เทคนิคการดูแลเบาหวานสร้างได้ด้วยตัวเรา


หน้าที่หลักของพวกเราที่จะทำให้การดูแลผู้เป็นเบาหวานให้ได้ผลดีก็คือ การติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง

            วันนีมีความในใจที่อยากบอกแก่วิทยากรทุกท่านว่า หน้าที่หลักของพวกเราที่จะทำให้การดูแลผู้เป็นเบาหวานให้ได้ผลดีก็คือ การติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง วิธีการที่เราเฝ้าระวังติดตามอย่างสมำ่เสมอ จะช่วยให้วิทยากรมือใหม่ไร้เทคนิคกลายเป็นมืออาชีพผู้เชี่ยวชาญได้ จากประสบการณ์หลายหนที่ได้พบและพยายามช่วยแก้ปัญหา จะทำให้เกิดทักษะการรับรู้ และเรียนรู้การใช้เทคนิคที่ต่างกันไปในแต่ละรายได้ดีขึ้น

            ที่คลีนิคเท้าของเทพธารินทร์เราพบว่า คนที่มารับบริการตัดเล็บและตัดหนังหนาส่วนใหญ่ให้ความสนใจดูแลสุขภาพเท้าน้อย ปัญหาที่เจอทุกครั้งมักพบผิวแห้งเป็นขุย เท้าเย็น มีหนังหนามากขึ้น บางรายเล็บหนาจนญาติบอกกรรไกรตัดเล็บพังหลายอันแล้ว เมื่อมีปัญหาเราก็ต้องช่วยเหลืออันนี้มันต้องอยู่ในสายเลือดของเรา ดิฉันจึงเลือกที่จะแก้ไขเรื่องหลักก่อนคือ ผิวแห้ง

           โดยแผนครั้งแรกคือระห่วางที่ให้บริการเราจะให้ความรู้เกี่ยวกับบัญญัติ10 ประการดูแลเท้าเน้นการทาโลชั่น และแจกเอกสารบัญญัติ 10 ประการไปทบทวน หลังจากติตตามพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นน้อยมาก จากการสอบถามพบว่า ทาแบบป้ายที่ผิวเฉย ๆ มีการทาวันละครั้งก่อนนอนไม่สมำ่เสมอพอนานเข้าก็เลิกทาก็มีบอกว่ามันเหนอะหนะ บางคนก้มไม่ลงบอกปวดหลัง ทาไม่ถึง สิ่งเหล่านี้คือปัญหาที่เราต้องวิเคราะห์ หาสาเหตุ วิธีแก้ไข นี่คือPlan-Do-Check-Act นั่นเอง

           ดิฉันต้องหาแผน 2 ต่อโดยเน้นให้เห็นความสำคํัญของผิวและให้มีส่วนในการนวดโลชั่นจนแห้งด้วยตนเองอย่างง่าย ๆโดยจัดหาท่าที่เหมาะสมให้ในแต่ละคน ซึ่งดิฉันนวดให้ดูก่อน 1 ข้างและให้เปรียบเทียบ 2 ข้างก่อนและหลังปฏิบัติ ผู้ป่วยมักบอกว่า " เออ! ผิวใสและดูดีขึ้นจริง ๆ " บางรายที่เท้าบวมหลังนวดยุบลงอย่างเห็นได้ชัด ถึงตอนนี้บางคนบอก" ไหน สอนฉันสิ แล้วต้องทำวันละกี่ครั้ง? " ระยะหลังที่เราติดตามต่อพบว่าผิวเท้าของผู้ป่วยเราดีขึ้นเยอะเลย ขอบอกว่าภูมิใจเล็ก ๆ นะคะและที่สำคัญอยากให้พวกเราพยายามดึงปัญหาของผู้ป่วยมาเป็นโอกาสพัฒนาเทคนิคของเราด้วยก็จะดี

ยุวดี มหาชัยราชัน

หมายเลขบันทึก: 4659เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2005 11:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสมาชิกที่ยังไม่คุ้นเคยกับคำว่าวิทยากรเบาหวาน จริงๆ ก็คือ Diabetes Educator หรือผู้ให้ความรู้โรคเบาหวานนั่นเอง ไม่ทราบจะใช้ภาษาไทยว่าอย่างไรดี เพราะคำว่าผู้ให้ความรู้ก็ยังดูไม่ดีนัก เหมือนเป็นคนที่เหนือกว่าผู้ป่วย

 

ได้ความคิดว่า  แนะนำผป.ใชนำมันไพล ภูมิปัญญาไทย

ไม่น่าจะเป็นโทษ    ประโยชน์แค่ไหน ไม่แน่ใจ

แต่ ทำได้  เอง ไม่ยากนัก  ถ้าอยากทำ  ไม่รู้แทนโลชั่น ผลจะเป็นอย่างไร

ใครมีประสบการณ์แล้ว  ช่วยส่งข่าวด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท