การประสมวงดนตรีไทย


ดนตรี

ความเป็นมาของดนตรีไทย

เราสามารถแบ่งออกเป็นยุคต่าง ๆ ได้ 4 ยุค แต่ละยุคมีเครื่องดนตรี การร้องการบรรเลง และวิวัฒนาการ ดังนี้

1. ดนตรีไทยสมัยก่อนกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี การศึกษาค้นคว้าเรื่องราวของดนตรีสมัยก่อนกรุงสุโขทัย เรากระทำได้ยากกมาก เพราะไม่มีเรื่องราวที่บันทึกเป็นหลักฐานแน่นอน จึงเป็นเพียงข้อสันนิษฐานเปรียบเทียบเท่านั้น

ใน พ . ศ . 1286 ไทยได้เจริญสัมพันธไมตรีกับจีนใน พ . ศ . 1291 จีนและธิเบตได้ส่งทูตมาเจริญสัมพันธไมตรี และไทยเราก็ได้ส่งทูตไปบ้าง มีการบรรเลงเพลง “ น่านเจ้าจิ้นก้อง ” ( ทูตไทยเข้าเฝ้าพระเจ้ากรุงจีน ) อาจเป็นเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อเป็นการตอบแทนที่จีนส่งทูตไทยก็ได้ เครื่องดนตรีในยุคนี้สันนิษฐานว่าน่าจะมี ขลุ่ย แคน ปี่ซอ และพิณ กระจับปี่ ซึง สะล้อ

2. ดนตรีสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ได้หลักฐานจากศิลาจารึก สันนิษฐานว่าในสมัยนั้นเครื่องดนตรีจะมีกลองสองหน้า แตรงอน แตรสังข์ ตะโพน กลองทัด ฉิ่ง บัณเฑาะว์ กรับ กังสดาล มโหระทึก ซอสามสาย ระนาด เกิดขึ้นแล้ว

ส่วนการผสมวง มี 4 ประเภท คือ

- การบรรเลงพิณคนเดียว

- วงขับไม้

- วงปี่พาทย์เครื่องห้า

- วงประโคม แบ่งเป็น 2 ชนิด ตามลักษณะของงาน

- ประโคมแตรและมโหระทึก ใช้เวลาพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออก และการเสด็จพระราชดำเนินขบวนน้อย

- ประโคมแตรสังข์และกลองชนะ ใช้ในการเสด็จพระราชดำเนินกระบวนพยุหยาตรา

3. ดนตรีไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยนี้ดนตรีไทยเจริญขึ้นมากและเป็นที่นิยมในหมู่ประชาชน เครื่องดนตรีในสมัยนี้ก็ได้มาตั้งแต่กรุงสุโขทัย แต่ได้มีการปรับรูปร่างและการประสมวงดนตรี มีการคิดเครื่องดนตรีเพิ่ม เช่น จะเข้ ในสมัยอยุธยานี้ มีเครื่องดนตรีครบทุกชนิด

ลักษณะการประสมวง ในสมัยนี้ได้แบ่งออกเป็น 4 ชนิด

1. วงขับไม้ ได้ปรับปรุงมาจากสมัยกรุงสุโขทัยโดยเอาวงขับไม้กับการบรรเลงพิณมาผสมกัน

2. วงเครื่องสาย ซึ่งในสมัยนี้ยังมีแบบแผนไม่แน่นอนนัก

3. วงมโหรี ประกอบด้วย ซอสามสาย กระจับปี่ ขลุ่ย โทน กรับพวง รำมะนา

4. วงปี่พาทย์ เหมือนสมัยกรุงสุโขทัย แต่เพิ่มระนาด

เพลงในสมัยกรุงศรีอยุธยาส่วนมากเป็นอัตรา 2 ชั้น เพลงเนื้อเต็มที่มีชื่อเสียงได้แก่ เพลง แขกต่อยหม้อ ธรณีร้อยไห้ ทะเลบ้า เป็นต้น

4. ดนตรีสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการหฟื้นฟูศิลปด้านดนตรีขึ้นหลายชนิด ในด้านเครื่องดนตรีมีกลองทัด 2 ลูก เป็นชุด ( แต่เดิมมีลูกเดียว ) มีสองหน้า ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องมอญ ระนาดทอง ระนาดทุ้มเหล็ก และอังกะลุง

ลักษณะการประสมวงดนตรีไทยแบ่งออกเป็น 5 ประเภท

1. วงขับไม้ เหมือนกรุงสุโขทัย
2. ประเภทเครื่องกลองแขก ให้กลองแขกผสมกับปี่ชวา ฆ้องโหม่ง
3. การประสมวงประเภทเครื่องสาย
4. การประสมวงประเภทปี่พาทย์
5. การประสมวงประเภทมโหรี

คำสำคัญ (Tags): #ดนตรี
หมายเลขบันทึก: 425662เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2011 15:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 16:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ดีใจที่ยังเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมไทยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท