การวิจัยเชิงคุณภาพ (๑): การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การวิจัยเชิงคุณภาพ” ระยะที่ ๑ ตอนที่ ๑ เกริ่นนำ


ต้องบอกว่าเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่สนุกมากๆ เป็นครั้งแรกที่ผู้เขียนรู้สึกชอบงานวิจัย...และไม่เบื่อ

เข้าอบรม การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การวิจัยเชิงคุณภาพ" โดยหน่วยระบาดวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในระหว่างวันที่ ๒๔-๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ณ ห้องประชุม ๕ ชั้น ๑๘ อาคาร สว.๑ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

โครงการนี้จัดเป็น ๓ ระยะ

ครั้งนี้เป็นระยะที่ ๑ โดยมีสาระสำคัญเป็นเรื่องของ

๑. แนวคิด/ทฤษฎีพื้นฐาน

๒. กระบวนการวิจัย

๓. วิธีเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ

ผู้เขียนเริ่มต้นด้วยความรู้สึกตื่นเต้นเพราะอาจารย์ผู้นำในการประชุมครั้งนี้คือ ศ.ดร.ศิริพร จิรวัฒน์กุล ผู้ซึ่งผู้เขียนได้ยินกิตติศัพท์มานาน ผู้เขียนมีตำราของอาจารย์ไว้ก่อนนี้แล้ว เคยอ่าน...แต่ไม่เข้าใจ

(ภาพบนซ้าย) รศ.วิจิตรา ทัศนียกุล รองคณบดีฝ่ายวิจัย กล่าวเปิดงาน

(ภาพบนกลาง) รศ.พญ.สุวรรณา อรุณพงศ์ไพศาล กล่าวถึงที่มาของโครงการนี้ อาจารย์กล่าวว่า งานนี้คณะแพทย์ "ทุ่มทุนสร้าง"

(ภาพบนขวา) ศ.ดร.ศิริพร จิรวัฒน์กุล อาจารย์เกริ่นนำก่อนลงมือสอนลูกศิษย์

(ภาพล่างขวา) ผศ.ดร.กรแก้ว จันทภาษา อาจารย์ผู้สร้างบรรยากาศและสีสัน

นอกจากนี้มีคณาจารย์มาร่วมทีมในการให้ข้อคิด มุมมองมากมายได้แก่ รศ.พญ.สุวรรณา อรุณพงศ์ไพศาล, รศ.ดร.นิตย์ ทัศนนิยม และ ผศ.ดร.กรแก้ว จันทภาษา

ผู้เขียนได้ฟังการบรรยายและเทคนิคการคุมกลุ่มของทั้งทีมคณาจารย์ทำให้ได้บรรยากาศการเรียนรู้ดีมากๆ...เรียนรู้จากการบรรยายร่วมไปกับการยกตัวอย่าง การแลกเปลี่ยนความคิดไปพร้อมๆกัน เพื่อนๆมีการซักถาม ต่อยอดความคิดเห็น ทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น

ผู้เข้าอบรมมาจากหลายฝ่าย หลายคณะฯ และเรามีเพื่อนๆพยาบาลจากโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นเข้าร่วมอบรมด้วย

ต้องบอกว่าเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่สนุกมากๆค่ะ เป็นครั้งแรกที่ผู้เขียนรู้สึกชอบงานวิจัย...และไม่เบื่อ

แล้วจะทยอยเล่าในลำดับถัดไปค่ะ

หมายเลขบันทึก: 441708เขียนเมื่อ 1 มิถุนายน 2011 01:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2014 09:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ พี่ติ๋ว

แวะมาให้กำลังใจค่ะ แล้วก็อยากจะมาชวนพี่ติ๋วไปรวมวงคุยกันในประเด็น"สร้างชุมชน CoPs หรือเครือข่ายทางสังคมที่ยั่งยืนอย่างไรใน GotoKnow" ค่ะ

หากพอมีเวลา ต้องขอรบกวนด้วยนะค่ะ ^_^

เป็นการเรียนรู้ที่สนุกมาก...รู้สึกชอบงานวิจัย

สพฐ. สพป. น่าเอาไปคิด นะ

ทำไมงานวิจัยทางการศึกษา จึงไม่เกิดขึ้นในโรงเรียนประถม..มัธยม

ในเมื่อเรามี ดร.มากมาย ก่ายกอง

หรือเพราะ เราไม่ปรับกระบวนการเรียนรู้ให้มันน่าสนใจ ฯลฯ

มะปรางน้องรัก

ต้องขอโทษมากๆจ้ะที่ไม่ได้เข้ามาคุย เพราะติดภารกิจใหญ่หลวงค่ะ

แล้วจะเข้าไปอ่าน

ขอบคุณน้องมากๆนะคะ

เรียน อ. ชยันต์ เพชรศรีจันทร์ ค่ะ

การเรียนรู้ที่ตนเองกล่าวว่าสนุกมากๆเกิดจาก

มุมของผู้เรียน

1. ตนเองเกิดความอยากรู้ให้กระจ่างในเรื่องนั้นๆค่ะ (แสวงหาและเจอคอร์สนี้เองโดยบังเอิญและขอหัวหน้าเข้าอบรมเองค่ะ หัวหน้าไม่ได้ส่งมาตามคิว)

2. รู้ว่าเป็นเรื่องยากก็มักจะอ่านมาก่อนค่ะ ไม่เข้าใจก็อ่านมันซ้ำๆทั้งๆที่ไม่เข้าใจค่ะ

3. ตั้งใจฟังอาจารย์จริงๆ คิดตาม เรียกว่าพยายาม IN ฟังให้ลึกๆๆ...จดประเด็นที่ "โดน" ค่ะ

4. พยายามทำความเข้าใจในเทคนิคที่อาจารย์สอนค่ะ เอาแค่เข้าใจในแต่ละกระบวนการที่อาจารย์สอนในแต่ละตอนนะคะ

5.ถามเมื่อไม่เข้าใจค่ะ สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ร่วมกับอาจารย์ ทำให้อาจารย์ไม่เื่บื่อที่จะสอนนักเรียนโข่งเช่นเราค่ะ เราก็จะสนุกไปด้วยกันทั้งชั้นค่ะ

6. คิดตามตลอดว่า...จะเอาไปใช้ต่อได้ยังไง

ตอนนี้คิดได้เท่านี้ค่ะ

อ้อ...ข้อ7....ข้อนี้สำคัญค่ะ....กาแฟในกระแสเลือดต้องไม่ขาดค่ะ ไม่งั้น "หลับ" อิอิ

ในมุมมองของอาจารย์ท่านผู้สอน คงต้องให้อาจารย์มาเล่าเองละค่ะ แต่ที่ตนเองสัมผัสได้คือ...การที่อาจารย์ไม่เบื่อที่จะพูดเรื่องเก่าๆ ซ้ำๆๆ เรียกว่าอาจารย์อดทน ทนเบื่อ ทนรำคาญได้ละ...เช่น อาจารย์มักจะทวนคำสอน ที่พวกเรามักติดวิธีคิดแบบนักวิจัยเดิมๆ อาทิ "ทุกคำพูดมีความสำคัญ ไม่ตัดออก เราไม่ใช่ผู้รู้ ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้รู้ เรากำลังไปหาสิ่งที่ไม่รู้จากผู้รู้ เป็นต้นค่ะ

ขอบคุณค่ะอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท