หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง


หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันนี้ เป็นการถอดโดยวิธีถ่ายเสียง (Transcription) เพื่อให้อ่านคำภาษาไทย ที่เขียนด้วยอักษรโรมัน ให้ได้เสียงใกล้เคียง โดยไม่คำนึงถึงการสะกด การันต์ และวรรณยุกต์ เช่น จันทร์ = chan, พระ = phra, แก้ว = kaeo

หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง

หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันนี้ เป็นการถอดโดยวิธีถ่ายเสียง (Transcription) เพื่อให้อ่านคำภาษาไทย ที่เขียนด้วยอักษรโรมัน ให้ได้เสียงใกล้เคียง โดยไม่คำนึงถึงการสะกด การันต์ และวรรณยุกต์ เช่น จันทร์ = chan, พระ = phra, แก้ว = kaeo

๑. ตารางเทียบเสียงพยัญชนะและสระ

พยัญชนะ

พยัญชนะไทย        อักษรโรมัน             ตัวอย่าง

                ตัวต้น      ตัวสะกด                

ก             k              k              กา = ka

นก = nok

ข ฃ ค ฅ ฆ               kh๑        k              ขอ = kho

สุข = suk

โค = kho

ยุค = yuk

ฆ้อง = khong

เมฆ = mek

ง              ng           ng           งาม = ngam

สงฆ์ = song

จ ฉ ช ฌ  ch๒        t              จีน = chin

อำนาจ = amnat

ฉิ่ง = ching

ชิน = chin

คช = khot

เฌอ = choe

ซ ทร (เสียง ซ) ศ ษ ส             s              t              ซา = sa

ก๊าซ = kat

ทราย = sai

ศาล = san

ทศ = thot

รักษา = raksa

กฤษณ์ = krit

สี = si

รส = rot

ญ            y              n             ญาติ = yat

ชาญ = chan

ฎ ฑ (เสียง ด) ด     d             t              ฎีกา = dika

กฎ = kot

บัณฑิต = bandit

ษัฑ = sat

ด้าย = dai

เป็ด = pet

ฏ ต          t              t              ปฏิมา = patima

ปรากฏ = prakot

ตา = ta

จิต = chit

ฐ ฑ ฒ ถ ท ธ          th๑         t              ฐาน = than

รัฐ = rat

มณฑล = monthon

เฒ่า = thao

วัฒน์ = wat

ถ่าน = than

นาถ = nat

ทอง = thong

บท = bot

ธง = thong

อาวุธ = awut

ณ น        n             n             ประณีต = pranit

ปราณ = pran

น้อย = noi

จน = chon

บ             b             p             ใบ = bai

กาบ = kap

ป             p             p             ไป = pai

บาป = bap

ผ พ ภ      ph๑        p             ผา = pha

พงศ์ = phong

ลัพธ์ = lap

สำเภา = samphao

ลาภ = lap

ฝ ฟ         f              p             ฝั่ง = fang

ฟ้า = fa

เสิร์ฟ = soep

ม             m            m            ม้าม = mam

ย             y              –             ยาย = yai

ร              r              n             ร้อน = ron

พร = phon

ล ฬ         l               n             ลาน = lan

ศาล = san

กีฬา = kila

กาฬ = kan

ว              w            –             วาย = wai

ห ฮ          h             –             หา = ha

ฮา = ha

หมายเหตุ :

๑. ในทางสัทศาสตร์ ใช้ h เป็นตัวสัญลักษณ์เพื่อแสดงลักษณะเสียงธนิต (เสียงที่มีกลุ่มลมพุ่งตามออกมาในขณะออกเสียง) h ที่ประกอบหลัง k p t จึงเป็นไปตามหลักเกณฑ์ทางสัทศาสตร์ดังนี้

 

k แทนเสียง ก เพราะเป็นเสียงสิถิล (เสียงที่ไม่มีกลุ่มลมพุ่งตามออกมาในขณะออกเสียง) kh จึงแทนเสียง ข ฃ ค ฅ ฆ เพราะเป็นเสียงธนิต

 

p แทนเสียง ป ซึ่งเป็นเสียงสิถิล ph จึงแทนเสียง ผ พ ภ เพราะเป็นเสียงธนิต ไม่ใช่แทนเสียง ฟ

 

t แทนเสียง ฏ ต ซึ่งเป็นเสียงสิถิล th จึงแทนเสียง ฐ ฑ ฒ ถ ท ธ เพราะเป็นเสียงธนิต

๒. ตามหลักสัทศาสตร์ ควรใช้ c แทนเสียง จ ซึ่งเป็นเสียงสิถิล และ ch ใช้แทนเสียง ฉ ช ฌ ซึ่งเป็นเสียงธนิต ดังที่ใช้กันในภาษาบาลี–สันสกฤต เขมร ฮินดี อินโดนีเซียและภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษา แต่ที่มิได้แก้ไขให้เป็นไปตามหลักสัทศาสตร์ เนื่องจากเกรงว่าจะทำให้ไขว้เขวกับการสะกดและออกเสียงตัว c ในภาษาอังกฤษซึ่งคนไทยมักใช้แทนเสียง ค หรือ ซ ตัวอย่างเช่น จน/จิต หากเขียนตามหลักสัทศาสตร์เป็น con/cit ก็อาจออกเสียงตัว c เป็นเสียง ค ในคำว่า con และออกเสียง ซ ในคำว่า cit ดังนั้นจึงยังคงให้ใช้ ch แทนเสียง จ ตามที่คุ้นเคย เช่น จุฬา = chula จิตรา = chittra

สระ

สระไทย อักษรโรมัน             ตัวอย่าง

อะ, –ั (อะ ลดรูป), รร (มีตัวสะกด), อา               a              ปะ = pa

วัน = wan

สรรพ = sap

มา = ma

รร (ไม่มีตัวสะกด) an           สรรหา = sanha

สวรรค์ = sawan

อำ           am          รำ = ram

อิ, อี        i               มิ = mi

มีด = mit

อึ, อื        ue๑        นึก = nuek

หรือ = rue

อุ, อู        u             ลุ = lu

หรู = ru

เอะ, เ–็ (เอะ ลดรูป), เอ        e             เละ = le

เล็ง = leng

เลน = len

แอะ, แอ ae           และ = lae

แสง = saeng

โอะ, –(โอะ ลดรูป), โอ, เอาะ, ออ      o             โละ = lo

ลม = lom

โล้ = lo

เลาะ = lo

ลอม = lom

เออะ, เ–ิ (เออะ ลดรูป), เออ                oe           เลอะ = loe

เหลิง = loeng

เธอ = thoe

เอียะ, เอีย              ia             เผียะ = phia

เลียน = lian

เอือะ, เอือ              uea๒     –*

เลือก = lueak

อัวะ, อัว, –ว– (อัว ลดรูป)   ua           ผัวะ = phua

มัว = mua

รวม = ruam

ใอ, ไอ, อัย, ไอย, อาย          ai             ใย = yai

ไล่ = lai

วัย = wai

ไทย = thai

สาย = sai

เอา, อาว                ao           เมา = mao

น้าว = nao

อุย           ui            ลุย = lui

โอย, ออย               oi            โรย = roi

ลอย = loi

เอย         oei          เลย = loei

เอือย       ueai       เลื้อย = lueai

อวย        uai          มวย = muai

อิว           io๓         ลิ่ว = lio

เอ็ว, เอว                 eo           เร็ว = reo

เลว = leo

แอ็ว, แอว               aeo        แผล็ว = phlaeo

แมว = maeo

เอียว       iao          เลี้ยว = liao

ฤ (เสียง รึ), ฤๅ       rue         ฤษี , ฤๅษี = ruesi

ฤ (เสียง ริ)              ri             ฤทธิ์ = rit

ฤ (เสียง เรอ)          roe         ฤกษ์ = roek

ฦ, ฦๅ      lue          –*

ฦๅสาย = luesai

หมายเหตุ :

๑. ตามหลักเดิม อึ อื อุ อู ใช้ u แทนทั้ง ๔ เสียง แต่เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างเสียง อึ อื กับ อุ อู จึงให้ใช้ u แทน อุ อู และใช้ ue แทน อึ อื

๒. ตามหลักเดิม เอือะ เอือ อัวะ อัว ใช้ ua แทนทั้ง ๔ เสียง แต่เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างเสียง เอือะ เอือ กับ อัวะ อัว จึงใช้ ua แทน อัวะ อัว และ uea แทน เอือะ เอือ เพราะ เอือะ เอือ เป็นสระ ประสมซึ่งประกอบด้วยเสียง อึ หรือ อื (ue) กับเสียง อะ หรือ อา (a)

๓. ตามหลักเดิม เสียง อิว ใช้ iu และเอียว ใช้ ieu แต่เนื่องจากหลักเกณฑ์นี้เสียงที่มีเสียง ว ลงท้าย และ แทนเสียงด้วยตัว o ซึ่งได้แก่ เอา อาว (ao), เอ็ว เอว (eo), แอ็ว แอว (aeo) ดังนั้นเพื่อให้เป็นไปใน ทำนองเดียวกัน อิว ซึ่งเป็นเสียง อิ กับ ว จึงแทนด้วย i + o คือ io ส่วนเสียง เอียว ซึ่งมาจากเสียง เอียกับ ว จึงแทนด้วย ia + o เป็น iao

* ไม่มีคำที่ประสมด้วยสระเสียงนี้ใช้ในภาษาไทย

 

คำสำคัญ (Tags): #ภาษาไทย
หมายเลขบันทึก: 451895เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2011 21:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 20:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

I've heard that the Ministry of Interior has a 'guideline' for writing Thai names with Roman alphabet.

This guideline is used in 'all?' street names, traffic signs and 'official documents'.

I have not done any comparison between 'tours' and that guideline.

Maybe you can tell us more about your 'principle'.

Thank you.

  • ราชบัณฑิตยสถาน (ไม่ทราบว่ากระทรวงมหาดไทยอย่างที่คุณ "sr" กล่าวไว้ได้กำหนดด้วยหรือไม่) ได้เขียนหนังสือกำหนดชื่อจังหวัด-อำเภอในประเทศไทยที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งดิฉันได้ซื้อหนังสือดังกล่าวไว้ให้นักศึกษาค้นคว้า เพราะเห็นนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาเขียนชื่อจังหวัด อำเภอ ในชื่อวิทยานิพนธ์แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นอาจารย์ควบคุมปริญญานิพนธ์ ซึ่งดิฉันบอกว่าควรใช้คำที่ทางการกำหนดไว้จะได้เป็นมาตรฐานเดียวกัน 
  • อย่างไรก็ตาม ข้อกำหนดของราชบัณฑิตบางอย่างดิฉันก็ไม่เห็นด้วย (แต่จำเป็นต้องใช้ตามเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน) อย่างเช่น สระ "โอะ" ลดรูป เช่น Chon Buri เขียนอย่างเดียวกันกับสระ "ออ" เช่น "Khon Kaen", "Yasothon" คุณสมบูลณ์ สังวรณ์ ก็แนะนำทำนองเดียวกัน คือ คำว่า "ทอง" และ "ธง" กำหนดให้เขียนว่า "thong" เหมือนกัน   ซึ่งถ้าเป็นเชนนั้น ชาวต่างชาติหรือใครที่ไม่รู้จักชื่อจังหวัดนั้นมาก่อน หรือ คำนั้นมาก่อน ก็จะออกเสียงไม่ถูกต้อง เพราะไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะต้องออกเสียงโอะ และเมื่อไหร่จะออกเสียงออ
  • สมัยที่ดิฉันเรียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ อาจารย์สอนว่า สระ "ออ" ให้ใช้ "or" สระ "โอะ, โอ" ให้ใช้ "o" ซึ่งคิดว่าน่าจะเหมาะกว่าเพราะจำแนกความแตกต่างได้ ตามหลักดังกล่าว ชลบุรี จะเขียน "Chon Buri" และ ยโสธร จะเขียน "Yasothorn"

เรียน ผศ. วิไล แพงศรี

I may have heard 'wrong about' the Ministry of Interior.

The romanized 'Place names' (localities and street names) may come from various authorities.

But my point is there is (or should be) an 'official authority' that prescribes romanized Thai names.

This office can set a 'national standard' for romanization.

If such authority does not exist, then we should push for one, even as a non-government organization (NGO) such as an institute for internationalization of Thai languages.

Your points are valid and of course should be resolved in standardization.

The Thai style of pronunciation and spelling of Pali words is also a matter for resolution.

(For example buddha [พุทธ], daana [ทาน],...).

BTW, I mistyped 'yours' as 'tours' in

"...I have not done any comparison between 'yours' and that guideline...

My apologies to คุณสมบูลณ์ สังวรณ์

Dear sr,

        I strongly do agrree with your idea of  having "national standard romanized Thai names" prescibed by a national official authority.

        After having read "I have not done any comparison between 'tours' and that guideline", I went back to look for the source referred to by Somboon, but I couldn' find any. I have just seen it's your mistyping.  

                                                                                              Thanks for sharing your opinion.

เรียนคุณสมบูลณ์ สังวรณ์

       ดิฉันเข้ามาศึกษาบันทึกของคุณด้วยความสนใจใฝ่รู้ และได้รับประโยชน์มาก เพราะคำอธิบายของคุณสามารถนำไปใช้ได้ ในการเขียนชื่อเฉพาะต่างๆ แต่ก็มีความเห็นบางประเด็นตามที่ได้แสดงไปแล้ว

       ขอบคุณสำหรับคำอธิบายบล็อกซึ่งทำให้ดิฉันเข้าใจหน่วยงาน ส่วนงาน ตำแหน่งงานด้านการเกษตรในระดับภูมิภาคเพิ่มขึ้น ดิฉันเองมีฟาร์มเกษตรอินทรีย์ชื่อ "ฟาร์มไอดิน-กลิ่นไม้" ซึ่งมีคำขวัญว่า "เพิ่มรายได้ให้ชุมชน อุทิศตนเพื่อประชา เสริมปัญญาแหล่งเรียนรู้ เชิดชูความเป็นไทย ธำรงไว้สิ่งแวดล้อม" ถ้าท่านอยากรู้จักก็กรุณาเข้าไปดูในบล็อก "Pridetoknow" นะคะ ได้เขียนบันทึกไว้ 4 เรื่อง เรื่องล่าสุดคือ "เยือนฟาร์ม ยามวสันตฤดู" ค่ะ

   

 

         

     

                                    

Dear sr....My own turn of mistyping... I strongly do "agree" with your idea....Sorry for that misspelling. 

นายสมบูลณ์ สังวรณ์

ขอบคุณครับ....แล้วกระผมจะเข้าไปดู....ครับ

  • เรียนคุณสมบูล สังวรณ์ที่นับถือ
  • ดิฉันรู้สึกเกรงใจคุณสมบูล สังวรณ์  เพราะดูจะเป็นการเสียมารยาทไปหน่อยที่ดิฉันได้เข้ามาแสดงความเห็นกลับไปกลับมากับคุณ "sr" ในบล็อกของคุณสมบูรณ์โดยที่เจ้าของบล็อกยังไม่ได้ออกมาดู ว่ามีใครมาทำอะไรในบล็อกของตน ต้องขอโทษด้วยนะคะในเรื่องดังกล่าว
  • ขอบคุณค่ะที่คุณสมบูลย์บอกว่าจะเข้าไปดู Blog "Pridetoknow" ตามคำเชิญชวนของดิฉัน
  • ขอย้อนมาที่ "หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันโดยวิธีถ่ายเสียง (Transcription)" ของคุณสมบูลย์อีกครั้ง ดิฉันเห็นด้วยกับคำอธิบายตอนท้ายของคุณสมบูลย์ที่ว่า ...เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างเสียง เอือะ เอือ กับ อัวะ อัว จึงใช้ ua แทน   อัวะ อัว และ uea แทน เอือะ เอือ เพราะ เอือะ เอือ เป็นสระประสมซึ่งประกอบด้วยเสียง อึ หรือ อื (ue) กับเสียง อะ หรือ อา (a)" คำอธิบายดังกล่าวตรงกับที่ดิฉันเรียนรู้มาและคิดว่าหลักการเขียนเช่นนั้นตรงกับการออกเสียงจริง ควรนำไปใช้ เพราะเสียงอัวะและอัว ก็คือ อุ+อะ และ อู+อา (u+a) ส่วนเสียงเอือะและเอือ ก็คือ อึ+อะ และ อื+อา (ue+a) เวลาเขียนคำว่า "เมือง" ดิฉันเองจึงเขียน "Mueang" ซึ่งตรงกับการออกเสียง "มือ+อา+ง" มากกว่า เขียนว่า "Muang" (ที่เห็นแม้แต่อาจารย์สอนภาษาอังกฤษก็เขียนเช่นนั้น) ซึ่งการเขียนดังกล่าวจะออกเสียงเป็น "มู+อา+ง หรือ "มวง" ไม่ใช่ "มือ+อา+ง หรือ "เมือง"

ด้วยความยินดีและเต็มใจครับ เพราะการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นการเพิ่มความรู้ให้กับผู้สนใจ ที่เข้ามาอ่านอีกทางหนึ่งด้วย กระผมเอง เปิดโอกาสให้กับทุกๆคน...ครับ

Hi

I am still looking for the guideline (supposedly used by the Ministry of Interior) to write romanized 'Thai place names'.

So far I fail to find it via Internet search. I've emailed my (supposedly) source of information.

I found however these (from Google):

patthaya Kotirak's หลักการเขียนชื่อไทยเป็นอังกฤษ http://www.gotoknow.org/blog/pattk/201283

วิธีเขียนชื่อไทยเปนภาษาอังกฤษ* (How to Write Thai Names into Englis...

www.rmuti.ac.th/support/special/arc/lt/thainame.pdf

...ในประเทศไทย ราชบัณฑิตสถาน(Royal Institute) ยึดถือหลักนี้ในการสะกดชื่อเฉพาะจากภาษาไทยเปน. ภาษาอังกฤษ (เชน ชื่อจังหวัด อําเภอ) มาเปนเวลานานแลว ...

ลำดับชื่อจังหวัด เขต อำเภอ และกิ่งอำเภอ CHANGWAT, KHET,

ling.arts.chula.ac.th/tts/ThaiPlaceName.pdf

... 6 การเขียนชื่อจังหวัด เขต อำเภอ และกิ่งอำเภอ 6. ๑.๑๕. Khet Chatuchak. เขตจตุจักร. ๑.๑๖. Khet Chom Thong. เขตจอมทอง. ๑.๑๗. Khet Din Daeng. เขตดินแดง ...

รายชื่อจังหวัดในประเทศไทย ภาษาอังกฤษ และอักษรจีน เรียงตามลำดับตัวอักษร

www.marinerthai.com › ... › สอบถามวิชาการ เรือ-พาณิชยนาวี - Cached - Block all www.marinerthai.com results

...รายชื่อจังหวัดในประเทศไทย ภาษาอังกฤษ และอักษรจีน เรียงตามลำดับตัวอักษร...

They give us many ways to romanize place names (and people names and other things).

The question is whether the Royal Institute's convention is being adopted by all government departments, hospitals and schools? What's about legal documents, product labels and international trading invoices?

To go on the world stage, Thailand needs to adhere to a standard internally first then internationally later.

Perhaps, this is a push for such standard -- overlooked time and time again.

I wonder how useful is Velthuis' convention for Pali?. For examples

a for short vowel อะ. aa for long vowel อา i.e. baan for บ้าน

i for อิ, ii for อี

u for อุ, uu for อู

[but there is no short เอะ or โอะ in Paalii]

e for เอ, o for โอ

Pali and Sanskrit names should be covered by Velthuis convention, But we still have to work out the rest ;-)

I thank คุณสมบูล สังวรณ์ for the work and the opportunity to express my thought.

ขอบคุณ ผศ.วิไล แพงศรี และคุณ sr ที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้โลกทรรศน์ด้านภาษาของกระผมเพิ่มขึ้นด้วยทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ Thank you very much

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท