KM_Md_KKU มุมมองคนตัวเล็ก (7)>>>การประชุมสัมมนา KM Forum ครั้งที่ 5/2554 “Pressure sore for… Sharing” : การจัดการความรู้อย่างง่ายๆ...


การจัดเก็บความรู้หรือแนวทางปฏิบัติที่ได้เข้าสู่คลังความรู้ที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย มีการเชื่อมโยงสู่การขยายผลในการปฏิบัติทั้งองค์กรและจัดเวทีให้ผู้ที่นำไปปฏิบัติได้สะท้อนผลลัพธ์ของการนำไปใช้และอาจเป็นที่มาของการปรับปรุงหรือต่อยอด เกิดเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ หรือที่เรียกว่า Learning Organization ไปในที่สุด

การประชุมสัมมนา KM Forum ครั้งที่ 5/2554 พันธกิจด้านการรักษาพยาบาลในหัวข้อ “Pressure sore for… Sharing” ในวันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์  2554 เวลา  14.00-16.00 น. เริ่มขึ้น ณ ห้องประชุมศิษย์เก่าแพทย์ขอนแก่น ชั้น3 อาคารเรียนรวม โดยมีคุณรุ่งทิวา ชอบชื่น รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าหอผู้ป่วย 2ฉ เป็นผู้นำเรื่อง

พยาบาลผู้เข้าร่วมกิจกรรมราว 40 คน เป็นผู้มีประสบการณ์เรื่อง “แผลกดทับ(pressure sore)” จากหอผู้ป่วยแผนกต่างๆ โดยมีเป้าหมายเดียวกันคือ มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และความรู้ที่มีในตนสู่เพื่อนๆ

ขอเล่ากระบวนการที่พบเห็นซึ่งผู้เขียนประทับใจกับการดำเนินกิจกรรมนี้เป็นอย่างมาก เพราะได้เห็นเป็นรูปธรรมของกิจกรรม KM เบื้องต้น โดยเห็น Knowledge Sharing อย่างง่ายๆ

ขอนำวิธีดำเนินกิจกรรมที่ทางทีมได้คิดออกแบบรูปแบบที่เหมาะสมกับบริบทของตนมาเล่าสู่กันฟัง เพื่อที่เพื่อนๆอาจนำไปดัดแปลงให้เหมาะสมกับหน่วยงานตนได้

กระบวนการเริ่มจาก

  1. มีการกำหนดประเด็นที่เห็นเป็นปัญหาร่วมกัน : ซึ่งอาจเกิดจากความไม่มั่นใจในการปฏิบัติ การต้องการหาวิธีปฏิบัติที่ดีกว่าจากเพื่อน การต้องการหาคำตอบจากการคิดวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นจากผู้รู้หรือผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่า เพื่อหาข้อสรุปจากการสกัดความรู้ในเรื่องนั้นๆจากผู้รู้ในพื้นที่จริง .... กิจกรรม KM ครั้งนี้ใช้  “Preesure sore” เป็นตัวเปิดประเด็น หากเป็น TUNA Model ของท่าน อ.ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด ...นี่ก็คือ หัวปลาทู นั่นเอง
  2. การมีผู้นำเรื่อง : ซึ่งมีบทบาทในการปรับแนวคิดโดยนำ Best Practice ที่มีเป็นเพียงกรอบ เพื่อมิให้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลุดประเด็นจนเกินไปเป็นสิ่งที่ดี .... กิจกรรม KM ครั้งนี้มี “คุณรุ่งทิวา ชอบชื่น” ซี่งเป็นผู้ที่มี best practice ในมือ  เป็นผู้รับบทนี้
  3. การมี facilitator ประจำกลุ่มย่อย : ซึ่งมีบทบาทในการกำกับ ดูแล และควบคุมกลุ่ม เอื้อให้ทุกคนได้แสดงความคิด...ทุกคนต้องได้พูด...พูดทีละคนโดยมีเพื่อนๆตั้งใจฟังจนจบ (“เราอาจจะต้องอดทนฟังให้เพื่อนพูดจบก่อน” คุณอุบล จ๋วงพานิชกล่าวไว้ว่าอย่างนั้น) มีการตั้งคำถามชวนให้คิดต่อยอด มีการดึงประเด็นเชื่อมโยงสู่ best practice ที่ผู้นำเรื่องมาเสนอ การทิ้งคำถามว่า “แล้วเราทำได้หรือไม่” “แล้วเราทำได้ดีกว่าหรือไม่” หรือ “จริงๆแล้วเราทำกันอย่างไร?” เป็นคำถามที่จุดประกายผู้ร่วม KM ได้เป็นอย่างดี....                                                   
  4. การมีผู้บันทึกประจำกลุ่ม : เพื่อเก็บประเด็นสำคัญที่เป็นความรู้ฝังลึกในตัวบุคคลเป็นสิ่งสำคัญ โดยส่วนตัวของผู้เขียนคิดว่า ผู้บันทึกควรเป็นคนในพื้นที่ของผู้ปฏิบัติเอง เพราะการเก็บประเด็นต้องผ่านการคิดวิเคราะห์ระดับหนึ่งว่า เป็นประเด็นที่สำคัญจึงจะไม่หลุดไปจากเป้าหมายตั้งต้นเดิม และสามารถเชื่อมโยงประเด็นไปสู่งานได้อย่างไร อันทำให้งานนั้นๆเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือแตกยอดได้อีก
  5. มีการสรุปประเด็นย่อยที่ได้จากกลุ่ม : เพื่อนำไปรวบรวมสรุปเป็นประเด็นใหญ่อีกครั้งโดยทีม facilitator ของกลุ่มใหญ่ ซึ่งประกอบด้วย คุณอุบล จ๋วงพานิช(พี่แก้ว),คุณจงกล พลตรี(คุณปุ๊)และ คุณพัชรินทร์ อ้วนไตร
  6. การสรุป เชื่อมโยงและสะท้อนประเด็นสำคัญนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง : เป็นสิ่งที่ควรทำเพื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำไปต่อยอดโดยการปฏิบัติได้ง่าย รวมถึงการขยายผลสู่งานวิจัย ซึ่งเป็นการยกระดับคุณภาพงาน
  7. การมีผู้นำองค์กรเข้าร่วมกิจกรรม : ดังเช่นหัวหน้าฝ่ายการพยาบาลเข้าร่วมกิจกรรมนี้ด้วยเป็นสิ่งที่ดี ที่สามารถสะท้อนความเป็นไปได้หรือไม่ได้ หรือให้การสนับสนุนในการนำสู่การปฏิบัติจริง

 

การจัดการความรู้คราวนี้ จึงเป็นการเน้น “2P” คือ คน(People) และกระบวนการทำงาน(Process)  

ผลที่คาดว่าจะเกิดในอนาคต คือการจัดเก็บความรู้หรือแนวทางปฏิบัติที่ได้เข้าสู่คลังความรู้ที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย มีการเชื่อมโยงสู่การขยายผลในการปฏิบัติทั้งองค์กรและมีการจัดเวทีให้ผู้ที่นำไปปฏิบัติได้สะท้อนผลลัพธ์ของการนำไปใช้ และอาจเป็นที่มาของการปรับปรุงหรือต่อยอด เกิดเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้หรือที่เรียกว่า Learning Organization ไปในที่สุด ซึ่งการใช้ “2T” คือ Tools และTechnology จะเป็นตัวช่วยให้งานบรรลุผลในลำดับถัดมา แต่ควรใช้อย่างสมดุล

ผู้เขียนขอขอบพระคุณฝ่ายการพยาบาล ที่สามารถดำเนินกิจกรรมการจัดการความรู้โดยสามารถใช้ KM เป็นเครื่องมือได้อย่างเป็นธรรมชาติและเนียนไปกับการพัฒนางานในรูปแบบเดิม โดยไม่สร้างให้เป็นภาระงานใหม่แก่ทีมผู้ปฏิบัติ

การใช้ KM เป็นเครื่องมือสนับสนุนให้งานบรรลุเป้าหมายองค์กรได้ง่ายขึ้น เป็นการใช้ KM ที่ชาญฉลาด  ดังนั้นในเบื้องต้นของการเริ่มทำกิจกรรมทุกครั้ง การตั้งต้นด้วยประโยคคำถามว่า...“เราทำ KM...เพื่อ?....” จึงน่าจะเหมาะ

การถอดความรู้และประสบการณ์ของผู้ใกล้เกษียณอายุที่มีความรู้และประสบการณ์ดีๆสะสมไว้ในตัวมากมายก็เป็นเรื่องสำคัญที่องค์กรควรเร่งดำเนินการ ก่อนที่ความรู้และประสบการณ์ดีๆจากท่านเหล่านั้นจะสูญหายไป โดยเฉพาะในกลุ่มวิชาชีพของพวกเราที่ต้องพึงพาทักษะ (Skill)ในการทำงานเป็นสำคัญ

ผลลัพธ์สุดท้ายของนำเครื่องมือ KM มาใช้ จะเกิดผลที่เป็นประโยชน์ประการใด...คนในพื้นที่หรือเจ้าของเรื่องน่าจะตอบคำถามนี้ได้ดีที่สุด สำนักงานการจัดการความรู้หรือ KM เป็นเพียงตัวช่วยเท่านั้น

(อ่านรายละเอียดของเนื้อหาการจัดการความรู้ได้ที่บันทึกนี้ค่ะ KM..Bed sore sharing)

หมายเลขบันทึก: 425671เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2011 16:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ขอบคุณ คุณติ๋วที่ช่วยกันเติมเต็มในประเด็นนี้ค่ะ

คุณติ๋วบันทึกได้ยอดเยี่ยมมากค่ะ ทำให้เติมเต็มกันและกันได้ พี่ขออนุญาติส่ง link ไปให้น้องไข่เจียวด้วยนะคะ

  • สวัสดีค่ะ อ.พี่ติ๋ว 
  • เป็นตัวอย่างในการทำกลุ่มที่ดีมากเลยค่ะ 
  • ขอบคุณค่ะ 

ยินดีและดีใจยิ่งค่ะพี่แก้ว...ที่ได้มีโอกาสช่วยแม้เพียงน้อยนิด

ขอบคุณทางพี่แก้วและทีมงานมากๆค่ะที่ทำให้ติ๋วได้พบประสบการณ์ที่ดีๆเช่นนี้

ขอบคุณค่ะ

 

สวัสดีค่ะ ป้าแดง

พี่ติ๋วพยายามหาสิ่งดีๆมาแบ่งปันให้เพื่อนๆได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนและต่อยอดค่ะ พวกเราเป็นนักปฏิบัติเต็มเวลา...การหาเวลาออกนอกพื้นที่เพื่อแสวงหาสิ่งดีๆภายนอกองค์กรด้วยตนเองเป็นไปได้ลำบาก...ต้องเรียนรู้ระหว่างกันนี่แหละค่ะ

ขอบคุณป้าแดงนะคะ

มีแต่สาวสาวพยาบาลนะครับ หากมีแพทย์ และ ผป มาร่วม แชรื ประสบการณ์ น่าจะ สุดสุด เลยท่าน

  • สวัสดีค่ะ
  • สุขสันต์วันวาเลนไทน์ค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

                        

เรียน ท่านอ.JJ ค่ะ

ณ จุดเริ่มต้นนั้นเริ่มจากจุดเล็กๆ ใกล้ตัวก่อนนั้นง่ายค่ะ เมื่อกลุ่มพยาบาลมีความชัดเจนในแนวทางที่ร่วมกันจัดทำจนตกผลึก การทาบทามแพทย์มาร่วมแจมเพื่อช่วยเติมเต็มด้านการรักษาคงไม่ใช่เรื่องยาก เพราะแพทย์ของเรานั้นมีความเป็นทีมร่วมกันใน CLTอยู่แล้ว จากนั้นนำสู่ผู้ป่วยในลำดับถัดไปก็จะสมบูรณ์ในงานมากขึ้น เชื่อว่าทางทีมผู้จัดคงมีในใจแล้วน่ะค่ะ 

ขอบพระคุณอาจารย์ค่ะ

ขอบคุณ คุณบุษราค่ะ

สุขสันต์วันวาเลนไทน์เช่นกันค่ะ

เรียน คุณกฤษณา ผมน้องใหม่เพิ่งนำเสนอแนวคิด ผ่านเว็บ http://www.nature-dhama.ob.tc  ขอฝากความคิดเห็นให้ผมบ้างเป็นพระคุณยิ่งครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท