พัฒนานิสิต : ว่าด้วยกรอบแนวคิด การนำไปใช้ การทบทวน และการมุ่งสู่เป้าหมาย


การทบทวนเป็นระยะๆ ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะเราไม่อาจดุ่มเดินไปข้างหน้าได้ โดยละเลยต่อการ "วิเคราะห์,สังเคราะห์สภาพปัจจุบัน" ของตัวเอง

จำได้ว่าก่อนเปิดภาคเรียน ๒๕๕๔ ผมได้เสนอประเด็นที่เกี่ยวกับ “กระบวนการพัฒนานิสิต” ต่อคณะกรรมการพัฒนานิสิตของมหาวิทยาลัยฯ ถึงแม้จะไม่ใช่กรอบแนวคิดหรูหรา เลิศลอยในมุมนักพัฒนา หรือนักกลยุทธอะไรมาก  แต่หลักๆ ก็เกิดจากฐานคิดของการปฏิบัติงานมาชั่วระยะเวลาหนึ่ง  ซึ่งได้รับความเห็นชอบร่วมกัน เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ หรือใช้เป็นเครื่องมือของการพัฒนานิสิต ให้เติบโตอย่างมีคุณค่า ทั้งต่อตัวเอง และผู้อื่น (สังคม) 

กระทั่งในวันนี้  วันที่ผมวางมือและก้าวลงมาจากจุดที่เคยเป็นอยู่  ก็อดที่จะหวนคิดทบทวนไปยังร่องรอยอันเป็นแนวคิดเหล่านั้นไม่ได้  เพราะนี่ก็เกือบครบขวบปีการศึกษาแล้ว  การทบทวนเป็นระยะๆ ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ  เพราะเราไม่อาจดุ่มเดินไปข้างหน้าได้ โดยละเลยต่อการ "วิเคราะห์,สังเคราะห์สภาพปัจจุบัน" ของตัวเอง

 

 

และนี่คือกรอบแนวคิดที่จัดวางเป็นเสมือนนโยบายและแนวปฏิบัติแก่นิสิตในต้นปี ๒๕๕๔

 

กรอบแนวคิดการจัดกิจกรรมพัฒนานิสิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ปีการศึกษา ๒๕๕๔ 

               

          ๑.เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นด้วยแนวคิดและวิธีการที่สร้างสรรค์  ก่อเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม  โดยสอดคล้องกับกรอบแนวคิด หรือนโยบายการพัฒนานิสิตในระดับชาติ  เช่น เก่ง ดี มีสุข กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา  คุณธรรม  นำความรู้  สถานศึกษา ๓ D  คุณธรรม ๘ ประการ  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 
          ๒.เป็นกิจกรรมที่สอดคล้องกับแนวคิด หรือนโยบายมหาวิทยาลัยมหาสารคาม อันเป็นกลยุทธในการพัฒนานิสิตสู่การเป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์  ได้แก่
             ๒.๑ ปรัชญามหาวิทยาลัย  “ผู้มีปัญญา พึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน”
             ๒.๒ คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์
             ๒.๓ มหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ 
             ๒.๔ อัตลักษณ์  (MSU FOR ALL)
             ๒.๕ คุณธรรม จริยธรรม (ประพฤติดี มีวินัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง)
         ๓.เป็นกิจกรรมที่มุ่งก่อให้เกิดกระบวนทัศน์ในการทำความดีเพื่อแผ่นดินเกิด หรือทำความดีเพื่อเฉลิมพระเกียรติในหลวง ๘๔ พรรษา
         ๔.เป็นกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดกระบวนการทำงานร่วมกัน หรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างนิสิตกับนิสิต และนิสิตกับชุมชน เช่น ส่วนราชการในชุมชน  ผู้นำชุมชน ผู้นำทางศาสนา ปราชญ์ชาวบ้าน ชาวบ้าน เด็กและเยาวชน

 

 


กระบวนการ

          ๑.เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ทักษะการทำงานเป็นทีม  ความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี  การบริหารจัดการโครงการเพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผล
          ๒.เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้เกิดกระบวนการทำงานในรูปของ “เครือข่าย” (network) ทั้งในระดับมหาวิทยาลัยและภายนอกมหาวิทยาลัย  ตลอดจนการเสริมสร้างกระบวนการให้ศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในเรื่องการพัฒนานิสิตและอื่นๆ
          ๓.เป็นกิจกรรมที่มุ่งปลูกฝังให้เกิดโลกทัศน์ในเรื่อง “จิตสำนึกสาธารณะ” ทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและระดับสังคมไปพร้อมๆ กัน
          ๔.เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้เกิดกระบวนการในการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ผ่านกลไกการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ที่หลากหลายแก่นิสิต เช่น การถอดบทเรียน (Lessons Learned)  การสร้างนวัตกรรม (Innovation) เพื่อเรียนรู้ร่วมกัน (Share & Learn) สุนทรียสนทนา (Dialogue) เรื่องเล่าเร้าพลัง (Story Telling)
          ๕.เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้เกิดกระบวนการทำงานที่เป็นรูปธรรมในเรื่องของ วงจรเดมิง (PDCA) ประกอบด้วย Plan (วางแผน) Do (ปฏิบัติตามแผน) Check (ตรวจสอบการปฏิบัติตามแผน) Act (ปรับปรุงแก้ไข)

 

 

 

ครับ, นี่ก็เกือบครบขวบปีแล้ว  บางทีอาจต้องตั้งคำถามว่าเราเดินทางมาอย่างไร เดินทางด้วยวิธีการใด, ประสบความสำเร็จแค่ไหน  สะดุด หรือแม้แต่ล้มลุกคลุกคลานมากี่ระยทางแล้ว  รวมถึงการทบทวนให้เห็นถึง "สภาวะปัจจุบัน" ว่าจะเดินไปสู่ "เป้าหมาย" ด้วยกลยุทธ หรือวิธีการใด

นั่นคือคำถามที่ก้องดังอยู่ในตัวตนของผม

ครับ, บางทีในมุมมองแม้มีนโยบาย หรือกรอบแนวคิดที่เป็นรูปธรรมแค่ไหน  หากไม่มีการนำไปปฏิบัติอย่างจริงจังและจริงใจ ก็ยากยิ่งที่จะประสบความสำเร็จ หรือบรรลุในเป้าหมายที่วางไว้...

หรือแม้แต่หากมีกระบวนการทบทวนดังที่ผมว่า  บางทีเราอาจค้นพบคำตอบบางคำตอบที่เป็นข้อจำกัดในตัวตน หรือองค์กรของเราด้วยก็เป็นได้ 

ทุกอย่างล้วนเป็นเรื่องท้าทายเสมอ

 

หมายเลขบันทึก: 472085เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2011 11:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 11:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอบคุณค่ะ เป็นอีกหนึ่งความหวังในการสร้างคนดี มีคุณธรรม อุดมปัญญา และมีจิตอาสา เพื่อพัฒนาประเทศของเราให้มีความสุขความเจริญอย่างยั่งยืน..ขอชื่นชมค่ะ

ชื่นชมปรัขญาของมหาวิทยาลัยมากค่ะ " “ผู้มีปัญญา พึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน”"

สวัสดีปีใหม่นะครับ คุณแผ่นดิน ;)...

ชื่นชมในแนวคิดค่ะ

นโยบายที่ดี   ต้องสามารถปฏิบัติได้จริง

ไม่ไช่มีไว้เพื่อให้องค์กรดูดี

 

ขอบคุณเรื่องราวดีๆครับ slot

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท