ข่าวประชาสัมพันธ์


หนังสือรายงานประจำปี 48 คลอดแล้ว หลังจากที่รอคอยมานานแสนนาน อย่าพึ่งเบื่อนะคะ

ต้องขออภัยท่านผู้บริหาร และ หัวหน้ากลุ่มงาน / หน่วยงานต่างๆ ด้วย ที่หนังสือรายงานประจำปี 2548  ออกช้ากว่ากำหนด ได้เริ่มแจกไปเมื่อวันที่ 29 ส.ค 49 นี้เอง  หากเจ้าหน้าที่ท่านใดที่มีความประสงค์ ต้องการหนังสือรายงานประจำปีเพิ่ม  ติดต่อขอรับหนังสือได้ที่งานเวชสถิติและระบาดวิทยา ตึก 8 ชั้น 3  เพราะยังมีหนังสือเหลืออยู่อีกประมาณ 20  เล่ม

ส่วนในปีต่อไปคิดว่าหนังสือรายงานประจำปี 2549  จะออกได้ตามกำหนดเวลา คือประมาณเดือนมกราคม 2550  โดยจะพัฒนาปรับปรุงเนื้อหา และ รูปเล่มใหม่  อาจจะต้องใช้งบประมาณมากกว่าเดิม  หากท่านใดมีข้อเสนอแนะ และความคิดเห็น ในการจัดทำรายงานประจำปี 2549  ยินดีรับฟังค่ะ เพื่อจะได้นำไปพัฒนาจัดทำหนังสือรายงานให้ดียิ่งขึ้น

หมายเลขบันทึก: 47177เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2006 07:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • สถิติต่าง ๆ ก็เป็นสิ่งที่ดี แต่เล้กมองว่าเป็นเชิงปริมาณมากว่าคุณภาพ
  • อยากได้ข้อมูลการวิเคราะห์ผลงานมากกว่าค่ะ เล็กว่าน่าจะได้ประโยชน์มากกว่าเพราะเป็นเรื่องคุณภาพเน้น ๆ
  • อยากเห็นภาพความเชื่อมโยงของการพัฒนาคุณภาพของสถาบันฯที่พวกเราพากันพัฒนาทั้งBSC HA HRD etc.
  • เอ๊ะ....ขอมากไปหรือเปล่าเนี่ย? (ขำ ขำ)

 

ขอบคุณค่ะ  จะพยายามทำให้ได้ตามที่ขอ  ข้อมูลเชิงคุณภาพนั้น  งานแผนและศูนย์พัฒนาคุณภาพ เป็นผู้เก็บรวมรวม  คงต้องมาตกลงกัน   ถ้าจะทำหนังสือรายงานปี 49  ในเชิงคุณภาพ   ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณนั้นยังต้องมีอยู่หรือไม่   พี่ต้องขอปรึกษาคุณหมอนภาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนนะค่ะ   คิดว่าคงไม่ปัญหา  พอมีเวลาเตรียมตัวทัน

พัฒนามากขึ้นแล้วค่ะแต่ตัวเลขยังไม่นิ่งและไม่ตรงเช่นจำนวนคนไข้เอดส์ค่ะ

เพิ่มตัวชี้วัดอีกนิดก็จะดีมากขึ้นค่ะ

ปัญหาข้อมูลเอดส์ที่ตัวเลขยังไม่นิ่ง เพราะ

 1. การใส่รหัสเพื่อบอกสถานะของผู้ป่วยติดเชื้อใน HOMC ยังทำได้ไม่ครบทุกราย กำลังตรวจสอบและใส่ให้ครบอยู่ คิดว่าข้อมูลปี 49  น่าจะดีขึ้น

2. การ Input  ข้อมูลผู้ป่วยในระบบบริการยังไม่ครบถ้วนตามระบบของ HOMC  ซึ่งกำลังแก้ไขปรับปรุงอยู่ค่ะ คิดว่าน่าจะทำได้ 90%

3. เจ้าหน้าที่ให้รหัสโรคผิดพลาด  เนื่องจากขาดประสบการณ์ และ อ่านลายมือแพทย์ไม่ออก ในแต่ละครั้งที่คนไข้มาตรวจ  บางครั้งผู้ป่วยไม่มีโรค OI ของเอดส์โดยตรง  ถ้าผู้ให้รหัสโรคไม่เปิดอ่านประวัติย้อนหลังก็จะไม่ทราบและให้รหัสโรคผิด เป็นคนไข้ทั่วไป เช่น ผู้ป่วยติดเชื้อมาด้วย URI รหัสโรค จะเป็น J069 + B24  แต่ถ้าเป็นผู้ป่วยทั่วไป รหัสโรคจะเป็น J069 อย่างเดียว ไม่มี B24 หรือ Z21   ซึ่งรหัส B24 และ Z21 ก็จะใช้ต่างกันอีก  B24 จะใช้กรณีที่ผู้ป่วยเอดส์  ไม่มี OI ตามแบบรายงานเอดส์ของสำนักระบาดวิทยา (506/1 )  ต้องดูผล CD4 ประกอบ ต้องต่ำกว่า 200   ส่วน Z21 ใช้กรณีที่เป็นผู้ป่วยติดเชื้อไม่มีอาการ และผล CD4 มากกว่า 200 หรือ มีอาการแต่ไม่เข้าข่ายในแบบรายงานเอดส์ 506/1  ขณะนี้กำลัง Train น้องอยู่ และช่วยตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลด้วย คงจะดีขึ้นค่ะ

4. ข้อมูลไม่ได้มาจากแห่งเดียวกัน จึงทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนได้

ควรลงรหัสให้ครบ 100% ก่อนโดยพัตนาการลง code icd10ให้เสร็จก่อนส่งแฟ้มออกจากOPD แต่ละแผนก แล้วค่อยปรับปรุงตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยเฉพาะคนไข้HIV
เห็นด้วยกับหมอโอค่ะ

ขอบพระคุณและดีใจที่มี "คุณหมอโอ" มาช่วยพัฒนาปัญหาส่วนใต้น้ำของภูเขาน้ำแข็งค่ะ

ดีใจค่ะ ที่คุณหมอชยนันท์ จะมาช่วยพัฒนางานข้อมูลนอก คิดว่าต่อไปข้อมูลของสถาบันคงดีขึ้นเรื่อยๆ จากความพยายามของทุกคนที่มาช่วยกัน ขอบคุณมากค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท