สรุปผลงาน CoP_Chemotherapy


จากการทำงานในฐานะ facilitator ของชุมชนนักปฏิบัติขอสรุปผลงานดังนี้

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง ชุมชนนักปฏิบัติ: การดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด

CoP: Chemotherapy & CoP:  IV Chemotherapy

 

ชื่อผู้รับผิดชอบ

  • รศ. นพ. สรุพล วีระศิริ     ที่ปรึกษา
  • นางดวงพร  สีจร            ที่ปรึกษา
  • นางอุบล จ๋วงพานิช         facilitator (ผู้อำนวยความสะดวก)                
  • นางสาวรัชนีพร คนชุม      Historian (ผู้ประมวลความรู้)                        
  • นางจุรีพร อุ่นบุญเรือง       Historian  (ผู้ประมวลความรู้)                       
  • นางคณิตา  ชาดี   สมาชิกCoP                                     
  • นางนาถอนงค์  น้อยน้ำคำ สมาชิกCoP                                                       
  • นางอภิญญา  คารมปราชญ์     สมาชิก CoP
  • นางสาวสมรักษ์ บุญจันทร์      สมาชิก CoP
  • นางธนิดา แปลกลำยอง  สมาชิก CoP
  • พยาบาลประจำการของหอผู้ป่วยเคมีบำบัด 5จ จำนวน 14 คน สมาชิก CoP

ที่มาของปัญหา  ผู้ป่วยมะเร็งเพิ่มขึ้นทุกปี จากการดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดมาเป็นเวลามากกว่า 20 ปี มีผู้ป่วยมากขึ้นทุกปี และกระจายอยู่หลายหน่วยงานในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่แตกต่างกัน อาจทำให้ผู้ป่วยวิตกกังวลและอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาเคมีบำบัดได้  ดังนั้นพยาบาลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วย จึงรวมกลุ่มกันตั้งเป็นชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) เรื่อง การดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด CoP_ Chemotherapy ในปี 2550 และตั้ง CoP_ IV chemotherapy ในปี 2551  เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดให้ได้มาตรฐานระดับสากล   

วัตถุประสงค์  พัฒนาชุมชนนักปฏิบัติให้มีศักยภาพในการพัฒนางานและพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ระยะเวลาในการดำเนินการ ปี 2550-2554

ขั้นตอนการดำเนินการ

  • กำหนดคุณสมบัติของสมาชิก CoP
  • ประชาสัมพันธ์การสมัครสมาชิก CoP เช่น ส่งหนังสือเวียน และโทรศัพท์เชิญ
  • กำหนดวัน Knowledge Sharing  แบบ face to face  และ blog to blog
  • ประเมินผล โดยทำ AAR(After Action Review)
  • สรุปผลการประชุม (Knowledge Asset) ใน web blog

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

  • จำนวน  knowledge assets
  • จำนวนแนวปฏิบัติ (care map)
  • จำนวนแนวปฏิบัติทางการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ (clinical nursing practice guide line)
  • จำนวน การทำงานประจำให้เป็นวิจัย (routine to research:R2R)
  • จัดทำคู่มือการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด

ผลลัพธ์การดำเนินการ

จำนวน knowledge assets

 ในปี 2551-54  เรื่อง

  • การให้ข้อมูลผู้ป่วยได้รับยาเคมีบำบัด  ที่ OPD, Day chemotherapy & IPD
  • การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
  • การนัดผู้ป่วยมารับยาเคมีบำบัด
  • ระบบการรับใหม่ จำหน่าย
  • ระบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด  และ
  • กระบวนการให้ยาทุกขั้นตอน
  • การทิ้งขยะยาเคมีบำบัด
  • การปฏิบัติเมื่อยาเคมีบำบัดกระเด็นเข้าตา  
  • การแต่งกายก่อนฉีดยาเคมีบำบัด 
  • การเตรียมความพร้อมหาเส้นก่อนฉีดยาเคมีบำบัด  
  • การให้ยาเคมีบำบัดอย่างปลอดภัยพยาบาลต้องมีสมาธิ
  • ข้อปฏิบัติเมื่อยาเคมีบำบัดหก  และอื่นๆ

สามารถติดตามได้ที่ web http://gotoknow.org/blog/chemo/toc จำนวน 26 บันทึก

http://gotoknow.org/blog/copivchemotherapy   จำนวน 14 บันทึก

http://kmmed.kku.ac.th/http://gotoknow.org/blog/ubolapn

จำนวนแนวปฏิบัติ

ในปี 2551-54 เรื่อง ได้จัดทำระเบียบการปฏิบัติงานเรื่อง

  • การให้บริการผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด(1) ร่วมกับ  PCT ศัลยกรรม  และ
  • ปรับปรุงคู่มือการปฏิบัติการพยาบาล เรื่อง การบริหารยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดดำ(2) 
  • แนวปฏิบัติการขออนุมัติใช้ยาเคมีบำบัดฉพาะราย  จัดทำแนวปฏิบัติการรับใหม่ผู้ป่วย กรณีต้องรอผล patho  / รอสูตรยาเคมีบำบัด (กรณีผู้ป่วยที่มารับยาเคมีบำบัด Course แรก)
  • การใช้ Complementary : การลดคลื่นไส้อาเจียนโดยการใช้น้ำขิง ผลไม้รสเปรี้ยว การบำบัดด้วยกลิ่น การลดปวดโดยใช้ดนตรีบำบัด และอื่นๆ(3)

จำนวน clinical nursing practice guideline  

  • การให้ข้อมูลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด(4)
  • การลดปวดด้วยยาเคมีบำบัด(5)
  • การป้องกันช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด(6)
  • การป้องกันคลื่นไส้อาเจียนโดยการกดจุด(7) 
  • แนวปฏิบัติการพยาบาล เรื่องการจัดการและป้องกันการเกิด Extravasation,  Hypersenstivity, ยาเคมีบำบัดที่ใช้บ่อยสำหรับผู้ป่วยเคมีบำบัดในโรงพยาบาลศรีนครินทร์(8)

จำนวนการทำงานประจำให้เป็นงานวิจัย (R2R) 

  • การวางแผนการจำหน่ายในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม(9) ได้รับรางวัล R2R ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขปี 2551 
  • และกำลังดำเนินการ 3 เรื่อง  ได้รับทุนวิจัย R2R เรื่องผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อการป้องกันและบรรเทาการเกิดช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็ง ที่ได้รับยาเคมีบำบัด   ผลการใช้โปรแกรมวางแผนการจำหน่ายต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและอัตราการเกิดอาการข้างเคียงของยาเคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ได้รับเคมีบำบัด และ ผลของการการดื่มน้ำขิงเพื่อลดอาการคลื่นไส้ อาเจียนในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด

จำนวนรางวัลนำเสนอผลงาน

ในการประชุม  KM คณะแพทยศาสตร์

http://gotoknow.org/blog/chemo/130417  รางวัลนำเสนอ show&share จัดโดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น  ปี 2551 http://gotoknow.org/blog/chemo/196157  รางวัลนำเสนอผลงาน การบริหารยาเคมีบำบัด ในการประชุม KM คณะแพทยศาสตร์ ปี 2552 http://gotoknow.org/profiles/users/uboljuangpanich

หนังสือการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด(1) เป็นหนังสือที่เกิดจากประสบการณ์ในการทำงาน(tacit knowledge)จากการดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด ร่วมกับการทำงานประจำเป็นงานวิจัยและจากนำผลการวิจัยมาใช้ มาเรียงร้อยเป็น explicit knowledge 

บทเรียนรู้ที่สำคัญ 

  • ในระยะแรก ปี 2550-2552 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (knowledge sharing)เพื่อให้ได้คลังความรู้ เราสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบ face to faceกับบุคลากรที่มีประสบการณ์ในหน่วยงานเดียวกันและนอกหน่วยงานอย่างเป็นทางการเดือนละ 1 ครั้ง
  • ต่อมาในปี 2553-2554 เพื่อให้เกิดเครือข่ายและการแลกเปลี่ยนอย่างไม่เป็นทางการ  ให้ทุกคนเข้าถึงและเข้าใจ KM อย่างเรียบง่าย เราสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบบ blog to blog ก่อให้เกิดการเรียนรู้แบบ heart to heart  
  • บันทึกเรื่องเล่าเป็นคลังความรู้ใน Website เกิดองค์ความรู้และมีการใช้ความรู้อย่างกว้างขวาง  ทำให้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้มีประสบการณ์ทั่วประเทศได้โดยง่าย 
  • สำหรับการแลกเปลี่ยนแบบ face to face ในปี 2553-2554 เน้นกระบวนการทำงานที่เฉพาะเจาะจงภายในหน่วยงาน กับ CoP memberในหอผู้ป่วยเคมีบำบัด ร่วมกับทีม PCT ทั้งแพทย์ เภสัชกร  เช่น การสร้างแนวปฏิบัติการพยาบาลโดยนำหลักฐานเชิงประจักษ์มาใช้ และการทำงานประจำให้เป็นงานวิจัย  เพื่อให้องค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และการมุ่งสู่การพยาบาลที่ดีที่สุด (best practice) 
  • เป้าหมาย ทำให้หน่วยงานเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ ดูงาน จากทั้งในและนอกสถานที่ และ เป็นสถานที่อบรมหลักสูตรระยะสั้นของสภาการพยาบาลต่อไป 

 โอกาสหรือแผนการพัฒนางานต่อ 

  • ชุมชนนักปฏิบัติสามารถรับสมัครสมาชิกเพิ่มเติม ทั้งจากภายในโรงพยาบาลศรีนครินทร์และบุคลากรที่มีความสนใจในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัดจากทั่วประเทศ ทำให้พยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดได้มาตรฐานเดียวกัน
  • นอกจากนี้ภายในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ควรจัดทีมให้ความช่วยเหลือและให้คำแนะนำความรู้เรื่องการบริหารยาเคมีบำบัดอย่างถูกต้อง และทำ website เคมีบำบัด เพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้
  • มี web board ที่สามารถแลกเปลี่ยนและถามตอบไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด  
  • สามารถช่วยเหลือและให้คำปรึกษาในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดแก่หน่วยงานอื่นๆได้
  • จัดให้เป็นแหล่งศึกษา ดูงานเป็นรูปแบบที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เรียนรู้จริงและเข้าถึงง่าย

 

เอกสารอ้างอิง

  1. อุบล  จ๋วงพานิช. คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2554.
  2. อุบล  จ๋วงพานิช, จันทราพร ลุนลุด. คู่มือการบริหารยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดดำ. ขอนแก่น: งานบริการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น2550(เอกสารอัดสำเนา).
  3. อุบล  จ๋วงพานิช. Complementary Care for Quality of Life of Cancer receiving Chemotherapy. ขอนแก่น: หอผู้ป่วยเคมีบำบัด 5จ ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์2554 (เอกสารอัดสำเนา).
  4. อุบล จ๋วงพานิช. Research utilization project :การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล  เพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดมีความรู้และสามารถดูแลตนเองได้. ใน:องค์กรแห่งการเรียนรู้: เส้นทางสู่การพัฒนาการพยาบาล. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์; 2549.
  5. อุบล จ๋วงพานิช, จุรีพร อุ่นบุญเรือง, จันทราพร ลุนลุด. การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้ดนตรีบำบัดเพื่อลดปวดในผู้ป่วยมะเร็ง. วารสารพยาบาล2551;57(3-4):13-22.
  6. อุบล  จ๋วงพานิช. การนำหลักฐานเชิงประจักษ์มาใช้ในการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง ขอนแก่น: งานบริการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.2551.(เอกสารอัดสำเนา).
  7. อุบล  จ๋วงพานิช, จันทราพร ลุนลุด. แนวปฏิบัติการพยาบาล เรื่อง แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อลดอาการคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด. ขอนแก่น: หอผู้ป่วยเคมีบำบัด 5จ ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์2554 (เอกสารอัดสำเนา).
  8. อุบล  จ๋วงพานิช, จันทราพร ลุนลุด. แนวปฏิบัติการพยาบาล เรื่องการจัดการและป้องกันการเกิด Extravasation& Hypersenstivity. ขอนแก่น: หอผู้ป่วยเคมีบำบัด ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์; 2553.
  9. อุบล  จ๋วงพานิช, ณัฏฐ์ชญา ไชยวงษ์, จุรีพร อุ่นบุญเรือง. ผลของการใช้โปรแกรมวางแผนการจำหน่ายต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา2551;16(3):32-42.
หมายเลขบันทึก: 439486เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2011 06:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

อยากชื่นชมพี่แก้วมากเลยค่ะ ทำงานพยาบาลก็หนักมากอยู่แล้ว พี่แก้วยังสามารถมีบทความและหนังสือทางวิชาการอีกหลายชิ้น เป็นกำลังใจให้ค่ะพี่

ขอบคุณ อาจารย์จันค่ะ

หอผู้ป่วยเคมีบำบัด รพ ศรีนครินทร์ เป็น รพ ที่มีผู้ป่วยเคมีบำบัดโดยเฉพาะเป็นที่แรก

เราจึงต้องพัฒนาเพื่อให้บริการผู้ป่วยให้ดีที่สุด

พัฒนาตามประเด็นปัญหาทีละเรื่อง จนปัจจุบันยังมีการพัฒนาต่อไปไม่สิ้นสุด

เราโชคดีที่มีผู้ร่วมงานดีดีและมีผู้บริหารสนับสนุนงบประมาณเสมอ

การสรุปงาน CoP ทำให้ได้คิดว่ามีอะไรจะต้องทำต่อ

ขอบคุณ gotoknow ทั้ง อ จันและ อ ธวัชชัย ที่ทำให้พวกเราได้ทบทวนสิ่งที่เราทำมาแล้วและสิ่งที่จะทำต่อไปค่ะ

ตามมาเรียนรู้ครับ

สวัสดีค่ะ พี่แก้ว

มีองค์ความรู้หลายอย่างที่แดง หาอ่านได้จากตำราที่พี่รวบรวมไว้

ขอบคุณมากนะคะ...

 ขอบคุณ อ. JJ

ขอบคุณแดงที่มาเยี่ยม มีหนังสือเล่มใหม่พี่หรือยัง สีม่วง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท