รายการสายใย กศน. 2, 9, 16, 23, 30 พ.ค. 54


2 พ.ค.54 เรื่อง “เรียน กศน.ทางไกล ได้อย่างไร (การศึกษาขั้นพื้นฐาน)”, 9 พ.ค.54 เรื่อง “เรียน กศน.ทางไกล ได้อย่างไร ( การศึกษาต่อเนื่อง )”, 16 พ.ค.54 เรื่อง “กรรมการสถานศึกษาดีเด่น กศน.อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุยา”, 23 พ.ค.54 เรื่อง “รางวัล กศน.ดีเด่น ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น”, 30 พ.ค.54 เรื่อง “รางวัล กศน.ดีเด่นด้านศูนย์การเรียนชุมชนวัดสุคันธาราราม”

รายการสายใย กศน.  วันที่  30  พฤษภาคม  2554


 

         เรื่อง “รางวัล กศน.ดีเด่นด้านศูนย์การเรียนชุมชนวัดสุคันธาราราม”


         ดำเนินรายการโดย อัญชิษฐา  บุญพรวงค์
         วิทยากร คือ
         - สุกัญญา ทรัพย์มณี  ผู้อำนวยการ กศน.เขตดุสิต
         - นายเอกชัย แสนตรี  ครูอาสาสมัคร กศน.เขตดุสิต

         กศน.เขตดุสิต ดูแลพื้นที่ 5 แขวงในเขตดุสิต ( แขวงสวนจิตรลดา แขวงวชิรพยาบาล แขวงถนนนครชัยศรี แขวงสี่แยกมหานาค แขวงดุสิต ) รวมประมาณ 10 ตร.กม. แต่เป็นชุมชนแออัด มีทั้งหมด 43 ชุมชน  และมีพื้นที่พระราชวังอยู่ด้วย  อีกส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่ทหารซึ่งมีศูนย์การเรียนชุมชนในหน่วยทหารด้วย ( มี ศรช.รวม 10 แห่ง )  มีศูนย์การเรียนชุมชนวัดสุคันธารามจัดครบวงจรอยู่ในแขวงจิตรลดา ( อยู่ในพื้นที่ของวัดที่เดิมให้ประชาชนทั่วไปเช่าอยู่ นำคืนมาสร้างให้เป็นศูนย์การเรียนชุมชน เป็นอาคาร 4 ชั้น ขนาด 8 x 12 เมตร ติดแอร์ 2 ชั้น สร้างด้วยงบประมาณจากเครือข่ายทั้งหมด เปิดให้บริการมาแล้ว 3 ปี ในเวลา 8:30-18:30 น. และมีเรียนคอมพิวเตอร์ 17:00-21:00 น. ปิดเฉพาะวันจันทร์ ช่วงที่มีผู้ใช้บริการมากจะไม่ปิด )   จัดทั้งการศึกษาสายสามัญ สายอาชีพ การศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน และกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต  มีบุคลากรและเครือข่ายที่เข้มแข็ง  ได้รับรางวัล กศน.ดีเด่นด้านศูนย์การเรียนชุมชน   เครือข่ายที่เป็นชุมชนจะมาใช้บริการกิจกรรมด้านอาชีพ ด้านการพัฒนาสังคมและชุมชน (จัดวิชาชีพประเภทอาหารขนมศิลปะประดิษฐ์ เช่นการทำซูชิ ปอเปี๊ยะ ที่ด้านล่าง 5 วิชาพร้อมกัน )  เล่นอินเตอร์เน็ตได้ทุกชั้น เรียนคอมพิวเตอร์ เรียนภาษาอังกฤษ และมุมอ่านหนังสืออยู่ชั้นบน   บริษัท HP และองค์กร EDC ให้คอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตความเร็วสูงมา 50 เครื่อง

         วิชาคอมพิวเตอร์ เปิดวันละ 3 รอบ 09:00-12:00 น. 13:00-16:00 น. 17:00-21:00 น. มีทั้งกลุ่มทหาร  กลุ่ม SME

         มุมหนังสือ 3 x 4 เมตร ติดแอร์ มีคอมพิวเตอร์เข้าอินเตอร์เน็ตได้ 6 เครื่อง ( มีมุมหนังสือเล็ก ๆ ด้านล่างด้วย สำหรับลูกหลานผู้มาเรียนวิชาชีพ ส่วนใหญ่เป็นหนังสือนิทาน หนังสืออ่านนอกเวลา )  ช่วงปิดเทอมจะมีผู้ใช้บริการมาก

         มีกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียงให้ชมด้วย เช่น ปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้

         ตอนนี้ผู้สูงอายุในชุมชนวัดสุคันธารามกำลังเสนอให้เปิดสอนวิชาการทำดอกไม้จันทน์ เพราะที่วัดมีบริการต่าง ๆ แต่ยังไม่มีดอกไม้จันทน์

         หน่วยงานต่าง ๆ ก็มาขอใช้ห้องประชุม ยืมโต๊ะเก้าอี้ เครื่องเสียง เช่น สำนักงานเขต สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ทหาร  เพราะอยู่ใกล้กัน   เป็นศูนย์กลางของชุมชน ไม่เก็บค่าใช้จ่าย   นอกจากนี้มีการจัดวิชาชีพเคลื่อนที่ออกไปสู่ชุมชนตามความต้องการ

         กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน มีอาสาสมัครรักการอ่านที่ผ่านการอบรม มีเป้หนังสือนำไปพาเด็ก ๆ อ่าน มีการอ่านนิทานให้เด็กฟัง

         ปัญหาคือ ความต้องการของชุมชนมีมากกว่างบประมาณที่ได้รับจัดสรร

 

         ครูเอกชัย แสนตรี จัดกิจกรรมในศูนย์การเรียนชุมชนนี้ จนเป็นที่รู้จักชื่นชมของคนในชุมชนทุกกลุ่มเป้าหมาย ต้องอยู่ ศรช. จนกลุ่มเป้าหมายกลับหมด บางคนเรียนคอมพิวเตอร์หรืออ่านหนังสือติดพัน ครูก็ต้องอยู่ถึงสี่ทุ่ม บางวันก็ไม่กลับบ้านเลย นอนห้องพักครูชั้นบน   มีกำลังใจในการทำงานจากเพื่อนร่วมงาน ผู้บริหาร และกลุ่มเป้าหมาย ทำให้ภาคภูมิใจ  ได้รับรางวัลครูอาสาสมัคร กศน.ดีเด่นปี 2553 นี้ ( รับรางวัลพร้อม ศรช.ดีเด่น และมีอีกคนหนึ่งได้รับรางวัลอาสาสมัคร กศน.ดีเด่นด้วย  รวมทั้งเครือข่ายเคยได้รับรางวัลเครือข่ายดีเด่น )

         สิ่งที่ทำให้ ศรช.วัดสุคันธารามได้รับรางวัลดีเด่น เพราะมีความพร้อมความสมบูรณ์ ไฮเทค พร้อมให้ดูงาน  ยูเนสโกมาถ่ายทำไปเผยแพร่ที่ประเทศต่าง ๆ

         กศน.เขตดุสิต มีนักศึกษาสายสามัญ 1,027 คน ( 70 % อยู่ในหน่วยทหาร )  มีเซนเตอร์จัดวิชาชีพอยู่ทุกแขวง  มีห้องสมุดชุมชนในสวนสัตว์ดุสิตเป็นห้องแอร์สอนวิชาชีพหลักสูตรสั้น ๆ ด้วย   ให้น้ำหนักความสำคัญทุกงานเท่าๆกัน  นอกจากนี้มีการจัดเทียบระดับการศึกษาด้วย ( ในอนาคตการเทียบระดับฯจะปรับให้มีการพาสชั้นในด้านประสบการณ์ได้ )

         กศน.เขตดุสิต พยายามจะจัด ศรช.ครบวงจรเช่นนี้ในที่อื่น ๆ ให้ครบ 5 แขวง เช่นในหน่วยทหาร  กระทรวง ICT ก็สนับสนุนคอมพิวเตอร์




 

รายการสายใย กศน. วันที่  23  พฤษภาคม  2554


 

         เรื่อง “รางวัล กศน.ดีเด่น ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น”


         อัญชิษฐา  บุญพรวงศ์  ดำเนินรายการ

         วิทยากรโดย
         - นายวัชรินทร์  อุดานนท์  ครูอาสาสมัคร กศน.อ.พนัสนิคม
         - นายทำนนท์  แซ่ลี้  วิทยากรด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น


 

         กศน.อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี ปัจจุบันมี 19 ตำบล  มีกิจกรรมหลากหลาย คือ กศ.ขั้นพื้นฐาน ปีนี้เน้นกลุ่ม อสม. ( ดำเนินการมาล่วงหน้าแล้ว ) ,  การศึกษาต่อเนื่อง เน้นด้านอาชีพเกษตรกรรม ( ปลูกข้าว พืชผัก มันสำปะหลัง เลี้ยงสัตว์   โดยร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายเช่น สนง.เกษตร, อบต., สถานีพัฒนาที่ดิน    มีการอบรมให้ความรู้และพาไปศึกษาดูงาน เช่นศึกษาดูงานการปลูกมันสำปะหลังที่ จ.นครราชสีมา แล้วกลับมาทำได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น,  ดูวิธีที่ถูกต้องในการกำจัดโรคและแมลงในการปลูกข้าว,  มีการสอนให้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยสิ่งที่มีในหมู่บ้านโดยภูมิปัญญาท้องถิ่น )

         นายทำนนท์  แซ่ลี้ เคยผ่านโรงเรียนเกษตรกรมา  เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่าง ๆ  ทำใช้เองมาก่อน เป็นตัวอย่าง ชาวบ้านเห็นผล ( ผลิตจำหน่ายด้วย )    กศน.อ.พนัสนิคมให้เป็นวิทยากรสอนการทำปุ๋ยแบบง่าย ๆ บอกเทคนิคต่าง ๆ รวมทั้งสอนการทำการเกษตรต่าง ๆ ตามการเกษตรทฤษฎีใหม่ เช่น ปลูกพืชหลายชนิดและทยอยปลูกเพื่อให้มีผลผลิตออกตลอด  มีการจดสถิติว่าช่วงไหนตลาดต้องการอะไร ปีต่อไปก็ผลิตให้ตรงช่วงที่ตลาดต้องการ,  ทำผักปลอดสารพิษโดยใช้สมุนไพรแทนสารเคมี  ถ้าปลูกพืชชนิดเดียวปริมาณมากจะมีโรคและแมลงมาก ต้องพึ่งสารเคมี จึงแบ่งปลูกหลาย ๆ ชนิด และในจุดเดียวกันก็หมุนเวียนชนิดพืช   เกษตรกรต้องทำปุ๋ยอินทรีย์เองจึงจะลดต้นทุนได้  ( ที่บ้านคุณทำนนท์ ทำการเกษตรเพียง 2 คน  28 ไร่ ไม่ต้องจ้างลูกจ้าง   จัดเป็นศูนย์การเรียนรู้ในพื้นที่ของคุณทำนนท์ คือที่ ต.หนองเหว นี้ด้วย   จัดตั้งกลุ่มผลิตปุ๋ยอัดเม็ดด้วยเครื่อง และปุ๋ยน้ำ ปัจจุบันมีสมาชิก 40-50 คน  เรียน กศน.ขั้นพื้นฐานทั้งกลุ่มรวมทั้งคุณทำนนท์   การผลิตปุ๋ยอัดเม็ดกระสอบละ 25 กก. ต้นทุน 60 บาท ขายสมาชิกราคาทุน ขายภายนอก 100 บาท   มีการตั้งกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ นำเงินสะสมมาหมุนเวียน )

         การตั้งกลุ่มต่าง ๆ ต้องโปร่งใส ซักถาม บอกที่มาที่ไปได้ ทุกคนเป็นเจ้าของ  ถ้าถามกันไม่ได้กลุ่มก็ล้ม

         ในการเรียน กศน.ขั้นพื้นฐาน ถึงแม้อาชีพเกษตรกรจะไม่มีวันหยุด คุณทำนนท์ก็พยายามไปพบกลุ่มทุกอาทิตย์ อาทิตย์ไหนไปไม่ได้ก็โทร.บอก เรียนจนจบ ม.ต้น-ปลายแล้ว ( ปัจจุบันเปิดพบกลุ่มในโรงทำปุ๋ย )

         การไปศึกษาดูงาน อย่าไปอย่างน้ำเต็มแก้ว ต้องไปเก็บเกี่ยวสิ่งที่ดีมาใช้   กศน.จะเลือกสรรที่ดีที่สุดให้ไปศึกษาดูงาน มีประโยชน์กว่าการมานั่งเรียน

         ครู กศน. ที่จะลงพื้นที่ ต้องมีข้อมูลด้านอาชีพของชุมชน ถ้าชุมชนปลูกข้าวครูก็ต้องรู้เรื่องการปลูกและตลาดข้าว จึงจะออกแบบกิจกรรมได้   ครู กศน.อ.พนัสนิคมทำงานแบบพี่น้องกับหน่วยงานเครือข่าย

 

         คุณทำนนท์ เคยได้รับรางวัลต่าง ๆ หลายรางวัล ตั้งแต่ปี 2543  เรื่อยมา   ในปี 2552 ได้รางวัล FAO ของสหประชาชาติ รับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพฯ และได้รางวัลเกษรกรดีเด่น รับจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ

         ล่าสุดรับรางวัลภูมิปัญญาท้องถิ่นดีเด่นของ กศน. ที่คุรุสภา



 


     

รายการสายใย กศน. วันที่  16  พฤษภาคม  2554


 

         เรื่อง “กรรมการสถานศึกษาดีเด่น กศน.อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุยา”


         นายอิทธิเดช  สุพงษ์  ดำเนินรายการ

         วิทยากรโดย
         - ผอ.ภัชราพร  มีรสสม  ผอ.กศน.อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา
         - พระครูพิศิษฏ์ประชาทร  กรรมการสถานศึกษาดีเด่น กศน.อำเภอเสนา
         - สายรุ้ง กรวยทอง  ครูอาสาสมัคร หัวหน้า กศน.ตำบลชายนา กศน.อำเภอเสนา

   

   

         พระครูพิศิษฏ์ประชาทร เจ้าอาวาสวัดแก้วสุวรรณ อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา ได้รับรางวัลกรรมการสถานศึกษาดีเด่น ( กรรมการสถานศึกษา กศน.อ.เสนา )   รายการ "สายใย กศน." จึงเผยแพร่ประชาสัมพันธ์  เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้บริหารและหน่วยงานต่าง ๆ ได้นำไปเป็นแนวปฏิบัติ

         กรรมการสถานศึกษาของ กศน.อ.เสนา ประกอบด้วยตัวแทนภาคส่วนต่าง ๆ 8 ท่าน  รวม ผอ.กศน.อ.เป็นเลขาฯ เป็น 9 ท่าน  มีการประชุมพิจารณาเห็นชอบในเรื่องต่าง ๆ ภาคเรียนละ 1 ครั้ง  และมีหน้าที่นิเทศการดำเนินงานต่าง ๆ ทุกด้านของ กศน.อ.   หลักสูตรกิจกรรมต่าง ๆ จะผ่านความเห็นชอบของกรรมการสถานศึกษา รวมถึงการสรุปรายงานผล   นอกจากนี้กรรมการสถานศึกษาที่เป็นตัวแทนหน่วยงานองค์กรต่าง ๆ ยังช่วยสนับสนุนงบประมาณการดำเนินงานของ กศน.อ. ช่วยประชาสัมพันธ์ และร่วมจัดกิจกรรมด้วย

         พระครูพิศิษฏ์ประชาทร  เจ้าอาวาสวัดแก้วสุวรรณ กรรมการสถานศึกษา ช่วยประชาสัมพันธ์งาน กศน.อ.เสนา  สนับสนุนสถานที่พบกลุ่มสถานที่ตั้ง กศน.ตำบลชายนา  สนับสนุนปัจจัยต่าง ๆ มาโดยตลอดตั้งแต่ปี 2537
         ที่ ต.ชายนา ทำหลักสูตรสารชีวภาพ ผ่านคณะกรรมการสถานศึกษา นำไปใช้กับชาวบ้านอย่างมีประสิทธิภาพ

 

         การบริหารของผู้บริหาร กศน.อ.เสนา เน้นมิตรภาพมาก่อนคุณภาพ  โดยสร้างสัมพันธภาพ สนับสนุน สร้างขวัญกำลังใจ ให้มีความสุขกับการทำงานตามหน้าที่ ไม่เคร่งครัดมาก   บริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ให้ประชาชนร่วมเป็นอาสาสมัคร กศน.  จัดมุมหนังสือตามบ้าน ตามร้านค้า หมู่บ้านต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนรักการอ่าน
         กศน.อำเภอเสนาได้รับรางวัลหลายรางวัล   ประชุมบุคลากรทุกวันจันทร์ ทำงานเป็นทีม ใช้ระบบวงจรเดมมิ่ง  รวมทั้งเป็นที่ชื่นชมในระดับอำเภอ นายอำเภอชื่นชม   ผู้บริหารลงพื้นที่ติดต่อสื่อสารถึงเครือข่ายผู้เกี่ยวข้องโดยตรง

 

         กศน.ตำบลชายนา ตั้งอยู่ในวัดแก้วสุวรรณ โดยครูและนักศึกษาจัดทอดผ้าป่าได้เงิน 50,000 บาท หลวงพ่อเพิ่มให้อีก 70,000 บาท สร้าง กศน.ตำบล    กศน.ต.ชายนา ประกวดได้ที่ 1 ของจังหวัด 2 ครั้ง และได้ที่ 1 ของระดับกลุ่มศูนย์ฯจังหวัด   ตัวครู กศน.ตำบล ( สายรุ้ง กรวยทอง ) ได้ที่ 1 ระดับภาค ( ประเทศ )    ที่ตำบลชายนามีแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญคือสวนกล้วยไม้ของคุณลุงมานิต  กศน.ต.ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวง ICT ให้เป็นศูนย์ ICT ( 21 เครื่อง ) เพราะอาคารสถานที่เหมาะสม  โดย อบต.ชายนาจ่ายค่าไฟฟ้าค่าซ่อมบำรุง  ให้ประชาชนทุกกลุ่มในตำบลมาใช้ได้
         กศน.ตำบลชายนา ทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย เช่น เป็นศูนย์ร้องเรียนผู้บริโภค  เป็นที่จัดอบรม   ครู กศน.ตำบลรับงาน/ทำงานทุกอย่าง ต้องชอบงาน กศน.จึงจะทำได้  การสอนจะเน้นให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตวิถีการทำงาน และเน้นคุณธรรม โดยพระครูพิศิษฏ์ประชาทร  ช่วย   และให้บริการห้องสมุดตำบล  สอนระดับประถม ม.ต้น ม.ปลาย และ ปวส.ด้วย รวมทั้งเป็นศูนย์ มสธ. เป็นศูนย์ชุมชน   ประชาชนให้ความสำคัญกับครู กศน.ตำบล
         ครูต้องเน้นสร้างความสัมพันธ์กับชาวบ้าน ทำงานเชิงรุกถึงตัว ประชาสัมพันธ์รับสมัครถึงตัว การตั้งรับอยู่ใน กศน.ตำบลจะไม่ได้ผล   เมื่อของบประมาณจากเครือข่ายได้ก็ทำให้ดีและทำรายงานนำเสนอผลงาน เขาก็จะสนับสนุนงบประมาณทุกปี

 

         ที่อำเภอเสนา มี กศน.ตำบลที่อยู่ในวัดเพียง 3 แห่ง  พระครูพิศิษฏ์ประชาทร อยากให้ทุกวัดทุกตำบลให้ตั้ง กศน.ตำบลในวัด  พระครูพิศิษฏ์ประชาทรยินดีที่ตั้ง กศน.ตำบลในวัด ให้โอกาสคน สร้างคนให้มีปัญญา ไม่ต้องไปเรียนไกลบ้าน ผู้นำท้องถิ่นสำเร็จจาก กศน. เรียนไปด้วยทำงานไปด้วย  มีผู้รับบริการทุกกลุ่มเป้าหมายมาก  ท่านสนับสนุนพัฒนาอาคารสถานที่ ต้องการบุคลากร กศน.ที่ทำงานจริงๆ  ท่านส่งเสริมโรงเรียนในระบบด้วย ( ซื้อที่ดินให้โรงเรียน 20 ไร่ )   ท่านได้รับรางวัลกรรมการสถานศึกษาดีเด่นระดับภาค ( ประเทศ ) เมื่อวันที่ 4 ก.ย.54

 


 

รายการสายใย กศน. วันที่  9  พฤษภาคม  2554


         เรื่อง “เรียน กศน.ทางไกล ได้อย่างไร ( การศึกษาต่อเนื่อง )”


         นายอิทธิเดช  สุพงษ์  ดำเนินรายการ

         วิทยากรโดย
         - นายบุญส่ง  คูวรากุล  ผู้อำนวยการสถาบันการศึกษาทางไกล
         - วีระวรรณ  สุธีรไกรลาศ  หัวหน้าส่วนจัดการศึกษาต่อเนื่อง
         - นันฐิณี  ศรีธัญญา  อาจารย์ประจำหลักสูตร
         - นายเชาวลิต  ธาดาสิทธิเวท  อาจารย์ประจำหลักสูตร


         สถาบันการศึกษาทางไกลจัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง ( หลักสูตรระยะสั้น ) มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2547   การศึกษาต่อเนื่องคือ การศึกษาที่จัดขึ้นเพื่อเสริมเติมเต็มและพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน ตามความสนใจของคนในแต่ละช่วง  การจัดแบบทางไกลเป็นการเปิดช่องทางให้เรียนได้มากขึ้น   โดยไม่แบ่งเป็นระดับชั้น มีลักษณะเป็นหลักสูตรสั้น ๆ ที่มีเนื้อหาจบในตัว  มีอาจารย์ที่ปรึกษาติดต่อกับผู้เรียนทางโทรศัพท์และอีเมล์   โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
         1. สร้างเสริมความรู้ ความเข้าใจและทักษะเพื่อการประกอบอาชีพหรือพัฒนาอาชีพ
         2. ส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจและทักษะต่าง ๆ เพื่อการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพ
         3. ส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจและทักษะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน

         หลักสูตรประเภทนี้โดยทั่วไปจะเปิดกว้างสำหรับประชาชนทั่วไป ไม่กำหนดวุฒิแต่ให้มีทักษะการอ่านเขียนภาษาไทย ยกเว้นในบางหลักสูตรอาจกำหนดให้มีคุณสมบัติเพิ่มเติมที่จำเป็นกับการเรียน รู้ในหลักสูตรนั้น ๆ

         หลักการของ การศึกษาทางไกลจะเน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองจากสื่อชุดการเรียนเป็น หลัก ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะมีลักษณะเป็นสื่อประสม คือมีการใช้ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ แผ่นวีดิทัศน์ (VCD) และอื่น ๆ เช่น  อินเทอร์เน็ต เป็นต้น  นอกจากนี้ ในแต่ละหลักสูตรยังกำหนดให้มีกิจกรรมการเรียนรู้อื่น ๆ ที่จำเป็นและเหมาะสมกับเนื้อหา   เนื่องจากเป็นระบบการเรียนทางไกล ผู้เรียนจึงสามารถเรียนด้วยตัวเองทั้งที่บ้านหรือที่ทำงาน แล้วแต่เวลาที่ตนเองสะดวก   ผู้เรียนจะได้รับการวัดผลประเมินผลที่สอดคล้องกับแต่ละหลักสูตร ด้วยวิธีการและรูปแบบที่เหมาะสม

         ระยะเวลาการจบหลักสูตร เป็นไปตามข้อกำหนดของแต่ละหลักสูตรโดยจะพิจารณาจาก  ปริมาณและความยากง่ายของเนื้อหา, กิจกรรมการเรียนรู้ (เช่น เรียนเฉพาะเนื้อหาหรือเรียนภาคปฏิบัติ หรือต้องฝึกปฏิบัติงาน เป็นต้น)    ผู้เรียนที่เรียนตามหลักสูตรประเภทการศึกษาต่อเนื่อง ที่ผ่านการวัดผลประเมินผลตามวิธีการและเกณฑ์ที่กำหนด จะได้รับวุฒิบัตร


         หลักสูตรที่เปิดสอน คือ
         1. การเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
         2. หลักการพื้นฐานการจัดการทางธุรกิจ
         3. โยคะขั้นพื้นฐานเพื่อสุขภาพ
         4. การศึกษาพระเครื่องขั้นพื้นฐาน
         5. การร้องเพลงเบื้องต้น   ( ร่วมกับครูแอน นันทนา  บุญหลง )
         6. เพลงและกิจกรรมเพื่อพัฒนการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
         7. การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาสมองเด็กปฐมวัย
         8. การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้   ( ร่วมกับสำนักงานคุรุสภา เปิดมาแล้ว 6 รุ่น  รวมผู้เรียน 5-600 คน  ส่วนใหญ่ผู้เรียนสังกัด สพฐ. อาชีวศึกษา กศน.   ต้องทำชิ้นงานวิจัยที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนจริง )
         9. ภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร
        10. การจัดการนวัตกรรมสำหรับผู้ประกอบการ
        11. เซียนกล้อง : พื้นฐานการถ่ายภาพเส้นทางสู่มืออาชีพ
        12. ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
        13. การเรียนรู้เพื่อดูแลตนเองของผู้สูงอายุ "เรียนรู้..สู่วัยงาม วัยแห่งความร่มเย็น" ( เรียนทาง e-book และ e-learning )


         ระหว่างวันที่ 2 พฤษภาคม-10 มิถุนายน 2554  เปิดรับสมัคร จำนวน 4 หลักสูตร คือ


         1. ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
             เพิ่งจะเปิดเป็นรุ่นที่สอง  ค่าเรียน 1,200 บาท  หลักสูตร 80 ชั่วโมง    สังคมโลกในยุคข้อมูลข่าวสารและโลกาภิวัตน์ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วด้วยเทคโนโลยีที่ ก้าวล้ำทันสมัย มนุษย์จึงต้องปรับตัวให้เข้ากับบริบทดังกล่าว การจะเข้าถึงและเรียนรู้ความเป็นไปของสังคมโลก จำเป็นต้องมีเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารเพื่อเข้าถึงข้อมูลดังกล่าว ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่สำคัญในการสื่อสารและเข้าถึงองค์ความรู้ต่าง ๆ ได้ทั่วโลก

             โครงสร้างหลักสูตรประกอบด้วยสาระการเรียนรู้ จำนวน 8 หน่วยการเรียนรู้ดังนี้
             1) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภาษาอังกฤษ
             2) ภาษาเพื่อการสื่อสารระหว่างบุคคล
             3) ครอบครัว
             4) การสนทนาทางโทรศัพท์
             5) การนัดหมาย
             6) การเดินทาง
             7) สุขภาพอนามัย
             8) ไปซื้อของ

             สื่อการเรียนชัดเจน ผู้เรียนไม่มีปัญหา อ่านเข้าใจ  ผู้เรียนมีตั้งแต่วุฒิ ม.6 ถึงปริญญาโท   ต้องผ่านการทดสอบทักษะ 4 ด้าน ฟังพูดอ่านเขียน  โดยถ้าผ่าน 60 % จะได้รับวุฒิบัตร


         2. ภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร
             เริ่มรุ่นแรกปี 2549  หลักสูตร 400 ชั่วโมง  ภาษาจีนเป็นภาษาที่มีผู้ใช้มากอันดับ 1   เป็นการเรียนรู้ภาษาจีนที่เป็นระบบสากล มี 12 ยูนิต คือ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภาษาจีน และยูนิตอื่น ๆ คล้ายหลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร   ต้องผ่านการประเมินยูนิตละ 50 % ทุกยูนิต และคะแนนรวมไม่น้อยกว่า 60 %


         3. การจัดการนวัตกรรมสำหรับผู้ประกอบการ
             ร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ  เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีความรู้และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการน วัตกรรมในมิติต่าง ๆ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันด้วยการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ  หลักสูตร 280 ชั่วโมง ( 4 เดือน )  ค่าลงทะเบียน 2,500 บาท ( รวมค่าสัมมนาในส่วนของอาหารกลางวันอาหารว่างและเครื่องดื่ม ไม่รวมค่าที่พักและพาหนะ )   สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติสนับสนุนเงินทุนในการประกอบการ  กำลังจะเปิดเป็นรุ่นที่ 4


         4. เซียนกล้อง: พื้นฐานการถ่ายภาพเส้นทางสู่มืออาชีพ
             กำลังจะเปิดเป็นรุ่นที่สอง  ค่าลงทะเบียน 2,500 บาท  หลักสูตร 240 ชั่วโมง ( 4 เดือน )  มีการฝึกถ่ายภาพจริง ๆ แล้วนำผลงานมาแสดงในวันสัมมนา  และทดสอบ


         หลักฐานที่ใช้ในการสมัคร

         1. รูปถ่ายหน้าตรงขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน โดยให้ติดในใบสมัคร จำนวน 1 รูป  และอีก 1 รูป ใช้สำหรับทำบัตรประจำตัวนักศึกษา
         2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 1 ฉบับ (โดยให้ลงชื่อรับรองสำเนาด้วย)
         3. สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ - สกุล (กรณีที่ชื่อและ/หรือสกุลไม่ตรงกับบัตรประจำตัวประชาชน)

        สมัครได้ทั้งทางไปรษณีย์ และสมัครด้วยตนเอง ผู้สนใจสามารถขอรับระเบียบการและใบสมัครได้ 3 วิธี ดังนี้

         1. ติดต่อขอรับด้วยตนเองที่สถาบันการศึกษาทางไกล หรือโรงเรียนที่เป็นศูนย์การเรียนทางไกล (สำหรับหลักสูตรภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร)

         2. เขียนจดหมายไปขอรับ โดยเขียนชื่อ ที่อยู่ของตนเองให้ชัดเจนพร้อมสอดแสตมป์ ราคา 10 บาท ส่งไปยัง

ส่วนจัดการศึกษาต่อเนื่อง สถาบันการศึกษาทางไกล อาคารองค์การค้าของคุรุสภา เลขที่ 133 ถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โดยวงเล็บมุมซองว่า “ขอใบสมัครการศึกษาต่อเนื่อง”

         3. Download ทาง www.dei.ac.th


         สถาบันการศึกษาทางไกลจะพัฒนาหลักสูตรไปเรื่อย ๆ





 

 

รายการสายใย กศน.  วันที่  2  พฤษภาคม  2554


  

         เรื่อง “เรียน กศน.ทางไกล ได้อย่างไร (การศึกษาขั้นพื้นฐาน)”


         ดำเนินรายการโดย นายอิทธิเดช  สุพงษ์
         วิทยากร คือ
         - นายบุญส่ง  คูวรากุล  ผู้อำนวยการสถาบันการศึกษาทางไกล
         - บุษบงค์ รักเรียน  หัวหน้าส่วนส่งเสริมและพัฒนาเครือข่าย

         การศึกษาทางไกลเป็นวิธีการจัดการศึกษาที่ใช้สื่อในการถ่ายทอดความรู้ เนื้อหาวิชา และมวลประสบการณ์ต่างๆ โดยที่ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องมาพบกัน เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นสำคัญ

 

         สถาบันการศึกษาทางไกล เป็นสถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.)  มีหน้าที่จัดการศึกษาทางไกลใน 2 ประเภท คือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน  และการศึกษาต่อเนื่อง ( หลักสูตรระยะสั้น )

         วิธีเรียนทุกหลักสูตรเรียนด้วยตนเองจากสื่อที่กำหนดไว้ หรือจัดให้บริการ เช่น ชุดการเรียน เอกสารประกอบ วีซีดี อินเทอร์เน็ต และการทำกิจกรรมตามที่กำหนด รวมทั้งต้องเข้ารับการวัดผลประเมินผล ตามวัน เวลา และวิธีการที่กำหนด  ไม่มีข้อจำกัดเรื่องสถานที่เรียน สามารถเลือกสถานที่เรียนที่สะดวก โดยศึกษาด้วยตนเอง จากสื่อ

 

         การศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นการจัดการศึกษานอกโรงเรียนตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551  มี 3 ระดับ ได้แก่ ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

 

         ระยะเวลาการจบหลักสูตร    ในหนึ่งปีการศึกษา แบ่งเป็น 2 ภาคเรียน  แต่ละระดับต้องใช้เวลาเรียนไม่น้อยกว่า 4 ภาคเรียน  (2 ปี)     จบแล้วได้วุฒิการศึกษา ใช้เป็นหลักฐานศึกษาต่อได้

 

         จำนวนหน่วยกิตที่ต้องเรียนในแต่ละระดับ
         1) ประถมศึกษา  48 หน่วยกิต
         2) มัธยมศึกษาตอนต้น  56 หน่วยกิต
         3) มัธยมศึกษาตอนปลาย  76 หน่วยกิต

         ( มีจดหมายข่าว และครูที่ปรึกษา คอยกระตุ้นเตือนให้มีวินัยในการเรียนตามกำหนดเวลา )

 

         การวัดผล ระหว่างภาค 60 %  ปลายภาค 40 %
         การวัดผลปลายภาคเป็นแบบทดสอบปรนัย สอบที่สนามสอบ   ระหว่างภาคเป็นแบบทดสอบอัตนัยให้เขียนด้วยลายมือตนเอง ทำที่บ้าน

 

         เงื่อนไขจบหลักสูตร
         - สอบผ่านทุกวิชา
         - ทำกิจกรรม กพช. 100 ชั่วโมง ( ทำเอง 80 ชั่วโมง, สัมมนา 20 ชั่วโมง )

         - สัมมนา ( 2 วัน ) ก่อนจบหลักสูตร ( นักศึกษาที่อยู่ต่างประเทศ ให้สัมมนาออนไลน์ )
         - ทดสอบมาตรฐานการศึกษานอกโรงเรียนระดับชาติ

         ( มีผู้เรียน ๆ ไม่จบ ประมาณ  20 %  นักศึกษารุ่นแรกจบปริญญาโท 2 คนแล้ว )

 

         จำนวนนักศึกษาในภาคเรียนที่ผ่านมา ( 2/2553 ) มีทั้งหมด 4,607 คน แยกเป็น 3 กลุ่ม
         1) นักศึกษาทั่วไป  1,750 คน
         2) นักศึกษาทหารกองประจำการ  2,173 คน
         3) นักศึกษาคนไทยในต่างประเทศ&nbs

หมายเลขบันทึก: 438636เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2011 13:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

สวัสดีค่ะ อจ. เอกชัย ขอบคุณมากที่นำมาแบ่งบันและจะนำไปปฏิบัติตามค่ะ

ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะครับ Ico48

ขอบคุณค่ะอาจารย์ไม่ได้ดูเมือวันที่ 2 ยังไปดูและสรุปย้อนหลังให้อีก อยากเก่งและใจดีแบบอาจารย์จังเลย

สวัดีค่ะอาจารย์ เอกชัยหานักศึกษาในพื้นที่ได้แค่ ๕๐ คนค่ะ อำเภอผักไห่นักศึกษาเยอะไหมค่ะ

เรียน อ.เอกชัย กศน.ผักไห่ ที่เคารพ

ผมมีเรื่องขอเรียนถามอาจารย์ครับ หลักสูตรการสอบคัดเลือกครูผู้ช่วย กศน. กรณีพิเศษ การสอบภาค ก. ที่ผมดูครั้งแรกที่ส่งมานะครับ คือมีการสอบ พรบ.กศน.,ระเบียบการลา,พรบ.สภาครูฯ,ฯลฯ แต่ทำไมดูในประกาศ อ.ก.ค.ศ. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องกำหนดวันเวลาสถานที่สอบ เป็นวิชาความรอบรู้ทั่วไปและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาพครู ละครับ ตกลงจะสอบอะไรกันแน่ครับจะได้อ่านหนังสือถูกครับ รบกวนตอบผมด้วยนะครับ ด้วยความเคารพ

ในประกาศรับสมัครครั้งแรก ระบุว่า
         ภาค ก ความรอบรู้ทั่วไป และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความประพฤติ การปฏิบัติของวิชาชีพครู
         1. ความรอบรู้ทั่วไป
             1.1 นโยบายรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
             1.2 กฎหมาย (พระราชบัญญัติ) ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติราชการ
                  1.2.1 กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
                  1.2.2 กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
                  1.2.3 กฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
                  1.2.4 กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทา่งการศึกษา
                  1.2.5 กฎหมายการบริหารและการจัดการศึกษาของส่วนราชการ
                  1.2.6 พระราชบัญญัติสงเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.2551
                  1.2.7 ระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
                  1.2.8 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
         2. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความประพฤติ การปฏิบัติของวิชาชีพครู
             2.1 วินัยและการรักษาวินัย
             2.2 คุณธรรมจริยธรรม และค่านิยม
             2.3 มาตรฐานวิชาชีพ
             2.4 จรรยาบรรณวิชาชีพ
             2.5 สมรรถนะวิชาชีพ

         แต่ในประกาศเรื่องกำหนดวันเวลาสถานที่สอบ นั้น เป็น "ตารางสอบ" เขาจึงนำหัวข้อใหญ่มาเป็นชื่อวิชา โดยไม่ได้นำหัวข้อเนื้อหาย่อย ๆ มาใส่ไว้ในตารางสอบด้วย ครับ

เรียน อาจารย์เอกชัย ขอให้ขึ้นรายการสายใย กศน. วันจันทร์ ที่ 30 พ.ค 54 ให้อ่านด้วยนะค่ะ ขอขอบพระคุณล่วงหน้าเป็นอย่างสูง

ขึ้นรายการสายใย กศน. วันจันทร์ ที่ 30 พ.ค 54 ให้แล้วนะครับ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่ทำไว้ให้ศึกษาเป็นคุณค่าที่ดียิ่ง ขอให้ท่านจงทำต่อไปครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท