มุมมองการถอดบทเรียน SHA : ประเด็นเเลกเปลี่ยนที่เวทีเชียงใหม่


โรงพยาบาลที่ประสบความสำเร็จนั้นระบบคุณภาพในโรงพยาบาลดีเป็นพื้นฐาน (Hospital based) และหากจะมองคุณภาพออกนอกโรงพยาบาลไปสู่สังคมรอบๆโรงพยาบาล (Community Based) ก็ถูกพัฒนาไปพร้อมๆกัน จะเรียกได้ว่าสุดยอดของการพัฒนาระบบคุณภาพ เพราะไม่ได้วนเวียนอยู่แค่ในโรงพยาบาลแล้ว แต่วิธีคิดของโรงพยาบาลเหล่านี้มองออกไปยังคุณภาพของสังคมที่ใหญ่กว่ามาก และแน่นอนว่าหากทำงานคุณภาพสังคมสำเร็จไปด้วย(สังคมรอบโรงพยาบาลซึ่งผมหมายถึงชุมชน,ประชาชนในอำเภอนั้นๆ) หมายถึง ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ และยั่งยืนของระบบคุณภาพอย่างแท้จริง

เวทีภาคกลาง-ภาคใต้ ที่ โรงเเรมดิเอมเมอรัล ที่กรุงเทพฯ  คลิ้กอ่าน> มุมมอง SHA จากการถอดบทเรียน : การเเลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมสร้างเครือข่าย      


  NEXT...

 

“เวทีเชียงใหม่”  เป็นเวทีที่ผมพูดถึงเรื่องมุมมอง SHA จากการถอดบทเรียน เป็นครั้งที่ ๒ หลังจากที่ไปพูดที่เวทีภาคกลาง+ภาคใต้ (จัดที่กรุงเทพฯ) ที่ทางสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล(สรพ.) ได้จัดพื้นที่สำหรับเครือข่ายโรงพยาบาลที่ทำงานพัฒนาคุณภาพสู่ความยั่งยืน โดยหวังว่าพื้นที่ที่จัดขึ้น จะเป็นพื้นที่ในการพบปะเพื่อนร่วมเครือข่ายโรงพยาบาล นอกจากจะแลกเปลี่ยนความรู้กันแล้ว กำลังใจก็เป็นสิ่งสำคัญที่เติมเต็มกันในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย

ที่เชียงใหม่ผมสามารถเดินทางไปในวันที่สองของการประชุม เพราะติดภารกิจเดินทางไปโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จ.เลย ก่อนหน้านั้น เพื่อไปถอดบทเรียนเช่นเดียวกัน การเดินทางไปเชียงใหม่ครั้งนี้อบอุ่นเป็นกันเองค่อนข้างมากนอกจากผมจะได้กลับเมืองเหนือบ้านเกิด ยังได้อู้กำเมือง ได้กิ๋นอาหารบ้านเฮา เรียกได้ว่า สุขใจเหลือล้น

ผมเข้าใจว่า การขับเคลื่อนไปข้างหน้าไม่ว่าจะเป็นองค์กร เครือข่าย หรือ กลุ่มคนทำงานใดๆก็ตาม “การจัดการความรู้” นั้นสำคัญเป็นอันดับต้นๆ เวทีประชุมแบบนี้ก็เช่นเดียวกัน เป็นเวทีการจัดการความรู้ที่มีคุณค่าสำหรับคนทำงาน

ในช่วงเวลาที่ได้มีโอกาสไปเล่าเรื่องมุมมองการถอดบทเรียนผ่านการเสวนากับ ท่านรองดวงสมร(แม่ต้อย) บุญผดุง ท่านเป็นผู้ชวนคุยและมี พญ.นันทา อ่วมกุล พูดคุยในมุมมองของผู้เยี่ยมสำรวจ ในช่วงเช้าวันที่สอง

เปิดเวทีด้วยคุณหมอนันทา อ่วมกุล เกริ่นมุมมองการถอดบทเรียนในมุมมองของคุณหมอเอง  มีเนื้อหาสรุปที่ผมคิดว่าสามารถเชื่อมต่อกับสิ่งที่ผมเตรียมนำมาแลกเปลี่ยนก็คือข้อสรุปที่เป็นข้อพึงระวังที่คุณหมอนันทา บอกว่า  ทำงานพัฒนาคุณภาพตามโครงการ SHA “อย่าหลงทาง เข้าให้ถึงแก่น อย่าวนเวียนที่กระพี้” และโอกาสพัฒนาที่เน้น “การทบทวนผลลัพธ์ กระบวนการ ปัจจัยนำเข้า อย่างสม่ำเสมอเพื่อการเรียนรู้พัฒนา”  

ผมมองว่าประเด็นที่คุณหมอนันทาฝากไว้ก่อนที่จะนำเสนอเสร็จสิ้นนั้นสำคัญมาก ทำอย่างไร? ที่จะไม่ให้หลงประเด็น เข้าให้ถึงแก่น และไม่วนเวียนที่กระพี้  หลายๆโรงพยาบาลอาจติดกับภาพของความสำเร็จเบื้องต้นจนมองไม่เห็นช่องว่างการพัฒนา ทำให้การเดินต่อของงานพัฒนาคุณภาพเดินไปไม่ต่อเนื่อง

ผมจะบอกว่าต้อง “ถอดบทเรียน” ครับ เราจะรู้ว่าทุกความสำเร็จนั้น มีช่องว่างของการพัฒนาอยู่เสมอ อีกทั้งการประยุกต์ใช้บทเรียนที่มีคุณภาพมาทบทวนตัวเอง จะช่วยให้มองลึกลงไปถึงแก่นคุณภาพโดยเฉพาะวิธีคิด มุมมอง งานพัฒนาคุณภาพ ซึ่งการปฏิบัติก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากวิธีคิด และมุมมองที่ถูกต้อง

งานพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล คือ “วิถี”  ดังนั้นเป็นเรื่องสามัญที่โรงพยาบาลต้องมีมาตรฐานกันอยู่แล้ว ผมได้มีโอกาสไปนั่งคุยกับ ทพ.วัฒนา ทองปัสโณว์ แห่งโรงพยาบาลด่านซ้าย คุณหมอวัฒน์บอกว่า งานพัฒนาคุณภาพ คิดกันง่ายๆว่า

  • ทำอย่างไรไม่ให้แย่ลง (QA)
  • จะทำให้ดีขึ้นอย่างไร (CQI)
  • ก้าวเดินต่อไปไม่หยุด (PDCA)

Img_8401

โรงพยาบาลที่ประสบความสำเร็จนั้นระบบคุณภาพในโรงพยาบาลดีเป็นพื้นฐาน (Hospital based) และหากจะมองคุณภาพออกนอกโรงพยาบาลไปสู่สังคมรอบๆโรงพยาบาล (Community Based) ก็ถูกพัฒนาไปพร้อมๆกัน จะเรียกได้ว่าสุดยอดของการพัฒนาระบบคุณภาพ เพราะไม่ได้วนเวียนอยู่แค่ในโรงพยาบาลแล้ว แต่วิธีคิดของโรงพยาบาลเหล่านี้มองออกไปยังคุณภาพของสังคมที่ใหญ่กว่ามาก และแน่นอนว่าหากทำงานคุณภาพสังคมสำเร็จไปด้วย(สังคมรอบโรงพยาบาลซึ่งผมหมายถึงชุมชน,ประชาชนในอำเภอนั้นๆ) หมายถึง ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ และยั่งยืนของระบบคุณภาพอย่างแท้จริง

มีคำถามใหญ่อีกคำถามสำหรับโรงพยาบาลที่กำลังเริ่มต้นทำงานคุณภาพตามโครงการ SHA ว่า เขาควรจะเริ่มต้นอย่างไร?

จากการที่ไปเข้าร่วมเรียนรู้ ถอดบทเรียนมาในหลายๆโรงพยาบาล ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่เหมือนกันก็คือ เริ่มจากการวิเคราะห์องค์กรของตนเองอย่างถ่องแท้ ว่ามีจุดแข็ง,จุดอ่อน,โอกาส อย่างไร เมื่อรู้จักตนเองแล้ว ก็ต้องเริ่มต้นจากต้นทุนที่มีค่อยๆพัฒนากันไป เรียนรู้ไป ทำกันไป ถอดบทเรียนกันไป ... “เปิดพื้นที่การเรียนรู้ให้เป็นวัฒนธรรมขององค์กร” และ  “เป็นตัวของตัวเอง” นั้นดีที่สุดครับ

ทั้งนี้ทั้งนั้นอย่าลืม “คน” ซึ่งเป็นปัจจัยนำเข้าที่สำคัญมากที่สุด ต้องดูแลและพัฒนาศักยภาพคนในองค์กรอย่างใส่ใจ ในที่สุดก็สามารถตอบโจทย์ความยั่งยืนของการพัฒนาได้

 

 

 ภาพบุค คลเรียงจากซ้ายไปขวา

นพ.สุรชัย ปัญญาพฤทธิ์พงศ์,อาจารย์ดวงสมร บุญผดุง,จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร,พญ.นันทา อ่วมกุล,อาจารย์โกศล จึงเสถียรทรัพย์


 

 

 

 

การประชุม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมสร้างเครือข่ายเพื่อการพัฒนาคณภาพสู่ความยั่งยืน ระดับภูมิภาค

โรงเเรม ดิ เอ็มเพรส จ.เชียงใหม่

๒๖ - ๒๗ ส.ค.๕๓

หมายเลขบันทึก: 388863เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2010 20:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (31)

การวิเคราะห์องค์กรของตนเองอย่างถ่องแท้...

 

อย่างเปิดใจ จริงใจด้วย ใช่ไหมคะ

หลายๆโรงพยาบาลอาจติดกับภาพของความสำเร็จเบื้องต้นจนมองไม่เห็นช่องว่างการพัฒนา ทำให้การเดินต่อของงานพัฒนาคุณภาพเดินไปไม่ต่อเนื่อง

ผมจะบอกว่าต้อง “ถอดบทเรียน” ครับ

ชอบตรงนี้จังเลยค่ะ

แต่การถอดบทเรียนทุกฝ่ายต้องพร้อม และเปิดใจด้วยหรือเปล่าคะ

เหมือนเรามี Road map แต่เราไม่มี "คนขับ" หรือ รถที่มีประสิทธิภาพ เลยตกเหวจ้อย...อิ อิ

ขอบคุณค่ะ.....;)

สวัสดีครับ น้องเอก ยังไม่ได้อ่าน แต่รีบมาส่งข่าวว่ามาถึงบ้านแล้วครับ

การวิเคราะห์องค์กรของตนเองอย่างถ่องแท้...

 

อย่างเปิดใจ จริงใจด้วย ใช่ไหมคะ

พี่เล็กครับ

ใช่ครับ องค์กรต้อง ยอมรับความจริง ที่เป็นจุดอ่อน เเล้วนำมาวิเคราะห์ เติมด้วยจุดเเข็ง โอกาส ครับ

สวัสดีค่ะ

กระบวนการคิดนั้น สำคัญเสมอนะคะ

มีดอกไม้มาฝาก

สวัสดีครับ น้องเอก ยังไม่ได้อ่าน แต่รีบมาส่งข่าวว่ามาถึงบ้านแล้วครับ

สวัสดีคะ น้องเอกคะ

เป็นการถอดบทเรียนที่ชัดเจน แจ่มแจ้งคะ

แม่ต้อยว่าจะเป็นประโยชน์ อย่างใหญ่หลวง ต่อทุกๆโรงพยาบาล และทุกองค์กร

น้องเอกเก่งแต้ๆเจ้า

คิดถึงคะ

  • สวัสดีค่ะ
  • กลับจากเชียงใหม่ก็มาเวทีเครือข่ายวัฒนธรรมสื่อพื้นบ้าน 5 จังหวัดเหนือล่าง แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ พิจิตร สุโขทัย รวมทั้งแขกจากเชียงใหม่และเพชรบูรณ์ด้วยค่ะ เป็น 7 จังหวัด อุ่นหนาฝาคั่งแม้ฝนตกหนัก
  • เวทีนี้ได้เรียนรู้มิติทางจิตวิญญาณจากสื่อพื้นบ้านแต่ละที่ด้วยค่ะ

 

ชอบมากครับ และขอชื่นชมว่าถอดบทเรียนได้งดงามมากๆ...

เข้ามาอ่านคนที่ 99 จากความคิดเห็นที่ผ่านมา 9 ความคิดเห็น ... เลขมงคลครับ ;)

สวัสดีครับ พี่สีตะวัน

งานพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลนั้น อาจถูกทำให้ซับซ้อนผ่านเครื่องหลากหลายเเต่นั่นก็เป็นวิธีการที่ช่วยเสริม ผลักดันให้งานพัฒนาคุณภาพก้าวไปสู่ความสำเร็จ หลายองค์กร(รพ.) ที่ยังติด "เครื่องมือ" เเต่ลืมหรือ ให้ความสำคัญ "คน" น้อย ทำให้การพัฒนาดูติดๆขัดๆ ไปครับ

ในอีกวันสองวัน ผมจะเดินทางไปที่จังหวัดอุดร ไปประชุมครับ กับ บริษัทไฮ คิว ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีพื้นที่ผลิตอยู่ที่อุดร หนองคาย หากมีโอกาสดีๆคงได้เจอพี่สีนะครับ

ด้วยความระลึกถึงครับ

สวัสดีครับ ท่านวอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--  

คงสบายดีนะครับ เห็นท่านเดินทางตลอดเลยเหมือนกัน 

อ่านบันทึกเเล้วมีอะไรต่อเติม เชิญนะครับ ท่านถือว่าเป็นหนึ่งในสมาชิกคน รพ. ผมว่าจะมีมุมมองที่มีประโยชน์ในการต่อยอดบันทึกครับ

สวัสดียามเช้าค่ะคุณเอก

  • มาถึงเมื่อไหร่ก็โทรบอกนะคะ จะพาไปกินกาแฟและสเต็กอร่อย ๆ
  • ช่วงนี้ต่อเติมงานเก่า สร้างงานใหม่ และสร้างพลังสู่ชุมชนค่ะ
  • เดินทางบ่อย ๆ รักษาสุขภาพนะคะ...
  • ขอบคุณสำหรับพลังใจ
  • ด้วยศรัทธาและอาทร
  • แล้วพบกันค่ะ...^_^

สวัสดีค่ะ

เอาตารางกิจกรรมมาให้ดู  จะลองโทรติดต่อดูก่อนนะคะhttp://morkeaw.com/activity.html

ได้เรียนรู้เยอะมากค่ะ จะพยายาม“เปิดพื้นที่การเรียนรู้ให้เป็นวัฒนธรรมขององค์กร” และ  “เป็นตัวของตัวเอง”

ขอเป็นส่วนหนึ่งในการชง SHA นะคะ

สวัสดีค่ะ

ภาพต่างๆที่อัพโหลดลง http://gotoknow.org/file/nadrda หากต้องการนำไปใช้ เชิญเลือกเอาเลยนะคะ

แต่ภาพการ์ตูนเด็ก สงสัยต้องเปิดย้อนหลายหน้าหน่อยนะคะ เพราะเพ่งอัพโหลดภาพวิธีการวาดดอกกล้วยไม้เสียหลายไฟล์เลยค่ะ

อ้าว ทำไมมาทีเดียวสองภาพซ้อนกัน อิอิ คิดว่าก็แถมแล้วกันค่ะ

มาเชียร์ข้างเวทีค่ะ ไม่เจอกันนาน เดินทางทุกทิศทั่วไทยเลยนะคะ

สวัสดีครับน้องเอก ออกจากบ้านตั้งแต่วันที่ 2 กว่าจะกลับถึงบ้านคงเป็นวันที่ 9 หลังจากนั้นคิดว่าจะทำตัวให้ว่างเพื่อถอดบทเรียนให้เสร็จ อ่านของน้องหนานแล้วเห็นการสรุปรวบยอดในบทเรียนที่ต้อง (ใย) ทำตาม

  • โอโหน้องเอก
  • งานยุ่งขนาดนั้น
  • วันก่อนนัดอาจารย์ ผศ.ดร.วิรัตน์
  • ไปทานข้าวด้วยกันครับ

"ผมเข้าใจว่า การขับเคลื่อนไปข้างหน้าไม่ว่าจะเป็นองค์กร เครือข่าย หรือ กลุ่มคนทำงานใดๆก็ตาม “การจัดการความรู้” นั้นสำคัญเป็นอันดับต้นๆ "

...

ผมก็เข้าใจเช่นนั้นเหมือนกันครับ ^^

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • การวิเคราะห์องค์กรของตนเอง....พอทำได้  แต่จะถ่องแท้หรือไม่...ไม่รู้
  • เปิดพื้นที่การเรียนรู้....ก็พยายามทำ  แต่..ให้เป็นวัฒนธรรมขององค์กร...รอหน่อย
  • ตอนนี้เปิดพื้นที่ Fanclub อาจารย์จตุพร  คุณเกียรติศักดิ์และน้องเฌวาไปกอนละกัน
  • ขอบคุณป้าแดง  รพร.ท่าบ่อ  หนองคาย  ที่พาอาจารย์ทั้งสองมาให้ Fanclub ได้ทักทายโดยบังเอิญ  และเก็บภาพเป็นที่ระลึก (วันนี้เอง  สด ๆ ร้อน ๆ  10  กย. 53 , 17.10 น.)
  • ไม่นึกว่าจะได้พบตัวจริงเร็วกว่าที่คิด...ยังไม่หายกรี๊ดเลยค่ะ
  • ขอบพระคุณล่วงหน้าสำหรับหนังสือ "ถอดบทเรียน" นะคะ  ได้ใช้ประโยชน์แน่ ๆ

ขอบคุณครับ พี่ สีตะวัน ที่คอยดูเเลเมื่อผมอยู่ที่อุดร ไปรับไปส่ง ไปทานข้าว

มีโอกาสมา กทม. ผมจะได้ดูเเลพี่บ้างนะครับ 

เจริญพรโยมจตุพร  วิศิษฏ์โชติอังกูร

อาตมภาพ พระอธิการโชคชัย  ชยวุฑโฒ  ได้อ่านหนังสือถอดบทเรียน ( นอกกรอบ ) เรื่องเล่าวิธีวิทยาถอดบทเรียนผ่านประสบการณ์การทำงาน และบันทึกของท่านในเว็บไซต์ Gotoknow อ่านแล้วได้แนวคิดและมุมมองการเป็นวิทยากรกระบวนการถอดบทเรียนจริงๆ เป็นความรู้ฝังลึก ตกผลึก    ( Tacit Knowledge ) แบบรู้จริง รู้แจ้ง แทงตลอด ของผู้มีประสบการตรงจากการได้ปฏิบัติจริงอาตมาเสื่อมใสศรัทธาความเป็นคนหนุ่มไฟแรงจริงๆ ( สาธุ )

ก่อนอื่นขอแนะนำตัวสักนิดปัจจุบันอาตมภาพเป็นพระนิสิตศึกษาอยู่ที่ ม.นเรศวรพิษณุโลก คณะสังคมศาสตร์ สาขารัฐศาสตร์มหาบัณฑิต (นโยบายสาธารณะ ) กำลังอยู่ในขั้นตอนศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ( ทำวิทยานิพนธ์ ) มีความสนใจในเวทีคนหนองบัวของท่านอาจารย์ ดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์ และพระอาจารย์มหาแล อาสโย พร้อมกับเพื่อนพร้องน้องพี่  ในเวทีคนหนองบัวพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ อยู่ในปัจจุบันนี้

เวทีคนหนองบัวเป็นเวทีเครือข่ายที่น่าสนใจเกี่ยวกับการใช้สื่อเทคโนโลยีสาระสนเทศและอินเตอร์เน็ต มาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการสร้างความรู้และพัฒนาสื่อสารการเรียนรู้เพื่อสร้างสำนึกรักท้องถิ่นอย่างมีส่วนร่วมของคนหนองบัวและบุคคลทั่วไป ที่มีจิตอาสาในการพัฒนาท้องถิ่น  ซึ้งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นั้น เป็นกระบวนการสำคัญที่ก่อเกิดการพัฒนาการ การดำรงอยู่ และความเปลี่ยนแปลง เพื่อสร้างองค์ความรู้เพื่อให้รู้เท่าทันกับสถานการณ์โลกในยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา อาตมาเห็นว่าเป็นเวทีที่กำลังได้รับความสนใจอยู่ในขณะนี้ของเว็บไซต์ Gotoknow

อาตมภาพอยากใช้โอกาสนี้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับโยมจตุพร ในประเด็นเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะท้องถิ่นของเวทีคนหนองบัวในบล็อกของอาจารย์ดร. วิรัตน์ คำศรีจันทร์

ด้วยความรู้และการศึกษามาน้อยยังตีประเด็น/สร้างกรอบแนวคิด/ในความเห็น ประเด็นต่างๆที่มีมากมายของเวทีคนหนองบัวออกมาได้ไม่ชัดเจนนักจึงขอรบกวนโยมจตุพร ช่วยให้คำแนะนำสมมุติว่าในหัวข้อเรื่อง การใช้เครือข่ายทางสังคม ( Social networks ) เพื่อการพัฒนานโยบายสาธารณะท้องถิ่น กรณีศึกษาเวทีคนหนองบัวผ่านเว็บบล็อก Gotoknow      

โดยมีวัตถุประสงค์/กรอบแนวคิดที่จะศึกษา คือ

  1. เพื่อศึกษาการใช้เครือข่ายทางสังคม ( Social networks ) เพื่อการพัฒนานโยบายสาธารณะท้องถิ่นของเวทีคนหนองบัว
    -          ศึกษาประวัติความเป็นมาในอดีต
    -          ศึกษาการดำเนินงานในปัจจุบัน
  2.  เพื่อศึกษาแนวคิด วิธีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการใช้เครือข่ายทางสังคม ( Social networks ) เพื่อการพัฒนานโยบายสาธารณะท้องถิ่นของเวทีคนหนองบัว
    -          ศึกษาแนวคิด/ทฤษฎี
    -          ศึกษาวิธีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือรูปแบบ
    -          ศึกษาเนื้อหา/ประเด็น ที่เป็นนโยบายสาธารณะท้องถิ่น

3. เพื่อศึกษาผลของใช้เครือข่ายทางสังคม ( Social networks ) เพื่อการพัฒนานโยบายสาธารณะท้องถิ่นของเวทีคนหนองบัว
-          ศึกษาผลทางชุมชนท้องถิ่น ( ในพื้นที่ชุนชนหนองบัว )
-          ศึกษาผลชุมชน Online
-          ศึกษาวิธีคิดและวิธีปฏิบัติ
อาตมภาพจึงขอรบกวนโยมจตุพร ช่วยให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะ วิธีวิทยา(Methodology) ในประเด็นดังกล่าวด้วยครับ

ขอขอบคุณและเจริญพรมา ณ โอกาสนี้

                 

ขอถามเพิ่มเติมว่า ตอนนี้อาตมาเป็นสมาชิกแล้ว เวลาโพสต์ทำไมรูปไม่ขึ้น

ชอบคำว่า "รู้เเจ้งเเทงตลอด"จังครับ 555

นมัสการครับท่านมหาเเล

ผมขอเก็บประเด็นไว้คิดสักพักใหญ่ๆก่อนนะครับ..

นมัสการพระโชคชัย

ผมเข้าใจว่าระบบอาจมีการขัดข้อง ชั่วคราวครับ

ยังไงท่านลองดูอีกครั้งนะครับ ...

นมัสการครับ

หรือว่า พระโชคชัย ท่านยังไม่ได้เข้าระบบครับ หากไม่เข้าระบบ ก็จะไม่แสดงรูปนะครับผม

เริ่มจากการวิเคราะห์องค์กรของตนเองอย่างถ่องแท้ ว่ามีจุดแข็ง,จุดอ่อน,โอกาส อย่างไร เมื่อรู้จักตนเองแล้ว ก็ต้องเริ่มต้นจากต้นทุนที่มี ค่อยพัฒนาไป เรียนรู้ไป ทำไป ถอดบทเรียนกันไป “เปิดพื้นที่การเรียนรู้ให้เป็นวัฒนธรรมขององค์กร และเป็นตัวของตัวเองนั้นดีที่สุด

ทั้งนี้ทั้งนั้นอย่าลืม"คน"ซึ่งเป็นปัจจัยนำเข้าที่สำคัญมากที่สุด ต้องดูแลและพัฒนาศักยภาพคนในองค์กรอย่างใส่ใจ ในที่สุดก็สามารถตอบโจทย์ความยั่งยืนของการพัฒนาได้

  • น่าจะคล้ายกันนะครับในการพัฒนางาน รวมถึงโรงเรียน ซึ่งตัวเองคิดว่าเรื่องพวกนี้เรามีไม่พอ 1)ต้องรู้จักตัวเองและเป็นตัวของตัวเอง 2)ทำการเรียนรู้ให้เป็นวัฒนธรรม 3)เอาใจใส่ ดูแล พัฒนาศักยภาพคน
  • ขอบคุณความรู้ครับคุณเอก

คนทำงานเพื่อสังคม ก็ทุ่มเทกายใจ

เหมือนที่พี่ๆกำลังทำกันอยู่น่ะค่ะ เก่งจังค่ะที่ไม่เครียด

พี่ๆ ต้องสมองดีมีไอคิว มีสมองที่พัฒนาไปทางนี้

สวัสดีค่ะ

มาร่วมเรียนรู้จากหนุ่มไฟแรงด้วยคนนะคะ

สวัสดีค่ะน้องเอก

  • ดีใจค่ะที่น้องเอกไปเยี่ยม
  • สบายดีนะคะ  ทำงานมาก ๆ ดูแลสุขภาพด้วยนะคะ
  • จะมาทานปูม้าเมื่อไหร่บอกล่วงหน้าสัก 4-5 วันนะคะ จะได้จองที่พักแบบทำเลดี ๆ
  • ไปมอง ๆ ไว้แล้วค่ะ แบบว่าสะดวกทั้งเรื่องกิน  เรื่องนอน เพราะมีร้านอาหารในนั้นเลย และมีร้านอาหารละแวกใกล้เคียงอีก
  • ใกล้บ้านด้วยค่ะ http://www.thebeachresort.net/

            

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท