ผู้ออกบวชอุทิศพระพุทธเจ้า


หนังสือดีที่ได้รับอันเนื่องมาจากความเป็นกัลยาณมิตรของ ดร.สุชาติ หงษา หลายเล่มนั้น ยังไม่มีเวลานั่งลงอ่านอย่างจริงจัง จึงเพียงแค่เปิดผ่านตา แต่เพียงแค่กวาดตาผ่าน ก็ตระหนักถึงคุณค่าอย่างสูงของหนังสือแล้วค่ะ

ดังเช่นหนังสือที่เกี่ยวกับปัญหาการบวชภิกษุณีเล่มนี้ เป็นหนังสือดีที่ผู้สนใจปัญหานี้ควรได้ศึกษา ดังความที่ตัดมาจากหนังสือ ตอบ ดร.มาร์ติน : พุทธวินัยถึงภิกษุณี ส่วนนี้ค่ะ

ทางที่ ๒ อย่างนี้พิเศษหน่อย คือเลยหรือต่อออกไปจากอุบาสิกาบริษัท ล้ำเข้าไปในวิถีของบรรพชิตหรือนักบวช ยังไม่ได้นึกหาคำเรียกให้กะทัดรัด ขอเรียกตรงๆ เต็มๆ ว่า ผู้ออกบวชอุทิศพระพุทธเจ้า

อย่างนี้มีตัวอย่างของจริงมาในพระไตรปิฎกเลยทีเดียว ขอให้ดูในธาตุวิภังคสูตร (ม.อุ.๒๔/๖๗๓/๔๓๔) ตามเรื่องว่ากุลบุตรชื่อปุกกุสาติ(อรรถกถาว่า เป้นราชาแห่งตักสิลา เป็นพระสหายที่ไม่เคยเห็นกันของพระเจ้าพิมพิสาร) มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธเจ้าทั้งที่ยังไม่เคยได้เห็นพระองค์ จึงสละฆราวาสวิสัย ออกบวชอุทิศพระผู้มีพระภาค โดยโกนศีรษะ ถือบาตร ครองกาสาวพัสตร์เอง

ปุกกุสาติเดินทางมุ่งมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ได้พบและพักค้างแรมกับพระองค์ในโรงช่างหม้อ ที่เมืองราชคฤห์ ฟังธรรมจากพระองค์แล้วรู้แจ้ง (บรรลุอนาคามิผล) จึงรู้ว่าตนได้พบพระพุทธเจ้าแล้ว และทูลขอบวชกับพระองค์ แต่เขามีจีวรไม่ครบ จึงออกไปหาจีวร แล้วถูกแม่วัวขวิดเสียชีวิต

ถ้าปุกกุสาติไม่สิ้นชีวิตเสียก่อน การบวชของเขาก็จะมี ๒ ตอน คือ ตอนแรกบวชอุทิศพระพุทธเจ้า (เข้ามาในธรรม แต่ยังอยู่นอกวินัย) และตอนสอง บวชกับพระพุทธเจ้า (เข้ามาอยู่ทั้งในธรรมและวินัย ครบบริบูรณ์)

พระสาวกสำคัญที่บวชอุทิศพระพุทธเจ้ามาก่อนได้เฝ้าพระพุทธเจ้ายังมีอีก แต่เป็นเรื่องที่เล่าไว้ในอรรถกถา (เช่น สํ.อ.๒/๒๔๕/๒๖๙, องฺ.อ. ๑/๒๓๑/๒๘๕; ธ.อ. ๔/๑๓; อป.อ. ๒/๖๑/๒๗๓; ดถร.อ. ๑/๙๖/๓๑๑) โดยเฉพาะพระมหากัปปินะ อดีตพระราชาแห่งกุกกุฏวดีนคร และพระติสสะ อดีตราชาแห่งโรรุวนคร

ท่านแรก คือพระมหากัปปินะนั้นเด่นมาก เป็นพระมหาสาวก และเป็นเอตทัคคะรุปหนึ่ง มีเรื่องราวกล่าวถึงบ่อย ไม่เฉพาะตัวท่านเองออกบวช พระอโนชาเทวี อัครมเหสี เมื่อทราบข่าวทีหลัง ก็ออกเดินทางตามไปและได้บวชเป็นภิกษุณี

ทุกท่านที่กล่าวนี้มีเรื่องทำนองเดียวกัน คือเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธเจ้าเป็นอย่างยิ่ง แต่อยู่ห่างไกล ไม่อาจพบพระองค์ จึงสละฆราวาส โกนผม ครองผ้ากาสาวพัสตร์ ถือเพศบรรพชิต บวชอุทิศพระพุทธเจ้า อรรถกถาว่า คล้ายการบรรพชาของพระโพธิสัตว์ (โพธิสัตว์บรรพชา)

การบวชอุทิศพระพุทธเจ้าอย่างนี้ ถึงจะยังไม่ได้บรรพชาอุปสมบทเต็มตามกำหนดของพระวินัย ท่านก็ถือว่าเป็นบรรพชิต นับว่าได้ออกมาจากอุบาสกอุบาสิกาบริษัทแล้ว ดังที่พระพุทธเจ้าทรงเรียกปุกกุสาติว่า ภิกขุ

......................................................................

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ตอบ ดร.มาร์ติน : พุทธวินัย ถึง ภิกษุณี : หจก.สามลดา, กุรงเทพ.๒๕๕๕๓

(หน้า ๓๙๐-๓๙๑)

ท่านผู้ใดสนใจปัญหาการบวชภิกษุณี ไปขอรับหนังสือเล่มนี้ได้ที่วัดญาณเวศกวันนะคะ

หมายเลขบันทึก: 419402เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2011 15:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ตุลาคม 2013 09:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

  • สวัสดีค่ะ 
  • ของที่ส่งมาให้ ได้รับแล้วเหมือนกันค่ะ 
  • ถูกใจมากเลย
  • เดือน มีนา หวังว่าคงได้พบกันอีกนะคะ  
  • ขอบคุณค่ะ 

สวัสดีครับ คุณ ณัฐรดา

แวบเห็นชื่อนี้...ดร.สุชาติ หงษา...เราเคยไปอยู่ใน ม. เมืองพาราณสี ด้วยกันละ

เขาเป็นคนเก่งหลายอย่างโดยเฉพาะเรื่องการเรียนน่ายกย่องมากครับผม

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ จริงๆผมอยากอ่านมากเลยครับ ทำไงดี??

ขอบคุณพี่นงนาทค่ะIco48

ที่แวะมาเสมอ

ดีใจค่ะที่ป้าแดงIco48ชอบภาพที่ส่งไป

ขอบคุณที่มาส่งข่าวค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ยูมิIco48

ขอบคุณค่ะที่แวะมา

คุณเบดูอินคะIco48

เรียนถามอาจารย์สุชาติแล้วค่ะ

ท่านว่าเขียนจดหมายพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนไปขอที่วัด (พุทธมณฑล สาย 4 จ.นครปฐม)ก็น่าจะได้ค่ะ

 

สวัสดีค่ะคุณณัฐรดา

  • สุขสันต์วันทำงานนะคะ

สวัสดีครับพี่ณัฐรดา

ขอบคุณสำหรับธรรมะดีดี สาระดีดี ที่นำมาฝากเช่นเดิม

ขอบคุณเจ้าของปลายพู่กัน ณัฐรดา

พี่ขโมยภาพไปใช้งานหลายที่แล้ว ก่อนนำมาให้เจ้าของชม  ขอบคุณค่ะ

  • สุขสันต์วันครูค่ะ
  • นำเมี่ยงไก่ใบคะน้าและแกงเลียงจากสวน ✿อุ้มบุญ✿ มาฝากค่ะ

น่าสนใจครับ สำหรับผมคงต้องพยายามตามศึกษาไปอย่างตั้งใจมากขึ้นถึงจะเข้าใจได้ดี

สวัสดีคะ แวะมาทักทาย สวัสดีปีใหม่ มีความสุขมากๆนะคะ

หลังจากหายหน้าไปนานเพราะลืมรหัส..

เป็นกุศลธรรมที่ได้เรียนรู้สู่ชีวิตที่งาม ครับ สบายดีนะครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท