สูตรละลายน้ำแข็งในวงสนทนา:FOR


เมื่อไปงานประชุมวิชาการ ช่วงที่ข้าพเจ้าวิตกมากที่สุด..เชื่อหรือไม่ว่า คือ "ช่วงพบปะสังสรรค์"...เป็นความรู้สึกที่ขัดแย้งกัน ระหว่างความปรารถนาสร้างเครือข่าย กับ ธรรมชาติของตัวเองที่เป็นประเภท "หลบใน - introvert" 
...
เมื่อตัดสินใจ สมัครนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการหนึ่ง
นำเสนอด้วยวาจาเป็นภาษาอังกฤษ 15 นาที กับตอบคำถาม 5 นาที
แม้เป็นการนำเสนอในห้องประชุมย่อย และเป็นการประชุมที่เรียบง่าย
แต่ด้วยความที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษ
ทำให้ข้าพเจ้าเหงื่อซึม..
แต่นี่ก็คือเหตุผลหลักที่ส่ง
เพราะต้องการลากตัวเองออกจาก "comfort zone"
... 
ทว่า สิ่งที่น่ากลัวสำหรับข้าพเจ้ามากกว่านั้น
ข้าพเจ้าไปงานประชุมวิชาการเดียวกันนี้ ที่จัดขึ้นปีก่อน ดังบันทึกนี้
จำได้ว่า เมื่อถึงช่วงพักดื่มกาแฟ
ข้าพเจ้าเดินถือแก้วกาแฟไปนั่งดื่มในมุมซึ่งคิดว่าลับตาคนที่สุด
ก็ยังอุตสาห์มีคนตาดี เดินเข้ามาทัก ชวนคุย (ถามคำตอบคำ)
ไม่นานนัก ก็มีอีกท่านเดินเข้ามา
ไปๆ มาๆ ข้าพเจ้าก็ยืนเงียบจับโต๊ะให้สองท่านคุยกันไป
สะท้อนถึง ทักษะการสนทนาเพื่อสังคมของตนเองที่ยอด..แย่
... 

ครั้งนี้ ข้าพเจ้าจึงตั้งใจแก้ไข ด้วยการลองว่าจ้าง "tutor" เพื่อการณ์นี้โดยเฉพาะ
โดยใช้เวลา 2 สัปดาห์ก่อนกลับเมืองไทยนี้ เรียน 5 ครั้งๆ ละ 2 ชั่วโมง

ครั้งที่ 1 เรียนเมื่อวันพุธที่ผ่านมา  
ชั่วโมงแรก หมดไปกับการฝึกออกเสียงให้ชัดเจน ในการเสนอ 4 สไลด์แรก 
ชั่วโมงที่สอง  ฝึกการเข้าสังคม ส่วนนี้ปล่อยให้คุณครู Linda สร้างสรรค์บทเรียนเอง ซึ่งเป็นการละลายน้ำแข็ง - ice breaking  ดังนี้ค่ะ

###

1. "Hi  I am..." เป็นคำทักมาตรฐาน ที่วัฒนธรรมเราอาจรู้สึกขัดเขิน โดยเฉพาะกับผู้อาวุโส  แต่ที่นี่เขาไม่ถือเช่นนั้น..สำคัญกว่าคือ "สบตาก่อนยิ้มแล้วทัก" (ข้าพเจ้ามักทำกลับกันคือ ทัก ยิ้มแหยๆ ก่อนจะกล้าสบตา)
    หากคนที่สนทนากันอยู่ในท่าเปิด (ไม่ใช่ตาต่อตาฟันต่อฟัน) เราสามารถขอเข้าไปร่วมได้ "Excuse me I heard you talk about..., could I join" 

2. ID  ในการประชุมวิชาการมีป้ายแสดงชื่อติดกำกับไว้อยู่แล้ว การถามเพิ่มเติม ถือเป็นแสดงความสนใจคู่สนทนา เช่น อ่านออกเสียงว่าแบบนี้ถูกต้องไหม , ถ้าระบุตำแหน่งวิชาการ หรือ มหาวิทยาลัย  อาจถามต่อไปว่า  เอกด้านไหน หรือ มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ส่วนใดของประเทศ เป็นต้น

3. FOR  มาจากสามสิ่งที่คนทั่วไปชอบคุยเกี่ยวกับตัวเองคือ ครอบครัว Family, งานอาชีพ Occupation และ งานอดิเรก Recreation 
- ในงานประชุมวิชาการ คนที่เข้าร่วมอาจชอบที่จะคุยเรื่องงานของตัวเองเป็นอันดับแรก  : Tell me about your work  - what do you like best about ..(คำตอบ)
( ขณะเดียวกันตัวเราก็ต้องเตรียมคำตอบ เวลาเจอคำถามสวนกลับ เช่น working with university/private practice)
- เรื่องครอบครัว : Do you have a family - where did you grow up
หมายเหตุ - Linda กล่าวว่า ควรหลีกเลี่ยงถามเรื่องการงานของคู่สมรส เพราะฟังดูเหมือนงานเขาเองไม่มั่นคงพอหรืออย่างไร ? 
- งานอดิเรก : What about your free time - how did you get into that?

###

เป็นสูตรละลายน้ำแข็ง สำหรับมือใหม่อย่างข้าพเจ้า
หากใครมีเทคนิคส่วนตัวดีๆ มา ลปรร.กันได้นะคะ 

....
7 ธ.ค. 54

ขอเพิ่มเติมข้อคิดจากคุณ AJ.Huge ถึงเทคนิคการเรียนเพื่อพูด
"phrase not by individual word" 
เป็นการเรียนช้างทั้งตัวก่อน ลงไปดูว่า งา,งวง (เปรียบดัง ศัพท์, ไวยากรณ์) ใช้ทำอะไร
เราสามารถเรียนรู้ได้จากการสังเกต  เก็บสะสม "building block" ไปเรื่อยๆ จนเมื่อมากพอ เราก็จะสามารถสร้างสรรค์คำพูดของเราเองได้อย่างลื่นไหล-fluent ในที่สุด
เท่าที่ข้าพเจ้าสืบค้นหนังสือในท้องตลาด
ก็พบหนังสือชุด "Perfect phrases for..." ซึ่งอาจน่าสนใจสำหรับท่านอื่นๆด้วยค่ะ

หมายเลขบันทึก: 473624เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2012 16:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (25)

* อ่านแล้วคิดถึงประสบการณ์ทำนองเดียวกันนี้เลยค่ะ

* เทคนิคการ " break the ice(berg)"..ที่มักทำเป็นประจำ คือ กวาดสายตาไปรอบๆหากลุ่มคนเพศหรือทวีปเดียวกันก่อน ที่หน้าตาดูรับแขก เพื่อเป็นเพื่อนสนทนา..และใช้สูตรเดียวกับน้องหมอ ป.+การต่อเรื่องคุยที่พยายามจับประเด็นว่าเขาสนใจเรื่องอะไรจากการประชุมนั้น..ฟังๆมากกว่าพูดๆ เพราะมักเจอคนช่างคุยค่ะ..

* แลกนามบัตร เป็นการต่อยอดความสัมพันธ์..ถ้าเห็นว่าคุยถูกคอกันดี..

* ชั่วเวลาพักการประชุมไม่กี่นาทีในหลายๆแห่ง..ได้เพื่อนแปลกหน้ามาไม่น้อย..ยังเก็บนามบัตรไว้จนบัดนี้ค่ะ..

ได้เคล็ดลับ ขอบคุณค่ะ ไว้นึกได้จะมาแจมต่อนะคะ :)

ตามไปเก็บภาพน่ารักนี้ มาฝากสมาชิกค่ะ..

สุดยอดเลยครับ ;)...

ผมไม่มีทักษะที่ว่านี้เลยสักกะนิดครับ

รับความรู้อย่างเดียวเลย

สวัสดีครับอาจารย์ที่เคารพ...

ผมก็มีประสบการณ์เช่นเดียวกันครับ

แต่มีเฉพาะในประเทศไทยครับ ที่ผมไปนำเสนอผลงานวิชาการ

โดยมีสหวิชาชีพต่าง ๆ ในสายสุขภาพ

ผมก็ไม่คุ้นเคยครับ... ก็แอบอยู่เงียบ (เจียมตัว)

รอเวลาขึ้นเวที... ฟังท่านอื่น ...ทานเบรค

แต่ก็โชคดีตลอดนะครับ...ที่มีท่านอื่นมาคุยด้วยก่อน

เผื่อ ๆ เป็นคู่แข่งเรา (เรียกว่าอย่างนี้คงได้นะครับ)

เอาไปเอามา ต่างเชียร์กัน...โดยไม่ได้สนิทสนมกัน

และบางเวที...อาจารย์วิพากษ์ที่ท่านสนใจงานเรา

ก็แอบมาเชียร์เอาตลอดครับ

บางครั้ง...ผมมองว่า...ความโชคดีของผม

อยู่ตรงที่ชะตาลิขิตมั้งครับ

การที่เราจะเข้ากันได้ เราต้องมีอะไรเหมือนกันเล็กน้อย

แต่ถ้าจะรักกันแล้ว เราต้องมีอะไรที่แตกต่างกันบ้าง

นะครับ

ขอบคุณสำหรับกลเม็ดเคล็ดลับ การ " break the ice(berg)"
เข้าใจว่าคนทวีปเดียวกัน หมายถึงคนเชื้อชาติเดียวกันใช่ไหมคะ..รู้สึกเช่นนั้นคะ  แม้ดูท่าทีเป็นมิตรพอๆ กัน ก็อดรู้สึกสบายๆ กับคนเอเชียเหมือนกันไม่ได้..

* แลกนามบัตร เป็นการต่อยอดความสัมพันธ์..ถ้าเห็นว่าคุยถูกคอกันดี..

อันนี้เป็นคำแนะนำที่เป็นประโยชน์มากคะ นามบัตรใบหนึ่งราคาไม่ถึงบาท คุ้มยิ่งกว่าคุ้ม 

* ชั่วเวลาพักการประชุมไม่กี่นาทีในหลายๆแห่ง..ได้เพื่อนแปลกหน้ามาไม่น้อย..ยังเก็บนามบัตรไว้จนบัดนี้ค่ะ..

ตรงนี้อ่านแล้วประทับใจจนอยากเอาเป็นแบบอย่าง การสร้างความสัมพันธ์นั้นไม่ง่าย แต่การรักษาความสัมพันธ์ไว้อย่างยั่งยืนยากกว่านะคะ

 

ได้ประโยชน์เรื่องข้ามวัฒนธรรมนะคะ

การออกจาก comfort zone เป็นสากล

ต่างฝ่ายต่างออกมาก็...เปิดใจหากันได้

แต่ตอนจะเข้าไปในใจอีกฝ่าย...ต่อสัมพันธ์ให้ยืนยาว

อันนี้....มากกว่าพรหมลิขิต 

จริตต้องตรงกัน  บุญมาวาสนาส่ง  เลือกกระทำที่...ตรงใจ

สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๕ นะคะ

(เฉลยรูปหมาน้อย Jack of Spparrow เป็นนายแบบนะคะ)

    สวัสดีค่ะ Ico48  มีเทคนิคส่วนตัวในการเริ่มการสนทนากับคนที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน เป็น'ice-breakers'ที่ใช้ประจำ หลังจากแนะนำตัวเอง คือการบอกชอบ หรือชมเกี่ยวกับเครื่องแต่งกายของคู่สนทนา...เพราะคนเราทุกคนพอใจที่มีคนชอบ หรือชมเกี่ยวกับตัวเองทั้งนั้น...It was nice talking to you...What a lovely pruse!... หรือ What a wonderful pruse!...Thank you...Where did you get it?...

ขอบคุณค่ะคุณ poo ถ้ามีเคล็ดลับดีๆ มาแบ่งปันกันนะคะ :)

ตัวเองก็ด้อยทักษะนี้อย่างมาก
กำลังพยายามพัฒนาให้พอไปวัดไปวาได้ค่ะ

ยังไง ขอยืมเทคนิค ยืนด้านขวา (คนจะได้หัวเราะนะคะ)

ขอบคุณที่แบ่งปันประสบการณ์ค่ะ

ด้วยบุคลิกภาพที่เป็นมิตร อบอุ่นแบบคุณหมออดิเรก

จึงไม่แปลกใจที่ เอาไปเอามาจากคนที่ 

ตอนแรกจะเป็นคู่แข่ง กลายเป็นกองเชียร์
...

การที่เราจะเข้ากันได้ เราต้องมีอะไรเหมือนกันเล็กน้อย

แต่ถ้าจะรักกันแล้ว เราต้องมีอะไรที่แตกต่างกันบ้าง

...

เรียกว่ามองหาจุดร่วม สงวนจุดต่างได้ไหมคะ :)

ขอบคุณค่ะ

จริตต้องตรงกัน  บุญมาวาสนาส่ง  เลือกกระทำที่...ตรงใจ

...
เหมือนที่กัลยาณมิตรใน gotoknow นี้มาเจอกันนะคะ

ขอบคุณค่ะอาจารย์ที่แบ่งปันเคล็ดลับ ตัวอย่างประโยคแบบนำไปใช้ได้ทันที

  • ใช้ยิ้มไว้ก่อน
  • แล้วรีบทักทาย
  • ส่วนมากครูสอนภาษาอังกฤษจากต่างประเทศจะรู้จักกันง่าย
  • ถ้าต่างอาชีพยังไม่ค่อยได้คุย
  • ขอบคุณคุณหมอสำหรับข้อมูลครับ

ขอบคุณสำหรับบันทึกนึ้ของ คุณหมอป. ครับ


แม้ไม่มีโอกาสนำเสนอผลงานทางวิชาการ (ในชาตินี้)ดังใครเขา แต่ก็ถือเป็นความรู้ที่จะปรับใช้กับชีวิตประจำวันครับ..ยิ้มๆ ชีวิตยั่งยืนครับ..

ขอบคุณค่ะอาจารย์ขจิต
ยิ้มไว้ก่อน..อาจารย์ขจิตสอนไว้ :-) 

ขอบคุณค่ะ และจุดประกายเรื่องหัวข้อสนทนา กับคนที่เรายังไม่รู้จักดี..

เมื่อวานนี้ มีตัวอย่างที่สะท้อนให้เราระวังตัวเอง
ว่าการคุยสิ่งที่เป็น "รสนิยม" การใช้ชีวิตของตนเอง
บางทีอาจฟัง ขัดหู ขัดใจ คนอื่นได้
โดยเฉพาะ รสนิยมการดื่ม พฤติกรรมของคู่ครอง
อ่อนไหวยิ่งนัก เมื่อเชื้อชาติ วัฒนธรรมต่างกัน  

สวัสดีคุณหมอป.

แบบของอาจารย์ ขจิต ทำให้ผมติดใจถึงวันี้ และตลอดไป....คือ

(ใช้ยิ้มไว้ก่อน

แล้วรีบทักทาย)

จำได้ครั้งแรกที่พบอาจารย์ ขจิต ในงานโกทูโนว์ ฟอรั่มครั้งแรกที่ หาดใหญ่

ในความรู้สึก งานนั้น มีจอมยุทธ์ เจ้าสำนัก เจ้ายุทธจักรทั่วแผ่น มาพบกัน

โโยตัวเป็นๆ ไม่รู้จักไครเลย แต่รู้จักกันในบล็อก ที่มางานนั้น ในวันนั้น เพราะต้องการพบกับ เกลอต่างเพศ ที่ผูกพันธ์ ผ่านบันทึก คือครูคิม นพวรรณ พงษ์เจริญ

ไปก่อนงาน ไปก่อนวิทยากร จนน้องๆในทีมโกทูโนว์ นึกว่าเป็นวิทยากร ชวนกินข้าวเที่ยง

แต่พอรู้ว่าไม่ใช่วิทยากร ก็เขินๆทั้งสองฝ่าย (ตัดสินใจไปหากินเอาเอง)

เห็นอาจารย์ขจิต จำได้ท่านทักทาย จับมือโอบกอดกับหลายคน(ผมอยากเข้าไปทักแต่ไม่กล้า"

อาจารย์ขจิตหันมาเห็น ...ยิ้มแล้วทักว่า...บังหีมใช่มั้ย...น้ำแข็งที่ห่อหุ้มใจจนกายสั่นมือไม้ชื่นเหงื่อก็ละลายไปในพริบตา.....

จากประสบการณ์ของผม ตอนลูกไปเรียนเปียโน ไปแข่งว่ายน้ำ ส่วนมากคุณผู้ชายจะจับกลุ่มคุยกันเอง เพราะพวกคุณผู้หญิงจะมีเรื่องส่วนตัวของพวกเธอเอง เป็นเรื่องคนละโลก

เพื่อนผมที่สนิทเป็นหมอฟัน บอกผมว่า ให้พวกผู้หญิงเธอคุยกันอย่าเข้าไปยุ่งแล้วล่ะดี

ก็เป็นจริงครับ เวลาพวกคุณผู้หญิงคุยด้วยกันแล้ว ดูพวกเธอจะมีความสุขมากๆ พอพวกผู้ชายเข้าไปร่วมวง เรื่องจะเปลี่ยนไปทันที

คงไม่อยากให้เรารู้

เรื่องที่บังเล่า ฟังแล้ว "หัวใจละลาย" ไปด้วยอีกคนค่ะ

ชื่นชมวิธีการเล่า ประโยคนี้ สามารถแทนคำบรรยายในบทเรียนหลายหน้าทีเดียว

อาจารย์ขจิตหันมาเห็น ...ยิ้มแล้วทักว่า...บังหีมใช่มั้ย...น้ำแข็งที่ห่อหุ้มใจจนกายสั่นมือไม้ชื่นเหงื่อก็ละลายไปในพริบตา.....

ขอบคุณที่เล่าประสบการณ์ให้ฟังคะ

เคยได้ยิน ความแตกต่างระหว่างสองเพศ ว่าความสนใจเพศหญิง มักจะเกี่ยวข้องกับคน อารมณ์   ส่วนผู้ชาย มักเป็นสิ่งของ กลไก
...

โดยส่วนตัว คิดว่าเป็นแนวทางได้คร่าวๆ ว่า โดยส่วนใหญ่  
มีเรื่องขำๆ เล่าว่า
- ตัวเองเป็นคนชอบหลงทิศมาก  ขณะที่คนใกล้ตัวสามารถจำทิศได้อย่างไม่ต้องใช้ความพยายามเลย -> อันนี้ตรงกับงานวิจัยทั้งหลายว่าผู้ชายมี sense of direction ดีกว่า
- ตัวเองเป็นคนเงียบๆ ไม่สนใจเรื่องดาราหรือคนอื่น (แนวชาวบ้านเขาเราไม่เกี่ยว)  แต่คนใกล้ตัวช่างพูด และชอบสนใจเรื่อง วิเคราะห์เรื่องคนนั้นคนนี้ กระทั่งดาราก็รู้เยอะเชียว -> อันนี้ต่างจากที่เขาว่าๆ กันไหมคะ

อ่านบันทึกนี้แล้ว
หนึ่งยิ้ม ที่น้องเขียนได้น่ารักและแนะแนวทางแก้ไข
สองดีใจ มีพรรคพวกที่มีนิสัยส่วนหนึ่งคล้ายกัน
สามได้เก็บเกี่ยวเทคนิคนำไปใช้

ถ้าอยู่ในบ้านเรา พี่หลบแบบผลุบ ๆ โผล่ ๆ เพราะ ถึงอย่างไรก็พูดคุยภาษาเดียวกัน เรามีเรื่องคุยกันได้และพี่มักจำรายละเอียดงาน เรื่องที่คู่สนทนา อาจารย์ที่มีผลงาน มีชื่อเสียงเรื่องที่ทำ สนใจอยู่ เราอ่านหนึ่งครั้งเราจำได้ ตรงนี้ไม่รู้เหมือนกันว่าจำได้อย่างไร 

ถ้าอยู่แดนไกล จำชื่อได้ จำเรื่องหรือ field of interest ได้ แต่ ไม่กล้าพูดภาษาเขา กลัวออกชื่อเขาผิด ไม่ชินกับวัฒนธรรมการเรียกแต่ชื่อไม่เอ่ยคำนำหน้า พี่มักเรียกเขาเต็ม เช่น Professor, Dr. ไปจนกระทั่งชอบยืนและค้อมหัวนิด ๆ เป็นการให้เกียรติคู่สนทนา ฯลฯ

 

กำลังฝึกและทำตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมเขาค่ะ

 

ปล. เรื่องสองเรื่องที่พี่เป็นเต่าตุ่น คือ เรื่องข่าวการเมือง และเรื่องดาราค่ะ

เนี่ยยังหลงยุคและประทับใจเสมอว่า จินตหรา สุขพัฒน์เป็นนางเอกในดวงใจค่ะ

อิ อิ 

สวัสดีค่ะคุณหมอ.

.....ข้าพเจ้า นอกจากเป็นโรคแพ้สายตาแล้วยังแพ้เข็มฉีดยา รักษาไม่หายเท่าทุกวันนี้.

.....การสนทนานอกสวนของข้าพเจ้าเข้าขั้นจุดด้อยเลยค่ะ(ออกจากสวนก็มุ่งทำภารกิจ ไม่ค่อยทักทายพูดคุยกับใคร ไม่ทักก็ไม่พูด).

.....คงเป็นประเภทใช้ความเงียบจากต้นไม้และท้องฟ้าเป็นเพื่อนมังคะ.

.....แต่ที่พูดได้ในวันนี้เรียนมาจากเปิดสวนปี2546ค่ะ ผู้คนหลั่งไหลมาดูงานที่สวนไม่พูดก็ต้องพูด ไม่กล้าก็ต้องกล้าค่ะงานนี้. อยู่กัน2คน บางวันพูด(ตอบคำถาม-แนะนำ)ลมเข้าท้องอิ่มแทนข้าว.

***การแก้ปัญหาของข้าพเจ้าในการเข้าสังคม(ไม่ว่าระดับไหน) รอยยิ้ม ใช้ได้ดีเสมอค่ะ.

***พยายามสังเกต จดจำรายละเอียดของบุคคลค่ะ.

***ชวนสนทนาเนื้อหาเกี่ยวกับต้นไม้ สัตว์เลี้ยงและมุมมองเกี่ยวกับธรรมชาติค่ะ.

***สุดท้ายคือการสื่อพลังจากใจถ่ายทอดความปราถนาดีความรู้สึกดีๆให้คู่สนทนาค่ะ.(เปิดใจ)ทำให้สามารถรับความรู้สึกของกันและกันได้ค่ะ.

***ขอบคุณสูตรละลายน้ำแข็งจากคุณหมอค่ะ(ปล.คราวหน้าขอเป็นสูตรละลายไขมันบ้างนะคะ)5..

ขอบคุณค่ะพี่หมอเล็ก

สิ่งนี้ น่าจะเรียกว่า "เสน่ห์จากภายใน" ที่เป็นคุณสมบัติให้ใครๆ ก็อยากคุยด้วย ของพี่หมอเล็ก

" เรามีเรื่องคุยกันได้และพี่มักจำรายละเอียดงาน เรื่องที่คู่สนทนา อาจารย์ที่มีผลงาน มีชื่อเสียงเรื่องที่ทำ สนใจอยู่ เราอ่านหนึ่งครั้งเราจำได้ ตรงนี้ไม่รู้เหมือนกันว่าจำได้อย่างไร "

.....................................

เรื่องการเรียกชื่อ
ตอนเรียนจบแพทย์ใหม่ๆ เคยเรียกชื่ออาจารย์ฝรั่งคนหนึ่ง
โดยเขาแขวะกลับ ประมาณ "Oh you know english so little"
หลังจากนั้นจึงจำขึ้นใจว่า
ถ้าเรียกครั้งแรก ควรเป็น ยศ+นามสกุล
ยกเว้น เขาบอกเรา "Please call me..."

ปล. นางเอกในดวงใจของตัวเอง ก็เป็น คุณหมิว ลลิตา ที่ตอนนี้เป็นคุณแม่ลูกสามแล้วค่ะ :)

 

 

ขอบคุณค่ะที่มาช่วยยืนยัน ยิ้มไว้ใช้ได้กับทุกคน..
ยินดีด้วยที่สวนผักหวาน เป็นที่สนใจกว้างขวาง
หากกลับไปเชียงใหม่ หวังว่าสักวันจะได้ไปเยือนนะคะ :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท