กลองมโหระทึกโบราณวัตถุชิ้นสำคัญในพิพิธภัณฑ์ฯ ชุมพร


จากโลหะสู่ความเชื่อของมนุษย์

     เพื่อนๆ ที่เคยมาชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  ชุมพร  คงจะเคยเห็นโบราณวัตถุที่เรียกว่า  กลองมโหระทึก  สงสัยไหมค่ะว่าโบราณวัตถุชิ้นนี้มีความเป็นมาอย่างไร  และใช้สำหรับทำอะไร

 กลองมโหระทึก

      กลองมโหระทึก  เป็นประดิษฐกรรมที่เกิดขึ้นในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ต่อเนื่องถึงช่วงต้นประวัติศาสตร์  ประมาณ  2,000 - 3,000  ปีมาแล้ว  พบในวัฒนธรรมโบราณต่างๆ  ในดินแดนเอเซียตะวันออกเฉียงใต้  เช่น พม่า ไทย  เวียดนาม  ลาว  มาเลเซีย  อินโดนีเซีย  และฟิลิปปินส์  เป็นต้น 

     กลองมโหระทึก  มีชื่อแตกต่างกันออกไปตามรูปแบบและความเชื่อของคนในท้องถิ่นนั้น ๆ  เช่น  ในภาคเหนือของไทยและพม่า  เรียกว่า  ฆ้องกบหรือฆ้องเขียด  เนื่องจากมีรูปกบหรือเขียดปรากฏอยู่บนหน้ากลอง  จีนเรียกว่า  ตุงกู่ (Tung Ku)  อังกฤษ  เรียกว่า  Kettle  drum  หรือ  Bronze  drum เป็นต้น  กลองมโหระทึก  ทำด้วยโลหะผสมระหว่างทองแดงและดีบุก  มีลักษณะรูปร่างคล้ายทรงกระบอก  ส่วนหน้ากลองและฐานกลองผายออก หน้ากลองเป็นแผ่นเรียบ  ภายในกลวง

     ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับกลองมะโหระทึก  มีการศึกษาค้นคว้าและการสันนิษฐานต่างๆ  เช่น
-ไฮเน เจลเร็น (Heine Geldren)  กล่าวว่า  กลองมโหระทึกจัดอยู่ในกลุ่มวัฒนธรรมดองซอน (Dong son  Culture) มีอายุประมาณ  พ.ศ.200 หรือ 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช  มีแหล่งผลิตครั้งแรกบริเวณเมืองธั่นหัว (Thanh - Hoa) ประเทศเวียดนาม
- Goloubew สันนิษฐานว่า  กลองมโหระทึกมีกำเนิดในแถบเทือกเขาทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม  ต่อมาได้รับเอาวิธีหลอมโลหะจากประเทศจีน  ทำให้การผลิตกลองมโหระทึกมีความก้าวหน้าขึ้น
- De Groot สันนิษฐานว่า  ชาวพื้นเมืองในมณฑลกวางตุ้งในประเทศจีนเป็นผู้หล่อขึ้นเป็นครั้งแรก
- A.B. Meyer สันนิษฐานว่ากลองมโหระทึกที่พบกระจายอยู่ในแถบหมู่เกาะอินเดียตะวันออกนั้นมีถิ่นกำเนิดจากกลุ่มมอญ - เขมร  ซึ่งอยู่ในประเทศกัมพูชา
- Bezacier มีความเห็นตรงกับไฮเน เจลเร็น ว่ากลองมโหระทึกมีการผลิตครั้งแรกในวัฒนธรรมดองซอน  ประเทศเวียดนาม  ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ถึงกึ่งประวัติศาสตร์

     หลักฐานทางเอกสารและโบราณคดี
หลักฐานทางเอกสาร
สำหรับในประเทศไทยมีหลักฐานปรากฏว่ามีการผลิตและใช้กลองมโหระทึกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (ยุคโลหะ) เป็นต้นมา     หลักฐานทางเอกสารที่พบว่ามีการใช้กลองมโหระทึก  คือ  - สมัยสุโขทัย  หนังสือไตรภูมิพระร่วง  โดยเรียกว่า  มหรทึก  ความว่า
"...บ้างขับสรรพสำเนียงเสียงหมู่นักคุนจุนกันไปเดียรดาษ   พื้นกลองแตรสังข์ระฆังกังสดาล  มหรทึกกึกก้องทำนุกดี..." 
สมัยอยุธยา ประมาณแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ  มีการกล่าวถึงชื่อกลองมโหระทึกในกฎมณเฑียรบาล  โดยเรียกว่า  หรทึก  และใช้ในงานพระราชพิธี  ความว่า"...งานสมโภชนสมุหะประธานทูลเผยใบศรี  ญานประกาศถวายศโลก  อิศรรักษา  ถวายพระศรีเกตฆ้องไชย  ขุนดนตรีตี หรทึก ..."  และ 
"...ในเดือนเก้าพระราชพิธีตุลาภาร  ขุนศรีสังครเป่าสังข์  พระอินทรเภรี พระนนทิเกษาตีฆ้องไชย ขุนศรีตีหรทึก..." 
-
สมัยรัตนโกสินทร์  พบว่าได้กลับมาเรียกชื่อกลองดังกล่าวว่า มโหระทึก  และเรียกต่อเนื่องกันมาถึงปัจจุบัน  โดยยังมีการใช้กลองมโหระทึกในงานพระราชพิธีต่างๆ เช่น พระราชพิธีฉัตรมงคล  เป็นต้น
หลักฐานทางโบราณคดี
     กลองมะโหระทึกที่พบในประเทศไทย  เช่น  ภาคเหนือ  บ้านบ่อหลวง  จังหวัดน่าน, ตำบลท่าเสา  จังหวัดอุตรดิตถ์, บ้านนาโบสถ์  เป็นต้น  จังหวัดตาก  ภาคกลาง  เช่น  บ้านสามง่าม  จังหวัดตราด, เขาสะพายแร้ง  จังหวัดกาญจนบุรี, แหล่งโบราณคดีคูบัว  จังหวัดราชบุรี เป็นต้น  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  เช่น วัดมัชฌิมาวาส (วัดกลาง) จังหวัดมุกดาหาร, บ้านดงยาง  จังหวัดมุกดาหาร,  บ้านสหัสขันธ์  จังหวัดกาฬสินธุ์  เป็นต้น  ภาคใต้ เช่น  แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว  จังหวัดชุมพร, อำเภอไชยา  จังหวัดสุราษฎร์ธานี,  ตำบลท่าเรือ  จังหวัดนครศรีธรรมราช ,ตำบลจะโหนง  จังหวัดสงขลา  เป็นต้น

วัตถุประสงค์ในการผลิตกลองมโหระทึก
1. ใช้เป็นเครื่องแสดงฐานะความมั่งคั่ง
2. ใช้เป็นวัตถุสำคัญประกอบในพิธีกรรมเกี่ยวกับความตาย
3. ใช้ตีเป็นสัญญาณในการสงคราม
4. ใช้ตีประกอบในพิธีกรรมขอฝน
5. ใช้ตีเพื่อการบำบัดรักษาโรคทางไสยศาสตร์

ถ้าเพื่อนๆ คนไหนสนใจเรื่องกลองมโหระทึกสามารถมาชมได้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  ชุมพร  ค่ะ  หรือถ้าต้องการข้อมูลติดต่อฝ่ายวิชาการและบริการการศึกษาได้ทุกวันทำการค่ะ

เอกสารอ้างอิง

- กรมศิลปากร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. กลองมโหระทึกในประเทศไทย.กรุงเทพฯ:บริษัทอาทิตย์โพรดักส์  กรุ๊ป จำกัด,2546.
 

 

หมายเลขบันทึก: 4669เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2005 11:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
พี่ชาย คัดมาจากผู้จัดการออนไลน์ 25 ส.ค.2548
กลองมโหระทึก สัญลักษณ์แห่งอุษาคเนย์
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 25 สิงหาคม 2548 15:49 น.
 
หากเอ่ยถึง “กลอง” เชื่อว่าทุกคนคงรู้จักเป็นอย่างดี เนื่องจากในวิถีชีวิตของชาวไทยนั้น กลอง นับว่ามีบทบาทสำคัญ ไม่ว่าจะงานบุญ งานรื่นเริง การร้องรำทำเพลง มักจะต้องมีเจ้าเครื่องดนตรีที่เรียกว่า “กลอง”รวมอยู่ด้วยแทบทุกครั้ง แต่จะมีสักกี่คนกันที่รู้จักกลองมโหระทึก หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า กลองทอง ซึ่งเป็นกลองโบราณอายุนับพันๆปี
       
       กลองมโหระทึก หรือชาวบ้านเรียกว่า “กลองทอง” ถูกเก็บไว้ในวัดมัชฌิมาวาส (วัดกลาง) อ. ดอนตาล จ. มุกดาหาร ในเอกสารของสำนักงานจังหวัดมุกดาหารกล่าวไว้ว่า พบเมื่อ พ.ศ. 2481 ที่บริเวณตลิ่งริมแม่น้ำโขงถูกน้ำเซาะพังทลายตรงบ้านนาทามในเขตลาว ตอนแรกเก็บไว้ที่วัดเวินไชยมงคล บ้านดอนตาล ตำบลดอนตาล ต่อมาย้ายไปเก็บรักษาไว้วัดกลาง
       
       ลักษณะของกลองมโหระทึกใบนี้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 86 เซนติเมตร ก้นกลอง 90 เซนติเมตร สูง 66 เซนติเมตร นับว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยขณะนี้
       
       บริเวณหน้ากลองมีลายนูนเป็นรูปคล้ายดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ มีรัศมี 14 แฉก แล้วมีประติมากรรมรูปกบประดับ 4 มุม ๆ ละตัวด้าน นักโบราณคดีกำหนดอายุตามรูปแบบ และลวดลายว่ามีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 5-6- (หรือหลัง พ.ศ. 400-500)
       
       มโหระทึกไม่ใช่สมบัติวัฒนธรรมของพวกฮั่น (จีน) มาแต่เดิม เพราะเอกสารจีนโบราณระบุว่า เป็นของพวกป่าเถื่อนทางใต้ สมัยหลัง ๆ ต่อมายังเรียกมโหระทึกว่า "หนานถงกู่" หมายถึงกลองทองแดงของพวกชาวใต้ แต่มโหระทึกเป็นสัญลักษณ์ของอารยธรรมเริ่มแรกของภูมิภาคอุษาคเนย์ และมีอายุไม่น้อยกว่า 3,000 ปีมาแล้ว เพราะในวัฒนธรรมจ้วง กว่างซียังมีประเพณีประโคมตีมโหระทึกในหมู่บ้านต่าง ๆ เพื่อบูชากบ และขอฝน สืบมาจนทุกวันนี้
       
       นอกจากนี้กลองมโหระทึกยังแพร่หลายไปทั้งทางบกและทางทะเลไปยังดินแดนต่าง ๆ ของอุษาคเนย์ ทั้งบนผืนแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะ เพราะพบกลองมโหระทึกอยู่ในท้องถิ่นเหล่านั้น เช่นคาบสมุทรมลายู และหมู่เกาะอินโดนีเซีย รวมทั้งประเทศไทย
       
       สำหรับในดินแดนประเทศไทย พบมโหระทึกทั่วทุกภาค เช่นพบที่ นครพนม มุกดาหาร อุตรดิตถ์ อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ กาญจนบุรี ชุมพร นครศรีธรรมราช สงขลา และสุราษฎร์ธานี ทั้งนี้การพบมโหระทึกในที่ต่าง ๆ ทั้งใกล้และไกล แสดงออกให้เห็นถึงเส้นทางคมนาคมที่มนุษย์มีการติดต่อไปมาหาสู่กันทั้งภูมิภาค และทั้งทางบก – ทางทะเล มาตั้งแต่สมัยอดีตกาลแล้ว
       
       อันที่จริงแล้ว "มโหระทึก" เป็นคำโบราณที่ยืมมาจากต่างประเทศแล้วกร่อนจนเพี้ยนไป มีใช้อยู่ในเอกสารไทยสมัยก่อนๆ ไม่ใช่คำไทยแท้ แต่ เช่น ไตรภูมิเรียกว่า "มโหระทึก" แต่กฎมณเฑียรบาลเรียก "หรทึก" จัดเป็นเครื่องประโคมตีชนิดหนึ่งมีเสียงดังมาก ในกฎมณเฑียรบาลจึงบอกว่า "ขุนดนตรีตีหรทึก" และในไตรภูมิบอกว่า "มโหระทึกกึกก้อง" แต่ไม่ได้ระบุว่าเป็น "กลอง" หรือ "ฆ้อง"
       
       เมื่อมาถึงปัจจุบันมักจัดมโหระทึกเป็นประเภทกลอง เพราะมีรูปร่างคล้ายกลอง จึงเรียกกันติดปากว่า "กลองมโหระทึก" แต่มโหระทึกทำด้วยโลหะผสมที่เรียกว่าสำริด (Bronze) ในตระกูลฆ้อง แล้วมักมีประติมากรรมรูปกบขนาดเล็กๆ ประดับขอบแผ่นหน้า คนบางกลุ่มจึงเรียก "ฆ้องกบ" หรือ "ฆ้องเขียด" แต่เอกสารจีนเรียก "กลองทองแดง" เพราะมีส่วนผสมของทองแดงเป็นโลหะหลัก ส่วนชาว จ.มุกดาหารมักเรียกมโหระทึกว่า "กลองทอง"
       
       มโหระทึกในประเทศไทยสมัยโบราณก็เป็นสัญลักษณ์ของพระเจ้าแผ่นดิน ดังมีหลักฐานอยู่ในกฎมณเทียรบาลสมัยกรุงศรีอยุธยาใช้มโหระทึกประโคม ตีในงานพระราชพิธีและที่เกี่ยวกับ ความอุดมสมบูรณ์ของอาณาจักร แล้วยังสืบเนื่องมาถึงสมัยกรุงเทพฯ ทุกวันนี้ ดังที่ใช้ประโคมตีในงานพระราชพิธีจรดพระนังคัล แรกนาขวัญที่ท้องสนามหลวงทุกปี เป็นต้น
       
       หากใครอยากจะเห็นหน้าตาจริงๆของกลองมโหระทึกหรือว่ากลองทองแล้วล่ะก็ ถ้าผ่านมาแถวริมแม่น้ำโขง ทางฝั่ง อ.ดอนตาล จ.มุกดาหาร ก็สามารถแวะเวียนเข้ามาชมได้ นอกจากนั้นแล้วยังสามารถท่องเที่ยวไปในบรรยากาศสบายๆชมวัฒนธรรม ริมฝั่งโขง อาทิ ธรรมาสน์ไม้สองชั้น ที่วัดกลาง ธรรมาสน์เสาเดียว ที่วัดพิจิตรสังฆาราม พร้อมทั้งชมทัศนียภาพและวิถีความเชื่อของชุมชนริมฝั่งโขง เรียกได้ว่าคุ้มค่ากับการมาเยือนเลยทีเดียว

พี่ชาย คัดมาจากผู้จัดการออนไลน์ 25 ส.ค.2548
กลองมโหระทึก สัญลักษณ์แห่งอุษาคเนย์
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 25 สิงหาคม 2548 15:49 น.
       หากเอ่ยถึง “กลอง”    เชื่อว่าทุกคนคงรู้จักเป็นอย่างดี เนื่องจากในวิถีชีวิตของชาวไทยนั้น กลอง นับว่ามีบทบาทสำคัญ ไม่ว่าจะงานบุญ งานรื่นเริง การร้องรำทำเพลง มักจะต้องมีเจ้าเครื่องดนตรีที่เรียกว่า “กลอง”รวมอยู่ด้วยแทบทุกครั้ง แต่จะมีสักกี่คนกันที่รู้จักกลองมโหระทึก หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า กลองทอง ซึ่งเป็นกลองโบราณอายุนับพันๆปี
       
       กลองมโหระทึก หรือชาวบ้านเรียกว่า “กลองทอง” ถูกเก็บไว้ในวัดมัชฌิมาวาส (วัดกลาง) อ. ดอนตาล จ. มุกดาหาร ในเอกสารของสำนักงานจังหวัดมุกดาหารกล่าวไว้ว่า พบเมื่อ พ.ศ. 2481 ที่บริเวณตลิ่งริมแม่น้ำโขงถูกน้ำเซาะพังทลายตรงบ้านนาทามในเขตลาว ตอนแรกเก็บไว้ที่วัดเวินไชยมงคล บ้านดอนตาล ตำบลดอนตาล ต่อมาย้ายไปเก็บรักษาไว้วัดกลาง
       
       ลักษณะของกลองมโหระทึกใบนี้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 86 เซนติเมตร ก้นกลอง 90 เซนติเมตร สูง 66 เซนติเมตร นับว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยขณะนี้
       
       บริเวณหน้ากลองมีลายนูนเป็นรูปคล้ายดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ มีรัศมี 14 แฉก แล้วมีประติมากรรมรูปกบประดับ 4 มุม ๆ ละตัวด้าน นักโบราณคดีกำหนดอายุตามรูปแบบ และลวดลายว่ามีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 5-6- (หรือหลัง พ.ศ. 400-500)
       
       มโหระทึกไม่ใช่สมบัติวัฒนธรรมของพวกฮั่น (จีน) มาแต่เดิม เพราะเอกสารจีนโบราณระบุว่า เป็นของพวกป่าเถื่อนทางใต้ สมัยหลัง ๆ ต่อมายังเรียกมโหระทึกว่า "หนานถงกู่" หมายถึงกลองทองแดงของพวกชาวใต้ แต่มโหระทึกเป็นสัญลักษณ์ของอารยธรรมเริ่มแรกของภูมิภาคอุษาคเนย์ และมีอายุไม่น้อยกว่า 3,000 ปีมาแล้ว เพราะในวัฒนธรรมจ้วง กว่างซียังมีประเพณีประโคมตีมโหระทึกในหมู่บ้านต่าง ๆ เพื่อบูชากบ และขอฝน สืบมาจนทุกวันนี้
       
       นอกจากนี้กลองมโหระทึกยังแพร่หลายไปทั้งทางบกและทางทะเลไปยังดินแดนต่าง ๆ ของอุษาคเนย์ ทั้งบนผืนแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะ เพราะพบกลองมโหระทึกอยู่ในท้องถิ่นเหล่านั้น เช่นคาบสมุทรมลายู และหมู่เกาะอินโดนีเซีย รวมทั้งประเทศไทย
       
       สำหรับในดินแดนประเทศไทย พบมโหระทึกทั่วทุกภาค เช่นพบที่ นครพนม มุกดาหาร อุตรดิตถ์ อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ กาญจนบุรี ชุมพร นครศรีธรรมราช สงขลา และสุราษฎร์ธานี ทั้งนี้การพบมโหระทึกในที่ต่าง ๆ ทั้งใกล้และไกล แสดงออกให้เห็นถึงเส้นทางคมนาคมที่มนุษย์มีการติดต่อไปมาหาสู่กันทั้งภูมิภาค และทั้งทางบก – ทางทะเล มาตั้งแต่สมัยอดีตกาลแล้ว
       
       อันที่จริงแล้ว "มโหระทึก" เป็นคำโบราณที่ยืมมาจากต่างประเทศแล้วกร่อนจนเพี้ยนไป มีใช้อยู่ในเอกสารไทยสมัยก่อนๆ ไม่ใช่คำไทยแท้ แต่ เช่น ไตรภูมิเรียกว่า "มโหระทึก" แต่กฎมณเฑียรบาลเรียก "หรทึก" จัดเป็นเครื่องประโคมตีชนิดหนึ่งมีเสียงดังมาก ในกฎมณเฑียรบาลจึงบอกว่า "ขุนดนตรีตีหรทึก" และในไตรภูมิบอกว่า "มโหระทึกกึกก้อง" แต่ไม่ได้ระบุว่าเป็น "กลอง" หรือ "ฆ้อง"
       
       เมื่อมาถึงปัจจุบันมักจัดมโหระทึกเป็นประเภทกลอง เพราะมีรูปร่างคล้ายกลอง จึงเรียกกันติดปากว่า "กลองมโหระทึก" แต่มโหระทึกทำด้วยโลหะผสมที่เรียกว่าสำริด (Bronze) ในตระกูลฆ้อง แล้วมักมีประติมากรรมรูปกบขนาดเล็กๆ ประดับขอบแผ่นหน้า คนบางกลุ่มจึงเรียก "ฆ้องกบ" หรือ "ฆ้องเขียด" แต่เอกสารจีนเรียก "กลองทองแดง" เพราะมีส่วนผสมของทองแดงเป็นโลหะหลัก ส่วนชาว จ.มุกดาหารมักเรียกมโหระทึกว่า "กลองทอง"
       
       มโหระทึกในประเทศไทยสมัยโบราณก็เป็นสัญลักษณ์ของพระเจ้าแผ่นดิน ดังมีหลักฐานอยู่ในกฎมณเทียรบาลสมัยกรุงศรีอยุธยาใช้มโหระทึกประโคม ตีในงานพระราชพิธีและที่เกี่ยวกับ ความอุดมสมบูรณ์ของอาณาจักร แล้วยังสืบเนื่องมาถึงสมัยกรุงเทพฯ ทุกวันนี้ ดังที่ใช้ประโคมตีในงานพระราชพิธีจรดพระนังคัล แรกนาขวัญที่ท้องสนามหลวงทุกปี เป็นต้น
       
       หากใครอยากจะเห็นหน้าตาจริงๆของกลองมโหระทึกหรือว่ากลองทองแล้วล่ะก็ ถ้าผ่านมาแถวริมแม่น้ำโขง ทางฝั่ง อ.ดอนตาล จ.มุกดาหาร ก็สามารถแวะเวียนเข้ามาชมได้ นอกจากนั้นแล้วยังสามารถท่องเที่ยวไปในบรรยากาศสบายๆชมวัฒนธรรม ริมฝั่งโขง อาทิ ธรรมาสน์ไม้สองชั้น ที่วัดกลาง ธรรมาสน์เสาเดียว ที่วัดพิจิตรสังฆาราม พร้อมทั้งชมทัศนียภาพและวิถีความเชื่อของชุมชนริมฝั่งโขง เรียกได้ว่าคุ้มค่ากับการมาเยือนเลยทีเดียว

ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่นำมาฝากกันนะคะ  แล้วเข้ามาคุยกันที่พิพิธภัณฑ์บ้างนะคะ

เออ แล้วการบำบัดโรคทางไสยศาสตร์นี่ เป็นยังไงอ่ะคับ

 

ช่วยบอกหน่อยนะครับ ขอบคุณคร้าบ

ถึง  คุณ นศ.ทำรายงาน

ตามที่คุณถามว่ากลองมโหระทึกใช้บำบัดโรคทางไสยาศาสตร์ยังไง 

เราขอตอบว่า เป็นความเชื่อค่ะ  คนโบราณอาจจะใช้ ตีในพิธีกรรมเพื่อการรักษาโรคต่างๆ  ซึ่งอาจเป็นโรคที่เกี่ยวกับภูตผีปีสาจหรือความเจ็บป่วยที่หาสาเหตุไม่ได้  และกลองนี้อาจอยู่ร่วมในพิธีกรรมรักษาโรคดังกล่าวนี้เพื่อความศักดิ์สิทธิ์ค่ะ   

สวัสดีค่ะ ดิฉันอยากจะทราบว่าข้อมูลเกี่ยวกับ กลองมโหระทึกค่ะ อยากจะสอบ กลองมโหรระทึก ที่แสดงที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติถลางว่า กลองมโหรระทึก ที่แสดงอยู่ที่ภูเก็ต ขุดพบที่ภูเก็ตจริงไหมหรือว่าขุดที่อื่น ช่วยระบุสถานที่ด้วยค่ะ แล้วใครเป็นคนขุดพบ ขุดพบตอนไหน แล้วเกี่ยวข้องยังไงกับภูเก็ตค่ะ ทำไมถึงเอามาแสดงที่ภูเก็ตค่ะ ขอบคุณนะค่ะ ถ้าเห็นข้อความี้ ช่วยตอบกลับมาด้วยนคะ่ ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท