" มากเกินไป
วันพรุ่งนี้จะเตรียมตัวไป "ฟัง"  

ขอบคุณอาจารย์มากคะ สักวันอยากมีบรรยากาศที่ฟาร์มบ้างจัง..
ดีใจที่อาจารย์กล่าวว่า R2R เป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิต
ให้คนอื่นประเมินก็ไม่เหมือนเราไม่ประเมินตนเอง 
เพราะหากเป็นผลประเมินตนเอง ตัวเรายอมเปลี่ยนแปลงง่ายกว่า
จริงอย่างที่อาจารย์เอก จตุพรว่าคะจุดเริ่มต้นสำคัญคือ เข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น 

 

อาจารย์ครับ

ลอกเลียนถ้อยคำ อ.ภิญโญ มาเป็น

One Minute R2R ในประเด็นนี้

ปรับใช้กับการเรียนรู้ของ อสม.ครับ

ขอบคุณครับ

อาจารย์หมอ ป. ริเริ่มได้น่าสนใจมากค่ะ  น้อง ๆ นศพ.น่าจะชอบนะคะ  ต้องกล้า ๆ พูดด้วย  บนพื้นฐานความรู้และหลักฐานที่พิสูจน์ได้

จบมาแล้ว  กว่าจะปรับวิธีคิดของผู้ร่วมงาน  ให้กล้าพูดในสิ่งที่คิดว่าดี  มีประโยชน์  ไม่ทำร้ายผู้อื่น...ก็ต้องใช้ทักษะ Facilitator และอื่น ๆ อีกหลายทักษะเชียวค่ะ

วัฒนธรรมบ้านเรา...นิ่ง ๆ ไว้ก่อน กลัวเจ็บ

การ์ดเล็กเล็ก...กับการเยียวยา

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/477859

เป็นกำลังใจให้ One Minute R2R คะ

ขออนุญาต ใช้เป็น One minute self reflection ด้วยคน

เผื่อจะลดเสียงบ่นในหัวตัวเองให้ลดลงคะ :)

วันนี้ก็ใช้วิธีเดิมคะ ปรับใหม่เล็กน้อย เรียน นศพ.ว่า "คุณหมอ"ต่อหน้าคนไข้
แต่ยังอดเรียก "น้อง" เวลาคุยตัวต่อตัวไม่ได้ เพราะรู้สึกกันเองกว่า
สังเกตว่า ตอน discussion ถ้าผู้ป่วยอยู่ด้วย นักศึกษาจะไม่กล้าพูดตามที่ตัวเองคิด
พอแยกให้ผู้ป่วยรอข้างนอก ทำให้เขากล้าถาม กล้า "พยายามคิด" แบบไม่ต้องกลัวเสียหน้าคะ

ที่คุณหมอธิรัมภากล่าว ปรับวิธีคิดของผู้ร่วมงาน  ให้กล้าพูดในสิ่งที่คิดว่าดี
เป็นเป้าหมายที่ถูกใจใช่เลยคะ
น้องๆ เหล่านี้ต่อไปก็เป็นผู้่ร่วมงาน ของเราเองในอนาคต

ยอดเยี่ยมมากครับ ขอนำ OMP ไปต่อยอดกับงานกิจกรรมบำบัดศึกษานะครับ

ด้วยความยินดีคะ อ.ดร.ป๊อป ใช้แล้วได้ผลอย่างไรบ้างอย่าลืมมาเล่าสู่กันฟังนะคะ

 

 

             

Ico64
 
 
  - อ่านผลงาน..แล้วดีจังเลย....
 
- ชอบคุณมาก....P'Ple...จะนำไปใ้้ช้กับ...นศพ...ที่มาฝึกที่ รพ.บ้านลาด..บ้างคะ
 
- แต่... นศพ...ที่มาฝึกที่นี้..มาจาก..ศิริราช...ทั้งเก่ง+ดื้อ....ไม่รู้ว่าจะได้ผลแค่ไหนนะคะ

 

 

ขอบคุณคะ P'Ple

นักศึกษาแพทย์ที่เก่ง คือมีความรู้เยอะ บางทีก็มั่นใจในตัวเองมากเกินไป (aka. ดื้อ)

เมื่อการดูเคสผู้ป่วย เป็นแบบปฎิสัมพันธ์กัน

เขาจะค่อยๆ เข้าใจว่า ความรู้ส่วนไหนสำคัญ อันไหนควรมาก่อน มาหลัง 

ขณะที่การให้นำเสนอข้อมูล ทั้งหมดก่อนแล้วสรุปรวบเดียว เด็กจะอึ้งไปเลย

ยกตัวอย่าง เพื่อนที่เรียนเก่งมากเล่าให้ฟังว่า สมัยเป็นนักศึกษา

ผู้ป่วยเบาหวานมาด้วยอ่อนแรงแขนขวา

เขาตรวจระบบประสาทอย่างละเอียดครบทุกระบบ

พอไปถึง อาจารย์ถามสิ่งเดียว และเป็นสิ่งที่เขาไม่มีข้อมูล 

" น้ำตาลในเลือด -DTX เท่าไหร่หมอ" ?


 

ตอนแรกบันทึกทีปัญหา ตอนนี้ดีขึ้นแล้ว ดีแล้วที่ไม่ซ่อนไว้ 555 เข้าใจว่านักศึกษาจะมีพื้นที่ปลอดภัยมากกว่าเดิมนะครับ

อ่านแล้ว นึกถึง 1 นาที เปลี่ยนชีวิต คิดในด้านดี

ส่งกำลังใจเสมอ ค่ะคุณหมอป.

พื้นที่ปลอดภัย แล้วเด็กๆ มีความสุขในการเรียน สักครึ่งหนึ่งของค่ายอาจารย์ ก็พอใจแล้วคะ :)

หนึ่งนาที เป็นช่วงเวลาสั้นๆ มากเลยคะ

เมื่อวาน อาจารย์ดาริน เพิ่งให้คำประทับใจว่า

"ไม่ว่าสรรเสริญ หรือนินทา ให้รับรู้แล้วบ๊ายบาย" 

"โจทย์คือ ทำอย่างไรให้ได้สมดุลของคุณภาพ
ทั้ง งานบริการ กับ การศึกษา ในเวลาที่จำกัด"

ขอนำโจทย์ของอาจารย์ ไปทำการบ้านของตัวเอง

เคี้ยวย่อยซะหนึ่งปี ^____^

โจทย์จากบันทึกที่ตามอ่านวันนี้

มีทั้ง...หนี่งวัน...หนึ่งนาที

ขอบคุณมากค่ะ


ภาพตะวันเบิกฟ้า ดูแล้วเยือกเย็นสงบดีจังคะ

ระยะเวลาหนึ่งปี กับการพิจารณาตน ไม่สั้นไม่ยาว

กลับมาใหม่พร้อมพลังกาย พลังความคิดที่เติมเต็มนะคะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท