ผลที่คาดว่าจะได้รับ...คนเก่งขึ้น !!! คำตอบจากงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น


"เราจะทำให้วิกฤติ เป็นโอกาส เปลี่ยนภาระ ให้เป็นพลัง"

วันหยุดกับแสงแดดยามเช้าที่อบอุ่น  เสียงนกกางเขนบ้านทักทายพูดคุยกันดังเป็นระยะจากสวนหลังบ้าน ต้นหญ้าอิ่มฝน น้ำค้างพราวส่องประกาย ทักทายอรุณ

วันนี้วันหยุดของผมครับ...!!!

ผมเตรียมเอกสารเพื่อจะนำเข้าไปยัง บ้านจีนยูนนานบ้านรุงอรุณ ที่อ.เมือง เรามีโครงการวิจัย ประเด็นการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่นั่น ..วันนี้กระบวนการศึกษาวิจัยได้สิ้นสุดลงแล้ว แต่กระบวนการพํมนาขับเคลื่อนชุมชน กำลังเดินทางต่อไปข้างหน้าอย่างมั่นคง...

     ภาพหน้าบ้านชุมชนจีนยูนนานรุ่งอรุณ

 

ผมจำได้ดีในช่วงการพัฒนาโจทย์วิจัย ท่ามกลางสงคราม (สงครามยาเสพติด)  ที่บ้านรุ่งอรุณ กับพี่ชายของผม (พ.ท.ปิยวุฒิ โลสุยะ) เราได้เห็นพี่น้องของเราที่หายไปจากชุมชน เห็นดวงหน้า แววตาที่ไร้พลัง ได้ยินเสียงจากหัวใจของชาวบ้านที่พร่ำบอกพวกเราว่า

"พวกเขาเหนื่อยเหลือเกิน"..........

พวกเราพัฒนาโจทย์วิจัย ในครั้งนั้นอย่างรวดเร็ว เพราะเหตุการณ์มันเอื้อให้เราต้องคิดกระบวนการทำงานกับชุมชนโดยเร่งด่วน พี่ของผมบอกว่า "เราจะทำให้วิกฤติ เป็นโอกาส เปลี่ยนภาระ ให้เป็นพลัง" เป็นคำพูดของพี่ชาย เสนาธิการของกองทัพบก ที่ผมเคารพรักเสมอ 

 จากวันนั้นถึงวันนี้.....สามปีแล้วครับ

งานวิจัยได้สิ้นสุดตามระยะเวลา สิ้นสุดตามเงื่อนไขของผู้ให้ทุน แต่กระบวนการพัฒนา ยังก้าวเดินต่อไป

ผลที่คาดว่าจะได้รับจากงานวิจัย เราหวังว่าชุมชนจะเข้มแข็ง (เราคาดหวังมากไปหรือเปล่านะ) เข้มแข็ง เข้มแข็ง อย่างไร? ผมกับพี่ชายของผม พูดคุยกันเสมอว่า เข้มแข็งอย่างไร??

"คนเก่งขึ้น" เป็นผลจากกระบวนการพวกเราทำงานด้วยใจ หนักหน่วงในห้วงที่ผ่านมา นี่เป็น นิยามของชุมชนเข้มแข็ง ใช่หรือเปล่า?

เรามองว่า งานวิจัยอาจช่วยพัฒนาชุมชน ในหลากหลายประเด็น แต่สิ่งที่เกิดขึ้น และเราภาคภูมิใจที่สุด คือ กระบวนการศึกษา วิจัย ช่วยให้ชาวบ้านนักวิจัย เก่งขึ้น ได้รับการพัฒนาศักยภาพ ผ่านกระบวนการเหล่านั้น

ผลของงานวิจัย อาจไม่สำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ นั่นมิใช่เรื่องสำคัญแต่อย่างใด

การสร้างสรรค์ปัญญา ให้กับชุมชนต่างหากที่เป็นสิ่งที่เราได้และเหนือความคาดหมายของพวกเรา

"อาหลียง" เป็นนักวิจัยชาวบ้านรุ่งอรุณ หนุ่มใหญ่ยูนนานผู้ช่วยนักวิจัย เขาก้าวผ่านเหตุการณ์เลวร้าย และได้ร่วมกระบวนการศึกษา วิจัย จนวันหนึ่ง ศักยภาพของเขาปรากฏเด่นชัดในเวทีพัฒนาต่างๆ ในกระบวนการคิดเชิงระบบ การนำเสนอวิธีคิด และจิตใจสาธารณะ กระบวนการทำงานที่เข้าใจพร้อมจะทุ่มเทให้กับชุมชนของอาเหลียงเอง..

                                                             

อาเหลียง "สุเมธ แซ่ย่าง" นักวิจัยชาวบ้าน

 

สกว. ภาค  (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สำนักงานภาค)กำลังคัดเลือกโครงการวิจัย เด่น และโครงการวิจัยที่บ้านรุ่งอรุณ ได้เป็นหนึ่งโครงการที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าเป็นโครงการเด่นดังกล่าว

 และนี่...เป็นเหมือน การมอบรางวัล มอบกำลังใจให้ชุมชน

โครงการวิจัยฯ ของเราจะได้รับการคัดเลือกจาก สกว.หรือไม่? ต้องรอดูผลการคัดเลือกที่จะ เฉลย ในเร็ววันนี้ 

แต่ วันนี้เราได้ทำดีที่สุด ภายใต้บริบทของเรา

 

หมายเลขบันทึก: 47732เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2006 09:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เป็นกำลังใจในการทำงานกับการพัฒนาชุมชนนะคะ

ดีใจที่เห็นคนมุ่งมั่นทำงานเพื่อคนอื่นๆ และดีใจยิ่งกว่า ที่ยังคนอยากทำงานเพื่อคนอื่น

ให้กำลังใจคนทำงานเพื่อชุมชนอีกแรงครับ..

"เข้าถึง เข้าใจ  และพัฒนาครับ"

ขอบคุณ คุณกัลยา  มิขะมา ครับ 

       ลมพลิ้วปลิวไหวใบหญ้า            ก่อเกิดศรัทธา

เรียนรู้เคียงคู่ชุมชน

      หลากหลายเรื่องราวให้ค้น         คือป่าสอนคน

ให้มีชีวิตจิตใจ

       ขุนเขาท้องนาฟ้าใส                  ห่วงหาอาลัย

สร้างฝันผูกพันมั่นคง 

       แด่คุณ  จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร   นักสู้แห่งชนบท    ผู้ทรหดแห่งขุนเขา                   

คุณสิทธิเดช ครับ ต้องขอบคุณมากครับสำหรับ กวีสวยๆ ทำให้ผมปลื้มและมีความสุขมากเลย..

ปลายปีผมจะออกหนังสือที่เขียน ๑ เล่มจะขอรบกวนให้ คุณสิทธิเดช แต่งกวีให้อีกสักครั้งครับ ใกล้ ๆคลอด ผมจะแบ่งปันเนื้อหาไปให้อ่านนะครับ

ขอบคุณครับ ..........

การพัฒนาโจทย์วิจัย เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องมาจากชาวบ้าน เมื่อชาวบ้านมีความต้องการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง คิดที่จะแก้ปัญหา จึงเกิดกระบวนการพัฒนาโจทย์วิจัยร่วมกัน  สิ่งดี ๆ จึงเกิดประโยชน์กับชุมชน (ไม่ทราบว่าถูกไหมค่ะ)

อาจารย์จตุพรเป็นผู้มุ่งมั่น มี"ความเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา" จริง ๆ ค่ะ

ขอบคุณ คุณ Chah

ส่ิงที่คุณ Chah ทำอยู่ก็เป็นสิ่งที่ดี และสร้า้งสรรค์ ผมขอให้กำลังใจครับ

คิดถูกต้องแล้วครับ กระบวนการมีส่วนร่วม(อย่างแท้จริง) เป็นทั้งวิธีการ และเป้าหมายครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท