ชีวิตที่พอเพียง : ๑๒๘๑. สมองกับศาสนา


ผมเอามาเล่าโดยมีเป้าหมายชี้ให้เห็นว่า เมื่อมีรายงานข้อค้นพบใหม่ใดๆ ผู้ได้รับรู้พึงรับรู้อย่างมีสติ อย่าด่วนเชื่อ ต้องตรวจสอบความน่าเชื่อถือของวิธีการและข้อจำกัดของวิธีการด้วย และอาจต้องรอดูผลการวิจัยครั้งต่อๆ ไปว่าจะยืนยันข้อค้นพบนั้นหรือไม่ จะเชื่อได้สนิทใจต่อเมื่อมีการทดลองและค้นพบแบบเดียวกันในหลายๆ รายงาน
          บทความใน Scientific American Mind & Brain เรื่อง Religious Experiences Shrink Part of the Brain   บอกสิ่งที่ผู้คนไม่คาดฝัน คือกิจกรรมทางศาสนาทำให้สมองส่วน hippocampus ฝ่อ   
 
          Hippocampus เป็นส่วนหนึ่งของสมองบริเวณที่เรียกว่า Limbic System ทำหน้าที่เกี่ยวกับอารมณ์และความจำ  
 
          บทความนี้เอารายงานผลการวิจัยเรื่อง Religious Factors and Hippocampal Atrophy in Late Life มาตีความและขยายความต่อ   เท่ากับทำให้ความก้าวหน้าหรือพรมแดนความรู้เข้าสู่คนธรรมดาสามัญ ตามสไตล์ของนิตยสาร Scientific American
 
          วิชาสมองกับศาสนาเป็นวิชาเกิดใหม่ เรียกว่า Neurotheology   เป็นการศึกษาความเปลี่ยนแปลงในสมองทั้งในขณะหนึ่งๆ และในระยะยาว อันเกิดจากปฏิบัติการทางศาสนา หรือทางจิตวิญญาณ
 
          ข้อสรุปว่าการทำกิจกรรมทางศาสนา เช่นการทำสมาธิ การภาวนา การสวดมนตร์ และยิ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงทางจิตวิญญาณในระดับที่เรียกว่า “เกิดใหม่” ทำให้ hippocampus มีขนาดเล็กลง   เป็นข้อสรุปเบื้องต้นเท่านั้น   ยังต้องการการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อยืนยันหรือคัดค้าน   เพราะรายงานการวิจัยเรื่องนี้ทำในคนอายุมากเท่านั้น   หากทำในคนอายุน้อยและได้ผลยืนยัน ข้อสรุปตามชื่อบทความก็จะน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น 
 
          ผมเอามาเล่าโดยมีเป้าหมายชี้ให้เห็นว่า เมื่อมีรายงานข้อค้นพบใหม่ใดๆ  ผู้ได้รับรู้พึงรับรู้อย่างมีสติ อย่าด่วนเชื่อ   ต้องตรวจสอบความน่าเชื่อถือของวิธีการและข้อจำกัดของวิธีการด้วย   และอาจต้องรอดูผลการวิจัยครั้งต่อๆ ไปว่าจะยืนยันข้อค้นพบนั้นหรือไม่   จะเชื่อได้สนิทใจต่อเมื่อมีการทดลองและค้นพบแบบเดียวกันในหลายๆ รายงาน

 

 

จารณ์ พานิช
๒ มิ.ย. ๕๔

        
        
             
หมายเลขบันทึก: 447518เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2011 10:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

หากใช้ประสบการณ์ของตนเองที่ยึดแนวพุทธปฏิบัติ.."รู้อารมณ์..แล้วละวาง..ไม่ติดยึด"..อาจเป็นที่มาของอาการข้างต้นได้อย่างหนึ่งค่ะ..

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท