นิ้วฉันสำคัญกว่า


ทุกนิ้วล้วนมีความสำคัญทั้งนั้น ถ้าไม่สามัคคีกัน แล้วจะร่วมกันทำงานให้สำเร็จได้อย่างไร
            ครั้งหนึ่งนิ้วมือคนทั้ง 5 นิ้วเกิดโต้ถียงกัน โดยแต่ละนิ้วต่างก็ถือว่านิ้วของตนมีความสำคัญกว่านิ้วอื่น                
          
“นิ้วฉันสำคัญกว่าทุกนิ้ว เพราะเป็นนิ้วแห่งความมีอำนาจ สามารถชี้สั่งการให้ใครทำอะไร
ก็ได้ และสามารถชี้แนะสั่งสอนให้คนอื่นทำตาม” 
                
นิ้วชี้เริ่มต้นคุยอวดถึงความยิ่งใหญ่ของตนเองก่อนนิ้วอื่น  ทำให้นิ้วอีก 4 นิ้ว ไม่พอใจที่ถูกคุยทับถมจึงตอบโต้ไป
              
                
นิ้วกลางบอกว่า  “นิ้วของฉันยาวและสูงกว่าพวกท่านทุกนิ้ว  จึงต้องสำคัญกว่านิ้วอื่น
ไม่เช่นนั้น พวกท่านคงไม่มาห้อมล้อมคอยปกป้องดูแลนิ้วของเราหรอก”               
                
นิ้วนางอวดบ้างว่า “นิ้วของฉันเป็นนิ้วของผู้มีสง่าราศรี มีเกียรติกว่านิ้วอื่น เวลาคนจะสวมแหวนเพชร    แหวนทอง   เขาก็จะสวมที่นิ้วฉัน”
               
               
นิ้วก้อยก็บอกว่า “นิ้วฉันแม้จะเล็กหรือเรียวกว่านิ้วอื่น แต่เป็นนิ้วนำทาง   ใครจะกราบพระ หรือไหว้พระ หรือไหว้ผู้ใหญ่ นิ้วฉันก็จะถึงก่อนและอยู่ใกล้ชิดกว่านิ้วไหน  ถือว่าเป็นนิ้วที่มีบุญ หรือเวลาใครจะคืนดีกัน  หรือหนุ่มสาวจะควงคู่กันให้หวานชื่นเขาก็จะเกี่ยวก้อยกัน”
                 
             
นิ้วหัวแม่มือ ได้ฟังก็บอกว่า  “ใครจะสำคัญอย่างไรก็แล้วแต่  หากไม่มีนิ้วหัวแม่มือ เวลา
จะหยิบจับของอะไรจะหยิบถนัดได้อย่างไร  เวลาไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง  แม้แต่เข้าโรงรับจำนำ หรือการแสดงหลักฐานแทนการลงลายมือชื่อ  เขายังต้องใช้นิ้วฉันพิมพ์ลายนิ้วมือ”                  
            
มือได้ฟังนิ้วทั้ง 5  อวดความยิ่งใหญ่ของตนก็สุดแสนรำคาญ  จึงห้ามปรามและอธิบาย
ให้ฟัง                   
           
“ลองนึกดูให้ดี  ถ้าเกิดมีใครตัดนิ้วหนึ่งนิ้วใดขาดหายไป   นิ้วพวกท่านที่เหลือจะทำงานได้สะดวกหรือ  แล้วมือของเราก็คงต้องพิกลพิการ ดูไม่งามอย่างนี้หรอก  ทุกนิ้วล้วนมีความสำคัญทั้งนั้น   ถ้าไม่สามัคคีกัน แล้วจะร่วมกันทำงานให้สำเร็จได้อย่างไร”
                  
        จากเรื่องนี้สถาบันพระปกเกล้า ได้กล่าวถึงการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีว่าจะต้องปฎิบัติดังนี้
      
1.  ปฏิบัติต่อกันด้วยความสุภาพ  นุ่มนวล  จริงใจ
         
2. 
แสดงออกถึงการร่วมมือไม่ใช่แข่งขันชิงดีชิงเด่น หรือลอบแทงข้างหลัง       
        3  
เกียรติยกย่องในคุณวุฒิ  วัยวุฒิและประสบการณ์ทำงาน
       
4.      
ยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี ไม่คิดอิจฉาริษยา
       
5.      
ไม่ฉกฉวยแย่งชิงโอกาสเพื่อหาผลงานใส่ตน
      
6.      เมื่อมีปัญหาข้อขัดแย้งหันหน้าปรึกษากัน โดยใช้ยุทธวิธี “ชนะ – ชนะ                            ………………………………….
หมายเลขบันทึก: 44791เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2006 14:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สาระน่ารู้  จะนำไปให้นักเรียนได้อ่าน  และเป็นตัวอย่างในการเขียนเรื่อง  โดยใช้ตัวละครอื่นๆที่ไม่ใช่คน

ขอบคุณค่ะ  น่าสนใจมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท