ความยากของ KM ในวงการโรงเรียน - ครู


         KM เกิดยากในสังคมอำนาจ  สังคมควบคุม-สั่งการ  ทำงานตามคำสั่งดิ่งเดี่ยว

ผมสังเกตว่าวงการในกระทรวงศึกษาธิการมีจุดอ่อนด้านนี้มาก
      - เมื่อวันที่ 7 ก.ค.49  ผมไปร่วมทำ KM Workshop แก่ สพท. & โรงเรียนที่อุดร   ผู้บริหารโรงเรียนจำนวนหนึ่งต้องไปรับผู้ช่วยรัฐมนตรี   ต้องขาดการประชุมไปช่วงหนึ่ง
      - วันที่ 2 ก.ค.49  เรามีกำหนดจัดเวที ลปรร. นวัตกรรมโรงเรียนวิถีพุทธที่เชียงใหม่   เมื่อวานได้รับแจ้งขอเลื่อนออกไปเพราะ ผอ.โรงเรียนผู้เป็นคนจัดการประชุมถูก "นาย" เรียกตัวไปประชุมด่วน

         ผมคิดว่าสาเหตุสำคัญที่วงการศึกษาของเราตกต่ำเพราะเราขาดอิสระที่เรียกว่า autonomy ในการทำงาน   ไม่สามารถใช้พลังทุ่มเทต่องานได้เต็มที่   เพราะมี "นาย" ให้ต้องไปพินอบพิเทาเอาใจ

         เสียทั้งเวลา  พลังสมอง และเงินภาษีราษฎร

วิจารณ์  พานิช
 13 ก.ค.49

หมายเลขบันทึก: 38716เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2006 09:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เห็นด้วยค่ะ เพราะได้รับข้อมูลจากพี่สาวที่เป็นครู ฟังดูรู้สึกว่าวัฒนธรรมอำจรุนแรงมาก ขนาดผู้บริหารเรียกให้ไปพบว่าให้ระวังตัวไว้และถูกเพื่อนครูด้วยกันเตือนว่าให้ยอมๆไปเถอะจะได้ไม่มีเรื่อง จนหมดกำลังใจไม่อยากทำงานเลยค่ะ

จริงที่สุดครับอาจารย์หมอ อุปสรรคที่สำคัญที่สุดของ KM อยู่ตรงที่ผู้บริหารนี่เอง วัฒนธรรมอำนาจนิยม แก้ยากมาก ทำอะไรก็ถูกไปหมด คำว่า "นาย"ใช้กันติดปากทุกคน เขาพิสูจน์กันจนได้ข้อสรุปมานานแล้วครับ(สิ่งที่เห็นจริงแล้ว/สัจจพจน์)ว่าการทำงานให้ราบรื่นในองค์กรไม่ต้องมีองค์ความรู้อะไรก็ได้ ขอให้ทำตามที่นายสั่งอย่างเคร่งครัด รวดเร็วทันใจ เป็นท่อนๆ และรองรับอารมณ์นายให้เป็น ก็อยู่รอดปลอดภัยได้อย่างดี และก็มีนายเป็นทอดๆไป คนที่มีองค์ความรู้มาก จะถูกมองอย่างตัวตลก ไม่น่าไว้วางใจ คำพูดที่ว่า "ความรู้คืออำนาจ" ใช้ไม่ได้ในวงการศึกษา น่าตลกไหม วงการศึกษาแท้ๆ แต่เรื่องอำนาจนิยมหนักกว่ามหาดไทย แต่ก็ไม่เคร่งครัดวินัยเหมือนทหาร ...แล้วจะเหลืออะไรเป็นความหวังในการเป็นผู้นำพัฒนา"คุณลักษณะของผู้เรียน" มีแต่วางฟอร์มและความยิ่งใหญ่ ผมเชื่อที่อาจารย์หมอเคยพูดก่อนอบรมว่าไม่หวังกับระบบราชการแล้วครับ...แต่ผมก็ยังพยายามคลุกคลีกับคุณกิจที่ปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด โดยหวังว่าข้างล่างจะช่วยกระตุ้นข้างบนได้บ้าง(ซึ่งหวังยาก)และเขียนบล็อกแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคนใน-นอกวงการไม่ให้รู้สึกว่าตัวเองด้อยค่า แต่พอมาวันนี้ผมได้ไปร่วมงานกับที่ม KM CoPs เรื่อง "ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน" ของเครือข่ายโรงเรียนศรีบุณยานนท์ แล้วก็มีความสุขขึ้นมากที่เห็นพวกเขาทำกันด้วยใจ ทำเพื่อเด็ก และทำกันอย่างต่อเนื่องมีชีวิตชีวา ผมได้เขียนลงบล็อกไว้ หากอาจารย์หมอพอมีเวลาลองแวะไปอ่านที่บล็อกผมบ้าง เผื่อจะมีวิธีสร้างกำลังใจให้แก่พวกเขา ผมคาดว่าเขาจะเหนียวแน่นกันอีกนาน ถ้าไม่มีอะไรมาครอบงำเสียก่อน ซึ่งผมก็จะอยู่กับเขาอย่างใกล้ชิดครับ..www.gotoknow.org/blog/tanes
   ที่ในอาณาจักรนี้เขานิยมทำอะไรตามกระแส  จุดพลุสว่างวาบแล้วดับมืดเหมือนเดิมในพริบตา  มีอะไรมาเขาเอามา "เล่น" ได้หมด ชินชากับการได้ทำอะไรพอให้มีหลักฐานอวดได้ว่าทำแล้ว  เอกสาร Make ได้ก็จะทำเสริมให้ดูดี ผมพูดเช่นนี้ไม่ได้เลื่อนลอย มีตัวอย่างจริงมากมาย แต่ไม่อาจกล่าวได้ที่ตรงนี้  การเปลี่ยนแปลง เป็นอะไรบางอย่างที่เขากลัวกันมาก จะทำอะไรก็มีหลักการดีๆให้อ่าน  แต่บ่อยครั้งผู้ปฏิบัติ,ydถามตัวเองในใจ และบางทีก็ดังออกมาข้างนอกว่า งานนี้ทำแล้ว "ตัวฉัน" ได้อะไร?
อยากให้ผู้บริหารและคุณครูทุกท่านได้มีโอกาสอ่านบันทึกนี้ด้วยครับ
  • ก็ได้แต่หวังว่าใน UKM คงจะมีการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง....นำไปสู่จุดนี้น้อยลง ๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท