หนานเกียรติ
เกียรติศักดิ์ หนานเกียรติ ม่วงมิตร

เล่าบทเรียน SHA ที่อุดร ตอน ๒


        ที่โรงพยาบาลอุบลรัตน์ ได้เพิ่มงานเชิงรุกในแง่การสร้างเสริมสุขภาพมากขึ้น ในขณะที่ปรับปรุงงานเชิงรับให้มีประสิทธิภาพ

        การทำงานเชิงรุกในแง่การสร้างเสริมสุขภาพนั้น โรงพยาบาลอุบลรัตน์ได้ส่งเสริมให้ชาวบ้านทำเกษตรพอเพียงตามแบบที่ปราชญ์ชาวบ้านที่ได้ไปเรียนรู้มา การขับเคลื่อนเพื่อขยายผลเกษตรพอเพียงนี้ ดำเนินผ่านการอบรมหลักสูตร “วปอ.ภาคประชาชน” มีกลยุทธ์เริ่มจากการกระตุกความคิดให้ตั้งคำถามกับสิ่งที่เป็นอยู่ สร้างแรงบันดาลใจให้เชื่อมั่นและลงมือเปลี่ยนแปลงตนเองด้วยการย้อนกลับไปหารากเหง้าด้วยการทำเกษตรพอเพียง มีกระบวนการตอกย้ำให้มีความมั่นใจขึ้นเรื่อย ๆ และการเชื่อมโยงเครือข่ายการเรียนรู้ระหว่างกัน ภายในระยะเวลา ๑๐ ปี เศษ ชาวบ้านหันมาทำเกษตรพอเพียงกันทุกหมู่บ้านในอำเภออุบลรัตน์ บางแห่งทำกันค่อนหมู่บ้าน หมู่บ้านที่ยังมีชาวบ้านเข้าร่วมน้อยก็ยังอยู่ในระดับไม่ต่ำกว่า ๑๐ หลังคาเรือน ข้อมูลของโรงพยาบาลบอกว่าเกษตรกรที่หันมาสู่แนวทางนี้มารักษาอาการเจ็บป่วยที่โรงพยาบาลน้อยมาก

        การส่งเสริมเกษตรพอเพียงในพื้นที่ อ.อุบลรัตน์ นั้นมีการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานที่เหมาะสมกับชาวบ้านหลายประเภท เช่น เกษตรประณีตโดยใช้พื้นที่เพียง ๑ ไร่ หลุมพอเพียงที่ชืพื้นที่เพียง ๑ ตารางเมตร

        สำหรับการพัฒนาประสิทธิภาพงานเชิงรับนั้น โรงพยาบาลก็ไม่ทอดทิ้ง ยังคงให้ความสำคัญ นอกจากการพัฒนาระบบงานในโรงพยาบาลให้มีคุณภาพและเป็นไปตามมาตรฐานแล้ว ยังได้พัฒนาและเพิ่มช่องทางการเข้าถึงบริการด้านการรักษา

        สิ่งที่โรงพยาบาลดำเนินการได้แก่ การพัฒนาคุณภาพด้านการรักษาพยบาลของสถานีอนามัย ซึ่งแพทย์จากโรงพยาบาลจะลงไปเยี่ยมเยียนและสอนงานกันถึงสถานีอนามัยทุกแห่งอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นยังให้การสนับสนุนความรู้วิชาการ การสนับสนุนเครื่องไม้เครื่องมือที่จำเป็นให้ รวมทั้งการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

        นอกจากการทำงานกับสถานีอนามัยแล้ว ยังได้ทำงานกับร้านยา โรงพยาบาลได้จัดตั้งชมรมร้านยาขึ้น เพื่อให้ร้านค้าต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้านรับยาจากโรงพยาบาลไปจำหน่ายในราคาถูก ทำให้ชาวบ้านสามารถเข้าถึงยาคุณภาพดีได้ในราคาถูก

        ร้านค้าที่เข้าร่วมจะได้รับการอบรมให้มีความรู้เกี่ยวกับการใช้ยา จนสามารถให้คำปรึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้ยาให้ชาวบ้านที่มาซื้อยาได้ การดำเนินการเช่นนี้ทำให้ลดการแออัดของชาวบ้านที่จะมาโรงพยาบาลได้ไม่น้อย

        สำหรับการทำงานกับหมอพื้นบ้านในพื้นที่ ทางโรงพยาบาลก็ให้ความสำคัญ ได้จัดตั้งเครือข่ายหมอพื้นที่ อ.อุบลรัตน์ และตั้งที่ทำการเครือข่ายฯ ที่ศูนย์ค้ำคูณ เป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น

        อีกกิจกรรมหนึ่งซึ่งได้ดำเนินงานมาพักใหญ่แล้ว คือ พยาบาลชุมชน เป็นความร่วมมือกับ อบต.ในพื้นที่ คัดเลือกนักเรียนที่มีคุณสมบัติเป็นคนดีส่งไปเรียนพยาบาล แล้วกลับมาทำงานในพื้นที่ ซึ่งได้ดำเนินงานต่อเนื่องมาหลายรุ่นแล้ว พยาบาลรุ่นแรกกลับมาทำงานที่โรงพยาบาลแล้ว ๕ คน

        การทำงานของพยาบาลชุมชนเหล่านี้ในเวลาทำการปกติจะประจำอยู่ที่โรงพยาบาล  เวลาเช้าเย็นของแต่ละวันก็จะให้บริการตรวจรักษาชาวบ้านในหมู่บ้านที่ตนเองอยู่ นอกจากการตรวจรักษาแล้วก็ยังทำงานในเชิงสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนด้วย

        นอกจากนั้นทางโรงพยาบาลได้จัดส่งเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลไปรับผิดชอบงานระดับหมู่บ้านด้วย เจ้าหน้าที่ ๑ คน จะรับผิดชอบงาน ๑ หมู่บ้าน การลงไปปฏิบัติงานในชุมชนจะเป็นการดำเนินงานนอกเวลางานของเจ้าหน้าที่ โดยที่โรงพยาบาลจะอำนวยความสะดวกโดยการจัดรถรับส่ง คิดค่าตอบแทนล่วงเวลาให้ รวมทั้งสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์สำหรับการทำงานในพื้นที่

        บทบาทของเจ้าหน้าที่ที่ลงไปทำงานในหมู่บ้าน มีหลายประการ ทั้งงานเชิงรุกในแง่การสร้างเสริมสุขภาพ ได้แก่ การกระตุ้นและส่งเสริมให้ชาวบ้านทำเกษตรพอเพียง การติดตามแปลงเกษตรเพื่อให้กำลังใจและสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน การป้องกันโรคติดเชื้อต่าง ๆ ในหมู่บ้าน เช่น ไข้เลือดออก การคัดกรองผู้ป่วย การจัดกิจกรรมสุขศึกษาให้กับชาวบ้านในหมู่บ้าน การรักษาอาการเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ การติดตามเยี่ยมเยียนร้านขายยาในหมู่บ้าน เป็นต้น

        นี่เป็นภาพรวมการขับเคลื่อนงานของร.พ.อุบลรัตน์ บันทึกหน้าจะเล่าเรื่อง ร.พ.สมเด็จพระยุพราชด่านซ้ายครับ

 

 

คำสำคัญ (Tags): #sha#ร.พ.อุบลรัตน์
หมายเลขบันทึก: 393670เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2010 09:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ปวงชนชาวไทยน้อมรับแนวพระราชดำริเรื่องความพอเพียงมาปฏิบัติเพื่อชีวิตที่เป็นสุข

  • สวัสดีค่ะคุณหนานเกียรติ 
  • ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติในเชิงรุกและเชิงรับ หากเป็นระบบแบบนี้ ย่อมนำประโยชน์สู่ประชาชน คนยากคนจนที่ด้อยโอกาส และเกิดความยั่งยืน...ชื่นชมจริงๆค่ะ
  • ขอบคุณคุณหนานและฝากความคิดถึงน้องเฌวาด้วยค่ะ(จะขึ้นอะไรอีกมั๊ยคะนี่)

สวัสดีค่ะ

          มาชื่นชมคนหล่อคนสวยทำงานและให้กำลังใจด้วยนะคะ คิดถึงค่ะ

  

ดูดี สวยๆ หล่อๆ คุ้นๆนะคะ

พี่นางตกข่าว หลุดจากวงการไปเลยค่ะ

เอาเด็กน้อย  เผ่ากินคนมาทักทายค่ะ

ดูดีๆซิว่าใช่น้องเฌวารึเปล่า  อิ  อิ

  • เมื่อก่อนผมสอนที่โนนสังวิทยาคาร ฉะนั้นจึงคุ้นเคยกับอำเภออุบลรัตน์ เพราะเสาร์อาทิตย์ ถ้าว่างก็จะไปอยู่ที่ภูเก้า หรือไม่ก็เขื่อนอุบลรัตน์ครับ รพ.ทำงานเชิงรุกเรื่องการดูแลรักษาสุขภาพกันเข้มแข็งมากเลย ชื่นชมๆ
  • เคยดูฝรั่งคนนี้ในทีวี โอ้โฮ! ทึ่งแนวคิดและการปฏิบัติของเขาครับ ยังนึกๆ ถ้ามีโอกาสได้พูดได้คุยกับตัวจริงๆ คงจะเยี่ยมยอดเลย
  • สักประเดี๋ยวนี้เองอาจารย์กาญจนา ยังชวนขำเฌวาขึ้นได้ลงไม่ได้อยู่เลยครับ คุณพ่อก็ใจแข็งน่าดู สงสัยจะเพลินถ่ายภาพ..
  • หนานเกียรติสบายดีนะครับ ได้เดินทางไปโน่นมานี่ ก็ดีเหมือนกัน แม้จะคิดถึงลูกบ้าง เพราะครูอยู่แต่ที่โรงเรียนครับ(ฮา)
  • ขอบคุณเรื่องราวดีๆนี้ครับ
  • สวัสดียามเช้าครับ คุณหนานเกียรติ
  • เคยได้ยิน ได้เห็น (ทางโทรทัศน์) เกี่ยวกับอำเภออุบลรัตน์
  • การดูแลสุขภาพกับชุมชนเข้มแข็ง
  • ขอบคุณครับ ที่ได้แบ่งบันเรื่องราวดีๆ

  • ตามมาเชียร์ทีม SHA ที่อุดร
  • โอโหมีพี่หมวย ป้าแดงของผม แม่ต้อย น้องเอกและน้องพอลล่าด้วย
  • เย้ๆๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท