บรรยาย เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ที่ Knowledge Camping ครั้งที่ 13 ของโรงเรียนเทพศิรินทร์


ผมดีใจที่เป็นู้ริเริ่มกิจกรรม Knowledge Camping ที่โรงเรียนเทพศิรินทร์เมื่อประมาณกว่า 13 ปีที่แล้ว เป็นต้นแบบให้เกิดกิจกรรมนี้อย่างต่อเนื่องและครั้งนี้ก็เป็นครั้งที่ 13 เป็นปีที่ 13 แล้วครับ

สวัสดีครับชาว Blog

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ 2555 ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้ไปร่วมกิจกรรม Knowledge Camping ครั้งที่ 13 ซึ่งมีพิธีเปิดขึ้นที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ ยศเส และผมบรรยาย เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ให้กับนักเรียนของโรงเรียนเทพศิรินทร์ซึ่งผมถือว่าเป็นรุ่นน้องของผม

ผมภูมิใจที่วันนี้ได้มีการพัฒนาโรงเรียนเทพศิรินทร์ขยายสาขาออกเป็น 10 แห่งทั่วประเทศแล้ว โดยเฉพาะในสมัยที่ผมเป็นนายกสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ฯ มีการพัฒนาโรงเรียนเทพศินทร์เพิ่มขึ้นถึง 3 แห่ง และเป็นต้นแบบของการขยายความเข้มแข็งทางการศึกษาออกไปสู่ท้องถิ่นอย่างทั่วถึง

บรรยากาศที่ผมให้ความรู้กับรุ่นน้อง ๆ ที่มาร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ทุก ๆ คนมีความสนใจ และเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงยังเป็นเรื่องที่ทันสมัยและจะช่วยให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งปัญญา มีความสุข มีความสมดุล และมีการพัฒนาที่ยั่งยืน

สำหรับบรรยากาศและสาระสำคัญในการเรียนรู้ ผมจะนำมาแบ่งปันกับทุก ๆ ท่านที่นี่เช่นเคยครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

หมายเลขบันทึก: 477624เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2012 10:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

 

เศรษฐกิจพอเพียง
Knowledge Camping
ค่ายพัฒนาผู้นำเยาวชนเทพศิรินทร์ ครั้งที่ 13

1) สังคมโลก..บทเรียนและผลกระทบต่อสังคมไทย

โลกและการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคต่าง ๆ ถึงปัจจุบัน

จากยุคที่ 1 ยุคเกษตรกรรม สู่ยุคอุตสาหกรรม สู่ยุค Information Technology ปัจจุบันเรากำลังก้าวสู่ยุคที่ 4 หรือ Forth Wave ซึ่งในอนาคตเราจะต้องเน้น

      • sustainability+

      • wisdom+

      • creativity+

      • Innovation+

      • intellectual capital.

สังคมโลก – โลกาภิวัตน์ –ประชาคมอาเซียน – AEC 2015 :โอกาสและความเสี่ยงและผลกระทบต่อสังคมไทย

  1. Information Technology เทคโนโลยีสารสนเทศ และอื่น ๆ เช่น Nanotechnology , Biotechnology

  2. เรื่องการค้าเสรี , WTO , FTA

  3. เรื่องการเงินเสรี อัตราแลกเปลี่ยน

  4. บทบาทของจีน อินเดีย และละตินอเมริกา

  5. เรื่องอิทธิพลของประชาธิปไตย และ Human right

  6. เรื่อง Global Warming , ภัยธรรมชาติ

  7. เรื่องสงคราม และการก่อการร้าย

  8. เรื่องน้ำมันหมดโลก และพลังงานทดแทน

  9. เรื่องโรคระบาด เช่น ไข้หวัดนก เอดส์ ไข้หวัด 2009 ฯลฯ

สังคมโลก –วิกฤตต่าง ๆ และผลกระทบต่อสังคมไทย

  1. วิกฤตทางเศรษฐกิจ

  2. วิกฤตจากภัยธรรมชาติและภาวะโลกร้อน

  3. วิกฤตทางการเมือง

  4. วิกฤตทางสังคม

  5. ฯลฯ

ลองวิเคราะห์ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นกับสังคมไทยหรือประเทศไทยของเราวันนี้

  • สภาพเศรษฐกิจเป็นอย่างไร

  • สภาพสังคม การศึกษา และวัฒนธรรมเป็นอย่างไร

  • และที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดตอนนี้ก็คือ “การเมืองไทย” ซึ่งส่งผลถึงความปรองดองในชาติ

 

วิกฤตต่าง ๆ เกิดจากความไม่พอเพียง

พฤติกรรมหลายด้านที่ไม่สอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอยู่เบื้องหลังวิกฤต

  • การบริโภคอย่างไม่พอเพียง

  • การลงทุนอย่างไม่พอเพียง

  • การก่อหนี้อย่างไม่พอเพียง

  • การประเมินศักยภาพของเศรษฐกิจไทยสูงเกินจริง และการบริหารเศรษฐกิจที่ขาดภูมิคุ้มกันที่ดี

  • การแข่งขันกันอย่างเกินพอ ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ

  • การขาดธรรมาภิบาลที่ดี ขาดความโปร่งไส เอื้อประโยชน์แก่พรรคพวกเพื่อนฝูงญาติพี่น้อง ขาดคุณธรรมและความซื่อสัตย์สุจริต

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คืออะไร?

ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์

การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

แนวคิดหลักๆ ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับพฤติกรรมในทุกระดับ ถ้อยคำหลักๆ ที่สำคัญรวมถึง

  • ทางสายกลาง

  • ความพอประมาณ

  • ความมีเหตุผล

  • การมีภูมิคุ้มกันที่ดี

  • ความรอบรู้และความรอบคอบ

  • คุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต

  • ความอดทน

  • ความเพียร

  • มีสติปัญญา

 

สุดท้าย เราทุกคนต้องไม่ลืมว่าเราจะต้องเป็น “ทรัพยากรมนุษย์”ที่มีคุณค่าของสังคม ลองดูทฤษฎี 8 K’s และ5K’s ของผม

แนวคิดและทฤษฎีเพื่อการเรียนรู้ ในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลง

เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ทุกคนเกิดแรงบันดาลใจในการเรียนรู้และประสบความสำเร็จ

หลักการในการทำงาน

1) คิด Macro ทำ Micro

2) ทำเป็นขั้นเป็นตอน

3) ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย

4) ทำอะไรให้นึกถึงภูมิสังคมของที่นั้นๆ

5) การสื่อความ การประสานงาน และการบูรณาการ

(Communication, Coordination, Integration)

6) ทำอะไรต้องมีผู้เป็นเจ้าของ

รู้ – รัก – สามัคคี

  • รู้ คือ จะทำอะไรต้องไปศึกษาให้รู้จริง

  • รัก คือ จะทำอะไรต้องสร้างฉันทะกับสิ่งนั้นๆ

  • สามัคคี คือ ทำอะไรก็ให้ทำเป็นทีม ร่วมมือ

  • ร่วมใจกันทำให้มีประสิทธิภาพ

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท