ความรู้จาก Seminar 1


บทบาทนักกิจกรรมบำบัดกับกิจกรรมในชีวิต

วิชา seminar  หลังจากการฟังการนำเสนอของเพื่อนๆเลขที่ 1-10 แล้ว  ทำให้ดิฉันรู้จักโรคหรือความผิดปกติต่างๆที่ไม่เคยรู้จักเพิ่มมากขึ้น  ได้แก่  hydrocephalus คนไทยเรียกว่า หัวบาตร หรือเด็กหัวแตงโม ซึ่งมักเป็นในเด็กเล็กเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ ที่เป็นแต่กำเนิดก็ด้วยมีการอุดกั้นของทางผ่านของน้ำหล่อเลี้ยงสมอง บางกรณีเกิดจากการติดเชื้อ  ทำให้เด็ก มีขนาดศีรษะโตที่โตขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งยังส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กในด้าน Gross motor (การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ) บทบาทที่สำคัญของนักกิจกรรมบำบัดคือการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กด้านต่างๆ โดยใช้เทคนิคและกรอบการทำงาน   NDT ,  developmental  , Sensory stimulation  และยังมีกรณีศึกษาอื่นที่มีภาวะกระดูกแขนหัก  ซึ่งผลกระทบต่อการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตอย่างมาก เราในฐานะ นักกิจกรรมบำบัดสามารถช่วยประเมินความสามารถ และส่งเสริมให้ทำกิจกรรมต่างๆได้โดยอาจให้อุปกรณ์ช่วย ให้เทคนิคต่างๆ รวมถึงการเพิ่มความสามารถทางกาย การเพิ่มความทนทาน กำลังกล้ามเนื้อ การลดอาการบวมจากการผ่าตัด และเรายังไม่ลืมดูด้าน การทำกิจกรรมยามว่างที่ชอบ การทำงาน หรืออุปสรรคด้านอื่นๆในชีวิตประจำวัน รวมทั้งการคำนึงถึงสภาพจิตใจของผู้ที่ได้รับความบกพร่อง รวมทั้งครอบครัว ผู้ใกล้ชิดด้วย  การทำงานในแบบนักกิจกรรมบำบัดต้องมองให้รอบด้านไม่มองผู้รับบริการแยกส่วน  การเรียนวันนี้ทำให้รู้ว่าการเป็น นักกิจกรรมบำบัดที่ดีต้องหมั่นศึกษาหาความรู้ใหม่ๆอยู่ตลอดเวลาเพื่อประโยชน็ต่อผู้รับบริการ และต่อวิชาชีพอีกด้วย ^ ^

 

หมายเลขบันทึก: 472078เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2011 11:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 23:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท