Food Science/HR/2


ผมสร้าง Blog ใหม่ของ Food Scienceเพราะ Blog เก่ามีข้อมูลมาก ให้นศ.แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เริ่มหลังจากการเรียนสัปดาห์ที่ 5 ของ อ.พจนารถ

                                                  ขอบคุณ                                          

 

12 กรกฎาคม 2549 

สวัสดี อ.ทุกท่านและนักศึกษาที่รัก 

     เวลาพูดถึง Innovation เรามักจะนึกถึง New Business แต่ Innovation เกิดได้ในทุกๆเรื่อง รวมทั้งเรื่องการเรียนด้วย ซึ่งพวกเราทุกคนก็เป็นตัวอย่างกรณีศึกษา ได้เรียนรู้และมา Share ข้อมูลกัน อย่างหลักสูตรของ ป.โท ที่พระจอมเกล้าลาดกระบัง ก็ถือว่าเป็น Innovation เพราะว่าคิดใหม่ ทำ ทำให้สำเร็จ การทำให้สำเร็จก็คือการเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียน การเรียนแบบ 4L’s เป็นการ Discover Ideasใหม่ๆ จากการปะทะกันทางความคิด การใช้ Blog การที่มีอาจารย์มาสอนหลายๆท่าน แต่ต้องนำมา Align ให้เป็น

     ยกตัวอย่าง อ.ยม ผมรักและชอบความจริงใจ เพราะเวลาศึกษาหาความรู้แล้วนำไปต่อยอดของเขาและขยันหาข้อมูล ผมว่าการที่มีลูกศิษย์ปริญญาเอกมาช่วยสอนโป๊ะเช๊ะแบบนี้หาอยากและยังเป็นตัวอย่างของการเรียนป.เอกยุคใหม่ในประเทศไทยด้วย อ.จิ๋ม(พจนารถ) ก็เป็นอีกท่านหนึ่งที่มีความสามารถมากเพราะเป็นผู้ที่หาความรู้ทุกวัน willing to share .สมภพก็กำลังเติบโตเป็นอาจารย์ที่ดี ผมเชื่อว่า อ.ยม และ อ.สมภพ จะเป็น Team เดียวกันได้ลูกศิษย์ทุกคนต้องคิดดูนะครับว่า การใช้ HR ไปสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นการกระตุ้นให้เกิด New Business หลังแก้ปัญหาในยุคการเปลี่ยนแปลงผมยังอยากให้ลูกศิษย์ของผมในห้องนี้ กล้าที่จะแสดงออก กล้าที่จะคิดหลุดโลก กล้าที่จะบอกว่าถึงอาจารย์ไม่แนะนำฉันก็จะอ่านมา Share ให้อาจารย์ฟังได้ “We are here to learn from my students” ที่ Peter Drucker พูดไว้ ผมคิดว่าทีมงานก็สนใจกันมาก ทั้งคุณเอ้ที่เป็นหลัก รวมทั้งคุณเอ และคุณเอ๋

     อาทิตย์หน้าได้เชิญท่านทูตพิทยามาเล่าเรื่องประเทศญี่ปุ่น คงจะเน้นที่การมองญี่ปุ่นทั้งระดับประเทศและองค์กรผมก็จะไปร่วมกับท่านด้วย แล้วคุณได้จะอะไรบ้าง? คุณจะมองเห็นภาพ Macroและ Global Competition ได้ฟังประสบการณ์การที่เป็นทูตของท่าน เมื่อนักศึกษาได้ท่านทูตเป็น Mentor ต้องให้ได้ประโยชน์และมีโลกทัศน์ที่กว้างขึ้น ผมหวังว่า อ.ยมและ อ.สมภพอ่านแล้วคงจะสละเวลาไปร่วมด้วย                                                                                                       

                                                                      จีระ   

หมายเลขบันทึก: 37913เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2006 14:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 17:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น
ยม "บทบาทใหม่ ของ HRM ในองค์กร

 สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ/อาจารย์พจนารถและนักศีกษา ทุกคน

 

เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสรู้จัก อาจารย์พจนารถ ที่มาร่วมสอน น.ศ.ปริญญาโท ร่วมกับทีมของ ศ.ดร.จีระ  และขอบคุณ ศ.ดร.จีระ ที่เปิด Blog ใหม่ ให้กับ น.ศ.ได้มีโอกาสแชร์ความรู้มากขึ้น ง่ายขึ้น ใน Blog นี้ ผมได้เขียนบทความ เพื่อแชร์ความคิดในเรื่อง บทบาทใหม่ของ HRM ในองค์กร ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาและผู้สนใจทุกท่าน เชิญท่านผู้อ่านติดตามได้จากข้อความข้างล่างนี้

 

บทบาทใหม่ ของ HRM  ในองค์กร เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า สภาพแวดล้อมของธุรกิจ สถานประกอบการมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้ง การเมือง(Political) เศรษฐกิจ(Economy) สังคม(Social) และเทคโนโลยีต่าง ๆ (Technology) องค์กรหลายแห่งมีการปรับยุทธศาสตร์การบริหารองค์กรอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัฒน์  หลายองค์กรให้มาใช้แข่งขันเรื่องทรัพยากรมนุษย์ ควบคู่ไปกับการแข่งขันทางการตลาด ดังนั้น แนวโน้มของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management) จึงได้เปลี่ยนไป องค์กรหลายองค์กรได้นำแนวความคิดเรื่องการบริหารทุนมนุษย์  เข้ามาใช้เป็นยุทธ์ศาสตร์องค์กร นั่นคือพนักงานทุกคนถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดในองค์กร องค์จะเป็นเลิศได้ด้วยทรัพยากรมนุษย์เป็นพื้นฐาน คนดีมีคุณภาพ ทำให้องค์กรมีคุณภาพ และทำให้สามารถผลิตสินค้าและบริการได้มีคุณภาพ สนองความพึงพอใจของลูกค้าได้เป็นอย่างดี องค์กรที่มีวิสัยทัศน์จึงต้องหาทางพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้เกิดทุนมนุษย์ ทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนทางสังคม ทุนทางความสุข ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนทาง IT ให้เกิดขึ้นในทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่อง HRM ต้องแนะนำให้ผู้บริหารระดับสูงรู้จักสร้างและสะสมทุนทางบารมีให้เกิดขึ้นในกับทรัพยากรมนุษย์ ให้ทรัพยากรมนุษย์มีทัศนคติ ความคิด พฤติกรรมที่ดีมีความศรัทธา ต่อองค์กร ซึ่งนับว่าเป็นบทบาทที่ท้าทายใหม่ของ HRM และผู้บริหารระดับสูงขององค์กร HRM  ในยุคนี้และยุคหน้าไม่ใช่แค่ทำอย่างไรให้งานของ HRM มีประสิทธิภาพมากที่สุดเพียงอย่างเดียว เท่านั้น แต่จะต้องคำนึงถึงทุนมนุษย์ในทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรว่ามีมากน้อยเพียงใด และจะมีทุนทางทรัพยากรมนุษย์ ใช้ในองค์กรไปได้อีกกี่ปี เมื่อใดสมควรที่จะพัฒนาทุนนี้ให้มีมากขึ้น  องค์กรบางแห่งที่อาจจะเรียกได้ว่า ชาดทุนทางทรัพยากรมนุษย์ ก็ต้องไปขอยืมตัว ไปขอซื้อจากองค์กรอื่น ๆ  มาก็มีให้เห็นหลายแห่ง แย่งตัวทรัพยากรมนุษย์ที่มีทุนมนุษย์มาก ๆ มาอยู่ในองค์กร เมื่องานในองค์กรหลายๆ อย่างถูก ผู้รับเหมา หรือ outsource ออกไป โครงสร้างขององค์กรจะเล็กลง รวมทั้งโครงสร้างของ HRM ก็จะเล็กลงไปด้วย แต่กลับจะมีความสำคัญมากขึ้นในด้านการพัฒนาทุนมนุษย์(Human Capital) ด้านการพัฒนาองค์กร (Organization Development)  และบทบาทด้านการเป็น Business Partner ของผู้บริหารระดับสูง นั้นคือ HRM จะต้องเน้นบทบาททาง Organization Development, organization strategy มากขึ้น.           Dave Ulrich” นักทฤษฎีด้านการบริหารองค์กร ได้เสนอแนวทางการวางบทบาทของนักบริหารทรัพกรมนุษย์ ในอนาคตไว้ 4 ด้านด้วยกัน คือ          1. เป็น “Administrative Expert”          2. เป็น  “Employee Champion”          3. เป็น “Change Agent”                                    4. เป็น “Strategic

 

 

 

           บทบาทแรก เป็นบทบาทผู้เชี่ยวชาญทางด้านงานธุรการ หรือ “Administrative Expert”  ในบทบาทนี้ HRM ต้องสามารถทำงานประจำ งานเอกสาร งานธุรการอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหมายถึง การใช้ต้นทุนและเวลาให้น้อยที่สุด แต่ได้ผลลัพธ์ออกมาดีที่สุด สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าทั้งภายในและภายนอกได้มากขึ้น HRM สมัยใหม่จะต้องแก้ไข ปรับปรุงและพัฒนาการทำงาน เพื่อลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น (Non – Value added) เพื่อให้งานมีความคล่องตัวมากขึ้น อย่างมียุทธ์ศาสตร์ มีตัวชี้วัดความสำเร็จที่ชัดเจน

         

            บทบาทที่สอง “Employee Champion” ในบทบาทนี้ HRM จะต้องสร้างองค์กรให้พนักงานมีความพึงพอใจทั้งในด้านสภาพการทำงานและสภาพการจ้างงาน สิ่งที่เป็นดัชนีสำคัญในการชี้วัดความสำเร็จ คือ ทัศนคติของพนักงานที่มีต่อบริษัท ความพึงพอใจในการทำงานที่บริษัท ต่อนโยบายการบริหาร สภาพแวดล้อมในการทำงาน ระเบียบข้อบังคับในการทำงานและอื่น ๆ เป็นต้น /Job Satisfaction มิติการมองการทำงานของ HRM จะอยู่ที่เรื่องความพึงพอใจของลูกค้า(Customer Satifaction) ความพึงพอใจ ความสุขของพนักงาน(Employee Satisfaction) และผลประกอบการขององค์กร (Organization Result) หรือ เรียกย่อ ๆ ว่า CEO

           บทบาทที่สาม “Change Agent” นับว่าเป็นบทบาทใหม่ของ HRM ที่จะต้องเป็นผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาองค์กร พัฒนาทรัพยากรมนุษย์  เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขององค์กร ต้องไม่ลืม ความสำเร็จในอดีตไม่สามารถรับประกันความสำเร็จในอนาคตได้ ต้องไม่ลืมสภาพแวดล้อมขององค์กรเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก องค์กรไม่ได้อยู่ในสภาพสุญญากาศ องค์กรจะต้องมีการปรับตัวให้ทันกับสิ่งแวดล้อมว่าจะเป็น เศรษฐกิจ การเมือง สังคม เทคโนโลยี และคู่แข่งัน  ดังนั้นองค์กรที่จะสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันได้ จะต้องสามารถปรับเปลี่ยนและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนับว่าเป็นบทบาทสำคัญที่ผู้บริหารที่ชาญฉลาดจะต้องให้ HRM เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดยุทธ์ศาสตร์ธุรกิจ เพราะ คนหรือทรัพยากรมนุษย์ จะนำองค์กรไปสู่สิ่งที่ดีกว่าในอนาคต            บทบาทที่สี่ “Strategic Partner” ซึ่งเป็นบทบาทที่ท้าทายมากที่สุดสำหรับ HRM เนื่องจาก HRM จะต้องเข้าใจในธุรกิจและปัจจัยที่จะทำให้ธุรกิจมีความได้เปรียบในการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านทรัพยากรมนุษย์ เช่น จะต้องเตรียมบุคลากรที่มีคุณภาพที่จะสามารถสร้างอำนาจในการแข่งขัน การนำเครื่องมือทางการบริหารจัดการใหม่  ๆ มาใช้ ที่จะทำให้องค์กรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น Balanced Scorecard, Six Sigma, Competency Base, Strength Base และอื่นๆอีกมากมาย  เครื่องมือเหล่านี้เป็นเครื่องมือของการพัฒนาองค์กร โดย HRM จะต้องทำงานร่วมกับฝ่ายบริหารจากทุกๆ หน่วยงาน           ตามแนวคิดของ  Dave Ulrich ผมมีความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า HRM ควรมีบทบาทเพิ่มเติมอีกบทบาทหนึ่ง ได้แก่ Human Capital Management and Development ซึ่งHRM จะต้องเป็นผู้นำในการบริหารและพัฒนาทุนมนุษย์ ให้มีอยู่เสมอในตัวทรัพยากรมนุษย์  

จะเห็นได้ว่าบทบาทของ HRM นั้น มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนไปอย่างมาก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทที่จะเป็น Strategic Partner และ Human Capital Management and Development ชาว HRM สายพันธ์แท้ทั้งหลาย จะต้องกลับมาทบทวนกลยุทธ์ธุรกิจ การจัดโครงสร้างองค์กร และยุทธ์ศาสตร์การบริหารคนให้สอดคล้องสัมพันธ์กัน HRM จะต้องมีทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนทางIT ทุนทางจริยธรรม จะต้องมีความเข้าใจในเครื่องมือพัฒนาองค์กรใหม่ๆ อย่างลึกซึ้ง รู้หลักการ แนวคิด และกระบวนการอย่างชัดเจน และที่สำคัญจะต้องนำมาใช้อย่างมีสติ สมดุลและยั่งยืน ไม่ใช่นำมาใช้ตามแฟชั่น และเมื่อมีปัญหาขึ้นมา คน HRM ไม่สามารถตอบคำถามได้ การวางบทบาทของ HRM ให้มีความชัดเจนจึงเป็นสิ่งจำเป็น และที่สำคัญ HRM ต้องเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ กลยุทธ์ใหม่อยู่เสมอ เพราะความคาดหวังจากองค์กรต่อ HRM ได้เปลี่ยนไปอย่างมาก ถ้า HRM ยังคงมุ่งเน้นแต่ทำงานเอกสาร (Admin.) และจำกัดอยู่เฉพาะแต่เรื่องของ Process กับแค่ลูกจ้าง หรือบทบาทที่เป็น  Personnel Admin Expert เท่านั้น โดยไม่เปลี่ยนกรอบความคิด (Paradigm) และบทบาทที่สร้างคุณค่าเพิ่ม (Value Added) แก่องค์กร ไม่เข้าใจที่จะบริหารจัดการทุนมนุษย์ในองค์กร ให้มีมากพอต่อการขับเคลื่อนองค์กรแล้ว ภาพลักษณ์ของ HRM ก็ไม่ต่างกับ คนทำงานธรรมดา ๆนั่นเอง จะนำพาองค์กรให้สามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในยุดสมัยใหม่นี้ได้อย่างไร

  

สวัสดี

  

ยม

 

นักศึกษาปริญญาเอก

รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี(กทม)รุ่น 2

 

เรียนท่านอาจารย์              ในการเรียนวันที่ 09/07/09 เรื่อง  Workforce Alignment in an Organization ท่านอาจารย์ พจนารถ ได้ให้ความรู้ที่มาที่ไปขององค์กรว่า องค์กรที่มีรูปแบบการจัดการได้อย่างสมบูรณ์แบบ และบรรลุเป้าหมายตามความต้องการนั้น จะต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง มีขั้นตอนการทำงานอย่างไร และได้ให้โจทย์เป็นการบ้านว่า ถ้าไม่มี Organization Alignment จะเกิดความเสียหายอะไรบ้างในความคิดของผมนั้นขอแบ่งความเสียหายออกเป็นสามส่วน คือ1.     ความเสียหายต่อตัวองค์กร2.     ความเสียหายต่อบุคลากร3.     ความเสียหายต่อสังคมส่วนรวม1.     ความเสียหายต่อตัวองค์กร  แบ่งได้ดังนี้1.1.          ด้านการแข่งขัน จะสู้กับคู่แข่งไม่ได้  ธุรกิจที่ไม่มีเป้าหมาย ไม่มีแผนงานในการดำเนินงานย่อมไม่รู้ว่าสิ่งใดคือ จุดแข็งของตัวเอง จุดใดคือจุดอ่อนของตัวเอง ดังนั้นก็ไม่สามารถวิเคราะห์ตัวเอง และวิเคราะห์คู่แข่งได้ สุดท้ายก็ต้องปิดตัวเองลง1.2.          ด้านการรูปแบบการบริหารจัดการ จะไม่สามารถจัดรูปแบบองค์กรให้ตอบสนองกับรูปแบบธุรกิจได้ เนื่องจากไม่ทราบว่าเป้าหมายสูงสุด คืออะไร เส้นทางที่จะทำให้ไปถึงก็ไม่สามารถคิดออกมาได้ ซึ่งสุดท้ายการดำเนินงานก็จะติดขัด ไปหมด 1.3     ด้านการพัฒนาธุรกิจ การขาดซึ่งเป้าหมายจะทำให้ การคิดวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ไม่ตรงกับความต้องการของตลาด และไม่ตรงกับจุดแข็งขององค์กร2.     ความเสียหายต่อบุคลากร2.1             ด้านการจัดรูปแบบองค์กร จะไม่สามรถคัดเลือกหรือวางตัวบุคคลากรได้ตรงกับความสามารถที่แท้จริงของพนักงานทำให้ประสิทธิภาพของงานที่ออกมาไม่เต็มกับกำลังความสามารถที่มีอยู่2.2             ด้านการวัดวัดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และการกำหนดผลตอบแทน การเลื่อนตำแหน่ง ไม่สามารถสะท้อนความเป็นจริง เนื่องจากไม่มีเครื่องมือ หรือวิธีการวัด ที่เสมอภาคกัน ส่งผลต่อขวัญ และกำลังใจในการทำงานของพนักงาน ซึ่งเป็นที่มาของการ Turn over อย่างมากมาย2.3             ด้านความรู้สึกการเป็นเจ้าของ (Ownership Thinking) เมื่อบุคลากรไม่รู้ว่า ทำไปทำไม ทำแล้ว ได้อะไร หรือทำเพื่อใคร (ขาดทุนแห่งความสุข)ความรู้สึกการเป็นเจ้าของก็จะขาดไปทันที สุดท้ายส่งผลต่อความสามารถ ด้านการแข่งขันเนื่องจากต้นทุนต่างๆ จะสูงขึ้นเพราะผู้ที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนธุรกิจ(คน) ขาดความรู้สึกร่วมรับผิดชอบในงาน2.4             ด้านการพัฒนาบุคลากร จะไม่สามารถพัฒนาหรือเพิ่มทุนแห่งความรู้ให้กับบุคลากรได้ตรงกับความต้องการ ทำให้แทนที่การลงทุนเพิ่มความรู้จะทำให้เกิดการมูลค่าเพิ่ม ก็จะกลายเป็นการเพิ่มต้นทุนหรือการลงทุนที่สูญเปล่าทันที3.     ความเสียหายต่อสังคมส่วนรวม3.1             ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม องค์กรที่ขาดซึ่ง Alignment จะไม่นึกถึงสังคมจะมุ่งแต่ผลประโยชน์ของตัวเอง เช่นไม่จัดทำระบบบำบัดน้ำเสีย เนื่องจากมองว่าเป็นการสิ้นเปลือง และคิดว่าแม่น้ำลำคลองไม่ใช่ของบริษัท3.2             ด้านความยั่งยืน  องค์กรที่ขาดความรับผิดชอบต่อสังคม สุดท้ายจะถูกสังคมต่อต้านไม่สามารถ ดำเนินกิจการต่อไปได้ รวมทั้งสิ่งที่องค์กรได้ทำต่อสังคม เช่น ปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำลำคลอง ก็จะย้อนกลับคืนสู่ตัวองค์กรเองคือขาดทรัพยากรพื้นฐานที่จำเป็นในการดำเนินกิจการ หรือมีต้นทุนที่สูงขึ้นนั่นเองโดยสรุป ผมขอยกตัวอย่างเรื่อง เรือที่มีคนพายหลายคน สิ่งแรกที่ทุกคนในเรือต้องรู้คือ เป้าหมายเราจะไปที่ไหน ใช้เวลานานขนาดไหน มีอุปกรณ์หรือเครื่องมืออะไรในการควบคุมเรือ การพายจะพายแบบใด ใครคือผู้ควบคุมให้เรือไปในทิศทางที่ทุกคนต้องการ ซึ่งเหล่านี้ก็คือรูปแบบการบริหารจัดการนั่นเอง เพื่อให้สามารถรับมือกับการแข่งขันต่างๆได้ครับ
นางสาวศมน อิศรางกูร ณ อยุธยา
         

            เรียน อาจารย์ จีระ คุณพจนารถ และ คณะ เมื่อวันที่ 9 ก.ค.49 ได้มีโอกาสได้เรียนในหัวข้อ Workforce Alignment in an Organization กับคุณพจนารถ บรรยากาศในการเรียน เหมือนการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันมากกว่าการเรียนการสอนแบบธรรมดา ทำให้รู้สึกว่าเวลาผ่านไปเร็วมาก

          วันนี้ได้เห็นประโยชน์ของการ Alignment ในองค์กร ผ่านประสบการณ์ของคุณพจนารถ ได้ทราบว่า การที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ มาจากหลายๆปัจจัยประกอบกัน ไม่ใช่ว่าต้องมีผู้บริหารที่เก่งเท่านั้นองค์กรจึงจะไปได้ดี อันดับแรก ทุกคนต้องทราบวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร เพื่อให้ปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน ผู้บริหาร/หัวหน้า ไม่ได้สั่งให้ทำเพียงอย่างเดียว แต่ต้องเป็นทั้ง ผู้สอน ที่ปรึกษา สนับสนุน ให้กำลังใจแก่ลูกน้องด้วย ต้องมี Mission และ Vision เพื่อให้เกิดความพยายามที่จะไปถึงเป้าหมายนั้น สร้างแรงจูงใจ ให้ทุกคนอยากที่ทำงาน มีความรู้สึกเป็นเจ้าของและทำงานอย่างเต็มความสามารถ           ในทางกลับกัน หากไม่มีการ Alignment ในองค์กร ก็เหมือนเดินหาทางออกในป่ารก ไม่มีแผนที่ ไม่มีถนน คนในองค์กรไม่ทราบว่าต้องทำอะไร อย่างไร เพื่ออะไร ต่างคนต่างทำ ไม่มีจุดหมาย แต่ละฝ่ายทำงานของตัวเองไป ไม่มีการประสานงาน เช่น ฝ่ายผลิตไม่ประสานงานกับฝ่ายการตลาด ผลิตสินค้าที่ไม่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค หรือ ฝ่ายบุคคลไม่ทราบคุณสมบัติของคนที่ฝ่าย R&D ต้องการ ส่งคนไปให้ก็ทำงานไม่ได้ เป็นต้น ก็จะเกิดแต่แรงต้านไม่มีแรงเสริมให้องค์กรไปได้ดี บางคน/บางฝ่าย ประสบความสำเร็จในเรื่องที่ไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อองค์กร การที่จะส่งเสริม ให้กำลังใจ ก็คงไม่เกิดขึ้น เป็นเหตุให้ขาดแรงจูงใจ ไม่อยากทำงาน ไม่มีความรักต่อองค์กร เมื่อเกิดปัญหาก็อาจจะไม่รู้ว่าสิ่งนั้นเป็น  ปัญหา หรือรู้แต่ไม่สนใจที่จะแก้ไข เพราะไม่ทราบว่าเป็นผลเสียต่อองค์กรมาก/น้อยเพียงใด เมื่อไม่เห็นความก้าวหน้าและไม่มีความสุขเค้าย่อมพร้อมที่จะเดินออกไป บางคนอาจทำเพื่อประโยชน์ต่อตนเอง ซึ่งถ้าเขาทำได้ คนอื่นมองว่าเป็นสิ่งที่ดีและทำตาม และถ้าองค์กรมีแต่คนที่ทำเพื่อตนเอง องค์กรนั้นก็ไม่มีทางที่จะไปได้ดีอาจถึงต้องปิดตัวในที่สุด
นายปรัชญา พุดดี นศ.ป.โท สาขาการจัดการธุรกิจการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร kmitl สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ,อ.ยม นาคสุข ,อ.สมภพ และ อ.พจนารถ เป็นความโชคดีของรุ่นผมจริงๆที่มีโอกาสได้รับการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากอาจารย์ทุกๆท่าน คงมีคนจำนวนไม่มากนักที่จะได้รับโอกาสอย่างนี้จากอาจารย์ทุกท่านและทีมงาน สัปดาห์นี้มีโอกาสฟังบรรยายจาก อ.พจนารถ ที่มีความรู้ในงานด้านพัฒนาองค์กรและทรัพยากรบุคคล รู้สึกประทับใจอาจารย์มากครับทั้งที่อาจารย์ไม่ได้เดินเส้นทางนี้มาตั้งแต่ต้น แต่เมื่ออาจารย์ได้มาทำงานด้านนี้แล้วก็สามารถเป็นผู้เชี่ยวชาญงานด้าน HR ได้อย่างดีอีกทั้งยังถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์มากมายในการบรรยายอีกด้วย เหมือนกับที่ ศ.ดร.จีระ พูดเสมอว่า การจะเป็นคนเก่งนั้นต้องเป็นคนที่มีความรู้ข้ามศาสตร์และนำความรู้ที่มีมาสร้างให้เกิดประโยชน์ได้ด้วย สัปดาห์นี้ อ.พจนารถ ได้ให้แสดงความคิดเห็นเรื่อง “ความเสียหายจากการไม่มี Organization Alignment” สำหรับ Organization Alignment นี้เป็นเหมือนเครื่องมือที่ใช้ในการกำหนดการดำเนินการต่างๆในองค์กรให้มีทิศทางไปในแนวเดียวกัน มีขั้นตอนต่างๆในการดำเนินการ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ทำให้องค์กรสามารถบรรลุสู่เป้าหมายต่างๆที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงค่อนข้างชัดเจนว่าองค์กรที่ขาด Organization Alignment มักจะประสบปัญหาต่างๆในการดำเนินงาน หน่วยงานย่อยภายในต่างฝ่ายต่างทำงานขาดการประสานงานกัน จึงยากที่จะทำให้องค์กรนั้นไปสู่เป้าหมายที่กำหนดได้ ผมขออนุญาตยกตัวอย่างบริษัทแห่งหนึ่ง ชื่อบริษัท ประเทศไทย จำกัด มีทีมผู้บริหารชื่อ ทีมรัฐบาล มีพนักงานกว่า 60 ล้านคน เป้าหมายของบริษัทนี้ไม่ใช่การมุ่งหากำไรสูงสุด แต่มีเป้าหมายคือทำให้บริษัทเป็นบริษัทที่มั่นคงและยั่งยืน สามารถอยู่ได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องรอรับการช่วยเหลือจากที่ใด ให้พนักงานทุกคนอยู่ดี กินดี มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีความสุข บริษัทได้กำหนดแนวทางในการดำเนินงานคือ แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ให้พนักงานทุกคนทำงานโดยยึดแนวทางนี้เป็นหลัก บางคนอาจจะทางตรง บางคนอาจจะทำทางอ้อมแต่ก็มีแนวทางและเป้าหมายเดียวกัน โดยมีทีมผู้บริหารคอยดูแลและให้การสนับสนุน ถ้าทุกคนได้ทำงานโดยมีแนวทางในการดำเนินงานแบบเดียวกันแล้วจะส่งผลให้บริษัทสามารถบรรลุเป้าหมายต่างๆที่กำหนดไว้ได้ บริษัทก็จะสามารถยืนหยัด มีความมั่นคงยั่งยืน อยู่ในสังคม(โลก)ได้อีกนานแสนนาน.... ขอบคุณครับ
นายกิตติวัฒน์ กุลจิระดิลก
เรียนอาจารย์ที่เคารพและสวัสดีคุณพจนารถที่นับถือ รวมทั้งผู้สนใจทุกท่าน กระผมเป็น นศ.ป.โทการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร พระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง จากการที่กระผมได้เรียนรู้กับอาจารย์และคุณพจนารถเมื่อ9/7/49ที่ผ่านมา แต่ในบรรยากาศช่วงเช้าที่ได้นั่งคุยและพบปะคุณยม,คุณสมภพพร้อมกับเพื่อนๆได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน และอาจารย์ได้พูดถึงสิ่งที่ได้จากการที่ไปสอนที่ม.เกษตรศาสตร์คือ2h"heart,hand" และงานทางโทรทัศน์ช่อง5ที่เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ความรู้" เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตร"ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในการที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และจากการเรียนในหัวข้อ" WORKFORCE ALIGNMENT IN AN ORGANIZATION " ทำให้ทราบถึงแนวทางการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จสูงสุดบรรลุตามจุดประสงค์และเป้าหมายที่วางไว้ โดยมีการทำงานเป็นทีมเหมือนกับการพายเรือที่คุณพจนารถได้นำเสนอ และถ้าหากการทำงานในองค์กรต่างๆไม่มีแนวทางหรือวัตถุประสงค์ที่เป็นทิศทางเดียวกันแล้วความเสียหายที่จะเกิดขึ้นก็จะกระทบถึงทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรนั้นๆและจะลามถึงผลประกอบการในองค์กรนั้นด้วย ซึ่งพอที่จะสรุปได้ดังนี้ -เกิดการขัดแย้งในหน้าที่การงาน -เกิดการทำงานลักษณะเช้าชามเย็นชาม ขาดความรับผิดชอบ -พนักงานขาดทุนแห่งความสุขในการทำงาน -พนักงานมีขวัญและกำลังใจในการทำงานน้อย -เกิดปัญหาที่ยากต่อการแก้ไขคือ พนักงานไม่รักองค์กร มีทัศนคติที่ไม่ดีในการทำงาน ดังนั้นพอที่จะสรุปได้ว่าการทำงานเป็นทีม มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน สามารถนำพาองค์กรนั้นๆไปสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิผลสูงสุดได้ ถึงแม้นจะมีอุปสรรคก็สามารถที่จะฝ่าฟันได้อย่างดี ขอบคุณคุณพจนารถ ที่นำความรู้มาเผยแพร่ในณ ที่นี้ด้วย ขอบคุณครับ
น.ส.อโณทัย แก้วสำอางค์
สวัสดีค่ะท่านอาจารย์จีระ อาจารย์ยม อาจารย์สมภพ อาจารย์พจนารถ และผู้อ่านทุกท่าน เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านได้มีโอกาสฟังการบรรยายของอาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด ในหัวข้อ Workforce Alignment in an organization อาจารย์ได้ให้ความรู้กับเราในเรื่องของ Organization Alignment ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยที่สำคัญ 5 อย่างคือ Strategic Governance. Direction Statements. Strategy . Strategy Execution. และ Leadership. และในตอนท้ายอาจารย์ได้ฝากคำถามทิ้งท้ายไว้ว่า ถ้าหากไม่มี Organization Alignment จะเกิดความเสียหายอย่างไรบ้าง ซึ่งจากคำถามนี้ Organization Alignment ก็เป็นการวางแผน วางแนวทางในการประกอบกิจการในองค์กร เริ่มตั้งแต่จัดตั้งองค์กรก็จะมีการกำหนดเป้าหมาย และกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจขององค์กร มีการ plan ในการกำกับดูแลในส่วนต่างๆให้สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันและทิศทางเดียวกับเป้าหมายขององค์กร ซึ่ง Alignment เป็นการทำให้ทุกส่วน ทุกคนในองค์กรเข้าใจถึงเป้าหมายขององค์กร และให้ปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกันเหมือนกับการรวมพลังกัน ทำให้เกิดเป็นองค์กรที่เข้มแข็ง บรรลุเป้าหมายได้ง่ายขึ้น ดังนั้นหากองค์กรใดไม่มี Organization Alignment ก็จะทำให้องค์กรมีการทำงานแบบสะเปะสะปะ ต่างคนต่างทำ ไม่มีเป้าหมายร่วมกัน เหมือนองค์กรที่ป่วย อ่อนแอ ไม่มีกำลัง องค์กรจึงไม่สามารถประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายได้ หรือถ้าได้ก็ยากลำบากกว่าจะสำเร็จ ต้องใช้เวลามากกว่า การลงทุนที่มากกว่า และอาจต้องประสบกับปัญหา อุปสรรค และความสูญเสียอีกมากมาย และเมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะทำให้ความสามารถในการแข่งขันขององค์กรนั้นต่ำด้วย ทำให้เสียเปรียบในการแข่งขัน และที่ทราบกนดีอยู่แล้วว่า ปัจจุบันเป็นโลกเสรีทางการแข่งขัน ดังนั้นองค์กรที่ไม่มี Organization Alignment จึงอยู่รอดได้ยากในยุคโลกาภิวัฒน์
นางสาวพรชนก สุขอาจ
กราบเรียนท่านอ.จีระ  เรียนอาจาย์พจนารถ รวมถึงสวัสดีเพื่อนๆ ผู้สนใจทุกท่าน  ดิฉันนางสาวพรชนก  สุขอาจ นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาวิชาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร วันที่ 9 ก.ค.49 ได้มีโอกาสได้เรียนในหัวข้อ Workforce Alignment in an Organization กับอาจารย์พจนารถ (อ.จิ๋ม) ได้รับความรู้มากมาย ที่ไม่สามารถจะหาได้จากตำราเรียนเล่มไหนค่ะ... ในองค์กรหนึ่งๆ  จะเกิดความสมัคคีกันได้  ต้องอาศัย เป้าหมาย  ที่จะทำให้พนักงานในองค์กร เดินไปในทิศทางเดียวกัน  ทิศทางที่ทำให้ เป้าหมาย ที่วางไว้  เกิดความสำเร็จ  แต่อย่างไรก็ตาม  เราคงจะแน่ใจไม่ได้ว่า พวกเขาเหล่านั้น  จะไม่มีใครคนใดคนหนึ่งที่จะไม่เดินแตกแถว  ออกนอกเส้นทางที่วางไว้  ฉะนั้นเราจะต้องอาศัยกลยุทธ์เข้ามาช่วย  ในการที่จะทำให้พวกเขาเหล่านั้นเดินอยู่ในเส้นทางที่วางไว้ (เส้นทางเดียวกัน) กลยุทธ์ที่นำมาใช้  คือ  ในการสร้างความพึงพอใจในงาน และ ชี้แจ้งเป้าหมายให้ทุกคนได้รับทราบ (ด้วยใจ)   เนื่องจากพนักงานที่มีความพึงพอใจในการงาน จะมีแรงจูงใจให้เกิด การทำงานอย่างเต็มกำลัง  รู้จักหน้าที่ และ ก่อให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย  โดยที่เป็นการทำงานอย่างมีความสุขจากใจจริงๆ  แต่ในทางกลับกัน  ถ้าพนักงานขาด ความพึงพอใจในการงาน  ก็จะก่อให้เกิด  ความเฉื่อยชา  เบื่อที่จะทำงาน  ก่อให้เกิดการขาดงาน และเปลี่ยนงาน ซึ่งจะทำให้องค์กรเกิดความเสียหาย  ไม่พัฒนา  ไม่บรรลุเป้าหมาย วิธีการสร้างความพึงพอใจ ในการทำงาน 1.           สิ่งตอบแทน เงินเดือน  ต้องเหมาะสมกับ ความสามารถ คุณวุฒิ ของพนักงาน  เพื่อคนงานจะได้รับรู้ ถึงความยุติธรรมที่ได้รับ  2.     ผู้บริหาร  มีความเป็นมิตร  ให้กำลังใจ สนับสนุน   คนในการทำงาน  เป็นที่ปรึกษาที่ดี         เมื่อคนงานมีปัญหา (ด้านงาน และ ส่วนตัว ) 
  1.   จัดการติดต่อสื่อสารให้ทั่วถึง และ สะดวก โดยมีการทำ Internet  มาใช้
 
  1.  จัดบรรยากาศในการทำงานให้เหมาะสม  เพื่อให้คนงานเกิดการผ่อนคลายในขณะ 
       ทำงาน 5.    ให้คนงานมีอิสระในการทำงาน  เสนอความคิด  มีส่วนร่วมในการตั้งเป้าหมายและ           บริหารงานองค์กร  
  1.   มีการพิจารณาเลื่อนขั้น  เพิ่มเงินเดือน  อย่างมีระบบชัดเจน และ ยุติธรรม
 
  1.  จัดสวัสดิการต่างๆ ให้เหมาะสมกับพนักงาน เช่น บริการ รถรับ-ส่ง
 
  1.   ให้การยกย่อง  สนับสนุน ทั้งต่อหน้า และลับหลัง
 9.     ให้การสนับสนุนคนงาน  ให้คนงานประสบความสำเร็จในการทำงาน  ให้คนงานได้ใช้         ความรู้  ความสามารถที่มีอยู่ในตัวที่  เป็นการสร้างความภูมิใจให้แก่คนงาน  เมื่อคนงานได้รับความพึงพอใจในการทำงานด้านต่างๆ  ข้างต้นแล้ว  เขาจะพร้อมใจทำงานตาม เป้าหมาย ที่วางไว้ อย่างเต็มที่ เต็มกำลัง และเต็มใจ (ซึ่งตัวเงินเพียงอย่างเดียว  ไม่สามารถสร้างตรงจุดนี้ได้) ดิฉันคิดว่า  องค์กรน่าจะเปรียบได้กับร่างกาย และอวัยวะต่างๆ  เปรียบได้กับแผนกต่างๆ หรือพนักงานในองค์กร  ถ้าทุกส่วน(อวัยวะ) ทำงานประสานไปในทิศทางเดียวกัน  ก็จะช่วยนำพาร่างกาย  ให้ก้าวเดินไปสู่เส้นชัยที่หวังไว้  เช่นเดียวกับองค์กรที่มีเป้าหมายชัดเจน  และพนักงานทุกคนพร้อมใจทำงานตามแผนที่วางไว้  องค์กรก็จะก้าวสู่ Goal ได้อย่างแน่นอน และถาวรในมุมกลับกัน  ถ้าพนักงานในองค์กรเดินไปคนละทิศทาง หรือมีเป้าหมายต่างกัน  องค์กรคงจะก้าวสู่ความเป็นเลิศและสำเร็จไม่ได้ พนักงานขาดความสุขในการทำงาน  สุดท้ายต้องลาออก  ก็เหมือนกับร่างกาย ถ้าแขนไปทาง  ขาไปทางแล้ว  ก็คงไม่สามารถนำพาร่างกายให้ไปถึงเส้นชัยที่ตั้งเป้าหมายไว้ได้  ซึ่งนี้ คือ ความเสียหายที่องค์กร จะได้รับจากการ  ไม่มี  Alignment นั่นเอง   ฉะนั้น    Alignment  จึงมีความสำคัญมาก กับองค์กร  ( Alignment  จึงเปรียบเสมือน  ส่วนสมอง ที่ทำหน้าที่ Control ให้ส่วนต่างๆ เป็นไปในทิศทางเดียวกันและประสบความสำเร็จ )                                                                                              ขอบคุณค่ะ
นางสาววิชชุวรรณ ชอบผล

สวัสดีค่ะอ.จีระ อ.ยม อ.สมภพ อ.พจนารถ ทีมงาน Chira Academy และท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

ดิฉันนางสาววิชชุวรรณ ชอบผล นักศึกษาภาควิชาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังค่ะ

 

เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาอ.พจนารถ ได้มาสอนพวกเราในเรื่องของ Workforce Alignment in an Organization ซึ่งเป็นคำที่ดิฉันไม่เคยได้ยินมาก่อนเลยค่ะ แต่ที่ดิฉันเข้าใจในวันนั้นก็คือ Alignment Organization หมายความถึง องค์กรที่มีความเข้าใจระหว่างกัน หัวหน้าเข้าใจลูกน้อง และลูกน้องก็เข้าใจหัวหน้า ไม่มีช่องว่างระหว่างกันในองค์กร ทุกคนมีความจงรักภักดีต่อองค์กร และมีเป้าหมายเดียวกันและ อาจารย์พจนารถก็ได้ให้การบ้านก็คือ อาจารย์ถามว่าถ้าไม่มี Organization Alignment องค์กรจะเสียหายอย่างไร ดิฉันขอตอบตามความเข้าใจโดยเปรียบเทียบเป็นองค์กรแห่งหนึ่งนะคะ มันอาจดูเป็นเรื่องเกินความจริงของเด็กๆไปซักหน่อย แต่จะพยายามทำให้ดีที่สุดค่ะ

 

องค์กรนี้ทำงานเกี่ยวกับการจัดส่งอาหารสำเร็จรูป ซึ่งมีงานใหม่เข้ามาคือภายใน 6 เดือนข้างหน้า เราต้องจัดส่งอาหารไปบนดาวอังคาร ถ้าไม่ไปเราก็จะเสียลูกค้ารายนี้ที่เป็นรายที่ใหญ่ที่สุดไป และถ้าทำสำเร็จกลับมาเราจะได้ Bonus ก้อนโต ได้ตั๋วเครื่องบินไป-กลับดาวอังคารฟรีทั้งครอบครัว ตลอดชีพ ก่อนอื่นเลยเรามาเริ่มจาก

 

    1. เราต้องถามตัวเองแล้วว่าเป้าหมายของเราคืออะไร เราต้องนำอาหารไปส่งที่ดาวอังคาร ถ้าเราไม่เป้าหมาย คนในองค์กรก็จะทำงานไปเรื่อยๆ ซ้ำๆ ย่ำอยู่กับที่ ต่างคนต่างทำงาน ไม่มีการปรึกษากัน พูดคุยกัน องค์กรก็จะอยู่กับที่ ไม่มีความทันสมัย ก็เหมือนตอนที่เราอยู่บนโลก ก็ไม่มีโอกาสไปดาวอังคารกับเค้าซักทีค่ะ

       

    2.  

    3. เรามีทักษะ ( Skill ) พอที่จะทำให้เป้าหมายของเราสำเร็จหรือไม่ ก็คือเรามี ความสามารถพอที่จะขับหรือนำคนขับยานอวกาศที่มีเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยไปถึงดาวอังคารหรือไม่ ถ้าเราพร้อมแล้ว เราก็สามารถไปได้เลย แต่ถ้าเราไม่มีความพร้อม เราก็ต้องเรียนรู้หรือได้รับการสอนจากหัวหน้าที่เคยไปมาแล้ว ถ้าเราไม่คิดที่จะเรียนรู้ แต่งานนี้เป็นความรับผิดชอบของเรา เราก็จะเครียด ทำไม่สำเร็จซักที ก็จะไม่มีกำลังใจทำงานต่อ พลอยให้คนอื่นรู้สึกว่างานนี้มันยากจนไม่มีใครคิดอยากจะท้าทายมัน งานขององค์กรก็จะล่ม

       

    4.  

    5. เรามีความรับผิดชอบต่อเป้าหมายของเรามากแค่ไหน เรามีความตั้งใจที่จะขับยานให้เป็นแล้วไปสู่ดาวอังคารโดยสวัสดิภาพ หรือขี้เกียจจนต้องปัดความรับผิดชอบให้คนอื่น ในเมื่อมันเป็นงานของเรา หัวหน้าก็จะไม่เชื่อถือ เมื่อมีงานอื่นเข้ามาหัวหน้าก็ไว้วางใจมอบหมายงานให้คนอื่น และถ้าทุกคนในองค์กรปัดความรับผิดชอบกันหมด ทุกอย่างก็จะที่หัวหน้าคนเดียว อย่างที่อ.พจนารถว่าไว้ หัวหน้าก็จะไม่มีวันหยุดงานได้เลย

       

    6.  

    7. ทำแล้วเราได้รับผลตอบแทนอะไร เราจะได้รับความไว้วางใจจากลูกค้ารายใหญ่ มี Bonus ก้อนโต และครอบครัวได้เที่ยวดาวอังคารฟรีตลอดชีพ แต่ถ้าหัวหน้าให้เราทำงานยากขนาดนี้โดยไม่มีผลตอบแทนอะไรเลย มันก็เหมือนกับว่าเราไม่มีแรงจูงใจที่จะทำงานชิ้นนี้ให้สำเร็จ แต่ถ้าเราใช้ผลตอบแทนนี้เป็นแรงขับเคลื่อนตัวเองไปสู่ความก้าวหน้า คนที่จะประสบความสำเร็จก็คือเราเอง

       

    8.  

    9. ทำให้ทุกคนรู้สึกว่าเป้าหมายนี้เป็นของทุกคนที่จะต้องทำมันให้สำเร็จ และเมื่อประสบความสำเร็จ ความสำเร็จนี้ก็เป็นของทุกคน ไม่ใช่แค่ของเราคนเดียว เพื่อสร้างความรัก จงรักภักดีต่อองค์กร ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและความเป็น team work ที่ดีค่ะ

       

 

ดิฉันคิดว่าทุกอย่างนั้นเริ่มที่ตัวเราก่อน เมื่อเราจัดการตัวเองได้แล้วต่อไปทุกคนก็ช่วยกันจัดการองค์กรให้ไปในทิศทางเดียวกัน องค์กรที่ไม่มี Organization Alignment ก็เหมือนเรือลอยเคว้งกลางทะเล ไม่มีเข็มทิศ ไม่มีแผนที่ มองไปไกลสุดลูกหูลูกตาก็ไม่เห็นฝั่ง ไม่รู้ว่าจะต้องไปทางไหน ไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร ดิฉันคิดว่าองค์กรแบบนี้คงไม่สามารถเจริญเติบโตได้ดีเท่ากับองค์กรที่มีความสัมพันธ์กัน มีทิศของการเดินทางเดียวกัน และมีความร่วมมือกันค่ะ

 

สุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่านที่เสียสละเวลาอันมีค่ามาสอนพวกเราค่ะ

 

ปรียานันท์ ไทยงามศิลป์

เรียนอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ยม  อาจารย์สมภพ และอาจารย์พจนารถ ค่ะ

                สวัสดีค่ะเพื่อนๆ ทุกคน  จะเห็นได้ว่าทุกครั้งที่ได้เรียนกับอาจารย์ ศ.ดร.จีระ  เราก็จะได้ทฤษฎีใหม่ๆ ที่จำและเข้าใจได้ง่ายๆ ตรงประเด็น  และในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา  เราก็ได้ทฤษฎีใหม่คือ 2H คือ Head and Heart  ซึ่งถือว่าเป็นสัจธรรมที่ทุกคนควรปฏิบัติเลยนะคะ  เพราะเราจะทำสิ่งใดโดยปราศจากความรู้ มันสมอง และปฏิบัติแบบไม่มีหัวใจและไร้ความรู้สึกไม่ได้    ไม่เช่นนั้นงานก็คงไม่มีประสบความสำเร็จ  และอาจสร้างความเดือดร้อนให้กับคนอื่นได้

นอกจากนี้อาจารย์พจนารถยังได้เสริมว่าควรจะเพิ่มอีกหนึ่ง H คือ Hand เข้าไปอีกด้วย  คือเราไม่ควรคิดว่าจะทำอะไร อย่างไร แต่ควรลงมือปฏิบัติให้สำเร็จอีกด้วย

                ในสัปดาห์นี้  เราได้เรียนเรื่อง Workforce Alignment in an Organization  จากอาจารย์ พจนารถ ซีบังเกิด   ซึ่งได้ทำให้ดิฉันยิ่งตระหนักถึงความสำคัญในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายขององค์กร   จากตอนแรกที่ทราบว่ามนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดในองค์กร  และมนุษย์ทุกคนก็ต้องมีทุนต่างๆ โดยเฉพาะทุนแห่งความสุข  แต่ในวันนี้ทำให้ตระหนักว่า เราจะถือว่าเรามีค่าที่สุด หรือเรามีความสุขที่สุดไม่ได้  เราต้องติดต่อสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานทั้งในแผนกของตนเองและแผนกอื่นๆ ทั้งบริษัทด้วย  เพราะเราจะทำงานคนเดียวไม่ได้  และเราต้องทราบเป้าหมายขององค์กร  เพื่อที่ทุกคนจะได้เดินไปในทิศทาง-แนวทางเดียวกัน ไม่หลงทางและนำพาให้องค์กรประสบความสำเร็จ มุ่งสู่เป้าหมายได้อย่างสวยงาม  แต่หากองค์กรใดไม่มี Organization Alignment  แล้วความเสียหายที่รุนแรงที่สุดคือความล้มเหลวขององค์กร การไปไม่ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ ขาดความสุข เกิดความขัดแย้ง ความสับสนวุ่นวายในการทำงาน การไม่ทราบหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเอง การไม่รักองค์กร   เมื่อต่างคนต่างเดินไปในทางของตนก็อาจเกิดการขัดแข้งขัดขา  เมื่อเกิดการกระทบกระทั่งก็เกิดการทะเลาะวิวาท  เมื่อต่างทำงานตามใจตน  และแต่ละตนมีความตั้งใจต่างกัน เมื่อต่างคนต่างทำ ไม่ติดต่อสื่อสารกันงานก็ไม่ต่อเนื่อง  เมื่อต่างก็รักตนเองแต่ไม่รักองค์กร  ความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ได้มีมูลค่าเป็น 0  แต่มันมีค่าติดลบแบบไม่มีที่สิ้นสุด 
ชาญธวัช ฝ่ายหมื่นไวย์
เรียนอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ยม นาคสุข   อาจารย์สมภพ และอาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด                “Workforce Alignment in an Organization  องค์กรใดก็ตามหากทุกคนไม่มีเป้าหมายเดียวกัน  โอกาสที่จะประสบความสำเร็จก็เป็นไปได้ยากนะครับ  กล่าวได้ว่าองค์กรนั้นเสี่ยงต่อการปิดกิจการสูงทีเดียว  ดังนั้นทุกคนก็ควรจะมีทิศทางหรือแนวทางในการเดินสู่เป้าหมายเหมือนกันโดยที่ทุกคนจะต้องรู้ในหน้าที่ของตนเอง  รู้ต้นทาง-ปลายทางว่าเราจะทำอะไร หรือไปที่ไหน  รู้วิธีที่จะให้ได้ในสิ่งนั้นและทำมันให้สำเร็จ                ถ้าจะเปรียบองค์กรเป็นดังเรือ องค์กรยิ่งมีขนาดใหญ่เท่าไหร่  ก็ยิ่งต้องเพิ่มจำนวนฝีพายมากขึ้นเท่านั้น  แต่หากฝีพายต่างพายไปตามใจตน พายไปคนละทิศละทาง ต่อให้ทุกคนมีเป้าหมายเดียวกันคือไปให้ถึงฝั่ง  แต่กว่าที่เรื่อลำนี้จะไปถึงฝั่ง ก็คงจะต้องใช้เวลานานมาก  ผ่านอุปสรรคมาก หรือเรืออาจจะลอยอยู่กลางแม่น้ำตลอดไปไม่ถึงฝั่งก็เป็นได้  ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจาก  ทุกคนไม่ได้ Alignment กัน  ไม่ได้พายไปในแนวทางเดียวกัน  (จอดเรือไว้เฉยๆ ยังดีเสียกว่า)                ดังนั้น องค์กรที่ไม่มี Organization Alignment  ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นคือ การไม่มีความสุขการไม่รู้เป้าหมายขององค์กร  ไม่รู้หน้าที่รับผิดชอบของตนเอง  เกิดการทะเลาะวิวาทระหว่างผู้ร่วมงาน ขาดการติดต่อสื่อสารกัน เกิดปัญหาและอุปสรรคมากมาย ทำให้เสียเงิน เสียเวลา  องค์กรไม่ประสบความสำเร็จ  ปิดกิจการ                ดังนั้นทุกคน-ทุกฝ่าย-ทุกแผนกจึงควรมีแนวทางในการทำให้องค์กรประสบความสำเร็จร่วมกัน   การกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน จะทำให้เรารู้จุดหมายปลายทางที่ต้องการ  แล้วเราก็จะรู้ว่าเราจะใช้กลยุทธ์ใดในการทำให้สำเร็จ ที่เหลือคือ Alignment  แนวทางในการก้าวเดินที่เป็นเส้นทางเดียวกัน  จะทำให้เราสำเร็จอย่างสวยหรูและรวดเร็วที่สุดนะครับ

 

พันธุ์ทิพย์ น้ำทิพย์
เรียน ท่าน อ.ดร.จีระ, อ.ยม, อ.สมภพ, อ.พจนารถ เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ดร.จีระ ได้เชิญ อ.พจนารถ มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงานและแนะนำหลักในการบริหารองค์การ ซึ่งดิฉันก็ได้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ ซึ่งความจริงแล้วเป็นคำที่ใกล้ตัวทุกๆคนที่ได้ทำงานในบริษัท แล้วก็คงต้องหวังว่าให้องค์การที่เราทำเป็นดังนั้น และตัวดิฉันเองก็พยายามคิดหาคำตอบสำหรับ คำ คำนี้เสมอในการทำงาน Alingment in Organization หรือ ดิฉันขอเรียกมันว่า ความสอดคล้องในการทำงานของหน่วยงานต่างๆ ภายในองค์การ ภายใต้จุดประสงค์ขององค์การเพื่อการพัฒนาอย่างมีประสิทธิ์ภาพ ต้องขอเน้นว่าเพื่อจุดประสงค์ขององค์การ ไม่ใช่จุดประสงค์ของหน่วยงานใด หน่วยงานหนึ่งภายในองค์การ เพราะจริงๆแล้วหน่วยงานภายในองค์การมีจุดประสงค์ที่อาจขัดแย้งกัน เช่น ฝ่าย QC มีหน้าที่ในการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ต้องคัดเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพเข้ามาทำการผลิต ฝ่ายจัดซื้อก็มีหน้าที่เลือกซื้อวัตถุดิบเข้ามาเพื่อการผลิต และลด Cost ให้กับทางองค์การให้ได้มากที่สุด ซึ่งของคุณภาพดีราคาถูกไม่มีในโลก ความไม่สอดคล้องในวัตถุประสงค์ของหน่วยงานภายในองค์การจึงเกิดขึ้น หากยังไม่มีการแก้ไข ยอมส่งผลให้เกิดความวุ่นวายในองค์การอย่างแน่นอน จึงต้องมีข้อตกลงกันระหว่างหน่วยงาน หรือความ Balance เกิดขึ้น แต่นั่นมันก็ขึ้นอยู่กับความซื่อสัตย์ของบุคคลที่จะต้องมี ต่อทั้งตัวเอง ต่อหน้าที่ ที่ตัวเองรับผิดชอบและมีความซื่อสัตย์ต่อองค์การ เพราะหากต่างคน ต่างทำงานตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานของตนเอง เพียงอย่างเดียวแล้ว โดยไม่คำนึงถึงส่วนรวมขององค์การเลย องค์การนั้นก็จะมีสภาพเป็นเสมือน เรือที่มีฝีพายดี แต่พายแบบต่างคนต่างพาย ถึงจะพายไปในน้ำนิ่งๆ ไม่มีคลื่น ไม่มีโครดหินคอยขวาง ไม่นานเรือมันก็จะวน แล้วก็ล่มในที่สุด ถึงแม้จะมีสภาพแวดล้อมภายนอกที่ดี เกื้อหนุนมันก็ไม่ได้ทำให้องค์การอยู่รอดได้หากคนในองค์การไม่มีความซื่อสัตย์ และเห็นแก่ตัว นอกเหนือจากการบริหารองค์การที่ อ.ดร.จีระและ อ.พจนารถให้ไว้สำหรับ Head Heart Hand แล้วดิฉันขอเสริมว่า ต้องมี honesty ด้วย จึงจะทำให้องค์การเกิดความเป็น Alingment อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยความเคารพ
นางสาวจุฑาวรรณ เทพลิบ
กราบเรียนศ.ดร.จีระ  อ.ยม  อ.สมภพและอ.พจนารถ ดิฉันนางสาวจุฑาวรรณ  เทพลิบ  นักศึกษาปริญญาโทสาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังนับว่าเป็นโชคดีของนักศึกษาที่ได้มีโอกาสเรียนกับผู้ที่มีประสบการณ์ตรงอย่างอาจารย์พจนารถ  จากการเรียนในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา  อาจารย์ได้ให้เสนอความคิดเห็นในเรื่อง  ความเสียหายจากการที่ไม่มีOrganization  Alignment”  ดิฉันคิดว่าหากองค์กรไม่มี Alignment  แล้ว  ก็เหมือนการทำงานโดยไม่มีจุดมุ่งหมาย  ไม่มีการจัดระบบที่ดี  ไม่มีหน้าที่รับผิดชอบที่แน่นอน  ความสำเร็จก็ไม่บรรลุผล  หากมีปัญหาเข้ามาก็จะเกี่ยงกันรับผิดชอบและแก้ไข  ความสุขในองค์กรก็จะไม่เกิดขึ้นคงต้องก็การขัดแย้งกันทะเลาะกัน  ทำให้เบื่อหน่ายกับการทำงานความสำเร็จจะเกิดขึ้นเราต้องมีทิศทางในทางเดียวกัน  มีเป้าหมายเดียวกัน  ทำอะไร  ทำไปทำไม  ทำเพื่อใครและทำเมื่อไหร่   เมื่อรู้จุดมุ่งหมายที่แท้จริงและหน้าที่ของทุกคนแล้วก็จะมีการประสานงานที่ดี  การทำงานก็เกิดประสิทธิภาพ  ทำให้มีกำลังใจในการทำงานมากขึ้น  และก็มีความสุขกับการทำงานองค์กรทุกองค์กรต้องมี Alignment  อยู่แล้วหากไม่มี   คำว่า  ก้าวหน้า  ก็จะไม่เกิดขึ้น  องค์กรคงต้องย่ำอยู่กับที่หรือไม่ก็ถ้อยหลังจนในที่สุดองค์กรนั้นก็ต้องปิดตัวลง 
พัทธนันท์ สกุลกฤติ
สวัสดีคะ อาจารย์จีระ คุณพจนารถ เพื่อนๆการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารและท่านผู้อ่านทุกท่าน เรื่องที่จะกล่าวในครั้งเป็นผลจากการได้รับความรู้จาก คุณพจนารถที่ได้มีบรรยาย ในเรื่อง  Workforce Alignment in an Organization” การบริหารงานบุคคลให้เกิดประสิทธิภาพนั้นเราต้องสามารถบริหารให้ผู้ร่วมงานมีทิศทางการทำงานไปในทางเดียวกัน เพื่อให้เกิดความสอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และมุ่งเน้นในสิ่งที่มีความสำคัญต่อความสำคัญขององค์กร และจากประเด็นที่คุณพจนารถตั้งขึ้นมาว่า ถ้าองค์กรขาด Workforce Alignment แล้ว จะก่อให้เกิดผลเสียอย่างไรบ้างนั้น ถ้าเปรียบเทียบกับ รถบนท้องถนนที่วิ่งอยู่บนช่องทางรถเดียวกันแต่วิ่งทิศทางที่สวนกันไม่เป็นระเบียบ ก็จะเกิดให้เกิด อุบัติเหตุที่ง่าย ทำให้เกิดความล้าช้าและความเสียหายอย่างมาก  และถ้าจะมองในภาพสังคมแล้วมองว่าประเทศไทยเป็นองค์กร องค์กรหนึ่งสิ่งที่เราสามรถเห็นได้ในตอนนี้ คือ ประเทศไทยเป็นองค์กรที่ ขาด Workforce Alignment คนในสังคม ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบริหาร ภาคประชาชน นักวิชาการ ต่างมีทิศทางความคิดเกี่ยวกับการบริหารประเทศ ที่สวนทางกันไม่เป็นทิศทางที่ไปสู่เป้าหมายเดียวกัน จึงก่อให้เกิดความเสียหายวุ่นวาย ให้การเจริญเติบโตของประเทศไม่มีความก้าวหน้า ชะงัก และอาจจะถอยหลังด้วย  ดังนั้น องค์กรแต่ละองค์กร ควรสร้างทัศนคติในการทำงานให้ทุกคนเห็นว่า วิสัยทัศน์(Vision)ขององค์กรที่สร้างมานั้นเป็นภาพในอนาคตที่ทุกคนต้องไปให้ถึงจุดนั้น วิสัยทัศน์ที่มีไม่ใช้วิสัยทัศน์ของคนคนเดียวที่กำหนดให้องค์กร มิใช่เป็นคำสั่งให้คนปฏิบัติตาม แต่เป็น วิสัยทัศน์ร่วม ที่เป็นของทุกๆคน ขอบคุณคะสำหรับการให้โอกาสในการแสดงความคิดเห็นในเรื่อง Workforce Alignment in an Organization”
นายวิทิต เลิศนิมิตมงคล
กราบเรียนท่านอาจารย์ ศ.คร.จีระ  รวมทั้งอาจารย์ ยม   อาจารย์รจนารถ    ซึ่งเป็นทีมงานผู้สอนที่มากด้วยประสบการณ์และความสามารถ จากวันที่ 9 กรกฎาคม  2549  ว่าด้วยเรื่อง Alignment and Stratigy  ซึ่งถือเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นสำหรับองค์กร                ทุกๆ คนต้องการการตอบสนองที่ดีจากฝ่ายตรงข้าม เช่น  จ้านาย ßà ลูกน้อง                การติดต่อสื่อสารถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งระหว่างคนในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นในระดับเดียวกัน หรือระหว่างผู้บังคับบัญชา กับผู้ใต้บังคับบัญชา  โดยทำอย่างไรให้การติดต่อด้านข้อมูลเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด                การสื่อสารในที่นี้ อาจจะหมายถึง การสร้าง Net work ระหว่างกันให้เกิดการเข้าใจตรงกันไปในทิศทางทางเดียวกัน Workforce Alignment in an Organization จะถูกบังคบด้วยคำว่า จุดมุ่งหมาย แต่ไม่ต้องถึงกับเข้าใจตรงกันหมดร้อยเปอร์เซ็นต์ก็ได้   เพราะสิ่งนี้จะช่วยให้ทุกคนในองค์กรดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นทุกคนไม่ได้อยู่เพียงลำพังคนเดียวในโลก  ทุกคนยังต้องมีการพึ่งพากันและกันบริษัทก็ต้องพึ่งพาลูกจ้าง  และลูกจ้างก็ต้องการรายได้เพื่อไปจุนเจือตนและครอบครัว  ไม่มีใครอยากให้ชีวิตการงานของตนไม่มั่นคง   ลูกจ้างบางคนอาจจะต้องดูแลครอบครัว ญาติพี่น้อง  อันเป็นที่มาซึ่งความรับผิดชอบ ความขยัน  และสุดท้ายที่จะตามมาคือ  ความเครียด  ถ้าความเครียดนี้เกิดการสะสมแล้วไม่มีการบำบัดที่ถูกต้องผลเสียอาจจะเกิดขึ้นมาอย่างที่ไม่ได้คาดหมายก็ได้    การสื่อสาร   ----- .......สื่อ.....เป็นกระบวนการ   วิธีการ หรืออุปกรณ์  ที่เราใช้ ในการเสนอ                      -----......สาร......เป็นสิ่งที่เรา ประสงค์ หรืออยากให้ผู้อื่น เข้าใจเหมือนที่เราเข้าใจ อาจเป็น ความรู้ ข้อความ หรือคำสั่ง ก็ได้

จากประสบการณ์- ในสายงานขาย(ของสด)   มีหัวหน้างานคนหนึ่ง เขาทำงานมาแล้วประมาณยี่สิบปี  เขามีความชำนาญมากในการจำที่อยู่ของลูกค้า เวลาส่งสินค้าไปยังลูกค้า วันหนึ่งๆ จะส่งให้ลูกค้าวันละ 2 เที่ยว  ประมาณ เกือบ 200 รายต่อวัน  หนึ่งคันรถที่ออกจะต้องส่งของให้ลูกค้าประมาณ 4 7 ราย มันอาจเป็นเรื่องที่ไม่ยากเกินไปสำหรับหัวหน้างานคนนี้จะทำ แต่สำหรับลูกน้องคนอื่น ต้องใช้เวลานานพอสมควร   ตัวแกเองก็ไม่อยากให้ใครมายุ่งกับงานของแกนัก เพราะแกกลัวเค้าจะให้คนอื่นมาทำงานแทนที่ตัวแก สุดท้ายแล้วตัวแกอาจจะตกงาน   ลองคิดว่าถ้าวันหนึ่งตัวหัวหน้างานคนนี้เกิดไม่สามารถมาทำงานได้ 3 วัน (เหตุจำเป็นจริง ๆ) จะเกิดผลเสียอย่างไรกับทางบริษัทในวันนั้นบ้าง          จากตัวอย่างข้างต้นนี้สามารถวิเคราะห์ได้ดังนี้1.หัวหน้างานคนนี้กลัวตกงาน ในอนาคต จึงไม่ค่อยอยากถ่ายทอดงานให้คนอื่นเท่าที่ควรทำให้เกิดความล่าช้าหากเขาคนนี้ไม่อยู่  และยิ่งถ้าเขาขาดทุนทางอารมณ์ ผู้ร่วมงาน และผู้ใต้บังคับบัญชาก็จะเครียด2.ระบบการทำงานยังไม่สมบูรณ์นัก  ยังต้องมีคนที่มีความเชี่ยวชาญคอยควบคุมตลอดซึ่งปัญหานี้กระผมสังเกตว่าเป็นอย่างนั้นจริงๆ เนื่องจาก ขาดทุนทาง IT นั่นเอง-->ผลเสียที่ตามมามันส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ทำให้คนที่ทำงานในที่นั้นไม่มีความสุขในการทำงาน  เกิดความเครียด แล้วสุดท้ายก็มีการออกจากงาน  ยิ่งเปลี่ยนบ่อยครั้งเข้า ก็ขาดคนชำนาญงานอย่างแท้จริง  และก็จะเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ                  มันเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริงและอาจเกิดขึ้นบ่อยกับอีกหลายบริษัท                ผู้บริหารมีหน้าที่คอยสอดส่องดูแล วางแบบแผน และปลูกสำนึกในด้านต่างให้ทุกคนในองค์กรตระหนัก ว่าตนเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร รู้หน้าที่ของตนว่าตนควรทำอะไร  และสร้างความหน้าอยู่ให้เกิดขึ้น แล้วคนจะเกิดความภูมิใจและรักองค์กรมากขึ้น                ถ้าองค์กร ขาด Alignment Organizationจะเกิดความเสียหายอย่างไร                - ตอบ-  มีผลเสียอย่างมาก เพราะการทำงานของทุกองค์กร จะต้องยืนอยู่บนวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมาย ถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้ก็ไม่สามารถตอบได้ว่าจะทำไปทำไม   และถ้ามีคนรู้วัตถุประสงค์เพียงแค่กลุ่มเล็กๆ อาจยังไม่เพียงพอที่จะดำเนินการไปได้อย่างราบรื่น  แต่การที่จะทำให้ทุกคนเข้าใจได้ตรงกันนั้นจะต้องอาศัย กลยุทธ์ ในด้านต่างๆ ให้เหมาะสมและถูกต้อง  ซึ่งก็ต้องอาศัยผู้นำที่จะต้องวางนโยบาย ละการร่วมมือจากทุกๆคน

 

นายสุทธิพงศ์ คงขาว
เรียน อาจารย์ จีระ  อาจารย์ พจนารถ และ คณะ   ผมเป็นนักศึกษาป.โท สาขาการจัดการธุรกิจและอุตสาหกรรมอาหาร  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังมีสิ่งที่ได้รับจากการเรียนในวันที่  9   กรกฎาคม   2549          จากการที่ฟัง บรรยาย ในหัวข้อ  Workforce Alignment in an Organization  ทำให้มองถึงการทำงานเป็นทีม   ที่มีเป้าหมายเดียวกัน  ถ้าทุกคนในทีมรู้เป้าหมายและหน้าที่ของตนเองแล้ว และปฏิบัติตามจะทำให้องค์กรสามารถผ่านวิกฤตต่างๆได้           เมื่อเรามาพิจารณา Workforce alignment จะประกอบไปด้วยปัจจัยหลัก 5 เรื่องได้แก่ Strategic governance,  Direction Statement ,Strategy in Organization ,Strategy Execution  และ Leadership   ในมุมมองของผม   ผู้บริหารจะมีบทบาทมากในการกำหนดทิศทางของ องค์กรผู้บริหารต้องมีความเป็นผู้นำสูง  เมื่อผู้บริหารให้ความสำคัญกับทิศทางขององค์กร และลงมือทำอย่างจริงจัง  ผู้บริหารสามารถมอบหมายให้  HR  training ให้คนในองค์กรมีความเข้าใจในทิศทางของบริษัท  แล้วมีการนำไปสู่การปฏิบัติ และติดตามงานอย่างต่อเนื่องจะทำให้องค์กรอยู่รอดได้  ซึ่งผมเห็นด้วยความเป็นผู้นำของผู้บริหารสามารถผลักดันองค์กรไปสู่ความสำเร็จสร้างสิ่งดีๆให้เกิดขึ้นในองค์กรเช่นเดียวกับประโยคที่ว่า “ Good leader creates good culture and motivated working environment”           แต่ก่อนที่องค์กรเราจะกำหนดทิศทางเราควรรู้  Status of organization  ในเรื่องต่างเช่น ใครเป็นผู้นำทางด้านธุรกิจนี้  สภาพองค์กรของเราเป็นอย่างไร จากนั้นเรามาวิเคราะห์องค์กรเพื่อจะกำหนดทิศทางขององค์กรโดยใช้  SWOT   
นางสาวณัฏฐา มั่นคง
เรียนอาจารย์ศ.ดร.จีระ และอาจารย์พจนารถ ที่เคารพ และผู้อ่านทุกท่าน สำหรับตัวดิฉันคิดว่าถ้าองค์กรไม่มีการทำ Alignment เกิดความเสียหายกับองค์กรแน่นอน เปรียบองค์กรเหมือนบ้านหลังหนึ่ง จุดมุ่งหมายของการปลูกบ้านคือ ให้สมาชิกทุกคนในบ้านอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข ทั้งกายและใจ ดังนั้น ถ้าสมาชิกในบ้านอยู่กันแบบห่างเหิน ตัวใครตัวมัน ต่างคนต่างอยู่ ไม่สนใจกัน ไม่พูด ไม่ฟังซึ่งกันและกัน  ก็จะทำ ให้เรามีวิสัยทัศน์ที่แตกต่างกัน ความคิดไปคนละทิศละทาง เช่น เราจะรวบรวมเงินซื้อโต๊ะรับแขกเข้าบ้าน แน่นอนว่าความชอบของแต่ละคนย่อมแตกต่างกัน วิสัยทัศน์ก็ไม่ตรงกันอยู่แล้ว ถ้าสมาชิกในบ้านไม่พูดคุยตกลงกัน ไม่ฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน และใช้อำนาจเอาความคิดของตนเองเป็นใหญ่ ซื้อโต๊ะรับแขกมาโดยพลการ ก็จะทำให้สมาชิกที่ไม่ชอบแบบนี้ไม่มีความสุขที่จะอยู่ เพราะรู้สึกเหมือนถูกเอาเปรียบ และไม่ได้ในสิ่งที่เราต้องการ เมื่อความคิดไปคนละทิศละทาง สมาชิกในบ้านก็จะรู้สึกไม่อยากกลับบ้าน เพราะกลับไปแล้วรู้สึกอึดอัด หรืออาจจะอยู่บ้านไปวันๆ และเมื่อมีโอกาสเค้าก็พร้อมที่จะออกจากบ้านทันที เช่นเดียวกับองค์กร ถ้าคนในองค์กร ไม่เข้าใจกัน ไม่พูด ไม่ฟังกัน ยึดถือตัวเองเป็นหลัก ก็จะไม่เกิดวิสัยทัศน์ร่วมกัน  ต่างคนต่างแย่งกันเด่น ไม่ช่วยเหลือหรือเรียนรู้กัน  ทำให้มีเป้าหมายไม่ตรงกัน  และวิสัทัศน์ที่เป็นเหมือนเข็มทิศกำหนดทิศทางขององค์กรว่าจะไปในทิศทางใดไม่ตรงกันแล้ว งานก็อาจเกิดความผิดพลาด ทำให้องค์กรเกิดความเสียหายได้
กัลย์สุดา วังชนะชัย
กราบเรียนศ.ดร.จีระอ.พจนารถ, อ.ยมอ.สมภพ และคณะ Workforce Alignment ประกอบด้วย·       Strategic  Governance·       Direction-vision คือ สิ่งที่เราอยากทำ·       Strategy  คือสิ่งที่ต้องทำเพื่อจะทำให้ vision สำเร็จ·       Strategy  Execution·       Leadership  (คุณภาพของผู้นำ) Alignment   Organization   การจะทำอะไรสักอย่างเราต้องรู่ก่อนว่าเป้าหมายอยู่ตรงไหน  เราทำทำไม  เราต้องการอะไร  โครงสร้างเป็นอย่างไร  และจะรับมือกับอุปสรรค์ที่จะผ่านเข้ามาอย่างไรเพื่อให้องค์กรอยู่รอด    ดิฉันขอเปรียบเทียบการจัดสร้างองค์กรเหมือนการสร้างจอมปลวก  ปลวกเป็นสัตว์สังคมที่ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง มันทำมาหากินและดูแลกันอย่างเป็นทีม ลักษณะนิสัยเช่นนี้ทำให้มนุษย์หรือสัตว์อื่นๆ ปราบปรามหรือกำจัดมันได้ยาก  ปลวกแบ่งได้ 3 ชนิด  1.ปลวก สืบพันธุ์ คือปลวกตัวผู้และตัวเมียอาณาจักรจะพบปลวกคู่นี้ทำหน้าที่ผสมพันธุ์และสืบพันธุ์ ตัวผู้เรียกว่าราชาปลวก และตัวเมียเรียกว่า ราชินีปลวก  มีหน้าที่ กระจาย พันธุ์และสร้างอาณาจักรใหม่  2.ปลวกงาน  มีหน้าที่ก่อสร้าง หาอาหารมาเลี้ยงปลวกวรรณะอื่นๆ ปลวกชนิดนี้จะทำงาน ทุกอย่าง ภายในรัง  3.ปลวกทหาร  มีหน้าที่ปกป้องอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับรัง  เป้าหมายสำคัญของปลวกคือการขยายอณาจักร  มีการแบ่งงานที่ต้องทำกันอย่างลงตัวร่วมมือร่วมใจกัน ไม่ขัดแย้งกัน เพื่อก้าวไปสู่จุดหมายที่ต้องการ  ก็เหมือนกับทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรที่มีพื้นฐานที่แตกต่างกันทั้งในด้านระดับความรู้  คุณธรรมจริยธรรม อุปนิสัย  ดังนั้นความเข้าใจเค้าจึงเป็นสิ่งสำคัญ  เราต้องหาจุดแข็งของเขาเพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กรและทำให้เขารู้สึกมีความสุขเพราะได้ทำในสิ่งที่เขาถนัดและในขณะเดียวกันก็ต้องหาจุดอ่อนเพื่อช่วยพัฒนาให้เขาดีขึ้น   และเมื่อทุกฝ่ายในองค์กรต้องหันหน้าเข้าหากันเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายเดียวกัน องค์กรนั้นย่อมพบกับความสำเร็จ แต่ถ้าไม่มี Alignment   Organization  ต่างคนต่างไม่รู้ว่าเป้าหมายคืออะไร เดินกันไปคนละทิศทาง  อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งกันเองภายในองค์กร ไม่มีความสุขในการทำงาน  ส่งผลให้งานก็จะออกมาไม่ดี  มีการเข้าออกบ่อย และประกอบกับอุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมภายนอกอีก  เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วองค์กรจะอยู่รอดได้อย่างไร 
นางสาวอรุณี วงษ์กุหลาบ

สวัสดีท่านอาจารย์จีระ,อาจาย์พจนารถ,อาจารย์ยม,อาจารย์สมภพ ดิฉันนางสาวอรุณี วงษ์กุหลาบ นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาวิชาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร อาจารย์พจนารถมาให้ความรู้ในหัวข้อ Workforce Alignment in an Organization ทำให้ดิฉันมองย้อนเข้ามาในองค์กรของดิฉันเองว่าองค์กร Alignment แล้วหรือยัง คำตอบที่ได้ พบว่า ยังขาด Workforce Alignment หลายประการ ผลจากการที่องค์กรไม่มี Alignment สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนเลยก็คือ เมื่อมองภาพรวมขององค์กรพนักงานบางคนยังไม่รู้เลยว่านโยบาย เป้าหมายของบริษัทคืออะไร แม้แต่ผู้บังคับบัญชาบางคนยังมี ความขัดแย้ง กันเองระหว่างแผนก เรียกว่า เกิดการเมืองในบริษัท ดังนั้น คนทุกคนในองค์กรต้องมีจุดมุ่งหมายและรู้เป้าหมายขององค์กรเสมือนเป็นเข็มทิศนำทางให้เดินไปในทางที่กำหนดและถูกทาง จากนั้นก็ปฏิบัติงานในหน้าที่ของแต่ละคนให้ดีที่สุดเพื่อเป้าหมายเดียวกัน ผลลัพธ์สุดท้ายที่จะเกิดตามมาก็คือทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ และสิ่งที่ตามมาก็คือผลตอบแทนที่ได้รับ ไม่ว่าจะเป็นเงิน สวัสดิการต่างๆ และที่สำคัญก็คือได้ ความสุข ทำให้อยากทำงาน

ผลเสียที่เกิดจากการไม่มี Alignment

- ขาด Team Work ที่ดีในการบริหารจัดการงาน ต่างคนต่าง ทำอาจเกิดการขัดแย้งกันเอง ในหน่วยงาน

- ไม่มีความชำนาญงานในงานที่ทำต้องอาศัยบุคคลอื่นช่วยเนื่องจากอาจไม่รับการฝึกฝน ต้องมี 4L’s

- ความรับผิดชอบในหน้าที่ไม่ชัดเจนทำให้เกี่ยงงานกันทำ ทำให้งานเดินไปได้ช้า

- ขาดแรงจูงใจในการทำงาน

- การบริหารจัดการงานในองค์กรเป็นไปอย่างเชื่องช้า เนื่องจากไม่มีระบบแบบแผนที่แน่นอน

ดังนั้น WORKFORCE ALIGNMENT IN AN ORGANIZATION ทำให้องค์กรอยู่รอดได้ทั้งในโลกการเปลี่ยนแปลงของปัจจุบันและอนาคต

การร่วมแรงร่วมใจ ความสามัคคี ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และมีจุดมุ่งหมายเหมือนกัน ทำให้องค์กรรุดหน้าไปได้เร็วกว่าคู่แข่ง ถึงเส้นชัยก่อน

นางสาวศรีทอง โคตะมะ

สวัสดีค่ะ ท่านอาจารย์ ศ. ดร. จีระ  อาจารย์พจนารถ อาจารย์ยม อาจารย์สมภพ และพี่ๆทีมงาน

 

จากการเรียนวันนี้ทำให้เราพบความสูญเสียที่ซ่อนเร้นอยู่ในองค์กร ซึ่งสามารถจัดการได้ด้วย

  Workforce alignment

 

** ถึงแม้ในองค์กรจะมีจำนวนคนเก่งมาก แต่ผลงานรวมขององค์กรที่ได้รับรวมจะต่ำกว่าสิ่งที่ควรจะเป็น**

 ดังสมการ                        Total Value   <   Quantity * Individual Value        ถ้า     Direction  > 1 

          เมื่อ     Quantity  =  จำนวนคน        Individual Value  =  คุณค่าส่วนบุคคล

 

หมายถึง ถ้าคนที่มีความสามารถแต่ละแผนกมาทำงานร่วมกันแต่มีทิศทางเป้าหมายต่างกัน ความสามารถบางส่วนจะหักล้างซึ่งกันและกัน องค์กรได้รับคุณค่ารวมต่ำลง

  

ในทางกลับกัน  ถ้าคนที่มีความสามารถแต่ละแผนกมาทำงานร่วมกัน และมุ่งไปในทิศทางเป้าหมายเดียวกัน ความสามารถทั้งหมดที่มีจะถูกนำไปใช้อย่างเต็ม 100 %    องค์กรได้รับคุณค่ารวมสูงขึ้น

 ดังสมการ Total  Value   >   Quantity * Individual value                   ถ้า   Direction  = 1      เพราะการทำงานเป็นทีมที่ดีจะให้ผลมากกว่าที่คาดคิดไว้ จากคำถามที่ว่าจะเกิดผลเสียอย่างไร  หากไม่มีการทำ  Workforce alignment          ผลเสียตามแนวความคิดของดิฉัน  คือ 1.     จะทำให้องค์กรต้องขาดทุนในการใช้ทรัพยากรมนุษย์ ที่ไม่คุ้มค่า2.     หากเป็นธุรกิจที่ต้องแข่งขันกับเวลา  องค์กรจะขาดความสามารถในการแข่งขัน เพราะหากทิศทางภายในองค์กรยังไม่เป็นแนวตรงเดียวกัน ความรวดเร็วในการจะประสบผลสำเร็จและตอบสนองความต้องการของลูกค้าอาจจะช้ากว่าคู่ต่อสู้ 3.     Profit ที่องค์กรได้รับจริง  <  Max. Profit ที่องค์กรควรจะได้รับจากการลงทุนทุกด้าน

         ซึ่งเป็นการขาดทุนที่ซ่อนอยู่ลึกๆ และจะเป็นผลเสียอย่างยิ่งในระยะยาว

ขอขอบคุณในทุกความรู้เพื่อการพัฒนาแนวความคิดค่ะ                             
น.ส.ศิริรัชน์ หินกล้า

เรียนอาจารย์จีระ คุณพจนารถ และทีมงานทุกท่าน เมื่อวันที่ 9 ก.ค. 49 ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสได้เรียนในหัวข้อเรื่อง Workforce Alignment in an Organization จากคุณพจนารถทำให้รู้ว่าการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุ

เป้าหมายขององค์กรนั้นมีองค์ประกอบอยู่ 5 อย่าง ได้แก่ u Strategic Governance u Direction Statements u Strategy u Strategy Executive u Leadership และสิ่งที่ควรเพิ่มเติมเข้าไปด้วยคือ Head Heart Hand การประสบความสำเร็จขององค์กรนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะองค์กรประกอบด้วย คน ที่มาจากร้อยพ่อพันแม่ มีความรู้ ความคิด ทัศนคติที่แตกต่างกันมาอยู่ร่วมกันดังนั้นผู้บริหารต้องชี้แจงหรืออธิบายให้ทุกคนรู้ว่าเป้าหมายขององค์กร คืออะไร เพื่อที่ทุกคนจะได้ปฏิบัติไปในทิศทางหรือแนวทางเดียวกันและผู้บริหารยังต้อง ทำให้พนักงานรู้สึกว่าเขาเป็น ส่วนหนึ่งที่จะสามารถขับเคลื่อนให้องค์กรก้าวไปข้างหน้าได้ เมื่อทุกคนรู้เป้าหมายหลักแล้วก็ต้อง มาทำหน้าที่ของ ตัวเองให้ดี โดยใช้ Head Heart Hand (ผู้บริหารควรเป็นตัวอย่างที่ดีใน การปฏิบัติทั้ง 3 H ) นอกจากนี้ยังต้องมี การประสานงานที่ดีกับแผนกอื่นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกันด้วย หากองค์กรไม่มี Organization Alignment แล้วก็จะเกิดปัญหาต่างๆ มากมายเช่น การทำงานของพนักงานก็จะเป็นแบบทำไปวันๆ ไม่มีจุดมุ่งหมาย , เกิดการ ขัดแย้งกันในการทำงานเพราะต่างคนต่างทำไม่มีเป้าหมายร่วมกันเมื่อเกิดการขัดแย้งก็จะขาดทุนแห่งความสุขในการทำงานผลงานที่ออกมาก็ไม่ดี

น.ส.สุพัชชา ขับกล่อมส่ง
เรียนอาจารย์จีระ อาจารย์พจนารท อาจารย์ยม อาจารย์สมภพ  และสวัสดีค่ะเพื่อน ๆทุกคน                จากการเรียนในวันอาทิตย์ที่ผ่านมากับอาจารย์พจนารถ เรื่อง workforce alignment ในองค์กร  ทำให้ได้ทราบถึงความสำคัญของการทำงานร่วมกันในองค์กรอย่างเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ทำให้สามารถทำงานได้ตรงตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ หากขาดสิ่งนี้แล้วย่อมทำให้เกิดความสับสนวุ่นวาย ความล่าช้า และขาดประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งจะส่งผลต่อทั้งองค์กร  ตัวพนักงาน รวมถึงสังคมส่วนรวมได้   ถ้าเปรียบกับการพายเรือ บางคนอยากไปทางขวา บางคนอยากไปทางซ้าย ดังนั้นต่างคนก็ต่างพาย ใบพายอาจขัดกันเอง ทำให้เรือไม่ไปถึงจุดหมาย  อาจวนอยู่กับที่ ถอยหลัง หรือพลิกคว่ำได้  ทั้งนี้ก็เพราะคนในเรือไม่มีจุดมุ่งหมายว่าจะไปข้างหน้าด้วยกัน   ก็เหมือนกับองค์กร ซึ่งประกอบด้วยบุคคลหลากหลาย แต่ละคนต่างก็มีความคิดและเป้าหมายที่ต่างกัน  เมื่อมาทำงานก็ย่อมมีแนวทางที่ต่างกัน หากไม่ทราบเป้าหมายขององค์กร ก็จะกลายเป็นต่างคนต่างทำไปตามหน้าที่แต่ไม่ได้มุ่งหวังถึงความสำเร็จของงาน  ก็ย่อมขัดแย้งกันเอง ขาดความสามัคคี ทำให้ไม่มีความสุขในการทำงาน  เกิดความไม่เข้าใจถึงแนวทางการดำเนินงาน ก็จะทำให้เกิดความอึดอัด คับข้องใจ ไม่รู้ว่าจะต้องทำอะไรอย่างไรจึงจะถูกต้อง อาจทำให้ทำงานผิดแนวทาง  แทนที่องค์กรจะได้รับผลตามที่วางเอาไว้ กลับต้องเสียเวลา เสียแรงงาน เงินทุนได้  ไม่สามารถทำงานให้มีประสิทธิภาพได้  ดังนั้นการทำงานร่วมกันในองค์กรอย่างเป็นแนวทางเดียวกัน โดยมีเป้าหมายเดียวกันจึงเป็นสิ่งสำคัญในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ  
กราบเรียนอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ , อาจารย์ พจนารถ,อาจารย์ ยม , อาจารย์ สมภพ และสวัสดีเพื่อน ๆนักศึกษา และ ท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉัน

กราบเรียนอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ , อาจารย์ พจนารถ,อาจารย์ ยม , อาจารย์ สมภพ และสวัสดีเพื่อน ๆนักศึกษา และ ท่านผู้อ่านทุกท่าน ดิฉัน นางสาวศรัญญา จำเนียรกาล ศ.ป.โทบริหารธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง

 ในการเรียนวันที่ 09/07/09 เรื่อง  Workforce Alignment in an Organization อาจารย์ พจนารถ ได้ให้ความรู้ที่มาที่ไปขององค์กรว่า องค์กรที่มีรูปแบบการจัดการได้อย่างสมบูรณ์แบบ และบรรลุเป้าหมายตามความต้องการนั้น จะต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง มีขั้นตอนการทำงานอย่างไร และได้ให้โจทย์เป็นการบ้านว่า ถ้าไม่มี Organization Alignment จะเกิดความเสียหายอะไรบ้างAlignment หมายถึงนั้นเป็นการสร้างความเชื่อมโยงและสอดคล้องกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ ภายในองค์กร เพื่อสุดท้ายทำให้เกิด Enterprise Value Proposition ความเสียหายที่เกิดขึ้นมีดังนี้
  1. ไม่มีเป้าหมายในการทำงาน เหมือนทำไปวันๆ โดยไม่รู้ว่า นโยบายบริษัทคือ อะไร ลูกค้าคือใคร กลยุทธ์ของบริษัทเป็นอย่างไร
  2. ขาดความรับผิดชอบต่องานที่ทำ ทำให้ไม่บรรลุเป้าหมาย ไม่สามารถแบ่งงานกันทำได้
  3. ขาดแรงจูงใจในการทำงาน
  4. ขาดทุนทางความรู้, ขาดทุนทางอารมณ์, ขาดทุนทาง เทคโนโลยี
  5. ขาดทุนทางวัฒนธรรมเนื่องจากความไม่ชัดเจนของการจัดการ
  6. ขาด 4L  
  7. สุดท้ายก็จะขาดความสุขในการทำงาน เนื่องจากทำงานโดยไม่มีทิศทาง ไม่มีแรงจูงใจ ขาดวิสัยทัศน์
ในมุมมองสุดท้ายถ้าไม่มี Organization Alignment นั้น "เราจะพัฒนาและแบ่งปันสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ ได้อย่างไร?" ซึ่งเป็นการสร้างกระบวนการในการพัฒนาและแบ่งปันเรื่องของ การพัฒนาผู้นำ การพัฒนาบุคลากร และการแบ่งปันความรู้ที่สำคัญให้เกิดขึ้นภายในองค์กร เพื่อให้ทั่วทั้งองค์กรได้รับประโยชน์ร่วมกัน และ ทำให้พายเรือไปสู่ฝั่งได้ เพราะเรามีทีมที่ดี
พิมพ์พร เอี่ยมสอาด

ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหากองค์กรไม่มี Organization Alignment คิดว่าสามารถเกิดความเสียหายได้ 3 ส่วนคือ

1.ความเสียหายต่อองค์กร-         พนักงานทำงานโดยอาจมีจุดมุ่งหมายไปคนละทิศกับ Corporate Strategy ที่ทางผู้บริหารวางไว้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดการทำงานที่ซ้ำซ้อน และเสียโอกาสทางการค้า

-         อาจเกิด Conflict ขึ้นระหว่างแผนกได้ หากพนักงานทำงานแบบมีจุดมุ่งหมายต่างไปจาก Corporate Strategy ที่ผู้บริหารวางไว้

2.ความเสียหายต่อตัวพนักงาน-         หากองค์กรนั้นไม่มี Workforce Alignment และไม่มีการวัดผลที่ดี (Measured accountabilities) จะทำให้พนักงานไม่มีการพัฒนา และไม่ทราบว่าตนเองต้องปรับปรุงพัฒนาในส่วนไหนเพิ่มเติม-         พนักงานขาดแรงจูงใจในการทำงาน เพราะรู้สึกแปลกแยก2.ความเสียหายต่อสังคม

-         หากพนักงานไม่ทราบว่าองค์กรเน้นให้เกิดผลกระทบจากตัวผลิตภัณฑ์ หรือ ของเสียจากกระบวนการผลิต ที่จะต้องส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด   แต่พนักงาน หรือแม้ Business partner  กลับไม่ปฏิบัติตาม ก็จะส่งผลกระทบที่อาจรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมขึ้นได้

-         สังคมภายนอกอาจมองว่าองค์กรที่มีการบริหารงานไปคนละทิศละทางกลายเป็นองค์กรที่ขาดความเชื่อถือได้ในที่สุด ฉะนั้น Organization Alignment จึงเป็น priority แรกๆที่องค์กรต้องคำนึงถึงและให้ความสำคัญ เพราะมันเปรียบเสมือนไฟฉาย ที่จะส่องให้เห็นและไปถึง Business Objectives   ได้
ยม "บทเรียนจากความจริง โบนัส 7 พันล้าน : ได้ผลจริงไหม โดย ศ.ดร.จีระ"
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ /นักศึกษาและท่านผู้อ่านทุกท่าน 

จากบทความของ ศ.ดร.จีระ จากหนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันเสาร์ที่ 15 ก.ค. 2549 บทเรียนจากความจริง โบนัส 7 พันล้าน : ได้ผลจริงไหม(http://www.naewna.com/gotocolumn.asp?ID=97)  มีบทเรียนที่ อาจารย์เขียนประเด็นที่ได้จากชีวิตจริง ที่อาจารย์ได้พบมานำมาสู่แนวทางในการบริหารจัดการที่ยั่งยืนน่าสนใจมากครับ

 

 ผมได้อ่านและ comment เพิ่มเติม ข้อความแถบสีน้ำเงินคือข้อความที่คัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม มีดังต่อไปนี้ ครับ

   การเมืองของเยอรมันสมัย Hitler ครองประเทศ 12 ปี ก็โหดร้ายทารุณมาก ฮิตเลอร์ (Hitler) สร้างความหายนะให้แก่ประชาชนมากมาย ทั้งที่คนเยอรมันก็ฉลาด  

ประโยคนี้ ทำให้คิดได้ว่า เหนือฟ้า ยังมีฟ้า คนฉลาดอาจกลายเป็นคนที่ไม่ฉลาดได้ ถ้าใช้ชีวิตอย่างประมาท   คนฉลาดอย่างเดียวไม่พอ ควรควบคู่ไปกับการปฏิบัติธรรม คุณงามความดี  การประพฤติปฏิบัติธรรม ธรรมย่อมคุ้มครองผู้ปฏิบัติ

  ระยะหลังเด็กไทยไม่สนใจประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะเด็กที่สนใจทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เลยรู้ไม่จริง ไม่เป็นสังคมการเรียนรู้ โดยเฉพาะการวิเคราะห์การเมืองของสื่อมวลชนของไทย ที่ทำข่าวไปวันๆ มองประเด็นไม่ชัดเจน ทำให้คนไทยสับสน

ประโยคนี้ ผมมองสองประเด็น ประเด็นแรก เป็นเรื่องเด็กไทยไม่สนประวัติศาสตร์ ไม่น่าเชื่อว่า ศ.ดร.จีระ เชื่อมโยงให้เห็นถึงผลเสียของกระทำดังกล่าว มีผลกระทบต่อการวิเคราะห์สถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อตัดสินใจเรื่องสำคัญ   ประวัติศาสตร์จึงมีบทเรียนที่ทรงคุณค่า เป็นฐานข้อมูลในการตัดสินใจเพื่ออนาคตได้ส่วนหนึ่ง ครูผู้สอนควรตระหนักคุณค่าของประวัติศาสตร์ ทุกแขนง และนำมาถ่ายทอดให้ลูกศิษย์ได้ ไม่ให้ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องน่าเบื่อ

  ประเด็นที่สอง การที่สื่อบางสื่อ  ทำข่าวไปวัน ๆ นอกจากมีปัญหาเรื่องขาดศักยภาพในเชิงวิเคราะห์ แล้ว ผมคิดว่า อาจเป็นเพราะถูกสภาพแวดล้อมทางธุรกิจกดดัน ให้ต้องแข่งขัน ต้องทำตามกระแส และที่สำคัญมักจะขาดวิสัยทัศน์ ในการบริหารข่าว ขาดการการควบคุมคุณภาพของข่าว ขาดความรับผิดชอบต่อสิ่งที่นำเสนอ ซึ่งอาจจะมีผลต่อสังคม เศรษฐกิจ การเมือง  ประเทศชาติ  มีสักกี่สื่อที่ทำสื่อเพื่อแผ่นดินไทยจริง ๆ   ความเห็นเรื่อง รัฐบาลทักษิณให้โบนัสแก่ข้าราชการไทยอีก 7 พันล้านบาท ซึ่งเป็นข่าวที่น่ายินดี แต่จะขอเพิ่มเติมและมีมุมมองเพิ่มขึ้นโดยชี้ให้เห็นว่า การจะช่วยให้ระบบราชการให้อยู่รอดได้ ต้องทำ 3 เรื่อง วงกลมที่ 1 ต้องให้องค์กรราชการเป็นองค์กรที่กะทัดรัดซึ่งจะต้องทำงานเป็น process หรือกระบวนการ เป็นแนวนอนไปสู่ลูกค้า โดยต้องการทำงานที่        (1)เร็ว
(2)
แม่นยำ
(3)
ทำให้เสร็จในครั้งเดียว
(4)
คุ้มค่ากับการใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด

วงกลมที่ 2 เรื่องให้สร้าง Competencies มี 5 เรื่อง
(1) Functional Competency
รู้ในเรื่องเฉพาะทางที่ตัวเองถนัด
(2) Organizational Competency
รู้จักเรื่องการบริหารจัดการ
(3) Leadership Competency
ต้องมีภาวะผู้นำ (4) Entrepreneurial Competency มีจิตวิญญาณการเป็นผู้ประกอบการ
(5) Macro and Global Competency
รู้จักโลกและมองภาพรวม

 วงกลมสุดท้าย ผมขอชมเชยนายกฯ ที่สร้างขวัญกำลังใจให้มากขึ้น แต่ในทฤษฎี 3 วงกลม ต้องให้ทั้งการปรับองค์กร การสร้าง Competencies และ Motivation ไปด้วยกัน            ในความเห็นของผม เห็นด้วยกับ ศ.ดร.จีระ ที่ชื่นชมท่านนายกฯ  ที่สร้างขวัญกำลังใจให้มากขึ้นกับข้าราชการ   ถ้าผมอยู่ในฐานนะอย่างท่านนายกฯ ก็จะทำเช่นนั้น แต่ก็ควรทำการปรับองค์กร การสร้าง Competencies และ Motivation ไปด้วยกัน  และจะไม่สร้างอำนาจด้วยการให้เพียงอย่างเดียว  ผมขอเสนอต่อท่านนายกฯ เพิ่มเติมว่าการบริหารระบบราชการควรต้องคำนึ่งถึง  คำว่า CEO ด้วยเช่นกัน คำว่า CEO ในที่นี่ไม่ใช่ Chief Executive Officer แต่หมายถึง C = Customer Satisfaction ก็คือ ความพึงพอใจ ของลูกค้า ของผู้ใช้บริการในระบบราชการ รวมทั้งประชาชนทั่วไป แบบยั่งยืน  E =  Employee Satisfaction คือ ความพึงพอใจของพนักงาน เจ้าหน้าที่ราชการ ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ แบบยั่งยืน และ Organization Result คือ สัมฤทธิ์ผลของหน่วยงานราชการ ผลประโยชน์ที่ประเทศชาติ แบบยั่งยืน  ซึ่งจะทำให้ นายกฯ  มีทุนแห่งความเชื่อ และศรัทธามากขึ้นอย่างยั่งยืน  (Trust Capital)  ในการบริหารจัดการองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในวันนี้และวันข้างหน้า เรื่อง ความเชื่อถือ ความศรัทธา ทุนแห่งความเชื่อถือ จะมีบทบาทสำคัญต่อผลประกอบการขององค์กร  ประเทศชาติ  ประเทศใดทีประชาชน มีทุนทางความเชื่อถือ ความศรัทธาใน ผู้นำมาก ๆ จะมีผลทำให้เกิดทุนทางความสุข และทุนทางการเงิน    พูดถึงพรรคการเมือง ขอเสนอผ่าน blog ของศ.ดร.จีระ ฝากไปยังนักการเมือง พรรคการเมืองทั้งหลายที่มีอยู่ขณะนี้ ควรทำงานเพื่อแผ่นดินอย่างจริงมากขึ้น  ทำงานเพื่อแผ่นดินคือทำงานเพื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและประชาชน เป็นหลัก  ไม่ทำเพื่อประโยชน์ของพรรคเป็นหลัก  พรรคการเมืองควรเลิกที่จะกล่าวร้ายต่อกัน  ให้มาใช้การบริหารพรรค ตามแนวพุทธศาสตร์ และตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งสอดคล้องกับประโยคต่อไป ของ ศ.ดร.จีระ ที่เขียนไว้ว่า  

ผู้นำ ต้องเอาจริง อย่าให้ยาหอมเพื่อหวังผลทางการเมืองระยะสั้นเท่านั้น  

นักการเมืองที่หวังผลระยะสั้น เพียงอย่างเดียว ไม่ใช่นักการเมืองสายพันธ์แท้ นักการเมืองพันธุ์แท้ ต้องหวังผลทั้งระยะสั้น ระยะปานกลางและระยะยาว เสียสละทำเพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน  ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00 – 19.00 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 ผมขอเชิญให้คุณติดตามผลงานของ ศ.ดร.จีระ บทเรียนจากความจริง โบนัส 7 พันล้าน : ได้ผลจริงไหม  ได้จากข้อความใน Blog ต่อไปและร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ    ขอความสวัสดี จงมีแด่ผู้อ่านทุกคน ครับ ยม น.ศ.ปริญญาเอก รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ยม "บทเรียนจากความจริง โบนัส 7 พันล้าน : ได้ผลจริงไหม โดย ศ.ดร.จีระ"

โบนัส 7 พันล้าน : ได้ผลจริงไหม[1]

  

ระหว่างนี้การเมืองยังมีความไม่แน่นอนอยู่มาก ขอให้ทุกท่านตั้งสติให้ดี ในฐานะที่ผมเป็นนักอ่านประวัติศาสตร์อยู่บ้าง เหตุการณ์แบบนี้ไม่ใช่เกิดเฉพาะประเทศไทย บางประเทศก็มีปรากฏการณ์คล้ายๆ ของเราหลายครั้ง
เมื่อมองการเมือง เช่น การเมืองของรัสเซีย สมัยเปลี่ยนจากระบบพระเจ้าซาร์ มาเป็นระบบคอมมิวนิสต์ มีความโหดร้าย ทารุณ เช่น ยุคเลนิน ยุคสตาลิน


- การเมืองของเยอรมันสมัย Hitler ครองประเทศ 12 ปี ก็โหดร้ายทารุณมาก ฮิตเลอร์ (Hitler) สร้างความหายนะให้แก่ประชาชนมากมาย ทั้งที่คนเยอรมันก็ฉลาด


- การเมืองในจีนสมัยเหมา เจ๋อ ตุง ขึ้นปกครองระบบคอมมิวนิสต์ ก็น่าศึกษา


ระยะหลังเด็กไทยไม่สนใจประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะเด็กที่สนใจทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เลยรู้ไม่จริง ไม่เป็นสังคมการเรียนรู้ โดยเฉพาะการวิเคราะห์การเมืองของสื่อมวลชนของไทย ที่ทำข่าวไปวันๆ มองประเด็นไม่ชัดเจน ทำให้คนไทยสับสน
ขอกลับเข้าเรื่องควันหลงฟุตบอลโลกมีหลายเรื่องน่าสนใจ