หลักการบริหารโรงเรียน..ก้าวสู่ความเป็นสากล ที่ โรงเรียนเทพศิรินทร์


สวัสดีครับชาว Blog

หลังจากร่วมกิจกรรม Knowledge Camping ครั้งที่ 13 ที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ (ยศเส) ที่กรุงเทพฯ แล้ว กิจกรรมต่อเนื่องก็คือการนำนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ จากโรงเรียนเทพศิรินทร์ทั้ง 10 แห่ง เดินทางมาทัศนศึกษาและเข้าค่ายกันที่โรงเรียนเทพศินทร์ 9 (อ่างขาง) อ.ฝาง จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมทั้งการจัดสัมมนาทางวิชาการให้แก่ผู้บริหาร และครูอาจารย์ของโรงเรียนเทพศิรินทร์ทั้ง 10 แห่ง เป็นการสร้างวิสัยทัศน์และรวมใจกันเพื่อการพัฒนา "เทพฯ เป็นหนึ่ง"

ผมเดินทางไปถึงดอยอ่างขางอย่างมีความสุข แม้ว่าจะไม่ค่อยสบายนักเพราะว่าเสียงหาย (เนื่องจากทำงานหนักไปหน่อยและพักผ่อนน้อย) แต่การได้มาสัมผัสอากาศบริสุทธิ์ และธรรมชาติที่สวยงามของที่นี่ก็ทำให้ผมหายเร็วขึ้น

ภารกิจของผมเมื่อวานนี้ (4กุมภาฯ 55) คือ การบรรยาย เรื่อง หลักการบริหารโรงเรียน..ก้าวสู่ความเป็นสากลให้แก่ผู้บริหารและครูอาจารย์ของโรงเรียนเทพศิรินทร์ทั้ง 10 แห่งกว่า 100 คน บรรยากาศเมื่อวานนี้แม้จะมีเวลาไม่มากนักแต่ทุกคนสนใจ ผมพยายามจุดประกายให้ทุกคนมีแรงบันดาลใจที่จะร่วมกันพัฒนาโรงเรียนของเราให้ก้าวไกลสู่สากล

สำหรับสาระและภาพบรรยากาศจะนำมาแบ่งปันกับทุก ๆ ท่านที่นี่เช่นเคยครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

ภาพบรรยากาศ

หมายเลขบันทึก: 477627เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2012 10:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 02:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

 

หลักการบริหารโรงเรียน..ก้าวสู่ความเป็นสากล

'Schools should be a mirror of a future society.' Anonymous

'If we do not change our direction, we are likely to end up where we are headed.' Chinese Proverb

วัตถุประสงค์

  • สร้างความเข้าใจภาพใหญ่ของการพัฒนาระบบการศึกษาไทย..รากฐานสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสังคมไทย

  • เรียนรู้ปัจจัยท้าทายที่สำคัญของ “โรงเรียน” ในอนาคต

  • ให้ทุกท่านได้สำรวจตัวเองและองค์กรเพิ่มหาช่องว่าง (Gap) และหาทางเติมเต็ม

  • จุดประกายให้ “ท่าน” เกิดพลังในการทำงาน และพัฒนาไปสู่ความเป็นเลิศ และทำงานด้วยทุนแห่งความสุข

  • สร้างวัฒนธรรมในการเรียนรู้ และสร้างความตระหนักเรื่องการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

  • สร้างการพัฒนาที่ต่อเนื่องและยั่งยืน

ผมคิดว่าปัจจัยที่ท้าทายของการเป็นบริหารในวันนี้ประกอบด้วย 3 เรื่องใหญ่ คือ

    1. ความท้าทายเรื่องการพัฒนาตนเองให้มีวิสัยทัศน์ มีทักษะ ความรู้ และทัศนคติที่พร้อมต่อการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลง และโรงเรียนคือความหวังของสังคมไทย

    2. ความท้าทายเรื่องการพัฒนาวิธีการเรียนการสอนให้เด็กไทยคิดเป็น..วิเคราะห์เป็น คิดเป็นวิทยาศาสตร์ มีความคิดสร้างสรรค์ มีความคิดเชิงนวัตกรรม มีคุณธรรมจริยธรรมและมีจิตสาธารณะ

    3. ความท้าทายเรื่องการสร้างแรงบันดาลใจ และทุนแห่งความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพท่ามกลางอุปสรรคและปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบ ๆ ตัว

 

โลกและการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคต่าง ๆ ถึงปัจจุบัน

จากยุคที่ 1 ยุคเกษตรกรรม สู่ยุคอุตสาหกรรม สู่ยุค Information Technology ปัจจุบันเรากำลังก้าวสู่ยุคที่ 4 หรือ Forth Wave ซึ่งในอนาคตเราจะต้องเน้น

      • sustainability+

      • wisdom+

      • creativity+

      • Innovation+

      • intellectual capital

การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (..๒๕๕๒-๒๕๖๑) รัฐบาลจะมุ่งเน้นให้คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ โดยมีเป้าหมายหลัก ๓ ประการ คือ

  • พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเรียนรู้ของคนไทย

  • เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ

  • ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคมในการบริหารและจัดการศึกษา

 

กรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษามี ๔ ประการ คือ

  • พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่

  • พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่

  • พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่

  • พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่

 

Social Capital & Networking Capital

วิธีการสร้างทุนทางสังคมและเครือข่ายจากประสบการณ์ของผม

  • ต้องเป็นคนที่ชอบคบหาสมาคมกับคนหลายๆ กลุ่ม

  • มีโลกทัศน์ที่พร้อมจะเรียนรู้และรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น

  • มีโลกทัศน์ที่กว้าง

  • มีบุคลิกที่เข้ากับคนได้ง่าย

  • เตรียมตัวศึกษาบุคคลที่เราอยากจะรู้จัก เช่น ศึกษาจุดอ่อน จุดแข็ง

วิถีชีวิตของเขา

  • มีการติดตาม (Follow up) การสร้างเครือข่ายให้ได้ผลสูงสุด

  • ทำงานเป็นทีม และชอบทำกิจกรรม และเล่นกีฬา

  • อย่าเก็บตัวอยู่คนเดียวหรือใช้ชีวิตสันโดษมากไปจนไม่มีความมั่นใจ

  • ที่จะเข้าสังคม

  • มีทัศนคติที่เป็นบวก (Positive Thinking)

  • ชอบความหลากหลายในความคิด และวิถีชีวิตต่างๆ

Creativity Capital

การพัฒนาทุนทางความคิดสร้างสรรค์..เริ่มจากวันนี้ ลองถามตัวเองตัวเองดูว่าเรามี ideas ใหม่ ๆ แล้วหรือไม่ และเราจะมีไอเดียใหม่ ๆ อยู่เสมอได้อย่างไร? สำหรับตัวผม..ไอเดียใหม่ ๆ ของผม ได้จาก..

  • การอ่านหนังสือดี ๆ

  • ใช้ Internet

  • การพูดคุยกับคนเก่ง

  • ปะทะกับคนเก่ง

  • ฯลฯ

 

จุดอ่อนของเรา ก็คือ..
(1)
เรายังไม่ได้สร้างบรรยากาศในการ Share ความรู้ร่วมกันในองค์กรหรือในโรงเรียน

(2) การบริหารส่วนใหญ่ยังเป็นแบบ Top down อยู่ ซึ่งจะเน้น Command and Controlหรือเป็นการทำงานแบบแนวดิ่ง Vertical
**Power
มีไว้สำหรับ Participate ในทุกระดับ

(3) ส่วนใหญ่ทำงานเยอะ Working แต่ Think Strategies (คิดเป็นยุทธศาสตร์ไม่มาก)

(4) การทำงานเป็นทีมมีแต่ในระดับ Function ได้ดีแต่ไม่ Cross Function

Innovation Capital - ทุนทางนวัตกรรม

การพัฒนาทุนทางนวัตกรรม

ในความเห็นของผม มี 3

เรื่อง

  1. มี Ideas ใหม่ หรือ Creativity และบวกกับความรู้

  2. Turn ideas to action

  3. ทำให้สำเร็จ

กรณีศึกษาที่น่าสนใจ คือ อาจารย์ปรารถนากับการผลักดันเพื่อให้เกิดการพัฒนาเป็น..นวัตกรรมทางการศึกษาของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าสมุทรปราการ

  • .ปรารถนาเป็นลูกศิษย์ปริญญาเอกของผมได้เชิญผมไปเยี่ยมโรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล ( ขณะนั้น )ในครั้งแรก

  • เกิดโครงการแรกตามมาคือ การพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการหลักสูตรพัฒนาผู้บริหารระดับสูง 48 ชั่วโมง

  • โครงการต่อเนื่องที่ตามมา คือ ไปทัศนศึกษาที่ประเทศเวียดนามด้วยงบประมาณของตัวเอง

  • หลังจากนั้นโรงเรียนก็ให้ผมนำไปทัศนศึกษาที่ประเทศสิงคโปร์

  • สร้างหลักสูตรใหม่ขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาที่ให้ความสำคัญกับท้องถิ่น

  • ได้รับการประเมินให้ผ่านเป็นต้นแบบโรงเรียนในฝัน

  • เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าสมุทรปราการ

  • ผลงานที่ผ่านมาทำให้มีนักเรียนเข้ามาศึกษาต่อที่โรงเรียนมากขึ้นจากจำนวนประมาณไม่ถึงพันคนเพิ่มเป็น 2 พันกว่าคน

  • เข้าร่วมโครงการ เป็นที่มาของ Sister School กับโรงเรียน Wadong Middle school ประเทศเกาหลีใต้

  • ได้รับเป็นโรงเรียนพระราชทาน เป็นโรงเรียนดีเด่นขนาดกลาง จากโครงการเด่นๆ ที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียน

นอกจากการพัฒนาศักยภาพของตนเองและนักเรียน เครื่องมือที่สำคัญที่สุดในวันนี้ คือ วิธีการเรียนการสอน (Learning Methodologies) - สิ่งที่ดีอยู่แล้ว..เก็บไว้ เช่น การเรียนแบบท่องจำ บางส่วนดีก็เก็บไว้ เพราะอาจจะช่วยเรื่องระบบความคิดที่ดี และอาจจะเสริมด้วยแนวคิดเพื่อการเรียนรู้ที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

    • แนวคิดและทฤษฎีเพื่อการเรียนรู้และการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ของ ดร.จีระ

    • แนวคิดของ Peter Senge

    • ทฤษฎี Mind Mapping ของ Tony Buzan

 

 

สรุป

ผู้บริหาร นายกสมาคมผู้ปกครอง/ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ประสานเครือข่าย โรงเรียนเทพศิรินทร์กับความท้าทายต่าง ๆ ของการทำงานให้สำเร็จในวันนี้

How = 20%

Why = 30%

the greatest challenge is execution (50%)

Make it happen!!

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท