ครูมีหน้าที่นอกจากจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนแล้ว ครูจะต้องอบรมบ่มนิสัยนักเรียนให้อยู่ได้ในสังคมนี้อย่างมีความสุข ตามเจตนารมณ์ของหลักสูตรที่มุ่งเน้นให้นักเรียนเป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข
นอกจากนี้นักเรียนควรมีคุณลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์หลายประการ หนึ่งในจำนวนนั้นคือ นักเรียนควรมีความกล้า กล้าในการแสดงออก
การแสดงออก หมายถึง นักเรียนมีความกล้าคิด กล้าพูดและกล้าทำ
กล้าคิด คือ การคิดในสิ่งที่ดีงาม คิดสร้างสรรค์ คิดในทางบวกและเป็นประโยชน์
กล้าพูด หมายถึง พูดในสิ่งที่ดี พูดสร้างสรรค์ พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์
กล้าทำ หมายถึง มีความประพฤติดี มีวินัย ทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์
กล้าคิด กล้าพูด กล้าทำ รวมกันแล้ว เป็นการกล้าแสดงออกของนักเรียน
แต่ในปัจจุบัน นักเรียนส่วนใหญ่ กล้าในสิ่งที่ไม่ควรกล้า จะคิดว่าเป็นความกล้านั้น ก็ไม่ใช่ คงเป็นการก้าวร้าวมากกว่า เพราะในความกล้านั้น ควรเป็นความกล้าในสิ่งที่ดีงามดังที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่นักเรียนมักก้าวร้าว ไม่มีการให้อภัย หนักนิดเบาหน่อยก็ไม่ยอมลดราวาศอก ต้องมีการแก้แค้น ดังที่เป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์อยู่เนืองๆ
ดังนั้นผู้ที่เป็นครู ผู้ปกครอง ผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิด ต้องสอนให้เด็ก รู้จักการคิด การพูด การทำ ในขอบเขตที่ดีงาม เมื่อเห็นการเกินเลยกว่าขอบเขตที่ดีงามนั้น ควรมีการบอกสอน ไม่ควรละเลยไป
พ่อแม่ผู้ปกครองบางครอบครัวนั้น ไม่มีเวลาที่จะอบรมบ่มนิสัยที่บ้าน ปล่อยให้เป็นหน้าที่และภาระของครูที่โรงเรียน แต่นักเรียนก็มีเวลาอยู่ที่บ้านด้วย ดังนั้นควรมีการร่วมมือกันทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งครูและผู้ปกครองตลอดจนผู้เกี่ยวข้อง จึงจะเกิดผลดีกับนักเรียนซึ่งเป็นบุตรหลานของท่าน ซึ่งจะเป็นสมาชิกที่ดีมีคุณภาพต่อประเทศชาติสืบไป
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ครูอ้อย แซ่เฮ ใน การสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา
คำสำคัญ (Tags)#student#teacher#enginstruction
หมายเลขบันทึก: 46562, เขียน: 26 Aug 2006 @ 20:08 (), แก้ไข: 05 May 2014 @ 15:22 (), สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ, ความเห็น: 6, อ่าน: คลิก
มาสนับสนุนคะ...ครูอ้อย...
และที่สำคัญ...การกล้าแสดงออกนั้นต้องแยกกันให้ออกกับความก้าวร้าว..
...
ควรเป็นการกล้าแสดงออกที่เป็นไปภายในลักษณะบุคลิกของความเป็นคนไทย...ที่ยังคงความอ้อมน้อม...
...
ใช่เลยคะว่าตอนนี้เด็กและเยาวชนเรามักแยกไม่ออกระหว่าง...ความกล้าแสดงออกและความก้าวร้าว...บางครั้งสิ่งเหล่านี้ติดตัวเด็กไปจนเป็นผู้ใหญ่...