ความเห็นแย้งต่อประเด็น “ความเห็นของสี่องค์กรวิชาชีพ” (1)


เห็นว่าเป็นงานเชิงสร้างสรรค์ที่น่าจะได้นำมาเป็นแบบอย่าง ซึ่งสังคมปัญญาควรจะใช้วิธีการเยี่ยงนี้ในการแสดงความเห็นเพื่อแย้งก็ดี เห็นด้วยก็ดีในเชิงวิชาการ

     ตามที่ได้เคยนำต้นฉบับ ประเด็นความเห็นของสี่องค์กรวิชาชีพต่อร่างกฎหมายวิชาชีพสาธารณสุขทั้งสองฉบับมาลงบันทึกไว้ที่บันทึก บันทึกนี้เป็น “ใบ้” ครับ วันนี้ผมได้รับบทความที่เป็นความเห็นแย้งต่อประเด็นดังกล่าว โดยคุณสงครามชัย ลีทองดี ([email protected]) เขียนเป็นบทความและได้นำเสนอไว้ ในหลาย ๆ ที่ ข้อมูลที่ผมได้รับนี้เป็นฉบับเต็มที่ผมได้รับมาทาง E-Mail จากคนที่เข้ามาอ่านบันทึกที่ผมเขียนไว้ เมื่ออ่านดูแล้วก็เห็นว่าเป็นงานเชิงสร้างสรรค์ที่น่าจะได้นำมาเป็นแบบอย่าง ซึ่งสังคมปัญญาควรจะใช้วิธีการเยี่ยงนี้ในการแสดงความเห็นเพื่อแย้งก็ดี เห็นด้วยก็ดีในเชิงวิชาการ ดังนี้ครับ

ความนำ
     ผู้เขียนเพิ่งได้มีโอกาสได้อ่านข้อพิจารณาของ 4 องค์กรวิชาชีพด้านสุขภาพซึ่งประกอบด้วย แพทยสภา, สภาการพยาบาล, สภาเภสัชกรรม และ ทันตแพทยสภา ต่อร่างพ.ร.บ. วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. ... และร่าง พ.ร.บ. การสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. ...ตามที่ทางกระทรวงสาธารณสุขได้ขอความเห็นไป ความเห็นโดยสรุปของทั้ง 4 องค์กรวิชาชีพดังกล่าว คือ ไม่ควรมีกฎหมายวิชาชีพดังกล่าว และไม่ควรพิจารณาร่าง พ.ร.บ. วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน และ พ.ร.บ. กฎหมายวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน ด้วยความเคารพต่อความเห็นขององค์กรวิชาชีพทั้งสี่องค์กร ในฐานะที่เป็นผู้ศึกษาเรียนรู้ในทางสาธารณสุขศาสตร์ และปัจจุบันเป็นทำงานวิชาการด้านนี้ จึงอยากจะแสดงความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนเอง นอกเหนือจากที่ทางสมาคมหมออนามัยได้ชี้แจงออกมาแล้ว เพื่อเป็นข้อคิดเห็นทางวิชาการ อันอาจจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องในการผลักดันเรื่องนี้ต่อไป

ความเห็นและข้อเสนอแนะจากสี่องค์กรวิชาชีพ
     ความเห็นโดยสรุปของสี่องค์กรวิชาชีพได้สรุปเป็นประเด็นไว้แล้วอย่างชัดเจนว่า 1) การสาธารณสุขและการสาธารณสุขไม่เป็นวิชาชีพ 2) ไม่มีความจำเป็นมีกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน และกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการสาธารณสุข 3) ร่างกฎหมายวิชาชีพทั้งสองฉบับที่ทางกระทรวงสาธารณสุขขอให้เสนอความเห็นมีบทบัญญัติที่ก้าวล่วงการประกอบวิชาชีพตามกฎหมายวิชาชีพอื่น 4) มีระเบียบ กฎเกณฑ์ทางราชการที่ให้อำนาจบุคลากรสาธารณสุขปฏิบัติหน้าที่อยู่แล้ว ซึ่งรายละเอียด หากท่านที่ยังไม่ได้อ่าน จะมีรายละเอียดในหนังสือจากแพทยสภา ที่ พส.014/109 ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2549 ที่ได้ส่งความเห็นในนามองค์กรวิชาชีพทั้งสี่องค์กร ซึ่งหากจะได้อ่านรายละเอียดเสียก่อนจะเป็นประโยชน์มาก ก่อนที่จะกล่าวความเห็นในประเด็นสาระที่ทาง 4 องค์กรวิชาชีพได้ให้ความเห็นมาแล้วนั้น ผมขอให้ข้อมูลเพื่อประกอบความเข้าใจให้ตรงกันเสียก่อน ดังนี้

          1. การที่ทางกระทรวงสาธารณสุขได้ส่งร่างกฎหมายวิชาชีพทั้งสองฉบับ (ร่างพ.ร.บ. วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. ... และร่าง พ.ร.บ. การสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. ...) ไปให้องค์กรวิชาชีพด้านสุขภาพอื่นได้พิจารณานั้น เป็นไปตามระบบในการพิจารณาร่างกฎหมาย ด้วยเหตุที่ว่า องค์กรวิชาชีพด้านสุขภาพที่มีกฎหมายรับรอง ที่มีอยู่ในปัจจุบันได้แก่ แพทยสภา, สภาการพยาบาล, สภาเภสัชกรรม และ ทันตแพทยสภาผู้ประกอบวิชาชีพและองค์กรวิชาชีพที่กล่าวนี้ อาจจะได้รับผลกระทบหากกฎหมายวิชาชีพด้านสาธารณสุขทั้งสองร่าง หรือร่างใดร่างหนึ่งมีผลบังคับใช้ขึ้นมา หากจะกล่าวให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ การที่จะให้มีองค์กรด้านวิชาชีพใหม่เพิ่มขึ้นในสาขาด้านสุขภาพนี้ มีความจำเป็นที่ต้องสอบถามความเห็นองค์กรวิชาชีพที่มีอยู่เดิมเสียก่อน อันนี้เป็นหลักทั่วไปในระบบวิชาชีพ

          2. ในความเป็นจริงหากจะว่าไปแล้ว องค์กรวิชาชีพด้านสุขภาพที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่ได้มีแค่ 4 องค์กรเท่านั้น ยังมี 2 องค์กรได้แก่ สภาเทคนิคการแพทย์และสภากายภาพบำบัด ซึ่งจัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. วิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ส. 2547 และ พ.ร.บ. วิชาชีพกายภาพบำบัด พ.ศ. 2547 ตามลำดับอีก แต่เท่าที่ปรากฎผมไม่เห็นความเห็นจากอีก องค์กรวิชาชีพนี้ซึ่งไม่แน่ใจว่าทางกระทรวงสาธารณสุขได้สอบถามไปหรือไม่ ซึ่งสมควรที่จะมีโอกาสได้รับฟังความเห็นของอีกสององค์กรที่กล่าวมาแล้วประกอบด้วย เพื่อไม่เป็นการเลือกปฏิบัติและได้รับความเห็นอย่างรอบด้าน

          3. ประเด็นความเห็นที่องค์กรวิชาชีพทั้งสี่องค์กรซึ่งผมขอเรียกง่ายๆว่า “สี่องค์กรวิชาชีพ” ได้ตอบมาทางกระทรวงสาธารณสุขนั้น เป็นประเด็นความเห็นที่ทางกระทรวงสาธารณสุขต้องรับฟังและนำมาพิจารณาประกอบว่าสมควรจะนำเสนอร่างกฎหมายเข้าสู่กระบวนการนิติบัญญัติต่อไปหรือไม่ หรือจะระงับการนำเสนอร่างกฎหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง

     เมื่อเข้าใจหลักการที่ผมกล่าวมาแล้วนี้ หลายท่านที่สงสัยในกระบวนการคงจะเข้าใจ และไม่เป็นที่สงสัยว่า “สี่องค์กรวิชาชีพ” เข้ามาเกี่ยวข้องกับการพิจารณาร่างกฎหมายทั้งสองที่เรากำลังดำเนินการอยู่ได้อย่างไร จะได้ไม่ไปกล่าวหาให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนต่อไป และ หากมีความเห็นแย้งกับความเห็นของสี่องค์กรดังกล่าว กลุ่มผู้เสนอกฎหมายก็สมควรที่จะชี้แจงให้เป็นที่เข้าใจ หรือพัฒนาเป็นประเด็นทางวิชาการเพื่อเกิดการเรียนรู้อย่างกว้างขวางต่อไป

     ความเห็นของผู้เขียนที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นการเสนอทั้งความเห็นด้วยและความเห็นแย้งต่อประเด็นต่างๆ ที่ สี่องค์กรวิชาชีพ ได้เสนอดังที่ปรากฎและได้เผยแพร่ออกมา เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นจะให้ความเห็นตามประเด็นต่างๆที่มีการพิจารณา ซึ่งขอเรียกว่าประเด็นหลัก ดังนี้
          - ประเด็นหลักที่หนึ่ง พิจารณาว่าการสาธารณสุขชุมชนหรือ การสาธารณสุขเป็นวิชาชีพหรือไม่
          - ประเด็นหลักที่สอง พิจารณาว่ามีความจำเป็นที่ต้องมีกฎหมายวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนหรือ การสาธารณสุข ออกมาบังคับใช้หรือไม่
          - ประเด็นหลักที่สาม พิจารณาว่าร่างกฎหมายวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนหรือ การสาธารณสุข มีการก้าวล่วงกฎหมายวิชาชีพที่มีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบันหรือไม่
          - ประเด็นหลักที่สี่ การปฏิบัติงานของกลุ่มผู้เสนอร่างกฎหมายวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนหรือ การสาธารณสุข ในกระทรวงสาธารณสุข

อ่านในประเด็นต่าง ๆ จาก link ด้านล่างนี้ครับ
ปล.
บทความนี้เขียนโดยคุณสงครามชัย ลีทองดี ([email protected])

ความเห็นของสี่องค์กรวิชาชีพ

ความเห็นแย้งต่อประเด็น “ความเห็นของสี่องค์กรวิชาชีพ”

ประเด็นหลักที่หนึ่ง ตอนที่ 1  และ ตอนที่ 2
ประเด็นพิจารณาว่าการสาธารณสุขชุมชนหรือ การสาธารณสุขเป็นวิชาชีพหรือไม่

ประเด็นหลักที่สอง
พิจารณาว่ามีความจำเป็นที่ต้องมีกฎหมายวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนหรือ การสาธารณสุข ออกมาบังคับใช้หรือไม่

ประเด็นหลักที่สาม
พิจารณาว่าร่างกฎหมายวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนหรือ การสาธารณสุข มีการก้าวล่วงกฎหมายวิชาชีพที่มีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบันหรือไม่

ประเด็นหลักที่สี่ ตอนที่ 1  และ ตอนที่ 2
การปฏิบัติงานของกลุ่มผู้เสนอร่างกฎหมายวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนหรือ การสาธารณสุข ในกระทรวงสาธารณสุข

ข้อเสนอของผู้เขียน
เพื่อแสวงหาทางออกร่วมกัน

หมายเลขบันทึก: 44596เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2006 20:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เข้ามาอ่าน..พิจารณาและติดตามมาตั้งแต่ต้น...

เกิดความสงสัยเช่นเดียวคะว่า...

การพิจารณาร่างฯ ดังกล่าวมีแค่ สี่องค์กรวิชาชีพหลักและไม่ครบทั้งหมด หรือนี่เป็นเอกฉันท์...เด็ดขาดโดยสิ้นเชิงแล้ว....

....

การพิจารณาความเป็นวิชาชีพนี้เราต้องให้วิชาชีพอื่นมาพิจารณา...หรือ...แล้วศาสตร์ทางด้านสาธารณสุขศาสตร์นั้นมีไว้...เพื่ออะไร....บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในศาสตร์นี้มีดอกเตอร์และไม่ดอกเตอร์...ไม่มีโอกาสได้ร่วมพิจารณาความเป็นวิชาชีพ...ของตนเลยเหรอ....

ทิ้งรอยไว้เป็นคำถาม....ที่ยังค้างคาคะ...

Dr.ka-poom

     รอยคำถามนี้มีคุณค่านะครับ หากเพียงแต่ผมเองก็ยังตอบได้ไม่ชัด แต่เข้าใจว่าเป็นเพียงการขอความเห็นไปนะครับ ซึ่งหากจะขอไปอย่างไม่อคติ ต้องมีกระบวนการที่โปร่งใสตรวจสอบได้ต่อผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงมากกว่านี้
     เท่าที่ผ่านมาเครดิตของ สี่องค์กรวิชาชีพ ในสายตาผม ก็ไม่ได้ทำอะไรเพื่อประชาชนมากนัก หากแต่ทำเพื่อตนเสียมากกว่า

เรียนคุณชายขอบ...

สี่องค์กรวิชาชีพ ในสายตาผม ก็ไม่ได้ทำอะไรเพื่อประชาชนมากนัก

อย่าได้เหมารวมเลยนะคะ...คนที่ดีมีอุดมการณ์ทุ่มเทในงานก็มีอีกเยอะ..แต่ตอนนี้เรากำลังถกกันในเรื่องประกาศ...เกี่ยวกับความเป็นวิชาชีพสาธารณสุข...น่ะคะ...

ด้วยความเคารพยิ่ง

นิภาพร  ลครวงศฺ

Dr.Ka-poom 

     องค์กร =/= คน, คนในองค์กรนั้นทำ ผมเห็นและรับรู้รับทราบ พร้อมทั้งชื่นชมเสมอ ไม่แยกแยะ หากแต่องค์กรทำเพื่อสมาชิกนั่นก็ใช่ ถูกต้องชัดเจน และตรงนี้ครับเพื่อมากไป มากกว่าเพื่อประชาชนโดยรวม

ข้อหารือ และแนวทางดำเนินการกรณีความเห็นของของ 4 สภาวิชาชีพต่อร่าง พรบ.การสาธารณสุข และการไม่ผ่านร่าง พรบ.ของ สบช.                                                                                                 ทรงศักดิ์ ภูมิสายดร [email protected],[email protected]                                                                                                                ประเด็นพิจารณา                จากการที่ ร่าง พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุขไม่ผ่านสภา ทำให้มีผลต่อการปฏิบัติงานของหมออนามัยเป็นอย่างมาก และจากการศึกษาถึงการให้บริการปัจจุบัน หมอนามัย เป็นการประกอบวิชาชีพเวชกรรมในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยบุคคลซึ่งกระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพฯ เมืองพัทยา องค์การบริการส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นอื่น หรือสภากาชาดไทยมอบหมายให้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2539  ซึ่งมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องดังนี้                ข้อ 4       เจ้าหน้าที่  หมายถึง ข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างสังกัดกระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพฯ เมืองพัทยา องค์การบริการส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นอื่น หรือสภากาชาดไทย                                องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นอื่น หมายถึง ส่วนราชการหรือหน่วยงานที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศในราชกิจานุเบกษา                                ควบคุม   หมายถึง การดูแล หรือกำกับดูแล                ข้อ 5       บุคคลที่กระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพฯ เมืองพัทยา องค์การบริการส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นอื่น หรือสภากาชาดไทย จะมอบหมายให้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้ต้องเป็นบุคคลที่ระเบียบนี้กำหนด                ข้อ 6       บุคคลที่ได้รับมอบหมายจะประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้เฉพาะ                                6.1 ตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ระเบียบนี้กำหนด                                6.2 เป็นการปฏิบัติราชการ หรืออยู่ระหว่างการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือตามที่รับมอบหมาย                                6.3 ต้องอยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม                ข้อ 7       ให้บุคคลที่มีวุฒิประกาศนียบัตรพนักงานอนามัย ประกาศนียบัตรเจ้าพนักงานสาธารณสุข(พนักงานอนามัย)ประกาศนียบัตรสาธารณสุขศาสตร์ ประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาลและผดุงครรภ์ ประกาศนียบัตรพนักงานสุขภาพชุมชน หรือผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นสอง ทำการประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้ดังต่อไปนี้                                7.1  ด้านอายุรกรรม                                                 7.1.1 ให้การรักษาพยาบาลเบื้องต้นเพื่อบรรเทาอาการหรือโรคดังต่อไปนี้คือ ไข้ตัวร้อน ไข้และมีผื่นหรือจุด ไข้จับสั่น ปวดศรีษะ ปวดหลัง ปวดเอว ปวดท้อง ท้องผูกท้องเดิน คลื่นใส้อาเจียน การอักเสบต่าง ๆ โลหิตจาง ดีซ่าน โรคขาดสารอาหาร อาหารเป็นพิษ โรคพยาธิลำไส้ โรคบิด โรคหวัด โรคหัด โรคสุกใส โรคคางทูม โรคไอกรน โรคผิวหนัง และโรคติดต่อตามโครงการของกระทรวงสาธารณสุข                                                7.1.2 การรักษาพยาบาลเบื้องต้น                                                (1)  การให้นำเกลือในผู้ป่วยท้องเดินอย่างรุนแรง                                                (2)  การฉีดเซรุมแก้พิษงู                                                (3)  การสวนปัสสาวะ                                                (4) การสวนล้างกระเพราะอาหารโดยใช้สายยางในรายที่สงสัยว่ารับประทานสารพิษ                                7.2 ด้านศัลยกรรม                7.2.1 ผ่าฝี                7.2.2 เย็บแผลที่ไม่สาหัส                7.2.3 ชะล้าง ทำแผล ตกแต่งบาดแผล                7.2.4 ผ่าเอาสิ่งแปลกปลอมซึ่งอยู่ในตำแหน่งซึ่งไม่อันตรายต่ออวัยวะสำคัญของร่างกายออกโดยฉีดยาระงับความรู้สึกทางผิวหนัง7.3 ด้านสูตินารีเวชกรรม                7.3.1 ทำคลอดในรายปกติ                7.3.2 ทำการช่วยเหลือขั้นต้นในรานที่มีการคลอดผิดปกติ                7.3.3. ทำการช่วยเหลือในกรณีที่จะมีการแท้งหรือหลังแท้งแล้ว7.4 การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรครวมถึงการฉีดวัคซีนป้องกันโรค7.5 การวางแผนครอบครัว การฉีดยาคุมและจ่ายยาเม็ดคุมกำเนิด7.6 การเจาะโลหิตจากปลายนิ้ว หรือหลอดโลหิตดำเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือเพื่อบริจาคเข้าธนาคารเลือด7.7 ด้านการปัจจุบันพยาบาล ให้การปฐมพยาบาลเกี่ยวกับการได้รับสารพิษ และสัตว์มีพิษกัดต่อย การแพ้ยา การแพ้เซรุมและวัคซีน การเสียโลหิต ภาวะช็อค การหมดสติ หยุดหายใจ กระดูกหัก ข้อเคล็ด ข้อเคลื่อน ชัก จมน้ำ ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ไฟฟ้าดู สิ่งแปลกปลอมเข้าตา หู คอ จมูก และกระเพาะอาหาร และผู้ป่วยเจ็บหนัก  จากเนื้อหาของระเบียบจะมีส่วนที่ควรพิจารณาในประเด็นดังต่อไปนี้                1.เจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ที่ควบคุมการประกอบวิชาชีพเวชกรรมของหมอนามัย ไม่ได้กล่าวไว้ในระเบียบว่าเป็นใคร เป็นการอ้างเพียงลอย ๆ  ซึ่งเป็นความไม่ชัดเจน และในการปฏิบัติงานจริงของหมออนามัยปัจจุบันก็ไม่มีผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมมาควบคุมดูแลอยู่แล้ว                2. การควบคุมตามระเบียบหมายถึง การดูแล หรือกำกับดูแล ซึ่งไม่ได้บอกขั้นตอน แนวปฏิบัติ ระดับความเข้มงวดในการปฏิบัติ  เป็นความไม่ชัดเจนอีกประเด็นที่หมออนามัยต้องใช้องค์ความรู้ และกระบวนการหรือวิธีการทางปัญญา หรือความคิดที่ได้เรียนมาในการให้บริการ                3. จากระเบียบ ข้อ 5,6,7 เห็นได้ว่าการประกอบเวชกรรมของหมออนามัย มีขอบข่ายที่กว้างขวาง ลึกในเนื้อหาแต่ละประเด็น เช่น การรักษาพยาบาลเบื้องต้น การไข้ตัวร้อน ไข้และมีผื่นหรือจุด ไข้จับสั่น จะเห็นว่า อาการไข้ตัวร้อนมีสาเหตุหลายประการ  อาการไข้และมีผื่นหรือมีจุด ก็เช่นกัน อาจเกิดจากหลายโรคได้ เช่น โรคหัด สุกใส ผื่นแพ้ต่าง ๆ หรือไข้เลือดออก ไข้จับสั่นก็เช่นกัน ย่อมหมายถึงอาการของโรคมาลาเรีย ซึ่งหมอนามัยต้องต้ององค์ความรู้ และกระบวนการหรือวิธีการทางปัญญา หรือความคิดที่ได้เรียนมาในการวิเคราะห์ ตัดสินใจ วินิจฉัยที่ถูกต้องจึงจะสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้โดยความสามารถนี้ประชาชนทั่วไปไม่สามารถปฏิบัติ หรือทำได้ด้วยตนเอง                 4. จากระเบียบ ข้อ 5,6,7 เห็นได้ว่าขอบข่ายการประกอบเวชกรรมของหมออนามัย มีที่กว้างขวาง ลึกในเนื้อหารแต่ละประเด็น เช่นกันกับการรักษาของแพทย์ และการให้การพยาบาลของพยาบาล  ไม่ได้มีการซ้ำซ้อน ก้าวล่วงกันและกัน แต่เป็นการประสานสัมพันธ์ในลักษณะทีมงาน เช่นเดียวกับวิศวกร กับสถาปนิก   จากประเด็นทั้ง4 ข้อสมาคมควรมีแนวทางดำเนินการดังนี้                1. ให้สมาคมทำหนังสือหารือไปยังปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อขอความชัดเจนในข้อ 1-2 ด้วยเหตุที่หมออนามัยไม่มั่นใจว่าการประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ทำอยู่ขัดต่อกฎหมายหรือไม่ และขอให้ตอบในเวลากำหนด และระหว่างการรอคำตอบ หมอนามัยควรจะงดการประกอบวิชาชีพเวชกรรมไปก่อน                2.  หากกระทรวงตอบแล้วแยกได้ 2 แนวทาง2.1 หากตอบชัดเจนว่าสามารถดำเนินการได้ให้สมาคมนำคำตอบประกอบการฟ้องสารปกครองเพื่อขอความเป็นธรรมในการสั่งการทางปกครองของกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีการเลือกปฏิบัติกีดกันหมออนามัย2.1 หากตอบชัดเจนว่าขัดต่อกฎหมาย ให้สมาคมนำคำตอบฟ้องศาลปกครองคัดค้านคำสั่งทางการปกครองที่ให้หมอนามัยให้บริการที่เป็นการก้าวล่วงวิชาชีพอื่นซึ่งขัดต่อกฎหมาย และให้ยกเลิกการประกอบเวชกรรมของหมออนามัยทั้งหมด3.  ให้สมาคมทำหนังสือแย้งไปยัง 4 สภาวิชาชีพชี้แจงการประกอบเวชกรรมของหมออนามัยใน ข้อ 4 ที่ขอบข่ายการประกอบเวชกรรมของหมออนามัย มีที่กว้างขวาง ลึกในเนื้อหารแต่ละประเด็น เช่นกันกับการรักษาของแพทย์ และการให้การพยาบาลของพยาบาล  ไม่ได้มีการซ้ำซ้อน ก้าวล่วงกันและกัน แต่เป็นการประสานสัมพันธ์ในลักษณะทีมงาน และการให้บริการของหมออามัยมีลักษณะของการบริการแก่สังคมที่ประชาชนทั่วไปไม่สามารถปฏิบัติ เช่น การสอบสวนควบคุมโรคติดต่อต่าง ๆ ไม่ได้เป็นให้บริการเฉพาะบุคคล หากแต่เป็นการกระทำหรือให้บริการแก่ชุมชนซึ่งต้องใช้ ความรู้ทั้งทางด้านสถิติ ความรู้เกี่ยวกับวิทยาการระบาด ความรู้เกี่ยวกับพยาธิสภาพของโรค ความรู้ด้านการสื่อสาร  เพื่อหาข้อมูลวิเคราะห์หาสาเหตุ แหล่งรังโรค และสังเคราะห์แนวทางการควบคุม ป้องกันโรคที่เหมาะสมกับพื้นที่  การให้วัคซีนป้องกันโรค ไม่ใช้การให้บริการแก่บุคคลเท่านั้น เป็นบริการที่ให้แก่สังคมเพื่อการป้องกันโรคในภาพรวม ซึ่งต้องใช้องค์ความรู้ต่าง ๆ เช่น การแพทย์ในการฉีดวัคซีน การพยาบาลในการดูแลก่อนฉีด ระหว่างการฉีด และเฝ้าระวังหลังฉีด  ความรู้ในการสอน และการติดต่อสื่อสารเพื่อให้ผู้ปกครอง หรือผู้รับบริการรับรู้  เข้าใจจนถึงขั้นตระหนักเห็นความสำคัญ ซึ่งทั้งหมดต้องให้ความรู้ที่รู้ลึก รู้จริงจึงจะกระทำได้ ซึ่งก็เป็นกระบวนการหรือวิธีการทางปัญญาซึ่งประชาชนทั่วไปไม่สามารถดำเนินการเองได้4 .ประสานทุกสถานีออนามัยให้จัดทำป้ายชี้แจงแก่ประชาชนทั่วไปว่าต่อไปหมออนามัยงดการบริการที่เป็นการประหัตถการ และบริการรักษาพยาบาลต่าง ๆ ไว้ก่อนเนื่องจากไม่มั่นใจและไม่สบายใจที่จะให้บริการ หมออนามัยมีโอกาสถูกฟ้องได้ตลอดเวลา  เพราะไม่มีกฎหมายรองรับ แม้มีระเบียบกระทรวงพออ้างอิงแต่เมื่อศึกษาแล้วก็ไม่ได้ให้ความมั่นใจแก่หมออนามัยเลย ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงจึงของดการให้บริการดังกล่าวไว้ก่อนจนกว่าจะมีกฎหมายรองรับที่ชัดเจน                ถึงเวลาแล้วที่พวกเราต้องแสดงออกถึงความเป็นหนึ่งเดียว และแสดงให้เห็นว่าเราก็มีความสำคัญในทีมสุขภาพ ซึ่งควรได้รับเกียรติ ศักดิ์ศรี และเท่าเทียมกับทุกวิชาชีพ                                               

ตามความคิดของผมนะ พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุขน่าจะมีขึ้นได้แล้ว น่าจะเป็นนวัตกรรมใหม่ของสังคมไทย เพราะพวกเราสร้างสรรอนามัยชุมชนมาเยอะแยะมากมายเลย อาจจะพูดว่าอินฟินิตี้ยังได้ โรคภัยและโรคติดต่อหลายโรค หายไปฝีมือพวกผมนะ คนเราต้องทำงานเป็นทีมครับเป็น Hero คนเดียวไม่ได้หรอก น่าจะมีความเห็นใจจากผู้ที่มีวิชาชีพแล้ว พวกเราเป็นบุคคลไร้วิชาชีพมันเจ็บปวดแค่ไหนท่านก็พอจะทราบได้ ถ้าย้อนอดีตสมัยที่ท่านต่อสู้เพื่อพรบ.วิชาชีพของท่านเองเป็นงัยบ้าง มันก็น่าสงสารพวกผมนะครับ หรือว่า " ความถูกต้องยุติธรรมไม่มี มีแต่ความถูกใจ " พวกผมทำอะไรไม่ถูกใจท่านเหรอครับ

" บุคคลไร้วิชาชีพ "

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท