สวัสดีค่ะคุณพี่
สบายดีนะคะ
กำลังได้รับผลกระทบจาก "สัตว์สังคม" ค่ะ
"พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน"
ยังเป็นชื่อวิชานี้อยู่นะครับ ;)...
น่าสนใจยิ่งค่ะอาจารย์ สิ่งที่พยายามทำความเข้าใจผู้อื่น เพื่อทำงานได้อย่างราบรื่่น จากที่อาจารย์กรุณาแสดงความเห็นสามเหลี่ยม Maslow's วิเคราะห์ตนเองว่า มี motivation ที่เกิดจาก esteem need. ต้องการความเป็นเอกลักษณ์, อยากรับผิดชอบเรื่องใดเรื่องหนึ่งเต็มที่ แล้วลงลึกจนมีความเชี่ยวชาญ.
จึงมีความรู้สึกขัดแย้งในใจและยอมรับว่าไม่สุขนัก ในองค์กรที่ค่านิยมคือ "ทุกคนควรทำงานแทนกันละกันได้"
.
กำลังหาวิธีคุยกันหัวหน้า/ เพื่อนร่วมงานอย่างไร
หรือเราควรปรับวิธีคิดอย่างไรดีค่ะ
..น่าจะเปิด workshop สีลวิสุทธิ ความหมดจดแห่งศีล คือความปรกติทางกายและวาจา..(ซึ่งท่านพุทธทาสกล่าวแยกแยะไว้ใน"คู่มือมนุษย์"..).ให้.เป็นสถานะและพื้นฐานเบื้องต้น..เปรียบเหมือนแผ่นดิน..ที่มนุษย์.ยืนอยู่..ดังนั้น...
"ดร.จันทวรรณ ปิยะวัฒน์" ผู้อำนวยให้เรามี GTK เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
"หนู Poo" : นางฟ้าผู้การุณย์ ของเด็กๆ ผู้มีบันทึกเกี่ยวกับเด็กๆที่สดใสมาให้เราได้สัมผัสเสมอๆ
และ "หนูณัฐพัชร์" ผู้ช่างสังเกตและนำสิ่งที่ได้รับรู้ไปสู่การคิดแบบอุปมาน (Inductive Thinking) จนได้ผลผลิต (Output) ออกมาเป็นปรัชญาชีวิต
สงสัยว่า "หนูณัฐพัชร์" และ คุณ"ยายธี" เป็นสมาชิกชมรมเดียวกันหรือเปล่าคะ...อิอิ...ขออนุญาตแซว หวังว่าจะไม่เคืองขุ่นนะคะ
*** รออาจารย์มาเยือนวัดพระศรีรัตนมหาธาตุอีกครั้งค่ะ
ก่อนอื่นขอ ชื่นชมด้วยใจจริง ถึงวิธีการตอบของอาจารย์ค่ะ
อาจารย์คิดทบทวนสาส์นอย่างละเอียดรอบคอบ ก่อนพิมพ์ออกมา แล้วยังมีการทบทวนความสมบูรณ์..ซึ่งสะท้อนตนเอง หลายครั้งคิดแบบกระโดดๆ และพิมพ์ตกหล่นไม่รู้ตัว หากพัฒนาได้สักครึ่งหนึ่งของอาจารย์ก็พอใจแล้วค่ะ
.
ขออนุญาตแสดงทัศนะ ประเด็นที่อาจารย์กล่าวถึง "..ปัญหาในการทำงานเป็นทีมเป็นปัญหาสำคัญของสังคมไทยตั้งแต่ระดับหน่วยงานไปจนถึงระดับชาติ.." เท่าที่สัมผัสมาดังนี้ค่ะ
การทำงานเป็นทีม ในประเทศตะวันตก เป็นการแบ่งงานตาม competency คือใครถนัดสิ่งใด ทำหน้าที่ตนให้ดีที่สุด จะไม่ข้ามหน้าที่กัน
ข้อดี คือ เขาจะรับผิดชอบงานตนเองชนิดกัดไม่ปล่อยและภูมิใจในงานตัวเองมาก
ข้อเสีย คือ เขาจะไม่รับรู้อะไรนอกเหนือขอบเขตรับผิดชอบเลยจริงๆ
ขณะที่ ทีม ในความหมายบ้านเรา ดูเหมือนนิยมผู้ที่ "สารพัดประโยชน์" และการตัดสินใจมอบหมายงาน ขึ้นกับหัวหน้าทีม
ข้อดี คือ เรามีความรู้รอบตัว ไม่รู้ก็ส่งไม้ให้คนอื่นต่อได้
ข้อเสีย คือ กดความปรารถนาจะเชี่ยวชาญในสิ่งที่ตนทำได้ดี (mastery)
..
จะคอยติดตามบล็อกนี้ต่อไปอย่างแน่นอนค่ะ
แล้วใช้เวลาสักพักในการหาช่องทางพูดคุยแบบ win win :-)
ขอบคุณอีกครั้งค่ะ
สวัสดีน้องสาว อาจารย์วิไล
Blogใหม่ ว่าด้วยเรื่องของคน
คนหรือมนุษย์ คือสิ่งที่เข้าใจยาก ยิ่งคนที่ไม่เข้าใจตนเอง ยิ่งยากเหลือ
คน กวี จาง แซ่ตั้งเขียนไวบทหนึ่งว่า
คนคนคนคนคนคนคนคน
คนคนคนคนคนคนคนคนคน
คนคนคนคนคนคนคนคน
ข้าวเดือดแล้วคนด้วย...
มีปริศนาคำทายว่า..
อะไรเอ่ย ข้างล่างก็คน ข้างก็คน เข้าแล้วเหวย เข้าแล้ววา....
คำตอบคือ คนตากข้าวเปลือก ใช้มือคนคลุกเคล้าให้ข้าวพลิกเปลี่ยน
คน...การทำงานกับคน ยิ่งทำงานกับชุมชนยิ่งต้องนิ่งใช้หลัก อิทธิบาทสี่ยังพอ ต้องห้ามใช้
หลักอิทธิ สี่บาด ท่าทีที่บาด วาจาที่บาดหู ความเป็นอยู่ที่บาดใจ ทำงานด้วยกันไปก็บาดหมาง
คน....ทำงานชุมชนโดนคนที่ไม่เข้าใจต่อง่าก็มีบ้าง แต่ยึดหลักว่า
"สู้ทุกหน ทนทุกคำ ทำทุกอย่าง
ใครถากถาง อย่างไร ไม่เคยสน
ไม่บิดเบือน ไม่เคบเบื่อ ไม่เคยบ่น
ช่วยเหลือคน มีทุกข์ สุขใจเรา"...
ด้วยจิตรคารวะแด่บันทึกใหม่ในชื่อว่า..."คน"
เรื่องนี้เขียนไว้หลายเดือนแล้ว นำมาเสนอให้คุณพี่ได้ดูอีกครั้ง เพราะเป็นเรื่องความแตกต่างของขนาดกระติบข้าวเหนียวกับอายุของคนใช้งาน
ชอบดอกเมเปิ้ลสีแดงที่คุณน้องนำไปลงที่บันทึกของหนูกล้วยไข่มากค่ะ เลยขอจิ๊กมาไว้ดูที่บันทึกนี้ ถ้าได้ไปดูของจริงคงได้นั่งวาดรูปแน่ๆ เลยค่ะ (เจอความสอดคล้องอีกแล้ว 1) ดอกไม้สีแดงมาเจอกัน /2) เลือกยกข้อความเดียวกันมาอ้างอิง)
พี่วาดรูปได้ดีพอสมควรนะคะ ตอนเรียน มศ. 3 ที่พี่เพิ่งย้ายจากโรงเรียนเอกชนที่เลิกกิจการไปเข้าเรียนโรงเรียนของรัฐ ในชั่วโมงสอบศิลปะ อาจารย์นำกล้วยน้ำว้าไปแขวนไว้ที่กระดานหน้าห้อง แล้วสั่งให้นักเรียนวาดภาพเหมือนและระบายสีด้วยสีน้ำ ในห้องอาจารย์ไปยืนดูพี่วาดคนเดียว ดูนานจนพี่อึดอัดเสียสมาธิ อาจารย์ชมว่าวาดได้สวย มีเพื่อนผู้ชายคนหนึ่งที่อยู่ห้อง B (พี่อยู่ห้อง A) ที่ขึ้นชื่อว่ามีฝีมือในการวาดรูป ในการสอบครั้งนั้นมีพี่กับเพื่อนดังกล่าวที่ได้คะแนน 19 จาก 20 คนอื่นๆ ได้ 16 ลงไปค่ะ
สวัสดีค่ะ จากแนวคิดทางจิตวิทยาตะวันตก...การที่ครูจำเป็นต้องรู้ลึกซึ้งในเรื่องจิตวิทยาเด็กก็เพื่อให้รู้พฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้เรียนแต่ละวัย ว่ามีสาเหตุมาจากอะไรเพื่อการจัดกิจกรรม แนะนำส่งเสริม และช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองให้ดีขึ้น ให้สามารถเรียนได้อย่างมีความสุข มีพฤติกรรมตามที่สังคมต้องการ ...แต่การศึกษาจิตวิทยาในวัยผู้ใหญ่(Adult Learning) จะแตกต่างออกไป เพราะเป็นการศึกษาจิตวิทยาในเรื่องของการพัฒนา ยกระดับจิตใจ ความคิด ของผู้ใหญ่เพื่อการพัฒนางาน พัฒนาองค์กรและสังคมให้มีคุณภาพ เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRD) ให้ส่งผลต่อความสำเร็จของการพัฒนาประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำได้ยากกว่ามากนะคะ...
1) การบรรยายพฤติกรรม (To Describe Behavior) คือ บรรยายว่า บุคคลมีพฤติกรรมอย่างไรโดยไม่ระบุตัวบุคคลที่ชี้ชัดว่าเป็นใครค่ะ เป็นการกล่าวถึงคนทั่วๆ ไป ยกเว้นที่ไม่ทำให้เกิดความเสียหายและได้รับอนุญาตจากเจ้าตัวค่ะ
2) การอธิบายพฤติกรรม (To Explain Behavior) คือ อธิบายว่า เพราะเหตุใด บุคคลถึงมีพฤติกรรมเช่นนั้น
เมื่อบุคคลเข้าใจลักษณะและสาเหตุของพฤติกรรมแล้ว ก็จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในการทำนายพฤติกรรม (To Predict Behavior) และ/หรือการควบคุมพฤติกรรม (To Control Behavior) ของตนเอง และ/หรือของผู้อื่นได้ตามต้องการค่ะ
-แวะมาให้กำลังใจอาจารย์นะครับ
-ผมไม่ค่อยประสีประสาเกี่ยวกับวิชาการหรืองานวิจัยเท่าไหร่ (เขียนงานวิชาการไม่เป็น/อ่านของคนอื่นก็รู้สึกงงๆ 555)
คงจะขอทำหน้าที่เป็นเพียงผู้อ่าน(ที่ดี)อย่างเดียวนะครับ คิคิคิ
-อย่าลืมโทร.ไปหาคุณครูวิราชด้วยนะครับ
*ขอบคุณค่ะ พี่ใหญ่คิดถึงความหมายของคำว่า "คน"..และเห็นภาพแม่ครัวกำลัง "คน" เครื่องแกงและส่วนผสมอื่นๆในหม้อ เพื่อให้ได้แกงอร่อยๆสำหรับบริโภคอย่างมีความสุข
* เราทุกคนต่างจิตต่างใจที่มาอยู่ร่วมกันโดยธรรมชาติกำหนด การใช้ศาสตร์และศิลป์ของปฏิสัมพันธ์ดีๆต่อกันจึงเป็นพื้นฐานอันมั่นคงที่ต้องสร้างอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนนะคะ
ครับผมจะนำเป็นข้อคิดในหลาย ๆ ด้านครับ อาจารย์ จาก http://www.nature-dhrama.com
สวัสดีครับ อาจารย์ ผศ.วิไล แพงศรี
- "คน" หรือ "มนุษย์" ในทัศนะของพุทธศาสนามีหลายมิตินะครับ ขึ้นอยู่ที่ว่าจะอธิบายให้เข้ากับมิติทางด้านใดเท่านั้นเอง
-ผมอายุ 41 ปีครับ คงเป็นรุ่นหลานๆ ของอาจารย์ ผมจะใช้สรรพนามแทนอาจารย์ว่า "อาจารย์" เช่นเดิมนะครับ ส่วนอาจารย์จะเรียกผมอย่างไรก็ได้นะครับ
-ตอนนั้นผมขายกบที่ทรงเกษมสำราญอย่างดีในราคากิโลละ 80 บาท พะยะค่ะ 555
-คุณครูวิราชไม่ได้เลี้ยงปลาดุกครับ หากเอาไปฝากแบบเป็นๆ ท่านก็คงจะนำไปปล่อยลงหนองน้ำหมด เนื่องจากช่วงนี้ท่านกำลังทำบุญทำทานอย่างหนัก เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับ "น้องแพท" ลูกสาวของท่านที่เสียชีวิตไปเมื่อปีที่แล้ว จากอุบัติเหตุทางรถยนต์(ที่ ม.มหาสารคาม) ซึ่งตอนนี้ท่านและภรรยายังทำใจไม่ได้เลยนะครับ น่าสงสารมากๆ เลย
-ไปทานข้าวเที่ยงที่บ้านคุณครูวิราชก็ได้นะครับ เพราะแม่ยายของท่านตำส้มตำอร่อยมาก และปลาแดก(ปลาร้า)ที่ยายทำก็ชั้นหนึ่งเลยครับ ผมไปทีไรก็ขนปลาแดกที่ยายทำกลับมาเชียงใหม่เกือบทุกทีเลย โอ้ว! พูดแล้วน้ำลายจะไหล 555
-อย่าลืมถ่ายรูปมาฝากด้วยนะครับ
The heart of Dharma-nature is the existence of human live as it is normal and nature. : หัวใจหลักของธรรมชาติธรรม คือการดำรงชีพของมนุษย์
As with other organisms that live in the world , those are plants and animals. เช่นเดียวกับชีวิตอื่นๆ ที่ดำรงชีพอยู่บนโลกนี้เช่นเดียวกัน นั่นคือพืชและสัตว์
In contrast, a wise man has the opportunity to improve well being than those organisms. เพียงแต่มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีความเฉลียวฉลาด จึงมีโอกาสที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนได้มากกว่าพืชและสัตว์
ขอบคุณจริงๆ ค่ะ สำหรับธรรมทาน (ซึ่งเป็นทานที่มีค่ายิ่ง)
สวัสดีครับ เรียน ท่านอาจารย์ ผมกำลังดำเนินการเรื่องแปลในขณะนี้ คิดว่าทีมงานคงช่วยกัน ตั้งใจจะแปล ในเนื้อหาทั้งเว็บไซต์ คิดว่าคงมีประโยชน์ยิ่งขึ้นครับ ผมเองภาษาอังกฤษไม่ถนัดครับ ต้องขอแรง ครับขอบคุณท่านอาจารย์อย่างมาก ตอนนี้เพิ่มเนื้อหาใหม่ "คำควรคิดจากธรรมชาติธรรม" วันนี้ได้นำเสนอไปแล้วครับ
"สวัสดีคุณน้อง วิไล แพงศรี
บันทึกนี้ มีสิ่งดูดใจ ให้ใคร่ครวญ
อ่านแล้วคิด พิจารณา มาทบทวน
เรื่องทั้งมวล ของคน ในโกทูโนว์..."
"ใครชอบ ใครชัง ช่างเถิด ใครเชิด
ใครชู ช่างเขา ใครว่า ใครบ่น ทนเอา
ใจเรา ร่มเย็น เป็นพอ"...
ตั้งแต่ 23 พย.54 เป็นต้นมา ถึง ณ 30 พย.54 ค่อนข้างได้รับผลกระทบที่ถึงขั้นรับประทานอะไรเข้าไป มันช่างไร้รสชาติ ซะเหลือเกิน..แต่ณ วันนี้ ได้ใช้หลัก..ใจเรา ร่มเย็น เป็นพอ"...จึงได้รสชาติที่อร่อยกลับคืนมาทุกมื้อของอาหารที่ทานค่ะ..
ขอบพระคุณคุณพี่ที่มีอิทธิพลต่ออารมณ์ ความรู้สึก..ที่ปกติสุขกลับมาอีกครั้งหนึ่ง..นะคะ
ขอให้พลังคิดนี้ส่งผลให้คุณพี่มีพลังในการปฏิบัิตงานด้วยความสุขค่ะ
สวัสดีครับ ดร.วิไล
การที่จะชนะใจเขาโดยที่ไม่ต้องรบ...ไม่ทราบว่าจะทำอย่างไร...เพราะเราเองยังไม่ชนะใจเราเองเลยครับ....
สวัสดีค่ะ
นำมาลัยขาวมาฝาก สบายดีนะคะ คืดถึงเสมอค่ะ
สวัสดีครับ ผศ.วิไล
-เข้าใจแล้วครับสำหรับคำนำหน้าท่าน
-ขอบคุณสำหรับตำแนะนำ..ชนะพยายามเอาชนะใจตนเองครับ.....
สวัสดีครับ ผศ.วิไล
-ผมสนใจเรื่องคนมากๆครับ...โดยเฉพาะเรื่อง "มนุษยสัมพันธ์" ตอนทำวิทยานิพนธ์ก็ทำเรื่องเกี่ยวกับคน เรื่อง การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้มนุษยมัมพันธ์ในการบริหารของผู้อำนวยการวิทยาลัยพลศึกษากับบรรยากาศองค์การตามทัศนะของผู้ใต้บังคับบัญชา....ถ้าจำไม้ผิดทำรูปเล่มแล้วเสร็จผมส่งให้ห้องสมุดโรงเรียนยโสธรพิทยาคม
-อ่านประวัติท่าน...ท่านแต่งตำรามนุษยสัมพันธ์ไว้ก็สนใจอยากอ่าน...ตอนทำวิทยานิพนธ์หาตำราเกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์แทบแย่
-สอนนักศึกษาก็สอนวิชามนุษยสัมพันธ์
-เคยได้รับทุน วช.ทำวิจัยเรือง "การพัฒนาบทเรียนการสอนผ่านเว็บวิชามนุษยสัมพันธ์" ให้น้องปทุมริยา(ตอนนี้จบ ดร.ที่มน.แล้ว)นำขึ้นเว็บให้เพราะตัวเองเอาขึ้นไม่ได้ตอนนั้น 555 น้องปทุมาริยาเรียกค่าขึ้นเว็บ 20,000 บาท 555 ต้องยอมเพราะในโครงการเขียนไว้อย่างนั้น
http://www.ipecp.ac.th/cgi-bin/decha51/(ถ้าจำไม่ผิดเมื่อทำเป็นรูปเล่มแล้วได้ส่งให้มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และมรภ.อุบลราชธานี)
-ก่อนเกษียณอายุราชการปี 53 ก็อุตสาหะทำผลงานปรับเปลี่ยนตำแหน่งทางวิชาการกับเขาก็ทำ "เอกสารประกอบการสอนวิชามนุษยสัมพันธ์"(เพื่อนGTOบางท่านยังช่วยอ่านช่วยส่งตำรามาให้)ป่านนี้ยังไม่ทราบผล 555
เรื่องของ มนุษย์เรา "มนุษยสัมพันธ์" เป็นหัวใจ
ท่านเขียนเอกสารประกอบการสอน สอน และทำวิจัยเกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์ แสดงว่า ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านมนุษยสัมพันธ์ ได้แล้วล่ะค่ะ
ตำราวิชามนุษยสัมพันธ์ ดิฉันทำในช่วงพิมพ์ดีด จึงไม่มีไฟล์ข้อมูลและไม่มีที่เป็นเล่มเหลืออยู่เลยค่ะ ให้คนและหน่วยงานไปหมด เพราะตอนหลังวิชานี้ไม่มีในหลักสูตร ไปแทรกอยู่ในวิชาพฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน ที่ดิฉันสอนอยู่ในปัจจุบันค่ะ
เอาเป็นว่าจะเขียนบันทึกเกี่ยวกับ "มนุษยสัมพันธ์" เป็นเรื่องแรกใน Blog นี้ ขอเรียนเชิญท่าน ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านมนุษยสัมพันธ์ เข้ามาเติมเต็มเนื้อหาด้วยนะคะ ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ
Link ที่ท่านให้มา เปิดดูแล้ว มีข้อความภาษาอังกฤษ แปลโดยสรุปได้ว่า "ไม่พบไฟล์ อาจจะถูกลบออกไปแล้ว หรืออาจมีการเปลี่ยนชื่อ" ลองตรวจสอบดูด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ
สวัสดีน้องสาว เข้ามาทักทายหลายหนในบันทึกนี้
เป็นการเรียนรู้จากบันทึก และความเห็นที่หลากหลายที่ให้ปัญญา
ระยะนี้ทางใต้ฝนตก ต้องต้องอยู่ดึก หรือบางคืนก็นนอนดึก
คอยเฝ้าระวังภัยธรรมชาติ เมื่อภัยมา
คืนนี้สบายใจ ฝนไม่ตก นั่งท่องไปตามบันทึกต่างๆด้วยความสบายใจ
"แวะมาบอกว่า..ขอบคุณมากที่ห่วงใยในสุขภาพ"
คนอายุมากมักไม่ค่อยนอน อยู่เป็นผู้รู้ราตรีกาล รัตตัญญู
"การเป็นคนรู้ใจกันจริงๆ"..ยิ้มมมม..วันนี้มีความสุขนะคะ
แต่..คุณพี่..จดจ่ออยู่กับงาน ..ถึง 2.00น.แล้วนะคะ
ดึกเกินไปไหมคะ..คุณวอญ่าด้วยนะคะ..
..อยู่เป็นผู้รู้ราตรีกาล รัตตัญญู..
..คนอายุมากมักไม่ค่อยนอน..จริง ๆ แล้ว
คนอายุมาก ควรพักผ่อนนะคะ..
ด้วยความห่วงใยด้วยใจจริงค่ะ
ก่อนราตรีสวัสดิ์ค่ะอาจารย์แม่ของท่านพี่ฯ
เข้ามาชมบันทึกนี้ไม่มีผิดหวังเลยค่ะ ชอบอ่านการตอบความเห็นของอ. แม่ฯ ค่ะ
ช่วงปลายฝนต้นหนาว เอาน้องน้ำค้างมาฝากเด้อค่า .. นึกถึงที่สวนอ. แม่ฯ คงจะได้เจอหลายๆกว่านี้
หากมีเวลาอย่าลืมจับภาพ น้องน้ำค้าง ที่สวนอ. แม่มาให้ชมกันบ้างนะคะ สุขสันต์ค่ะ
สวัสดีครับ
ขอสมัครเข้ามาเป็นสมาชิกร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยครับ สำหรับกิจกรรมที่มีคึุณค่า ในการพัฒนาตัวเอง ก่อนไปพัฒนาผู้อื่น
ขอบคุณกิจกรรมดีๆที่มีประโยชน์เพื่อเพื่อนมนุษย์ครับ
*** มาเยี่ยมเยียนนะคะ และลองศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ เพื่อเทียบเคียงกับของตนดูค่ะ...ขอบคุณสาระดีๆ จากบันทึกค่ะ ! ***